พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สถาปัตยกรรมในรัชกาล
    1. สถาปัตยกรรมในพระบรมมหาราชวัง
    1. พระที่นั่งไชยชุมพล สร้างอยู่บนกำแพงพระบรมมหาราชวังตรงหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หน้ากระทรวงการต่างประเทศ) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลา ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร ริมประตูวิเศษไชยศรี เป็นที่เสด็จออกทอดพระเนตรกระบวนแห่พระยายืนชิงช้า ในการพระราชพิธีตรียัมปวาย
    2. พระอภิเนาวนิเวศน์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่หมู่หนึ่ง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2395 ใช้เวลาสร้างทั้งหมด 5 ปี พระที่นั่งและสถานที่ต่าง ๆ ในพระอภิเนาวนิเวศน์ ได้รับพระราชทานชื่อไว้คล้องจองสัมผัสกัน ดังนี้ "ภูวดลทัศไนย สุทไธสวรรย์ อนันตสมาคม บรมพิมาน นงคราญสโมสร จันทรทิพโยภาศ ภาณุมาศจำรูญ มูลมณเฑียร เสถียรธรรมปริต ราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ โภชนลินลาศ ประพาศพิพิธภัณฑ์"
    - พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นท้องพระโรงเสด็จออกฝ่ายหน้า
    - พระที่นั่งบรมพิมาน เป็นพระมหามณเฑียรที่พระบรรทมแห่งหนึ่ง และเป็นที่รับแขกเมืองเฝ้าในที่รโหฐาน และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามที่ได้มีพระดำรัสสั่งไว้ตลอดมาจนรื้อพระที่นั่งองค์นี้
    - พระที่นั่งนงคราญสโมสร เป็นท้องพระโรงฝ่ายใน
    - พระที่นั่งจันทรทิพโยภาส เป็นพระพิมานฝ่ายใต้
    - พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญเป็นพระวิมานที่บรรทมอีกแห่งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้
    - พระที่นั่งมูลมณเทียร เป็นพระที่นั่งเดิมรื้อมาสร้างใหม่ ต่อมารื้อไปสร้างไว้ที่วัดเขมาภิตาราม
    - หอเสถียรธรรมปริตร เป็นหอพระปริตร
    - หอราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ เป็นหอพระแสงศาสตราครม
    - หอโภชนสินลาศ เป็นหอเลี้ยงแขกเมือง
    - หอพระที่นั่งประพาศพิพิธภัณฑ์ เป็นพิพิธภํณฑ์ในพระราชฐาน
    พระที่นั่งและอาคารทั้งปวงในหมู่พระ อภิเนาวนิเวศน์นั้น สร้างด้วยโครงไม้ประกอบอิฐ ถือปูนเป็นพื้น อยู่ได้สัก 30 ปี พบไม้โครงผุก็พ้นวิสัยที่จะซ่อมแซมให้คืนดีได้ จึงได้รื้อทั้งหมด
    3. พระที่นั่งภูวดลทัศไนย เป็นพระที่นั่งสูง 5 ชั้น ชั้นยอดมีนาฬิกา 4 ด้าน สร้างในสวนตรงหน้าพระพุทธนิเวศน์
    4. พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกขปราสาท เป็นพระที่นั่งโถงจัตุรมุขยอดปราสาท ทำด้วยไม้ทั้งองค์ตั้งอยู่บนแนวกำแพงแก้ว ลักษณะหลังคาเครื่องยอดของพระที่นั่งองค์นี้เป็นหลังคาชั้นลด 4 ชั้น มียอดและเครื่องลำยองประดับเช่นเดียวกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เว้นแต่ตรงส่วนย่อไม้สิบสองรับเครื่องยอดทำเป็นรูปหงส์รับไขรา ด้านละ 3 ตัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นพระที่นั่งโถงสำหรับเสด็จโดยพระราชยาน มีเกยรับ-ส่งเสด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หน้าที่ใช้งานของพระที่นั่งองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อเสด็จประทับในพระราชพิธีโสกันต์ พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอหรือ เจ้านาย ที่มีชันษาครบวาระที่โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีให้สมพระเกียรติตามราชประเพณี
    5. พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน เป็นพระที่นั่งองค์สำคัญอีกองค์ในหมู่พระมหามณเฑียร ใช้เป็นท้องพระโรงฝ่ายหน้าสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จออกบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธี และเสด็จออกมหาสมาคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนฝาผนังจากลายทองรดน้ำเป็นอย่างอื่น
    6. พระที่นั่งราชฤดี เดิมเป็นพระที่นั่งเก๋ง สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ตั้งอยู่ด้านข้างขวาพระที่นั่งอมรินทร วินิจฉัย ต่อมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้รื้อและสร้างขึ้นแทนที่พระราชวังสวนดุสิต ถึงรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ สร้างพระที่นั่งขึ้นในที่นี้ พระราชทานนามว่า พระที่นั่ง "จันทรทิพโยภาส" แล้วเปลี่ยนเป็นพระที่นั่งราชฤดี
    7. หอศาสตราคม ตั้งอยู่ข้างทิศอิสาน แห่งพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย สร้างเป็นที่พระสงฆ์ฝ่ายรามัญนิกายทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์
    8. หอแก้ว เป็นที่ไว้เทวรูป เหมือนอย่างศาลพระภูมิ และเป็นที่โหรมาทำการอยู่ที่โรงแสงเก่า ข้างพระที่นั่งภาณุมาศจำรูญทิศตะวันออกเฉียงใต้ สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
    9. พระที่นั่งมหิศรปราสาท ตั้งอยู่หลังพระพุทธมณเฑียร ที่แนวกั้นเขตระหว่างสวนศิวาลัย กับเขตพระราชฐานชั้นใน สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมชนกนาถมาประดิษฐานไว้
    10. ตำหนักแพท่าราชวรดิฐ ที่บริเวณพื้นที่ว่าง ทางตะวันตกนอกกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านติดริมลำน้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นพระตำหนักน้ำปักเสาลงในน้ำ ทอดกระดานเหมือนเรือนแพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รื้อลง แล้วลงเขื่อน ถมที่เสมอระดับพื้นดินสร้างพระที่นั่งขึ้นหมู่หนึ่ง พระที่นั่งองค์กลางเป็นพลับพลาสูงพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งชลังคพิมาน" ด้านตะวันออกของ พระที่นั่งองค์นี้สร้างพลับพลา "พระที่นั่งทิพยสถานเทพยสถิตย์" ทางด้านเหนือสร้างท้องพระโรงฝ่ายหน้า พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย" ทางด้านใต้สร้างเป็นที่ปีกฝ่ายใน "พระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์"
    ตรงหน้าพระที่นั่งชลังคพิมาน ก่อเขื่อนเป็นที่สรง ก่อกำแพงเป็นบริเวณทั้ง 3 ด้าน มีป้อมริมน้ำปลายแนวกำแพง 2 ป้อม ด้านเหนือพระราชทาน นามว่า "ป้อมพรหมอำนวยศิลป์" ด้านใต้พระ ราชทานนามว่า "อินทร์อำนวยศร"
    ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งส่วนใหญ่ชำรุด จึงโปรดให้รักษาไว้แต่พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย นอกนั้นให้รื้อปรับที่ทำสนามเพื่อขยายเขื่อนออกไปข้างหน้า เป็นท่าเสด็จลงเรือพระราชทานนามว่า "ท่าราชวรดิฐ"
    11. ประตูพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขประตูพระบรมมหาราชวังชั้นนอก โดยทำเป็นยอดประตูปรางค์ และเพิ่มบานประตูเป็น 2 ชั้น แต่เมื่อสิ้นรัชกาลนั้นยังแก้ไขไม่ครบทุกประตู
    ประตูพระราชวังชั้นนอก เมื่อแรกสร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทำด้วยเครื่องไม้ ยอดทรงมณฑป ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างเป็นเครื่องก่ออิฐถือปูน ทำเป็นซุ้มฝรั่งตามแบบประตูชั้นนอก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก้เป็นยอดปรางค์ ส่วนประตูท้ายวังทางทิศใต้ ด้านวัดพระเชตุพนฯ นั้นปรากฏว่าเปลี่ยนเป็นประตูคฤหแบบหอรบ
    2. พระอารามที่ทรงสร้างขึ้นใหม่
    1. วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดบรมสุข ผู้สร้างวัดเสียชีวิต บุตรหลานจึงน้อมเกล้าฯ ถวายให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงผนวชอยู่ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์และสถาปนาขึ้นใหม่ ถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การก่อสร้างวัดเสร็จ หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดบรมนิวาส" เมื่อทรงสถาปนาวัดนั้นทรงสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ ศาลาการเปรียญ ศาลาท่าน้ำ
    2. วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างใน พ.ศ. 2396 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและอุทิศพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี เป็นพระอาราม ที่ทรงสร้างตามประเพณีครั้งอยุธยา พระวิหารเป็นอาคารทรงไทยฐานสูง หลังคามุงกระเบื้อง หน้าบันเป็นปูนปั้น ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันประดับลวดลายด้วยกระเบื้องเคลือบสีและสีทอง เป็นพระราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระอัครมเหสีพระองค์แรก ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นปูนปั้นลงรักปิดทอง ประดับกระจกลายดอกพุดตาน มีรูปพระมหามงกุฎอยู่ตอนบนบานประตูหน้าต่าง พระอุโบสถมีลักษณะเช่นเดียวกับพระวิหารแต่ขนาดย่อมกว่าต่างกันที่เสาระเบียงเป็นเสาเหลี่ยม พระราชทานนามว่า "วัดโสมนัสวิหาร"
    3. วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร (วัดสระปทุม) สถานที่เดิมเป็นนาหลวงรวมอยู่ในทุ่งบางกะปิ ริมคลองแสนแสบ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดสระในที่นาหลวง 2 สระต่อถึงกัน สระในสำหรับเสด็จประพาสอยู่ด้านเหนือ สระนอกสำหรับมหาชนไปเล่นเรืออยู่ด้านใต้ ดินที่ขุดขึ้นถมเป็นเกาะ ขุดคลองไขน้ำจากคลองแสนแสบให้เป็นทางเรือเข้าบริเวณที่นั่งสระด้านเหนือ ตั้งพลับพลาที่ประทับมีพระที่นั่ง 2 ชั้น เป็นที่ประทับแรม มีพลับพลาที่เสด็จออก และ โรงละคร โปรดให้เรียกสระบัวที่ทรงสร้างรวมทั้งตำบลว่า "ปทุมวัน" โปรดให้สร้างพระอารามขึ้นที่ริมสระนอกด้านตะวันตก พระราชทานนามว่า "วัดปทุมวนาราม"
    4. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2407 โดยทรงซื้อที่สวนกาแฟเดิมซึ่งเป็นที่ดินของหลวงด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ในวัดนี้มีสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นอย่างตะวันตกในเขตสังฆาวาส คือ ตำหนักสมเด็จพระสังฆราชและกุฏิสงฆ์ แล้วมีซุ้มหรือสิ่งที่ทำขึ้นสำหรับเป็นเครื่องประดับส่วนบนของประตู หน้าต่างเป็นลักษณะซุ้มทรงมงกุฎ ซึ่งแสดงความหมายตามพระนามาภิไธยขององค์ผู้สร้างมีการตกแต่งโคมระย้าภายในพระอุโบสถ และหอไตรเดิมมีลักษณะเป็นปราสาทยอดแบบจำลองพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระราชทานนามว่า "วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม"
    5. วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2410 พระราชทานนามว่า "วัดมกุฏกษัตริยาราม" แต่ในระหว่างรัชกาลคนทั้งหลายเห็นว่าพ้องกับพระบรมนามาภิไธย ไม่กล้าเรียก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า "วัดพระนามบัญญัติ" แล้วมีพระราชดำรัสสั่งไว้ว่าเมื่อเปลี่ยน รัชกาลใหม่ให้เปลี่ยนนามวัดเป็น "วัดมกุฏกษัตริยาราม" ตามเดิม
    6. วัดตรีทศเทพวรวิหาร ทรงสร้างร่วมกับพระราชโอรสทั้งสอง คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ พระราชทานนามว่า "วัดตรีทศเทพ" นามวัดที่พระราชทานแปลว่า "สร้างโดยเทวดา 3 องค์"
    7. วัดพระแก้วน้อย พระนครคีรีจังหวัดเพชรบุรี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวังพระนครคีรี เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง บริเวณพระอุโบสถของวัดจะประดับด้วยหินอ่อนโดยรอบ หลังคามุงด้วยกระเบื้องสี ใบระกาช่อฟ้าบราลีประดับด้วยกระจกฝีมือช่างหลวง หน้าบันเป็นปูนปั้นตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ตราประจำรัชกาล ด้านหน้าพระอุโบสถ มีพระเจดีย์หินอ่อนเนื้อสีเขียวทรงกลมตั้งอยู่ พระเจดีย์องค์นี้ได้มีการแกะสลักหินอ่อน เพื่อประกอบเป็นองค์เจดีย์ที่เกาะสีชัง เสร็จแล้วจึงถอดมาเป็นชิ้นเพื่อประกอบเป็นองค์เจดีย์ ณ ที่แห่งนี้
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระอารามที่ทรงปฏิสังขรณ์
    1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระมณฑปเดิมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นั้น เมื่อมาถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดให้ถมที่ต่อชั้นประทักษิณ ฐานพระมณฑปออกไปทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก มีพนักศิลาล้อม สร้างซุ้มประตู ประดับกระเบื้อง ทำบันไดเพิ่มอีก 6 แห่ง ทางด้านตะวันออก สร้างปราสาทยอดปรางค์ขึ้นองค์หนึ่งประดับกระเบื้อง ทั้งผนังและองค์ปรางค์ พระราชทานนามว่า "พระพุทธปรางค์ปราสาท" ปราสาทองค์เดิมได้มีพระราชดำริให้เป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วมรกต ปรากฏว่าไม่อาจประกอบพระราชพิธี ต่าง ๆ ได้สะดวก จึงโปรดให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรี (ปัจจุบันปราสาทพระเทพบิดร) ทางด้านตะวันตกของมณฑป โปรดให้สร้างพระศรีรัตนเจดีย์ตามแบบพระมหาสถูปในวัดพระศรีสรรเพชญที่อยุธยา ทางด้านทิศเหนือเบื้องหลังปราสาทพระเทพบิดร โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างนครวัดจำลอง
    2. วัดวงศ์มูลวิหาร เดิมชื่อวัดใหม่ โปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์และพระราชทานนาม
    3. วัดชิโนรสารามวรวิหาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงถวายวัดเป็นพระอารามหลวง เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ. 2396 อีก 4 ปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอารามและก่อสร้างตกแต่งพระเจดีย์ขนาดใหญ่ 2 องค์ และพระอุโบสถ แล้วโปรดให้ช่างปั้นหรือเขียนรูปนาคไว้ทั่วไป เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งพระนามเดิมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และโปรดให้ปั้นรูปพระมหามงกุฎลงรักปิดทองไว้เหนือเรือนแก้วหลังพระประธานในพระอุโบสถ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าพระองค์ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ แล้วพระราชทานนามว่า "วัดชิโนรสาราม"
    4. วัดกาญจนสิงหาสน์วรวิหาร เดิมชื่อวัดทองเป็นวัดโบราณ พ.ศ. 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดกาญจนสิงหาสน์" พ.ศ. 2406 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระประธานและฐานชุกชี
    5. วัดบวรมงคลราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดลิงขบเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นวัดมอญมาจน พ.ศ. 2462 จึงกลายเป็นวัดธรรมยุต และมีพระสงฆ์ไทยมาจำพรรษา
    6. วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามวัดว่า "วัดเทวราชกุญชร" เพื่อเป็นเกียรติแก่ขุนนางสกุล กุญชร ณ อยุธยา เพราะสกุล กุญชร ณ อยุธยา เป็นผู้ทะนุ-บำรุงวัดนี้
    7. วัดนวลนรดิศวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดนวลนรดิศ" เพื่อเป็นที่ระลึกถึงท่านผู้หญิงนวลและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) มารดาและบุตรผู้สถาปนาวัดนี้
    8. วัดเบญจมบพิตร เดิมชื่อวัดแหลมหรือ วัดไทรทอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดเบญจบพิตร" หมายความว่าวัดของเจ้านาย 5 พระองค์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์, พระเจ้าบรม
    วงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์, พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล และพระองค์เจ้าหญิงวงศ์ ร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนชื่อวัดจาก "วัดเบญจ-บพิตร" เป็น "วัดเบญจมบพิตร" อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 พร้อมทั้งเพิ่มสร้อยนามว่า "ดุสิตวนาราม" เพื่อให้คล้องกับพระราชวังสวนดุสิตที่ทรงสร้างใหม่
    9. วัดพิชัยญาติการามวรวิหาร เดิมชื่อวัดพระยาญาติการาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดพิชัยญาติการาม" เพื่อให้พ้องกับราชทินนามของผู้สร้าง คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) แล้วโปรดให้ทำฉัตรขาว 5 ชั้น ถวายเป็นเครื่องสักการะพระประธานในพระอุโบสถ
    10. วัดมหรรณพารามวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2393 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่การยังไม่สำเร็จ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินสมทบ 1,000 ชั่ง เพื่อสร้างพระเจดีย์ทรงกลมองค์ใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลางเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ เมื่อพ.ศ. 2403 ที่หน้าพระวิหาร ระหว่างศาลาการเปรียญกับโรงเรียนเทศบาล มีต้นโพธิลังกา ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปลูก 1 ต้น พระราชทานนามว่า "วัดมหรรณพาราม"
    11. วัดเวฬุราชิน เดิมชื่อวัดใหม่ท้องคุ้ง เป็นวัดที่เจ้าพระยาพลเทพ (เอี่ยม ชูโต) สร้างขึ้นแล้วน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เงินที่เจ้าพระยาพลเทพนำมาใช้ในการสร้างวัดเป็นเงินค่าภาษีไม้ไผ่สีสุก ที่ท่านเป็นเจ้าภาษีรับสัมปทานผูกขาดการเก็บภาษีไม้ ไผ่สีสุกเป็นรายปี อันเป็นเงินภาษีที่เร่งรัดเก็บได้จากภาษีติดค้างของราษฎรหลายปี วัดนี้ได้รับพระราชทานนามวัดว่า "วัดเวฬุราชิน" แปลความหมายได้ว่า วัดซึ่งเกิดจากหนี้ภาษีไม้ไผ่ของพระราชา
    12. วัดอนงคารามวรวิหาร เดิมชื่อวัดน้อยขำแถม ท่านผู้หญิงน้อย ภริยาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) สร้างถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชทานนามว่า วัดอนงคนิกายาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอนงคาราม"
    13. วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร เดิมชื่อวัดเกาะแก้วลังการาม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามวัดจากวัดเกาะแก้วลังการาม เป็น "วัดสัมพันธวงศาราม" เนื่องจากมีพระราชดำริว่าเป็นวัดพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษมนตรีเป็นผู้สถาปนา และได้มีการเปลี่ยนนิกายของวัด จากเดิมเป็นฝ่ายมหานิกายเป็นพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต จนถึงปัจจุบัน
    14. วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร เดิมชื่อวัดสามจีนหรือวัดบางลำพู พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระประธานในพระอุโบสถ แล้วพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดสังเวชวิศยาราม"
    15. วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อวัดชัยพฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนทรงผนวช ทรงรับพระบรมราชโองการจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้เป็นแม่กองดำเนินการสร้างวัดชัยพฤกษ์ โปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดเข้าในบัญชีพระอารามกฐินหลวง พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ มาทรงจุดเทียนพรรษาและถวายพระกฐินทุกปีตลอดรัชกาลของสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
    เป็นแม่ข่าย ดำเนินการซ่อมสร้างจนแล้วเสร็จ วัดชัยพฤกษ์จนสำเร็จลุล่วง พร้อมกับพระราชทานสร้อยนามวัดว่า "วัดชัยพฤกษมาลา" โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่สวนถวายเพิ่มเป็นที่วัดขุดคูรอบวัด สร้างพระอุโบสถและพระวิหารเดิมให้แล้วเสร็จ สร้างศาลาการเปรียญ ก่อพระเจดีย์ใหญ่พร้อมด้วยพระเจดีย์ทิศ 4 มุม หอสวดมนต์ หอระฆัง สะพานท่าน้ำ สะพานข้ามคลองและศาลาพระอุโบสถเก่า หน้าบันชั้นบนเป็นปูนปั้นรูปครุฑจับนาค ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่หน้าบันมุขลดเป็นปูนปั้นรูปพระมหามงกุฎ อันเป็นตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    16. วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อวัดเขมาหรือวัดเขนมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีผู้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ถึงความทรุดโทรมของวัดเขมา พระองค์จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปเฝ้าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เพื่อกราบทูลขอพระราชทานวัดเขมาเป็นวัดกฐินในกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (วัดเขมาเป็นพระอารามที่ต้องนำพระกฐินหลวงในพระบวรราชวังไปทอด) และทำการปฏิสังขรณ์ เมื่อสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิญาณรับว่าจะปฏิสังขรณ์วัดเขมาฉลองคุณ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่สวนถวายเพิ่มเติมเป็นที่วัด ขุดคูรอบวัด สร้างพระอุโบสถ สร้างรูปพระอสีติมหาสาวก 80 องค์ ล้อมพระประธาน สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่ในด้านหลังพระอุโบสถ มีพระเจดีย์ทิศ 4 พระองค์ เป็นบริวารแล้วให้เลื่อนพระเจดีย์เดิมของสมเด็จพระศรีสุริเยน- ทรา บรมราชินี ทรงสร้างไว้ไปตั้งอยู่ใน 4 มุม พระมหาเจดีย์ สร้างพระวิหารน้อย 2 หลัง ที่มุมกำแพงหน้าพระอุโบสถ สร้างการเปรียญ กุฏิ หอพระไตรปิฎก หอสวดมนต์ หอระฆัง สะพาน ศาลา โรงไฟและพระราชทานนาม "วัดเขมาภิรตาราม"
    17. วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นองค์หนึ่งซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัดนี้
    18. วัดรัชฎาธิฐานราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าเดิม ชื่อวัดเงิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดรัชฎาธิฐาน"
    19. วัดขุนยวน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมเป็นวัดร้าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นไปขณะที่ทรงผนวชอยู่ โปรดเกล้าฯ ให้ปลูกตำหนักและทรงปฏิสังขรณ์ให้กลับเป็นวัดมีพระสงฆ์ขึ้นอย่างแต่ก่อน
    20. วัดเบี้ย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณอยู่ในวังจันทรเกษม โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานเป็นวัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง แต่ยังไม่แล้วเสร็จ จึงมิได้นิมนต์พระสงฆ์มาประจำวัด
    21. วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งอารามนับเป็นอีกวัดหนึ่งซึ่งทรงสร้างวัดเป็นผาติกรรมไถ่ พระนารายณ์ราชนิเวศน์
    22. วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนคร- ศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัด และลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์พระพุทธรูปพระเจ้าพนัญเชิง
    23. วัดขุนแสน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระสถูป เจดีย์ พระวิหารหลวง
    24. วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่สำหรับพระอารามพระวิหารหลวง หน้าพระเจดีย์ประดิษฐานรูปจำลองพระแก้วมรกต โรงครัว กำแพงแก้ว ล้อมรอบบริเวณพระอุโบสถและพระวิหาร
    25. วัดเขาแก้ววรวิหาร จังหวัดสระบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) เป็นแม่กองคุมการปฏิสังขรณ์ขยายพระอุโบสถก่อกำแพงรอบพระอุโบสถ ตลอดจนสร้างกุฏิและบูรณะองค์พระเจดีย์ แล้วพระราชทานนามว่า "วัดคีรีรัตนาราม"
    26. วัดพระป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เสริมสร้างพระวิหารและเสริมหลังคา 2 ชั้น ตลอดจนถาวรวัตถุต่าง ๆ ทั้งวัด
    27. วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณเดิมชื่อวัดเสื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะทรงสร้างวัดเป็นผาติกรรมไถ่พระราชวังลพบุรี จึงโปรดให้สร้างวัดขึ้นใหม่ทั้งพระอารามให้เป็นวัดพระสงฆ์ธรรมยุติกาวัดแรกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพระราชทานนาม "วัดเสนาสนาราม"
    28. วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี
    29. วัดกวิศรารามราชวรวิหาร (กระวิศราราม) จังหวัดลพบุรี เดิมชื่อวัดขวิด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะใหม่ทั้งพระอารามทรงสร้างวัดเป็นผาติกรรมไถ่พระนารายณ์ราชนิเวศน์และพระราชทานนามว่า "วัดกรวิศยาราม" (ภายหลังชื่อวัดเปลี่ยนจากวัดกรวิศยาราม เป็นวัดกวิศราราม แปลว่า วัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง) แล้วนิมนต์พระสงฆ์รามัญนิกายด้วยมีพระราชประสงค์ให้สวดพระปริตรสำหรับพระราชวัง
    30. วัดธรรมามูลวรวิหาร จังหวัดชัยนาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ และทรงประทานพระพุทธ-รูปโบราณเป็นพระประธาน
    31. วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง
    32. วัดป่าโมกวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง
    33. วัดเขาบวชนาค จังหวัดนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งพระอุโบสถและพระวิหาร
    34. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัด พิษณุโลก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวิหารขึ้นใหม่ทั้ง 2 หลัง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ปั้นจำลองพระพุทธชินสีห์และพระศาสดาไว้ ณ พระวิหาร
    35. วัดบางพระวรวิหาร จังหวัดชลบุรี เป็นวัดโบราณ พระอุโบสถเครื่องบนผุหมด เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ทำเครื่องบนใหม่ และสร้างพระเจดีย์หลังพระอุโบสถ
    36. วัดเกาะสีชัง หรือวัดจุฑาทิศธรรมสภาราม วรวิหาร เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
    37. วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างองค์พระปฐมเจดีย์ใหญ่หุ้มองค์เดิม สร้างพระวิหาร 4 ทิศ พระระเบียง พระเจดีย์แบบองค์พระปฐมเจดีย์เดิม พระเจดีย์อย่างเมืองนครศรีธรรมราช โรงธรรม เก๋งจีน หอระฆัง
    38. วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ก่อเสริมปรางค์ขึ้นไปอีกโดยทำเป็นยอดตัดตาย (ปัจจุบันเปลี่ยนรูปทรงเป็นยอดเรียว)
    39. วัดพุทธไสยาสน์ จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
    40. วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร จังหวัดเพชร-บุรี เป็นวัดโบราณ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดมหาสมณาราม"
    41. วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร สร้างอยู่บนเชิงเขาสัตตนารถ (ปัจจุบันเรียกว่า เขาวัง) ทางทิศตะวันออก จังหวัดราชบุรี
    42. วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร จังหวัดสมุทรสงคราม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถทั้งหลัง และสร้างศาลาโรงธรรม

    4. พุทธเจดีย์
    1. พระเจดีย์ช่องแสมสาร จังหวัดระยอง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออก พ.ศ. 2400 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ไว้บนไหล่เขาแหลมเทียนช่องแสมสาร สำหรับเป็นที่หมายปากช่องให้เรือแล่นได้โดยสะดวกและปลอดภัย
    2. พระเจดีย์วัดโยธานิมิตรและเขาสระบาป จังหวัดจันทบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองจันทบุรี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์สูงที่วัดโยธานิมิตรและเขาสระบาป
    3. พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อพ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมกุฎพันธเจดีย์ สร้างเครื่องมณฑปใหญ่และสร้างพระมณฑปน้อย เปลี่ยนแผ่นเงินปูพื้นพระมณฑป สร้างพระวิหารหลวงบนฐานเดิม (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สระบุรี) สร้างเทวรูปศิลาที่เขาตก ต่อมา พ.ศ. 2403 โปรดเกล้าฯ ให้ยกยอดพระมณฑปและบรรจุพระบรมธาตุที่มกุฎพันธเจดีย์
    4. ถ้ำเขาหลวง จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างบันไดหินลงไปในถ้ำที่มีพระพุทธรูปโบราณสถิตอยู่ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปเพื่ออุทิศถวายพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน ร่วมกับเจ้านายฝ่ายในและพระบรมวงศานุวงศ์
    5. พระธาตุจอมเพชร จังหวัดเพชรบุรี เป็นเจดีย์เก่าทรงลังกา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะขึ้นใหม่ และนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้พร้อมกับพระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร
    6. พระพุทธเสลเจดีย์ จังหวัดเพชรบุรี ที่ยอดเขามหาสวรรค์ยอดใต้ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ศิลาทึบ ทำศิลาเป็นซีกๆ ไปจากเกาะสีชังไปประกอบพระเจดีย์ และพระราชทานนามว่า พระพุทธเสลเจดีย์
    7. พระเจดีย์บนยอดเขาตังกวน จังหวัดสงขลา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสงขลา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์บนยอดเขาเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนิน
    8. พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อ พ.ศ. 2403 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์โดยถ่ายแบบพระเจดีย์กลมที่กรุงเก่ามาสวมพระเจดีย์ไม้ สร้างกำแพงและศาลาราย 4 ทิศ สร้างพระวิหารหลวงด้านใต้ พระเจดีย์ 1 หลัง สร้างหอระฆัง ข้างหน้าพระวิหารหลวง สร้างพระวิหารน้อยข้างเหนือพระเจดีย์ 2 หลัง
    9. พระธาตุพระฝาง จังหวัดอุตรดิตถ์ พระมหาธาตุเมืองสวางคบุรีพังลงมา เมื่อพ.ศ. 2399 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างใหม่ให้บริบูรณ์เหมือนเดิม
    5. ป้อม
    1. ป้อมรอบพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมที่กำแพงพระบรมมหาราชวังเพิ่มขึ้นข้างตะวันออก 3 ป้อม คือ ป้อมสัญจรใจวิง ตรงถนนบำรุงเมือง ป้อมขยันยิงยุทธอยู่ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ด้านเหนือ ป้อมฤทธิรุทร์โรมรันอยู่ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ด้านใต้
    2. ป้อมรอบเขตพระนครชั้นนอก หลังจากโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตพระนครออกไปและให้ขุดคลอง คูพระนครออกไปอีกชั้น
    หนึ่ง คือ ปากคลองทิศใต้ออกไปริมวัดแก้วฟ้า ปากคลองทิศเหนือ ออกไปริมวัดเทวราชกุญชร (พระราชทานนามว่า คลองผดุงกรุงเกษม) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมขึ้นใหม่ ตั้งเรียงรายอยู่ชั้นนอก รอบคลองผดุงกรุงเกษม และฝั่งตะวันตก ได้แก่
    ป้อมป้องปัจจามิตร อยู่ฝั่งตะวันตกริมปากคลองสาน ตรงข้ามกับปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านใต้
    ป้อมปิดปัจจนึก อยู่ฝั่งตะวันออกริมปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านใต้
    ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ อยู่ใกล้กับป้อมป้องปิดปัจจนึก เป็นป้อมสำหรับยิงคำนับแขกเมือง (ภายหลังรื้อแล้ว)
    ป้อมผลาญไพรีราบ ริมวัดพลับพลาไชย หรือบริเวณใต้วัดเทพศิรินทราวาส
    ป้อมปราบศัตรูฟ่าย อยู่ใกล้คลองนางเลิ้ง ตรงข้ามหมู่บ้านญวน
    ป้อมทำลายปรปักษ์ อยู่เหนือวัดโสมนัสวิหาร
    ป้อมหักกำลังดัสกร อยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษมข้างเหนือ ถนนราชดำเนินนอก
    ป้อมมหานครรักษา อยู่บริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านเหนือ ใกล้วัดนรนาถสุนทริการาม รื้อลงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ป้อมพรหมอำนวยศิลป์ รื้อลงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ป้อมอินทรอำนวยศร รื้อลงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ป้อมวิไชยประสิทธิ์ อยู่ฝั่งตะวันตกปากคลองบางกอกใหญ่ (ปัจจุบันยังคงสภาพดีอยู่ ส่วนป้อมอื่นรื้อไป
    หมดสิ้นแล้ว)
    3. ป้อมรอบพระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี
    ป้อมทศรถป้องปก
    ป้อมวิรุฬหกบริรักษ์
    ป้อมวิรุฬปักษ์ป้องกัน
    ป้อมเวสสุวรรณรักษา
    ป้อมวัชรินทราภิบาล
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    6. วัง (พระราชวังสำหรับเป็นที่ประทับและเสด็จประพาส)
    1. พระราชวังสราญรมย์ สร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุที่จะสร้างพระราชวังแห่งนี้ เนื่องจากมีพระราชดำริว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจริญพระชันษาได้ทรงอุปสมบทแล้ว จะทรงมอบเวนราชสมบัติ พระราชทาน ส่วนพระองค์จะเสด็จออกไปประทับอยู่ที่พระราชวังสราญรมย์ในฐานะพระเจ้าหลวง เพื่อทรงช่วยแนะนำราชการแผ่นดินไปตลอดพระชนมายุ แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อนที่จะเสด็จไปประทับ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศและสวนสราญรมย์
    2. พระตำหนักสวนกุหลาบ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ยุบที่คลังศุภรัตเดิมสร้างเป็นพระตำหนักพระราชทาน ให้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อลาผนวชสามเณรแล้ว ภายหลังทรงใช้เป็นโรงเรียนสำหรับเจ้านายที่ยังทรงพระเยาว์ที่ประทับในพระบรมมหาราชวัง พระตำหนักสวนกุหลาบนี้เป็นที่มาของชื่อโรงเรียนสวนกุหลาบ ภายหลัง
    3. พระราชวังนันทอุทยาน พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชปรารภว่า หากพระองค์เสด็จสวรรคต และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นรับราชสมบัติสืบไป พระราชโอรสธิดา และเจ้าจอมมารดาในพระบรมมหาราชวังจะเป็นที่กีดขวางของแผ่นดินใหม่ จึงทรงซื้อที่ดินในคลองมอญสร้างวังนันทอุทยานเตรียมไว้เป็นที่ประทับของพระราชโอรสธิดา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าหัวเสด็จสวรรคตก่อน จึงโปรดให้รื้อตำหนักที่สร้างเตรียมไว้ ปลูกพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ ที่ออกครองวัง ส่วนพระตำหนักที่ประทับและที่ดินทั้งตำบล ได้ทรงยกพระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของทหารเรือ
    4. พระราชวังปทุมวัน ได้มีพระราชดำริจะสร้างวังที่ประทับแปรพระราชฐานนอกเขตพระนคร ทรงเห็นว่าท้องนาหลวงทุ่งบางกะปิริมคลองแสนแสบฝั่งใต้มีทำเลที่เหมาะสม จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังและวัดขึ้น อาคารภายในพระราชวังประกอบด้วยพระที่นั่งประทับแรม 1 องค์ พลับพลา โรงละคร และตำหนักสำหรับเจ้าจอม พระราชทานพระนามว่า "วังสวนสระปทุมวัน" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดสำหรับพระสงฆ์นิกายธรรมยุติขึ้นติดกับพระราชวัง พระราชทานนามว่า "วัดปทุมวนาราม" ภายหลังพระราชทานเป็นที่ประทับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์ อินทราชัย บริเวณวังบางส่วน คือโรงเรียนการช่างอินทราชัย ศูนย์การค้าราชประสงค์ และที่ทำการของกรมตำรวจ
    5. พระราชวังบางปะอิน เป็นพระราชวังที่สร้าง มาแต่สมัยพระเจ้าปราสาททอง ได้ทิ้งร้างมาจนถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงกลับเป็นที่เสด็จประพาสอีก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระ ที่นั่งขึ้นอีกองค์หนึ่ง คือ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพอาสน์ (ตรงที่สร้างพระที่นั่งวโรภาสพิมานในปัจจุบัน) มีตำหนักฝ่ายใน 1 หลัง และพลับพลาสำหรับเสด็จประพาสไร่แตง
    6. พระราชวังเมืองสมุทรปราการ สร้างที่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันออก(ตรงสถานีรถไฟในปัจจุบัน) ถึง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็นที่ราชการเป็นสถานีโทรเลข ปัจจุบันเป็นที่ทำการประมงน้ำลึก ส่วนสถานีรถไฟเมื่อเลิกรถไฟแล้วได้ใช้เป็นตลาดเทศบาล
    7. พระราชวังจันทรเกษม สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้าง แต่ไฟไหม้เสียในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 จึงเป็นวังร้าง ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับเวลาเสด็จประพาสกรุงเก่าภายหลังพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้เป็นที่ว่าการมณฑลอยุธยาปัจจุบันใช้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    8. พระราชวังท้ายพิกุลที่เขาพระพุทธบาท เป็นพระราชวังที่พระเจ้าทรงธรรมทรงสร้างขึ้นในวัดพระพุทธบาท ของเดิมยังเหลืออยู่แต่กำแพงวัด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักและเรือนราชบริพารขึ้นในพระราชวังนั้น เป็นเครื่องขัดแตะถือปูนบ้างเครื่องไม้บ้าง บัดนี้ผุพังไปหมดแล้ว
    9. พระนารายณ์ราชนิเวศน์ มีมาแต่ครั้งเมืองลพบุรีเป็นราชธานี แต่ชำรุดปรักหักพังเสียโดยมาก รัชกาลที่ 4 ทรงให้ซ่อมแซมส่วนที่ยังใช้ได้ เช่น ประตูแลกำแพงวัง ส่วนพระราชมณเฑียรของเก่า ทรงสร้างแต่พระที่นั่งจันทรพิศาล 1 องค์ ทรงสร้างพระที่นั่งเป็น ที่ประทับ ส่วนพระตำหนักข้างในเป็นของใหม่ทั้งหมด แต่ของเดิมก็ยังรักษาไว้มิได้รื้อทำลาย เป็นที่ประพาสตลอดรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ต่อเมื่อสร้างทางรถไฟแล้ว รัชกาลที่ 5 จึงพระราชทานให้เป็นที่ทำการราชการ ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดลพบุรี
    10. พระนครปฐม ที่จังหวัดนครไชยศรี (นครปฐม) พระราชวังแห่งนี้ทรงสร้างเนื่องในการปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ ที่ริมบริเวณพระพุทธบาท พระราชทานนามว่า "พระนครปฐม" ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสร้างทางรถไฟแล้ว ได้พระราชทานพระราชวังนครปฐมให้เป็นที่ทำการสำหรับราชการมณฑลเทศาภิบาล แต่ของเดิมชำรุดปรักหักพังเสียมากจึงคงรักษาไว้แต่ตัวพระที่นั่งที่ประทับหลังเดียว ปัจจุบันเป็นศาลาเทศบาลเมืองนครปฐม แต่ตัวพระตำหนักนั้นได้รื้อเสียแล้ว
    11.พระนครคีรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้จัดสร้างพระราชวัง ณ บนภูสามยอดที่มีชื่อว่า
    "เขาสมน" เพื่อใช้เป็นสถานที่ว่าราชการแถบหัวเมือง รวมทั้งใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในช่วงฤดูร้อน โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหมู่พระมหามณเฑียรสถานปราสาท ป้อมปราการและวัดประจำพระราชวัง ตามแบบแผนเดียวกับพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานนามใหม่ว่า เขามหาสวรรค์ การก่อสร้างพระนครคีรีหรือเขามหาสวรรค์ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ยอดเขาด้านทิศตะวันออก เ ป็นที่ตั้งของวัดพระแก้วน้อย เขาออกกลางสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ พระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร เขาทางทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของพระมหาปราสาท พระที่นั่งต่าง ๆ ในพระนครคีรีมีดังนี้
    พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นท้องพระโรงออกขุนนางและว่าราชการต่าง ๆ
    พระที่นั่งปราโมทย์มไหศวรรย์ เป็นพระตำหนักที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่หลังพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์
    พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เป็นปราสาทองค์เล็กตั้งอยู่หลังพระที่นั่งราชธรรมสภา ปัจจุบันประดิษฐานพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระที่นั่งราชธรรมสภา พระที่นั่งองค์ขวางยาว ตั้งอยู่ทิศใต้แห่งพระที่นั่งปราโมทย์มไหศวรรย์
    ตำหนักสันฐาคารสถาน ตั้งอยู่ที่เชิงยอดเขาหลังพระที่นั่ง
    หอพิมานเพชรมเหศวร ตั้งอยู่หน้าสันถาคาร สถาน เป็นที่สำหรับประทับทอดพระเนตรละคร
    หอจตุรเวทประดิษฐพจน์ ตั้งอยู่เชิงเขาตรงหน้าพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นหอพระปริต
    หอชัชวาลย์เวียงชัย เป็นหอรูปโดมทรงสูงคล้ายกระโจมไฟ หลังคามุงด้วยกระจก กระจกทรงโค้ง ภายในห้อยโคมไฟ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อเป็นที่ประทับสำหรับทอดพระเนตรดวงดาวสำหรับศึกษาตำราโหราศาสตร์ และดาราศาสตร์ที่พระองค์ทรงเชี่ยวชาญอย่างยิ่ง นับได้ว่าเป็นหอดูดาวที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
    ประตูต่าง ๆ ในพระนครคีรี คือ ประตูนารีประเวศ, วิเศษราชกิจ, ราชฤทธิแรงปราบ, อานุภาพเจริญ, ดำเนินทางสวรรค์, จันทร์แจ่มจำรูญ, สูรย์แจ่มจำรัส
    ป้อมต่าง ๆ คือ ป้อมทศรถป้องปก, วิรุฬหกบริรักษ์, วิรุฬปักษ์ป้องกัน, เวสสุวรรณรักษา และ วัชรินทราภิบาล
    ปัจจุบันสิ่งปลูกสร้างที่เป็นบริวารในพระนครคีรีได้ปรักหักพังไปมากแล้ว ยังคงเหลือแต่พระตำหนักบนยอดเขาเท่านั้น
    7. สถาปัตยกรรมอื่น ๆ
    1. ท้องสนามไชย ด้านตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปักเสานางเรียงทางเหนือสนามแถวหนึ่ง ทางใต้แถวหนึ่งในบริเวณนั้นให้เรียกว่า "ท้องสนามไชย" กำหนดให้พระที่นั่งสุทไธสวรรย์เป็นแนวกึ่งกลาง สร้างพระแท่นเบญจาเป็นที่ข้าราชการเข้าเฝ้าด้านหน้าพระที่นั่ง มีเกยช้างอยู่ข้างเหนือ และเกยพระราชยานอยู่ด้านใต้ ตรงหน้าพระที่นั่งข้ามฟากสนาม โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึก 2 ชั้น เป็นที่สำหรับนายทหารอยู่แถวหนึ่ง ต่อไปทางเหนือ สร้างโรงทหารแถวหนึ่ง เหนือสนามไชยไปถึงตัวถนนบำรุงเมืองซึ่งสร้างใหม่ โปรดเกล้าฯให้สร้างโรงม้าแซงสองข้าง โรงโขนอยู่ตรงกลางหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์
    2. สกุณวัน ข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทางทิศตะวันตก เดิมเป็นอ่างแก้วสำหรับปลูกบัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ถมสระสร้างกรงนกขนาดใหญ่ ภายในก่อภูเขาและปลูกต้นไม้สำหรับเลี้ยงนก ทรงโปรดเรียกสถานที่นี้ว่า "สกุณวัน" รอบด้านทั้งสองสร้างศาลาเก๋งจีนด้านละหลัง เก๋งที่ประทับชื่อ "พระที่นั่งราชานุราชอาสน์" เก๋งฝ่ายในชื่อ เก๋งวรนารีเสพย์ เก๋งไว้เทวรูปและชำระความชื่อ เก๋งวรเทพยสถาน เก๋งสำหรับขุนนางชื่อ เก๋งสำราญมุขมาตยา ข้างสกุณวันมีเสาธง 2 เสา เสาหนึ่งสำหรับชักธงตราแผ่นดินขณะเสด็จประทับอยู่ในพระนคร ถ้าเสด็จออกนอกพระนครก็ชักธงไอยราพตแทน เสาธงอีกเสาหนึ่งมีไว้สำหรับชักธงตราประจำรัชกาลก่อน ๆ ในโอกาสที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ๆ เสาธงนี้เวลาค่ำคืนใช้เป็นเสาชักโคมประจำทุกคืน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อสกุณวัน เพื่อสร้างลานพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
    3. หอนาฬิกา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอนาฬิกาขึ้นที่ทิมดาบเดิม โรงนาฬิกาหลังหนึ่งสูง 10 วา มีนาฬิกาทั้ง 4 ด้าน หอนาฬิกานี้อยู่ตรงที่เดียวกับมุขเด็จพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้รื้อลงเมื่อจะสร้างทิมดาบใหม่ในรัชกาลต่อมา
    4. โรงกษาปณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเครื่องจักรสำหรับผลิตเงินเหรียญขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ตรงมุมถนนออกประตูสุวรรณบริบาล ข้างตะวันออก พระราชทานนามว่า "โรงกระสาปน์สิทธิการ" เหตุที่สร้างโรงกษาปณ์ได้ความว่า ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศ การค้าขายกับต่างประเทศเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การแลกเปลี่ยนเงินตรามีปัญหา พระคลังมหาสมบัติผลิตเงินพดด้วงด้วยวิธีอย่างเก่าไม่ทัน เมื่อราชทูตไปเมืองอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2400 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปซื้อเครื่องจักรมาสร้างโรงกษาปณ์ พ.ศ. 2403 ผลิตเงินเหรียญบาทและเงินสลึงเฟื้องจำหน่ายแทนเงินพดด้วงขึ้น พ.ศ. 2405 ผลิตเงินทองแดงซีกแลเสี้ยวแลอัฐตะกั่วใช้แทนเบี้ยเป็นต้นมา ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงกษาปณ์เล็กเกินไป โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ใหม่ โรงกษาปณ์เก่าจึงใช้เป็นโรงหมอและคลังทหารจนถึง พ.ศ. 2440 เกิดไฟไหม้โรงกษาปณ์เก่าหมดทั้งหลัง
    5. ที่อยู่อาศัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการสร้างที่พักอาศัยประเภทตึกแถว เรือนแถว หรือเรือนพักอาศัยกึ่งร้านค้า (Shop House) คาดว่าได้รับอิทธิพลจากจีน ปีนัง และสิงคโปร์ ตึกแถวรุ่นแรก ๆ อยู่บริเวณถนนสนามไชย และท่าเตียน สำหรับให้ข้าราชการชาวต่างประเทศพักอาศัย ต่อมาได้สร้างเพิ่มขึ้นอีกในถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร เพื่อคนทั่วไปเช่าประกอบการค้าและพักอาศัย
    พระราโชบาย ในรัชกาลที่ 4 เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเขมร
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ จะให้รื้อปราสาทเขมร ขนาดเล็กมาก่อสร้างเขามหาสวรรค์ และวัดปทุมวันปราสาท จึงโปรดให้พระสุวรรณพิศาลและขุนชาติวิชา ไปเมืองหลวงพระนครธม พระนครวัต พระสุวรรณพิศาลและขุนชาติวิชา กลับมากราบทูลให้ทรงทราบว่า มีแต่ปราสาทใหญ่ ๆ จะรื้อเอาเข้ามาเห็นจะไม่ได้ มีเฉพาะปราสาทผไทตาพรหม ที่เมืองนครเสียมราฐ สองปราสาท สูง 6 วา พอจะรื้อถอนได้ พระองค์จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มีตราออกไปเกณฑ์คนเมืองบัตบอง เมืองนครเสียมราฐ เมืองพนมศก ไปรื้อปราสาท แต่พระราชดำริไม่สามารถลุล่วงตามพระราชประสงค์ ด้วยเกิดเหตุชาวเขมรเข้าต่อต้าน ฆ่าพระสุวรรณพิศาลและขุนนาง พร้อมทั้งเสนาบดี เข้าชื่อกันทำเรื่องราวถวายว่า "ปราสาทศิลาที่เมืองเขมรนั้น กษัตริย์แต่โบราณให้ทำเพื่อจะให้เป็นเกียรติยศติดแผ่นดินอยู่ ของอันนี้ก็ช้านานมาจนไม่ทราบว่าทำมาได้กี่ร้อยกี่พันปี ถ้าจะไปรื้อลง คนทุกวันนี้กำลังที่จะยกรื้อก็ไม่ไหว ถ้ารื้อลงแล้วเอาเข้ามาปรับปรุงทำขึ้นไม่ได้ ก็จะเสียพระเกียรติยศไปอีก ขอพระราชทานให้ทรงพระราชดำริก่อน" เมื่อได้ทรงทราบเรื่องราว รับสั่งให้งดการนั้น แต่ผู้ร้ายฆ่าฟันให้สืบสวนเอาตัวให้ได้ ครั้นต่อมาโปรดเกล้า ฯ ให้พระสามภพพ่ายออกไปถ่ายแบบที่พระนครวัด เพื่อทำจำลองที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อจะให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นของอัศจรรย์ทำด้วยศิลา ปราสาทนครวัดที่ทรงพระกรุณาให้ถ่ายแบบเข้ามาสร้างที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ทุกวันนี้ทั่วโลกรู้จักและได้ให้ความสำคัญกล่าวขานกันว่า เป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดของโลก จึงเห็นได้ว่าพระอัจฉริยภาพแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แสดงให้เห็นประจักษ์ว่า พระองค์ท่านได้ตระหนักถึงคุณค่าก่อนที่ทั่วโลกจะได้ให้ความสนใจดังเช่น ปัจจุบันนี้ ( สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ มรว. 2535 90-94 )
    "ใบพระราชทานเงินตรา"

    http://www.most.go.th/200year/king200year.htm
    <!-- InstanceEndEditable -->
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-03-01.htm

    สมณศักดิ์
    [​IMG]
    คัดลอกจาก http://203.152.23.33/soong/article/article_1.html
    * นายสุนทร เปลี่ยนสี นิติกร ๓ กลุ่มกฎหมายการบริหารราชการแผ่นดิน ๑
    ๑. ความหมาย
    สมณศักดิ์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หมายความว่า ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด
    อาจกล่าวได้ว่า สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบให้ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศ เพื่อเป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปโดยเรียบร้อย เพราะการที่พระสงฆ์รูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่คณะแห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้วย
    ๒. ความเป็นมาของสมณศักดิ์
    สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงใช้จิตวิทยาในการปกครองพระสงฆ์สาวก โดยการยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง ป้องปรามผู้ที่ควรป้องปราม ดังจะเห็นได้จากทรงยกย่องพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวก ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา และทรงตั้งเอตทัคคะ <SUP></SUP> กล่าวคือ ทรงยกย่องพระสาวกอีกส่วนหนึ่งว่ามีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ด้วยพุทธวิธี อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวยังมิได้ถือว่าเป็นสมณศักดิ์
    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพื่อสามารถสืบทอดเจตนารมณ์ของพระพุทธศาสนา พระประมุขแห่งประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ โดยปรากฏหลักฐานว่ามีการพระราชทานสมณศักดิ์ และพัดยศพร้อมทั้งเครื่องประกอบสมณศักดิ์อื่นๆ ประเทศต่างๆ ได้รับแบบอย่างมาจากประเทศศรีลังกา
    สำหรับประเทศไทยนั้นระบบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัยรัชสมัยพระมหาธรรมราชลิไทย พระองค์ได้โปรดให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชมาแต่ลังกาเพื่อให้ประกาศพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในกรุงสุโขทัย พระมหาสามีสังฆราชคงจะได้ถวายพระพรให้พระมหาธรรมราชาลิไททรงตั้งสมณศักดิ์ถวายแด่พระสงฆ์ตามราชประเพณีที่ถือปฏิบัติในประเทศลังการะบบสมณศักดิ์ในสมัยสุโขทัยไม่สลับซับซ้อนเพราะมีเพียง ๒ ระดับชั้นเท่านั้น คือ พระสังฆราชและพระครู
    ส่วนในสมัยอยุธยาระบบสมณศักดิ์ได้รับการปรับให้มีระดับชั้นเพิ่มขึ้นเป็น ๓ ระดับคือ สมเด็จพระสังฆราช พระสังฆราชคณะหรือพระราชาคณะและพระครู
    ---------------------------------------------
    ๑ เอตทัคคะ หมายความว่า ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ
    ๓. ชั้นยศสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน
    ปัจจุบันชั้นยศสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทยได้เพิ่มขึ้นตามกาลสมัย และความจำเป็นในด้านการปกครองคณะสงฆ์ ดังนี้

    <TABLE style="WIDTH: 539px; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 260px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>๑. สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 109px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top> </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 51px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 63px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>พระองค์
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 260px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>๒. สมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัตร
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 109px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>(ดูรายละเอียด)</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 51px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 63px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>รูป
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 260px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>๓. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยปัฏ
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 109px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>(ดูรายละเอียด)</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 51px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>
    ๑๙
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 63px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>รูป
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 260px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>๔. พระราชาคณะชั้นธรรม
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 109px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>(ดูรายละเอียด)</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 51px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>
    ๓๕
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 63px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>รูป
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 260px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>๕. พระราชาคณะชั้นเทพ
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 109px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>(ดูรายละเอียด)</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 51px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>
    ๖๖
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 63px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>รูป
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 260px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>๖. พระราชาคณะชั้นราช
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 109px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>(ดูรายละเอียด)</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 51px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>
    ๑๔๔
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 63px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>รูป
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 260px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>๗. พระราชาคณะชั้นสามัญ
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 109px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>(ดูรายละเอียด)</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 51px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>
    ๓๙๔
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 63px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>รูป
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 260px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>๘. พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 109px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top> </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 128px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top colSpan=2>
    (ไม่จำกัดจำนวน)
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 448px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top colSpan=3>๙. พระครูฐานานุกรม ตั้งได้ตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาบัตรของพระราชาคณะ
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 288px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top colSpan=2>๑๐. พระครูประทวนสมณศักดิ์ (พระครูผู้อุปการะการศึกษา)
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 128px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top colSpan=2>
    (ไม่จำกัดจำนวน)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ๔. ประเพณีการพิจารณาแต่งตั้งสมณศักดิ์
    แต่เดิม การพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์เป็นพระราชอำนาจและเป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงเห็นหรือทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณว่า พระภิกษุรูปใดมีความรู้ความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฏก มีศิลาจารวัตรน่าเลื่อมใส มีความสามารถในการปกครองหมู่คณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งยังเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของประชาชนแล้วก็จะพระราชทานสมณศักดิ์เพื่อเป็นเกียรติและกำลังใจ ในการจะได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป
    ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายกอยู่นั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะโปรดพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์รูปใด ก็จะทรงปรึกษากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก่อนทุกครั้ง ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงให้พระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเสนอความคิดเห็นได้
    ปัจจุบัน เป็นหน้าที่ทางคณะสงฆ์จะช่วยกันพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับขั้น คือ จากเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับแล้ว กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอเรื่องเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานสมณศักดิ์ ตามระเบียบของทางราชการต่อไป
    อย่างไรก็ตาม ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสูง เช่น สมเด็จพระสังฆราชหรือสมเด็จพระราชาคณะ ทางคณะสงฆ์ชอบที่จะถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ด้วยการเสนอนามพระเถระที่เห็นสมควรขึ้นไปหลายรูปเพื่อให้ทรงพิจารณาตามพระราชอัธยาศัย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเสมอมา เพราะพระราชอำนาจส่วนนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว
    ๕. ขั้นตอนการเสนอเรื่องขอพระราชทานสมณศักดิ์
    การเสนอเรื่องขอพระราชทานสมณศักดิ์ จะต้องเสนอไปตามลำดับขั้นตอน กล่าวคือจะต้องเสนอเรื่องผ่านโดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับชั้น เริ่มต้นจากผู้ปกครองเหนือตนขึ้นไป เช่น ถ้าเป็นผู้ช่วย หรือรองเจ้าอาวาส ก็จะต้องเสนอผ่านเจ้าอาวาสก่อน ถ้าเป็นเจ้าอาวาสก็จะต้องเสนอผ่านเจ้าคณะตำบลก่อน ถ้าเป็นเจ้าคณะตำบล ก็ต้องเสนอผ่านเจ้าคณะอำเภอ เป็นต้นการเสนอเรื่องมีลำดับชั้นดังนี้
    ๑. เจ้าอาวาส
    ๒. เจ้าคณะตำบล
    ๓. เจ้าคณะอำเภอ
    ๔. เจ้าคณะจังหวัด
    ๕. เจ้าคณะภาค
    ๖. เจ้าคณะใหญ่
    ๗. นำเข้าสู่การประชุมพิจารณาของคณะอนุกรรมการ แต่ละนิกาย (มหานิกายและธรรมยุติ)
    ๘. นำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมมหาเถรสมาคม
    เมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณามีมติประการใดแล้ว จะได้มอบเรื่องให้กรมการศาสนาจัดทำบัญชีเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ดังนี้
    ๑. กรมการศาสนา นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
    ๒. กระทรวงศึกษาธิการ เสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
    ๓. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เสนอต่อสำนักราชเลขาธิการ
    ๔. สำนักราชเลขาธิการ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา

    ๖. หลักเกณฑ์การพิจารณาสมณศักดิ์
    ประเพณีการพระราชทานสมณศักดิ์ เกิดขึ้นในประเทศไทยมาช้านานแล้ว แต่แม้จะเป็นเช่นนั้น หลักเกณฑ์ในการพิจารณาสมณศักดิ์ก็มิได้วางไว้เป็นกฎระเบียบอย่างชัดเจน ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากการพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ การที่ทางคณะสงฆ์มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนแน่นอนอาจจะเป็นการเหมาะสมกว่า นอกจากนี้การวางหลักเกณฑ์ไว้อย่างหลวมๆไม่รัดตัวจนเกินไป ทำให้ผู้มีอำนาจในการพิจารณาอาจจะเน้นหลักในทางใดทางหนึ่งได้ เช่น ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม การเผยแผ่พระศาสนา การสาธารณสงเคราะห์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์บ้านเมืองและการพระศาสนาในขณะนั้นๆ
    อย่างไรก็ตาม ทางคณะสงฆ์ก็มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติตามที่พระเดชพระคุณ พระธรรมาโรดม(บุญมา ป.ธ. ๙) เจ้าคณะภาค ๖ กรรมการมหาเถรสมาคม วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร ได้รวบรวมไว้ปฏิบัติงานในฐานะที่พระเดชพระคุณทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะอนุกรรมการพิจารณาสมณศักดิ์ประจำปีของมหาเถรสมาคม ซึ่งพอจะเห็นเป็นรูปธรรมและถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ดังจะกล่าวต่อไป

    ๗. หลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งสมณศักดิ์
    พระสังฆาธิการ<SUP></SUP> ผู้สมควรได้รับการพิจารณาแต่งตั้งสมณศักดิ์ ต้องประกอบด้วยคุณลักษณะดังต่อไปนี้
    คุณสมบัติส่วนตัวและส่วนวัด
    ๑. ต้องเป็นพระสังฆาธิการตั้งแต่ระดับผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ขึ้นไป และมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เว้นแต่มีกรณีพิเศษ
    ๒. ถ้าเป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ต้องดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๕ ปีบริบูรณ์โดยให้นับตั้งแต่วันเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ หรือเป็นรองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์มารวมด้วยหรือถ้าเป็นพระครูประทวนสมณศักดิ์ ต้องเป็นมาเกิน ๓ ปีแล้ว
    ทั้งนี้ เว้นแต่มีกรณีที่ควรยกย่องเป็นพิเศษ และเว้นแต่เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง
    ๓. ถ้าเป็นเจ้าคณะตำบล ต้องดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ โดยให้นับตั้งแต่วันเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ หรือเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์มารวมด้วย แต่อย่างมากต้องไม่เกิน ๔ ปี ถ้ามิได้เป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ให้แจ้งด้วยว่าเจ้าอาวาสวัดราษฎร์นั้นเป็นสัญญาบัตรแล้วหรือยัง
    ๔. ถ้าเป็นรองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์หรือเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ให้นำความในข้อ ๒.และข้อ ๓. มาใช้โดยอนุโลมตามควรแก่กรณี แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งนั้นๆ ถูกต้องแล้วและต้องมีพระภิกษุสามเณร (เฉพาะในวัดของตน) อยู่จำพรรษามาพอสมควร หรือปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสผู้ทุพพลภาพ หรือชราภาพ
    ๕. ถ้าเป็นเจ้าคณะอำเภอ หรือเป็นเจ้าคณะจังหวัด หรือเป็นที่ปรึกษาให้พิจารณาตามความเหมาะสมในการปกครอง แต่ต้องดำรงตำแหน่งมาเกิน ๑ ปีแล้ว และมีผลงานในหน้าที่ดีพอสมควร
    ๖. ถ้าเป็นรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงหรือเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงต้องดำรงตำแหน่งมาเกิน ๑ ปีแล้ว และมีผลงานช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงตามที่ระบุไว้ในการเสนอขอแต่งตั้ง หรือตามที่เจ้าอาวาสวัดราษฎร์มอบหมายและในวัดนั้น มีสัญญาบัตรกี่รูป มีราชทินนามอะไรบ้าง
    ๗. ถ้าเป็นรองเจ้าคณะอำเภอ หรือเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดให้พิจารณาตามความเหมาะสมในการปกครอง
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ๒ พระสังฆาธิการ หมายถึง พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ในตำแหน่งดังต่อไปนี้ คือ เจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    ๘. ในเขตอำเภอหนึ่ง ให้พิจารณาแต่งตั้งสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรได้ ๑ รูป เว้นแต่มีกรณีพิเศษ (คือมีพระสังฆาธิการตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง) หรือในเขตอำเภอที่มีวัดเกินกว่า ๕๐ วัดขึ้นไป ให้พิจารณาแต่งตั้งได้ ๒ รูป หรือในเขตอำเภอที่มีวัดเกินกว่า ๑๐๐ วัดขึ้นไป ให้พิจารณาแต่งตั้งได้ ๓ รูปเป็นกรณีพิเศษ
    ๙. มีพระภิกษุ (เฉพาะในวัดของตน) อยู่จำพรรษาครบคณะสงฆ์ขึ้นไป หรือมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาไม่ครบคณะสงฆ์ แต่มีสามเณรอยู่จำพรรษามากพอสมควร โดยให้นับจากปีปัจจุบันย้อนหลังไป ๓ พ.ศ.
    ๑๐. มีพระภิกษุสามเณร (เฉพาะในวัดของตน) ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและสมัครสอบในสนามหลวงจำนวนมากพอสมควร โดยให้นับจากปีปัจจุบันย้อนหลังไป ๓ พ.ศ.
    คุณสมบัติด้านสาธาณูปการ
    สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งสมณศักดิ์ ต้องมีผลงานสาธาณูปการ ได้แก่ การก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน หรือถาวรวัตถุมาประกอบการพิจารณาด้วย ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งบ่งบอกถึงแรงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระสงฆ์รูปนั้นๆ แต่การรายงานให้บอกจำนวนเงินค่าก่อสร้างค่าบูรณะปฏิสังขรณ์ และรายละเอียดของสิ่งก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุโดยให้เริ่มนับตั้งแต่เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส หรือถ้าเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือถ้าเป็นรองเจ้าอาวาสที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสเป็นต้นไปจนถึงปัจจุบันว่า มีจำนวนมากพอสมควร ดังต่อไปนี้
    ๑๑. ในเขตปกครองหนกลาง ต้องมีจำนวนเงินที่ได้ใช้จ่ายในการก่อสร้าง และปฏิสังขรณ์แล้ว จำนวนตั้งแต่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท) ขึ้นไป
    ๑๒. ในเขตปกครองหนเหนือ หนตะวันออก และหนใต้ ต้องมีจำนวนเงินที่ได้ใช้ในการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์แล้ว จำนวนตั้งแต่ ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท) ขึ้นไป
    ๑๓. เฉพาะในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๔ และภาค ๕ ต้องมีจำนวนเงินที่ได้ใช้จ่ายในการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์แล้ว จำนวนตั้งแต่ ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาท) ขึ้นไป
    ๑๔. สำหรับผลงานสาธารณูปการตามข้อ ๑๑, ๑๒ และข้อ ๑๓ ข้างต้นนั้น ไม่นับผลงานที่เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนของรัฐบาล ที่ใช้งบประมาณแผ่นดิน หรือการก่อสร้างในวัดอื่น
    ๑๕. แม้จำนวนเงินจะครบตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๑๑, ๑๒ หรือข้อ ๑๓ แล้วก็ตามแต่ถ้าการก่อสร้างโรงอุโบสถ หรือศาลาการเปรียญอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างยังไม่แล้วเสร็จ ให้รอไว้ก่อน
    ๑๖. การรายงานผลงานสาธารณูปการนั้น ต้องแยกออกเป็น ๒ ส่วน คือ
    (๑) ผลงานการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ (เฉพาะภายในวัด)
    (๒) ผลงานการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ (เฉพาะภายในวัด)
    ๑๗. การรายงานผลงานการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ตามข้อ ๑๖ (๑) จะต้องแจ้งรายละเอียดที่ทำการก่อสร้างทุกรายการ ดังต่อไปนี้
    (๑) แจ้งวัน เดือน ปีไปตามลำดับแต่ละ พ.ศ. ที่ได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จจนถึง พ.ศ. ปัจจุบัน
    (๒) แจ้งลักษณะอาคาร กว้าง-ยาว-สูงเท่าไร บอกวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและสร้างเสร็จแล้วหรือยัง
    (๓) แจ้งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างไปว่าเป็นจำนวนเงินเท่าไรเป็นตัวเลขพร้อมทั้งวงเล็บตัวหนังสือกำกับไว้ด้วยทุกรายการ
    (๔) เมื่อรายงานผลงานสาธารณูปการก่อสร้างครบทุกรายการ ทุก พ.ศ. แล้วต้องรวมเงินที่ได้ใช้จ่ายไปในการก่อสร้างทั้งสิ้น เป็นจำนวนเงินเท่าไร เป็นตัวเลข พร้อมทั้งวงเล็บตัวหนังสือกำกับไว้ด้วย
    ๑๘. การรายงานผลงานการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ ตามข้อ ๑๖. (๒)จะต้องแจ้งรายละเอียดที่ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ทุกรายการดังต่อไปนี้
    (๑) แจ้งวัน เดือน ปีไปตามลำดับแต่ละ พ.ศ. ที่ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จจนถึง พ.ศ. ปัจจุบัน
    (๒) แจ้งลักษณะอาคารกว้าง-ยาว-สูงเท่าไร บอกวัสดุที่ใช้ในการบูรณะปฏิสังขรณ์และบูรณะปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วหรือยัง
    (๓) แจ้งค่าใช้จ่ายในการบูรณะปฏิสังขรณ์ไปว่าเป็นจำนวนเงินเท่าไร เป็นตัวเลขพร้อมทั้งวงเล็บตัวหนังสือกำกับไว้ด้วยทุกรายการ
    (๔) เมื่อรายงานผลสาธารณูปการบูรณะปฏิสังขรณ์ครบทุกรายการแล้วต้องรวมเงินที่ได้ใช้จ่ายไปในการบูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้น เป็นจำนวนเงินเท่าไร เป็นตัวเลข พร้อมทั้งวงเล็บตัวหนังสือกำกับไว้ด้วย
    ๑๙. เมื่อรายงานผลงานสาธารณูปการตามข้อ ๑๗ และข้อ ๑๘ ครบทุกรายการแล้วจะต้องนำยอดเงินที่ได้ใช้จ่ายไปในการก่อสร้าง และในการบูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้นตามข้อ ๑๗ (๔)และข้อ ๑๘ (๔) มารวมกันอีกครั้งหนึ่งว่า เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่าไรเป็นตัวเลข พร้อมทั้งวงเล็บเป็นตัวหนังสือกำกับไว้ด้วย
    การพิจารณาให้ชั้นสมณศักดิ์ พระราชาคณะ
    ๒๐. พระสังฆาธิการผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดและรองเจ้าคณะจังหวัด ให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ หรือพระราชาคณะชั้นสามัญยก ตามควรแก่กรณี
    ๒๑. พระสังฆาธิการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ, เจ้าอาวาสพระอารามหลวง รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง
    (๑) ผู้มีวิทยฐานะเป็นเปรียญเอก (เปรียญธรรม ๗-๘-๙) ให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ
    (๒) พระครูสัญญาบัตรตำแหน่งดังกล่าวข้างต้นผู้สอบไล่ได้เป็นเปรียญเอกมีสิทธิเสนอขอปรับวุฒิเปรียญธรรมได้แม้เวลาที่ได้รับสมณศักดิ์แล้วนั้นยังไม่ครบเวลา ๕ ปีก็ตาม และปรับให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญทุกตำแหน่ง
    ๒๒. พระสังฆาธิการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ผู้เป็นฐานานุกรมตำแหน่งพระครูปลัดสมเด็จพระราชาคณะ และพระครูปลัดพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏ ทุกตำแหน่ง ให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ หรือพระราชาคณะชั้นสามัญยก ตามควรแก่กรณี
    ๒๓. พระสังฆาธิการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอารามหลวง ผู้เป็นพระครูฐานานุกรมชั้นเอก ในสมเด็จพระสังฆราช ตำแหน่งพระครูธรรมกถาสุนทร พระครูวินัยกรณ์โสภณ พระครูวินยาภิวุฒิ พระครูสุตตาภิรม พระครูวิสุทธิธรรมภาณและพระครูพิศาลวินัยวาท ให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญหรือพระราชาคณะชั้นสามัญยก ตามควรแก่กรณี
    ๒๔. พระสังฆาธิการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ผู้มีผลงานดีเด่นทางคันถธุระหรือวิปัสสนาธุระ สมควรได้รับการพิจารณายกย่องเป็นกรณีพิเศษ ดังต่อไปนี้
    (๑) เป็นผู้เอาใจใส่และเป็นกำลังสำคัญในฝ่ายคันถธุระ จัดตั้งสำนักศาสนศึกษาแผนกบาลี มีนักเรียนศึกษาเล่าเรียน และสอบได้ในสนามหลวงจำนวนมาก สมควรพิจารณายกย่องเป็นกรณีพิเศษ ให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ หรือพระราชาคณะชั้นสามัญยกตามควรแก่กรณี หรือ
    (๒) เป็นผู้เอาใจใส่และเป็นกำลังสำคัญในฝ่ายวิปัสสนาธุระ จัดตั้งสำนักปฏิบัติภาวนาสมถกรรมฐาน หรือวิปัสสนากรรมฐาน และเป็นอาจารย์สอนด้วยตนเอง มีพุทธบริษัทศรัทธาเลื่อมใสเข้ารับการศึกษาอบรมปฏิบัติเป็นจำนวนมาก สมควรพิจารณายกย่องเป็นกรณีพิเศษให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นสามัญยกฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือพระราชาคณะชั้นสามัญยกฝ่ายวิปัสสนาธุระ ตามควรแก่กรณี
    ๒๕. พระสังฆาธิการผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ขึ้นไป ผู้มีผลงานดีเด่นในประเภทต่างๆ สมควรได้รับการยกย่องเป็นกรณีพิเศษ ดังต่อไปนี้
    (๑) เป็นผู้เอาใจใส่และเป็นกำลังสำคัญในฝ่ายคันถธุระ จัดตั้งสำนักศาสนศึกษาแผนกบาลี มีนักเรียนศึกษาเล่าเรียนและสอบได้ในสนามหลวงจำนวนมาก หรือ
    (๒) เป็นผู้เอาใจใส่และเป็นกำลังสำคัญในฝ่ายวิปัสสนาธุระ จัดตั้งสำนักปฏิบัติภาวนาสมถกรรมฐาน หรือวิปัสสนากรรมฐาน และเป็นอาจารย์สอนด้วยตนเองมีพุทธบริษัทศรัทธาเลื่อมใสเข้ารับการศึกษาอบรมปฏิบัติเป็นจำนวนมาก หรือ
    (๓) เป็นผู้เอาใจใส่และเป็นกำลังสำคัญในฝ่ายศึกษาสงเคราะห์ ได้ดำเนินการก่อสร้างสถานศึกษาเล่าเรียนสำหรับเยาวชนของชาติ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณจากทางราชการ แต่อาศัยการบริจาคของประชาชนผู้เลื่อมใส และได้เสียสละสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ช่วยทุกวิถีทางจนสถานศึกษาเล่าเรียนเจริญรุ่งเรือง อำนวยประโยชน์แก่เยาวชนจำนวนมากจนเป็นที่ยอมรับนับถือ ยกย่องของประชาชนทั่วไป หรือ
    (๔) เป็นผู้เอาใจใส่และเป็นกำลังสำคัญในฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ ได้ดำเนินการก่อสร้างสาธารณะสถาน อันเป็นสถานที่อำนวยประโยชน์แก่ประชาชนทั้งหลายทั่วไป เช่น การก่อสร้างโรงพยาบาล เป็นต้น โดยไม่ต้องใช้งบประมาณจากทางราชการ แต่อาศัยการบริจาคของประชาชนทั้งหลายผู้ศรัทธาเลื่อมใส หรือ
    (๕) เป็นผู้เอาใจใส่และเป็นกำลังสำคัญในฝ่ายสาธารณูปการ และสาธารณะสงเคราะห์ โดยเป็นช่างออกแบบการก่อสร้าง และได้ทำการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา มีผลงานปรากฏดีเด่นเป็นที่ยอมรับยกย่องในวงการคณะสงฆ์เป็นอย่างดี
    พระสังฆาธิการผู้มีผลงานดีเด่น ๕ ประเภทนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างสมควรพิจารณายกย่องเป็นกรณีพิเศษ ให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญหรือพระราชาคณะชั้นสามัญยก ตามควรแก่กรณี
    การพิจารณาให้ชั้นสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตร

    ๒๖. พระสังฆาธิการผู้มีวิทยฐานะเป็นเปรียญธรรม ป.ธ. ๕-๖
    (๑) ให้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกทุกตำแหน่ง และ
    (๒) ถ้าสำเร็จปริญญาตรี พธ.บ., ศน.บ., ศษ.บ. (มสธ.) หรือปริญญาโท (M.A.) ให้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ เฉพาะตำแหน่งที่มีชั้นพิเศษ และ
    (๓) เฉพาะพระสังฆาธิการผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ผู้มีวุฒิพิเศษ ตาม (๒) ให้เป็นพระครูสัญญาบัตรเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก เป็นกรณีพิเศษ
    ๒๗. พระสังฆาธิการผู้มีวิทยฐานะเป็นเปรียญธรรม ป.ธ. ๓
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-03-02.htm

    สมณศักดิ์ (๒)


    ๘. หลักเกณฑ์การพิจารณาเลื่อนสมณศักดิ์
    พระสังฆาธิการ ผู้สมควรได้รับการพิจารณาเลื่อนสมณศักดิ์ ต้องประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
    คุณสมบัติส่วนตัวและส่วนวัด

    ๑. ต้องเป็นพระสังฆาธิการมีสมณศักดิ์ตั้งแต่ตำแหน่ง และชั้นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรีขึ้นไป เว้นแต่พระสังฆาธิการที่เป็นกิตติมศักดิ์ ซึ่งหมดสิทธิ์ในการขอเลื่อนสมณศักดิ์แล้ว ซึ่งเทียบได้กับข้าราชการที่เกษียณอายุราชการแล้ว ฉะนั้น
    ๒. พระสังฆาธิการมีสมณศักดิ์ตำแหน่งและชั้นเจ้าคณะตำบล ชั้นเอก รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก และเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ซึ่งเป็นชั้นสมณศักดิ์สูงสุดในตำแหน่งนั้นๆ ถือว่าหมดสิทธิที่จะขอเลื่อนชั้นสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรอีก
    ๓. พระสังฆาธิการมีสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฏร์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีชั้นสมณศักดิ์ จึงไม่มีสิทธิที่จะขอเลื่อนสมณศักดิ์ต่อไป เว้นแต่ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งที่สูงขึ้น เช่น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์หรือเจ้าคณะตำบลเป็นต้น เมื่อดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ครบ ๓ ปีแล้ว จึงมีสิทธิเสนอขอเลื่อนสมณศักดิ์ได้
    ๔. ในเขตอำเภอหนึ่ง ให้พิจารณาเลื่อนสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรได้ ๑ รูป เว้นแต่มีกรณีพิเศษ คือ (มีพระสังฆาธิการตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง) หรือในเขตอำเภอที่มีวัดเกินกว่า ๕๐ วัดขึ้นไป ให้พิจารณาเลื่อนได้๒ รูป หรือในเขตอำเภอที่มีวัดเกินกว่า ๑๐๐ วัดขึ้นไป ให้พิจารณาเลื่อนได้ ๓ รูป เป็นกรณีพิเศษ(เว้นแต่การขอปรับวุฒิเปรียญธรรมไม่นับรวมกับจำนวนดังกล่าวนั้น)
    ๕. พระสังฆาธิการผู้ที่จะได้รับการพิจารณาให้เลื่อนสมณศักดิ์ตามที่เสนอขอนั้นก็ต่อเมื่อได้ดำรงสมณศักดิ์นั้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ เว้นแต่มีกรณีที่ควรจะยกย่องเป็นพิเศษ
    ๖. พระสังฆาธิการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร ชั้นเอกแล้ว ต่อมาเสนอขอเลื่อนสมณศักดิ์ให้พิจารณาเลื่อนสมณศักดิ์เป็น เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก
    ๗. พระสังฆาธิการผู้ได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ในตำแหน่งปกครองชั้นใดชั้นหนึ่งแล้วต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งการปกครองสูงขึ้น เช่น ผู้ได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ในตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะอำเภอ หรือเจ้าคณะอำเภอ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะอำเภอ หรือรองเจ้าคณะจังหวัด ให้นับเวลาตั้งแต่ได้รับตำแหน่งการปกครองสูงขึ้นนั้นต่อไปอีก๓ ปี จึงมีสิทธิขอเลื่อนสมณศักดิ์ได้
    ๘. มีพระภิกษุ (เฉพาะในวัดของตน) อยู่จำพรรษาครบคณะสงฆ์ขึ้นไป หรือมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาไม่ครบคณะสงฆ์ แต่มีสามเณรอยู่จำพรรษามากพอสมควร โดยให้นับจากปีปัจจุบันย้อนหลังไป ๓ พ.ศ.
    ๙. มีพระภิกษุสามเณร (เฉพาะในวัดของตน) ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและสมัครสอบในสนามหลวงมีจำนวนมากพอสมควร โดยให้นับจากปีปัจจุบัน ย้อนหลังไป ๓ พ.ศ.
    คุณสมบัติด้านสาธารณูปการ
    สำหรับการพิจารณาเลื่อนสมณศักดิ์ ต้องมีผลงานสาธารณูปการ ได้แก่การก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน หรือถาวรวัตถุมาประกอบการพิจารณาด้วย ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงแรงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระสงฆ์รูปนั้นๆ แต่การรายงานให้รายงานเฉพาะผลงานที่ได้ดำเนินการถัดจากปี พ.ศ. ที่ได้รับการแต่งตั้งหรือเลื่อนสมณศักดิ์ครั้งหลังสุดเป็นต้นไปจนถึงปัจจุบัน โดยให้บอกจำนวนเงินค่าก่อสร้าง ค่าบูรณะปฏิสังขรณ์ และรายละเอียดของสิ่งก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ ดังต่อไปนี้
    ๑๐. ในเขตปกครองหนกลาง ต้องมีจำนวนเงินที่ได้ใช้จ่ายในการก่อสร้าง และปฏิสังขรณ์แล้ว จำนวนตั้งแต่ ๕๐๐,๐๐๐.- บาท (ห้าแสนบาท) ขึ้นไป
    ๑๑. ในเขตปกครองหนเหนือ, หนตะวันออก, และหนใต้ ต้องมีจำนวนเงินที่ได้ใช้จ่ายในการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์แล้ว จำนวนตั้งแต่ ๑๕๐,๐๐๐.- บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท) ขึ้นไป
    ๑๒. สำหรับผลงานสาธารณูปการตามข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ ข้างต้นนั้น ไม่นับผลงานที่เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนของรัฐบาล หรือการก่อสร้างในวัดอื่น
    ๑๓. แม้จำนวนเงินจะครบตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๑๐ หรือข้อ ๑๑ แล้วก็ตาม แต่ถ้าการก่อสร้างโรงอุโบสถ หรือศาลาการเปรียญอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ยังไม่แล้วเสร็จให้รอไว้ก่อน
    ๑๔. การรายงานผลงานสาธารณูปการนั้น ต้องแยกออกเป็น ๒ ส่วน คือ
    (๑) ผลงานการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ (เฉพาะภายในวัด)
    (๒) ผลงานการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ (เฉพาะภายในวัด)
    ๑๕. การรายงานผลงานการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ตามข้อ ๑๔ (๑) จะต้องแจ้งรายละเอียดที่ทำการก่อสร้างทุกรายการ ดังต่อไปนี้
    (๑) แจ้งวัน เดือน ปีไปตามลำดับแต่ละ พ.ศ. ที่ได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จจนถึง พ.ศ. ปัจจุบัน
    (๒) แจ้งลักษณะอาคาร กว้าง-ยาว-สูงเท่าไร บอกวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและสร้างเสร็จแล้วหรือยัง
    (๓) แจ้งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างไปเป็นจำนวนเงินเท่าไร เป็นตัวเลขพร้อมทั้งวงเล็บตัวหนังสือกำกับไว้ด้วยทุกรายการ
    (๔) เมื่อรายงานผลงานสาธารณูปการก่อสร้างครบทุกรายการ ทุก พ.ศ. แล้ว ต้องรวมเงินที่ได้ใช้จ่ายไปในการก่อสร้างทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินเท่าไร เป็นตัวเลข พร้อมทั้งวงเล็บตัวหนังสือกำกับไว้ด้วย
    ๑๖. การรายงานผลงานการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ ตามข้อ ๑๔ (๒) จะต้องแจ้งรายละเอียดที่ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ ดังต่อไปนี้
    (๑) แจ้งวัน เดือน ปีไปตามลำดับแต่ละ พ.ศ. ที่ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จจนถึง พ.ศ. ปัจจุบัน
    (๒) แจ้งลักษณะอาคาร กว้าง-ยาว-สูงเท่าไร บอกวัสดุที่ใช้ในการบูรณะปฏิสังขรณ์และบูรณะปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วหรือยัง
    (๓) แจ้งค่าใช้จ่ายในการบูรณะปฏิสังขรณ์ไปเป็นจำนวนเงินเท่าไรเป็นตัวเลข พร้อมทั้งวงเล็บตัวหนังสือกำกับไว้ด้วยทุกรายการ
    (๔) เมื่อรายงานผลงานสาธารณูปการครบทุกรายการ ทุก พ.ศ. แล้ว ต้องรวมเงินที่ได้ใช้จ่ายไปในการบูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้น เป็นจำนวนเงินเท่าไร เป็นตัวเลข พร้อมทั้งวงเล็บตัวหนังสือกำกับไว้ด้วย
    ๑๗. เมื่อรายงานผลการก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ ตามข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖ครบทุกรายการแล้ว ต้องนำยอดเงินที่ได้ใช้จ่ายไปในการก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ทุกรายการตามข้อ ๑๕ (๔) และข้อ ๑๖ (๔) มารวมกันอีกครั้งหนึ่งว่า เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่าไร เป็นตัวเลข พร้อมทั้งวงเล็บเป็นตัวหนังสือกำกับไว้ด้วย
    การรายงานผลงานเฉพาะตำแหน่ง เป็นกรณีพิเศษ
    ๑๘. พระสังฆาธิการผู้เสนอขอเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก ต้องรายงานผลงานเฉพาะตำแหน่งเพิ่มขึ้นอีก ๒ ส่วน คือ
    (๑) ผลงานสาธารณูปการ คือ งานก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดของตน (ตามข้อ ๑๔, ๑๕ และข้อ ๑๖)
    (๒) ผลงานสาธารณะสงเคราะห์ คือ งานบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์แก่ประชาชนภายนอกวัด
    ๑๙. พระสังฆาธิการผู้เสนอขอเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ต้องรายงานผลงานเฉพาะตำแหน่งเพิ่มขึ้นอีก ๓ ส่วน คือ
    (๑) ผลงานสาธารณูปการ คือ งานก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดของตน (ตามข้อ ๑๔, ๑๕ และข้อ ๑๖)
    (๒) ผลงานในหน้าที่เจ้าคณะตำบล คือ งานตรวจการคณะสงฆ์ และงานการประชุมพระสังฆาธิการในเขตตำบลที่ตนปกครองว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่ทั้ง ๒ อย่างนี้ ปีละกี่ครั้ง แต่ไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง
    (๓) ผลงานสาธารณะประโยชน์ คือ งานบำเพ็ญสาธารณะสงเคราะห์ เช่น ทำถนน, สร้างสะพาน, ขุดสระน้ำ, เจาะน้ำบาดาล เป็นต้น และการศึกษาสงเคราะห์ เช่น สร้างโรงเรียนตั้งทุนการศึกษา และเด็กก่อนเกณฑ์ เป็นต้น
    ๒๐. พระสังฆาธิการผู้เสนอขอเลื่อนสมณศักดิ์เป็นรองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ต้องรายงานผลงานเฉพาะตำแหน่ง เพิ่มขึ้นอีก ๒ ส่วน คือ
    (๑) ผลงานสาธารณูปการ คือ งานก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดของตน (ตามข้อ ๑๔, ๑๕ และข้อ ๑๖)
    (๒) ผลงานในหน้าที่รองเจ้าคณะอำเภอ คือ งานที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าคณะอำเภอให้ปฏิบัติหน้าที่แต่ละปี ว่าได้ทำอะไรบ้าง
    ๒๑. พระสังฆาธิการผู้เสนอขอเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ ต้องรายงานผลงานเฉพาะตำแหน่ง เพิ่มขึ้นอีก ๓ ส่วน คือ
    (๑) ผลงานสาธารณูปการ คือ งานก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดของตน (ตามข้อ ๑๔, ๑๕ และข้อ ๑๖)
    (๒) ผลงานในหน้าที่เจ้าคณะอำเภอ คือ งานตรวจการคณะสงฆ์ และงานการประชุมพระสังฆาธิการในเขตอำเภอที่ตนปกครองว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่ทั้ง ๒ อย่างนี้ ปีละกี่ครั้ง แต่ไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง
    (๓) ผลงานสาธารณะประโยชน์ คือ งานสาธารณะสงเคราะห์ เช่น ทำถนน,สร้างสะพาน, ขุดสระน้ำ, เจาะน้ำบาดาล เป็นต้น และการศึกษาสงเคราะห์ เช่น สร้างโรงเรียน, ตั้งทุนการศึกษา และเด็กก่อนเกณฑ์ เป็นต้น
    (๔) วัดนั้นเป็นสำนักศาสนศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีพระภิกษุ สามเณรศึกษาเล่าเรียนบาลีจำนวนมาก และสมัครสอบในสนามหลวง แต่ละประโยคได้มากพอสมควร
    ๒๒. งานหลักในหน้าที่ของเจ้าคณะตำบลและเจ้าคณะอำเภอ มี ๒ ประการ คือ
    (๑) งานตรวจการคณะสงฆ์ ในเขตตำบล หรืออำเภอที่ตนปกครอง
    ก. ต้องรายงานการออกตรวจการคณะสงฆ์ในเขตที่ตนปกครองในแต่ละปีโดยระบุวัน เดือน ปี และสถานที่ที่ออกตรวจการคณะสงฆ์ทุกครั้ง และ
    ข. ต้องรายงานว่า ได้แนะนำชี้แจงแก้ไขปัญหาของพระสังฆาธิการผู้อยู่ในปกครองว่าเรื่องอะไรบ้าง พบใครบ้าง ปีละไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง
    (๒) งานการประชุมพระสังฆาธิการ ในเขตตำบล หรือในเขตอำเภอที่ตนปกครอง
    ก. ต้องรายงานการจัดประชุมพระสังฆาธิการ ในเขตที่ตนปกครองในแต่ละปีโดยระบุวัน เดือน ปี และสถานที่ที่จัดประชุม และ
    ข. ต้องรายงานว่า ที่ประชุม ประชุมกันว่าด้วยเรื่องอะไรบ้าง มีผู้เข้าประชุมเท่าไร ปีละไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง
    ๒๓. พระสังฆาธิการผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ให้เป็นพระราชาคณะเป็นกรณีพิเศษ ทุกชั้น ทุกรูป ไม่นับเข้าในหลักเกณฑ์การแบ่งจำนวนสมณศักดิ์พระราชาคณะทุกชั้น ตามมติมหาเถรสมาคมที่ได้กำหนดไว้
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    . หลักเกณฑ์การขอประทวนสมณศักดิ์
    พระครูประทวนสมณศักดิ์ คือ ตำแหน่งพระครูที่สมเด็จพระสังฆราช ทรงตั้งโดยพระบรมราชูปถัมภ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงตั้งพระสงฆ์ผู้เป็นกรรมการศึกษาและอุปการะโรงเรียน ทั้งฝ่ายพระปริยัติธรรม และโรงเรียนของรัฐ แตกต่างจากพระครูสัญญาบัตรอยู่ตรงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระครูสัญญาบัตรและมีราชทินนาม ส่วนพระครูประทวน สมเด็จพระสังฆราชทรงตั้ง ไม่มีราชทินนาม คงให้เป็นพระครูในนามเดิม เช่น เดิมชื่อแดง ก็เรียกว่า พระครูแดง เป็นต้นแต่พระสังฆาธิการที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูประทวน จะได้รับสิทธิพิเศษอย่างหนึ่ง คือ ภายหลังจากเป็น พระครูประทวน ๓ ปีบริบูรณ์ และมีพรรษาพ้น ๑๐ พรรษาแล้ว ทางคณะสงฆ์ให้สิทธิที่จะเสนอขอพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรได้เลย ไม่ต้องรอให้อายุของการดำรงตำแหน่งเป็นพระสังฆาธิการให้ครบ ๕ ปีเสียก่อน<SUP></SUP>
    -------------------------------------
    ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการขอประทวนสมณศักดิ์ให้แก่พระภิกษุผู้เป็นกรรมการศึกษาหรือผู้อุปการะโรงเรียน ข้อ ๑๓ พระภิกษุที่ได้รับประทวนสมณศักดิ์แล้วย่อมได้รับสิทธิเพื่อขอพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระครูสัญญาบัตรภายในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ นับแต่วันที่ได้รับประทวนสมณศักดิ์ และมีพรรษาพ้น ๑๐ พรรษาแล้ว
    --------------------------------------------------------------------------------

    ๑๐. วโรกาสที่จะมีการพระราชทานสมณศักดิ์
    ตามปกติพระมหากษัตริย์จะโปรดพระราชทานเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์เนื่องในวันมหามงคลต่างๆ เช่น
    ก. วันเฉลิมพระชนมพรรษา จะมีการพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ตั้งแต่ชั้นสมเด็จพระราชาคณะลงมา จนถึงพระครูสัญญาบัตร ซึ่งแล้วแต่จะมีตำแหน่งใดว่าง
    ข. วันพระราชพิธีฉัตรมงคล หากจะมีการพระราชทานสมณศักดิ์ ก็จะเขียนสมณศักดิ์ชั้นสูง ซึ่งมีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องทรงตั้งเพื่อมาบริหารกิจการพระศาสนา เช่น ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชหรือสมเด็จพระราชาคณะ
    ค. วันพระราชพิธีแรกขึ้นเสวยราชสมบัติ ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันแรกขึ้นเสวยราชสมบัติ ตามโบราณราชประเพณี จะทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะ แต่มีจำนวนน้อย ตามแต่พระราชอัธยาศัย พระราชาคณะที่พระราชทานในวันนี้เรียกว่าพระราชาคณะฤกษ์ คือ เป็นการพระราชทานเพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัยเท่านั้น
    ง. พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๙ ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ จำนวน ๖๑ รูป เป็นกรณีพิเศษ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง
    จ. วโรกาสพิเศษ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ โปรดพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์เป็นกรณีพิเศษ จำนวน ๗๑ รูป

    ๑๑. กำหนดวันเสนอขอพระราชทานสมณศักดิ์
    การขอพระราชทานสมณศักดิ์ ปีหนึ่งๆ จะมีได้เพียงครั้งเดียว คือ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปีเท่านั้น เว้นแต่จะเป็นวโรกาสพิเศษที่จะมีการพระราชทานสมณศักดิ์
    ในเรื่องนี้มหาเถรสมาคมได้มีมติในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๓/๒๕๑๓ ว่า ให้กองศาสนูปถัมภ์ได้เสนอกำหนดระยะเวลาการสั่งเรื่องและพิจารณาสมณศักดิ์เพื่อประกอบการพิจารณาไว้ดังนี้
    ๑. ให้เจ้าคณะอำเภอนำส่งเจ้าคณะจังหวัด ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ของทุกปี
    ๒. ให้เจ้าคณะจังหวัดนำส่งเจ้าคณะภาค ภายในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ของทุกปี
    ๓. ให้เจ้าคณะภาคนำส่งเจ้าคณะใหญ่ ภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ของทุกปี
    ๔. ให้เจ้าคณะใหญ่พิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ของทุกปี
    ๕. ให้กรมการศาสนา ดำเนินการนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมมหาเถรสมาคมให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ของทุกปี
    ๖. ให้กรมการศาสนา ดำเนินการเสนอเรื่อง ภายในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ของทุกปี

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-03-02.htm

    [​IMG]
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.komcome.com/somdeg/somdeg13.htm

    <TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width=651 border=0><TBODY><TR><TD width=16 height=53></TD><TD width=606 height=53>ผลงานสมเด็จ

    </TD><TD width=13 height=53>

    </TD></TR><TR><TD width=16 height=76>
    </TD><TD width=606 height=76>สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เดินทางไปในถิ่นใด เมื่อเห็นวัดวาศาสนาอยู่ในสภาพที่ไม่เรียบร้อย ก็มักจะเทศนา สั่งสอนประชาชนได้รู้ถึงคุณค่าของศาสนสถาน และได้ชักชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ หรือก่อสร้างไว้เป็นจำนวนมาก ผลงานของท่านที่ตกทอดถึงปัจจุบัน ส่วนหนึ่งก็คือ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระปฐมเจดีย์
    สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาฯได้เดินธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อสร้างสมบารมี ครั้งหนึ่ง ได้ทรงพบพระปฐมเจดีย์ (พระมหาธาตุหลวง) ซึ่งตอนนั้นปรักหักพังอยู่กลางป่า ท่านจึงให้ก่อสร้างพระปฐมเจดีย์ จากเดิมที่สูง ๙๕ วาไม้ ต่อขึ้นไปจนเสร็จสมบูรณ์ ได้ความสูง ๑๐๒ วา ฟื้นฟูกลับสู่ความรู้จักของมหาชนอีกครั้ง หลังจากที่ขาดการเหลียวแลเสียนาน พระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้ พวกขอมเรียกว่า พระธม ดังศิลาจารึกหลักที่ ๒ ว่า
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.watkoh.com/forum/printer_friendly_posts.asp?TID=1489

    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=smText>
    พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)

    Printed From: วัดเกาะ.คอม
    หมวดหมู่: ศาสนบุคคล
    ชื่อ บอร์ด: ประวัติพระเถราจารย์
    คำอธิบาย บอร์ด: อัตตชีวประวัติ หลวงปู่ครูบาอาจารย์
    URL: http://www.watkoh.com/forum/forum_posts.asp?TID=1489
    Printed Date: 08 ธ.ค. 2007 เวลา 01:10
    Software Version: Web Wiz Forums E-mail Admin : webmaster@watkoh.com - http://www.webwizforums.com


    หัวข้อ: พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) <HR style="BORDER-TOP-WIDTH: 1px">โพสต์โดย: **wan**
    หัวข้อ: พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
    วันที่โพสต์: 16 ก.ค. 2007 เวลา 14:34
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร[/FONT]​

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ชาติภูมิ [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙) นามเดิม "หนูค้าย"( ภายหลัง สมเด็จพระวันรัต "เขมจารีมหาเถร" วัดมหาธาตุ ได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า "โชดก") นามสกุลว่า "นามโสม" เกิดวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๖๑ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ท่านเกิดที่บ้านหนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น บิดาของท่านชื่อ "เหล้า" มารดาชื่อ "น้อย" ท่านมีพี่น้องร่วมตระกูล ๙ คน เป็นพี่สาว ๘ คน และน้องชาย ๑ คน ปู่ของท่านมี บรรดาศักดิ์เป็นขุน ชื่อขุนวงษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย มีฐานะดี ส่วนบิดาของท่านเป็นชาวนา มีแต่ความรู้พิเศษ เป็นหมอชาวบ้าน - ช่างไม้ - ช่างเหล็ก ประจำหมู่บ้าน[/FONT]


    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]การศึกษาเบื้องต้น [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๗๒ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านหนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี[/FONT]


    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]บรรพชา - อุปสมบท [/FONT]
    </CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๗๗ เมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์กลาง โดยมีพระครูเลิ่ง เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และย้ายไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดกลาง ในตัวเมืองขอนแก่น สอบนักธรรมตรีได้จากวัดนี้ และย้ายไปอยู่วัดยอดแก้ว ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเรียนนักธรรมชั้นโทและบาลีมูลกัจจายน์ และสอบนักธรรมชั้นโทได้ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ โดยครั้งแรกได้อยู่ที่วัดเทพธิดาราม สอบ ป.ธ. ๓, ป.ธ. ๔ และนักธรรมชั้นเอกได้ในสำนักนี้ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุ โดย ขุนวจีสุนทรรักษ์ เป็นผู้นำมาฝาก ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เขมจารีมหาเถร) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม ได้เมตตารับไว้ให้อยู่ คณะ ๑ วัดมหาธาตุฯ [/FONT]


    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]วุฒิการศึกษา [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ในสำนักเรียนวัดโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๗๘ สอบได้นักธรรมชั้นโท ในสำนักเรียนวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๘๑ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ป.ธ. ๓, ป.ธ. ๔ ในสำนักวัดเทพธิดาราม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๔๙๔ สอบได้ ป.ธ. ๕ - ป.ธ. ๙ ในสำนักวัดมหาธาตุฯ ในสมัยสอบ ป.ธ. ๙ ได้ใน พ.ศ. ๒๔๙๔ นับเป็นผู้สอบได้เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๘๖ - ๒๔๙๒ ไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ จังหวัดขอนแก่น โดยครั้งแรกเปิดสอน พระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม - บาลี ที่วัดสว่างวิทยา อำเภอเมือง ประมาณ ๑ ปี แล้วย้ายมาอยู่วัดศรีนวล ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น ปรากฏว่าได้ส่งเสริมการศึกษา ในสำนักนี้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีพระภิกษุสามเณรสอบนักธรรม และบาลีได้มากทุกปี ต่อมาท่านได้ลาออกจากตำแหน่งสาธารณูปการจังหวัด เพื่อกลับมาอยู่วัดมหาธาตุฯ สำนักเดิม [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]การปฏิบัติศาสนกิจ [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๙๓ ย้ายกลับเข้ามาอยู่วัดมหาธาตุฯ ในสมัยท่านเจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถร) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพิมลธรรม" เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้อยู่ที่คณะ ๕ และ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ ๕ วัดมหาธาตุฯ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๙๓ และอยู่ประจำ อยู่ที่คณะ ๕ ตลอดมาจนมรณภาพ


    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]งานด้านวิปัสสนาธุระ [/FONT]
    </CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ณ มณฑปพระธาตุ วัดมหาธาตุ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๙๔ ถึง ๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๔ รวมเวลา ๗ เดือน ๑๙ วัน โดยพระภาวนาภิรามเถระ (สุข) วัดระฆัง เป็นอาจารย์สอน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๙๕ ไปดูการพระศาสนาที่ประเทศพม่า และได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ สำนักศาสนายิสสา เมืองแรงกูน ประเทศพม่า เมื่อสำเร็จการศึกษา และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ได้เดินทางกลับประเทศไทย พร้อมกับพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ๒ รูป ที่รัฐบาลไทยขอจากรัฐบาลพม่า เพื่อมาสอนวิปัสสนากรรมฐาน ประจำอยู่ในประเทศไทย พระวิปัสสนาจารย์ ๒ รูปนั้น คือ ท่านอาสภเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะ และท่านอินทวังสะ ธัมมาจริยะ กัมมัฏฐานาจริยะ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]เมื่อท่านกลับมาประเทศไทยแล้ว ท่านได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก ๔ เดือน ในสมัยนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพิมลธรรม" ได้ประกาศตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานแห่งประเทศไทย ขึ้นที่วัดมหาธาตุ และได้แต่งตั้ง ท่านครั้งเป็นพระมหาโชดก ป.ธ. ๙ ให้เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นรูปแรก ท่านได้รับภาระหนักมาก เพราะเป็นกำลังสำคัญของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ในการวางแผนขยายสำนักสาขาไปตั้งในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จัดทำหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน คัดเลือกพระวิปัสสนาจารย์ไปสอนประจำอยู่ตามสำนักสาขาที่ตั้งขึ้น และจัดไว้สอนประจำที่วัดมหาธาตุ พระวิปัสสนาจารย์ทั่วประเทศ ส่วนมากเป็นศิษย์ของท่าน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]อนึ่ง ในครั้งนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ได้จัดตั้งกองการวิปัสสนาธุระขึ้นเป็นศูนย์วิปัสสนากรรม ฐาน ที่คณะ ๕ วัดมหาธาตุ และได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้อำนวยการกองการวิปัสสนาธุระ ในความอำนวยการของท่าน มีกิจการเจริญก้าวหน้ามาก มีผลงานปรากฏ ดังนี้ :- [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]๑. จัดพิมพ์วิปัสสนาสาร ซึ่งเป็นวารสารราย ๒ เดือน (ออกปีละ ๖ เล่ม) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ และได้ออกติดต่อตลอดมาถึงบัดนี้ มีสมาชิกให้การอุดหนุนวารสารนี้มีมากพอสมควร[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]๒. จัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขึ้นที่คณะ ๕ โดยจัดสร้างห้องปฏิบัติขึ้นรับผู้ประสงค์ จะเข้าปฏิบัติ หรือผู้มีปัญหาชีวิต เข้าปฏิบัติได้ทุกเวลา ทั้งประเภทอยู่ประจำ และไม่ประจำ (คือมารับพระกรรมฐานจากอาจารย์ไปปฏิบัติที่บ้านแล้วมารับสอบอารมณ์ หรือมาปฏิบัติในเวลาว่าง แล้วกลับไปพักที่บ้าน)[/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]๓. อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ และคณะศิษย์ของท่านได้ไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ ตึกมหาธาตุวิทยาลัย ตึกธรรมวิจัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทุกวันพระ และวันอาทิตย์ [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]๔. ให้ความอุปถัมภ์สำนักวิปัสสนากรรมฐานอื่นที่เป็นสาขาอีกหลายสำนัก เช่น สำนักวิเวกอาคม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักวิปัสสนาภูระงำ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และสำนักบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พระธรรมธีรราชมหามุนี ได้อุทิศชีวิตอบรม และเผยแพร่วิปัสสนากรรมฐานติดต่อมาเป็นเวลายาว นานประมาณ ๔๐ ปี จึงมีศิษยานุศิษย์และมีผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และบุคคลผู้มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีทุกระดับชั้น ทุกฐานะอาชีพ เช่น ในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๘ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถร ได้เป็นพระอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐาน แด่สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ซึ่งได้เสด็จ มาสมาทานพระกรรมฐานเมื่อวันอังคารที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ พระมณฑป พระบรมธาตุ วัดมหาธาตุ ในโอกาสนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม ได้ถวายศีล แล้วพระอุดมวิชาญาณเถร เป็นผู้ถวายพระกรรมฐาน และถวายสอบอารมณ์ พระกรรมฐานด้วย เป็นประจำทุกวัน ณ พระมณฑปพระบรมธาตุฯ เวลา ๑๙.๐๐ น. รวมเวลาที่ทรง ปฏิบัติพระกรรมฐาน เป็นเวลา ๑ เดือน และทรงได้รับผลจากการปฏิบัติวิปัสสนาเป็นอย่างดี[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]นอกจากนั้น ได้เป็นอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐาน แด่พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ) ซึ่งเป็นพระอาจารย์มีเกียรติคุณในด้านสมถกรรมฐาน (วิชาธรรมกาย) มีชื่อเสียงมากในประเทศไทย โดยท่านไปถวายวิปัสสนากรรมฐานแด่หลวงพ่อที่วัดปากน้ำตลอดเวลา ๑ เดือน ครบหลักสูตร และหลวงพ่อวัดปากน้ำได้มาฟังเทศน์ลำดับญาณ ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุ โดยพระอุดมวิชาญาณเถร ได้ถวายเทศน์ลำดับญาณ ปรากฎว่าหลวงพ่อได้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอย่างดี เพราะท่านได้นำสมถกรรมฐานมาต่อวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาไตรลักษณ์ มีพระนิพพาน เป็นอารมณ์ หลวงพ่อได้มอบภาพของท่านไว้เป็นที่ระลึกแก่สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุ และได้เขียน บันทึกใต้ภาพยกย่องว่า "สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุ เป็นสำนักที่สอนวิปัสสนาถูกต้องร่องรอยใน มหาสติปัฏฐานทุกประการ" [/FONT]

    [/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1-chodog.jpg
      1-chodog.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.6 KB
      เปิดดู:
      1,681
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.watkoh.com/forum/printer_friendly_posts.asp?TID=1489

    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]หน้าที่การงานเกี่ยวกับการศึกษา [/FONT]
    </CENTER>

    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๕๓๐ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นครูสอนปริยัติธรรมทั้งนักธรรม - บาลลี ในมหาธาตุวิทยาลัย ได้เป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์ชั้นมูล ๓ ได้นิตยภัตตั้งแต่เดือนละ ๖ บาท ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ จนกระทั่งสอน ป.ธ. ๗-๘-๙[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรม - บาลี สนนามหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๗ ตลอดมาจนมรณภาพ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นผู้อำนายการแผนกบาลี สำนักเรียนวัดมมหาธาตุฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]หน้าที่เกี่ยวด้วยพระไตรปิฎก [/FONT]


    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ในแผนกตรวจสำนวน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจทานพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการปาลิวิโสธกะ พระอภิธรรมปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบรรณกรในการพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]หน้าที่เกี่ยวกับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [/FONT]


    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๕๓๐ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการชำระหนังสือธััมมปทัฏฐกถา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นอาจารย์บรรยายวิชาพระพุทธศาสนาในชั้้นอุดมศึกษา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการบริหารกิจการ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการพิจารณาหลักสูตรบาลีสำหรับมหหาจุฬาฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์<[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]หน้าที่เกี่ยวกับการบริหารคณะ สงฆ์ [/FONT]


    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๕๓๐[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการกรรมการสงฆ์์จังหวัดขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - กรรมการสาธารณูปการจังหวัดขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เจ้าคณะภาค ๑๐[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เจ้าคณะภาค ๙[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - พระอุปัชฌาย์ประจำวัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - รองเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - รองประธานกรรมการสงฆ์บริหารวัดมหาธาตุ รรูปที่ ๑ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]หน้าที่งานพิเศษ [/FONT]


    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการหัวหน้าพรระธรรมทูตสายที่ ๓[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นหัวหน้าผู้อำนวยการ งานพระธรรมทูตสาายที่ ๖[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นอนุกรรมการมหาเถรสมาคม เพื่อร่วมพิจจารณาหาทางแก้ไขปัญหาวัดที่ว่างเจ้าอาวาสเพื่อหาข้อมูล [/FONT]

    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]งานเผยแผ่ [/FONT]
    </CENTER>


    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นพระธรรมกถึกทั้งเทศน์คู่และเทศน์เดี่่ยว[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นองค์ปาฐกแสดงปาฐกถาธรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - องค์บรรยายธรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - บรรยายธรรมทางวิทยุเป็นประจำหลายสถานี[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - บรรยายธรรมทางสถานีโทรทัศน์[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์มีความเชี่ยวชาญในการบรรยายธรรม ได้รับความนิยมมากจากผู้ฟังทั้งหน่วยราชการและภาคเอกชน ประชาชน เป็นอย่างดี [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]<CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]งานสาธารณูปการ และงานสาธารณสงเคราะห์ [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พระธรรมธีรราชมหามุนี มีผลงานด้านสาธารณูปการ และสาธารณสงเคราะห์ ปรากฏอย่างกว้างขวางทั้งภายในวัดมหาธาตุ และภายนอก ดังมีหลังฐานปรากฏตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๓๐ ดังนี้ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๑) สาธารณูปการภายในวัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - จัดหาทุนสร้างห้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนในวัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - จัดหาเงินสมทบทุนมูลนิธิวิปัสสนากรมฐาน[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - สร้างตึกอุดมวิชาในคณะ ๕ วัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานกรรมการหาทุนก่อสร้างตึกมหาธาตุวิทยาลัยอาคารทรงไทย ๔ ชั้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานกรรมการหาทุนบูรณะโรงเรียนธรรมมหาธาตุวิทยาลัย และสร้างโรงครัวครูปริยัติธรรม[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานกรรมการจัดหาทุน และก่อตั้งมูลนิธิศรีสรรเพชญ์[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ร่วมสมทบบูรณะคณะ ๘ วัดมหาธาตุ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - บริจาคร่วมสร้างพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานกรรมการจัดหาทุนสร้างพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการอุปถัมภ์จัดหาทุนสร้างโรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] รวมงานสาธารณูปการภายในวัดมหาธาตุที่ได้ดำเนินการมา เป็นเงินประมาณ ๑๔,๓๒๕,๐๐๐ บาท (สิบสี่ล้านสามแสนสองหมื่นห้าพันบาท)[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๒) สาธารณูปการภายนอกวัด[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - งานก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดสว่างพิทยา บ้านหนองหลุบ ซึ่งเป็นถิ่นบ้านเกิด[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - จัดหาทุนสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมวัดธาตุ ขอนแก่น ๒ หลัง[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - จัดหาทุนสร้างอุโบสถวัดโพธิ์ชัย จังหวัดขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - จัดหาทุนสร้างโรงเรียนประชาบาลบ้านหนองหลุบ ๒[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานจัดหาทุนสร้างวัดพุทธปทีปในระยะเริ่มแรก[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - อุปถัมภ์สร้างอาคารเรียน ในโรงเรียนประชาบาลบ้านหนองบัว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกสงฆ์อาพาธสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถร) ในโรงพยาบาลขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - บริจาคสร้างตึงสยามินทร์ โงพยาบาลศิริราช[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - อุปถัมภ์สำนักวิปัสสนากรรมฐาน ภูระงำ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - หาทุนสร้างสำนักวิเวกอาคม ตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] รวมงานสาธารณูปการภายนอกวัด เป็นเงินประมาณ ๑๓,๔๕๖,๐๐๐ บาท (สิบสามล้านสี่แสนห้าหมื่นหกพันบาท) รวมเงินที่จัดหาในงานสาธารณูปการ ทั้งภายในวัดมหาธาตุ และภายนอกวัด เป็นเงิน ประมาณ ๒๗,๐๘๑,๐๐๐ บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านแปดหมื่นหนึ่งพันบาท) [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]<CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]งานต่างประเทศ [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๕๒๘[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ไปดูการพระศาสนา และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ ประเทศพม่า[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ณ ประเทศอังกฤษ ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สมาคมแห่งประเทศอังกฤษ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตประจำประเทศอังกฤษ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ริเริ่มสร้างวัดไทยในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันได้สร้างเป็นวัดไทยโดยสมบูรณ์ ชื่อว่า "วัดพุทธปทีป" โดยท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธปทีปรูปแรก[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตที่จะไปต่างประเทศ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - ไปสอนวิปัสสนากรมฐานที่วัดไทย ในประเทศสหรัฐอเมริกา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] - รับชาวต่างชาติปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุ และให้ได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]<CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]งานนิพนธ์ [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พระธรรมธีรราชมหามุนี เป็นพระมหาเถระเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก และมีความทรงจำเป็นเลิศ สามารถบอกเรื่องราวต่างๆ ว่าอยู่ในเล่มใด และบางครั้งบอกหน้าหนังสือเล่มนั้นด้วย และท่านยังเป็นนักประพันธ์ ที่นิพนธ์เรื่องทางศาสนาได้รวดเร็ว และได้นิพนธ์ไว้มากมายหลายเรื่อง เฉพาะที่หาข้อมูลได้ แยกบทนิพนธ์ของท่านเป็นประเภท ดังนี้ [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๑) ประเภทวิปัสสนากรรมฐาน มีหนังสือประมาณ ๒๑ เรื่อง เช่น เรื่องความเป็นมาของวิปัสสนากรรมฐาน , คำบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน จำนวน ๙ เล่ม ฯลฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๒) ประเภทพระธรรมเทศนา มีหนังสือประมาณ ๔ เรื่อง เช่น เรื่องเทศน์คู่อริยสัจ ฯลฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๓) ประเภทวิชาการ มีหนังสือประมาณ ๘ เรื่อง เช่น อภิธัมมัตถสัคหะปริเฉทที่ ๑ - ๙ ฯลฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๔) ประเภทสารคดี มีหนังสือประมาณ ๒๐ เรื่อง เช่น เรื่องพระมาลัยโปรดสัตว์นรก ฯลฯ[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ๕) ประเภทตอบปัญหาทั่วไป มีหนังสือประมาณ ๕ เรื่อง เช่น ตอบปัญหา เรื่องบุญบาปและนรกสวรรค์ เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]นอกจากนี้ ยังมีคำขวัญ คำอนุโมทนา คติธรรม เพื่อลงตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ต่างๆ ที่มีผู้ขอมา [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif][/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]<CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]สมณศักดิ์ [/FONT]
    </CENTER>
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๗ (อายุ ๓๖ พรรษา ๑๕) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะเปรียญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระอุดมวิชาญาณเถร"
    [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif] วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๕ (อายุ ๔๔ พรรษา ๒๓) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระราชสิทธิมุนี ศรีปิฎกโกศล วิมลปัสสนาจารย์ อุดมวิชาญาณวิจิตร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
    [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif] วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๑ (อายุ ๕๒ พรรษา ๓๑) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระเทพสิทธิมุนี สมถวิธีธรรมาจารย์ วิปัสสนาญาณโสภณ ยติคณิศสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
    [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif] วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ (อายุ ๖๙ พรรษา ๔๘) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม มีพระราชทินนามว่า "พระธรรมธีรราชมหามุนี คัมภีรญาณวิมล โสภณธรรมานุสิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี" [/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif] [/FONT][FONT=Times New Roman, Times, serif]อวสานชีวิต [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif] พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) ได้ถึงแก่มรณภาพ โดยอาการอันสงบ ในอริยาบทนั่งเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ขณะไปทำการสอนวิปัสสนากรรมฐานที่บ้านโยมอุปฐาก ในวันพฤหัสบดี ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๑ เวลา ๑๕.๐๐ น. รวมสิริอายุได้ ๗๐ ปี ๒ เดือน ๑๕ วัน นำความเศร้าโศก แสนเสียดายอาลัยมาสู่คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปอย่างยิ่ง [/FONT]

    [FONT=Times New Roman, Times, serif] ขออำนาจบุญกุศลทั้งปวงได้โปรดดลบันดาลให้พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙) ประสบสันติสุขในสัมปรายภพ ทุกประการ ดังสุนทรโวหารที่ท่านได้นิพนธ์ในสุดท้ายแห่งชีวิต ดังนี้[/FONT]
    <CENTER>[FONT=Times New Roman, Times, serif]"เตรียมสร้างทางชอบไว้ หวังกุศล[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ตัวสุขส่งเสริมผล เพิ่มให้[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ก่อนแต่มฤตยูดล เผด็จชีพ เทียวนา[/FONT]
    [FONT=Times New Roman, Times, serif]ตายพรากจากโลกได้ สถิตด้าว แดนเกษม"
    [/FONT]
    </CENTER>
    [/FONT]
     
  12. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    คุณหนุ่ม แอบจัดทัวร์ไปงานวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่ สุรศักดิ์มนตรี
    ได้อะไรดีๆ มาเล่าสู่กันฟังบ้างเน้อ

    ส่วนผมต้องเป็นวันอาทิตย์ครับ
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมไปช่วงหลังเที่ยงไปแล้วครับ ผมตั้งใจไปถ่ายแต่ออร่าแค่นั้นเองครับพี่เม้า นั่งรอที่จะได้รับคำอธิบายจากอ.สถิตธรรม ก็หมดเวลา ต้องกลับบ้านแล้วครับ

    ส่วนรูปที่ผมถ่าย ผมฝากให้น้องท่านนึงนำไปถ่ายรูป แล้วผมจะนำมาลงบนเว็บอีกครั้งนะครับ ส่วนเรื่องอื่นๆมารอพี่เม้าเล่าให้ฟังดีกว่า
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://abhidhamonline.org/thesis/thesis6/thesis610.htm

    6.2 การอธิบายแนวคิดกรรมฐานของสำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

    6.1.1 ข้อควรรู้เบื้องต้น
    คนเราทุกคนต่างมีสิ่งที่เรียกได้ว่าพลังหรือสมรรถภาพอยู่ในตัวเอง หากแต่ตนเองไม่รู้หรือไม่เข้าใจวิธีการที่จะนำเอาพลังหรือสมรรถภาพส่วนนั้นออกใช้ให้เป็นประโยชน์ หรือบางคนนำมาใช้ก็ใช้ได้แต่เพียงส่วนน้อย เช่น ในเวลาได้รับอันตรายหรือขณะไฟไหม้ บางคนสามารถยกของหนัก ๆ คนเดียวได้ บางคนสามารถปีนป่ายหลบหลีกภัยได้อย่างรวดเร็วว่องไวผิดปกติ ซึ่งตนเองก็แปลกใจที่สามารถทำได้เองโดยไม่คาดฝัน พลังเหล่านั้นมีซ่อนเร้นอยู่ในตัว เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ถ้าเราไม่นำพลังหรือสมรรถภาพส่วนนั้นออกมาใช้หรือไม่รู้วิธีการใช้ พลังหรือสมรรถภาพเหล่านั้นจะสลายหรือพิการไป แต่ถ้ารู้วิธีการและนำมาใช้ก็จะสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ผู้ใช้อย่างมากมาย เช่น นักกีฬาชั้นนำทั้งหลาย

    ในการปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นเรื่องของการอบรมจิตก็เช่นกัน ถ้าได้เรียนรู้วิธีการและพยายามปฏิบัติให้ถูกต้อง ย่อมนำพลังและสมรรถภาพอันยิ่งใหญ่ในทางธรรมมาใช้ เพื่อการบรรลุผลที่พึงปรารถนาในอันดับสูงต่อไป กุศลธรรมที่สำคัญที่ผู้ปฏิบัติพึงนำออกมาใช้เพื่อเผชิญกับความชั่วร้ายและเสริมสร้างคุณความดี คือ อินทรีย์ และพละ (ธนิต อยู่โพธิ์ 2518 : 1)

    กุศลธรรมที่เรียกว่าอินทรีย์และพละนี้ เป็นเหมือนพลังและสมรรถภาพซึ่งมีอยู่ในตัวพร้อม หากสามารถกระตุ้นหรือเพาะให้งอกงาม และนำมาใช้ก็จะเป็นประโยชน์แก่ตนเองอย่างมากมาย คำว่า อินทรีย์ แปลว่า ความเป็นใหญ่เปรียบเสมือนพระราชาหรือผู้ปกครองย่อมต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาและป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามมารุกรานเขตแดน อินทรีย์ก็เช่นกันย่อมเป็นใหญ่ในการป้องกันอกุศลฝ่ายตรงข้ามกับกุศลมิให้เข้ามาสู่จิตใจ ส่วน พละ เป็นพลังที่เสริมให้อินทรีย์มีกำลังในการต่อต้านอกุศลได้อย่างต่อเนื่องไม่ย่อท้อเสียในระหว่าง อินทรีย์และพละจึงมีลักษณะอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะและหน้าที่


    <TABLE class=MsoNormalTable style="MARGIN-LEFT: 86.4pt; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=482 border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 225px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>อินทรีย์ 5
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 229px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>พละ 5

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 225px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>1. สัทธินทรีย์
    2. วิริยินทรีย์
    3. สตินทรีย์
    4. สมาธินทรีย์
    5. ปัญญินทรีย์

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 229px; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top>1. สัทธาพละ
    2. วิริยพละ
    3. สติพละ
    4. สมาธิพละ
    5. ปัญญาพละ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    สัทธา ต่อต้านกำจัด ตัณหา ความดิ้นรนอยากได้
    วิริยะ ต่อต้านกำจัด โกสัชชะ ความเกียจคร้าน
    สติ ต่อต้านกำจัด มุฏฐะสัจจะ ความหลงลืม
    สมาธิ ต่อต้านกำจัด วิกเขปะ ความฟุ้งซ่าน
    ปัญญา ต่อต้านกำจัด สัมโมหะ ความลุ่มหลง

    โดยเหตุที่ธรรมทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศลเหล่านี้เป็นเรื่องเกิดกับจิตใจ กุศลเป็นธรรมที่ต้องกระตุ้นและเพาะให้เกิดภายในตน ส่วนอกุศลเป็นธรรมที่ต้องละภายในตน

    ขณะใดกำลังเจริญฝ่ายกุศลขณะนั้นอกุศลจะถูกละด้วย ในการพัฒนาอินทรีย์ 5 และพละ 5 นี้ จะต้องพัฒนาไปโดยสม่ำเสมอสมดุลย์กัน มิให้ส่วนใดส่วนหนึ่งยิ่งหย่อนกว่ากัน เช่น มีศรัทธาเสมอกับปัญญาคู่หนึ่ง และวิริยะเสมอกับสมาธิคู่หนึ่ง หากศรัทธามากกว่าปัญญาก็จะเชื่องมงายไร้เหตุผล ถ้าใช่แต่ปัญญาหาเหตุผลเรื่อยไป ก็จะเป็นคนเชื่อยากทำให้ขาดศรัทธา ถ้าความเพียรมากจะทำให้ฟุ้งซ่าน ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิ ถ้าบำเพ็ญแต่สมาธิก็จะเซื่องซึมขาดความเพียร ส่วนสติเป็นธรรมที่ยิ่งเจริญมากยิ่งดี เพราะเป็นธรรมที่ปรารถนาในกิจทั้งปวง


    การปฏิบัติธรรมจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นกับอุปนิสัยของผู้ปฏิบัติ และคุณสมบัติของผู้เป็นอาจารย์เป็นส่วนสำคัญ
    ปธานิยังคะ คือ องค์แห่งความเพียรของผู้ปฏิบัติ 5 ประการ ที่ควรรู้คือ
    1. เป็นผู้ศรัทธาในพระปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    2. เป็นผู้มีโรคภัยน้อย ไฟธาตุอยู่ในระดับปานกลาง เหมาะแก่การทำความเพียร
    3. ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนเองตามเป็นจริงต่อผู้รู้
    4. พยายามทำความเพียรในการละอกุศลธรรมทั้งหลาย และในการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย มีความเข้มแข็ง บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญธรรมที่เป็นกุศล
    5. เป็นผู้มีปัญญา รู้ความเกิดและความดับ รู้ความสิ้นทุกข์

    (อํ. ปัญจกนิบาต 22/74)


    ส่วนองค์คุณของพระวิปัสสนาจารย์ 5 ประการ ได้แก่
    1. เป็นพระภิกษุอยู่ในชั้นเถรภูมิ คือ มีพรรษาตั้งแต่ 10 พรรษาขึ้นไป
    2. ได้เรียนรู้และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ผ่านญาณปัญญามาโดยบริบูรย์แล้ว
    3. มีความรู้ทางปริยัติดีพอสมควร สามารถชี้แนะแบบแผนที่ถูกต้องตามพระพุทธพจน์ได้
    4. มีอินทรีย์สังวร
    5. สามารถเทศนาเรื่องวิปัสสนากรรมฐานให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจได้

    6.2.2 แนวคิดกรรมฐานของท่านมหาสี สะยาดอ

    หลักการพื้นฐานของสติปัฏฐานตามแนวคิดของท่านมหาสี สะยาดอ (พระโสภณมหาเถระ) คือ ผู้ปฏิบัติจะต้องยึดเอาประสบการณ์ของตนเองเป็นหลักตั้งแต่เริ่มปฏิบัติไปทีเดียว ผู้ปฏิบัติควรเรียนรู้ให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่มันเป็น และควรเห็นสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยตนเอง มิใช่เห็นจากการแนะนำชักจูงของผู้อื่น ดังนั้น จึงมีเฉพาะคำแนะนำง่าย ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำและสิ่งที่ห้ามกระทำในระยะเริ่มแรกของการปฏิบัติเท่านั้น

    สติปัฏฐานเป็นกิจกรรมทางจิต มีความสำคัญต่อการสร้างความมั่นใจในตนเอง แต่การมั่นใจตนเองจะต้องค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมา มนุษย์ส่วนมากยังไม่รู้จักวิธีใช้เครื่องมือ คือ จิต และเคยชินต่อการพึ่งพาอาศัยสิ่งอื่น หรือไม่ก็พึ่งพาความเคยชินจนขาดการเอาใจใส่จิตใจตนเอง เครื่องมืออันวิเศษนี้จึงกลายเป็นเครื่องมือที่ไว้ใจไม่ได้ไปเสีย ดังนั้น หนทางไปสู่การเป็นนายตนเอง เริ่มจากงานที่เป็นพื้นฐานที่สุดของจิต คือ การใส่ใจนั่นเอง (พระญาณโปนิกเถระ 2534 : 90)

    สำหรับสิ่งที่ต้องใส่ใจนั้น ท่านมหาสี สะยาดอ แบ่งอารมณ์กรรมฐานที่ต้องใส่ใจเป็น 2 อย่าง คือ อารมณ์หลัก และอารมณ์รอง

    อารมณ์หลัก คือ การเคลื่อนไหวขึ้น-ลง (พอง-ยุบ) ของหน้าท้อง อันเป็นผลมาจากการหายใจ ความตั้งใจกำหนดมุ่งไปที่ความรู้สึกแผ่วเบาจากแรงกดดันอันเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวนั้น ควรเข้าใจว่าวิธีนี้ไม่ใช่การคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง แต่เป็นการกำหนดที่กระบวนการทางกายที่เกิดขึ้น โดยรู้ถึงการขึ้นและลง (พองและยุบ) อย่างสม่ำเสมอทุกขั้นตอน รักษาความรู้นั้นไว้โดยมิให้ขาดตอนและไม่ตึงเครียดเกินไป และถึงแม้การหายใจจะเป็นต้นเหตุของการเคลื่อนไหวที่หน้าท้อง แต่ไม่ถือว่าเป็นการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก (อานาปานสติ) เพราะอารมณ์ที่สติกำหนดมิได้กำหนดลมหายใจ แต่กำหนดที่อาการพองและยุบของหน้าท้องอันเกิดจากแรงกดดันขณะหายใจเท่านั้น (พระญาณโปนิกะเถระ 2534 : 109)

    อารมณ์รอง เมื่อใดก็ตาม ถ้าความรู้ในการเคลื่อนไหวของหน้าท้องหยุดหายไปหรือไม่ชัดเจน ควรเปลี่ยนความสนใจไปอยู่ที่การสัมผัสและการนั่ง

    ความรู้ในการสัมผัสและการนั่งนี้เป็นความรู้สำรองจากความรู้ในการเคลื่อนไหวหน้าท้อง และถือเป็นอารมณ์ขั้นรองอย่างหนึ่งของการปฏิบัติ มุ่งความสนใจไปยังจุดต่าง ๆ ที่รู้สึกสัมผัสต่อเนื่องกันไปตามลำดับ ความรู้สึกสัมผัสในท่านั่ง เช่น ความรู้สึกที่ก้น เข่า ขา ไหล่ ฯลฯ โดยจบลงที่ความรู้ในท่านั่ง ควรกำหนดความรู้สึกทีละส่วนโดยใช้ความยาวของอักษร 2 พยางค์ เช่น ถูกหนอ (เข่าสัมผัส) ถูกหนอ (ขาสัมผัส) นั่งหนอ (รู้ในรูปนั่ง) ในที่นี้ต้องเข้าใจว่าอารมณ์ของสติปัฎฐาน คือ ความรู้ (สึก) ที่เกิดขึ้นจริงตามลำดับ ไม่ใช่สถานที่ที่ถูกกระทบ และไม่ใช่ที่คำว่า ถูกหนอ นั่งหนอ ฯลฯ

    ขณะกำหนดความรู้อารมณ์สำรอง เช่น ถูกหนอ นั่งหนอ เมื่อรู้สึกตัวว่าการเคลื่อนไหวของหน้าท้องสามารถกลับมารู้สึกได้ชัดเจนอีก ก็ควรกลับมากำหนดที่หน้าท้องเป็นอารมณ์หลักต่อไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้


    หากเกิดความรู้สึกไม่สบายจากการนั่งนาน ๆ เช่น ปวดขา ชา เมื่อย และความไม่สบายดังกล่าวรบกวนการปฏิบัติ ก็ควรเปลี่ยนอิริยาบถ (กำหนดที่ความตั้งใจและการเปลี่ยนท่า) อาจเป็นการเดินไปและกลับอย่างมีสติ (จงกรม) โดยกำหนดรู้ในอาการก้าวของแต่ละก้าว 2 หรือ 3 จังหวะ เช่น ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ เป็นต้น นอกจากนี้ความคิดฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้น การพลาดจากการกำหนดย่างก้าว (ขณะเดินจงกรม) หรือการเผลอสติในการกำหนดระยะต่าง ๆ รวมทั้งการพลาดจากการกำหนดการเคลื่อนไหวหน้าท้อง ความเผลอสติที่เกิดขึ้นเหล่านี้ควรนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดด้วย โดยตั้งความมุ่งหมายไว้ให้สามารถกำหนดความขาดตอนดังกล่าวได้โดยทันที แล้วกลับมากำหนดอารมณ์เดิมโดยเร็วที่สุด วิธีนี้ถือได้ว่าเป็นการวัดความเจริญงอกงามของความรู้สึกตัว เพิ่มขีดความสามารถในการรู้สึกตัวได้ทันท่วงทีที่สติขาดไป และช่วยเพิ่มพลังให้กับการควบคุมตนเอง การตรวจสอบ และการระงับกิเลสได้ในทันทีที่เกิดขึ้นเช่นกัน

    สำหรับเจตนารมณ์ในการแนะนำของท่านวิปัสสนาจารย์นั้น ผู้ปฏิบัติธรรมในพม่าท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า

    การปฏิบัติแบบนี้มิได้ประดิษฐขึ้นโดยท่านวิปัสสนาจารย์ (อู โสภณมหาเถระ) ไม่ใช่ท่านคิดขึ้นเองโดยพลการหรือด้วยความจงใจ แต่เนื่องจากกระบวนการทางกายที่ว่านี้ไม่หลุดรอดไปจากการกำหนดของท่านนั่นเอง เมื่อท่านพบว่าการกำหนดพองยุบของท้องเป็นประโยชน์ จึงพัฒนาวิธีการดังกล่าวขึ้นมาแนะนำแก่ผู้อื่นด้วย ไม่ใช่สิ่งที่มีความลึกลับมหัศจรรย์อันใด


    การปฏิบัติแบบนี้มีประโยชน์เด่นชัดหลายประการ กล่าวคือ
    1. การเคลื่อนไหวของหน้าท้องเป็นกระบวนการอัตโนมัติ และเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องจงใจทำให้เกิดขึ้น มีโอกาสสังเกตได้ง่ายตลอดเวลา
    2. เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหว จึงเปิดโอกาสให้พิจารณาได้หลายอย่าง เช่น การเกิดขึ้นและดับไปตลอดเวลา ความเกิดและความตาย เช่นเดียวกับการมีสติกำหนดลมหายใจ
    3. การเคลื่อนไหวหน้าท้องเป็นการกระทบที่ค่อนข้างหยาบ ง่ายต่อการกำหนดเพื่อนำไปสู่วิปัสสนา

    คุณประโยชน์ 3 ประการนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่า การพิจารณาการเคลื่อนไหวของหน้าท้องเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.abhidhamonline.org/thesis/thesis6/thesis63.htm

    6.3 การอธิบายวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    ดังได้กล่าวแล้วว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คือ การเจริญสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งการกระทำที่เป็นปัจจัยให้เกิดการเห็นแจ้ง การเห็นพิเศษ และการเห็นโดยอาการต่าง ๆ มีความไม่เที่ยง* เป็นต้น ภูมิธรรมที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนามี 6 อย่างคือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจจ์ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12 ซึ่งทั้งหมดย่อลงเหลือรูปนาม



    <CENTER><TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#006600 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="61%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    * รูปาทิอารมฺมเณสุ ปญฺญตฺติยา จ นิจฺจสุขอตฺตสุภสญญาย จ วิเสเสน นามรูป ภาเวน วา อนิจฺจาทีอากาเรน วา ปสฺสตีติ วิปสฺสนา, วิเสเสน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา, ปญฺจกฺขนฺเธสุ วิวิเธน อนิจฺจาทิอากาเรน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา
    (พระธรรมธีรราชมหามุนี, วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2, กรุงเทพ ฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2532 หน้า 314-315).

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


    การกำหนดรู้ตามอาการนั้น ผู้ปฏิบัติใหม่จำเป็นต้องใช้คำภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสื่อให้เกิดความตั้งมั่น (ขณิกสมาธิ) คำภาวนาต่าง ๆ ไม่ควรจะยาวหรือสั้นเกินไป จำนวนพยางค์ที่เหมาะสมสำหรรับการกำหนด คือ การใช้อักษรเพียง 2 พยางค์ ซึ่งช่วงระยะของการกำหนดพอดีกับที่อาการสิ้นสุดลง พร้อมที่อาการใหม่จะปรากฏขึ้นให้กำหนดครั้งใหม่อีก

    จากอุบายนี้อาจารย์ ภัททัน อาสภเถระ เขียนไว้ในหนังสือวิปัสสนาทีปนีฎีกาถึงเหตุที่เลือกคำว่า หนอ ต่อท้าย ผสมเข้ามาในการกำหนดภาวนาขณะเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เช่น พองหนอ ยุบหนอ เพราะคำว่า
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2007
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.abhidhamonline.org/thesis/thesis6/thesis631.htm

    6.3.5 การส่งอารมณ์


    เมื่อผู้ปฏิบัติได้ฝึกเดินจงกรมระยะที่หนึ่ง ได้นั่งสมาธิตามที่กำหนดไว้ และได้เจริญสติให้ทันอารมณ์ปัจจุบัน ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถหลังจากนั่งสมาธิแล้ว ครูผู้ฝึกจะเป็นผู้ติดตามผลที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ ให้ผู้ปฏิบัติเล่าถึงผลการปฏิบัติที่ทำไปแล้วให้กันและกันฟัง เมื่อครูผู้ฝึกได้ทราบแล้วจะได้ชี้สิ่งที่ควรแก้ไข หรือสั่งที่ควรจะทำต่อไป



    วิธีรายงานอารมณ์ (โดยย่อ)

    เพื่อเป็นการทดสอบผลของผู้ปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนจะสอบอารมณ์ในประเด็นต่อไปนี้
    - สามารถกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบถย่อยทั้งวันที่ผ่านมาได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่
    - จับสภาวะอาการ พอง-ยุบ อาการเดินได้หรือไม่
    - รักษาทวารทางตาได้หรือไม่
    - กำหนดสภาวะทางจิตและความนึกคิดได้หรือไม่
    - กำหนดเวทนาได้อย่างไร
    - กำหนดอาการทางทวารทั้ง 6 ได้ทันหรือไม่ และได้ประสบการณ์อะไรจากการกำหนด
    - ให้รายงานประสบการณ์ตามความเป็นจริง ไม่ใช่คิดเดาขึ้น รายงานอารมณ์เท่าที่จำได้และปรากฎชัด พระอาจารย์จะได้ช่วยเหลือได้ตรงจุด
    - การส่งอารมณ์ควรพูดเฉพาะเนื้อหาสาระประเด็นสำคัญ ๆ เท่านั้น เพื่อจะได้มีเวลาชี้แนะข้อควรปฏิบัติขั้นต่อไป

    ในเทปบันทึก*เทศน์ลำดับญาณ ของ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) กล่าวถึง การสอบอารมณ์ระหว่างพระอาจารย์ กับผู้ปฏิบัติไว้ดังนี้


    พระอาจารย์
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.abhidhamonline.org/thesis/thesis6/thesis631.htm

    การที่ผู้ปฏิบัติกล่าวว่า ตนได้เห็นพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสาวกสถิตมั่นอยู่ในอายตนะนิพพาน หรือที่กล่าวว่าตนได้เห็น กายหยาบ กายละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายพระอริยบุคคล มีพระอรหันต์เป็นต้นก็ดี จึงเป็นเพียงนิมิตที่เกิดจากสมาธิ ด้วยการนึกไปโน้มไป เป็นเพียงอารมณ์ของสมถะ มิใช่อารมณ์ของวิปัสสนา


    เพราะในวิปัสสนาญาณตั้งแต่อุทยัพพยญาณอย่างแก่ จนถึงปัจจเวกขณญาณไม่มีนิมิต มีแต่รูป-นามล้วน ๆ เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ มิใช่อารมณ์บัญญัติ จึงเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึงข้อแตกต่างระหว่างอารมณ์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ในสมถกรรมฐานมีบัญญัติเป็นอารมณ์ ในวิปัสสนากรรมฐานมีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เรื่องของนิมิตเป็นเพียงผลระดับขั้นพื้นฐานของการเจริญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุปกิเลสที่เกิดขึ้น หากไม่มนสิการให้ดีจะเกิดการชื่นชมหลงใหลหลงทาง เข้าใจว่าถึงเป้าหมายแล้ว แต่แท้ที่จริงยังห่างไกลนัก (พระมหาอุเทน (ปธ.9) วัดชนะสงคราม
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TURObWIzSXdNVEE1TVRJMU1BPT0=&sectionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBd055MHhNaTB3T1E9PQ==


    www.khaosod.co.th

    วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6219 ข่าวสดรายวัน


    จีนห้ามขาย"พริงเกิลส์"ก่อมะเร็ง



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อ 8 ธ.ค. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สำนักงานตรวจสอบคุณภาพอาหารของจีน มีคำสั่งห้ามนำเข้ามันฝรั่งยี่ห้อดัง "พริงเกิลส์" รสบาร์บีคิว ซึ่งผลิตโดยบริษัทพร็อกเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (พีแอนด์จี) สหรัฐอเมริกา หลังจากพบว่า ผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนผสมของสารปรุงแต่งรสชาติ "โพแทสเซียมโบรเมต" ผสมอยู่ด้วย ซึ่งถ้าบริโภคเข้าไปในปริมาณมากๆ อย่างต่อเนื่องยาวนาน อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

    รายงานระบุว่า สำนักงานตรวจสอบคุณภาพอาหารของจีนเพิ่งตีพิมพ์รายชื่อของสินค้าหมวดบริโภคและเครื่องสำอางจากต่างประเทศที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยในระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2550 โดยพบว่า มีชื่อของมันฝรั่งพริงเกิลส์ รสบาร์บีคิวรวมอยู่ด้วย และถูกทางการยึดเอาไว้ 95 กิโลกรัม

    อย่างไรก็ตาม นายชาร์ลส์ จาง ประชาสัมพันธ์พีแอนด์จี สาขาจีน ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้มันฝรั่งพริงเกิลส์ที่จำหน่ายในจีนทั้งหมดผลิตจากโรงงานเมืองฟุเจี้ยนเท่านั้น และปฏิบัติตามกฎระเบียบห้ามผสมสารโพแทสเซียมโบรเมตของทาง การจีนมาโดยตลอด มันฝรั่งที่ถูกยึดมีบริษัทอื่นๆ นำเข้ามาจำหน่ายเองไม่เกี่ยวข้องกับพีแอนด์จี

    จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทที่นำพริงเกิลส์จากต่างประเทศเข้ามาขายในจีน คือ บริษัทขายสินค้าปลอดภาษีซูไห่ ซึ่งหลังจากเกิดเรื่องได้สั่งเก็บมันฝรั่งพริงเกิลส์ที่มีปัญหาออกจากตลาดหมดแล้ว รวมทั้งตลาดในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

    ทั้งนี้ หน่วยงานดูแลความปลอดภัยด้านอาหารของจีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพยุโรป (อียู) ต่างออกกฎห้ามผสมสารโพแทสเซียมโบรเมตในอาหารเด็ดขาด เพราะถือเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ในสหรัฐอเมริกาสามารถผสมลงในอาหารได้ภายใต้ปริมาณที่ทางการกำหนด สาเหตุที่จีนเข้มงวดกับการตรวจสอบคุณภาพสินค้าอย่างสูง เพราะช่วงกลางปีที่ผ่านมา สินค้าจีนถูกหลายประเทศตรวจสอบละเอียดยิบเพราะหลายชนิดผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาทิ ของเล่น ยา และเครื่องสำอาง
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://matichon.co.th/prachachat/pr...g=02fin03061250&day=2007-12-06&sectionid=0206


    วันที่ 06 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3955 (3155)​

    หลายเหตุผล หนุนตรึงและรอขึ้นดอกเบี้ย

    มาถึงรอบสุดท้ายแล้ว สำหรับ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ธ.ค. หากสรุปรวมการประชุมตลอดปี 2550 ที่ผ่านมา จะเห็นว่า กนง.มีการประกาศลด ดอกเบี้ยไปทั้งสิ้น 1.75% จาก 5.00% เหลือ 3.25% โดยเป็นการลดติดต่อกันในการประชุม 5 ครั้งแรกของปี

    อย่างไรก็ตาม ในการประชุม 2 ครั้งล่าสุด ที่ กนง.ได้คงดอกเบี้ยติดต่อกัน เริ่มเป็นสัญญาณค่อนข้างชัดว่าดอกเบี้ยจะสิ้นสุดขาลง ทั้งดอกเบี้ยนโยบายและดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ แม้จะมีข้อถกเถียงจากบางฝ่าย ค่อนข้างมากว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว กนง.น่าจะต้องลดดอกเบี้ยลงอีก แม้จะเกิดภาวะเงินเฟ้อตามราคาน้ำมันในตลาดโลก

    แต่หากพิจารณาเหตุผลสนับสนุนความเป็นไปได้ที่ดอกเบี้ยจะถูกตรึงไว้และมีการขยับขึ้นนั้นค่อนข้างจะมีน้ำหนักกว่าการลด

    เศรษฐกิจมีสัญญาณเป็นบวก

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เป็นอีกสำนักหนึ่งที่ให้มุมมองว่า ในการประชุมรอบสุดท้ายของปีนี้ กนง.จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 3.25% ด้วยหลายเหตุผลสนับสนุน อย่างแรก คือ สภาพเศรษฐกิจที่เป็นบวกมากขึ้น แม้ราคาน้ำมัน จะสูงขึ้นแต่เครื่องชี้ภาวะการใช้จ่ายในประเทศ ก็มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น หลังจากที่ปัญหาการเมืองมีความชัดเจน โดยเครื่องชี้การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นด้วยเช่นกัน (ดูกราฟ) ขณะการส่งออกเดือน ต.ค. ก็เติบโตถึง 27.9% ซึ่งความเสี่ยงที่น้อยลงนี้ กนง.อาจมีความจำเป็นน้อยลงที่จะผ่อนคลายนโยบายดอกเบี้ย

    นอกจากนี้ เงินเฟ้อก็กำลังขยับขึ้นอย่าง ต่อเนื่องตามราคาน้ำมัน และราคาสินค้าบริการบางรายการทยอยปรับขึ้น เช่น ค่าโดยสารสาธารณะ ก๊าซหุงต้ม ทำให้คาดว่า กนง.น่าจะให้น้ำหนักกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมากขึ้น แม้เงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ในกรอบ 0-3.5% แต่เงินเฟ้อทั่วไปขยับขึ้นเป็น 3.0%

    ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปีเทียบกับเฉลี่ย 10 เดือนแรกที่ 2.1% ในส่วนผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลก็ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา จากทั้งหมดนี้ทำให้คาดหมายได้ว่าดอกเบี้ยที่ 3.25% จะเป็นระดับต่ำสุดของวัฏจักรดอกเบี้ยขาลง

    สำหรับแนวโน้มในอนาคต ศูนย์วิจัย กสิกรไทยประเมินว่า ไม่ว่าราคาน้ำมันตลาดโลกจะปรับตัวลดลงหรือทรงตัวที่ระดับใกล้เคียงกับปัจจุบัน หรืออาจปรับตัวสูงขึ้นไปอีก เศรษฐกิจไทยก็คงจะต้องเผชิญกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในปี 2551 อย่างไรก็ตาม แม้ กนง.จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ แต่คงจะเกิดขึ้นตั้งแต่ครึ่งปีหลังเป็นต้นไป แม้ครึ่งแรกคาดว่าเงินเฟ้อจะสูง เนื่องจากเทียบกับฐานที่ต่ำ แต่ กนง.ก็คงรอดูรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไปอีกระยะหนึ่งก่อน

    สภาพคล่องในระบบเริ่มตึงตัว

    ประเด็นต่อมาที่คงจะทำให้ กนง.ลำบากใจมากขึ้นที่จะลดดอกเบี้ย นั่นคือ สภาพคล่องในระบบที่ลดลง นายภากร ปีตธวัชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้ดอกเบี้ยในตลาดเงินเริ่มปรับตัวขึ้นตามการคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโยบายจะขยับขึ้น ซึ่งจากสภาพตลาด กนง.น่าจะคง ดอกเบี้ยและปรับขึ้นในไตรมาสที่ 3/2550 เป็นต้นไป ซึ่งจะเข้าใกล้ดอกเบี้ยของสหรัฐ ที่น่าจะลดลงต่อเนื่องไปอยู่ที่ 3.50% จากปัจจุบัน 4.50%

    "ปัจจัยที่น่าจะมีผลต่อดอกเบี้ยในประเทศอีกประการหนึ่ง คือ ผลกระทบจากวิกฤตซับไพรมในสหรัฐ ที่ทำให้ดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร (interbank) ในต่างประเทศตึงตัวมากขึ้น เห็นจากแบงก์แม้จะเครดิตดีแต่พอออก commercial paper ต้องกู้กันที่ดอกเบี้ย libor บวก 0.20-0.30% เมื่อให้ผลตอบแทนดี นักลงทุนไทยก็เอาเงินออกไปลงทุนมากขึ้น สอดคล้องกับช่วงที่แบงก์ชาติเปิดให้ไปลงทุนได้มากขึ้น ซึ่งตรงนี้เป็นผลกระทบทางอ้อมจาก ซับไพรม ซึ่งถ้าวิกฤตไม่จบลงง่ายๆ ก็ยากที่ดอกเบี้ยในตลาดเงินจะลง"

    จับตาแย่งเงินฝากดึงดอกเบี้ยขึ้น

    นายภากรกล่าวว่า ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์เองก็จะขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ ดอกเบี้ยนโยบาย สภาพคล่องในตลาดเงินที่ขณะดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำได้มีการย้ายเงินออกไปลงทุนทั้งในประกันชีวิต กองทุนรวม และกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ และประการสุดท้าย คือ การแข่งขันเพื่อขยายฐานเงินฝากของแต่ละธนาคาร เพราะขณะนี้แต่ละธนาคารมีสภาพคล่องต่างกันอยู่ และเริ่มสังเกตเห็นว่าได้มีการขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวเพื่อดึงฐานลูกค้าของบางธนาคาร

    นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์จะเป็นไปในทิศทางเดียวกับดอกเบี้ยนโยบาย แต่ก็ต้องดูคู่แข่งด้วยเพราะขณะนี้พบว่ามีการขยับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากขึ้น ซึ่งถ้าแห่งไหนขึ้นแล้ว แห่งอื่นๆ ก็ต้องขึ้นตามกัน นอกจากนี้ ทิศทางของการดึงเงินฝากจะมีมากขึ้นตามแผนการบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก เพราะจะทำให้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งแตกต่างกันมากขึ้น

    นายวิรไท สันติประภพ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ผลจากสถาบันประกันเงินฝากอาจไม่กระทบต่อดอกเบี้ยในระยะสั้น แต่ภายใน 2-3 ปีนี้ จะได้เห็นความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากกว่าปัจจุบันนี้มาก ซึ่งจะส่งผลต่อดอกเบี้ยเงินกู้เช่นกัน ดังนั้นผู้กู้เงินต้องมีการวางแผนกู้เงินโดยคำนึงถึงปัจจัยนี้ด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...