คุยกันเรื่อง - ปฏิจจสมุปบาท

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somchai_eee, 7 พฤษภาคม 2013.

  1. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    จากที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า

    “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต, ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม; ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น
    เห็นปฏิจจสมุปบาท , ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม”

    “ภิกษุ ท.! ก่อนแต่นี้
    ก็ดี บัดนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติ (เพื่อการสอน) เฉพาะเรื่องความทุกข์ กับความดับแห่งทุกข์เท่านั้น”


    (โดยที่แท้แล้ว เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ก็คือเรื่องการเกิดและการดับแห่งความทุกข์ เป็นเรื่องตัวแท้ของพุทธศาสนาโดยตรง)

    ดูก่อนกัจจานะ! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า “สิ่งทั้งปวง มีอยู่”
    ดังนี้ : นี้เป็นส่วนสุด๓ (มิใช่ทางสายกลาง) ที่หนึ่ง; คำ กล่าวที่ยืนยันลงไปด้วย
    ทิฏฐิว่า “สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่” ดังนี้ : นี้เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง) ที่สอง
    ดูก่อนกัจจานะ! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น
    คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า :-
    “เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย;
    เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
    เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
    เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
    เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
    เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
    เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
    เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
    เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
    เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;
    เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณ ะ โสกะปริเทวะทุกขะ-
    โทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
    ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ... ...
     
  2. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมคือปฏิจจสมุปบาท
    นี้ (จิตของ)หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง, ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่งของ
    กลุ่มด้ายที่หนาแน่นไปด้วยปม, พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้ามุญชะและหญ้าปัพพชะ
    อย่างนี้; ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสาระที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาตไปได้.

    พระโสดาบันคือผู้เห็นชัดปฏิจจสมุปบาทโดยวิธีแห่งอริยสัจสี่ --
    โสตาปัตติยังคะขึ้นอยู่กับการรู้ปฏิจจสมุปบาทของอริยสาวก

    ใครเข้าใจแล้ว มาอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาท ให้กัลยาณมิตรฟังกันหน่อยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2013
  3. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ผมเคยคุยเรื่องนี้กับพ่อ... ปฏิจสมุปบาทนะ
    (ผู้ซึ่งมีหนังสือธรรมะล้นห้อง ล้นจริงๆ เกลื่อนอยู่เต็มบ้านไปหมด)
    เอาแผนภูมิให้ดู...
    พ่อผมแนะนำว่า ปฏิจสมุปบาท ถ้าไม่ใช่พระอริยเจ้าดูไปก็เท่านั้น
    ดูได้ จำได้ แล้วไม่ใช้ปัญญามันก็เท่านั้น

    (การเจริญปัญญาตามแบบฉบับ ในหลายๆพระสูตรที่ไม่กล่าวถึงปฏิจสมุปบาทมีเยอะมาก
    เช่น ไตรลักษณ์ แล้วโยงมาอริยสัจ เป็นต้น ซึ่งก็ทำให้เป็นพระอริยเจ้าเหมือนกัน)

    ท่านว่า ได้ยถากัมมุตตาญาณดีกว่า ใช้จิตกำหนดรู้ตลอดเวลา
    ว่าทำกรรมเช่นนี้จะได้ผลเช่นไร กรรมชั่วเราก็จะงด เจริญแต่กรรมดี
    ซึ่งก็แปลก เพราะพ่อผมนั้น ท่านมีหนังสือพระพุทธทาสอยู่เป็นจำนวนมาก
    (ซึ่งก็เน้นเรื่องนี้ใช่มั้ย)
    แล้วก็ไม่เคยมีวี่แววว่าจะฝึกได้อภิญญาวิชชาสามเลย
    แต่บางที ท่านก็เปรยๆว่า ท่านประกอบอาชีพที่ทำอยู่ปัจจุบันนี้มาหลายชาติแล้ว
    ท่านจึงเก่งและคล่องในอาชีพนี้ (ก็ไม่รู้ท่านรู้ได้ยังไงนะ)

    ปฏิจสมุปบาทสำหรับปุุถุชน ก็เป็นเรื่องคุยกันไปคุยกันมา
    แต่ในทางปฏิบัติก็มีพระสูตรที่เข้าใจได้ง่ายกว่านั้น
    ผมว่า เราเคี้ยวของง่ายแล้วเป็นพระอริยเจ้าดีกว่าเคี้ยวของยาก

    ว่าแต่จะคุยประเด็นไหนละครับ ปฏิจสมุปบาทมันมีหลายประเด็นให้คุยกัน
     
  4. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ธรรมอื่นๆที่พระพุทธองค์ทรงสอน ก็ไหลออกจากปฏิจจสมุปบาทนี้แหละครับ ธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น .... ครับ
     
  5. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ....๑. ธรรมทั้งปวงมี ฉันทะเป็นมูล
    ....๒. ธรรมทั้งปวงมี มนสิการเป็นแดนเกิด
    ....๓. ธรรมทั้งปวงมี ผัสสะเป็นที่ก่อตัวขึ้น-เป็นเหตุ
    ....๔. ธรรมทั้งปวงมี เวทนาเป็นที่ประชุมลง-ที่รวมลง
    '....๕. ธรรมทั้งปวงมี สมาธิเป็นประมุข
    ....๖. ธรรมทั้งปวงมี สติเป็นใหญ่
    ....๗. ธรรมทั้งปวงมี ปัญญาเป็นยอดยิ่ง
    ....๘. ธรรมทั้งปวงมี วิมุตติเป็นแก่นสาร
    ....๙. ธรรมทั้งปวงมี อมตะเป็นที่หยั่งลง
    ....๑๐. ธรรมทั้งปวงมี นิพพานเป็นสุดท้าย (52)
     
  6. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    นี่เราอาจจะ กำลังเริ่มที่จะเผลอคุยกันด้วยเรื่องที่เป็น "ปัจจัตตัง" และ "อจินไตย" อีกแล้วก็ได้นะครับ..
     
  7. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    เป็นเรือง ภพของขันธ์ 5 ลองไล่ดูจิ (ถ้าอยากไล่ แต่ไม่จำเป็นต้องไล่ก้อได้) แล้วจะ พบส่วนที่ขาดหาย ส่วนที่ขาดหายนั้น เพราะจิตทั่วไป จับไม่ทัน และก้อไม่มีประโยชน์ที่จะไปไล่ให้ทัน

    ที่พระพุทธเจ้า แสดงธรรมนั้น เพื่อให้เข้าใจง่ายและทัน (จิตจับ ลู่วิ่งกับตัววิ่งทัน) พระธรรมส่วนนี้ เป็นการขยาย สมุทัย และ นิโรธ ให้เห็น ความสัมพันธ์ในอีกรูปแบบหนึ่ง (พระสูตร สูตรหนึ่ง) ไม่ว่าพระสูตรใดๆ หากเราเข้าใจ ในพระสูตรนั้นๆ เราจะแจ่มแจ้ง ทั้งหมด

    ลองไตร่ ดูดีๆ จิ จะเหลือตัวสำคัญๆ ไม่กี่ตัว (ใช้ อริยะสัจ 4 ไตร่ น้าจ้า)
     
  8. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ดังนั้นจะเห็นว่า ส่วนของ โสกะปริเทวะทุกขะลงมา คือ หลังจากรูปกายแตกสลายเน่าเผาแล้ว ซึ่งก็คือ จิตอวิชชาที่จะเคลื่อนจุติหาภพภูมิเพื่อเป็นแดนเกิดต่อไป
    ซึ่งก็จะนำพา สังขารวิญญาณสัญญา หรือก็คือ ดวงจิตที่มี อวิชชา เป็นเชื้อ ทำให้ ยังวนเวียนอยู่ในวัฏกะสงสาร ต่อไป
     
  9. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388

    ฉันทะ เป็นมูล ก็หมายถึง ความพอใจรักใคร่ แล้วก็เกิดโลภโกรธหลง ยึดมั่นถือมั่น คือ มนสิการ คือ ยอมที่จะเลือกจะเป็น ในแบบที่ตนเองชอบพอ หลง นั้น มันก็คือ การสร้างอัตตาตัวตน ซึ่งก็คือสัญญา และก็มีวิญญาณและสังขาร เกิดเเพื่อรองรับ สัญญาเหล่านั้น ซึ่งก็คือ ภพภูมิ แล้วก่อให้เกิด รูปนามซึ่งก็คือ ชาติ ชาติที่ว่าก็คือรูปนามที่มีผัสสะ และ เวทนาสุขทุกข์ รวมลงในกายใจสติ นี้
    และเมื่อฝึกสติด้วยการมีสมาธิของสติ ด้วยสติปัฏฐานสี่ สติมีสมาธสงบก็จะรู้เห็น ความจริงของกายใจ และสติก็จะเป็นใหญ่ และเมื่อสติสงบมากก็จะเกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงในตนเอง ว่าสมมุติล้วนไม่เที่ยง ก็จะปล่อยวางสมมุติเข้าถึงความวิมุติ คือหลุดพ้นจากสมมุติทั้งหลาย คือ หมดความยึดมั่นถือมั่น ในสมมุติทั้งหลาย เมื่อหลุดพ้นจากสมมุติ ก็หมายถึง หลุดพ้นจากวงจรวัฏฏะ วงจรที่ไม่เที่ยง วงจรที่เคลื่อนอยู่ เมื่อหลุดพ้นจากสิ่งไม่เที่ยงเหล่านี้ เราก็เข้าถึง สิ่งที่ตรงข้ามกับความไม่เที่ยงทั้งหลาย ก็คือ อมตะ(ไม่ได้หมายถึงคำว่าเที่ยง แต่หมายถึงคำว่า ไม่เปลี่ยน ไม่เคลื่อน) ซึ่ง ก็คือ ทุกข์ไม่เกิด ไม่ตั้งอยู่ ไม่ดับไป ก็คือ นิพพาน ทุกข์ดับ นั่นเอง
     
  10. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
    เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
    เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
    เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
    เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
    เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
    เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;
    เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณ ะ

    .......................
    เหตุ ปัจจัย เหล่านี้ มีได้ เมื่อจิตเคลื่อนจุติมาเกิด มีรูปนาม ก็คือ กายใจ
    และ กายใจ หรือรูปนามนี้เอง ที่ มาเกิดได้เพราะ จิตอวิชชา นำพามาเกิด
    ดังนั้น กายใจที่มาเกิดนี้ จึงถือว่า เป็นกายใจที่มีอวิชชา มีอุปทานขันธ์ มีความหลง
    มีจิตอวิชชานั่นก็คือ ฝังอยู่กับกายใจหรือรูปนามนี้ ในชื่อว่า ตัวผู้รู้หรือสติ นั่นเอง ดังนั้นเราถึงต้อง ฝึกสติเพื่อให้ สติเกิดเด่นชัด เห็นตนเองได้เด่นชัด โดยการฝึกสติเพื่อ แยกความจริง เพื่อรู้ความจริงว่า กายนี้ใจนี้ ที่บังคับหรือ ควบคุมไม่ได้ ล้วน ไม่ได้ เป็นส่วนเดียวกับสติหรือตัวผู้รู้เลย สติที่เคยรวมกันกับกายใจ แล้วโทษว่า กายใจนี้ คือกองทุกข์ ก็จะได้รู้เห็น ความจริงกันเสียทีว่า กองทุกข์ที่เกิดจากความไม่รุ้นั้น เพราะ กายไม่รู้ หรือ ใจไม่รู้ หรือ สติไม่รู้กันแน่ ก็คือ กายมีอวิชชา หรือใจมีอวิชชา หรือสติตัวผู้รู้มีอวิชชากันแน่ ซึ่งจะพูดให้ชัดก็คือ อนุสัยอาสวะกิเลส มันมีอยู่ในกายจริงหรือ หรืออนุสัยกิเลสมันมีอยู่ในใจ หรือ อนุสัยกิเลสมันมีอยู่ในสติตัวผู้รู้ กันแน่
    นี่คือ การฝึกสติปัฏฐาน เพื่อ รู้สิ่งนี้
     
  11. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    หลังจากตายแล้ว
    ..............................
    โสกะปริเทวะทุกขะ-
    โทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
    ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ...(ทั้งหมดคือ อวิชชา หรือ จิตอวิชชา)

    “เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย;
    เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
    เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
    ..........................................
    หรือถ้าไม่ตาย ส่วนทั้งหมดนี้ จะรู้เห็น หรือ ได้รู้ก็จาก การฝึกสติปัฏฐานสี่ ในส่วนของ การดูธรรม หลังจาก ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ผ่านไปแล้ว นั่นเอง ก็เปรียบการ พบกับความตาย เพราะ ว่า สติหรือตัวผู้รู้ มัน ปล่อยวางกายเวทนากายปล่อยวางใจ (ในที่นี้ จะหมายถึงปล่อยวางโลก วางโลกียะ )แล้วสติหรือตัวผู้รู้ ก็จะอยู่กับ อุปทานจิตอย่างเดียว นั่นก็คือ สังขาร วิญญาณ สัญญา ในตัวผู้รู้ นั่นเอง ว่า ตัวผู้รู้ มีตัวตนได้และรู้ได้ รู้อะไร ถึงเป็นทุกข์ได้ ก็จะมา ค้นหาสะสาง อาสวะอนุสัย กัน ใน ขั้นตอนนี้แหล่ะ นั่นก็คือ เหมือน ตัดกายใจตัดโลกออกไปก่อน ก็คือ เหมือนตายแล้ว จิตจริงๆ มันจะเป็นเช่นใด (ตายทดลองก็เพราะ ตัวผู้รู้ หรือ สตินี้ ก็ยัง โยงสายใยอยู่กับรูปนาม อยู่ ดังนั้น ปัญญาในการมีรูปนาม มีสมอง มีโลกสมมุติอยู่ครบ นั้น จึงเป็นการ ไม่หลอกตนเอง ไม่ไช่คิดเอาเอง แต่เพราะ ทั้งหมด ล้วนเป็นการค้นหาความจริงของสมมุติในตน ที่อยู่ร่วมกับสมมุติโลกทั้งหมด )
    ส่วนถ้าตายจริง มันไม่มีรูปนาม มันไม่มีกายใจ มันเลย ไม่มีสมอง ไม่ได้อยู่ในภพภูมิมนุษย์แล้ว ปัญญาเลยไม่มี มีแต่ สัญญาเท่านั้น ที่นำพา
     
  12. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ซึ่งคำว่า ปัญญา จริงๆ ที่ได้จากการฝึก สติปัฏฐานสี่นั้น ก็คือ ปัญญาที่เข้าใจในไตรลักษณ์ เท่านั้น ได้จาก การที่ ได้ปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ในกาย เวทนากาย จิต(เวทนาใจ และตัวใจ จิตเกิดจาก ใจปรุง)โลกียะ ปล่อยวางโลกียะได้ ก็เพราะ เข้าใจไตรลักษณะของโลก ของสมมุติ ของโลกี จริงๆ แล้วนั่นเอง(สิ่งพวกนี้ มันสัมผัสได้ จาก อายะตนะทั้ง 6) นั่นเอง

    ส่วน จิตหรือตัวสติหรือตัวผู้รู้เอง นั้น เป็น ส่วนของ อุปทานขันธ์ หรือ จิตอวิชชา หรือความหลง ที่หลายคนเรียกว่า โลกกุตระจิต (จิตเหนือโลก จิตพ้นสมมุติของโลก ก็คือ จิตหลังตาย นั่นเอง)
     
  13. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ดังนั้น ปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงใน ส่วนของ อวิชชา อุปทานขันธ์ อนุสัย อาสวะ อัตตาตัวตน เมื่อ เข้าถึงอนัตตาธรรม คือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ใน ตัวผู้รู้นี้ เมื่อหลุดพ้นจาก อาสวะหรืออนุสัย ที่เป็นเชื้อหล่อเลี้ยง ภพภูมิ หล่อเลี้ยง ทำให้เกิด วิญญาณ สังขาร สัญญา ก็จะ พ้น หลุด หลุดพ้น จากกัน โดย ไม่ยึดมั่นถือมั่น เรียกว่า พ้นทั้งสมมุติและวิมุติ ก็คือ นิพพาน ก็คือ เหลือ แต่รูปนาม ที่ ไม่มีอุปทาน คือ กายใจที่ไม่มีอุปทาน ก็คือ ดับ วิญญาณ ตัณหา ดับวงจรสมุปกิจบาทได้แล้วนั่นเอง

    เพราะ รูปนามหรือกายใจ ไม่มีอวิชชา ไม่มีอุปทาน นั่นเอง
     
  14. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ไม่มีส่วนที่ขาดหาย แต่ต้องเข้าใจการทำงานของขันธ์5 ด้วยจึงจะเข้าใจ พระพุทธองค์มีกล่าวส่วนขันธ์อื่นไว้ในบทอื่นๆ ครับ

    ท่านก็ลองแสดงส่วนที่ท่านเข้าใจให้ฟังบ้างซิครับ
     
  15. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ท่านคงต้องศึกษาเพิ่มหน่อยนะครับ มันผิดเพี้ยนไปเยอะเลยครับ

    ไปลองหาความหมายของ โสกะ ปริเทวะ ดูนะครับ


    ภิกษุ ท. ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์, แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์, แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์, แม้โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์, การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์, ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ : กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์.ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.
     
  16. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    จริงๆแล้วธรรมะมันเนื่องด้วยกันหมด
    ปฏิจสมุปบาทนั้นเป็นปรากฏการณ์ เป็นกฏธรรมชาติ เป็นลักษณะของธรรมชาติ
    ถ้ามองแบบโลกๆ ผมมองว่าปฏิจสมุปบาทเป็นวิทยาศาสาตร์บริสุทธิ์
    ดังนั้นมันจะมองแคบๆก็ได้ หรือจะขยายความให้กว้างก็ได้
    ผมจึงมักจะถามว่า จะคุยเรื่องอะไรในปฏิจสมุปบาท
    เพราะปฏิจสมุปบาท ไม่ใช่แนวทางปฏิบัติโดยตรง
    และตรงนี้คือ ห้องอภิญญา-สมาธิ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติเพื่อมรรคผล

    เมื่อเป็นพระอริยเจ้าแล้วจะเข้าถึงปฏิจสมุปบาท
    ซึ่งก็ต่างกับการรู้ในปฏิจสมุปบาทของปุถุชน
    นั่นคือประเด็นสำคัญ ทำให้เกิดคำถามที่ว่า จะคุยอะไรกันในปฏิจสมุปบาท
     
  17. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    แต่ละคน แต่ละแนวทาง เหมือนกัน น้า

    สำหรับเราแล้ว พระสูตร นี้ ทำให้เห็นกลไก อริยะสัจ 4 มากขึ้น และในกระบวนการ นิโรธแล้ว พระสูตรนี้ เป้นไปตามขบวนการธรรมชาติ บางทีโดยไม่รู้ตัว และบางทีขณะเราปฏิบัติอยู่ เรากำลังอยู่ในสภาวะธรรมนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า บางคนรู้และคล่องต่อธรรมนี้แล้ว เลยเลยไปดำรงที่สภาวะธรรมส่วนอื่นแทน

    สำหรับคนที่ไม่คล่องแล้วหรือไม่เข้าใจขันธ์5 โดยพื้นฐาน ปฏิจสมุปบาท นี้สำคัญมากที่จะช่วยชี้ กลไก ให้เห็นเด่นชัดขึ้น (ตามที่ ปัญญามนุษย์ สามารถเข้าใจได้) และช่วยยืนยันสิ่งที่เห็น สิ่งที่คิด สิ่งที่เป็นไปได้ดี เพื่อนำไปสู่ อริยะสัจ 4 (ยังมีพระสูตร ส่วนอื่นอีกนะจ๊ะ ที่เกื้อกูล พระสูตรปฏิจสมุปบาท นี้ อันนี้แล้วแต่ บุคคลจะเลือกเข้ามาผสมผสาน กันนะจ๊ะ เพื่อให้เหมาะกะ จริต และ ปัญญาของคนคนนั้น)

    ตามที่เราเห็นในแต่ละหัวข้อกระทู้ในเวบนี้ 80% มาจาก ปฏิจสมุปบาท เกือบทั้งสิ้นเลยแหละ
     
  18. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    (เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสาธยายปฏิจจสมุปบาท อยู่ลำพังพระองค์เดียว, ภิกษุรูปหนึ่งได้แอบเข้ามาฟัง, ทรงเหลือบไปพบเข้า แล้วได้ตรัสว่า :-
    ดูก่อนภิกษุ! เธอได้ยินธรรมปริยายนี้แล้วหรือ?
    “ได้ยินแล้ว พระเจ้าข้า!”
    ดูก่อนภิกษุ! เธอจงรับเอา (อุคฺคณฺหาหิ) ธรรมปริยายนี้ไป.
    ดูก่อนภิกษุ! เธอจงเล่าเรียน (ปริยาปุณาหิ) ธรรมปริยายนี้.
    ดูก่อนภิกษุ! เธอจงทรงไว้ (ธาเรหิ) ซึ่งธรรมปริยายนี้.
    ดูก่อนภิกษุ! ธรรมปริยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่ง
    พรหมจรรย์.


    การเข้าใจในปฎิจจสมุปบาท เพื่อใช้ในการเดินมรรค คือ รู้ทุกข์ รู้ว่าอะไรเป็นเหตุแห่งทุกข์เพื่อกำหนดละ เมื่อทุกข์ดับก็ต้องทำให้แจ้งนิโรธ และนั้นแลคือการเดินมรรค


    ภิกษุ ท.! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งอยู่สองอย่าง ที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร? คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้านเป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, และการประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล.

    ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุเป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.

    ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่ง สองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการนี่เอง. แปดประการคืออะไรเล่า? คือความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง. ภิกษุ ท.! นี้แล คือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.

    ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ ๑ คือความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์* ความตายก็เป็นทุกข์, ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทุกข์ ความพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์, กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์.

    ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์คือตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ, ได้แก่ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.

    ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง คือความสลัดทิ้ง ความสละคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น.

    ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ ได้แก่ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้องการพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง.
     
  19. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    เรืองปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่อง ในปัจจุบันขณะ ซึ่งเป็นสภาวะเดียวกันกับข้ามภพ-ชาติ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว เป็นผู้อันเวทนาอันเกิด
    จากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว, ความถึงทับจับฉวย ว่า "เรามีอยู่ (อสฺมีติ)" ดังนี้บ้าง
    ย่อมมีแก่เขา : ว่า "นี้เป็นเรา (อยมหมสฺมีติ)" ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา: ว่า "เราจักมี
    (ภวิสสํอิติ) “ ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา : ว่า "เราจักไม่มี (น ภวิสสํอิติ) “ ดังนี้บ้าง ย่อมมี
    แก่เขา : ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีรูป (รูปี ภวิสฺสํอิติ)" ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา : ว่า "เราจัก
    เป็นสัตว์ไม่มีรูป (อรูปี ภวิสฺสํอิติ)" ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา
    (สญฺญี ภวิสฺสํอิติ) " ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา ว่า "เราจักเป็นสัตวฺไม่มีสัญญา (อสญฺญี
    ภวิสฺสํอิติ)" ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา : ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
    (เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํอิติ) " ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา.


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ทั้งหลาย ๕ ประการ ย่อมตั้งอยู่ ในการ
    ถึงทับจับฉวยเหล่านั้นนั่นเทียว. แต่ว่า ในกรณีที่อวิชชา เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้ได้สดับ
    ย่อมละเสียได้ , วิชชาย่อมเกิดขึ้น. เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา โดยการสำรอก
    ไม่เหลือแห่งอวิชชา ของอริยสาวกนั้น ความถึงทับจับฉวยว่า "เรามีอยู่" ดังนี้ก็ดี
    ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ว่า "นี้เป็นเรา" ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ว่า
    ”เราจักมี” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ว่า "เราจักไม่มี" ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มี
    แก่อริยสาวกนั้น; ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีรูป" ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น;
    ว่า "เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป" ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น; ว่า "เราจักเป็นสัตว์
    มีสัญญา" ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น; ว่า "เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา" ดังนี้
    ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น; ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่สัญญาก็ไม่ใช่"
    ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ดังนี้ แล.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ถ้าว่า บุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย, ย่อมไม่ดำริ
    ถึงสิ่งใดด้วย, และทั้งย่อมไม่มีใจฝังลงไป (คือไม่มีอนุสัย) ในสิ่งใดด้วย, ในกาลใด,
    ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย. เมื่ออารมณ์
    ไม่มี, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี, เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ
    ไม่เจริญงอกงามแล้ว, การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี. เพราะความดับแห่งนามรูป
    จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ;
    เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา, เพราะมีความดับแห่งเวทนา
    จึงมีความดับแห่งตัณหา; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน;
    เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมี
    ความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-
    โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วย
    อาการอย่างนี้, ดังนี้ แล.
     
  20. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...