ตามติดสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วลงทะเล ระยอง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย จริง?หรือ?, 29 กรกฎาคม 2013.

  1. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    กรมเจ้าท่าเอาผิดกรณีน้ำมันรั่ว

    [​IMG]

    กรมเจ้าท่ารอผลตรวจสอบกรณีน้ำมันรั่วนอกชายฝั่งทะเล จ.ระยอง ของคณะกรรมการที่กรมเจ้าท่าตั้งขึ้น เทียบเคียงกับผลสอบของคณะกรรมการกระทรวงพลังงาน หากสอดคล้องกันว่าไม่ใช่ความผิดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติจะไม่ฟ้องคดีอาญา แต่อาจพิจารณาฟ้องแพ่งหาก ปตท.ปฏิเสธจ่ายชดเชยความเสียหาย

    นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน หรือ กปน. ชี้แจงว่า คณะกรรมการสอบสวนของกรมเจ้าท่า จะดูว่าขั้นตอนปฏิบัติเจ้าหน้าที่ว่าถูกต้องครบถ้วนแล้วตามแผน คู่มือปฏิบัติหรือไม่ ถ้าทำครบทุกขั้นตอนแล้ว ก็ไม่ถือว่าเหตุที่เกิดเป็นความผิดของผู้ปฏิบัติ จึงไม่ฟ้องร้องเอาผิดทางอาญา ซึ่งการตรวจสอบในส่วนนี้คาดว่าจะมีรายงานออกมาได้ในสัปดาห์หน้า ส่วนการฟ้องร้องทางแพ่งจะพิจารณาดำเนินการ หาก ปตท.ปฏิเสธ การจ่ายค่าชดเชยเยียวยาความเสียหายตามที่คณะกรรมการเสนอ

    การประเมินความเสียหายกรณีน้ำมันรั่วนอกชายฝั่งทะเล จ.ระยอง มี 3 ส่วน คือ ค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ที่มาทำการเก็บกวาด ความเสียหายผลกระทบเบื้องต้น ซึ่งคณะกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาและจ่ายบางส่วนแล้ว และค่าใช้จ่ายตามแผนฟื้นฟู ซึ่ง ปตท. ต้องทำแผนเสนอให้กรมเจ้าท่าพิจารณาในเดือนสิงหาคม แผนฟื้นฟูของกระทรวงพลังงานที่จัดทำตามมติคณะรัฐมนตรี และ แผนของทางจังหวัด ซึ่งค่าใช้จ่ายการฟื้นฟูยังไม่สรุปตัวเลข

    ข่าวโดย ไทยพีบีเอส Thai PBS
     
  2. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    ปลาลอยตายริมชายหาดแม่รำพึง จ.ระยอง

    [​IMG]

    แม้ผลการตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบของน้ำมันรั่ว จะระบุว่าไม่ส่งผลร้ายแรงต่อสัตว์น้ำ และยังอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง แต่ล่าสุด มีรายงานว่าชายหาดแม่รำพึง จ.ระยอง พบปลาแป้นตายเกลื่อนหาด ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีคำยืนยันว่าสาเหตุที่ปลาตายครั้งนี้เกี่ยวข้องกับเหตุน้ำมันรั่วหรือไม่ แต่ชาวประมงเชื่อว่าอาจมีความเชื่อมโยงกัน

    นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง พร้อมด้วยนายอำเภอเมือง จ.ระยอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลงพื้นที่ตรวจสอบปลาแป้นที่ลอยตายริมชายหาดแม่รำพึง จ.ระยอง เป็นระยะทางยาวเกือบ 2 กิโลเมตร

    เบื้องต้น นายจตุรัส เอี่ยมวรนิรันดร์ นายกสมาคมพื้นบ้านประมงเรือเล็ก จ.ระยอง คาดว่าปลาที่ลอยตายครั้งนี้น่าจะได้รับผลกระทบจากสารเคมีที่ฉีดสลายคราบน้ำมันที่รั่วไหลของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีที จีซี พร้อมเรียกร้องให้บริษัทออกมาแสดงความรับผิดชอบ และให้ภาครัฐเข้ามาติดตามแก้ไขในเรื่องสิ่งแวดล้อมทางทะเลโดยระบุว่าหากไม่ได้รับแก้ไขโดยเร็ว กลุ่มประมงเรือเล็กจะไม่สามารถออกจับสัตว์น้ำทะเลได้ เพราะวงจรชีวิตของสัตว์น้ำได้ถูกทำลายลง เมื่อมีสารเคมี หรือคราบน้ำมันมาผสมน้ำ ทำให้น้ำทะเลขาดออกซิเจน ส่งผลต่อปลาขนาดเล็ก และจะสร้างผลกระทบให้กลุ่มประมงในระยะยาวอย่างแน่นอน

    ด้านนายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าปลาที่ลอยตายนั้นเป็นปลาแป้น โดยส่วนใหญ่จะไม่นำปลาชนิดนี้มาประกอบอาหาร จะนำไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ และจากการสังเกตปลาแล้ว คาดว่าจะเป็นปลาที่ตายมาแล้วหลายวัน เพราะเริ่มเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น อาจมีความเป็นไปได้ว่าเป็นปลาที่ถูกนำมาทิ้งไว้แล้วถูกคลื่นซัดมาติดชายหาด เบื้องต้น ได้นำปลาที่ตายริมชายหาดไปตรวจสอบว่ามีสารปนเปื้อนหรือไม่ เพราะถ้ามีค่าเกินมาตรฐานต้องส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำอย่างแน่นอน ซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถสรุปผลการตรวจสอบได้ภายใน 5 - 7 วัน

    ผู้ว่าราชการจังหวัดยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าชายหาดแม่รำพึง เป็นจุดที่อยู่ห่างจากจุดที่เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหล และทิศทางลมการพัดพาคราบน้ำมัน ก็ไม่ได้มาทางบริเวณดังกล่าว ซึ่งไม่น่าจะมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำบริเวณหาดแม่รำพึงมากนัก แต่ทั้งหมดยังต้องรอผลการตรวจสอบจากนักวิชาการ จึงจะทราบสาเหตุ

    ข่าวโดย Thai PBS
     
  3. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    "กรีนพีซ"จี้นายกฯตั้ง กก.สอบน้ำมันรั่ว อ้างไม่เชื่อคณะตั้งโดย PTTGC เชื่อผลประโยชน์ทับซ้อน

    [​IMG]

    “กรีนพีซ” จี้นายกฯตั้ง กก.อิสระสอบน้ำมันรั่ว เหตุไม่เชื่อถือคณะที่ตั้งโดย PTTGC ไร้ภาค ปชช.-นักวิชาการ ตั้ง 5 สเปกต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน “แรมโบ้” รับหนังสือแทน เตรียมชง “ยิ่งลักษณ์” อีกที

    วันนี้ ( 27 ส.ค. ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้มีกลุ่มติดตามน้ำมัน ปตท รั่วไหล นำโดย นายธารา บัวคำศรี แกนนำ พร้อมด้วยตัวแทนจากมูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Greenpeace Southeast Asia) และสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSEI) ได้เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ (พีทีทีจีซี) กรณีทำน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลใน จ.ระยอง โดยมี นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนรับมอบหนังสือ

    นายธารา กล่าวว่า จากกรณีท่อน้ำมันดิบของบริษัทพีทีทีจีซีได้ทำน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล จ.ระยอง เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้คราบน้ำมันได้ถูกพัดเข้าชายหาดบริเวณ อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล การท่องเที่ยว และวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว แม้บริษัทดังกล่าวและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง จะอ้างว่าได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามมาตรฐาน แต่ภาคประชาชนยังไม่เชื่อมั่นในข้อมูลและการดำเนินงานที่ผ่านมา เนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบทั้งที่ตั้งขึ้นโดย พีทีทีจีซี คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (กปน.) และหน่วยงานรัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่มีองค์ประกอบของผู้เชี่ยวชาญอิสระและภาคประชาชน ทั้งยังไม่มีการเปิดเผยกระบวนการและรายงานการตรวจสอบต่อสาธารณะ

    นายธารา กล่าวว่า ทางกลุ่มได้ติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด จึงได้มีแถลงการณ์เรียกร้องต่อรัฐบาลให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยมีการรณรงค์เรียกร้องการสนับสนุนจากประชาชนผ่าน www.change.org และมีผู้ร่วมสนับสนุนข้อเรียกร้องดังกล่าวจำนวนมาก บัดนี้มีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศร่วมสนับสนุนข้อเรียกร้องให้มีการตั้งกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปัญหาน้ำมันรั่วมากกว่า 30,000 คน

    นายธารา กล่าวเพิ่มอีกว่า อยากเรียกร้องให้นายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ คือ 1.เป็นคณะกรรมการอิสระระดับชาติที่แต่งตั้งโดยนายกฯ 2.มีอำนาจในการเรียกข้อมูลและข้อเท็จจริงทั้งจากหน่วยงานรัฐและเอกชน 3.มีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกรณีปัญหาน้ำมันรั่วไหล ตรวจสอบผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม เสนอหลักการฟื้นฟูเยียวยาความเสียหายต่อรัฐบาล และจัดทำข้อเสนอเพื่อปรับปรุงนโยบาย กฎหมาย โครงสร้าง และกลไกที่เกี่ยวข้องกับการรับมือสถานการณ์น้ำมันรั่วไหลในอนาคต

    4.องค์ประกอบของคณะกรรมการ ประกอบด้วย ประธานเป็นอิสระ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจน้ำมันและปิโตรเลียม มีตัวแทนภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านนิเวศน์ ด้านสุขภาพ ด้านกฎหมาย ภาคประชาสังคม (องค์กรพัฒนาเอกชนและหรือองค์กรประชาชนในพื้นที่)และ 5.กระบวนการทำงานของคณะกรรมการต้องมีความโปร่งใส เปิดเผยการดำเนินงานและรายงานต่อสาธารณะ

    ขณะที่ นายสุภรณ์ กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ดังนั้น จะนำเรื่องนี้กลับไปเสนอให้นายกฯรับทราบ เพื่อพิจารณาต่อไป

    ตัวแทนกลุ่มติดตามน้ำมันปตท. รั่วไหล นำโดยน.ส.สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยมูลนิธิบูรณะนิเวศ กลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เดินทางมายื่นหนังสือถึงนางสาวยิางลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบกรณีบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี ทำน้ำมั่นรั่วไหลลงสู่ทะเล ที่บริเวณเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล การท่องเที่ยว และวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะอ่าวพร้าว แม้ที่ผ่านมาทางพีทีทีจีซี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะอ้างว่าได้ดำเนินแก้ไขปัญหาตามมาตรฐานแล้ว แต่ภาคประชาชนยังไม่เชื่อมั่นใจข้อมูลและการดำเนินการทึ่ผ่านมา เนื่องจากคณะกรรมที่ตั้งขึ้นมาตรวจสอบไม่มีในส่วนของผู้เชี่ยวชาญอิสระและภาคประชาชน อีกทั้ง ยังไม่มีการเปิดเผยกระบวนการและรายงานการตรวจสอบต่อสาธารณะ

    ส่วนสาระสำคัญในการตั้งคณะกรรมการอิสระนั้น ต้องมีองค์ประกอบคือ เป็นคณะกรรมการอิสระระดับชาติที่แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี, มีอำนาจในการเรียกข้อมูลและข้อเท็จจริงจากหน่วยงานรัฐและเอกชน, มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด เสนอหลักการฟื้นฟูเยียวยาความเสียหายต่อรัฐ ปรับปรุงกฎหมาย โครงสร้าง กลไกที่เกี่ยวข้องกับการรับมือสถานการณ์น้ำมันรั่วในอนาคต, มีตัวแทนภาครัฐที่เกี่ยวข้องและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจน้ำมัน มีผู้เชี่ยวชาญและภาคประชาชนเข้าร่วม และที่สำคัญคือ กระบวนการทำงานของคณะกรรมการต้องมีความโปร่งใส อีกทั้งเปิดเผยการดำเนินงานต่อสาธารณะ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ข่าวโดย ผู้จัดการออนไลน์
     
  4. จริง?หรือ?

    จริง?หรือ? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +7,155
    “เดลินิวส์ออนไลน์” ลงพื้นที่พิสูจน์ “อ่าวพร้าว” คืนชีพ!?
    วันอังคารที่ 17 กันยายน 2556 เวลา 00:00 น.
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    ภาพอ่าวพร้าวจากการลงพื้นที่สำรวจของ "เดลินิวส์ออนไลน์"

    นับตั้งแต่ประสบภัยน้ำมันรั่วเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา จนถึงตอนนี้เป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้วที่ระยองต้องเจอวิกฤตการท่องเที่ยวซบเซา ไม่มีนักท่องเที่ยว ทำให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพประมง ค้าขาย และการบริการ ต้องขาดรายได้หลัก เพราะนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย

    ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา “เดลินิวส์ออนไลน์” ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการฟื้นฟูธรรมชาติที่รีสอร์ทอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง จุดที่รับผลกระทบจากเหตุน้ำดิบรั่วมากที่สุด จากการสำรวจด้วยตาเปล่าพบว่า น้ำทะเลที่เคยมีสีดำจากคราบน้ำมันดิบได้กลับสู่สภาพเดิม คือ น้ำทะเลใส จนสามารถมองเห็นเปลือกหอยชิ้นเล็กชิ้นน้อยใกล้ชายฝั่งได้ เม็ดทรายก็ขาวสะอาดไร้สิ่งสกปรก โขดหินก็ไม่มีร่องรอยของคราบน้ำมันหลงเหลืออยู่อีกแล้ว อากาศก็บริสุทธิ์ไม่มีกลิ่นเหม็นฉุนจนแสบจมูกเหมือนเมื่อ 1 เดือนก่อน ซึ่งบรรยากาศต่างกันอย่างมากเพราะช่วงเกิดเหตุน้ำรั่ว อ่าวพร้าวเหมือนตกอยู่ในความเงียบเหงาไร้ชีวิตชีวา ไม่มีเสียงหัวเราะและเสียงตะโกนคุยแข่งกับเสียงคลื่นที่กระทบโขดหิน ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินถ่ายรูปตามชายหาดให้สมกับแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้เป็นอันดับ1 ของประเทศ

    จากการที่ “เดลินิวส์ออนไลน์” พูดคุยกับ นายอัฒฑาวุฒิ หิรัญบุรณะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) ถึงความคืบหน้าของการฟื้นฟูสภาพอ่าวพร้าว สรุปได้ว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบกว่า 50,000 ลิตรรั่วลงสู่ทะเล ทางพีทีทีได้เข้าดำเนินการตามมาตรฐานการจัดเก็บคราบน้ำมันระดับสากลอย่างเร่งด่วนในเวลาเพียง 10 วัน ซึ่งจากการตรวจสอบในศูนย์วิจัยของ ปตท. พบว่า น้ำทะเลบริเวณอ่าวพร้าวทั้งหมดมีความปลอดภัย100% แล้ว แต่ที่ยังไม่สามารถให้นักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำได้ เนื่องจากต้องรอผลการตรวจสอบของทางกรมควบคุมมลพิษที่ยังเข้ามาตรวจสอบสภาพน้ำทะเลทุกๆ 3-5 วัน เพราะก่อนหน้านี้ผลการตรวจสอบพบว่าน้ำในอ่าวพร้าวยังมีปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในระดับเกินมาตรฐานอยู่ 0.1 จุด เชื่อว่าผลจะออกไม่เกินช่วงเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งก็จะทันกับฤดูท่องเที่ยวจะเริ่มในช่วงเดือนพฤศจิกายน

    นอกจากนี้ พีทีทียังได้ให้การสนับสนุนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในการติดตามและตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องร่วมกับนักวิจัยด้านระบบนิเวศท้องทะเลจาก 3 มหาวิทยาลัย ได้แก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการฟื้นฟูอย่างยั่งยืนต่อไป อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าแม้ผลของทางกรมควบคุมมลพิษจะระบุน้ำทะเลในอ่าวพร้าวปลอดภัยแล้ว แต่ด้านปะการังใต้ทะเลนั้นยังคงต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูต่อไป

    ขณะนี้ทางพีทีทีกำลังดำเนินการฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยวร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยทำแผนการโปรโมทการจัดโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 จัดบูท เชิญผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวมาสัมผัสกับบรรยากาศของเกาะเสม็ด เพื่อสร้างความมั่นใจในการนำกรุ๊ปทัวร์มาลง ทั้งนี้ทางพีทีทีได้ตั้งงบประมาณด้านฟื้นฟูการท่องเที่ยวในระยะแรกไว้ 50 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าทาง ปตท. จะมีแผนดำเนินงานร่วมกันในระยะยาวต่อไป

    นายอัครวิทย์ เทพาสิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานระยอง กล่าวว่า หลังจากเหตุน้ำมันรั่ว ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงเหลือเพียง 20% ของจำนวนนักท่องเที่ยวเดิม ซึ่งความจริงแล้วเนื้อที่บริเวณอ่าวพร้าวเป็นเพียง 7-8% ของพื้นที่ทั้งหมดในเกาะเสม็ด อีกทั้งสัตว์ที่วางขายในตลาดก็ไม่ได้จับมาจากทะเลแต่อย่างใด แต่เป็นปลาในบ่อเลี้ยงทั้งสิ้น ขณะนี้ ททท. ได้ทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวเสนอให้กับทาง ปตท. ที่เป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณทั้งหมด มั่นใจว่าในช่วงฤดูท่องเที่ยวในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้จะสามารถดึงนักท่องเที่ยวให้กลับมาเป็นปกติได้

    การลงพื้นที่สำรวจอ่าวพร้าว ของ “เดลินิวส์ออนไลน์” เป็นการลงพื้นที่ในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งความจริงที่ว่าอ่าวพร้าวจะสามารถกลับสู่สภาพเดิมในระยะเวลาสั้นๆ ได้จริงหรือไม่ และการท่องเที่ยวจะกลับมาเฟื่องฟูเหมือนเก่าจริงหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป.

    เดลินิวส์ออนไลน์
     
  5. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620

    คนปกติจะกล้าลงไปอาบน้ำสารปรอทไหมน่ะ???

    ขึ้นจากน้ำไปนอนบ้านอีกไม่นานอาจมีข่าวดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...