วิสุทธิ ๗

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 11 กันยายน 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วิสุทธิ ๗

    วิสุทธิมัคค คือ ทางบริสุทธิ ที่นำไปสู่ความหมดจดจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง ซึ่งจัดเป็น ๗ ระยะ หรือ ๗ ขั้น อันเรียกว่า วิสุทธิ ๗ ประการนั้นเปรียบเหมือนรถ ๗ ผลัด หรือบรรได ๗ ขั้น จึงจะถึงซึ่งความบริสุทธิ วิสุทธิ ๗ ได้แก่

    ๑. สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งสีล บุคคลที่สมบูรณ์ด้วย จาตุปาริสุทธิสีลนั้นชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยสีล เป็นสีลวิสุทธิ จาตุปาริสุทธิสีล ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรสีล อินทรียสังวรสีล อาชีวปาริสุทธิสีล และปัจจยนิสสิตสีล

    ๒. จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งจิต คือ จิตที่บริสุทธิจากนิวรณ์ทั้งหลาย ขณะใดที่จิตเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ ขณะนั้นเป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ จึงได้ชื่อว่า เป็นจิตตวิสุทธิ

    ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งทิฏฐิ ปัญญาที่รู้แจ้ง รูปนามตามความเป็นจริง ได้ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ กล่าวโดย โสฬสญาณ คือ ญาณ ๑๖ ก็เห็นแจ้งญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณแล้ว (โสฬสญาณจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า)

    ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งการข้ามพ้นจากความสงสัย เพราะเกิดปัญญาที่รู้แจ้งปัจจัยที่ให้เกิดรูปนาม คือ รูปเกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร, นามเกิดจาก อารมณ์ วัตถุ มนสิการ กล่าวโดยโสฬสญาณ ก็เห็นแจ้งญาณที่ ๒ ที่ชื่อว่า ปัจจยปริคคหญาณแล้ว

    ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้ว่าทาง หรือ มิใช่ทาง กล่าวโดยโสฬสญาณ ก็เห็นแจ้งญาณที่ ๓ ที่ชื่อว่า สัมมสนญาณแล้ว และถึงญาณที่ ๔ ที่ชื่อว่า อุทยัพพยญาณ เพียง ตรุณะ คือ เพียงอย่างอ่อนเท่านั้น ยังไม่ถึง อุทยัพพยญาณ ที่เรียกว่า พลวะ คือ อย่างกล้า(ตรุณอุทยัพพยญาณ นี่แหละที่จะเกิด วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า)

    ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้เห็นว่า นี่แหละเป็นทางที่ชอบแล้ว กล่าวโดยโสฬสญาณก็เห็นแล้ว พลวอุทยัพพยญาณ (อย่างกล้า)นั้นแล้ว เป็นต้นไปถึง อนุโลมญาณ และนับโคตรภูญาณ รวมด้วยโดยปริยายโดยอ้อม

    ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งญาณที่รู้เห็น พระนิพพาน คือ มัคคญาณ และนับผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ รวมด้วยโดยอนุโลม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๑. สีลวิสุทธิ
    สีลวิสุทธินั้น ได้แก่ อะไร ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ คือ:-
    ๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล ได้แก่ ศีลสำรวมในพระปาติโมกข์
    ๒. อินทริยสังวรสีล ได้แก่ ศีลสำรวมในอินทรีย์ ๖
    ๓. อาชีวปาริสุทธิศีล ได้แก่ ศีลที่มีอาชีพบริสุทธิ์
    ๔. ปัจจัยสันนิสสิตศีล ได้แก่ ศีลที่ อาศัยปัจจัย ๔

    ความบริสุทธิ์ทั้ง ๔ ดังกล่าวมาแล้วนี้ ชื่อว่า สีลวิสุทธิ
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๒. จิตตวิสุทธิ

    จิตตวิสุทธิ ได้แก่ วิสุทธิ ๒ อย่าง คือ :-

    ๑. อุปจารสมาธิ ได้แก่ สมาธิที่เข้าไปเฉียดใกล้ต่อองค์ฌาน
    ๒. อัปปนาสมาธิ ได้แก่ สมาธิที่ยังฌานให้เกิดขึ้น สมาธิที่แน่วแน่
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๓ ทิฎฐิวิสุทธิ

    การกำหนดรู้รูปนาม ด้วยความสามารถแห่ง

    ลักษณะ ๑
    รส ๑
    ปัจจุปัฏฐาน ๑
    ปทัฏบาน ๑

    ชื่อว่า ทิฎฐิวิสุทธิ
    หน้า ๙๑

    ทิฏฐิวิสุทธิ

    ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นวิสุทธิมัคคลำดับที่ ๓ ถ้ากล่าวโดยโสฬสญาณแล้ว ทิฏฐิ วิสุทธิ ก็ได้แก่ ญาณต้น ที่มีชื่อว่า
    นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่ ๑ ในจำนวนญาณทั้งหมดซึ่งมี ๑๖ ญาณ มีคาถาที่ ๒๑ แสดงว่า

    ปญฺญาย ภาวนาโยคํ กุรุมาโน ตทุตฺตริ
    สมฺมเทว นามรูปํ ปริคฺคหํ ลกฺขณาทิโต
    สงฺขารมตฺตโต ทิสฺวา ฐิโต ทิฏฺฐิวิสุทฺธิยํ ฯ

    ประกอบความพากเพียร ในการเจริญปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น (ยิ่งไปกว่า สีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ) กำหนดจนเห็นขึ้นมาเอง
    แห่งลักษณะเป็นต้น ของรูปนามทั้งสองโดยชอบ คือเห็นสักแต่ว่าเป็นสังขารธรรมดังนี้ ได้ชื่อว่าตั้งอยู่แล้วในทิฏฐิวิสุทธิ

    มีความหมายว่า

    ๑. พระโยคีที่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนถึง สีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิแล้ว ต่อจากนั้น ก็เป็นกำลังที่จะให้ถึง
    ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งทิฏฐิ ซึ่งเป็นลำดับที่ ๓ แห่งวิสุทธิมัคค และเป็นกำลังที่จะส่งให้ถึง นามรูปปริจเฉทญาณ
    คือ เห็นแจ้งในรูปและนาม ซึ่งเป็นญาณที่ ๑ แห่ง โสฬสญาณ

    ๒. ที่ว่าเห็นแจ้งในรูปและนามนั้น มีบาลีว่า ลกฺขณ รส ปจฺจุปฏฺฐาน ปทฏฺฐาน วเสน นามรูปปริคฺคโห ทิฏฺฐิวิสุทฺธินาม
    การกำหนดรู้รูปนามด้วยสามารถ แห่งลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน นั้นชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ คือจะต้องเห็นแจ้งใน
    ลักขณาทิจตุกะแห่งรูปนาม จึงจะได้ชื่อว่า เห็นแจ้งในรูปนาม

    ลักขณาทิจตุกะ ของรูป (ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาท)

    (๑) รุปฺปนลกฺขณํ มีการสลาย แปรปรวน เป็นลักษณะ
    (๒) วิกิรณรสํ มีการแยกออกจากกันได้ (กับจิต) เป็นกิจ
    (๓) อพฺยากตปจฺจุปฏฺฐานํ มีความเป็นอพยากตธรรม เป็นอาการปรากฏ
    (๔) วิญฺญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้

    ลักขณาทิจตุกะของนามจิต (ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาท)

    (๑) วิชฺชานนลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
    (๒) ปุพฺพงฺคมรสํ เป็นประธานแก่เจตสิกและรูป เป็นกิจ
    (๓) ปฏิสนฺธิปจฺจุปฏฺฐานํ มีการสืบต่อระหว่างภพเก่ากับภพใหม่ เป็นอาการปรากฏ
    (๔) สงฺขารปทฏฺฐานํ มีสังขาร ๓ เป็นเหตุใกล้

    (วา) วตฺถารมฺมณํ ปทฏฺฐานํ หรือ มีวัตถุกับอารมณ์ เป็นเหตุใกล้

    ลักขณาทิจตุกะของนามเจตสิก (ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาท)

    (๑) นมนลกฺขณํ มีการน้อมไปสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ
    (๒) สมฺปโยครสํ มีการประกอบกับจิต และประกอบกันเองโดยอาการ เอกุปฺปาท เป็นต้น เป็นกิจ
    (๓) อวินิพฺโภคปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไม่แยกออกจากจิต เป็นอาการปรากฏ
    (๔) วิญฺญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้

    ๓. ที่ว่ากำหนดรู้รูปนามด้วยสามารถแห่งลักขณาทิจตุกะนั้น แม้จะรู้ไม่ครบหมดทั้ง ๔ ประการก็ตาม
    เพียงแต่รู้อย่างใดใน ๔ ประการนั้นสักอย่างเดียว ก็ได้ชื่อว่า รู้แล้ว แต่ว่าในลักขณาทิจตุกะนี้ ปัจจุปัฏฐาน
    คือ อาการปรากฏ หรือผลปรากฏ เป็นการที่สำคัญกว่าเพื่อน จึงเป็นประการที่ควรจักต้องรู้โดยแท้

    ๔. ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจไว้อย่างแน่นอนว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนา นั้นต้องมี ปรมัตถอารมณ์
    เป็นกัมมัฏฐาน จะมีอารมณ์เป็นบัญญัติหรือเอาบัญญัติมาเป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนา หาได้ไม่
    ปรมัตถอารมณ์ ที่จะต้องพิจารณาให้เห็นแจ้งเป็นประเดิมเริ่มแรกก็คือ รูปนาม การที่จะให้เห็นแจ้งในรูปนาม
    ก็ต้องดำเนินการตามนัยแห่ง สติปัฏฐาน วิธีเดียว จะดำเนินการอย่างอื่นใดให้ปรากฏรูปนาม ตามสภาพแห่งความเป็นจริงนั้น
    หาได้ไม่

    สติปัฏฐานนั้นก็ได้จำแนกพิจารณาไว้เป็น ๔ ประการ คือ

    ก. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นในการพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งกาย อันหมายถึงที่ประชุมแห่งรูป
    คือ รูปขันธ์ แจกแจงได้เป็น ๑๔ บัพพะ
    ข. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นในการพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งเวทนา อันหมายถึง ความรู้สึกเป็นทุกข์เป็นสุข
    คือ เวทนาขันธ์ แจกแจงได้เป็น ๙ บัพพะ
    ค. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นในการพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งจิต อันหมายเฉพาะความรับรู้อารมณ์ที่เป็นโลกีย
    คือ วิญญาณขันธ์ แจกแจงได้เป็น ๑๖ บัพพะ
    ง. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นในการพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรม อันหมายรวมทั้งรูปทั้งนาม
    แจกแจงได้เป็น ๕ บัพพะ คือ ขันธ์ ๕ , นิวรณ์ ๕, อายตนะ ๑๒, โพชฌงค์ ๗, อริยสัจจ ๔
    มีรายละเอียดพอประมาณ แจ้งอยู่แล้วในคู่มือการศึกษา ปริจเฉทที่ ๗ ตอน สติปัฏฐาน ขอให้ทบทวนดูที่นั่นด้วย

    ๕. ในชั้นต้นต้องพิจารณา กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ให้มีสติตั้งมั่นในการพิจารณารูปก่อน กำหนดดู
    ทั้งรูปที่เกิดจากอิริยาบถใหญ่ อันได้แก่ เดิน ยืน นั่ง นอน และอิริยาบถย่อย อันได้แก่ การเคลื่อนไหวกาย
    ทำการงานต่าง ๆ ทุกอย่างที่ให้ดูรูปเหล่านี้ก่อน ก็เพราะรูปเหล่านี้เป็นของหยาบ เห็นได้ง่ายกว่ารูปอื่น ๆ
    การดูก็จะต้องดูด้วยความมีสติสัมปชัญญะ คือ ให้รู้ตัวอยู่ทุกขณะจิตว่า ขณะนี้กำลังดูรูปอะไร อย่าให้เผลอไปนึกคิดอะไรอื่นเสีย
    อิริยาบถใหญ่ คือ อิริยาบถบัพพะ อิริยาบถย่อย คือ สัมปชัญญบัพพะ เหล่านี้เป็นรูปทั้งนั้น จิตที่รู้อาการต่าง ๆ แห่งอิริยาบถเหล่านี้เป็นนาม

    ๖. ในขณะที่กำลังกำหนด กำลังพิจารณาอิริยาบถต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ อาจเกิด เวทนา ปรากฏขึ้นมา
    เช่น นั่งนานไปหน่อยก็เมื่อย หรือมีตัวแมลงมากัดต่อยเจ็บปวด ทำให้เกิดทุกขเวทนา ก็ให้มากำหนด
    ในเวทนาที่กำลังปรากฏอยู่ อันเป็นการพิจารณาเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    เวทนาที่กำลังปรากฏอยู่นั้นเป็นนาม(นามเจตสิก), จิตที่รู้เวทนานั้นก็เป็นนาม (นามจิต), หทยวัตถุ
    อันเป็นที่อาศัยให้จิตเจตสิกเกิดนั้นเป็นรูป ถ้าเวทนานั้นปรากฏเกิดที่กาย กายที่เวทนาเกิดนั้นก็เป็นรูป

    ๗. ในขณะที่กำหนดอิริยาบถต่าง ๆ อยู่นั้น อาจมีรูปารมณ์มาปรากฏเฉพาะหน้า ก็ให้มากำหนดในการเห็น
    อันเป็นการพิจารณา จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การกำหนดการเห็นนั้น ให้รู้แค่เห็น อันเป็นปรมัตถเท่านั้น
    ไม่ให้คิดเลยไปว่า รูปที่เห็นนั้นเป็นอะไร อันจะเป็นบัญญัติไป เพราะการเจริญวิปัสสนาภาวนาเพื่อให้เห็นแจ้ง
    รูปนามอันเป็นปรมัตถ ไม่ได้มีความประสงค์จะให้รู้บัญญัติ ดังที่ได้กล่าวแล้วในข้อ ๔ ข้างต้นนี้

    สิ่งที่เห็นนั้นเป็นรูปและเป็นธรรมภายนอก มากระทบประสาทตาอันเป็นรูปเหมือนกัน แต่เป็นธรรมภายใน
    จึงทำให้เกิดการเห็นขึ้น การเห็น คือ จักขุวิญญาณนี้เป็นนาม จิตที่รู้ว่าเห็นก็เป็นนาม

    ๘. ถ้ามีเสียงมาปรากฏเฉพาะหน้า ก็ให้กำหนดในการได้ยิน และให้รู้แค่ได้ยินเสียงเท่านั้น ไม่ให้คิดรู้เลยไปว่า
    เสียงนั้นเป็นเสียงอะไร พูดเรื่องอะไร ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดปัญญาให้รู้ว่า เสียงเป็นรูปภายนอกมากระทบประสาทหู
    อันเป็นรูปภายใน จึงทำให้ได้ยิน คือ เกิดโสตวิญญาณ อันเป็นนาม จิตที่รู้ว่าได้ยินก็เป็นนาม

    ๙. ถ้ามี คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ มาปรากฏเฉพาะหน้า ก็ให้กำหนด ฆานวิญญาณ
    ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ตามควรแก่กรณี ทำนองเดียวกับ รูปารมณ์ สัททารมณ์ ที่กล่าวมาแล้วนั้น

    ๑๐. มีข้อที่ควรกล่าวตรงนี้ เช่น การกำหนดทางกายทวารนั้น ถ้ากำหนด พิจารณา กายวิญญาณก็เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    กายวิญญาณเป็นนาม กายปสาท ที่เป็นที่ตั้งเป็นที่เกิดแห่งกายวิญญาณนั้นเป็นรูป
    ถ้ากำหนดพิจารณาทุกข์สุขที่เกิดพร้อมกับกายวิญญาณนั้น ก็เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนาเป็นนาม
    กายปสาทอันเป็นที่อาศัยเกิดแห่งเวทนานี้ ก็เป็นรูป

    ถ้ากำหนดพิจารณาสิ่งที่มากระทบ คือ โผฏฐัพพารมณ์ อันได้แก่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ซึ่งเป็นรูปขันธ์
    ก็เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โผฏฐัพพารมณ์ที่มา กระทบก็ดี กายปสาทที่รับกระทบก็ดี เป็นรูป จิตที่รู้กระทบนั้นเป็นนาม

    ถ้ากำหนดพิจารณาการกระทบถูกต้อง คือ ผัสสะ ก็เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผัสสก็ดี จิตที่เกิดพร้อมกับผัสสะก็ดี
    เป็นนาม กายปสาทที่เป็นที่อาศัยที่เกิดแห่งกายวิญญาณและเจตสิกนี้เป็นรูป

    ๑๑. บางทีในเวลาที่กำหนดพิจารณาอิริยาบถอยู่ จิตอาจเลื่อนลอยไปคิดอะไรอื่นที่ไม่ใช่อิริยาบถที่กำหนด
    ซึ่งเรียกว่าฟุ้งไปก็ดี หรือว่าเกิดท้อใจน้อยใจ ที่ได้พยายามกำหนดมาเป็นหนักหนา ก็ยังไม่ได้เห็นธรรมอะไรสักอย่าง
    อันเป็นการเกิดโทสะขึ้นมาก็ดี หรืออยากรู้อยากเห็นธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ อันเป็นโลภะก็ดี

    ถ้ากำหนด จิตที่ฟุ้ง จิตที่เป็นโทสะ จิตที่มีโลภะ ก็เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้ากำหนดดู ความฟุ้ง
    ความไม่พอใจ ความอยากได้ ก็เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    จิตฟุ้ง โทสจิต โลภจิต เป็นนาม (นามจิต) ความฟุ้ง ความไม่พอใจ ความอยากได้เป็นนาม (นามเจตสิก)
    หทยวัตถุอันเป็นที่อาศัยให้เกิด จิตเจตสิก เหล่านี้นั้น เป็นรูป

    ๑๒. อาจกล่าวได้ว่า อันการกำหนดพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต
    ก็ได้ชื่อว่าพิจารณาธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ไปด้วยในตัว เพราะกายหมายถึงรูป
    รูปก็เป็นธรรม เวทนาก็เป็นธรรม จิตก็เป็นธรรม ล้วนแต่เป็นธรรมทั้งนั้น ไม่พ้นไปจากธรรมเลย

    ๑๓. การที่ให้รู้ตัวทุกขณะจิตว่าขณะนี้กำลังดูรูปอะไรอยู่ ดูนามอะไรอยู่ ก็เพื่อให้จิตใจจดจ่อตั้งสติอย่างมั่นคง
    ในการพิจารณารูปนามเหล่านั้น จะได้ไม่แส่ไปคิดเรื่อง โลภ โกรธ หลง อันรวมเรียกสั้น ๆ
    ว่าจะได้ไม่เกิดอภิชฌาและโทมนัส เพราะการเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อปิดกั้น หรือทำลาย อภิชฌา
    และโทมนัส นี่เอง ดังนั้นการกำหนดดูรูปนามก็จะต้องดูด้วยความ ไม่ยินดี และไม่ยินร้ายด้วย
    ถ้าเกิดความยินดีมีความปรารถนาว่าคงเกิดผลอย่างนั้นอย่างนี้มาให้เห็นก็ดี เกิดความยินดีติดใจ
    ในรูปนามนั้นก็ดี ก็เป็นอภิชฌา แต่ถ้าเกิดความน้อยใจขึ้นมา ว่าได้กำหนดดูอยู่นานแล้ว
    ก็ไม่ปรากฏธรรมอะไรขึ้นมาให้เห็นเสียบ้างเลยก็ดี เกิดความไม่ชอบใจในรูปในนามนั้นก็ดี
    ก็เป็นโทมนัส อันไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเจริญสติปัฏฐาน

    ๑๔. ครั้นสติตั้งมั่นในการพิจารณารูปนามดังกล่าวแล้ว ก็จะเกิดปัญญาขึ้นมาเองว่า รูปเป็นอย่างไร
    มีลักษณะอย่างใด และนามที่น้อมไปรู้รูปนั้นเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างใด เป็นการเห็นอย่างถูกต้อง
    ตรงตามความเป็นจริงแห่งสภาพของรูปธรรมนามธรรม ว่าเป็นคนละสิ่งคนละส่วน หาใช่เป็นสิ่งเดียวกันไม่
    โดยไม่ได้คิดเอา เดาเอา อนุมานเอาเอง แต่เป็นการเห็นอย่างแจ้งประจักษ์

    ๑๕. เมื่อเห็นประจักษ์ในรูปนาม ก็ทำให้คลายความเห็นผิดอันติดสันดานมาสิ้นเอนกอนันตชาติในสังสารวัฏฏ
    ว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขาลงได้ เห็นเช่นนี้ได้ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นความเห็นอันบริสุทธิถูกต้อง
    จัดเป็นญาณต้น คือ นามรูปปริจเฉทญาณ แห่งโสฬสญาณ

    ๑๖. ที่เห็นได้ถึงเช่นนี้ไม่ใช่ง่ายเลย เพราะจิตใจที่ยังไม่ได้ฝึกอบรมนั้น มักจะมีอาการ ๓ อย่าง คือ

    ก. ประเปรียว ชอบเที่ยว ไม่อยู่นิ่ง
    ข. เบื่ออารมณ์ง่าย ใคร่แต่อารมณ์ใหม่ ๆ เสมอ
    ค. บังคับไม่ได้ ยิ่งบังคับยิ่งฝ่าฝืน

    แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ถ้าได้ตั้งใจฝึกฝนอบรมจริง ขนาดเนื้อจะเหือด เลือดจะแห้ง เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ไม่ยอมท้อถอย

    อนึ่ง ทิฏฐิวิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา เพราะเป็นปัญญาที่เกิดจาก วิปัสสนาภาวนา
    ซึ่งสามารถละ สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตนเสียได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2013
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ

    การกำหนดรู้ปัจจัยแห่งรูปนามทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ
    ความสงสัย ๑๖ อย่าง (สุตตันตนัย) นั้นคือ

    ว่าด้วยอดีต ๕
    ๑. อโหสึ นุโข อหํ อตีตมทฺธานํ เรานี้เคยเกิดมาในอดีตกาลหรือ ?
    ๒. น นุโข อโหสึ อตีตมทฺธานํ เรานี้ไม่เคยเกิดมาในอดีตกาลหรือ ?
    ๓. กึ นุ โข อโหสึ อตีตมทฺธานํ เรานี้เคยเกิดเป็นชาติใดในอดีตกาลหรือ ?
    ๔. กถํ นุโข อโหสึ อตีตมทฺธานํ เราเคยเกิดมารูปร่างอย่างไรบ้าง?
    ๕. กึ หุตฺวา กึ อโหสึ อตีตมทฺธานํ เราเคยเกิดเป็นอะไรมาแล้ว เป็นอะไรมาหนอ?

    ว่าด้วยอนาคต ๕
    ๑. ภวิสฺสามิ นุโข อนาคตมทฺธานํ เรานี้จักเกิดในอนาคตกาลอีกหรือ
    ๒. น นุโข ภวิสฺสามิ อนาคตมทฺธานํ เรานี้จักไม่เกิดในอนาคตกาลอีกหรือ
    ๓. กึ นุโข ภวิสฺสามิ อนาคตมทฺธานํ เรานี้จักเกิดในชาติใดอนาคตกาลอีกหรือ
    ๔. กถํ นุโข ภวิสฺสามิ อนาคตมทฺธานํ เรานี้จักเกิดในรูปร่างต่างๆอย่างไรบ้าง
    ๕. กึ หตุตฺวา ภวิสฺสามิ อนาคตมทฺธานํ เรานี้จักเกิดเป็นอะไรอีกหนอ

    ว่าด้วยปัจจุบัน ๖
    ๑. ปจฺจุปฺปนฺนํ อทฺธานํ อารพฺภ กถํ กถี โหติ อาศัยปัจจุบันแล้วสงสัยต่างๆนานา
    ๒. อหํ นุ โข อสฺมิ เดี๋ยวนี้เป็นเราหรือ
    ๓. โน นุ โข อสฺมิ เดี๋ยวนี้ไม่เป็นเราหรือ
    ๔. กึ นุ โข อสฺมิ เดี๋ยวนี้เราเป็นชาติใดหนอ
    ๕. กถํ นุ โข อสฺมิ เดี๋ยวนี้เราเกิดเป็นรูปร่างอย่างไรหนอ
    ๖. กุโต อาคนฺตฺวา กุหึ คมิสฺสามิ เรามาจากไหน เราจะไปไหนหนอ

    รวมอดีต ๕ อนาคต ๕ ปัจจุบัน ๖ จึงเป็น ๑๖ อย่าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2013
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิและวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการ

    โอภาโส ปีติ ปสฺสทฺธิ อธิโมกฺโข จ ปคฺคาโห สุขํ ญาณมุปฏฺฐาน มุเปกฺขา จ นิกนฺติ เจติ ฯ

    ต่อจากกังขาวิตรณวิสุทธิ ในเตภูมิกสังขารธรรม ที่มีประเภทต่างๆ มีอดีตเป็นต้น ซึ่งพระโยคีเห็นแล้ว
    โดยอาการที่กล่าวมาแล้วในทิฎฐิวิสุทธิ และกังขาวิตรณวิสุทธิ พระโยคีบุคคลกระทำสังขารธรรมเหล่านั้น
    ย่อลงโดยความเป็นหมวดเดียวกัน และปรารภซึ่งเทศนานัย มีขันธ์เป็นต้น

    แล้วพิจารณาที่เกี่ยวเนื่องกับกาล ด้วยความสืบต่อขณะ ด้วยสัมมาสนญาณ ว่ารูปนามนี้เป็นของไม่เที่ยง
    เพราะอรรถว่าสิ้นไป ไม่ยั่งยืนมั่นคง เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เป็นภัยอันน่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า
    ไม่มีแก่นสาร ไม่เป็นไปตามอำนาจผู้ใด แล้วพิจารณาต่อไป ซึ่งความเกิดดับของรูปนาม

    ในเตภูมิกสังขารธรรมด้วยอำนาจแห่งปัจจัย หรือด้วยขณะ โดยอุทยัพพยญาณ และปัญญาที่ตัดสินเด็ดขาด
    ในลักษณะแนวทางของวิปัสสนาที่ถูกหรือผิด ด้วยอำนาจแห่งการกำหนดรู้อุปสรรคคือ วิปัสสนูกิเลส มีโอภาส เป็นต้น

    หมายเหตุ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๙ เป็นกุศลแต่เป็นที่ตั้งให้เกิด ตัณหา มานะ ทิฎฐิ
    ส่วน ข้อ ๑๐ คือ ตัณหา เป็นตัววิปัสสนูกิเลส

    วิปัสสนูปกิเลส ๙ ประการ ตั้งแต่ โอภาส ถึง อุเบกขานั้น แม้ว่าจะเกิดปรากฏขึ้นมาแล้ว ถ้านิกันติยังไม่เข้าร่วมด้วย คือ
    ไม่ชอบใจ ติดใจ เพลิดเพลินไปด้วย ก็ไม่เป็นอุปกิเลสของวิปัสสนา ต่อเมื่อใด

    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ โอภาส ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ปีติ ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ปัสสัทธิ ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ อธิโมกข ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ปัคคหะ ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ สุข ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ ญาณ ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ อุปัฏฐาน ก็ดี
    มี นิกันติ เข้าไปชอบใจติดใจ อุเบกขา ก็ดี

    เมื่อนั้นจึงนับว่าองค์ประกอบทั้ง ๙ นี้เป็น วิปัสสนูปกิเลส ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง ยินดีพอใจอยู่เพียงแค่นี้
    โดยเข้าใจเสียว่าตนเองสำเร็จมัคคผลแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส เป็นที่อาศัยแห่งคาหธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
    และเป็นช่องให้อกุสลธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้นอีกมากมาย ผู้มีปัญญาย่อมพิจารณาองค์ประกอบของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๙
    และองค์วิปัสสนูปกิเลสแท้ ๆ อีก ๑ คือ นิกันติว่าสักแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นนี้แล้ว
    วิปัสสนาก็ไม่เศร้าหมอง แต่จะเจริญขึ้นตามลำดับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2013
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

    วิปัสสนาญาณ ๙ ของโยคาวจรบุคคลนั้น ผู้หลุดพ้นจากอันตราย คือ วิปัสสนูปกิเลส
    ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ผู้กำลังปฏิบัติวิปัสสนา เห็นไตรลักษณ์ติดต่อกันมา จำเดิม
    แต่อุทญัพพยญาณ จนถึงอนุโลมญาณ ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
    ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นวิสุทธิมัคคลำดับที่ ๖ ซึ่งตรงกับโสฬสญาณถึง ๙ ญาณ คือตั้งแต่
    พลวอุทยัพพยญาณ ที่ปราศจากวิปัสสนูปกิเลสรบกวนแล้ว ไปจนถึง อนุโลมญาณ มีคาถาที่ ๒๗ แสดงว่า

    ปริปนฺถ วิมุตฺโต ว อุทยพฺพยญาณโต
    ปฏฺฐาย ยาวานุโลมา นวญาณานิ ภาวิย
    ฐิโต ปฏิปทาญาณ ทสฺสนสฺมิ วิสุทฺธิยํ ฯ

    การกะบุคคล พ้นแล้วจากอันตราย เจริญวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ จำเดิมแต่อุทยัพพยญาณไปตลอดถึงอนุโลมญาณ
    ชื่อว่าตั้งอยู่แล้วใน ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

    มีความหมายว่า บุคคลผู้กระทำความเพียรเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานโดยไม่ท้อถอย ไม่ยึดถือนิมิตต่าง ๆ
    พ้นแล้วจากนิวรณ์ทั้ง ๕ และปราศจากวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการ อันเป็นอันตรายของวิปัสสนานั้นมารบกวน
    เมื่อนั้นวิปัสสนาญาณ ก็จะเจริญแก่กล้าขึ้นในวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ อันได้แก่ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ
    อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเบกขาญาณ และอนุโลมญาณ ตามลำดับ
    ซึ่งญาณทั้ง ๙ นี้ เมื่อกล่าวโดยวิสุทธิทั้ง ๗ แล้ว เรียกว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นวิสุทธิลำดับที่ ๖
    เป็นความบริสุทธิหมดจดโดยมีปัญญารู้ว่า การปฏิบัติดังนี้เป็นทางที่จะดำเนินไปให้บรรลุถึง ญาณทัสสน วิสุทธิแล้ว
    ความหมายของแต่ละญาณแห่งวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ นั้น มีดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2013
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ

    กล่าวมาถึงเพียงนี้แล้ว วิสุทธิ ๗ ก็เหลือเพียง ๑ คือ ญาณทัสสนวิสุทธิ โสฬสญาณ ก็เหลืออีก ๔ คือ
    โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ

    โคตรภูญาณ เป็นญาณที่ ๑๓ แห่งโสฬสญาณนั้น ตั้งอยู่ระหว่างปฏิปทาญาณ
    ทัสสนวิสุทธิกับญาณทัสสนวิสุทธิ แต่สงเคราะห์เข้าในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
    อันเป็นวิสุทธิที่ ๖ เพราะโคตรภูญาณนี้ แม้ว่าโคตรภูจิตจะมี พระนิพพาน
    ซึ่งเป็นโลกุตตรธรรม เป็นอารมณ์ก็จริง แต่ว่าจิตยังเป็นโลกียจิตอยู่

    มัคคญาณ เป็นญาณที่ ๑๔ แห่งโสฬสญาณ ญาณเดียวเท่านี้ที่เรียกว่าเป็น
    ญาณทัสสนวิสุทธิ โดยแท้ ไม่ได้เป็นโดยปริยายหรือโดยอนุโลม
    ดังมีคาถาแสดงไว้โดยชัดแจ้ง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้าอีก

    ผลญาณ ญาณที่ ๑๕ แห่งโสฬสญาณ นั้น แม้ว่าผลจิตจะเป็นโลกุตตรจิต
    มีอารมณ์เป็นโลกุตตรธรรม คือ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถึงกระนั้นก็ยังจัดว่า
    เป็นญาณทัสสนวิสุทธิ โดยอนุโลมโดยปริยายเท่านั้น หาใช่โดยตรงโดยแท้ไม่

    ส่วน ปัจจเวกขณญาณ อันเป็นญาณที่ ๑๖ คือ ญาณสุดท้ายแห่งโสฬสญาณนั้น
    จิตก็เป็นโลกีย แต่ว่าปัญญาได้ผ่านความรู้มาจาก มัคค ผล นิพพาน
    คือผ่านโลกุตตรธรรมมาแล้ว จึงสงเคราะห์เป็นญาณทัสสนวิสุทธินี้ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2013
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    และต่อไปจะแสดงญาณ ๑๖
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นรูปเห็นนามว่าเป็นคนละสิ่งคนละส่วน
    ซึ่งไม่ได้ระคนปนกันจนแยกกันไม่ได้

    ๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นถึงปัจจัยที่ให้เกิดรูป เกิดนาม คือ รูปเกิดจาก
    กรรม จิต อุตุ อาหาร ส่วนนามเกิดจาก อารมณ์ วัตถุ มนสิการ

    ๓. สัมมสนญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ คือ ความเกิดดับของรูปนาม
    แต่ที่รู้ว่ารูปนามดับไปก็เพราะ เห็นรูปนามใหม่เกิดสืบต่อแทนขึ้นมาแล้ว เห็นอย่างนี้เรียกว่า
    สันตติยังไม่ขาดและยังอาศัยจินตามยปัญญาอยู่ อีกนัยหนึ่งว่า สัมมสนญาณ เป็นญาณที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์

    ๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจน โดยสันตติขาด คือ เห็นรูปนามดับไปในทันทีที่ดับ
    และเห็นรูปนามเกิดขึ้นในขณะที่เกิด หมายความว่า เห็นทันทั้งในขณะที่เกิดและขณะที่ดับ
    อุทยัพพยญาณนี้ยังจำแนกได้เป็น ๒ คือ ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่ยังอ่อนอยู่ และพลวอุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่แก่กล้าแล้ว

    ๕. ภังคญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นความดับแต่อย่างเดียว เพราะความดับของรูปนามเป็นสิ่งที่ตื่นเต้นกว่าความเกิด

    ๖. ภยญาณ บ้างก็เรียกว่า ภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นภัย เป็นที่น่ากลัว
    เหมือนคนกลัวสัตว์ร้าย เช่น เสือ เป็นต้น

    ๗. อาทีนวญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นโทษ เหมือนผู้ที่เห็นไฟกำลังไหม้เรือนตนอยู่
    จึงคิดหนีจากเรือนนั้น

    ๘. นิพพิทาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า เกิดเบื่อหน่ายในรูปนาม เบื่อหน่ายในปัญจขันธ์

    ๙. มุญจิตุกมยตาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่าใคร่จะหนีจากรูปนาม ใคร่จะพ้นจากปัญจขันธ์
    เปรียบดังปลาเป็น ๆ ที่ใคร่จะพ้นจากที่ดอนที่แห้ง

    ๑๐. ปฏิสังขาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นเพื่อหาทางที่จะหนี หาอุบายที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากปัญจขันธ์

    ๑๑. สังขารุเบกขาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า จะหนีไม่พ้นจึงเฉยอยู่ไม่ยินดียินร้าย
    ดุจบุรุษอันเพิกเฉยในภริยาที่ทิ้งขว้างหย่าร้างกันแล้ว

    ๑๒. อนุโลมญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นให้คล้อยไปตามอริยสัจจญาณนี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ ก็ได้

    ๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพาน ตัดขาดจากโคตรปุถุชนเป็นโคตรอริยชน

    ๑๔. มัคคญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพาน และตัดขาดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาณ

    ๑๕. ผลญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพานโดยเสวยผลแห่งสันติสุข

    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นใน มัคคจิต,ผลจิต,นิพพาน, กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่

    ตั้งแต่ญาณที่ ๓ สัมมสนญาณ จนถึงญาณที่ ๑๒ อนุโลมญาณ รวม ๑๐ ญาณ นี้เรียกว่า วิปัสสนาญาณ
    เพราะสัมมสนญาณนั้น เริ่มเห็นไตรลักษณ์แล้ว บางแห่งก็จัดว่า วิปัสสนาญาณ มีเพียง ๙ คือ
    นับตั้งแต่ญาณที่ ๔ อุทยัพพยญาณ จนถึงญาณที่ ๑๒ อนุโลมญาณ เพราะอุทยัพพยญาณเป็นญาณแรก
    ที่รู้เห็นไตรลักษณ์ ด้วยปัญญาชนิดที่เรียกว่าภาวนามยปัญญา โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัย จินตามยปัญญาเข้ามาช่วย

    วิปัสสนาญาณ หมายถึง ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ
    เห็นประจักษ์แจ้งซึ่ง ไตรลักษณ์ แห่งรูปนาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กันยายน 2013
  11. vitcho

    vitcho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +748
    ลุง สมาน...

    บวชให้ไว....ผม จะไป ขอเรียนด้วยเลย.....
     
  12. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ปริญญา 3 (การกำหนดรู้, การทำความรู้จัก, การทำความเข้าใจโดยครบถ้วน — full understanding; diagnosis)     

      1. ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว, กำหนดรู้ขั้นรู้จัก, กำหนดรู้ตามสภาวลักษณะ คือ ทำความรู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้นโดยตรง พอให้ชื่อว่าได้เป็นอันรู้จักสิ่งนั้นแล้ว เช่นว่ารู้ นี้คือเวทนา เวทนาคือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์ดังนี้เป็นต้น — full knowledge as the known; diagnosis as knowledge)   

        2. ตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา, กำหนดรู้ขั้นพิจารณา, กำหนดรู้โดยสามัญลักษณะ คือ ทำความรู้จักสิ่งนั้นพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นว่า เวทนาไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ดังนี้เป็นต้น — full knowledge as investigating; diagnosis as judgment)    

       3. ปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละ, กำหนดรู้ถึงขั้นละได้, กำหนดรู้โดยตัดทางมิให้ฉันทราคะเกิดมีในสิ่งนั้น คือรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว ละนิจจสัญญาเป็นต้น ในสิ่งนั้น เสียได้ — full knowledge as abandoning; diagnosis as abandoning)       ปริญญา 3 นี้ เป็นโลกียะ มีขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ เป็นกิจในอริยสัจข้อที่ 1 คือ ทุกข์ ในทางปฏิบัติ จัดเข้าใน วิสุทธิข้อ 3 ถึง 6 คือ ตั้งแต่นามรูปปริเฉท ถึง ปัจจยปริคคหะ เป็นภูมิแห่งญาตปริญญา ตั้งแต่กลาปสัมมสนะ ถึง อุทยัพพยานุปัสสนา เป็นภูมิแห่งตีรณปริญญา ตั้งแต่ ภังคานุปัสสนาขึ้นไป เป็นภูมิแห่งปหานปริญญา
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เปรียบเทียบญาณ ๑๖ กับปริญญา ๓ ได้ดังนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ปัญญานั้นมี ๔ อย่าง
    ๑. ปัญญินทรีย์ เป็นปัญญาในโลกียะจิต
    ๒. อนัญญาตัญญัสสามิตนทรีย์ คือ ปัญญาของพระโสดาบัน
    ๓. อัญญินทรีย์ คือ ปัญญาของพระสกทาคามี และ พระอนาคามี
    ๔. อัญญาตาวินทรีย์ คือ ปัญญาของพระอรหันต์

    ในข้อ ๑ เป็นปัญญาของปุถุชน ไม่สามารถจะไปรับรู้จิตของพระอริยะ คือ ข้อ ๒. ๓. ๔ ได้
    ในข้อ ๒ ปัญญาของพระโสดาบัน รู้ ข้อ ๑ และข้อ ๒ ได้ แต่ไม่รู้ข้อ ๓ และ ๔ ได้
    ในข้อ ๓ ปัญญาของปัญญาของพระสกทาคามี รู้ในข้อที่ ๑ และข้อ ๒ ได้ และในข้อ ๓
    ได้เฉพาะพระสกทาคามีด้วยกันเท่านั้น และก็ไม่สามารถรู้พระอนาคมีมีได้
    ส่วนพระอนาคามี รู้ข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ ได้หมด
    ในข้อ ๔ เป็นปัญญาของพระอหันต์ สามารถรู้ได้หมดทั้ง ๔ ข้อโดยไม่มีเหลือ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...