จำเป็นมัยเวลานั่งสมาธิต้องเห็นแสงสว่างเจิดจ้า

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nite, 4 กุมภาพันธ์ 2014.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ปฏิบัติให้มากๆ ให้ข้ามความสงสัยไป เพราะความสงสัยจัดเป็นหนึ่งในนิวรณ์ห้า เป็นเครื่องขัดขวางความดี อ่านและทบทวนพิจารณาให้เข้าใจในเรื่องของ สมาธิ ฌาน และภวังค์ ตามที่คุณคุรุวาโร แนะนำไป มันจะเป็นไปตามขั้นตอนของมันเองค่ะ สิ่งใดที่เกิดขึ้นในสมาธิให้พิจารณาเป็นแค่สภาวะธรรมเท่านั้น

    หลักและวิธีการต่างๆ ก็มาจากผลของการปฏิบัตินั่นแหละค่ะ ซึ่งมีหลากหลายแยกไปตามแต่ละจริตของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลนั่นเอง
     
  3. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/xpbiNhEnad2ycDF4" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/a7c/5woIbL.jpg" /></a>​

    ขั้นของสมาธิ..

    พระพุทธศาสนานี้ พระพุทธเจ้าวางหลักคำสอนเอาไว้ อันเป็นหลักใหญ่ๆ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอุบายหรือเป็นหนทางที่พุทธบริษัทจะต้องยึดเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อสร้างคุณธรรมคือความดีให้เกิดมีขึ้นในจิตในใจ จนถึงขนาดที่ ศีล สมาธิ ปัญญา ประชุมพร้อมกันเป็นองค์อริยมรรค สามารถเกิดสติสัมปชัญญะขึ้นมาเป็นมหาสติด้วยวิธีการต่างๆ วิธีการที่จะพึงปฏิบัตินั้น เราเรียกๆ กันโดยทั่วไปว่า สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน หนทางที่จะเข้าไปสู่ความรู้จริงเห็นแจ้งในภาวธรรมทั้งปวงนั้น เราจะหนีจากหลักแห่งการปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานไปไม่ได้ ..ฯลฯ

    สำหรับผู้ที่เริ่มใหม่ ซึ่งจิตยังไม่เคยมีสมาธิและไม่เคยเกิดภาวะ “ตัวผู้รู้” ขึ้นมาในจิต ให้อาศัยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกบ้าง หรือกำหนดบริกรรมภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ตนชำนิชำนาญ เช่น พุทโธ เป็นต้น ให้กำหนดจดจ่อลงที่จิต แล้วเอาจิตนึก พุทโธๆ ๆ นึกอยู่อย่างนั้น นึกอยู่เฉยๆ อย่าไปทำความรู้สึกว่า เมื่อไรจิตของเราจะสงบ เมื่อไรจิตจะเกิดสว่าง เมื่อไรจิตจะเกิดความรู้ ความเห็นขึ้นมา

    การภาวนาในเบื้องต้นนี้ ไม่ใช่เพื่อจะรู้เพื่อจะเห็นสิ่งอื่น เพื่อให้รู้ให้เห็นสภาพความจริงของจิตของตัวเอง เราจะเริ่มรู้ความเป็นจริงของจิต ตั้งแต่เราเริ่มกำหนดจิตกับบริกรรมภาวนา รู้อย่างไร รู้อยู่ตรงที่ว่าจิตของเรากับบริกรรมภาวนานั้น มีความสัมพันธ์หรืออยู่ด้วยกันหรือไม่ เมื่อจิตของเรากับบริกรรมภาวนาสัมพันธ์กันอยู่ด้วยกัน มันมีโอกาสที่จะเผลอส่งกระแสไปทางอื่นหรือไม่ นี้ให้เรากำหนดดูความจริงของจิตในตอนนี้ ทีนี้ในขณะที่เรานึก พุทโธๆ ๆ อยู่นั้น ความรู้สึกของจิตนั้นมันมีอะไรบ้างเกิดขึ้น จิตอยู่กับพุทโธไหม หรือว่ามันลืมพุทโธเป็นบางครั้ง บางขณะ ในขณะที่ลืมนั้นจิตมันไปอยู่ทางไหน ไปอยู่กับสิ่งภายนอก ซึ่งเป็นอดีตสัญญา หรือว่านิ่ง ว่างอยู่เฉยๆ ให้เราสังเกตดูความจริงในตอนนี้ ทีนี้ถ้าหากจิตของเราลืมพุทโธ แล้วมันไปอยู่ในสัญญาอดีตที่เราเคยนึกคิดและจดจำ ซึ่งเป็นสิ่งอื่นนอกจากพุทโธ แสดงว่า จิตของเราละทิ้งพุทโธ แล้วก็ไปยึดเอาอารมณ์เก่าแก่มาเป็นความรู้สึกนึกคิดตามนิสัยเดิม เป็นอาการของจิตฟุ้งซ่าน

    แต่ถ้าหากจิตลืมคำว่า พุทโธ แล้วไปนิ่งอยู่เฉยๆ เมื่อมีอาการอย่างนี้เกิดขึ้น ผู้ภาวนาอย่าไปนึกถึงพุทโธอีก ให้กำหนดรู้ลงที่จิตเฉยๆ อยู่ แต่ในช่วงนี้ถ้าหากลมหายใจปรากฏขึ้นในความรู้สึก ก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจเฉยอยู่ เอาลมหายใจเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ จดจ่อดูอยู่อย่างนั้น อย่าไปสร้างความรู้สึกนึกคิดอะไรขึ้นมา และก็ไม่ต้องไปนึกว่า ลมหายใจสั้น ลมหายใจยาว เป็นแต่เพียงรู้ กำหนดจดจ่ออยู่เฉยๆ เท่านั้น ความสั้น ความยาว ความละเอียด ความหยาบ ของลมหายใจ เป็นสิ่งที่จิตรู้อยู่ จิตย่อมรู้ความสั้น ความยาว ความหยาบ ความละเอียด ของลมหายใจอยู่ในที โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปนึกสำคัญมั่นหมายว่า ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด ลมหายใจสั้น ลมหายใจยาว หรือลมหายใจหายขาดไปแล้ว กำหนดรู้ลงที่จิตตัวรู้จดจ่ออยู่อย่างนั้น

    อันนี้เป็นวิธีการปฏิบัติในเบื้องต้น ในขณะที่ท่านกำหนดจดจ่อดูอยู่ที่ลมหายใจเฉยอยู่ อะไรจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ไม่ต้องไปคำนึงถึงทั้งนั้น ถ้าในช่วงนี้จิตมันเกิดความสว่างขึ้นมา ก็อย่าไปเอะใจ กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว หากเกิดภาพนิมิตต่างๆ ขึ้นมา ก็อย่าไปเอะใจ กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว หรือจะมีอะไรเกิดขึ้น เป็นอุทานธรรมะ เป็นภาษิตซึ่งเกิดขึ้น เป็นความรู้ เป็นภาษา ก็อย่าไปสำคัญมั่นหมาย อย่าไปเอะใจ กำหนดรู้อยู่ที่จิตอย่างเดียว ถ้าหากท่านไปเอะใจ หรือเอาใจใส่กับสิ่งนั้น สภาพจิตมันจะเปลี่ยน เมื่อสภาพจิตเปลี่ยนแล้วสมาธิจะถอน สิ่งที่ท่านกำลังกำหนดรู้อยู่นั้นมันจะหายไปทันที อันนี้ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลายพึงระมัดระวัง และในเมื่อท่านจดจ่อเอาจิตรู้อยู่ที่จิต และก็รู้อยู่ที่สิ่งที่จิตรู้ ความตั้งใจกำหนดจดจ่ออยู่อย่างนี้ด้วยเจตนา ท่านเรียกว่า “วิตก” เมื่อจิตกับอารมณ์สิ่งที่กำหนดรู้ มีความสนิทแนบแน่นไม่พรากจากกัน ทรงตัวอยู่อัตโนมัติ โดยที่ท่านไม่ได้ตั้งใจที่จะควบคุม อันนี้เรียกว่า “วิจาร”

    เมื่อจิตกับอารมณ์ มีความซึบซาบและมีความซาบซึ้งลงไปในดวงจิต ความดูดดื่มมันก็ย่อมเกิดขึ้น ความดูดดื่มของจิตนั้นเรียกว่า “ปีติ” ปีติเกิดขึ้นทำให้เรารู้สึกกายเบา จิตเบา บางทีทำให้ตัวโยกโคลง บางทีทำให้ตัวขึ้นจะลอย เหมือนกับขึ้นสู่อากาศ บางทีทำให้รู้สึกหนักตัว ซึ่งสุดแล้วแต่อาการของจิต มันจะปรุงจะแต่งขึ้น ให้ท่านกำหนดรู้อยู่ที่จิตอย่างเดียว ตอนนี้ปล่อยให้จิตมันเสวยปีติ ในเมื่อจิตมีปีติเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง จิตไม่ฟุ้งซ่านไม่กระวนกระวาย จิตก็มีแต่ความสุข และก็จะดำเนินสู่สมาธิในขั้นละเอียดต่อไปเป็นลำดับ ซึ่งจุดแรกเราจะปรากฏว่า อุปจารสมาธิเกิดขึ้น มีความรู้สึกนิ่งสว่าง แต่ความรู้สึกในสิ่งภายนอกยังรู้สึกอยู่บ้างนิดๆ หน่อยๆ หรือปรากฏอย่างละเอียด

    ในเมื่อจิตผ่านขั้นตอนขั้นนี้ไปแล้ว จิตจะมีความสงบแน่วแน่นิ่งลงไปสู่ความเป็นหนึ่งซึ่งเรียกว่า อัปปนาสมาธิ หรือ “เอกัคคตา” ในตอนนี้จิตของท่านสงบอย่างละเอียด มีแต่สภาวะจิตสงบนิ่งสว่างอยู่อย่างเดียว

    สมาธิในขั้นต้นนี้โดยส่วนมาก ในเมื่อจิตสงบลงไปถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรือเอกัคคตาอย่างแท้จริงแล้ว เราจะรู้สึกว่ากายหายไปหมด ยังเหลือแต่จิตดวงเดียวล้วนๆ แล้วในตอนนี้ ผู้ภาวนานั้นไม่มีความสามารถที่จะนึกคิดอะไรอย่างอื่นขึ้นภายในจิตได้ เพราะสมาธิในตอนนี้เป็นสมาธิด้วยความเป็นเองอย่างแท้จริง เป็นสมาธิที่หมดความตั้งใจ ซึ่งเรียกว่าสมาธิจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเราหมดความตั้งใจ เป็นสมาธิที่เป็นอัตโนมัติ เป็นสมาธิที่เป็นเอง ผู้ภาวนาจะน้อมจิตไปอย่างไรก็น้อมไม่ได้ จะถอนจิตออกมาก็ถอนไม่ได้ จนกว่าจิตนั้นจะถอนออกมาเอง นี่คือลักษณะจิตที่เข้าไปสู่อัปปนาสมาธิ หรือเอกัคคตาในขั้นต้น

    สมาธิในขั้นนี้ที่ท่านว่ามันเป็นสมถะ ยังไม่สามารถที่จะให้เกิดความรู้ความเห็นในด้านปัญญาหรือวิปัสสนาขึ้นมาได้ ก็เพราะจิตในขั้นนี้เป็นแต่เพียงว่า จิตดำเนินเข้าไปสู่ความเป็นเดิม สภาพเดิมของจิตที่ยังไม่ได้ประสบกับอารมณ์ใดๆ ย่อมมีลักษณะอย่างนี้ จิตอย่างนี้ ท่านเรียกว่า ปฐมจิต เรียกว่า ปฐมวิญญาณ เรียกว่า มโนธาตุ เป็นเหตุให้ผู้ภาวนาได้รู้สภาพความเป็นจริงของจิตดั้งเดิมของตัวเอง คือจิตที่ไม่มีอะไรนั้น มันมีลักษณะอย่างไร แล้วเราจะรู้ในตอนนี้ และเมื่อจิตถอนออกจากสมาธิในขั้นนี้ เมื่อมารับรู้อารมณ์ คือ เกิดความคิดขึ้นมาก สภาพจิตหลังจากที่เกิดมีสมาธิแล้วออกมารับรู้อารมณ์นี้ มันมีลักษณะแตกต่างจากจิตที่ยังไม่เคยมีสมาธิอย่างไร

    อันนี้ผู้ภาวนาเมื่อทำจิตลงไปถึงขั้นนี้แล้วจะรู้ทันที เพราะฉะนั้น การบริกรรมภาวนาหรือกำหนดอารมณ์ เพื่อทำให้จิตสงบนิ่งลงเป็นสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธินั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ภาวนานั้นรู้สภาพความเป็นจริงของจิตดั้งเดิมของตัวเอง แม้ว่าภูมิจิตในขั้นนี้จะยังไม่เกิด ปัญญาญาณรู้ เห็นอะไรก็ตาม แต่ก็เป็นพื้นฐานสร้างความมั่งคงของจิต เมื่อจิตผ่านการเป็นสมาธิอย่างนี้บ่อยๆ เข้า สิ่งที่จะได้เป็นผลพึงตามมาก็คือ ความมี สติสัมปชัญญะ จะค่อยปรากฏขึ้นทีละน้อยๆ

    ในขั้นแรกจิตสงบเพียงครั้งสองครั้ง เมื่อจิตออกจากสมาธิมาขั้นนี้แล้ว มันก็จะถอยพรวดๆ ๆ ออกมาโดยไม่กำหนดอะไรเลย ออกมาสู่ความเป็นซึ่งที่เคยเป็นมาตั้งแต่ก่อนที่ยังไม่เคยทำสมาธิ แต่ถ้าจิตผ่านสมาธิแบบนี้บ่อยๆ เข้า เมื่อจิตถอนออกมาเกิดความคิด จะเกิดมีตัวสติตามรู้ความคิดขึ้นมาทันที จิตคิดอะไร สติก็จะจ้องตามรู้ ให้ผู้ภาวนารีบฉวยโอกาสในตอนนี้ กำหนดจดจ่อความรู้ ความคิดของตนเองไปเรื่อยๆ จิตคิดอะไรขึ้นมาก็รู้ เพียงสักแต่ว่ารู้อย่างเดียว อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ หรืออย่าไปช่วยมันคิดเพิ่มเติม ปล่อยให้จิตคิดไปเองโดยธรรมชาติของมัน หน้าที่ของผู้ปฏิบัตินี้มีแต่ตั้งใจตามรู้ความคิดนั้นไปเรื่อยๆ

    ในเมื่อตัวสติ ตัวที่ตามรู้ความคิด จิตเอาความคิดอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตเป็นเครื่องรู้ เป็นเครื่องระลึกของสติ สติสัมปชัญญะก็จะค่อยๆ ดีขึ้น แล้วก็เพิ่มพลังขึ้นเป็นสติพละ จนสามารถเป็นสติวินโย สามารถกลายเป็นมหาสติ เมื่อจิตกลายเป็นมหาสติขึ้นมาได้เมื่อไร สติวินโยจะเป็นผู้นำ คือเป็นผู้ตาม ตามรู้อารมณ์คือ ความคิด ซึ่งเกิดขึ้นกับจิต เมื่อจิตมีสติตามรู้อารมณ์ คือ ความคิดทันกันเมื่อไร เมื่อนั้นความคิดซึ่งเราเคยมีอยู่ก่อนนั้น มันก็จะกลายเป็นภูมิปัญญา

    โดยลักษณะที่ว่า จิตตัวผู้รู้ ก็จะปรากฏรู้อยู่ส่วนหนึ่งต่างหาก และสิ่งที่ออกไปคิด ค้นคว้าในอารมณ์นั้น ก็จะมีอยู่ส่วนหนึ่งอีกต่างหาก มองๆ ดูแล้วคล้ายกับว่า เราคนเดียวมีจิต 2 จิต มีใจ 2 ใจ แต่แท้ที่จริงมันก็เป็นใจเดียวกันนั้นแหละ แต่ใจหนึ่งจิตหนึ่งมันสงบนิ่งเป็นตัวผู้รู้ เพราะอาศัยพลังของสติ ประคับประคองเอาไว้ให้อยู่ในสภาพปกติ แต่อีกอันหนึ่งนั้น กระแสแห่งผู้รู้มันออกไปรับรู้อารมณ์ ในเมื่อรู้ขึ้นมาแล้ว จิตมีสติ อาศัยสติเป็นพละ เป็นกำลัง จึงไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตัวเองปรุงขึ้นมา ในเมื่อจิตปรุงความรู้ขึ้นมาโดยไม่มีความยึดถือ อาการของกิเลสมันก็ไม่มี มีแต่รู้เฉยอยู่ อะไรรู้ขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป รู้ขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป

    ในเมื่อจิตมันละเอียดลงไป สติอันนี้มันละเอียดลงไปรู้ทันมันอย่างละเอียดลงไป โดยไม่ขาดสาย สายสัมพันธ์แห่งสติมันเชื่อมโยงกันอยู่ตลอดเวลา ความรู้ความคิดที่เกิดขึ้นในจิตนั้น มันจึงกลายเป็นตัวปัญญา ที่ว่ารู้ธรรมเห็นธรรม รู้แจ้งแทงตลอดในธรรม ในขั้น วิปัสสนากรรมฐาน นั้นก็หมายถึง รู้ทันความคิดที่เราเคยคิดอยู่แต่ก่อนที่ยังไม่ภาวนา หรือภาวนาไม่เป็น

    เมื่อเราภาวนาเป็นแล้ว มีสติ มีสมาธิดี เรียกว่ามี พละ 5 พร้อมที่จิตมี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา พร้อมมี ศีล สมาธิ ปัญญา รวมพร้อมกันเป็นหนึ่ง ตัวที่ปรากฏเด่นชัดให้เรามองเห็นก็คือความมีสติ ความรู้เท่าทันอารมณ์นั้นๆ ทีนี้ความคิดที่เคยทำให้เราวุ่นวายเดือดร้อนอยู่นั้นแหละ มันจะกลายมาเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เมื่อจิตกับสติประกอบพลังเป็นอันเดียว แล้วรู้ทันเหตุการณ์นั้นๆ มันก็กลายเป็นตัวปัญญา เกิดมาเป็นตัววิปัสสนา มาด้วยประการฉะนี้..

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย..
    https://www.facebook.com/apichai553?ref=hl
     
  4. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    จากที่คุณ ธรรม-ชาติ ตอบมาเป็นข้อๆต้องขอบคุณมากๆเลยตอนนี้ตัดเรื่องแสงอะไรนั้นไปละ แต่พอถึงคำว่า "การถอดกาย" อยากรู้ว่าอันเดียวกะถอดจิตหรือเปล่าว พอดีว่าเคยไปนั่งในโบสถ์ที่วัดระฆังกะเพื่อน แล้วพอดีโบสถ์กำลังสร้างคนเยอะเสียงเอะอะโวยวายพอสมควร เลยนั่งไปสักพัก แล้วก็เกิดอาการเหวี่ยงเหมือนเดิมครับ แต่สาเหตุที่เหวี่ยงเพราะนั่งไปสักพักเห็นลูกแก้วเลยจ้องเลยเหวี่ยงตามเคยแล้วขณะนั้นเลย นึกถึงกุฏิของหลวงพ่อวัดระฆัง เลยตั้งจิตไปเพื่อจะไปนั่งที่นั้น (ความรู้สึกตอนนั้นคือเหมือนเรานึกคิดไปเองว่าจะไปนั่งที่นี้ๆๆๆนะ) หลังจากนั้นภาพบนกุฏิ ก็ปรากฏในความคิดเรา แล้วเราก็เดินๆหาที่นั่งแล้วก็ได้นั่งหน้าหลวงพ่อโต สักพักพอจะกลับก็มองที่ลูกแก้วอีกตามเคย ก็หมุนเหวี่ยงกลับมาที่พุทโธแล้วลืมาตาปกติ ** แบบนี้เรียกว่าคิดไปเองหรือเปล่าว เริ่มสงสัย เพราะว่า เพื่อนถามเราว่า ขึ้นไปนั่งสมาธิบนกุฏิหลวงพ่อหรอ เราเลยเอะใจเลยถามว่ารู้ได้ไง เขาบอกว่าเขาเห็นและเขาก็ถอดจิตขึ้นไปนั่งบนนั้นเหมือนกัน เลยชัก งง ว่า สรุปเราคิดไปเองหรือจิตมันถอดไป?? หรือคิดมาก เพราะตอนนี้ ตอบไม่ค่อยได้ว่าอันไหนจิตคิดไปเองอันไหนคือไม่ได้คิดไปเอง...
    **ทุกครั้งที่นั่งกับเพื่อน เพื่อนมันบอกว่าเหมือนมีคลื่นจูนหากันทำให้เขาเห็นในจิตของเราซึ่งเพื่อนก็เคยตอบในสิ่งที่เราเห็นในจิตของเราได้ถูกเป๊ะๆเลย บางครั้งก็ตกใจเหมือนกัน ที่เขาตอบตามที่เราเห็นในสมาธิ
    **แล้วทำไมเราถึงไม่เห็นเพื่อน แต่ทำไมเพื่อนเห็นแล้วก็รู้ในจิตเรา ??
    ที่ถามแบบนี้เพราะบางครั้งเวลาเกิดอาการหมุนๆแล้วเห็นภาพ พอสักพักเหมือนว่าจิตมันคิดต่อเติมไปเอง เลยสับสนว่า มีทั้งไม่คิดผสมกับตัวเองคิดไปเอง ^__^ หรือเปล่าว??
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2014
  5. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/xpblET03erpXhkyr" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/g7d/l8ElhB.png" /></a>​

    การปฏิบัติภาวนาจิต..

    ณ โอกาสต่อไปนี้ขอเชิญท่านพุทธบริษัททั้งหลายนอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ตรัสรู้เองโดยชอบ ทำสติกำหนดรู้จิตของตนเอง เอาตัวรู้กำหนดรู้ที่จิต นึกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่จิต พระธรรมก็อยู่ที่จิต พระอริยสงฆ์ก็อยู่ที่จิตของเรา เราไม่ต้องไปกังวลกับสิ่งอื่น โดยที่สุดแม้กระแสเสียงการบรรยายธรรมหรือแสดงธรรมเราก็ไม่ต้องไปสนใจใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ให้มีสติกำหนดรู้จิตเพียงอย่างเดียว

    เมื่อเรามีสติกำหนดรู้จิตของเรา ผู้รู้คือพระพุทธเจ้าก็กำเนิดที่จิต การทรงตัวอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ก็ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม สติที่สังวรระวังตั้งใจจะสำรวมจิต ก็ได้ชื่อว่ามีกิริยาแห่งความเป็นพระสงฆ์อยู่ในจิต ดังนั้นเมื่อเรามีสติกำหนดรู้จิตของเราเพียงอย่างเดียว หมดปัญหาที่เราจะไปกังวลกับสิ่งอื่น ๆ เพราะธรรมชาติของจิต และกายถ้ายังมีความสัมพันธ์กันอยู่ ไม่ว่าอะไรจะผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จิตเขาเป็นผู้มีหน้าทีรับรู้ เขาจะรู้เองโดยอัตโนมัติ ตาหูจมูกลิ้นกาย เป็นแต่เพียงเครื่องมือ เครื่องมือของจิตที่จะสื่อสารกับโลกภายนอก

    ดังนั้นเมื่อเราจะปฏิบัติธรรม จึงสำคัญอยู่ที่การที่มีสติกำหนดรู้จิตของเราเพียงอย่างเดียว ปฏิปทาของครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยอบรมสั่งสอนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านพ่อลี ซึ่งเป็นบูรพาจารย์ที่เราเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง ท่านก็ย้ำสอนอยู่ที่อานาปานสติ อานาปานสติ คือการที่กำหนดรู้ มีกำหนดสติ กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก ทีนี่วิธีการกำหนดรู้ลมหายใจ เราก็เพียงแค่ว่ามีสติกำหนดรู้จิตอยู่เท่านั้น เมื่อกายกับจิตยังมีความสัมพันธ์กันอยู่ สิ่งที่จะปรากฏเด่นชัดที่สุดก็คือ “ลมหายใจ” เมื่อเรามีสติกำหนดรู้ลมหายใจ เราก็จะรู้ธรรมชาติของกายธรรมชาติของกายนี้ปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือลมหายใจเท่านั้น เมื่อหายใจเข้าไปแล้วไม่ออกมาเราก็ตาย ลมหายใจออกไปแล้วไม่ย้อนกลับเข้ามาเราก็ตาย นี่เรามองเห็นความจริงได้เด่นชัด ในเมื่อรู้ว่าเราจะตาย เราก็รู้มรณานุสสติ คือสติระลึกถึงความตาย ดั่งเช่นที่พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถามพระอานนท์ว่า อานนท์เธอระลึกถึงความตายวันละกี่ครั้งกี่หน ท่านอานนท์ก็ทูลตอบว่า “วันละพันหน” พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสตอบว่า “อานนท์ยังประมาทอยู่” เราตถาคตระลึกถึงความตาย “ทุกลมหายใจ”

    ที่นี้เมื่อเรามาพิเคราะห์หรือพิจารณาความเป็นจริงตามพระดำรัสนี้ โดยธรรมชาติของผู้เป็นพุทธะหรือองค์พระพุทธเจ้า ย่อมมีพระสติสัมปชัญญะรู้พร้อมทั่วอยู่ทุกขณะจิต ดังนั้นคำที่ว่าระลึกถึงลมหายใจอยู่ทุกขณะจิต ก็หมายความว่าพระองค์รู้ระลึกถึงลมหายใจเข้าหายใจออกอยู่เป็นปกตินั่นเอง ที่นี่วันหนึ่ง ๆ คนเราหายใจวันละกี่ครั้งกี่คน เมื่อเรามีสติกำหนดรู้ลมหายใจของเราเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ก็ได้ชื่อว่าเราได้ระลึกถึงความตายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า เราระลึกถึงลมหายใจอยู่ทุกขณะจิต ทุกขณะที่มีลมหายใจ ความหมายของพระองค์เป็นอย่างนี้ สมัยที่ท่านพ่อลียังมีชีวิตอยู่ ท่านก็ชื่อว่าอาตมานอกจากจะเป็นลูกศิษย์แล้วยังถือว่าเป็นหลานด้วย ท่านมีศักดิ์เป็นปู่ เวลาท่านโปรดไปเยี่ยมเมื่อไหร่ ท่านจะบอกว่ามหาพุทธกำหนดรู้จิตรู้ลมหายใจเดี๋ยวนี้ ท่านไม่เคยสอนอย่างอื่น ท่านบอกให้กำหนดรู้ลมหายใจ พอมีสติกำหนดรู้ลมหายใจสักพักหนึ่ง ท่านจะถามว่า “สบายมั๊ย” เวลาอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์ทำอะไรมันก็สบายหมด เพราะมันกลัว กลัวบารมีของครูบาอาจารย์ ก็เลยต้องตอบท่านว่าสบายมาก แล้วท่านก็ย้ำว่า

    การปฏิบัติสมาธิภาวนาสำคัญอยู่ที่อานาปานสติ ทำไมถึงสำคัญอยู่ที่อานาปานสติ เรียนถามท่าน ท่านก็บอกว่า ใครจะบริกรรมภาวนาอะไรก็ตาม หรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม เมื่อจิตสงบแล้ว ซึ่งยังไม่ใช่สมาธิเป็นแต่เพียงความสงบ จิตหยุดนิ่ง ไม่นึกถึงอะไรอยู่แล้ว ในเมื่อจิตอยู่ว่าง ๆ ลมหายใจจะปรากฏเด่นชัดที่สุด ซึ่งจิตจะวิ่งไปหาลมหายใจเอง นี่ท่านว่าอย่างนี้ สรุปความว่าใครจะภาวนาอะไรอย่างไหนก็ตาม เมื่อจิตปล่อยวางอารมณ์ที่กำหนดพิจารณาอยู่ก็ดี บริกรรมภาวนาอยู่ก็ดี จิตจะวิ่งเข้าหาลมหายใจ อันเป็นธรรมชาติของร่างกาย เมื่อจิตมาจับลมหายใจ ในช่วงนั้นจิตจะกำหนดรู้ลมหายใจเองโดยอัตโนมัติ เพียงแต่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก จิตจะไม่นึกว่า ลมหายใจชัด ลมหายใจยาว ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด เพียงแต่กำหนดรู้ลมหายใจเอง เฉย อยู่ เหมือน ๆ กับเราไม่ได้ตั้งใจ

    ที่นี่เมื่อจิตมากำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ บางครั้งลมหายใจจะปรากฏว่าลมหายใจแรงขึ้นเหมือนกับคนเหนื่อยหอบ ท่านก็เตือนให้มีสติกำหนดรู้อยู่เฉย ๆ บางครั้งจะรู้สึกว่าลมหายใจแผ่วเบาลงไปเหมือนใจจะขาด เหมือนจะหยุดหายใจ ท่านก็เตือนให้กำหนดรู้อยู่เฉย ๆ อย่าไปตกใจอย่าไปตื่นใจกับความเป็นเช่นนั้น สติเค้าจะกำหนดรู้ของเค้าอยู่โดยเองธรรมชาติ ถ้าหากผู้สติยังไม่เข้มแข็ง มีเหตุการณ์อันนี้บังเกิดขึ้นจะเกิดเอะใจ ตกใจ แล้วสมาธิก็ถอน ก็ตั้งต้นบริกรรมภาวนาหรือพิจารณาไปใหม่ จนกว่าจิตจะไปถึงความเป็นเช่นนั้นจนถึงจุดนิ่งว่าง ที่นี้จุดที่จิตไปหยุดนิ่งว่างอยู่เฉย ๆ อันนี้อย่าเข้าใจว่าจิตมีสมาธิ “มันเป็นแต่เพียงความสงบเท่านั้น”

    เมื่อจิตจะเป็นสมาธิมันเปลี่ยนสภาพจากความสงบ พอมันไปเกาะลมหายใจปั๊บจะรู้สึกว่าสว่างนิด ๆ ตามกำลังของจิต ที่นี่ถ้าจิตมีกำลังสมาธิมีกำลังของจิตเข้มแข็ง จิตสงบละเอียดลงไปแล้ว ความสว่างไสวจะปรากฏขึ้น ในช่วงที่จิตสว่างไหวปรากฏขึ้นนั้น ร่างกายยังปรากฏอยู่จิตจับลมหายใจเป็นอารมณ์ คือ วิตกถึงลมหายใจ อันนี้เป็นองค์แห่ง “วิตก” ที่นี่สติสัมปชัญญะอันเตรียมพร้อม รู้ตัวอยู่ในขณะนั้นเป็น “วิจารณ์” เมื่อจิตมีวิตกวิจารณ์ จิตแน่วแน่ต่ออารมณ์ที่จิตวิตกถึง ย่อมมีความดูดดื่ม ซึบซาบ แล้วก็เกิดมี “ปีติ” “ปีติเป็นอาการที่จิตดื่มรสพระสัทธรรม” เมื่อปีติบังเกิดขึ้น กายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ ผู้ใจอ่อนมีปีติอย่างแรงตัวจะสั่น ตัวจะโยก น้ำตาไหลขนหัวลุก ขนหัวพอง ท่านพ่อลีท่านเตือนให้กำหนดรู้ตัวอย่างเฉย ๆ พยายามรักษาสภาพจิตให้เป็นปกติไม่ต้องหวั่นไหวต่ออาการที่เป็นไปเช่นนั้น เมื่อจิตมีปีติก็มีความสุข เมื่อมีความสุขก็มีความเป็นหนึ่งกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ ความเป็นหนึ่งก็คือ “เอกัคตาตา”

    ถ้าหากสมาธิในขั้นนี้ดำรงอยู่ได้นาน ๆ หรือผู้ปฏิบัติเข้าสมาธิออก สมาธิได้อย่างคล่องตัวซึ่งเรียกว่า “วสี” ตามตำนานในการออก การเข้าสมาธิ แล้วสมาธิก็ดำรงอยู่นาน ๆ จะให้อยู่นานเท่าไหร่ก็ได้ อันนี้เรียกว่าผู้ปฏิบัติได้ “ปฐมฌาน”

    ปฐมฌาน มีองค์ประกอบห้า คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตาตา นักปฏิบัติที่เคยผ่านแล้วย่อมเข้าใจดี คราวนี้เมื่อจิตสงบลงไป สงบลงไป จิตนิ่งอยู่เฉย ๆ ไม่นึกถึงอะไร แต่มีปีติมีความสุขสมาธิจิตก้าวขึ้นสู่ “ทุติยฌาน” มีองค์ประกอบคือปีติสุข เอกัคตา

    เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปอีกขั้นหนึ่ง อาการแห่งปีติ ขนหัวลุกขนหัวพองหายไปหมดสิ้น ยังเหลือแต่สุขกับเอกัคตา ตอนนี้รู้สึกว่ากายเริ่มจาง ๆ เกือบจะหายไป แต่ยังปรากฏว่า สุขก็เป็นสุขที่ละเอียดสุขุม อันนี้สมาธิอยู่ในขั้น “ตติยฌาน” มีองค์ประกอบสองคือ สุขกับเอกัคตา

    เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปละเอียดลงไปจนกระทั่งกายจางหายไป ตอนนี้กายหายหมดแล้ว ยังเหลือจิตดวงนิ่งสว่างไหวรู้ตื่นเบิกบาน ร่างกายตัวตนไม่มี จิตไม่ได้นึกอะไร จิตรู้อยู่ที่จิต สมาธิขั้นนี้ถ้าเรียกโดยจิตก็เรียกว่า อัปณาจิต ถ้าเรียกโดยสมาธิก็เรียกว่าอัปณาสมาธิ เรียกว่าโดยฌานก็เรียกว่า จตุถฌาน มีองค์ประกอบสองก็คือ เอกัคตาคือความเป็นหนึ่ง กับอุเบกขาความเป็นกลางของจิต เป็นสมาธิอยู่ในขั้นจตุถฌาน สมาธิขั้นนี้ร่างกายตัวตนหายหมดยังเหลือแต่จิตดวงสว่างไหวอยู่ แต่ยังยึดความสว่างเป็นอารมณ์จิต จิตเป็นอตฺตาหิ อตฺตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน อตฺตสรณา มีตนเป็นที่ระลึกคือระลึกอยู่ที่ตน อตฺตาทีป มีตนเป็นเกราะ ผู้ภาวนาได้ชื่อว่าสมาธิขั้น “สมถะกรรมฐาน”

    คราวนี้สมาธิขั้นสมถะกรรมฐานที่ยังไม่มีกำลังเพียงพอก็ได้แต่เพียงหยุดนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน เป็นฐานสร้างพลังจิต แม้ว่าความรู้ความเห็นอะไรจะยังไม่บังเกิดขึ้นในอาการที่จิตทรงอยู่ในสภาพเช่นนั้นก็ตาม แต่ก็จะได้พลังจิต คือพลังทางสมาธิทางสติ

    เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิมาแล้ว พอรู้สึกว่ามีร่างกาย ถ้าจิตดวงนี้จะไม่เดินวิปัสสนาก็จะถอยพรวด ๆ ๆ ออกมา มาจนกระทั่งถึงความปกติธรรมดา เหมือนกับที่ยังไม่ได้ภาวนา แต่ถ้าจิตบางดวงมีอุปนิสัยเบาบาง จะก้าวขึ้นถึงภูมิวิปัสสนา พอถอนออกพอรู้สึกว่ามีกายเท่านั้นจิตดวงนี้ก็จะเกิดความรู้ความคิดผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมาอย่างกับน้ำพุ โดยอัตโนมัติ ในตอนนี้นักปฏิบัติบางท่าน อาจจะเข้าใจผิดว่าจิตฟุ้งซ่าน แต่ความจริงไม่ใช่จิตฟุ้งซ่าน จิตจะก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาเองโดยเราไม่ได้ตั้งใจ ถ้าจิตถอนออกจากสมาธิออกมาแล้วเกิดความคิดฟุ้ง ๆ ๆ ขึ้นมา สติสัมปชัญญะก็รู้พร้อมอยู่ที่ตรงที่จิตเกิดความคิด คิดแล้วก็ปล่อยวาง คิดแล้วก็ปล่อยวาง ไม่ได้วิ่งตามเรื่องราวสิ่งที่จิตคิด กำหนดรู้เพียงจุดที่เกิดความคิดเท่านั้น อันนี้เรียกว่าสมาธิวิปัสสนา จิตที่มันคิดไปนั้นมันคิดเรื่องอะไร สารพัดจิปาถะที่จิตมันจะปรุงแต่งขึ้นมา มันจะเหมือนกับเราผูกลิงไว้บนต้นไม้ มันจะกระโดดไปกิ่งโน้น กระโดดไปกิ่งนี้ บางทีมันก็แยกเขี้ยวยิงฟัน มันจะมีลักษณะอย่างนั้น มันไม่เป็นเรื่องไม่เป็นราว เพราะความคิดอันนี้จิตมันปรุงแต่งขึ้นมา ที่นี่ถ้าจิตมันปรุงแต่งขึ้น

    ถ้าสติสัมปชัญญะมันรู้พร้อม มันก็สักแต่ว่าคิด คิดแล้วปล่อยวาง คิดแล้วปล่อยวาง ไม่ได้ยึดอะไรไว้เป็นปัญหา สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเอง ที่นี่ถ้าจิตของท่านผู้ใดเป็นเช่นนี้ ถ้าหากไม่เผลอไปคิดว่าจิตฟุ้งซ่านปล่อยให้มันไปตามธรรมชาติของมัน มันอยากคิดอยากให้มันคิดไป แต่ว่าเรามีสติกำหนดตามรู้ ๆ ๆ เรื่อยไป เอาความคิดนั้นแหละเป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ ตอนนี้สมาธิมันเป็นเองโดยตามธรรมชาติ ปัญญาก็เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เรากำหนดไหมเอาความดีจากความเป็นเช่นนี้ของจิต ด้วยความมีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว เมื่อจิตไปสุดช่วงมันแล้ว บางทีจะหยุดนิ่งปั๊บลงไป บางทีก็รู้สึกแจ่ม ๆ อยู่ในจิต บางทีก็รู้สึกสงบลงไปถึงขั้นจตุถฌาน ไปยับยั้งอยู่ในจตุถฌานพอสมควร แล้วก็ไหวตัวออกมาจากสมาธิขั้นนี้ พอมาถึงจุดที่มีร่างกายเกิดวิตกวิจารณ์ขึ้นมา แล้วก็จะอธิบายเหตุการณ์ที่ผ่านมาให้ตัวเองฟังช๊อต ๆ บางทีเขาอาจจะบอกว่า ความคิดเป็นอาหารของจิต ความคิดเป็นการบริหารจิตให้เกิดพลังงาน ความคิดและการผ่อนคลายความตึงเครียด ความคิดนี่แหละมายั่วยุให้เราเกิดอารมณ์ความยินดียินร้าย แล้วจิตจะสามารถกำหนดไหมความคิดยินยินร้ายว่า ความยินดีคือกามตัณหา ความยินร้ายคือวิภาวตัณหา ความยึดคือภาวตัณหา ในเมื่อจิตมีกามตัณหา วิภาวตัณหา ภาวตัณหา อยู่พร้อม ความยินดียินร้ายมันก็บังเกิดขึ้น สุขทุกข์ก็บังเกิดขึ้นสลับกันไป

    เมื่อผู้มีสติสัมปชัญญะ มีพลังทางสมาธิทางสติปัญญา จิตก็สามารถกำหนดหมายรู้เกิดขึ้นดับไปอยู่ภายในจิต ว่านี่คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วจิตก็จะกำหนดดูรู้อยู่ที่จิต สิ่งเกิดดับ ๆ ๆ อยู่กับจิต แล้วในที่สุดจะรู้ว่านอกจากทุกข์ไม่มีอะไรอื่น ทุกข์ไม่มีอะไรดับ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดับไป ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม นี่ทางหนึ่งที่จิตของนักปฏิบัติจะเป็นไป..

    และอีกทางที่สอง เมื่อจิตสงบละเอียดลงไป ละเอียดลงไป สมาธิจิตเกิดความสว่างไหว แต่ร่างกายยังปรากฏอยู่ จิตยังเสวยปีติสุขซึ่งเกิดจากสมาธิ ในช่วงนี้ถ้าจิตส่งกระแสออกไปนอกจะเกิดภาพนิมิตต่าง ๆ ขึ้นมา บางทีเป็นภาพคน ภาพสัตว์ ภาพเทวดา อินพรหม ยมยักษ์ บางทีเห็นครูบาอาจารย์มาหา มาเทศให้ฟัง บางที้เห็นพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เสด็จมาโปรด แล้วก็มาเทศน์ให้ฟัง ทีนี้เมื่อเกิดนิมิตขึ้นมาอย่างนี้ ท่านพ่อลีสอนว่าอย่างไร ท่านว่าอย่าไปแปลกใจ อย่าไปตกใจ อย่าไปเอะใจ อย่าไปยึดในนิมิตนั้น อย่าไปสำคัญมั่นหมายว่ามีอะไรมาปรากฏตัวให้เรานึกเราเห็น ถ้ายังกำหนดจิตได้อยู่ ท่านก็ให้กำหนดรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ คือ “จิตของเราปรุงแต่งขึ้นเท่านั้น” ไม่ใช่อื่นไกล มันเป็นมโนภาพซึ่งเกิดขึ้นกับจิตของเราเอง จิตของเราเป็นผู้ปรุงผู้แต่งขึ้นมา

    ทางแก้ก็คือก็คือมีสติกำหนดรู้จิตนี้เฉยอยู่เท่านั้น ถ้าหากนิมิตที่มองเห็นในสมาธิเป็นภาพนิ่ง แน่วแน่ ไม่ไหวติง หรือบางทีออกจากสมาธิมาแล้วลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น อันนี้ท่านเรียกว่า อุคหนิมิต คือนิมิตติดตาหรือจิตกำหนดดูภาพนิ่ง ทีนี้เมื่อจิตมีพลังแก่กล้ามากขึ้น จิตสามารถปรุงแต่งนิมิตนั้นให้มีการเปลี่ยนแปลงยักย้าย บางทีนิมิตนั้นล้มตายลงไป ขึ้นอึด เน่าเปื่อย พุพัง แล้วก็สลายตัวไปต่อหน้าต่อตา หรือบางทีก็ปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมาว่าร่างกายที่แตกสลายแล้วแยกออกไปเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ หรือบางทีเกิดไฟลุกไหม้ร่างที่นอนตายอยู่นั้น เป็นเถ้าเป็นถ่านเป็นกลบไปหมด หรือบางทีนิมิตนั้นเกิดขึ้นแล้วก็หายไป เกิดขึ้นมาใหม่ มีอันเปลี่ยนแปลงยักย้ายอยู่ตลอดเวลา อันนี้ท่านเรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต”

    เมื่อจิตกำหนดหมายรู้ความเปลี่ยนแปลงแห่งนิมิตนั้น แสดงว่าจิตของผู้ปฏิบัติกำลังจะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา จิตถอดออกจากสมาธิมาแล้วเกิดความคิดบริสุทธิ์นั่นเป็นจุดเริ่มของวิปัสสนา ที่นี่จิตสงบเป็นสมาธิแล้วได้ “อุคหนิมิตเป็นสมถะกรรมฐาน” ถ้าได้ปฏิภาคนิมิต จิตกำลังเริ่มจะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น จิตเค้าจะปฏิวัติตัวไปเองโดยอัตโนมัติ ถ้าสิ่งใดที่เราตั้งใจปรุงแต่งจะให้เป็นไปอย่างนั้น ๆ ๆ ๆ อาศัยความคิดให้แน่วแน่ มันก็เกิดเป็นนิมิตอันนั้นเรียกว่า “นิมิตที่เราปรุงแต่ง” แต่ว่าหากจิตสงบแล้วมันเกิดนิมิตขึ้นมาเอง เราเรียกว่า “นิมิตมันเป็นเอง”


    อันนี้ลักษณะที่จิตพุ่งกระแสออกไปข้างนอกจะเป็นอย่างนี้ ยิ่งกว่านั้นในบางครั้ง เมื่อจิตมุ่งกระแสออกไปข้างนอกที่ติดอกติดใจ เช่นเห็นครูบาอาจารย์ หรือเทวดาอินพรหมยมยักษ์ เลยติดใจในภาพนิมิตนั้นก็เดินตามเค้าไป แต่ปรากฏเหมือนกับว่าเรามีร่าง ๆ หนึ่งเดินตามเค้าไป เค้าจะพาเราไปเที่ยวนรก เค้าจะพาเราไปเที่ยวสวรรค์ หรือบางทีเค้าจะพาเราไปดูเมืองนิพพานซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็เป็นมโนภาพขึ้นมาทั้งนั้น ๆ ที่นี้ตอนนี้เมื่อจิตเป็นไปอย่างนั้น ผู้ปฏิบัติไม่มีทางที่จะไปบังคับไม่มีทางที่จะไปตกแต่งจิตให้เป็นอย่างไร นอกจากจิตของเราจะปรุงแต่งไปเองตามอัตโนมัติ ในเมื่อไปสุดช่วงของมันแล้วมันก็จะย้อนกลับมาเอง อันนี้ธรรมชาติของสมาธิที่มันเป็นไปถ้าหากระแสจิตส่งออกไปนอกมันจะเป็นอย่างนี้ ยิ่งกว่านั้นในบางครั้งมันอาจจะไปรู้เรื่องลับ ๆ ลี้ ๆ อันเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตา เช่น ไปรู้วาระจิตของคนอื่น ไปรู้ความประพฤติของคนอื่น หรือไปรู้ทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นผลพลอยได้อันเกิดจากการปฏิบัติสมาธิ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ อันนี้เป็นทางหนึ่งที่จิตจะเป็นไป...

    ถ้าท่านผู้ใดมีประสบการณ์ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็ปล่อยให้จิตมันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน มันไปสุดช่วงของมันแล้วมันจะย้อนกลับมาเอง จิตมันไปดูข้างนอก มันไปสำรวจโลก เพื่อมันจะได้รู้ว่า “โลกะวิทู” นั้นคืออะไร นี่เป็นสองทางแล้วที่จิตจะเป็นไป และอีกทางหนึ่ง เมื่อจิตมาจับลมหายใจ.

    ในเมื่อจิตมาจับลมหายใจ เมื่อจิตสงบ สว่าง จะมองเห็นลมภายใจเป็นท่อยาว วิ่งออก วิ่งเข้า แล้วจิตก็จะไปยึดอยู่ที่ท่อลมวิ่งออกวิ่งเข้า สว่างไหวเหมือนหลอดนีออน บางทีเป็นท่อยาว บางทีก็เดินตั้งแต่จมูกจนถึงเหนือสะดือสองนิ้ว บางทีก็มองเห็นแต่ข้างใน เห็นแต่อยู่ภายในกาย บางทีก็มองเห็นพุ่งออกมาข้างนอกด้วย ซึ่งก็แล้วแต่จิตจะปรุงแต่งขึ้นมา อันนี้เป็นประสบการณ์ ทีนี้ถ้าหากจิตไม่เป็นอย่างนั้น พอวิ่งออกวิ่งเข้าตามลมซึ่งเข้าออก ๆ เมื่อจิตสงบนิ่งเข้าไปมันจะไปนิ่งสว่างอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย เรียกว่า “ดวงสว่างอยู่กลางกายนั่นเอง” ที่นี้นอกจากสงบนิ่งเป็นดวงสว่างอยู่ท่ามกลางของร่างกายแล้ว ยังสามารถพุ่งกระแสความสว่างออกมารอบตัว ในขณะนั้นจิตจะมองเห็นอวัยวะต่าง ๆ อยู่ภายในกายทั่วหมดในขณะจิตเดียว ตั้งแต่ผมขนเล็บฟันหนัง เนื้อเอ็นกระดูกจนกระทั่งถึงมัตฺตเก มัตลุงคฺง มันสมองเป็นที่สุด จะรู้เห็นในขณะจิตเดียว

    ทีนี้เมื่อจิตไปกำหนดรู้เห็นอยู่ภายใน ภายในกายรู้เห็น เห็นอวัยวะครบถ้วนอาการสามสิบสอง จิตเริ่มละเอียด ๆ ๆ ลงไปทีละน้อย ๆ แล้วในที่สุดเข้าไปสู่อัปนาสมาธิถึงฌานที่สี่ ร่างกายตัวตนหายไปหมด ยังเหลือแต่จิตดวงเดียวนิ่งสว่างไหวอยู่ ที่นี่เมื่อจิตผ่านความเป็นอย่างนี้ แล้วไปสู่จุดซึ่งเรียกว่า จตุถฌาน จิตอาจจะมาลอยเด่นอยู่เหนือร่างกาย แล้วจะมองเห็นร่างกายขึ้นอืด เน่าเปื่อย ผุพัง สลายตัวไปทีละอย่าง ๆ ๆ ในที่สุดเหลือแต่โครงกระดูก โครงกระดูกก็จะทรุดหวบลงไปแหลกละเอียด หายสาบสูญไปกับผืนแผ่นดิน แล้วก็เหลือเพียงจิตสว่างไหวอยู่เพียงดวงเดียว บางทีอาจจะเป็นย้อนกลับไปกลับมาหลายครั้งหลายหน อันนี้ก็พึงเข้าใจว่าจิตเป็นผู้ปรุงแต่งขึ้นมา ปรุงแต่งขึ้นมาเพื่อให้เรารู้ว่าจริงว่า “ร่างกายของเราจะเป็นไปเช่นนั้น” ที่นี้บางทีอาจจะมองเห็นร่างกายแยกกันเป็นกอง ๆ กองดิน กองน้ำ กองลม กองไฟ

    ทีนี้เมื่อจิตถอนจากสมาธิมาแล้วก็รู้สึกว่ามีกาย ถ้าสมาธิจิตที่กายหายไปแล้วนี่ พอจิตย้อนกลับมาหากาย ตอนนี้นักปฏิบัติต้องประคองสติให้ดี และเมื่อจิตมาสัมพันธ์กับกายเราจะรู้สึกซู่ซ่าทั่วร่างกาย เหมือนกับฉีดยาแคลเซียมเข้าเส้นอย่างแรง จะวิ่งซู่ไปทั่วกายตั้งแต่หัวสู่เท้า ตอนนี้นักปฏิบัติผู้มีสติสัมปชัญญะจะไม่ตื่นตกใจ จิตจะมีสติกำหนดรู้ความเป็นไปจนกระทั่งมีความรู้สึกเป็นปกติ พอมีความเป็นปกติ สมาธิยังอ่อน ๆ จิตก็ยังบอกกับตัวเองว่านี่แหละคือการตาย ตายแล้วมันก็ขึ้นอืด น้ำเหลืองไหล เน่าเปื่อย ผุพัง ทุกสิ่งทุกอย่างสลายตัวไปเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ไหนเล่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขามีที่ไหน จิตมันจะว่าอย่างนี้

    ในขณะที่มันรู้เห็นนิ่งอยู่เฉย ๆ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น เห็นร่างกายตายมันก็เฉย เห็นร่างกายเน่าเปื่อยผุพังมันก็เฉย แต่มันรู้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง สามารถบันทึกข้อมูลไว้หมดทุกอย่าง “อันนี้เรียกว่าความรู้เห็นในขั้นสัจจธรรม” สัจจธรรมย่อยไม่มีภาษาสมมติบัญญัติ และก็เป็นความรู้ความเห็นในสมาธิสมถะเสียด้วยนะ พออย่างนั้นนักปฏิบัติที่ยังภาวหน้าไม่ถึงขั้น อย่าไปด่วนปฏิเสธว่าสมาธิขั้นสมถะไม่เกิดภูมิความรู้ จิตของคนเราแม้ไม่มีร่างกายตัวตนสามารถรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้แต่พูดไม่เป็น รู้เห็นเหมือนกับคนใบ้ รู้เห็นนิ่ง ๆ เฉย ๆ แต่สามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้พร้อมหมด ทำไมจึงไม่พูด ทำไมจึงไม่คิด ในขณะนั้นร่างกายไม่มี จึงไม่มีเครื่องมือ จึงคิดไม่เป็น พูดไม่เป็น สงสัยหรือเปล่า ถ้าสงสัยปฏิบัติไปให้ถึงขั้นนี้แล้วจะหายสงสัย อย่ามัวแต่ไปเถียงว่าสมาธิขั้นสมถะมันไม่เกิดภูมิความรู้ ไม่เกิดภูมิความรู้ ขอประทานโทษ ไม่ตำหนิยกโทษ แท้ที่จริงตัวภาวนาไม่ถึงขั้น ไปอ่านกันเพียงแต่ตำรับตำราเท่านั้น

    ถ้าหากนักปฏิบัติภาวนาชาวพุทธเนี่ย ยังเห็นว่าสมาธิขั้นสมถะยังไม่เกิดความรู้อยู่ตราบใด พุทธบริษัทก็จะพากันโง่จนกระทั่งศาสนาสาบสูญออกไปจากโลก ไม่ใช่ด่านะ ให้พยายามไปพิจารณาดูให้ดี สมาธิตามความเข้าใจของนักปฏิบัติในปัจจุบันนี้มันเป็นอย่างนี้ เช่นอย่างมาภาวนาพุทธโธ ๆ ๆ ๆ แล้วก็ข่มจิตลงไป น้อมจิตลงไป ๆ อาศัยการฝึกให้คล่องตัวจนชำนิชำนาญ ในเมื่อมันเกิดความคล่องตัวเราจะสะกดจิตตัวเองให้หยุดเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ความหยุดนิ่งของจิตตามที่เราตั้งใจจะให้หยุดนิ่ง มันไม่ใช่สมาธินะ พระเดชพระคุณ มันเป็นแต่เพียงความสงบเท่านั้น สมาธิจริง ๆ เมื่อจิตหยุดนิ่งมันจะเปลี่ยนสภาวะ นิ่งปั๊บ เป็นนิ่ง สว่าง รู้ตื่น เบิกบาน ถ้าหากว่ากายเกิดในขณะนั้น มีวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา พร้อม นิวรณ์ห้าทั้งหลายมันจะสงบระงับไปหมด

    อันนี้มันจึงจะเรียกว่าสมาธิที่มันเป็นเองโดยธรรมชาติของสมาธิ เมื่อสมาธิธรรมชาติมันเกิดขึ้นแล้ว นักปฏิบัติไม่สามารถที่จะน้อมจิตน้อมใจไปไหนได้หรอก นอกจากจิตจะปฏิวัติตัวไปเองโดยพลังของศีล สมาธิ ปัญญาที่ประชุมพร้อมแล้ว ซึ่งเราสวดสติปัฏฐานสี่เมื่อสักครู่นี้ว่า เอกายโน มคฺโค สมฺมทกฺขาโต สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เมื่อศีล สมาธิ ประชุมพร้อมลงเป็นหนึ่ง ศีลก็เป็นอธิศีล สมาก็เป็นอธิศีล ปัญญาก็เป็นอธิปัญญา ในเมื่อศีลสมาธิเป็นอธิผู้ยิ่งใหญ่ ก็สามารถปฏิวัติภูมิจิตภูมิธรรมไปตามขั้นตอน ซึ่งสุดแท้แต่พลังนั้นจะเป็นไปให้เป็นไปอย่างไร ผู้ปฏิบัติไม่มีสัญญาเจตนาที่จะน้อมจิตไปอย่างไร จิตจะออกนอกไปเรื่องจิต จิตจะเข้าในเป็นเรื่องของจิต จิตจะมากำหนดรู้อยู่ที่จิต เป็นเรื่องของจิต ซึ่งเขาจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ

    ในขณะที่จิตเป็นไปโดยเช่นนั้น จะไปรู้ไปเห็นอะไรก็เพียงว่าเฉย ๆ นิ่ง ๆ อยู่นั้นแหละ เช่นอยากจะรู้อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา รู้ความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทั้งหลายทั้งปวง ก็เพียงสักแต่ว่ารู้อยู่เฉย ๆ คำว่าอนิจจํ ก็ไม่มี ทุกขํ ก็ไม่มี อนตฺตา ก็ไม่มี ถ้าไปยืนมีแล้วสมาธิมันจะถอน เราอาจจะพิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา ไม่เที่ยง เป็นอนตฺตา เราว่าได้ตั้งแต่จิตยังไม่สงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธินี้มันจะเกิดแต่สิ่งที่เกิดดับ ๆ ๆ อยู่เท่านั้น แล้วคำพูดที่ว่าอะไรมันจะไม่มี มันจะมีต่อเมื่อจิตถอนจากสมาธิมาแล้วมันจึงจะพูดเป็น เพราะมันมีกายเป็นเครื่องมือแล้ว อันนี้ทางเป็นไปของจิตทางหนึ่ง....

    เพราะฉะนั้นในเมื่อสรุปรวมลงไปแล้วว่า เราจะบริกรรมภาวนาก็ตาม จะพิจารณาอะไรก็ตาม การบริกรรมภาวนา เรียกว่าการปฏิบัติตามแบบของสมถะ การพิจารณา เรียกว่าการปฏิบัติตามแบบของวิปัสสนา ทั้งสองอย่างนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิ เพื่อได้เกิดสติปัญญารู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง และทั้งสองอย่างนี้ ในเมื่อจิตสงบลงไปแล้วเนี่ย ภาษาคำพูดอะไรต่าง ๆ มันจะไม่มี ผู้ปฏิบัติแบบสมถะก็ดี ผู้ปฏิบัติแบบวิปัสสนาก็ดี ในเมื่อจิตปล่อยวางอารมณ์แล้วมันจะไปนิ่งว่างอยู่เฉย ๆ ที่นี่จุดที่มันนิ่งว่างเนี่ย ทางหนึ่งวิ่งกระแสออกนอกเกิดภาพนิมิตดังที่กล่าว อีกทางหนึ่งมันวิ่งตามลมเข้ามาข้างในจะมารู้เห็นอวัยวะในร่างกาย ซึ่งเรียกว่ารู้อาการสามสิบสอง มันจะไปจนกระทั่งถึงจตุถฌาน......

    ที่นี้อีกทางหนึ่งมันไม่เป็นไหนละ จิตรู้อยู่ที่จิตอยู่เพียงอย่างเดียว ไม่เข้านอก ไม่ออกใน แล้วจะว่าอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ว่าจิตรู้จิตอย่างเดียว ถ้ากายยังมีอยู่มันก็จะเห็นอารมณ์ที่เกิดดับ ๆ ๆ อยู่อย่างละเอียด นี่ทางไปของจิตมันมีอยู่สามทางเท่านี้...

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย..
    https://www.facebook.com/apichai553?ref=hl
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สัมมาสมาธิ แปลว่า สมาธิชอบ คือความตั้งใจมั่นโดยถูกทาง โดยการที่กุศลจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว (ความตั้งมั่นแห่งกุศลจิตในในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน)เข้าถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน (จิตตั้งมั่นในฌานทั้ง 4 นี้ ส่วนอรูปฌาน)ทั้ง4ท่านจัดเข้าในจตุตถฌาน ตามอารมณ์ที่อรูปฌานมีเจตสิกที่เข้ามาประกอบในจิต คือ อุเบกขาเจตสิกและเอกัคคตาเจตสิก เช่นเดียวกับจตุตถฌาน

    ความแตกต่างของสมาธิและสัมมาสมาธิ
    1. คำว่าสมาธิ กับคำว่า สัมมาสมาธิ มีความแตกต่างกัน สมาธิได้แก่การถือเอา อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ทำให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์นั้น แบบสมถะสมาธิ สัมมาสมาธินั้น เป็นสมาธิที่มีรากฐานจากการกำหนดรู้ ในมหาสติปัฏฐานทั้ง 4 คือกาย เวทนา จิต ธรรม
    2. อริยมรรค 8 คือหนทางแห่งการดำรงชีวิตอย่างรู้แจ้ง มีสติเป็นพี้นฐานด้วยการฝึกสติสามารถพัฒนาสมาธิจิตซึ่งจะช่วยให้บรรลุถึงปัญญา เพราะ สัมมาสมาธิจึงสามารถบรรลุถึงสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ ปัญญาความเข้าใจซึ่งพัฒนาขึ้นนั้นสามารถกำจัดความไม่รู้ (อวิชชา) ได้ในที่สุด

    ลักษณะของสัมมาสมาธิ
    1. จิตสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากกรรมที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
    2. เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
    3. เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข เข้าถึงตติยฌาน
    4. เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

    ที่มา : สัมมาสมาธิ - วิกิพีเดีย

    โปรดพิจารณากันบนพื้นฐานที่กล่าวไว้ด้านบนค่ะ
     
  7. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    เป็นคนขี้เกียจอ่านหนังสือมากเลย Y Y:'( ส่วนมากจะให้ เพื่อนหรือคนที่รู้อธิบายให้ฟังแล้วเราก็ปฏิบัติตาม เลยไม่ค่อยรู้ ปฏิบัติมันสนุกกว่าเคยไปนั่งที่วัดปากน้ำหลวงพ่อสด ก็สนุกดี สนุกที่ได้หลับตาแล้วมีความสุขหลังจากลืมตา 5555+
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    จากที่คุณ ธรรม-ชาติ ตอบมาเป็นข้อๆต้องขอบคุณมากๆเลยตอนนี้ตัดเรื่องแสงอะไรนั้นไปละ แต่พอถึงคำว่า "การถอดกาย" อยากรู้ว่าอันเดียวกะถอดจิตหรือเปล่าว

    +++ โดยปกติสำหรับคนทั่วไป การถอดกายกับการถอดจิต มักอนุโลมว่าเป็นเรื่องเดียวกัน แต่สำหรับผม จะใช้ภาษาในหมวดของ มหาสติปัฏฐาน 4 เป็นหลัก และจะแยกคำว่า กาย (สิ่งที่จิตอาศัยอยู่ในขณะนั้น ๆ) ออกไปตามหมวดของ กาย เวทนา จิต ธรรมารมณ์

    ++ ยามใดที่ จิตและสติยึด ร่างกายเป็นเครื่องอยู่ (กายเนื้อ กายมนุษย์ นิรมาณกาย ฯลฯ) ผมเรียกสั้น ๆ ว่า "กายเนื้อ" แต่ในยามใดที่ จิตและสติยึด ความรู้สึกกายเป็นเครื่องอยู่ ยามนั้นผมเรียกมันว่า "กายเวทนา" (สิ่งที่จิตอาศัยอยู่ในขณะนั้น ๆ เป็นความรู้สึก) ยามใดที่จิตและสติยึดอยู่กับ ความจำ+ความคิด อันเป็นเหตุให้ "เห็น หรือ ติดต่อสื่อสารได้กับ" สถานที่อื่น ภพอื่น ภูมิอื่น รวมทั้งจิตอื่น ผมเรียกมันว่า "กายจิต" ส่วนยามใดที่ จิตและสติ ยึดอยู่กับอารมณ์ และโดยพฤติกรรมแล้ว "มักจะเป็นอารมณ์เด่นอารมณ์เดียว" ตรงนี้ผมจะเรียกมันว่า "กายธรรมารมณ์" หรือผมเรียกมันให้ตรงตามอาการที่สั้นที่สุดว่า "ตัวดู" และยามที่มันดูอะไร มันก็รู้ที่ตรงนั้น ดังนั้นบางท่านจึงเรียกมันว่า "ผู้รู้" ก็แล้วแต่จะเรียก

    +++ กายทั้ง 3 คือ กายเวทนา กายจิต และ ตัวดู (กายธรรมารมณ์) สามารถ "ถอด" ออกมาจาก กายเนื้อ ได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าในขณะนั้น ๆ จิตและสติ เอาอะไรเป็นกาย (เครื่องอยู่ของจิต) การถอดนี้ "นับเฉพาะตรงเริ่มแรกถอด" เท่านั้น และการถอด "กาย" ทุกชนิด ต้องเป็นการถอดแบบ "ตนเองเป็นกายนั้น ๆ" ไม่ใช่เพียงแค่ "เห็น" เท่านั้น เพราะการ "เห็น" ไม่ใช่การ "เป็น" และแตกต่างกันอย่างมากมาย

    พอดีว่าเคยไปนั่งในโบสถ์ที่วัดระฆังกะเพื่อน แล้วพอดีโบสถ์กำลังสร้างคนเยอะเสียงเอะอะโวยวายพอสมควร เลยนั่งไปสักพัก แล้วก็เกิดอาการเหวี่ยงเหมือนเดิมครับ

    +++ ตรงนี้เป็น "กายเวทนา" เพราะ จิตและสติ "อยู่และเป็น" ตัวเองเหวี่ยง

    แต่สาเหตุที่เหวี่ยงเพราะนั่งไปสักพักเห็นลูกแก้ว

    +++ เฉพาะในกรณีของคุณเท่านั้น "การเห็นลูกแก้ว" นั้นเป็นประตูหรือ รอยต่อ จากกายเวทนา เข้าสู่ กายจิต

    เลยจ้องเลยเหวี่ยงตามเคยแล้วขณะนั้นเลย นึกถึงกุฏิของหลวงพ่อวัดระฆัง เลยตั้งจิตไปเพื่อจะไปนั่งที่นั้น

    +++ จากข้างบน ยามใดที่จิตและสติยึดอยู่กับ ความจำ+ความคิด อันเป็นเหตุให้ "เห็น หรือ ติดต่อสื่อสารได้กับ" สถานที่อื่น ภพอื่น ภูมิอื่น รวมทั้งจิตอื่น ผมเรียกมันว่า "กายจิต" ในขณะนี้ คุณเป็น "กายจิต" ซึ่งโดยทั่วไปตรงนี้มักจะเรียกกันว่า "ถอดจิต"

    (ความรู้สึกตอนนั้นคือเหมือนเรานึกคิดไปเองว่าจะไปนั่งที่นี้ๆๆๆนะ) หลังจากนั้นภาพบนกุฏิ ก็ปรากฏในความคิดเรา แล้วเราก็เดินๆหาที่นั่งแล้วก็ได้นั่งหน้าหลวงพ่อโต สักพักพอจะกลับก็มองที่ลูกแก้วอีกตามเคย ก็หมุนเหวี่ยงกลับมาที่พุทโธแล้วลืมาตาปกติ

    +++ อาการของคุณนั้น เป็นทั้ง ขาไปและขากลับ ส่วนประตูรอยต่อ ระหว่าง กายเวทนาและกายจิต ของคุณ คือ ลูกแก้ว (ตรงนี้เป็นของ ส่วนบุคคลของคุณคนเดียวเท่านั้น ผู้อื่นจะเหมาเอาตรงนี้เป็นมาตรฐาน ไม่ได้)

    ** แบบนี้เรียกว่าคิดไปเองหรือเปล่าว เริ่มสงสัย เพราะว่า เพื่อนถามเราว่า ขึ้นไปนั่งสมาธิบนกุฏิหลวงพ่อหรอ เราเลยเอะใจเลยถามว่ารู้ได้ไง เขาบอกว่าเขาเห็นและเขาก็ถอดจิตขึ้นไปนั่งบนนั้นเหมือนกัน เลยชัก งง ว่า สรุปเราคิดไปเองหรือจิตมันถอดไป?? หรือคิดมาก เพราะตอนนี้ ตอบไม่ค่อยได้ว่าอันไหนจิตคิดไปเองอันไหนคือไม่ได้คิดไปเอง...

    +++ แม้ว่าจะ "ไม่ได้คิดไปเอง" แต่เหตุเริ่มต้นก็มาจาก "ความจำ+ความคิด อันเป็นต้นเหตุ" อยู่ดี เพียงแต่ข้อพิสูจน์มันอยู่ที่ "เราเป็น" (เราก็เดินๆหาที่นั่งแล้วก็ได้นั่งหน้าหลวงพ่อโต)

    **ทุกครั้งที่นั่งกับเพื่อน เพื่อนมันบอกว่าเหมือนมีคลื่นจูนหากันทำให้เขาเห็นในจิตของเราซึ่งเพื่อนก็เคยตอบในสิ่งที่เราเห็นในจิตของเราได้ถูกเป๊ะๆเลย บางครั้งก็ตกใจเหมือนกัน ที่เขาตอบตามที่เราเห็นในสมาธิ

    +++ ตรงนี้เป็นเรื่องของ จิตสื่อสาร ในกรณีที่ จิตเราส่งออก แล้วจิตเพื่อนรับได้

    **แล้วทำไมเราถึงไม่เห็นเพื่อน แต่ทำไมเพื่อนเห็นแล้วก็รู้ในจิตเรา ??

    +++ เพื่อนเขาฝึกมาก่อนเรา และมีความชำนาญจนถึงระดับหนึ่งแล้ว แต่เราเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น

    ที่ถามแบบนี้เพราะบางครั้งเวลาเกิดอาการหมุนๆแล้วเห็นภาพ พอสักพักเหมือนว่าจิตมันคิดต่อเติมไปเอง เลยสับสนว่า มีทั้งไม่คิดผสมกับตัวเองคิดไปเอง ^__^ หรือเปล่าว??

    +++ ในยามที่เกิดอาการหมุน ๆ นั้น "อย่าใส่ใจกับภาพ" ให้อยู่กับ "กายเวทนา" ไปเรื่อย ๆ หาก "กายเวทนาไม่ถอดออกมา" ก็จะไปถึงที่สิ้นสุดของกองลม หรือขั้นต่ำ ก็น่าจะไปถึงขั้น "การหายใจทางรูขุมขน หรือ ทางผิวหนัง" ได้ และวิวัฒนาการที่ต่อออกจากตรงนี้ไป ก็จะเข้าสู่อีกระดับหนึ่งอย่างแน่นอน
     
  9. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    ขอบคุณ:cool: คุณธรรม-ชาติมากๆเลย อธิบายได้ละเอียดเป็นขั้นตอนเข้าใจแจ่มแจ๋วเลย ดีใจที่มีคนอธิบายให้เราเข้าใจแบบนี้ เพราะเป็นคนไม่ค่อยชอบอ่าน แต่ชอบฟังแล้วนำมาปฏิบัติมากกว่า
     
  10. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    การเห็นแสงสว่างจ้า จะ เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ ฌาน ระดับสูง

    ระดับปุถุชน ไม่จำเป็นต้องเห็นเสมอไป ทำความสงบได้ระดับ ที่กล่าว ก้อ เยี่ยมแล้ว และก้อเป็นสมาธิ เช่นกัน นั่นแหละ ที่ เขาต้องการกันแหละ คือไม่มีอะไรเลย
     
  11. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    คุณจะบอกว่าสมาธิคือความว่างเปล่าว??? การระลึกอยู่กับสิ่งที่ทำ??
     
  12. Penty

    Penty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2014
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +1,580
    กระทู้นี่น่าสนใจมากค่ะ มีพี่ๆมาให้ความรู้เพียบเลย ขอบคุณนะคะ กำลังเริ่มฝึกเหมือนกันค่ะ มาเก็บความรู้ไปต่อยอดค่ะ :)
     
  13. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    ตอนนี้กำลังประคับประคองจิต เวลาเห็นอะไรในสมาธิไม่ว่าจะฟุ้งซ่านหรืออะไรก็แล้วแต่ กำลังทำจิตให้เป็นกลางดูเฉยๆ รู้สึกว่ามันเริ่มนิ่งจากที่เคยเห็นอะไรแล้วจะชอบเอะใจตกใจดีใจต่างๆนานาก็เริ่มปล่อยวางละ รู้สึกโอเคขึ้นกว่าเดิม ^__^ จะพยายามฝึกไปเรื่อยๆ
    แต่รู้สึกว่า เวลาหายใจเข้าที่ปลายจมูก วิ่งไปบนกระหม่อม ลงมายังท้อง ตรงกระหม่อมเหมือนจะรับรู้ ช่วงลมหายใจได้มากกว่าเพื่อน??
     
  14. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ในเรื่องของการรับรู้แล้ว ตัวรู้ มันมีความสามารถในการรับรู้สิ่งต่างๆ ได้เท่ากันหมด
    สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันไม่เท่ากัน คือ นิสัยของเราเอง สิ่งที่เราสะสมมาในขันธ์ของเราเอง หรือจะเรียกว่าความเคยชินเก่าๆ ก็ได้
    ตรงนี้ ถ้าจะมองอีกแง่มุมนึง จะบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ผูกมัดเราไว้ ไม่ให้เป็นอิสระ ก็ได้เหมือนกัน

    หากพ้นจากความเคยชินเก่าๆ ตรงนี้ จิตมันก็เป็นอิสระ
     
  15. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    คือพอลมสูดลมเข้าปลายจมูกรับรู้ แล้วไปถึงกระหม่อม มันจะเย็นซ่านไปทั่วกระโหลก แล้ววิ่งลงมาท้อง ซึ่งจังหว่ะที่สูดหายใจเข้า ทางจมูก เหมือนมันจะไปสุดที่กระหม่อมทุกครั้ง แล้วพอหายใจออก จุดท้องจะรับรู้ลมได้มากกว่ากระหม่อม ?? เอะ ยังไง หายใจผิดขั้นตอนเปล่าว?? แฮ่ๆ
     
  16. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ 1. ดูปลายจมูก มันก็รู้สึกที่ปลายจมูก
    +++ 2. ลากการดู จากปลายจมูก มาที่หน้าผาก มันก็รู้สึกที่หน้าผาก
    +++ 3. ลากการดู จากหน้าผาก มาที่กระหม่อม มันก็รู้สึกที่กระหม่อม
    +++ 4. ลากการดู จากกระหม่อม มาที่ท้ายทอย มันก็รู้สึกที่ท้ายทอย
    +++ 5. ลากการดู จากท้ายทอย มาที่ต้นคอ มันก็รู้สึกที่ต้นคอ
    +++ 6. ลากการดู จากต้นคอ มาที่หน้าอก มันก็รู้สึกที่หน้าอก
    +++ 7. ลากการดู จากหน้าอก มาที่ท้อง มันก็รู้สึกที่ท้อง
    +++ 8. ลากการดู จากท้อง มาที่ก้นกบ มันก็รู้สึกที่ก้นกบ

    +++ 9. ลากการดูจน วนได้ทั้งตัว มันก็วนได้ทั้งตัว

    +++ 10. หากควบคุม การดู และ วิธีดูได้ จะลากการสมมุติยังไงก็ได้ ตามสะดวก และจะดูทีละจุด หรือ ทีละ 7 จุดแห่งจักระก็ได้ จะทลวงด่าน เฮี้ยงกวน หรือ จุดหยิมต๊ก แบบกำลังภายใน หรือ อะไรก็ได้ แล้วแต่ความ มันส์ส์ส์ จะพาไป สรุปแล้วมันไม่เกี่ยวกับลมหายใจ มันเกี่ยวกับ การดู ต่างหาก

    +++ เล่นไปเรื่อย ๆ ให้สนุก ตราบใดที่ยัง รู้หรือรู้สึก อยู่ภายในร่างกาย ตราบนั้นก็ยังถือว่า ยังเป็นการฝึก กรรม-ฐาน อยู่นะครับ
     
  17. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    แสดงว่าขึ้นอยู่กับการกำหนดจุดรับรู้???การดู??
     
  18. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ เปล่า แสดงว่า "การดู" เป็นตัวกำหนด "จุดรับรู้" เหตุอยู่ที่ "ดูที่ไหน" ผลลัพธ์คือ "รู้ที่นั่น"
     
  19. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    สมมุติว่า(คิดเล่นๆ)ถ้าเราใช้วิธนี้ในการกำหนดจิตไปยังที่ต่างๆ จะสามารถใช้วิธีนี้ได้มัย?? หรือขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง??
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2014
  20. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ เล่นไปเรื่อย ๆ ให้สนุก ตราบใดที่ยัง รู้หรือรู้สึก อยู่ภายในร่างกาย ตราบนั้นก็ยังถือว่า ยังเป็นการฝึก กรรม-ฐาน อยู่นะครับ
    +++ ตราบใดที่ สติ ยังไม่สามารถครอง ฐาน ใดฐานหนึ่งได้ ทุกอย่างก็ยังเป็นเรื่อง "คิดเล่นๆ" อยู่ดีและยังพ้นไปไม่ได้
    +++ ลองมองกลับไปยัง สังคมโลก แล้วลองสรุปดูอีกที่ว่า "คนส่วนใหญ่ถูกขังอยู่ในโลกของความคิดเล่นๆ" นี้หรือไม่
    +++ คนเรา "คิดอย่างไร ก็เห็นอย่างนั้น" ซึ่งเป็นเรื่องของ "จิตเห็นตามความคิด" แล้วก็หลงไปตามที่คิดนั้น
    +++ สิ่งที่ดีที่สุดคือ "อยู่กับ ความรู้สึกตัว" การฝึกอยู่กับความรู้สึก เป็นปฏิภาคกลับกันกับ การฝึกอยู่กับความคิด
    +++ เมื่อฝึกไปสักระยะหนึ่ง ก็จะเริ่มเข้าใจในสิ่งที่ผมพูดไปเอง นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...