หยั่งลงมั่นในตถาคตก็จบแล้วชีวิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย newamazing, 3 กรกฎาคม 2013.

  1. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ก็เป็นอีกช่วงของภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นกับจิต
    ตัวสอบทานมีอยู่ หยั่งลงจิต จะเห็น เปลี่ยนแปลงเกิดดับอยู่ได้อีก
     
  2. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ศรัทธาแปลว่าความเชื่อ
    หากไม่เชื่อเรียกว่าอะไรหากไม่ใช่ไม่ศรัทธาขอรับ
     
  3. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ศรัทธา ในที่นี้หมาความว่า เลื่อมใสอย่างยิ่ง ในส่วนเดียวต่อพระตถาคต...ต่างจากความเชื่อที่มีหลายแบบ
     
  4. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ตถาคเต เอกนฺตคโต อภิปฺปสนฺโน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 61339453e.jpg
      61339453e.jpg
      ขนาดไฟล์:
      104.1 KB
      เปิดดู:
      76
  5. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    มันไม่มีจะไปคิดถึงทำไม
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ"ถูกแล้วถูกแล้ว สารีบุตร อริยะสาวกใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตถึงที่สุดโดยส่วนเดียว เขาย่อมไม่สงสัยหรือลังเลในตถาคตหรือคำสอนของตถาคต สารีบุตร เมื่ออริยะสาวกเป็นผู้มีสัทธาแล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป้นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุสลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย สารีบุตร ความเพียรเช่นนั้นของอริยสาวก นั้นย่อมเป็น วิริยินทรีย์ ของเธอนั้น ................สารีบุตร เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่แล้วพึงหวัง ข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้มี สติ ประกอบพร้อมด้วยสติเป็นเครื่องระวังรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้ ความระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำและคำพูดที่พุดแม้นานได้ สารีบุตร ความระลึกได้เช่นนั้นของอริยะสาวกนั้น ย่อมเป็นสตินทรีย์ของเธอนั้น.............สารีบุตร เมื่ออริยะสาวกเป็นผู้มีสัทธา เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติเข้าไปตั้งไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้กระทำแล้วได้ซึ่ง โวสสัคคารมณ์ จักได้ความตั้งมั่นแห่งจิต กล่าวคือ ความที่จิตมีอารมร์อันเดียว สารีบุตร ความตั้งมั่นแห่งจิตของอริยะสาวกนั้น ย่อมเป็น สมาธินทรีย์ของเธอนั้น...............สารีบุตร เมื่ออริยะสาวก เป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบแล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้รู้ชัด อย่างนี้ว่า สังสารวัฎ เป็นสิ่งที่มีที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้ ที่สุดฝ่ายข้างต้น ย่อมไม่ปรากฎแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัรหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไปท่องเที่ยวไป ความจางคลายดับไม่เหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้นเสียได้ มีอยู่ นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็นบทที่ปราณีต กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนแห่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน สารีบุตร ความรู้ชัดเช่นนั้นของอริยสากนั้น ย่อมเป็นปัญญินทรีย์ ของเธอนั้น....................สารีบุตร อริยะสาวกนั้นแหละ ตั้งไว้แล้วตั้งไว้แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ระลึกแล้วระลึกแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ตั้งมั่นแล้วตั้งมั่นแล้วด้วยอาการอย่างนี้ รู้ชัดแล้วรู้ชัดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ เขาย่อมเชื่ออย่างยิ่ง อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าใด เป็นธรรมที่เราเคยฟังแล้วในกาลก่อน ในบัดนี้ เราถูกต้องธรรมเหล่านั้นด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ด้วย และแทงตลอดธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาแล้วเห็นอยู่ด้วย ดังนี้ สารีบุตรความเชื่อเช่นนั้นของอริยะสาวกนั้น ย่อมเป็น สัทธินทรีย์ ของเธอนั้น ดังนี้แล....---มหาวาร.สํ.19/299-300/1017-1022...
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สรุปตามเนื้อความ ตามแพ้ทริกซ์

    คือ

    เริ่มจาก ศรัทธา มั่นคงใน รัตนไตร โดยอาการที่เกิด เป็นเพียง พละ
    ไม่จัดว่าเป็น อินทรีย์

    จัดว่าเป็น พละ คือ เป็นเพียง อาการ โด๊บยาเข้าไป อัพยาเข้าไป ซู่ซ่าๆ
    จุกกรู๊ ขึ้นมา มันก็ ขยันทำ ขยันเอา ทำโบสถ์ ทำทาน สร้างปฏิมากร ร่ำไป
    ตามกำลัง น้ำเลี้ยงที่จะคัดหลั่งออกมาได้

    จึงเรียกว่า เป็นเพียง ศรัทธาพละ ที่ส่งผลให้เกิด วิริยะ บากบั่น ทำนู้น สร้างนี้ ไปเรื่อย

    จนกระทั่ง เล็งเห็นว่า จมอยู่ใน อาการยินดี ยินร้าย แบบ มุนษย์ ทั่วๆไป คือ กระดี้
    กระด้า ในกองบุญ รออนิสงค์ ลาภ ยศ สรรเสริญ สรวญเส เฮฮา กับ พรรคพวก ที่
    ร่วมคลุกคลีในลักษณะ หมู่คณะ ซึ่งก็คือ อาการติดสัตว์ อีกลักษณะหนึ่ง จึงเริ่ม
    พิจารณาเห็น การติดสัตว์ แล้วระลึกได้ว่า นี้คือ อาการติดสัตว์ แบบสัตว์ในสังสารวัฏ

    จากนั้น จึงพิจารณาใคร่ครวญ เห็น ทุกข์ ว่า ไม่ได้หายไปไหนเลย มีแต่ พอกพูล
    หนาแน่น รายล้อม ยิ่งขึ้น ....อาการเห็น ทุกข์ จึงทำให้ เกิดความ ดำริ ที่จะออก
    เมื่อ เกิดความดำริที่จะออก ย่อมเกิดความตั้งมั่นขึ้น

    พอจิตตั้งมั่น ไม่ทอดธุระ ตามรรู้ตามดู ศรัทธาพละ พาไป ติดสัตว์ เนืองๆ ก็ค่อยๆ
    ยอมรับว่า " โง่ " อยู่ ตามเห็นความโง่นั้นเนืองๆ จะค่อยๆ เกิดปัญญา ยอมรับ
    อาการติดสัตว์นั้น โดยที่ ขยันทำ ขยันสร้าง ไปนั่นแหละ อย่าหยุดนะ

    เพราะ ถ้าหยุด ก็จะไม่มีวันเห็น ศรัทธาพละ ที่ผลิกเป็น ศรัทธาอินทรีย์

    ทีนี้ พอมี ศรัทธาอินทรีย์ มันไม่ได้แปลว่า จบกิจ

    ยังต้อง บริหารให้ อินทรีย์ทั้งหลาย มีกิจเดียว รสเดียว ไม่ก้ำเกินกัน ไม่
    มีอินทรีย์ตัวหนึ่งขึ้นมา แล้วทำให้ อินทรีย์อื่นหายไป

    พอเห็น อินทรีย์ทั้งหมด ไม่แตกแถว ไม่ล้ำหน้า หรือ คล้อยหลัง ก็จะเกิด
    การเห็น สัญญาอันเดียว ฉลาดในอารมณ์อันเดียว เกิดสภาวะที่เรียกว่า

    ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม ธรรมมันสามัคคีกัน ( การต้องธรรม การสัมผัสธรรม ด้วยนามกาย )

    ไม่ใช่ ศรัทธาจุ๊กกรู๊ ออกหน้าออกตา
     
  8. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    นี่ก็เป็นสิ่งที่ผู้ที่หยั่งลงมั่นในพระตถาคต
    คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา
    ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ. สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงใน
    คำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง
    ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียร
    นั้นเสีย จักไม่มีเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อ
    ขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่าง
    หนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    มันก็ต้อง มีความประพฤติ มีการปฏิบัติ มีการ ทวน ทบ ทบ ทวน เข้ามา

    อาการ ของคนที่มี ความประพฤติ ทบทวน เข้ามา ย่อม ทราบ เหตุ ของการ
    มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา

    คนที่ ทราบเหตุ ของการมี ศีล มี สมาธิ มี ปัญญา ย่อม อธิบาย จำแนก แจกแจง
    ให้เป็นที่ อัศจรรย
    รอหัน กับรัน(Run)ยอ(เสียงซิกบอกให้หยุด) ได้

    ไม่ใช่ ไม่แจกแจง ไม่กล่าว ไม่สอน บอกว่า ไม่ต้องทำ หยั่งลง เป็น จ๋อม
    ถือว่า เย็น และ จะสลาย ซึม ออกไปสู่ ทะเลโดยผ่านท่อน้ำทิ้ง ได้เอง
     
  10. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    บทนี้แสดงแก่ภิกษุ ภิกษุผู้ที่มีจิตที่หยั่งลงมั่นนั้นย่อมไม่สั่นคลอนในความประพฤติ ส่วนฆราวาสผู้ที่หายสงสัยที่ยังเสพกามอยู่มีมากจำนวนไม่น้อย ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่หาร้อย มีอยู่จำนวนมาก
     
  11. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    คนจะศรัทธาได้ ..มันต้องอาศัยเหตุผล ชี้นำ ..อะไรยังไม่เห็นผล มาบอกให้ศรัทธา ใครจะศรัทธาได้ หือ หือ อิอิ(k)
     
  12. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ก็นี่ไงบอกอยู่นี่ไง ลองเชื่อแล้วก็ลงมือทำตามทุกสิ่งดูซิ แล้วความจริงก็จะปรากฎ ถ้าไม่ลองจะรู้เหรอ
     
  13. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210

    หากผมเป็นศาสอื่นที่มีเหมือนศาสนาพุทธ
    และผมไปศรัทธาพระเจ้าองค์อื่น
    ผมใช้ศรัทธาต่อพระเจ้า
    แล้วพระเจ้าจะอยู่กับท่าน
    อย่างนั้นได้ไหม
    แล้วพุทธต่างจากศาสอื่นอย่างไร

    เพราะศาสอื่นเขาปฏิบัติได้เหมือนกัน
    ทั้งจิตว่าง
    ถอดกายถอดวิญญาน
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    <img src='http://www.bloggang.com/data/filmgus/picture/1144597939.jpg' width=300>

    คำบรรยาย : ตะเอง เค้าขอแสดงความศรัทธาต่อ ตะเอง ด้วยเศียรเกล้า จุ๊กกรู้ !!


    <img src='http://sirirat2535.files.wordpress.com/2010/05/spd_20070806130333_b1.jpg' width=300>

    คำบรรยาย : พอศรัทธามั่นคง ก็ขึ้น xxxx



    <img src='http://img193.imageshack.us/img193/296/msvony5jcqoapr5lfd1nfla.jpg' width=300>

    คำบรรยาย : ตะเอง เค้าไปเรียนวิธีศรัทธาแบบเจ้า จุ๊กกรู้ มา หละ เค้า.......เอ่อ
    ( การสนทนา หยุดไปเมื่ออีกฝ่าย รู้เท่า เอาทัน )
     
  15. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    นี่แหล่ะธรรมชาติที่แท้จริง เป็นไปตามสิ่งที่เป็นอยู่
     
  16. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ธรรมของพระองค์เป็นธรรมชาติที่มีจริง ไม่เกี่ยวกับศาสนาที่เป็นกลุ่มก้อนลัทธิ ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นหนึ่ง สามารถเข้าถึงได้ทุกคนถ้าเดินบนเส้นทางที่ถูกต้อง (มรรคมีองค์แปดนั้นเอง)เป็นปฎิปทาเพื่อการพ้นทุกข์สิ้นกรรมนั้นเอง
     
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    <table width=80% border=1 align=center cellpading=0 cellspacing=0><tr><td>
    <table width=100% border=0 bgcolor='#193366' cellpading=10 cellspacing=10><tr><td>

    <b><font color=yellow>.....เห็นหญิงนั้น ยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น....</font></b>

    <font color=white>

    <div align=right><img src='http://pantip.com/images/unknown-avatar-38x38.png' width=30> กระทู้สนทนา </div>

    พระไตรปิฎกปฏิบัติธรรมศาสนาพุทธ



    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชายผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิง เขาเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืน พูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่.

    พวกภิกษุทูลว่า ต้องเป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
    ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้นกำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนโน้น ฉะนั้น ความโศกความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นได้แก่เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น.


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อมาชายคนนั้น มีความดำริอย่างนี้ว่า เรากำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนโน้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น อย่ากระนั้นเลย เราพึงละความกำหนัด พอใจในหญิงคนโน้นที่เรามีนั้นเสียเถิด เขาจึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนโน้นนั้นเสีย สมัยต่อมาเขาเห็นหญิงคนนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคนโน้น ยืนพูดจา กระซิกกระชี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่.

    พวกภิกษุทูลว่า. ข้อนั้นหามิได้ พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
    ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายนั้น คลายกำหนัดในหญิงคนโน้นแล้ว ฉะนั้น ถึงเห็นหญิงนั้น ยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ ก็ไม่เกิดแก่เขา.


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    </font>

    </td></tr></table>
    </td></tr></table>

    ทามี่ click


    จุ๊กกรู้้้้้้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2013
  18. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พระองค์แสดงให้เห็นโทษของกาม และแสดงให้เห้นประโยชน์ของการละกาม และสถานะใดเหล่าจะละกามได้
     
  19. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    [๙๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
    สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละสิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
    สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
    สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
    สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

    [๙๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก
    ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่
    อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสที่มีอยู่.

    [๙๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน? คือ
    น้ำในที่สุดด้านตะวันออก และในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้นปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.

    [๙๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน? คือ
    น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้นปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส ฉันใด.

    [๙๘๑] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย
    สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
    สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
    สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละสิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
    สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
    สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์


    ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕
     
  20. รีนาโมจัน

    รีนาโมจัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2012
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +55
    ศรัทธาอย่างเดียวไม่พอต้องมีปัญญาด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...