ใจมันพูดเองเออเองได้ด้วยหรอคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย spyderco, 27 มกราคม 2014.

  1. spyderco

    spyderco เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +201
    มีอยู่ช่วงนึงขยันปฏิบัติมากขึ้น ก็ยิ่งฟุ้งซ่านมากขึ้น เครียดขึ้น มึนไปหมด
    ใครพูดไรไม่ถูกใจหน่อย ก็คิดมาก วนอยู่ในหัว โดยที่ระงับไม่อยู่ ไม่รู้เป็นอะไร ตั้งหลายวัน
    (เคยทำตามหลวงพ่อปราโมทย์ ใจหนีไปคิดก็รู้ ก็ทำไม่ได้เหมือนกำลังสมาธิไม่มี)

    วันหนึ่งก่อนนอนสวดมนต์ นั่งสมาธิตามปกติ
    นั่งอยู่เฉยๆ แต่ใจก็คิดฟุ้งซ่าน เครียด
    .....อยู่ๆก็มีเสียงในใจพูดว่า "ความทุกข์เกิดที่ใจไช่ไหม ก็ดับที่ใจสิ"
    .....แล้วก็หยุดฟุ้งซ่าน โล่ง สบาย ไปเฉยๆ นี่ไม่รู้ว่าเสียงนี้เราคิดเอาเองหรือยังไง

    คำถาม
    1. วิธีระงับความฟุ้งซ่านมีกี่วิธี อะไรบ้าง เนื่องจากผมเป็นคนคิดมาก บางทีทำสมาธิใจก็ไม่เป็นสมาธิ
    (ไม่อยากรอให้หายเองแบบอาการข้างต้น)

    ช่วยแนะนำทีครับ ขอบพระคุณมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2014
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ต้องไปทำความเข้าใจ " สมาธิสองชนิด "
    ที่เรียกว่า อารัมนูปณิชฌาณ กับ ลักขณูปณิชฌาณ

    ทำไมต้อง วิจัยธรรม สมาธิสองอย่างนี้ เพราะ กิจ หน้าที่ การปรากฏ การตั้งอยู่
    และ การดับไปของ สมาธิทั้งสองประเภท มีอยู่

    กิจ และ หน้าที่ การปรากฏ การดับไป นั้น แตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน

    หากเราไม่วิจัยธรรมะ สองข้อนี้ให้แตก ก็จะ หลงยึดข้างใดข้างหนึ่ง
    เป็น " รสสมาธิ " อีกอย่างไม่ใช่ ทั้งๆที่ มันเป็น สมาธิ ทั้งคู่ เพียง
    แต่ กิจ หน้าที่ การปรากฏ การตั้งอยู่ และ การดับไปนั้น แตกต่างกัน
    แบบ ฟ้ากับเหว

    แต่ถึงกระนั้น ผู้ภาวนามีหน้าที่ในการ ทดลอง วิจัย เสพคุ้น สมาธิทั้ง
    สองให้มากๆ ไม่ใช่ เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง

    แต่เงื่อนที่ว่า เวลาใด ควรเสพอันไหน อันนี้ ผู้ภาวนาจะต้องมี ศิลป
    ในการภาวนา หรือ ที่พระป่าท่านเรียกว่า ต้องบริหารจิต ให้เป็น

    สรุป ถ้าคุณ วิจัยธรรมได้ถูกต้องจะพบว่า " จิตไม่ห่างจากฌาณ "
    ที่พระพุทธองค์ใช้ใน พระไตรปิฏก คือ สิ่งที่ปรากฏกับคุณ ณ เวลานี้
    แล้วในลักษณะอย่างไร
     
  3. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ไอ้ "ใจ" ที่ว่านี้ มันเป็นเราซะที่ไหนกันหละ

    ไอ้ที่มันเกิดชาติภพ ต้องเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ ก็เพราะมันพูดเอง เออเอง ไม่หยุด นั่นแหละ

    ส่วน "เรา" กลับหลงไปเชื่อมัน ไปสวมเอาว่าเราเป็นมัน เราก็เลยต้องมาเวียนเกิดไปกับมัน
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    โดยปกติของปุถุชน เวลามันเห็นสิ่งใดเป็นทุกข์ ก็จะไปพยายามแก้ความทุกข์กันที่ตัวขันธ์

    เห็นความความคิดเป็นทุกข์ ก็ไปพยายามบังคับให้ความคิดมันไม่เกิด

    แต่ถ้าจะเอาแบบยั่งยืน ก็ต้องเพียร ฝึกเจริญสติไปเรื่อยๆ หากถึงจุดที่ความคิด ไม่เนื่องด้วยอารมณ์เมื่อไหร่ พ้นจากอำนาจของความคิด ของอารมณ์เมื่อไหร่ ก็จะสบายขึ้นอีกเยอะ
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อนึ่ง กรณีที่ เป็นคนยังไงก็ไม่สามารถจะ ทำ อรัมณูปณิชฌาณ ขึ้นมาวิจัยได้สำเร็จ

    เช่น ไม่สามารถระลึกสัญญาในกสิณ10ได้ ไม่สามารถระลึกสัญญานวสี มรณะ อภิรตะ
    อุปสัมมาฯ อานาปานสติ( สัญญา10 ) ได้ จะด้วยเหตผลใดก็แล้วแต่ ก็จะเป็นธรรมดา
    ที่ วิถีการภาวนาจะ " จมกิเลส " มากกว่าจะ " ห่างจากกิเลส "

    พูดอีกแง่คือ ต้องอยู่ใน เพศ " ฆารวาส " มากกว่า จะลักเพศ ปฏิภาณตนเป็น " พระ "

    อันนี้ต้อง ทำใจยอมรับความเป็นบุคคลมีเพศ เป็นฆารวาส ไปตรงๆ อย่า พยายาม ลักเพศ
    ปฏิภาณตนเป็น " พระ "

    เพื่ออะไร

    เพื่อให้เห็นว่า ความฝุ้งซ่านเหล่านั้น คือ กามสุขขัลกลิมัตถานุโยค คือ มีชีวิต
    ส่วนใหญ่ จมไปทางการบริหารประโยชน์จากกาม ( กาม ต้อง หมายเอาเฉพาะ
    เรื่อง รูป เสียง กลิ่น รส โพฐัพพะ ... อย่า ทะลึ่งแล่นไปในเรื่อง อย่างว่า )

    เมื่อกำหนดถูกต้อง ใน รสกามสุข การพิจารณา ทุกข์ หรือ การกำหนดการฝุ้ง
    ซ่านของจิต จะไม่มีอาการ สะดิ้งปฏิภาณตนเป็นพระ เข้าไปเกี่ยวข้อง

    ทำให้ วิภวตัณหา ดัดจริต ทำเป็น ฝุ้งซ่านไม่ได้ ไม่มี

    แต่ ฝุ้งซ่านนั้นจะเกิดขึ้นได้ โดยที่ จะถูกบริหารไปอย่าง " พอเพียง "
    ไม่ใช่ลักษณะ กอบโกย ฉ้อฉล ซึ่ง จะทำให้ ลำบากอยู่บ้าง เพราะ
    อย่างไร การปฏิภาณตนว่าเป็นพระ ก็ยังสวยหรู ควรค่าแก่การสรรเสริญ
    การเคารพ กราบไหว้ [ เกิดจาก มายาคติบางประการ ของผู้ภาวนา ที่
    มักจะ ไปเอื้อให้ โจรเข้ามาปล้นบ้าน เวลา จะเลือก กราบพระ สักองค์ ]

    ลองดู


    ต้องพยายามสู้หน่อย แม้นคำกล่าวข้าง บน จะดูเหมือน เฉือดเฉือน คนไร้ทรัพย์
    ยังภาวนาไม่เก่ง มึงจะมาว่าอะไรกู นักหนา

    อันนี้ ที่ว่าต้องอดทน คือ อดทน ที่จะ ไม่เอากิเลสมาอ้างว่าเป็นตน ให้ได้

    กิเลสมันสวมเขาเราตลอดเวลา มันอ้างว่า เป็นเรา เราคือมัน มันคือเรา
    ตลอดเวลา

    ดังนั้น ช่วยๆ มี ขันติ พยายามมองกิเลส ให้เหมือน แขก จรมา บ้าง

    ก็จะ รู้สึกว่า ไม่ได้โดนเพื่อนๆ สาธุชน เขา แดกดัน อะไร เป็นเพียง
    การประกาศสึกสงคราม สงครามพระ ที่มี เจ้าของกระทู้+สหธรรมิก
    ร่วมรบต้อสู้ กิเลส ไปอย่าง มวลมาหมิตร ยุคกึ่งพุทธกาล ด้วยกัน อย่า
    ได้ถอย คนมีจิตดีนั้นคอยช่วยอยู่ รวมพลังผองเราเหล่าเผ่าชาวไท
    สู้เข้าไปพวกเราสันติฯชน................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2014
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อ้อ บอกก่อนนะว่า แม้นจะเข้าใจธรรมแล้ว ว่า จะสู้ฝุ้งซ่าน อย่างไร

    อันนี้ต้องบอกก่อนว่า แม้นจะเข้าใจแล้ว ความฝุ้งซ่าน ไม่ได้หายไปไหน นะคร้าบท่าน

    และ ถ้า ภาวนาได้อย่างถูกต้อง ความฝุ้งซ่าน จะต้อง ปรากฏ แหลมคม ลึกซึ้ง
    แลเห็นได้ยาก เอาชนะได้ยาก มากขึ้นกว่านี้อีก [ ถ้าเป็น ทุกขาปฏิปทา ก็จะ มี
    ความเจ็บแค้นต่อกิเลสมาก ...ถ้าเป็น สุขาปฏิปทา ก็จะมีปฏิปทาที่ลำบาก
    หน่อย อายพวกทุกขาปฏิปทา เพราะ จะจมความฝุ้งซ่าน จนเฉื่อนแฉะ จมแช่
    มากไปหน่อย .................แต่ ความเพียรปรารภในการ สิ้นทุก เสมอกันทุกประการ ]

    จะ ซาดิสมากๆ เอาตอนเห็น มันย้อมจิต เวลาเห็น จิตโดนความคิด ความฝุ้ง
    ซ่านย้อมติด มันจะป้อแป้ๆ ยิ่งกว่านี้อีก แล้ว มันส์มาก หากได้เห็น สภาวะแบบนั้น

    บางคนคิดว่า การภาวนา ดับความฝุ้งซ่าน คือ ไปทำให้มันไม่มี

    จริงๆ การภาวนานั้น ต้อง เอาความฝุ้งซ่าน นั่นแหละ มาผลิกซ้าย ผลิกขวา
    วิจัยมันกันอย่าง ละเอียดยิบเลย ที่ พระป่าท่านเรียกว่า พิจารณาซ้ำๆ
    ย้ำๆ " ความถนัดในการภาวนาของตัว "

    โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง

    พิจารณาซ้ำๆ ย้ำๆ " ความถนัดในการภาวนาของตัว "

    อย่าหนีการเห็น เห็นนั้นแหละดี มีกิเลส แพรวพราว แปรปรวนไม่หยุดให้ดู
    อันนี้แหละเขาเรียกว่า คนฟังธรรมเป็น คนพิจารณาธรรมเป็น

    ส่วนๆ นิ่งๆ โง่ๆ ไม่เห็นความแปรปรวน เปลี่ยนแปลง อยากรู้อะไร ต้องทำ
    มโนยุกยิกไปถามเอาจาก พระเจ้าเหา แล้ว ค่อยมาทำท่าทำทาง ลอย
    หน้าลอยตา ใส่สี ทำตัวหนา ว่า กูรู้ กูเป็นสหายพระสัพพัญญูบารมีแสน
    อสงไขย ฮี้กัปๆ อันนั้น ก็ปล่อยให้มีสมองไว้เป็นก้อนขี้ดินของเขาไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2014
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ใจมันพูดเองเออเองได้ด้วยหรอคับ

    ได้ครับ

    เรียกว่า จิตสอนจิต

    คือ จิต เป็น ผู้รู้ ครับ คงเข้าใจนะ

    ดังนั้นการที่ จิต ตัวเอง สอนบอก ตัวเอง ถ้าปฏิบัติในระดับนึง หรือชำนาญ สามารถทำได้ครับ
    .
    จิต ถาม จิตตัวเอง จิตตัวเองสอน จิตตัวเองเป็นผู้ตอบได้นะครับ

    จิตตัวเอง เป็นผู้ตอบได้

    ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจอะไร ถ้าพึ่งเคยเป็นครั้งแรก ก็สงสัยแบบนี้ละครับ จขกท.

    ถ้าในวงในพระป่า ครูบาอาจารย์ ก็มีสอน มีบอกอยู่ครับ เพียงแต่ว่าถ้าอยู่วงนอก ก็อาจไม่รู้ ครับ

    แต่ถ้าไปถามคนไม่เป็น ไม่เคยเจอ ก็คงเข้าใจไปว่าเป็นโรคฟุ้งซ่าน โรคหยุดความคิดไม่ได้ บลาๆๆ ต่างๆนาๆ.


    .
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2014
  8. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    อันนี้ที่พูดถึงกันอยู่ ว่ากันไปลึกกว่านั้น
    คือ ว่ากันที่ตัวจิตทั้งมวลเลย จะจิตเรา จิตเขา จิตใคร ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น และ มีสภาวะเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในการควบคุมของเรา

    ไอ้ตัวที่มันถามเอง ตอบเอง นั่นแหละ ตัวดีที่สุดเลย ตัวอันตรายที่สุดในการก่อชาติภพ เพราะความรู้มาก รู้ไปได้ทุกเรื่องในจักรวาลของมันนั่นแหละ

    แล้วถามว่า มันผิดไหม? ต้องตอบว่า ถ้าฝึกถูกนะ ไอ้ตัวนี้มันรู้หมดแบบไม่ผิดเสียด้วย
    แต่การรู้หมดแบบไม่ผิดของมัน นั่นแหละ เราเอาใจของเรา ไปใส่กับมันเมื่อไหร่ ว่ามันเป็นความวิเศษเฉพาะตนของเรา เมื่อนั้นแหละ จะเวียนว่ายตายเกิดไม่หยุดเลยครับ (มีอัตตาขึ้นมาครองสภาวะ)
     
  9. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634

    ขอเพิ่มเติมนิดหนึ่งค่ะ จากหลายท่านที่ได้ตอบไว้ดีแล้วค่ะ

    เสียงที่ผุดไว้ในใจ หรือ บอกกล่าวขึ้นมาเอง ที่เรียกว่า กรณีจิตสอนจิต ที่เรารับรู้แล้ว ทำให้เราได้รับความจริงนั้น เกิดจากที่เราได้สั่งสมความรู้นี้เก็บไว้ในใจ หรือ เคยสร้างวาสนาบารมีไว้แต่เดิม เมื่อต้องการใช้ ขณะในยามคับขัน หรือ ปฏิบัติต่อจากวาสนาเดิม ความรู้ที่ได้เก็บไว้ในจิต จะผุดออกมาให้ได้รู้ เรียกว่า ธรรมผุดขึ้นในใจ นะคะ

    แต่ถ้าเป็นกรณีที่เราไม่มี หรือ ไม่เคยเก็บไว้ เพราะสิ่งที่เกิดขณะที่เราไม่มีสมาธิ ก็อาจจะเกิดจากกระแสจิต หรือ การจูงจิตของครูบาอาจารย์ในภพภูมิใด ภมูิหนึ่ง ที่เห็นความตั้งใจการปฏิบัติของเราค่ะ

    หรือไม่ก็สูงสุด เกิดจากตัวธาตุรู้ หรือ สภาวะรู้ตามธรรมชาติ
     
  10. wechza

    wechza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +246
    ยิ่งปฎิบัติ ยิ่งหงุดหงิดยิ่งรำคาญ ยิ่งทำยิ่งแย่
    ผมก็เป็นครับ ทุกข์มากเพราะยึดติดกับคำว่าดีครับ ไม่รู้เป็นเหมือนผมรึเปล่า
    ต้องวางครับ ธรรมดา คำเดียวครับ มันเป็นธรรมชาติของใจชั่วดีมันเกิดแล้วก็ดับของมันเองที่ใจของตัวเราเอง หงุดหงิด โกรธ หลง โมโห มันก้เป็นมาก่อนที่เราจะปฏิบัติ พอเราปฏิบัติมันก็ยิ่งเห็น พอเราเห็นเราไม่ปล่อยเพราะเราสำคัญว่ามันเป็นเราสำคัญว่าอารมณ์นี้เราไม่ปารถนามันเลยน้อมเอามาเป็นเราทำให้เราทุกข์ทำให้ท้อแท้ในการปฏิบัติ ที่จริงผมว่าอาการนี้ต้องเจอกันทุกคนนะครับสำหรับคนที่ปฏิบัติ ส่วนจิตมันไม่นิ่ง มันไม่เป็นสมาธิก้ปล่อยมันครับมันเป็นธรรมดาของมันอยู่แล้ว ไม่ต้องไปดีใจหรือเสียใจกับมัน รู้ตัวก็เจริญสติพอมันฟุ้งก็ปล่อยมันรู้ตัวก็เจริญสติใหม่ เดียวมันก็เป็นไปตามธรรมดาของมันไปครับ
    ที่ผมใช้ดับความฟุ้งซ่าน หรืออารมณ์ต่างๆของผมเอง ผมใช้คำว่า ธรรมดาครับ มันเป็นธรรมดาครับ
     
  11. sirigul

    sirigul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +2,515
    ไม่ต้องสนใจว่าวิธีแก้ฟุ้งซ่านมีกี่วิธี ไอ้ที่ปฏิบัติอย่างโน้น อย่างงี้ ไปๆมาๆก็แค่หวนมานั่งดูที่จิตตัวเดียว จิตตัวนี่แปลก ถ้าเราจับดูมันว่าจะคิดอะไร มันกลับไม่คิด เหมือนมันรู้ว่า เรากำลังไล่จับมันอยู่ แต่พอเผลอก็เอาอีกแล้ว สารพัดคิด คิดไปไกล คิดทั้งเรื่องตัวเองและไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ไปเรื่อยๆ ขออย่าเผลอ เผลอก็เรียกจิตกลับมาใหม่ ให้บอกกะตัวเอง ตัวเราก็นั่งอยู่นี่ ไอ้จิตเองจะไปไหน หายใจลึกๆ เข้าออก สัก 10 ครั้ง นับให้ได้ อย่านึกว่าง่ายๆนะ บางครั้งได้แค่ 5 ไม่รู้ไปไหนอีกละ ต้องตามกลับมาใหม่ ด้วยการนับ 1 ใหม่ ทำแบบนี้บ่อยๆ จิตจะชิน ต่อไปจะมีสติตามทันเอง อย่าไปกดจิตให้มันอยู่กะที่ ระวังโรคประสาทถามหา เพราะเครียด วันนึงๆรู้ลมเข้าออกแค่ 5 นาที 10 นาทีก็พอ บ่อยๆมันจะชิน อยู่กะความสงบเอง แล้วคุณจะรู้ความสุขของสมาธิเป็นอย่างไร ที่จริงมันมีต่ออีกเยอะ แต่เอาเป็นว่าให้ได้สมาธิก่อน ให้จิตเราได้พักได้อยู่กับสมาธิก่อน ทำแล้วเครียดก็ให้หยุดก่อน ไปเดินไปฟังเพลงไรก็ไปทำ พอสงบค่อยกลับมาทำใหม่
     
  12. spyderco

    spyderco เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +201
    เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วครับ ขอบพระคุณทุกท่านครับ
     
  13. ZIGOVILLE

    ZIGOVILLE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +792
    มี "สติ" ตัวเดียวก็เอาอยู่

    แต่ challenge คือ ทำอย่างไรให้มี "สติ" รู้ทันจิตตลอดวัน ?

    คุณต้องกลับไปคิดคำตอบข้างบนเอง เพราะดูจากข้อความ "สันนิษฐานว่า" จิตเดิมชอบฟุ้งซ่าน และมีปัญญามาก สิ่งที่มักเกิดขึ้นสำหรับแนวทางสุกขวิปัสสโก เมื่อจิตผ่านองค์ฌาณ คือ "จิตผู้รู้" มักจะเกิดขึ้นก่อน...ต้องตามดู ตามรู้ให้ทัน ซึ่งเคล็ดลับคือต้องสอนจิต ผูกจิตไว้กับ "สติ" ต้องใช้เหตุ และผลในการสอน "จิต" ลักษณะนี้ค่อนข้างมาก ไม่อย่างนั้น "จิตผู้รู้" จะไม่ยอมรับ
    สิ่งที่อยากแนะนำ จขกท. เบื้องต้น คือ
    1. เจริญสติ เช่น ผู้ฝึกอานา ก็ระลึกลมหายใจให้ตลอดทั้งวัน หรือพุทโธ ก็ระลึกให้ได้ทั้งวัน จะเป็นการเพิ่มกำลังสติ
    2. ฝึกตามดูจิตให้ทัน ว่าอารมณ์ไหนเกิดขึ้น, สัญญา, เวทนา หรือ จิตฟุ้งซ่านเรื่องอะไร ผลลัพธ์จะทำให้เป็นอะไร ฯลฯ ต้องคอยฝึกดูจิต และสอนจิต
    3. เจริญสมาธิ ด้วยการเจริญสติให้ฌาณเจริญขึ้น และ ปัญญาจะเกิดมากขึ้นเรื่อยๆ “จิตผู้รู้”จะละเอียดขึ้น จนแนบเป็นอารมณ์เดียวกับจิต แต่ไม่ต้องไปสนใจอยากรู้อะไรมาก มันจะฟุ้งซ่าน และอาจเป็น “อุปสัญญา” หรือไม่ก็คิดเอง เออเอง เราคือ “สติ” ตามดู ตามรู้อย่างเดียว เพราะ “จิต” และ ทุกสิ่งอย่างล้วนเป็น “อนัตตา”
    4. ทำไปเรื่อยๆ ให้ต่อเนื่องทุกๆวัน อย่าให้จิตขี้เกียจ อย่าผ่อนผัน...แต่ไม่ต้องเครียดอะไร ชิลด์ๆ แรกๆ อาจดื้อ แต่เดี๋ยวก็ชิน... แต่ให้ระวังเรื่อง “วิปลาส” ให้ดีช่วงนี้ ให้ระลึกบารมีครู อาจารย์ พุทธองค์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ และแผ่เมตตาให้มากก่อนเริ่มปฏิบัติเสมอ ลองไปศึกษาแนวทางเกี่ยวกับ "จิต" ของหลวงปู่มั่น และหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เพิ่มเติม

    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม ขออนุโมทนาครับ
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เอ....ไม่รู้ว่า เข้าใจและ เนี่ยะ เข้าใจแบบไหนนะ

    แต่ถ้า เป็นเข้าทางปืน เกล้ากระผม ก็จะ กล่าวต่อ

    ความเดิม ตอนที่แล้ว

    "ความฝุ้งซ่าน" ไม่มีใครไปดับมันได้ ตราบใดที่ยังดำรงค์ขันธ์ จิตมันก็มีหน้าที่ ฝุ้ง !!

    ตรงนี้ จึงมีอยู่สองอย่างในการ " อยู่สุข "

    อยู่สุข แบบ จิตใจชุ่มช่ำ กระชุ่มกระชวย คือ ฝุ้งหนะมันก็มีของมัน แต่ มันน้อย
    ซึ่ง จะให้มันน้อย ก็แค่หมั่นมี "มหาศีล" ไม่ใช่ศีล วัตร แล้วนะ เพราะ เลย
    เรื่องการรักษาแล้ว มีปัญญาเป็นกลางต่อการเห็นแล้ว มันจะเลยการลูบคลำ
    ศีลวัตร ไปได้แล้ว จึงต้องเรียกว่า "มหาศีล " หากจะอยู่สุข ซึ่งก็คือ การไม่ห่าง
    จากฌาณด้วยการมี " วิหารธรรม "

    ทีนี้ หากจิตมีวิหารธรรม มันก็ มีเครื่องอยู่สุข ( ไม่ใช่เรื่อง ทำให้มันหายไปนะ
    เพราะ ขันธ์หากยังดำรงค์ ยังไม่ถูกหวย ปรินิพพานละก้อ ก็ต้อง ฝุ้ง สลับ วิหารธรรม
    ไปเรื่อย ๆ )

    แต่................

    ระวังการเข้าใจผิด เวลาพระ ออกไปกู้ชาติ ช่วยชาติ หาเงินหาทางมาทำผ้าป่า

    พระบางท่าน ท่านไม่ใส่ใจในวิหารธรรม ก็ใช่ว่า สมาธิท่านจะเสื่อม ปัญญาท่าน
    จะเสื่อม

    คือ คนที่มี "อธิษฐานจิต" ( การตั้งจิตบางประการ ) ท่านก็ ออกมา โดยไม่มัวแต่
    อยู่สุข( คือ มีวิหารธรรม มีวัตรปรกติแบบมีวิหารธรรมตลอดเวลา )

    การ "อธิษฐาน" จึงเป็น อีกกริยาจิตแบบหนึ่ง ของวิหารธรรม แต่ ไม่ใช่ วิหารธรรม
    ตามกรรมฐาน40 สมาธิมันยังมีอีกหลายชนิด หลายอย่าง ไอ้ที่เรียนกันนั้นมีแค่ 40
    แต่ที่ไม่ได้เรียนกัน เป็นเรื่องของใครของมัน เป็น "อธิษฐานจิต" มันก็อีกเรืองหนึ่ง

    ดังนั้น

    เห็น พระ ไม่นิ่ง ก็อย่าไปเข้าใจว่า สมาธิ ท่านเสื่อม

    ท่าน จมความฝุ้งแบบ จมโลกเข้ามาเต็มๆ อย่าสำคัญว่า สมาธิท่านเสื่อม อย่าทำตัวเป็น คนสเปน ทีเดียวเจียว !!

    ถ้า ฉลาดกว่านั้น จะ โอโห้ สมาธิท่านสุดยอด สติไวสุดยอด ยิ้มหวานเลย
     
  15. TunB

    TunB Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +34
    ถ้าคำตอบผมรบกวนจิตใจ ก็ขออภัยด้วยนะครับ

    วิธีระงับความฟุ้งซ่านถ้าไม่ปล่อยให้หายเอง ผมรู้สึกว่า สำหรับคุณไม่มีอะครับ เพราะแค่รอให้หายเอง คุณยังไม่อยากจะรอเลย แล้วการจะระงับได้เลยในทันทีนั้นนะ มันต้องฝึกจิตฝึกใจใช้เวลาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเป็นเวลานานจนชิน ถึงจะทำได้ในทันที คุณรู้ไหมว่า การปล่อยให้หายเองเป็นวิธีที่เบสิคที่สุดและง่ายที่สุดแล้ว เพราะนั้นคือธรรมชาติของมัน

    อีกอย่างการทำสมาธิ ไม่ใช่แค่นั่งขัดสมาธิ หลับตาปี๋ ดูลมหายใจ อย่างเดียว มันมีอีกตั้งเยอะแยะ งั้นพระพุทธเจ้าท่านไม่สอนไว้ถึง 40 กอง กรรมฐานหรอกครับ อิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ลองทำครบละยังครับ ไม่มีใครมาบอกคุณได้เลย ว่าวิธีไหนจะเหมาะกับคุณ คุณต้องลองค้นหามันเองครับ แล้วคุณจะเข้าใจด้วยตัวของคุณเอง ขอให้เจริญในธรรม สู้ๆ ครับผม
     
  16. spyderco

    spyderco เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +201
    ความคิดผมตอนนี้
    ผมเข้าใจแบบการอ่าน ว่าคืออะไร เช่น
    ควรมีสติรู้กาย ว่ากำลังทำอะไร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ระลึกรู้ใจ ว่าใจกำลังหนีไปคิดหรือมีสภาวะอย่างไรก็ตามให้ดูอยู่เฉยๆ (สติปัฏฐาน 4)
    พิจารณา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

    แต่ปัญหาของผม คือ ความรู้ธรรมมะ มีเต็มหัวเลย ผมอ่านเวปหมดทั้งเวป อ่านหนังสือหมดทั้งวัดเลยอะครับ
    เชื่อคนยาก รู้มากไปก็ชอบคิดพิจารณาตามความคิดตนเอง ชอบครุ่นคิด ฯลฯ

    รู้มาก ที่ทุกท่านพูดทั้งหมด ผมก็เคยรู้ เคยฟังมาหมดแล้ว
    แต่เอามาใช้ไม่เป็น ทำไม่เป็น ทำแล้วใจมันไม่เชื่ออย่างที่เรารู้ในสมอง
    ปฏิบัติแล้วต้องคอยถาม เหมือนคนมีคู่มือประกอบคอมพิวเตอร์ในมือ แต่อ่านแล้วประกอบคอมฯไม่เป็น ต้องคอยถาม

    ขาดการปฏิบัติอย่างเข้มงวด
    คงจะเป็นเพราะ ขี้เกียจ หรือยังไงก็ไม่ทราบ
    จริงๆแล้ว ไม่ได้ตั้งใจจะขี้เกียจ ก็พูดได้ไม่เต็มปาก จะกลายเป็นข้ออ้างต่างๆนาๆ

    ผมชอบปฏิบัติแบบนั่งอย่างเดียว นอนก็ทำทุกวัน แต่ทำได้ไม่เกิน 1 นาที หลับไม่รู้ตัว
    เดินผมไม่ชอบ เพราะทำไม่เป็นหรือไงไม่ทราบ ไม่เป็นสมาธิเลย
    ดูร่างกายเดินก็ไม่รู้จะเอาจิตจับที่ไหน
    พอจับที่เท้า ก็จับความรู้สึกตอนเท้ามันยก ย่าง เหยียบไม่ค่อนทัน(เดินช้าแล้ว)
    ต้องเพ่งมากๆ ถึงจะจับความรู้สึกทัน ทำได้ไม่นานใจก็ดิ้นเป็นลิง กระเพื่อมไปจุดอื่น
    มากๆเข้าก็ มึนๆไงไม่รู้ คงจะทำไม่ถูก

    เท่าที่รู้ตัวตอนนี้คือ ผมจะนั่งให้มากขึ้น (ปกติวันละไม่เกิน 15 นาที)
    จะสงบช่วง 5-10 นาที คำพาวนาหาย ลมหายใจเบามาก หรือหายไปเลย
    ถ้านานเกิน 20 นาที สมาธิมันถอนออกมาเฉยๆ ต้องมาเริ่มพุธโธใหม่
    ไม่รู้เปนอะไร เป็นแบบนี้มาหลายปีแล้ว
    (สมาธิถอนออกมาลองเพ่งกระดูกแบบหลวงพ่อพุธก็ไม่ได้ผล)

    ชีวิตประจำวัน ระลึกรู้ กาย และ ใจ ให้มากขึ้น อย่ามัวเพลินกับความหลง
    (ปกติหลงทั้งวันครับ ตื่นมานึกถึงพระพุทธเจ้ามีสมาธิซะดิบดี ตอนกลางวันหลงลืมทั้งวัน
    มารู้กาย รู้ใจอีกที อ้าว! ตอนเย็นซะแล้ว ลืมตัวทั้งวันเลยเรา แย่มาก)

    ถือศีล 5 กับทำทาน อันนี้ไม่ห่วง มีอยู่ในใจเป็นปกติอยู่แล้ว

    ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยสอนครับ
    ผมไม่ชอบเข้าหาครูอาจารย์ ตัวต่อตัว เพราะเวลาท่านสอนแล้วไม่ตรงใจ
    ผมชอบนึกปรามาสท่าน ก็เลยขออ่านเอง ฟังธรรมซีดีเอาเอง ปฏิบัติเองดีกว่า
    ติดใจตรงใน มาถามในเวปนี้ พอแล้ว ความรู้กว้างกว่าไปถามใครคนเดียวอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2014
  17. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    จิตคิดเองเออเองกันเป็นปรกติ
    ความคิด เป็นอาหารของจิต ด้วยการอยากดำรงตนอยากอยู่รอด
    จิตจะพยายามป้อนอาหารให้แก่ตน
    อาการปรกติ การยึดนี้เรียกว่า สักกายยทิฏฐิ
    และกาย ที่ป้อนอาหาร คือความคิดให้ตน เรียกว่า กายภายใน
    ถ้ากายภายในป้อนอาหารออกนอกกาย เรียก ส่งออกนอก

    เหมื่อนที่เรากายใจ หายใจเข้าไม่อิ่มจะต้องหายใจออก
    หายใจออกไม่อ่มจะต้องหายใจเข้า

    ที่คนเราเกิดอาการป่วยทางจิต ก็เมื่อป้อนอาหาร คือความคิดออก
    แล้วไม่มีการป้อนเข้า
    หรือป้อนความคิดเข้ามันไม่ป้อนออก ด้วยอาการอะไรำด้มากมาย

    การหยุดคิดจึงเป็นวิธีระงับอาการทางพยาธิสภาพของจิตที่ได้ผลระงับสุด

    วิธีหยุดคิด ก็เหมือนหยุดหายใจ
    หรือคิดอยู่หรือหายใจอยู่แต่ไม่รับทราบ
     
  18. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ความปราถนาที่จะหยุดคิด เป็นอาการอันโอชะของความคิด
    แล้วคำถามที่ว่าทำไงดี เป็น นิวรณ์ เรียกว่าวิจิกิจฉา แปลไทยได้ว่า ลังเลสงสัย

    ถ้าภาวนาแบบพุทธก็ให้ปรงให้ได้
    ลังเลสงสัย ฟุ้งซ่าน เป็นอาการปรกติของ คนมีร่างกาย

    ถ้าอยากหายป่วยทางจิต
    ถ้าเรารอไหว แล้วไม่ให้ความสำคัญของการหยุดคิด

    มันจะหมดอาหาร หมดปัจจัย
    เช่นเห็นชัดๆ ว่าลังเลสงสัย ตั้งคำถามมากมาย
    คือทุกข์ ไม่ได้ให้เลิกสงสัย ไม่ได้ห้ามสงสัย ให้เห็นอย่างจริงแท้
    ว่ามัน ทุกข์
    เดี๊ยวก็หายป่วย อาการของความป่วยจิตไม่ชอบกิน
    เหมือนไม่ชอบกินเหล้า ไม่ชอบเสพของมึนเมา

    มันสร่างเอง

    ถ้าจิตชอบป้อนความลังเล ละล้าละลังทั้งเข้าออก
    ก็เท่ากับหายใจเข้าเอาแก็สทำลายประสาท และพ่นแก็สทำลายประสาท ออกมา เพื่อจะสูดเข้าไปใหม่
     
  19. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เช่น ให้จิตหนึ่งให้อภัย อีกจิตหนึ่งเสมอ
    ไม่โต้ตอยอะไรทั้งสิ้น บังคับให้อภัยให้เสมอ
    แล้วดูอีกจิตว่า นั่นจิตใคร
    ปรกติอีกจิตจะไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา
    เรามักจะยึดจิตที่ให้อภัยเสมอไว้กับเรา ของเรา
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็มาถูกทางแล้วนี่คร้าบท่าน จขกท

    เพียงแต่ว่า ความเพลินในรส ที่เรียกว่า รสธรรมจากสุตตมัยปัญญา ปัญญาที่
    อาศัยตำรา มันยังมี รสเลิศอยู่

    ทำไมมันเลิศอยู่ อันนี้ ก็แล้วแต่บุคคล

    บุคคลบาลคน เขาอ่านตำรา เพื่อเป็น หอก ไว้ทิ่มแทงคนอื่น อันนี้ มันก็จะ
    เผลอเพลิน ในลักษณหนึ่ง แก้ยาก ยิ่งทิ่มยิ่งแทง ยิ่งมันส ซะใจ

    บคคลบางคน เขาอ่านตำรา เพื่อเห็นจิตมีปิติ อันนั้น จะอ่านแล้วมีความ
    สุข แต่ จะไม่ปัสสัทธิ คือ อ่านแล้วก็น้ำหูน้ำตาไหล ทราบซึ้งไปเรื่อยเจื้อย
    พอบทนี้ ชิน ก็ต้องอาศัย บริบทธรรมอื่นๆ เข้ามา เติมเต็ม ทำให้ อ่านธรรมะ
    ไปกลายเป็น ผีเปรตไป เรื่อยเจื้อย สุดท้าย เห็น ธรรมะ เป็น ตำราอภิปรัชญา
    หรือ ความคิดของมหาบัณฑิตที่ฉาญฉลาดที่สุด แขนงหนึ่ง ไปโน้น พวกนี้
    สุดท้าย ไปจะไปนั่งชื่นชม ศาสดาอื่นด้วย เคาระแม้กระทั่งพวก เฮวี้เมททัล ไปโน้น

    บางคนอ่านตำรา ก็เพื่ออาศัย เห็นจิตกำเริบกลับ คือ ความเพลินในธรรม ธรรมะ
    หากไม่ดับจากจิต เวลาอ่านเจอ โศลกสั้นๆ บทสั้นๆ ก็เกิด กระเพื่อม

    พอจิตกระเพื่อม ก็เข้าใจไปว่า จิตสะเทือนธรรม จิตหงาย จิตตื่น จิตเบิกบาน ฮานาก้า
    บรรลุและ

    แบบนี้ก็มี

    แล้วที่ถูกหละ

    ที่ถูกคือ อ่านไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม คือ อ่านโดยเป็น ภาระหน้าที่ ในการทรงธรรม
    และ วินัย เอาไว้ให้คล่องปาก ให้ขึ้นใจ ตามที่ มีพระราชโองการกำชับทุกครั้ง ก่อนจะ
    แสดงธรรมให้ฟัง

    แล้วหลังจาก ทำหน้าที่ ที่พระพุทธองค์ฝากไว้เสร็จ ที่เหลือก็จะเป็นเรื่อง ประโยชน์
    ของตน คือ แยกเอาธรรมะที่จดำจได้มานั้น วางไว้ในมุมหนึ่งของจิต อย่าให้ มีรส
    เผลอเพลิน เข้ามารั่วรด จิตที่ยังไม่เอาไหนเด็ดขาด

    พอกันจิตไว้สองส่วน ก็จะร้อง อัยยะ มันทำงานเป็น กองๆ ได้ กองที่จดจำคำสอน
    ของศาสดาก็จะเป็นกองขันธ์กองหนึ่ง ส่วน ปัญญาเฉพาะตนก็ปรากฏเป็นกองขันธ์
    อีกกองหนึ่ง แยกกันอยู่ ก็อาศัย หัดรู้ หัดดู การขบเหลี่ยมกัน การฉกฉวย การเป็น
    ภิกษุโจร เข้าไปตรงๆ

    คือเมื่อไหร่ เรามีไถจิต มีมานะ มีอัตตา เราจะ หยิบเอา กองขันธ์ที่ทรงธรรม มาเป็น
    ของตัว เอามาอ้างว่า ตนเป็นผู้รู้

    เมื่อไหร่ มานะ อัตตาไม่มี ไถจิตไม่มี มารยาสาไถย อ่อนตัวลง ก็จะ เห็นชัดว่า
    มันแยกกันอยู่ ปัญญาที่ได้ฟังตามๆกันมานั้น หากตรงนั้นยังเด่นอยู่ ก็ถือว่า ยัง
    ภาวนาไม่เกิดปัญญาเป็นของตน

    รู้เห็นไปแบบนี้ ตรงๆ ไม่ต้องอายใคร ไม่ต้องกลัวใครมาด่า ว่า หนอนแทะตำรา

    เราจะเป็นคน ทรงธรรม และ วินัย ได้จำนวนมาก อย่างอาจหาญ เพราะ จำแนก
    แยกแยะปัญญาเป็นว่า ส่วนใดเป็นของผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และ ส่วนใดที่
    ออกมาจากธรรมของตัว
     

แชร์หน้านี้

Loading...