อย่าเลยพระพุทธเจ้า อย่าเลยครูอาจารย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 28 มีนาคม 2013.

  1. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    กรณี วัดนาป่าพงอ้างว่า รักษาปาฏิโมกข์ เพียงแต่แค่ไม่ได้สวดตอบว่าการไม่ยอมสวดให้ครบนี้ ก็ถือว่า ต้องอาบัติตามพระวินัยครับพระคึกฤทธิ์และพระทุกรูป วัดนาป่าพง "ต้อง อาบัติทุกกฏ ตลอด ๒๔  ชั่วโมง ตลอด ๓๖๕ วัน "-----------------------------------------------------------------------------------------ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=4420&Z=4480

    ------------------------------------------------------------------------------------มีท่านผู้รู้ให้ความเห็นไว้ว่าการต้องอาบัติทุกกฏ ในกรณีพระวัดนาป่าพงเช่นนี้เป็นการต้องอาบัติทุกกฏอยู่ตลอดเวลายืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกกิริยา ทุกอริยาบถต้องอาบัติทุกกฏอยู่ตลอด เพราะแสดงปาฏิโมกข์ไม่ครบจำนวนตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ แม้จะแสดงอาบัติก็ไม่ผ่านเพราะยังยึดถือความเห็นอยู่เช่นนั้น ไม่ได้ทำการแก้ไขและสำนึกในโทษนั้นเลย แม้จะมีภิกษุด้วยกันตักเตือนแล้วแต่ก็ยังดื้อด้าน คงถือปฏิบัติอยู่เช่นเดิม ถ้าเป็นเช่นนี้พระกลุ่มนี้ก็จะต้องอาบัติที่มีโทษสูงเพิ่มขึ้นไปอีกหนึ่งข้อ คือต้องอาบัติปาจิตตีย์ข้อ 54 ความว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ-----------------------------------------------------------------------------------------ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๑๐๓. ๔.เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.http://www.84000.org/tipitaka/pitak...------นอกจากนี้ยังโยงไปถึงการทำให้เกิดสังฆเภท อันเป็นอาบัติสังฆาทิเสสการศึกษา พุทธวจนะ การสนทนาธรรมของ พระวัดนาป่าพงนั้น ไม่มีความบริสุทธิ์เลยเพราะ พระทุกรูป "ต้อง อาบัติทุกกฏ ตลอด ๒๔  ชั่วโมง ตลอด ๓๖๕ วัน "ไม่ว่าจะ ยืนเดินนั่งนอนดื่มเคี้ยวสนทนาธรรมและ การละเมิดอาบัติทั้งหลาย แม้จะเพียงอาบัติทุกกฏนี้ก็ตาม พระอรรถกถาจารย์ท่านได้ตักเตือนไว้ว่า เป็นโทษที่สามารถทำอันตรายต่อมรรคผลของผู้ละเมิดได้เลย พระไตรปิฏก ในชุด 91 เล่ม 18 หน้า 84  ความว่าจริงอยู่ กองอาบัติที่แกล้งล่วงละเมิดแล้ว โดยที่สุดแม้ทุกกฏและทุพภาษิต ก็ทำอันตรายแก่มรรคและผลทั้งหลายได้.edit เพิ่มเติม 3 [12 มิย.]-------------------------------------------------------------ผมได้สรุป เรื่อง ปาฏิโมกข์ ๒๒๗ และทำ link ไว้คร่าวๆอย่างครบถ้วนตามพระวินับปิฎกสองเล่มแรก (คือ มหาวิภังค์ เล่ม ๑ เล่ม ๒) นะครับท่านที่เป็นห่วงในพระศาสนา สามารถดูได้ใน ความคิดเห็นที่ #184 หรือดูได้ใน กระทู้พระวินัยปิฎก๒เล่มแรก ก็คือ ปาฏิโมกข์ ๒๒๗นี่เองhttp://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10676377/Y10676377.html

    โดยจะได้แสดงให้เห็นว่า อนิยตะ ๒ และ เสขิยะ ๗๕ นั้นเป็นพุทธบัญญติที่ทรงให้ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงและสิกขาบทเหล่านี้เป็นสิกขาบทที่มาสู่อุเทศทั้งนั้นเลย

    PANTIP.COM : Y10662595 กรณีวัดนาป่าพงตัดปาฏิโมกข์ 227 เหลือ 150 - สรุปว่า 150 พระพุทธองค์ตรัสไว้ช่วงกลางพุทธกาล{แตกประเด็นจาก Y10660106} []

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มีนาคม 2013
  2. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    มหาเถร ครับ ไม่ใช่หมาเถร ที่แปลว่าเกินกว่าคือ พระอาจารย์ ปยุต ปยุตโต แปลกว่า พร้อมทั้งส่วนที่เกิน แสดงว่ามากกว่า 150 ไม่ใช่ 150 ถ้วน ส่วนฉบับที่แปลว่า 150 ถ้วนนั้นไม่ได้หมายความว่าพระทุกรูปเห็นด้วย แต่เพราะแบ่งกันแปลเป็นส่วนๆแล้วเอามารวมกัน

    ถามว่าเกืนเท่าไหร่ ก็ดูในวินัยปิฎกครับ ในพระสูตรเน้นเหตุการณ์ บทสนทนาจึงไม่ได้กล่าวละเอียดเป็นข้อๆ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒มหาวิภังค์ ภาค ๒  ข้อ [๘๘๑] ---------------------------------------------------------------------[๘๘๑] ท่านทั้งหลาย นิทานข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
    ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย (75 ข้อ) ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล
    สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีเท่านี้ มาในพระปาติโมกข์นับเนื่องในพระปาติโมกข์ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน.พวกเราทั้งหมดนี้แล พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระปาติโมกข์นั้น เทอญ.http://84000.org/tipitaka/read/?2/881
    (เสขิยะ มี ๗๕)-------------------------------------------------------------------------บวกรวมกันง่ายๆดังนี้คือ4 + 13 + 2 + 30 + 92 + 4 + 75 + 7 = 227

    เข้าใจว่า ทางวัดนั้น ตัด เสขิยะ 75 กับ อนิยต 2 ทิ้งไป เลยเหลือ 150 แต่ถ้ายึดตามพระวินัยจริงๆก็ ตัดไม่ได้เพราะท่านให้สวด เสขิยะ และ อนิยต รวมเข้าไปในปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือนด้วยนี่

    อันนี้ไม่ได้ชวนทะเลาะอะไรนะครับ ถกกันตามหลักฐานข้อเท็จจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มีนาคม 2013
  3. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อย่ากล่าวเช่นนั้นเลยเรื่องความผิด ไว้รอการพิสูจน์ต่อไปในเรื่องปาฎิโมกข์คุยกันมันก็ไม่จบ ดูไปเรื่อยๆ
     
  4. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เรื่องของเรื่องถ้าท่านเรียงตามเก่า ก็คงจะเป็นอย่างนั้นถ้าอยากหายสงสัยว่าท่านสวด150ข้อลองไปถามท่านดูนะครับ เพราะสาเหตุใด เพื่อจะได้ตำตอบดีนะครับ
     
  5. opateng

    opateng สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +11
    หิงห้อยกำลังจะอับแสง เพราะพระอาทิตย์กำลังจะขึ้น
    โธ่ลุงนี่ก้อน่าสงสารอีกคน ยังไม่รู้เลยว่าอันไหนพุทธวจนะอันไหนคำแต่งใหม่ แกจะรู้มั้ยเนี่ยว่า วิสุทธิมรรคมันก้อคำแต่งใหม่ แล้วเหมาเอาหมดที่เป็นภาษาบาลีเป็นพุทธวจนะ มาลองศึกษาซักหน่อยดีมั้ยเนี่ย ไม่ต้องไปฟังพระศึกฤทธิ์ก้อได้ อ่านเอาในบาลีสยามรัฐโลด หรืออ่านบาลีน่ะแปลเอาเอง มันแต่งมาเป็นพันๆปีแล้วถ้าลุงยังแยกแยะชั้นข้อมูลไม่ถูกนะ ลุงก็จะค้านคำของพระพุทธเจ้าไปตลอด
    อย่าสังคายนาเลย สังคายนาทีไรมีคำแต่งใหม่เพิ่มขึ้นตลอดมีแต่ ธรรม + วินัย ก้อพอแล้วมั้ง ไม่ต้องเอาอถรรกถา แต่แม่งก็จะมีคนมาค้านบอกคำที่แปลเป็นอถรรกถาไล่เอาไปอ่านบาลีอีก อันนั้นก้อไม่มีพัฒนาการทางความคิดไปนิสนึง you know
     
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ก็ให้มหาเถระบอกออกมาซิครับแปลว่า กว่า เพราะมหาเถรแปลไว้นะครับ จะเอาแต่ท่าประยุตคนเดียวเหรอครับ
     
  7. opateng

    opateng สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +11
    ศีล 3 กลุ่ม ไปหาอ่านในพุทธวจนะ นะ
    1.สัมปันนะสีลา เช่น เดรฉานวิชา ทำมนต์ ทำยันต์ ดูหมอ ทำนาย ฯลฯ
    2.สัมปันนะปาฏิโมกขา ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุตา ตรัสไว้แค่ 150 ข้อ เช่น ขุดดิน รับเงิน รับทอง ฉันมื้อเดียว
    3.อาจาระโคจะระสัมปันนา มากว่า 1940 ข้อ เกี่ยวกับมารยาทและการโคจร
     
  8. พรานยึ้ม

    พรานยึ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    591
    ค่าพลัง:
    +682
    ธรรมเมา



    พูดไป พูดมา ก็ไม่พ้นในสิ่งที่ผมกล่าวไปข้างต้น

    ธรรมะ ปฏิบัติให้ อย่ามัวหลงระเริง เริงร่ากับธรรมเมาอยู่เลย

    คุณน่ะ ระวังจะเมาคำพูดตัวเอง
     
  9. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    คุณลองไปถามพระมหาเถรสิครับว่ามีรูปไหน บ้างที่สวด ปาฏิโมกข์ 150 ข้อนอกจากวัดนาฯ

    ไม่ใช่แค่ท่านประยุตคนเดียว อังกฤษบางฉบับก็แปลแบบนี้ คุณจะยึดแต่พระสูตรที่แปลผิดอย้างเดียว โดยไม่สนใจพระวินัยปิฎกที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเลยหรือ ศาสนาแต่ก่อนเรียก พระธรรมวินัย คือพระธรรมและพระวินัย ที่ว่า227 ข้อตามแบบเก่า ก็แบบที่พระสงฆ์อรหันต์เถระ 500 รูปมีพระมหากัสสปะ เป็นประธาน ท่านสังคายนา ไม่ใช่หรือ และผู้ที่วิสัชนาเรื่องพระวินัยก็คือพระอุบาลีที่พระพุทธเจ้ายกให้เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าภิกษุทั้งปวงด้านทรงจำพระวินัย ซึ่งท่านก็ยังกล่าวไว้ในพระวินัยว่า ที่สวดทุกกึ่งเดือน มีเสขิยะวัตร ด้วย พระเถระเหล่านั้นมีมติที่ประชุมเป็นเอกฉันท์ว่าจะไม่เพิ่มไม่ลดสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้ว ถ้าไม่เชื่อยังเรียกตนเองว่า เป็นเถรวาทอยู่หรือ?

    คุณจะเชื่อพระสูตรที่แปลผิดหรือจะเชื่อพระวินัยที่ทรงจำมาจากผู้ที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะด้านทรงจำพระวินัย ก็ ลองคิดดูละกันนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มีนาคม 2013
  10. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตร
    ทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น
    รวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ นั้นเป็นไฉน คืออธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญา
    สิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    หน้าที่ ๒๒๐/๒๙๐ - หน้าที่ ๒๒๑/๒๙๐
     
  11. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    จุดประสงค์ของการสังคายนา

    จุดประสงค์สำคัญที่สุดของการสังคายนา คือการรวบรวมพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เพื่อธำรงรักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ไม่ให้สูญหายหรือวิปลาสคลาดเคลื่อนไป เพราะพระธรรมวินัยนั้นคือหลักของพระพุทธศาสนา หากปราศจากคำสอนแล้วพระพุทธศาสนาก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ดังพุทธวจนะในคราวจะเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา. แปลว่า : ดูกรอานนท์ ธรรมแลวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงลับไป (ที.ม.10/141/178) พระเถระทั้งปวงเห็นความสำคัญของพระธรรมวินัยซึ่งจะสืบทอดพระศาสนาต่อไปในภายหน้า หากละเลยปล่อยไว้กระทั่งพระธรรมวินัยเกิดความคลาดเคลื่อนไปจะเป็นอันตรายต่อพุทธศาสนา จึงได้เริ่มสังคายนารวบรวมพระธรรมคำสอนขึ้นเป็นหมวดหมู่ภายหลังพุทธปรินิพพานไปแล้ว 3 เดือน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2013
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    จะเห็นว่า การทำสังคายนา พระพุทธองค์ทรงมีพระดำริก่อนจะทรงปรินิพพาน
    พระสารีบุตรได้แสดงธรรมไว้ จัดเป็นพระสูตรหนึ่งเรียกว่าสังคีติสูตร (พระสูตรว่าด้วยการสังคายนา หรือสังคีติ) เป็นตัวอย่างที่พระอัครสาวกคือพระสารีบุตรได้กระทำไว้ แต่ท่านพระสารีบุตรเองได้ปรินิพพานไปก่อนพระพุทธเจ้า จึงตกเป็นหน้าของท่านมหากัสสปะ
    แต่การจะถ่ายทอดพระพุทธวจนด้วยความเข้าใจนั้น จะใช้ตาสีตาสาหรือปุถุชนไม่ได้
    ผู้ร่วมปฐมสังคายนา.. ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งหลายซึ่งทันเห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรง เป็นผู้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าสิ่งใดที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้มาประชุมกัน เพื่อช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้


    ........

    ..ขณะนั้นล่วงปลายพุทธกาลแล้ว นิครนถนาฏบุตรผู้เป็นศาสดาของศาสนาเชนได้สิ้นชีวิตลง สาวกของท่านไม่ได้รวบรวมคำสอนไว้เป็นหมวดหมู่ และไม่ได้ตกลงกันไว้ให้ชัดเจน ปรากฏว่าเมื่อศาสดาของศาสนาเชนสิ้นชีวิตไปแล้ว เหล่าสาวกก็แตกแยกทะเลาะวิวาทกันว่า ศาสดาของตนสอนว่าอย่างไร ครั้งนั้น พระจุนทเถระได้นำข่าวนี้มากราบทูลแด่พระพุทธเจ้า และพระองค์ได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวง ร่วมกันสังคายนาธรรมทั้งหลายไว้เพื่อให้พระศาสนาดำรงอยู่ยั่งยืนเพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน (ที.ปา.11/108/139) เวลานั้น พระสารีบุตรอัครสาวกยังมีชีวิตอยู่ คราวหนึ่งท่านปรารภเรื่องนี้แล้วกล่าวว่า ปัญหาของศาสนาเชนเกิดขึ้นเพราะว่าไม่ได้รวบรวมร้อยกรองคำสอนไว้

    เพราะฉะนั้นพระสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ควรจะได้ทำการสังคายนา คือรวบรวมร้อยกรองประมวลคำสอนของพระองค์ไว้ให้เป็นหลักเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อปรารภเช่นนี้แล้วพระสารีบุตรก็ได้แสดงวิธีการสังคายนาไว้เป็นตัวอย่าง โดยท่านได้รวบรวมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อธรรมต่าง ๆ มาแสดงตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบ คือเป็นธรรมหมวด ๑ ธรรมหมวด ๒ ธรรมหมวด ๓ ไปจนถึงธรรมหมวด ๑๐ เมื่อพระสารีบุตรแสดงจบแล้ว พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานสาธุการ (ที.ปา.11/225-363/224-286)

    หลักธรรมที่พระสารีบุตรได้แสดงไว้นี้ จัดเป็นพระสูตรหนึ่งเรียกว่าสังคีติสูตร (พระสูตรว่าด้วยการสังคายนา หรือสังคีติ)เป็นตัวอย่างที่พระอัครสาวกคือพระสารีบุตรได้กระทำไว้ แต่ท่านพระสารีบุตรเองได้ปรินิพพานไปก่อนพระพุทธเจ้า ดังนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วภาระจึงตกอยู่กับพระมหากัสสปเถระ ซึ่งตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานนั้น เป็นพระสาวกผู้มีอายุพรรษามากที่สุด
    ...

    พระมหากัสสปเถระได้ทราบข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่ ณ เมืองปาวาพร้อมด้วยหมู่ศิษย์จำนวนมาก เมื่อได้ทราบข่าวนั้น เหล่าศิษย์ของพระมหากัสสปะซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ได้ร้องไห้คร่ำครวญกัน ณ ที่นั้น จึงมีพระภิกษุบวชเมื่อแก่องค์หนึ่ง ชื่อว่าสุภัททะ ได้กล่าวขึ้นว่า "หยุดเถิด หยุดเถิด ท่านอย่าร่ำไรไปเลย พระสมณะ นั้นพ้น (ปรินิพพาน) แล้ว เราจะทำอะไรก็ได้ตามพอใจ ไม่ต้อง เกรงบัญชาใคร"

    พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น คิดจะทำนิคคหกรรม (ทำโทษ) แต่เห็นว่ายังมิควรก่อน และดำริขึ้นว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง 7 วัน ก็มีผู้คิดที่จะทำให้เกิดความแปรปรวน หรือประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจากพระธรรมวินัยเช่นนี้ จึงควรจะทำการสังคายนาและจะชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่งล้วนทันเห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรง เป็นผู้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าสิ่งใดที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้มาประชุมกัน เพื่อช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้[2] จากนั้นท่านจึงเดินทางไปยังเมืองกุสินาราเพื่อเป็นประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2013
  13. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 1
    จึงได้จัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ตามคำปรารภของพระมหากัสสปเถระ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ โดยในครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระเป็นประธานทำสังคายนา พระอานนท์เป็นองค์วิสัชชนาแสดงพระธรรมวินัยในหมวดพระสุตตันตปิฎก (ธรรมเทศนา) และ พระอภิธรรมปิฎก (คำสอน) พระอุบาลีเถระ เป็นองค์วิสัชชนาพระวินัยปิฎก ซึ่งแนวการวางระเบียบพระธรรมวินัยในครั้งนั้นจัดเป็นรูปแบบที่เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังคงมีการรักษาสิ่งที่ได้จัดรวบรวมในครั้งปฐมสังคายนาอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับเถรวาทโดยไม่มีการปรับแก้มาจนปัจจุบัน

    การสังคายนาครั้งที่สอง
    เมืองเวสาลี สถานที่ทำทุติยสังคายนาการทำสังคายนาครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 100 ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย โดยมีพระยสกากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พระเถระผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมทำสังคายนาครั้งนี้ได้แก่ พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระขุชชโสภิตะ พระวาสภคามิกะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาจีนกะ) พระเรวตะ พระสัมภูตะ สาณวาสี พระยสะ กากัณฑกบุตร และพระสุมนะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาฐา) ในการนี้พระเรวตะทำหน้าที่เป็นประธานผู้คอยซักถาม และพระสัพพกามีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 700 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 8 เดือน จึงเสร็จสิ้น

    ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พระยสกากัณฑกบุตร พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการทางพระวินัยของภิกษุวัชชีบุตร[3] เช่น ควรเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์เพื่อรับประทานได้ ควรฉันอาหารยามวิกาลได้ ควรรับเงินทองได้ เป็นต้น พระยสะ กากัณฑกบุตรจึงชวนพระเถระต่างๆ ให้ช่วยกันวินิจฉัย แก้ความถือผิดครั้งนี้

    โดยรายละเอียดของปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สอง มีกล่าวถึงในพระวินัยปิฎก จุลลวรรค[4] แม้ในวินัยปิฎกจะไม่กล่าวถึงคำว่าพระไตรปิฎกในการปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สองเลย แต่ในสมันตัปปาสาทิกา ซึ่งเป็นอรรถกถาอธิบายวินัยปิฎกนั้น บอกว่าการจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธศาสนาให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างพระไตรปิฎกนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนาแล้ว

    และครั้งต่อๆไป..
    อ่านที่..
    http://th.wikipedia.org/wiki/สังคายนาในศาสนาพุทธ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2013
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การทำหน้าของครูบาอาจารย์มีมาแต่พุทธกาล เป็นระดับพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาสี่และอภิญญาหก (ไม่ใช่ใครก็มาถ่ายทอดพระวจนะได้ตึความได้)
    รวมถึงครูบาอาจารย์ที่เป็นนักปฏิบัติต่อๆมา ซึ่งควรเป็นพระอรหันต์หรือพระอริยะไล่ลงมา หรืออย่างน้อยที่สุดควรเป็นผู้มีปัญญาเป็นผู้ศึกษาและมีคุณธรรมพอควร(กัลยาณปุถุชน)
    เพราะนอกจากการจดจำคำสอนได้ยังต้องตีความได้ตรงหรือใกล้เคียง จึงถ่ายทอดได้
    ไม่ใช่ใครๆก็ได้ มาบอกพระวจนเป็นอย่างนั้นนี้ ตีความไปตามตนเข้าใจ แถมจะไปตรวจสอบครูว่าท่านกล่าวถูกพุทธวจนะไหม จะทำได้หรือถ้าขาดการปฏิบัติและปัญญา แต่การตรวจสอบนั้นจะเป็นผลและมีประโยชน์ตนก็ต่อเมื่อตัวเองปฏิบัติและเข้าใจ


    ข้อกำหนดในการปฐมสังคายนา

    ในการสังคายนามีข้อกำหนดที่สามารถเป็นเหตุผลยืนยันถึงความจริงความถูกต้องของพระธรรมวินัย ดังนี้

    1. ผู้เข้าร่วมสังคายนาต้องเป็นพระอรหันต์ และต้องมีปฏิสัมภิทา 4 ( เป็นความเชี่ยวชาญเกิดจากปริยัติธรรม ได้แก่ 1. เชี่ยวชาญในสารประโยชน์ 2. เชี่ยวชาญในหลักธรรม 3. เชี่ยวชาญในภาษา 4. มีความเชี่ยวชาญในการมีไหวพริบ) และต้องมีอภิญญา 6 (เป็นคุณธรรมพิเศษที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมจนได้ฌาน ได้แก่ 1. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ 2. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์ 3. ทิพพโสต มีหูทิพย์ 4. เจโตปริยญาณ การล่วงรู้จิตใจผู้อื่น 5. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ 6. อาสวักขยญาณ การหลุดพ้นจากอาสวะ

    2. จะต้องทำสังคายนาที่กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เพราะเป็นแคว้นใหญ่ พระเจ้าอชาตศรัตรูกำลังเรืองอำนาจ และที่นั่นก็มีพระเถระหลายรูป

    3. เพื่อขอให้พระเจ้าอชาตศรัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์เพื่อความราบรื่นในการสังคายนา

    วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล - นานาสาระ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเถรวาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2013
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    แล้วคำของพระตถาคต ไม่ต้องใตร่ตรองหรือ
    แล้วสมารถใช้ปัญญาไตร่ตรองครูบาอาจารย์ได้หรือ ถ้าไม่ปฏิบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2013
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    แม้ปฐมสังคายนาก็เป็นการสังคายนาระดับพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาสี่อภิญญาหกที่จดจำพระวจนะมาอีกที
    ลองอ่านดูใหม่นะ
    ที่บอกว่าอุตส่าห์ยกบาลีมาด้วย ไม่ได้หมายถึงต้องเป็นพระวจนะเดิมหรือไม่
    แต่อย่างน้อยไม่ใช่คำแปล และอาจเป็นส่วนต้องยืนไว้คงเดิมจากการจดจำในพระวจนะ (คือไม่ใช่ส่วนขยาย)
    เพื่อที่จะอธิบายต่อไปว่า ...แม้แต่การทำสังคายนา
    ก็เป็นการจดจำคำสอนโดยมหาสาวกทั้งหลายเรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่เพื่อการศึกษาต่อไป ซึ่งก็มีการแปลต่อไปๆอีก
    ซึ่งแนวการวางระเบียบพระธรรมวินัยในจัดเป็นรูปแบบที่เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังคงมีการรักษาสิ่งที่ได้จัดรวบรวมในครั้งปฐมสังคายนาอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับเถรวาทโดยไม่มีการปรับแก้มาจนปัจจุบัน

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ปุณฑ์
    บอกหน่อย พุทธวจนะ แปลว่า อะไร (อุตส่าห์ยกบาลีมาด้วย)
    แล้วคำแปล แปลว่าอะไร
    ต้องแปลอย่างบาลีสยามรัฐ แล้วเป็นพระวจนเลยเท่านั้น..??

    บอกหน่อยใครแต่งใหม่ (ก็คงสังคายนาหลายครั้งทีเดียว)
    และการสังคายนา ก็เป็นการจดจำคำสอนโดยมหาสาวกทั้งหลายเรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่เพื่อการศึกษาต่อไป ซึ่งก็มีการแปลต่อไปๆอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2013
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เห็นว่ามีกระทู้เรื่อง ฟังแต่พระพุทธเจ้า องค์เดียวเท่านั้น
    อยู่ที่ห้องพุทธศาสนา-ธรรมะ
    แลการเกิดของ กลุ่ม150 ขึ้นมา(ใครนะเข้าใจตั้ง)
    ใครสนใจพิจารณาเหตุผลของประเด็นนี้ไปได้ที่
    หน้า 3
    http://palungjit.org/threads/ฟังแต่พระพุทธเจ้า-องค์เดียวเท่านั้น.432348/page-3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2013
  18. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ผมสงสัยขอถามตรงนี้หน่อยท่านผู้รู้


    ตรงหนังสือสีๆทำไมถึงอยู่ข้างนอกหล่ะท่าน
    ก็ในที่พระชุมสงฆ์ ท่านก็บอกว่าสิกขาบทที่มาสู้อุเทสมีเพียงเท่านี้
    ใยท่านถึงเอาคำที่ท่านกดเองเเล้วเอาไปบวกรวมอีกหละท่าน

    ขอสูตรที่ชัดเขนกว่านี้หน่อย
     
  19. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    อีกอย่างต่อให้พระสูตรแปลถูกว่าเป็น 150 ข้อถ้วนก็จริง แต่เหตุการณ์ในพระสูตรก็เป็นช่วงกลางพุทธกาลซึ่งยังมีอะไรที่ปรับเปลี่ยนได้อีกเยอะ เช่น แต่ก่อนห้ามสวมรองเท้า ต่อมาพระพุทธเจ้าก็ให้สวมรองเท้าได้ เป็นต้น แต่ก่อนตัดต้นไม้ได้ พอชาวบ้านเห็นแล้วไม่ชอบเพราะคิดว่าต้นไม้มีจิตใจ ท่านก็ห้ามตัดต้นไม้

    แต่ก่อน บวชปุ๊บเป็นพระอุปัชฌาย์ได้เลย ต่อมาแก้เป็นต้องอย่างน่อย 10 พรรษาถึงเป็นได้

    แต่พระวินัยที่สังคายนานั้น ทำในช่วงพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 3-10 เดือน จึงเป็น version ล่าสุดที่พระพุทธเจ้าได้ประทานไว้โดยไม่มีใครที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงได้แล้ว ถ้ายึดคติตามหลักเถรวาท ที่จะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรท่่ีพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้
     
  20. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ที่อยู่ข้างนอกเพราะต้นฉบับข้อความนั้นผมคัดลอกมาจากเว็บพันทิพย์
    ส่วนที่ว่าเป็นพระวินัยครับไม่ใช่พระสูตร

    ดูได้จากต้นฉบับที่

    http://84000.org/tipitaka/read/?2/881

    ซึ่งในพระวินัยกำหนดเสขิยวัตรไว้ 75 ข้อ
    แต่ถึงแม้ว่าจะกี่ข้อก็ตาม ท่านก็ให้สวดเสขิยะเข้าในพระปาฏิโมกข์ด้วย ซึ่งต้องเกิน 150 ข้อแน่นอน
     

แชร์หน้านี้

Loading...