พลังอำนาจแห่ง "สมาธิ"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NiNe, 25 มิถุนายน 2005.

  1. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    สมาธิ คือ ระดับสภาวะแห่งความสงบมั่นคง และล้ำลึกแห่งจิต คนที่จะมีสมาธิได้นั้นสติจะต้องสมบูรณ์ และ ที่สุดแห่งสมาธิต้องดับจิตได้

    อำนาจของสมาธิ นั้นสามารถสร้างความมหัศจรรย์ได้มากมาย พระพุทธบรมครูเจ้าตรัสว่า
    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฌานวิสัยนั้นเป็นอจินไตย" หมายความว่าอำนาจสมาธินั้น สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่จำกัด
    <O:p</O:p
     
  2. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    สมาธิจิต เป็นฐานจิตที่ประเสริฐสุด ที่ชีวิตทั้งหลายควรทรงอยู่ เพราะเมื่อมีสมาธิดีแล้วย่อมได้สิ่งต่างๆ เหล่านี้

    1. ความสุข จิตที่เป็นสมาธิย่อมเป็นสุข ระดับความลึกซึ้งแห่งความสุขนั้น ขึ้นอยู่กับความลึกล้ำแห่งสมาธิ นอกจากนั้นยังเป็นฐานแห่งสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีด้วยจ้ะ
    2. พลังอำนาจ จิตที่เป็นสมาธิ ย่อมมีพลังอำนาจ และที่สำคัญคือระดับของพลังอำนาจนั้นขึ้นอยู่กับความมั่นคงของสมาธิ
    3. ปัญญา จิตที่มีสมาธิย่อมก่อให้เกิดปัญญา หยั่งรู้ ดังที่พุทธพจน์ได้กล่าวไว้ว่า "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย จิตที่เป็นสมาธิย่อมรู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริง" และที่สำคัญคือระดับของความกว้างไกลของปัญญานั้น ขึ้นอยู่กับความสว่าง และ ความไร้ขอบเขตของสมาธิจิต
    4. ความบริสุทธิ์ จิตที่เป็นสมาธิย่อมโน้มน้อมไป หรือชำระตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ได้ ระดับความบริสุทธิ์นั้นขึ้นอยู่กับความหมดจดอันเต็มรอบแห่งดวงใจ

    นี่คือคุณวิเศษสี่ประการหลักที่ย่อมเกิดจากสมาธิจิต และใครก็ตามที่ฝึกจิตจนมีสมาธิแล้ว จะได้คุณเศษใดหรือทั้งหมด ขึ้นอยู่กับวิธีฝึก และการสั่งสมองค์ประกอบแห่งอินทรีย์ และบารมี
     
  3. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    การเข้าสมาธิย่อมได้สมาธิโดยลำดับ ดังนี้

    1. ขนิกสมาธิ เป็นสมาธิแบบวูบๆ วาบๆ ประเดี๋ยวประด๋าว
    2. อุปจารสมาธิ คือการเข้าสมาธิแบอ่อนๆ ใจมีความสบายๆ ไหลไปเรื่อยๆ
    3. อัปปมัญญาสมาธิ เป็นการแผ่ขยายจิต โดยใช้หลักของ พรหมวิหารสี่
    4. อัปปนาสมาธิ จิตเริ่มเป็นหนึ่ง แน่วแน่
    ...4.1 ฌานหนึ่ง
    ...4.2 ฌานสอง
    ...4.3 ฌานสาม
    ...4.4 ฌานสี่
    ...4.5 ฌานห้า
    ...4.6 ฌานหก
    ...4.7 ฌานเจ็ด
    ...4.8 ฌานแปด
    5. อริยสมาธิ พระอริยะเจ้าเท่านั้นที่สามารถเข้าได้ คือ
    ...5.1 นิโรธ คือการถอนจิต ออกจากกายสังขาร วจีสังขาร และ จิตสังขาร แล้วดับจิตชั่วขณะ อาจจะเป็นเวลา 1 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 เดือน , 1ปี หรือตามแต่กำหนด
    ...5.2 อรหันตสภาวะ คือสภาวะสมาธิสถาพร หลังจากที่ได้ปลดปล่อยจิตจากพันธนาการทั้งปวง สลายการยึดถือองค์ประกอบแห่งตัวตนใดๆ จนจิตเป็นอิสระสมบูรณ์แล้ว จิตเช่นนี้จะทรงสมาธิได้ตลอดเวลา และเป็นสมาธิที่ถาวร ไม่แปรปรวนต่อสิ่งเร้าใดๆ เป็นสมาธิอันหมดจด เป็น สภาวะสูงสุดที่ชีวิตทั้งหลายพึงได้

    อย่าลืมว่า "ฌานวิสัยนั้นเป็นอจินไตย" และสิ่งที่สำคัญคือ สิ่งที่สร้างด้วยอำนาจของฌานจึงประมาณมิได้เช่นกัน ...
     
  4. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    อัปปนาสมาธิ - แปดระดับ(ระดับที่ 1- 4)

    อัปปนาสมาธิ เมื่อเริ่มฝึกในอิริยบทอย่างต่อเนื่อง หรือบริกรรมกับองค์บริกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งจนจิตเริ่มเป็นหนึ่งแน่วแน่ แบ่งออกได้เป็น 8 ระดับคือ

    ฌานหนึ่ง - เพ่งพินิจพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันยกขึ้นเป็นองค์บริกรรม จะเป็นร่างกายก็ดี เสียงก็ดี ภาพก็ดี ความรู้สึกก็ดี จนกระทั่งเกิดปีติสุข และมีใจเป็นหนึ่งเดียวกับองค์บริกรรมนั้น

    ฌานสอง - ละการเพ่งพิจารณาองค์บริกรรม แต่เพ่งพิจารณาความรู้ภายในตัว อันกอปรด้วยปีติสุข และ ความมีจิตหนึ่งแทน

    ฌานสาม - ละอาการฟูพองของจิตเสีย เพ่งลึกเข้าไปในความรู้สึกอีก จนมีแต่สุขภายในจิตหนึ่งเดียว

    ฌานสี่ - ละความสุขอันประณีตนั้นเสีย เหลือแต่จิตหนึ่งที่นิ่งสงบในอุเบกขา เต็มตื่นด้วยสติบริสุทธิ์

    ฌานทั้งสี่นี้เป็นการฝึกแบบไมโคร (Micro) คือการกลับเข้าสู่ภาวะภายในจิตเอง และประเดี๋ยวผมจะพูดถึงการฝึกแบบแมคโคร (Macro) หรือในการฝึกที่ล้ำลึก ที่ประณีตยิ่งขึ้นๆ ไปอีก จนถึงฌานแปด
    ...
     
  5. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    อัปปนาสมาธิ - แปดระดับ(ระดับที่ 5- 8)

    ฌานห้า - โน้มน้อมจิต พินิจความว่างอันไม่มีที่สิ้นสุด
    ฌานหก - ละความว่างเสีย แล้วโน้มน้อมจิตพินิจธาตุรู้อันไม่มีที่สิ้นสุด
    ฌานเจ็ด - ละธาตุรู้เสีย แล้วโน้มน้อมจิตพินิจภาวะไร้อันไม่สิ้นสุด
    ฌานแปด - ละภาวะไร้เสีย แล้วโน้มน้อมจิตพินิจใจอันไม่มีที่สิ้นสุด

    เมื่อถึงฌานแปดนี้จะพบว่าในภาวะใจอันไร้ขอบเขตนั้น จะว่ามีความทรงจำก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ ใน ภาวะนี้จะวิปัสสนาอะไรก็ไม่ได้ หากประสงค์จะวิปัสสนาต้องถอยกลับไปที่ฌานเจ็ดจึงจะวิปัสสนาได้
     
  6. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    เอาอย่างนี้ พูดแบบง่ายๆ ย่อๆ จะเห็นว่าระดับของการเข้าฌานนั้นจะต้องสลับกัน ทั้งสมถะและวิปัสสนา จึงจะเข้าฌานที่ลึกได้

    สมถะ คือการทำให้ตั้งมั่น
    วิปัสสนา คือการละวาง

    เมื่อเราทำให้ตั้งมั่น (สมถะ) ในระดับต้นได้แล้วต้องละ (วิปัสสนา) องค์ประกอบที่ยังแปรปรวนในระดับต้น จึงจะเข้าสู่ระดับที่ลึกยิ่งขึ้น เช่นนี้ทุกลำดับฌาน ดังนั้นสมถะกับวิปัสสนานั้น เป็นสิ่งที่ต้องใช้ควบคู่กันเสมอ

    เมื่อเข้าฌานห้าถึงฌานแปด อันมีภาวะเป็น "อรูป" ได้นั้นจะพบว่า เราสามารถละองค์ประกอบที่มาประกอบกัน เป็นรูป ในระดับแม๊คโคร(Macro) ดังนั้นระดับไมโคร(Micro) เป็นเพียงผลการประกอบกันเป็นหน่วย(Unit) เมื่อเราละการปรุงประกอบ ก็จะพบ "ความเวิ้งว้างไร้ขอบเขต" นั่นคือ "อนันตะ" หรือ Universal

    เมื่อถึงตรงนี้จะพบ "ความมีในความว่าง" และ "ความว่างรองรับความมี" ในทั้งปวง ฝึกทรงความมีด้วยสติตื่นรู้ในทุกระดับ และพึงฝึก "ความมีเข้าสู่ความว่าง" ให้ชำนาญ ก็จะเริ่มได้ "เจโตวิมุติ"

    พอเริ่มได้เจโตวิมุติแล้ว เติมปัญญาวิมุติ อีกนิดเดียว ก็จะได้ "อริยะสภาวะ" ซึ่งเป็นสมาธิขั้นสูงสุด

    ไม่ยากใช่มั๊ยครับ?
    แหล่งที่มา พระไตรปิฎก

    ...
     
  7. Des

    Des เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,264
    ค่าพลัง:
    +303
    ไม่ยากหรอกปู่ ........................................... แล้วก็ไม่ง่ายด้วย
     
  8. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    ปทุมมาลย์ผุดขึ้น.......... เหนือโคลนตม
    ให้ชนได้ชมความงาม..... อันสง่า
    ความทุกข์ยากก่อให้เกิด...ปัญญา
    แก่นราผู้แกล้วกล้า.........กอปรสติเผชิญ
     
  9. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    ดีค่ะ... เจริญสติในธรรมกันเทอญฯ
     
  10. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    เจโตวิมุติ และ ปัญญาวิมุติ

    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงได้ชื่อว่า ปัญญาวิมุติ"
     
  11. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    ขออนุญาติออกความเห็นเพิ่มเติมครับ

    เมื่อจิตทรงอยู่ในฌาน อารมณ์จะนิ่งเป็นหนึ่ง ไม่สามารถเจริญ วิปัสสนาได้ เพราะไม่อาจเห็นสภาวะ เกิด-ดับของนามรูปได้ เช่นนี้ทุกๆฌาณตั้งแต่ ฌาณ 1 - 8

    ฌาณลาภีบุคคล เมื่อจะเจริญวิปัสสนา ให้พิจารณาการเกิด-ดับ ของ องค์ฌาณ คือรอยต่อระหว่างฌาณนั่นเองทั้งอนุโลมและปฏิโลม เช่น รอยต่อระหว่าง ฌาณ 2 ไป 3 ย่อมรู้ชัด ความดับไปของ ปิติ ระหว่าง ฌาณ 3 ไป 4 ย่อมรู้ชัดความดับไปของ สุข ฌาณ 4 กลับไป 3 ย่อมรู้ชัดความเกิดขึ้นของ สุข ฌาณ 3 ไป 2 ย่อมรู้ชัด ความเกิดขึ้นของ ปิติ เป็นต้น

    ฌาณ 4 ไป 5 ย่อมรู้ชัด ความดับไปของรูปสัญญา (ภาวะที่จิตไม่สามารถระลึกถึงรูปใดๆได้อีกต่อไป)

    ฌาณ 5 ไป 6 ย่อมรู้ชัด ความที่สภาวะรู้หรือธาตุรู้เข้าแทนที่ความว่าง space ทั้งมวล (ย่อมรู้ชัด ความดับไปของความรู้ว่าง)

    ฌาณ 6 ไป 7 ย่อมรู้ชัด ความดับไปของความรู้ธาตุรู้ (รู้แต่ความไม่มีอะไรเลย)

    ส่วนฌาณ 7 ไป 8 ไม่เหลือนาม-รูปให้กำหนดรู้ (สัญญาเหลือน้อยแผ่วมาก มีก็เหมือนไม่มี รูปก็ไม่รู้ ว่างก็ไม่รู้ จิตก็ไม่รู้ ไร้ก็ไม่รู้)
     
  12. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    เจโตวิมุติสุข

    "ดูกรอานนท์ เราไม่ยอมรับถ้อยคำของที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขยังมีอยู่

    ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่นี้แล อานนท์ สุขที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

    ดูกรอานนท์ สุขที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้แลอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าแลประณีตกว่าสุขนี้

    ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มี อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขนี้แลอานนท์ สุขที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

    ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุถฌาน ไม่มีทุกข์ (ความไม่สบายกาย) ไม่มีสุข (ความสบายกาย) เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส (ความดีใจ) และโทมนัส (ความเสียใจ) ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้แลอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้

    ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการ (ทำใจไว้ให้แยบคาย)ว่า ความว่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆะสัญญา (ความทรงจำการกระทบกระทั่ง) ได้ เรพาะไม่มนสิการในนานัตสัญญาอยู่ นี้แลอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้

    ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า ธาตุรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนได้ โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แลอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

    ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าหน่อยหนึ่งไม่มี ความไร้ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แลอานนท์ สุขอื่นดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

    ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตะฌาน (สภาวะที่เหมือนไม่มีสัญญาอยู่ แต่จะบอกว่าไม่มีก็ไม่ได้) เพราะล่วงอากิญจัญญานตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แลอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

    ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ (ดับสัญญา และเวทนาสิ้นเชิง) เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แลอานนท์ สุขอื่นที่ดีกว่าประณีตกว่าสุขนี้

    ดูกรอานนท์ ข้อที่อัญญเดียรถีย์ (คนนอกธรรมวินัยผู้มืดบอด) จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสสัญญาเวทยิตนิโรธไว้แล้ว แต่บัญญัติลงในสุข (เป็นความสุข) ข้อนี้จะเป็นไฉนเล่า ข้อนั้นเป็นอย่างไรเล่า ดังนี้ เป็นฐานะจะมีได้

    ดูกรอานนท์ เธอควรจะกล่าวตอบว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาค จะทรงหมายสุขเวทนาอย่างเดียว แล้วบัญญัติไว้ในสุขหามิได้ แต่บุคคลได้สุขในที่ใดๆ พระตถาคต ย่อมบัญญัติที่นั้นๆ ในสุข ดังนี้"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2005
  13. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    เจโต...... คือ ตัวเจต
    เจต........คือ การทำงานของจิต
    วิมุติ.......คือ การเพิก การเลิก การหยุด การดับ

    ดังนั้น เจโตวิมุติ คือการเพิกขอบเขตของจิต และ/หรือ การดับการทำงานของจิตนั่นเอง
     
  14. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    ก่อนที่ผมจะหัวข้อขึ้นเรื่อง "ปัญญาวิมุติ" ในตอนต่อไป
    ผมจะทบทวนสิ่งที่ได้เล่ามาทั้งหมด ดังนี้

    บุคคลที่อบรมเจโตวิมุติที่พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำให้แล้วเช่นนี้ ย่อมเห็นความเป็นจริงอย่างชัดเจนว่า นามรูปเป็นสิ่งไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นสิ่งที่บีบเค้นอยู่โดยรอบ (ทุกขัง) และไม่มีนามรูปใดเป็นอิสระโดยตัวเอง (อนัตตา) บุคคลนั้นย่อมแทงตลอดในเบญจขันธ์ ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งใกล้และไกล

    หากบุคคลใดนำธรรมะนี้ไปพิจารณาให้แจ่มแจ้งดีแล้ว จักได้ "สมาธิในปัญญา"

    และนี่คือที่มาของ ปัญญาวิมุติ ซึ่งผมจะได้กล่าวในตอนต่อไป ครับ
     
  15. คุจากุแห่งไซเฟิร์น

    คุจากุแห่งไซเฟิร์น Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +27
  16. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    สวัสดีครับ คุณคุจากุแห่งไซเฟิร์น
    ผมจะพูดไปเรื่อยๆ ถ้าท่านผู้ทรงฌานท่านใดเห็นว่าผมพูดผิด กรุณาท้วงติงได้นะครับ
    และท้วงติง ได้ทุกๆ เรื่องครับ ..... หากไม่มีท่านใดท้วงติง ผมจะพูดไปเรื่อยๆ ไม่มีจบ

    เพราะบทต่อไปจากนี้ คือเรื่องของปัญญาวิมุติ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2005
  17. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    ผมไม่รู้ครับ ... ต้องถามคุณเว็ปสโนว์ ครับ ...

    ปล. ผมยังไม่มีตาทิพย์ ที่จะถอดรหัส ที่ห้องอภิญญาพิเศษ ครับ ... จริงๆ น๊า แค่วิชชาสามที่มีญานแปดอย่าง ผมยังไม่ได้สักอย่าง ... แล้วอภิญญาหก นี่ ... ผมยิ่งห่างไกลไปอีกไม่รู้กี่อสงไขย์ ... จริงๆ ครับ
     
  18. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    ชัยบอกให้คนใช้ตาทิพย์ส่องระหัสเองค่ะ หรือใช้เจโตตรวจจิตชัยเอาหรือดึงจิตชัยให้มาแจ้งระหัสเข้าห้องนี้เอาค่ะ ยายไม่สนใจที่จะเข้าไปนะถ้าจะเป็นการเลือกว่าใครกันแน่ที่ได้ตาทิพย์จริง เราวางเถอะ ตามพระไป เราไม่ต้องกระหายเกินกำลัง เราส่องจิตเราให้นิ่งที่สุดได้เท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น
     
  19. DevilBitch

    DevilBitch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    9,776
    ค่าพลัง:
    +36,838
    ก็คงแล้วแต่จุดประสงค์ของเจ้าของบ้านน่ะค่ะ อภิญญามีหลากหลายแนวค่ะ เราต้องทราบความหมายก่อนค่ะ ว่าอภิญญา คืออะไร อภิญญาดำ อภิญญาขาวคืออะไร อภิญญาไม่ใช่ฤทธิ์อย้างเดียวนะคะ เราจะใช้อภิญญาี่เราแจ้งและถนัดทั้ง จากพรสวรรค์ที่ติดกรรมมาหรือจากอภิญญาี่เกิดจากการฝึกให้เปรื่อง แจ้ง
     
  20. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    มี 3 คนรึ? ผมนึกว่ามีเพียงแค่ 2 คน !!!
     

แชร์หน้านี้

Loading...