เอกสารลับ เพนตากอน สิ่งที่หลายคนไม่เคยรู้!

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย foleman, 22 มิถุนายน 2013.

  1. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    เราๆ ท่านๆ ทราบดีว่าเป็นสถานที่ตั้งของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา เป็นอาคารรูปแปดเหลี่ยม แต่เรามักจะไม่ค่อยรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในอาคารรูปแปดเหลี่ยมนี้ ซึ่งเรื่องเอกสารลับ เพนตากอน นี้ได้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ "นิวยอร์ค ไทม์" และวอชิงตันโพสท์ แต่ก็ถูกตีพิมพ์ได้ไม่กี่ตอน ก็ถูกแบนเรียบร้อย เอาเป็นว่าหนังสือเรื่องนี้ได้ถูกเรียบเรียงโดย คุณศิลปชัย กฤษณามระ ซึ่งก่อนที่อเมริกาจะเข้าไปคลุกในสงครามเวียตนามนั้น เราทราบกันดีว่า ฝรั่งเศส เป็นเจ้าอาณานิคม ครอบครองเวียตนามอยู่ จะว่างเว้นบ้างก็ตอนที่ญี่ป่นเข้ามาครอบครองแทน แต่ก็เป็นช่วงสั้นๆ เท่านั้น หลังจากนั้นฝรั่งเศสก็ได้เข้ามาครอบครองต่อ แต่เมื่อฝรั่งเศสต้องพ่ายแพ้ที่ เดียน เบียน ฟู ต้องถอนตัวออกไปอย่างน่าอับอายขายหน้า ก็มีเหยื่อรายใหม่เข้ามาแทน ซึ่งก็คือ สหรัฐอเมริกา นั่นเอง

    โดย วารินทร์


    จากผู้เรียบเรียง

    เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2514 นิวยอร์คไทม์และวอชิงตันโพสท์ ได้เริ่มเสนอบทความเกี่ยวกับนโยบายสงครามของสหรัฐอเมริกาในอินโดจีน โดยอาศัยข้อเท็จจริงจากเอกสารลับเฉพาะของศูนย์การทหารสหรัฐ หรือที่เรียกว่า "เอกสารเพนตากอน" หลังจากที่หนังสือพิมพ์เสนอบทความเรื่องนี้ไปแล้วเพียง 3 ตอน กระทรวงยุติธรรมก็ดำเนินคดีทางศาล ขอให้สั่งระงับการพิมพ์โฆษณาดังกล่าวนั้น โดยอ้างว่าเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ

    ปรากฎว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ระงับการพิมพ์โฆษณา หนังสือพิมพ์พยายามสู้คดีถึงชั้นศาลฎีกา ในที่สุดศาลฎีกาก็ชี้ขาดในวันที่ 30 มิถุนายน ปีเดียวกันนั้นว่า หนังสือพิมพ์มีสิทธิ์ที่จะเปิดเผยเอกสารเพนตากอนต่อสาธารณชนได้

    ฮิวโก แอล.แบลค ผู้พิพากษาคนหนึ่งซึ่งแสดงความเห็นสนับสนุนหนังสือพิมพ์แถลงไว้ตอนหนึ่งว่า หนังสือพิมพ์มีความรับผิดชอบที่จะต้องป้องกันมิให้รัฐบาลหลอกลวงประชาชน นัยแห่งคำแถลงนี้มีความหมายว่า ในการดำเนินนโยบายทำสงครามอินโดจีนนั้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาพยายามหลอกลวงประชาชนตลอดมา

    เป็นที่เข้าใจว่า ต้นฉบับเดิมของเอกสารเพนตากอนมีความยาวประมาณ 7,000 หน้ารวมทั้งบันทึกต่อท้าย และส่วนที่หนังสือพิมพ์ได้ไว้และนำมาเปิดเผยต่อประชาชน เป็นแต่เพียงส่วนน้อยเท่านั้น ถึงเช่นนั้นก็ช่วยให้ประชาชนได้มีส่วนรู้เห็นว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาใช้อุบายพลิกแพลงอย่างไร และมีข้ออ้างอย่างไร ในการเข้าแทรกแซงเหตุการณ์ในอินโดจีน ในระหว่างปี 2488 จนถึง 2512

    โปรดทราบว่า ในการแปลหนังสือเล่มนี้ ผู้แปลมิได้แปลโดยละเอียดตลอดทั้งเรื่อง แต่พยายามเก็บความสำคัญมาเสนอไว้เพื่อให้พอเหมาะแก่การอ่านอย่างรวบรัดเท่านั้น
     
  2. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    เอกสารลับ เพนตากอน

    เนื่องด้วยมีสถานการณ์ที่ส่อแววว่า หน่วยงานจารกรรมของต่างประเทศกำลังปฏิบัติการต่อประเทศไทยโดยแข็งขันยิ่งขึ้น เอกสารลับที่จะกล่าวนี้ จะแสดงให้เห็น
    นโยบายทางการทหารและการปฏิบัติการงานจารกรรมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในดินโดจีนและในภูมิภาคนี้โดยส่วนรวม ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทยด้วย
    รัฐบาลอเมริกาถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องความลับที่จะต้องปกปิดโดยกวดขัน แต่เนื่องด้วยมีหนอนบ่อนใส้อยู่ในศูนย์การทหารอเมริกัน ความลับส่วนหนึ่งจึงรั่วไหล
    และ
    หนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลของประเทศ 2 ฉบับ คือ นิวยอร์คไทม์ และ วอชิงตันโพสท์ ได้นำออกตีพิมพ์เผยแพร่จนเป็นคดีความถึงขั้นศาลฎีกาโดยรัฐบาลเป็นโจทก์ และศาลฎีกาได้ตัดสินคดีให้เป็นประโยชน์แก่หนังสือพิมพ์ ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
    เรื่องที่จะเสนอไว้นี้จะเป็นบทสรุปของเอกสารลับตั้งแต่ พ.ศ.2498 จนถึง พ.ศ.2511 พร้อมด้วยสถานการณ์แวดล้อมเพื่อให้เข้าใจเรื่องโดยชัดแจ้งยิ่งขึ้น

    สมัยทรูแมนและไอเซนเฮาเออร์ (พ.ศ.2480-2503)

    รายงานลับเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและการวิเคราะห์สถานการณ์ในอินโดจีนและในภูมิภาคอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ของศูนย์การทหารสหรัฐอเมริกา (ซึ่งในเรื่องนี้จะเรียกว่า "เอกสารลับ เพนตากอน") นั้น เปิดเผยว่าสภาความมั่นคงแห่งชาติ(เอนเอสซี.) สมัยประธานาธิบดีไอเซนเฮาเออร์ มีความเห็นว่า ข้อตกลงที่เจนีวา วันที่ 21 กรกฎาคม 2479 (ยุติสงครามอินโดจีนระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ แบ่งเวียตนามเป็นเหนือแลใต้ตรงเส้นขนานที่ 17 กัมพูชาและลาวเป็นเอกราชจากการปกครองของฝรั่งเศส) เป็น "ความหายนะ" และอนุมัติให้ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการขยายตัวของจีนคอมมิวนิสต์

    การแบ่งเวียดนามนี้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาเหน้า ข้อตกลวระบุให้เวียดนามรวมกันใหม่โดยการเลือกตั้งในปี 2499 และห้ามการส่งกำลังทหารต่างประเทศหรือตั้งฐานทัพในประเทศเวียดนามหรือใช้ดินแดนเวียดนามเพื่อความประสงค์ในทางทหาร

    สหรัฐมิได้ลงนามในข้อตกลง แต่ประกาศรับรู้โดยกล่าวว่าจะไม่เข้าแทรกแซง เกอสารลับเพนตากอนเปิดเผยต่อไปว่า ในวันที่ 8 สิงหาคม หลังจากที่มีการลงนามในข้อตกลงแล้วไม่กี่วัน ก่อนที่ข้อตกลงจะมีผลบังคับใช้ (11 สิงหาคม) เอนเอสซี.ได้สั่งให้ดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารโดยรับด่วนแก่รัฐบาลเวียดนามใต้ของโงดินห์เดียม และให้ที่ปรึกษาอเมริกันทำหน้าที่แทนที่ปรึกษาฝรั่งเศสที่ถอนตัวไป
    จึงเห็นได้ว่า สหรัฐมีแผนการบ่อนทำลายข้อตกลงเจนีวาตั้งแต่เริ่มแรก มิใช่เวียดนามเหนือประเทศเดียวที่บ่อนทำลายเช่นที่สหรัฐกล่าวหา
    ในการปฏิบัติตามแผนการ รัฐบาลไอเซนเฮาเออร์ ได้ส่งสายลับซึ่งมีนาวาอากาศเอก เอดเวิร์ด จี.แลนสเดล เป็นห้วหน้าไปปฏิบัติการลับเพื่อทำลายเวียดนามเหนือ นับตั้งแต่ขณะแรกที่การประชุมเจนีวาสิ้นสุดลง ปฏิบัติการนี้ได้กระทำก่อนที่สายลับจะเดินทางจากฮานอย (ตุลาคม 2497)

    สายลับอเมริกันได้ลอบทำลายเหนือด้วยการเจือปนสารบางชนิดลงในน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้ในกิจการรถประจำทาง เพื่อให้เครื่องยนต์ค่อยๆ เสียหายไปทีละน้อย และก่อวินาศกรรมแก่กิจการรถไฟโดยกะเวลาให้เกิดความพินาศขึ้นในภายหลัง ในการนี้หน่อยงานของแลนสเดล ได้ปฏิบัติการร่วมกับช่างเทคนิคของสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ.) จากญี่ปุ่นคณะหนึ่ง
    สหรัฐดำริที่จะก่อวินาศกรรมการไฟฟ้า การประปา ท่าเรือและสะพานของเวียดนามเหนือด้วย แต่มิได้ปฏิบัติตามแผนการเพื่อแสดงให้เห็นว่าสหรัฐยอมรับนับถือข้อตกลงเจนีวา

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่ารัฐบาลทรูแมนและรัฐบาลไอเซนเฮาเออร์ได้ดำเนินนโยบายเวียดนามอย่างกว้างขวาง โดยประชาชนมิได้รู้ความจริงเท่าใดนัก การดำเนินนโยบายดังกล่าวทำให้รัฐบาลของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ.เคนเนดี้ ต้องมีข้อผูกพันในการป้องกันเวียดนามใต้ได้อย่างมากมาย
    ก่อนตกลงใจต่อต้านเวียดมินห์ รัฐบาลทรูแมนได้รับการติดต่อจากโฮชีมินห์หลายครั้ง (ปลายปี 2488 ถึงต้นปี 2489) ขอให้ช่วยเหลือให้เวียดนามเป็นเอกราชจากการปกครองของฝรั่งเศส ไม่ปรากฎว่ารัฐบาลอเมริกันตอบโฮชีมินห์อย่างไรหรือไม่?

    ในระหว่างปี 2492-2493 หลังจากที่รัฐบาลจีนคณะชาติพ่ายแพ้จีนคอมมิวนิสต์ รัฐบาบทรูแทนได้ตัดสินใจสนับสนุนจักรพรรดิเบาได๋ของญวน และได้ให้ความช่วยเหลือฝรั่งเศสทางการทหารเพื่อปราบเวียดมินห์อันเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัฐที่ทำให้สหรัฐเข้าผูกพันตัวเองกับการสู้รบในอินโดจีน
    ในปี 2497 รัฐบาลไอเซนเฮาเออร์กล่าวย้ำว่า สหรัฐจะใช้กำลังทหารแทรกแซงในอินโดจีนเพื่อช่วยฝรั่งเศสมิให้พ่ายแพ้ ระหว่างที่การประชุมที่เจนีวากำลังดำเนินไป รัฐบาลไอเซนเฮาเออร์ได้สั่งเจ้าหน้าที่ให้ร่างญัตติขออำนาจรัฐสภา เพื่อให้รัฐบาลส่งทหารไปปฏิบัติการในอินโดจีน เอกสารลับเพนตากอน มีใจความดังต่อไปนี้

    ฉบับที่ 1

    : โฮชีมินห์ติดต่อรัฐบาลทรูแมน
    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2489 ฑูตอเมริกันในฮานอย ได้ส่งโทรเลขถึงกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ได้รับจดหมายจากโฮชีมินห์ 2 ฉบับ ขอร้องให้สหรัฐสนับสนุนเอกราชของญวน เช่นที่เคยสนับสนุนฟิลิปปินส์ เพราะปฏิบัติการของฝรั่งเศสที่จะปราบปรามอินโดจีนเป็นภัยต่อสันติภาพของโลก โฮชีมินห์ส่งสำเนาจดหมายไปให้จีน รัสเซียและอังกฤษด้วย


    ฉบับที่ 2
    : นโยบายของสหรัฐในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
    สภาความมั่นคงแห่งชาติกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐสำหรับภูมิภาคอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ในตอนต้นปี 2495 เอกสารลับฉบับนี้ระบุว่า ภูมิภาคที่กล่าวครอบคลุมประเทศต่างๆ คือ พม่า ไทย อินโดจีน มลายา (มาเลย์เซีย) และอินโดนีเซีย วัตถุประสงค์แห่งนโยบายมีว่า เพื่อป้องกันมิให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเป็นบริวารคอมมิวนิสต์และเพื่อช่วยให้ประเทศเหล่านี้มีความสามารถในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งภายในและภายนอก เพราะถ้าปล่อยให้คอมมิวนิสต์ครองครองภูมิภาคนี้ไว้ได้ ก็จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อความมั่นคงของสหรัฐ
    วิธีการต่อต้านก็คือ ส่งเสริมการโฆษณาชวนเชื่อและการปฏิบัติทางวัฒนธรรม ดำเนินการตามโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิคต่อประเทศในภูมิภาค ส่งเสริมให้มีการร่วมมือกันในภูมิภาคและในระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคกับสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อาเซียใต้และญี่ปุ่น และส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคร่วมมือกันป้องกันการรุกรานของจีนคอมมิวนิสต์ในส่วนที่เกี่ยวกับอินโดจีนนั้น สหรัฐถือว่าการปราบปรามอินโดจีนของฝรั่งเศสมีความสำคัญอย่างยิ่งทางยุทธศาสตร์ จึงต้องสนับสนุนกำลังรบของฝรั่งเศสและรัฐสมทบ (รัฐบาลอินโดจีนที่เป็นฝ่ายฝรั่งเศส) ให้ทำการป้องกันอินโดจีนจาการรุกรานของจีนคอมมิวนิสต์

    สำหรับประเทศไทย สหรัฐถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเช่นเดียวกับพม่า เพราะเป็นประเทศส่งข้าวเป็นสินค้าออกไปยังมลายา ลังกาและฮ่องกง คาดว่าจีนคอมมิวนิสต์จะรุกรานภูมิภาคด้วยการบ่อนทำลายยิ่งกว่าโจมตีโดยเปิดเผย ในการต่อต้านจำเป็นจะต้องป้องกันอาณาบริเวณตังเกี๋ย (ส่วนหนึ่งของเวียดนามเหนือ) แต่ถ้าคอมมิวนิสต์ครอบครองพม่าได้ ก็จะใช้กำลังทหารรุกผ่านไทยเข้ายึดอินโดจีนไว้ทั้งหมด รวมทั้งตังเกี๋ยด้วย
     
  3. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ฉบับที่ 3

    : บันทึกของคณะกรรมการพิเศษว่าด้วยการขอความช่วยเหลือของฝรั่งเศส
    วันที่ 30 มกราคม 2497 พลจัตวาชาร์ลส์ เอช.โบนสติล ที่ 3 ทำบันทึกเกี่ยวกับการประชุมของคณะกรรมการ (ประชุมวันที่ 29 มกราคม) ว่า พลเอก เอลี เสนาธิการทหารฝรั่งเศส ได้ติดต่อกับพลเรือเอก แร็ดฟอร์ด ต่อมาในสัปดาห์เดียวกันสหรัฐได้ส่งเครื่องบิน บี-26 ไปอินโดจีน 10 เครื่องในจำนวน 22 เครื่อง

    ตามที่ฝรั่งเศสร้องขอพื่อเสริมกำลังกองบินน้อย 2 กองให้มีเครื่องบินยุทธการกองละ 25 เครื่อง ฝรั่งเศสยังต้องการ บี-26 อีก 25 เครื่องเพื่อจัดตั้งกองบินน้อยที่ ๓ ด้วย นอกจากต้องการช่างกลเพื่อซ่อมเครื่องบิน บี-26 และ ซี-27 สหรัฐได้ส่งช่างแต่งเครื่องแบบทหารอากาศไปเสริมกำลังหน่วยแม็ก (เอ็มเอเอจี.)หรือหน่วยที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือทางทหาร)ในอินโดจีน ส่วนความช่วยเหลือนอกจากนี้ให้รอการตัดสินใจของพลเอก โอแดเนียล
    อนึ่ง สหรัฐให้ ซีไอเอ.จัดการเจรจาทำความตกลงื่องที่จะส่งนักบินแค็พ (ซีเอพี.หรือบินลาดตระเวณประจัญบาน) ให้ฝรั่งเศส

    ฉบับที่ 4

    : รายงานของคณะกรรมการว่าด้วยการคุกคามของคอมมิวนิสต์
    บันทึกของคณะกรรมการลงวันที่ 5 เมษายน 2497 กล่าวว่า คณะกรรมการเห็นว่าในการยับยั้งการแผ่ขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจะต้องยังความปราชัยให้แก่เวียดมินห์ คณะกรรมการเห็นว่าสหรัฐจะต้องปฏิบัติการอย่างจริงจังไม่ว่าจะมีพันธมิตรยุโรปร่วมด้วยหรือไม่ เพื่อชัยชนะทางทหารโดยเด็ดขาดและไม่ผ่อนปรน สหรัฐจะต้องเสริมกำลังประเทศอื่นๆ คือ มลายา พม่า ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ด้วย และปฏิบัติการไปฝ่ายเดียว (โดย ซีไอเอ.)และโดยการร่วมมือกับชาติต่างๆ เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคตระหนักว่ามีภัยคุกคามและให้สำนักข่าวสารสหรัฐ (ยูเซีย) และทบวงปฏิบัติการต่างประเทศ (เอฟโอเอ.) ปฏิบัติการด้วย
    ถ้าอินโดจีนเสียแก่คอมมิวนิสต์ ก็จะเป็นการยากลำบากอย่างยิ่งที่จะยึดกลับคืน และจะต้องเสี่ยงภัยต่อการทำสงครามกับจีนคอมมิวนิสต์ หรืออาจต้องทำสงครามกับสหภาพโซเวียตด้วย

    ฉบับที่ 5

    : ดิลลอนขอให้ป้องกันเดียนเบียนฟู
    วันที่ 5 เมษายน 2497 เอกอัครราชฑูตสหรัฐประจำฝรั่งเศส ดักลาส ดิลลอน โทรเลขถึงรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสหรัฐ จอห์น ดัลเลส ว่าได้ไปพบบิโดลท์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส) และดาเนียล (นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส) คนทั้งสองขอให้สหรัฐช่วยป้องกันเดียนเบียนฟูด้วยกำลังทางอากาศ

    ฉบับที่ 6

    : ดัลเลสปฏิเสธ
    วันที่ 5 เมษายน 2497 ดัลเลสโทรเลขตอบดิลลอนว่าได้แจ้งให้ เอลี (ผู้บัญชาการทหารฝรั่งเศสในอินโดจีน) รับทราบต่อหน้าแร็ดฟอร์ด (ประธานคณะเสนาธิการสผมสหรัฐ) แล้วว่า สหรัฐไม่อาจปฏิบัติการเป็นคู่สงครามในอินโดจีนได้ เพราะยังมิได้ทำความเข้าใจกับฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ ในทางการเมือง ทั้งยังมิได้ดำเนินการทางรัฐสภาด้วย

    ฉบับที่ 7
    : ดิลลอนตอบดัลเลส
    วันที่ 5 เมษายน 2497 ดิลลอนโทรเลขแจ้งให้เดลเลสทราบว่า ฝรั่งเศสเข้าใจท่าทีของสหรัฐ และจะต่อสู้ไปตามลำพัง

    ฉบับที่ 8

    : บันทึกการเจรจาว่าด้วยแผนหยุดยิงของฝรั่งเศส
    วันที่ 7 พฤษภาคม 2497 มีบันทึกการเจรจาระหว่างไอเซนเฮาเออร์กับดัลเลส ผลของการเจรจาแสดงว่าสหรัฐจะไม่สนับสนุนข้อเสนอของ บิโดลท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ที่จะเสนอให้หยุดยิง บันทึกฉบับนี้เปิดเผยให้รู้ว่ามีหน่วยงานของสหรัฐที่เรียกว่า "ไฟฟ์ เพาเวอร์ สตาฟฟ์ เอเจนซี ไทยแลนด์ แอน ฟิลิปปินส์" (สำนักเสนาธิการห้ามหาอำนาจประเทศไทยและฟิลิปปินส์) อันมีคณะเสนาธิการผสม เจซีเอส.อยู่ในสังกัดทำหน้าที่วางแผนทางทหาร

    ฉบับที่ 9

    : ไอเซนเฮาเออร์สั่งการเจรจาในการประชุมเจนีวา
    วันที่ 22 พฤษภาคม 2497 ดัลเลสโทรเลขถึงวอลเตอร์ บีเดลล์ สมิช ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐว่า ประธานาธิบดีได้กำหนดแนวอนุมัติแนวนโยบายสำหรับเจรจาในการประชุมที่เจนีวา ในส่วนที่เกี่ยวกับอินโดจีนนั้น สหรัฐไม่พร้อมที่จะให้ความเห็นชอบในการหยุดยิง การพักรบหรือการยุติข้อพิพาทอย่างใดๆซึ่งจะมีผลเป็นการบ่อนทำลายรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของสหภาพฝรั่งเศสในอินโดจีน (ญวน เขมร ลาว)

    ฉบับที่ 10 : รายงานเสนาธิการผสมว่าด้วยโอกาสแห่งการแทรกแซงของสหรัฐ
    วันที่ 26 พฤษภาคม 2497 แร็ดฟอร์ด ประธานคณะเสนาธิการผสม มีบันทึกถึงชาร์ล อี.วิลสัน รัฐมนตรีว่าการกลาโหมว่า คณะเสนาธิการผสมเชื่อว่าสหรัฐไม่มีกำลังอย่างเพียงพอที่จะทำการรบในขั้นแตกหักในอินโดจีน เพราะไม่อาจคาดการได้ว่าสหรัฐจะต้องทำการสู้รบในเกาหลีพร้อมกันหรือไม่ การทุ่มเทกำลังเข้าปฏิบัติการในอินโดจีนจะทำให้การจัดวางกำลังของสหรัฐซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดเปลี่ยนแปรไปในทางเสียเปรียบ อย่างไรก็ดี ถ้าจีนคอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซง ก็จะต้องใช้อาวุธปรมาณูปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อที่หมายในอินโดจีนและในจีนแผ่นดินใหญ่ ถ้าจีนคอมมิวนิสต์ไม่แทรกแซง ก็จะปฏิบัติการทางอากาศเพื่อสนับสนุนกำลังรบของฝรั่งเศสในอินโดจีน

    ฉบับที่ 11

    : นโยบายเกี่ยวกับการเลือกตั้งในเวียดนาม
    วันที่ 7 กรกฎาคม 2497 ดัลเลสโทรเลขถึงสถานฑูตอเมริกันในปารีสว่า ในการเจรจาทำความตกลงกันที่เจนีวานั้น (แม้จะตกลงกันได้ตามนโยบายของสหรัฐ) ก็ยังไม่มีหลักประกันว่าป้องกันอินโดจีนมิให้ตกเป็นของจีนคอมมิวนิสต์ในวันหนึ่งข้างหน้า การเลือกตั้งจะทำให้เวียดนามรวมกันได้ในภที่สุด แต่ก็จะเป็นการรวมกันายใต้การนำของโฮชีมินห์ จึงควรจัดการเลือกตั้งหลังการตกลงหยุดยิงแล้วให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ และยังไม่ควรกำหนดวันเลือกตั้งลงไว้ ดัลเลสให้แจ้งนโยบายนี้ให้ฝ่ายฝรั่งเศสทราบด้วย

    ฉบับที่ 12

    : ท่าทีของจีนคอมมิวนิสต์เกี่ยวกับอินโดจีน
    วันที่ 18 กรกฎาคม 2497 สมิธ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ โทรเลขถึงดัลเลสจากเจนีวาแจ้งว่า ได้รับข่าวล่วงหน้าจากสำนักข่าว เอ พี. ซึ่งกล่าวว่า ฝ่ายคอมมิวนิสต์ต้องการให้สหรัฐให้หลักประกันต่อแผนการแบ่งแยกอินโดจีนโดยสันติและให้ร่วมลงนามในข้อตกลงให้อินโดจีนเป็นกลาง ผู้ให้ข่าวนี้แสดงทัศนะของนายกรัฐมนตรีจูเอน-ไล ว่า ถ้ามหาอำนาจตะวันตกยอมตกลงที่จะมิให้ตั้งฐานทัพต่างประเทศในอินโดจีน และมิให้ประเทศอินโดจีนทั้งสามเข้ากับฝ่ายใดในทางทหารแล้ว ก็หวังว่าจะมีการตกลงหยุดยิงกันได้ (ในวันที่ 20 กรกฎาคม) คอมมิวนิสต์ต้องการให้อเมริกันเห็นชอบข้อตกลงพักรบ ซึ่งอังกฤษและฝรั่งเศสตกลงในหลักการ (ให้แบ่งเวียดนาม) แล้วด้วย
    สมิธ เห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ วี.เอม.โมโลตอฟ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศโซเวียต) ต้องการบีบบังคับให้เมนเดส-ฟรังซ์ (นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส) ลาออก (เมนเดส-ฟรังซ์ เคยแถลงว่าถ้ายุติสงครามอินโดจีนไม่ได้ก็จะลาออก) ถ้ารัฐบาลฝรั่งเศสล้มก็จะเป็นอุปสรรค

    ฉบับที่ 13

    : จีนคอมมิวนิสต์ผู้ให้ข่าว
    วันที่ 19 กรกฎาคม 2497 สมิธโทรเลขถึงดัลเลสว่า ผู้สื่อข่าว เอพี.แจ้งให้ทราบว่า จีนคอมมิวนิสต์ผู้ให้ข่าว (เอกสารลับฉบับที่ 12) ชื่อฮวงหัว และว่าฮวงหัวริเริ่มให้ข่าวนี้เอง

    แบบที่ 14

    : "ปฏิญญาขั้นสุดท้าย" และคำแถลงของสหรัฐ
    วันที่ 21 กรกฎาคม 2497 ฝรั่งเศสและเวียดมินห์ลงนามใน "ปฏิญญาขั้นสุดท้าย" ซึ่งประกอบเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงว่าด้วยเวียดนามเพื่อฟื้นฟูสันติภาพในอินโดจีน ปฏิญญากล่าวตอนหนึ่งว่า ที่ประชุม (ประกอบด้วยผู้แทนเขมร ญวนเหนือและใต้ ฝรั่งเศส ลาว จีนคอมมิวนิสต์ โซวียต อังกฤษ และสหรัฐ) รับทราบข้อตกลงยุติความเป็นศัตรูกันในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และให้มีการควบคุมและตรวจตราการปฏิบัติตามข้อตกลงโดยคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ และรับทราบว่าฝรั่งเศสจะถอนทหารไปจากปรเทศทั้งสาม เพื่อให้ประเทศทั้งสามเป็นเอกราช
    สหรัฐออกคำแถลงฝ่ายเดียวว่า ไม่พร้อมที่จะร่วมลงนามในปฏิญญา แต่จะช่วยส่งเสริมสันติภาพตามหลักการของสหประชาชาติ และในกรณีที่มีการแบ่งแยกประเทศโดยขัดต่อความำจนงของประชาชาตินั้น ก็จะพยายามให้มีการรวมประเทศโดยการเลือกตั้งเสรีในความควบคุมของสหประชาชาติ
     
  4. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ฉบับที่ 15
    : รายงานเกี่ยวกับปฏิบัติการลับในเวียดนาม

    ผู้รายงานเรื่องนี้คือ "คณะฑูตทหารไซ่ง่อน" (เอสเอมเอม.) ซึ่งเป็นคณะปฏิบัติการลับของสหรัฐ (เอดเวิร์ด จี.แลนสเดล เป็นหัวหน้าคณะ) รายงานนี้แสดงการปฏิบัติระหว่างปี 2497 ถึง 2498

    รายงานกล่าวว่า นอกจาก เอสเอมเอม.ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ปฏิบัติการด้วย รวมทั้งของสหรัฐเอง ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน ญวน เวียดมินห์ และอื่นๆ อีก
    หัวหน้า เอสเอมเอม. (แลนสเดล) เดินทางไปถึงไซ่ง่อนในวันที่ 1 มิถุนายน 2497 แต่จะกระทั่งถึงเดือนสิงหาคม จึงมีสมาชิกเดินทางไปสมทบอย่างเพียงพอ

    ข้อตกลงที่ เจนีวา มีข้อบังคับการปฏิบัติของอเมริกันโดยกวดขัน หน่วยข่าวกรองของศัตรูใช้ประโยชน์แห่งสิทธิตามกฎหมายอย่างเต็มที่ในการกีดกั้นการปฏิบัติงาน ขณะนั้นมีการใช้อาวุธแก้ปัญหาภายในของญวนใต้ มีบรรยากาศอันเต็มไปด้วยความสงสัย เกลียดชัง และริษยา จนทำให้ญวนใต้ลืมศัตรู
    เอสเอมเอม. ลอบเข้าเวียดนามเพื่อช่วยญวนในการทำสงครามนอกแบบ (กองโจร) ยิ่งกว่าที่จะช่วยฝรั่งเศส โดยปฏิบัติการช่วยสนับสนุนฝ่ายทหารและทำสงครามจิตวิทยาการเมืองด้วย ต่อมาได้รับการมอบหมายเพิ่มขึ้นให้ปฏิบัติการในอาณาบริเวณที่คอมมิวนิสต์ยึดครอง
    เมื่อไปถึงไซ่ง่อนแล้ว แลนสเดลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยฑูตทหารอากาศ เพราะในขณะนั้นนายทหารสังกัดแม็ก (คณะที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือทางทหาร) จะประชุมกับนายทหารญวนเพื่อให้คำแนะนำไม่ได้ การติดต่อเป็นการลับกับรัฐบาลขณะนั้นต้องผ่านหน่วย ซีไอเอ.ในไซ่ง่อน
    ในคืนแรกที่มีการลงนามที่ เจนีวา เวียดมินห์ก็ระเบิดคลังอาวุธที่ท่าอากาศยาน (ไซ่ง่อน) จึงตกลงกันว่าจะต้องปฏิบัติการอย่างจริงจัง

    นอกจากการสำรวจสถานการณ์ทั่วประเทศและทำความคุ้นเคยกับญวนเป็นจำนวนมาก ได้ปฏิบัติการร่วมกับ ยอร์ช เฮลล์เยอร์ หัวหน้ายูซิส ในการวางแผนทำสงครามจิตวิทยา (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "สงครามจิต") ได้จัดตั้งหลักสูตรสงครามจิตขึ้นเพื่อเจ้าหน้าที่กองทัพญวน ขณะเดียวกันได้ใช้อุบายทำการรณรงค์ด้วยการแพร่ข่าวลือในฮานอย

    ข่าวลือครั้งแรกคือสร้างเรื่องขึ้นว่ากรมทหารราบจีนคอมมิวนิสต์ในตังเกี๋ยจะบุกตำบลหนึ่งของเวียดมินห์ หญิงสาวในตำบลนี้หลายคนเคนถูกจีน (จีนคณะชาติ ในปี 2488) ฉุดคร่าไปข่มขืน เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นโดยหวังผลที่จะให้ญวนกลัวจีนซึ่งอาจจะเข้าครอบครองญวนเมื่อเวียดมินห์ปกครอง วิธีปฏิบัติคือ ใช้ทหารกองร้อยสงครามจิตจองญวนใต้ (ซึ่งปฏิบัติการอยู่ในฮานอย) ให้แต่งพลเรือนไปทำการ แต่ทหารเหล่านี้ไม่กลับมาเพราะไปเข้ากับเวียดมินห์ หลายสัปดาห์ต่อมาชาวตังเกี๋ยพูดกันถึงเรื่องทหารกองพลจีนประพฤติผิดทำนองคลองธรรมในดินแดนเวียดมินห์ แต่เมื่อสืบสวนดูปรากฎง่าเป็นเรื่องที่ญวน (เวียดมินห์) แต่งเติมอุบายข่าวลือของอเมริกันนั่นเอง

    สถานการณ์ทางการเมืองขณะนั้นปั่นป่วน ไม่มีผู้นำฝ่ายรัฐบาล กระทรวงไม่เปิดทำการ ฝ่ายฝรั่งเศสขอให้ เอสเอมเอม.สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เอสเอมเอม.ตอบไปว่าการตัดสนใจทางการเมืองจะต้องทำระหว่างกองบัญชาการทหารฝรั่งเศส (เอสอีซี.) และทางการสหรัฐ
    พันตรีลูเซียน โคไนน์ ผู้ชำนาญการพิเศษในการจัดตั้งกองกำลังสนับสนุนฝ่ายทหาร (ต่อไปจะเรียกว่า "พารา") เดินทางไปถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม ในฐานะรองหัวหน้า เอสเอมเอม. แต่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำหน่วยแม็กเพื่อปกปิดความจริง โคไนน์เคยช่วยฝรั่งเศสต่อต้านญี่ปุ่นในปี 2488 มีการประชุมลับกับนายทหารญวนให้จัดตั้งหน่วยมีคีส์ (กองโจรใต้ดินที่ฝรั่งเศสเคยใช้ต่อสู้นาซี) แต่ เอสเอมเอม.ไม่เห็นด้วย

    ในเดือน สิงหาคม 2497 มีการตกลงกันว่านับจากวันหยุดยิงเป็นต้นไป จะไม่มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเพิ่ม ถ้าปฏิบัติตามนี้ เอสเอมเอม.ก็จะมีเจ้าหน้าที่เพียง 2 คน แต่ก็ได้มีการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ เอสเอมเอม.ขึ้นด้วยวิธีอำพรางว่ามีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือทางทหาร (แม็ค)
    โคไนท์ได้รับมอบให้จัดตั้งองค์การพาราขึ้นทางเหนือ เขานำคณะเดินทางไปฮานอยโดยอำพรางว่าไปปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย และไปตั้งศูนย์บัญชาการที่ฮานอย มีสาขาอยู่ในไฮฟอง วันหนึ่ง ระหว่างการลำเลียงผู้ลี้ภัยจากเหนือไปใต้ด้วยเครื่องบิน เมื่อพ่อแม่ถามว่าทำไมจึงจับตัวเด็กไป เจ้าหน้าที่ก็ชวนพ่อแม่ให้เดินทางไปหาลูกที่ไซ่ง่อน และจัดให้ขึ้นเครื่องบินลำต่อไป
    หน่วยพาราหน่วยที่ 2 จัดตั้งขึ้นเพื่อสำราจดูโอกาสที่จะทำการต้านทานเวียดมินห์จากฐานทัพใต้เส้นขนาน เจ้าหน้าที่หน่วยนี้มีพันโทเอดเวิร์ด วิลเลี่ยมส์ ซึ่งเป็นผู้สันทัดจัดเจนในการทำจารกรรมตอบโต้รวมอยู่ด้วย
    เอสเอมเอม.มีหน่วยงานสนับสนุน ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงวัสดุสำหรับใช้ในการพาราโดยทางบก เรือและอากาศอย่างลับๆ
    วันที่ 8 กันยายน 2497 กระทรวงกลาโหมญวนใต้จับนายทหารผู้วางแผนล้มรัฐบาลไว้ 2 คน (พันโทลานและร้อยเอกเกีย) ปรากฎต่อมาว่าผู้วางแผนคือพลเอกฮินห์ เสนาธิการกองทัพบก (ไม่ปรากฎว่าถูกจับ) ทางการญวนสงสัยว่าจะมีการใช้กำลังยานเกราะโจมตี แต่ เอสเอมเอม.แจ้งให้ฮินห์ทราบว่าถ้าเกิดเหตุเช่นนี้ สหรัฐก็จะเลิกสนับสนุน
    โคไนท์ซึ่งปฏิบัติการอยู่ทางเหนือได้จัดตั้งหน่วยพาราขึ้นโดยใช้ชื่อญวนว่า "บินห์" ตามแผนการที่วางไว้จะให้หน่วยพารานี้อยู่ในความควบคุมของรัฐบาลเมื่อสหรัฐพร้อมแล้ว ส่วนในไซ่ง่อนก็มีโครงการจัดตั้งหน่วยพาราขึ้นเรียกว่า "เฮา" สำหรับปฏิบัติการในตังเกี๋ย

    ในตอนปลายเดือนกันยายนทราบความว่าสำนักพิมพ์โรงพิมพ์ใหญ่ที่สุดยังคงตั้งอยู่ในฮานอยซึ่งดำเนินการโดยเวียดมินห์ เอสเอมเอม.จึงวางแผนทำลายเครื่องพิมพ์ทันสมัยของโรงพิมพ์นั้น แต่สายลับเวียดมินห์เข้าป้องกันอยู่ในดรงพิมพ์นั้น
    ในวันที่ 9 ตุลาคม มีการอพยพจากฮานอย หน่วย เอสเอมเอม.อพยพพร้อมกับทหารฝรั่งเศสรุ่นสุดท้าย ก่อนอพยพได้ก่อวินาศกรรมแก่รถโดยสาร การรถไฟ และอื่นๆ อีก (กล่าวไว้ในตอนต้นแล้ว)


    เอสเอมเอม.ได้ช่วยจัดตั้งหน่วยสงครามจิตเรียกว่า จี -5 ขึ้นในกองทัพบกญวน มีการส่งทหารนอกเครื่องแบบแทรกซึมเข้าสู่ตอนใต้ของเขตแดนเวียดมินห์เพื่อแจกใบปลิว (การแจกใบปลิวในคาเมากระทำขณะที่โจเซฟ อัลซอพ นักเขียนบทความไปเยือนที่นั่น)

    ระยะนี้มีการขัดแย้งกันระหว่างโงดินห์เดียม (ผู้นำรัฐบาล) กับฮินห์อย่างคอขาดบาดตาย สืบทราบว่าฮินห์จะโจมตีทำเนียบในวันที่ 26 ตุลาคม ฮินห์มีกำลีงของพันโทลานและร้อยเอกเกีย (ซึ่งเคยถูกจับ) สนับสนุน หน่วย เอสเอมเอม.ชักชวนลานและเกียไปฟิลิปปินส์ จึงไม่มีการโจมตีทำเนียบตามแผน
    วันที่ 8 พฤศจิกายน พลเอกลอว์ตัน คอลลินส์ ไปเป็นเอกอัครราชฑูตอเมริกัน คอลลินส์ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่าสหรัฐสนับสนุนโงดินห์เดียม และบีบบังคับให้ฮินห์ไปปารีส

    เอสเอมเอม.ได้รับมอบหมายให้สนับสนุนการรณรงค์เพื่อกู้เวียดนาม มีการส่งสมาชิกกระจายไปในภาคแปซิฟิคเพื่อการฝึก และลักลอบส่งสัมภาระเข้าไปซ่อนไว้ในเวียดนามเหนือ

    ในเดือนมกราคม 2498 สหรัฐและฝรั่งเศสได้ร่วมกันจัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อทำการฝึกเจ้าหน้าที่กองทัพญวน หน่วยงานนี้เรียกว่า ทีอาร์ไอเอม.และได้โอน แลนสเดล ไปประจำ ทีอาร์ไอเอม.
    โงดินห์เดียมเคยขอร้อง เอสเอมเอม.ให้ช่วยเหลือในการจัดตั้งกองพันทหารขึ้นเพื่อป้องกันทำเนียบ เอสเอมเอม.ได้ติดต่อประธานาธิบดีแม็กไซไซ (ฟิลิปปินส์) เพื่อยืมตัวพันเอกนโปเลียน วาเลอเรียโน ผู้ชำนาญการทำสงครามต่อต้านพวกอักส์ (คอมมิวนิสต์) พร้อมกับนายทหารชั้นผู้น้อยของฟิลิปปินส์อีก 3 คนไปปฏิบัติงานตามความประสงค์ของโงดินห์เดียม
    ในแผนการทำลายโรงพิมพ์ในฮานอย เอสเอมเอม.มอบให้ญวนผู้รักชาติคนหนึ่งเป็นหัวหน้าดำเนินการ ญวนคนนี้มีชื่อสมมุติว่า เทรียวดินห์ ต่อมาได้มอบให้
    เทรียวดินห์ทำสมุดประมวลข้อเท็จจริงสำหรับจำหน่วยแก่ประชาชนในนครต่างๆ ทางเหนือเท่าที่จะส่งไปจำหน่ายได้ ในการนี้ได้ว่าจ้างโหรญวนจำนวนหนึ่งให้พยากรณ์ว่าผู้นำญวนหลายคนจะประสบความหายนะ และให้พยากรณ์ว่าเวียดนามใต้จะรวมกันเป็นปึกแผ่น เพื่อตีพิมพ์ไว้ในสมุดประมวลข้อเท็จจริงนั้น การปฏิบัตินี้เป็นไปตามแผนความคิดที่จะใช้โหราศาสตร์ทำสงครามจิตในอาเซียตะวันออกเฉียงใต้

    ในตอนกลางเดือนเมษายน 2498 หลังจากที่เฮา (หน่วยพารา) เสร็จสิ้นการฝึกซึ่งกระทำเป็นการลับแล้วก็ถูกลำเลียงไปไฮฟองโดยให้ทยอยกันขึ้นบก ขณะเดียวกันการลักลอบนำอาวุธและเครื่องอุปกรณ์อื่นๆ ไปเก็บไว้ในไซ่ง่อนก็เสร็จสิ้นและพร้อมที่จะลำเลียงต่อไปทางเหนือโดยจะมีกองกำลังเฉพาะกิจของกองทัพเรือซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยลำเลียงไป ก่อนหน้านี้ได้ลำเลียงอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติการของบินห์ (หน่วยพารา) ไปยังไฮฟองแล้ว
    บินห์และเฮาพร้อมที่จะปฏิบัติการต่อต้านข้าศึก (เวียดมินห์) ซึ่งได้รับมอบไฮฟองไปตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคมแล้ว ได้มีการปกปิดเรื่องนี้เป็นความลับมิให้รู้ไปถึงเวียดมินห์ คณะกรรมการระหว่างชาติ (เพื่อตรวจตราและควบคุมการหยุดยิง) หรือแม้แต่ญวนที่เป็นมิตร
     
  5. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ต้นเหตุแห่งกลียุคในญวนใต้

    เพนตากอนแสดงความเห็นขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลว่า การรุกรานของฮานอยทำให้เวียดนามใต้ต้องทำสงคราม (ซึ่งรัฐบาลตั้งแต่เคนเนดี้จนถึงนิกสันอ้างเป็นเหตุผลในการแทรกแซงเวียดนาม) แต่การวิเคราะห์ข่าวกรองชี้ให้เห็นว่า ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามขึ้นในเวียดนามใต้นั้นเป็นเพราะการปกครองอันกดขี่และทุจริตของรัฐบาลโงดินห์เดียม

    เอกสารลับเพนตากอนซึ่งรายงานสถานการณ์ระหว่างปี 2499 ถึง 2502 กล่าวว่าผู้ที่จับอาวุธส่วนมากเป็นชาวเวียดนามใต้ และสาเหตุแห่งการสู้รบก็มิใช่แผนการของเวียดนามเหนือ

    ญวนเหนือเริ่มปฏิบัติการในญวนใต้ตั้งแต่ปี 2497 แต่เป็นการปฏิบัติในระดับไพร่พลจำนวนน้อยเท่านั้น ในปี 2502 ญวนเหนือจึงตัดสินใจปฏิบัติการเพิ่มขึ้นด้วยการส่งพลพรรคที่ได้รับการฝึกฝนแล้วแทรกซึมเข้าสู้เวียดนามเพื่อเข้าอำนวยการต่อสู้กับรัฐบาล ในระยะนี้มีการตระเตรียมสร้างเส้นทางโฮชีมินห์สำหรับใช้ลำเลียง และมีการฝึกทหารญวนใต้ในญวนเหนือเพื่อส่งกลับไปปฏิบัติการในญวนใต้ ทำให้สงครามรุนแรงขึ้นโดยเร็ว

    เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยด้วยว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันในไซ่ง่อนรวมทั้งเจ้าหน้าที่สถานฑูต ซีไอเอ.และกองบัญชาการทหาร รู้ข้อบกพร่องของโงดินห์เดียมดีเจ้าหน้าที่เหล่านี้รายงานให้รัฐบาอเมริกันทราบว่าโงดินห์เดียมชอบใช้อำนาจบาทใหญ่ ไม่ผ่อนปรน ไม่วางใจผู้ใดนอกจากครอบครัวและการกดขี่ของโงดินห์เดยมทำให้ประชาชนเอาใจออกoง

    ระหว่างปี 2497 ถึง 2501 ญวนเหนือมุ่งที่จะพัฒนาประเทศและหวังที่จะได้ครอบครองญวนใต้ด้วยการเลือกตั้งหรือโดยการล้มของรัฐบาลโงดินห์เดียมเมื่อสงครามกับฝรั่งเศสสิ้นสุดลง ญวนเหนือมีไพร่พลเหลืออยู่ในตอนใต้บ้าง พลไพร่เหล่านี้ได้รับคำสั่ง

    "ต่อสู้ในทางการเมือง"

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวถึงข้อบกพร่องของโงดินห์เดียมยาวเหยียด ตั้งแต่สมัยที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรี (2497 ถึงปลายปี 2498) และต่อมาในสมัยที่เขาเป็นประธานาธิบดีจนถูกโค่นล้ม (2506) ข้อบกพร่องนี้กระตุ้นเตือนฮานอยให้ปฏิบัติการอย่างแข้งขันยิ่ง

    การวิเคราะห์ข่าวกรองในเดือนพฤษภาคม 2502 กล่าวไว้มีใจความว่า มีการเสนอปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่สำคัญให้โงดินห์เดียมพิจารณามากมาย เขาเชื่อถือในหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ก็เห็นว่าประชาชนไม่พร้อมที่จะรับไว้ จึงต้องกุมอำนาจไว้อย่างน้อยก็ในขณะที่ความมั่นคงแห่งชาติยังถูกคุกคามอยู่โดยนัยนี้ โงดินห์เดียมจึงเห็นว่าญวนใต้จะมีพรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่ได้ และแม้ว่าญวนใต้จะมีรัฐบาล ผู้แทนราษฎร แต่รัฐบาลก็ใช้อำนาจสิทธิ์ขาด

    อำนาจนิติบัญญัติของญวนใต้มีอยู่อย่างจำกัด อำนาจตุลาการก็อยู่ภายใต้อำนาจบริหาร และสมาชิกของผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารก็คือสมุนของโงดินห์เดียม

    โครงการจัดความมั่นคงในชนบทกลับเป็นผลร้าย เพราะทำให้ชาวนาเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล และดังนั้นจึงมีความมั่นคงน้อยลง โครงการดำเนินการฝ่ายพลเรือนก็ไม่ได้ผล เพราะรัฐบาลใช้แคธอลิคและผู้ลี้ภัยจากทางเหนือ ซึ่งเป็นคนแปลกหน้าไปติดต่อชาวนา การปฏิรูปที่ดินกลับเป็นผลให้ที่ดินซึ่งชาวนาได้จากเวียดมินห์ตกไปเป็นของนายทุนที่ดิน

    โงดินห์เดียมยุบเลิกสภาตำบล ซึ่งเป็นสภาโดยการเลือกตั้งและได้รับความนิยมเพราะกลัวคอมมิวนิสต์จะครองอำนายในสภานั้น และได้ตั้งสภาตำบลขึ้นใหม่โดยแต่งตั้งผู้ลี้ภัยจากทางเหนือและแคธอลิคที่จงรักภักดีต่อเขาให้เป็นสมาชิก
    โงดินห์เดียมให้เริ่มทำการรณรงค์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ในฤดูร้อนปี 2498 มีผู้ถูกจับส่งตัวเข้าค่ายกักกันระหว่าง 50,000 ถึง 100,000 ปรากฎว่าผู้ถูกควบคุมตัวเป็นจำนวนมากมิใช่คอมมิวนิสต์

    การจัดให้ประชาชนย้ายถิ่นฐาน เช่นการย้ายชนเผ่ามองตาญาร์ดจากที่ราบสูงภาคกลางไปอยู่ในอาณาบริเวณใหม่ ซึ่งรัฐบาลอ้างว่าเพื่อความสะดวกในการรักษาความมั่นคงนั้น ทำให้เป็นความสะดวกแก่เวียดกงที่จะชักชวนคนเหล่านั้นเข้าเป็นพรรคพวก การบังคับให้ชาวนาละทิ้งถิ่นฐานที่เคยอยู่มาสมัยบรรพบุรุษตามโครงการจัดตั้งหมู่บ้านชาวนาก็ทำให้ชาวนาโกรธเคือง ข้อบกพร่องเหล่านี้ทำให้ชาวชนบทต่อต้านโงดินห์เดียมโดยเปิดเผย ปัญญาชนก็เอาใจออกoง เพราะโงดินห์เดียมจำกัดเสรีภาพและส่งตัวผู้แสดงความเห็นคัดค้านเข้าคุก และการที่โงดินห์เดียมให้ความดีความชอบแก่เจ้าหน้าที่ทหารโดยถือเอาความจงรักภักดีต่อครอบครัวของเขาเป็นประมาณนั้น ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารส่วนใหญ่เอาใจออกoง

    เอกสารลับเพนตากอนแบ่งความคลี่คลายของเหตุการณ์ตอนนี้เป็น 3 ระยะคือ ระหว่างปี 2497 ถึง 2499 เป็นระยะที่คอมมิวนิสต์ญวนเหนือในญวนใต้ซึ่งตกค้างอยู่ในญวนใต้กระทำการ
    "ต่อสู้ทางการเมือง"
    ระยะที่สอง ระหว่างปี 2499 ถึง 2501 ฝ่ายที่แตกแยกกับรัฐบาลในญวนใต้เริ่มก่อเหตุร้ายต่อต้านรัฐบาล ทั้งนี้ หลังจากที่โงดินห์เดียมไม่ยอมจัดการเลือกตั้ง ระยะที่สามเริ่มตั้งแต่ปี 2502 ฮานอยได้เข้าอำนายการต่อต้านโงดินห์เดียม โดยเริ่มทำสงครามอย่างขนานใหญ่

    รายงานข่าวกรองอเมริกันกล่าวว่า หลังจากการประชุมที่เจนีวาในปี 2497 ญวนเหนือมุ่งที่จะฟื้นฟูบูรณะเศรษฐกิจของตน และได้มีการถอนทหารจากเวียดนามใต้กลับประเทศ 90,000 คน คงทิ้งไพร่พลไว้ทางใต้ประมาณ 5,000 ถึง 10,000 คน เพื่อต่อสู้ในทางการเมือง ไพร่พลเหล่านี้มีภาระหน้าที่ตระเตรียมการรณรงค์เลือกตั้ง ซึ่งกำหนดจะกระทำในปี 2499 รวมทั้งการโฆษณาชวนเชื่อและแทรกซึมรัฐบาล

    ฮานอยเริ่มเปลี่ยนวิธีการต่อสู้ทางการเมืองเป็นการต่อสู้ด้วยการก่อการร้ายเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการลอบสังหารชีวิตซึ่งในระยะ 4 เดือนหลังของปี 2502 มีถึง 119 ราย (เปรียบเทียบกับ 193 ราย ตลอดปี 2501)

    วันที่ 26 กันยายน 2502 เวียดกงก็ซุ่มโจมตีทหารรัฐบาล (กำลังสองกองร้อยของกองพลที่ 23) เป็นครั้งแรกอย่างไรก็ดี จนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2503 จึงมีการจัดตั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเป็นทางการ และภายในเวลาเพียง 1 ปี ขบวนการนี้ก็มีสมาชิกถึง 300,000 คน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า
     
  6. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ;aa44
     
  7. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    สมัยเคนเนดี้ (พ.ศ.2504 ถึง 2506)

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า นักวิเคราะห์เห็นว่าประธานาธิบดีจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ นโยบายซึ่งทำให้ข้อผูกพันในการป้องกันคอมมิวนิสต์มิให้ครอบครองเวียดนามให้ขยายตัวกว้างขึ้นกว่าสมัยไอเซนเฮาเออร์ ซึ่งเป็น

    "การพนันที่เสี่ยงภัยอย่างจำกัด"

    นับตั้งแต่สมัยเคนเนดี้เป็นต้นมา สหรัฐต้องเสี่ยงอันตรายในการเข้าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เพราะต้องใช้วิธีปฏิบัติการให้น้อยที่สุดเพื่อให้บรรลุผลอย่างมากที่สุด

    เคนเนดี้เริ่มเข้าทำการผูกพันกับเหตุการณ์เป็นการลับในฤดูใบไม้ผลิปี 2504 โดยสั่งให้กองกำลังพิเศษ 400 คนและที่ปรึกษาทางทหาร 100 คนเดินทางไปเวียดนามใต้โดยมิได้ประกาศโดยเปิดเผย

    เพนตากอนเห็นว่า แม้เจ้าหน้าที่ที่ส่งไปนี้จะเป็นจำนวนน้อย แต่ก็เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นความตั้งใจที่จะส่งทหารไปเวียดนามใต้เกินกว่าจำนวนที่จำกัดไว้ 685 คน ซึ่งถ้ากระทำเช่นนี้โดยเปิดเผยก็จะเป็นการละเมิดข้อตกลงเจนีวาครั้งแรก (มีการตีความในข้อตกลงว่า สหรัฐจะส่งที่ปรึกษาให้ญวนใต้ได้ไม่เกิน 685 คน แม้สหรัฐจะมิได้ลงนามร่วม แต่ก็ให้คำมั่นว่าจะไม่บ่อนทำลายข้อตกลง)

    ในวันเดียวกับที่เคนเนดี้ตัดสินใจจะส่งกองกำลังไปเวียดนามใต้ (11 พฤษภาคม 2504) เคนเนดี้ได้สั่งให้เริ่มการรณรงค์ลับเพื่อต่อต้านญวนเหนือ (และลาว) โดยสายลับญวนใต้ซึ่งได้รับการฝึกและอำนายการโดย ซีไอเอ.และเจ้าหน้าที่ทหารในกองกำลังพิเศษด้วย (จัดตั้งข่ายการต่อต้าน ตั้งฐานปฏิบัติการลับเพื่อก่อวินาศกรรมและอื่นๆ)

    ทั้งให้คณะฑูตทหารอเมริกันในไซ่ง่อนฝึกสอนและตระเตรียมหน่วยทหารพรานเวียดนามใต้สำหรับปฏิบัติการโจมตีในเวียดนามเหนือตามความจำเป็น โดยให้มุ่งทำลายการคมนาคม รถไฟ และรถบรรทุก ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์นับตั้งแต่เคนเนดี้ตัดสินใจดังกล่าว เวียดนามเหนือก็ประท้วงต่อ ไอซีซีเอส. (คณะกรรมาธิการควบคุมและตรวจตราระหว่างชาติ) ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า เครื่องบินต่างประเทศละเมิดน่านฟ้าและเวียดนามใต้ไปปฏิบัติการในเขตปลอดทหาร
    ในเดือนกรกฎาคม 2503 เวียดนามเหนือประกาศว่าจับญวนใต้ได้ 3 คน คนทั้งสามรอดตายจากเครื่องบินซึ่งถูกยิงตกขณะลำเลียงคนทั้งสามไปปฏิบัติการใต้ดินในญวนเหนือ ในคำประท้วงซึ่งญวนเหนือส่งถึงอังกฤษและสหภาพโซเวียต ญวนเหนือกล่าวด้วยว่าคนทั้งสามเปิดเผยว่าได้รับการใกอาวุธจากอเมริกัน
    คำสั่งของเคนเนดี้ (วันที่ 11 พฤษภาคม) ยังระบุให้กองกำลังเวียดนามใต้แทรกซึมเข้าสู่ลาวภาคใต้เพื่อโจมตีฐานทัพและทางลำเลียงของคอมมิวนิสต์ด้วยต่อมาเคนเนดี้ได้ออกคำสั่งลับ ให้กองกำลังพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการภาคพื้นดิน โดยให้ใช้ที่ปรึกษาอเมริกันได้ถ้าจำเป็น เพื่อทำลายการลำเลียงทางอากาศของคอมมิวนิสต์ในลาวภาคใต้ในเดือนพฤศจิกายน 2504 เคนเนดี้ตกลงใจให้เพิ่มจำนวนคณะที่ปรึกษาทางทหารขึ้นอย่างมากมาย ทั้งให้ทหารอเมริกันปฏิบัติการสนับสนุนการรบเป็นครั้งแรก

    ปัญหาสำหรับเคนเนดี้
    เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยว่า เคนเนดี้มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับเวียดนาม 3 ประการคือ จะเข้าทำการป้องกันเวียดนามใต้อย่างจริงจังหรือไม่ จะใช้หน่วยรบภาคพื้นดินในการนี้หรือไม่ และจะต่อสู้กับเวียดกงโดยใช้กำลังทหารเรือโดยการปฏิรูปทางการเมือง

    ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ 34 เดือนปรากฎว่าเคนเนดี้ตอบปัญหาข้างต้นด้วยการเพิ่มจำนวนที่ปรึกษาจาก 685 คนเป็นประมาณ 16,000 คน ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญแก่ปฏิบัติการทางทหาร (สู้รบ) ยิ่งกว่าทางการเมือง

    จึงเป็นผลให้สหรัฐต้องเข้ายุ่งเกี่ยวกับการโค่นล้มรัฐบาลโงดินห์เดียม การตัดสินใจของประธานาธิบดีเคนเนดี้ทำให้ประธานาธิบดีลินดอน บี.จอห์นสัน ต้องเข้าทำสงครามอย่างจริงจังในปี 2508
    คณะเสนาธิการทหารสหรัฐประมาณว่าเพียงแต่การใช้กำลังทหารอเมริกันไม่เกิน 205,000 คนก็จะเพียงพอไม่เฉพาะแต่จะทำการสู้รบกับเวียดกงเท่านั้น แต่พอที่จะจัดการกับเวียดนามเหนือและจีนคอมมิวนิสต์ด้วย (ถ้าจีนคอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซง)

    พลเอกแม็กซ์เวลย์ ดี.เทย์เลอร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดีในกิจการทหารเสนอแนะนำประธานาธิบดีว่า การใช้กำลังทหารภาคพื้นดินเข้าปฏิบัติการในเวียดนามจะไม่ต้องเสี่ยงภัยอะไรมากนักและให้เริ่มปฏิบัติการโดยใช้กำลังทหาร 6,000 ถึง 8,000 คน

    ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2504 รัฐมนตรีว่าการกลาโหมโรเบอร์ท เอส.แม็คนามารา มีบันทึกถึงประธานาธิบดีว่าเขาและคณะเสนาธิการทหารเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทย์เลอร์ แต่เตือนว่าจะต้องเพิ่มกำลังทหารมากยิ่งขึ้นหลายเท่าในอนาคต แต่แม้ว่าจะต้องมีการสู้รบอย่างยืดเยื้อและแม้ว่าจีนคอมมิวนิสต์จะเข้าแทรกแซง ก็จะต้องใช้กำลังทหารไม่เกิน 205,000 คน
    เอกสารลับเพนตากอนสรุปเหตุผลว่ายุทธศาสตร์ของเคนเนดี้มีข้อบกพร่องอย่างร้ายแรงทั้งในแง่การเมืองและการทหาร เพราะต้องฝากผลสำเร็จไว้กับการให้ดำเนินการกระตุ้นเตือนโงดินห์เดียมให้ปฏิรูปทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม เพื่อชนะใจประชาชน

    ในปี 2506 รัฐบาลเคนเนดี้ก็สรุปว่าโงดินห์เดียมไม่สามารถที่จะดำเนินการปฏิรูปให้เป็นผลสำเร็จ จึงตัดสินใจ

    "ทอดทิ้ง" โงดินห์เดียม

    ในขณะนั้น แม้ว่าปัญหาเวียดนามใต้จะยุ่งยากสกัเพียงไรก็ตาม แต่สถานการณ์ในลาวก็ร้ายแรงยิ่งกว่าหลายเท่า รัฐบาลไอเซนเอาเออร์เคยสนับสนุนกลุ่มการเมืองฝ่ายขวาของลาว ต่อมาในตอนต้นปี 2504 กลุ่มนี้ซวนเซไป (ถูกคอมมิวนิสต์และกลุ่มกลางโจมตี) เคนเนดี้จึงเปลี่ยนนโยบายไปใช้วิธีประนีประนอมทางการเมืองและดำเนินการหยุดยิง ยิ่งกว่าที่จะสนับสนุนฝ่ายขวาต่อไปอีก ด้วยเหตุนี้รัฐบาลเคนเนดี้จึงจำต้องแสดงแสนยานุภาพในเวียดนามให้ฝ่ายพันธมิตรในอาเซียเห็นประจักษ์ (ขณะนั้นอเมริกันกำลังแข่งขันกับโซเวียตในทางทหาร เมื่อถอยจากลาวแล้วก็จำเป็นจะต้องแสดงให้เห็นว่าจะไม่ละทิ้งเวียดนาม)

    วันที่ 6 มกราคม 2504 นายกรัฐมนตรีโซเวียต นินกตา เอส.ครุสชอฟ ประกาศว่าโซเวียตจะสนับสนุนการทำสงครามปลดปล่อยทั่วโลก สหรัฐถือว่าประกาศนี้เป็นการท้าทาย จึงตอบโต้ด้วยการวางแผนต่อสู้กับคอมมิวนิสต์เวียดนามหนักมือยิ่งขึ้น

    ในวันที่ 20 เมษายน (หลังจากที่การบุกคิวบาล้มเหลวลง) เคนเนดี้สั่งให้พิจารณาสถานการณ์ในเวียดนามใหม่อย่างรีบเร่ง เพื่อปฏิบัติการทั้งทางทหาร เศรษฐกิจและการเมืองอย่างลับๆ และโดยเปิดเผย เป็นการป้องกันคอมมิวนิสต์มิให้ยึดครองประเทศนั้น
    วันที่ 26 เมษายน หลังจากที่เกิดวิกฤตกาลในลาว เคนเนดี้ได้เรียกประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติเพื่อพิจารณาว่าจะส่งกำลังทหารไปลาวหรือไม่ ในตอนกลางคืนวันเดียวกันคณะเสนาธิการผสมก็สั่งให้พลเรือเอกแฮรี่ ดี.เฟลท์ ผู้บัญชาการทัพภาคแปซิฟิค ตระเตรียมเคลื่อนย้ายทหาร 5,000 คนไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและอีก 5,000 คนไปยังดานังเพื่อปฏิบัติการในลาวได้ตามความจำเป็น ทั้งนี้สุดแล้วแต่สถานการณ์ในลาว
    อนึ่ง ในการสนับสนุนกองกำลังพิเศษในญวนนั้น มิได้กระทำตามโครงการให้ความช่วยเหลือทางทหารโดยตรง แต่ได้มอบให้เป็นภาระของ ซีไอเอ.จึงสามารถที่จะอำนวยการกองกำลังนี้อย่างไม่เปิดเผยได้

    หลังจากที่รองประธานาธิบดี (จอห์นสัน) เดินทางไปไซ่ง่อนแล้ว 2 วัน เคนเนดี้ก็ตัดสินใจเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ให้ปฏิบัติการลับเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้นดังต่อไปนี้

    ส่งสายลับไปเวียดนามเหนือเพื่อทำข่าวกรอง ส่งทหารแต่งพลเรือนแทรกซึมเข้าลาวภาคใต้เพื่อโจมตีฐานทัพและเส้นทางลำเลียงของญวนเหนือ ใช้ฐานปฏฺบัติการของหน่วยข่าวกรองในญวนเหนือก่อวินาศกรรมและก่อกวน บินทิ้งใบปลิวในญวนเหนือและส่งวิทยุลับ ฝึกกองทัพบกญวนใต้ให้ทำการโจมตีแบบกองโจรในญวนเหนือ
    เคนเนดี้ยังอนุมัติแผนการให้ใช้เจ้าหน้าที่พลเรือนอเมริกันและคนชาติอื่นๆ นอกจากญวนปฏิบัติการในญวนเหนือด้วย

    วันที่ 12 พฤษภาคม รองประธานาธิบดีจอห์นสันได้เจรจากับโงดินห์เดียมในเรื่องที่ว่าจะส่งหน่วยรบอเมริกันไปเวียดนาม หรือจะทำสัญญาร่วมป้องกันในระหว่างสองฝ่าย ปรากฎว่าโงดินห์เดียมไม่สนใจโดยกล่าวว่าเขาจะต้องการหน่วยรบของสหรัฐก็ต่อเมื่อถูกรุกรานโดยเปิดเผย

    วันที่ 26 พฤษภาคม จอห์นสันรายงานเคนเนดี้ว่า สหรัฐจะต้องตัดสินใจเลือกเอาทางใดทางหนึ่งคือช่วยประเทศไทยและเวียดนามอย่างเต็มความสามารถ หรือยอมแพ้และถอนตัวกลับ เขากล่าวด้วยว่าผู้นำในอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ต้องการให้ทหารอเมริกันมาเกี่ยวข้องนอกจากในการฝึกอบรม

    ในวันที่ 9 มิถุนายน โงดินห์เดียมมีหนังสือถึงเคนเนดี้เสนอให้ช่วยเสริมสร้างกำลังกองทัพบกญวนใต้จาก 170,000 คนเป็น 270,000 คน นอกจากเสริมสร้างกำลังกองทัพบกเวียดนามใต้ โงดินห์เดียมยังขอให้สหรัฐจัดให้มี "บุคคลที่เลือกสรรจากกองทัพอเมริกัน" ด้วย

    คณะผู้บัญชาการทหารอเมริกันเห็นว่า "ควรนำหน่วยรบของสหรัฐเข้าไปในเวียดนาม พร้อมด้วยคณะผู้ทำการฝึก" เพื่อจูงใจให้โงดินห์เดียมยอมรับ

    ในเดือนสิงหาคม ทำเนียบประธานาธิบดีเลี่ยงปัญหานี้ด้วยการให้เงินสนับสนุนการจัดตั้งกองทัพบกเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นพอประมาณ (30,000 คน) และให้เลื่อนการพิจารณาแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่
    ระหว่างการประชุมพิจารณาปัญหาอาเซียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน วอล์ท ดับลิว.รอสโทว์ (ประธานคณะผู้วางแผนนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ) ได้ทำบันทึกด้วยลายมือของตนเองถึงแมคนามารา (รัฐมนตรีว่าการกลาโหม) ดังต่อไปนี้

    "บ๊อบ (แมคนามารา)"

    "เราต้องคิดถึงชนิดของกำลังรบที่จะจัดให้มีในประเทศไทย แลหน้าที่ที่จะมอบให้กระทำเดี๋ยวนี้ เรื่องเวียดนามเอาไว้ทีหลัง"

    "เราจำเป็นต้องมีการปฏิบัติเพื่อยับยั้งกองโจรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย"

    "เราจะต้องมีกำลังรบสนับสนุนการทำสงครามต่อต้านกองโจรในเวียดนาม เช่น"

    "เครื่องบิน"

    "เฮลิคอปเตอร์"

    "เจ้าหน้าที่สื่อสาร"

    "กองกำลังพิเศษ"

    "ครูอาสาสมัครพลเรือน"

    "อื่นๆ"

    บันทึกข้างต้นนี้ลงนามย่อว่า "ดับลิวดับลิวอาร์" และรอสโทว์เน้นว่าการยับยั้งกองโจรในภาคอิสานของประเทศไทยเป็นเรื่องสำคัญ

    วันที่ 29 กันยายน โงดินห์เดียมประชุมกับเจ้าหน้าที่อเมริกัน ต่อมาเอกอัครรัฐฑูตเฟรเดอริค อี.นอลทิ่ง โทรเลขถึงรัฐบาลว่าโงดินห์เดียมเรียกร้องให้มีการทำสนธิสัญญาร่วมป้องกัน 2 ฝ่าย และว่าเป็นการเรียกร้องอย่างมากมายโดยไม่อธิบายเหตุผลให้ชัดแจ้ง นอกจากว่าหวั่นเกรงความคลี่คลายแห่งสถานการณ์ในลาวและการที่เวียดนามใต้ไม่สามารถป้องกันการแทรกซึมของญวนเหนือได้
    ก่อนโงดินห์เดียมเรียกร้องให้ทำสนธิสัญญา สหรัฐได้แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าจะแทรกแซงในอาเซียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มมากขั้น

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า ตอนต้นเดือนตุลาคม คณะเสนาธิการผลมสนับสนุนให้กำลังพันธมิตรเข้าแทรกแซงเพื่อยึดบางส่วนของลาวไว้ เพื่อป้องกันเวียดนามใต้และประเทศไทย รอสโทว์ก็เสนอให้รีบส่งทหารซีโต้ประมาณ 25,000 คนไปยังเวียดนามเพื่อรักษาพรมแดนด้านลาวและยังมีแผนการส่งทหารอเมริกันไปยังที่ราบสูงภาคกลางของเวียดนามหรือท่าดานังด้วย (แต่อังกฤษและฝรั่งเศสจะไม่ยอมให้องค์การสนธิสัญญาร่วมกันป้องกันแห่งอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต้) ปฏิบัติการในเวียดนามและในลาว)
     
  8. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ฉบับที่ 16

    : รายงานเอกอัครรัฐฑูตสหรัฐ
    วันที่ 16 กันยายน 2503 เอกอัครรัฐฑูตสหรัฐประจำเวียดนามใต้ เอลบริดจ์ เออร์โบรว์ โทรเลขถึงรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ครีสเตียน เอ.เฮอร์เทอร์ ในเรื่องการที่รัฐบาลเวียดนามใต้ถูกคุกคามจากคอมมิวนิสต์ และกลุ่มที่มิใช่คอมมิวนิสต์ในประเทศ โทรเลขฉบับนี้กล่าวว่าการที่เวียดกงเข้ายึดครองชนบทไว้เป็นอันตรายร้ายแรงอย่างยิ่ง นอกจากอันตรายจากการเดินขบวนต่อต้านหรือกระทำรัฐประหารในไซ่ง่อน

    ฉบับที่ 17

    : บันทึกจากรอสโทว์ถึงเคนเนดี้วันที่ 12 เมษายน 2504 วอล์ท ดับลิว.รอสโทว์ (ขณะนั้นเป็นรองผู้ช่วยประธานาธิบดีว่าด้วยกิจการรักษาความมั่นคง) เสนอแผนการปฏิบัติ 9 ข้อต่อประธานาธิบดีเคนเนดี้ รวมทั้งให้รองประธานาธิบดีไปเยือนไซ่ง่อน ให้ยกระดับหน่วยแม็ก และให้หาทางจูงใจให้โงดินห์เดียมกระจายอำนาจการปกครอง

    ฉบับที่ 18

    : โครงการปฏิบัติในเวียดนาม
    วันที่ 8 พฤษภาคม 2504 กองกำลังเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศและกลาโหม สำนักข่าวกรองกลาง สำนักจัดความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักแถลงข่าว และสำนักทำเนียบประธานาธิบดี เสนอโครงการปฏิบัติในเวียดนามต่อประธานาธิบดี
    สำหรับการปฏิบัติในทางจิตวิทยานั้นมีดังนี้
    ช่วยรัฐบาลญวนใต้รีบเร่งแถลงข่าวต่อประชาชนเพื่อให้เข้าใจวิธีปฏิบัติในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์แลให้วางใจรัฐบาลที่จะจัดการกับการคุกคามของคอมมิวนิสต์
    ประสานงานกับกระทรวงกลาโหมญวนใต้ในการรวบรวมและจำแนกเอกสารเกี่ยวกับการแทรกแซงและการก่อการร้ายของคอมมิวนิสต์ โดยการประสานงานกับ ซีไอเอ.และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (ของญวนใต้) ยูซิสจะแจกจ่ายข่าวสารว่าด้วยสถานการณ์อันเสื่อมโทรมในญวนเหนือให้มากยิ่งขึ้น
    พัฒนาการเกษตรทั่วประเทศเพื่อผลดีในทางจิตวิทยา
    ทำการรณรงค์โดยทางเชลยเวียดกงที่จับกุมคุมขังในเวียดนามใต้ ใช้คำให้การของเชลยเวียดกงที่เปลี่ยนใจเข้าข้างรัฐบาล ย้ำให้เห็นข้อผิดพลาดของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเผยแพร่ไปในเขตยึดครองของคอมมิวนิสต์ (ในเวียดนามใต้) และเวียดนามเหนือด้วย เพื่อจูงใจให้คอมมิวนิสต์ละทิ้งพวกตน
    ให้สหรัฐเข้าร่วมงานแสดงสรรพสินค้าในไซ่ง่อนปี 2505 โดยลงทุนอย่างพอเพียงที่จะสร้างความประทับใจ

    สำหรับปฏิบัติการลับนั้น ให้ขยายงานข่าวกรอง สงครามนอกแบบ และกิจกรรมทางการเมืองและจิตวิทยา ริเริ่มการสื่อสารข่าวกรอง เพิ่มเจ้าหน้าที่ ซีไอเอ.และสำนักความมั่นคงกองทัพบก (เอเอสเอ.)
    การปฏิบัติดังกล่าวจะต้องใช้งบประมาณช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอีก 58 ล้านดอลล่าร์ รวมทั้งสิ้นเป็น 192 ล้านดอลล่าร์ สำหรับปีงบประมาณ 2504 เปรียบกับการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2503 รวม 155 ล้านดอลล่าร์
    สำหรับการสื่อสารข่าวกรองนั้นรวมทั้งการขยายโครงการขัดขวางปฏิบัติการสื่อสารของคอมมิวนิสต์ สืบเสาะทิศทางปฏิบ้ติการและวิเคราะห์ระหัสของคอมมิวนิสต์และอื่นๆ

    ฉบับที่ 19

    : บันทึกของคณะเสนาธิการผสม
    วันที่ 10 พฤษภาคม 2504 คณะเสนาธิการผสม มีบันทึกถึงรัฐมนตรีว่าการกลาโหมแม็คนามารา ในเรื่องพันธะของกำลังทหารสหรัฐในเวียดนามใต้ว่า สถานการณ์ในภูมิภาคร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนามใต้อาจลุกเป็นไฟ แต่ในการพิจารณาปัญหานี้ไม่ควรพิจารณาแต่เฉพาะเวียดนาม แต่ต้องพิจารณารวมถึง "ประเทศไทย" ด้วย
    คณะเสนาธิการผสมเห็นว่าจะต้องส่งกำลังรบไปเวียดนามใต้ให้เพียงพอสำหรับสะกัดกั้นเวียดนามเหนือและปฏิบัติการของจีนคอมมิวนิสต์ด้วย (ถ้าจีนแทรกแซง) และให้เพียงพอที่จะปลดเปลื้องกำลังรบของเวียดนามจากที่มั่นส่วนหน้าและที่ตั้งประจำอยู่ เพื่อปฏิบัติตามพันธะอันมีอยู่ต่อซีโต โดยคำนึงว่าสถานการณ์ในลาวเป็นภัยคุกคาม สหรัฐจึงต้องรีบส่งกำลังรบไปเวียดนามใต้

    ฉบับที่ 20
    : สหรัฐอนุมัติการเสริมกำลังญวนใต้วันที่ 11 พฤษภาคม มีบันทึกของแม็คยอร์ช บันดี ที่ปรึกษาประธานาธิบดีในกิจการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ความเห็นชอบในการที่จะป้องกันเวียดนามใต้ รวมทั้งปฏิบัติการทางทหารเฉพาะอย่างยิ่งตามที่ประธานาธิบดีได้อนุมัติในที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2504

    ฉบับที่ 21

    : รองประธานาธิบดีจอห์นสันรายงาน
    วันที่ 23 พฤษภาคม 2504 รองประธานาธิบดีลินดอน บี.จอห์นสัน รายงานเรื่องการเยือนประเทศต่างๆ ในเอเซียอาคเนย์ต่อประธานาธิบดีโดยกล่าวว่า ในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์นั้นจะต้องมีการร่วมมือกัน มิฉะนั้นสหรัฐก็จะต้องเสียแปซิฟิค ทั้งนี้ไม่อาจใช้ซีโตปฏิบัติการอย่างจริงจังได้ (เพราะอังกฤษและฝรั่งเศสไม่เห็นด้วย)
    ประเทศที่มีความสำคัญที่สุดอันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าคือเวียดนามและไทย รัฐบาลสหรัฐจะต้องอำนวยการโดยใกล้ชิดที่สุด ทั้งในทางเศรษฐกิจ ทางทหารและการเมืองจอห์นสันแสดงความเห็นว่าสหรัฐจะต้องช่วยเวียดนามใต้และไทยอย่างสุดความสามารถ หรือไม่ก็ยอมยกธงขาว ถอนกำลังกลับไปซานฟรานซิสโกตามแผนความคิด "ฟอร์เทรสอเมริกา" (ตั้งป้อมป้องกันอเมริกา) จอห์นสันเห็นว่าจะต้องเลือกสรรเจ้าหน้าที่หน่วยแม็คที่มีความสามารถให้ควบคุม วางแผน อำนายการและตรวจสอบผลของโครงการให้ความช่วยเหลือทางทหารและสหรัฐจะต้องก้าวไปในเวียดนามและไทยพร้อมกันจอห์นสันกล่าวถึงประเทศไทยอีกตอนหนึ่งดังนี้

    "ในประเทศไทย คนไทยและหน่วยแม็คประมาณว่าสหรัฐจำเป็นจะต้องให้ความช่วยเหลือ (แก่ไทย) 50 ล้านดอลล่าร์เท่ากับเวียดนาม...ข้าพเจ้าเห็นว่า เราควรให้ความสนับสนุนสฤษดิ์

    (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น)

    เขาสนับสนุนตะวันตกอย่างเข้มแข็งจริงจังกว่าคนไทยเป็นจำนวนมาก เขาจะต้องเป็นกังวลอย่างลึกซึ่งต่อผลอันจะบังเกิดแก่ประเทศไทยเนื่องจากคอมมิวนิสต์ครอบครองลาว ถ้าจะให้สฤษดิ์ยืนหยัดต่อต้านลัทธิเป็นกลาง

    (เพื่อเข้าข้างตะวันตก)

    เขาก็จะต้องมีหลักฐานที่จะแสดงให้คนไทยทราบโดยเร็วว่าสหรัฐให้ความสนับสนุนทางทหารและเศรษฐกิจ เขาเชื่อว่าควรขยายกำลังกองทัพของเขาเป็น 150,000 คน รัฐมนตรีว่าการกลาโหมไทยกำลังเดินทางมาวอชิงตันเพื่อเจรจาขอความช่วยเหลือ"

    ฉบับที่ 22
    : บันทึกของแลนสเดล
    พลจัตวาเอดเวิร์ด จี.แลนสเดล มีบันทึก (ไม่ลงวันที่) ถึงนายพลแม็กสเวลล์ ดี.เทย์เลอร์ เกี่ยวกับสงครามนอกแบบ สำเนาบันทึกนี้ส่งให้คนอื่นๆ ด้วย คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรอสเวลล์ แอล.กิลแพทริค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดีน รัสค์ ผู้อำนายการข่าวกรองกลาง แอลเลน ดับลิว.ดัลเลส และรองผู้อำนายการข่าวกรองกลาง นายพล ซี.พี.เคเบลล์
    บันทึกฉบับนี้กล่าวถึงการจัดตั้ง การปฏิบัติการและการขยายตัวของกองกำลังพิเศษซึ่งใช้สำหรับต่อสู้เวียดกง (ในเวียดนามใต้) และใช้ปฏิบัติในบางส่วนของเวียดนามเหนือและลาว กองกำลังนี้มีชาวญวนเหนือรวมอยู่ด้วย ซีไอเอ.และหน่วยแม็คช่วยฝึกและควบคุม
    ประเทศไทยมีกองกำลังพิเศษของฝ่ายทหารเรียกว่า "รอยัล ไทย อาร์มี เรนเจอร์ แบดตาเลียน (แอร์-บอร์น)" หรือ "กองพันทหารพราน (อากาศ) กองทัพบกไทย" ซึ่งมีภาระในการสู้รบแบบกองโจรในบริเวณที่ข้าศึกเข้ายึดไว้เมื่อมีการรุกรานประเทศไทยโดยเปิดเผย หน้าที่ปัจจุบันคือรักษาการณ์ทำเนียบนายกรัฐมนตรี หน่วยนี้มีกำลังทหาร 580 คน และตั้งฐานทัพอยู่ที่ลพบุรี กองพันนี้อยู่ในบังคับบัญชาของกองพลที่ 1 อย่างหลวมๆ ตามความเป็นจริงเป็นหน่วยอิสระของกองทัพบก ซึ่งผู้บัญชาการ (จอมพลสฤษดิ์) ควบคุมโดยตรง
    กองพันนี้แบ่งเป็นกองร้อยต่างๆ รวมทั้งกองร้อยทหารพราน 4 กองร้อย แต่ละกองร้อยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการในภูมิภาคของตน มีการฝึก วิธีปฏิบัติการในแต่ละพื้นที่เพื่อให้หน่วยทหารคุ้นเคยกับประชาชน เครื่องอำนายความสะดวก และภูมิประเทศของบริเวณนั้นๆ

    ประเทศไทยมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจเรียกว่า "โปริช แอเรียล รีซัพพลาย ยูนิท" เรียกชื่อย่อว่า "ปารู" มีหน้าที่ปฏิบัติการลับในพื้นที่ซึ่งข้าศึกยึดครองอยู่ เจ้าหน้าที่ปารู 99 คนไปช่วยพวกแม้วปฏิบัติการในลาวอย่างลับๆ และอย่างได้ผลดีเด่น หน่วยงานของสหรัฐที่ช่วยเหลือปารูคือ ซีไอเอ. ปารูที่ปฏิบัติการกับกองโจรแม้วในลาวมี 13 หมู่ รวมทั้งสิ้น 99 คน

    นอกจากที่กล่าวแล้ว ประเทศไทยมีกองกำลังตำรวจชายแดนด้วย (4,500 คนในปี 2504) โดยมีหน้าที่ตอบโต้การแทรกซึมบ่อนทำลายในยามสงบ [/B](นอกจากปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของตำรวจ)
    เมื่อมีการรุกรานด้วยอาวุธ ตำรวจชายแดนจะปฏิบัติการกองโจรในเขตที่ข้าศึกยึดครองเพื่อสนับสนุนฝ่ายทหารกำลังตำรวจชายแดนแบ่งเป็น 71 หมวด (ทั้งประจำการและสำรอง) อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและแม้จะเป็นหน่วยงานของตำรวจ แต่ก็ใช้อาวุธของทหารราบ หน่วยแม็คและ ซีไอเอ.ได้ช่วยเหลือลาวในการจัดตั้งและฝึกอบรมกองร้อยคอมมานโด (256 คน) และกองโจรแม้ว (ประมาณ 9,000 คน)

    ฉบับที่ 23

    : โงดินห์เดียมขอร้อง
    วันที่ 1 ตุลาคม 2504 สถานฑูตอเมริกันไซ่ง่อนโทรเลขถึงกระทรวงการต่างประเทศว่า โงดินห์เดียมขอทำสนธิสัญญาสองฝ่ายกับสหรัฐเพื่อการป้องกัน ทั้งนี้หลังจากที่ได้เจรจากับเจ้าหน้าที่อเมริกันแล้ว
    โงดินห์เดียมขอร้องเรื่องนี้เนื่องจากเห็นว่านโยบายของสหรัฐสำหรับลาวจะทำให้เวียดนามใต้ถูกแทรกซึมทางด้านหลัง และจะทำให้ประชาชนเวียดนามใต้แสดงความเป็นศัตรูต่อรัฐบาลอย่างขนานใหญ่ โงดินห์เดียมจึงต้องการหลักประกันที่ดีกว่าซีโต

    ฉบับที่ 24

    : บันทึกว่าด้วยแผนแทรกแซง
    บันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายเอกสารเรื่อง "ความคิดในการแทรกแซงเวียดนาม" ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2504 ผู้เขียนคือ ยู.อเล็กซิส จอห์นสัน รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายการเมือง
    บันทึกนี้กล่าวว่า ไม่สามารถที่จะประมาณได้อย่างถูกต้องว่าคอมมิวนิสต์จะใช้กำลังแทรกแซงมากน้อยเพียงใด จึงคาดว่าจะต้องใช้กำลังสำรองในสหรัฐ 3 หรือ 4 กองพล และกำลังอื่นๆ อีก เพื่อให้มีกำลังทหารสหรัฐ 128,000 คน สำหรับเผชิญกับเวียดนามเหนือและการแทรกแซงของจีนคอมมิวนิสต์ นอกจากอีก 40,000 คน สำหรับต่อสู้กับเวีดยกง ตามที่คณะเสนาธิการผสมประมาณไว้

    ฉบับที่ 25

    : เวียดนามใต้ขอกำลังรบวันที่ 13 ตุลาคม 2504 สถานฑูตสหรัฐในไซ่ง่อนโทรเลขถึงกระทรวงการต่างประเทศว่า เงียนดินห์ทวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเวียดนามใต้ ขอให้สหรัฐช่วยในด้านกำลังรบคือ (1) จัดตั้งกองบินน้อย เอดี-6 แทน ที-28 ด่วน (2) ขอนักบินพลเรือนสำหรับเฮลิคอปเตอร์ และ ซี-47 (3) ขอหน่วยรบ หรือ "หน่วยรบ-ฝึก" ส่วนหนึ่งเพื่อจะส่งไปประจำใกล้เส้นขนานแทนกำลังรบของเวียดนามใต้ (4) ขอทราบปฏิกิริยาของสหรัฐในการที่เวียดนามใต้จะขอให้จีนคณะชาติส่งทหาร 1 กองพลไปช่วยเวียดนามใต้ปฏิบัติการในภาคตะวันตกเฉียงใต้

    ฉบับที่ 26

    : ความเห็นของเทย์เลอร์วันที่ 1 พฤศจิกายน 2504 พลเอกเทย์เลอร์ โทรเลขจากบาเกียว ฟิลิปปินส์ ถึงเคนเนดี้ เกี่ยวกับการส่งทหารสหรัฐไปเวียดนามใต้ว่าควรทำ (แม้มีข้อเสีย) เพื่อเป็นการบำรุงขวัญชาวเวียดนาม และแสดงว่าสหรัฐมีความสนใจภูมิภาค เพื่อปฏิบัติการส่งกำลังบำรุงสนับสนุนปฏิบัติการของฝ่ายทหาร และบรรเทาภัยน้ำท่วม เพื่อเป็นกำลังสำรองกองทัพญวนใต้เมื่อมีวิกฤตการทางทหาร และเพื่อทำหน้าที่เป็นกองกำลังส่วนหน้าเมื่อใช้แผนของกองบัญชาการภาคแปซิฟิคหรือซีโต
    ข้อเสียที่เทย์เลอร์กล่าวถึงคือ
    (1) กำลังสำรองของสหรัฐมีน้อย
    (2) การส่งทหารจะเกี่ยวข้องกับเกียรติภูมิยิ่งขึ้น
    (3) อาจต้องเสริมกำลังโดยไม่จำกัด
    (4) ทำให้ความตึงเครียดเพิ่มขึ้นและต้องเสี่ยงกับการขยายเขตสงคราม
     
  9. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ฉบับที่ 27

    : สรุปสถานการณ์ของเทย์เลอร์
    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2504 เทย์เลอร์โทรเลขถึงเคนเนดี้อีกฉบับหนึ่งว่า คอมมิวนิสต์มีแผนที่จะควบคุมอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการบ่อนทำลายและทำสงครามกองโจร เห็นได้ว่าคอมมิวนิสต์มีเป้าหมายที่จะทำให้อาเซียตะวันออกเฉียงใต้ออกจากการคุ้มครองของสหรัฐเพื่อให้เป็นำลาง แผนนี้กำลังดำเนินไปอย่างเป็นผลสำเร็จในเวียดนามและ "อาเซียตะวันออกเฉียงใต้" มีวิกฤตกาลสองซ้อนเกี่ยวกับความไว้วางใจ คือความสงสัยว่าสหรัฐมุ่งจะช่วยภูมิภาคจริงจังหรือไม่ และสงสัยว่าวิธีการของโงดินหืเดียมจะยังความปราชัยแก่คอมมิวนิสต์ได้หรือไม่
    กลยุทธและการจัดการปกครองของรัฐบาลเวียดนามใต้ล้มเหลว ทำให้ต้องตรึงกำลังในการป้องกันอย่างมากมาย โดยเวียดกงใช้กำลังเพียง 1 ใน 10 ของทหารประจำการของรัฐบาลเวียดนามเพื่อสร้างสถานการณ์อันจะนำไปสู้วิกฤตการณ์ทางการเมือง
    เทย์เลอร์เสนอให้สหรัฐดำเนินการหลายประการ รวมทั้งให้จัดนักปกครองเข้าสอดแทรกในกลไกการปกครองของเวียดนามใต้ และให้ร่วมกับเวียดนามใต้ในการปรับปรุงระบบข่าวกรอง

    ฉบับที่ 28

    : รายงานของเทย์เลอร์
    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2504 เทย์เลอร์ทำรายงานถึงเคนเนดี้เกี่ยวกับการไปตรวจสถานการณ์ในเวียดนามใต้ และเสนอแนะประเภทกิจการที่สหรัฐพึงปฏิบัติร่วมกับเวียดนามใต้ และที่จะต้องตระเตรียมเพื่อเผชิญกับความคลี่คลายของสถานการณ์

    ฉบับที่ 29

    : ความเห็นของแม็คนามาราวันที่ 8 พฤศจิกายน 2504 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามารามีบันทึกถึงประธานาธิบดีเกี่ยวกับรายงานของนายพลเทย์เลอร์ว่า มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าสหรัฐควรผูกพันตนเองโดยแสดงความประสงค์อย่างแจ้งชัดในการช่วงป้องกันเวียดนามใต้หรือไม่ และควรทำตามข้อผูกพันนี้โดยปฏิบัติการทางทหารทันทีและเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติการต่อไปหรือไม่

    แม็คนามารา คณะเสนาธิการผสมและกิลแพทริค (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม) เห็นพ้องกันว่าสหรัฐควรแสดงความประสงค์อย่างชัดแจ้งที่จะป้องกันเวียดนามใต้และปฏิบัติการทางทหารตามความจำเป็นเพื่อทำตามข้อผูกพันนี้

    ฉบับที่ 30

    : รายงานของรัสค์-แม็คนามาราวันที่ 11 พฤศจิกายน 2504 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามารา รายงานเคนเนดี้มีใจความว่า สหรัฐมีพันธะในการป้องกันเวียดนามใต้ตามพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาซีโต ทั้งสหรัฐก็ได้เคยแถลงไว้ในที่ประชุมเจนีวาว่าสหรัฐจะถือว่าการรุกราน (อินโดจีน) ครั้งใหม่...จะเป็นการคุกคามสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และการสูญเสียเวียดนามใต้จะไม่เพียงเป็นการทำลายซีโตเท่านั้น แต่ยังทำลายความเชื่อถืออันมีต่อสหรัฐในที่อื่นๆ ด้วย สหรัฐจึงควรต้องผูกพันตนเองในการป้องกันเวียดนามใต้
    ฝ่ายทหารประมาณว่าถ้ามีการสู้รบอย่างยืดเยื้อและเวียดนามเหนือและจีนคอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซง สหรัฐจะต้องใช้กำลังทหารภาคพท้นดินในการป้องกันภูมิภาคไม่เกิน 6 กองพล หรือ 205,000 คน นอกจากกำลังรบของท้องถิ่นและของซีโต

    ฉบับที่ 31

    : บันทึกของคณะเสนาธิการ
    วันที่ 13 มกราคม 2505 คณะเสนาธิการผสมมีบันทึกถึงแม็คนามารา เตือนให้สหรัฐรีบเร่งดำเนินการทางทหารในเวียดนามใต้ให้มากยิ่งขึ้น ต่อมาในวันที่ 27 มกราคม แม็คนามาราส่งบันทึกนี้ให้เคนเนดี้

    ฉบับที่ 32

    : การวิจัยของฝ่ายต่างประเทศ
    วันที่ 3 ธันวาคม 2504 โรเจอร์ ฮิลส์แมนผู้อำนวยการกองการข่าวกรองและวิจัยของกระทรวงการต่างประเทศ มีบันทึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ โดยกล่าวถึงเวียดนามใต้ว่าโงดินห์เดียมผู้นำเวียดนามใต้และคนอื่นๆ และเจ้าหน้าที่สหรัฐเป็นจำนวนมากมองเหตุการณ์ในแง่ดีเร็วเกินไป โดยเข้าใจผิดว่าเวียดนามใต้ได้เปรียบเวียดกง ความจริงนั้นความเสื่อมทรามแห่งสถานการณ์เพียงแต่ช้าลงเท่านั้น เวียดกงมิได้อ่อนแอลงแต่กลับเข้มแข็งยิ่งขึ้น และรัฐประหารในเวียดนามใต้อาจเกิดขึ้นขณะหนึ่งขณะใดก็ได้ รัฐประหารที่น่าจะกระทำได้เป็นผลสำเร็จก็คือรัฐประหารที่ไม่มีคอมมิวนิสต์เป็นผู้นำและสนับสนุน

    การโค่นล้มโงดินห์เดียม (พฤษภาคม-พฤศจิกายน 2506)

    เอกสารลับเพนตากอนเผยความจริงว่าประธานาธิบดีเคนเนดี้รู้และอนุมัติแผนรัฐประหารโค่นประธานาธิบดีโงดินห์เดียมในปี 2506

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
    "การที่เราสมรู้ร่วมคิดในการโค่นล้มเขา (โงดินห์เดียม) นั้น ทำให้เรามีความรับผิดชอบและมีข้อผูกพัน (ในเวียดนาม)มากขึ้น

    เอกสารนี้กล่าวต่อไปว่า รัฐประหารโค่นล้มโงดินห์เดียมเป็น "สันปันน้ำ" คือเมื่อโงดินห์เดียมหมดอำนาจ สหรัฐก็อาจพิจารณาข้อผูกพันอันมีต่อเวียดนามใต้ใหม่ได้ เพื่อตัดสินใจถอนตัวจากข้อผูกพัน (แต่มิได้ตัดสินใจเช่นนี้)มีเจ้าหน้าที่รัฐบาล 2 คนเป็นอย่างน้อยที่สนับสนุนให้สหรัฐถอนตัว แต่ก็มิได้มีการพิจารณากันอย่างจริงจังว่าจะเลือกใช้นโยบายอย่างใดแทนการเข้าผูกพัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสหรัฐใช้ข้อสันนิษฐานว่าเวียดนามใต้ที่เป็นเอกราชและมิใช่คอมมิวนิสต์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแผนยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อปรากฎว่าหลังจากรัฐประหารและการสู้รบกับเวียดกงรุนแรงยิ่งขึ้นเป็นอันมาก สหรัฐก็จำต้องช่วยเหลือเวียดนามใต้มากยิ่งขึ้น

    รัฐบาลสหรัฐมิได้เริ่มก่อรัฐประหาร ทหารอเมริกันมิได้แทรกแซง (รัฐประหาร) ทั้งมิได้ป้องกันการสังหารชีวิตโงดินห์เดียมและโงดินห์นูห์ (น้องโงดินห์เดียม เป็นที่ปรึกษาทางการเมืองของโงดินห์เดียมและมีอิทธิพลอย่างมากมาย) แต่ก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร คณะฑูตอเมริกันในไซ่ง่อนก็ได้ติดต่อกับนายพลญวนใต้บางคนผู้วางแผนอย่างลับๆ เป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดยมีเจ้าหน้าที่คนสำคัญของ ซีไอเอ.เป็นสื่อกลาง และในระหว่างนี้ก็ได้รายงานให้ประธานาธิบดีอเมริกันทราบทุกระยะ

    เจ้าหน้าที่ ซีไอเอ.ผู้นี้คือพันโทลูเซียน โคไนท์ ซึ่งเป็นทหารผ่านศึกอินโดจีน (โคไนท์กระโดดร่มลงในเวียดนามใต้ในปี 2487) และเป็นผู้ที่นายพลญวนใต้เชื่อถือมากจนถึงกับยอมให้สังเกตุการณ์อยู่ที่กองบัญชาการของฝ่ายเสนาธิการญวนใต้ขณะที่ทำรัฐประหาร

    ซีไอเอ.ปฏิบัติการร่วมกับนายพลญวนผู้วางแผนโค่นล้มโงดินห์เดียมอย่างใกล้ชิด ด้วยการแจ้งข่าวกรองที่มีความสำคัญอย่างมาก คือเรื่องเกี่ยวกับอาวุธและที่ตั้งกำลังของฝ่ายสนับสนุนโงดินห์เดียมให้นายพลญวนผู้วางแผนทราบ การปฏิบัติดังกล่าวนี้กระทำภายหลังที่เฮนรี แคบ๊อท ลอด์จ (เอกอัครราชฑูตอเมริกันประจำญวนใต้) ได้มอบอำนาจให้ซีไอเอ.เข้าร่วมวางแผนรัฐประหารแล้ว
    ยิ่งกว่านี้ ลอดจ์เองก็ยังเสนอให้ครอบครัวของนายพลญวนผู้วางแผนเข้าลี้ภัย (ในเขตสถานฑูตอเมริกัน) ได้ถ้ารัฐประหารล้มเหลวลง ทั้งนี้โดยได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอเมริกัน ลอดจ์ยังขออำนาจจากรัฐบาลที่จะจ่ายสินบนให้นายทหารที่ซื่อตรงจงรักต่อโงดินห์เดียมด้วย


    การวางแผนโค่นล้มโงดินห์เดียมเป็นความกลัวที่สิงสู่เคนเนดี้อยู่จนถึงนาทีสุดท้ายแห่งรัฐประหาร เพราะเคนเนดี้ได้รับคำแนะนำที่ขัดแย้งกันระหว่างลอดจ์และพลเอกปอล ดี.ฮาร์คีนส์ ผู้บัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารในไซ่ง่อน
    ตอนปลายเดือนสิงหาคม เคนเนดี้มีสารถึงลอดจ์ว่า "ข้าพเจ้าทราบจากประสบการณ์ว่า ความล้มเหลวนั้นมีผลเป็นการทำลายยิ่งกว่าที่จะไม่ตัดสินใจกระทำการเสียเลย .....เมื่อลงมือ จึงต้องพยายามให้ชนะ เราเปลี่ยนใจ (ไม่ทำ) ดีกว่าที่จะทำแต่ล้มเหลว

    วันที่ 30 สิงหาคม เคนเนดี้โทรเลขถึงลอดจ์ว่า
    "เราจะทำทุกอย่างเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อช่วยให้ท่านปฏิบัติการอย่างเป็นผลสำเร็จ"

    เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยความจริงซึ่งตรงกันข้ามกับเรื่องที่ลอดจ์ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2507 โดยลอดจ์ปฏิเสธว่าสหรัฐเกี่ยวข้องกับรัฐประหารโค่นล้มโงดินห์เดียม
    ข้อความตอนนี้กล่าวว่า

    "สหรัฐจะต้องร่วมรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการรัฐประหารต่อต้านโงดินห์เดียม เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2506 เราได้มอบอำนาจยินยอมให้ใช้อำนาจและสนับสนุนความพยายามของนายพลญวนที่จะก่อรัฐประหาร และให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่แก่รัฐบาลซึ่งเข้าปฏิบัติหน้าที่สืบต่อจากโงดินห์เดียม เป็นการเปิดทางให้นายพลทำการรัฐประหาร เราทำการติดต่อกับนายพลเหล่านี้อย่างลับๆ ตั้งแต่มีการวางแผนจนกระทั่งทำรัฐประหาร ทั้งยังขอเข้าตรวจสอบแผนการปฏิบัติและเสนอให้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ด้วย"

    เอกสารลับเพนตากอนชี้ให้เห็นว่า มีความบาดหมางกันอย่างรุนแรงในวงการรัฐบาลอเมริกันเองเกี่ยวกับการรัฐประหารโงดินห์เดียม ในไซ่ง่อน ผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กันอย่างสำคัญคือลอดจ์และนายพลฮาร์คินส์ ในขณะที่ลอดจ์เข้าเป็นฝ่ายวางแผนล้มล้างโงดินห์เดียมนั้น ฮาร์คีนส์ได้แสดงความเคียดแค้นเพราะเห็นว่าเป็นการกระทำอันน่าละอาย ฮาร์คินส์โทรเลขถึงเทย์เลอร์ (พลเอกแม็กสเวลล์ ดี.เทย์เลอร์ ประธานคณะเสนาธิการผสม)

    เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมว่า "ข้าพเจ้าเห็นว่าเราไม่ควรพยายามเปลี่ยนม้าเร็วเกินไป ไม่ว่าจะผิดหรือจะถูก เราก็ได้สนับสนุนเดียมมาแล้วในช่วงเวลาอันยากลำบากถึง 8 ปี...สหรัฐทำตัวเป็นพ่อแม่มาตั้งแต่เขาเริ่มเข้ารับตำแหน่ง..."

    ความขัดแย้งกันในระหว่างคนทั้งสองนี้เกิดขึ้นในประเด็นสำคัญๆ เกือบทุกประเด็น และทำให้เจ้าหน้าที่ในระดับสูงสุดของรัฐบาลในวอชิงตันพลอยขัดแย้งกันด้วยอย่างรุนแรง จนทำให้รัฐบาลเกือบเป็นอัมพาตเมื่อถึงคราวที่จะต้องตัดสินใจอย่างเด็ด มีอยู่ตอนหนึ่งที่ลอดจ์และฮาร์คีนส์ถึงกับส่งข่าวสารที่ขัดแย้งกันไปให้นายพลญวนผู้วางแผน ต่อมาลอดจ์ได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างปกปิดจนอาร์คีนส์ทักท้วงไปทางวอชิงตันว่า เขาไม่ทราบความเป็นไปเกี่ยวกับเรื่องนี้
    อย่างไรก็ดี ลอดจ์ไม่ยอมเปลี่ยนท่าที แต่ได้ใช้อภิสิทธิ์และอำนาจหน้าที่ในฐานะเอกอัครราชฑูตดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป รวมทั้งในทางที่เป็นอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลอเมริกัน

    ความผุพังทางการเมือง

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวถึงความเหลวแหลกทางการเมืองในเวียดนามใต้ ตั้งแต่ต้นจนถึงเมื่อชาวพุทธเดินขบวนต่อต้านรัฐบาล (พฤษภาคม 2506) ว่า เวียดนามใต้มีบรรยากาศแห่งความสงสัยซึ่งกันและกัน มีความไม่พอใจระบบเห็นแก่พวกพ้องอย่างแผ่สร้านแต่แอบแฝง มีการทุจริตในวงการรัฐบาล และมีความร้าวฉานซึ่งถูกปรามไว้ในกองทัพบก

    วันที่ 14 มกราคม 2506 เคนเนดี้กล่าวไว้ในคำปราศรัยแสดงภาวะแห่งสหภาพ (ชี้แจงนโยบายต่อรัฐสภา) เกี่ยวกับเวียดนามตอนหนึ่งว่า

    "ปลายหอกแห่งการรุกรานได้ถูกทำให้ทื่อแล้ว"

    ขณะเดียวกัน พลเรือเอกแฮร์รี่ ดี.เฟลท์ ผู้บัญชาการทัพภาคแปซิฟิคก็พยากรณ์ว่า (ญวนใต้) จะชนะใน 3 ปีแม้ว่าความเห็นข้างต้นจะเป็นของผู้ที่อยู่ในระดับกำหนดนโยบายก็ตาม แต่สถานการณ์ที่เป็นจริงมิได้แจ่มใสถึงขนาดนั้น รายงานข่าวกรองเมื่อวันที่ 17 เมษายนกล่าวว่า อาจยับยั้งเวียดกงไว้ได้ในทางทหาร ถ้าเวียดกงมิได้รับความช่วยเหลือจากภายนอกเพิ่มขึ้น รายงานนี้กล่าวเสริมว่ายังไม่มีหลักญานเพียงพอที่จะลงความเห็นได้ว่า ความพยายามในการสู้รบของฝ่ายพันธมิตรได้ทำให้ข้าศึกได้รับความสูญเวียอย่างสำคัญ จึงเห็นได้ว่าสถานการณ์ยังเต็มไปด้วยอันตราย

    เนื่องจากเจ้าหน้าที่กองทัพบกเคยวางแผนสังหารโงดินห์เดียมแล้ว 2 ครั้ง (พฤศจิกายน 2503 และกุมภาพันธ์ 2506) โงดินห์เดียมจึงไม่วางใจกองทัพบกและได้ทำการสับเปลี่ยนโยกย้ายผู้บัญชาการทหารทั้งในส่วนกลางและในส่วยภูมิภาค ทั้งยังปลดนายทหารบางคนจากตำแหน่งบัญชาการ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจขึ้นในกองทัพ ในทางการเมือง โงดินห์เดียมก็เหินoงกับชาวนาและใช้วิธีควบคุมกวดขันเกินสมควร ทำให้ชนชั้นกลางขุ่นเคือง ส่วนการปฏิรูปทางเศรษฐกิจก็ไม่ประสบผลสำเร็จรัฐบาลอเมริกันได้แนะนำให้โงดินห์เดียมแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเพื่อที่จะได้รับการสนับสนุนจากผู้อยู่ใต้การปกครองมากยิ่งขึ้น แต่โงดินห์เดียมก็ไม่ยอมทำตาม

    ในตอนต้นปี 2506 สหรัฐมีเรื่องขัดแย้งกับโงดินห์เดียมมากยิ่งขึ้น เมื่อโงดินห์เดียมร้องทุกข์ว่าพวกสอดแนมอเมริก้นเที่ยวได้ขวักไขว่อยู่ในประเทศของเขามากเกินไป

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "ในขณะที่ข้อผูกพันและการเกี่ยวข้องของสหรัฐแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น การกระทบกระทั่งกันระหว่างที่ปรึกษาอเมริกันและที่ปรึกษาญวนก็มีมากขึ้นทุกระดับ โงดินห์เดียมซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของโงดินห์นู ได้ร้องทุกข็ถึงเรื่องจำนวนและความร้อนรนวุ่นวายของที่ปรึกษาอเมริกัน (มีมากเกินไปและยุ่งมากเกินไป) โงดินห์เดียมกล่าวว่า ที่ปรึกษาเหล่านี้ได้สร้างความประทับใจแบบลัทธิอาณานิคมแก่ประชาชน
    แม้ว่าจะมีการกระทบกระทั่งกันดังกล่าว เคนเนดี้ก็พอใจที่จะดำเนินนโยบายต่อไปเช่นเดิม จนมีคำเปรียบเปรยว่า

    "จมน้ำหรือว่ายน้ำก็ไปกับโงดินห์เดียม"

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2506 ทหารรัฐบาลยิงชาวพุทธที่แบกป้ายต่อต้านกฤษฏีกาของรัฐบาลในเมืองเว้ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 คนและบาดเจ็บ 14 คน รัฐบาลแถลงว่า เวียดกยุยงให้เกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ ชาวพุทธเรียกร้องให้รัฐบาลยอมรับผิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่ครอบครัวผู้ตาย โงดินห์เดียมไม่ยินยอมแต่ขอประนีประนอมด้วยอย่างเสียไม่ได้ ทำให้มีการประจัญหน้ากันอย่างรุนแรงต่อมาหลายครั้งชาวพุทธได้เดินขบวนต่อต้าน และภิกษุก็เผาตัวถึงแก่มรณภาพ ตำรวจปราบด้วยตะบองและจับไปขัง นางนู (น้องสะไภ้ของโงดินห์เดียม) กล่าวหยามน้ำหน้าภิกษุซึ่งกระทำอัตวินิบาตกรรมด้วยการเผาตัวว่าเป็น "หมูหัน" ทำให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลโงดินห์เดียมโกรธเคืองและทำให้ต่างประเทศตกอกตกใจ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกันนั้น ประชาชนตำหนิรัฐบาลอย่างรุนแรงในการที่ดำเนินนโยบายสนับสนุนโงดินห์เดียมเหตุการณ์ข้างต้นเกิดขึ้นในระหว่างเอกอัครราชฑูตนอลติงดำรงตำแหน่งอยู่ในไซ่ง่อน นอลติงได้พยายามกระตุ้นเดือนโงดินห์เดียมให้ใช้วิธีผ่อนปรนกับชาวพุทธแต่ก็ไม่ได้รับผลสำเร็จ จนกระทั่งเคนเนดี้ตกลงใจแต่งตั้งลอดจ์ให้ดำรงตำแหน่งแทนนอล
     
  10. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    สหรัฐถูกตบหน้า

    วันที่ 14 สิงหาคม ก่อนนอลติงเดินทางจากไซ่ง่อน เขาได้รับคำมั่นสัฐฐาจากโงดินห์เดียมว่าจะผ่อนปรนกับชาวพุทธ โงดินห์เดียมให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ในวันที่ 15 สิงหาคม โดยยืนยันเรื่องนี้ แต่ต่อมาอีกเพียง 6 วันก็เกิดเหตุร้ายขึ้นอีก
    ทหารกองกำลังพิเศษของเวียดนามใต้ได้เข้าโจมตีวัดพุทธทั่วประเทศในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 21 สิงหาคม และได้จับกุมและเฆี่ยนตีชาวพุทธกว่า 1,400 คน ส่วนมากเป็นภิกษุ วงการในวอชิงตันถึงกับตะลึงไปเมื่อได้ทราบเรื่องนี้

    เอกสารลับเพนตากอนวิเคราะห์เหตุการณ์ตอนนี้ว่า เป็นการกระทำอันโหดoมและเป็นการแสดงอาสัตย์ต่อคำมั่นสัญญาที่โงดินห์เดียมให้ไว้ต่อนอลติง สำหรับสหรัฐนั้น นับว่าเป็น

    "การตบหน้าเอาจริงๆ อย่างไร้ความอาย"

    การโจมตีวัดพุทธครั้งนี้ทำให้เจ้าหน้าที่อเมริกันเจ็บแสบเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นปฏิบัติการของกองกำลังพิเศษซึ่งซีไอเอ.สนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการสู้รบอย่างลับๆ แต่กองกำลังพิเศษนี้กลับทำหน้าที่เป็นกองทัพส่วนตัวของโงดินห์นู ผู้มีอิทธิพลเหนือโงดินห์เดียมดังกล่าวแล้ว โงดินห์นูผู้นี้เองที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการประหัตประหารชาวพุทธ

    ระหว่างการประหัตประหารครั้งนี้ โงดินห์นูไม่เพียงพยายามปกปิดความจริงมิให้สถานฑูตสหรัฐรู้เหตุการณ์ด่วยวิธีตัดสายโทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังหลอกสถานฑูตให้เข้าใจผิดด้วย เนื่องด้วยในวันที่ 20 สิงหาคม (ก่อนการโจมตีวัดพุทธวันหนึ่ง) กองทัพบกได้ประกาศใช้กฏอัยการศึกและทหารบุกเข้าดจมตีวัดพุทธ บางคนก็แต่งเครื่องแบบพลร่มในตอนแรก สถานฑูตอเมริกาจึงรายงานให้รัฐบาลทราบว่าเป็นการกระทำของกองทัพบก แต่ความจริงนั้นโงดินห์นูเป็นผู้สั่งการโจมตีโดยพลการ ไม่ปรากฎว่าโงดินห์เดียมรู้เห็นเป็นใจด้วยหรือไม่

    การโจมตีวัดพุทธทำให้เจ้าหน้าที่ชั้นสูงของญวนไม่พอใจถึงกับเรียกร้องให้โงดินห์นูและภริยาออกไป เงียนดินห์ทวนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเตือนสหรัฐว่าจะทำนิ่งเฉยในเรื่องนี้ไม่ได้ และวูวันเมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ลาออกจากตำแหน่งเพื่อประท้วง

    ลอดจ์เดินทางไปถึงไซ่ง่อนในวันที่ 22 สิงหาคม และได้รายงานการหยั่งทีท่าในการรัฐประหารให้กระทรวงการต่างประเทศทราบในเวลาไม่ถึง 48 ชั่วโมง
    วันที่ 24 สิงหาคม ลอดจ์ได้รับคำตอบตากกระทรวงการต่างประเทศซึ่งแสดงเป็นครั้งแรกว่า รัฐบาลอเมริกันสนับสนุนการรัฐประหาร

    โทรเลขของกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า สหรัฐไม่สามารถทนดูบทบาทของโงดินห์นูและภริยาได้ต่อไป แต่จะให้โอกาสโงดินห์เดียมปลดคนทั้งสอง มิฉะนั้นก็จะไม่สนับสนุนโงดินห์เดียมต่อไปอีก และให้ลอดจ์แจ้งให้ผู้บัญชาการทหารที่เกี่ยวข้องทราบว่า รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่กลไกของรัฐบาลกลางซึ่งหยุดชะงักลง

    ลางตายของโงดินห์เดียม

    การวิเคราะห์สถานการณ์ในเวลาต่อมาชี้ให้เห็นว่า ความไม่พอใจในระบอบการปกครองของโงดินห์เดียมและโงดินห์นูใกล้จะถึงจุดเดือด และการวางแผนโค่นล้มรัฐบาลก็ดำเนินไปอย่างเป็นงานเป็นการ หลังจากที่เนือยลงแล้วและกลับรื้อฟื้นขึ้นใหม่

    วันที่ 2 ตุลาคม โคไนท์ได้พบกับพลตรีตรัน วันดอน เสนาธิการทหารเวียดนามใต้และเป็นผู้วางแผนคนหนึ่ง ในนาตรัง โคไนท์ได้รับแจ้งว่าพลเอกดวง วันมินห์ (หัวหน้าผู้วางแผน) ต้องการจะปรึกษาในรายละเอียด ลอดจ์อนุมัติให้โคไนท์ปรึกษากับดวง วันมินห์

    วันที่ 5 ตุลาคม ภิกษุญวนรูปหนึ่งเผาตัวตายในตลาดไซ่ง่อน ดวง วันมินห์บอกโคไนท์ว่าผู้บัญชาการทัพญวนเห็นว่าถ้าไม่เปลี่ยนรัฐบาลโดยเร็วก็จะแพ้สงคราม ฝ่ายรัฐประหารญวนไม่ต้องการความสนับสนุนของอเมริกัน แต่ต้องการคำรับรองว่าอเมริกันจะไม่ขัดขวาง
    ดวง วันมินห์เผยกลวิธีให้โคไนท์ทราบหลายประการ กลวิธีสำคัญประการหนึ่งคือสังหารชีวิตพี่น้องของโงดินห์เดียม 2 คน (โงดินห์นูและโงดินห์แคน) ซึ่งมีอิทธิพลอยู่ในขณะนั้น แต่ไว้ชีวิตโงดินห์เดียมหรือมิฉะนั้นก็ใช้กำลังทหารบุกยึดไซ่ง่อน ประการหลังนี้จะต้องสู้รบกับทหาร 5,500 คนที่จงรักภักดีต่อโงดินห์เดียม

    วันที่ 5 ตุลาคม ประธานาธิบดีสั่งลอดจ์ (เพราะผ่านซีไอเอ.เพราะเป็นความลับที่ต้องปกปิดอย่างกวดขัน) ว่า มิให้ริเริ่มปฏิบัติการส่งเสริมสนับสนุนรัฐประหาร แต่ให้

    "พยายามโดยรีบด่วนและอย่างลับๆ ...ที่จะทำความรู้จักและติดต่อกับผู้นำใหม่..." นัยแห่งคำสั่งนี้หมายความว่าให้ลอดจ์ "แต่ผู้เดียว"

    เตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์อันเกิดจากรัฐประหาร แต่มิใช่วิ่งเต้นส่งเสริมให้ทำรัฐประหารเสียเอง เป็นที่เข้าใจว่า รัฐบาลอเมริกันสั่งการเรื่องนี้ก่อนได้รับรายงานเรื่องการติตด่อระหว่างมินห์กับโคไนท์

    วันที่ 6 ตุลาคม รัฐบาลวอชิงตันได้สั่งการไปยังลอดจ์แปลความหมายในคำสั่งว่า สหรัฐต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (ของญวนใต้) คำสั่งนี้กล่าวว่า สหรัฐไม่ต้องการที่จะให้ "กระตุ้นเตือน" ให้ทำรัฐประหาร แต่ก็ไม่ต้องการที่จะทำให้รู้สึกว่าสหรัฐจะขัดขวางการเปลี่ยนรัฐบาล ทั้งไม่ต้องการที่จะให้รู้สึกด้วยว่าสหรัฐจะยับยั้งการให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลใหม่
    คำสั่งของรัฐบาลสหรัฐมีเงื่อนแง่ จนทำให้เป็นการยากที่จะแปลความหมายในทางปฏิบัติ จะเห็นได้จากการที่ฮาร์คินส์ (ผู้บัญชาการทหารสหรัฐในเวียดนามใต้) แย้งว่าลอดจ์แปลความหมายของคำสั่งไม่ถูกต้อง
    รัฐบาลวอชิงตันยังสั่งให้ซีไอเอ.ประมวลข่าวสารรายงานให้ทราบเป็นรายละเอียดด้วย เพื่อรัฐบาลจะได้ประเมินโอกาสในการวางแผนรัฐประหาร แต่ขณะเดียวกันก็เตือนซีไอเอ.ให้ระมัดระวังเพื่อมิให้ "ถูกลากจูงให้เข้าร่วมพิจารณา ทบทวนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแผนปฏิบัติหรือกระทำอื่นๆ ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นในที่สุดว่า สหรัฐโน้มน้อมที่จะเข้าเป็นฝ่ายรัฐประหารอย่างใกล้ชิดจนเกินไป "

    ซีไอเอ.ได้แจ้งท่าทีของรัฐบาลให้มินห์ทราบราววันที่ 10 ตุลาคม วันที่ 18 ตุลาคม ฮาร์คินส์แจ้งให้โงดินห์เดียมทราบว่าสหรัฐกำลังจะตัดความช่วยเหลือในการจัดตั้งกองกำลังพิเศษ ซึ่งทำให้ผู้คบคิดมีแก่ใจที่จะรีบเร่งกระทำการ
    วันที่ 23 ตุลาคม นายพลดอน บอกโคไนท์ว่า กำหนดจะกระทำรัฐประหารวันที่ 26 ตุลาคม แต่ต้องเลื่อนไปเพราะฮาร์คินส์ทักท้วง ต่อมาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ลอดจ์ได้รับแจ้งว่าจะมีรัฐประหารในวันที่ 2 พฤศจิกายน ความขัดแย้งกันดังกล่าวทำให้รัฐบาลสหรัฐลังเลจนถึงแม็คโคน (ผู้อำนายการซีไอเอ.) และแม็คยอร์ช บันดี (ผู้ช่วยประธานาธิบดีในกิจการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ) ตั้งข้อสังเกตว่านายพลดอน อาจตีสองหน้าเพื่อวางกับดักสหรัฐ และบันดีเสนอให้ตั้งสายลับคนใหม่เพื่อปฏิบัติการแทนโคไนท์ อย่างไรก็ดี หลังจากที่ได้รับคำชี้แจงจากลอดจ์แล้ว รัฐบาลก็ยืนยันนโยบายเดิมโดยกล่าวว่า สหรัฐไม่ควรขัดขวางรัฐประหาร

    บรรยากาศในไซ่ง่อนตึงเครียดและสับสน และมีกลุ่มผู้วางแผนล้มล้างรัฐบาลหลายกลุ่ม เอกสารลับเพนตากอนกล่าวถึงความคลี่คลายของสถานการณ์ตอนนี้ว่า ไม่สามารถที่จะสืบรู้ได้ว่ามีแผนโค่นล้มรัฐบาลกี่แผน สถานฑูตสหรัฐรายงานให้รัฐบาลทราบว่า นอกจากกลุ่มนายพลดังกล่าวแล้วยังมีกลุ่มวางแผนอื่นๆ อีก 10 กลุ่ม แม้สถานการณ์จะหมิ่นเหม่ต่อดันตรายเช่นนี้ โงดินห์เดียมก็ยังดึงดันอยู่ต่อไป จะเห็นได้จากรายงานของลอดจ์ซึ่งกล่าวถึงการพบปะระหว่างเขากับโงดินห์เดียมว่า เมื่อลอดจ์ขอให้ปล่อยชาวพุทธและนักศึกษาที่รัฐบาลคุมขังไว้และขอให้เปิดสถานศึกษาซึ่งถูกสั่งปิด โงดินห์เดียมก็อ้างเหตุผลต่างๆ เป็นข้อแก้ตัวและกลับร้องทุกข์เมื่อลอดจ์ทักท้วงว่าโงดินห์เดียมไม่ยอมรับคำแนะนำของเขาเลยสักประการเดียว และคาดคั้นถามว่าโงดินห์เดียมไม่สามารถที่จะทำตามคำแนะนำของฝ่ายสหรัฐแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใดเช่นนั้นหรือ โงดินห์เดียมก็เปลี่ยนเรื่องพูด

    ในวันต่อมา พลตรีตรัน วันดอน (ผู้วางแผน) ถามลอดจ์ว่าโคไนท์ได้รับมอบอำนาจให้พูดแทนลอดจ์จริงหรือไม่ ลอดจ์ยืนยันว่าเป็นความจริง เมื่อลอดจ์ถามถึงกำหนดวันรัฐประหาร ตรัน วันดอน ตอบว่ายังไม่พร้อม
    ผู้วิเคราะห์สถานการณ์ของเพนตากอนกล่าวว่า เมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงวันที่ 29 ตุลาคม ลอดจ์ก็รู้สึกว่าสหรัฐได้ผูกพันตัวเองกับการรัฐประหารแล้วอย่างถอนตัวไม่ขึ้น และเป็นการสายเกินไปที่จะเปลี่ยนใจได้อีก จึงได้รายงานไปยังรัฐบาลว่าจะมีการรัฐประหารในวันพรุ่งนี้ และไม่ว่าการรัฐประหารจะเป็นผลสำเร็จหรือล้มเหลว รัฐบาลสหรัฐก็จะต้องเตรียมตัวยอมรับคำตำหนิ เพราะถึงอย่างไรรัฐบาลก็ไม่มีทางที่จะป้องกันมิให้เกิดการรัฐประหารได้

    ขณะที่มีการเคลื่อนย้ายกำลังทหารญวนใต้เพื่อเตรียมทำรัฐประหาร ศูนย์การทหารสหรัฐก็ออกคำสั่งให้กองกำลังนาวีกองหนึ่งคอยทีอยู่นอกฝั่งเวียดนามเพื่อปฏิบัติการ

    "หากเหตุการณ์ทำให้เกิดความจำเป็น"

    อย่างไรก็ดี รัฐบาลสหรัฐก็ยังลังเลใจอยู่อีก เนื่องจากฮาร์คินส์ซึ่งมีความขัดแย้งกับลอดจ์ในการแปลความหมายในคำสั่งของรัฐบาล ได้แสดงความเห็นทักท้วงไปยังพลเอกเทย์เลอร์ (ประธานเสนาธิการผสม) แต่ลอดจ์ก็ยืนยันต่อรัฐบาลว่าการรัฐประหารจะเป็นผลสำเร็จ จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่สหรัฐจะเข้าขัดขวางไว้ ในเมื่อได้มีข้อผู้พันกับนายพลญวนผู้วางแผนแล้ว
    ในที่สุดก็เกิดการรัฐประหารในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2506
    ในตอนเช้าวันนั้น ลอดจ์และพลเรือเอกแฮร์รี่ ดี.เฟลท์ (ผู้บัญชาการกองทัพภาคแปซิฟิค) เข้าพบโงดินห์เดียม เวลาเที่ยงเผลท์เดินทางไปท่าอากาศยานโดยไม่ทราบว่าจะเกิดการรัฐประหาร
    เวลา 13.30 น. กำลังของฝ่ายรัฐประหารยึดสถานีตำรวจ สถานีวิทยุ ท่าอากาศยานและที่ทำการอื่นๆ แล้วก็เริ่มโจมตีทำเนียบประธานาธิบดี และที่ตั้งกองกำลังพิเศษ ภายในเวลาเพียง 3 ชั่วโมง กำลังของฝ่ายรัฐบาลเว้นแต่ที่ทำเนียบประธานาธิบดีก็ถูกบดขยี้แตกพ่ายไปหมด คณะรัฐประหารกระจายเสียงบงการให้พี่น้องสกุล "โง" ลาออก โงดินห์เดียมตอบคำบงการด้วยการขอร้องให้คณะรัฐประหารไปพบที่ทำเนียบเพื่อหารือกัน แต่คณะรัฐประหารไม่ยินยอมเพราะเชื่อว่าเป็นกลอุบายที่โงดินห์เดียมเคยใช้เพื่อประวิงเวลาจนกว่าทหารที่จงรักภักดีต่อเขาจะเดินทางไปถึงจากนอกเมือง

    ขณะที่กำลังคับขัน โงดินห์เดียมนึกถึงลอดจ์จึงได้โทรศัพท์สอบถามไป สถานฑูตได้บันทึกเสียงการสนทนาของคนทั้งสองไว้ดังต่อไปนี้

    เดียม : ทหารบางหน่วยเป็นกบฏ ข้าพเข้าอยากรู้ว่าสหรัฐมีท่าทีอย่างไร
    ลอดจ์ : ข้าพเจ้าไม่ทราบเรื่องดีพอที่จะบอกท่านได้ ข้าพเจ้าได้ยินเสียงปืน แต่ก็ไม่ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด ทั้งขณะนี้ก็เป็นเวลา 4.30 น. (ก่อนสว่าง) ในวอชิงตัน จึงคงจะขอทราบความเห็นจากรัฐบาลสหรัฐไม่ได้
    เดียม : แต่ท่านควรจะให้ความคิดเห็นทั่วๆ ไปได้ ทั้งข้าพเจ้าก็เป็นประมุขของรัฐ ข้าพเจ้าพยายามที่จะทำหน้าที่ ข้าพเจ้าต้องการที่จะทำทุกอย่างตามที่หน้าที่และความสำนึกเรียกร้องต้องการ ยึดมั่นในหน้าที่ยิ่งกว่าอื่นใด
    ลอดจ์ : ท่านได้ทำหน้าที่ของท่านแล้วอย่างแน่นอน ข้าพเจ้าได้บอกท่านในตอนเช้านี้เองว่า ข้าพเจ้านิยมชมชอบในความกล้าหาญ และการที่ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่อันยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติของท่าน ไม่มีผู้ใดจะช่วงชิงเกียรติประวัติของท่านไปได้ ขณะนี้ข้าพเจ้าเป็นกังวลในความปลอดภัยของท่าน ข้าพเจ้าได้ทราบว่าผู้ที่ทำการอยู่ในขณะนี้ได้เสนอที่จะให้ท่านและน้องของท่านเดินทางไปจากประเทศโดยปลอดภัย ท่านทราบเรื่องนี้หรือยัง
    เดียม : ไม่ทราบ (หยุดประเดี๋ยวหนึ่ง) ท่านทราบเลขหมายโทรศัพท์ของข้าพเข้าแล้วใช่ไหม ?

    ลอดจ์ : ทราบแล้ว ถ้าข้าพเจ้าจะทำอะไรเพื่อความปลอดภัยของท่านได้ก็โปรดบอกด้วย

    เดียม : ข้าพเจ้ากำลังพยายามทำให้เหตุการณ์สงบเรียบร้อยดังเดิม

    โอกาสที่โงดินห์เดียมจะสถาปนาความสงบเรียบร้อยขึ้นใหม่นั้นไม่มี ในขณะที่การต่อเพื่อโจมตีและป้องกันทำเนียบดำเนินไป โงดินห์เดียมและโงดินห์นูก็หนีตามช่องทางลับไปซ่อนตัวอยุ่ที่โชลอนซึ่งเป็นถิ่นชาวจีนในไซ่ง่อน ก่อนรุ่งอรุณฝ่ายรัฐประหารก็ยึดทำเนียบได้

    เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยว่า ตลอดคืนวันนั้นโงดินห์เดียมได้ติดต่อกันายพลผู้ก่อการรัฐประหารทางโทรศัพท์ ฝ่ายรัฐประหารเรียกร้องให้โงดินห์เดียมยอมจำนน โดยสัญญาที่จะจัดการให้ตัวเขาเดินทางไปยังท่าอากาศยานเพื่อออกจากประเทศไปโดยปลอดภัย โงดินห์เดียมยอมตกลงเมื่อเวลา 6.20 น.แต่ไม่ได้แจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบว่าเขาอยู่ที่ไหน

    เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยต่อไปว่า หน่วยยานเกราะอันมีศัตรูของโงดินห์เดียมคนหนึ่งเป็นผู้นำ ได้จับตัวโงดินห์เดียมและน้องชายของเขาได้ และได้คุมตัวคนทั้งสองไปยังกองบัญชาการเสนาธิการผสม แต่ได้ยิงคนทั้งสองตายระหว่างที่นำตัวไปในรถเกราะคันหนึ่ง

    รัฐบาลอเมริกันได้ประวิงเวลาการรับรองรัฐบาลใหม่ไว้ เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศรัสค์เห็นว่า วิธีนี้จะทำให้ความเข้าใจว่าคบคิดกับฝ่ายรัฐประหารลดน้อยลง และจะทำให้ความรู้สึกที่ว่านายพลผู้ก่อรัฐประหารเป็นสมุนของสหรัฐลดน้อยลงด้วย

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า รัฐบาลเคนเนดี้ตกใจมากเมื่อได้ทราบว่าผู้นำทั้งสองถูกสังหารชีวิต แต่ก็กล่าวว่า

    "ไม่เต็มใจที่จะเข้าแทรกแซงแทนตัวโงดินห์เดียมและโงดินห์นู เพราะเกรงว่าจะเป็นการแสดงตัวสนับสนุนคนทั้งสอง หรือมิฉะนั้นก็จะเป็นการกลับสัตย์ที่ได้กล่าวไว้ว่า จะไม่แทรกแซง (การรัฐประหาร) ของนายพล"

    ลางแห่งความหายนะ
    เจ้าหน้าที่อเมริกันที่มีความพอใจในผลสำเร็จของการรัฐประหารมากที่สุดคือลอดจ์ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน เขารายงานรัฐบาลวอชิงตันโดยคาดหมายว่า การเปลี่ยนระบอบการปกครองของเวียดนามใต้ใหม่จะทำให้เวลาแห่งการสู้รบกับเวียดกงสั้นเข้าเพราะขวัญของกองทัพบกจะดีขึ้น แต่ปรากฎลางร้ายเกิดขึ้นอย่างทันควันหลังการโค่นล้มโงดินห์เดียม เวียดกงได้ปฏิบัติการอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น และนายพลมินห์ผู้นำรัฐประหารซึ่งเป็นประมุขรัฐบาลใหม่ก็

    "เหน็ดเหนื่อยและออกจะอิดโรย"

    ภายในเวลา 3 เดือนหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พลตรีเงียนคานห์ผู้ก่อการรัฐประหารคนหนึ่งก็ยุคอำนาจ (30 มกราคม 2507) อันเป็นการเริ่มต้นแห่งการช่วงชิงอำนาจต่อมา ทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องเผชิญปัญหายุ่งยาก และต้องเข้าเกี่ยวข้องกับการสู้รบในเวียดนามอย่างถลำลึกยิ่งขึ้น
    ก่อนที่ประธานาธิบดีเคนเนดี้จะถูกสังหารชีวิตไม่นาน
    ผู้ช่วยของเคนเนดี้ได้ประชุมวางแผนยุทธศาสตร์เวียดนามที่โฮโนลูลู ต่อมาประธานาธิบดีจอห์นสัน (รับตำแหน่งต่อจากเคนเนดี้) ได้แถลงว่าจะดำเนินนโยบายเช่นเดียวกับเคนเนดี้ รวมทั้งปฏิบัติการลับเพื่อต่อต้านเวียดนามเหนือเพิ่มขึ้น ซึ่งนำไปสู่การปะทะกันในอ่าวตังเกี๋ยปี 2507 และสำหรับปฏิบัติการในเวียดนามใต้ก็จะ "ช่วยประชาชนและรัฐบาลให้ได้รับชัยชนะในการต่อสู้กับการคบคิดที่ได้รับการอำนวยการจากนอกประเทศและที่คอมมิวนิสต์สนับสนุน" จอห์นสันกล่าวว่าสงครามจะสิ้นสุดลงในตอนสิ้นปี 2508

    ตามความเป็นจริงนั้น ในเวียดนามใต้หลังจากรัฐประหารเลวร้ายเป็นอย่างมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามาราได้รายงานจอห์นสันเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2506 ว่า รัฐบาลใหม่

    "ไม่มีการตัดสินใจที่แน่นอนและเลื่อนลอย"

    เขากล่าวในรายงานว่า

    "เวียดกงประสบผลสำเร็จอย่างใหญ่หลวงนับตั้งแต่รัฐประหาร สถานการณ์ในชบบทตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเสื่อมทรามลงอย่างมากยิ่งกว่าที่ทราบ เพราะรายงานข่าวที่ได้รับบิดเบือน.....ถ้าสถานการณ์ไม่หวนกลับใน 2 หรือ 3 เดือน เวียดนามใต้ก็น่าจะถูกคอมมิวนิสต์ควบคุม หรืออย่างดีที่สุดก็เป็นกลาง"
    ดังนั้น รัฐบาลอเมริกันจึงเพิ่มปฏิบัติการอย่างลับๆ เพื่อต่อต้านเวียดนามเหนือหนักขึ้น และช่วยเหลือเวียดนามใต้มากยิ่งขึ้น

    ต่อไปนี้เป็นใจความของเอกสารลับ ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการรัฐประหารโค่นล้มประธานาธิบดีโงดินห์เดียมแห่งเวียดนามใต้

    ฉบับที่ 33

    : เคนเนดี้ประชุมเรื่องญวนใต้
    วันที่ 4 กรกฎาคม 2506 ประธานาธิบดีเคนเนดี้ประชุมกับโรเจอร์ ฮิลส์แมน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกิจการตะวันออกไกล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ยอร์ช บอลล์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเอเวอเรลล์ ฮาร์ริแมน ที่ปรึกษาประธานาธิบดีในกิจการรักษาความมั่นคงแห่งชาติแม็คยอร์ช บันดี และผู้เชี่ยวชาญอาเซียตะวันออกเฉียงใต้มิเชล วี.ฟอร์เรสตัล
    ที่ประชุมพิจารณาเรื่องการประหัตประหารชาวพุทธในเวียดนามใต้ และการขจัดโงดินห์เดียมและโงดินห์นู ในประการหลังนี้ที่ประชุมเห็นว่าไม่พึงกระทำ นอกจากนี้ได้พิจารณาเรื่องการแต่งตั้งลอดจ์ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครรัฐฑูตสหรัฐประจำเวียดนามใต้แทนนอลติง

    ฉบับที่ 34

    : ข่าวกรองว่าด้วยสถานการณ์ญวนใต้
    วันที่ 10 กรกฎาคม 2506 บทสรุปข่าวกรองว่าด้วยสถานการณ์ในเวียดนามใต้กล่าวว่า การต่อต้านของชาวพุทธทำให้เกิดวิกฤติกาลยิ่งขึ้น และถ้าโงดินห์เดียมไม่ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้ต่อชาวพุทธก็จะทำให้เกิดความไม่สงบและจะทำให้โอกาสที่จะก่อรัฐประหารหรือสังหารชีวิตเขาสะดวกขึ้น
    คอมมิวนิสต์ยังมิได้ใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์และคาดว่าโงดินห์เดียมจะไม่ถูกโค่นล้มโดยการรัฐประหารของคอมมิวนิสต์

    ฉบับที่ 35

    : สารจากรัฐบาลถึงลอดจ์
    วันที่ 24 สิงหาคม 2506 กระทรวงการต่างประเทศโทรเลขถึงเอกอัครรัฐฑูตลอดจ์ว่า สหรัฐไม่สามารถที่จะปล่อยให้อำนาจตกอยู่ในมือโงดินห์นูได้ แต่เห็นว่าจะต้องให้โอกาสโงดินห์เดียมที่จะขาดโงดินห์นูและพวกพ้อง ถ้าโงดินห์เดียมไม่ทำตามนี้ก็ไม่อาจรักษาโงดินห์เดียมไว้ได้
    กระทรวงการต่างประเทศสั่งให้บีบบังคับรัฐบาลให้แก้ไขสถานการณ์ รวมทั้งให้ปลดปล่อยภิกษุ นางชี ฯลฯ และให้ตระเตรียมหาตัวผู้นำแทนโงดินห์เดียมเพื่อจะได้เปลี่ยนตัวเมื่อจำเป็น

    ฉบับที่ 36

    : คำตอบของลอดจ์
    วันที่ 25 สิงหาคม 2506 เอกอัครรัฐฑูตลอดจ์โทรเลขถึงรัฐมนตรีว่าการต่างปรเทศรัสค์และรัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศโรเจอร์ ฮิลส์แมน ว่า โอกาสที่จะหวังให้โงดินห์เดียมทำตามความต้องการของสหรัฐไม่มีเลย และไม่ควรเสี่ยง เพราะโงดินห์นูควบคุมกำลังรบไซ่ง่อนอยู่ จึงควรติดต่อกับนายพลผู้วางแผนรัฐประหารโดยไม่แจ้งให้โงดินห์เดียมทราบ

    ฉบับที่ 37

    : โทรเลขของ ซีไอเอ.
    วันที่ 26 สิงหาคม 2506 จอห์น ริชาร์ดสัน หัวหน้า ซีไอเอ.ไซ่ง่อน โทรเลขถึงจอห์น เอ.แม็คโคน ผู้อำนายการ ซีไอเอ.ให้ความเห็นว่าควรขจัดโงดินห์นูและภริยา

    ฉบับที่ 38

    : ความเห็น ซีไอเอ.เกี่ยวกับการรัฐประหาร
    วันที่ 28 สิงหาคม 2506 ริชาร์ดสันโทรเลขถึงแม๊คโคนว่า สถานการณ์ถึงจุดที่จะไม่หวนกลับ ไซ่ง่อนประทุกไว้ด้วยอาวุธ และสกุล "โง" ก็เตรียมปักหลักสู้ ถ้าสกุล "โง" ขนะในขณะนี้ ก็จะแพ้ประชาชนและเวียดกงในเวลาข้างหน้า อาจหลีกเลี่ยงการนองเลือดถ้าสกุล "โง" ยอมหลีกทางก่อนใช้กำลังอาวุธ

    ฉบับที่ 39

    : ลอดจ์โทรเลขถึงรัสค์
    วันที่ 29 สิงหาคม 2506 เอกอัครรัฐฑูตลอดจ์โทรเลขถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ว่า สหรัฐไม่มีทางอื่นนอกจากโค่นล้มรัฐบาลโงดินห์เดียม เพราะเป็นที่รู้กันโดยเปิดเผยแล้วว่ามีเกียรติภูมิเป็นเดิมพัน และถ้าความจริงรั่วไหลก็จะยิ่งต้องกระทำ ลอดจ์ไม่เห็นด้วยกับความคิดของฮาร์คินส์ ที่จะขอร้องให้โงดินห์เดียมกำจัดโงดินห์นูและภริยา

    ฉบับที่ 40

    : ความเห็นของสภาความมั่นคงวันที่ 29 สิงหาคม 2506 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ โทรเลขถึงเอกอัตรรัฐฑูตลอดจ์หลังจากที่มีการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติว่า ที่ประชุมได้พิจารณาทบทวนามเห็นของลอดจ์แล้วและรัฐบาลเห็นควรสนับสนุนการรัฐประหารหากจะทำได้เป็นผลสำเร็จ และหากกำลังทหารของสหรัฐจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรง โทรเลขฉบับนี้มอบอำนาจให้ลอดจ์พิจารณาระงับความช่วยเหลือรัฐบาลโงดินห์เดียมได้ตามที่เห็นสมควร แต่จะต้องระมัดระวังกะเวลาดำเนินการเพื่อมิให้เป็นการแสดงตัวอย่างโจ่งแจ้งว่าร่วมมือกับนายพลผู้วางแผน รัฐบาลเห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดก็คือใช้อำนาจนี้เมื่อเกิดรัฐประหาร แต่ไม่ควรใช้เพื่อสนับสนุนนายพลผู้วางแผน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลอดจ์เอง

    ฉบับที่ 41

    : ความสัมพันธ์ระหว่างเดียมกับนู
    วันที่ 29 สิงหาคม 2506 รัสค์โทรเลขถึงลอดจ์อีกฉบับหนึ่ง สอบถามถึงลู่ทางที่จะแยกโงดินห์เดียมจากโงดินห์นูและภริยา เนื่องจากมีปัญหาว่าถ้าขจัดนายและนางโงดินห์นูแล้ว โงดินห์เดียมจะอยู่ในสถานะที่มั่นคงหรือไม่ รัสค์เห็นว่านายและนางโงดินห์นูเป้นตัวการสำคัญต่อปัญหาเวียดนามยิ่งกว่าโงดินห์เดียมทั้งในเรื่องภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และในทัศนะของประชาชนอเมริกัน รัสค์กล่าวว่าการแสดงความเห็นนี้เป็นการประเมินสถานการณ์ส่วนตัว มิใช่คำสั่งกล่าวถึง

    ฉบับที่ 42 : คำตอบของลอดจ์
    วันที่ 30 สิงหาคม 2506 ลอดจ์โทรเลขตอบรัสค์ ยืนยันความเห็นว่าจะต้องขจัดนายและนางโงดินห์นู แต่มิใช่กระทำโดยวิธีร่วมมือกับโงดินห์เดียมเพราะเขาจะไม่ยินยอม วิธีที่ดีที่สุดตามความเห็นของลอดจ์ก็คือให้นายพลยึดอำนาจ หลังจากนั้นจึงพิจารณาว่าจะให้โงดินห์เดียมกลับคืนสู่อำนาจหรือไม่ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่บีบบังคับนายพลผู้ยึดอำนาจ

    ฉบับที่ 43

    : รายงานของฮาร์คินส์
    วันที่ 31 สิงหาคม 2506 พลเอกปอล ดี.ฮาร์คินส์ ผู้บัญชาการทหารสหรัฐในไซ่ง่อน โทรเลขถึงพลเอกแม็กสเวลล์ ดี.เทย์เลอร์ ประธานคณะเสนาธิการผสมว่าได้รับทราบจากพลเอกตรันเทียนเคียม ผู้บริหารของคณะเสนาธิการผสมเวียดนามใต้ว่า พลเอกดวงวันมินห์ (หัวหน้าผู้วางแผนรัฐประหาร) และคนอื่นๆ ระงับการวางแผนแล้ว เพราะไม่มีกำลังเพียงพอ ส่วนผู้วางแผนอีกคนคือพันเอกฟามงอคเทาก็ไม่ได้รับความไว้วางใจฮาร์คินส์กล่าวว่า โงดินห์นูได้กล่าวในที่ประชุมในวันก่อนว่าเขาทำทุกอย่างตามที่สหรัฐต้องการ ทั้งยังได้รับความสนับสนุนจากประธานาธิบดีเคนเนดี้ด้วย ฮาร์คินส์กล่าวถึงเหตุการณ์ทั่วๆ ไปว่าสับสน ทุกคนต่างก็สงสัยซึ่งกันและกัน และไม่มีใครต้องการที่จะปฏิบัติอย่างจริงจัง
     
  11. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    มาต่อกันครับ!
    เพื่อนๆสมาชิกท่านใดอ่านแล้วปวดตา ผมขอแนะนำให้ก๊อบบทความนี้แปะลงไปใน "กูเกิ้ล" ในส่วนของโหมดแปลภาษาเพื่อให้กูเกิ้ลอ่านให้เราฟังแทน(ผมใช้บ่อยเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่น)(smile)


    ฉบับที่ 44

    : บันทึกการประชุม
    วันที่ 31 สิงหาคม 2506 มีการประชุมที่กระทรวงการต่างประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุมคือ รองประธานาธิบดีจอห์นสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามารา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมแลแพทริค และเจ้าหน้าที่อื่นๆ
    รัสค์เสนอความเห็นว่าสหรัฐจะไม่ถอนตัจากเวียดนามจนกว่าจะชนะสงคราม และจะไม่ดำเนินการรัฐประหารเสียเอง แม็คนามาราสนับสนุนความเห็นนี้

    ฉบับที่ 45

    : โทรเลขถึงลอดจ์
    วันที่ 17 กันยายน 2506 ทำเนียบขาวดทรเลขถึงลอดจ์ สั่งให้หาทางบีบบังคับรัฐบาลเวียดนามใต้ให้ทำการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในคณะรัฐบาลตามความจำเป็น เพื่อที่จะได้รับความสนับสนุนจากชาวญวน และให้รัฐบาลเวียดนามใต้ปลดปล่อยชาวพุทธ นักศึกษา ทั้งให้ดำเนินการในเรื่องอื่นๆ อีก

    ฉบับที่ 46

    : ลอดจ์โทรเลขถึงเคนเนดี้
    วันที่ 19 กันยายน 2506 เอกอัครรัฐฑูตลอดจ์ โทรเลขถึงกระทรวงการต่างประเทศโดยระบุว่า "เฉพาะประธานาธิบดี" โทรเลขฉบับนี้กล่าวว่า ยังไม่มีโอกาสที่จะขจัดรัฐบาลปัจจุบัน (ญวนใต้) และในส่วนที่เกี่ยวกับการที่จะให้รัฐบาลญวนใต้ทำตามความเห็นของรัฐบาลสหรัฐนั้น โงดินห์เดียมและโงดินห์นูเห็นว่าจะเป็นการทำลายโครงสร้างทางการเมืองของญวนใต้ ในการดำเนินนโยบายจึงต้องคำนึงถึงการรัฐประหารควบคู่ไปด้วย

    ฉบับที่ 47

    : รายงานแม็คนามารา-เทย์เลอร์
    วันที่ 2 ตุลาคม 2506 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามารา และประธานคณะเสนาธิการผสมเทย์เลอร์ รายงานประธานาธิบดีเคนเนดี้ว่า ปฏิบัติการทางทหารในเวียดนามใต้ประสบผลก้าวหน้าอย่างมากมาย แต่สถานการณ์ทางการเมืองตึงเครียด และรัฐบาลเวียดนามใต้ได้รับความนิยมน้อยลงเป็นลำดับ ทั้งไม่แน่ว่าการบีบบังคับของสหรัฐจะทำให้โงดินห์เดียมและโงดินห์นูเปลี่ยนท่าทีหรือไม่

    ฉบับที่ 48

    : รายงานของลอดจ์
    วันที่ 5 ตุลาคม 2506 เอกอัครรัฐฑูตลอดจ์โทรเลขถึงกระทรวงการต่างประเทศว่าโคไนท์ (สายลับ ซีไอเอ.) ได้พบกับนายพลดวงวันมินห์ มินห์กล่าวว่า เขาต้องการทราบว่ารัฐบาลสหรัฐมีท่าทีอย่างไรต่อการเปลี่ยนรัฐบาลเวียดนามใต้ในอนาคตอันใกล้ และว่าสถานการณ์เสื่อมทรามลงอย่างรวดเร็ว จึงต้องรีบเปลี่ยนรัฐบาลเวียดนามใต้ มิฉะนั้นก็จะแพ้สงคราม
    มินห์กล่าวว่า เขาไม่ต้องการให้สหรัฐสนับสนุนให้เปลี่ยนรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ขอให้รับรองว่าจะไม่ขัดขวาง

    ฉบับที่ 49

    : ลอดจ์เสนอความเห็น
    วันที่ 5 ตุลาคม 2506 เอกอัครรัฐฑูตลอดจ์โทรเลขถึงรัฐมนตรีว่าการกระททรวงการต่างประเทศรัสค์ กล่าวว่าทั้งเขาและฮาร์คินส์ไม่มั่นใจในตัวนายพลดวงวันมินห์ (หัวหน้าผู้วางแผนรัฐประหาร) ทีเดียวนัก จึงขอทราบแนวทางปฏิบัติ ลอดจ์เห็นว่าเมื่อโคไนท์พบกับมินห์อีก โคไนท์ควรยืนยันกับมินห์ว่า สหรัฐจะไม่พยายามขัดขวางแผนการของมินห์ และสหรัฐจะให้ความช่วยเหลือเวียดนามต่อไป ถ้าเห็นว่ารัฐบาล (ใหม่) มีโอกาสจะได้รับความสนับสนุนจากประชาชนและจะชนะสงคราม นอกจากนี้โคไนท์จะช่วยพิจารณาทบทวนแผนรัฐประหาร นอกจากแผนสังหาร (โงดินห์เดียมและโงดินห์นู)

    ฉบับที่ 50

    : ความเห็นของเคนเนดี้
    วันที่ 5 ตุลาคม 2506 ทำเนียบขาวโทรเลขถึงลอดจ์ผ่าน ซีไอเอ.ว่า ประธานาธิบดีเคนเนดี้เห็นชอบด้วยกับข้อแนะนำที่ว่า สหรัฐจะไม่ส่งเสริมการรัฐประหาร แต่ควรดำเนินการลับเพื่อแสดงตัวเข้าข้างและติดต่อกับผู้นำเวียดนามใต้คนใหม่เมื่อรู้ตัวว่าเป็นใคร

    ฉบับที่ 51

    : ทำเนียบขาวโทรเลขถึงลอดจ์
    วันที่ 6 ตุลาคม 2506 ทำเนียบขาวโทรเลขถึงลอดจ์ ชี้แจงเพิ่มเติมว่าสหรัฐไม่ประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความรู้สึก (แก่นายพลมินห์) ว่าสหรัฐจะขัดขวางการเปลี่ยนรัฐบาลหรือปฏิเสธความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่รัฐบาลใหม่ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจะทำการสู้รบอย่างบังเกิดผล จะได้รับความนิยมจากประชาชนและจะมีสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐ

    ฉบับที่ 52

    : ลอดจ์รายงานเรื่องนายพลญวนใต้
    วันที่ 25 ตุลาคม 2506 เอกอัครรัฐฑูตลอดจ์โทรเลขถึงแม็คยอร์ช บันดี ผู้ช่วยประธานาธิบดีในกิจการความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวถึงการติดต่อระหว่างนายพลญวนใต้ ผู้วางแผนรัฐประหารกับโคไนท์ และยืนยันว่ารู้ความคลี่คลายของเหตุการณ์ทุกระยะ

    ฉบับที่ 53

    : ความเห็นของบันดี
    วันที่ 25 ตุลาคม 2506 บันดีโทรเลขถึงลอดจ์ แสดงความกังวลในผลสำเร็จของการรัฐประหาร

    ฉบับที่ 54

    : ความเห็นของฮาร์คินส์
    วันที่ 30 ตุลาคม 2506 นายพลฮาร์คินส์ ผู้บัญชาการทหารสหรัฐในเวียดนามใต้โทรเลขถึงนายพลเทย์เลอร์ ประธานคณะเสนาธิการผสมแสดงความไม่แน่ใจในแผนรัฐประหาร ฮาร์คินส์กล่าวว่า เขามีความเห็นขัดแย้งกับลอดจ์ (ในการแปลความหมายของคำสั่งวางแนวทางปฏิบัติของรัฐบาล) และว่าเขามิได้คัดค้านการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล (ของญวนใต้) แต่ก็เห็นว่าขณะนี้ควรเปลี่ยนแต่วิธีการปกครองมิใช่เปลี่ยนตัวบุคคล เพราะไม่เห็นผู้ใดที่จะเหมาะสมยิ่งกว่าโงดินห์เดียม อย่างน้อยที่สุดก็ในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ และนายพล (ญวนใต้) ส่วนมากที่ฮาร์คินส์พูดจาด้วยก็ยินดีปฏิบัติงานกับโงดินห์เดียม นายพลเหล่านี้ไม่ชอบแต่ครอบครับ "นู" เท่านั้นฮาร์คินส์กล่าวต่อไปว่า เขาเห็นว่าไม่ควรเปลี่ยนม้าเร็วเกินไป แต่ควรจูงใจให้ม้าเปลี่ยนทางวิ่งและวิธีปฏิบัติ สหรัฐจะต้องพยายามทำสงครามให้ชนะเร็วที่สุดที่จะทำได้ แล้วจึงปล่อยให้เวียดนามใต้ปรับปรุงแปลี่ยนแปลงตัวเองตามต้องการ
    ไม่ว่าจะผิดหรือถูก สหรับก็ด้สนับสนุนโงดินห์เดียมแล้ว 8 ปี จึงไม่ควรโค่นล้มเขาในขณะนี้หรือไล่เตะเขาให้พ้นทาง การทำเช่นนี้จะทำให้ประเทศที่ด้วยพัฒนาอื่นๆ ไม่เชื่อถือสหรัฐด้วย

    ฉบับที่ 55

    : ความเห็นของฮาร์คินส์ (ต่อ)
    วันที่ 30 ตุลาคม 2506 ฮาร์คินส์โทรเลขถึงเทย์เลอร์ ชี้แจงสถานการณ์และคำถาม คำตอบเกี่ยวกับการปฏิบัติกงานของฝ่ายต่างๆ ในเวียดนามใต้

    ฉบับที่ 56

    : บันดีโทรเลขถึงลอดจ์
    วันที่ 30 ตุลาคม 2506 แม็คยอร์ช บันดี โทรเลขถึงลอดจ์ ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับท่าทีของรัฐบาลสหรัฐอันม่ต่อการรัฐประหาร และกล่าวถึงการที่ลอดจ์จะเดินทางไปจากเวียดนามใต้ก่อนการรัฐประหาร กับการที่ฮาร์คินส์จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบแทนลอดจ์ระหว่างการรัฐประหาร นอกจากนี้ยังสั่งให้ลอดจ์พิจารณาตระเตรียมแนวทางปฏิบัติในกรณีที่การรัฐประหารเป็นผลสำเร็จหรือล้มเหลว หรือมิได้มีการตัดสินใจ (ไม่มีรัฐประหาร)

    ฉบับที่ 57

    : ลอดจ์ตอบบันดี
    วันที่ 30 ตุลาคม 2506 ลอดจ์โทรเลขตอบบันดีว่า สหรัฐจะต้องปล่อยให้รัฐประหารดำเนินไปเพราะไม่มีอำนาจที่จะไปขัดขวางในเรื่องที่เป็นกิจการภายในของเวียดนามใต้ ลอดจ์แสดงความข้องใจและคัดค้านคำสั่งที่จะให้ฝ่ายทหาร (ฮาร์คินส์) มีความรับผิดชอบระหว่างการรัฐประหาร โดยที่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาสำคัญทางการเมือง เท่ากับการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเวียดนามใต้ ถ้าให้ฝ่ายทหารเข้าควบคุมก็อาจจะทำให้ความหวังในการเปลี่ยนรัฐบาลหมดสิ้นไป
    ลอดจ์กล่าวด้วยว่าหากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการรัฐประหารจะล้มเหลว ก็จะต้องทำทุกอย่างเพื่อระงับการรัฐประหาร

    ฉบับที่ 58

    : บันดีสั่งลอดจ์
    วันที่ 30 ตุลาคม 2506 แม็คยอร์ช บันดี โทรเลขถึงลอดจ์ว่า นโยบายขั้นมูลฐานของรัฐบาลมีอยู่ว่า รัฐบาลถือว่ามีอำนาจที่จะประวิงหรือแสดงความเห็นคัดค้านการรัฐประหารได้ ดังนั้น ถ้าลอดจ์เห็นว่าการรัฐประหารจะล้มเหลวก็ให้ดำเนินการเพื่อยับยั้งได้

    ฉบับที่ 59

    : การสนทนาครั้งสุดท้าย
    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2506 เอกอัครรัฐฑูตลอดจ์สนทนากับโงดินห์เดียมทางโทรศัพท์เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อเวลา 16.30 น. ก่อนโงดินห์เดียมถูกสังหาร สถานฑูตสหรัฐในไซ่ง่อนได้บันทึกเสียงการสนทนาไว้และได้รายงานไปยังกระทรวงการต่างประเทศ

    ฉบับที่ 60 : นยบายของจอห์นสัน
    วันที่ 26 พฤศจิกายน 2506 (หลังจากที่ประธานาธิบดีเคนเนดี้ถูกสังหาร 4 วัน) ประธานาธิบดีจอห์นสันได้สั่งการเกี่ยวกับนโยบายการทำสงครามของสหรัฐในเวียดนามใต้ โดยยืนยันนโยบายของอดีตประธานาธิบดีเคนเนดี้ ปรากฎตามบันทึกแนวทางปฏิบัติเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งประกอบอยู่ในเอกสารลับเพนตากอน
    เอกสารลับเพนตากอนแปลความหมายในนโยบายนี้ว่า ความประสงค์ในการที่สหรัฐเข้าเกี่ยวข้องกับเวียดนามนั้นก็เพื่อจะ "ช่วยเหลือประชาชนและรัฐบาลใหม่ของประเทศนั้นให้มีชัยชนะในการต่อสู้กับการคบคิดซึ่งอำนวยการจากนอกประเทศซึ่งมีคอมมิวนิสต์สนับสนุน" นโยบายนี้ย้ำถึงวัตถุประสงค์ที่จะถอนกำลังทหารอเมริกันออกจากเวียดนามตั้งแต่สิ้นปี 2506 จนถึงสิ้นปี 2508 อันเป็นเวลาที่คาดว่าการสู้รบจะสิ้นสุดลง
    นอกจากนี้ให้มีการวางแผนขอร้องให้รัฐบาลเวียดนามใต้ปฏิบัติการต่อต้านเวียดนามเหนืออย่างลับๆ ให้ปฏิบัติการลึกเข้าไปในดินแดนลาว 50 กิโลเมตร และสหรัฐจะต้องประมวลหลักฐานเพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า เวียดกงได้รับความช่วยเหลือจากเวียดนามเหนือ
     
  12. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    สงครามลับและเหตุการณ์ในอ่าวตังเกี๋ย (กุมภาพันธ์-สิงหาคม 2507)


    เอกสารลับเพนตากอนถือว่า ก่อนเกิดเหตุการณ์ในอ่าวตังเกี๋ย (สิงหาคม 2507) เป็นเวลา 6 เดือน สหรัฐได้ปฏิบัติการทางทหารลับๆ ต่อเวียดนามเหนือมากยิ่งขึ้น
    ขณะเดียวกันก็วางแผนให้รัฐสภาอนุมัติญัตติซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการประกาศสงครามกับเวียดนามเหนือ

    เมื่อเกิดเหตุการณ์ในอ่าวตังเกี๋ย รัฐบาลจอห์นสันได้ปกปิดไว้เป็นความลับ และพยายามดำเนินการให้ญัตติดังกล่าวซึ่งได้ตระเตรียมร่างไว้ก่อนแล้วผ่านรัฐสภาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม

    ต่อมาภายใน 72 ชั่วโมง รัฐบาลได้ส่งฑูตชาวแคนาดาไปยังฮานอยอย่างลับๆ เพื่อเตือนนายกรัฐมนตรีฟามวันดองว่า ญัตติดังกล่าวมีความหมายว่าเวียดนามเหนือจะต้องหยุดการปฏิบัติการก่อกวนทำลายเวียดนามใต้และลาว มิฉะนั้นจะต้องได้รับผลร้ายอันจะบังเกิดขึ้น

    การคุกคามเวียดนามเหนือก็ดี สภาพและขอบเขตในการปฏิบัติการทางทหารอย่างลับๆ และความจงใจของรัฐบาลที่จะใช้ญัตติเป็นเครื่องผูกพันประเทศชาติให้ทำสงครามอย่างเปิดเผยก็ดี ล้วนแต่กระทำอย่างปกปิดทั้งสิ้น

    เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยให้ทราบเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ด้วย
    ในเดือนสิงหาคม 2507 มีการปฏิบัติการลับทางทหารอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น จนถึงกับมีนักบินไทยจำนวนหนึ่งบินด้วยเครื่องบินแบบ ที-28 ของอเมริกันไปทิ้งระเบิดและยิงหมู่บ้านเวียดนามเหนือหลายแห่งใกล้พรมแดนลาว เมื่อวันที่ 1 และ 2 สิงหาคม

    แม้ยังมิได้มีการตกลงใจทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ แต่รัฐบาลก็สามารถที่จะสั่งให้โจมตีทางอากาศเพื่อตอบแทนได้ในเวลาไม่ถึง 6 ชั่วโมง และเกิดเหตุการณ์ในอ่าวตังเกี๋ย เพราะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าทำให้เลือกที่หมายแห่งการโจมตีได้ทันที

    การวางแผนนี้กระทำในเดือนพฤษภาคม พร้อมกับการร่างญัตติเพื่อเสนอรัฐสภาดังกล่าวแล้ว อันเป้นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการที่ทำให้มีการโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศในเวลาต่อมา
    ระหว่างการประชุมเลือกที่หมายแห่งการโจมตีซึ่งประชุมกันที่ศูนย์การทหารสหรัฐหลายครั้งหลายหน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโรเบอร์ด เอส.แม็คนามาราและคณะเสนาธิการผสมได้สั่งให้ตระเตรียมการเคลื่อนย้ายกำลีงทางอากาศไปยังอาเซียตะวันออกเฉียงใต้
    โดยการแนะนำของแม็คนามารา จอห์นสันได้สั่งให้เริ่มปฏิบัติตามแผน "34 เอ" (ปฏิบัติการลับทางทหารต่อเวียดนามเหนือ) ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2507 โดยหวังว่าปฏิบัติการดังกล่าวจะบังคับเวียดนามเหนือให้สั่งกองโจรเวียดกงและขบวนการปะเทดลาวหยุดยั้งการต่อต้านรัฐบาล

    การปฏบัติตามแผน "34 เอ" ใน 2507 มีทั้งการบินสอดแนมในเวียดนามเหนือด้วยเครื่องบิน ยู-2 การลักพาตัวพลเมืองเวียดนามเหนือเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงสำหรับทำข่าวกรอง การส่งพลร่มไปก่อวินาศกรรมและทำสงครามจิต การส่งหน่วยจู่โจมจากทะเลไประเบิดทางรถไฟและสะพานในทางหลวง และการทำลายอาคารสถานที่ริมฝั่งทะเลโดยเรือ พีที.(เรือเร็วสำหรับปฏิบัติการชายฝั่ง)

    พลครีวิคเตอร์ เอช.ครูลัค แห่งพรรคนาวิกโยธินรายงานต่อจอห์นสันว่า "การกระทำเพื่อทำลาย" ดังกล่าวนี้มีจุดมุ่งหมาย "ที่จะให้เกิดผลในทางทำลายอย่างสำคัญ ให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและความพะว้าพะวัง" ทั้งนี้มีการเร่งมือและขยายขอบเขตของการดจมตีเป็น 3 ขั้น ในปี 2507
    ผู้สั่งงานแทนประธานาธิบดีในปฏิบัติการลับคือแม็คนามารา โดยผ่านหน่วยงานของคณะเสนาธิการผสม คณะเสนาธิการผสมเป็นผู้ประเมินผลของการปฏิบัติให้แม็คนามาราทราบเป็นระยะ

    ผู้ควบคุมแผน "34 เอ" ในไซ่ง่อนคือนายพลปอล ดี.ฮาร์คินส์ หัวหน้ากองบัญชาการให้ความช่วยเหลือทางทหารสหรัฐในเวียดนามใต้ กองบัญชาการนี้มีหน่วยงานโดยเฉพาะสำหรับทำหน้าที่ร่างกำหนดการปฏิบัติเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐบาลในวอชิงตันเป็นเดือนๆ ไป การวางแผนเพื่อการนี้กระทำร่วมกับชาวญวนใต้และชาวญวนใต้นี้เองที่เป็นผู้ทำการโจมตี

    ปฏิบัติการสำคัญในแผนทำสงครามลับต่อเวียดนามเหนืออีกประการหนึ่งคือการโจมตีทางอากาศในลาว ในการนี้สหรัฐได้จัดตั้งกองบิน ที-28 ขึ้นในลาว มีเครื่องบินประมาณ 25 ถึง 40 เครื่อง เครื่องบินส่วนมากมีเครื่องหมายกองทัพอากาศลาว แต่เป็นของกองทัพอากาศลาวเพียงบางเครื่องเท่านั้น เครื่องบินที่มิใช่ของกองทัพอากาศลาวมีนักบินของแอร์อเมริกาเป็นผู้ขับขี่ (แอร์อเมริกาเป็นสายการบินของเอกชนปลอม ที่จริงสายการบินนี้ดำเนินการโดย ซีไอเอ.) นอกจากนักบิน "แอร์อเมริกา" แล้ว ก็มีนักบินไทยขับขี่ ทั้งนี้อยู่ในความควบคุมของเลีบวนาร์ด อังเกอร์ เอกอัครรัฐฑูตสหรัฐประจำลาว
    เครื่องบินของกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐ ทำหน้าที่บินถ่ายภาพสำหรับให้ฝูงบิน ที-28 โจมตีทิ้งระเบิดที่ตั้งทหารญวนเหนือและขบวนการปะเทดลาว ปฏิบัติการบินถ่ายภาพนี้ใช้ชื่อระหัสว่า "แยงกี้ทีม"

    รัฐบาลจอห์นสันค่อยๆ เพิ่มการปฏิบัติในลาวมากยิ่งขึ้นในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนของปี 2507 ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ ต่อมาปฏิบัติการที่รุนแรงยิ่งขึ้นนี้จำเป็น เนื่องจากกำลังภาคพื้นดินของเวียดนามเหนือและขบวนการปะเทดลาวรุกคืบหน้าประการหนึ่ง ขณะเดียวกันสหรัฐก็ต้องการบีบบังคับเวียดนามเหนือในทางทหารยิ่งขึ้น
    พร้อมกับที่การโจมตีด้วย ที-28 รุนแรงขึ้น ปฏิบัติการนี้ก็ใกล้พรมแดนเวียดนามเหนือเข้าไปทุกที และเครื่องบินของแยงกี้ทีมที่เคยบินสูงก็บินต่ำลงในเดือนพฤษภาคม ในเดือนมิถุนายนมีเครื่องบินไอพ่นติดอาวุธคุ้มกันเรื่องบินของแยงกี้ทีมด้วย เครื่องบินคุ้มกันเหล่านั้นมิได้บินคุ้มกันเท่านั้น แต่ยังทิ้งระเบิดและยิงกราดทหารเวียดนามเหนือและทหารขบวนการประเทดลาวด้วยเมื่อเครื่องบินของแยงกี้ทีมถูกยิง
     
  13. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    แผน "34 เอ" ยังประกอบด้วยปฏิบัติการของเรือพิฆาตซึ่งใช้ชื่อระหัสว่า "ดีโซโต" ด้วย ตามแผนนี้มีเรือพิฆาตตรวจน่านน้ำในอ่าวตังเกี๋ย เพื่อความประสงค์ในทางจิตวิทยาคือการแสดงกำลังรบเป็นข้อสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันเรือพิฆาตนี้ก็ทำหน้าที่รวบรวมข่าวกรองเกี่ยวกับระบบเรดาร์ และการป้องกันชายฝั่งของเวียดนามเหนือเพื่อประโชยน์แก่การปฏิบัติของหน่วยที่มีหน้าที่โจมตี

    ผู้วิเคราะห์สถานการณ์ของเพนตากอนแสดงความเห็นว่าก่อนเกิดเหตุการณ์ในอ่าวตังเกี๋ย สหรัฐมิได้พยายามที่จะให้เรือพิฆาตเข้าเกี่ยวข้องกับการโจมตีตามแผน "34 เอ" ทั้งมิได้ใช้เรือพิฆาตเป็นเหยื่อล่อให้เวียดนามเหนือโจมตี (เพื่อหาเหตุทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ) อีกนัยหนึ่ง แม้สหรัฐจะส่งเรือพิฆาตไปในน่านน้ำแห่งนั้นระหว่างการโจมตีตามแผน "34 เอ" ก็มิได้จงใจจะให้เป็นการยั่วยุ ทั้งรัฐบาลสหรัฐก็เชื่อว่าเวียดนามเหนือจะไม่กล้าโจมตีเรือพิฆาต
    อย่างไรก็ดี การที่เรือพิฆาตไปปรากฎอยู่ในอ่าวตังเกี๋ยนั้น ก็ได้ทำให้เกิดการปะทะกันขึ้น และในเวลาต่อมาทางกระทรวงกลาโหมของสหรัฐก็เสนอให้ใช้

    "แผนยุทธศาสตร์ยั่วยุ"

    เพื่อให้มีการปะทะกันสำหรับใช้เป็นข้ออ้างทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ
    ทั้งฝ่ายข่าวกรองและคณะเสนาธิการผสมมีความเห็นว่าโอกาสที่จะบังคับเวียดนามเหนือ (ด้วยการโจมตีตามแผนปฏิบัติการลับ) ให้ยอมยับยั้งเวียดกงนั้นเกือบไม่มีเลย คณะเสนาธิการผสมจึงเห็นว่ารัฐบาลจะต้อง

    "เตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติการอย่างห้าวหาญเพิ่มขึ้น"

    รวมทั้ง

    "โจมตีที่หมายสำคัญในเวียดนามเหนือทางอากาศ โดยใช้ทรัพยากรของสหรัฐแต่อำพรางว่าเป็นของเวียดนาม"

    และส่งกำลังทหารภาคพื้นดินของสหรัฐไปยังเวียดนามใต้ กับใช้กำลังรบของสหรัฐปฏิบัติการต่อเวียดนามเหนือตามความจำเป็น

    หลังจากการประชุมทางยุทธศาสตร์ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2507 จอห์นสันก็สั่งให้ปฏิบัติการบีบบังคับเวียดนามเหนือบ่อยครั้งและหนักหน่วงยิ่งขึ้น การที่รัฐบาลสหรัฐต้องการให้ปฏิบัติการเช่นนี้ก็เพราะสถานะของรัฐบาลที่สนับสนุนอเมริกันของลาวและเวียดนามใต้เสื่อมทรามลง

    สหรัฐมุ่งที่จะจัดการกับเวียดนามเหนือมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ เมื่อปรากฏว่าแผนการปราบปรามเวียดกงของตนไม่บังเกิดผลทั้งในสมัยรัฐบาลนายพลดวงวันมินห์และนายพลเหงียนคานห์ ซึ่งทำรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2507

    บันทึกที่ วอล์ท ดับลิว.รอสโทว์ (ผู้ช่วยประธานาธิบดีในกิจการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ) มีไปถึงรัสค์เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2507 กล่าวว่า ประธานาธิบดีโฮชีมินห์มิใช่นักสู้แบบกองโจรธรรมดาต่อไปแล้ว เพราะมีอุตสาหกรรมที่พยายามสร้างขึ้นด้วยความบากบั่นที่จะต้องคุ้มครองป้องกัน เขาจึงเห็นว่าการขู่ว่าจะทำลายอุตสาหกรรมของเวียดนามเหนือย่อมเป็นการเพียงพอที่จะทำให้เวียดนามเหนือสั่งให้เวียดกงระงับการต่อสู้ในเวียดนามใต้ได้
    ในขณะที่ปฏิบัติการของเวียดกงแข็งขันยิ่งขึ้น สหรัฐก็สนใจในการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือมากยิ่งขึ้น ในวันที่ 16 มีนาคม แม็คนามารารายงานต่อจอห์นสันว่า สถานการณ์ในเวียดนามใต้เลวร้ายเป็นอย่างมาก และเสนอให้วางแผนเพื่อบีบบังคับเวียดนามเหนือรวมทั้งให้ทิ้งระเบิดที่หมายทางทหารในเวียดนามเหนือหรือถ้าจำเป็นกฌทิ้งระเบิดที่หมายทางอุตสาหกรรมของเวียดนามเหนือด้วย จอห์นสันเห็นชอบตามข้อเสนอนี้

    ในตอนนี้ ประธาธิบดีชาร์ลส์ เดอโกลด์แห่งฝรั่งเศสได้เสนอความเห็นให้สถาปนา "ความเป็นกลาง" ขึ้นในเวียดนามใต้ จอห์นสันไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ และได้โทรเลขแจ้งท่าทีนี้ให้ลอดจ์ทราบ

    ลอดจ์ไม่เห็นด้วยกับการที่จะปฏิบัติการทำลายเวียดนามเหนืออย่างรุนแรงโดยมิได้พยายามดำเนินการทางการฑูต

    ซึ่งเขาเรียกว่า "แคร์รอทแอนด์สติ๊ค" (หัวผักกาดหวานและไม้ตะบอง) ตามแผนการของลอดจ์ สหรัฐจะส่งฑูตซึ่งมิใช่อเมริกันไปเวียดนามเหนือเป็นการลับเพื่อเสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่เวียดนามเหนือจะสั่งให้เวียดกงหยุดต่อต้านรัฐบาลญวนใต้ ถ้าเวียดนามเหนือไม่ยอมรับข้อเสนอนี้จึงใช้วิธีบังคับด้วยการทิ้งระเบิดโดยใช้เครื่องบินที่ไม่มีเครื่องหมายบอกว่าเป็นของชาติใด

    วันที่ 23 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้ร่างแผยการขึ้น เอกสารลับเพนตากอนเรียกแผนการนี้ว่า "ซีนาริโอ" (การลำดับฉากการแสดง) แผนการนี้กำหนดการปฏิบัติในทางการเมืองและการทหารไว้เป็นเวลา 30 วัน วันสุดท้ายเรียกว่า "ดี-เดย์" เป็นวันที่สหรัฐจะเปิดฉากการโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศอย่างถล่มทลาย
    ไม่ปรากฏว่ามีการปฏิบัติดังที่เขียนไว้ในแผนการนี้โดยตลอด แต่ "ซีนาริโอ" ก็มีความสำคัญตรงที่ว่าได้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลสหรัฐได้วางแผนที่จะปฏิบัติต่อเวียดนามเหนือด้วยอุบายอย่างไร

    ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทยนั้น "ซีนาริโอ" กล่าวไว้ในข้อ 7 ว่า ในวัน ดี-14 (14 วันก่อนดี-เดย์) ให้ปรึกษากับประเทศฟิลิปปินส์เพื่อขออนุญาตแปรขบวน (กำลังรบสหรัฐ) และให้ปรึกษากับประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และปากีสถาน เพื่อขอร้องให้ประเทศเหล่านี้สนับสนุนทางการเมืองอย่างเปิดเผยให้ (สหรัฐ) ดำเนินการหรือให้ประเทศเหล่านี้ร่วมปฏิบัติการในการเสริมกำลังในกรณีที่เวียดนามเหรือหรือจีน (คอมมิวนิสต์) หรือทั้งสองประเทศทำการตอบโต้
     
  14. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    "ซีนาริโอ"

    กำหนดบทบาทที่ผู้เวียดนามใต้ (นายพลเหงียนคานห์) จะต้องมีส่วนในการแสดงไว้เป็นขั้นๆ กล่าวคือ ในวัน "ดี-15" ทำความตกลงกับคานห์ให้เวียดนามใต้โจมตีที่หมายในเวียดนามเหนือทางอากาศอย่างเปิดเผย (วัน "ดี-เดย์) ในวัน "ดี-10" ให้คานห์แสดงสุนทรพจน์เรียกร้องเวียดนามเหนือยุติการรุกราน ถ้าไม่กระทำตามก็จะใช้กำลังทหารและในวัน "ดี-1" (ก่อนวันโจมตี 1 วัน) ให้คานห์ประกาศว่าความพยายามล้มเหลว และจะต้องโจมตีในขณะใดขณะหนึ่ง แผนปฏิบัติการในวัน "ดี-เดย์" มีว่าให้เริ่มโจมตีก่อน

    โดยในขั้นแรกให้หว่านทุ่นระเบิดลงตามท่าเรือ และโจมตีทางขนส่งเพื่อตัดทางลำเลียงลงสู่ทางใต้ ต่อจากนั้นก็โจมตีที่หมายซึ่งจะบังเกิดผลในทางจิตวิทยาให้มากที่สุดเพื่อบังคับให้คอมมิวนิสต์หยุดต่อต้านเวียดนามใต้ เช่น คลังน้ำมัน สนามบิน โรงทหาร สะพาน ย่านการรถไฟ ท่าเรือ การคมนาคมและอุตสาหกรรม การโจมตีในขั้นแรกให้ใช้เครื่องบินของเวียดนามใต้ ต่อจากนั้นจึงใช้เครื่องบินอเมริกัน

    การทำสงครามลับต่อเวียดนามตามแผน "34 เอ" เร่งมือขึ้นและขยายขอบเขตขึ้นในฤดูร้อน เป็นที่เข้าใจตามที่คณะเสนาธิการผสมรายงานให้แม็คนามาราทราบ มีการเพิ่มหน่วยก่อวินาศกรรม เครื่องอุปกรณ์อีเลคโทรนิคส์สำหรับทำข่าวกรอง เครื่องบินลำเลียงแบบ ซี-123 และเรือ พีที.สำหรับโจมตีชายฝั่ง

    ตอนเที่ยงคืนวันที่ 30 กรกฎาคม หน่วยคอมมานโดญวนใต้ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายพลเวสท์มอร์แลนด์ได้ปฏิบัติการโจมตีเกาะฮอนเมและฮอยเนียวของญวนเหนือในอ่าวตังเกี๋ย ขณะปฏิบัติการเรือพิฆาตแม็ดดอกซ์ อยู่oงจากที่เกิดเหตุ 120 ถึง 130 ไมล์ และกำลังใช้ฝีจักรแล่นไปทางเหนือเพื่อปฏิบัติการ "ดีโซโต" (ลาดตระเวนทำข่าวกรอง) ในอ่าวตังเกี๋ย เรือแม็ดดอกซ์ได้รับคำสั่งมิให้เข้าใกล้ชายฝั่งญวนเหนือกว่า 8 ไมล์ทะเลหรือเข้าใกล้เกาะญวนเหนือกว่า 4 ไมล์ทะเล ในวันที่ 2 สิงหาคม เรือแม็ดดอกซ์ได้เปลี่ยนทางเดิน 2 ครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงเรือตอร์ปิโดของญวนเหนือ 3 ลำและเรือสำเภา (ยนต์) อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทำการลาดตระเวนอยู่ในบริเวณนั้น

    หลังจากที่เรือแม็ดดอกซ์ไปถึงจุดเหนือสุด (เท่าที่จะเข้าใกล้ฝั่งญวนเหนือได้ตามคำสั่ง) แล้ว และกำลังแล่นกลับลงสู่ทิศใต้นั้น ก็มีเรือ พีที.ของญวนเหนือ 3 ลำวิ่งตรงเข้าใส่ด้วยความเร็วในระยะoงออกไปประมาณ 10 ไมล์ ขณะนั้นเรือแม็ดดอกซ์อยู่oงจากฝั่งญวนเหนือ 23 ไมล์

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า เรือ พีที.ของญวนเหนือคงเข้าใจผิดว่าเรือแม็ดดอกซ์เป็นเรือของญวนใต้

    ในระหว่างการสู้รบกัน เรือญวนเหนือ 2 ลำถูกเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบิน "ติคอนเดอโรกา" โจมตีเสียหาย (เรือติคอนเดอโรกาอยู่ทางทิศใต้ของที่เกิดเหตุ ไม่ทราบว่าไปอยู่ทำไม) เรือญวนเหนืออีกลำถูกปืนเรือแม็ดดอกซ์ยิงจม เหตุเกิดขึ้นในวันที่ 2 สิงหาคม

    ในวันที่ 3 สิงหาคา ประธานาธิบดีจอห์นสันสั่งให้เรือพิฆาต "ซี.เทอร์เนอร์จอย" ไปเสริมกำลังเรือแม็ดดอกซ์และให้เรือพิฆาตทั้ง 2 ลำไปสู่อ่าวตังเกี๋ยอีก แต่คราวนี้มิให้เข้าใกล้ฝั่งญวนเหนือเกินกว่า 11 ไมล์ทะเล นอกจากนี้ก็ให้เรือบรรทุกเครื่องบิน "คอนสเตลเลชั่น" ซึ่งอยู่ในระหว่างเยือนฮ่องกงรีบไปสมทบกับเรือติคอนเดอโรกา

    การเสริมกำลังนี้ ผู้วิเคราะห์ของเพนตากอนแสดงความเห็นว่าเป็นการใช้ความระมัดระวังโดยปกติและมิใช่ความพยายามที่จะใช้เรือพิฆาตทั้งสองเป็นเหยื่อล่อให้เวียดนามเหนือโจมตีใหม่เพื่ออาศัยเป็นข้ออ้างที่สหรัฐจะทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ แต่อาจถือได้ว่าเป็นการยับยั้งยิ่งกว่ายั่วยุ เพราะได้มีการแถลงให้ทราบโดยเปิดเผยแล้วว่าจะมีการเสริมกำลัง ทั้งได้เตือนเวียดนามเหนือแล้วด้วยว่าถ้าเวียดนามเหนือโจมตีอีกก็จะเกิดผลร้าย

    ในคืนวันที่ 3 สิงหาคม ขณะที่เรือพิฆาตทั้งสิงเริ่มปฏิบัติตามแผน "ดีโซโต" ใหม่ ก็มีการโจมตีตามแผน " 34 เอ" อีก 2 ครั้ง กล่าวคือเรือ พีที.ซึ่งมีเจ้าหน้าที่เป็นชาวญวนใต้ได้ทำลายบริเวณปากแม่น้ำรอนและสถานีเรดาร์ที่วินห์ซอน

    ในคืนวันที่ 4 สิงหาคม เรือตอร์ปิโดของญวนเหนือจำนวนหนึ่งโจมตีเรือสหรัฐอีก คราวนี้โจมตีทั้งเรือแม็ดดอกซ์และเทอร์เนอร์จอย ซึ่งกำลังปฏิบัติการอยู่ในอ่าวตังเกี๋ย

    เมื่อได้รับรายงานว่าเรือตอร์ปิโดเวียดนามเหนือเตรียมการโจมตีเรือพิฆาตของสหรัฐ คณะเสนาธิการผสมของสหรัฐก็เริ่มเลือกที่หมายในญวนเหนือสำหรับจะปฏิบัติการโจมตีทางอากาศเพื่อแก้ลำ

    ต่อมาภายในเวลา 2 ชั่วโมงครึ่งหลังจากที่ได้รับทราบข่าวว่ามีการปะทะกันในอ่าวตังเกี๋ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามาราก็ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์ว่า ฝ่ายเสนาธิการลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เครื่องบินจากเรือคอนสเตลเลชั่นและติคอนเดอโรกาโจมตีฐานทัพเรือตอร์ปิโดของญวนเหนือ 4 แห่งที่ ฮอนกาย โลเจา พุคลอยและกวางเค ทั้งให้โจมตีคลังน้ำมันแห่งหนึ่งใกล้กับตำบลวินห์

    ในการโจมตีเพื่อแก้ลำนี้ จอห์นสันแถลงต่อประชาชนชาวอเมริกันว่า เป็นการตอบโต้อย่าง "จำกัดและพอเหมาะพอควร" และว่าสหรัฐไม่ประสงค์ที่จะทำสงครามให้กว้างขวางยิ่งขึ้นอีก

    ในวันที่ 5 สิงหาคม แม็คนามาราแถลงแก่ผู้สื่อข่าวว่า เรือญวนเหนือถูกทำลายหรือหรือทำให้เสียหายแล้ว 25 ลำ และถังเก็บน้ำมันของญวนเหนือก็ถูกทำลาย 90 เปอร์เซนต์ แม็คนามาราได้เปิดเผยการเสริมกำลังรบในอาณาบริเวณแปซิฟิคด้วย รวมทั้งการส่งเครื่องบินประจัญบานทิ้งระเบิดมายังประเทศไทยและการแปรขบวนรบเพื่อประจัญหน้ากับเวียดนามเหนืออย่างขนานใหญ่โดยเปิดเผย

    ในวันที่ 7 สิงหาคม รัฐบาลสหรัฐได้รับผลสำเร็จอย่างงดงามในการขออำนาจจากรัฐสภาให้ประธานาธิบดีสั่งการใช้กำลังรบต่อเวียดนามเหนือ ปรากฎว่าสภาสูงอนุมัติญัตตินี้ด้วยคะแนนเสียง 88 ต่อ 2 และสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติญัตตินี้เป็นเอกฉันท์ (416 ต่อ 0) ดังนั้นรัฐบาลสหรัฐจึงพร้อมที่จะทำลายเวียดนามเหนือได้ตามที่เห็นสมควร
     
  15. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยความเห็นของผู้วิเคราะห์สถานการณ์ว่า แม้สภาทั้งสองจะอนุมัติญัตติมอบอำนาจให้ประธานาธิบดีทำสงครามอย่างเกือบเป็นเอกฉันท์ (มีเสียงค้านในสภาสูง 2 เสียง) แต่ตามความเป็นจริงนั้น สมาชิกก็มีความเห็นแตกต่างกัน ทั้งในนัยแห่งนโยบายและในความหมายของการอนุมัติ ผู้วิเคราะห์กล่าวว่า

    การที่รัฐสภาอนุมัติญัตตินี้ก็เพราะสมาชิกเห็นว่าในสถานการณ์เช่นนั้นเป็นความจำเป็นที่จะต้องแสดงให้เห็นความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และความตั้งใจแน่วแน่ของสมาชิกทั้งหลายที่จะสนับสนุนปฏิบัติการของประธานาธิบดี ทั้งจำเป็นจะต้องแสดงให้เห็นว่าสหรัฐมุ่งมั่นที่จะต่อต้านการรุกราน

    ควรสังเกตุด้วยว่า สมาชิกหลายคนได้อภิปรายย้ำว่าญัตตินี้มิใช่เป็นการประกาศสงคราม และรัฐสภาก็มิได้ละทิ้งความรับผิดชอบในการกำหนดแนวนโยบายอันพึงปฏิบัติตามข้อผูกพัน ทั้งมิได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีนำประเทศเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำสงครามขนาดใหญ่ในอาเซีย

    แต่ก็อาจแปลความในญัตตินี้ได้ว่าเป็นการประกาศสงคราม มิใช่การประกาศสงคราม และได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีทำสงครามซึ่งแสดงว่ารัฐสภาได้ผ่านญัตติทั้งๆ ที่มีความเข้าใจสับสน ญัตติดังกล่าวมีใจความว่า รัฐสภาอนุมัติให้ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการใหญ่ใช้มาตราการตามความจำเป็นที่จะขับไล่การโจมตีด้วยกำลังอาวุธซึ่งกระทำต่อกำลังรบของสหรัฐและที่จะป้องกันการรุกราน นอกจากนี้ยังให้สหรัฐดำเนินการทุกอย่างตามที่ประธานาธิบดีเห็นสมควร รวมทั้งการใช้กำลังรบเพื่อช่วยภาคีซีโตหรือรัฐที่อยู่ในความคุ้มครองตามพิธีสาร (เช่นญวนใต้) ด้วยเมื่อได้รับคำขอร้อง

    เจตนารมณ์ของญัตติจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ก็เป็นการรับรู้ว่าสหรัฐได้เข้าสู่สถานะสงครามกับเวียดนามเหนือและจะต้องทำการสู้รบต่อไป

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวถึงการโจมตีทางอากาศต่อเวียดนามเหนือหลังจากเกิดเหตุการณ์ในอ่าวตังเกี๋ยว่าเป็นการ

    "ข้ามธรณีประตูที่สำคัญในสงคราม"

    โดยไม่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในประเทศ แท้ที่จริงนั้นปรากฎว่ามีเสียงสนับสนุนจากประชาชนเพิ่มขึ้น รัฐบาลได้ทำแบบอย่างแห่งการดจมตีญวนเหนือโดยเกือบจะไม่ต้องลงทุน

    "แต่รัฐบาลจะต้องลงทุน เพราะได้ตระเตรียมทำการสู้รบเพิ่มมากยิ่งขึ้น..."

    ต่อไปนี้เป็นใจความของเอกสารลับเกี่ยวกับเรื่องราวข้างต้น ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์ในอ่าวตังเกี๋ย จนถึงเหตุตอนปะทะกันและผลภายหลังอันเกิดจากการปะทะกัน
     
  16. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ฉบับที่ 61

    : รายงานของแม็คนามาราวันที่ 21 ธันวาคม 2506 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโรเบอร์ต เอส.แม็คนามารา ทำรายงานถึงประธานาธิบดีลินดอน บี.จอห์นสัน เกี่ยวกับสถานการณ์ในเวียดนามใต้ว่าน่าเป็นห่วงอย่างมากมาย และว่าถ้าสถานการณ์ไม่หวนกลับในเวลา 2 หรือ 3 เดือนข้างหน้า อย่างดีที่สุดเวียดนามใต้ก็จะต้องเป็นกลาง แต่น่าจะถูกคอมมิวนิสต์ยึดครองยิ่งกว่า สหรัฐจึงต้องตระเตรียมดำเนินการอย่างแข็งขันยิ่งขึ้น

    ฉบับที่ 62

    : ความเห็นของคณะเสนาธิการผสม
    วันที่ 22 มกราคม 2507 พลเอกแมกซ์เวล ดี.เทย์เลอร์ ประธานคณะเสนาธิการผสมทำบันทึกถึงแม็คนามาราเรื่องเวียดนามและอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ว่า สหรัฐจะต้องตระเตรียมเลิกใช้ข้อจำกัดที่ตั้งบังคับตนเองเพื่อชัยชนะในการต่อสู้กับเวียดกง คณะเสนาธิการผสมเห็นว่าผลสำเร็จของสหรัฐในเวียดนามใต้จะเป็นเครื่องวัดผลสำเร็จของสหรัฐในอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สหรัฐจะคำนึงถึงแต่เวียดนามใต้ไม่ได้ ขณะนี้สหรัฐยังมิได้สนใจกับปัญหาในภูมิภาคอย่างเพียงพอ จึงควรหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต่อไป

    ฉบับที่ 63
    : รายงานของแม็คนามารา
    วันที่ 16 มีนาคม 2507 แม็คนามารามีบันทึกจึงจอห็นสันว่า สถานการณ์ในเวียดนามใต้เสื่อมทรามและจำเป็นจะต้องดำเนินการช่วยเหลือรัฐบาลญวนใต้ไม่เฉพาะในทางเศรษฐกิจและสังคม แต่จะต้องให้ความช่วยเหลือในด้านการตำรวจและทหารแก่รัฐบาลญวนใต้เพื่อปราบปรามฝ่ายที่คบคิดกันต่อต้านรัฐบาลญวนใต้ให้หมดสิ้นไป มิฉะนั้นอาเซียตะวันออกเฉียงใต้จะตกอยู่ในอิทธิพลของคอมมิวนิสต์เกือบทั้งหมด ญวน ลาวและเขมรจะถูกคอมมิวนิสต์ครอบครอง พม่าจะปรับตัวเข้าหาคอมมิวนิสต์ อินโดนีเซียจะกลายเป็นคอมมิวนิสต์และจะครอบงำมาเลย์เซีย ไทยจะถูกบีบอย่างรุนแรง ฟิลิปปินส์ก็จะได้รับความกระทบกระเทือนและประเทศอื่นๆ ก็จะถูกคุกคามยิงขึ้น (อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไต้หวัน เกาหลีและญี่ปุ่น) แม็คนามาราเสนอให้เสริมสร้างกำลังของรัฐบาลญวนใต้ ให้ตระเตรียมการปฏิบัติทางพรมแดนลาวและเขมร และตระเตรียม "ปฏิบัติการแก้มือ" ต่อญวนเหนือ

    ฉบับที่ 64

    : สหรัฐสั่งตระเตรียม
    วันที่ 17 มีนาคม 2507 บันทึกปฏิบัติการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติกล่าวว่า สหรัฐมีนโยบายที่จะตระเตรียม "การควบคุมพรมแดน" ด้านลาวและกัมพูชา เพื่อให้พร้อมที่จะปฏิบัติได้ใน 72 ชั่วโมง และให้ตระเตรียมการ "การแก้มือ" ต่อเวียดนามเหนือและอื่นๆ บันทึกฉบับนี้แสดงความเห็นสอดคล้องกับรายงานของแม็คนามารา (ฉบับที่ 63)

    ฉบับที่ 65
    : โทรเลขของประธานาธิบดี
    วันที่ 20 มีนาคม 2507 ประธานาธิบดีจอห์นสัน โทรเลขถึงเอกอัครรัฐฑูตลอดจ์ว่า จะต้องอาศัยการคาดคะเนเหตุการณ์สำหรับวางแผนปฏิบัติต่อเวียดนามและปัญหาเฉพาะหน้าคือ ต้องเสริมสร้างกำลังทหารและรากฐานทางการเมืองให้เข้มแข็งและหลีกเลี่ยงปฏิบัติการต่อต้านเวียดนามเหนือทางทหารโดยเปิดเผย เพราะจะต้องดูท่าทีของจีนคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียตก่อน

    ฉบับที่ 66

    : ร่างญัตติสำหรับรัฐสภา
    ร่างญัตติสำหรับรัฐสภาลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2507 มีใจความว่า เอกราชและเอกภาพของเวียดนามใต้และลาวมีความสำคัญต่อผลประโยชน์ของสหรัฐและต่อสันติภาพของโลก (รัฐสภา) จึงมอบอำนาจให้ประธานาธิบดีใช้เงินไม่เกิน (เว้นช่องว่างไว้กรอกจำนวนเงิน) เพื่อช่วยเหลือ.....
    ร่างญัตตินี้ระบุว่าเวียดนามเหนือเป็นผู้รุกรานโดยความช่วยเหลือสนับสนุนของจีนคอมมิวนิสต์

    ฉบับที่ 67

    : โทรเลขของเทย์เลอร์
    วันที่ 25 กรกฎาคม 2507 นายพลแม็กซเวลล์ ดี.เทย์เลอร์ (ในฐานะเอกอัครรัฐฑูตสหรัฐประจำเวียดนามใต้) โทรเลขถึงกระทรวงการต่างประเทศกว่าวว่า การรณรงค์ "มาร์ชชิ่งนอร์ธ" (เดินขบวนไปสู่ทิศเหนือ) ของรัฐบาลเวียดนามใต้อาจเกิดผลร้าย และสหรัฐไม่ควรเกี่ยวข้อง

    ฉบับที่ 68

    : บันทึกถึงแคนาดา
    วันที่ 8 สิงหาคม 2507 สหรัฐมีบันทึกถึงสถานเอกอัครรัฐฑูตแคนาดาในวอชิงตัน และขอให้ส่งบันทึกนี้ต่อไปยัง เจ.แบลร์ ซีบอร์น เจ้าหน้าที่แคนาดาประจำคณะกรรมาธิการตรวจตราและควบคุมการหยุดยิงในเวียดนาม ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่เรือแม็ดดอกซ์ถูกญวนเหนือโจมตี และการที่เวีดยนามเหนือล่วงล้ำเวียดนามใต้และลาว สหรับกล่าวว่าไม่มีนโยบายโค่นล้มเวียดนามเหนือ และขอให้ซีบอร์นเตือนเวียดนามเหนือ

    ฉบับที่ 69

    : รายงานของเทย์เลอร์
    วันที่ 10 สิงหาคม 2507 เทย์เลอร์ในฐานะเอกอัครรัฐฑูตสหรัฐประจำเวียดนามใต้ทำรายงานฉบับแรกเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไปและคณะเสนาธิการผสมส่งรายงานนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกลาโหมแม็คนามารา
    รายงานฉบับนี้กล่าวถึงขวัญของกองทัพบกและประชาชนเวียดนามใต้ ประสิทธิภาพในการสู้รบของหน่วยทหาร สัมพันธภาพระหว่างสหรัฐและรัฐบาลเวียดนามใต้ และความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐบาลเวียดนามใต้
    เทย์เลอร์แสดงความเห็นให้สหรัฐสนับสนุนรัฐบาลของนายพลคานห์ในทุกๆ ทางเท่าที่จะทำได้และให้ทำการรณรงค์ต่อต้านเวียดกงด้วยวิธี "ปลอบ" กล่าวคือชักชวนให้กลับใจ

    ฉบับที่ 70

    : บันทึกของบันดี
    วันที่ 11 สิงหาคม 2507 วิลเลียม พี.บันดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกิจการตะวันออกไกล ทำบันทึกวางแนวทางปฏิบัติสำหรับอาเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็น 3 ขั้น ขั้นแรก (สำหรับเดือนสิงหาคม) ไม่มีการปฏิบัติการทางทหาร ขั้นที่สอง (ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงธันวาคม) เป็นการปฏิบัติอย่างจำกัดรวมทั้งใช้แผน "34 เอ" และ "ดีโซโต" ขั้นที่สามใช้วิธีบีบบังคับอย่างรุนแรง (ตั้งแต่เดือนมกราคม 2508 เป็นต้นไป)

    ฉบับที่ 71

    : โทรเลขของชาร์พ
    วันที่ 17 สิงหาคม 2507 พลเรือเอก ยู.เอส.แกรนท์ ชาร์พ ผู้บัญชาการทัพภาคแปซิฟิค โทรเลขถึงคณะเสนาธิการผสม ประเมินผลของการปฏิบัติทางทหารในลาวและเวียดนามเหนือ และกล่าวว่าปฏิบัติการที่สหรัฐพึงต้องกระทำแต่ยังมิได้กระทำคือแสดงให้เวียดนามเหนือและจีนคอมมิวนิสต์เข้าใจอย่างแจ้งชัดว่า การหน่วงเหนี่ยวขัดขวางการปฏิบัติของสหรัฐจะบังเกิดผลอย่างไร ทั้งนี้โดยการเคลื่อนย้ายกำลังรบไปอยู่ในตำแหน่งที่จะปฏิบัติการได้โดยเร็ว

    ฉบับที่ 72

    : บันทึกเกี่ยวกับปฏิบัติการลับ
    วันที่ 27 สิงหาคม 2507 พลอากาศตรีรอทเทน เอส.แอนทีส ผู้ช่วยคณะเสนาธิการผสม มีบันทึกถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศบันดี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนอตัน เสนอประมวลข่าวกรองแนวทางปฏิบัติการลับตามแผน "34 เอ" ทั้งในการสงครามจิตและปฏิบัติการทางทหารสำหรับเดือนกันยายน

    ฉบับที่ 73

    : รายงานถึงบันดี
    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2507 มีรายงาน (ประทับตราของรองรัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศมาร์แชลล์ กรีน) ถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศบันดี เกี่ยวกับการปฏิบัติการตามแผนในเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม
     
  17. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    การทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ (สิงหาคม 2507 - กุมภาพันธ์ 2508)

    ในการประชุมวางแผนยุทธศาสตร์ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2507 ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าจะต้องโจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศ ขณะนั้นจอห์นสันกำลังทำการรณรงค์เลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีโดยมีวุฒิสมาชิกแบร์รี โกลด์วอเตอร์ เป็นคู่แข่งขัน โกลด์วอเตอร์สนับสนุนให้ทิ้งระเบิดเวียดนามเหนืออย่างขนานใหญ่ ซึ่งจอห์นสันกล่าวว่าไม่เห็นด้วยเรื่องการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือเป็นประเด็นสำคัญในการรณรงค์ครั้งนั้น

    จอห์นสันชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2507 ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2508 เขาก็สั่งให้โจมตีเวียดนามเหนือครั้งใหม่ "เพื่อแก้มือ" ต่อมาในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ จอห์นสันก็สั่งให้โจมตีเวียดนามเหนืออย่างหนักหน่วงไม่ขาดระยะ ปฏิบัติการนี้ใช้ชื่อระหัสว่า

    "โรลลิงธันเดอร์" (ฟ้าถล่ม)

    ควรสังเกตว่าการสั่งให้ทิ้งระเบิดนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการทำสงครามของรัฐบาลหลังจากจอห์นสันได้รับเลือกตั้งแล้ว
    ในตอนปลายเดือนสิงหาคม จอห์นสันได้ทำการรณรงค์เลือกตั้งโดลแถลงต่อประชาชนว่าเขาจะไม่ขยายขอบเขตของสงคราม จะเห็นได้จากคำกล่าวของเขาที่ว่า

    "ข้าพเจ้าได้รับคำแนะนำให้บรรทุกเครื่องบินของเราด้วยลูกระเบิดเพื่อจะเอาไปทิ้งลงตามอาณาบริเวณอันเป็นที่หมาย ข้าพเจ้าเห็นว่าปฏิบัติการเช่นนี้จะเป็นการขยายขอบเขตและยกระดับสงครามให้รุนแรงขึ้น จะเป็นผลให้ชายฉกรรจ์อเมริกันเป็นจำนวนมากต้องไปทำการสู้รบในสงคราม ซึ่งอันที่จริงควรจะให้ชายฉกรรจ์ชาวอาเซียทำการสู้รบเพื่อป้องกันดินแดนของตน"

    ต่อมาจอห์นสันได้กล่าวคำปราศรัยว่านโยบายของสหรัฐอันมีต่อเวียดนามใต้ก็คือให้คำปรึกษาแนะนำช่วยแสดงความคิดเห็นและให้เครื่องอุปกรณ์เพื่อให้เวียดนามใต้ช่วยตัวเองได้

    เขากล่าวเสริมว่า "เราได้ปฏิบัติไปดังกล่าวนี้ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านไป เราเสียทหารไม่ถึง 200 คน ประมาณเท่ากับที่เราเสียไปในอุบัติเหตุในเท็กซัสวันที่ 4 กรกฎาคมวันเดียว ชีวิตแต่ละชีวิตที่สูญเสียไปในเวียดนามนั้นก็เพื่อป้องกันอิสรภาพ....การสูญเสียคน 200 คนดีกว่าที่จะเสียถึง 200,000 คน ด้วยเหตุนี้เราจึงพยายามยับยั้งใจตนเองที่จะไม่ขยายขอบเขตสงคราม"

    อาจกล่าวได้ว่า การที่จอห์นสันแถลงนโยบายเวียดนามดังกล่าวแล้วนั้น ก็เพื่อประโยชน์ในการรณรงค์เลือกตั้งเท่านั้น อันที่จริงรัฐบาลอเมริกันรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าสหรัฐจะต้องทำสงครามในเวียดนามอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น ปัญหามีอยู่แต่เพียงว่าสหรัฐจะหาเหตุเพื่อทำสงครามอีกเมื่อใดเท่านั้น

    เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม หรือ 11 วันก่อนที่จอห์นสันจะแถลงนโยบายเวียดนามต่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เอกอัครรัฐฑูตแม็กซ์เวลล์ ดี.เทย์เลอร์ ได้โทรเลขจากไซ่ง่อนว่าเขาเห็นพ้องกับ "ข้อสันนิษฐาน" ของรัฐบาลสหรัฐที่ว่า ไม่อาจยับยั้งความปราชัยให้แก่เวียดกงและไม่อาจป้องกันรัฐบาลญวนใต้ด้วยการทำสงครามต่อต้านกองโจรอยู่แต่ในเวียดนามใต้
    เทย์เลอร์กล่าวว่า จะต้องทำการให้มากยิ่งขึ้นอีกในเวลาหลายเดือนข้างหน้า เทย์เลอร์เสนอความเห็นว่าปฏิบัติการที่จะต้องกระทำต่อไปก็คือ "โจมตีทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือโดยประสมประสานกันอย่างรอบๆ ในขั้นต้นมุ่งกระทำต่อ (เส้นทาง) การแทรกซึมและที่หมายทางทหารอื่นๆ และให้ถือเอาวันที่ 1 มกราคม 2508 เป็น ดี-เดย์ (วันเปิดการโจมตี)"

    เทย์เลอร์มีความเห็นว่าในการทิ้งระเบิดนี้ควรกระทำ (เพื่อความประสงค์) ทางใดทางหนึ่งใน 2 ทางคือ ทางแรกเพื่อช่วยให้นายพลเหงียนคานห์มีเสถียรภาพทางการเมืองและให้ดำเนินนโยบาย "ปลอบ" (ให้เวียดกงเลิกต่อต้านและกลับใจเป็นฝ่ายรัฐบาล) ต่อไปอย่างจริงจัง ทางที่สองเพื่อป้องกันมิให้ "ขวัญของประชาชนในไซ่ง่อนล้มฟุบลง" ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงว่ารัฐบาลของนายพลเหงียนคานห์จะเป็นอย่างไรหรือไม่

    เทย์เลอร์คาดคะเนว่า ตามสถานการณ์ในขณะนั้น รัฐบาลเวียดนามใต้อันมีนายพลเหงียนคานห์เป็นผู้นำจะอยู่ได้เพียงวันที่ 1 มกราคม 2508 เท่านั้น นอกจากนี้เทย์เลอร์ยังเสนอให้หน่วยขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานของกองทัพบกไปยังไซ่ง่อนและดานังด้วย เพื่อป้องกันการโจมตีแก้มือของจีนคอมมิวนิสต์และเวียดนามเหนือและให้ส่งกองกำลังนาวิกโยธินอเมริกันไปยังดานังเพื่อป้องกันการโจมตีฐานทัพอากาศทางภาคพื้นดิน
     
  18. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ในวันที่ 26 สิงหาคม คณะเสนาธิการผสมเสนอบันทึกต่อรัฐมนตรีว่าการกลาโหมแม็นคามาราแสดงความเห็นพ้องกับความเห็นของเทย์เลอร์

    บันทึกนี้กล่าวว่าการโจมตีทิ้งระเบิดเพื่อป้องกันการล้มฟุบลงของขวัญประชาชนญวนใต้ใขไซ่ง่อนนั้น

    "สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันยิ่งกว่า"

    และกล่าวเสริมว่าการทำสงครามทางอากาศต่อเวียดนามเหนือ "มีความสำคัญที่จะช่วยป้องกันมิให้สถานะของสหรัฐในอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ล้มฟุบลงโดยสิ้นเชิง"

    ผู้วิเคราะห์ของเพนตากอนแสดงความเห็นว่า บันทึกของคณะเสนาธิการผสมมีลักษณะเป็น "ยุทธศาสตร์แบบยั่วยุ" อันมีหลักฐานว่าได้นำเข้าสู่การพิจารณาเพื่อกำหนดนโยบายทางยุทธศาสตร์ที่ทำเนียบขาวเป็นครั้งแรก (วันที่ 7 กันยายน)

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวถึงการยั่วยุนี้โดยใช้ถ้อยคำว่าเป็น
    "ความพยายามอย่างจงใจที่จะยั่วยุสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (ญวนเหนือ) ให้ปฏิบัติการ เพื่อว่าสหรัฐจะได้ทำการตอบโต้ด้วยการรณรงค์ทางอากาศซึ่งได้จัดระบบ (วางแผน) ไว้แล้ว"

    ขอให้สังเกตว่า ถ้อยคำข้างต้นนั้นเป็นของผู้วิเคราะห์ (ซึ่งเรียบเรียงเอกสารลับประกอบบันทึกของคณะเสนาธิการผสม) แต่บันทึกของคณะเสนาธิการผสมมิได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งเช่นนี้ บันทึกที่กล่าวถึงนี้แนะนำไว้ว่า ให้ทำการปะทะกันในอ่าวตังเกี๋ยอย่างซ้ำซาก เพื่อใช้เป็นข้ออ้างสำหรับปฏิบัติการอย่างหนักหน่วงรุนแรงขึ้น

    ผู้ที่กล่าวถึงการยั่วยุเวียดนามเหนืออย่างเจาะจงก็คือ จอห์น ที.แม็คนอตัน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในกิจการความมั่นคงระหว่างประเทศ และหัวหน้าคณะผู้วางแผนกิจการต่างประเทศของศูนย์การทหารสหรัฐเมื่อวันที่ 3 กันยายน แม็คนอตันมีบันทึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามารา แนะนำวิธียั่วยุหลายประการ โดยหวังผลที่จะให้สหรัฐทำการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนืออย่างหนักหน่วงรุนแรงโดยสืบเนื่องกันในที่สุด และในระหว่างที่ยังมิได้เปิดฉากการโจมตีอย่างขนานใหญ่ ก็อาจใช้วิธีการยั่วยุช่วยธำรงสถานการณ์ในเวียดนามใต้ด้วย

    แม็คนอตันเรียกวิธีการดังกล่าวว่า

    "การเร่งจังหวะปฏิบัติการทางทหารของเวียดนามใต้และสหรัฐต่อเวียดนามเหนือ"

    และวิธีที่เขาแนะนำให้ใช้บางประการก็คือ หว่านทุ่นระเบิดในบริเวณท่าเรือและโจมตีทิ้งระเบิดอย่างรุนแรงเป็นขั้นๆ ไป
    แม็คนอตันบรรยายว่า แผนการยั่วยุของเขานั้นจัดทำขึ้นพิจารณา 5 ข้อ คือ

    (1) ตามทรรศนะของสหรัฐและรัฐบาลเวียดนามใต้ถือว่าเป็นปฏิบัติการที่ชอบด้วยเหตุผลในสถานการณ์เช่นนั้น

    (2) ทำให้เกิดความหวาดหวั่นขึ้นในเวียดนามเหนือ

    (3) ถึงขีดขั้นที่จะทำให้เวียดนามเหนือตอบโต้ในทางทหาร

    (4) การตอบโต้ของเวียดนามเหนือเป็นสาเหตุที่สหรัฐจะปฏิบัติการมากยิ่งขึ้น

    (5) การกะเวลาและการเร่งจังหวดปฏิบัติการควรให้อยู่ภายใต้การควบคุม และจะเลิกการปฏิบัติการเมื่อใดก็ได้

    สำหรับการปฏิบัติการนั้น มีการจำแนกประเภทงานไว้ดังต่อไปนี้
    เวียดนามใต้โจมตีแนวทางแทรกซึมตอนผ่านลาวภาคตะวันออกเฉียงใต้ทางอากาศ โดยเริ่มโจมตีในบริเวณใกล้พรมแดนเวียดนามใต้ก่อน แล้วค่อยๆ ปฏิบัติชึกเข้าไปจนข้ามพรมแดนเวียดนามเหนือ


    เริ่มการโจมตีชายฝั่งเวียดนามเหนือตามแผน "34-เอ" ใหม่ (จอห์นสันสั่งระงับแผนนี้ชั่วคราวหลังจากมีการปะทะกันในอ่าวตังเกี๋ย) ในการนี้รัฐบาลเวียดนามใต้จะประกาศการโจมตีอย่างเปิดเผย โดยอ้างว่าจำเป็นที่จะต้องขัดขวางการแทรกซึมทางทะเล

    ให้เรือพิฆาตอเมริกันตรวจน่านน้ำในอ่าวตังเกี๋ยใหม่ตามแผนที่ใช้ชื่อระหัสว่า "ดีโซโต" ทั้งนี้เป็นปฏิบัติการต่างหากจากแผน "34-เอ" แม็คนอตันเห็นว่าประชาชนอเมริกันจะให้ความเห็นชอบ เพราะถือว่ากองทัพเรือสหรัฐมีสิทธิที่จะเดินทางไปในน่านน้ำระหว่างประเทศ
    อย่างไรก็ดี ในการประชุมวางแผนยุทธศาสตร์เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2507 นั้น แม้ที่ประชุมจะเห็นพ้องกันให้โจมตีเวียดนามเหนือทางอากาศ แต่ก็เป็นการแสดงความเห็นพ้องในหลักการเท่านั้น ที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับการที่จะใช้ยุทธศาสตร์แบบยั่วยุ แต่เห็นว่าควรใช้วิธีการโจมตีเพื่อแก้มือยิ่งกว่า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรัฐบาลนายพลเหงียนคานห์กำลังซวยเซ จึงยังไม่ถึงเวลาที่จะปฏิบัติการอันจะนำไปสู่การขยายขอบเขตและเพิ่มความรุนแรงในการทำสงคราม นอกจากนี้ที่ประชุมยังไม่เห็นด้วยกับการทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงไม่ขาดสายโดยอาศัยเหตุผลเช่นเดียวกันนี้

    ในวันที่ 10 กันยายน จอห็นสันได้สั่งให้ปฏิบัติการ "ไปพลาง" ดังต่อไปนี้
    ให้เรือพิฆาตอเมริก้นตรวจน่านน้ำในอ่าวตังเกี๋ยใหม่ โดยให้ปฏิบัติการใกล้กว่า 12 ไมล์จากฝั่งได้ ทั้งนี้ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติการต่างหากจากปฏิบัติการทางทะเลตามแผน "34-เอ" และให้มีฝูงบินคุ้มกันเรือพิฆาตด้วย
    หลังจากที่เรือพิฆาตปฏิบัติการครั้งแรกแล้วก็โจมตีชายฝั่งตามแผน "34-เอ" ในการนี้ให้ทำความตกลงกับรัฐบาลเวียดนามใต้เพื่อจะได้ประกาศยอมรับว่ามีการโจมตี โดยให้เหตุผลว่าเป็นการป้องกันการแทรกซึมของเวียดกงทางทะเล ปฏิบัติการในขั้นนี้ยังเป็นประโยชน์ที่จะชักจูงเสียงสนับสนุนให้ปฏิบัติการทางอากาศต่อเวียดนามเหนือในขอบเหขที่กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย การทำความตกลงกับรัฐบาลลาวของเจ้าสุวรรณภูมาที่จะอนุญาตให้รัฐบาลเวียดนามใต้ปฏิบัติการทางอากาศและภาคพื้นดินในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของลาว พร้อมกับให้ลาวทำการโจมตีทางอากาศและอาจให้สหรัฐใช้เครื่องบินตรวจการณ์ติดอาวุธนั้น นักบินอาจโจมตีที่หมายเช่น ที่ตั้งปืนใหญ่หรือรถบรรทุกได้ตามที่เห็นสมควร

    ให้สหรัฐเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติการทางอากาศแบบ

    "เมื่อตีมาก็โต้ไป"

    เช่นเดียวกับที่ได้ปฏิบัติไประหว่างที่เกิดปะทะกันในอ่าวตังเกี๋ย นอกจากนี้จอห์นสันยังสั่งให้ "ปฏิบัติการทางเศรษฐกิจและการเมือง" ในเวียดนามใต้ด้วย เช่นใช้เงินอเมริกันจ่านเงินให้ข้ารัฐการเพิ่มขึ้นและให้ดำเนินการให้มีรัฐบาลมีความมั่นคง
    เรือพิฆาต "มอร์ตัน" และ "เอดเวิร์ดส์" ของสหรับเริ่มปฏิบัติการ "ดีโซโต" ใหม่เมื่อวันที่ 12 กันยายน หลังจากที่ประธานาธิบดีสั่งการแล้ว 2 วัน ในตอนกลางคืนวันที่ 18 กันยายน เรือทั้งสองก็ถูกเวียดนามเหนือโจมตี และประธานาธิบดีก็แถลงว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายผิดและสั่งให้เริ่มโจมตีชายฝั่งใหม่ตามแผน "34-เอ"

    จนถึงตอนกลางเดือนตุลาคม จึงได้มีการปฏิบัติตามแผนการลับในลาวเพิ่มขึ้นตามคำสั่งของจอห์นสัน

    เอกสารลับเพนตากอนกล่าวว่า เหตุผลประการหนึ่งที่ต้องรอเวลาปฏิบัติการลับในลาวก็เพราะในขณะนั้นมีการเจรจากันในปารีสระหว่างฝ่ายขวา กลาง และซ้ายของลาว รัฐบาลสหรัฐจึงจำเป็นจะต้องรอฟังผลของการเจรจาซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะยุติลงอน่างไร วัตถุประสงค์ในการเจรจาครั้งนี้ก็เพื่อจะตกลงกันในปัญหาหยุดยิง ซึ่งถ้าตกลงกันได้ก็อาจจะเป็นการแผ้วถางทางให้มรการประชุม 14 ชาติในเจนีวาใหม่เพื่อยุติสงครามกลางเมืองในลาว

    เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยว่า สหรัฐมีความเห็นว่าการหยุดยิงในลาวขณะนั้นไม่สอดคล้องกับการดำเนินนโยบายของสหรัฐ เพราะรัฐบาลสหรัฐเกรงว่าถ้าการเจรจาบรรลุถึงความตกลงกันจนมีการประชุม 14 ชาติแล้ว นานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติที่เป็นคอมมิวนิสต์ก็จะบีบบังคับให้มีการเจรจากันในปัญหาเวียดนามด้วย ถ้ามีการเจรจากันในเรื่องนี้ก็จะกระทบกระเทือนสถานะของรัฐบาลเวียดนามใต้

    รัฐบาลสหรัฐยังวิตกด้วยว่า แม้แต่การประชุมแก้ปัญหาลาวก็อาจทำให้วงการในไซ่ง่อนเข้าใจว่าสหรัฐหาทางที่จะถอนตัวไปจากเวียดนามใต้ และจะทำให้ระบอบไซ่ง่อนเริ่มล้มฟุบลงโดยจะมีรัฐบาลผสมเกิดขึ้นแทน ผลที่สุดสหรัฐก็จะต้องออกจากเวียดนามไป
     
  19. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ในบันทึกนโยบายของเจ้าหน้าที่ระดับสูงลงวันที่ 11 สิงหาคม เกี่ยวกับอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ วิลเลี่ยม บันดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกิจการเอเซียและแปซิฟิกกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

    เราควรหน่วงเหนี่ยวความคืบหน้าใดๆ ที่จะนำไปสู่การประชุมและพยุงสุวรรณภูมาให้อยู่ในสถานะที่ยืนหยัดอย่างมั่นคงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

    ข้อความที่วิลเลียม บันดี บันทึกไว้นี้เป็นคำแนะนำเอกอัครรัฐฑูตเลียวนาร์ด อังเกอร์ เสนอต่อเจ้าหน้าที่สุวรรณภูมาเพื่อให้เจ้าสุวรรณภูมายืนยันท่าทีของตนที่จะให้มีการปกครองบริเวณทุ่งไหหินโดยสามฝ่าย (ขวา กลางและซ้าย) อันเป็น "กลเม็ดสำหรับประวิงเวลา" (มิให้มีการเจรจาได้ผลก้าวหน้า)

    ผู้วิเคราะห์ของเพนตากอนกล่าวว่า การที่เจ้าสุวรรณภูมาได้ตั้งข้อเสนอนี่ต่อที่ประชุมในกรุงปารีสเมื่อวันที่ 1 กันยายน นั้น แสดงว่าเขาได้รับคำแนะนำจากนักการฑูตสหรัฐทั้งในเวลาก่อนหน้าและในระหว่างการประชุม ท่าทีของเจ้าสุวรรณภูมาที่แสดงให้เห็นว่าได้รับคำแนะนำจากนักการฑูตสหรัฐก็คือ การที่เขายืนยันให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ยอมรับสถานภาพทางกาเมืองของเขา และมิให้คอมมิวนิสต์ขัดขวางการปฏิบัติของคณะกรรมการตรวจตราและควบคุมการหยุดยิง

    ผู้วิเคราะห์ให้ข้อสังเกตในตอนเดือนกันยายนหลังจากที่การเจรจาตกลงหยุดยิงต้องหยุดชะงักลง เกี่ยวกับเรื่องที่ประธานาธิบดีมอบอำนาจเมื่อวันที่ 10 กันยายน ให้โจมตีที่หมายในลาว (ภาคตะวันออกเฉียงใต้) อย่างรุนแรงยิ่งขึ้นนั้น ต่อมานักการฑูตจากกรุงเทพ ฯ และเวียงจันทน์ได้ไปประชุมกันในไซ่ง่อนและลงความเห็นว่าไม่ควรให้กองทัพอากาศเวียดนามใต้ร่วมปฏิบัติการ เพราะจะทำความไม่พอใจให้แก่เจ้าสุวรรณภูมาและจะทำให้สถานะทางการเมืองของเขามีปัญหาซับซ้อน ดังนั้นการโจมตีดังกล่าวจึงจำกัดลง โดยใช้เครื่องบิน ที-28 ของลาว และเครื่องบินกองทัพเรือและกอทัพอากาศสหรัฐ (ใช้ชื่อระหัหว่า "แยงกีทีม") เท่านั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติการลับ

    ที่ประชุมยังมีความเห็นต่อไปด้วยว่า ในปฏิบัติการลับนี้ (ทิ้งระเบิดและการโจมตีภาคพื้นดินในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของลาว) จะยอมให้รัฐบาลลาวรู้เรื่องแต่เฉพาะในการที่เครื่องบิน ที-28 ของลาวไปปฏิบัติการเท่านั้น และจะต้องไม่แจ้งให้รัฐบาลลาวรู้ว่าทหารเวียดนามใต้และสหรัฐไปปฏิบัติการภาคพื้นดิน

    ในระหว่างที่สหรัฐและเวียดนามใต้มุ่งหน้าปฏิบัติตามแผนการลับต่อเวียดนามเหนือ ในวันที่ 1 พฤศจิกายนก่อนถึงกำหนดวันเลือกตั้งในสหรัฐ 2 วัน เวียดกงก็ระดมยิงเครื่องบินอเมริกันที่ท่าอากาศยานเบียนหัวซึ่งอยู่ใกล้กับไซ่ง่อนอย่างซึ่งหน้า การกะเวลาโจมตีของเวียดกงทำให้จอห์นสันตกอยู่ในฐานะลำบากที่จะตัดสินใจว่าควรสั่งการให้โจมตีตอบโต้อย่างเปิดเผยหรือไม่ เพราะจอห์นสันได้เคยออกคำสั่งเมื่อวันที่ 10 กันยายนว่า พร้อมที่จะสั่งให้ปฏิบัติการเช่นนี้ถ้าหน่วยทหารของสหรัฐถูกโจมตี หรือถ้าเวียดนามเหนือและเวียดกงร่วมกันปฏิบัติการอย่างใดๆ ต่อเวียดนามใต้

    การโจมตีของเวียดนามเหนือทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิต 4 คน เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บี-57 ถูกทำลาย 5 เครื่องและเสียหายอีก 8 เครื่อง เครื่องบินเหล่านี้จำนวนหนึ่งเป็นเครื่องบินจากญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์

    ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแม็คนามาราสั่งให้ตระเตรียมไว้สำหรับทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ และได้มีการย้ายเครื่องบินเหล่านี้ไปไว้ในเวียดนามใต้ เพื่อแสดงกำลังรบสนับสนุนสถานะของรัฐบาลเวียดนามใต้
    นับตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นมา มีรายงานว่าหน่วยรบในกองกำลังแปซิฟิกพร้อมอยู่เสมอที่จะปฏิบัติการแก้มือถ้าเวียดกงโจมตีเรือรบของสหรัฐ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ในวอชิงตันจึงคาดว่าสหรัฐจะแก้มือเวียดกง
     
  20. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ในระหว่างการประชุมกันเพื่อร่าง "ทางเลือก" สำหรับปฏิบัติการ เป็นที่เข้าใจว่าทางเลือกซึ่งที่ประชุมมิได้พิจารณากันเลยก็คือการถอนตัว ส่วนทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ "ผอลล์แบ็ค" (ถอนไปตั้งรับ) นั้น แม้จะมีการพิจารณากันแต่ที่ประชุมก็เห็นว่าเป็นทางเลือกที่ใช้ไม่ได้ การถอนไปตั้งรับนี้หมายความว่าชั้นแรกจะต้องธำรงแนวป้องกันไว้ โดยให้มีเจ้าหน้าที่อเมริกันอยู่ในเวียดนามใต้น้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามตั้งฐานทัพที่แข็งแกร่งขึ้นใหม่โดยอาจจะตั้งขึ้นในประเทศไทย

    จะเห็นได้ว่า การที่ที่ประชุมไม่ใช้ทางเลือกทั้งสองก็เพราะขัดกับนโยบายหลักของสหรัฐ คือการธำรงกำลังอันเข้มแข็งไว้ในเวียดนามใต้เพื่อกู้สถานะของรัฐบาล ด้วยการใช้กำลังทำลายฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งโจมตีเวียดนามเหนือ

    ร่างสุดท้ายของทางเลือกมีอยู่ 3 ข้อด้วยกันดังต่อไปนี้

    ทางแรกคือโจมตีเวียดนามเหนือเพื่อแก้มือ ทั้งนี้

    "มิใช่เป็นการโจมตีเพื่อตอบโต้ปฏิบัติการของเวียดกงเช่นที่เบียนหัวซ้ำอีกเท่านั้น" นอกจากนี้ก็ให้เพิ่มการโจมตีชายฝั่งตามแผน "34-เอ" มากยิ่งขึ้น ให้โจมตีเส้นทางแทรกซึมในลาวมากยิ่งขึ้นด้วยเครื่องบิน ที-28 และให้ทำการปฏิรูปในเวียดนาม

    ทางที่สองเป็นการ

    "เกร็งข้อบีบอย่างรวดเร็วและแรง"

    คือทิ้งระเบิดเวียดนามเหนืออย่างหนักหน่วงรุนแรงไม่ขาดสาย โดยในตอนแรกให้โจมตีท่าอากาศยานพุคเยนใกล้ฮานอย สะพาน และทางรถไฟติดต่อกับจีนคอมมิวนิสต์ เพื่อบังคับให้ยอมตามคำเรียกร้องของอเมริกัน การโจมตีทิ้งระเบิดดังกล่าวข้างต้นมีเจตนาที่จะประหัตประหารอย่างแท้จริงและโดยมิได้ต้องการที่จะหาทางประนีประนอมแม้แต่น้อย

    ปรากฎตามที่เอกสารลับเพนตากอนวิเคราะห์ไว้ว่า
    "หากการบีบบังคับให้ทำการเจรจา (ด้วยการทิ้งระเบิด) น่าพรั่นพรึงจน (เวียดนามเหนือ) ไม่สามารถที่จะแข็งขืนต่อไปได้ และยอมเจรจาก่อนทำความตกลงว่าจะยอมตาม (คำบงการของอเมริกัน) แล้ว สหรัฐก็พึงต้องกำหนดสถานะเพื่อการเจรจาของตนไว้ในทางที่เห็นว่าคอมมิวนิสต์จะไม่ยอมรับ โดยวิธีนี้ก็จะทำให้การประชุมล้มเลิกไปโดยเร็ว ดังนั้นก็ช่วยให้สหรัฐ (กล่าวอ้างเพื่อ) ใช้กำลังทหารบีบบังคับต่อไปใหม่"

    ทางเลือกที่สามเป็นการ

    "เกร็งข้อบีบอย่างช้าๆ"

    ด้วยวิธีโจมตีทางอากาศให้รุนแรงขึ้นทีละน้อย โดยกระทำต่อเส้นทางแทรกซึมในลาว และต่อมาก็ในเวียดนามเหนือ หลังจากนี้ก็โจมตีที่หมายในเวียดนามเหนือเพื่อ "ก่อให้เกิดความรู้สึกประทับใจว่าสหรัฐจงใจปฏิบัติการใกล้เข้าไปเรื่อยๆ อย่างไม่ถอยหลัง...วิธีนี้จะช่วยให้สหรัฐเลือกกระทำในขณะใดขณะหนึ่งได้จะปฏิบัติการคืบหน้าต่อไปหรือไม่ และจะโจมตีอย่างหนักหน่วงรุนแรงยิ่งขึ้นหรือไม่ จะโจมตีให้ถี่ยิ่งขึ้นหรือไม่" นอกจากการโจมตีทางอากาศ ก็อาจเคลื่อนย้ายกำลังภาคพื้นดินไปไว้ในตอนเหนือของเวียดนามใต้ด้วย

    ในวันที่ 24 พฤศจิกายน คณะกรรมการของสภาความมั่นคงแห่งชาติได้ประชุมกันเพื่อพิจารณาทางเลือกทั้งสามนั้น ปลัดกระทรวงการต่างประเทศยอร์ช ดับลิว.บอลล์ ได้แสดงความเห็นค้านเป็นครั้งแรกต่อนโยบายเวียดนาม บอลล์ไม่เชื่อว่าการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือจะช่วยให้สถานการณ์ในเวียดนามใต้ดีขึ้น ทั้งไม่เห็นด้วยกับทฤษฎี "ฟอลลิ่งโดมิโน" (ล้มทับกันต่อๆ ไป) ที่ว่า ถ้าเวียดกงมีชัยในเวียดนามใต้ (รัฐบาลเวียดนามใต้ล้ม) รัฐบาลประเทศอื่นๆ ในอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็จะล้มลงด้วย

    เอกสารลับเพนตากอนเปิดเผยว่า ในขณะที่คณะผู้ปฏิบัติงานกำลังประชุมกัน บอลล์ได้ร่างนโยบายขึ้นสำหรับแก้ปัญหาเวียดนาม นโยบายนี้แนะนำให้สหรัฐหันไปใช้วิธีการฑูตเมื่อเห็นว่ารัฐบาลเวียดนามใต้จะล้มลง ทั้งนี้โดยให้สหรัฐติดต่ออังกฤษเพื่อให้อังกฤษขอความร่วมมือจากสหภาพโซเวียตในการจัดให้มีการประชุมระหว่างประเทศขึ้นเพื่อหาทางประนีประนอมกันในทางการเมือง การประชุมนี้จะเป็นการประชุมขนาดเล็กกว่าที่เจนีวา ไม่ปรากฎว่ามีการพิจารณาข้อเสนอแนะแนวนโยบายของบอลล์ต่อมาอย่างไรหรือไม่ อย่างไรก็ดี ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน บอลล์ได้แสดงความเห็นทางเลือกทางแรกแต่เพียงผู้เดียว บทวิเคราะห์ของคณะผู้ปฏิบัติงาน (ซึ่งร่างทางเลือกทั้งสาม) กล่าวว่าข้อได้เปรียบจากทางเลือกทางนี้มี 2 ประการ

    ประการแรก

    การแพ้หรือชนะขึ้นอยู่กับเวียดนามใต้ ถ้าเวียดนามใต้ล้มก็แพ้ สหรัฐเองจะมีส่วนพัวพันน้อยกว่าในทางเลือกที่สองและสาม

    ประการที่สอง

    ผลที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุดคือ การตกลงกันเพื่อเจรจาระหว่างเวียดนามเพื่อรวมกัน เมื่อเวียดนามรวมกันแล้วคอมมิวนิสต์เวียดนามก็จะเป็นศัตรูกับจีนคอมมิวนิสต์เช่นที่เคยเป็น และจะไม่ล่วงล้ำเข้าสู่ลาวหรือกัมพูชา
    แม้ว่ารัฐมนตรีว่าการต่างประเทศรัสค์จะเห็นด้วยกับการทิ้งระเบิดญวนเหนือ แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับบทวิเคราะห์ข้างต้นซึ่งแสดงนัยว่า ไม่ว่าสหรัฐจะปฏิบัติการมากหรือน้อยเพียงไรก็จะได้ชื่อว่าพยายามทำอย่างดีที่สุดแล้วในสายตาของนานาประเทศ รัสค์เห็นว่าถ้าเกิดความล้มเหลวขึ้น สถานะของสหรัฐก็จะเลวลง จะมากหรือน้อยก็สุดแล้วแต่ความพยายาม ยิ่งทำมากก็ยิ่งเลวมาก

    การประชุมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน สิ้นสุดลงโดยมิได้มีการตัดสินใจว่าจะเลือกทางไหน หลังจากที่มีการประชุมปัญหานี้กันอีกหลายครั้งและได้ตกลงกันแก้ไขปรับปรุงรายละเอียดบางประการแล้ว ก็ได้มีการเสนอให้จอห์นสันพิจารณาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ในที่สุดจอห์นสันได้อนุมัติให้ใช้ทางเลือกที่ 1 และที่ 3 เพราะเห็นว่าเป็นปฏิบัติการที่จะ

    "รวบรวมเวียดนามเข้าด้วยกัน"

    อันจะเป็นมูลฐานสำหรับการปฏิบัติในขั้นต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...