จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]
     
  2. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    กำลังใจ
    นักภาวนาหรือผู้ปฎิบัติธรรมทุกท่าน อย่าลืมเรื่องกำลังใจของตน
    เพราะท่านจะได้ไปต่อ หรือเจริญในธรรมหรือไม่ ก็จะขึ้นอยู่กับกำลังใจเป็นสำคัญ
    ขออ้างความหมายคำว่ากำลังใจตามคำสอนของหลวงพ่อฤาษีฯว่า...
    กำลังใจ ก็คือ บุญหรือบารมีของตนเอง

    ผู้ใดที่มีกำลังใจหรือบุญบารมีถึงพร้อมแล้วก็มักอยากที่จะปฎิบัติธรรม เป็นต้น
    ดูให้พวกเราสังเกตกันดูว่า ผู้ที่มีกำลังใจถึงธรรมปฎิบัติ หรือปฎิบัติบูชานั้นมีน้อย
    เพราะส่วนใหญ่มีกำลังใจถึงแค่อามิสบูชา เป็นต้น

    ส่วนที่มาของกำลังใจ หรือบุญบารมีนั้น เราต้องสร้างกันขึ้นมาเอง
    นอกจากท่านทั้งหลายมีความศรัทธากันแล้ว จะต้องใส่ความเพียรเข้าไปด้วย
    อย่าลืมนะ ทุกสิ่งทุกอย่างมักจะสำเร็จได้ด้วยใจของตนเองแทบทั้งสิ้น
    ความเพียรเรื่องการสร้างกำลังใจ หรือสร้างบุญบารมีแห่งตนนั่นเอง

    การสร้างกำลังใจหรือบุญบารมีแห่งตนนั้น จะต้องเป็นไปตามขั้น..บันไดบุญ
    เช่น นับตั้งแต่เรื่องการให้ทาน ถึงจะเป็นบุญเล็กน้อยก็ถือเป็นสร้างขั้นแรกในการสร้างกำลังใจของตนโดยตรง
    พอเราทำบุญหรือทำทานมากๆแล้ว บุญจากการทำทานนี้ก็จะส่งผลให้เรามีกำลังใจในรักษาศีลของตน
    นี่ก็ถือว่าเป็นบันไดบุญขั้นที่๒ หรือขั้นกลาง
    เมื่อรักษาศีลของตนได้แล้ว บุญที่เราได้จากการรักษาศีลนั้นก็จะนำพาให้เราไปสู่การทำบุญอันใหญ่หลวง
    นั่นก็คือ การภาวนา

    การภาวนาเป็นการสร้างบุญภายใน เป็นการสร้างอริยทรัพย์ของตน เพื่อใช้ต่อในภพภูมิหรือชาติต่อๆไปของตน

    โดยเฉพาะผู้ปฎิบัติ อย่าให้กำลังใจตก เพราะมีผลโดยตรงกับผู้ปฎิบัติธรรม
    จะทำให้ท่านจะไม่ได้ไปต่อ นั่นหมายถึงจิตไม่พัฒนาให้สูงขึ้น หรือไม่เจริญในธรรมเท่าที่ควร
    เช่น จะออกจากทุกข์ของตนไม่ได้ หรือไปนิพพานไม่ถึง เป็นต้น

    อย่าไปใช้กำลังใจหรือพลังจิตมากไปกับสิ่งไร้สาระ หรือทางโลกมากนัก
    พยายามสร้างกำลังใจ หรือชาร์ตพลังจิตให้เต็มอยู่เสมอ
    สำหรับผู้ปฎิบัติที่เข้ามาอ่านธรรมะนี้ ก็ถือว่าเป็นการช่วยต่อยอดให้เรามีกำลังใจในการปฎิบัติเหมือนกัน
    สำหรับผู้ปฎิบัติที่มีกำลังใจมากหรือพลังจิตมากแล้ว ก็ต้องให้ความเมตตากับผู้ที่มีกำลังใจน้อยด้วย
    เพื่อพากันฉุดรั้งจิตใจให้สูงขึ้นตามกันไปด้วย ตามนโยบายของพระที่มาบอกมาเตือนกันไปแล้วนั้น
    เมื่อผู้ปฎิบัติมีจิตสงเคราะห์ผู้อื่นก็เท่ากับจิตผู้นั้นทรงพรหมวิหาร๔ครบถ้วน
    เมื่อจิตผู้นั้นมีพรหมวิหาร๔ ครบถ้วนย่อมจะพัฒนาลำดับวาระจิตของตนให้สูงยิ่งๆขึ้นต่อไป

    สรุป..โดยเฉพาะผู้ที่กำลังปฎิบัติธรรมจะต้องคอยหมั่นสร้างกำลังใจของตนให้ต่อเนื่อง
    พยายามเติมกำลังใจหรือพลังจิตให้เต็มอยู่เสมอๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 สิงหาคม 2013
  3. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=dcSyCNJBX3k]กำลังใจ โฮบ [Edu-Bio] - YouTube[/ame]

    นี่กำลังใจทางโลก ไม่ใช่กำลังใจในทางธรรม
    เพราะกำลังใจทางโลกนั้นต้องไปได้จากผู้อื่น โดยเฉพาะคนที่เรารัก
    แต่กำลังใจทางธรรมดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ต้องมาจากตนเอง
    เราต้องสร้างเอง ทำเอง ก็คือการสะสมบุญบารมีแห่งตนเอง

    แต่ตอนนี้ขอฝากกำลังใจทั้งทางโลกและทางธรรมให้กับทุกท่านผ่านพ้นอุปสรรคมากมายในชีวิตก็แล้วกัน
    สาธุๆๆ
     
  4. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ** ความสุข ความทุกข์ ของคนเรานั้นขึ้นอยู่กับ
    .. " การประเมินค่า " ภายในจิตใจของตนเอง
    ผูกใจกับสิ่งใด ใจก็จะติดตามไปกับสิ่งเหล่านั้น

    .. เราตั้งใจกับเรื่องใด ใจก็จะจดจ่อมีสมาธิกับสิ่งที่
    เราตั้งจิตตั้งใจกระทำ ผูกใจให้อยู่ ดูใจให้ออก
    .. บอกใจได้ ใช้ใจเป็น ถ้าใจไม่มีสมาธิ สติก็เตลิด
    ความผิดพลาดมันก็เกิดขึ้นได้ง่าย เขาเรียก
    ประมาท เราต้องตื่นตัว ตื่นใจ
    .. อย่าหลงกับการตื่นกิเลส ตื่นอารมณ์


    ** ถ้าขาดสติ โอกาสที่จิตใจจะวิ่งไป
    ตามอารมณ์ภายนอกมันก็มีมากขึ้น
    .. และอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำ
    จิตให้หลงใหลมัวเมาได้ง่ายขึ้น


    ** การภาวนานั้น ต้องรู้จักเลือกอุบายภาวนา
    .. พิจารณาอุบายที่ถูกจริต
    อาศัยความเพียรอย่างเดียวไม่ได้
    .. กิเลสมันพลิกแพลงเก่ง ต้องตามให้ทัน
    คนรู้จักพิจารณาก็ได้บรรลุธรรมเร็ว**



    ** รู้สึกตัวได้แล้ว ก็รักษาระดับไว้
    .. จิตใจใครนิ่งได้เท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน**


    ** ถ้าหากภูมิจิตของผู้ปฏิบัติจะมองเห็นแต่เพียง
    .. กายทั้งหมดนี้เป็นแต่เพียงธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    รู้แต่เพียงว่าธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ
    .. ภูมิจิตของท่านอยู่แค่นั้น ก็มีความรู้เพียงแค่ชั้นสมถกรรมฐาน
    ถ้าภูมิจิตของผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติความรู้ไปสู่พระไตรลักษณ์
    .. ถ้าหากมีอนิจจสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง
    ทุกขสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นทุกข์ (เพราะตั้งอยู่ไม่ได้)
    .. อนัตตสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
    ภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ก้าวเข้าสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา

    ** คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดให้ได้จึงรู้
    .. แต่ก็ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้
    คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้น
    .. เป็นผู้ปฏิบัติธรรม ต้องปฏิบัติถึงสิ่งที่ไม่มี
    และอยู่กับสิ่งที่ไม่มี


    ** ของเก่าปกปิดความจริง
    .. ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด
    จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน
    .. ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน
    ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีความเพียร ไม่มีความสำเร็จ

    ** พุทธะคือผู้รู้ ก็ตัวเรานี้เอง เปรียบได้กับ
    ไข่อยู่ข้างในเปลือก ทำให้เปลือกไข่แตกเราก็ได้ไข่
    .. พิจารณาร่างกายของเราให้แตก แล้วเราก็จะได้ธรรมะ .. **


    รวมคำสอนจาก ครูบาอาจารย์ ...แบ่งปันมาจากเฟสบุค
     
  5. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    คำสอน สมเด็จองค์ปฐม

    "ธรรมะมีแต่ปัจจุบัน รักษาอารมณ์ปัจจุบันให้ดีๆ สุข ทุกข์ พ้นได้ที่ตรงนี้ หากอยู่แต่ในปัจจุบัน อดีต อนาคต ก็เกิดขึ้นไม่ได้
    วันหนึ่งๆ จึงไม่มีใครมาทำร้ายเราได้มากเท่ากับอารมณ์จิตของเราทำร้ายจิตเราเอง หรือศัตรูที่แท้จริงของเราก็คือ
    อารมณ์จิตของเรา ทำร้ายจิตเราเอง"

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๗
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  6. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    การหลุดพ้นมี ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติ แลปัญญาวิมุตติ

    -โยคีที่เจริญสมถะสมาธิมาแล้ว ต่อมาจิตยกขึ้นวิปัสสนา แล้วบรรลุมรรคผล

    ...ก็จะหลุดพ้นแบบเจโตวิมุตติ...

    ...โยคีที่ไม่ได้เจริญสมถะมาในกาลก่อน เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว

    -ถ้าได้มรรคญาณ...ก็จะได้บรรลุมรรคผล นิพพาน แบบปัญญาวิมุตติ...

    ...ธรรมะจากหลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ. เชียงใหม่...

    ...กราบนมัสการหลวงปู่เจ้าค่ะ กราบ กราบ กราบ
     
  7. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    บารมีเต็มเป็นอย่างไร

    เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ พ.ค. ๒๕๓๖ หลวงพ่อฤๅษีท่านเมตตามาสอนมีความสำคัญ ดังนี้

    ๑. บารมีเต็ม คือ การทำกรรมฐานทุกครั้งด้วยความตั้งใจและเต็มใจ ทำจริง หรือการทำงานเพื่อศาสนกิจก็เช่นกัน เอางานนั้นมาเป็นกรรมฐาน ทำด้วยความเต็มใจและตั้งใจทำจริง สลัดตัดความเบื่อหน่ายเกียจคร้านทิ้งไป

    ๒. มีความเจตนาตั้งใจจริง เพื่อพระนิพพานจุดเดียว เหนื่อย นั้น เหนื่อยแน่ เพราะเรายังมีขันธ์ ๕ ก็ต้องทำจิตยอมรับความเบื่อหน่ายนั้นว่าเป็นธรรมดา

    ๓. ที่เราเหน็ดเหนื่อยเพลิดเพลินอยู่ในกามโลกียวิสัยมากี่แสนอสงไขยกัปแล้ว เราเกิดตายอยู่กับความเหนื่อยของขันธ์ ๕ นี้มานานเท่าไหร่ ความเหนื่อยเหล่านั้นมันหาสาระไม่ได้ ขอให้ตั้งใจจริง เต็มใจจริง เหนื่อยเพื่อทำกรรมฐานให้พ้นโลก ช่วยศาสนกิจเป็นครั้งสุดท้ายของชีวิตที่ทรงขันธ์ ๕ อยู่นี้ อดทนไปเถิด ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้ว

    ๔. สลัดตัดความเบื่อหน่ายทิ้งไป รู้ทุกข์นั้นดีกว่าไม่รู้ทุกข์ รู้เหน็ดเหนื่อยดีกว่าไม่รู้เหน็ดเหนื่อย รู้ธรรมดีกว่าไม่รู้ธรรม จิตจะได้ชำระความมัวเมาในกามโลกียวิสัยทิ้งไปจากอารมณ์เสียที อย่ากลัวทุกข์ เพราะทุกข์ เป็นของจริง

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๔
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  8. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]


    “...นักปฏิบัติสำคัญที่สุด ต้องเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ
    พยายามรักษาจิตให้เสมอ อย่าให้ขึ้นลงตามกิเลสที่มาก่อกวน
    การรักษาจิตให้เป็นปกติได้ จะมีความสุขในการปฏิบัติ
    จิตนี้เมื่อเราปฏิบัติถึงจุดแห่งผล อานิสงส์จะหาประมาณมิได้
    การปฏิบัติทางจิต จึงจำเป็นแก่ผู้มีปัญญา...”

    “...ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใด ธรรมข้อหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
    ลึกลับที่สุด เป็นที่พึ่งถาวรแก่เราได้ ก็คือ..
    อตฺตาหิ อตฺตโนนาโถ
    พึ่งตน รู้ตน แล้วก็จะรู้ในสิ่งทั่วไป
    เพราะตนนั้นแหล่ะเป็นเหตุ เป็นต้นเหตุของทุกสิ่ง...”

    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
     
  9. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]

    เหตุของความทุกข์จริงๆ คืออะไร?​


    เหตุของความทุกข์จริง ๆ คือ ตัณหา ได้แก่ ความทะยานอยาก เมื่อเรามีตัณหาขึ้นมาแล้วร่างกายมันจึงมี
    อารมณ์จิตเรามีตัณหามันจึงมีร่างกาย ร่างกายเป็นจุดรับภาระของความทุกข์ทั้งหมด
    ขึ้นชื่อว่าทุกข์ทุกอย่างที่เราจะมีขึ้นมาได้ ก็อาศัยร่างกายเป็นสำคัญ
    ถ้าเราไม่มีร่างกายเราก็ หมดตัณหา ถ้าหมดทั้ง 2 อย่าง คือ หมดตัณหา
    ก็ชื่อว่าหมดร่างกาย ถ้าเราไม่ติดอยู่ในร่างกายก็ชื่อว่าหมดตัณหา
    คำว่าไม่ติดในร่างกายก็หมายถึงว่า ไม่ติดอยู่ในร่างกายของเราด้วย
    และก็ไม่ติดอยู่ในร่างกายของบุคคลอื่นด้วย อารมณ์ไม่ติดอยู่ในวัตถุธาตุใด ๆ ด้วย
    โดยยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ที่เราเรียกกันว่า
    วิปัสสนาญาณ ตัวสุดท้าย การยอมรับนับถือนี้ก็หมายถึงว่า อารมณ์มัน เฉย
    คำว่าอารมณ์เฉย ไม่ได้หมายความว่า อารมณ์ไม่คิดตามที่เขาบอกว่าอารมณ์ว่าง ว่างโดยไม่คิดอะไรเลยนั้น ไม่มีในชีวิตของคน

    อริยสัจ เขาสอนสองอย่างเท่านั้น สำหรับอีกสองอย่าง ไม่มีใครเขาสอนหรอก อย่าง นิโรธะ แปลว่า ดับ
    อันนี้มันตัวผล ไม่ต้องสอน มันถึงเอง มรรค คือ ปฏิปทาเข้าถึงความดับทุกข์ มันก็ทรงอยู่แล้ว คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    นี่ อริยสัจ เขาตัดสองตัว คือ ทุกข์ กับสมุทัยเท่านั้น


    อ้างอิง จากหนังสืออริยสัจ
     
  10. newwave1959

    newwave1959 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +2,681
    [​IMG]


    พระธรรมคำสอน ของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ถึงลูกหลานทุกๆคน​


    “...นี่แหละบรรดาญาติโยม อารมณ์ของบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ที่มีกำลังใจมุ่งมั่นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ และจงอย่าคิดประณามตนเองว่ามันไปไม่ถึง จิตที่มันจะไปถึงจริงๆ ก็หมายความว่าวันหนึ่งถ้ามันมีอารมณ์อยู่ ก่อนจะหลับหรือเวลาอื่นก็ได้ ก่อนจะหลับมันเพลียก็ไม่ต้องตั้งท่านั่งหรอก ใช้นอนแบบนั้น นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงพระธรรม นึกถึงพระสงฆ์ นึกถึงบุญกุศลที่ตนทำไว้ เราก็คิดว่าขึ้นชื่อว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีทุกขเวทนาแบบนี้ มันจะมีสำหรับเราชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ชาติต่อไปไม่มีอีก ขึ้นชื่อว่าเทวดาหรือพรหมจะไม่มีสำหรับเรา เราต้องการพระนิพพาน…”

    คำสอนสายกลาง
    (คัดบางส่วนจากคำสอนที่สายลม ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓)


    “...ประเทศไทยของพวกเราจะทรงอยู่ได้ เพราะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททรงธรรม วันนี้พูดเรื่องธรรมะ เอาอะไรมาว่าซะครึ้ม! เวลามันจะหมดเสียแล้ว ที่ ทรงธรรม เป็นยังไง คือว่าอาตมาเคยเทศน์มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี ๑๘ จะไปวัดบางนมโค ไปเป็นคณะใหญ่ก็ไปพักอยู่ที่บ้านรับรองที่จังหวัดอยุธยา

    ตอนกลางคืนนั่งคุย.... และก็ถึงเวลาไปนอนเห็นกองไฟลุกโชนใหญ่มาก มองเห็นแล้วน่ากลัวจัด ไอ้ภาพเช่นนั้นมันเกิดขึ้นก็ทราบว่านี่มันเป็นชะตาของประเทศ ใจหายเหมือนกันพอรู้สึกว่าใจหายไปนิดหนึ่ง อันตรายมันจะเกิดอย่างนี้จะทรงอยู่ได้หรือ

    ก็มีพระองค์หนึ่ง พระท่านก็บอกตรงๆ ว่า คือพระพุทธเจ้าท่านมายืนอยู่ข้างๆ กองไฟ แล้วก็ยกพระหัตถ์ชูขึ้นมีนํ้าหยดน้อยๆ หยดแปะลงไป หยดแปะเดียว นํ้ามันนิดเดียว ไฟกองใหญ่มหึมา ไฟดับพรึ่บหมด... ถามท่านว่า "หมายความว่ายังไง?"

    ท่านบอกว่า "ชะตาของประเทศไทยมีสภาพแบบนี้มันจะมีความเร่าร้อน แต่ว่าต่อไปมันก็จะดับ สภาวะนั้นจะสลายไป นํ้าถึงแม้ว่าจะมีปริมาณน้อย แต่ถ้าหากว่ามีความเย็นสูงก็สามารถดับไฟในกองเพลิงได้"

    และท่านก็พยากรณ์ต่อไปว่า "ประเทศไทยนี้ต่อไปข้างหน้า คนไทยจะเข้าถึงศีลธรรมมาก เมื่อจิตใจเข้าถึงศีลธรรมมาก ก็เหมือนกับนํ้าที่มีความเย็นสูง ถึงปริมาณนั้นจะน้อยไปก็ตามที ประเทศก็จะทรงมีความเยือกเย็นได้ เหมือนกับนํ้าหยดแต่น้อยดับไฟในเวลานั้น" นับจากนั้นมาอาตมาก็สังเกตมา ก็รู้สึกว่าคนที่ใคร่ในการเจริญสมถวิปัสสนานี้มากขึ้น มากขึ้นตรงตามที่พระองค์ทรงตรัส

    เป็นอันว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องของโลก แต่เราก็อยู่ในโลกนะ ต้องถือว่าโลกนี่มันมีแต่ความเร่าร้อน ฮึ! ลงท้าย นักเทศน์มันต้องแบบนี้นะ โลกมันมีแต่ความเร่าร้อน ไฟที่มันเผาเราอยู่จริงๆ ไฟนอก มันร้อนไม่มาก แต่ไฟที่มีนํ้าหนักจริงๆ ก็คือ ไฟใน

    ไอ้ไฟนอกนี่ถ้าเขาจุดตรงนี้ เราก็อยู่เสียตรงโน้น มันก็ไม่ร้อนใช่ไหม เรายืนอยู่ตรงโน้นเขาตามมาจุดใกล้ๆ เราก็เดินต่อไปอีก มันก็ไม่ร้อน แต่ว่าไฟที่มันทำให้เราเร่าร้อนจริงๆ ทุกเวลามันมีอยู่ ๓ กอง
    กองที่หนึ่งพระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า "ราคัคคิ" ไฟคือราคะ
    ไฟที่สองก็คือ "โทสัคคิ" ไฟคือโทสะ
    ไฟที่สามก็เรียก "โมหัคคิ" ไฟคือโมหะ

    ไฟ ๓ กองนี่ความจริงจะอยู่ที่ไหนก็ตาม แม้แต่อยู่ในตู้นํ้าแข็งมันก็ร้อน เพราะอะไร เพราะมันอยู่ในใจเรา ถ้าเราสามารถดับไฟภายในได้ ไฟภายนอกไม่มีอันตราย ก็เหมือนกับบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่มากันที่นี่ ที่มากันที่นี่ว่ากันโดยความเป็นจริง ทุกท่านก็มีไฟ ๓ กองสุมอยู่ในใจ แม้แต่อาตมาเองก็มีเหมือนกัน ต่างคนต่างมี ถ้าไม่มีก็ไม่เกิดมาเป็นคน หรือไง? ถ้าเราไม่มีไฟ ๓ กองนี้ไม่มีใครมาเกิดเป็นคน ไปนิพพานหมด...

    อันนี้ทุกคนมีไฟ ๓ กอง ที่มานี่ก็ดับไฟ ๓ กอง แต่ว่าพวกที่มานี่ไฟ ๓ กองมันไม่ลุกโชนหรอก มันมีกระแสอยู่ในจิตคล้ายๆ กับไฟธูปใช่ไหม เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าถ้ามีราคะหนัก มีโทสะหนัก ถ้ามีโมหะหนัก ก็มานั่งอยู่ตรงนี้ไม่ได้ ถ้าถามว่าใครจะเป็นคนบังคับไม่ให้นั่งอยู่ตรงนี้ ก็ต้องตอบว่าไฟ ๓ กองมันบังคับ

    ทีนี้ท่านทั้งหลายถ้ายังมีไฟ ๓ กองนี้บ้าง มันก็ไม่ใช่ไฟที่มันสุมเปลวหมดเหลือแต่ถ่าน มันเป็นไฟถ่านทั้งคู่ นิดเดียวนะ! ทั้งนี้เพราะอะไร จะหาว่ายออันนี้ไม่ได้ยอ จะหาว่าชมก็ไม่ได้ชม พูดตามความเป็นจริง ที่พูดนี่พูดตามความเป็นจริง เพราะอะไร เพราะว่าทุกครั้งที่มา ก็ดูจิตใจของบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทชายหญิงทั้งหมด เวลาที่เจริญกรรมฐานน่ะ! กระแสของจิตมันหลบตาพระไม่ได้

    อีกประการหนึ่งถ้าหากเราจะดูตรงจริยากัน เพื่อความมั่นคงของจิต ที่บรรดาท่านมานั่งอยู่ที่นี่ทุกคน มาด้วยความเหนื่อยยาก นั่งพลิกกายก็ยาก นั่งเบียดเสียดกันทุกคนก็มา ที่มาได้อย่างนี้ก็แสดงว่ากำลังใจของบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เราเรียกว่ากิเลสมันบางลง

    ทีนี้จะบางมากหรือบางน้อย ก็ขึ้นอยู่กับกำลังใจของท่าน แต่ว่าก็พูดมานานแล้วว่า ทุกๆ คราวก็เคยสังเกตดูจิต บางครั้งก็สว่างผิดปกติ แต่ช่วงหลังๆ สว่างจนกระทั่งขี้เกียจดู เมื่อปีก่อนๆ โน้นเมื่อ ๓-๔ ปี ถ้าบังเอิญเห็นกระแสจิตของบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เป็นเหมือนกับเทียนดวงน้อยๆ นี่จะดีใจมาก แต่เวลานี้มันไม่ใช่เสียแล้ว มันเป็นสปอตไล้ท์ไป อันนี้เป็นเรื่องจริงนะ!

    บางครั้งตกใจเลยนะ ขึ้นไปข้างบนเวลาท่านหลับตานั่งกันนี่ มองดูข้างล่างแล้วตกใจ เอ๊ะ! แสงสว่างอะไรก็ไม่รู้ นี่ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ไป กำลังมันก็สูงขึ้น ถ้าแสงสว่างของใจจะมากหรือไม่มากก็ดูกำลังใจของบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทเอง

    อย่านึกว่าไอ้จิตที่มั่วสุมอยู่ในด้านของราคะนี่ ตัวท่านเองก็จะรู้ว่ากำลังใจมันบางลง มันไม่ใช่หมด อาจจะหมดบ้างก็มี บางท่านไม่หมดแต่บางทีความรู้สึกมันช้า ด้านโทสะอาจจะยังมี แต่มันมีความรู้สึกไม่รุนแรงเท่าเดิมและก็หายเร็ว ด้านโมหะตัวหลงนั่นหลงนี่ นั่นก็ของกู นี่ก็ของกู ไอ้ความคิดว่าทรัพย์สินยังมีอยู่เป็นของเรา แต่ว่าชีวิตหรืออารมณ์อย่างหนึ่งมันก็คิดอยู่เสมอว่า "เราจะต้องตาย"

    เป็นอันว่าถ้าอารมณ์จิตอย่างนี้ ท่านถือว่าเป็นอารมณ์จิตที่มีกระแสไฟตํ่าเต็มที ไอ้ไฟชั่วนะ ไอ้ไฟราคะ โทสะ โมหะ ๓ อย่างตํ่า มันตํ่าลงได้เพราะอะไร ตํ่าลงก็หนึ่งคือศีล ศีลนี่บางท่านจะคิดว่าบางวันเราก็บกพร่อง บางวันก็ดี เมื่อศีลดีแล้วทุกท่านก็ฝึกสมาธิ เพราะสมาธินี่พระพุทธเจ้าเคยพูดกับพระสารีบุตร

    พระพุทธเจ้าเคยทรงตรัสว่า "สารีปุตตะ ดูก่อนสารีบุตร บุคคลใดที่มีจิตว่างจากกิเลส" คำว่า "ว่างจากกิเลส" นี่มันหมายความว่า เวลานั้นน่ะจิตไม่นึกถึงด้านความรักในระหว่างเพศ จิตไม่คิดโกงชาวบ้านในเรื่องความรํ่ารวย จิตไม่คิดจะโกรธจะเข่นฆ่าใคร จิตก็ไม่คิดว่าทรัพย์สินทั้งหลาย ร่างกายนี้จะอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย อารมณ์จิตมันเฉยไม่ยุ่งเรื่องราคะ โทสะ และโมหะ จิตมันว่าง จิตสงบ

    อารมณ์ที่จิตสงบนี่ท่านบอกว่า "ถ้าจิตของบุคคลใดมีจิตว่างจากกิเลสวันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่ง เรากล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตไม่ว่างจากฌาน"

    ทีนี้บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทมีจิตว่างจากกิเลสบ้างไหม วันๆ หนึ่งก็ต้องตอบว่ามี และที่มีมันเลยกว่าชั่วขณะจิต ชั่วขณะจิตมันนิดเดียว จะเทียบกับ ๑ วินาทีก็พอได้ ชั่วขณะจิตน่ะ ทีนี้หากบรรดาท่านทั้งหลายที่นั่งคุยกันวันนี้ อาตมาบ้าคุยอยู่คนเดียว โยมฟังอาตมาคุยเรื่องธรรมะนี่ท่านสนใจในเสียงที่ฟังจากกระแสเสียงที่ออกไป ใจท่านไม่ได้คิดไปอย่างอื่น แต่บางท่านบอกไม่แน่นัก เมื่อกี้นี้ผมคิดถึงบ้าน เมื่อกี้นี้นึกถึงเห็นหน้าเจ้าหนี้ใจหายวาบ คนที่มีลูกหนี้ นึกถึงลูกหนี้

    แหม..ใจหายทุกที ดอกเบี้ยก็ไม่ส่ง ไม่แน่ว่าต้นจะให้หรือไม่ให้ แต่ว่าที่นั่งฟังอยู่นี่ก็มีช่วงหนึ่งของจิต จิตของท่านไม่ได้น้อมไปในกิเลสทั้ง ๓ ที่ว่านี่พระจะพูดเรื่องอะไรนะ พอพูดไปก็ตั้งใจฟังกระแสที่ออกไปมันเกี่ยวโลกบ้าง ธรรมบ้าง เรียกว่า "โลกธรรม" หรือธรรมแท้ จิตจุดนี้ถ้าจิตว่างจากกิเลส ถ้ามันว่างชั่วขณะจิตหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ

    แต่ว่าอาตมามั่นใจ คือบรรดาญาติโยมทั้งหลายที่นี่ หมายความว่ามาด้วยความเต็มใจ จิตของท่านมันว่างมาจากบ้านแล้ว จากบ้านมาถึงที่นี่มันใช้เวลาเท่าไหร่ มันเกินกว่าชั่วขณะจิตหนึ่ง คือว่าตั้งใจไว้แล้วว่าวันนี้เราจะไปปฏิบัติธรรมกัน ตัวนี้มันว่างมาแล้ว ว่างก่อนออกเดินทางจากบ้าน ตั้งแต่เริ่มคิดจิตมันเริ่มว่าง และกว่าจะมาถึงที่นี่แล้วก็มานั่งอยู่ที่นี่ จนกว่าจะถึงเวลากลับ มันก็ว่างตลอด ก็แสดงว่าจิตท่านว่างจากกิเลสเกินกว่าชั่วขณะจิตหนึ่ง

    ถ้าสมเด็จพระธรรมสามิสรท่านมาท่านก็บอกว่า "คนพวกนี้มันจะมีสันดานตายแล้วจะไม่มีที่เกิด" ฮึ! ท่านจะแช่งแบบนี้ก็ระวังให้ดีนะ ฮึ! คนพวกนี้มันตายแล้วมันหาที่ผุดที่เกิดไม่ได้ โมโหไหม...เพราะอะไร เพราะว่าจิตใจท่านมีความมั่นคง

    ถ้าว่าถึงบารมีนะ วันนี้ก็คุยกันนิดคงไม่ได้เรื่องอะไร ถ้าว่าถึงบารมีที่มาด้วยความเต็มใจจริงๆ อย่างนี้เขาเรียกว่า "ปรมัตถบารมี" บารมี นี่เขาแปลว่า กำลังใจ ปรมัง นี่แปลว่า อย่างยิ่ง

    ไอ้ปรมัตถนี่กำลังใจของท่านหน่วงเหนี่ยวในด้านของกุศลอย่างยิ่ง เขาเรียก "ปรมัตถบารมี" แต่เทียบได้ว่าการมานี่ไม่มีค่าจ้าง ไม่ได้รางวัลเป็นวัตถุ แต่ท่านทั้งหลายก็มากัน ที่มากันเพื่ออะไร มาเพื่อละกิเลส มันจะละได้มากหรือได้น้อยก็อย่าพึงวิตก

    พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสว่า "นํ้าตกมาทีละหยาดๆ ก็สามารถทำภาชนะให้เต็มได้ฉันนั้น" แม้กำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท มุ่งมั่นทำลายกิเลส ไอ้การทำลายกิเลสนี่เขาไม่หักโหม ต้องค่อยๆ ทำลาย เราต้องค่อยๆ ทำลาย ถ้าหักโหมมันมากเกินไปมันไม่ได้ เป็น "อัตตกิลมถานุโยค"

    นี่เป็นอันว่าถ้าวัดกำลังใจก็จัดเป็น "ปรมัตถบารมี" คือมีความอดทนอย่างยิ่ง มีกำลังใจพร้อม นี่ส่วนในการปฏิบัติให้รู้กำลังใจของท่านเป็น "ปรมัตถบารมี" ไอ้คำว่า "ปรมัตถบารมี" นี่มันพร้อมที่จะไปนิพพานทราบไว้ด้วยนะ ว่าถ้ากำลังใจเป็น "ปรมัตถบารมี" นี่จิตมันพร้อมไปนิพพาน คือพร้อมแล้วทุกอย่าง เรามีทุกอย่างพร้อมที่จะเคลื่อนที่แต่เราจะไปหรือไม่ไป มีอยู่เท่านั้น

    เรามีสตังค์ในกระเป๋า มีพาหนะเสร็จ กำลังกายก็ดี ทุกอย่างพร้อมแล้วที่จะไปต่างประเทศ แต่ว่าเราจะไปไหม ถ้าเราไม่อยากไปมันก็ต้องไป ถ้าเราอยากไปมันก็ต้องไป หรือไง! พูดไม่ค่อยรู้เรื่องนะ ว่าไง!

    เอ้า! แต่คนที่มีบารมีพร้อมนี่อยากไปหรือไม่อยากไป มันก็ต้องไปใช่ไหม เพราะอะไร เพราะว่ากำลังใจบางครั้งที่อกุศลกรรมที่เราทำมาในชาติในอดีต มันเข้ามาสนองจิต ตอนนี้ล่ะจิตมันจะกวัดแกว่ง มันจะถอยหน้าถอยหลัง ไม่แน่ใจว่าจะไปหรือไม่ไป ไปดีหรือไม่ไปดี เดินข้างหน้า ๒ ก้าว ถอยหลัง ๓ ก้าว เดินข้างหน้า ๕ ก้าว ถอยหลังมา ๑ ก้าว ถอยหลังมา ๓ ก้าว เดินข้างหน้า ๕ ก้าว ยืดหยุ่นกันแบบนั้น ผลที่สุดเราก็สุดท้าย จังหวะสุดท้ายจริงๆ มันจะตัดสินใจว่าไปดีกว่าอยู่

    ตัวอย่างท่าน องคุลีมาล ท่านเป็นคนดี คนจะเป็นอรหันต์ได้ในชาตินี้ แต่ว่าอาศัยความดีที่สะสมมามาก ในเมื่อดีกว่าคนอื่น คนอื่นก็เลยอิจฉาหาทางกลั่นแกล้ง ผลที่สุดอาจารย์ก็โกหกว่ามีมนต์พิเศษที่เรียกว่า "วิษณุมนต์" ถ้าจะเรียนมนต์บทนี้ต่อไปจะมีอำนาจชนะในไตรภพ คือ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ท่านก็เอา และก่อนที่จะเรียนมนต์บทนี้ต้องฆ่าคนให้ได้ ๑,๐๐๐ คนเสียก่อน อกุศลเข้ามาลิดรอนก่อน ไอ้กรรมที่เป็นอกุศลมันลิดรอนหนักๆ เข้า ผลที่สุดพอมันหมดกำลังก็พบพระพุทธเจ้าพอดี

    เมื่อพบพระพุทธเจ้าพอดี องค์สมเด็จพระชินสีห์เห็นเข้าก็เดินไปข้างหน้า องคุลิมาลให้หยุด ท่านบอกว่าหยุดแล้วแต่ท่านเดินเรื่อยๆ องคุลิมาลเรียกเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง

    ท่านถามว่า "สมณะ! ทำไมถึงโกหก?" พระพุทธเจ้าบอก "เราไม่ได้โกหก เราหยุดจากบาปกรรมธรรมอันลามกแล้ว เธอยังไม่หยุดอีกหรือ?" เท่านี้แหละกุศลเดิมให้ผล วางดาบวางพวงนิ้วมือ วิ่งเข้าไปกราบพระพุทธเจ้าขอบรรพชาอุปสมบท บวชแล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ใช่ไหม ที่อาตมาบอกว่า คนที่มีบารมีเต็มจะไปนิพพานหรือไม่ไปมันก็ต้องไป ไปตรงไหน ไปตรงที่บุญที่เป็นกุศลเดิมทั้งหมดมันรวมตัว อันนี้อยู่ไม่ได้ ต้องไปนะ!

    เหมือน คุณชัยณรงค์ ตัวอย่างก่อนนี้เป็น ด.ช.ชัยณรงค์ ก็อยากจะเป็นหนุ่ม พอเป็นนายหนุ่มชัยณรงค์ก็ไม่อยากเป็นคนแก่ อยากหรือไม่อยากมันก็แก่ใช่ไหม นี่ก็เหมือนกัน ต่อไปอยากตายหรือไม่อยากมันก็ต้องตาย เป็นอันว่าวันนี้พูดกันถึงกำลังใจของบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท

    ความจริงอาตมาเตรียมมาพูดอย่างหนึ่งนะ แต่พูดจริงๆ ไปอีกอย่างหนึ่ง เวลานี้บังคับไม่ได้ สู้ท่านไม่ได้ เมื่อท่านให้พูดอย่างนี้ก็ต้องพูดอย่างนี้ ลงมาก็ตั้งท่าวันนี้ว่า สังโยชน์ ให้ญาติโยมดีกว่า พูดไปพูดมาเป็นแบบนี้ เวลาเหลืออีก ๕ นาที ๕ นาทีนี้จะพูดอะไรให้เป็นจุดสักจุดหนึ่ง เป็นเครื่องวัดกำลังใจ

    เป็นอันว่าบรรดาญาติโยมทั้งหลาย ที่มาด้วยความเต็มใจ ก็เห็นกันแล้วว่าสิ่งที่มันทำได้ยากที่สุด เราก็ทำไปแล้ว นั่นก็คือ "มโนมยิทธิ" นี่ว่าเป็นวิชาที่ยากมากในพระพุทธศาสนา อย่านึกว่ามันกล้วยๆ นะ ไอ้ที่ทำกันได้ง่ายๆ นี่แหละ รู้ตัวไว้ด้วยเถอะว่าของมันมีอยู่แล้ว มันเต็มอยู่แล้ว เราไม่รู้จักใช้มันเอง

    นี่เอามาลองกันดูใช่ไหม เรามาลองกันดูว่าวิชานี้สมัยอาตมาบวช พระที่บวชพร้อมๆ อาตมานะ ทำกรรมฐานเป็นสิบๆ ปีก็ตายไปเยอะ เอาจริงเอาจังกันไม่ได้ นี่เป็นเครื่องวัด แต่ว่าพวกเรามาทำแพล็บๆ ๑๐ นาที ๒๐ นาทีไปแล้ว ไอ้ลูกศิษย์แบบนี้มันน่าตีหน้าแข้ง อาจารย์มันทำมาเกือบตายกว่าจะได้ (หัวเราะ) ใช่ไหม อันนี้ก็เป็นเครื่องวัดกำลังใจว่าทุกท่านมีอารมณ์พร้อมแล้ว กุศลพร้อมแล้วที่จะเคลื่อนไป นี่มันของยากแต่ทำได้ง่ายดาย

    ต่อไปก็ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท วัดกำลังใจว่าวันหนึ่งมันมีไหม อารมณ์ที่เราคิดว่าโลกนี้ไม่มีความหมาย เทวโลกหรือพรหมโลกไม่มีความหมาย มองโลกนี้ทั้งโลกก็เต็มไปด้วยความทุกข์ คนก็ดี สัตว์ก็ดี ไม่มีใครมีความสุข เราก็ดี เขาก็ดี มีแต่ความวุ่นวายอารมณ์ใจรู้สึกมีความเบื่อหน่ายว่าการเกิดคราวนี้มันไม่ดี มันเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เต็มไปด้วยความทุกข์ และจิตอีกส่วนหนึ่งมันคิดว่าไอ้ความสุขจริงๆ ไม่ใช่สวรรค์และไม่ใช่พรหม จุดที่จะมีความสุขจริงๆ ก็คือ "พระนิพพาน"

    อันนี้กำลังใจของบรรดาญาติโยมทั้งหลายมีบ้างไหม วันหนึ่งให้คิดอย่างนี้สัก ๑ นาที มีไหม มี! มันเลย ๑ นาทีนะ! นี่แหละจิตตัวนี้มันเป็นตัวที่มีความสำคัญ จะนำท่านไปนิพพานแน่นอน

    อาตมาขอยืนยัน ถ้าท่านคิดวันหนึ่ง ๑ นาที ๒ นาที ๓ นาที อย่านึกว่าเวลามันน้อยนะ เวลาท่านป่วยจะตายจริงๆ หรืออาการเครียดใกล้ตาย ท่านจะมีความรู้สึกว่าไอ้จิตที่น้อมไปในด้านกุศลอันดับสูงอย่างนี้มันใช้เวลาวันละเล็กน้อย

    อาตมาเคยผ่านความตายมาแล้ว ๓ ครั้ง เวลาที่จะตายประสาทมันเครียดจริงๆ แทนที่มันจะคิดถึงอย่างอื่น มันจะคิดถึงความเจ็บความป่วยในร่างกายมันไม่เอา จิตมันรวมตัว กุศลมันเข้ามารวมตัว พอรวมตัวมันจะมีอารมณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้น ว่าร่างกายนี้ไม่มีความหมาย เวลานี้มันจะพังสลายตัวไปแล้ว อะไรในโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย แม้แต่ร่างกายมันก็จะพัง มันพังก็เชิญพัง จุดที่เราต้องการก็คือ "พระนิพพาน" แต่บางอารมณ์ก็ไม่ได้คิดถึงนิพพาน ก็คิดอย่างเดียวว่าร่างกายนี้ไม่มีความหมาย เราไม่ต้องการมันอีก แค่นี้ก็เป็น..."อารมณ์นิพพาน"

    นี่มีหลายคนที่เขาป่วยหนักๆ บางทีถึงขั้นผ่าตัด อาตมาเคยถามว่าอารมณ์อย่างนี้มันเคยมีกับเราหรือ ก็มีหลายคนเขาบอกมันเป็นอย่างนั้น ก็มีความรู้สึกว่ามันชุ่มชื่นจริงๆ จิตมันมีความสุข พอหายกลับมาจากโรงพยาบาลบอกว่ามันไม่มองเห็น มีหลายท่านก็คิดว่า แหม..มันไม่น่าจะหายป่วย ป่วยเสียอย่างนั้นจะดีกว่า

    ความจริงอาตมาก็เคยคิด เมื่อป่วยเข้าโรงพยาบาล จิตมันปลอดโปร่งแบบนั้น พอออกมามีงานยุ่ง เมื่องานมันยุ่งก็มานั่งคิดว่า เอ๊ะ! ไอ้นี่เราไม่น่าจะหายป่วย ถ้าป่วยอย่างนั้นหรือตายซะเวลานั้นก็ดีกว่า แต่เราก็ลืมไป แต่ว่าการออกมาจากการป่วย หายป่วยก็สั่งสมสร้างทีละนิดทีละหน่อย แต่เราไม่ได้คิด คิดว่างานมันยุ่ง

    ทีนี้พอมันเริ่มป่วยขึ้นใหม่มันดีกว่าเก่านะ มันเป็นการสะสมตัวนะ อันนี้เป็นเรื่องจริง มันดีกว่าเก่า พอคิดไปอีกที เออ..รู้สึกอารมณ์ตอนเดิมเราแค่นั้นนะ มาตอนนี้กลับผ่องใสกว่า

    นี่แหละบรรดาญาติโยม อารมณ์ของบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ที่มีกำลังใจมุ่งมั่นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ และจงอย่าคิดประณามตนเองว่ามันไปไม่ถึง จิตที่มันจะไปถึงจริงๆ ก็หมายความว่าวันหนึ่งถ้ามันมีอารมณ์อยู่ ก่อนจะหลับหรือเวลาอื่นก็ได้ ก่อนจะหลับมันเพลียก็ไม่ต้องตั้งท่านั่งหรอก ใช้นอนแบบนั้น นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงพระธรรม นึกถึงพระสงฆ์ นึกถึงบุญกุศลที่ตนทำไว้ เราก็คิดว่าขึ้นชื่อว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีทุกขเวทนาแบบนี้ มันจะมีสำหรับเราชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ชาติต่อไปไม่มีอีก ขึ้นชื่อว่าเทวดาหรือพรหมจะไม่มีสำหรับเรา เราต้องการพระนิพพาน

    และตอนนั้นก็ปลุกใจ และสร้างกำลังใจภาวนาว่าอะไรก็ได้ ถ้าจะให้สบายใจจริงๆ ก็คิดในใจว่า "นิพพานะสุขัง" ให้จิตมันรวมมีอารมณ์เป็นสุขใช่ไหม มันยึดเกาะ เขาเรียกว่า "อุปสมานุสสติกรรมฐาน" ทำอย่างนี้กี่นาทีก็ได้ เมื่อจิตกระสับกระส่ายก็เลิก ถ้าสามารถภาวนาถึงหลับไปก็ดี พอตื่นมาจากหลับก็เอาสักหน่อยหนึ่ง นิดๆ หน่อยๆ พอใจสบายแล้วลุกทำกิจการงานตามปกติ

    ถ้าทำได้อย่างนี้จริงๆ อาตมาขอยืนยันว่าชาตินี้ทุกท่านไม่พลาดพระนิพพาน หรือถ้าใครไปไม่ได้ก็เชิญไปต่อว่าก็ได้ อาตมาตายไปแล้ว ท่านก็ตายไปแล้ว

    ต่อนี้ไปขอบรรดาญาติโยมทั้งหลายตั้งใจสมาทานพระกรรมฐาน สวัสดี*​

    ********************************************

    พระธรรมคำสอน ของ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ
    ที่อยากให้ทุกท่านได้อ่าน และนำไปพิจารณาอย่างละเอียด
    แล้วจะเกิดความกระจ่างแจ้งขึ้นในจิต

    ขอทุกท่านโปรดพิจารณา ด้วยจิตคารวะ

    ปาราเมศ ...นิวเวป จบ.14
     
  11. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444

    โมทนาสาธุในธรรมทานนี้ ด้วยค่ะ....

    หนึ่งในพระธรรมเทศนา ที่ดีที่สุดประทับจิตประทับใจ...ลูกขอน้อมรับพระธรรมเทศนาใส่จิต...
    รับปฏิบัติตามเพื่อมรรคผลนิพพาน ในชาตินี้ ด้วยเทอญ ...สาธุ สาธุ สาธุ


    ขอทุกท่านน้อมจิตอ่านพระธรรมเทศนานี้
    ด้วยความเคารพ ในพระรัตนตรัย...อ่านด้วยจิตที่เป็นสมาธิ...
    คิดและพิจารณาตาม จะเสมือนประหนึ่งว่าเราได้ฟังพระธรรมเทศนาจาก
    พระโอษฐ์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงเลยทีเดียว...
    นี่แหละค่ะ ...สมบัติที่พ่อฯ ที้งไว้ให้พวกเรา ขอพวกเราน้อมนำมาปฏิบัติตาม ด้วยกำลังใจเต็ม คำว่า " นิพพานชาตินี " ไม่ใช่ของยากเลย
    ขอให้ทำกันจริงๆ ตามที่หลวงพ่อสอนไว้ นิพพานสมบัติ ได้แน่นอน... ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    แด่ผู้ที่ปรารถนาพระนิพพาน
    ถ้ารู้ตัวว่ากำลังใจตนไม่มากพอ ก็อย่าไปปรารถนาพระนิพพาน
    แต่ถ้าปรารถนาไปก่อนแล้วก็ไม่เป็นไร แต่อย่าไปนึกถึงคำว่านิพพานบ่อยก็แล้วกัน
    แต่เมื่อไหร่กำลังของเรามาเยอะ ก็เอาจิตปักไว้ที่นิพพานไปเลย


    กรรมจะกระหน่ำซ้ำเติมมาทุกทิศทุกทาง สำหรับผู้ที่ปรารถนาพระนิพพาน ไม่เชื่อก็ลองดู
    ยกเว้น ผู้ที่มีกำลังใจเด็ดเดี่ยวจริงๆถึงจะรอด เพราะมันสาหัสจริงๆ
    คิดว่าคงจะมีนักภาวนาหลายท่านก็คงพบเจอมหกรรมของตนมาเยอะเช่นกัน
    แต่กรรมก็ผลแค่ขันธ์๕หรือกายหยาบเท่านั้น
    มีแต่เวทนาทางกายเท่านั้น แต่ไม่มีเวทนาทางจิตใจ
    สำหรับผู้ที่สามารถแยกจิตออกมาจากขันธ์๕ ที่เมื่อก่อนคิดว่าของตนได้แล้ว
    แต่ถ้าผู้ใดยังมีเวทนาทางจิตใจอยู่ ก็ให้มุ่งตรงไปที่การเจริญปัญญาอย่างเดียว

    นักภาวนาหรือนักปฎิบัติท่านใด เอาสติห่างจิตเมื่อไหร่ ก็เสร็จกิเลสตนหรือโลกเมื่อนั้น
    ถ้าเป็นนักภาวนาในระยะต้นๆ ก็ให้เน้นการเจริญสติอย่างเดียว
    แต่ถ้าเป็นนักภาวนาขั้นกลางขั้นไปต้องคอยรักษาอารมร์จิตให้ตั้งมั่น ให้เป็นหนึ่งเดียวเสมอ
    หรือสำรวมจิตนั่นเอง

    แต่ถ้านักภาวนาไม่พยายามรักษาอารมณ์จิตหรือขยันดูจิตตนเอง จิตก็จะเคลื่อนไปทางโลกเมื่อนั้น
    คราวนี้ละ เสร็จแน่ เสร็จกิเลสตน เสร็จกิเลสโลกแน่
    อย่าลืม กิเลสนี่มันเก่งกว่าเราหลายขุม ยังๆไงก็ไม่ทันมันหรอก เล่ห์เหลี่ยมมันเยอะ
    เราเคยกิเลสตนมีนับชาติไม่ถ้วนแล้ว แต่จะให้ปลอดภัยจริงๆ ทำอย่างไรก็ได้แยกจิตออกมาก่อนเลย
    อย่างอื่นค่อยว่ากัน การปฎิบัติธรรมนี่เราหยุดไม่ได้ หยุดเมื่อไหร่เราก็แพ้เมื่อนั้น
    ต้องพยายามสร้างกำลังใจหรือเติมกำลังของตนเข้าไว้ หรือคอยชาร์ตกำลังจิตให้เต็มอยู่เสมอ
    เพื่อความไม่ประมาทนั่นเอง
    ส่วนจิตหรือวิญญาณจะไปถึงพระนิพพานหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับกำลังใจในปัจจุบันเท่านั้น
    มิใช่ที่ผ่านมา แต่ถ้าบางวันมันตก ก็ให้เรานึกถึงไตรลักษณ์ของพระพุทธเจ้า
    นี่คือทางแก้ในทางธรรม เห็นอะไรวิปัสสนาดะ ตัดลงไตรลักษณ์ให้หมด ทำอย่างนี้บ่อยๆ
    เดี๋ยวจิตมันชิน ต่อไปจิตเขาจะทำเองเลย เราก้แค่ตามดูจิต ตามรู้จิตด้วยใจเป็นกลางต่อไป
    พยายามดูจิตตนบ่อยๆ อย่าเคลื่อนไปทางโลกมากนัก ไปได้ แต่เราต้องมีสติหรือความรู้สึกตัวมากๆ
    พยายามแยกให้ออกระหว่างหน้าที่ทางโลกกับทางธรรม โดยเฉพาะนักภาวนาต้องแยกให้ชัดเจน
    มิฉะนั้น ถ้าสติน้อย จิตเขาก็ไปยึดกับทางโลกแบบเราไม่รู้ตัวรู้ด้วยซ้ำไป ต้องคอยระวังให้ดี
    แต่ถ้าเราคอยหมั่นสำรวมจิตบ่อยๆแล้ว เราก็จะรู้หรือตามทันในที่สุดได้

    ขอให้นักภาวนาทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ..สาธุ
     
  13. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

    ผู้จักไปพระนิพพานในชาตินี้ ย่อมถูกกรรมเก่าทวงเป็นธรรมดา

    ๑. เรื่องที่คุณหมอในขณะนี้ ที่ประสบเคราะห์กรรมให้เสียทรัพย์สินบ่อยๆ แม้กระทั่งมีปัญหาทางครอบครัว ก็เป็นผลจากกฎของกรรมในอดีตทั้งสิ้น เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า บุคคลใดที่ต้องการจักไปพระนิพพานในชาตินี้ บรรดาเจ้าหนี้เก่าๆ ก็จักตามทวงตามเล่นงานอย่างไม่ลดละ เพื่อทดสอบกำลังของจิตว่า จักทนทานกับการเล่นงานอย่างนี้ได้สักแค่ไหน

    ๒. ถ้าวางอารมณ์ลงตัวกฎของกรรมเป็นธรรมดาไม่ได้ บุคคลผู้นั้น ก็จักพ่ายแพ้แก่การต่อสู้กับอุปสรรคที่กฎของกรรมส่งผลอย่างสิ้นเชิง อารมณ์ที่จักละกิเลสไปพระนิพพาน ก็จักคลายความเข้มแข็งลง นี่ต้องให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดาของบุคคลที่จักเข้าพระนิพพาน

    ๓. แต่ถ้าบุคคลนั้นพ่ายแพ้บ้าง แต่ไม่ยอมท้อถอยต่อสู้กับอุปสรรค คือยอมรับในกฎของกรรมโดยดุษฎี จิตก็จักไม่ดิ้นรนมาก ชดใช้กฎของกรรมไปโดยดี ไม่ช้าไม่นานกฎของกรรมก็จักคลายตัวไป ในกรณีของคุณหมอก็เช่นกัน จักยอมแพ้หรือจักอดทนก็สุดแล้วแต่จักตัดสินใจเอาเอง เพราะกฎของกรรมมันเที่ยงเสมอ ถ้าเราไม่เคยทำ กรรมเหล่านี้จักถึงเราไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น พึงพิจารณากฎของกรรมให้รอบคอบ นี่เป็นเพียงเศษของกรรมเท่านั้นนะ กรรมใหญ่ๆ ได้รับการผ่อนหนักให้เป็นเบาก็มากแล้ว

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่่ ๙
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ธรรมะไม่มีวันหยุด

    จิตจะมีำพลังมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสติของเรา
    อย่าใช้พลังจิตพร่ำเพื่อ หรือเอาสติห่างจิตบ่อยนัก
    เพราะนั่นเรากำลังใช้พลังจิตทั้งหมดไปกับทางโลก โดยมิรู้ตัว
    ด้วยเหตุผลนี้จำเป็นจะต้องสร้างพลังจิตของเราขึ้นมา คือนำสติไปรวมกับจิต
    เพราะทุกวันนี้คนส่วนใหญ่มิได้เจริญกรรมฐานเป็นกิจวัตรประจำวัน ก็เลยไม่ทราบ

    การเผลอสติเป็นเหตุทำให้พลังจิตไหลออกไปกับทางโลกจนชิน กลายเป็นว่าเราหัดจิตไปยึดกับโลกมิทันรู้ตัว

    หลักการปฎิบัติธรรมจริงๆแล้วเขาเน้นกันที่เรื่องจิต คือพยายามแยกจิตออกมาจากสิ่งสมมุติทั้งปวงให้ได้
    แต่มีหลักการอยู่ว่า ในขณะปฎิบัติจะต้องสำรวมจิต ให้อยู่แต่ปัจจุบันเท่านั้น
    ผู้ที่สำรวมจิตให้อยู่กับปัจจุบันเท่านั้นถึงจะรู้ธรรมหรือความจริงในอดีตหรือปัจจุบันของตนเองหรือผู้อื่นได้
    เมื่อปฎิบัติจนเกิดความชำนาญแล้ว จิตย่อมมีความละเอียด จิตเขาจะไปรู้อดีตและอนาคตของตนและผู้อื่นได้เอง
    เมื่อผู้ปฎิบัติท่านใดสามารถนำจิตให้ถึงตรงนี้ อยากแนะกับผู้ปฎิบัติว่า รู้ เห็นหรือจิตสัมผัสอะไรมาก็วางให้เป็น
    นี่แหล่ะทำใจให้เป็นกลาง โดยสติจะต้องคอยพึงระวังมิให้จิตไหลไปกับสิ่งที่รู้หรือเห็น บางที่เราเรียกกันว่านิมิต
    วางให้ได้และวางให้เป็นด้วย เพราะถ้าวางไม่ได้ วางไม่เป็น จิตเราก็จะติดอยู่ตรงนั้นไม่ไปไหน
    เมื่อไม่เจริญในจิตก็ย่อมไม่เจริญในธรรมไปด้วยนั่นเอง
    การปฎิบัติธรรมเราต้องเน้นการเข้าใจจิตตนเองมากๆ
    แต่ถ้าเรายังไม่เข้าใจจิตตนเองเลย แล้วเราจะไปเข้าใจจิตผู้อื่นได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้

    สำหรับผู้ที่มิได้ปฎิบัติธรรม จึงเสียโอกาสรู้ตามความเป็นจริง
    หรือผู้ปฎิบัติ แต่มิได้อยู่กับปัจจุบัน ชอบเผลอสติก็เท่ากับเผลอจิตไปอยู่กับทางโลก
    ก็ยากต่อการเจริญสติภาวนา หรือไม่เจริญในธรรมเท่าที่ควรนั่นเอง
    การปฎิบัติธรรมต้องหาวิธี รู้วิธีที่จะทำให้จิตใจตนเองนิ่งสงบให้ได้
    ผู้ปฎิบัติอย่าปล่อยไว้นาน ยิ่งมีความเพียรไม่มาก เดี๋ยวจะพาลเลิกปฎิบัติ เสียโอกาสสร้างบุญบารมีของตน
    อย่าไปทำอะไรจนเพลินจนลืมสร้างบุญบารมีของตนเอง
    ไม่มีผู้ใดทำแทนกันได้ เราต้องทำเอง ของแบบนี้ใครทำใครได้ ใครกินใครอิ่ม

    ทุกวันนี้พวกเราฝึกสติกับจิตไปทางโลกสมมุติกันซะมาก
    นอกจากหาความจริงมิได้ สุดท้ายก็หนีไม่พ้นคือจมอยู่ก้นบึ่งแห่งความทุกข์ของตนเอง
    แท้ที่จริงแล้วต้นตอแห่งความทุกข์นั้นเกิดขึ้นที่ตัวของเราเองทั้งนั้น
    เพราะฉะนั้น ยามทุกข์มาเยือนเราก็อย่าหลงไปโทษคนอื่นหรือสิ่งอื่น
    ที่แท้ขันธ์๕ หรือร่างกายของเรานี่เองก็คือ ตัวทุกข์ทั้งหลาย หรือตัวกิเลสทั้งหลาย
    ผู้เจริญจงพิจารณากันดูให้ดีๆเถิดแล้วท่านจะเห็นหรือรู้ตามอริยสัจจ์ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่พ้นไตรลักษณ์
    ผู้ที่ไม่มีความทุกข์นั้นเพราะจิตมีปัญญา รู้เห็นตามอริยสัจ๔ เห็นทุกสิ่งเป็นสมมุติ รู้เห็นเข้าใจกฎธรรมดา
    จิตถึงจะยอมรับกฎแห่งกรรมต่างๆที่เข้ามาเยือนเราได้ ทุกอย่างถ้าจิตเขาปล่อยวางกับทุกสิ่งได้
    เมื่อจิตเขาไม่เอาอะไรแล้ว แค่รู้เห็นทุกอย่าง เมื่อนั้นเราถึงจะวางใจหรือสบายใจได้
    เมื่อจิตหยุดความอยากรู้ อยากเห็น จิตเลิกยึดติดกับสิ่งต่างได้เราก็หมดความความลังเล ความสงสัยของตนซะได้
    เราก็หยุดการดิ้นรนไปตามกิเลสตัณหาของได้ เราก็สุขใจเมื่อนั้น
    เพราะฉะนั้น ทั้งสุขหรือทุกข์ก็ขึ้นอยู่ที่ตนว่าจะฝึกละปล่อยวาง หรือจะยึดต่อไปเหมือนชาติอื่นๆ ก็อยู่ที่ตนเองแล้ว
    แต่อยากละปล่อยวางก็ต้องฝึก แต่ถ้ายึดก็ไม่ต้องฝึก เพราะจิตไปยึดเองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว

    เพราะอยากจะบอกกับพวกเราว่า อย่าพยายามดิ้นรนไปกับทางโลกเลย เพราะนอกจากไม่มีอะไรเที่ยงแล้ว
    ยังต้องพบกับอุปสรรค์และความทุกข์อีกมากมาย ถึงมีความสุขก็เพียงแค่ชั่วคราวอีก
    ความสุขภายนอกจิตถือเป็นความสุขชั่วคราว
    เพราะความสุขที่แท้จริงของคนเรานั้นก็คือ ความสุขภายในจิต หรือจิตเป็นสมาธิ จิตนิ่ง จิตสงบของเรานี่เอง

    ขอให้ผู้ปฎิบัติทุกท่านจงเดินมรรคให้ถูก+ตรงทางด้วย แล้วท่านก็จะพบธรรมหรือความจริงแห่งชีวิตตนในที่สุดได้
    สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2013
  15. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    "ความจริง" สิ่งที่ต้องเรียนรู้

    ภาวนาก็คือการทำใจนั่นเอง ทำใจให้มีกำลังพอที่จะอยู่กับความจริง
    พุทธศาสนาสอนว่าความสงบเกิดจากการรู้เห็นความจริง
    ในทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นักปฏิบัติพยายามสำรวมไม่ให้จิตวิ่งเตลิดตามสิ่งที่น่าปรารถนา
    ไม่ให้มุทะลุผลักไส หรือปฏิเสธสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา
    เพียงแต่ให้พยายามรู้เข้าใจในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น รู้ความเกิดของมัน รู้ความดับของมัน
    รู้คุณ รู้โทษของมัน รู้วิธีที่จะไม่ตกเป็นทาสของมัน อยู่กับความจริง
    ปฏิบัติต่อความจริงของชีวิตในทุกขณะ กลัวความจริง ไม่หันหลังให้ความจริง หรือพยายามกลบเกลื่อนความจริงด้วยกามารมณ์นั้นแล

    ........หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ...........
     
  16. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    เกิดๆ ดับๆ​


    "เกิดๆ ดับๆ" นี้คืออะไร คืออารมณ์ซึ่งมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป ดับแล้วมันก็เกิดขึ้นมา
    ในทางธรรมะเรียกว่าการเกิดดับ มันก็มีเท่านี้...
    ทุกข์มันเกิดขึ้นแล้ว ทุกข์มันก็ดับไป ทุกข์ดับไปแล้ว
    ทุกข์ก็เกิดขึ้นมา นอกเหนือจากนี้ไป ก็ไม่มีอะไรมีแต่ทุกข์เกิด แล้วทุกข์ก็ดับไป

    มีเท่านี้...

    เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว จิตของเราก็จะเห็นแต่การเกิด-ดับอยู่เสมอ
    เมื่อเห็นการเกิด-ดับอยู่เสมอ ทุกวันทุกเวลา ตลอดทั้งกลางวัน ตลอดทั้งกลางคืน
    ตลอดทั้งการยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะเห็นได้ว่ามันไม่มีอะไรจริงๆมีแต่เกิด-ดับอยู่เท่านี้เอง แล้วทุกอย่างมันก็จบอยู่ตรงนี้

    เมื่อเห็นอารมณ์เกิด-ดับอย่างนี้อยู่เสมอไปแล้วจิตใจก็จะเกิดความเบื่อหน่าย
    เพราะเมื่อคิดไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรมากมาย มันมีแต่การเกิดแล้วก็ดับ
    ดับแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ดับ มันมีอยู่เท่านี้ ฉะนั้นเมื่อคิดแล้วก็ไม่รู้จะไปเอาอะไรกับมัน พอคิดได้เช่นนี้
    จิตก็จะปล่อยวางปล่อยวางอยู่กับธรรมชาติ มันเกิดเราก็รู้ มันดับเราก็รู้
    มันสุขเราก็รู้ มันทุกข์เราก็รู้ รู้แล้วไม่ใช่ว่าเราจะไปเป็นเจ้าของสุขนะ
    หรือเมื่อทุกข์ขึ้นมา เราก็ไม่เป็นเจ้าของทุกข์เหมือนกัน
    เมื่อไม่เป็นเจ้าของสุข ไม่เป็นเจ้าของทุกข์มันก็มีแต่การเกิด-ดับอยู่เท่านั้น
    ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมันอย่างนั้นแหละ เพราะมันไม่มีอะไร

    อารมณ์ทั้งหลายที่ว่ามานี้ เหมือนกันกับ งูเห่าที่มีพิษร้าย ถ้าไม่มีอะไรมาขวาง มันก็เลื้อยไปตามธรรมชาติของมัน
    แม้พิษของมันจะมีอยู่ มันก็ไม่แสดงออก ไม่ได้ทำอันตรายเรา
    เพราะเราไม่ได้เข้าไปใกล้มัน งูเห่าก็เป็นไปตามเรื่องของงูเห่า มันก็อยู่อย่างนั้น

    ดังนี้ ถ้าหากเป็นคนที่ฉลาดแล้ว ก็จะปล่อยหมดสิ่งที่ดีก็ปล่อยมันไป
    สิ่งที่ชั่วก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชอบใจก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ไม่ชอบก็ปล่อยมันไป
    เหมือนอย่างเราปล่อยงูเห่าตัวที่มีพิษร้ายนั้น ปล่อยให้มันเลื้อยของมันไป
    มันก็เลื้อยไปทั้งพิษที่มีอยู่ในตัวมันนั่นเอง​

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    เทศนาธรรมเรื่อง"อยู่กับงูเห่า"​
     
  17. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976

    ขออนุโมทนาสาธุกับธรรมทาน ที่ครูพี่ภู ท่านได้นํามากล่าว ท่านได้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะถ้ายังไม่เข้าถึงซึ้งความจริงของอริยสัจ๔ ก็ยากที่จะปล่อยวาง เพราะจิตเป็นผู้ปล่อยวาง และผู้ปฏิบัติที่ได้ปฏิบัติจนเข้าใจแล้วนั้นแหละ จึงจะปล่อยวางได้เพราะเราจะทําแทนกันนั้นไม่ได้ และก็จะต้องปล่อยเป็นหน้าของผู้ปฏิบัติเอง ที่จะเป็นผู้ปล่อยวาง เพราะเราเห็นแต่เขายังไม่เห็น ก็ยากที่จะอธิบาย พระอรหันต์ท่านจึงไม่กล่าวในธรรมที่พวกที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ เพราะธรรมะเป็นปัจตัง ซึ่งเห็นได้แก่ผู้ปฏิบัติตามเท่านั้น จึงขออนุโมทนากับท่านผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบทุกๆท่านด้วยเทอญ
     
  18. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนของข้าพเจ้าในครั้งนี้ ได้เห็นความจริงที่เกี่ยวพันกับความเกิด ความตาย แม้แต่พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบท่านก็ต้องมีภาระหนักในสังขารร่างกาย ที่เป็นความหนักน่วง เพราะท่านได้แสดงให้เราๆท่านๆเห็นอยู่ตลอดเวลา ที่ท่านได้ละสังขารท่านไป

    และข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยมพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบท่านป่วยอาพาธมานานเป็นเวลาถึงสองปีแล้ว คือหลวงพ่อบุญเพ็ง แห่งวัดถํ้ากลองเพล ท่านก็พูดไม่ได้แต่รู้ท่านเข้าใจหมด เพราะท่านเป็นพระสุปะฏิปันโน และข้าพเจ้าผู้ไปเยี่ยมก็ไปกราบท่านแล้วเห็นว่าธาตุขันธ์นี่ ตั้งแต่เกิดมาก็มีแต่ความทุกข์ ทุกข์ที่เกิดมาพร้อมความโหยหิว ต้องกิน ต้องถ่าย และถ้าธาตุเกิดผิดปกติขึ้นมา นั้นก็หมายถึงเราผู้เป็นผู้รับผิดชอบต้องค่อยดูแล จึงเป็นทุกข์ แล้วอะไรละจะเป็นแก่นสารให้เราๆท่านๆได้เป็นที่พึง

    นอกจากการปฏิบัติเพื่อย่อมรับความเป็นจริงของสังขารร่างกายว่า การเกิด-ดับเป็นธรรมดา เพราะทุกๆสิ่งในโลกนี่ไม่มีอะไรเที่ยง คําว่าเที่ยงไม่มีนอกจากความตายเป็นของเที่ยง แต่คนก็ไม่อยากรับรู้ เพราะกลัวความเป็นจริง

    จึงไม่อยากฟัง ไม่อยากได้ยิน แต่หารู้ไม่คํานี่ไม่มีใครหนี้พ้นสักรายเดียว
    จึงขอให้ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทด้วยกันทุกๆท่านด้วยเทอญ สาธุค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2013
  19. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444

    "เราจะเข้าถึงความดีได้ ก็เพราะอาศัยการฝึกฝน ตน คือ จิต
    คำว่า ตน ในที่นี้ได้แก่จิต ไม่ใช่ร่างกาย
    คือ เอาจิตของเรา
    เข้าไปเกาะความดีเข้าไว้ ธรรมส่วนใดที่จะทำให้เรา
    เข้าถึงพระนิพพานได้ เราก็ทำส่วนนั้น
    ธรรมส่วนสำคัญ ที่เราจะเห็นได้ง่ายคือ
    ตัดรากเหง้าของกิเลส ก็ได้แก่

    โลภะ ความโลภ เราตัดด้วยการ ให้ทาน
    ทำจิตให้ทรงอยู่เสมอว่า เราจะให้ทานเพื่อทำลาย
    โลภะ ความโลภ แล้วความโลภจะได้ไม่เกาะใจ

    อีกประการหนึ่ง รากเหง้าของกิเลส ก็ได้แก่ ความโกรธ
    เมื่อจิตเราทรง พรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ
    เพื่อเป็นการหักล้างความโกรธเมื่อจิตเราทรง พรหมวิหาร ๔
    ความโกรธ ความพยาบาทมันก็ไม่มี

    ประการที่ ๓ โมหะ ความหลง ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ
    เป็นรากเหง้าใหญ่ เป็นตัวบัญชาการให้เกิดความรัก
    ความโลภ ความโกรธ ถ้าหลงไม่มีเสียอย่างเดียว
    เราตัดความหลงได้อย่างเดียวเราก็ตัดได้หมด

    การตัดตัวหลงตัดอย่างไร ตัดตรง มรณานุสสติกรรมฐาน
    ก็คิดเสียว่าคนและสัตว์เกิดมาแล้ว ก็มีความตายไปในที่สุด
    วัตถุต่าง ๆ ที่เป็น สมบัติของโลก
    มันมีการเกิดก่อตัวขึ้นในเบื้องต้นแล้วก็สลายตัวไปในที่สุด
    เหมือนกัน วัตถุเรียกว่า พัง คนและสัตว์ เรียกว่า ตาย"

    พระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤาษี)
    )
     
  20. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ผู้จะต้องถึงมรรคผลนิพพานได้นั้น จะต้องทำทางใจ

    ถ้าไม่ทำทางนี้แล้ว จะทำการกุศลสักเท่าไร
    ก็ถึงมรรคผลนิพพานไม่ได้

    นิพพานนี้จะต้องถึงด้วยข้อปฏิบัติทางใจเท่านั้น
    ที่เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

    ศีลเป็นเหตุแห่งสมาธิ สมาธิเป็นเหตุแห่งปัญญา ปัญญาเป็นเหตุแห่งวิมุตติ

    สมาธิเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นที่ตั้งแห่งปัญญาและญาณ
    อันเป็นองค์สำคัญของมรรค แต่จะขาดสมาธิไม่ได้
    ถ้าขาดแล้วก็ได้แต่จะคิดๆ นึกๆ เอา ฟุ้งซ่านไปต่างๆ ปราศจากหลักฐานสำคัญ

    สมาธิเปรียบเหมือนตะปู ปัญญาเปรียบเหมือนค้อนที่ตอกตะปู
    ถ้าตะปูเอียงไปค้อนก็ตีผิดๆ ถูกๆ ตะปูนั้นก็ไม่ทะลุกระดานนี้ฉันใด
    ใจเราจะบรรจุธรรมชั้นสูงทะลุโลกได้จะต้องมีสมาธิเป็นหลักก่อน
    แล้วจึงเกิดญาณ ญาณนี้จะได้แต่คนทำสมาธิเท่านั้น

    ส่วนปัญญาย่อมมีอยู่ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย
    แต่ไม่พ้นจากโลกได้เพราะขาดญาณ
    ฉะนั้นท่านทั้งหลายควรสนใจ อันเป็นทางพ้นทุกข์ถึงสุขอันไพบูลย์

    ท่านพ่อลี ธัมมธโร


    Cr.. Fb ลูกพระพุทธ บุตรพระธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...