ประวัติ เกจิอาจารย์วิเศษชัยชาญ สมเด็จเกษไชโย...และพระเครื่องเมืองอ่างทอง

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย benay, 11 มิถุนายน 2009.

  1. นวโกฏิ

    นวโกฏิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,061
    [​IMG]


    สวัสดีครับ...คุณเบ็น...ขออนุญาติลง"เบี้ยแก้ หลวงพ่อกุ่ม วัดฝาง" ฝากไว้ในกระทู้หน่อยครับ...ได้มาไม่นาน พกติดตัวทุกวัน ชอบมากครับตัวนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SANY3192.JPG
      SANY3192.JPG
      ขนาดไฟล์:
      762.6 KB
      เปิดดู:
      588
    • SANY3196.JPG
      SANY3196.JPG
      ขนาดไฟล์:
      606.2 KB
      เปิดดู:
      630
    • SANY3195.JPG
      SANY3195.JPG
      ขนาดไฟล์:
      895.2 KB
      เปิดดู:
      663
  2. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    เบื่อเมื่อไหร่บอกนะครับ เช่ากลับ อิอิ
     
  3. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    น่าจะเป็นหลวงพ่อแก่น วัดกำแพงมณีครับ แต่พระพิมพ์นี้สร้างขึ้นอีกหลายวัดครับ เป้นพระโรงงาน
     
  4. ก้องครับ

    ก้องครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,447
    ค่าพลัง:
    +10,648
    เข้ามาติดตามประวัติหลวงพ่อกุ่มด้วยคนครับ

    หลังๆได้พบเจอประสบการณ์เกี่ยวกับวัตถุมงคลของท่านแล้วเกิดศรัทธามากๆครับ เสี่ยเบ็น :cool::cool::cool:

    ปล. มีเหรียญสภาพใช้ไหมครับ เสี่ย เน้นใช้ไม่เน้นสวยครับ
     
  5. MooDam

    MooDam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,604
    ค่าพลัง:
    +4,845
    มาติดตามเรื่องราวของหลวงพ่อกลุ่มครับคุณเบ็น อยากอ่านภาคอภินิหารเยอะ ๆ :p ขอบคุณครับ
     
  6. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    ถิ่นรุ่งเรืองเฟื่องฟุ้งคุ้งวิเศษฯ แดนพระเวทย์ยืนยงมีมนต์ขลัง
    วัดนางใน ถิ่นกำเนิดอาจารย์ดัง พระผู้สร้างผู้เสกอเนกประการ
    ธัมมาราโมนั้นลือเลื่อง นามกระเดื่องมุทิตามาประสาน
    ก่อกำเนิดเกิดหอบูรพาจารย์ ศิษย์กราบกรานรำลึกนึกถึงพระคุณ
    ฉบับนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงต้นกำเนิดของการสร้างหอบุรพาจารย์ของวัดนางในธัมมิการาม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ซึ่งหอบูรพาจารนี้ถือเป็นสถานที่อันเป็นที่รวมแห่งความเป็นสิริมงคลทั้งของที่วัดนางใน และ วัดต่างๆในจังหวัดอ่างทอง เมืองแห่งครูบาอาจารย์ที่ทรงคุณอย่างยิ่ง จริงๆแล้วสถานที่ตั้งหอบูรพาจารย์นี้ ดั้งเดิมนั้นเป็นกุฏิหลังเก่าทรงปั้นหยา ซึ่งหลวงพ่อนุ่ม และหลวงพ่อชม อดีตเจ้าอาวาสองค์สำคัญของวัดนางใน ท่านใช้จำพรรษามาหลายสิบปี เมื่อกาลเวลาผ่านไป สิ่งของต่างๆก็ทรุดโทรม จนกุฏิหลังเก่าที่ครูบาอาจารย์ท่านเคยจำพรรษา ไม่สามารถจะบูรณะซ่อมแซมให้เป็นดังเดิมได้อีก ทางท่านเจ้าอาวาส คือ พระมหาวีระ วีรญาโณ ได้ปรึกษากับญาติโยม ว่าจะสร้างถาวรวัตถุอะไรสักอย่างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงครูบาอาจารย์ทั้งสอง แทนกุฏิหลังเก่าที่ทรุดโทรมลงจนยากจะแก้ไข สุดท้ายก็ลงความเห็นกันว่าให้สร้างหอบูรพาจารย์นี้ขึ้น เพื่อเชิดชูบารมีครูบาอาจารย์ผู้ทรงพระคุณ อันมีหลวงพ่อนุ่ม ธัมมาราโม และหลวงพ่อชม ธัมมธีโร เป็นที่สุด ซึ่งท่านเจ้าอาวาสตั้งโจทย์ว่าขอให้หอบูรพาจารย์หลังนี้ เป็นทรงปั้นหยา ตามสถาปัตยกรรมของกุฏิหลังเดิมที่รื้อถอนออกไป วัตถุประสงค์สำหรับการจัดสร้างหอบูรพาจารย์นี้เพื่อ ไว้เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อ หลวงพ่อนุ่ม ขนาดเท่าองค์จริงที่หล่อสมัยท่านยังทรงสังขารอยู่เมื่อปี 2475 อัฐิธาตุ และฟันขององค์หลวงพ่อ (มีเรื่องเล่ามากมายครับเกี่ยวกับท่านเอาไวไปติดตามในภาคประวัติแบบเต็มสูตรในฉบับหน้านะครับ) และประดิษฐาน รูปหล่อหลวงพ่อชม ขนาดเท่าองค์จริง กระนั้นยังไม่พอ ยังจะให้มีการจัดแสดงเครื่องอัฐบริขาร ของหลวงพ่อนุ่ม และหลวงพ่อชม จัดทำประวัติปฏิปทา และประวัติการสร้างวัตถุมงคลที่เลื่องลือสมัยท่านยังทรงสังขารอย่างครบถ้วนกระบวนความ ถ้าจะกล่าวถึงหลวงพ่อนุ่มวัดนางในนั้น ท่านเป็นที่เคารพสักการะ ของศิษยานุศิษย์ อย่างแน่นแฟ้น หลวงพ่อท่านเป็นนักพัฒนา นักก่อสร้าง ศีลาจารวัตรงดงามสมกับสมณะสารูป ท่านสร้างเสนาสนะต่างๆเช่น กุฏิ ศาลา และท่านยังสร้าง โรงเรียน สะพาน ถาวรวัตถุอีกมากมาย อีกประการหนึ่งท่านยังเป็นผู้ให้การศึกษาแก่พระเณรในสมัยนั้นคือ ให้มีการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ซึ่งครั้งหนึ่ง สมเด็จพระวันรัต (กิมเฮง) เขมาจารี ท่านได้มอบภาพถ่าย ของท่าน ไว้เป็นที่ระลึก เมื่อครั้งท่านเดินทางมาตรวจการคณะสงฆ์ นอกจากหลวงพ่อนุ่มท่านจะให้การศึกษาแล้ว เวทย์วิทยาคมของหลวงพ่อ ก็มิได้เป็นรองใครในสมัยนั้น ซึ่งท่านได้สืบสายวิชามาจาก หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์เทพเจ้าเมืองสี่แคว( รายละเอียด หลักฐาน ว่าท่านเป็นสหธรรมมิคกัน ไว้ต่อฉบับหน้า)วัตถุมงคลของท่าน ทั้งพระหล่อโบราณ น้ำมนต์ ตระกรุด ผ้ายันต์ เบี้ยแก้ เหรียญรุ่นแรก ล้วนเป็นที่กล่าวขานถึงประสบการณ์อย่างชนิดที่เรียกว่า “ดัง” ในสมัยนั้นเลยทีเดียว ต่อมาขอ กล่าวถึงพระคณาจารย์องค์สำคัญอีกองค์หนึ่งซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมาจากหลวงพ่อนุ่ม พระคณาจารย์ท่านนั้นคือ หลวงพ่อชม ธัมมธีโร หลวงพ่อชมท่านเป็นพระนักปฏิบัติ มีศีลาจารวัตรงดงามมิมีด่างพร้อย ท่านเป็นลูกศิษย์ที่เรียกได้ว่ามือขวาของหลวงพ่อนุ่มก็คงไม่ผิดไปนัก เพราะอยู่ในยุคที่เรียกว่ายุคบุกเบิกเลยทีเดียว ท่านได้รับการอุปสมบทจากหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ ยอดเกจิเมืองอ่างทองหลังจากอุปสมบทเป็นที่เรียบร้อย หลวงพ่อนุ่มท่านเล็งเห็นว่าหลวงพ่อชมท่านจะได้ช่วยงานพระศาสนาได้ในอนาคต ท่านจึงขอหลวงพ่อชม มาจำพรรษาอยู่กับท่านตั้งแต่นั้นมา หลวงพ่อชมท่านก็ได้รับภาระงานพระศาสนา สืบต่อจากองค์หลวงพ่อนุ่ม มาจนตลอดท่านละสังขาร มูลเหตุการณ์สร้าง หอบูรพาจารย์ ผู้เขียนขอเขียนไว้เป็นที่สังเขปพอเข้าใจเพียงเท่านี้
     
  7. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    ประวัติ
    พระอุปัชฌายะนุ่ม ฉายา ธมฺมาราโม นามสกุล ศรแก้วดารา เป็นบุตรคนที่ ๖ ของนายสอน นางแจ่ม ศรแก้วดารา เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๒๖ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะแม ณ ที่บ้านสามจุ่น ตำบลวังน้ำซับ หมู่ที่ ๓ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

    ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๖ คน คือ
    ๑. นายจ่าง ศรีแก้วดารา วายชนม์แล้ว
    ๒. พระอธิการพ่วง เจ้าอาวาสวัดสามจุ่น วายชนม์แล้ว
    ๓. นายหรุ่น ศรีแก้วดารา วายชนม์แล้ว
    ๔. นายพัว ศรแก้วดารา มีชีวิตอยู่
    ๕. นางพันธุ์ มีชีวิตอยู่
    ๖. พระอุปัชฌายะนุ่ม ธมฺมาราโม วายชนม์แล้ว

    สมัยเมื่อเยาว์วัยอายุประมาณ ๑๐ ขวบ ได้ศึกษาวิชาภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอธิการพ่วง ผู้เป็นพี่ชายที่วัดสามจุ่น ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับบ้านของท่าน พออายุ ๑๕ ปี ก็สำเร็จการศึกษาในสมัยนั้น คือ อ่านออก เขียนได้ แต่สำหรับท่าน นับว่าเป็นผู้เฉลียวฉลาดกว่าเด็กอื่นๆ เรียนได้รวดเร็วและช่วยอาจารย์สอนศิษย์ผู้ยังไม่รู้หนังสือให้อ่านออก เขียนได้อีกด้วย
    เมื่อได้ศึกษาพอสมควรแล้ว ท่านบิดามารดาจึงให้ลาออกจากวัดไปช่วยประกอบอาชีพ คือ ทำนา และตัดฟืน เผาถ่าน (ข้อสังเกต ศิษย์วัดสมัยนั้นจะอยู่หรือจะลาออกจากวัด บิดา มารดาต้องเป็นผู้นำฝากและลาออกเสมอ เป็นธรรมเนียมสมัยนั้น ผิดกับสมัยนี้ เวลาฝากบิดา มารดา เป็นผู้ฝาก เวลาจะจากวัดไม่พบหน้าพ่อและแม่เด็กเลย ธรรมเนียมก็ชักเลอะเทอะไป)
    ท่านมีอายุครบกำหนด จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดปลายนา ตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๔๖ โดยมีพระครูธรรมสารรักษา เป็นพระอุปัชฌายะ พระปลัดดี วัดปู่เจ้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช้าง เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดสามจุ่น ศึกษาพระธรรมวินัยตามสมควร ในสมัยนั้นยังมิได้มีสำนักศึกษาพระปริยัติธรรมเหมือนทุกวันนี้
    ท่านมีนิสัยชอบการศึกษา สมัยนั้นการศึกษาโดยมากเรียนมูลกัจจายน์ ท่านจึงฝากตัวเรียนมูลกัจจายน์ ท่านจึงฝากตัวเรียนมูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นหลักของการศึกษาบาลีกับอาจารย์เชตุ (อาจารย์เชตุผู้นี้มีผู้เล่าให้ฟังว่าเป็นฆราวาส แต่เชี่ยวชาญในภาษาบาลี) ท่านได้ศึกษาจนจบหลักสูตรของคัมภีร์มูลกัจจายน์ และเป็นผู้เข้าใจได้ดี จนเป้นที่ไว้ใจของครูอาจารย์ให้สอนศิษย์แทน
    ท่านบวชได้ ๘ พรรษา พระอธิการพ่วงกับทายก ทายิกา วัดสามจุ่นก็ประชุมปรึกษาจะสร้างอุโบสถ ประจำวัดสามจุ่น ท่านจึงต้องรับภาระหนักในการขวนขวายหาเครื่อง อุปกรณ์ในการก่อสร้าง จึงต้องย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดหลวง ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จนการสร้างอุโบสถวัดสามจุ่นสำเร็จ
     
  8. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    เรียบร้อยแล้ว จึงกลับไปอยู่วัดสามจุ่นตามเดิม ในขณะที่อยู่วัดหลวงนั้น ท่านเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในตำบลนั้นมาก พอเจ้าอาวาสวัดหลวงว่างลง คณะอุบาสก อุบาสิกา วัดหลวงจึงอาราธนาให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวง

    หน้าที่การปกครอง
    พ.ศ. ๒๔๕๙ พรรษา ๑๔ ย้ายมาเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดหลวง ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
    พ.ศ. ๒๔๖๙ พรรษา ๒๔ ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดนางใน ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยคณะทายกทายิกาวัดนางใน มีนายเผ่า ชัชวาลรยางค์กูร , นายผล โพธินิมิต , นายห่วง คุ้มกิจ , นางจัน แซ่ตั้ง , นางปราง แซ่โง้ว , นางทองสุก แซ่เตีย และนางอ่วม แซ่ฉั่ว เป็นหัวหน้า
    พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดนางใน
    พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลศาลเจ้าโรงทอง
    พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัฌายะ

    หน้าที่สาธารณูปการ
    ในสมัยที่ท่านย้ายมาอยู่วัดนางใน ต้องต่อสู้กับอุปสรรคนานาประการ สภาพของวัดนางในชำรุดทรุดโทรม สมบัติของสงฆ์แทบไม่มี ต้นไม้และหญ้าขึ้นรกรุงรัง ขาดการเอาใจใส่รักษา พอท่านเข้าไปอยู่ก็พิจารณาเสนาสนะแต่ละหลังไม่เหมาะสมเกือบไม่มีค่าเลย ท่านจึงเริ่มการปฏิสังขรณ์ รื้อกุฏิไม่เหล่านั้นออก บางหลังก็ผาติกรรมให้แก่วัดอื่นที่ต้องการ แล้วเริ่มเผาอิฐ เตรียมการสร้างเป็นกุฏิก่ออิฐถือปูนต่อไป ในระยะนี้ผู้ศรัทธาหลายท่านรับเป็นเจ้าของกุฏิ ท่านจึงสร้างได้รวดเร็วเป็นตัวตึก ๔๒ ห้อง นับเป็นแถวได้ ๗ แถว หอสวดมนต์ ๑ หลัง ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง โรงเรียนปริยัติธรรม ๒ ชั้น ๒ หลัง และถนน อีกหลายสายจนเป็นวัดที่พร้อมด้วยเสนาสนะอันสวยงาม
    พ.ศ. ๒๔๘๖ สร้างโรงเรียนประชาบาล ๑ หลัง ที่วัดนางใน ตำบลศาลเจ้าโรงทอง
    พ.ศ. ๒๔๙๒ สร้างสะพานข้ามลำน้ำสามจุ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี สะพานนี้กว้าง ๗ ศอก ๑ คืบ ยาว ๔๐ วา ๒ ศอก โดยให้เป็นสะพานถาวร สำหรับติดต่อระหว่างชาวอำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง กับชาวอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีและผู้อยู่ใกล้เคียง สะพานนี้แข็งแรงมาก สามารถให้รถยนต์และเกวียน พาหนะอื่นข้ามได้
    พ.ศ. ๒๔๙๕ สร้างโรงเรียนประชาบาล ๑ หลัง ที่วัดดอนสุทธาวาส อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ในการสร้างนี้ได้รับทุนจากกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน ๕,๐๐๐ บาท นอกนั้นเป็นทุนของท่านและประชาชนร่วมกันบริจาค
    พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้เป็นประธานก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลที่บ้านสามหน่อ ตำบลนาคู อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ยังไม่แล้ว เพราะสถานที่บ้านนั้นกันดารและห่างไกลมาก
    พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้สร้างโรงเรียนประชาบาล ๑ หลัง ที่วัดนางใน ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ถวายความอุปถัมภ์เป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาท) โดยให้ชื่อโรงเรียนว่า ละเอียดอุปถัมภ์

    การศึกษา
    ท่านจะมีชีวิตคลุกเคล้ากับการก่อสร้างก็จริง สำหรับการศึกษานั้น ท่านรักเสมอ โดยจัดให้การสอนนักธรรมและบาลีในวัดขึ้น เมื่อเห็นว่านักเรียนคนใดมีสติปัญญาก็ส่งไปศึกษาที่กรุงเทพฯ ในสำนักที่เจริญต่อไป ผู้ที่ถูกส่งไปก็ได้เปรียญกันโดยมาก ต่อมาก็กลับมาเป็นครูสอนที่วัดนางใน เช่น พระมหาวง ป. ๔ พระมหาปลีก ป. ๓ สำนักวัดราชบูรณะ และพระมหาสำอาง ป. ๖ สำนักวัดพระเชตุพน พระนคร เป็นต้น ทั้ง ๓ ท่านนั้นลาสิกขาแล้ว ที่ยังอยู่ในเพศสมณะก็อีกหลายท่าน ท่านได้พยายามตั้งสำนักเรียนวัดนางในจนเป็นปึกแผ่น และวัดใกล้เคียงก็พากันมาเรียนที่วัดนางในทั้งนั้น จนมีนักเรียนสอบนักธรรม ตรี โท เอก ได้มากแล้ว จึงได้ไปจัดตั้งทำการสอนในวัดของตนต่อไป อนึ่งสรุปผลของการศึกษาแล้ว วัดนางในมีนักเรียนธรรมมากและผลของการสอบก็ได้มากทุกปี


    ด้านการเผยแผ่
    ท่านเป็นผู้สงบชอบสถานที่เงียบสงัดไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ท่านมักจะแนะนำให้ผู้ที่เคารพนับถือท่านเรียนกัมมัฏฐาน โดยท่านเองเป็นผู้สั่งสอน มีภิกษุและคฤหัสถ์สมัครเข้าศึกษาปีละมาก ๆ จนปรากฏเป็นผู้เรืองวิทยาคม แนะนำให้ประชาชนตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติให้รู้จักอดทนและตั้งตน ในชีวิตของท่านมักถูกมรสุมชีวิต คือ การใส่ร้ายป้ายสีจากบุคคลบางประเภท ถึงอย่างนั้นท่านก็ไม่ถือโกรธต่อบุคคลเหล่านั้น ผลสุดท้ายกลับมาเป็นมิตรที่ดีของท่านเสมอ ทั้งนี้ เพราะท่านตั้งอยู่ในคุณธรรม เสมอต้นเสมอปลาย

    งานชิ้นสุดท้าย
    ในสมัยจะสิ้นอายุ คือ พ.ศ. ๒๔๙๗ ท่านกำลังสร้างโรงเรียนประชาบาล ละเอียดอุปถัมภ์ ยังไม่ทันเสร็จเรียบร้อย ดีพอดีกับนายสงัด รักเจริญ นายอำเภอวิเศษไชยชาญ กับนายวิโรจน์ น้อยประเสริฐ ศึกษาอำเภอวิเศษไชยชาญ ได้มาติดต่อเป็นตัวแทนของกรมสามัญศึกษาขอสร้างโรงเรียนมัธยมที่วัดนางในอีก สถานที่วัดไม่พอจึงต้องขอซื้อที่ดินของผู้มีชื่ออีกเป็นจำนวน ๖ ไร่ ราคาประมาณ ๒๔,๐๐๐ บาท ท่านก็รับเป็นหัวหน้าบอกแก่ผู้เคารพนับถือและศิษยานุศิษย์แต่ยังไม่เรียบร้อย ท่านมาสิ้นชีวิตเสียก่อน และงานชิ้นนี้คณะกรรมการวัดนางในก็รับภาระจัดทำ เพื่อสนองคุณท่านจนได้ที่ดินนั้นมา นับว่าเป็นงานและสมบัติชิ้นสุดท้ายของท่าน
    เมื่อเดือน สิงหาคม ๒๔๙๗ ท่านได้เริ่มป่วยกระเสาะกระแสะด้วยความชรา และตรากตรำงานมามากจึงกลับป่วยลง คณะศิษยานุศิษย์ก็ได้พยายามรักษา
     
  9. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    เยียวยากันจนสุดความสามารถ แต่พระยามัจจุราชไม่ละเว้นใคร วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๔๙๗ เวลา ๒๓.๑๕ นาฬิกา ได้มรณภาพลงในท่ามกลางแห่งคณะศิษยานุศิษย์ด้วยความสงบ สิริรวมอายุได้ ๗๒ ปี พรรษา ๕๒ ปกครองวัดนางในเป็นเวลา ๓๐ ปี

    อภินิหารและประสบการณ์วัตถุมงคล

    แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ.. เป็นนามเรียกก่อนจะเปลี่ยน มาเป็นจังหวัดอ่างทองในปัจจุบัน...ชื่อนี้มีปรากฏอยู่ในพงศาวดาร นามนี้นามแห่งผู้กล้ามากมาย ขุนรองปลัดชู วัดสี่ร้อย ปู่ดอก ปู่แก้ว ผู้กล้าวิเศษชัยชาญ แม่ช่อมะขาม นายขนมต้ม แห่งบ้านป่าโมก..ล้วนแต่เป็นวีรชนคนกล้าแห่งเมืองวิเศษชัยชาญ นอกจากจะมีผู้กล้าที่เป็นวีรชนคนกล้าแล้ว ...เรื่องไสยเวทวิทยาคมของพระคณาจารย์ แห่งแขวงเมืองวิเศษฯนั้น มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่าที่ใดเลยแต่เนื่องจากไม่มีผู้เผยแพร่นั่นเอง ที่ว่าพระเวทวิทยาคมพระคณาจารย์แขวงเมืองวิเศษฯไม่ได้ยิ่งหย่อนกว่าที่ใดนั้น เห็นได้จากประสบการณ์มากมายของคนท้องที่ ที่รักและเคารพในพระคณาจารย์ของเขา อย่างแนบแน่น เหตุด้วยชาวบ้าน เห็น รู้ อยู่ทุกวัน เจอกันกับตัว เห็นกับตาก็มาก ทั้งเรื่องมหาอุตม์ คงกระพัน เล่ากันมามากในหลายๆพระคณาจารย์แห่งเมืองวิเศษชัยชาญ ผมเองชอบศึกษาหาประวัติปฏิปทาครูอาจารย์สาย วิเศษชัยชาญบ้านเกิด เหตุเพราะอยากรู้ภูมิหลังบรรพบุรุษ ว่าเรื่องเล่าต่างๆที่เหนือธรรมชาติ นั้นเคยเกิดขึ้นจริงหรือ... ประกอบกับ ตัวผมเองชอบในเครื่องรางของขลัง และสนใจเป็นพิเศษอยู่แล้ว..จึงค่อยๆรวบรวมเก็บข้อมูลถามผู้รู้จริงแบบลงพื้นที่เอง เพื่อให้ได้รับความเป็นจริงมากที่สุด บางท่านประสบกับตัวเองก็มี ฟังพ่อแม่ ปู่ย่าเล่าให้ฟังก็มี ผมนำมารวบรวมไว้เพื่อเผยแผ่บารมีครูบาอาจารย์ ที่คนท้องถิ่นนั้นๆในอ่างทองให้ความนับถือ จนเข้าใจว่าพระท้องที่ ที่เรียกว่าพระท้องถิ่น หรือวัดวาอารามในตำบล อำเภอนั้นๆ สมัยก่อนมีพระเกจิเก่งๆ แต่ไม่ดังก็มากเพราะท่านไม่ทำวัตถุมงคล และที่เก่งๆ ทำวัตถุมงคลออกมาโด่งดังนั้นก็มีมากเช่นกัน และความโด่งดังของท่านนั้นๆ จะดังจากพื้นที่ท้องถิ่นเจอประสบการณ์เองโดยตรง จนแผ่ขยายออกมานอกพื้นที่ และมาเล่นหากันแบบสากลในปัจจุบัน ก็หลายอาจารย์ เท่าที่ศึกษาและพอจะประมวลได้นั้น เกจิยุคก่อนท่านเคร่งครัด เป็นคนจริง รักษาสัจจะวาจาเป็นที่สุด หมั่นฝึกปรือวิทยาคมจนชำนาญ ฝึกสมาธิจิตแบบที่เรียกว่าสมัยนี้ทำกันได้ยากยิ่ง ท่านทำอะไรจึงขลัง และเห็นผลทันตา เนื่องด้วยศีลอันบริสุทธิ์ของท่าน พระเกจิสมัยก่อน ถ้าคิดว่าไม่แน่จริงแล้ว ไม่กล้าทำของออกมาหรอกครับ เหตุเพราะสมัยก่อนนั้น ของจริงคนจริง ลองจริง ฟันจริง ยิงจริง ถ้าไม่แน่ ไม่เหนียว ดังยาก และถ้าไม่แน่จริงก็จะเป็นการประจานตัวเองปล่าวๆ เพราะสมัยก่อนไม่ใช่ว่าจะมีแต่พระที่เก่งนะครับ ฆารวาสบางท่านเผลอๆจะเก่งกว่าพระบางรูปเสียอีก หากของที่ทำออกมานั้นช่วยลุกศิษย์ไม่ได้ ช่วยคนไม่ได้ วัดเงียบทันที ..... แต่หากว่าท่านมั่นใจและทำของออกมาแล้ว ช่วยคนได้จริง สมัยก่อนก็ต้องยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เผลอแป๊ปเดียวโบสถ์วิหารเสร็จทันตาเห็น ลูกศิษย์ลูกหาแน่นวัดไปหมด ก็จะยังความเจริญมาสู่วัดด้วย อันนี้ก็เป็นกุสโลบายอย่างหนึ่งที่ทำให้วัดพัฒนาไปได้ โดยอาศัยวิทยาคมที่ท่านเหล่านั้นได้ร่ำเรียนมา .......ท่านเคยสงสัยไหมครับว่าพระเกจิท้องถิ่นของท่านเอง ที่ชาวบ้านเคารพกราบไหว้ หล่อรูปปั้นไว้บูชา มีการจัดงานทุกปี มหรสพมากมายเพื่อบูชาพระคุณท่าน ...เคยคิดไหมครับว่าท่านมีดีอะไร มีคุณงามความดีอะไร มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างไร
     
  10. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    คนท้องถิ่นจึงรักเคารพท่านได้ขนาดนั้น...และเคยคิดไหมครับว่าพระเครื่องที่ท่านเองห้อยคออยู่ อาจจะได้รับจากปู่ยาตายาย หรือเช่ามาห้อยคอที่เขาบอกว่าดีๆ และเอามาติดตัวบูชากันท่านดีอย่างไร เก่งอย่างไร.....เคยอยากทราบประวัติปฏิปทาท่านไหมครับ.......ผมเองสงสัยในจุดนี้เลยพยายามหาข้อมูลมาเรื่อยๆ ทั้งเผยแพร่และ อยากรู้เอง........แต่พอเริ่มศึกษาจริงๆจังๆ ก็เกิดความประทับใจในพระท้องถิ่นนั้นเป็นอย่างยิ่ง ว่าเมืองอ่างทองเรานี่ไม่ธรรมดาจริงๆไม่ธรรมดาอย่างไร ตามมาทางนี้ครับ
    พระเกจิอาจารย์หรือพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เอาเป็นว่าดังมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหรียญรุ่นแรกของท่านเป็นเหรียญพระคณาจารย์ที่เล่นหาในอันดับต้นๆของเมืองอ่างทอง ท่านเป็นพระคณาจารย์ซึ่งเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพอย่างที่เรียกว่า สุดหัวใจ รับรองว่าไม่ผิดเพี้ยนจากความจริงของความแนบแน่นที่ประชาชนชาววิเศษชัยชาญ และโดยเฉพาะคน ตลาดศาลเจ้าฯ มีให้กับท่านนั้นมากมายจริงๆ หลวงพ่อพระอุปัชฌายะ นุ่ม ธมฺมาราโม พระอาจารย์ผู้เป็นที่เคารพยิ่ง ถ้าย้อนอดีตไปสัก 60 กว่าปี ในจังหวัดอ่างทองมิมีใครไม่รู้จักหลวงพ่อ เหตุด้วยท่านเป็นนักการก่อสร้างเด่นด้านนวกรรม นักการศึกษา อุปถัมภ์ค้ำจุน ทั้งบ้านเกิดของท่าน และ วัดที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็คือวัดนางในแห่งนี้ ความมุ่งมั่นและความเอาจริงเอาจังของท่าน ทำให้ประชาชน เลื่อมใสศรัทธา ร่วมมือร่วมใจ จนเสนาสนะเสร็จสิ้นด้วยความรวดเร็ว แต่ว่าในช่วงนี้ ผมจะขอกล่าวถึงเรื่อง พระเวทวิทยาคมของหลวงพ่อ และประสบการณ์จากพระเครื่องวัตถุมงคลขององค์หลวงพ่อ นั้นมีประสบการณ์มากมายจริงๆ เนื่องด้วยท่านเป็นผู้คงแก่เรียน เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เรียกได้ว่าขลังตั้งแต่ต้น หลวงพ่อนุ่มเอง ท่านมีความสนิทชิดเชื้อกับองค์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ เทพเจ้าเมืองสี่แควอย่างยิ่ง จะเห็นได้จากการที่หลวงพ่อนำวัตถุมงคล ของวัดหนองโพธิ์ มาออกทำบุญ ที่วัดนางในครั้งละเป็นจำนวนมาก จากหลักฐานหนังสือที่เป็นลายลักอักษร ที่จดบันทึกถึงข้อมูลเกี่ยวกับ วัตถุมงคลของวัดหนองโพธิ์ ที่มาออกที่วัดนางใน การขนย้ายมานั้นมิได้มาครั้งละน้อยๆนะครับ เอามากันเป็นเกวียนๆ บางครั้งก็ใส่หลังช้างมาก็มี เอาเป็นว่า มาเพียบ ทั้งมีดหมอ งาแกะต่างๆ สิงห์งา ผ้ายันต์ รูปหล่อ ล้วนแต่มีหลักฐานเป็นลายลักอักษร วัตถุมงคลต่างๆก็เอามาออกให้ทำบุญเพื่อสร้างเสนาสนะต่างๆนวัดนางในให้แล้วเสร็จ แต่หลังจากหลวงพ่อนุ่มท่านมรณภาพไปแล้ว มาสมัยหลวงพ่อชม ยังมีการคืนวัตถุมงคลของวัดหนองโพธิ์ ที่ตกค้างที่วัดนางในให้กับวัดหนองโพธิ์ มีมีดหมอด้ามงาหลายเล่ม พระงาแกะอีกมากทีเดียว สมัยก่อนหลวงพ่อเดิมท่าน จะไปมาหาสู่ที่วัดนางในบ่อยๆ จนครั้งหนึ่งมีชาวตลาดวิเศษฯจะมากราบหลวงพ่อนุ่มที่วัด ขณะนั้นท่านกำลังสนทนาธรรมกับหลวงพ่อเดิม โดยนั่งหันหลังให้ ชาวบ้านคนนั้นบอกว่ามองไปไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ก็หมายความว่า ท่านรูปร่างสันทัด เหมือนกัน จนมองไม่ออกเมื่อหันหลังว่าใครเป็นใคร นอกจากหลวงพ่อเดิมวัดหนองโพธิ์แล้ว หลวงพ่อนุ่ม ท่านยังเป็นเครือญาติ เรียกแบบภาษาชาวบ้านก็ว่า เป็นลูกพี่ลูกน้องกันกับหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ เหตุเพราะท่านเป็นคนสุพรรณบุรีเหมือนกัน สรรพวิทาการต่างๆ ท่านก็ได้รับการชี้แนะจากหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ และ แลกเปลี่ยนวิชากับสหธรรมมิคที่เป็นญาติกันก็คือหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ และท่านก็ได้ศึกษาตำรับตำราเก่าควบคู่ไปด้วย ถ้าจะให้กล่าวได้ว่า คนเก่ง ไม่ต้องสอนอะไรมาก แค่แนะแนว แนะนำ ก็ทำได้สบายมาก หลวงพ่อนุ่มท่านก็เช่นกัน ท่านฝึกฝนจนชำนาญ ในพระเวทวิทยาคมอย่างที่เรียกว่าขลังจริง ยันต์ที่ท่านใช้ประจำ ก็จะเป็น นะ ต่างๆที่ท่านชำนาญ เช่น นะซ่อนหัว เป็นต้น ท่านจะมีสมุดพกประจำตัว ที่จดยันต์ต่างๆไว้มากมายซึ่ง นะ ซ่อนหัวนี้ท่านก็ได้มาจากหลวงพ่อเดิม วัด
     
  11. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    หนองโพธิ์ ท่านได้ใช้วิทยาคมช่วยเหลือผู้คน จนท่านเป็นที่ยอมรับของคนท้องถิ่น แต่อย่างที่กล่าวไปแล้ว หลวงพ่อท่านเป็นผู้ปกครองสงฆ์ ต้องก่อสร้างวัด และยังมีสำนักเรียนด้วย ท่านจึงไม่ค่อยมีเวลาเกี่ยวกับเรื่องของ พระเวทอาคมมากนัก แต่ว่าท่านก็มิได้ละทิ้ง หลวงพ่อท่านมีความชำนาญมากอยู่อีกอย่างหนึ่งที่ผู้คนทราบกันดี คือ วิชาการลบผงมหาราช ซึ่งเป็นผงวิเศษตามตำรา หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จะเดินทางมาเป็นประจำ เพื่อขอผงจากหลวงพ่อนุ่ม ไปรวบรวมกับคณาจารย์ท่านอื่นๆ เพื่อทำพระของท่านในยุคแรกๆ เรื่องนี้ผมมิได้ นั่งเทียนหลับตาภาวนาเห็นภาพ และมานั่งเขียน แต่มีพยานรู้เห็น และคนตลาดก็ทราบกันดี เหตุเพราะหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ท่านมาฉันที่ตลาดวิเศษฯ บ่อยๆ หลวงพ่อชม วัดนางใน ท่านก็ทราบ และก็เล่าให้ลุกศิษย์หลายท่านฟัง ผงมหาราชนี้ยังหลงเหลือจนถึงปัจจุบัน เหตุเพราะท่านทำไว้จำนวนพอสมควร ผงมหาราชนี้ มีอานุภาพมาก ใช้ได้หลายทางตามแต่จะอธิฐาน มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่าผงอื่นๆ แค่ชื่อผง ท่านผู้อ่านเองก็น่าจะทราบได้ว่ามาอานุภาพเพียงใด ถ้าจะให้กล่าวถึงประสบการณ์ของพระเครื่อง วัตถุมงคลของท่านแล้ว ผมบอกได้คำเดียวว่า พระเครื่องของท่านได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ต่อศิษยานุศิษย์ มาหลายครั้งหลายครา เรื่องราวต่างๆที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นจริง มีพยานจริง ไม่ได้มานั่งเขียนแต่งเรื่อง โม้ให้ท่านผู้อ่านฟังให้เสียเวลา จะไม่เขียนเชียร์หลวงพ่อท่านในเรื่องไม่จริง เพราะการเขียนเช่นนั้น มันเป็นการปรามาสองค์หลวงพ่อโดยทางอ้อม เรื่องราวที่เผยแพร่ต้องเคยเกิดขึ้นจริง และมีพยานยืนยันได้ มันถึงจะน่าทึ่งจริงไหมครับ ท่านมาถูกทางแล้วครับ ของจริงอยู่ที่วัดนางในนี้แหละครับ ด้วยบารมีของหลวงพ่อนุ่ม ผมขอกราบ บารมีของหลวงพ่อด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
    เรื่องนี้เกิดในสมัยหลวงพ่อท่านยังทรงสังขารอยู่ ผมจะเล่าไปเรื่อยๆนะครับ จะแวะพักนอกเรื่องบ้างตามประสาคนบ้านนอกที่ไม่ใช่มืออาชีพ อ่านไปท่านก็ใช้วิจารณญาณเอาเอง ไม่ได้บังคับว่าท่านจะต้องเชื่อ แต่ถ้าสงสัย ก็มาสอบถามที่วัด คนที่เจอเขายังอยู่ให้สอบถาม เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อครั้งองค์หลวงพ่อท่านจะสร้างโรงเรียนวัดนางใน ท่านได้เดินทางไปพบกับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยาใน ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อจะบอกบุญสร้างโรงเรียนวัดนางใน ผู้ที่นำพบก็คือ คุณอุดม คงพืช ครั้งนั้นเป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง คนที่เป็นพยานในเหตุการณ์นั้นได้ดีก็คือ คุณถวิล สัตยวิบูรณ์ ท่านผู้นี้ก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อนุ่ม ท่านได้ไปอยู่กับจอมพล ป. ตั้งแต่ท่านอายุ 15 ข้อย้อนรอยความหลังก่อนจะเข้าเรื่องสักนิด ว่าหลวงพ่อนุ่ม ท่านมีความรู้จักกับท่านผู้หญิงละเอียดอย่างไร คือเรื่องนี้มีอยู่ว่า สมัยก่อนนั้น ที่สนามหลวงจะมีหมอดูชื่อดังอยู่ท่านหนึ่ง ชื่อว่าหมอเทพรส นามเดิมท่านชื่อ เปลื่อง เป็นคนบ้านพงสี หรือบ้านโพธิ์ศรี(วัดหลวงพ่อกร่าย) ท่านถือว่าเป็นหมอดูชื่อดังมากในสมัยนั้น ดังจนท่านผู้หญิงละเอียดถ้าเรียกภาษาชาวบ้านก็ว่า ดังจนท่านผู้หญิงละเอียดขึ้น ถ้าลองสอบถามผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในแถบนั้นจะรู้จักหมอเทพรสนี้เป็นอย่างดี ท่านผู้หญิงละเอียดท่านก็ได้ใช้บริกการการตรวจดวงของตาหมอเทพรสนี้เรื่อยมา มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านผู้หญิงมีเรื่องเดือดร้อนใจ หมอเทพรสแนะนำให้รดน้ำมนต์ เมื่อรดเสร็จสรรพ ท่านก็กลับไป อีกไม่กี่วันท่านก็กลับมาอีก มาต่อว่าต่อขานหมอว่าไม่ได้ผล ไม่เป็นที่น่าพอใจ หมอเทพรสท่านก็บอกว่า เอาอย่างนี้ เดี๋ยวจะพาไปพบอาจารย์ ให้ท่านรดน้ำมนต์ให้ อาจารย์ของหมอเทพรสนั้นก็คือ หลวงพ่อนุ่ม ของเรานี่แหละครับ หมอเทพรสก็พามารดน้ำมนต์ หลังจากรดน้ำมนต์เสร็จท่านผู้หญิงกลับไป ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง หลังจากนั้นท่านผู้หญิงก็เกิดความศรัทธาในองค์หลวงพ่อนุ่มเรื่อยมา ท่านผู้อ่านพอทราบแล้วว่าทำไมหลวงพ่อนุ่มท่านจึงรู้จักท่านผู้หญิงละเอียด เรามาต่อตรงที่หลวงพ่อนุ่มท่านไปพบท่านผู้หญิงเพื่อบอกบุญสร้างโรงเรียน วัดนางในต่อ ครั้งนั้น
     
  12. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    ระหว่างที่หลวงพ่ออยู่ที่ห้องรับรอง เพื่อที่จะรอพบท่านผู้หญิง มีนายทหารคนสนิท ของจอมพล ป. หลายท่าน พอเห็นมีพระมาที่บ้าน ก็เมียงๆมองๆตามประสา คนหาของ เห็นพระก็คงนึกถึงของขลังขึ้นมา เลยเข้าไปกราบหลวงพ่อเพื่อขอพระ แต่ในครั้งนั้นหลวงพ่อท่านมิได้คิดว่าจะไปแจกพระ เลยมีพระติดย่ามไปไม่กี่องค์ ท่านเห็นคนจำนวนมาก ถ้าแจกไปก็คงไม่พอ แจกไปคนหนึ่งก็คงมาอีกสอง สาม สี่ ไม่จบสิ้น ท่านจึงบอกให้นายทหารไปนำขันน้ำสาครมาใส่น้ำให้เต็มขัน และมาวางไว้ตรงหน้าท่าน พอนายทหารตักน้ำมาแล้ว ท่านก็หยิบพระจากในย่ามใส่ลงไปในขันน้ำ ท่านก็กล่าวว่าให้นายทหาร เดินเรียงเข้ามาที่ละคนให้มาหยิบพระในขันห้ามแย่งกัน ท่านบอกให้หยิบค่อยหยิบ เป็นที่น่าอัศจรรย์ครับ นายทหารก็เดินมาที่ละคนอย่างเป็นระเบียบ ใครมีวาสนาจะได้พระท่าน พระที่จมอยู่จู่ๆก็จะลอยขึ้นมา แต่บางคนพอถึงคิวไปยืนรอรับ พระท่านไม่ลอยขึ้นมาเป็นอันว่าอดไป ครั้งนั้นถือเป็นการแสดงอภินิหารของหลวงพ่อในคราวจำเป็น เป็นที่น่าทึ่ง และแสดงให้เห็นถึงภูมิจิต ภูมิธรรมขององค์หลวงพ่อที่จะหาผู้ใดเสมอได้ไม่ง่ายนัก เรื่องนี้เป็นแค่น้ำย่อย พอเบาะๆ สำหรับบารมีของหลวงพ่อ ยังมีต่อ ในสมัยท่านยังแข็งแรง พระคณาจารย์ร่วมสมัยหลายท่านที่นับถือในองค์หลวงพ่อ ที่พอจะชัดเจนหน่อยก็มีหลวงพ่อกร่าย วัดโพธิ์ศรี ซึ่งท่านมีความเคารพในองค์หลวงพ่อนุ่มอย่างมาก แม้แต่ในเอวของหลวงพ่อกร่ายเองท่านจะคาดตระกรุดมหารูด ของหลวงพ่อนุ่มไว้ตลอด เพราะท่านเองก็ทราบในอานุภาพขององค์ลวงพ่อมิได้น้อยกว่าผู้ใด ท่านกล่าวถึงหลวงพ่อนุ่มอยู่บ่อยๆ มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า มีพระคณาจารย์เรืองวิชาจากชลบุรีชื่อว่า หลวงพ่อเณร มาทำการเรี่ยไรเงินเพื่อสร้างวัด ตั้งปรัมอยู่ที่บริเวณวัดนางใน แต่จะมีการแสดงวิทยาคมบางอย่างให้ประจักษ์ต่อสายตาประชาชน เพื่อให้เกิดความศรัทธา ซึ่งสมัยนั้นอาจารย์ท่านนี้โด่งดังมาก จากการที่ท่านสามารถ แสดงวิทยาคมลงไปอาบน้ำในโหลได้ แต่ทว่าจริงๆแล้ววิชานี้เป็นวิชากำบังตาชนิดหนึ่ง หรือเรียกว่าวิชามายาศาสตร์ คือการสะกดจิตหมู่ ใช้กระแสจิตควบคุมคนบริเวณนั้น ให้เห็นว่าท่านนั่งอาบน้ำในโหล แต่จริงๆแล้วท่านก็นั่งข้างๆโหลนั่นแหละครับ คนที่จะทำแบบนี้ได้ก็ต้องเก่งจริงเช่นเดียวกัน หลวงพ่อกร่ายท่านเล่าต่อว่า ครั้งนั้นหลวงพ่อนุ่ม กับ หลวงพ่อเณร ได้ลองวิชากัน โดยที่หลวงพ่อเณรจะของลอง หรือชาวบ้านจะขอหลวงพ่อให้ลองอันนี้ไม่ยืนยัน แต่เหตุการณ์เป็นดังที่หลวงพ่อกร่ายท่านเล่า คือ หลวงพ่อนุ่มท่านให้เสกพระเพื่อลองกัน โดยเอาพระใหม่ๆ กดพิมพ์กันและเสกกันคนละคืน และเอามาลองยิง ผลปรากฏว่า ของหลวงพ่อเณร กระจาย ส่วนของหลวงพ่อนุ่มท่าน ยิงไม่ออก เรื่องยิงไม่ออกนี้มีอีกหลายเรื่อง สำหรับพระเครื่องของหลวงพ่อนุ่ม ผมบอกแล้วว่าท่านผู้อ่านอ่านแล้วอย่าเพิ่งเชื่อผม ถ้าท่านยังไม่ได้เจอกับตัวท่านเอง อันเรื่องราวต่างๆตรวจสอบ และสอบถามได้ ไม่หวง มาติดตามกันต่อครับ เรื่องนี้ มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยพระมหามณเฑียร พ้นภัย เอกสารนี้ยังอยู่ที่วัดนางในจนปัจจุบันนี้ เรื่องนี้เกิดขึ้นสมัยการปฏิรูปดินแดนเขมร คราวทวงดินแดนคืนจากฝรั่งเศส จนได้ดินแดนบูรพาคืนมา สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ทหารเคยถูกยิงล้มกลิ้ง และลุกขึ้นมาได้ กระสุนปืนไม่ระคายผิว บางพวกก็ว่าเป็นทหารผี ยิงไม่ถูก ฟันไม่เข้า พวกเขาเหล่านั้นมีพระเครื่องของหลวงพ่อนุ่มอยู่กับตัว เรื่องต่อมาเป็นเรื่องของกำนันบ๋ง ท่านกำนันจัดงานโกนจุกให้ลูกชาย ที่บ้านในตำบลยี่ล้น ครั้งนั้นท่านได้นิมนต์หลวงพ่อนุ่มไปเป็นประธาน และสวดมนต์ ครั้งนั้นหลวงพ่อวนสายสิญจน์เอง รอบปรำพิธี แล้วท่านก็มานั่งสวดมนต์ พอถึงช่วงที่จะลงมีดเพื่อโกนจุก ก็มีคนลุกขึ้นยิงปืนในบริเวณ วงสายสิญจน์ แต่ปรากฏว่า ยิงเท่าไหร่ก็ไม่ออก หลวงพ่อท่านเห็น คงจะรำคาญ ท่านก็บอกว่า ให้ไปยิงข้างนอกโน่น ผลปรากฏว่า พอออกไปลั่นไกด้านนอกสายสิญจน์ มีลูกเท่าไหร่ ออกหมดทุกนัด เป็นที่ฮือฮามาก ครั้งนั้นหลังจากเสร็จพิธี สายสิญจน์ บริเวณงานทั้งหมด เจ้าภาพเก็บเรียบ อีกเรื่อง เกิดขึ้น
     
  13. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    ในช่วงที่หลวงพ่อท่านมรณภาพแล้ว เรื่องเกิดขึ้นในงานศพของหลวงพ่อ คือขณะนั้นทางวัดนางในได้แจกพระเครื่องที่สร้างในสมัยหลวงพ่อท่านยังอยู่ คือพูดง่ายๆว่าท่านเสกไว้นั่นแหละครับ ทางวัดได้แจกให้กับคนทั่วไป แต่มีคนๆหนึ่งซึ่งเป็นครู อยู่แถวๆดอนรัก กับพวก เกิดเอาพระของหลวงพ่อไปลองยิงกันขึ้น โดยเอาพระแขวนไว้กับหน้าต่างโรงเรียน วัดดอนรัก และลองยิง สามนัดซ้อน ผลปรากฏว่า ยิงไม่ออก เลยหันปากกระบอกไปทางอื่น ปรากฏว่า ยิงออกทุกนัด สามเรื่องนี้ถือว่ามีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างที่ผมกล่าวไปแล้ว ตามอ่านผมมาแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างครับ อย่านึกว่าหมดเรื่องแค่นี้นะครับ ยังมีต่อ เรื่องการเสกพระของหลวงพ่อนุ่ม ครั้งหนึ่ง หลวงปู่เล็ก วัดทำนบ ท่านเล่าว่าหลวงพ่อนุ่มท่านเอาพระแขวนกับไม้ และนั่งเพ่ง จนพระแกว่งได้ หลวงพ่อกร่าย วัดโพธิ์ศรีท่านก็ยังเล่าด้วยว่า หลวงพ่อนุ่ม ท่านเอาไม้คานสองอันมาวางคู่กัน ท่านสามารถ บังคับไม้คานสองอัน วิ่งมาชนกันได้ สองเรื่องนี้เป็นที่ยืนยันครับ แต่ว่าท่านไม้ได้ทำเพื่อแสดงอะไร แต่ทำเพื่อทดสอบวิทยาคมที่เล่าเรียนมาเท่านั้น เรื่องราวปฏิปทาของหลวงพ่อยังมีอีกมาก และแต่ละเรื่องราวบอกได้ถึง บารมี ปฏิทา วิทยาคม ของหลวงพ่อที่หาผู้เสมอได้ยาก ไว้ติดตามกันต่อในเล่มต่อไปนะครับ ที่วัดนางในแห่งนี้


    เรียบเรียงโดย เบ็น วิเศษฯ
     
  14. romegat

    romegat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,512
    ค่าพลัง:
    +9,414
    นานๆมาที อ่านกันให้สะใจไปเลย ขอบคุณครับจารย์เบ็น
     
  15. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    ประวัติท่านยังไม่หมดครับ ยังมีต่อ รอหน่อย ถ้าอ่านไม่ทัน หาอ่านได้ในหนังสือ อมตะ พระเครื่องของพี่ป๋อง สุพรรณ และ หนังสือไทยพระ จะออกเดือนหน้าครับ แล้วแจ้งข่าวอีกทีครับ
     
  16. denchai_l

    denchai_l เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,093
    ค่าพลัง:
    +1,548
    ชอบครับ ติดตามอ่านมาตลอด

    โดยส่วนตัวผมเคารพศรัทธา หลวงพ่อมีวัดม่วงคัน น่ะครับ ท่านก็เป็นศิษย์หลวงพ่อนุ่มด้วยเช่นกันครับ
     
  17. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659

    เมื่อวานนี้มีงานพุทธาภิเษก ที่วัดนางใน หลวงพ่อมีท่านก็มาครับ ผมแนะนำอีกองค์ที่เป็นศิษย์หลวงพ่อนุ่ม วัดนางในโดยตรงเช่นเดียวกับหลวงพ่อมี คือ พระครูปปัญญาลังการ หลวงปู่แป้น วัดเกษทอง อำเภอสามโก้ กราบท่านได้สนิทใจครับ
     
  18. denchai_l

    denchai_l เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,093
    ค่าพลัง:
    +1,548
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ ถือเป็นข้อมูลที่ดีและเป็นมงคลยิ่ง

    หากว่างเว้นภารกิจการงาน จะไปกราบทำบุญกับหลวงปู่ฯท่านแน่นอนครับ
     
  19. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +15,659
    ครับผม รออ่านต่อครับ.
     
  20. ก้องครับ

    ก้องครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,447
    ค่าพลัง:
    +10,648
    รอตามอ่านอยู่นะครับ เสี่ยเบ็น
     

แชร์หน้านี้

Loading...