เอกสารลับ เพนตากอน สิ่งที่หลายคนไม่เคยรู้!

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย foleman, 22 มิถุนายน 2013.

  1. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    การปฏิบัติตามทางเลือกที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขนี้แบ่งเป็น 2 ขั้น ขั้นที่ 1 มีกำหนดเวลา 30 วันเรียกว่า

    "ปฏิบัติการบาร์เรลโรลล์"

    เป็นการใช้เครื่องบินอเมริกันโจมตีทางแทรกซึมและที่หมายทางทหารในลาวภาคตะวันออกเฉียงใต้ และขั้นที่ 2 คือเปิดฉากทำสงครามทางอากาศกับเวียดนามเหนือ

    เมื่อมีการตกลงใจเช่นนี้แล้ว รัฐบาลสหรัฐก็ได้แจ้งแผนการให้พันธมิตรทราบ

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า ในการนี้สหรัฐได้แบ่งพันธมิตรออกเป็น 2 กลุ่มกับ 1 ประเทศ คือสำหรับสหรัฐ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้นได้แจ้งรายละเอียดให้ทราบทั้งหมด สำหรับแคนาดานั้นอำพรางความจริงไว้บ้าง ส่วนฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้และจีนไต้หวันนั้นแจ้งให้ทราบแต่เฉพาะปฏิบัติการในขั้นที่ 1 เท่านั้น ไม่ปรากฎว่าไทยกับลาวได้รับทราบมากน้อยเพียงไร

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้แสดงความสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าการทิ้งระเบิดจะทำให้ญวนเหนือเลิกล้มความตั้งใจหรือไม่ ทั้งได้พยากรณ์ไว้ด้วยว่าญวนเหนือจะแทรกซึมลงสู่ญวนใต้มากยิ่งขึ้นรัฐบาล
    เวียดนามใต้ได้ทราบแผนการนี้จากเอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ในวันที่ 10 ธันวาคม เจ้าสุวรรณภูมา นายกรัฐมนตรีลาวก็อนุมัติให้สหรัฐปฏิบัติตามแผน (ขั้นที่1) ต่อวิลเลี่ยม เอช.ซัลลิแวน เอกอัครรัฐฑูตสหรัฐประจำลาวคนใหม่ ในวันที่ 14 ธันวาคม ปฏิบัติการบาร์เรลโรลล์ก็เริ่มต้นขึ้นด้วยการ

    "โจมตีที่หมายตามแต่โอกาสจำอำนวย"

    กล่าวคือนักบินทำการโจมตีที่หมายที่มิได้ระบุไว้ในแผนการ
    ในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม เพื่อพิจารณาทบทวนรายละเอียดในแผนปฏิบัติการบาร์เรบโรลล์นั้น ที่ประชุมลงความเห็นว่ามิให้ออกคำแถลงเกี่ยวกับการบินตรวจการณ์ของเครื่องบินติดอาวุธ (ซึ่งนักบินอาจโจมตีที่หมายตามแต่โอกาสจะอำนายได้) ให้ประชาชนทราบ เว้นไว้เสียแต่ว่าเครื่องบินสูญหายไป

    ขณะเดียวกัน สหรัฐก็สั่งให้เพิ่มการโจมตีด้วยเครื่องบิน ที-28 อย่างหนักยิ่งขึ้น เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยว่าในระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงสิ้นเดือนธันวาคม มีการโจมตีด้วย ที-28 รวม 77 เที่ยวบิน และในตอนต้นเดือนธันวาคมนั้นเวียดนามเหนือได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมกาธิการควบคุมการพักรบหลายครั้งว่า มีการโจมตีดินแดนเวียดนามเหนือทางอากาศด้วยการสนับสนุนของสหรัฐ

    ในระหว่างนี้ก็เกิดเหตุการณ์ยุ่งยากขึ้นในไซ่ง่อนอีก เนื่องจากชาวพุทธและนักศึกษาได้เดินขบวนต่อต้านรัฐบาลอันมีตรันวันฮวงเป็นนายกรัฐมนตรี
    วันที่ 20 ธันวาคม นายพลเหงียนคานห์ได้ร่วมมือกับกลุ่มนายพลหนุ่มซึ่งเรียกกันว่า

    "ยังเติ๊ร์ค"

    อันมีนายพลอากาศเหงียนเกากีเป็นผู้ดำเนินการยุบสภาสูงสุดแห่งชาติ สภานี้เป็นสภานิติบัญญัติชั่วคราวและกำลังทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้เวียดนามใต้มีรัฐบาลพลเรือน ในตอนกลางคืนวันเดียวกัน กลุ่ม "ยังเติ๊ร์ค" ได้จับกุมสมาชิกสภาสูงสุดแห่งชาติไว้หลายคน นอกจากคนอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ในวันเดียวกันนั้นเอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ได้เรียกตัวสมาชิก "ยังเติ๊ร์ค" ไปพบที่สถานฑูต นอกจากนายพลเหงียนเกากีที่ถูกเรียกไปพบอีกคนหนึ่งคือนายพลเหงียนวันเทียวซึ่งต่อมาเป็นประธานาธิบดีเวียดนาม (และยังดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนี้)

    สถานฑูตอเมริกันในไซ่ง่อนรายงานการสนทนาระหว่างเทย์เลอร์กับผู้นำขบวนการ "ยังเติ๊ร์ค" ไปยังรัฐบาลเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2507 ดังต่อไปนี้

    เทย์เลอร์ : ท่านทุกคนเข้าใจภาษาอังกฤษหรือเปล่า? (ฝ่ายญวนชี้แจงว่าเข้าใจ เว้นแต่นายพลเหงียนคานห์เท่านั้นที่ความรู้ภาษาอังกฤษอ่อน) เมื่อคราวมีงานเลี้ยงที่นายพลเวสท์มอร์แลนด์จัดขึ้น ข้าพเจ้าได้แจ้งให้ท่านทราบอย่างชัดเจนแล้วว่า พวกเราชาวอเมริกันเบื่อหน่ายรัฐประหารเต็มทีแล้ว แต่ก็ปรากฎว่าข้าพเจ้าพูดไปเหนื่อยเปล่า อาจเป็นเพราะพูดฝรั่งเศสผิดพลาดไป ท่านจึงไม่เข้าใจ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้อย่างจะแจ้งว่าในการวางแผนทางทหารซึ่งพวกท่านปรารถนาจะปฏิบัติให้บังเกิดผลนั้นขึ้นอยู่กับเสถียรภาพของรัฐบาล (ญวนใต้) แต่เดี่ยวนี้ท่านได้ก่อให้เกิดเรื่องยุ่งยากอย่างแท้จริง พวกเราไม่สามารถที่จะแบกท่านไว้ได้ตลอดไป ถ้าท่านกระทำการไปเช่นนี้ ใครเป็นผู้พูดแทนกลุ่มของท่าน? ท่านมีโฆษกหรือไม่?

    เหงียนเกากี : ข้าพเจ้าไม่ใช่โฆษกแต่ข้าพเจ้าพูดภาษาอังกฤษได้ ข้าพเจ้าจะอธิบายว่าทำไมกองทัพ (ญวนใต้) จึงได้ปฏิบัติการเมื่อคืน เราเข้าใจภาษาอังกฤษดี เราตระหนักในความรับผิดชอบของเรา เราตระหนักว่าประชาชนของเราพลีชีวิตมาเป็นเวลากว่า 20 ปี เรารู้ว่าท่านต้องการเสถียรภาพ แต่ท่านไม่สามารถจะมีเสถียรภาพได้จนกว่าจะมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเสียก่อน....เต่ขณะนี้ยังคงมีข่าวลือเรื่องรัฐประหารและความสงสัยในระหว่างกลุ่มต่างๆ เรารู้ว่าข่าวลือเหล่านี้มาจากเอชเอนซี. (สภาการเมืองสูงสุดแห่งชาติ) มิใช่ในฐานะที่เป็นองค์การแต่จากสมาชิกบางคน ผู้นำทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนถือว่าการที่มีคนเหล่านี้อยู่ในเอชเอนซี.นั้น ก่อให้เกิดหรือแสดงความแตกแยกของกองทัพ เนื่องจากพวกนี้มีอิทธิพล
    เมื่อเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรี (ตรันวันฮวง) ได้ให้เราดูหนังสือฉบับหนึ่งที่ได้รับจากประธาน เอชเอนซี. จดหมายฉบับนี้เตือนให้นายกรัฐมนตรีระวังฝ่ายทหาร และกล่าวว่าฝ่ายทหารอาจต้องการกลับคืนสู่อำนาจ เอชเอนซี.ยังกระทำผิดด้วยกฎหมายด้วยการขัดขวางการลาออกของนายพลบางคน ซึ่งสภากองทัพลงมติเป็นเอกฉันท์แนะนำให้ลาออก เพื่อปรับปรุงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของกองทัพ


    เหงียนวันเทียว : เอชเอนซี.เป็นเจ้านายไม่ได้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ สมาชิกต้องพิสูจน์ว่าพวกเขาต้องการจะต่อสู้ (สภาการเมืองสูงสุดไม่มีอำนาจควบคุมกลไกทางการเมือง) สมาชิกสภาผู้นี้มิได้แสดงให้เห็นว่าต้องการจะต่อสู้

    เหงียนเกากี : เอชเอนซี.ทำเหมือนกับว่าไม่ต้องการความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สภานี้ไม่ต้องการจะต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ มีการลือกันว่าปฏิบัติการของเราเมื่อคืนก่อนเป็นการคบคิดของคานห์ (นายกรัฐมนตรีหลายสมัยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2507 ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2508 และผู้บัญชาการกองทัพ) ผู้ซึ่งต้องออกจากตำแหน่งไป ทำไมเราจึงต้องการให้นายพลพวกนี้ออกไป? ก็เพราะพวกเขามีโอกาสแล้วทำงานเลว....เมื่อวานนี้พวกเรา 20 คนประชุมกันตั้งแต่ 14.30 น. ถึง 20.30 น.เราตกลงกันว่าเราต้องปฏิบัติการบางอย่าง เราตัดสินใจจับสมาชิกเลวของ เอชเอนซี. จับนักการเมืองเลว จับผู้นำเลวของนักศึกษาและผู้นำของคณะกรรมการเนชะนัลซาลเวชั่นซึ่งเป็นองค์การคอมมิวนิสต์ เราต้องการทำให้องค์การต่างๆ ที่ก่อความยุ่งยากเลิกดำเนินการและขอร้องให้นายกรัฐมนตรีและประมุขแห่งรัฐอยู่ในตำแหน่ง เราประชุมหนังสือพิมพ์เพื่อชี้แจงให้ประชาชนรู้ว่า ทำไมเราจึงทำเช่นนี้ หลังจากนั้นเราจึงอยากจะไปประจำหน่วยรบของเรา เราไม่มีความใฝ่สูงทางการเมือง เราต้องการทำให้กองทัพเข้มแข็งรวบรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมั่นคง เพื่อจะสนับสนุนรัฐบาลให้มั่นคง ประมุขแห่งรัฐ (ซู) ก็เห็นด้วยกับเรา นายพลคานห์ได้ไปพบฮวง (นายกรัฐมนตรี) และฮวงก็เห็นด้วย เราทำไปตามที่เราเห็นว่าจะเป็นผลดีแก่ประเทศนี้ เราพยายามที่จะมีรัฐบาลเป็นพลเรือนทั้งหมด ขณะนี้เราพร้อมแล้วที่จะกลับไปยังหน่วยของเรา

    เทย์เลอร์ : ข้าพเจ้ายอมรับนับถือความจริงใจของท่านทั้งหลาย ในบัดนี้ข้าพเจ้าจะขอพูดกับท่านในเรื่องที่เกี่ยวกับผลของการที่ท่านได้ทำไป แต่ก่อนที่ข้าพเจ้าจะพูดมีท่านผู้ใดต้องการพูดหรือไม่

    นายพลคัง : ดูเหมือนว่าถูกมองว่าเป็นผู้ผิด ที่เราได้ทำไปแล้วนั้นเป็นการถูกต้องและเราได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศเท่านั้น

    เทย์เลอร์ : ในบัดนี้ขอให้ข้าพเจ้าแจ้งแก่ท่านว่าข้าพเจ้ารู้สึกอย่างไร ข้าพเจ้าคิดว่าผลที่จะบังเกิดขึ้นเป็นดังนี้เป็นรัฐประหารของฝ่ายทหารซึ่งเป็นการทำลายการดำเนินงานจัดตั้งรัฐบาล ปฏิบัติการเยี่ยงรัฐบุรุษของกองทัพเคยมีส่วนช่วยอย่างสำคัฐในการจัดตั้งขึ้นเป็นผลสำเร็จและก็ได้รับการสรรเสริญจากโลกทั้งโลก ท่านกลับไปหน่วยของท่านยังไม่ได้ นายพลกีขณะนี้ฝ่ายทหารกลับคืนสู่อำนาจทางการเมืองแล้ว ท่านเข้าสู่วงการเมืองแล้ว เห็นได้จากคำแถลงของท่านอย่างชัดเจนว่า ท่านเป็นคนสำคัฐในคณะกรรมการปฏิวัติของฝ่ายทหาร การยุบสภาการเมืองสูงสุดเป็นการผิดกฎหมายโดยตลอด ท่านออกประกาศรับรองประมุขของรัฐและรัฐบาลฮวงก็จริง แต่ท่านก็อาจถอนคำรับรองนี้ได้ จึงแปลความได้ว่าฝ่ายทหารได้กลับคืนสู่อำนาจ.....ใครบัญชาการกองทัพ นายพลคานห์ใช่ไหม?

    เหงียนเกากี : ถูกแล้ว...

    เหงียนวันเทียว : ท่านเข้าใจถูกต้องแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็ขอกล่าวไว้ด้วยว่า ผู้บัญชาการทหารญวนนั้นอยู่ในสถาณการณ์ (สถานะ) พิเศษ ดังนั้นเขาจึงต้องมีที่ปรึกษา เราไม่ต้องการบังคับนายพลคานห์ เราให้คำปรึกษาแก่เขา เราจะทำตามที่เขาสั่ง...

    เทย์เลอร์ : พวกท่านตั้งใจจะเข้าร่วมคณะรัฐบาลหรือไม่ถ้าฮวงร้องขอ ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งในคุณภาพอันสูงของนายทหารญวนหลายท่าน ข้าพเจ้าแน่ใจว่าผู้แต่งเครื่องแบบ (ทหาร) ในประเทศนี้เป็นจำนวนมากมีความสามารถที่สุด เมื่อกำลังจัดตั้ง เอชเอนซี. และรัฐบาลฮวงอยู่นั้น ข้าพเจ้าเคยแนะนำแก่นายพลคานห์ว่าควรมีฝ่ายทหารร่วมด้วย แต่ไม่มีการทำตามคำแนะนำของข้าพเจ้า ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีความเห็นในขณะนี้ว่าฝ่ายทหารบางคนควรได้รับการเรียกร้องให้เข้าร่วมในคณะรัฐบาล ท่านมีความตั้งใจที่จะทำเช่นนี้หรือไม่?

    เหงียนเกากี : ถึงอย่างไรข้าพเจ้าก็ขอคัดค้านความคิดที่จะให้ฝ่ายทหารกลับไปร่วมในคณะรัฐบาลโดยตรง ประชาชนจะพูดว่าเป็นการรัฐประหารของฝ่ายทหารเทย์เลอร์ : และ ยู.อะเล็กซิส จอห์นสัน (รองเอกอัครรัฐฑูต) ถึงอย่างไรประชาชนก็จะพูดเช่นนั้น

    เทย์เลอร์ : พวกท่านได้ลายกฏบัตรเสียแล้ว ประมุขแห่งรัฐยังคงต้องตระเตรียมการเลือกตั้งอยู่อีก ไม่มีใครเชื่อว่าประมุขแห่งรัฐจะมีอำนาจหรือมีความสามารถที่จะทำการนี้ได้โดยไม่ต้องมี เอชเอนซี.หรือสภาที่ปรึกษาอื่น ถ้าข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี ข้าพเจ้าก็จะไม่ทำลาย เอชเอนซี. แต่จะรักษาไว้ เราจำเป็นจะต้องมีฝ่ายนิติบัญญัติและต้องอาศัยฝ่ายนิติบัญญัติเป็นทางจัดตั้งรัฐบาลกับสมัชชาแห่งชาติ

    เทย์เลอร์ : (กล่าวต่อ) ขอให้สังเกตด้วยว่านายกรัฐมนตรีฮวงมิได้ยอมรับว่า เอชเอนซี. ถูกยุบเลิก

    เหงียนวันเทียว : ฮวงต้องการอะไรจากเรา? (เทย์เลอร์ย้ำว่าจะต้องมี เอชเอนซี.ไว้ดำเนินการ)

    เหงียนเกากี : เราให้นายพลคานห์และนายกรัฐมนตรีฮวงพูดกันคงจะดีกว่า

    เหงียนวันเทียว : ที่เราทำไปแล้วนั้น เราไม่ได้จับสมาชิก เอชเอนซี.ทุกคน ในจำนวนสมาชิก 9 คน เราควบคุมตัวไว้เพียง 5 คนเท่านั้น คนเหล่านี้ไม่ได้ถูกจับกุมคุมขัง เพียงแต่ถูกกักตัวไว้ในบ้าน

    เทย์เลอร์ : ปัญหาเฉพาะหน้าของเราก็คือ จะต้องใช้เวลาที่เหลือในวันนี้วางรูปงาน ประการหนึ่งก็คือรัฐบาลจะต้องออกแถลงการณ์

    เหงียนวันเทียว : เรายังจะต้องประชุมหนังสือพิมพ์อีกตอนบ่ายวันนี้ แต่ก็เพียงจะแถลงว่าเราได้ทำอะไรไปบ้าง

    เทย์เลอร์ : ทางด้านสหรัฐนั้น ข้าพเจ้ามีปัญหายากลำบากอย่างแท้จริง ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเราจะให้ความสนับสนุนพวกท่านต่อไปหรือไม่ ทำไมท่านจึงไม่แจ้งให้มิตรของท่านทราบก่อนที่จะทำลงไป ข้าพเจ้าเสียใจที่ต้องพูดอย่างห้วนๆ ในวันนี้ แต่เราก็มีเดิมพันอยู่อย่างมากมาย...อีกประการหนึ่ง เป็นความจำเป็นอย่างแท้จริงแล้วหรือที่จะต้องทำการจับกุมในคืนนั้น? การจับกุมนี้จะเลือนไปสักวันหนึ่งหรือสองวันไม่ได้หรือ?

    ก่อนจะลาจากกัน เอกอัครรัฐฑูตเทล์เลอร์กล่าวว่า

    "ท่านทำจานของกินแตกเสียหลายใบ ทีนี้เราจะต้องดูกันต่อไปว่าเราจะแก้เรื่องยุ่งๆ นี้ได้อย่างไร"

    สาระแห่งข้อสนทนาข้างต้นนี้มีว่า นายพลเหงียนเกากีกับพวกไม่ยอมรับว่าได้ทำรัฐประหาร ที่ได้ทำไปนั้นเป็นการสร้างสรรค์ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยการขจัดคนที่แตกแยกออกไป
    เอกอัครรัฐฑูตอเมริกันพยายามที่จะให้นายพลเหล่านั้นสนับสนุนรัฐบาลพลเรือนของนายกรัฐมนตรีตรันวันฮวงและให้สภาการเมืองสูงสุดคงอยู่ต่อไป แต่นายพลญวนไม่ตกลง


    ในตอนปลายเดือน เทย์เลอร์ ยู.อะเล็กซิส จอห์นสัน (รองเอกอัครรัฐฑูต) และนายพลเวสท์มอร์แลนด์ ต่างก็แสดงความท้อแท้ต่อการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือเพื่อพยุงรัฐบาลเวียดนามใต้ ในวนที่ 31 ธันวาคม คนทั้งสามได้ร่วมกันโทรเลขแสดงความเห็นไปยังรัฐบาลว่า สหรัฐควรมุ่งหน้ารณรงค์ทางอากาศต่อเวียดนามเหนือต่อไป "ตามเงื่อนไขความร่วมมืออย่างใดๆ อันอาจคาดคิดได้ นอกจากทอดทิ้งเวียดนามใต้โดยสิ้นเชิง" จึงเห็นได้ว่าคนทั้งสามไม่ถือว่าการคุ้มครองสถานะของรัฐบาลเวียดนามใต้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงก่อนอื่นอีกต่อไป

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า ประธานาธิบดีไม่เต็มใจทีจะให้สหรัฐใช้แผนการขั้นที่สอง (เปิดฉากทำสงครามทางอากาศ) ต่อเวียดนามเหนือ อย่างน้อยที่สุดก็ในขณะที่สถานะของรัฐบาลเวียดนามใต้ยังไม่มั่นคง เพราะจะเป็นการยากที่จะอ้างเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจเช่นนั้นต่อประชาชนชาวอเมริกัน
     
  2. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    วันที่ 24 ธันวาคม เวียดกงได้วางระเบิดที่พักนายทหารในไซ่ง่อน ทำให้ชาวอเมริกันเสียชีวิต 2 คนและบาดเจ็บอีก 58 คน เทย์เลอร์ ชาร์พ (ผู้บัญชาการทัพภาคแปซิฟิก) และคณะเสนาธิการผสมเสนอให้โจมตีแก้มือ แต่ประธานาธิบดีไม่เห็นด้วย

    ในตอนปลายเดือนธันวาคม รัฐบาลสหรัฐเห็นว่าได้รับข่าวสารอย่างเพียงพอสำหรับอ้างเหตุผลเพื่อทำการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือต่อประชาชนได้ ข่าวสารนี้เป็นหลักฐานจากวงการข่าวกรองซึ่งกล่าวว่า เวียดนามเหนือได้ส่งกำลังแทรกซึมลงสู้เวียดนามใต้อย่างน้อย 19,000 คน และอย่างมาก 34,000 คน ส่วนมากเป็นชาวญวนใต้ที่เคยต่อสู้กับฝรั่งเศส (ซึ่งได้รับการฝึกในเวียดนามเหนือ) การแทรกซึมนี้กระทำมาตั้งแต่ปี 2502 ก่อนหน้านี้รัฐบาลมีนโยบายที่อำพรางเรื่องนี้ไว้เพราะเห็นว่าการปล่อยข่าวดีงกล่าวจะทำให้มี

    "การเดาเหตุการณ์อันไม่พึงปรารถนา"

    จึงเพียงแต่เลือกให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์แต่เพียงบางประการ แต่หลังจากที่ได้ทราบหลักฐานดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ก็ยังเห็นว่าควรปิดข่าวต่อไป เพราะเกรงว่าการเปิดเผยเรื่องนี้อาจก่อให้เกิดการบีบบังคับให้ปฏิบัติการก่อนถึงเวลาสมควร

    ความวุ่นวายทางการเมืองในญวนใต้ได้เป็นประเด็นแห่งการอภิปรายในรัฐสภาสหรัฐ ปรากฎว่าสมาชิกมิได้แสดงความเห็นต่อต้านการสู้รบเท่าใดนัก แต่ก็ได้แสดงให้เห็นว่ามีความเข้าใจสถานการณ์อย่างสับสน

    วันที่ 3 มกราคม 2508 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ได้ชี้แจงนดยบายต่างประเทศทางโทรทัศน์โดยกล่าวว่า สหรัฐจะไม่ถอนตัวจากเวียดนามใต้ทั้งจะไม่ขยายขอบเขตการทำสงคราม และว่าเวียดนามใต้สามารถที่จะปราบปรามการส้องสุมคบคิดได้ ถ้าสหรัฐให้ความช่วยเหลือ
    อย่างไรก็ดี เนื่องจากเครื่องบินไอพ่นของอเมริกันสูญเสียไปในลาว 2 เครื่องระหว่างปฏิบัติการบาร์เรลโรลล์ในลาว หนังสือพิมพ์จึงรายงานข่าวเรื่องนี้อย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรก นอกจากนี้สำนักช่าว ยูพีไอ.ยังเปิดเผยเรื่องเกี่ยวกับปฏิบัติการแยงกีทีมตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2507 เป็นต้นมาด้วย
    การที่เรื่องเหล่านี้ถูกเปิดเผยทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของสหรัฐอย่างกว้าวขวางและทำให้วุฒิสมาชิกกลุ่มน้อยที่ต่อต้านสงครามยกเป็นประเด็นโจมตีนโยบายของรัฐบาล

    ในคำปราศรับเมื่อวันที่ 19 มกราคม วุฒิสมาชิก เวน มอร์ส แห่งโอเรกอน กล่าวหาว่ารัฐบาลละเลยข้อตกลงที่เจนีวาปี 2505 และ

    "ละเมิดความยึดถือของประชาชาติด้วยการใช้กฏป่าแห่งอำนาจทางทหารแทนการปกครองโดยกฎหมาย"

    มอร์สเตือนว่าหากรัฐบาลไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายอันม่ต่ออาเซียอาคเนย์ ก็ไม่มีหวังที่จะหลักเลี่ยงสงครามขนาดใหญ่ในอาเซีย
    ทางด้านรัฐบาล ผู้พิจารณานโยบายลงความเห็นเช่นเดียวกับเทย์เลอร์และคณะที่ว่าจะต้องทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือไม่ว่ารัฐบาลเวียดนามใต้จะดำรงอยู่ในภาวะอย่างไร

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า รัฐบาลอเมริกันแปลความหมายของความผันผวนทางการเมืองในไซ่ง่อนว่า ญวนใต้กำลังจะถูกเลหลังให้แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติและเกรงยิ่งขึ้นว่ารัฐบาลผสมของฝ่ายเป็นกลางซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในเวียดนามใต้นั้นจะบอกให้อเมริกันกลับบ้าน
    ความกลัวนี้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณเมื่อกองทัพบกเวียดนามใต้แพ้กองโจรเวียดกงอย่างยับเยินในการสู้รบที่บินห์เกียระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม และวันที่ 2 มกราคม

    บันทึกของบันดี (ผู้ช่วยประธานาธิบดีในกิจการความมั่นคงแห่งชาติ) ซึ่งมีไปถึงรัสค์กล่าวว่า สหรัฐจะต้องยอมรับว่าขวัญของญวนใต้กระเจิง เพราะญวนใต้รู้สึกว่าสหรัฐไม่พร้อมที่จะปฏิบัติการอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ที่ญวนใต้กำลังพยายามหาทางออก

    บันดีกล่าวถึงประเทศไทยว่า
    "ในส่วนอื่นๆ ที่สำคัญของอาเซียโดยเฉพาะประเทศไทย เราแสดงท่วงทีให้ว่าอ่อนแอในสายตาของประเทศต่างๆ เหล่านี้ เราดูเข้มแข็งในเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน ต่อมาในปลายเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมกลับอ่อนแอลงแล้วกลับเด็ดเดี่ยวมั่นคงขึ้นในเดือนสิงหาคมเมื่อเกิดกรณีอ่าวตังเกี๋ย หลังจากนั้นมาเราก็ค่อยๆ อ่อนแอลงอีกเรื่อยๆ และครั้งนี้อีกครั้งหนึ่งที่เรายืนยันจะให้รัฐบาลไซ่ง่อนสมบูรณ์พร้อมก่อนที่เราจะเคลื่อนไหวทำการ" บันดีเห็นว่าสถานการณ์ญวนจะพังทลายลงเร็วกว่าที่คาดไว้ในเดือนพฤศจิกายน

    ต่อไปนี้เป็นเอกสารลับเกี่ยวกับเหตุการณ์ระหว่างเดือนสิงหาคม 2507 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2508

    ฉบับที่ 74

    : โทรเลขของรัสค์
    วันที่ 7 สิงหาคม 2507 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์โทรเลขสอบถามสถานเอกอัครรัฐฑูตอเมริกัยประจำลาวในเรื่องท่าทีของลาวเกี่ยวกับการหยุดยิงในลาว กระทรวงการต่างประเทศได้ส่งสำเนาโทรเลขไปยังคณะฑูตในลอนดอน ปารีส ไซ่ง่อน กรุงเทพฯ ออตตาวา นิวเดลลี มอสโคว์ พนมเปญ ฮ่องกง กองบัญชาการภาคแปซิฟิก และคณะฑูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ เพื่อขอให้แสดงความคิดเห็นด้วย
    โทรเลขฉบับนี้มีความว่า สหรัฐต้องการให้สถานการณ์ในลาวมีเสถียรภาพภายในกรอบแห่งข้อตกลงเจนีวาปี 2505 ถ้าสามารถทำได้ และเสถียรภาพนี้จำต้องอาศัยดุลย์แห่งกำลังทหาร ในการนี้ขบวนการประเทดลาวจะต้องถอนตัวไปจากทุ่งไหหิน การถอนตัวนี้เป็นเงื่อนไขอันพึงกระทำก่อนการประชุม 14 ชาติ ตามสถานการณ์ในขณะนั้นการหยุดยิงจะไม่มีประโยชน์แก่เจ้าสุวรรณภูมาอย่างจริงจัง

    ฉบับที่ 75

    : โทรเลขของเทย์เลอร์
    วันที่ 9 สิงหาคม 2507 เอกอัครรัฐฑูตอเมริกันประจำเวียดนามใต้ แม็กซเวลล์ ดี.เทย์เลอร์ โทรเลขถึงรัสค์ และได้ส่งสำเนาไปให้สถานฑูตในเวียงจันทน์ กรุงเทพฯ และกองบัญชาการภาคแปซิฟิก โทรเลขฉบับนี้กล่าวว่าการเร่งรีบจัดการประชุม (แก้ปัญหาลาว) จะเป็นการยืนยันต่อจีนคอมมิวนิสต์ว่า สหรัฐทำการแก้มืออย่างชั่วแล่นเท่านั้น สหรัฐเคยแสดงท่าทีอย่างแข็งขันที่จะให้ขบวนการปะเทดลาวถอนตัวจากทุ่งไหหินก่อนมีการประชุม ถ้าสหรัฐไม่ยืนยันท่าทีนี้ก็จะเกิดผลเสียหายร้ายแรงต่อการแก้ปัญหาเวียดนาม โดยจะเป็นการทำลายขวัญและความตั้งใจที่จะต่อสู้ของญวนใต้เพราะจะทำให้ญวนใต้คิดว่าสหรัฐฉวยโอกาสเอาตัวรอดจากความคลี่คลายของเหตุการณ์เพียงเล็กน้อย ขณะเดียวกันก็จะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายญวนใต้ที่สนับสนุนความคิดเห็นของนายพลเดอโกลล์
    เทย์เลอร์เห็นว่าการที่สหรัฐยอมอ่อนข้อจะทำให้สถานะของนายพลเหงียนคานห์สึกกร่อน สหรัฐจึงต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเจรจาปัญหาการเมืองในลาว
     
  3. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ฉบับที่ 76

    : คำแนะนำของสถานฑูตในไซ่ง่อน
    วันที่ 18 สิงหาคม 2507 สถานฑูตสหรัฐในไซ่ง่อนโทรเลขถึงกระทรวงการต่างประเทศ แนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการในขั้นต่อไป ข้อแนะนำนี้คำนึงว่าการดำเนินนโยบาย "ปลอบ" ของรัฐบาลเวียดนามใต้ยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะยังผลสำเร็จ สหรัฐจึงจำเป็นจะต้องปฏิบัติการอย่างอื่นเพื่มขึ้น ในประการแรกก็คือ ให้รัฐบาลของนายพลเหงียนคานห์มีเสถียรภาพและรอดตาย แต่เนื่องจากในการทำเช่นนี้สหรัฐจะต้องเสี่ยงภัยเป็นอันมาก สหรัฐจึงต้องระวังตัวมิให้ถลำลึกมากเกินไปก่อนที่รัฐบาลเวียดนามใต้จะมีความมั่นคงขึ้น อีกนัยหนึ่ง สหรัฐควรหลีกเลี่ยงการประจัญหน้ากับเวียดนามเหนือหรือกับจีนแดงทางทหาร หากกำลังสนับสนุนในเวียดนามใต้ยังไม่มั่นคงและกองทัพบกของรัฐบาลเวียดนามใต้ยังมีภาระที่จะต้องต่อสู้กับเวียดกงอยู่เต็มกำลัง
    ในการช่วยธำรงขวัญของเวียดนามใต้ สหรัฐจะต้องให้หลักประกันแก่รัฐบาลของนายพลเหงียนคานห์ว่าพร้อมที่จะบีบฮานอยหนักยิ่งขึ้น ถ้ารัฐบาลญวนใต้แสดงให้เห็นว่าจะสามารถทำหน้าที่ส่วนของตนได้ ในขั้นต่อไปสหรัฐจะต้องตรึงเวียดนามเหนือไว้และสะกัดกั้นการเสริมสร้างกำลังของเวียดกงโดยทำการป้องกันการแทรกซึมจากทางเหนือ
    ในขั้นสุดท้าย สหรัฐจะต้องเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเปิดฉากการสู้รบกับเวียดนามเหนือในขอบเขตกว่างขวางอย่างจงใจ โดยให้ถือเอาวันที่ 1 มกราคม 2508 เป็นวันเริ่มโจมตี แต่อาจเลื่อนกำหนดวันให้กระชั้นเข้ามาอีกก็ได้
    วิธีปฏิบัติการให้บังเกิดผลตามความประสงค์ดังกล่าวนี้แบ่งออกเป็น 3 ประการ ประการแรกมุ่งดำเนินการต่อรัฐบาลญวนใต้ ประการที่สองมุ่งปฏิบัติการต่อรัฐบาลญวนเหนือ และประการที่สาม หลังจากที่เว้นระยะไว้ตามสมควรแล้วก็เปิดฉากการโจมตีญวนเหนือทางอากาศ ข้อเสนอแนะข้างต้นนี้ เป็นผลของการประเมินสถานการณ์ใหม่ ในที่สุดผู้เสนอเห็นว่า สำหรับปฏิบัติการทางทหารนั้นควรใช้แผน "34-เอ" (ลอบปฏิบัติการ) ในจังหวะเร่งสุดขีด ส่วนปฏิบัติการ "ดีโซโต" นั้น ก็ควรกระทำอย่างล้ำหน้า คือให้ปฏิบัติการนอกเขตจำกัด 12 ไมล์ได้ นอกจากนี้ก็ให้ฝึกนักบินญวนใต้ทำการขับขี่เครื่องบิน บี-57 ด้วย

    ฉบับที่ 77

    : โทรเลขของรัสค์
    วันที่ 26 สิงหาคม 2507 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์โทรเลขถึงสถานฑูตสหรัฐประจำลาวแสดงความเห็นพ้องกับความเห็นของสถานฑูตที่ว่าปฏิบัติการ "เอสเออาร์" (ค้นหาและช่วยเหลือ) ของนักบินแอร์อเมริกามีความสำคัญ และในการนี้ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชังให้ความช่วยเหลือต่ออเมริกัน ไทยหรือลาว รัสค์อนุมัติให้สถานฑูตพิจารณาสั่งการให้นักบิน ที-28 ปฏิบัติการ เอสเออาร์ ได้ทันทีเมื่อจำเป็น แต่ถ้ามิใช่กรณีฉุกเฉินก็ให้ขออนุญาตก่อน
    รัสค์ซ้อมความเข้าใจว่าศูนย์บัญชาการบินของสถานฑูตมีหน้าที่ควบคุมปฏิบัติการของนักบินไทยอย่างกวดขัน แต่ไม่ต้องกระทำเช่นนี้กับนักบินลาว

    ฉบับที่ 78 : คำแนะนำของคณะเสนาธิการผสม
    วันที 26 สิงหาคม 2507 คณะเสนาธิการผสมมีบันทึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามารา แสดงความเห็นพ้องกับความเห็นของเอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ที่ว่า จำเป็นจะต้องรีบเร่งปฏิบัติการเพื่อป้องกันสถานะของสหรัฐในอาเซียอาคเนย์มิให้ล้มฟุบลง แต่ไม่เห็นด้วยในข้อที่ว่า สหรัฐไม่ควรเข้าเกี่ยวข้องกับญวนใต้อย่างถลำตัวจนกว่ารัฐบาลญวนใต้จะมีความมั่นคงยิ่งขึ้นเพราะสหรัฐเข้าเกี่ยวข้องด้วยแล้วอย่างลึกซึ้ง
    คณะเสนาธิการผสมเห็นว่าจำเป็นจะต้องปฏิบัติการโดยตรงและรุนแรงยิ่งขึ้น และโดยที่อาจคาดหมายได้ว่าเวียดกงและขบวนการปะเทดลาวจะปฏิบัติการด้ผลคืบหน้าต่อไปอีก สหรัฐจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะโจมตีตอบโต้เวียดนามเหนือทางอากาศอย่างฉับพลัน ในกานี้ต้องปฏิบัติการในขั้นรุนแรงกว่าการยั่วยุ

    ฉบับที่ 79

    : แผนการของแม็คนอตันบันทึกลงวันที่ 8 กันยายน 2507 ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม จอห์น ที.แม็คนอตัน กล่าวว่า สถานการณ์ในเวียดนามใต้เลื่อมทรามลงและคาดว่าจะเลื่อมทรามลงอีกอย่างรวดเร็ว สหรัฐจึงต้องหาทางป้องกัน นอกจากปฏิบัติการอื่นๆ แล้ว ควรริเริ่มตั้งฐารทัพเรือขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นที่ดานังก็ได้

    ฉบับที่ 80

    : ความเห็นของบันดี
    วันที่ 8 กันยายน 2507 รัฐมนตรีช่วยว่าการต่างปรเทศในกิจการตะวันออก วิลเลียม พี.บันดี มีบันทึกเสนอประธานาธิบดีจอห์นสัน ว่า เอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามาราและประธานคณะเสนาธิการผสมนายพลวีเลอร์ เห็นพ้องกันว่ารัฐบาลเวียดนามใต้จะอยู่ต่อไปได้อีก 2 หรือ 3 เดือน แต่จะอยู่อย่างอ่อนแอ สหรัฐจึงไม่ควรเสี่ยงปฏิบัติการอย่างขนานใหญ่
    ปฏิบัติการที่สหรัฐควรกระทำในขั้นนี้คือ ลาดตระเวญในอ่าวตีงเกี๋ยใหม่ให้เลขเขต 12 ไมล์โดยทันทีโดยใช้เรือพิฆาต 2 หรือ 3 ลำ ซึ่งมีระบบต่อสู้เรือดำน้ำของตนเอง ต่อจากนี้ให้ปฏิบัติตามแผน "34-เอ" อีกโดยทันทีหลังจากดำเนินการปฏิบัติการลาดตระเวณและปฏิบัติการทางอากาศและภาคพื้นดินในลาวในอนาคตอันใกล้

    ฉบับที่ 81

    : คำสั่งประธานาธิบดีวันที่ 10 กันยายน 2507 แม็คยอร์ช บันดี ที่ปรึกษาประธานาธิบดีในกิจการความมั่นคงแห่งชาติ มีบันทึกการประชุมความมั่นคงแห่งชาติถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามาราและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ว่า ประธานาธิบดีจอห์นสันได้พิจารณาสถานการณ์เวียดนามแล้ว และอนุมัติให้เรือรบสหรัฐ 2 ถึง 3 ลำลาดตระเวณอ่าวตังเกี๋ยใหม่อีก โดยให้ปฏิบัติการเลยเขตจำกัด 12 ไมล์ได้ ทั้งนี้ให้เป็นปฏิบัติการต่างหากจากปฏิบัติการทางทะเลในแผน "34-เอ" เรือรบที่จะไปปฏิบัติการนี้ให้มีระบบต่อสู้เรือใต้น้ำในตัวเองด้วย
    หลังจากปฏิบัติตามแผน "ดีโซโต" (ลาดตระเวณอ่าวตังเกี๋ย) ครั้งแรกแล้วก็ให้รัฐบาลเวียดนามใต้ปฏิบัติการทางทะเลตามแผน "34-เอ" เพื่อป้องกันการแทรกซึม ในการนี้ให้รัฐบาลเวียดนามใต้ยอมรับโดยเปิดเผย นอกจากนี้ให้ทำการทิ้งใบปลิวอีกโดยถือว่ามีความสำคัญรองลงมา แต่ยังมิให้โจมตีทางอากาศตามแผนนี้
    ประธานาธิบดีสั่งให้เจรจากับยัฐบาลลาวโดยเร็วเพื่อให้รัฐบาลเวียดนามใต้ปฏิบัติการทางอากาศและภาคพื้นดินในบริเวณทางลำเลียงผ่านลาว กับให้ลาวโจมตีทางอากาศและอาจให้เครื่องบินติดอาวุธของสหรัฐปฏิบัติการด้วย ทั้งนี้โดยกระทำในขอบเขตจำกัด
    ให้เตรียมพร้อมที่จะตอบโต้เวียดนามเหนือตามสมควร ถ้าเวียดนามเหนือโจมตีหน่วยทหารสหรัฐหรือถ้าเวียดนามเหนือและเวียดกงปฏิบัติการต่อเวียดนามใต้อย่างใดๆ เป็นพิเศษ
    ประธานาธิบดีกล่าวย้ำถึงความสำคัฐในปฏิบัติการทางเศรษฐกิจและการเมืองอันมีต่อเวียดนามใต้ด้วย เช่นการเพิ่มเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนและการวางโครงการปฏิบัติการเฉพาะแห่งทั้งในเมืองต่างๆ และในชนบท โดยต้องปฏิบัติการอย่างรีบด่วนและไม่จำกัดงบประมาณ
    ประธานาธิบดีตกลงใจเรื่องนี้โดยคำนึงถึงความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมรัฐบาลเวียดนามใต้ และถ้าสถานกาณ์อำนายให้ก็จะขยายขอบเขตการปฏิบัติให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

    ฉบับที่ 82

    : ฑูตอเมริกันประชุมปัญหาลาว
    วันที่ 19 กันยายน 2507 เอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ โทรเลขถึงกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทัพภาคแปซิฟิก รายงานการประชุมระหว่างเอกอัครรัฐฑูตสหรัฐประจำเวียดนามใต้ ลาวและไทย ซึ่งจัดขึ้นในไซ่ง่อนวันที่ 11 กันยายน เกี่ยวกัยการปฏิบัติการทางอากาศและภาคพื้นดินในบริเวณทางลำเลียงของญวนเหนือผ่านประเทศลาว

    ฉบับที่ 83
    : สั่งการโจมตีในลาว
    วันที่ 6 ตุลาคม 2507 กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมโทรเลขถึงสถานเอกอัครรัฐฑูตสหรัฐในเวียงจันทน์ มอบอำนาจให้เตือนรัฐบาลลาวให้รีบเร่งโจมตีทางแทรกซึมและแหล่งอำนายความสะดวกของเวียดกงในลาวด้วยเครื่องบิน ที-28 ให้เร็วที่สุดที่จะทำได้

    ฉบับที่ 84

    : ความเห็นของบันดี
    วิลเลียม บันดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่างเอกสารลงวันที่ 5 พฤศจิกายน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการหาเสียงสนับสนุนและหยั่งท่าทีจากวงการในประเทศและระหว่างประเทศก่อนตัดสินใจปฏิบัติการ รวมทั้งให้พูดจากับผู้นำคนสำคัญทางการเมืองแต่เห็นว่าไม่ต้องขออำนาจเพิ่มเติมจากรัฐสภาอีก
    เกี่ยวกับการขออำนาจจากรัฐสภานี้ ร่างเอกสารกล่าวว่า "เราคงจะไม่ต้องขออำนาจจากรัฐสภาเพิ่มเติมอีก ถึงแม้ว่าเราตัดสินใจที่จะปฏิบัติการอย่างแข็งขันยิ่งขึ้น สมัยประชุมแห่งรัฐสภาเศษเดนนี้ น่าจะเป็นเวทีแห่งความพยายามอันวุ่นวายของริพับลิกันยิ่งกว่า" วิลเลียม บันดี เห็นว่าควรหารือกับสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอาจหารือกับไทยอีกประเทศหนึ่งก่อนตัดสินใจ ส่วนฟิลิปปินส์นั้นควรหารือก่อนปฏิบัติการราวๆ วันหนึ่ง
    สำหรับซีโตนั้น ควรหารือเมื่อมีการปฏิบัติอย่างแข็งขันยิ่งขึ้น และสำหรับนาโตนั้นให้แจ้งให้ทราบเช่นเดียวกับกรณีในคิวบา คือให้ผู้แทนอันมีความสำคัญแจ้งให้ทราบพร้อมกับที่ปฏิบัติการ
    ส่วนฝรั่งเศสนั้น ก็ควรแจ้งให้ทราบเป็นกรณีพิเศษเช่นกัน "เพื่อเหตุผลในทางปฏิบัติ"
    สหรัฐจะต้องเตรียมพร้อมที่จะแถลงสาเหตุแห่งปฏิบัติการต่อสหประชาชาติ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ดจมตีตอบโต้ครั้งเดียวหรือมีการริเริ่มปฏิบัติการในขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น
    สำหรับทั่วโลกนั้น ควรขอความเห็นใจจากประมุขแห่งรัฐที่เป็นมิตร โดยให้การปฏิบัติต่อประมุขเหล่านั้นเป็นกรณีพิเศษและให้ซักซ้อมสาเหตุแห่งการปฏิบัติของสหรัฐให้เป็นที่เข้าใจแก่บรรดาผู้แทนที่จะติดต่อกับประมุขเหล่านั้น

    ฉบับที่ 85
    : ความเห็นของแม็คนอตัน
    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2507 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนอตันร่างเอกสารว่าด้วยปฏิบัติการในเวียดนามว่า มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองชื่อเสียงของสหรัฐในฐานะที่เป็นผู้ประกันการต่อสู้กับการบ่อนทำลายหลีกเลี่ยงผลตามทฤษฎีโดมิโน (ล้มทับกันเป็นทอดๆ) ในอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ ป้องกันเวียดนามใต้มิให้ตกอยู่ในมือคอมมิวนิสต์ และหาทางออกจากวิกฤตกาลโดยมีราคีน้อยที่สุด
    เนื่องจากสถานการณ์ในเวียดนามใต้เสื่อมทรามลง จึงต้องปฏิบัติการใหม่ๆ เพื่อให้รัฐบาลใหม่ของเวียดนามใต้มั่งคง และเพื่อป้องกันมิให้เวียดกงขยายการยึดครองมากขึ้น คาดหมายว่า (ถ้าไม่รีบป้องกัน) ภายในเวลาไม่นาน เจ้าหน้าที่รัฐบาลทุกระดับก็จะปรับความประพฤติให้เข้ากับการยึดครองของเวียดกง กำลังรบที่สำคัญก็จะละทิ้งหน้าที่ ภูมิภาคจะเอาใจออกoงจากรัฐบาล ฝ่ายที่เป็นกลางหรือฝ่ายซ้ายจะเข้าร่วมในรัฐบาล สหรัฐจะถูกขับออกไปและเวียดนามใต้ก็จะไปอยุ่หลัง "ม่าน"
    โดยที่ปฏิบัติการต่อต้านเวียดนามเหนือจะมีผลเป็นการมุ่งส่งเสริมรัฐบาลเวียดนามใต้อยู่บ้าง จึงต้องบีบเวียดนามเหนือ ในการนี้มีทางเลือก 3 ทาง ทางแรกดำเนินนโยบายปัจจุบันต่อไปรวมทั้งการโจมตีเพื่อแก้มือ โดยในการปฏิบัติเพื่อแก้มือนั้นมุ่งที่จะขัดขวางและลงโทษเวียดกง แต่ต้องกระทำอย่างจำกัดเพื่อมิให้กลายเป็นประเด็นการเจรจาระหว่างประเทศ ข้อสำคัญจะต้องไม่เจรจาจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
    ทางที่สองคือ บีบอย่างแรงและเร็วด้วยกำลังรบนอกจากดำเนินนโยบายปัจจุบัน การใช้กำลังทหารนี้จะต้องกระทำอย่างสืบเนื่องกันจนกว่าจะบรรลุถึงวัตถุประสงค์
    ทางที่สามคือบีบไปพลางพูดไปพลาง วิธีนี้ให้ใช้นโยบายปัจจุบันพร้อมทั้งติดต่อพูดจากับเวียดนามเหนือและปฏิบัติการต่อที่หมายแห่งการแทรกซึมเพิ่มขึ้น การลำดับแผนปฏิบัติการนี้จะต้องกรเทในทางที่จะให้ตัดสินใจได้ว่าจะระงับหรือขยายขอบเขตหรือเร่งมือในขณะหนึ่งขณะใดหรือไม่

    ฉบับที่ 86

    : ความเห็นของมัสติน
    วันที่ 14 พฤศจิกายน 2507 พลเรือเอกลอยด์ เอม.มัสติน เจ้าหน้าที่สำนักเสนาธิการผสม มีบันทึกถึงวิลเลียม พี.บันดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะปฏิบัติงานว่าด้วยอาเซียตะออกเฉียงใต้ แสดงความเห็นเกี่ยวกับทางเลือกของสหรัฐโดยกล่าวสรุปว่า ไม่ควรถือว่าเสียงทักท้วงต่อปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐมีอิทธิพลอย่างสำคัญ และสหรับจำเป็นจะต้องปฏิบัติการอย่างเข้มแข็ง

    ฉบับที่ 87

    : ความเห็นของเทย์เลอร์

    วันที่ 27 พฤศิจกายน 2507 เอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์สรุปสถานการณ์ในเวียดนามใต้ว่า การต่อต้านเวียดกงไม่บังเกิดผลหลังจากที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล ถึงต้องปฏิบัติการอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น
    เวียดกงปฏิบัติการอย่างคึกคัก และผลของการดำเนินนโยบาย "ปลอบ" ก็ลดถอยลง แต่ที่สำคัญกว่านี้ก็คือความอ่อนแอของรัฐบาล (ของนายกรัฐมนตรีตรันวันฮวงซึ่งดำรงตำแหน่งสืบต่อจากนายพลเหงียนคานห์)
    ในเวียดนามใต้มีความรู้สึกระอิด ระอา ต่อสงครามและความรู้สึกหมดหวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตัวเมืองไซ่ง่อน อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งตือการแตกพวกแตกเหล่าอันเคยมีมาแล้วในประวัติศาสตร์ญวน การแก้ปัญหานี้จะต้องใช้เวลา แต่โดยเหตุที่การแก้ปัญหาเวียดนามจะต้องทำแข่งกับเวลา จึงยังมองไม่เห็นช่องทางที่จะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพขึ้นได้โดยเร็ว
    สถานการณ์ชี้ว่าสหรัฐเป็นรองในการแข่งขันจึงถึงเวลาแล้วที่จะปรับปรุงการต่อสู้ โดยสถาปนารัฐบาลที่อาจยอมรับได้ขึ้น ปรับปรุงวิธีการรณรงค์กับเวียดกงและจูงใจหรือบังคับเวียดนามเหนือให้ระงับการให้ความช่วยเหลือเวียดกง

    ฉบับที่ 88

    : ร่างแนวทางปฏิบัติ

    ร่างเอกสารขั้นสุดท้ายว่าด้วยแนวทางปฏิบัติของสหรัฐในภูมิภาคฉบับนี้ แจกจ่ายให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2507 ก่อนเข้าประชุมที่กระทรวงการต่างประเทศ บันทึกของวิลเลียม พี.บันดี ซึ่งแนบไว้กับเอกสารนี้กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ ได้อนุมัติการจัดวางรูปแบบของร่างแล้ว เอกสารนี้ย้ำว่า สหรัฐไม่เปลี่ยนวัตถุประสงค์ในนโยบาย คือ ให้เวียดนามเหนือเลิกช่วยเวียดกง จัดตั้งรัฐบาลเวียดนามใต้อันมีความมั่นคงขึ้นใหม่ ธำรงความมั่นคงของประเทศที่มิใช่คอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ปฏิบัติการทางทหารต่อเวียดนามเหนือและอื่นๆ อีก

    ร้ฐบาลจะรีบเผยแพร่หลักฐานเกี่ยวกับการแทรกซึมของเวียดนามเหนือ ให้ข่าวหนังสือพิมพ์ สรุปเหตุการณ์ต่อผู้นำรัฐสภาตามโอกาสโดยไม่ทำการประชุมเพื่อการนี้และสรุปเหตุการณ์ให้พันธมิตรที่สำคัญรับทราบ สำหรับลาวและไทยนั้น ให้เอกอัครรัฐฑูตแจ้งให้ผู้นำรัฐบาลทราบแนวความคิดและปฏิบัติการเฉพาะอย่าง ให้ขออนุมัติรัฐบาลลาวเพื่อให้เครื่องบินติดอาวุธของสหรัฐบินตรวจการณ์อย่างแข็งขันยิ่งขึ้น ขอให้ไทยสนับสนุนแผนการของสหรัฐอย่างเต็มที่ ให้ไทยพยายามดำเนินการในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนืออย่างแข็งขัน และสนับสนุนปฏิบัติการในลาวต่อไป เช่นให้นักบินเพิ่มขึ้นและอาจให้ทหารปืนใหญ่ด้วย

    แนวทางปฏิบัตินอกจากนี้คือ ยืนยันท่าทีต่อเวียดนามเหนือและแจ้งความมุ่งหมายและความเป็นกังวลให้สหภาพโซเวียตทราบ แต่ยังไม่ติดต่อกับจีนคอมมิวนิสต์ในช่วงเวลานี้ และปฏิบัติการทางทหารอย่างแข็งขันรวมทั้งบินตรวจการณ์ในระดับสูงในเวียดนามเหนือ ส่วนปฏิบัติการเพื่อแก้มือเวียดนามเหนือนั้นให้กระทำเมื่อมีการโจมตีสนามบินหรือเมื่อไซ่ง่อนและเมืองสำคัญในภูมิภาคถูกโจมตี และในกรณีอื่นๆ อีก

    ฉบับที่ 89

    : การประชุมในไซ่ง่อน

    วันที่ 24 ธันวาคม 2507 สถานเอกอัครรัฐฑูตสหรัฐในเวียดนามใต้ส่งบันทึกการสนทนาระหว่างเอกอัครรัฐฑูต เทย์เลอร์ และรองเอกอัครรัฐฑูต ยู.อะเล็กซิส จอห์นสัน กับผู้นำ "ยังเติร์ค" ของเวียดนามใต้ (นายพลเหงียนเคากี นายพลเหงียนวันเทียว นายพลเหงียนคานห์ที นายพลเรือคังและคนอื่นๆ ให้กระทรวงการต่างประเทศ
     
  4. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    สงครามภาคพื้นดิน มีนาคม-กรกฎาคม 2508

    วันที่ 1 เมษายน 2508 ประธานาธิบดีจอห์นสัน ตัดสินใจใช้ทหารภาคพื้นดินปฏิบัติการรุกรบในเวียดนามใต้ เพราะเห็นว่าการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนืออย่างเดียวไม่สามารถที่จะช่วยพยุงเวียดนามใต้ไว้ได้ ประธานาธิบดีสั่งด้วยว่าการตัดสินใจนี้เป็นความลับ ผู้วิเคราะห์ของเพนตากอนกล่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนนโยบายที่สหรัฐเคยยึดถือมานับตั้งแต่สงครามเกาหลีสิ้นสุดลงว่า สหรัฐจะต้องหลีกเลี่ยงการทำสงครามภาคพื้นดินในอาเซีย การตัดสินใจนี้ปรากฎตามบันทึกการประชุมความมั่นคงแห่งชาติลงวันที่ 6 เมษายน

    ก่อนการตัดสินใจ รัฐบาลสหรัฐหวังไว้เป็นอันมากว่า การโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศจะทำให้ความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้ของเวียดนามเหนือแตกสลายและจะเป็นการจูงใจให้เวียดนามเหนือเลิกช่วยเวียดกง การโจมตีอย่างกระหน่ำเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม แต่ผลของการโจมตีกลับทำให้เวียดนามเหนือแข็งกร้าวขึ้น สหรัฐจึงมีทางเลือกเพียง 2 ทางคือ ถอนตัวไปจากเวียดนามฝ่ายเดียว โดยปล่อยให้เวียดนามใต้ป้องกันตัวเอง หรือมิฉะนั้นก็ใช้กำลังภาคพื้นดิน

    สหรัฐเห็นว่าทางเลือกที่สามคือ ทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือให้หนักหน่วงรุนแรงอย่างยิ่งนั้นจะกระทำมิได้ เพราะจะต้องเสี่ยงภัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากจีนคอมมิวนิสต์จะเข้าแทรกแซง ภายในเวลา 1 เดือนหลังจากที่รัฐบาลสหรัฐตระหนักว่าการทิ้งระเบิดต่อเวียดนามเหนือไม่ได้ผลอย่าวรวดเร็วดังที่คาดหมายไว้ รัฐบาลก็ตัดสินใจสั่งให้นาวิกโยธิน 2 กองพันซึ่งตั้งอยู่ในเวียดนามใต้แล้ว ปฏิบัติการรุกรบในวันที่ 8 มีนาคม นาวิกโยธินอเมริกัน 3,500 คนได้ยกพลขึ้นบกที่ดานัง โดยรับมอบหมายให้ปฏิบัติการป้องกันสนามบินโดยเฉพาะ ในตอนนี้จึงมีกำลังทหารอเมริกันอยู่ในเวียดนามใต้รวม 27,000 คน

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า เนื่องจากประธานาธิบดีไม่ต้องการที่จะให้การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางทหารจากการตั้งรับเป็นรุกรบนี้เป็นที่สังเกตแก่ประชาชน จึงมิได้มีการเปิดเผยการตัดสินใจครั้งนี้ จนกระทั่งเรื่องนี้รั่วไหลจากกระทรวงการต่างประเทศโดยบังเอิญเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ก่อนข่าวนี้รู้ไปถึงหูประชาชน วันหนึ่งนายพลวิลเลียม ซี.เวสท์มอร์แลนด์ ผู้บัญชาการทหารในไซ่ง่อนได้เสนอแผนยุทธศาสตร์ซึ่งทำขึ้นอย่างรีบเร่ง ตามแผนนี้สหรัฐจะต้องมีทหารเกือบ 200,000 คน สำหรับขัดตาทัพไว้พลางระหว่างการเสริมสร้างกำลังเพิ่มเติม ในตอนกลางเดือนกรกฎาคม ประธานาธิบดีจึงอนุมัติคำขอของเวสท์มอร์แลนด์ การอนุมัตินี้ถือเป็นความลับเล่นเดียวกัน

    ทางแห่งความพ่ายแพ้

    ก่อนการเปิดฉากทำสงครามทางอากาศ มีคำเตือนในวงการรัฐบาลสหรัฐว่าสหรัฐจะไม่ได้รับความสำเร็จ เมื่อประธานาธิบดีตัดสินใจจะทำสงครามภาคพื้นดินก็มีคำเตือนว่าจะไม่บังเกิดผลเช่นเดียวกัน ในการเตือนครั้งหลังนี้ นอกจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ยอร์ช ดับลิว.บอลล์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับคนอื่นๆ ในการแก้ปัญหาเวียดนามจะเป็นผู้เตือนแล้ว ยังมีจอห์น เอ.แม็คโคน ผู้อำนายการข่าวกรองกลางด้วยอีกผู้หนึ่ง

    ในวันที่ 2 เมษายน แม็คโคนได้แจกหนังสือเวียนแก่สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติกล่าวว่า ไม่เป็นการรอบคอบที่อเมริกันจะทำการรบภาคพื้นดินเว้นไว้เสียแต่ว่าสหรัฐจงใจถล่มเวียดนามเหนือด้วยระเบิดอย่างไม่ปรานีปราศรัย แม็คโคนเห็นว่าสงครามภาคพื้นดินจะทำให้อเมริกันต้องไปทำการรบในป่าดงอย่างไม่มีทางที่จะชนะ ทั้งยังยากอย่างยิ่งที่จะถอยกลับ นายพลวิลเลียม เอฟ.ราบอร์น ผู้ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากแม็คโคนก็ได้ประเมินข่าวกรองไว้ในทำนองเดียวกันนี้

    บอลล์แสดงความเห็นคัดค้านในอีกแง่หนึ่ง เขาเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นการทิ้งระเบิดหรือสู้รบกับกองโจรหรือทำทั้งสองอย่างพร้อมกันก็ใช้แก้ปัญหาไม่ได้ แต่เป็นการเอาทรัพยากรเททิ้ง วิธีที่บอลล์เห็นว่าจะแก้ปัญหาได้ก็คือยอมเสียแล้วเสียไปและถอนตัวกลับ อย่างไรก็ดี เพราะประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรีส่วนมาก "ไม่อยู่ในอารมณ์ที่จะประนีประนอม" ประธานาธิบดีจึงทำตามความเห็นของเวสท์มอร์แลนด์

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า " อารมณ์ของรัฐบาล" ในช่วงเวลาดังกล่าวเห็นได้จาก "การรณรงค์ด้วยการแจ้งข่าวสารอันยาวเหยียดต่อประชาชน" โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ในตอนปลายเดือนกุมภาพันธ์และต้นเดือนมีนาคม ระหว่างที่ทำการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนืออย่างรุนแรงไม่ขาดสาย การออกข่าวนี้แสดงท่าทีอันแข็งกร้าวของสหรัฐว่ายังไม่ต้องการที่จะเจรจา แต่เป็นคำบงการให้เวียดนามเหนือ "หยุดทำการที่กำลังกระทำต่อเพื่อนบ้านเสียก่อน"

    การที่รัสค์ไม่สนใจที่จะเจรจานั้นเป็นการสอดคล้องกับความเห็นของที่ปรึกษาทั้งหลายของจอห์นสันที่ว่า ขณะนั้นทางไปสู่สันติภาพยังไม่เปิด ผู้วิคราะห์ของเพนตากอนกล่าวถึงสถานการณ์ขณะนั้นว่า "ฮานอยครอบครองเวียดนามใต้ไว้กว่าครึ่งและอาจจะเห็นรัฐบาลไซ่ง่อนล้มลงต่อหน้าต่อตาก็ได้ ดุลย์แห่งกำลังในขณะนี้ไม่เอื้ออำนายให้สหรัฐใช้เป็นมูลฐานสำหรับต่อรอง และฮานอยก็ไม่มีเหตุผลที่จะยอมรับข้อเรียกร้องอันกระด้างที่สหรัฐมีอยู่ในความคิด ตราบใดที่การบีบบังคับในทางทหารต่อเวียดนามเหนือยังไม่ทำให้ดุลย์แห่งกำลังกระดกกลับ ตราบนั้นการเจรจาก็เหลวเปล่า"

    เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยว่า การรณรงค์ทางการเมืองของประธานาธิบดีเกี่ยวกับการทิ้งระเบิดในฤดูใบไม้ผลิ ปี 2508 นั้น มีวัตถุประสงค์บางประการรวมอยู่ด้วย คือ ต้องการที่จะได้รับความสนับสนุนจากประชาชน ขณะเดียวกันก็มิให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์โดยรัฐบาลแสดงให้เห็นว่าจะหาทางประนีประนอมต่อไป แต่ตามความเป็นจริงนั้น รัฐบาลมิได้ตั้งใจที่จะประนีประนอม และตามทัศนะของเวียดนามเหนือและเวียดกงนั้นก็เปรียบได้กับเป็นคำบงการให้ยอมจำนน

    การตัดสินใจเพื่อความประสงค์ดังกล่าวนี้มี 2 ครั้ง ครั้งแรกประธานาธิบดีได้กล่าวคำปราศรัยที่มหาวิทยาลัยฮอพคินส์เมื่อวันที่ 7 เมษายน แสดงความเรียกร้องต้องการที่จะเจรจา "โดยไม่ตั้งเงื่อนไขแต่อย่างใดๆ ล่วงหน้า" ทั้งได้เสนอโครงการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งเวียดนามเหนืออาจร่วมรับประโยชน์ด้วย ครั้งที่สอง มีการสั่งระงับการทิ้งระเบิดเป็นเวลา 5 วันโดยไม่มีการประกาศ ระหว่างนั้นประธานาธิบดีได้เรียกร้องให้เวียดนามเหนือยอมรับ "การแก้ปัญหาทางการเมือง" ในเวียดนามใต้

    เอกสารลับเพนตากนกล่าวว่า การรณรงค์เช่นนี้ดูเหมือนจะเป็นการจูงใจให้เวียดนามเหนือเพลามือในการต่อสู้ลง แต่อันที่จริงนั้นเป็นการเตรียมการปฏิบัติการอย่างหนักหน่วงยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากบันทึกของนายพลราบอร์นลงวันที่ 6 พฤษภาคม
     
  5. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    การโจมตีทางอากาศต่อเวียดนามเหนือในวันที่ 8 และ 11 กุมภาพันธ์นั้น กระทำโดยใช้ชื่อระหัสว่า "ปฏิบัติการเฟลมิงดาร์ท (แหลนเพลิง) ที่ 1 และที่ 2"

    สหรัฐประกาศว่าเป็นปฏิบัติการแก้มือในการที่เวียดกงโจมตีที่ตั้งของอเมริกันที่เปลกูและควีนอน ในการโจมตีครั้งนี้ รัฐบาลต้องการที่จะแสดงให้เห็นว่าได้ทำการโจมตีอย่างรุนแรงยิ่งขึ้นทีละน้อยเพื่อมิให้เป็นที่สังเกตว่าได้เปลี่ยนวิธียุทธศาสตร์แบบตั้งรับเป็นรุกรบ ปฏิบัติการเฟลมิงดาร์ทที่ 2 แสดงว่ารัฐบาลได้หันเหไปจากนโยบายในอดีตอย่างสำคัญ กล่าวคือ เป็นการเริ่มต้นการทิ้งระเบิดซึ่งจะต้องกระทำอย่างรีบเร่งและต่อเนื่องกันไม่ขาดสายในเวลาต่อไป

    ในวันที่ 13 พฤษภาคม จอห์นสันก็สั่งให้ใช้แผน "ปฏิบัติการโรลลิ่งธันเดอร์" ก่อนที่ประธานาธิบดีจะสั่งการเรื่องนี้ นายพลเหงียน คานห์ ผู้บัญชาการทหารเวียดนามใต้ได้ขจัดรัฐบาลพลเรือนของนายกรัฐมนตรีตรันวันฮวงพ้นจากตำแหน่งไป (วันที่ 27 มกราคม) ขณะเดียวกัน กลุ่ม "ยังเติ๊ร์ค" อันมีนายพลเหงียนเกากีเป็นผู้นำ ก็คบคิดกันต่อต้านนายพลเหงียน คานห์ ตามกำหนดเดิม ปฏิบัติการโรลลิ่งธันเดอร์จะเริ่มในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ แต่เนื่องจากสถานการณ์ในไซ่ง่อนไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากกลุ่ม "ยังเติ๊ร์ค" พยายามจะขจัดนายพลเหงียน คานห์ เอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์จึงเสนอให้ระงับการโจมตีไว้ก่อน และรัฐบาลก็เห็นด้วย

    นายพลเหงียน คานห์พยายามที่จะหาผู้สนับสนุนเพื่อเอาชนะกลุ่ม "ยังเติ๊ร์ค" แต่ก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดก็ได้เดินทางออกจากไซ่ง่อนไปโดยเครื่องบิน เห็นได้ว่าเพื่อพยายามหลีกเลี่ยงที่จะต้องลาออกจากตำแหน่ง แต่บังเอิญน้ำมันหมดจึงไปตกค้างอยู่ที่นาตรัง และยอมยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เขาอ้างว่าการล้มล้างเขาครั้งนี้มี "มือต่างประเทศ" อยู่เบื้องหลัง

    เพื่อป้องกันมิให้นายพลเหงียน คานห์ทำรัฐประหารใหม่ จำเป็นจะต้องจัดการให้เขาออกไปจากประเทศ ดังนั้นนายพลเหงียน คานห์จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครรัฐฑูต "ลอย" และต้องเนรเทศตัวเองไปอย่างถาวรเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ได้ไปส่งนายพลเหงียน คานห์ที่ท่าอากาศยาน

    เอกสารลับเพนตากอนบรรยายกิริยาท่าทีของเทย์เลอร์ในตอนนี้ว่า "สุภาพอย่างเฉื่อยชา" และกล่าวต่อไปว่า "หลังจากนั้นเทย์เลอร์จึงสามารถที่จะออกใบเบิกทางสำหรับการโจมตีตามแผนโรลลิ่งธันเดอร์ขั้นแรกซึ่งได้เลื่อนกำหนดมาเป็นเวลานานและเปลี่ยนกำหนดการบ่อยๆ ได้ และก็เป็นใบเบิกทางที่รัฐบาลยอมรับ"

    ขณะเดียวกัน สหรัฐก็กำหนดการปฏิบัติตามแผนขั้นที่ 2 และ 3 ของปฏิบัติการโรลลิ่งธันเดอร์ แต่กก็ต้องระงับแผนทั้งสองนี้อีก เนื่องจากกองทัพอากาศเวียดนามใต้เตรียมพร้อมเพราะจะมีการรัฐประหารอีก ในช่วงเวลานี้ สหภาพโซเวียตและอังกฤษได้ดำเนินการทางการฑูตในฐานะที่เป็นประธานของการประชุมพิจารณาปัญหาอินโดจีนที่เจนีวาปี 2497 โดยเรียกร้องให้มีการประชุมแก้ปัญหาวิกฤติการเวียดนามซึ่งทำให้การดจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศต้องยับยั้งไว้ อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ได้แจ้งให้เอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ทราบว่า การดำเนินการทางการฑูตนี้จะไม่ทำให้รัฐบาลสหรัฐเปลี่ยนใจ เพียงแต่จะทำให้เปลี่ยนกำหนดเวลาเท่านั้น

    เอกสารลับเพนตากอนวิจารณ์ว่า รัฐบาลสหรัฐไม่ถือว่ากาประชุมพิจารณาปัญหาอินโดจีนซึ่งอาจจัดขึ้นอีกนั้น เป็นโอกาสที่จะเจรจากันให้ได้ผลอย่างจริงจัง แต่เป็นทางที่สหรัฐจะแสดงท่าทีอันแข็งกร้าวอย่างเปิดเผย

    ระหว่างนี้ นักบินได้เตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติการอยู่ตลอดเวลา แต่ก็มีการเพิกถอนคำสั่งและสั่งใหม่ทุก 24 ชั่วโมง ครั้งแล้วก็มีมรสุมทำให้การโจมตีต้องเลื่อนกำหนดมาอีก ในที่สุดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2508 การโจมตีตามแผนปฏิบัติการโรลลิ่งธันเดอร์ก็เริ่มต้นขึ้น โดยเครื่องบิน เอฟ-100 ซูเปอร์เซเบอร์ และ เอฟ-105 ธันเดอร์ชีฟของสหรัฐไปโจมตีคลังอาวุธที่ซอมบาง และเครื่องบินเอ-1 เอช ของเวียดนามใต้ไปโจมตีฐานทัพเรือกวางเค

    ปรากฎว่าการโจมตีดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความพินาศเช่นที่คาดหมายไว้ ทำให้เกิดปัญหาโต้แย้งกันเกี่ยวกับสมรรถภาพในทางการทหารของสหรัฐ

    ตามรายงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามาราได้รับ การโจมตีในเดือนกุมภาพันธ์ 2 ครั้งต่ออาคารอันเป็นที่หมาย 491 แห่ง มีอาคารที่ถูกทำลายเพียง 47 แห่งเท่านั้น นอกจากที่เสียหายอีก 22 แห่ง ผลสำเร็จที่อยู่ในระดับต่ำมากนี้ทำให้แม็คนามารามีบันทึกอย่างค่อนข้างห้วนไปถึงนายพลเอิร์ล จี.วีเลอร์ ประธานคณะเสนาธิการผสม บันทึกนี้ฟังดูเป็นการลูบหลังก่อนแล้วจึงตบหัว

    บันทึกมีความว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกพอใจผลแห่งการปฏิบัติ....แม้ว่าเมื่อกล่าวโดยส่วนเทียบภาระที่ปฏิบัติไปแล้วจะมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่หมายก็ตาม วัตถุประสงค์ขั้นต้น (แห่งการโจมตี) ก็คือเพื่อให้เป็นสื่อแสดงปณิธานทางการเมืองของเรา ในข้อนี้ข้าพเจ้าเชื่อว่าเราได้ทำให้บรรลุผลแล้ว อย่างไรก็ดีเราจะต้องก่อให้เกิดความเสียหายให้มากยิ่งขึ้นกว่าที่ได้กระทำไปแล้ว มิฉะนั้นการแสดงปณิธานในขั้นต่อไปก็จะไม่มีน้ำหนัก....เราไม่สามารถที่จะไปโจมตี 267 เที่ยวบินอย่างได้ผลเท่าที่เคยได้แล้วนั้นต่อไปอีกเป็นเวลาแรมเดือนได้...."

    นายพลวีเลอร์ตอบว่า กำลังจะใช้มาตราการอันมีอำนาจทำลายล้างสูงยิ่งขึ้น และกล่าวด้วยว่าทางหนึ่งที่จะทำให้บรรลุผลก็คือให้ผู้บัญชาการยุทธวิธีในเวียดนามมีอำนาจพิจารณาสั่งการโจมตีเป้าหมายตามที่เห็นควรแทนที่จะให้รัฐบาลคอยสั่งการในรายละเอียด

    มาตราการประการหนึ่งซึ่งประธานาธิบดีอนุมัติ (9 มีนาคม) ก็คือใช้ระเบิดนาปาล์ม

    เอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ได้แสดงความกระวนกระวายใจอย่างยิ่งต่อความไร้สมรรถภาพในการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ เขาเห็นว่าสหรัฐทำสงครามทางอากาศอย่าง "ขลาดโดยไม่จำเป็นและสองจิตสองใจ" และได้เสนอความเห็นให้ปฏิบัติการอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยนายพลเวสท์มอร์แลนด์เห็นพ้องด้วย
    ในวันที่ 14 และ 15 มีนาคม มีการปฏิบัติตามแผนโรงลิ่งธันเดอร์อย่างรุนแรงที่สุด โดยเครื่องบินอเมริกัน 100 เครื่องและเครื่องบินเวียดนามใต้ 24 เครื่องได้ไปทิ้งระเบิดโรงทหารและคลังวัสดุบนเกาะเสือและคลังยุทธโธปกรณ์ใกล้ภูคุย นับเป็นครั้งแรกที่ใช้ระเบิดนาปาล์ม แต่เอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ก็ยังเห็นว่าเป็นการปฏิบัติที่ยังไม่ถึงขีดขั้นที่ต้องการ และได้เสนอความเห็นให้โจมตีอย่างหนักหน่วงยิ่งขึ้น

    ระหว่างนี้ นายพลชาร์พ (ผู้บัญชาการทัพภาคแปซิฟิก) และคณะเสนาธิการผสมในวอชิงตันก็รีบเร่งวางแผนที่จะทำสงครามทางอากาศให้แข็งขันยิ่งขึ้น ในวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม ชาร์พได้เสนอแผนการ "วันทำลายเรดาร์" พร้อมด้วยแผนการตัดสายการคมนาคมของเวียดนามเหนือในตอนใต้ของประเทศโดยการทิ้งระเบิด หลังจากที่นายพลฮาโรลด์ เค.จอห์นสัน เสนาธิการกองทัพบกได้เดินทางไปสังเกตการณ์ในเวียดนามแล้ว ประธานาธิบดีก็สั่งให้ทำการทิ้งระเบิดเป็นประจำและให้ยกเลิกข้อกวดขันตามคำสั่งเดิมบางข้อด้วย การปฏิบัติตามคำสั่งใหม่นี้หมายถึงการเลือกสรรที่หมายแห่งการโจมตีไว้เป็นรายสัปดาห์ และให้ผู้บัญชาการทหารในเวียดนามกะเวลาที่จะทำการโจมตีเอง คำสั่งใหม่ยังกล่าวด้วยว่า "การโจมตีนี้ไม่เกี่ยวกับความoมโหดของเวียดกงอย่างเจาะจงต่อไปแล้ว" และว่า "การเผยแพร่เรื่องนี้พึงต้องกระทำให้ลดน้อยลงเป็นลำดับ"ขณะเดียวกัน ได้มีการนำเอาแผนของนายพลชาร์พ (ทำลายเรดาร์และตัดการคมนาคม) มาใช้ด้วย จึงเห็นได้ว่าการวางแผนใช้กำลังทางอากาศของสหรัฐมิได้ขึ้นอยู่กับข้อพิจารณาทางการเมืองและจิตวิทยาอย่างสำคัญเช่นแต่ก่อน แต่ได้ให้ความสำคัญต่อการใช้กำลังทางทหารมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งทิ้งระเบิดอย่างรุนแรงไม่ขาดสายเพื่อทำลายสมรรถภาพในการสนับสนุนเวียดกงของเวียดนามเหนือ

    นายพลฮาโรลด์ เค.จอห์นสัน ได้เสนอข้อแนะนำต่อประธานาธิบดี 2 ข้อ แต่ประธานาธิบดีไม่เห็นด้วย ข้อเสนอข้อแรกมีว่าให้ส่งกองพลทหารอเมริกันไปยังเวียดนามใต้เพื่อรักษาที่ตั้งริมฝั่งทะเลหรือป้องกันที่ราบสูงภาคกลางแทนทหารรัฐบาลเวียดนามใต้ และให้ทหารเวียดนามใต้ไปทำการรุกรบกับเวียดกง ข้อเสนออีกข้อหนึ่งคือ ให้จัดตั้งกองทัพขึ้นมีกำลัง 4 กองพล ประกอบด้วยทหารอเมริกันและทหารประเทศภาคีองค์การสนธิสัญญาร่วมป้องกันอาเซียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ ให้ทำการตรวจบริเวณเขตปลอดทหารตามพรมแดนเวียดนามสองฝ่ายและลาว เพื่อขัดขวางการแทรกซึมของเวียดนามเหนือ

    นายพลเวสท์มอร์แลนด์ได้พยากรณ์ว่า จะไม่ปรากฎผลจริงจังจากการทิ้งระเบิดจนกว่าจะถึงเดือนมิถุนายนเป็นอย่างเร็วที่สุด ก่อนถึงเวลานั้นทหารญวนใต้จึงต้องมีทหารอเมริกันเป็นกำลังหนุน 2 กองพลหรือประมาณ 70,000 คน นายพลเวสท์มอร์แลนด์และนายพลจอห์นสัน คณะเสนาธิการผสมก็เรียกร้องต้องการกำลังรบจากต่างประเทศเช่นเดียวกัน โดยเสนอให้ส่งทหารอเมริกัน 2 กองพลและทหารเกาหลีใต้ 1 กองพลไปทำการสู้รบกับกองโจรในเวียดนามใต้

    ในวันที่ 29 มีนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามารา คณะเสนาธิการผสมและเอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ได้ประชุมหารือเรื่องการส่งกำลัง 3 กองพลไปยังเวียดนามใต้ เทย์เลอร์คัดค้านแผนการนี้โดยกล่าวว่าเวียดนามใต้อาจจะไม่พอใจที่จะมีทหารต่างประเทศในดินแดนของตนอย่างมากมายเกว่า 100,000 คนและยังว่าไม่มีความจำเป็นในทางทหารที่จะต้องทำเช่นนั้น

    ในการประชุมวางแผนยุทธศาสตร์ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 1 และ 2 เมษายน ที่ประชุมพิจารณาเรื่องการส่งทหารสหรัฐและทหารประเทศที่สามไปยังเวียดนามใต้เป็นประเด็นสำคัญ ในตอนเช้าวันที่ 29 มีนาคม อันเป็นวันที่เอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ออกเดินทางไปประชุมที่วอชิงตันนั้น กองโจรเวียดกงได้วางระเบิดสถานฑูตอเมริกันในไซ่ง่อน

    เอกสารลับเพนตากอนบรรยายว่าเป็นปฏิบัติการอันห้าวหาญที่สุดและกระทำโดยตรงต่อสหรัฐนับตั้งแต่การโจมตีที่เปลกูและควีนอน นายพลชาร์พได้เสนอให้ทำการแก้มือโดยการโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศ "อย่างพิลึกกึกก้อง" แต่ "คำวอนนี้....ไม่เข้าหู" ที่ประชำที่ทำเนียบขาว

    ประธานาธิบดีจอห์นสันเห็นว่าวิธีที่ดีกว่าก็คือแปรขบวนอย่างเงียบๆ เพื่อให้เวลาประชาชาติมีความเคยชินต่อวิกฤตกาลเวียดนาม ประธานาธิบดีพยายามทำให้เห็นว่าการเดินทางไปวอชิงตันของเทย์เลอร์นั้นไม่มีเหตุการณ์สลักสำคัญอะไร และไม่อนุญาตให้ทำการโจมตีเวียดนามเหนือเพื่อแก้มือในการที่สถานฑูตอเมริกันถูกวางระเบิด
     
  6. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ต่อครับ

    หลังจากที่ประชุมกับเทย์เลอร์และเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ เมื่อวันที่ 31 มีนาคมแล้ว ประธานาธิบดีก็ได้ให้สัมภาษณ์ผู้แทนหนังสือพิมพ์ว่า

    "ข้าพเจ้าไม่ทราบว่ามีการเสนอหรือประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์อย่างกว้างไกล"

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "แต่ประธานาธิบดีมิได้พูดตามตรง ขณะนั้นมีการเสนอให้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์อย่างกว้างไกลและประธานาธิบดีก็ได้ตัดสินใจประกาศแผนนั้นในวันต่อมา.."

    ต่อไปนี้เป็นเอกสารลับที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ข้างต้น

    ฉบับที่ 90

    : ความเห็นของรอสโทว์
    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2507 วอล์ท ดับลิว.รอสโทว์ ประธานสภาวางแผนนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศมีจดหมายส่วนตัวถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามาราแสดงความเห็นให้สหรัฐใช้กำลังทหารภาคพื้นดินในเวียดนาม

    ฉบับที่ 91

    : บันทึกของรอสโทว์
    วันที่ 23 พฤศจิกายน 2507 รอสโทว์มีบันทึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แสดงความเห็นให้สหรัฐใช้กำลังทหางภาคพื้นดินและโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศ

    ฉบับที่ 92

    : บันทึกของแม็คยอร์ช บันดี
    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2508 แม็คยอร์ช บันดี ผู้ช่วยประธานาธิบดีในกิจการความมั่นคงแห่งชาติ มีบันทึกถึงประธานาธิบดี แสดงความเห็นให้สหรัฐใช้นโยบายแก้มือเวียดนามเหนืออย่างหนักหน่วง รวมทั้งปฏิบัติการทางอากาศและทางทะเล

    ฉบับที่ 93

    : โทรเลขถึงเทย์เลอร์
    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2508 กระทรวงการต่างประเทศโทรเลขถึงเอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์แจ้งว่า ประธานาธิบดีอนุมัติให้ดำเนินนโยบายเวียดนามหลายข้อ รวมทั้งการปฏิบัติตามแผนโรงลิ่งธันเดอร์

    ฉบับที่ 94

    : บันทึกของวิลเลียม บันดี
    ร่างบันทึกลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2508 ของวิลเลียม บันดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกิจการอาเซียและแปซิฟิก แสดงทัศนะเกี่ยวกับการวางนโยบายเวียดนามและผลที่จะเกิดขึ้นจากการใช้นโยบายนั้น

    ฉบับที่ 95

    : โทรเลขถึงฑูตในอาเซีย
    วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2508 กระทรวงการต่างประเทศโทรเลขถึงสถานฑูตอเมริกันในตะวันออกไกล 9 แห่ง แจ้งว่าสหรัฐจะร่วมกับเวียดนามใต้ในการโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศและทางนาวีเท่าที่จำเป็นไม่ว่าขณะใดหรือในที่ใด

    ฉบับที่ 96

    : ร่างแนวทางปฏิบัติ
    ต้นร่างภาคผนวกต่อท้ายบันทึกของจอห์น ที.แม็คนอตัน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในกิจการความมั่นคงระหว่างประเทศ ลงวันที่ 24 มีนาคม 2508 ให้เทียบความสำคัญในการกำหนดนโยบายของสหรัฐดังต่อไปนี้คือ หลีกเลี่ยงการพ่ายแพ้ในฐานะผู้ให้หลักประกัน (70%) รักษาดินแดนเวียดนามใต้ไว้จากจีน (20%) และให้ประชาชนเวียดนามใต้ดำรงชีวิตที่ดีขึ้นและมีเสรียิ่งขึ้น (10%) นอกจากนี้ก็เพื่อให้สหรัฐผ่านพ้นวิกฤติกาลอย่างเปรอะเปื้อนน้อยที่สุด บันทึกกล่าวถึงสถานการณ์โดยทั่วไปในเวียดนามใต้ว่าเลวและเสื่อมทรามลง ประชาชนในชนบทบางส่วนในเมืองใหญ่ๆ และแม้แต่ทหารจำนวนหนึ่งก็ยอมรับความพ่ายแพ้

    ปัญหาขั้นต้นมีว่าจะแก้ไขสถานการณ์โดยไม่ต้องใช้มาตราการรุนแรงอย่างยิ่งต่อเวียดนามเหนือหรือไม่ และ(หรือ)โดยไม่ต้องส่งหน่วยรบอเมริกันเป็นจำนวนมากไปยังเวียดนามใต้หรือไม่ คำตอบปัญหานี้คือ "บางที แต่คงจะไม่ได้"
    บันทึกกล่าวถึงทางที่เวียดนามใต้จะล้มฟุบลงหลายประการ รวมทั้งการที่ญวนใต้ในพื้นที่ซึ่งตกอยู่ในวงล้อมของเวียดกงจะทำการกบฏ การหนีของทหารเวียดนามใต้เป็นจำนวนมาก ความร้าวฉานและความไร้สมรรถภาพในไซ่ง่อน เจ้าหน้าที่คนสำคัญของรัฐบาลยอมแพ้และผ่อนตามความเปลี่ยนแปลงแห่งสถานการณ์ ฝ่ายซ้ายเข้าเป็นรัฐบาล และอื่นๆ
    เกี่ยวกับนโยบายของสหรัฐนั้น บันทึกกล่าวว่า "ไหลลอย" และเสนอแผนการปฏิบัติ รวมทั้งใช้กำลังทหาร
     
  7. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ฉบับที่ 97

    : บันทึกของแม็คโคน
    จอห์น เอ.แม็คโคน ผู้อำนายการซีไอเอ.มีบันทึกลงวันที่ 2 เมษายน 2508 ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการกลาโหมแม็คนามารา แม็คยอร์ช บันดี (ผู้ช่วยประธานาธิบดีในกิจการความมั่นคง) และเอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ การแสดงความเห็นเกี่ยวกับการทำสงครามว่า ในการเปลี่ยนแผนการยุทธภาคพื้นดินจากการตั้งรับเป็นการรุกรบกับกองโจรเวียดกงนั้นจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องก็ต่อเมื่อสหรัฐโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศอย่างหนักหน่วงเพียงพอ เท่าที่เป็นมานั้นการโจมตีทางอากาศมิได้ทำให้เวียดนามเหนือเปลี่ยนนโยบายสนับสนุนเวียดกง ผลจากการทิ้งระเบิดหากจะมีก็เพียงแต่ทำให้เวียดนามเหนือมีท่าทีแข็งกร้าวยิ่งขึ้น

    ฉบับที่ 98

    : คำสั่งให้ปฏิบัติการ
    วันที่ 6 เมษายน 2508 แม็คยอร์ช บันดี ทำบันทึกการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้อำนายการซีไอเอ. แจ้งว่า ประธานาธิบดีสั่งการเมื่อวันที่ 1 เมษายน ให้เพิ่มกำลังรบภาคพื้นดินของสหรัฐในเวียดนามใต้ วางแนวทางปฏิบัติตามแผนโรลลิ่งธันเดอร์และอื่นๆ รวมทั้งปฏิบัติการทำลายทางลำเลียงในลาวให้แข็งขันยิ่งขึ้น

    ฉบับที่ 99

    : โทรเลขของเทย์เลอร์
    วันที่ 17 เมษายน 2508 เอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์โทรเลขถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์และส่งสำเนาถึงแม็คยอร์ช บันดี เรื่องการเพิ่มกำลังรบภาคพื้นดิน

    ฉบับที่ 100

    : จดหมายของจอห์นสัน
    วันที่ 10 พฤษภาคม 2508 ประธานาธิบดีจอห์นสันมีสารถึงเอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ว่า เป็นโอกาสอันดีที่จะหยุดการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือเนื่องในวันประสูติของพระพุทธเจ้า แต่เห็นว่าไม่ต้องประกาศเรื่องนี้ เพียงแต่แจ้งให้มอสโคว์และฮานอยทราบเป็นเรื่องส่วนตัวก็พอแล้ว

    ฉบับที่ 101

    : บันทึกของรอสโทว์
    วันที่ 20 พฤษภาคม 2508 วอล์ท ดับลิว.รอสโทว์ ประธานสภาวางแผนนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ มีบันทึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ เรื่อง "ชัยชนะและความพ่ายแพ้ในสงครามกองโจร ในกรณีเวียดนามใต้" รอสโทว์ทำบันทึกเรื่องนี้หลังจากที่ประธานาธิบดีแถลงว่าไม่อาจเป็นไปได้ที่สหรัฐจะได้รับชัยชนะทางทหารในเวียดนามใต้ รอสโทว์เห็นว่าคำแถลงนี้ทำให้มีการแปลความหมายผิดพลาดและกล่าวว่าในทางประวัติศาสตร์นั้นอาจทำสงครามกองโจรให้ชนะหรือแพ้ได้ รอสโทว์เสนอให้สะกัดกั้นทางไปสู่ชัยชนะชองฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีอยู่ 4 ทาง เช่น การที่เมาเซตุงทำสงครามยึดครองแผ่นดินใหญ่ การที่เวียดนามเหนือได้ครองอำนาจเนื่องจากการล้มฟุบทางการเมือง (ของฝรั่งเศส) การล้มฟุบทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลผสมอันเป็นความประสงค์ของเวียดกง และการใช้กำลังกองโจรทำการรบเอาชัยชนะไว้บางส่วนเพื่อบีบบังคับให้แบ่งแยกประเทศเช่นในลาว

    ฉบับที่ 102

    : คำเตือนของวิลสัน
    วันที่ 3 มิถุนายน 2508 นายกรัฐมนตรีฮาโรลด์ วิลสันของอังกฤษ โทรเลขเตือนประธานาธิบดีจอห์นสันหลังจากได้รับทราบคำแถลงนโยบายโดยสรุปจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามารา ในเรื่องแผนของสหรัฐที่จะโจมตีคลังน้ำมันของเวียดนามเหนือว่า อาจจะได้ผลไม่คุ้มกับข้อเสียในทางการเมือง เพราะสหรัฐและเวียดนามใต้มิได้ประกาศสงครามกับเวียดนามเหนือ แต่สหรัฐแถลงไว้อย่างชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาด้วยการเจรจาและจะไม่ทำสงครามเพื่อเอาชนะ

    ฉบับที่ 103

    : บันทึกของยอร์ช บอลล์
    วันที่ 1 กรกฎาคม 2508 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศยอร์ช ดับลิว. บอลล์ ทำบันทึกว่าด้วยการ "แก้ปัญหาโดยทางประนีประนอม" เพื่อประกอบการพิจารณาของประธานาธิบดีจอห์นสันว่า เวียดนามใต้กำลังแพ้สงครามและไม่มีหลักประกันว่าสหรัฐจะปราบเวียดกงได้ ทั้งไม่สามารถที่จะบังคับเวียดกงให้ยอมทำการประชุมเจรจาได้ด้วย ไม่ว่าจะทุ่มเทกำลังทหาร "ต่างประเทศผิวขาว" (อเมริกัน) ไปใช้มากมายสักเพียงไรก็ตาม
    สงครามนี้เป็นสงครามกลางเมืองระหว่างชาวอาเซีย เป็นการสู้รบกันในภูมิประเทศซึ่งเป็นป่าดงท่ามกลางประชาชนที่ไม่ยอมรับความร่วมมือจากกำลังทหารผิวขาว (และญวนใต้) จึงมีปัญหาที่จะต้องตัดสินใจว่า สหรัฐควรกำจัดความรับผิดและพยายามหาทางออกอย่างเสียหายน้อยที่สุดอย่างไร?
    ถ้าไม่ทำดังนี้ สหรัฐก็จะต้องทำสงครามยืดเยื้อที่สหรัฐจะต้องเข้าผูกพันตนเองอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ทหารอเมริกันจะต้องล้มตายมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับโดยไม่มีหลักประกันที่จะแก้ปัญหาให้เป็นที่พึงพอใจได้ ในที่สุดสหรัฐก็จะต้องทำสงครามอย่างรุนแรงเต็มที่

    ในขณะที่กำลังรบของสหรัฐยังจำกัดหน้าที่อยู่แต่การให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเช่นนี้ การสู้รบก็ยังคงเป็นแต่เพียงสงครามกลางเมืองระหว่างชาวอาเซียด้วยกัน แต่ถ้าเมื่อใดสหรัฐส่งกำลังทหารไปประจัญบานเป็นจำนวนมากมาย ก็จะกลายเป็นสงครามระหว่างสหรัฐกับประชาชนส่วนใหญ่ของเวียดนามใต้ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยเป็นกองและมีทหารเวียดนามเหนือเป็นผู้อำนายการ กับมีทรัพยากรจากมอสโคว์และปักกิ่งสนับสนุน

    เมื่อใดก็ตามถ้าทหารสหรัฐเป็นจำนวนมากไปทำการสู้รบโดยตรง ทหารสหรัฐก็จะต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะต้องไปทำการสู้รบในท้องที่ซึ่งไม่ได้รับความร่วมมือ

    ถ้ามิใช่ในท้องที่ซึ่งประชาชนเป็นปฏิปักษ์ และเมื่อมีการบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมากแล้ว ก็จะต้องสู้รบเรื่อยไปอย่างหันกลับไม่ได้ สหรัฐจึงจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างมากมายใหญ่หลวง ซึ่งจะหยุดลงกลางคันไม่ได้จนกว่าจะบรรลุถึงที่หมาย แต่ถึงอย่างไรก็จะต้องขายหน้า

    ผู้บันทึกแสดงความเห็นว่าควรแก้ปัญหาในทางประนีประนอม ในการนี้จะต้องตีราคาการประนีประนอมจากสัมพันธภาพกับประเทศต่างๆ ในอาณาบริเวณเวียดนัฐมใต้ จากเกียรติอันพึงได้รับตามข้อผูกพันและจากเกียรติภูมิของสหรัฐทั่วโลก การส่งทหารสหรัฐเป็นจำนวนมากไปทำการสู้รบในเวียดนามใต้จะเป็นภัยพินาศในระยะยาว สหรัฐจึงต้องรีบหาทางประนีประนอมก่อนที่จะตัดสินใจผูกพันตัวเองให้มากยิ่งขึ้น

    วิธีปฏิบัติก็คือ ส่งทหารเพิ่มเติมไปเท่าที่ได้ประกาศไปแล้ว (15 กองพัน) ทหารเหล่านี้จะต้องปฏิบัติการอย่างจำกัดขอบเขตและทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือต่อไป แต่หลีกเลี่ยงการโจมตีฮานอยและไฮฟองและที่หมายที่ใกล้พรมแดนจีนยิ่งกว่าที่โจมตีแล้ว

    ในการแก้ปัญหาทางการเมืองนั้น สหรัฐจะต้องไม่ทำตัวเป็นเชลยของรัฐบาลเวียดนามใต้เช่นที่เคยทำ สหรัฐมิได้แสดงให้อีกฝ่ายหนึ่ง (เวียดนามเหนือ) เห็นว่ามีโอกาสที่จะเจรจากัน เวียดนามเหนือเห็นว่าสหรัฐต้องการที่จะบังคับให้ยอมจำนน สหรัฐจึงต้องเริ่มหลั่งท่าทีในทางการฑูตเพื่อหาทางแก้ปัญหา โดยหาทางติดต่อกับผู้แทนเวียดนามเหนือในปารีส
     
  8. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    บันทึกฉบับนี้กล่าวถึงประเทศไทยว่า

    การที่ไทยไปทำการสู้รบในลาว เวียดนามใต้นั้นก็เพราะเห็นว่ามีการคุกคามความมั่นคงของประเทศไทย ไทยมั่นใจว่าจะยับยั้งการคุกคามจากอินโดจีนได้ตามลำพัง แต่ก็เข้าใจดีว่าไม่สามารถจะต่อสู้กับกำลังอันใหญ่หลวงของจีนคอมมิวนิสต์ได้

    ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ความเห็นของไทยในการทำสงครามนั้นผิดพลาดอย่างร้ายแรงในขั้นพื้นฐาน ไทยเชื่อว่าอเมริกันมีกำลังพอที่จะทำอะไรได้ทุกอย่าง ทั้งในทางทหารและในการประคับประคองรัฐบาลเวียดนามใต้ จึงทึกทักว่าสหรัฐอาจเข้าครองครองไซ่ง่อนและทำสงครามให้ได้ชัยชนะถ้าต้องการจะทำ หากสหรัฐไม่ทำเช่นนี้ไทยก็จะเข้าใจเป็นประการแรกว่า ความจำนงของสหรัฐล้มเหลว

    ประเทศไทยเป็นชาติเอกราชซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และมีความสำนึกในความเป็นชาติอย่างยิ่งยวดซึ่งผิดกับเวียดนามใต้ ประเทศไทยมีคอมมิวนิสต์อยู่ในบ้านเพียงไม่กี่คน และไม่มีเสถียรภาพเช่นที่ครอบงำพม่าและมาเลเซียเพื่อนบ้านของไทยอยู่

    ไทยจัดการกับบริเวณอันตรายแห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างเป็นผลดีโดยการใช้มาตราการป้องกัน การส้องสุมคบคิดในการจัดความมั่นคงให้แก่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงนั้นเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวในอนาคต ซึ่งมีทางทำได้เช่น ให้กำลังรบของไทยกับสหรัฐเข้าแบ่งลาวด้วยการยึดครองลาวซีกตะวันตกครึ่งหนึ่งหรือโดยการ (ต้นฉบับเลอะเลือน) ถ้าทำเช่นนี้ประเทศไทยก็จะเป็นฐานรองรับอันมั่นคงเหมือนหินและมิใช่แปลงทรายซึ่งสหรัฐจะวางรากฐานข้อผูกพันทางการเมืองและการทหารต่ออาเซียตะวันออกเฉียงใต้

    ฉบับที่ 104

    : บันทึกของแม็คนอตัน
    วันที่ 2 กรกฎาคม 2508 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนอตัน มีบันทึกถึงพลโทแอนดรูว์ เจ.กู๊ดพาสเทอร์ ผู้ช่วยประธานคณะเสนาธิการผสม เสนอความเห็นเกี่ยวกับกำลังทหารของสหรัฐในเวียดนามใต้

    ฉบับที่ 105

    : บันทึกของแม็คนามารา
    วันที่ 20 กรกฎาคม 2508 มีบันทึกฉบีบปรับปรุงแก้ไขรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของแม็คนามาราถึงประธานาธิบดีจอห์นสันเรื่อง การเพิ่มกำลังรบภาคพื้นดินของพันธมิตรในเวียดนามใต้

    บันทึกนี้เป็นฉบับปรับปรุงแก้ไขจากฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2508 มีข้อความแนะนำให้ประธานาธิบดีรีบตัดสินใจเพิ่มกำลังทหารของสหรัฐและประเทศที่สาม (ออสเตรเลีย) ซึ่งมีอยู่รวม 16 กองพัน (สหรัฐ 15 กองพันและออสเตรเลีย 1 กองพัน) และให้สั่งเปลี่ยนแปลงภาระกิจที่ได้รับมอบหมายให้กำลังรบเหล่านั้นปฏิบัติการจากการสนับสนุนและเสริมกำลังกองทัพบกเวียดนามใต้เป็นกำลังเพื่อ "ค้นหาและทำลาย"
    แม๊คนามาราอธิบายว่าภาระกิจใหม่ของกำลังรบของสหรัฐและพันธมิตรก็คือ "ใช้กำลังทางทหารที่เหนือกว่าทำการบุก....เพื่อให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งการริเริ่ม....บีบบังคับหน่วยรบสำคัญของเวียดนามเหนือที่อยู่ในเวียดนามใต้ให้ทำการรบ เพื่อทำลายให้หมดไป..."

    แม็คนามารากล่าวว่า ผู้ที่เห็นพ้องกับคำแนะนำดังกล่าวคือพลเอกวิเลอร์ เอกอัครรัฐฑูตลอดจ์ (เพิ่งได้รับการแต่งตั้งและกำลังจะไปรับหน้าที่) เอกอัครรัฐฑูตเทย์เลอร์ รองเอกอัครรัฐฑูตจอห์นสัน พลเรือเอกชาร์พและพลเอกเวสท์มอร์แลนด์ และว่าได้อาศัยเหตุผลประกอบการตัดสินใจจากการประเมินสถานการณ์ของ ซีไอเอ.

    บันทึกกล่าวว่า คอมมิวนิสต์น่าจะไม่เปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ขั้นมูลฐานสำหรับระยะยาว (รุกรานและก่อการร้ายต่อต้านรัฐบาลเวียดนามใต้มากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ) เว้นไว้เสียแต่ว่ามีสภาวการณ์ดังต่อไปนี้คือ

    (1) คอมมิวนิสต์ถูกบังคับให้ยอมรับสถานการณ์ที่เห็นว่าจะไม่มีโอกาสชนะสงครามโดยเร็วและไม่มีช่องทางที่จะหวังได้ว่าจะทนสู้รบไปจนถึงที่สุดได้

    (2) เวียดนามเหนือถูกลงโทษด้วยการโจมตีทำลายอย่างสืบเนื่องกันและหนักยิ่งขึ้น
    ตราบเท่าที่คอมมิวนิสต์ยังรู้สึกว่าอาจจะได้รับชัยชนะ ตราบนั้นก็จำเป็นจะต้องโจมตีเวียดนามเหนืออย่างรุนแรงเรื่อยไป ถ้าไม่ทำเช่นนี้เวียดนามเหนือก็จะทำการสู้รบอยู่ในภาคใต้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น จึงเชื่อว่าถ้าปฏิบัติการดังกล่าวแล้ว เวียดนามเหนือจะเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ของตน
    แม็คนามาราหวังผลดังต่อไปนี้

    (1) เวียดกงหยุดก่อการร้ายและวินาศกรรม
    (2) การแทรกซึมของเวียดนามเหนือลดน้อยลงจนเกือบไม่มี
    (3) สหรัฐและเวียดนามใต้หยุดทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ
    (4) รัฐบาลเวียดนามใต้เป็นอิสระจากการทำลายโดยหวังว่าจะสนับสนุนสหรัฐหรือเป็นกลางอย่างจริงจัง
    (5) รัฐบาลเวียดนามใต้บริหารงานทั่วประเทศ
    (6) คอมมิวนิสต์ในลาวและไทยสงบเงียบ
    (7) เวียดนามเหนือถอนกำลังรบและหน่วยแทรกซึมกลับไป
    (8) เวียดกงและแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเปลี่ยนเป็นองค์การทางการเมือง
    (9) กำลังรบของสหรัฐถอนตัวไป

    การเสริมสร้างกำลังรบ กรกฎาคม 2508-กันยายน 2509

    เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยว่า การที่ทหารอเมริกันในเวียดนามใต้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมายในระหว่างปี 2508 ถึง 2509 นั้น ก็เพราะไม่มีใครรู้ว่าจำเป็นจะต้องใช้ทหารอเมริกันเท่าใด ทั้งยังประมาณความสามารถในการเสริมสร้างกำลังของอีกฝ่ายหนึ่งต่ำเกินไปด้วย
    เนื่องจากเวียดกงและเวียดนามเหนือเสริมสร้างกำลังขึ้นอย่างมิได้คาดหมาย พลเอกวิลเลียม ซี.เวสท์มอร์แลนด์ ผู้บัญชาการทหารสหรัฐในเวียดนามใต้จึงขอทหารเพิ่มขึ้นหลายครั้งอย่างมากมาย จากจำนวน 175,000 คนในเดือนมิถุนายน 2508 เป็น 275,000 คนในเดือนกรกฎาคม และเป็น 443,000 คนในเดือนธันวาคม พอถึงเดือนมิถุนายนปีต่อมาก็ขอเพิ่มเป็น 542,000 คน
    ประธานาธิบดีจอห์นสันอนุมัติการเพิ่มกำลังทหารตามคำขอโดยเร็ว แต่ในการขอก็ดี หรือในการอนุมัติก็ดี มิได้มีการเปิดเผยตั้งแต่ต้น รัฐบาลเพิ่งจะเปิดเผยเรื่องนี้หลังจากมีคำสั่งอนุมัติให้เพิ่มทหารครั้งหลังสุดแล้วเท่านั้น
    ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ขยายการทำสงครามทางอากาศขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประมาณสถานการณ์ผิดพลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับความตั้งใจและความสามารถของเวียดนามเหนือในการสู้รบ

    ในปี 2509 รัฐบาลได้ตกลงใจทิ้งระเบิดคลังน้ำมันของเวียดนามเหนือทั้งๆ ที่ซีไอเอ.เตือนว่าจะไม่ทำให้ปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายคอมมิวนิสต์พิการไป แต่รัฐบาลรับฟังความเห็นของฝ่ายทหารที่ว่าการทิ้งระเบิดต่อที่หมายดังกล่าวจะทำให้เวียดนามเหนือยอมเจรจา หรือมิฉะนั้นก็ทำให้กำลังของเวียดกงที่จะต่อต้านรัฐบาลลดน้อยลงเพราะขาดการสนับสนุน แต่ปรากฎว่าการส่งกำลังคนและสัมภาระลงสู่เวียดนามใต้มิได้ลดน้อยถอยลงแต่ประการใด

    เอกสารลับเพนตากอนยังเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการทวีความรุนแรงในการทำสงครามทางอากาศและภาคพื้นดินของสหรัฐดังต่อไปนี้ด้วย

    ผู้บัญชาการทหารอเมริกันหลายคนเชื่อมั่นว่าจะชนะ จะเห็นได้จากการที่พลเอกเวสท์มอร์แลนด์กล่าวในเดือนกรกฎาคม 2508 ว่าในการใช้แผนยุทธศาสตร์ "ค้นหาและทำลาย" ของเขานั้น เขาสามารถเอาชนะข้าศึกได้ในตอนปลายปี 2510 ในเดือนเดียวกันคณะเสนาธิการผสมก็ให้คำรับรองแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามาราว่า

    "ถ้าสหรัฐต้องการจะชนะก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะไม่ชนะ"

    เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในระดับสูง รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามาราเริ่มไม่แน่ใจเป็นอย่างมากต่อผลสำเร็จของการทำสงครามตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี 2508 แต่ก็ยังคงแนะนำให้ใช้นโยบายทวีความรุนแรงในการทำสงครามต่อไป

    ในการประชุมลับของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ 47 คนในฤดูร้อนปี 2509 ที่ประชุมลงความเห็นว่าการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือนั้น "ไม่ปรากฎผลที่อาจวัดได้" ในส่วนที่เกี่ยวกับเวียดนามเหนือ และแนะนำให้สร้างด่านอีเล็คโทรนิคกั้นไว้ระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้แทนการทิ้งระเบิด
    การที่ประธานาธิบดีอนุมัติคำขอของนายพลเวสท์มอร์แลนด์ในเดือนกรกฎาคม 2508 ให้เพิ่มกำลังทหารอเมริกันอีก 44 กองพันเพื่อทำการสู้รบตามแผนยุทธศาสตร์ "ค้นหาและทำลาย" นั้น ทำให้สหรัฐมีข้อผูกพันต่อเวียดนามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า แผนยุทธศาสตร์นี้เป็นการประลองอย่างไม่มีขอบเขตจำกัดว่าจะต้องใช้กำลังรบมากเพียงใด เพราะการที่จะต้องใช้กำลังเพื่อยังความพ่ายแพ้ให้แก่ข้าศึกนั้น ขึ้นอยู่กับการเสริมสร้างกำลังและความตั้งใจที่จะต่อสู้ของอีกฝ่ายหนึ่ง

    แนวคิดขั้นมูลฐานของแผนนี้มีอยู่ว่าจะบังคับให้ฝ่ายศัตรูทำสงครามโดยไม่ยอมให้เคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้อย่างเสรี เพื่อที่จะทำความเสียหายให้แก่ข้าศึกอย่างหนักที่สุดเท่าที่จะทำได้ แนวความคิดนี้จึงเป็นการเปลี่ยนแผนการยุทธแบบตั้งรับอยู่ในพื้นที่ซึ่งฝ่ายเวียดนามใต้ยึดครองอยู่ แผนการยุทธแบบตั้งรับนี้จำเป็นจะต้องใช้ทหารอเมริกันเป็นจำนวนน้อยเท่านั้น

    นายพลเวสท์มอร์แลนด์ตั้งใจที่จะใช้ทหารอเมริกัน 44 กองพันเพียงเพื่อทำให้ข้าศึกหมดกำลังที่จะทำการรุกรบเท่านั้น แต่ในการที่จะเอาชนะข้าศึกนั้นจำเป็นจะต้องเพิ่มกำลังทหารให้มากขึ้นอีกโดยเร็ว

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามาราเดินทางไปไซ่ง่อนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2508 เพื่อหาความจริงว่าจะต้องใช้กำลังรบเพิ่มขึ้นอีกเท่าใดจึงจะเป็นฝ่ายที่จะได้เลือกเดินแต้มก่อนเพื่อเอาชนะต่อไป ตามความเห็นของนายพลเวสท์มอร์แลนด์ จำเป็นจะต้องเพิ่มกำลังทหารอีก 24 กองพัน หรือ 100,000 คน สำหรับปฏิบัติการในขั้นที่จะเอาชนะ ซึ่งจะเริ่มในปี 2509
    แผนยุทธศาสตร์ของนายพลเวสท์มอร์แลนด์แบ่งเป็น 3 ขั้น คือขั้นแรกใช้กำลังรบของสหรัฐและพันธมิตร สำหรับหยุดยั้งแนวโน้มในทางพ่ายแพ้ไว้ในตอนปลายปี 2508 ขั้นที่สอง ใช้กำลังทหารสหรัฐและพันธมิตรทำการรุกรบในตอนครึ่งแรกของปี 2509 เพื่อทำลายกำลังของฝ่ายข้าศึกในบริเวณที่มีความสำคัญในลำดับต้นก่อน แล้วจึงดำเนินการสร้างชนบท และในขั้นที่สามนั้น ถ้าข้าศึกยังไม่ยอมแพ้ ก็ทำสงครามทำลายกำลังและฐานทัพข้าศึกที่ยังเหลืออยู่ให้สิ้นซากไป ขั้นนี้จะต้องใช้เวลา 1 ปี ถึง 1 ปี 6 เดือน

    การถอนทหารสหรัฐและพันธมิตรออกจากเวียดนามจะเริ่มต้นหลังจากการปฏิบัติในขั้นที่สามลุล่วงไป และเมื่อรัฐบาลเวียดนามใต้สามารถที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยภายในและป้องกันพรมแดนของตนได้

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า แม็คนามารามีความกังวลใจเป็นอย่างยิ่งว่าสหรัฐจะเอาชนะได้จริงหรือไม่ และเกรงว่าสหรัฐจะต้องเข้าเกี่ยวข้องกับการทำสงครามอย่างถลำตัวโดยหาทางออกอันน่าพึงพอใจไม่ได้
    ขณะที่กำลังเตรียมตัวเดินทางไปไซ่ง่อนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม แม็คนามาราได้ขอร้องให้พลเอกเออร์ล จี.วีเลอร์ ประธานคณะเสนาธิการผสมประเมินสถานการณ์ดูว่าถ้าสหรัฐปฏิบัติดย่างเต็มตามความสามารถแล้ว จะรับรองได้หรือไม่ว่าสหรัฐจะชนะและก็ได้รับคำตอบว่า "ภายในขอบเขตแห่งการอนุมานตามเหตุผล ไม่ปรากฎว่ามีเหตุผลอันใดที่เราไม่สามารถจะชนะถ้าเราต้องการความมีชัย.."
    "ความมีชัย" ในที่นี้มีความหมายเป็นพิเศษปรากฎตามบันทึกของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมจอห์น ที.แม็คนอตัน ซึ่งกล่าวว่า "หมายความว่าเราประสบผลสำเร็จในการแสดงให้เวียดกงเห็นว่าเวียดกงไม่สามารถจะเอาชนะได้"
    ในการแนะนำให้ประธานาธิบดีจอห์นสันอนุมัติให้เพิ่มทหารอเมริกันขึ้นอีก 1000,000 คน ตามคำขอของนายพลเวสท์มอร์แลนด์นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามารากล่าวว่า วิธีปฏิบัติดังกล่าว "เป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้บรรลุผลอันอาจยอมรับได้ภายในเวลาอันสมควร"
    เขากล่าวเสริมว่า "การบาดเจ็บล้มตายของฝ่ายสหรัฐและเวียดนามใต้จะเพิ่มขึ้น แต่ไม่อาจพยากรณ์ได้อย่างมั่นใจว่าจะมากน้อยเพียงใด การสูญเสียชีวิตของฝ่ายสหรัฐอาจจะตกอยู่ในราวเดือนละ 500 คน ในตอนปลายปี....ประชามติในสหรัฐจะสนับสนุนวิธีปฏิบัตินี้ เพราะเป็นแผนการทางการเมืองและการทหารที่มีเหตุผลอันดีและกล้าหาญที่น่าจะก่อให้เกิดผลสำเร็จ"
     
  9. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ผู้วิเคราะห์ของเพนตากอนแสดงความเห็นว่า [/B]"ขณะที่แม็คนามาราดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่นั้น เขาไม่เคยแถลงในแง่ดีเกี่ยวกับเวียดนามถึงเช่นนี้อีกเลย แม้แต่ต่อสาธารณชน"

    ในเดือนพฤศจิกายน 2508 ก็มีการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์อย่างสำคัญ ปรากฎว่าการส่งทหารอเมริกันไปทำการรบในเวียดนามใต้ตามแผนการขั้นที่ 1 ซึ่งกำหนดจะให้มี 176,000 คน และในขณะนั้นใกล้จะถึงจำนวนนี้อยู่แล้วนั้น ทำให้ความเสื่อมในสถานการณ์ทางทหารหยุดชะงักลงได้ แต่ในขณะเดียวกันคอมมิวนิสต์ก็สามารถที่จะเสริมกำลังขึ้นได้อย่างรวดเร็วเกินกว่าที่สหรัฐคาดหมายไว้

    สหรัฐประมาณว่าในเดือนกรกฎาคม 2508 มีทหารคอมมิวนิสต์ทำการรบอยู่ในเวียดนามใต้ 48,550 คน แต่ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปรากฎว่ามีทหารคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นเป็น 63,550 คน ทั้งนี้ตามรายงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวกรอง ส่วนกรมทหารของเวียดนามเหนือก็เพิ่มขึ้นจาก 1 เป็น 8 ในช่วงเวลาเดียวกัน

    ผู้วิเคราะห์ของเพนตากอนแสดงความเห็นว่า ในการวางแผนยุทธศาสตร์ของอเมริกันนั้น ผู้วางแผนคำนึงถึงแต่เพียงว่าจะต้องใช้ทหารอเมริกันเพิ่มขึ้นอีกเท่าใดจึงจะชนะ แต่ไม่ได้พิจารณาไปถึงว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะแสดงปฏิกิริยาต่อการขยายขอบเขตสงครามของสหรัฐ ดังนั้น นายพลเวสท์มอร์แลนด์จึงต้องขอทหารเพิ่มขึ้นอีกหลายครั้ง ในตอนปลายปี 2509 นายพลเวสท์มอร์แลนด์ต้องการทหารเป็นจำนวน 391,000 คน (79 กองพัน) และต่อมาในเดือนมิถุนายน 2510 เป็นจำนวน 431,000 คน

    ในวันที่ 28 มิถุนายน 2510 ประธานาธิบดีสั่งการไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามารามีความว่า "ดังที่ท่านทราบอยู่แล้วว่า เราได้ส่งทหารไปยังเวียดนามตามกำหนดที่นายพลเวสท์มอร์แลนด์ต้องการ และข้าพเจ้าก็ได้แถลงด้วยวาจาในปีนี้หลายครั้งแล้วว่า ข้าพเจ้าต้องการที่จะเร่งกำหนดการนี้ให้เร็วที่สุดที่จะทำได้ เพื่อให้นายพลเวสท์มอร์แลนด์รู้สึกมั่นใจว่าเขาจะได้ทหารตามจำนวนที่ต้องการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงขอให้ท่านหารือกับคณะเสนาธิการผสมแล้วแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบโดยเร็วว่าเราจะรีบเร่งทำการเสริมกำลังได้เพียงใด"

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามาราได้แจ้งให้คณะเสนาธิการผสมทราบคำสั่ง และได้รับคำตอบว่าการส่งทหารอเมริกันไปยังเวียดนามใต้นั้นเป็นไปตามกำหนดการตามที่นายพลเวสท์มอร์แลนด์ต้องการแล้ว แม็คนามาราจึงแจ้งให้ประธานาธิบดีทราบตามนี้
    อย่างไรก็ดี ปรากฎว่าในขณะที่ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำลังพิจารณาอนุมัติคำขอเพิ่มทหารของนายพลเวสท์มอร์แลนด์ นายพลเวสท์มอร์แลนด์ก็เรียกร้องต้องการให้ส่งทหารเพิ่มเติมไปอีก
    ต่อมาวันที่ 4 ตุลาคม 2509 แม็คนามาราก็เสนอความเห็นให้ลดการเสริมกำลังทหารอเมริกันในเวียดนามใต้เป็นครั้งแรก ซึ่งนับว่าเป็นความเห็นที่มองเหตุการณ์ในแง่ร้าย ขณะนั้นแม็คนามาราเพิ่งกลับจากการไปเยือนเวียดนามใต้ ระหว่างการเยือนเวียดนามใต้ครั้งหลังนี้เวียดกงมีแผนสังหารชีวิตแม็คนามารา แต่ทางการสืบจับแผนนี้ได้ก่อนแม็คนามาราเดินทางไปถึงไซ่ง่อนไม่กี่ชั่วโมง แม็คนามารารายงานประธานาธิบดีเมื่อกลับไปถึงวอชิงตันว่า

    "ไม่มีความมั่นคงปลอดภัยอย่างแท้จริงเลยสักแห่งเดียว แม้แต่ข้างหลังแนวนาวิกโยธินของสหรัฐ ในไซ่ง่อน และในชนบท เวียดกงก็เข้าครอบงำอยู่เกือบทั้งหมดในเวลากลางคืน"

    ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน (2509) พลเรือเอก ยู.เอส.แกรนท์ ชาร์พ ได้เรียกร้องแทนนายพลเวสท์มอร์แลนด์ ให้เสริมกำลังทหารอเมริกันจาก 445,000 คน เป็น 570,000 คนในปลายปี 2510

    ในบันทึกถึงประธานาธิบดีลงวันที่ 14 ตุลาคม แม็คนามารากล่าวว่า เขามองสถานการณ์ในแง่ร้ายน้อยลงกว่าเมื่อ 1 ปีก่อน เพราะการรณรงค์ของฝ่ายพันธมิตรทำให้คอมมิวนิสต์หมดกำลังลงไปจนไม่สามารถที่จะเป็นเป็นฝ่ายริเริ่มลงมือในทางทหารได้ แต่ก็กล่าวต่อไปว่าการรณรงค์ของฝ่ายพันธมิตรมิได้ปรากฎผลตามที่มุ่งหมายไว้ คือการทำลายขวัญและผลสำเร็จในทางการเมืองของฝ่ายศัตรู เขากล่าวว่า "มีความจริงที่ทำให้หมดกำลังใจอยู่ว่า สหรัฐยังไม่พบสูตรสำหรับใช้ในการฝึกฝนและบันดาลใจพวกเขา (ผู้นำฝ่ายทหารและพลเรือนของเวียดนามใต้) ให้ปฏิบัติการให้บรรลุผลผลโดยเร็ว..."

    "การดำเนินนโยบายปลอบ (ให้เวียดกงกลับใจ) ก็มีแต่ถอยหลัง เปรียบกับเมื่อ 2 หรือ 4 ปีก่อน กำลังรบซึ่งปฏิบัติการเต็มเวลาของฝ่ายข้าศึกและกำลังกองโจร ซึ่งปฏิบัติการตามโอกาสขยายตัวใหญ่ขึ้น การโจมตี การก่อการร้ายและวินาศกรรมเพิ่มขึ้นทั้งในขนาดและความรุนแรง ทางรถไฟและทางหลวงถูกทำลายมากขึ้น ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้เข้าสู่ตลาดน้อยลง หากเราจะได้ครอบครองประชาชนอยู่บ้างก็เป็นส่วนน้อย...รวมความว่าไม่มีอะไรดีขึ้น มีแต่เลวลงทุกที"

    เกี่ยวกับการทำสงครามทางอากาศนั้น แม็คนามารากล่าวว่า การปฏิบัติตามแผนโรลลิ่งธันเดอร์มิได้เป็นอุปสรรคขัดขวางการแทรกซึมของเวียดนามเหนือและมิได้ทำให้ขวัญของเวียดนามเหนือกระเจิงไปอย่างที่คาดหมาย
    แม็คนามารามีความเห็นว่า สหรัฐควรทำการยุทธด้วยวิธีโอบล้อมอย่างเปิดเผยเพื่อชลอการทำสงครามให้เนิ่นนานออกไป แทนที่จะรีบบดขยี้ศัตรูให้ย่อยยับไปโดยเร็วจนฝ่ายศัตรูไม่สามารถเสริมกำลังได้ทัน ทั้งนี้จะต้องจำกัดจำนวนทหารอเมริกันให้มีเพียง 470,000 คนในปี 2510 หรือน้อยกว่าที่ฝ่ายทหารต้องการ 100,000 คน

    เอกสารลับเพนตากอนตั้งแต่ฉบีบที่ 106 เป็นต้นไป จนถึงฉบับที่ 134 อันเป็นฉบับสุดท้ายที่รั่วไหลออกมาสู่สายตาของชาวโลกนั้น มีสาระเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์และการต่อสู้อย่างไม่ลดละของเวียดนามเหนือและเวียดกง จนในที่สุดประธานาธิบดีจอห์นสันต้องประกาศนโยบายสงครามอินโดจีนซึ่งทหารอเมริกันมีส่วนร่วมปฏิบัติการใหม่ด้วยการลดขอบเขตและความรุนแรงลงเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2511 เนื่องจากไม่สามารถเอาชนะเวียดนามเหนือและเวียดกงได้

    นโยบายใหม่นี้หมายความว่า สหรัฐจะให้ความสำคัญแก่การสนับสนุนเวียดนามใต้ด้วยการให้อาวุธยุทโธปกรณ์และความช่วยเหลืออื่นๆ เพื่อให้เวียดนามใต้มีความสามารถที่จะต่อสู้ต่อไปได้ตามลำพังโดยสหรัฐจะค่อยๆ ถอนกำลังรบออกไป จึงกล่าวได้ว่า นโยบายการใช้กำลังทหารอเมริกันเข้าช่วยเหลือรัฐบาลเวียดนามใต้ล้มเหลว แม้ว่าจะวางแผนไว้อย่างรอบคอบสักเพียงใดก็ตาม

    ผลของการที่อเมริกันเข้าไปเกี่ยวข้องกับการรบราฆ่าฟันในอินโดจีนนับตั้งแต่สมัยอาณานิคมของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเวลานานถึงประมาณ 20 ปีก็คือการล้มตายลงเป็นเบือของทั้งผสองฝ่าย ประมาณว่าทหารอเมริกันเสียชีวิต 45,000 คน และกองทัพของฝรั่งเศสซึ่งประกอบด้วยชนชาติต่างๆ นั้นเสียชีวิต 95,000 คน ไม่มีผู้ใดประมาณได้อย่างถูกต้องว่าเพียงชั่วระยะเวลาดังกล่าวนั้น ชาวอินโดจีนล้มหายตายจากไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด แต่คะเนกันว่าคงจะมากกว่า 1,000,000 คนหรืออาจจะถึง 2,000,000 คนก็ได้

    เอกสารลับเพนตากอนซึ่งได้รั่วไหลออกมานี้เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ทั้งยังขาดหายไปเป็นแห่งๆ ตอนๆ ด้วย ลำดับหมายเลขที่เอกสารลับซึ่งแสดงไว้ตั้งแต่นั้นมิใช่ลำดับเลขหมายจริง แต่ได้ลำดับไว้ตามวันที่ของเอกสารลับเพื่อความสะดวกในการอ้างอิงเท่านั้น แต่ถึงเช่นนั้นเอกสารลับเหล่านี้ก็ช่วยให้เข้าใจว่าใครคิดอย่างไรและทำอะไรในสงครามอินโดจีน

    ในแง่ประวัติศาสตร์ เอกสารลับเพนตากอนชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลอเมริกันหลายสมัยได้เข้าไปผูกพันตัวเองกับสงครามเวียดนามด้วยการแสดงตัวเข้าข้างฝ่ายที่มิใช่คอมมิวนิสต์ เริ่มตั้งแต่รัฐบาลทรูแมนเข้าช่วยเหลือฝรั่งเศสทำสงครามอาณานิคมจนพ่ายแพ้แก่เวียดมินห์ไป ต่อมารัฐบาลไอเซนเฮาเออร์ก็เข้าช่วยรัฐบาลเวียดนามซึ่งกำลังสอนบิน เพราะกลัวว่าคอมมิวนิสต์จะเข้าครอบครองเวียดนามใต้ จนตัวเองต้องเข้าไปมีส่วนทำให้การยุติข้อพิพาทอินโดจีนซึ่งตกลงกันในที่ประชุมเจนีวาเมื่อปี 2497 ไม่มีผลบังคับในทางปฏิบัติ และข้อผูกพันนี้ก็ตกทอดต่อมาถึงรัฐบาลเคนเนดี้ ซึ่งดำเนินนโยบายไปในทางที่รัฐบาลจอห์นสันไม่มีทางเลือกอย่างอื่นนอกจากเสี่ยงทำสงครามอย่างหนักยิ่งขึ้น หรือมิฉะนั้นก็ต้องลอยแพเวียดนามใต้ไปตามยถากรรมและรัฐบาลจอห์นสันก็เลือกทำในทางแรก

    บทเรียนที่ได้จากการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนของสหรัฐก็คือ รัฐบาลทั้ง 4 รัฐบาลนั้นได้วางเดินพันทางการเมือง การทหารและในทางจิตวิทยาไว้อย่างถลำลึกเกินกว่าที่คาดหมายไว้ในขณะกำหนดนโยบายนั้น ประกอบกับสหรัฐประมาณกำลังความสามารถของอีกฝ่ายหนึ่งผิดพลาด สหรัฐจึงต้องลงทุนแพงที่สุดในระยะเวลานานที่สุดโดยมิได้รับผลตอบแทนตามสมควร ไม่ว่าจะในทางการเมือง การทหารหรือในทางจิตวิทยา.
     
  10. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    จากใจผู้แปลและเรียบเรียง!

    ท่านผู้ที่ติดตามอ่านครับ เป็นอันว่าเรื่อง "เอกสารลับ เพนตากอน สิ่งที่หลายๆ คนไม่เคยรู้" ก็ได้จบลงแล้ว ผมต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งที่ท่านๆ ได้ติดตามอ่านเรื่องนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก มากถึงขนาดที่ในช่วงหนึ่งของสงครามเวียดนามเราได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในระยะเวลาหนึ่ง และในที่ซึ่งสุดของสงครามซึ่งได้เกี่ยวพันกับหลายประเทศในย่านอินโดจีนก็ได้ยุติลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างน่าจะเรียกได้ว่าเป็นการพ่ายแพ้ที่น่าเจ็บช้ำที่สุดของกองทัพที่คิดว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรที่สุดในโลก

    สหรัฐนั้นได้ใจมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเป็นฝ่ายชนะก็เลยทำให้คิดว่ากองทัพของอเมริกานั้นยิ่งใหญ่เสียจนไม่มีใครเทียบได้ แต่ต่อมาสงครามเกาหลีซึ่งสหรัฐเข้าไปพัวพันอย่างเต็มตัวในนามกองทัพของสหประชาชาติก็ทำให้สหรัฐพบกับคำว่า "ไม่ชนะ" เพราะไม่อาจเอาชนะเกาหลีเหนือซึ่งมีจีนหนุนหลังได้ จึงจำต้องยอมสงบศึกโดยการเจรจา ซึ่งครั้งนั้นทำให้สหรัฐได้ตระหนักถึงภัยของคอมมิวนิสต์จนต้องเอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามครั้งต่อมาคือสงครามเวียดนาม

    ซึ่งได้ทำให้สหรัฐพบกับคำว่า "พ่ายแพ้" ซึ่งส่วนหนึ่งของความพ่ายแพ้ครั้งนี้ ก็เกิดจากการเมืองภายในประเทศของสหรัฐอเมริกาเองที่คนอเมริกันเริ่มคิดว่าเรื่องอะไรจะต้องส่งลูกหลานของชาวอเมริกันไปตายในสงครามในประเทศซึ่งอยู่oงไปถึงอีกซีกโลกหนึ่ง จำนวนตัวเลขงบประมาณทางทหารที่ทุ่มเทลงไปทุกวัน จำนวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและล้มตายเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้คนอเมริกันได้คิดและเกิดการต่อต้านสงครามเวียดนามขึ้นมาจนกระทั่งมีการบีบบังคับให้สหรัฐต้องถอนตัวจากสงครามครั้งนี้ด้วยความเสียหน้าอย่างที่สุด

    แต่สหรัฐยังไม่เข็ด ยังคงส่งทหารไปทำการรบนอกประเทศโดยใช้คำว่า "รักษาผลประโยชน์ของสหรัฐ" เป็นข้ออ้าง และ ณ ปัจจุบันสหรัฐก็ยังคงทำเช่นนั้นอยู่ ซึ่งไม่ทราบว่าจะใช้เวลาอีกนานเท่าไรที่สหรัฐอเมริกาจะเลิกการกระทำดังกล่าว ผมคาดเดาเอาว่าในชั่วชีวิตของเรานี้สหรัฐอเมริกาก็ยังคงยังไม่ยุติการกระทำเหมือนเช่นที่เคยกระทำมาหลายต่อหลายครั้ง อย่างนี้พอที่จะเรียกว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ "กระหายสงคราม" ได้หรือไม่?
     
  11. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    จบแล้วครับ!
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 512333653.gif
      512333653.gif
      ขนาดไฟล์:
      16.5 KB
      เปิดดู:
      87
  12. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    ขออนุญาติขุดขึ้นมาให้ได้อ่านกันอีกรอบ

    ดูวิธีการแทรกแทรง ของประเทศ มหาอำนาจ ที่เขาทำกับประเทศๆ หนึ่ง

    และคงจะคุ่้นๆ ว่า มันช่างเหมือน กับสิ่งที่กำลังเกิดอยู่กับ ประเทศบางประเทศ

    ที่สุดแล้วก็เพื่อผลประโยชน์ของประเทศของเขาเอง นั้นเเหละ

    อ่านให้สนุกๆ ได้แนวคิดบางประการเกิบไว้

    ขอบคุณ คุณ foleman ที่นำบทความดีๆ มาให้อ่าน
    หวังว่าจะท่านจะหาอะไรดีๆมาให้อ่านอีกนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...