เร่งพัฒนาพุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพุทธโลก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 24 พฤษภาคม 2013.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    วันนี้ (23 พ.ค.) พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) ในฐานะประธานสมาคมสภาสกลวันวิสาขบูชาโลก กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกับผู้นำชาวพุทธจาก 87 ประเทศ เพื่อหารือแนวทางในการพัฒนาพุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ผู้นำชาวพุทธแต่ละประเทศต่างเห็นด้วย และสนับสนุนให้มีศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกขึ้นที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยต้องการให้มีลักษณะคล้ายกับองค์การสหประชาชาติ(UN) เพื่อเป็นศูนย์รวมขององค์กรชาวพุทธทั่วโลก พร้อมทั้งให้มีธรรมนูญในการบริหารงาน รวมถึงเมื่อชาวพุทธในประเทศใดประสบปัญหา จะได้มีหน่วยงานเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาได้ พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการในเรื่องต่างๆ เช่น การพัฒนาห้องสมุด โครงสร้างทางการจัดการศึกษา การพัฒนาระบบสารสนเทศ โครงสร้างของอาคารศูนย์การประชุม เป็นต้น โดยจะให้คณะอนุกรรมการแต่ละชุดประชุมหาข้อสรุปและเสนอมายังสมาคมสภาสกลวันวิสาขบูชาโลก เพื่อรวบรวมเป็นแนวทางการจัดตั้งศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกเสนอไปยังรัฐบาลไทย

    พระพรหมบัณฑิต กล่าวต่อไปว่า โดยหลักการแล้วรัฐบาลไทยจะมีหน้าที่ในการดูแลเรื่องนี้ ซึ่งจะต้องมีการร่างระเบียบที่ผ่านความเห็นชอบของสมาชิกแต่ละประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งจากผลการประชุมครั้งนี้ เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าชาวพุทธทั่วโลกยืนยันที่จะให้มีศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกเกิดขึ้นในประเทศไทยให้ได้

    ด้านนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า พศ.จะสรุปรายงานการประชุมครั้งนี้แจ้งไปยังประเทศสมาชิกของสมาคมสภาสกลวันวิสาขบูชาโลก เพื่อประสานในการดำเนินงานจัดการประชุมคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ต่อไป.

    เร่งพัฒนาพุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพุทธโลก | เดลินิวส์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 206543.jpg
      206543.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.1 KB
      เปิดดู:
      117
  2. hi5

    hi5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +701
    อยากให้ปิดทององค์พระพุทธรูปประธานด้วย เพราะสีดำไม่เป็นสื่อที่มงคล ไม่ใช้สีแทนฉัพพรรณรังสี
     
  3. deity

    deity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +1,645
    ควรหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์ครับ
     
  4. parapuda

    parapuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +250
    อนุโมทนาในคุณานุประโยขน์ ในการบูรณาการศาสนาครับ
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=20wW5lJQ_Xs]อนุโมทนา Express gratitude Buddha ۩ - YouTube[/ame]
    อยากให้ใช้ศิลปะวิทยาการ รวมถึงการประยุกต์พุทธปรัชญา เเละคำสอนพุทธวจนะ พุทธโฆษณ์ รวมถึงพระไตรปิกดั้งเดิม คำภีร์สำคัญต่างๆ ทั้งบาลี สันสกฤต รวมถึงการเผยเเพร่โดยเเปลเป็นภาษาต่างๆ การสอนในรูปแบบทันสมัย เเละน่าสนใจ เข้ากับยุคสมัยในชีวิตประจำวันโดยเข้าถึงไม่ยาก
    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    ศาสนาสากล - Universal Religion
    - มีธรรมชาติทั้งหมดเป็นองค์ความรู้ และอุดมสุข ให้ิผู้นับถือและปฏิบัติพัฒนาศักยภาพตนได้ตามลำดับตามอุดมสุขของตนได้จนถึงเป็นพระเป็นเจ้า หรือศาสดา ตามอุดมคติและความรู้สูงสุดของศาสนา ปรัชญา อภิปรัชญา รวมถึงศิลปะเเละวิทยาการทั้งหมด ในประวัติศาสตร์โลกรวมกัน ตามจริตและความเหมาะสมของอุดมสุขของมนุษยชาติทุกคนโดยให้บังเกิดสันติภาพความเจริญก้าวหน้าและอารยะธรรม ศิลปะและวิทยาการ สรรค์สร้างความสมบูรณ์ ผาสุก ตลอดไป.
    - There is a natural body of knowledge and practice development Ideal of happiness thier Anglicans and their respectively Ideal of happiness their God or prophet according to the highest ideals and knowledge of religion, philosophy, metaphysics and science all artistic undertakings. In the history of the world together. By happiness sense of humanity and decency of all people to bring peace, prosperity and civilization. Arts and Sciences. Create the perfect bliss forever.
    Facebook : http://www.facebook.com/UniversalReligionNirvana
    ญาณทัสสนวิสุทธิ-Mystics Tuscan pine LDS.(translation by google 4/6/2013 6:22 PM)
    ความบริสุทธิ์วิเศษด้วยความรู้ความรู้ความเห็นในทางดำเนิน หมายถึง วิปัสสนา
    ญาณที่มีกำลังตั้งแต่อุทยัพพยญาณที่พ้นจากอุปกิเลสแล้ว จนถึงสัจจานุโลมิกญาณ
    อันเป็นวิปัสสนาญาณที่ถึงยอด ( อุทยัพพยญาณที่ ๔ ภังคานุปัสสนาญาณที่ ๕
    ภยตุปัฏฐานญาณที่ ๖ อาทีนวานุปัสสนาญาณที่ ๗ นิพพิทาญาณที่ ๘ มุญจิตุกัม
    ... ยตาญาณที่ ๙ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณที่ ๑๐ สังขารุเปกขาญาณที่ ๑๑ อนุโลม
    ญาณที่ ๑๒ )
    Youtude : [ame=http://www.youtube.com/watch?v=e4vqZcIPVYk]ความจริงไม่มีใครทุกข์ - YouTube[/ame]
    วิสุทธิ>Religion Nirvana
    วิสุทธิ - วิกิพีเดีย
    Thailand>นิพพาน - วิกิพีเดีย
    "นิพพาน" จากบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียก กิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
    ในทางมหายานได้กล่าวไว้ใน ธรฺม ธาตุ ปรกฺฤตย อวตาร สูตฺร(入法界體性經 ) โดยอธิบายว่า ธรรมธาตุของนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิด ไม่ดับ ไม่สกปรก ไม่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อน ไม่แปรปรวน ไม่มีผู้ใดดับได้ จึงไม่มีผู้ใดเกิด นิกายมหายานส่วนใหญ่มักมุ่งสู่การไปเกิด ณ แดนสุขาวดี (หนึ่งในพุทธเกษตร ซึ่งเป็นโลกธาตุที่พระอมิตตายุสสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เนรมิตขึ้น ) โดยมีคติการบรรลุธรรมคนเดียวเป็นการเห็นแก่ตัวดังนั้นจึงอยู่ช่วยสรรพสัตว์จนถึงคนสุดท้าย
    English>Nirvana - Wikipedia, the free encyclopedia
    Nirvāṇa (Sanskrit: निर्वाण; Pali: निब्बान nibbāna; Prakrit: णिव्वाण) is an ancient Sanskrit term used in Indian religions to describe the profound peace of mind that is acquired with moksha (liberation). In shramanic thought, it is the state of being free from suffering. In Hindu philosophy, it is union with the Brahman (Supreme Being).
    The word literally means "blown out" (as in a candle) and refers, in the Buddhist context, to the imperturbable stillness of mind after the fires of desire, aversion, and delusion have been finally extinguished.[1]
    ------------------------------------------------------------------------------
    ปรัชญา-Philosophy
    Thailand : ปรัชญา - วิกิพีเดีย
    คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า Φιλοσοφία ฟีโลโซเฟีย ในภาษากรีกโบราณ ซึ่งแยกได้เป็นคำว่า φιλεῖν ฟีเลน แปลว่าความรัก และ σοφία โซเฟีย แปลว่าความรู้ เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า "การรักในความรู้" หรือ ปรารถนาจะเข้าถึงความรู้หรือปัญญา
    ปรัชญา ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และหลักแห่งความจริง กล่าวคือ ในบรรดาความรู้ทั้งหลายของมนุษยชาตินั้น อาจแบ่งได้เป็นสองเรื่องใหญ่ ๆ
    เรื่องที่หนึ่ง คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ มีเป้าหมายในการศึกษาเพื่อหาความจริงต่าง ๆ และเข้าใจในธรรมชาติมากกว่าสิ่งรอบตัวเพราะรวมไปถึงจักรวาลทั้งหมดอย่างลึกซึ้ง ชีววิทยา มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย เคมี มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับธาตุและองค์ประกอบของธาตุ เป็นต้น
    เรื่องที่สอง คือ เรื่องเกี่ยวกับสังคม เช่น เศรษฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจของสังคม รัฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองของสังคม นิติศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบกฎหมายของสังคม เป็นต้น
    เป้าหมายในการศึกษาของปรัชญา คือการครอบคลุมความรู้และความจริงในทุกศาสตร์และในทุกสาขาความรู้ของมนุษย์ รวมทั้งชีวิตประจำวันของตนด้วย ผลจากการศึกษาของปรัชญาก็สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ ผู้รอบรู้ด้านปรัชญามักขนานนามว่า นักปรัชญา ปราชญ์ หรือ นักปราชญ์
    English : Philosophy - Wikipedia, the free encyclopedia
    Philosophy is the study of general and fundamental problems, such as those connected with reality, existence, knowledge, values, reason, mind, and language.[1][2] Philosophy is distinguished from other ways of addressing such problems by its critical, generally systematic approach and its reliance on rational argument.[3] In more casual speech, by extension, "philosophy" can refer to "the most basic beliefs, concepts, and attitudes of an individual or group".[4]
    The word "philosophy" comes from the Ancient Greek φιλοσοφία (philosophia), which literally means "love of wisdom".[5][6][7] The introduction of the terms "philosopher" and "philosophy" has been ascribed to the Greek thinker Pythagoras.[8] A "philosopher" was understood as a word which contrasted with "sophist". Traveling sophists or "wise men" were important in Classical Greece, often earning money as teachers, whereas philosophers are "lovers of wisdom" and were therefore not in it primarily for the money.
    ------------------------------------------------------------------------------
    อภิปรัชญา (อังกฤษ: Metaphysics)
    Thailand : อภิปรัชญา - วิกิพีเดีย
    English : Metaphysics - Wikipedia, the free encyclopedia
    ------------------------------------------------------------------------------
    ศาสนา (อังกฤษ: religion) หมายถึง ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ตามประมาณการที่มีการค้นพบศฯสนาในโลกมีประมาณ 4,200 ศาสนา ในหลักอภิปรัชญาว่าทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นมาดำรงอยู่และจะเป็นเช่นไรต่อไป มีหลักการ สถาบัน หรือประเพณี ที่เป็นที่เคารพโดยทั่วไป แล้วอาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุม และประสานความสัมพันธ์ของมนุษย์ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข คือ ให้มีหลักการ ค่านิยม วัฒนธรรมร่วมกันและวิถีทางที่มนุษย์เลือกใช้ในการดำรงชีวิต ให้สังคมเป็นหนึ่งเดียวกัน มีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยหลักจริยธรรม คุณธรรม ศิลธรรมที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน
    นอกจากการนับถือศาสนาแล้ว ยังมีความเชื่อไม่นับถือศาสนาด้วย เรียก "อศาสนา" (อังกฤษ: irreligion) และผู้ไม่นับถือศาสนาเรียก "อศาสนิก" (อังกฤษ: irreligious person)
    Thailand : ศาสนา - วิกิพีเดีย
    Religion is an organized collection of beliefs, cultural systems, and world views that relate humanity to the supernatural, to spirituality and, sometimes, to moral values.[note 1] Many religions have narratives, symbols, and sacred histories that are intended to create meaning to life or traditionally to explain the origin of life or the Universe. From their beliefs about the cosmos and human nature, they tend to derive morality, ethics, religious laws or a preferred lifestyle. According to some estimates, there are roughly 4,200 religions in the world.[1]
    Many religions may have organized behaviors, clergy, a definition of what constitutes adherence or membership, holy places, and scriptures. The practice of a religion may also include rituals, sermons, commemoration or veneration of a deity, gods or goddesses, sacrifices, festivals, feasts, trance, initiations, funerary services, matrimonial services, meditation, prayer, music, art, dance, public service or other aspects of human culture. Religions may also contain mythology.[2]
    The word religion is sometimes used interchangeably with faith or belief system; however, in the words of Émile Durkheim, religion differs from private belief in that it is "something eminently social".[3] A global 2012 poll reports that 59% of the world's population is religious, 23% are not religious, and 13% are atheists.[4]
    English : http://en.wikipedia.org/wiki/Religion
    ------------------------------------------------------------------------------
    Spiritual Reality The Ultimate To Meditation.
    Youtube :Spiritual Reality Power Of Meditation (Techniques) 1080P Full HD - YouTube
    วิดีโอนี้บอกเกี่ยวกับการทำสมาธิลึก การเดินทางจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด โดยใช้แบบจำลอง 3 มิติที่วิธีการที่เข้าใจง่ายในเรื่องเทคนิคในการทำสมาธิแบบเต็มรูปแบบ เป็นวิธีการที่ทำให้เราเข้าใจคร่าวๆ เกี่ยวกับความจริงของชีวิต ในมิติของจิตวิญญาณ ที่สอดผสานกับธรรมชาติและจักรวาลเป็นวิทยาศาสตร์ภายใน ที่ทุกคนสามารถค้นคว้าและเข้าถึงได้โดยวิธีการปฏิบัติ โดยปรับจากสภาพจิตพื้นฐาน ของผู้มีจิตสำนึกในความดีงาม...ขอความสันติสุข ความสงบ บังเกิดมีแด่ทุกท่าน..
    This video tell about deep meditation. A journey from the beginning to the end. The 3D models that how easy meditation techniques in full. Is how we understand the idea. About the reality of life. The dimensions of the soul. To integrate science with nature and the universe is within. Everyone can search and access them by way of practices. Adjusted basis of mental state. Of a sense of decency ... to bring peace, peace be upon all of you.
    Referance:Lakhwinder Singh.
    Copy Right :Meditation Techniques in Hindi
    ●▬▬▬▬▬▬▬▬ஜ۩۞۩ஜ▬▬▬▬▬▬▬▬●

    SPACE
    Space is an spiritual organization. Space is created by Spiritual Masters. Space is essence of Knowledge of the Spiritual Masters who have perceived the Knowledge through decades of research in other frequency realities, living with self in every moment of their life and understanding and becoming That.
    Space has created Spiritual Reality- journey within video on Meditation and Meditation experiences. Space is now creating Sarrva-science of Consciousness video.
    Contact:
    SPACE

    PC SPACE PVT LTD.,
    205, Gnana Marga,
    Siddartha Nagar,
    Mysore-570011
    Email:pcspacepvtltd@gmail.com
    Contact person: P.N. Chandrashekar
    Phone: 91-821-2470772
    Mobile: 91-9448470772
    Contact person: B.V.Pratap Reddy
    Mobile: 91-9440686588
    Website: Space is Spiritual Organization SriSpace India
     
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สำนักพุทธฯเร่งตั้งหน่วยงานดันไทยเป็นศูนย์กลางพุทธโลก

    วันนี้ (5มิ.ย.) นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลกว่า หลังจากเมื่อเร็วๆนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่ พศ. เสนอให้ไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ประกอบกับการประชุมวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ 10 เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ซึ่งมีผู้นำชาวพุทธจาก 87 ประเทศเข้าร่วมต่างก็เห็นด้วยและสนับสนุนให้มีศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกเกิดขึ้นที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่งในส่วน พศ. ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังสรุปรายงานการประชุมดังกล่าวเพื่อแจ้งไปยังประเทศสมาชิกของสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกรับทราบและคาดว่าภายในเร็วๆนี้จะจัดการประชุมคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เพื่อหารือในรายละเอียดของการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง

    นายนพรัตน์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการปรับโครงสร้างการบริหารงาน พศ.นั้น เนื่องจากภาระงานเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะงานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาภายในและต่างประเทศ ดังนั้นในอนาคตการเสนอปรับโครงใหญ่ พศ.ให้เทียบเท่าหนึ่งกระทรวงจึงมีความเป็นไปได้และหากปรับโครงสร้างเสร็จก็จะต้องปรับตำแหน่งผู้อำนวยการ พศ.เทียบเท่าปลัดกระทรวงด้วย อย่างไรก็ตามการปรับโครงสร้างนั้น ในขณะนี้กำลังดำเนินการขอจัดตั้งกองส่งเสริมการเผยแผ่ เพื่อส่งเสริมพระธรรมทูตในและต่างประเทศ ดูแลเผยแผ่พระพุทธศาสนาในและต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ คาดว่าเร็วๆนี้จะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จัดตั้งกองงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนา เพื่อทำงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งจะตั้งกองงานต่างประเทศ เพื่อช่วยขับเคลื่อนแผนการผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกด้วย

    สำนักพุทธฯเร่งตั้งหน่วยงานดันไทยเป็นศูนย์กลางพุทธโลก | เดลินิวส์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 209567.jpg
      209567.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.7 KB
      เปิดดู:
      57

แชร์หน้านี้

Loading...