เล่าประสบการณ์ตรง และเทคนิควิธีการฝึกกสิณแสงสว่าง (จนถึงฌานสี่)

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ณฐมณฑ์, 12 ตุลาคม 2004.

  1. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,881
    ควรทำอย่างไรเมื่ออยากฝึกกรรมฐานแต่กลัวผี

    เรื่องกลัวผีนี้ จะห้ามไม่ให้กลัวคงยากนะคะ
    ดิฉันขอเสนอวิธีคิด วิธีทำความเข้าใจดังนี้ค่ะ

    1.อันที่จริง ผีไม่ได้มาให้คนเห็นง่ายๆ เพราะต้องtuneคลื่นพลังงานได้ตรงกัน จึงจะเห็นได้ค่ะ
    และส่วนใหญ่ที่มาให้เห็นนั้น เขามาขอส่วนบุญ ก็อธิษฐานอุทิศกุศลให้เขา เขาจะหายไป

    หรือก่อนเข้ากรรมฐานก็แผ่เมตตาก่อนก็จะเป็นการดีมากค่ะ จะช่วยให้รู้สึกปลอดภัยขึ้น
    นอกจากนี้ การแผ่เมตตายังเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งด้วย
    และขอพระพุทธบารมีคุ้มครองขณะปฏิบัติกรรมฐานนะคะ

    2.ถ้ายังกลัวอยู่ ควรคิดอย่างนี้นะคะ
    คิดว่าก่อนเราเกิด เราก็เคยเป็นผี เมื่อเราตาย เราก็จะเป็นผีอีก
    เขาก็เหมือนเรา หากต่างกันเพียงวาระเท่านั้น

    3.มีพระเคยกล่าวว่า...
    ระดับจิตที่เป็นสมาธิตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป วิญญาณร้ายเข้าใกล้ไม่ได้ค่ะ

    4.ความมีศีลจะทำให้ใจเราไม่หวั่นไหวง่าย
    การถือศีลครบถ้วนอย่างต่อเนื่องจะมีความมั่นคงทางอารมณ์สูงค่ะ
    ภาษาพูดก็ประมาณว่า..."ใจปึ้ก" ใจของผู้ที่ไม่ทำร้ายใครจะเป็นอย่างนั้นโดยธรรมชาติ
    อีกทั้งผู้มีศีลจะเชื่อลึกๆ ได้เสมอว่า...
    มีพระพุทธคุณคุ้มครองตน, มีความถูกต้องดีงามคุ้มครองตน...
     
  2. Des

    Des เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,264
    ค่าพลัง:
    +303
    thank you พี่นางฟ้าณฐฯ ที่มาสอนน่ะอีก อีกทั้งแนะวิธีทำให้ไม่กลัวผี ... กำลังต้องการพอดีเลยเชียว
     
  3. NanoProbe (นาโนโพรบ)

    NanoProbe (นาโนโพรบ) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +261
    ขอรบกวนถามว่า ถ้าได้แค่ขณิกสมาธิ จะให้ป้องกันตัวอย่างไรครับ เพราะผมก็เป็นคนกลัวผี เหมือนกัน
    เท่าที่ผ่านมาก่อนเดินทางไปนอนต่างถิ่น จะใช้วิธึ ไปทำบุญให้เจ้าที่ เจ้าทางของสถานที่ที่จะไปก่อน ขอให้เขาช่วยป้องกันภัยและขอขมา ล่วงหน้า ถ้าจะทำอะไรไม่ดี
    ขอบคุณครับ
     
  4. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,881
    ดีใจค่ะน้องเดย์อนุบาลหมีน้อยที่ข้อเขียนของพี่ณฐมณฑ์จะมีประโยชน์กับน้องเดย์ด้วย
     
  5. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,881
    ควรทำดังนี้ค่ะ

    1.แผ่เมตตาทุกวันเป็นปกติ
    2.ถือศีลครบถ้วนเป็นปกติ
    3.ขอพุทธคุณคุ้มครองเมื่อทำกรรมฐาน หรือเมื่อเดินทางค้างแรมในต่างถิ่น

    นั่นคือปฏิบัติตามวิธีที่ดิฉันเขียนในข้อความดังกล่าวนั่นแหละค่ะ ยกเว้นข้อ 3 ที่ดิฉันเขียนไว้ หากเป็นกรณีที่ท่านยังปฏิบัติไม่ถึงฌานนะคะ
    นอกจากนี้ วิธีที่ท่านเล่ามาก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ดี และให้ความสบายใจค่ะ
     
  6. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,881
    ผู้ที่ฝึกสมถกรรมฐานนานแล้วแต่ยังไม่ฌาน อ่านทางนี้นะคะ

    สาเหตุที่ทำให้สมาธิไม่ถึงระดับฌาน เท่าที่พบจากประสบการณ์ของตน และจากคนที่รู้จักกันนะคะ
    พบว่ามีสาเหตุดังต่อไปนี้

    1.วางนิวรณ์(ชั่วคราว)ไม่ได้
    2.วางระดับอารมณ์ในการเริ่มเข้ากรรมฐานไม่ถูกจุด
    3.อยากได้ฌาน

    บังเอิญวันนี้หมดแรง ดังนั้นจะขอเข้ามาขยายความ อธิบายราบละเอียดอีกทีในเร็วๆ นี้นะคะ
     
  7. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,881
    สาเหตุที่ทำให้ฝึกสมาธิมานาน แต่ยังไม่ถึงระดับฌาน (ต่อ)

    สาเหตุที่ทำให้ผู้ฝึกสมาธิ ปฏิบัติแล้วไม่ถึงระดับฌาน (อัปปนาสมาธิ)

    1.วางนิวรณ์(ชั่วคราว)ไม่ได้

    1.1 โดยมากการวางนิวรณ์ชั่วคราวยาก เกิดจากความบกพร่องในศีลเป็นสาเหตุ
    เพราะการผิดศีลจะทำให้มีความฟุ้งมากวนใจมาก และใจลึกๆ จะไม่ผ่อนคลายด้วยค่ะ
    การมีศีลจะทำให้ผู้รักษาศีลมีความนับถือตนเองได้ดี
    และการศรัทธาตนเองในเรื่องศีลนี้ก็จะเป็นกำลังแก่จิตในเบื้องลึกด้วย

    1.2 การสมาคมกับคนไม่ดีก็จะทำให้สงบใจได้ยากด้วยค่ะ
    เพราะความไม่ดีของเขาจะมาวุ่นวายกับเรา
    พระพุทธองค์ทรงสอนให้เลือกคบคน ข้อนี้ทุกท่านคงทราบ

    1.3 การสนใจจริยาผู้อื่นก็เป็นภัยต่อความสงบใจอีกประการหนึ่ง ข้อนี้เป็นข้อที่หลวงพ่อเตือนมาก
    (และข้อนี้ดิฉันยังต้องเตือนตนเองอยู่จนทุกวันนี้ค่ะ แม้จะไม่ชอบยุ่งเรื่องของใครก็ตาม)
    เพราะจะมีสิ่งมากระทบกระทั่งใจได้ง่าย
    บางทีไปสนใจจึงเห็นคนทำไม่ดี เช่น เห็นเขาโกหก เราก็รำคาญใจเขา ซึ่งก็ไม่เป็นผลดีต่อใจเราเลย

    1.4 ดิฉันว่านิวรณ์ข้ออื่นก็วาง(ชั่วคราว)ไม่ยากนะคะ ความฟุ้งนี้ดูจะเป็นปัญหามากที่สุด
    ทางที่ดี ท่านสังเกตุอารมณ์ใจตนนะคะ ว่าอยู่ในที่แบบใด ในหมู่ชนแบบใดแล้วสงบใจง่าย กระทำแบบใดแล้วสงบใจง่าย เนื่องจากข้อนิวรณ์ของแต่ละท่านมากน้อยต่างกันไปค่ะ


    2.วางระดับอารมณ์ในการเริ่มเข้ากรรมฐานไม่ถูกจุด
    ตรงนี้สำคัญมากนะคะ ถ้าวางระดับอารมณ์กรรมฐานไม่ถูกในตอนเริ่ม ก็จะไม่สามารถเป็นฌานได้

    วางอารมณ์ไว้ระดับนี้นะคะ....
    "วางอารมณ์ไว้ที่จุดกึ่งกลางระหว่างความตั้งใจกับการพักผ่อน"
    ตรงนี้จะเป็นอารมณ์เบา อารมณ์สบายที่วางสู่อุเบกขารมย์ได้ง่ายค่ะ


    3.อยากได้ฌาน
    ข้อนี้แก้ไขได้ด้วยการอยู่กับปัจจุบัน คิดว่าเราปฏิบัติไปด้วยหน้าที่ของผู้ใฝ่ในความดี
    ผลจะเป็นอย่างไรก็ไม่เร่งผล (เพราะอันที่จริงก็เร่งไม่ได้อยู่ดี)

    ขอเล่าประสบการณ์นะคะ
    เมื่อเร็วๆ นี้ดิฉันเคยลองฝึกเข้ากสิณในบริเวณที่มีคนคุยกันเบาๆ เพื่อฝึกให้คล่องขึ้นในสถานการณ์หลากหลายขึ้น
    2 ครั้งแรกในสถานการณ์ดังกล่าว ดิฉันทรงอุคหนิมิตรได้ แต่ปฏิภาคนิมิตรไม่เกิด
    ดิฉันงงตนเองว่าทำไมทำไม่ได้
    ทีนี้เลยคิดว่า..."ได้ก็ช่าง ไม่ได้ก็ช่าง ขอแค่โอกาสได้ลองมาฝึกในท่ามกลางเสียงเล็กน้อยดูบ้าง" เมื่อคิดเช่นนี้ คือละความอยากลึกๆ ที่ไม่รู้ตัว ก็ได้ปฏิภาคนิมิตรของกสิณอย่างรวดเร็วค่ะ

    ลองทบทวนดูนะคะ ว่ามีข้อบกพร่องในการฝึกอัปปนาสมาธิตรงกับ 3 ข้อดังกล่าวหรือเปล่า
    เพื่อที่จะแก้ได้ตรงจุดค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2005
  8. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,881
    กสิณแบบจับภาพพระ

    กสิณแบบจับภาพพระเป็นกรรมฐานที่ผนวกพุทธานุสติหรือสังฆานุสติด้วยค่ะ
    ผลของกสิณแบบจับภาพพระนี้ สามารถอธิษฐานผลได้หลากหลาย
    กล่าวคือ สามารถอธิษฐานได้ทั้งการกำหนดจิตถามพระพุทธบารมีแบบฝึกทิพจักขุญาณ
    และสามารถอธิษฐานฤทธิ์แบบในกสิณทุกกองได้
    แต่ผลจะมีเมื่อกำลังจิตจากฌานของผู้ปฏิบัติถึงระดับเฉียบคม-โฟกัสพลังงานจิตได้แบบอภิญญา
    หรืออภิญญาเดิมกลับมาค่ะ

    วิธีการฝึกจับภาพพระ
    1.วางนิวรณ์ไว้ชั่วคราวก่อน อย่าให้นิวรณ์มาสถิตย์ในใจเราในขณะนั้น
    (จะต่อรองกับตนเองก็ได้ว่าเอาไว้คิดทีหลังตอนออกจากกรรมฐานแล้วก็ได้ค่ะ)

    2.มองพระพุทธรูป หรือเหรียญพระสงฆ์ก็ได้ที่ชอบเป็นพิเศษ ศรัทธาเป็นพิเศษบ่อยๆ
    โดยมองด้วยใจสบาย และผ่อนคลาย
    (ไม่จำกัดสีหรือรุ่นของพระที่นำมามองค่ะ)

    3.มองจนมีสัญญาส่วนหนึ่งติดมา คือจำภาพได้ หลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็น

    3.1 หลับตาเห็นภาพพระ คือเห็นที่ใจคล้ายเห็นภาพฝันค่ะ
    เทียบแล้วจะคล้ายเห็นด้วยหางตาน่ะค่ะ
    3.2 ลืมตาเห็นภาพพระ หมายถึง เห็นเป็นมโนภาพที่ใจ อันนี้เป็นการทรงภาพไว้ในศีรษะหรือในอก
    3.3 ลืมตาเห็นภาพพระอีกแบบ คือการทรงภาพไว้นอกกาย
    แบบนี้จะเห็นกึ่งตาเนื้อเห็นว่ามีภาพพระลอยอยู่ในอากาศ
    จะเห็นจางๆ นะคะ เป็นการเห็นด้วยใจกึ่งตาเห็นค่ะ

    4.การเห็นได้ตามข้อ 2 เท่ากับได้อุคหนิมิตรแล้ว

    5.ทรงภาพต่อไปด้วยอารมณ์สบาย
    แล้วปล่อยวางความคิด ปล่อยวางอารมณ์ ปล่อยวางทุกอย่าง
    มองภาพพระไว้เฉยๆ ระวังว่าอารมณ์ต้องไม่ตึง ไม่หย่อนจนเกินไป
    (คืออารมณ์ใจที่ดิฉันเคยใช้คำว่า"วางอารมณ์ไว้ที่กึ่งกลางระหว่างความตั้งใจและการพักผ่อน"
    อารมณ์ใจจะค่อยๆ นิ่ง ดิ่งละเอียดขึ้นเป็นอุเบกขารมณ์เองค่ะ

    ตรงนี้ภาพพระจะค่อยๆ ใสขึ้น จนใสเกิดประกายพรึกในภาพพระ (ปฏิภาคนิมิตร)
    ช่วงนี้เป็นฌาน จนถึงฌานสี่ค่ะ

    6.เมื่อถึงฌานสี่ จะถามสิ่งใดต่อพระพุทธบารมีก็ได้
    จะเกิดภาพนิมิตรผุดขึ้นมาแทนภาพพระค่ะ
    ถ้าจะให้ดี เข้ากสิณจับภาพพระจนเป็นประกายพรึก 2 รอบ จะตัดอุปาทานได้มาก
    แล้วค่อยกำหนดจิตถามพระพุทธบารมีก็จะดีกว่านะคะ

    หรือเมื่อได้ฌานสี่แล้ว จะฝึกอธิษฐานฤทธิ์ ก็ฝึกได้เลยค่ะ
    แต่จะได้ผลเมื่อไรก็ต้องปล่อยให้อภิญญากลับมารวมตัวเองน่ะค่ะ เร่งไม่ได้ ผู้ปฏิบัติทำได้แต่ว่าฝึกไปเรื่อยๆ ให้ฌานคล่องนะคะ

    สรุปว่า การฝึกกสิณแบบนี้ เหมือนการฝึกกสิณทั้งสิบกองทุกอย่าง แต่เปลี่ยนมาจับภาพพระแทน
    และการฝึกกสิณแบบนี้ สามารถอธิษฐานฤทธิ์แทนการไล่หน้ากสิณทั่วไปมาฝึกทีละกองได้ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2005
  9. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,881
    ข้อความในครั้งต่อไปจะเขียนเรื่อง...

    1.อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกกสิณแบบลืมตา
    2.คาถาที่ช่วยเพิ่มความชัดเจนในทิพจักขุญาณ
    3.ประสบการณ์ฝึกกสิณกองถัดๆ ไปจากกสิณกองแรก"แบบทางลัด"
     
  10. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    เชิญโพสกระทู้ที่กู้ได้ครับ
     
  11. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    ก่อนอื่นขอบกราบขอบคุณมาก กระทู้นี้มีประโยชน์มากครับ
    ฌานสี่มีความรู้สึกอย่างไรครับ อะไรจะทำให้รู้ว่านี่คือฌานสี่ ผมอ่านมาเยอะงงครับ
    ขออนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2005
  12. Candle

    Candle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2004
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +909
    กสิณแบบจับภาพพระ

    กสิณแบบจับภาพพระ




    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->กสิณแบบจับภาพพระเป็นกรรมฐานที่ผนวกพุทธานุสติหรือสังฆานุสติด้วยค่ะ

    ผลของกสิณแบบจับภาพพระนี้ สามารถอธิษฐานผลได้หลากหลาย
    กล่าวคือ สามารถอธิษฐานได้ทั้งการกำหนดจิตถามพระพุทธบารมีแบบฝึกทิพจักขุญาณ
    และสามารถอธิษฐานฤทธิ์แบบในกสิณทุกกองได้
    แต่ผลจะมีเมื่อกำลังจิตจากฌานของผู้ปฏิบัติถึงระดับเฉียบคม-โฟกัสพลังงานจิตได้แบบอภิญญา
    หรืออภิญญาเดิมกลับมาค่ะ

    วิธีการฝึกจับภาพพระ
    1.วางนิวรณ์ไว้ชั่วคราวก่อน อย่าให้นิวรณ์มาสถิตย์ในใจเราในขณะนั้น
    (จะต่อรองกับตนเองก็ได้ว่าเอาไว้คิดทีหลังตอนออกจากกรรมฐานแล้วก็ได้ค่ะ)

    2.มองพระพุทธรูป หรือเหรียญพระสงฆ์ก็ได้ที่ชอบเป็นพิเศษ ศรัทธาเป็นพิเศษบ่อยๆ
    โดยมองด้วยใจสบาย และผ่อนคลาย
    (ไม่จำกัดสีหรือรุ่นของพระที่นำมามองค่ะ)

    3.มองจนมีสัญญาส่วนหนึ่งติดมา คือจำภาพได้ หลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็น

    3.1 หลับตาเห็นภาพพระ คือเห็นที่ใจคล้ายเห็นภาพฝันค่ะ
    เทียบแล้วจะคล้ายเห็นด้วยหางตาน่ะค่ะ
    3.2 ลืมตาเห็นภาพพระ หมายถึง เห็นเป็นมโนภาพที่ใจ อันนี้เป็นการทรงภาพไว้ในศีรษะหรือในอก
    3.3 ลืมตาเห็นภาพพระอีกแบบ คือการทรงภาพไว้นอกกาย
    แบบนี้จะเห็นกึ่งตาเนื้อเห็นว่ามีภาพพระลอยอยู่ในอากาศ
    จะเห็นจางๆ นะคะ เป็นการเห็นด้วยใจกึ่งตาเห็นค่ะ

    4.การเห็นได้ตามข้อ 2 เท่ากับได้อุคหนิมิตรแล้ว

    5.ทรงภาพต่อไปด้วยอารมณ์สบาย
    แล้วปล่อยวางความคิด ปล่อยวางอารมณ์ ปล่อยวางทุกอย่าง
    มองภาพพระไว้เฉยๆ ระวังว่าอารมณ์ต้องไม่ตึง ไม่หย่อนจนเกินไป
    (คืออารมณ์ใจที่ดิฉันเคยใช้คำว่า"วางอารมณ์ไว้ที่กึ่งกลางระหว่างความตั้งใจและการพักผ่อน"
    อารมณ์ใจจะค่อยๆ นิ่ง ดิ่งละเอียดขึ้นเป็นอุเบกขารมณ์เองค่ะ

    ตรงนี้ภาพพระจะค่อยๆ ใสขึ้น จนใสเกิดประกายพรึกในภาพพระ (ปฏิภาคนิมิตร)
    ช่วงนี้เป็นฌาน จนถึงฌานสี่ค่ะ

    6.เมื่อถึงฌานสี่ จะถามสิ่งใดต่อพระพุทธบารมีก็ได้
    จะเกิดภาพนิมิตรผุดขึ้นมาแทนภาพพระค่ะ
    ถ้าจะให้ดี เข้ากสิณจับภาพพระจนเป็นประกายพรึก 2 รอบ จะตัดอุปาทานได้มาก
    แล้วค่อยกำหนดจิตถามพระพุทธบารมีก็จะดีกว่านะคะ

    หรือเมื่อได้ฌานสี่แล้ว จะฝึกอธิษฐานฤทธิ์ ก็ฝึกได้เลยค่ะ
    แต่จะได้ผลเมื่อไรก็ต้องปล่อยให้อภิญญากลับมารวมตัวเองน่ะค่ะ เร่งไม่ได้ ผู้ปฏิบัติทำได้แต่ว่าฝึกไปเรื่อยๆ ให้ฌานคล่องนะคะ

    สรุปว่า การฝึกกสิณแบบนี้ เหมือนการฝึกกสิณทั้งสิบกองทุกอย่าง แต่เปลี่ยนมาจับภาพพระแทน
    และการฝึกกสิณแบบนี้ สามารถอธิษฐานฤทธิ์แทนการไล่หน้ากสิณทั่วไปมาฝึกทีละกองได้ค่ะ


    -----------------------------โดย------------------------------------
    ณฐมณฑ์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_43793", true); </SCRIPT>
    Member

    [​IMG]

    Join Date: Sep 2004
    Location: สุวรรณภูมิ
    โพส: 236
    Rep Power: 32[​IMG]
     
  13. Candle

    Candle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2004
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +909
    การฝึกกสิณแบบลืมตา

    การฝึกกสิณแบบลืมตา




    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->การฝึกกสิณแบบลืมตานั้นแบ่งเป็น 2 แบบ

    (คล้ายๆ กับการฝึกแบบหลับตา)
    นั่นคือ
    1. ทรงภาพอุคหนิมิตรและปฏิภาคนิมิตรไว้ภายในตัวเรา
    เช่นทรงภาพไว้ในอก หรือในศีรษะ เป็นต้น
    แบบนี้เป็นการทรงนิมิตรไว้ในมโนภาพค่ะ
    (ถ้าเป็นการฝึกแบบหลับตา ผู้ฝึกจะเห็นดวงกสิณด้วยใจ หรือด้วยมโนภาพเช่นเดียวกันค่ะ)

    2.ทรงภาพอุคหนิมิตรและปฏิภาคนิมิตรไว้ภายนอกตัวเรา
    นั่นคือ เมื่อลืมตามอง จะใช้ใจที่ทรงอารมณ์ทำให้ตาเนื้อเราเห็นภาพกสิณลอยอยู่ในอากาศเบื้องหน้าจริงๆ ค่ะ
    (ส่วนการทรงภาพแบบหลับตานั้น ถ้าทรงภาพแบบนอกตัว ก็คือการทรงดวงกสิณไว้ที่เปลือกตาค่ะ)

    ท่านที่ฝึกฝนนั้น เลือกฝึกแบบใดแบบหนึ่งก็ได้ค่ะ เลือกแบบที่ตนคิดว่าฝึกแล้วถนัดที่สุดก็ใช้ได้เหมือนๆ กันค่ะ

    -----------------------------โดย------------------------------------
    ณฐมณฑ์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_43793", true); </SCRIPT>
    Member

    [​IMG]

    Join Date: Sep 2004
    Location: สุวรรณภูมิ
    โพส: 236
    Rep Power: 32[​IMG]
     
  14. Candle

    Candle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2004
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +909
    วิธีเพิ่มความแจ่มชัดในทิพจักขุญาณ

    วิธีเพิ่มความแจ่มชัดในทิพจักขุญาณ



    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->ดิฉันเองพบว่าการฝึกญาณนั้น บางครั้งอาจมองเห็นได้ชัดเจนแตกต่างกันไปบ้าง

    และความแจ่มชัดนั้น ตามประสบการณ์ฝึกพบว่าอาจะไม่ตรงตามตำราเสมอไปว่าปุถุชน พระโสดาบัน พระสกิทาคามีเห็นชัดเท่าใดบ้าง
    เนื่องจากในคนๆ เดียวกัน แต่ต่างวาระกันไม่กี่วัน อาจจะเห็นมัวๆ เท่ามองเห็นในแสงกลางคืนในคืนเดือนแรม จนถึงอาจจะเห็นชัดเท่าตาเปล่าในแสงกลางวัน (ชัดเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์)ก็ได้ค่ะ

    วิธีแก้ไขหากเห็นนิมิตรไม่ชัดเจน

    1.หมั่นท่องคาถามงกุฎพระพุทธเจ้าจนเป็นฌาน
    กล่าวคือ สวดท่องโดยใจไม่ว่อกแว่กออกนอกคำสวด เช่นนี้เป็นฌาน 1 แล้วค่ะ

    คาถานี้ดิฉันรู้จักครั้งแรกจากการที่พระพุทธองค์ประทานในวันที่ดิฉันจิตถอดไปชัดที่สุดในชีวิตค่ะ และ ต่อมาไม่นานก็อ่านพบคำสอนหลวงพ่อว่าคาถานี้ช่วยเพิ่มความแจ่มชัด
    ดิฉันจึงมั่นใจว่าคาถานี้เพิ่มประสิทธิภาพต่อทิพจักขุญาณโดยตรงค่ะ

    คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า

    อิติปิโสวิเสเสอิ
    อิเสเส พุทธะนาเมอิ
    อิเมนา พุทธะตัง โสอิ
    อิโสตัง พุทธะ ปิติอิ


    2.ทำวิปัสสนากรรมฐานทุกวัน หรือทำวิปัสสนากรรมฐานก่อนการฝึกญาณในแต่ละครั้ง เช่นนี้จะช่วยให้ทิพจักขุญาณชัดเจน และมีกำลังจิตดีขึ้นค่ะ

    เนื่องจาก บางช่วงดิฉันใช้ญาณจากกสิณแสงสว่างชัด แต่การเห็นในการฝึกมโนมยิทธิกลับไม่ชัด
    แต่เมื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานบ่อยขึ้นแล้ว พบว่าชัดเจนขึ้นทั้งญาณในกสิณและมโนมยิทธิค่ะ

    3.หมั่นฝึกญาณบ่อยๆ ก็จะช่วยให้ชัดสม่ำเสมอด้วยความคล่องตัวในญาณค่ะ

    4.ฝึกมโนมยิทธิจะช่วยให้ฝึกกสิณง่ายมากขึ้นกว่าปกติ

    5.รักษาสุขภาพ เพราะความอ่อนล้า เหน็ดเหนื่อยของร่างกายก็จะมีผลให้ญาณชัดน้อยลงได้ค่ะ

    -----------------------------ตอบโดย------------------------------------
    ณฐมณฑ์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_43793", true); </SCRIPT>
    Member

    [​IMG]

    Join Date: Sep 2004
    Location: สุวรรณภูมิ
    โพส: 236
    Rep Power: 32[​IMG]
     
  15. Candle

    Candle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2004
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +909
    ตอบคำถาม

    Quote:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">Originally Posted by tamsak

    คุณณฐมณฑ์ครับ อยากรบกวนให้ช่วยตอบคำถามที่ผมเคยถามไว้นานแล้วเกี่ยวกับกสิณที่ผมเคยได้ และควรฝึกในชาติปัจจุบันนี้ครับ
    ตอบใน PM ก็ได้นะครับ ขอขอบคุณล่วงหน้า และขออนุโมทนาบุญที่คุณณฐมณฑ์ได้สงเคราะห์เพื่อนๆ ในการปฏิบัติทั้งปวงด้วยครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอบคุณคุณtamsakค่ะที่ติดตามอ่านข้อเขียนดิฉัน
    และขออภัยที่ช้าทั้งกับคุณ tansakและกับอีกหลายๆ คนที่เคยรับปากไว้

    ความจริงที่ต้องสารภาพคือ ดิฉันตรวจด้วยกสิณแสงสว่างไปราวๆ 50 กว่าคนหลายเดือนแล้ว
    แต่ยังเก็บข้อมูลเพื่อเทียบเคียงความถูกต้องไว้ก่อน
    ส่วนการตรวจด้วยมโนมยิทธิ ดิฉันยังไม่ได้ทำเพราะหาจังหวะสงบต่อเนื่องทั้งสภาพแวดล้อม ความนิ่งของจิตใจ และสุขภาพดีพร้อมๆ กันทั้งสามอย่างได้ยากค่ะ
    เนื่องจากสภาพสถานที่ที่ดิฉันใช้ฝึกจิตปัจจุบันมีสิ่งรบกวนมากขึ้นกว่าปีก่อนมาก
    ส่วนเมื่อเดือนก่อนๆ ดิฉันก็ไปอาศัยสถานที่วิเวกฝึกกสิณต่อให้ครบสิบกองค่ะ
    โดยตอนนั้นหยุดงานอื่นทุกอย่าง และแทบไม่ได้คุยกับใครเลย เวลาช่วงนั้นจึงไม่ได้นำเรื่องกองกรรมฐานไปตรวจต่อที่วัด
    เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ ข้อมูลที่คุณปาริสัชชาช่วยตรวจสอบยันกันนั้นอยู่ในอีเมล์ดิฉันที่เข้าไม่ได้แล้วเพราะไม่ได้เช็คเมล์เกิน 3 เดือนแล้วค่ะ ตอนนี้กำลังข้อให้คุณปาริสัชชา print ส่งมาให้ดิฉันทางไปรษณีย์ค่ะ
    เหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้สิ่งที่รับปากไว้นั้นล่าช้ากว่าที่คิดค่ะ

    ขอบคุณคุณยายกายสิทธิ์คนสวยที่ห่วงใยกันเสมอมาค่ะ คุณยายเป็นมิตรธรรมผู้ทราบถึงข้อจำกัดของดิฉัน และทราบด้วยว่าPM อีกหลายฉบับที่ค้างไว้ ดิฉันกำลังทยอยตอบตามกำลังค่ะ
    (แต่ที่ถูกเรียกว่านางฟ้าบ่อยๆ นี่ ดิฉันไม่ค่อยจะกล้ารับสมอ้างเท่าไหร่แล้วนะคะ)

    อย่างไรก็ตาม ดิฉันไม่ลืมที่รับปากกับคุณ tamsak ไว้นะคะ
    คิดว่าจะตั้งกระทู้ตอบคราวเดียวทั้ง 50 กว่าคนในห้องอภิญญานี้เมื่อจบหลักสูตรกระทู้กสิณแสงสว่างอันนี้ค่ะ
    และอีกไม่นาน กระทู้ที่ยาวนานข้ามปีอันนี้จะเขียนจบตามหัวข้อที่ตั้งใจจะนำเสนอแก่ผู้สนใจปฏิบัติค่ะ

    ขอโมทนาในกุศลจิตที่คุณอยากฝึกกรรมฐานนะคะ


    -----------------------------ตอบโดย------------------------------------
    ณฐมณฑ์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_43793", true); </SCRIPT>
    Member

    [​IMG]

    Join Date: Sep 2004
    Location: สุวรรณภูมิ
    โพส: 236
    Rep Power: 32[​IMG]


    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  16. Candle

    Candle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2004
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +909
    ขนาดของดวงกสิณ

    ขนาดของดวงกสิณ




    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->ขนาดของวัตถุที่ใช้มองเพื่อฝึกกสิณ


    อันที่จริงไม่จำเป็นว่าขนาดของวัตถุที่ใช้มองเพื่อฝึกกสิณจะต้องตรงตามตำราที่ว่า...
    1 คืบกับ 4นิ้วก็ได้ค่ะ
    แต่ถ้าเป็นวัตถุที่เส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ตามตำราดังกล่าวก็ย่อมดีนะคะ
    ดีในแง่ที่ทำให้จำลักษณะและสีได้ง่าย
    อีกทั้งช่วยให้ไม่เห็นขอบของวัตถุดีค่ะ
    แต่วัตถุที่ใช้มอง (ตามตำราเรียกว่าเพ่งกสิณ) นั้น จะขนาดเล็กกว่านั้นก็ไม่ผิดแต่ประการใด
    เลือกที่มองง่าย สบายตา สบายใจเป็นใช้ได้ค่ะ

    ขนาดของอุคหนิมิตร

    ดิฉันเคยคุยกับคุณปาริสัชชาเรื่องขนาดของอุคหนิมิตร
    คุณปาริสัชชาตอบว่าขนาดอุคหนิมิตรที่คุณปาริสัชชาได้นั้นเท่าขนาดวัตถุดิบที่ใช้เพ่งค่ะ
    (ฝึกกสิณทั้งลืมตาและหลับตาแบบทรงภาพไว้ในใจ หรือทรงภาพเป็นมโนภาพ)

    ในขณะที่ดิฉันเองมองวัตถุคือลูกแก้วใส (กสิณแสงสว่าง)
    (ขนาดลูกแก้วที่ดิฉันใช้ฝึก คือเส้นผ่านศูนย์กลางสามนิ้วครึ่ง)
    แต่อุคหนิมิตรของดิฉันที่ได้นั้นเล็กกว่าขนาดของลูกแก้วจริงมาก
    ทั้งนี้ ดิฉันฝึกกสิณทั้งลืมตาและหลับตาแบบทรงภาพไว้นอกร่างกาย คือที่เปลือกตา
    หรือกล่าวให้ชัดก็คือทรงภาพอุคหนิมิตรไว้บนฉากสีดำเมื่อหลับตา
    และทรงภาพอุคหนิมิตร(และปฏิภาคนิมิตร)ไว้ในอากาศเมื่อลืมตา
    (อย่างหลังนี้จะเห็นคล้ายๆ ฟองแชมพู โดยเบาบางกว่าฟองแชมพูจริงหนึ่งฟอง จะเห็นด้วยตาเปล่าเมื่อทรงอารมณ์จิตในระดับอุปจารฌาณ)
    แต่ดวงกสิณขนาดเล็กดังกล่าวก็สามารถใช้ย่อ ขยาย เปลี่ยนทรงดวงกสิณ หรือทำให้เป็นหลายดวงในปฏิภาคนิมิตรได้ตามปรารถนาทุกอย่าง

    สรุปว่า...
    ขนาดวัตถุดิบ หรือขนาดดวงกสิณที่ผู้ฝึกแต่ละคนได้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเหมือนกันค่ะ
    เพียงแต่ให้นำมาฝึกจนเป็นปฏิภาคนิมิตรได้ก็เป็นใช้ได้ค่ะ

    -----------------------------ตอบโดย------------------------------------
    ณฐมณฑ์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_43793", true); </SCRIPT>
    Member

    [​IMG]

    Join Date: Sep 2004
    Location: สุวรรณภูมิ
    โพส: 236
    Rep Power: 32[​IMG]
     
  17. Candle

    Candle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2004
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +909
    ตอบคำถาม

    Quote:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">Originally Posted by นายจันทร์เจ้า

    O_O' ผมก็มีสงสัยอยู่นะครับว่า หลังจากโพสคราวนั้นแล้วคุณต.ต.ข หายไปเลย แต่ก็ไม่ได้เอะใจอะไรครับ .พอมาได้รู้อย่างนี้ก็....ดีใจครับ ดีใจจริงๆ ....ตอนนี้ผมฝึกกสิณขาวอยู่ครับ จากตอนนั้น ผมคิดว่ากสิณลมคงจะยากไป(จับนิมิตไม่ได้อ่ะครับ) เลยเป็นกสิณขาวน่าจะดีกว่า(เอื้อมโนมยิทธิกับทิพจักขุญาณด้วย) ผมจะฝึกช่วงตอนก่อนนอนครับ และถ้าตื่นไหวจะฝึกตอนเช้าด้วยครับffice[​IMG]ffice" /><O:p></O:p>

    มีคำถามครับ<O:p></O:p>

    -หลังจากที่ฝึกกสิณแล้ว ผมสามารถฝึกแบบอาณาปานสติต่อได้ทันทีรึเปล่าครับ หรือ ควรเว้นระยะซักชม.ก่อน<O:p></O:p>

    -เวลาที่ผมฝึกนั้นเหมาะสมแล้วหรือยังครับ หรือว่าช่วงไหนดีครับ
    <O:p>:-D</O:p>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ค่ะกสิณลม กับกสิณอากาศมีความเป็นนามธรรมมาก
    ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านแนะว่าไม่ควรนำมาฝึกเป็นกองแรก เพราะจะเพ่งเป็นอุคหนิมิตรได้ยากกว่ากองอื่นๆ
    ดังนั้น ควรจะฝึกกองอื่นก่อน ยกเว้นว่าเคยถนัดในกองดังกล่าวในอดีตชาติใกล้ๆ ก็อีกเรื่องนึง
    แต่คนเรารู้อดีตชาติได้ยาก จึงควรจับกองที่ใจรู้สึกว่าน่าจะง่ายกว่ากองอื่นนั่นแหละถูกต้องค่ะ

    หลังจากฝึกกสิณแล้วสามารถฝึกกรรมฐานกองใดๆ ต่อก็ได้ทันที
    หรือเมื่อฝึกกรรมฐานกองใดเสร็จใหม่ๆ ก็ฝึกกสิณได้ทันที ไม่มีปัญหาค่ะ
    แถมยังช่วยให้ฝึกง่ายขึ้นด้วย
    เช่น ถ้าผู้ปฏิบัติถนัดอานาปานสติ ก็เข้าอานาปานสติก่อนจนจิตใส จะเข้ากสิณได้ง่ายขึ้นด้วยซ้ำค่ะ

    ทั้งนี้ เนื่องจากอารมณ์กรรมฐานทุกกองเหมือนกันหมด
    ต่างกันเพียงจุดเกาะของใจในกรรมฐานแต่ละกอง เช่น อานาปานสติจะใช้ใจจับกองลม กสิณใช้ใจจับนิมิตร เป็นต้น
    และต่างกันอีกนิดตรงที่ระดับฌานสูงสุดค่ะ
    เพราะกรรมฐานบางกองทำได้ถึงฌานหนึ่งเป็นระดับสูงของกรรมฐานกองนั้น - กรรมฐานบางกองทำได้ถึงฌานสี่เป็นระดับสูง เป็นต้น

    อันที่จริง เวลาที่ปฏิบัติกรรมฐานนั้น ผู้ปฏิบัติควรเลือกที่สะดวกเวลาและสะดวกใจตนเป็นหลัก
    คือเวลาใดก็ได้ เพราะคนเราหลายคนนั้นก็มีเวลาสะดวกที่ต่างกันไปค่ะ

    คุณจันทร์เจ้าเลือกทำกรรมฐานตอนตื่นและตอนก่อนนอนเหมือนดิฉันเลยค่ะ
    แต่ดิฉันพบว่าตนมักจะทำกรรมฐานตอนเพิ่งตื่นได้ดีกว่าตอนก่อนนอน
    เพราะตอนก่อนนอนนั้นร่างกายมักอ่อนล้า เหน็ดเหนื่อยกว่า จึงทำให้ฝึกญาณยากกว่าตอนเพิ่งตื่นอยู่บ้าง
    แต่ก็ทำกรรมฐานเพื่อความสงบ และทำวิปัสสนาได้พอสมควรค่ะ

    ดิฉันเองเลือกทำกรรมฐานตอนเพิ่งตื่น กับตอนก่อนนอน ด้วยเหตุที่ช่วงเวลาดังกล่าว บรรยากาศเงียบสงบ มีผู้คนรบกวนน้อยเนื่องจากไม่ใช่เวลางานหรือเวลาติดต่อกันตามปกติ
    คุณจันทร์เจ้าเลือกเวลาดังกล่าว ก็เหมาะดีแล้วค่ะ

    -----------------------------ตอบโดย------------------------------------
    ณฐมณฑ์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_43793", true); </SCRIPT>
    Member

    [​IMG]

    Join Date: Sep 2004
    Location: สุวรรณภูมิ
    โพส: 236
    Rep Power: 32[​IMG]
     
  18. Candle

    Candle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2004
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +909
    ตอบคำถาม

     
  19. Candle

    Candle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2004
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +909
    ลักษณะของญาณ

    ลักษณะของญาณ




    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->ลักษณะของทิพจักขุญาณ


    เท่าที่ดิฉันมีประสบการณ์เกี่ยวกับทิพจักขุญาณในกสิณแสงสว่างและมโนมยิทธิ พบว่า...

    1. เมื่อฝึกญาณแบบหลับตา
    จุดที่เห็นนิมิตรคือ นิมิตรจะเกิดบนฉากสีดำใต้เปลือกตา
    แต่กระนั้นก็ตาม ก็ไม่ได้เห็นด้วยตาโดยตรงค่ะ เนื่องจากขณะนั้นใช้ดวงตาปรับโฟกัสไม่ได้
    โดยทั้งนี้ เปลือกตาหรือฉากสีดำดังกล่าวเป็นเพียงฉาก
    ผู้ปฏิบัติจะเห็นนิมิตรด้วยใจคล้ายตาเห็น หรือบางทีจะรู้สึกว่าเห็นแบบกึ่งตากึ่งใจค่ะ

    2. เมื่อฝึกญาณแบบลืมตา
    ในการฝึกดูนิมิตรในขณะที่ลืมตา ตามประสบการณ์พบว่าจะทรงอารมณ์ให้นิ่งได้ยากกว่าหลับตาอยู่บ้าง
    เพราะโอกาสที่ตาจะไปเห็นสิ่งแวดล้อมมีมาก
    สิ่งที่ต้องทำให้ได้คือ ใจผู้ฝึกจะต้องเพิกจากสิ่งรอบตัวมาอยู่กับการทรงอารมณ์ดูนิมิตรเท่านั้นค่ะ

    2.1 จุดที่เห็นนิมิตรเมื่อลืมตาคือ นิมิตรจะเกิดที่มโนภาพ หรือที่ใจเรา
    แต่จะทรงภาพนานๆ และเคลื่อนภาพนิมิตรเข้าไปดูรายละเอียดได้ค่อนข้างยาก

    2.2 จุดที่เห็นนิมิตรเมื่อลืมตาอีกที่หนึ่งคือ นิมิตรจะเกิดในอากาศ เห็นได้ด้วยตาเปล่า
    แต่ดิฉันใช้ฝาผนังสีอ่อนๆ หรือฝาเพดานบ้านเป็นฉากแบบเดียวกับใช้เปลือกตาเป็นฉากสีดำในข้อ 2.1 ค่ะ

    -----------------------------ตอบโดย------------------------------------
    ณฐมณฑ์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_43793", true); </SCRIPT>
    Member

    [​IMG]

    Join Date: Sep 2004
    Location: สุวรรณภูมิ
    โพส: 236
    Rep Power: 32[​IMG]
     
  20. วานิช

    วานิช Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +73
    ขอบคุณครับคุณจันทร์เจ้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...