เรียนถามเรื่องกสิณหน่อยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เลนิน, 18 มิถุนายน 2013.

  1. เลนิน

    เลนิน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +17
    1. การเพ่งกสิณถือเป็นแนวพุทธแท้หรือไม่ครับ คือผมได้ยินมาไม่ค่อยดีนักประมาณว่าการเพ่งกสิณจะออกในแนวฤาษีชีไพรหรือพวกที่ต้องการอภิญญา ไม่ใช่แนวหลุดพ้นปล่อยวางเหมือนการฝึกดูลมหายใจ ก็เลยกลัวผิดทางแต่ในความคิดผมแล้วการฝึกกสิณน่าจะง่ายกว่าการดูลมเยอะ เพราะการดูลมปกติเราก็หายใจเเล้วคิดฟุ้งซ่านบ่อยๆอยู่เเล้วเป็นปกติ แต่ถ้าต้องให้นั่งเพ่งอะไรเเล้วหลับจำอยู่ตลอดอาการฟุ้งกันอาการง่วงจะเกิดน้อยกว่ามาก ผมจึงอยากจะฝึกกสิณแทนการฝึกอานาปานสติครับ

    2. การฝึกกสิณเราเลือกเอาซักอย่างหนึ่งได้เลยใช่ไหมครับ เช่นผมอยากฝึกกสิณสีเขียวเพราะมันจำง่ายก็ฝึกได้เลยใช่ไหมครับ

    3. หากผมจะฝึกกสิณสีเขียวนี้ผมสามารถใช้กระดาษ a4 ปริ้นรูปวงกลมใหญ่สีเขียวเต็มกระดาษมาแปะไว้ที่ผนังห้องสีขาวเเล้วนั่งเพ่งจะได้ไหมครับ หรือต้องซื้อแผ่นกสิณสำเร็จรูปเท่านั้น

    4. ในการเพ่งแต่ละสำนักแต่ละอาจารย์แต่ละบทความบอกไม่เหมือนกัน เช่นบางบทความเงื่อนไขเยอะเพ่งคราวแรก 15 วิ คราว 2 5วิ คราว3 3 วิ หรือบางบทความไม่ต้องจำกัดที่เวลาเพ่งเเล้วจำพอเริ่มเลือนเพ่งใหม่เเล้วจำ จนกว่าจะเกิดสมาธิ เลยงงว่าแบบไหนถูกกันแน่ครับ

    5. เวลาในการเพ่งถือว่ายิ่งเยอะยิ่งดีไหม หรือต้องทำวันละนิด คือผมอยากหยุดงานซักระยะ(มีวันลาเหลือเยอะมาก)นั่งเพ่งเป็นจริงเป็นจังซะเลย

    ขออนุโมธนาทุกท่านที่ให้ธรรมทานในครั้งนี้ด้วยครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จะฝึกอานาปานสติก็ดี หรือ จะเพ่งกสิณก็ดี ให้สังเกตดีดี ว่า เราทำเพื่ออะไร

    ให้สังเกตุเข้ามาที่ " ความเป็นเหตุ เป็นผล " ที่เผ้นหาอุบายการฝึก ว่า ตกลง
    เป้าหมายนั้น เพื่ออะไร

    จากข้อความข้างต้น คุณยกสภาพธรรมชื่อ " อาการฟุ้ง " ขึ้นเพียรเพ่ง

    จะทำกรรมฐานอะไร ก็ใช้ สภาพธรรมที่ปรากฏในจิต จับต้องได้ รู้สึกได้
    เหมือนตาเห็นรูป คุ้นเคยอาการของจิตที่เรียกว่า " อาการฟุ้ง "

    เมื่อ ระลึกรู้แล้ว คุณก็สำรวจสวนไปหาเหตุว่า ทำอะไร สมาทานอุบาย
    อะไร อบรมจิตอย่างไร " อาการฟุ้ง " จึงไม่ปรากฏ

    ทีนี้ ก็เพียงแต่สำรวจโดยไม่ประมาท คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน อุบาย ที่ใช้
    เพราะว่า กาลหนึ่ง อานาปานสติอาจจะใช้ได้ผล อีกกาลหนึ่งก็ใช้กสิณ
    ได้ผล กาลหนึ่งอาจจะใช้เมตตาพรหมวิหารได้ผล อีกกาลหนึ่งก็ต้องใช้
    อสุภกรรมฐาน จึงได้ผล

    ความแปรปรวนของ กรรมฐานที่ใช้ เพื่อเป็น อุบายข้ามความฟุ้ง ที่เป็นโอฆะ
    ปรากฏอยู่

    ความแปรปรวนของกรรมฐาน หรือ ตัวกรรมฐานเองที่ใช้ ก็เป็น สิ่งปรุงแต่ง
    มีทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้ เหมือนๆกันกับ สภาพธรรม อาการฝุ้ง

    การที่ใช้ อุบาย สมาทานกรรมฐานอันใด แล้วข่มนิวรณ์ ได้ เรียกว่า เจโตวิมุติ

    การที่เห็น อุบาย ที่สมาทาน ปรากฏเป็นของไม่เที่ยง เสมอกันกับ สังขตธรรม
    อื่นๆ เป็นเรื่องของการเจริญ " ปัญญา " หากทำสำเร็จ ไม่ยึดมั่นถือมั่นแม้ใน
    กรรมฐานต่างๆ โดยที่ไม่อิ่มในความดี(ไม่เลิกทำกรรมฐาน มีวิหารธรรมตลอด
    เพื่อความ ไม่ประมาท) ก็จะเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ

    ยกสังเกต ความเป็นเหตุ เป็นผล ของการภาวนา เอาไว้ด้วย

    เพื่อที่ว่า จะได้ไม่ต้องมาลังเลว่า กรรมฐานไหนดีกว่า โดยเอา เหตุผล
    เชิงกิเลสมาทับถม ....เพราะ ทุกกรรมฐาน มีคุณค่าเสมอกันหมด
    ในแง่ของ วิมุตติ
     
  3. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    1. การเพ่งกสิณถือเป็นแนวพุทธแท้หรือไม่ครับ คือผมได้ยินมาไม่ค่อยดีนักประมาณว่าการเพ่งกสิณจะออกในแนวฤาษีชีไพรหรือพวกที่ต้องการอภิญญา ไม่ใช่แนวหลุดพ้นปล่อยวางเหมือนการฝึกดูลมหายใจ ก็เลยกลัวผิดทางแต่ในความคิดผมแล้วการฝึกกสิณน่าจะง่ายกว่าการดูลมเยอะ เพราะการดูลมปกติเราก็หายใจเเล้วคิดฟุ้งซ่านบ่อยๆอยู่เเล้วเป็นปกติ แต่ถ้าต้องให้นั่งเพ่งอะไรเเล้วหลับจำอยู่ตลอดอาการฟุ้งกันอาการง่วงจะเกิดน้อยกว่ามาก ผมจึงอยากจะฝึกกสิณแทนการฝึกอานาปานสติครับ
    ------->เลือกเอาซักอย่างครับ กสิณก็ได้อานาปานุสติก็ดี ในพระไตรปิฏกก็มีเรื่องของพระหลายองค์ที่ฝึกกสิณ จุดหมายในการฝึกคือ การเข้าถึงสัมมาสมาธิ หรือ ฌานสมาบัติ เท่านั้นครับ

    2. การฝึกกสิณเราเลือกเอาซักอย่างหนึ่งได้เลยใช่ไหมครับ เช่นผมอยากฝึกกสิณสีเขียวเพราะมันจำง่ายก็ฝึกได้เลยใช่ไหมครับ
    ---------->ถูกครับ ชอบใจก็เอาเลย

    3. หากผมจะฝึกกสิณสีเขียวนี้ผมสามารถใช้กระดาษ a4 ปริ้นรูปวงกลมใหญ่สีเขียวเต็มกระดาษมาแปะไว้ที่ผนังห้องสีขาวเเล้วนั่งเพ่งจะได้ไหมครับ หรือต้องซื้อแผ่นกสิณสำเร็จรูปเท่านั้น
    --------->ได้ครับ ให้ดูแล้วรู้ว่าเป็นสีเขียว เวลานึกถึงภาพวงกลม แล้วนึกออกเป็นวงสีเขียวก็ใช้ได้แล้วครับ

    4. ในการเพ่งแต่ละสำนักแต่ละอาจารย์แต่ละบทความบอกไม่เหมือนกัน เช่นบางบทความเงื่อนไขเยอะเพ่งคราวแรก 15 วิ คราว 2 5วิ คราว3 3 วิ หรือบางบทความไม่ต้องจำกัดที่เวลาเพ่งเเล้วจำพอเริ่มเลือนเพ่งใหม่เเล้วจำ จนกว่าจะเกิดสมาธิ เลยงงว่าแบบไหนถูกกันแน่ครับ
    --------->ลืมตามองนานๆ ตาจะแห้ง แสบตา ถ้าเป็นกสิณแสงหรือกสิณไฟ ลืมตามองนานๆ ตาจะเสียเอาครับ จุดมุ่งหมายของการมองคือ มองให้รู้ว่ารูปร่างหน้าตาของมันเป็นอย่างไร มองแล้วก็หลับตานึกถึงภาพนั้น นึกไม่ออกก็ลืมตามาดูใหม่ ภาพที่นึกไว้เลือนไปก็ลืมตามาดูใหม่ แค่2-3วินาทีก็พอแล้วครับ

    5. เวลาในการเพ่งถือว่ายิ่งเยอะยิ่งดีไหม หรือต้องทำวันละนิด คือผมอยากหยุดงานซักระยะ(มีวันลาเหลือเยอะมาก)นั่งเพ่งเป็นจริงเป็นจังซะเลย
    ------->ถ้าหยุดงานได้ก็ทำทั้งวันไปเลยครับ สลับไปมากับการเจริญสติ และการเดินจงกรมด้วย ก่อนนอนก็ประคองใจเบาๆนึกถึงภาพกสิณเบาๆจนหลับไปเลย ถ้าภาพหายไปก่อนจะหลับแล้วนึกไม่ออก ก็เจริญสติหรือจับลมหายใจเบาๆแล้วเข้านอนไปแทน ตื่นมาแล้วค่อยมองดูวงกสิณใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2013
  4. chotipala

    chotipala Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +89
    ๑. การเพ่งกสิณอยู่ในหมวดกรรมฐาน ๔๐ กอง เป็นสัมมาสมาธิ.พุทธแท้หรือไม่อยู่ที่จิตใจท่านศรัทธาพระพุทธเจ้าหรือไม่
    ๒.สีเขียวอยู่ใน ๑๐ กองแรก ใช้กองไหนก็ได้ ตามที่ท่านเห็นควร ๑ ใน ๑๐.
    ๓.ใช้ได้เช่นกันหรือนึกถึงป่าทั้งป่าที่เป็นสีเขียวก็ได้นะ.
    ๔.การเพ่งเพื่อให้เกิดสมาธิ.๑ วินาทีก็ได้.อ่านหนังสือพิมพ์ก็เป็นสมาธิแล้ว(มี ๓ ระดับ )
    ๕.ตามอัคธยาศัยของท่าน...ขอให้เจริญในธรรม....ลดความทรนงของจิตให้ได้....สาธุๆๆ
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    [​IMG]

    คุณค่าของการเจริญสมาธิ


    ปัญหาพระพุทธเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญสมาธิไว้อย่างไรบ้าง ?


    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐวีกสิณแม้ชั่วกาลเพียงลัดมือเดียวภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาทไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยการกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปฐวีกสิณนั้นเล่า....”<O:p</O:p


    ปสาทกรธัมมาทิปาลี เอ. อํ. (๒๒๔)

    ตบ. ๒๐ : ๕๔ ตท. ๒๐ : ๕๐

    ตอ. G.S. I : ๓๘<O:p</O:p
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    [​IMG]


    มหาสกุลุทายิสูตร

    สูตรว่าด้วยสกุลุทายิปริพพาชก สูตรใหญ่


    ๑ . พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นปริพพาชกที่มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ในปริพพาชการาม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง หลายคนด้วยกัน เช่น อันนภารปริพพาชก วรตรปริพพาชก สกุลุทายิปริพพาชก และปริพพาชกที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ . ในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคเสด็จไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ได้เสด็จแวะ ณ อารามของปริพพาชกนั้น สกุลุทายิปริพพาชกทูลเชิญให้ประทับ ณ อาสนะที่ปูไว้ ตนเองนั่งบนอาสนะที่ต่ำกว่า แล้วเล่าถวายถึงข้อความสนทนากับสมณพราหมณ์ลัทธิต่าง ๆ ซึ่งประชุมกันในศาลาฟังควาวมคิดเห็น ( ตามศัพท์ กุตูหลศาลา แปลว่า ศาลาตื่นข่าว แต่อรรถกถาแสดงไปในรูปว่า คนส่วนใหญ่ประชุมกันเพื่อจะฟังว่า ใครจะพูดอะไร ) ในวันก่อน ๆ ที่ว่า เป็นลาภของชาวอังคะ , มคธะ ที่มีสมณพราหมณ์เจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีคนรู้จัก มียศ เป็นเจ้าลัทธิ อันคนส่วนมากนับถือกันว่าเป็นผู้ดีงาม จำพรรษาอยู่ในกรุงราชคฤห์. แล้วระบุชื่อครูทั้งหกมีปูรณกัสสป เป็นต้น มีนิครนถนาฏบุตรเป็นที่สุดและพระสมณโคดม แล้วได้เกิดปัญหาว่า ในท่านเหล่านี้ ใครเป็นผู้ที่สาวกสักการะเคารพบูชาอาศัยอยู่.

    ๒. แล้วได้ทูลเล่าต่อไปว่า บางคนได้พูดถึงเจ้าลัทธิทั้งหกแต่ละคนว่า สาวกได้คัดค้านหาว่าปฏิบัติผิด ไม่แสดงความเคารพสักการะ แต่เมื่อกล่าวถึงพระสมณโคดมก็พากันสรรเสริญว่า ในขณะที่ทรงแสดงธรรมถ้าสาวกรูปใดไอ ก็จะมีเพื่อนพรหมจารีใช่เข่ากระตุ้นไม่ให้ทำเสียง จึงไม่มีเสียงจามเสียงไอจากสาวกของพระสมณโคดมในขณะที่ทรงแสดงธรรม. หมู่มหาชนประสงค์จะฟัง ก็จะได้ฟังตามพอใจ. แม้สาวกของพระสมณะโคดมที่บอกคืนสิกขาสึกออกไป ก็กล่าวสรรเสริญศาสดา สรรเสริญพระธรรม สรรเสริญพระสงฆ์ เป็นคนทำงานวัดบ้าง เป็นอุบาสกบ้าง สมาทานศึกษาในสิกขาบท ๕ ( ศีล ๕) พระสมณโคดมจึงเป็นผู้อันสาวกสักการะเคารพนับถือบูชา อาศัยอยู่อย่างนี้.

    ๓. ตรัสถามว่า ท่านเห็นสาวกของเราเห็นธรรมกี่อย่างในเราจึงสักการะเคารพ เป็นต้น. สกุลุทายิปริพากทูลว่า ๕ อย่าง คือพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ ๑. มีอาหารน้อย พรรณนาคุณแห่งความเป็นผู้มีอาหารน้อย ๒. ถึง ๔ ( รวม ๓ ข้อ ) สันโดษด้วยจีวร ( เครื่องนุ่งห่ม), บิณฑบาต ( อาหาร ) และเสนาสนะ ( ที่นอนที่นั่งหรือที่อยู่อาศัย ) ตามมีตามได้ พรรณนาคุณแห่งความ+สันโดษนั้น ๆ ๕. เป็นผู้สงัด พรรณนาคุณแห่งความสงัด.

    ๔. ตรัสตอบชี้แจงพึงธรรม ๕ ประการที่สาวกเห็นแล้วสักการะเคารพ เป็นต้น ในพระองค์โดยละเอียดแล้วตรัสชี้ข้อธรรมอื่นอีก ๕ ข้อ คือ ๑. เห็นว่าทรงศีล ๒. เห็นว่าทรงแสดงธรรม เพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่เพื่อไม่รู้ยิ่ง? มีเหตุ? มิใช่ไม่มีเหตุ? มีปาฏิหารย์ มิใช่ไม่มีปาฏิหารย์ ๓ . เห็นว่าทรงปัญญา ๔. เห็นว่าทรงตอบปัญหาเรื่องอริยสัจจ์ ๔ อย่างน่าพอใจ ๕. เราได้บอกปาฏิปทาแก่สาวกของเรา สาวกของเราปฏิบัติตามแล้ว ก็เจริญสติปัฏฐาน ( การตั้งสติ ) ๔ อย่าง, สัมมัปปธาน ( ความเพียรชอบ ) ๔ อย่าง , อิทธิบาท ( ธรรมะให้บรรลุความสำเร็จ ) ๔ อย่าง, อินทรีย์ ( ธรรมะอันเป็นใหญ่มีศรัทธา เป็นต้น ) ๕ อย่าง, พละ ( ธรรมะอันเป็นกำลัง ) ๕ อย่าง , โพชฌงค์ ( องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ ) ๗ อย่าง, อริยมรรค ( ทางอันประเสริฐ ) มีองค์ ๘ , วิโมกข์ ( ความหลุดพ้น ) ๘ อย่าง, อภิภายตนะ ( อายตนะอันเป็นใหญ่ ) ๘ อย่าง ( มีความสำคัญในรูปภายในเห็นรูปภายนอกครอบงำรูปเหล่านั้น รู้เห็น เป็นต้น ), กสิณายตนะ ( อายตนะคือกสิณ ) ๑๐ อย่าง ( มีปฐวีกสิณคือกสิณมีดินเป็นอารมณ์ เป็นต้น ) , ฌาน ๔ ( มีฌานที่ ๑ เป็นต้น ), รู้ว่ากายมีรูปไม่เที่ยง มีความแตกดับไปเป็นธรรมดา วิญญาณอาศัยเนื่องกับกายนั้น, นิรมิตกายอื่นได้ ( มโนยิทธิ – ฤทธิ์ทางใจ ), แสดงฤทธิ์ได้ , มีหูทิพย์, รู้ใจคนอื่น ( เจโตปริยญาณ), ระลึกชาติได้ , มีตาทิพย์ หรือเห็นความตายความเกิด, ได้บรรลุความหลุดพ้นเพราะสมาธิและเพราะปัญญา อันไม่มีอาสวะ ( ข้อที่ ๔ นี้ยาวมากเพราะปรารภธรรมะที่สาวกเจริญและได้บรรลุหลายอย่าง).
    สกุลุทายิปริพพาชกก็ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค.

    ที่มา พระไตรปิฏก ฉบับ สำหรับประชาชน มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน้า ๔๓๙.

    __________________________________________________________
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    [​IMG]


    กสิณ ๑๐

    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )


    ปฐวีกสิณ

    กสิณนี้ ท่านเรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์ ศัพท์ว่า "ปฐวี" แปลว่า
    "ดิน" กสิณ แปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ความว่า "เพ่งดิน"

    อุปกรณ์กสิณ

    ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปกรณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำให้เตียนสะอาด
    จากผงธุลี หรือจะทำเป็นสะดึงยกไปยกมาได้ ก็ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้น
    ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามเอาดินสีอื่นมาปน ถ้าจำเป็นหาดินสีอรุณไม่ได้มาก ท่านให้เอาดิน
    สีอื่นรองไว้ข้างล่างแล้วเอาดินสีอรุณทาทับไว้ข้างบน ดินสีอรุณนี้ ท่านโบราณาจารย์ท่านว่าหาได้จาก
    ดินขุยปู เพราะปูขุดเอาดินสีอรุณขึ้นไว้ปากช่องรูที่อาศัย เมื่อหาดินได้ครบแล้ว ต้องทำสะดึงตาม
    ขนาดดังนี้ ถ้าทำเป็นลานติดพื้นดิน ก็มีขนาดเท่ากัน

    ขนาดดวงกสิณ

    วงกสิณที่ทำเป็นวงกลมสำหรับเพ่ง อย่างใหญ่ท่านให้ทำไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ คืบ ๔
    นิ้ว อย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน ระยะนั่งเพ่งบริกรรม ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า ๒ คืบ ๔ นิ้ว
    ตั่งที่รองวงกสิณ ท่านให้สูงไม่เกิน ๒ คืบ ๔ นิ้ว ท่านว่าเป็นระยะที่พอเหมาะพอดี เพราะจะได้
    ไม่มองเห็นรอยที่ปรากฏบนดวงกสิณ ที่ท่านจัดว่าเป็นกสิณโทษ เวลาเพ่งกำหนดจดจำ ท่านให้
    มุ่งจำแต่สีดิน ท่านไม่ให้คำนึงถึงขอบและริ้วรอยต่าง ๆ

    กิจก่อนการเพ่งกสิณ

    เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ท่านให้ชำระร่างกายให้สะอาด แล้วนั่งขัดสมาธิที่ตั่ง
    สำหรับนั่ง หลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ ๕ ประการ ตามนัยที่กล่าวในอสุภกรรมฐาน ต้องการ
    ทราบละเอียดโปรดเปิดไปที่ บทว่าด้วยอสุภกรรมฐาน จะทราบละเอียด เมื่อพิจารณาโทษของ
    กามคุณจนจิตสงบจากนิวรณ์แล้วให้ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณจดจำให้ดีจนคิดว่าจำได้ก็หลับตาใหม่
    กำหนดภาพกสิณไว้ในใจ ภาวนาเป็นเครื่องผูกใจไว้ว่า "ปฐวีกสิณ" เมื่อเห็นว่าภาพเลือนไปก็ลืมตา
    ดูใหม่ เมื่อจำได้แล้วก็หลับตาภาวนากำหนดจดจำภาพนั้นต่อไป ทำอย่างนี้บ่อยๆ หลายร้อยหลายพัน
    ครั้งเท่าใดไม่จำกัด จนกว่าอารมณ์ของใจจะจดจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี จะเพ่งมองดูหรือไม่
    ก็ตาม ภาพกสิณนั้นก็จะติดตาติดใจ นึกเห็นภาพได้ชัดเจนทุกขณะที่ปรารถนาจะเห็นติดตาติดใจ
    ตลอดเวลา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "อุคคหนิมิต" แปลว่า นิมิตติดตา อุคคหนิมิตนี้ ท่านว่ายังมีกสิณ
    โทษอยู่มาก คือภาพที่เห็นเป็นภาพดินตามที่ทำไว้ และขอบวงกลมของสะดึง ย่อมปรากฏริ้วรอย
    ต่าง ๆ เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตแล้ว ท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตนั้นไว้จนกว่า
    จะได้ปฏิภาคนิมิต ปฏิภาคนิมิตนั้น รูปและสีของกสิณเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำเป็นวงกลมด้วย
    ดินแดงนั้น จะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดผ่องใสคล้ายน้ำที่กลิ้ง อยู่ในใบบัว ฉะนั้น
    รูปนั้นบางท่านกล่าวว่าคล้ายดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกปิดบัง เอากันง่าย ๆ ก็คือ เหมือน
    แก้วที่สะอาดนั่นเอง รูปคล้ายแว่นแก้ว จะกำหนดจิตให้เล็กโตสูงต่ำได้ตาม ความประสงค์
    อย่างนี้ท่านเรียกปฏิภาคนิมิต เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วท่านให้นักปฏิบัติเก็บตัว อย่ามั่วสุมกับ
    นักคุยทั้งหลาย จงรักษาอารมณ์ รักษาใจให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิเป็นอันดี อย่า สนใจใน
    อารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อยหนึ่ง เพราะแม้นิดเดียวของนิวรณ์ อาจทำอารมณ์ สมาธิที่กำลัง
    จะเข้าสู่ระดับฌานนี้ให้สลายตัวได้โดยฉับพลัน ขอท่านนักปฏิบัติจงระมัดระวัง อารมณ์รักษา
    ปฏิภาคนิมิตไว้ คล้ายกับระมัดระวังบุตรสุดที่รักที่เกิดในวันนั้น

    จิตเข้าสู่ระดับฌาน

    เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง ๑๐ อย่างนั้น
    มีอารมณ์ดังนี้ ฌานในกสิณนี้ท่านเรียกว่าฌาน ๔ บ้าง ฌาน ๕ บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการ
    เข้าใจผิด ขออธิบายฌาน ๔ และ ฌาน ๕ ให้เข้าใจเสียก่อน

    ฌาน ๔

    ฌาน ๔ ท่านเรียกว่า จตุตถฌาน ท่านถืออารมณ์อย่างนี้
    ๑. ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือ ละวิตกและวิจารเสียได้ คงดำรงอยู่ในองค์ ๓ คือ ปีติ สุข
    เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ ดำรงอยู่ในสุขกับเอกัคคตา
    ๔. จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา
    กับเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑
    ฌาน ๔ หรือที่เรียกว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึง ๔ ท่านจัดไว้อย่างนี้ สำหรับในที่บางแห่ง
    ท่านว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๕ ท่านจัดของท่านดังต่อไปนี้

    ฌาน ๕

    ๑. ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌานมีองค์ ๔ คือ ละวิตกเสียได้ คงทรง วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌานมีองค์ ๓ คือ ละวิตก วิจาร เสียได้ คงทรง ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๔. จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ คงทรงสุขกับเอกัคคตา
    ๕. ฌาน ๕ หรือที่เรียกว่าปัญจมฌาน มีองค์สองเหมือนกันคือ ละวิตก วิจาร ปีติ
    สุขเสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา และเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑
    เมื่อพิจารณาดูแล้ว ฌาน ๔ กับฌาน ๕ ก็มีสภาพอารมณ์เหมือนกัน ผิดกันนิดหน่อยที่
    ฌาน ๒ ละองค์เดียว ฌาน ๓ ละ ๒ องค์ ฌาน ๔ ละ ๓ องค์ มาถึงฌาน ๕ ก็มีสภาพเหมือน
    ฌาน ๔ ตามนัยนั่นเอง อารมณ์มีอาการเหมือนกันในตอนสุดท้าย อารมณ์อย่างนี้ ท่านแยกเรียก
    เป็นฌาน ๔ ฌาน ๕ เพื่ออะไรไม่เข้าใจเหมือนกัน กสิณนี้ถ้าท่านผู้ปฏิบัติทำให้ถึงฌาน ๔ หรือ
    ฌาน ๕ ซึ่งมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่ได้เจริญ
    ในกสิณนั้นเอง เมื่อได้แล้วก็ต้องฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่องแคล่ว กำหนดเวลาเข้า เวลา
    ออกให้ได้ตามกำหนด จนเกิดความชำนาญ เมื่อเข้าเมื่อไร ออกเมื่อไรได้ตามใจนึก การ เข้า
    ฌานต้องคล่องไม่ใช่เนิ่นช้าเสียเวลาแม้ครึ่งนาที พอคิดว่าเราจะเข้าฌานละก็เข้าได้ทันที ต้องยึด
    ฌาน ๔ หรือฌาน ๕ คือเอาฌานที่สุดเป็นสำคัญ เมื่อเข้าฌานคล่องแล้ว ต้องฝึกนิรมิตตามอำนาจ
    กสิณให้ได้คล่องแคล่วว่องไว จึงจะชื่อว่าได้กสิณกองนั้น ๆ ถ้ายังทำไม่ได้ถึง ไม่ควรย้ายไปปฏิบัติ
    ในกสิณกองอื่น การทำอย่างนั้นแทนที่จะได้ผลเร็ว กลับเสียผล คือของเก่าไม่ทันได้ ทำใหม่
    เก่าก็จะหาย ใหม่ก็จะไม่ปรากฏผล ถ้าชำนาญช่ำชองคล่องแคล่วในการนิรมิต อธิษฐานแล้ว
    เพียงกองเดียว กองอื่นทำไม่ยากเลย เพราะอารมณ์ในการฝึกเหมือนกันต่างแต่สีเท่านั้น
    จะเสียเวลาฝึกกองต่อๆ ไป ไม่เกินกองละ ๗ วัน หรือ ๑๕ วัน เป็นอย่างสูง จะนิรมิตอธิษฐานได้
    สมตามที่ตั้งใจของนักปฏิบัติ จงอย่าใจร้อน พยายามฝึกฝน จนกว่าจะได้ผลสูงสุดเสียก่อน
    จึงค่อยย้ายกองต่อไป

    องค์ฌานในกสิณทั้ง ๑๐ กอง

    ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำหนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมิต
    นั้นเป็นอารมณ์ วิจาร พิจารณาปฏิภาคนิมิตนั้น คือพิจารณาว่า รูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงดงาม คล้าย
    แว่นแก้วที่มีคนชำระสิ่งเปรอะเปื้อนหมดไป เหลือไว้แต่ดวงเก่าที่บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากธุลีต่างๆ

    ปีติ มีประเภท ๕ คือ

    ๑. ขุททกาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้าและน้ำตาไหล
    ๒. ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ
    ๓. โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง คล้ายเรือที่ถูกคลื่นซัด บางท่าน
    ก็นั่งโยกไปโยกมา อย่างนี้เรียก โอกกันติกาปีติ
    ๔. อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยไปได้ไกลหลายๆ กิโลก็มี
    ๕. ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าซาบซ่านทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายใหญ่
    สูงขึ้นกว่าปกติ

    สุข มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต
    เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติ ไม่สอดส่าย
    อารมณ์ออกนอกจากปฏิภาคนิมิต
    ทั้ง ๕ อย่างนี้เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่นๆ แปลกแต่กสิณนี้
    มีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้าสู่จตุตถฌาน หรือ
    ปัญจมฌาน
    ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือ ตอนนี้จะเว้นจากการภาวนาไปเอง การกำหนดพิจารณารูปกสิณ
    จะยุติลง คงเหลือแต่ความสดชื่นด้วยอำนาจปีติ อารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาคนิมิตจะสดสวยงดงาม
    วิจิตรตระการตามากกว่าเดิม มีอารมณ์เป็นสุขประณีตกว่าเดิม อารมณ์จิตแนบสนิทเป็น สมาธิ
    มากกว่า
    ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้ เหลือแต่ความสุขแบบเครียดๆ
    คือมีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต คล้ายใครเอาเชือกมามัดไว้มิให้เคลื่อนไหว ลมหายใจอ่อนระรวยน้อยเต็มที่
    ภาพนิมิตดูงามสง่าราศีละเอียดละมุนละไม มีรัศมีผ่องใสเกินกว่าที่ประสบมา อารมณ์ของจิตไม่สนใจ
    กับอาการทางกายเลย
    จตุตถฌาน ทรงไว้เพียงเอกัคคตา กับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่ง ไม่มีอารมณ์รับความสุข
    และความทุกข์ใดๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น มีอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ทั้งมวลมีจิตสว่างโพลง
    คล้ายใครเอาประทีปที่สว่างมากหลายๆ ดวงมาตั้งไว้ในที่ใกล้ ไม่มีอารมณ์รับแม้แต่ เสียงลมหายใจ
    สงัด รูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก ฌานที่ ๔ เป็นฌานสำคัญชั้นยอด ควรกำหนดรู้แบบง่ายๆ
    ไว้ว่า เมื่อมีอารมณ์จิตถึงฌาน ๔ จะไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ควรกำหนดไว้ง่ายๆ แบบนี้สะดวกดี
    ท่านทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบของกสิณต้องถึง
    ฌาน ๔ และนิมิตอะไรต่ออะไรตามอำนาจกสิณ ถ้าทำไม่ถึงกับนิมิตได้ตามอำนาจกสิณ ก็เป็น
    เสมือนท่านยังไม่ได้กสิณเลย

    อาโปกสิณ

    อาโปกสิณ อาโป แปลว่า น้ำ กสิณ แปลว่า เพ่ง อาโปกสิณ แปลว่า เพ่งน้ำ
    กสิณน้ำ มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอา
    น้ำที่ใสแกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่น หรือมีสีต่างๆ มา ท่านให้ใส่น้ำในภาชนะเท่าที่จะหาได้
    ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง การนั่ง หรือเพ่ง มีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณ จนกว่าจะเกิด
    อุคคหนิมิต อุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม สำหรับปฏิภาคนิมิต
    ปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือใสมีประกายระยิบระยับ เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วจงเจริญ
    ต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน บทภาวนา ภาวนาว่า อาโปกสิณัง

    เตโชกสิณ

    เตโช แปลว่า ไฟ กสิณเพ่งไฟเป็นอารมณ กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้
    จุดไฟให้ลุกโชน แล้วเอาเสื่อหรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้น
    ไว้ข้างหน้า ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกับปฐวีกสิณ
    การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็น
    อารมณ์ ภาวนาว่า เตโชกสิณัง ๆๆๆ หลาย ๆ ร้อยหลายพันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต
    และปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นมีรูปคล้าย
    ผ้าแดงผืนหนา หรือคล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทองหรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ เมื่อได้
    ปฏิภาคนิมิตแล้ว ท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา

    วาโยกสิณ

    วาโยกสิณ แปลว่า เพ่งลม การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการ
    เห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
    การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้
    เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา
    การถือเอาด้วยการถูกต้อง ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้
    การถือเอาลมกระทบจะใช้พัดลมเป่าแทนพัดลม หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะ
    ลมพัด จะใช้พัดลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้ เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ ให้ภาวนาว่า
    วาโยกสิณัง ๆๆๆ
    อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆ คล้ายกับกระไอแห่งการหุงต้มที่มี
    ไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้ว
    นั่นเอง มีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น
    สำหรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือ
    คล้ายกับก้อนเมฆบาง ที่ลอยอยู่คงที่นั่นเอง อาการอื่นนอกจากนี้เหมือนในปฐวีกสิณ

    นีลกสิณ

    นีลกสิณ แปลว่า เพ่งสีเขียว ท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนัง กระดาษก็ได้ แล้วเอา
    สีเขียวทา หรือจะเพ่งพิจารณาสีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ

    อุคคหนิมิต

    เมื่อเพ่งภาวนาว่า นีลกสิณัง ๆๆๆๆ อุคคหนิมิตนั้นปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง

    ปีตกสิณ

    ปีตกสิณ แปลว่า เพ่งสีเหลือง การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่อุคคหนิมิตเป็น
    สีเหลือง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ นอกนั้นเหมือนกันหมด บทภาวนา ภาวนาว่า ปีตกสิณังๆๆ

    โลหิตกสิณ

    โลหิตกสิณ แปลว่า เพ่งสีแดง บทภาวนา ภาวนาว่า โลหิตกสิณัง ๆๆๆๆ นิมิตที่จัดหา
    มาเพ่ง จะเพ่งดอกไม้สีแดงหรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้ อุคคหนิมิตเป็นสีแดง ปฏิภาคนิมิต
    เหมือนนีลกสิณ


    โอทาตกสิณ

    โอทาตกสิณ แปลว่า เพ่งสีขาว บทภาวนา ภาวนาว่า โอทาตกสิณัง ๆๆๆๆ สีขาวที่
    จะเอามาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้
    นิมิตทั้งอุคคหะและปฏิภาคก็เหมือนนีลกสิณ เว้นไว้แต่อุคคหะเป็นสีขาวเท่านั้นเอง


    อาโลกกสิณ

    อาโลกกสิณ แปลว่า เพ่งแสงสว่าง ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝาหรือช่อง
    หลังคา หรือเจาะเสื่อลำแพน หรือแผ่นหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณ
    แล้วภาวนาว่า อาโลกกสิณัง ๆๆ อย่างนี้ จนอุคคหนิมิตปรากฏ อุคคหนิมิตของอาโลกกสิณ
    มีรูปเป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่ ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบเหมือนกับ
    เอาแสงสว่างมากองรวมกันไว้ที่นั้น แล้วต่อไปขอให้นักปฏิบัติจงพยายาม ทำให้เข้าถึงจตุตถฌาน
    เพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไป ก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ

    อากาสกสิณ

    อากาสกสิน แปลว่า เพ่งอากาศ อากาสกสิณนี้ ภาวนาว่า อากาสกสิณัง ๆๆ ท่าน
    ให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณ คือ เจาะช่องเสื่อหรือหนัง หรือมองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมา
    ตามช่องฝา หรือหลังคา หรือตามช่องเสื่อและผืนหนัง โดยกำหนดว่า อากาศ ๆๆ จนเกิดอุคคหนิมิต
    ซึ่งปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนด ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏคล้ายอุคคหนิมิต แต่มีพิเศษที่บังคับให้
    ขยายตัวออกให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์ อธิบายอื่นก็เหมือนกสิณอื่นๆ


    อานุภาพกสิณ ๑๐

    กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ
    เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติในกสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตุตถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณ
    กองนั้น ๆ มีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔ แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่าง ๆ ตามแบบ
    ท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าถึงกสิณ อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆ มีดังนี้

    ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น นิรมิตคน ๆ เดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคน ๆ เดียว
    ได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้

    อาโปกสิณ สามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่น อธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหินที่
    กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ฝนแล้งให้เกิดฝนอย่างนี้
    เป็นต้น

    เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้
    เกิดแก่จักษุญาณสามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในทุก
    สถานที่ได้

    วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้
    สถานที่ใดไม่มีลม อธิษฐานให้มีลมได้

    นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้

    ปีตกสิณ สามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้

    โลหิตกสิณ สามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์

    โอทาตกสิณ สามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้ เป็น
    กรรมฐานที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักษุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ

    อาโลกกสิณ นิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็น
    กรรมฐานสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง

    อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง
    สถานที่ใดเป็นที่อับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่ง มีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่
    ความต้องการได้


    วิธีอธิษฐานฤทธิ์

    วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการ ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน ๔
    ก่อน แล้วออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น แล้วกลับเข้าฌาน ๔ อีก
    ออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา

    (จบกสิณ ๑๐ แต่เพียงเท่านี้)





    <HR>
    แนะกสิณร่วมวิปัสสนาญาณ

    ท่านผู้ฝึกกสิณ ถ้าประสงค์จะให้ได้อภิญญาหก ก็เจริญไปจนกว่าจะชำนาญทั้ง ๑๐ กอง
    ถ้าท่านประสงค์ให้ได้รับผลพิเศษเพียงวิชชาสาม ก็เจริญเฉพาะอาโลกกสิณ หรือเตโชกสิณ หรือ
    โอทาตกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วฝึกทิพยจักษุญาณ แต่ท่านที่มีความประสงค์จะเร่งรัดให้เข้าสู่
    พระนิพพานเร็วๆ ไม่มีความประสงค์จะได้ญาณพิเศษเพราะเกรงจะล่าช้าหรืออัชฌาสัยไม่ ปรารถนา
    รู้อะไรจุกจิก ชอบลัดตัดทางเพื่อถึงจุดหมายปลายทางขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้




    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width="98%"><TBODY><TR><TD height=809>๑. สักกายทิฏฐิ เห็นตรงข้ามกับอารมณ์นี้ที่เห็นว่า ร่างกายคือขันธ์ ๕ เป็นเรา
    เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเราเสียได้ โดยเห็นว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่
    ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา เพราะถ้าขันธ์ ๕ มีในเรา เรามีในขันธ์ ๕
    หรือขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ จริงแล้ว ในเมื่อเราไม่ต้องการความทุกข์อันเกิดจาก
    โรคภัยไข้เจ็บและการเปลี่ยนแปลง ขันธ์ ๕ ก็ต้องไม่มีการป่วยไข้และเปลี่ยนแปลง เราไม่
    ต้องการให้ขันธ์ ๕ สลายตัว ขันธ์ ๕ ถ้าเป็นของเราจริงก็ต้องดำรงอยู่ ไม่สลายตัว แต่นี่หาเป็น
    เช่นนั้นไม่ กลับเต็มไปด้วยความทุกข์ เปลี่ยนแปลงไม่หยุดยั้ง ทั้ง ๆ ที่เราไม่ต้องการ และ
    พยายามเหนี่ยวรั้งด้วยวิธีการต่างๆ ขันธ์ ๕ ก็มิได้เป็นไปตามความปรารถนา ในที่สุดก็สลายตัว
    จนได้ เพราะขันธ์ ๕ เป็นสมบัติของกฎธรรมดา กฎธรรมดาต้องการให้เป็นอย่างนั้น ไม่มีใคร
    มีอำนาจเหนือกฎธรรมดา ฝ่าฝืนกฎธรรมดาไม่ได้ เมื่อจิตยอมรับนับถือกฎธรรมดา ไม่หวั่นไหว
    ในเมื่อร่างกายได้รับทุกข์เพราะป่วยไข้ หรือเพราะการงานหนักและอาการเกิดขึ้นเพราะเหตุ
    เกินวิสัย อารมณ์ใจยอมรับนับถือว่า ธรรมดาของผู้ที่เกิดมาในโลกที่หาความแน่นอนไม่ได้
    โลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขจริงจังมิได้ ที่เห็นว่าเป็นสุขจากภาวะของโลก ก็เป็น
    ความสุขที่มีผีสิง คือสุขไม่จริง เป็นความสุขอันเกิดจากเหยื่อล่อของความทุกข์ พอพบความสุข
    ความทุกข์ก็ติดตามมาทันที เช่น มีความสุขจากการได้ทรัพย์ พร้อมกันนั้นความทุกข์เพราะ
    การมีทรัพย์ก็เกิด เพราะทรัพย์ที่หามาได้นั้นจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้มาแล้ว ก็ต้องมีทุกข์
    ทันทีด้วยการคอยระวังรักษาไม่ให้สูญหายหรือทำลาย เมื่อทรัพย์นั้นเริ่มค่อย ๆ สลายตัวหรือ
    สูญหายทำลายไป ทุกข์เกิดหนักขึ้นเพราะมีความ เสียดายในทรัพย์ แม้แต่ตัวเองก็แบกทุกข์
    เสียบรรยายไม่ไหว จะเอาอะไรมาเป็นเครื่องบำรุงความสุขได้จริงจัง ไม่ว่าอะไรก็ต้องตกอยู่
    ในอำนาจของกฎธรรมดาสิ้น จิตเมื่อเห็นอย่างนี้ ความสงบระงับจากความหวั่นไหวของการ
    เปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น เป็นจิตที่ประกอบไปด้วยเหตุผล ไม่มีน้ำตาไหล ในเมื่อได้ข่าวญาติ
    หรือคนที่รักตาย ไม่หนักใจเมื่อความตายกำลัง คืบคลานมาหาตน และพร้อมเสมอที่จะรอรับ
    ความตายที่จะเกิดแก่ตน ตามกฎของธรรมดา รู้อยู่ คิดอยู่ถึงความตายเป็นปกติ ยิ้มต่อความ
    ทุกข์และความตายอย่างไม่มีอะไรหนักใจ จิตมีอารมณ์อย่างนี้ ท่านเรียกว่า ละสักกายทิฏฐิ
    ได้แล้ว ได้คุณสมบัติของพระโสดาบันไว้ได้หนึ่งอย่าง

    ๒. วิจิกิจฉา ละความสงสัยในมรรคผลเสียได้ โดยมีสัทธาเกิดขึ้นเที่ยงแท้มั่นคงว่า
    ผลของการปฏิบัตินี้มีผลที่จะพ้นจากวัฏทุกข์ได้จริง

    ๓. สีลัพพตปรามาส ถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด ไม่ยอมให้ศีล
    บกพร่อง เมื่อมีคุณสมบัติครบสามประการดังนี้ ท่านก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ไม่ต้องรอให้ใครบอก
    และออกใบประกาศโฆษณา องค์ของพระโสดาบัน

    เพื่อสะดวกแก่การพิจารณาตัวเอง ขอบอกองค์ของพระโสดาบันไว้ เพราะรู้ไว้เป็น
    คู่มือพิจารณาตัวเอง
    ๑. รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยตลอดชีวิต
    ๒. เคารพพระรัตนตรัยอย่างเคร่งครัด ไม่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย แม้แต่จะพูด
    เล่นๆ ก็ไม่พูด
    ๓. มีอารมณ์รักใคร่ในพระนิพพานเป็นปกติ ไม่มีความปรารถนาอย่างอื่นนอกจาก
    พระนิพพาน

    พระโสดาบันตามปกติมีอารมณ์สามประการดังกล่าวมานี้ ถ้าท่านได้ ท่านเป็น
    พระโสดา ท่านก็จะเห็นว่าอาการที่กล่าวมานี้เป็นความรู้สึกธรรมดาไม่หนัก แต่ถ้าอารมณ์
    อะไรตอนใดในสามอย่างนี้ยังมีความหนักอยู่บ้าง ก็อย่าเพ่อคิดว่าท่านเป็นพระโสดาบันเสียก่อน
    สำเร็จ จะเป็นผลร้ายแก่ตัวท่านเอง ต้องได้จริงถึงจริง แม้ได้แล้วถึงแล้ว ก็ควรก้าวต่อไปอย่า
    หยุดยั้งเพียงนี้ เพราะ มรรคผลเบื้องสูงยังมีต่อไปอีก




    </TD></TR><TR><TD height=22>

    (จบกสิณ ๑๐)







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    กสิน ๑๐ ม้วน ๑-๒<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    Artist: หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>ไฟล์แนบข้อความ</LEGEND><TABLE border=0 cellSpacing=3 cellPadding=0><TBODY><TR><TD width=20><INPUT id=play_302 onclick=document.all.music.url=document.all.play_302.value; value=attachment.php?attachmentid=302 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>กสิน10 ม้วน1.mp3 (6.98 MB, 14524 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_303 onclick=document.all.music.url=document.all.play_303.value; value=attachment.php?attachmentid=303 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>กสิน10 ม้วน2.mp3 (7.05 MB, 10986 views)</TD></TR></TBODY></TABLE></FIELDSET>
     
  9. เลนิน

    เลนิน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +17
    ขอบคุณทุกท่านมากๆเลยครับได้ความกระจ่างพอสมควรเเล้ว ขอให้มีความเจริญในธรรมกันทุกท่านครับ
     
  10. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    กสินส่วนดีผมไม่ขอพูดถึงครับ
    ขอพูดเฉพาะที่ไม่ดี เอาเป็นว่ารู้ไว้ก็น่าจะเป็นประโยชน์ครับ คือที่ไม่ดีก็คือนิมิตรติดตาจากกสินที่เราควบคุมไม่ได้ ตรงนี้อันตรายครับ
    ผมขอยกประสพการณ์ของผมมาให้ฟัง ผมปฏิบัติโดยเพ่งกสินไฟ ไฟเกือบทุกชนิดผมเพ่งไปทั้งหมด ตั้งแต่เทียนจุดไฟ หลอดไฟ กองไฟ ดวงอาทิตย์ ในที่สุดนิมิตรก็ติดตา จะหลับตาก็เห็น พอลืมตาก็เห็น
    อันตรายอย่างไรนั้นหรือครับ ตอนผมขับรถก็เกิดนิมิตรเป็นดวงอาทิตย์ขึ้นขวางมองไม่เห็นทางครับ อย่างนี้อันตรายนะครับ
    อยากปฏิบัติก็ไม่เป็นไร ระวังไว้บ้างก็ดี
    เจริญในธรรมครับ
     
  11. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    กสิณายตนะ ฝึกได้ เป็นพุทธบัญญัติ. เเต่หลักการสอน เเท้จริง. ไม่มีหรอก
    การฝึกกสิณในพระไตรปิฏก ถ้าคนอ่านพระไตรปิฏกไม่เป็นนี่ เจออย่างนั้น ก็ต้องมีมั่วบ้าง
    ส่วนใหญ่ จะมีเเต่ความคิดเห็นเป็นหลักที่นำมาสอนในปัจจุบัน ไม่ได้ยืนยันจากพระไตรปิฏกว่ามีเทียนมีธูปหรือกระดาษ รูปวงกลมมั้ยที่ต้องใช้ฝึก เมื่อไม่ยืนยัน คืือเเต่งขึ้นใหม่ ขนาดใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค(ต้นฉบับ) ก็ต้องใช้ข้อมูลจากไตรปิฏกนะ. เเต่ได้แปลบทกสิณบทเดียว เล่นไป7หน้า. (ตรงนี้อาจจะมีพระสูตรอื่นมารองรับเทียบเคียงก็มี ก็ผ่างๆไปได้)ส่วนหลักสำคัญหรือเบื้องต้นไม่ได้มี จะใช้บทเดียวในการอธิบาย เเถมตัดกสิณยอด ออกไปอีก คือ วิญญานกสิณ. เป็นยอดของสัตว์ทั้งหลาย(ผมจึงมีโอกาสในการอธิบาย.มาเเย้งอยู่เนื่องๆ เพราะตัดสกิณเอกออก กลับ บัญญัติสิ่งอื่นเข้ามา เเล้วตั้งชื่อว่าสกิณขึ้นมาเเทน)
    ซึ่งบทสกิณนั้นมันต้องนำไปเทียบเคียงอีก ไม่ใช่เเค่นั้น เมื่ออธิบายอยู่บทเดียว จึงอธิบายได้เเบบเดียวคือ ตีกรอบการเพ่ง จึงกลายเป็นการเพ่ง (รูปธรรม). เเต่ไม่สามารถมาเพ่งวิญญานสกินได้เเน่นอน วิญญานสกิณจึงถูกตัดออกไป (นี่รู้สึกแปลกๆบ้างมั้ย)
     
  12. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    กสิณายตนะ จะพูดถึงสกิณที่เป็น ธาตุ6 สีอีก4
    คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย อากาสา วิญญาณ ธาตุ6
    สีเขียว(นีล)เหลือง(ปีต)เเดง(โลหิต)ขาว(โอทาต). สี4
    รวมเป็น10

    คำว่า ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง. หาประมาณมิได้
    มันก็ยังยากที่จะเข้าใจให้ลึกซึ่ง. เเต่มันก็ชัดเจนในบริบทของมัน ว่า เป็นสมาธิอันไม่มีที่ตั้ง(อัปปณิหิต)
    เป็นสมาธิที่พระองค์สอนอยู่เป็นประจำ เเต่มันแปลกกว่านิดหน่อยตรงที่ ความเป็นกสิณ ยากกว่า (ขอใบ้ให้หน่อยคนที่แผ่เมตตาด้วยการกรวดน้ำจะไม่เข้าใจได้เลย). พระองค์ให้เตรียมจิต เเต่ไปเตรียมน้ำเตรียมเเก้ว กุศลมันจึงอุทิศไม่ถึงไหน ผลเสียมันต่อยอดไปเรื่อยๆ
    นี่ว่าทำความเข้าใจยากเเล้ว พื้นฐานจะยากกว่านี้อีก เเค่มาอธิบายให้ตรงกับบริบทเท่านั้น. เพราะฉะนั้น การฝึกกสิณในปัจุบันมันคัดกับบทหลักนี้ขัดเจน จนผมกล้าฟันธงว่า ไม่ใช่
     
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    การฝึกกสิณ ในปัจจุบัน ทุกสายสำนักปฏิบัติมีสำนักวัดท่าซุง โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน สำนักวัดยานนาวา เป็นต้น ได้อ้างตาม คัมภีร์วิสุทธิมรรค ทั้งหมดทุกที่ไปครับ....

    ผลการปฏิบัติที่ได้ก็มีคนฝึกสำเร็จกันไปแล้วมากมาย เมื่อพระไตรฯมีรับรอง วิธีปฏิบัติ วิธีสอบสภาวะมีรับรอง ผู้ปฏิบัติเขาถึงได้จริง ผมว่าแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว เอาเวลาที่มานั่งคิดวิเคราะห์ว่าได้หรือไม่ ไปลงมือปฏิบัติน่าจะดีกว่า.......
     
  14. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ดีละๆ. คุณเองก็ต้องลองปฏิบัติดูบ้างละ
    เเล้วคุณคิดอย่างไรกับการ ตัด วิญญาณธาตุ ออกไป แล้วบัญญัติ (เเสงสว่างกสิณ) เข้ามา. คุณใช้เกณอะไรเอาไปเรียกว่าเป็นกสิณ ถ้าจะตัดออกก็ต้องเผยว่าตัดออก ทำให้เหลือ9. ก็ยังดี ตรงๆจะได้รู้ว่าไม่ยอมรับ
    เเต่มาเพิ่มเป็นกสิณ10 มันก็น่าสงสัย เอาอะไรมาตัดสินชี้ขาด.สิ่งที่เพิ่มเข้ามาว่าคือกสิณ เมื่อคุณนำไปสมาทานทำไมถึงเข้าใจว่าคือกสิณ.
    ทั่งๆสัพพัญญูให้ทำอย่างนึงใช่มั้ย
    นี่ ไม่ได้นัย.กสิณโทษ นะนิต่อยอดไปเรื่อยๆเลย
     
  15. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    [๓๔๒] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก
    ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญกสิณายตนะ ๑๐ คือ
    ๑. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๒. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๓. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๔. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๕. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๖. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๗. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโลหิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๘. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๙. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่
    หาประมาณมิได้.
    ๑๐. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อย
    ทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

    ก็เพราะสาวกทั้งหลายปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญกสิณายตนะ ๑๐ นั้นแล
    สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
     
  16. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    สรุปสั้นๆอย่างนี้เลยนะครับ
    ๑ กสิณพระพุทธเจ้าตรัสให้ไว้เป็นกรรมฐานกองหนึ่งครับ หลักฐานก็มีผู้ยกมาเรียบร้อยแล้ว
    ฤาษี... เอาจริงๆนะ พวกที่บอกเกี่ยวกับฤาษีบ้าง พราหมณ์บ้าง เคยศึกษาจริงๆหรือเปล่า
    อย่าไปฟังมากครับ ส่วนใหญ่รู้นิดพูดเยอะ

    ๒ ใช่ครับ ได้กองแรกแล้ว กองที่เหลือทำสองสามเดือนก็ได้ครบ
    ๓ ทำตามที่คุณว่ามานั่นแหละรับ จริงๆแล้วอะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว(อย่างเดียว)ใช้ได้หมด
    ๔ เพ่ง คือมองแล้วก็จำ จะกี่วินาทีก็ได้ ขอให้หลับตาแล้วนึกออกเป็นใช้ได้
    ๕ นึกถึงบ่อยๆครับ ครั้งละ นาที สองนาทีก็ได้ แต่ทำบ่อยๆ
     
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    อันนี้คงต้องไปเรียนถามสมเด็จพระพุทธโฆสาจารย์ ผู้จัดรวมรวมพระธรรม คัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วหละครับ ....ไม่แน่ วิญญาณกสิณ กับ อาโลกสิณ อาจเป็นอันเดียวกันก็ได้.... ผมไม่มีความรู้ทางบาลี ครับ....คงต้องไปถามท่านเอาเอง ถ้าให้ผมแสดงความคิดผมก็คงไม่กล้าเพราะว่าผมไม่ได้มีความรู้เฉพาะด้านทางนี้ ที่ผมแสดงออกไปหรือที่คุณแสดงออกไปอาจผิดก็เป็นได้ ไม่อยากให้ก่อเกิดสัทธัมปฏิรูปครับ แต่ที่ผมเห็นเขาทำกันได้ผลมามากแล้วหละครับ.....
     
  18. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    เเสงกระทบฉาก ถ้าไม่มีสิ่งมารองรอบเเสง. เเสงก็ไม่ปรากฏ
    เเสงมันเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ ไม่ใช่ธาตุที่มองไม่เห็น มันจึงนำมาเพ่งได้ เป็นภาพนิมิต

    . ส่วน วิญญาณ(เป็นนามธรรม). คนละอย่างเลย ไม่ได้เห็นด้วยตา
    เเล้วมันต่างกัน ธาตุต่างกัน ชื่อก็ต่างกัน เรียกรวมกันไม่ได้
    เมื่อไม่กล้าฟันธง. ก็ไม่ควรยืนยันว่าว่ากสิณ10 ต้องบอกสกิณ9 ถึงได้ชื่อส่าไม่กล่าฟันธง
     
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ผมไม่ได้ตอบเองนะ ผมยกของครูบาอาจารย์มาตอบไว้....คุณลองไปนับดูเองสินะครับ....ลองเทียบในวิสุทธิมรรค เอาก็ได้ ว่ามีตามนั้นไม....

    แต่ความจริงแล้วสำหรับผมนะ ไม่ว่ามันจะสิบ หรือเก้า จะมีครบหรือไม่ครบ วิธีฝึกสาบสูญไปบ้างเนื่องจากไม่มีจดไว้ตามตำรา ก็มันผ่านมา ๒๕๕๖ ปีแล้ว....ถ้ามันขาดหายไปสักอัน เหลือ ๙ แล้วฝึกได้ผล ผมก็ว่าประเสริฐแล้ว.....
     
  20. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    นี่น่าจะลองมาคิดเล่นๆนะ วิญญาณกสิณ และ อากาศกสิณ ล้วนแต่เป็น นามธรรมกสิณ ยังมีวาโยกสิณอีก ที่มองไม่เห็นด้วยตา.....

    เมื่อวาโยกสิณ และ อากาศกสิณ ฝึกได้ และมีในตำราฝึก ทำไม วิญญาณกสิณจะฝึกไม่ได้ เพียงแค่ วิญญาณกสิณ เปลี่ยนเป็น อาโลกสิณ แทน....ผมคิดว่าอรรถกถาจารย์น่าจะมีเหตุผลของท่านเอง อาจเป็นเพราะว่าเรากำลังศึกษาเหตุผลนั้นยังไม่เจอ หรืออาจมีอาโลกสิณ ในพระไตรฯก็ได้ ซึ่งเรายังอาจหาไม่ถึง เพราะก็ไม่ได้มีใครท่องจำไว้ได้ทั้งหมด ๔๕ เล่ม...

    การที่ไม่เชื่อเพราะยังไม่เจอเป็นเรื่องที่ดีสำหรับนักการศึกษา แต่ถ้าเป็นผม ผมยังจะไม่ปฏิเสธนะว่าไม่มี มันก็ไม่ต่างกับเรื่องนรก สวรรค์ นั้นหละ มีปรากฏในตำราแต่ถ้าใครยังไม่เห็นก็ยังไม่เชื่อ ต่อให้ใครหลายคนเขาพิสูจน์ได้กันแล้วแต่ตัวเราเองไม่เห็นเราก็ไม่เชื่ออย่างนั้นหละ ความจริงหลายอย่างอาจเป็นเพราะว่าเราเองที่ยังหาไม่เจอก็ได้ครับ...

    เอาเป็นว่า ในคัมภีร์ มี ๑๐ ท่านตีได้ฝึกได้ทั้ง ๑๐ ถ้ามีความสามารถฝึกได้สัก ๑ ไม่ต้องพูด ๑๐ หลอก แค่ได้ ๑ ในสิบและทำได้จริงก็สาธุ เป็นบุญแล้ว....
     

แชร์หน้านี้

Loading...