พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    เรียน พี่พันวฤทธิ์

    ไหนๆ ก็ไหน ผมยินดี เช่นเดิม คือ รับครับ

    [​IMG][​IMG][​IMG]
    สาธุครับ
     
  2. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ผมยืนยันตามที่ได้จอง(วัดระฆัง)ไว้ครับ แต่ถ้าพี่พันวฤทธิ์กรุณาผมขออีกองค์(ปีระกา ไว้แขวนตอนไม่สบายครับ)ด้วย อยากได้ทั้ง2เลยครับ ผมคงจะไปรับ ที่บ้าน อ.ประถมครับ
    ขอบคุณครับ
    nongnooo...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2007
  3. active

    active เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +278
    z,pผม ขอยืนยันการจอง ครับ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เรื่อง อโคจร

    http://www.self-aware.net/topic.html

    "อโคจร"

    ท่านผู้หนึ่งได้ขอให้ผมช่วยค้นหาข้อมูลในหัวเรื่อง “ อโคจร ” ซึ่งผมค้นจากซีดีรอม พระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน พบข้อมูลที่มีอ้างอิงอยู่ 3 แห่ง (ดังได้แนบมาด้วย ในตอนท้ายของข้อความนี้)
    “ อโคจร ” เป็นเรื่องของการสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของพระภิกษุเป็นสำคัญ และทำตัวให้เหมาะสม ไม่ไปคลุกคลีมั่วสุมในที่ซึ่งล่อแหลม ไม่ควรไปคลุกคลีด้วย เช่นโรงโสเภณี แม้แต่กระทั่งไม่ไปมั่วสุมกับพระราชา (เพื่อประจบสอพลอ) หรือกับภิกษุณี (ซึ่งอาจเป็นภัยจากความเป็นเพศตรงข้ามได้) ตลอดถึงในกรณีที่เข้าไปพบเห็นในสถานการณ์หรือสถานที่ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่นการไปในละแวกบ้าน การเดินไปตามถนน ก็พึงกระทำตนให้ถูกต้อง คือ ไม่อโคจรไปในทางชั่ว แต่รู้จักโคจรโดยการสำรวมอินทรีย์ให้จิตดำรงอยู่ในสติปัฏฐานสี่เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการเน้นในการปฏิบัติเฉพาะตนเป็นสำคัญ
    อโคจร ไม่ได้เป็นศีลข้อบังคับโดยตรง เพราะปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก คือไม่ได้อยู่ในพระวินัยปิฎก (ไม่ได้บอกอาบัติหรือข้อลงโทษไว้) เป็นเพียงข้อแนะเพื่อทำตนให้งามทั้งทางกายและทางใจของพระภิกษุรูปนั้นๆ
    ปัจจุบันวิวัฒนาการในด้านต่างๆได้ถีบตัวสูงขึ้นมาก พระภิกษุ (หรือแม้แต่คนธรรมดาทั่วไป) ที่อาศัยอยู่ในสังคมยุคปัจจุบัน พึงพัฒนาตัวเองให้เรียนรู้ตามสมควรในการใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยี เพื่อช่วยทุนแรง อำนวยความสะดวก และให้มีประสิทธิภาพในการทำงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะ เพื่อใช้ประกอบในการศึกษา เผยแพร่ ตลอดถึงการค้นคว้า วิจัยและสื่อข้อมูลให้เป็นประโยชน์ ไม่ล้าสมัย และนำวิวัฒนาการเหล่านั้นมาช่วยเสริมให้ได้ผลในกิจกรรมนั้นๆ ด้วยประสิทธิภาพที่สูงขึ้นและได้ผลดียิ่งขึ้น แต่ก็ต้องระมัดระวัง ไม่หลงติดในรูปธรรม นามธรรมเหล่านั้น ต้องคอยหมั่นตรวจสอบ สำรวมจิต ของตน ไม่ให้ตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น หรืออารมณ์ที่กำลังกระทบอยู่นั้น เช่น การดูรายการต่างๆทางทีวีเพื่อทัศนศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม ไม่ใช่เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานเฮฮา
    อนึ่งในข้อแนะที่ท่านวางไว้ในพระสูตรให้สำรวมอายตนะทั้งหก เพื่อไม่ให้ยินดี ยินร้ายในสภาวธรรมนั้นๆ จึงเป็นการครอบคลุมนอกเหนือ มากเกินกว่าการที่ไปปรากฏตัว ตามสถานที่ชุมชนต่างๆ เช่น การเดินไปในละแวกบ้าน เดินไปตามถนน (หรือการเข้าเมืองในอดีตกาล ซึ่งอาจเทียบกับการไปห้างร้านสรรพสินค้าต่างๆในปัจจุบัน ด้วยอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องหาของไว้ใช้สอย หรือใช้ประกอบในการทำหน้าที่หรือ กิจกรรมต่างๆ) ยังต้องรู้จักสำรวมตนทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เช่นไม่ไปเพื่อหาซื้อหนังโป๊ หรือ ล๊อตเตอรี่ ( และควรจะมีการห้ามขายหรือลงโทษผู้ขายให้แก่พระภิกษุด้วย เพราะเท่ากับช่วยทำลายสถาบันสงฆ์) ส่วนในที่ลับนั้น ก็ครอบคลุมไปถึงการท่องอินเตอร์เน็ตเปิดดูรูปหรือหนังโป๊ต่างๆ เป็นต้น
    โคจร-อโคจร จึงเป็นเรื่องของการรู้จักสำรวมตน รักษาอายตนะทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดไปถึงความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับสภาวะ สถานที่ หรือ กาละ เทศะ ต่างๆที่กำลังคลุกคลีอยู่นั้น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่รุ่มร้อนไปด้วยความยินดี ยินร้าย หรือ อภิชฌา และโทมนัส ไปกับสิ่งที่กำลังประสบอยู่ในสถานที่สภาพแวดล้อมนั้นๆ เป็นสำคัญ ตลอดทั้งครอบคลุมไปถึงคำครหาติฉินนินทาซึ่งอาจจะบังเกิดขึ้นได้ จากการเข้าไปมั่วสุมคลุกคลีอยู่ในสถานการณ์และสภาพแวดล้อมนั้นๆ (เทศะ) หรือ ไปในยามเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่นยามวิกาล (กาละ) เป็นต้น
    แต่หากเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความจำเป็นต้องซื้อหาสิ่งของไว้ใช้ในการ ศึกษาค้นคว้า หรือเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม อาทิเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎกซีดีรอม ซึ่งปัจจุบันนี้ ทำให้ความรู้ที่ได้จากหลักฐานที่ถูกต้องแน่นอน สามารถกระทำได้ในชั่วอึดใจเดียว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ไม่อาจกระทำได้แม้เมื่อเพียง 10 กว่าปีก่อนนี้เอง จนกระทั่งเกิดพระไตรปิฎกฉบับซีดีรอมในรูปแบบต่างๆขึ้น ทำให้ชาวพุทธทั่วไปสามารถมีพระไตรปิฎกพกติดตัวด้วยซีดีรอม ไปเปิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปได้ หรือใส่ลงใน Notebook ที่ถือใช้อยู่ได้ และสามารถค้นคว้าหัวข้อธรรมได้ทันทีที่มีข้อสงสัย โดยไม่ต้องวิ่งไปห้องสมุดหรือไปที่วัดค้นคว้า สำหรับพระสงฆ์นั้น ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะท่านสามารถค้นได้ทั้งภาษาไทยและบาลึเทียบเคียงได้อรรถรสพร้อมกันไปด้วย นอกจากจะใช้ในการทำรายงานส่งในวิชาที่เรียน ซึ่งทางฝ่ายมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็มีการนำความก้าวหน้าเหล่านี้มาใช้ในการสอนในห้องเรียน เช่นสถาบันการศึกษาทั่วๆไป และยังอาจใช้โปรแกรม PowerPoint ในเครื่องคอมพิวเตอร์ในการสอนบรรยายธรรม หรือโปรแกรมอื่นๆเช่น Word Processor ในการเขียนธรรมะ หรือทำรายงาน โปรแกรม PageMaker ในการตีพิมพ์หนังสือเอกสารต่างๆ การทำซีดีเสียงเทศน์ธรรมะในรูปแบบของ mp3 ตลอดถึง VCD, Multimedia CD, DVD ของอาจารย์ท่านต่างๆ ซึ่งสามรถบรรจุข้อมูลไว้ได้มาก จึงเป็นประโยชน์อย่างสูงทั้งในด้านการเก็บรักษาข้อมูลเดิมไว้ในสภาพที่สมบูรณ์และถาวรไม่ให้ตกหล่นสูญหายและใช้ในการแจกจ่ายธรรมะในรูปแบบต่างๆให้กระจายแพร่หลายออกไป ทั้งใกล้และไกล ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เป็นการสื่อความรู้ทางธรรมสู่มวลชนได้อย่างดีเยี่ยมในต้นทุนที่ถูกด้วย เป็นต้น จึงเป็นสิ่งที่ดีและได้ผลอย่างมาก ทั้งแก่หมู่สงฆ์ และมวลชนโดยส่วนรวมด้วย และสมควรได้รับการสนับสนุน เช่น ตั้งให้มีทุนส่งเสริมในกิจกรรมด้านการเผยแพร่ด้วยระบบดิจิตอลเหล่านี้
    ในกรณีเช่นนี้ น่าจะให้ความสนับสนุนให้พระสงฆ์ของเราสามารถซื้อหาอุปกรณ์ต่างๆสำหรับใช้งานในด้านนี้ได้โดยสะดวก เท่าทันกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในการสื่อธรรม และศึกษาพุทธธรรม ได้อย่างสูงสุด ไม่เฉพาะมุ่งแต่เพียงด้านการปฏิบัติธรรมด้านเดียว และชาวพุทธควรเข้าใจ ตลอดถึงมีใจกว้างพอต่อพระสงฆ์ท่านด้วย ท่านจะได้ช่วยกันพัฒนาการสอน การวิจัยหลักธรรมให้ดี ถูกต้อง แม่นยำและชัดเจน และสื่อถึงมวลชนได้ดียิ่งๆขึ้น เป็นการชักชวนให้มวลชนเกิดความสนใจมุ่งเข้าสู่การเรียนรู้ และศึกษาปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ส่วนพระสงฆ์ท่านก็พึงสำรวมระวังในการใช้อุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นในทางที่ชอบ แต่ถ่ายเดียว คือกระทำในสิ่งที่พึงโคจร (ซึ่งในหลายๆกรณี ก็คือสถานที่และสถานการณ์เดียวกันกับอโคจรนั้นเอง แต่เป็นไปในรูปแบบที่เปี่ยมไปด้วยการสำรวมระวังซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส และใจ เป็นสำคัญ)
    จึงน่าที่จะมีข้อผ่อนปรนแก้ไขข้อบังคับในกรณีเร่อง ” อโคจร ” ได้บ้าง มิใช่ปิดกั้นทางไม่ให้พระสงฆ์ท่านได้มีโอกาสรับรู้ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ไปเลียหมด (ยิ่งปิดกั้นบีบบังตับ ก็จะยิ่งมีของในตลาดมืดออกมาขายให้พระท่านตามวัด เป็นผลติดตามมา และเรายังขาดพระที่มีความรู้ความสามารถด้านนี้อยู่มาก (หรืออาจจะสูญไปเลย ถ้าท่านสึกออกไป) เช่น อาจจัดช่วงเวลาสำหรับชั่วโมงจำหน่ายให้แก่นักธุรกิจ และพระภิกษุสงฆ์ เยี่ยงกับที่ห้างร้านสรรพสินค้าบางแห่งในสหรัฐ เช่นร้าน ”Sam's Club” มีชั่วโมงพิเศษไว้รองรับขายให้เฉพาะนักธุรกิจตอนเช้าโดยเฉพาะ ก่อนเปิดบริการขายแก่สาธารณชนทั่วไป ก็จะเลี่ยงไม่ให้เกิดความวุ่นวายประเจิดประเจ้อ บาดตาบาดใจต่อสายตาของประชาชนทั่วไปได้
    คงศักดิ์ ตันไพจิตร
    9 พฤศจิกายน 2547
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.self-aware.net/topic.html
    ข้อความว่าด้วย อโคจร ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

    [917] คำว่า เธอพึงเป็นผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร ? ความว่า พระเถระ ย่อมทูลถามถึงโคจรว่า ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ประกอบด้วยโคจรเช่นไร คือ ด้วยโคจรที่ดำรงไว้อย่างไร มีชนิดอย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร ? อโคจร มีอยู่ โคจรมีอยู่
    ว่าด้วย อโคจร
    อโคจร เป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีหญิงหม้ายเป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีบัณเทาะก์เป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีภิกษุณีเป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีโรงสุราเป็นโคจรบ้าง อยู่คลุกคลีด้วยพวกพระราชา พวกมหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกของเดียรถีย์ ด้วยความคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร อนึ่ง สกุลบางแห่งไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มักด่า มักบริภาษมุ่งความเสื่อม มุ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มุ่งความไม่สบาย มุ่งความไม่ปลอดโปร่งจากโยคกิเลส แก่พวกภิกษุ พวกภิกษุณี พวกอุบาสก พวกอุบาสิกา ภิกษุย่อมซ่องเสพคบหา ติดต่อกับสกุลเห็นปานนั้น นี้เรียกว่า อโคจร .
    อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน เป็นผู้ไม่สำรวมเดินไป คือ แลดูช้าง แลดูม้า แลดูรถ แลดูพลเดินเท้า แลดูสตรี แลดูบุรุษ แลดูกุมาร แลดูกุมารี แลดูร้านตลาด แลดูหน้ามุขเรือน แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง แลดูทิศน้อยทิศใหญ่เดินไป แม้เช่นนี้ก็เรียกว่า อโคจร .
    อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส และใจ) ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่รักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความไม่สำรวมในมนินทรีย์ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่า อโคจร .
    อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์บางพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน การขับ การประโคม มหรสพ มีการรำเป็นต้น การเล่านิยายเพลงปรบมือ ฆ้อง ระนาด หนัง เพลงขอทาน ไต่ราว การเล่นหน้าศพ ชนช้าง แข่งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชนนกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ท่านสมณพราหมณ์บางพวกขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่า อโคจร .
    แม้กามคุณ ๕ ก็ชื่อว่า อโคจร .
    สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งเป็น อโคจร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งเป็น อโคจร มารจักได้ช่อง ได้อารมณ์
    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็แดนอื่นซึ่งเป็น อโคจร ของภิกษุ คืออะไร คือกามคุณ ๕
    กามคุณ ๕ เป็นไฉน ? คือ
    รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา พอใจ ชอบใจรักใคร่ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
    เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู
    กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก
    รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น
    โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา พอใจ ชอบใจรักใคร่ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าแดนอื่นเป็น อโคจร ของภิกษุ. แม้เช่นนี้ก็เรียกว่า อโคจร .
    โคจรเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีหญิงหม้ายเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีโรงสุราเป็นโคจร ไม่อยู่คลุกคลีด้วยพวกพระราชา พวกมหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกของเดียรถีย์ ด้วยความคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร
    อนึ่ง สกุลบางแห่งมีศรัทธาเลื่อมใส เป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นที่เดินสวนกันเข้าออกแห่งภิกษุผู้แสวงหา มุ่งความเจริญ มุ่งประโยชน์เกื้อกูล มุ่งความสบาย มุ่งความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส แก่พวกภิกษุ พวกภิกษุณี พวกอุบาสก พวกอุบาสิกา ภิกษุย่อมซ่องเสพ คบหา ติดต่อกับสกุลเห็นปานนั้น นี้เรียกว่าโคจร.
    อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน ย่อมเป็นผู้สำรวมเดินไป คือ ไม่แลดูช้าง ไม่แลดูม้า ไม่แลดูรถ ไม่แลดูพลเดินเท้า ฯลฯ ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าโคจร.
    อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ฯลฯ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าโคจร.
    อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์บางพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ไม่ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับ การประโคม ฯลฯ
    กองทัพ ภิกษุเป็นผู้เว้นขาดจากการขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าโคจร.
    แม้สติปัฏฐาน ๔ ก็ชื่อว่าโคจร. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนเป็นของบิดาของตนซึ่งเป็นโคจร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนเป็นของบิดาของตนซึ่งเป็นโคจร มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แดนเป็นของบิดาของตน ซึ่งเป็นโคจรของภิกษุคืออะไร คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
    เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
    เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต
    เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า แดนเป็นของบิดาของตนซึ่งเป็นโคจรของภิกษุ. แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าโคจร. ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วยโคจรเช่นนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร.
    จาก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทศ เล่มที่ 29 ในข้อที่ 917

    [604] บทว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจร มีอธิบายว่า อาจาระมีอยู่
    อนาจาระ มีอยู่
    ใน ๒ อย่างนั้น อนาจาระ เป็นไฉน
    ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อนาจาระ ความเป็นผู้ทุศีล แม้ทั้งปวง ก็เรียกว่าอนาจาระ
    ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมเลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ หรือด้วยการให้ใบไม้ หรือด้วยการให้ดอกไม้ หรือด้วยการให้ผลไม้ หรือด้วยการให้จุณสำหรับอาบ หรือด้วยการให้ไม้ชำระฟัน หรือด้วยการพูดยกย่องเพื่อต้องการให้เขารัก หรือด้วยการพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว หรือด้วยการเป็นคนรับเลี้ยงเด็ก หรือด้วยการรับใช้ฆราวาส หรือด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อนาจาระ
    อาจาระ เป็นไฉน
    ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อาจาระ สีลสังวร แม้ทั้งปวง ก็เรียกว่าอาจาระ
    ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ใบไม้
    ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ดอกไม้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ผลไม้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้จุณสำหรับอาบ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ชำระฟัน ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการพูดยกย่องเพื่อต้องการให้เขารัก ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการเป็นคนรับเลี้ยงเด็ก ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ฆราวาส ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อาจาระ
    บทว่า โคจร มีอธิบายว่า โคจร มีอยู่ อโคจร มีอยู่
    ใน ๒ อย่างนั้น อโคจร เป็นไฉน
    ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงแพศยา หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงหม้าย หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของสาวเทื้อหรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของบัณเฑาะก์ หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของภิกษุณีหรือเป็นผู้เที่ยวไปในโรงสุรา เป็นผู้คลุกคลีกับด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควรก็หรือตระกูลนั้นใด ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสไม่เป็นที่ควรจะไปมา มักด่าและบริภาษ ใคร่แต่ความพินาศ ไม่ใคร่ต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่ใคร่ต่อความผาสุก ไม่ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะ แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี
    อุบาสกอุบาสิกา ภิกษุ ย่อมคบหา เข้าไปหา เข้าไปหาบ่อยๆ ซึ่งตระกูลเห็นปานนั้นนี้เรียกว่า อโคจร
    โคจร เป็นไฉน
    ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงแพศยา ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงหม้าย ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของสาวเทื้อ ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของบัณเฑาะก์ ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของนางภิกษุณีไม่เป็นผู้เที่ยวไปในโรงสุรา เป็นผู้ไม่คลุกคลีกับด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควรก็หรือตระกูลนั้นใด มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นที่ควรไปมา รุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวะมีโยคีผู้ปฏิบัติเข้าออกอยู่เนืองๆ เป็นผู้ใคร่ต่อความเจริญ ใคร่ต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ใคร่ต่อความผาสุก ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะ แก่พวกภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ย่อมคบหา เข้าไปหา เข้าไปหาบ่อยๆ ซึ่งตระกูลเห็นปานนั้น นี้เรียกว่า โคจร
    ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยอาจาระและโคจรดังกล่าวมานี้
    ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจร ด้วยประการฉะนี้
    จาก พระอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์ ข้อที่ 604 เล่มที่ 35
    [1775] บุคคลผู้ต้องการอาหารในเวลาอาหาร พึงเข้าไปใกล้เรือนใด พึงรู้กุศล คือ อโคจร ๕ ที่ควรเว้นในสกุลนั้น แล้วพึงเที่ยวแสวงหาอาหารในเรือนนั้น.
    บุคคลเข้าไปสู่ตระกูลอื่นเพื่อปานะ หรือโภชนะแล้ว พึงรู้จักประมาณบริโภคแต่พอควร และไม่พึงใส่ใจในรูปหญิง.
    จาก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1 เล่มที่ 27 ในข้อที่ 1775
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/SilaList.htm

    สารบัญรวม
    สารบัญหมวด :
    หมวดทาน
    หมวดศีล
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">เหตุที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติพระวินัย (ศีล)</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">การถือศีล 5 ประเภท</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ธุดงค์คืออะไร</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ประโยชน์ของศีล 5</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">เกร็ดเล็กน้อยของศีล 5</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">รายละเอียดของศีล 5 (1)</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">รายละเอียดของศีล 5 (2)</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">รายละเอียดของศีล 5 (3)</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">รายละเอียดของศีล 5 (4)</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">รายละเอียดของศีล 5 (5)</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ข้อเตือนใจนักบวช</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">วิธีพิจารณาศีลอย่างง่าย</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">การสมาทานกับการรักษาศีล</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">อินทรียสังวร</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ศีลหนึ่ง (รักษาศีลเพียงข้อเดียวพ้นทุกข์ได้)</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ศีล 227 กับคฤหัสถ์</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ศีลและอกุศลกรรม</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ผู้ยอมตายเพื่อรักษาชีวิตผู้อื่น</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ศีล 5 กับการเกิดเป็นคน</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ศีลข้อ 3 (เพิ่มเติม)</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ศีลข้อ 3 และข้อ 5</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ขายอุปกรณ์ฆ่าสัตว์</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">ฉีดยาเกินขนาดจนคนไข้ตาย</TD></TR><TR><TD width="3%"></TD><TD width="97%">บทส่งท้าย</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl001.htm
    เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัย (ศีล)

    ตามความในพระไตรปิฎก หมวดพระวินัย มหาวิภังค์ ปฐมภาค
    ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงบัญญัติสิกขาบทแรก (พระวินัย หรือศีลข้อแรกในพระพุทธศาสนา) พระองค์ได้ตรัสประโยชน์ หรือสาเหตุที่ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ ดังนี้

    ....... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
    อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ

    - เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
    (เพื่อความยอมรับ/เห็นด้วยของสงฆ์หมู่มาก - ธัมมโชติ)
    - เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
    (เพื่อให้สังคมสงฆ์อยู่กันอย่างสงบสุข - ธัมมโชติ)
    - เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
    (เพื่อไม่ให้พวกอลัชชี/ผู้ไม่ละอาย ทำสิ่งที่ไม่ดีได้ตามใจ - ธัมมโชติ)
    - เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
    (เพื่อไม่ให้พวกอลัชชีมารบกวนความสงบของผู้มีศีล - ธัมมโชติ)
    - เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
    (เพื่อป้องกันกิเลสในปัจจุบัน - ธัมมโชติ)
    - เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
    (เพื่อกำจัดกิเลสที่จะเกิดในอนาคต - ธัมมโชติ)
    - เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
    - เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
    - เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
    (เพื่อให้ศาสนาตั้งมั่นอยู่ได้นาน - ธัมมโชติ)
    - เพื่อถือตามพระวินัย ๑
    (เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายถือปฏิบัติ - ธัมมโชติ)

    ถึงแม้ในพระสูตรนี้จะเน้นที่พระวินัย หรือศีลสำหรับภิกษุ แต่ก็สามารถเข้ากันได้กับศีลสำหรับฆราวาสด้วยเช่นกัน คือไม่ว่าศีลชนิดใดในพระพุทธศาสนา ก็ล้วนถูกบัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลเหล่านี้ทั้งนั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติศีลขึ้นมา ก็เพื่อประโยชน์แก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง และเพื่อคนหมู่มากทั้งสิ้น โดยที่สำคัญก็คือเพื่อประโยชน์ในการขัดเกลา หรือกำราบกิเลสเป็นส่วนมาก

    ธัมมโชติ
    2 ธันวาคม 2543
    **************************************************

    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl002.htm
    การถือศีล 5 ประเภท

    การถือศีล หรือข้อวัตรปฏิบัติ รวมถึงสิ่งอื่นๆ ทั่วๆ ไป เช่น การให้ทาน การทำสมาธิ การเจริญวิปัสสนา ฯลฯ ของคนทั่วๆ ไปนั้น แต่ละคนก็มีวัตถุประสงค์ หรือแรงจูงใจแตกต่างกันไป ซึ่งบางครั้งก็ดีมาก บางครั้งก็ดีน้อยหน่อย หรือบางครั้งก็อาจจะมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ดีเลยก็ได้

    พระพุทธเจ้าทรงจำแนกแจกแจงวัตถุประสงค์ หรือแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ เอาไว้เป็น 5 จำพวก ซึ่งในที่นี้ทรงเน้นที่การถือธุดงควัตร (ดูเรื่องธุดงค์คืออะไร ในหมวดศีล ประกอบ) แต่ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือเป็นประโยชน์ในการเปรียบเทียบกับเรื่องอื่นๆ ได้เช่นกัน
    รายละเอียดในพระไตรปิฎก หมวดอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-ปุคคลปัญญัติปกรณ์ มีดังนี้

    [๑๔๕] บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวก เป็นไฉน

    ภิกษุเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะเป็นผู้เขลา เป็นผู้งมงาย (๑)
    ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากได้เข้าครอบงำ จึงถือบิณฑบาตเป็นวัตร (๒)
    (เพื่อให้คนศรัทธา แล้วลาภสักการะต่างๆ จะได้ตามมา - ธัมมโชติ)
    ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะเป็นบ้า เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน (๓)
    ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะคิดว่าองค์แห่งภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรนี้ เป็นข้อที่พระพุทธเจ้า พระสาวกแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ (๔)
    อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัยความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามนี้ อย่างเดียว (๕)


    บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใดถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัยความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามนี้อย่างเดียว ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประมุข เป็นผู้สูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าบรรดาภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้

    น้ำนมเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากน้ำนม เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น ก้อนเนยใสเกิดจากเนยใส บรรดาเภสัช ๕ นั้น ก้อนเนยใส ชาวโลกกล่าวว่าเลิศชื่อแม้ฉันใด ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตรนี้ใด เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรเพราะอาศัยความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอย่างเดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประมุข เป็นผู้สูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้ เหล่านี้ชื่อว่า ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวก

    [๑๔๖] ภิกษุถือห้ามภัตรอันนำมาถวายต่อภายหลังเป็นวัตร ๕ จำพวก
    ภิกษุถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร ๕ จำพวก
    ภิกษุถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวก
    ภิกษุถือไตรจีวรเป็นวัตร ๕ จำพวก
    ภิกษุถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก
    ภิกษุถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวก
    ภิกษุถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวก
    ภิกษุถือการนั่งเป็นวัตร ๕ จำพวก
    ภิกษุถืออยู่ในเสนาสนะที่ท่านจัดไว้เป็นวัตร ๕ จำพวก
    ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวก เป็นไฉน .......... (มีรายละเอียดอย่างเดียวกัน - ธัมมโชติ)

    ผู้รวบรวม
    ธัมมโชติ
    3 ธันวาคม 2543
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl003.htm

    ธุดงค์คืออะไร

    ธุดงควัตร คือข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย


    ธุดงควัตรมี 13 ข้อคือ

    1.) การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าใหม่ทุกชนิด (บังสุกุล = คลุกฝุ่น)


    2.) การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง(ผ้านุ่ง) จีวร(ผ้าห่ม) สังฆาฏิ(ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)

    3.) การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน

    4.) ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป

    5.) ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม

    6.) ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร

    7.) ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม

    8.) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส

    9.) ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง

    10.) ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย

    11.) ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท

    12.) ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที

    13.) ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน

    ธัมมโชติ
    3 ธันวาคม 2543
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl004.htm
    ประโยชน์ของศีล 5

    ศีล 5 นั้น มีประโยชน์โดยรวม 2 ด้านคือ

    1.) เพื่อความสงบสุขของสังคม คือเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น อันจะส่งผลให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ความหวาดระแวง และความวุ่นวายในสังคม


    2.) เพื่อพัฒนาจิตใจของผู้ที่ถือศีลนั้นเอง เพราะศีล 5 นั้น ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อควบคุม ไม่ให้มีการแสดงออกทางกาย หรือทางวาจา ไปในทางที่ตอบสนองอำนาจของกิเลส

    การทำผิดศีลแต่ละครั้ง ก็คือการยอมให้กิเลสสามารถครอบงำจิตใจได้อย่างเต็มที่ จนถึงขั้นส่งผลให้มีการแสดงออกทางกายหรือทางวาจานั่นเอง

    ดังนั้น การทำผิดศีลแต่ละครั้ง จึงทำให้จิตหยาบกระด้างขึ้น ตามลักษณะของกิเลสที่ครอบงำจิตอยู่นั้น ถ้ายิ่งทำผิดศีลมากครั้ง และบ่อยครั้งมากขึ้นเท่าไหร่ จิตก็จะยิ่งหยาบกระด้างขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อจิตหยาบกระด้างขึ้น ก็ทำให้สามารถทำผิดได้รุนแรงมากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งก็จะส่งผลให้จิตหยาบกระด้างหนักขึ้นไปอีก เป็นวังวนพอกพูนไม่รู้จบสิ้น

    ทั้งนี้เพราะโดยทั่วไปนั้น คนเราจะไม่สามารถทำผิดได้ในขั้นที่หนักกว่าระดับความหยาบกระด้าง หรือระดับความประณีตของจิตที่เป็นอยู่ในขณะนั้น (ดูเรื่องลำดับขั้นของจิต ในหมวดบทวิเคราะห์ ประกอบ) เว้นแต่จะมีเหตุปัจจัย/สิ่งแวดล้อม ที่รุนแรงมากๆ มาบีบคั้น

    เช่นคนที่เคยตบยุงอยู่เป็นประจำ แต่ไม่เคยฆ่าสัตว์ที่ใหญ่กว่านั้นเลย จิตของเขาย่อมอยู่ในความประณีตระดับนั้น เขาย่อมสามารถตบยุงได้ ด้วยความรู้สึกที่ราบเรียบเป็นธรรมดา เพราะการกระทำนั้น อยู่ในขั้นที่ไม่หยาบเกินกว่าสภาพจิตปรกติของเขา

    แต่ถ้าให้เขาไปฆ่าเป็ดฆ่าไก่ เขาย่อมจะรู้สึกว่าไม่อยากจะทำ และเมื่อถูกเหตุการณ์บีบบังคับ ทำให้เขาเลี่ยงไม่ได้ เขาย่อมจะทำไปด้วยความรู้สึกที่ต้องฝืนใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่หยาบกว่าสภาพจิตปรกติของเขานั่นเอง

    และหลังจากนั้น เมื่อเขาต้องฆ่าเป็ดฆ่าไก่อีก เป็นครั้งที่ 2, 3, 4, ...... เขาย่อมจะสามารถทำได้ ด้วยความรู้สึกที่ฝืนใจน้อยลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะไม่ต้องฝืนใจเลย เพราะจิตของเขาจะหยาบกระด้างขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ทำลงไป ตั้งแต่ครั้งที่ 1, 2, 3, 4, ...... แล้วหลังจากนั้น เขาก็ย่อมที่จะฆ่าสัตว์ที่ใหญ่ขึ้นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามวังวนเช่นเดียวกันนี้

    ผู้ดำเนินการเคยฟังคำให้สัมภาษณ์ของอดีตมือปืนรับจ้าง ได้ความว่ามือปืนโดยทั่วไปนั้น เมื่อต้องฆ่าคนครั้งแรก จะทำไปด้วยความรู้สึกที่ต้องฝืนใจ และทำใจได้ยากลำบากมาก และหลังจากทำงานครั้งแรกนั้นสำเร็จแล้ว ก็จะรู้สึกแย่อยู่หลายวันกว่าจะสงบลงได้ แต่พอทำครั้งที่ 2, 3, 4, 5 ก็จะทำได้โดยสะดวกใจขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งประมาณครั้งที่ 6 หรือ 7 ก็จะทำได้ด้วยความรู้สึกที่ราบเรียบเป็นปรกติ

    ไม่เฉพาะการทำผิดศีลข้อแรก คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเท่านั้นที่อยู่ในวังวนแบบนี้ การทำผิดศีลข้ออื่นๆ ก็หนีไม่พ้นวังวนนี้เช่นกัน ซึ่งส่งผลให้คนที่ผิดศีลนั้น มีจิตใจที่หยาบกระด้างขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้จักจบจักสิ้น
    ทำให้เขาต้องห่างไกลจากความสุขอันประณีต ละเอียดอ่อนออกไปทุกที ต้องอยู่กับสภาพจิตที่เร่าร้อน หยาบกระด้างขึ้นทุกขณะ

    ครั้นพอได้มีโอกาสมารักษาศีล กิเลสทั้งหลายเหล่านั้นจึงครอบงำจิตใจได้น้อยลง เพราะถูกบังคับ ควบคุมไว้ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้แผลงฤทธิ์รุนแรงจนถึงขั้นแสดงตัวออกมาทางกาย หรือทางวาจา กิเลสจึงมีกำลังอ่อนลงเรื่อยๆ ส่งผลให้จิตประณีต ละเอียดอ่อนขึ้นไปเรื่อยๆ

    เช่นคนที่เคยฆ่าเป็ดฆ่าไก่อยู่เป็นประจำนั้น ถ้าเขาว่างเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเวลานานๆ ครั้นต่อมาเขาต้องกลับไปฆ่าเป็ดฆ่าไก่อีก เขาก็ย่อมจะทำได้ด้วยความรู้สึกที่ยากลำบาก ต้องฝืนใจมากกว่าในครั้งสุดท้ายที่เขาเคยทำมา ทั้งนี้ก็เพราะ จิตใจของเขาเริ่มประณีตขึ้นมาแล้วนั่นเอง

    การถือศีลแต่ละข้อนั้น จะส่งผลให้เกิดการขัดเกลา การปรับปรุงพัฒนาจิต ในทิศทางที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิเลสที่คอยบงการให้การกระทำผิดศีลข้อนั้นๆ เกิดขึ้น ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

    1.) การฆ่าสัตว์ กิเลสตัวหลักที่คอยบงการก็คือโทสะ (ความโกรธ) คือความไม่พอใจในสัตว์ที่ถูกฆ่านั้น กิเลสตัวรองก็คือโลภะ (ความโลภ) เพราะบางคนฆ่าสัตว์เนื่องจากความโลภเข้าครอบงำ เช่น อยากได้เงินค่าจ้าง ต้องการสัตว์นั้นมาเป็นอาหาร ความหวงแหนในทรัพย์สมบัติของตนจึงฆ่าสัตว์เพื่อปกป้องทรัพย์นั้น เพื่อให้คนยอมรับในความกล้าหาญ หรือเพื่อลาภยศที่จะตามมาจึงฆ่าสัตว์ให้คนเห็น ฯลฯ
    นอกจากนี้ก็ยังอาจมีสาเหตุมาจากกิเลสที่เป็นบริวาร ของโทสะหรือโลภะอีกเช่น ความพยาบาท ความอิจฉาริษยา ความแข่งดี ความตระหนี่ ฯลฯ

    2.) การลักทรัพย์ กิเลสตัวหลักที่คอยบงการคือโลภะ คือความอยากได้ในทรัพย์นั้น กิเลสตัวรองก็คือโทสะ เช่น บางคนลักทรัพย์เพราะความโกรธในตัวเจ้าของทรัพย์นั้น ทั้งที่ความจริงแล้ว ไม่ได้อยากได้ของสิ่งนั้นเลย ฯลฯ สาเหตุจากกิเลสที่เป็นบริวารก็เช่น ความพยาบาท ความอิจฉาริษยา ความแข่งดี ฯลฯ

    3.) การประพฤติผิดในกาม กิเลสตัวหลักที่คอยบงการคือโลภะ คือความยินดี พอใจในหญิง หรือชายนั้น กิเลสตัวรองคือโทสะ เช่น บางคนประพฤติผิดในกามเพราะความโกรธในคู่ของตน จึงทำเพื่อประชด หรือโกรธในผู้ที่หวงแหนคนที่เราประพฤติผิดด้วยนั้น หรืออาจจะโกรธในตัวคนที่เราล่วงเกินนั้นเองเลยก็ได้ จึงทำการล่วงเกินเพื่อให้คนคนนั้นเจ็บใจ หรือเป็นเพราะอารมณ์ไม่ดี จึงประพฤติผิดในกามเพื่อระบายความเครียด ฯลฯ สาเหตุจากกิเลสที่เป็นบริวารก็เช่น ความพยาบาท ความอิจฉาริษยา ทำไปเพื่อโอ้อวด ความแข่งดี ฯลฯ

    4.) การพูดปด กิเลสตัวหลักที่คอยบงการนั้น อาจเป็นโลภะ หรือโทสะก็ได้ เช่น บางคนโกหกหลอกลวง เพราะอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน บางคนโกหกเพราะความโกรธ เลยโกหกเพื่อให้คนที่ตนโกรธนั้นเดือดร้อน หรือได้รับความเสียหาย บางคนโกหกเพราะกลัวความผิด หรือกลัวความเดือดร้อนที่จะตามมาหากพูดความจริงออกไป ฯลฯ สาเหตุจากกิเลสที่เป็นบริวารก็เช่น ความพยาบาท ความอิจฉาริษยา ความตระหนี่ ความโอ้อวด ความแข่งดี ฯลฯ

    5.) การดื่มน้ำเมา รวมถึงของมึนเมาและสิ่งเสพติดทั้งหลาย อันเป็นสาเหตุให้ขาดสติ ซึ่งจะทำให้เกิดการผิดศีลข้ออื่นๆ ตามมา เพราะสติเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะคอยรักษาคุณความดีทั้งหลายไว้ และป้องกัน รักษาจิตจากสิ่งเลวร้ายทั้งหลาย
    กิเลสตัวหลักที่คอยบงการก็คือโลภะ คือความปรารถนาในความเพลิดเพลินยินดีอันเกิดจากการดื่ม หรือเสพนั้น กิเลสตัวรองคือโทสะ เช่น บางคนดื่มน้ำเมา หรือเสพสิ่งเสพติดเพราะความเครียด ความกังวลใจ ความทุกข์จากความผิดหวัง (สิ่งเหล่านี้จัดเป็นจิตในตระกูลโทสะ) ฯลฯ สาเหตุจากกิเลสที่เป็นบริวารก็เช่น ทำไปเพื่อโอ้อวด ความแข่งดี ฯลฯ

    การที่การห้ามจิตเพื่อที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ในแต่ละครั้งนั้น จะเป็นการขัดเกลา หรือปรับสภาพจิต ให้ประณีตขึ้นจากความหยาบกระด้างของกิเลสตัวใด ก็ขึ้นกับว่ากิเลสที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ที่พยายามครอบงำจิตให้ทำผิดศีลข้อนั้นในครั้งนั้น เป็นกิเลสตัวใดนั่นเอง การห้ามจิตในครั้งนั้น ก็จะเป็นการป้องกันการพอกพูนขึ้นของกิเลสตัวนั้น และในระยะยาวก็จะทำให้กิเลสตัวนั้นๆ อ่อนกำลังลง แต่โดยรวมแล้วการห้ามจิตแต่ละครั้ง ก็ย่อมจะทำให้จิตประณีตขึ้นด้วยกันทั้งนั้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือ จะไม่ทำให้จิตหยาบกระด้างมากขึ้นไปอีก

    ธัมมโชติ
    7 ธันวาคม 2543

    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl005.htm

    เกร็ดเล็กน้อยของศีล 5

    ผู้สนใจท่านหนึ่งได้เมล์มาถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

    <HR>คำถาม

    Sent: Saturday, July 28, 2001 4:39 AM
    Subject: question

    สวัสดีครับ

    ขอเรียนถามดังนี้นะครับ

    1. ศีลข้อ1 ที่ว่าด้วยการห้ามพูดปด ข้อนี้รวมถึงการพูดส่อเสียด, ประชดประชัน ฯลฯ ด้วยหรือเปล่าครับ
    2. ศีลข้อที่ห้ามประพฤติผิดในกาม ข้อนี้รวมถึงในทางความคิดด้วยหรือเปล่าครับ
    ขอบคุณครับ

    <HR>ตอบ

    ขอบคุณครับที่มีความสนใจในเว็บไซต์ธัมมโชติ
    สำหรับคำถามที่ถามมานั้น ผมขอตอบอย่างนี้ครับ


    ก่อนอื่น ผมอยากให้คุณ ... ทำความเข้าใจในเรื่องประโยชน์ของศีล 5 ในหมวดศีล ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน เพื่อให้เห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้น


    1. ศีลข้อ1 ที่ว่าด้วยการห้ามพูดปด ข้อนี้รวมถึงการพูดส่อเสียด, ประชดประชัน ฯลฯ ด้วยหรือเปล่าครับ

    ในศีล 5 จริงๆ แล้ว จะพูดเน้นที่การงดเว้นจากการพูดปดเท่านั้น แต่ถ้าใครจะทำให้สูงขึ้นกว่านั้น เพื่อการพัฒนาจิตใจให้ประณีตขึ้น โดยการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด (คือการยุยงให้เขาแตกแยกกัน) พูดคำหยาบ (คือการพูดให้เขาเจ็บช้ำใจ ซึ่งการประชดประชันก็เข้าข่ายข้อนี้ด้วย) พูดเพ้อเจ้อ (การพูดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์) ก็ย่อมจะเป็นสิ่งที่ประเสริฐไม่น้อยนะครับ

    เรื่องของการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อนี้ จะอยู่ในส่วนของวจีทุจริต ในอกุศลกรรมบถ 10 ดังนั้น การพูดปดจึงเป็นทั้งวจีทุจริต เป็นอกุศลกรรม และผิดศีล 5 ด้วย ส่วนการพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ จะเป็นวจีทุจริต เป็นอกุศลกรรม แต่ไม่ผิดศีล 5 (แต่ก็ไม่ควรทำอยู่ดี)

    2. ศีลข้อที่ห้ามประพฤติผิดในกาม ข้อนี้รวมถึงในทางความคิดด้วยหรือเปล่าครับ

    ศีล 5 นั้นจะเน้นที่กายและวาจาเป็นหลัก ดังนั้นการคิดจึงไม่ผิดศีล 5 แต่การแสดงออกทางกาย วาจาย่อมมีเหตุมาจากใจ ดังนั้น การพอกพูนในทางความคิดมากๆ นอกจากจะทำให้จิตหยาบขึ้นแล้ว ในอนาคตเมื่อความคิดนั้นๆ มีกำลังมากพอ การทำผิดทางกาย วาจาก็ย่อมจะตามมาได้โดยง่าย

    การทำผิดเรื่องนี้ในระดับความคิดนั้น จะเข้าข่ายอภิชฌา (ความเพ่งเล็ง อยากได้สิ่งของๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน อย่างไม่ถูกทำนองคลองธรรม) ซึ่งเป็นหนึ่งในมโนทุจริต ในอกุศลกรรมบถ 10 ดังนั้น จึงเป็นอกุศลกรรม แต่ไม่ผิดศีล 5

    หวังว่าจะพอทำให้คุณ ... หายสงสัยได้บ้างนะครับ

    ถ้ายังไม่กระจ่าง หรือมีข้อสงสัยในเรื่องอื่นๆ อีก ก็เมล์มาถามได้เรื่อยๆ นะครับ ผมยินดีตอบให้ทุกฉบับ ไม่ต้องเกรงใจ

    ธัมมโชติ
    1 สิงหาคม 2544
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl006.htm

    รายละเอียดของศีล 5 (1)

    ในศีล 5 แต่ละข้อนั้น มีรายละเอียดหรือกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาการกระทำแต่ละอย่าง ว่าผิดศีลหรือไม่ แตกต่างกันออกไป ซึ่งหลักเกณฑ์โดยทั่วไปมีดังนี้คือ

    การผิดศีลข้อที่ 1 ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)


    การกระทำที่ถือว่าผิดศีลข้อนี้อย่างสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้
    1. สัตว์นั้นมีชีวิต (คำว่าสัตว์นั้นรวมถึงคนด้วย กรณีที่ผู้ถูกฆ่าเป็นคน แต่ไม่รวมถึงพืช)
    2. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต (กรณีที่ไม่แน่ใจว่าสัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ความผิดก็น้อยลงไป)
    3. มีจิตคิดจะฆ่า คือมีเจตนาที่จะฆ่าสัตว์นั้น
    4. ทำความเพียรเพื่อให้สัตว์นั้นตาย คือลงมือฆ่านั่นเอง
    5. สัตว์นั้นตายลงด้วยความเพียรนั้น (ถ้าสัตว์นั้นไม่ถึงตาย หรือตายไปด้วยสาเหตุอื่น ความผิดก็น้อยลงไป)
    บาปกรรมที่เกิดขึ้นจะมากน้อยเพียงใดนั้น นอกจากจะขึ้นกับความสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ 5 ข้อ นี้แล้ว ยังขึ้นกับคุณสมบัติของผู้ที่ถูกฆ่า และความพยายามที่ใช้ด้วยดังนี้คือ
    • ในการฆ่านั้น ถ้าต้องใช้ความพยายามมาก หรือใช้เวลาวางแผนและเตรียมการเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งเป็นบาปมาก เพราะจิตจะต้องมีกำลังมาก และต้องเสพอารมณ์นั้นเป็นเวลานาน ดังนั้น การฆ่าสัตว์ใหญ่จึงเป็นบาปมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก เพราะต้องใช้ความพยายามมากกว่า
    • ถ้าผู้ที่ถูกฆ่านั้นยิ่งมีศีลธรรมมาก ก็จะยิ่งเป็นบาปมาก
    • ถ้าผู้ที่ถูกฆ่านั้นมีบุญคุณต่อผู้ที่ฆ่ามาก ก็ยิ่งเป็นบาปมาก
    • การฆ่าที่เป็นบาปมากเป็นพิเศษ คือการฆ่าบิดา มารดาของตน และการฆ่าพระอรหันต์
    ผู้รวบรวม
    ธัมมโชติ
    15 กันยายน 2544

    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl007.htm

    รายละเอียดของศีล 5 (2)

    การผิดศีลข้อที่ 2 อทินนาทาน (การลักทรัพย์)


    การกระทำที่ถือว่าผิดศีลข้อนี้อย่างสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้
    1. วัตถุนั้นมีเจ้าของ
    2. รู้ว่าวัตถุนั้นมีเจ้าของ
    3. มีจิตคิดจะลักขโมยวัตถุนั้น
    4. ทำความเพียรเพื่อลัก คือลงมือขโมยนั่นเอง
    5. ได้วัตถุนั้นมาด้วยความเพียรนั้น
    ศีลข้อนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลักขโมยโดยตรงเท่านั้น การลักขโมยโดยอ้อม การฉ้อโกง ก็จัดว่าผิดศีลข้อนี้เช่นกัน เช่น การทำให้เขาเสียประโยชน์ที่เขาพึงได้ อย่างเช่น เขาซื้อสินค้าจากเรา 1 กิโลกรัม แต่เราตักให้เขาเพียง 0.9 กิโลกรัม ก็หมายความว่า เราได้ขโมยสินค้านั้นจากลูกค้ามา 0.1 กิโลกรัม นั่นเอง

    หรือมีคนว่าจ้างให้เราทำงานให้เขา 8 ชั่วโมง แต่เราทำให้เขาเพียง 7 ชั่วโมง ก็หมายความว่าเราขโมยเงินจากเขาเท่ากับค่าจ้าง 1 ชั่วโมง เป็นต้น นอกจากนี้ การเลี่ยงภาษีอากรต่างๆ ที่เราจะต้องจ่ายให้รัฐ ก็เป็นเหมือนการที่เราขโมยเงินส่วนนั้นจากรัฐเช่นกัน ทำให้รัฐขาดเงินในส่วนนั้นไป

    ข้อยกเว้นสำหรับศีลข้อนี้

    การกระทำที่คล้ายกับการลักทรัพย์ แต่ไม่ใช่การลักทรัพย์ก็คือการถือวิสาสะ คือการถือเอาด้วยความสนิทสนม คุ้นเคยกัน

    การถือวิสาสะที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุกระทำได้ คือการถือวิสาสะที่ประกอบด้วยองค์ 5 คือ

    1. (เรากับเจ้าของวัตถุนั้นเป็นผู้) เคยเห็นกันมา
    2. (เรากับเจ้าของวัตถุนั้นเป็นผู้) เคยคบกันมา
    3. เคยบอกอนุญาตกันไว้ (ว่าให้เอาวัตถุนั้นไปได้)
    4. (เจ้าของวัตถุนั้น) เขายังมีชีวิตอยู่ (เพราะถ้าเจ้าของทรัพย์นั้นเสียชีวิตแล้ว วัตถุนั้นย่อมตกเป็นของทายาท เราจึงต้องไปพิจารณาถึงองค์ 5 ในการถือวิสาสะนี้ กับทายาทนั้นต่อไป)
    5. รู้ว่าเมื่อเราถือเอาวัตถุนั้นแล้ว เจ้าของวัตถุนั้นเขาจักพอใจ
    ผู้รวบรวม
    ธัมมโชติ
    15 กันยายน 2544
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl008.htm

    รายละเอียดของศีล 5 (3)

    การผิดศีลข้อที่ 3 กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดทางกาม)

    การกระทำที่ถือว่าผิดศีลข้อนี้อย่างสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้
    1. บุคคลที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง (ทางกาม)
    2. มีจิตคิดจะเสพ (กาม) ในบุคคลนั้น คือมีเจตนาจะเสพนั่นเอง
    3. มีความพยายามเสพ คือกระทำการเสพกามกับบุคคลนั้น
    4. มีความยินดี พอใจในการเสพกามนั้น (ไม่ใช่ถูกบังคับ ขืนใจ)
    บาปกรรมที่เกิดขึ้นจะมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การล่วงเกินผู้ที่ไม่ยินยอมพร้อมใจด้วย ย่อมมีโทษมากกว่าการล่วงละเมิดผู้ที่มีความยินยอม หรือยินดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย การล่วงเกินผู้ที่มีศีลธรรมมาก เช่น พระอรหันต์ ย่อมมีโทษมากกว่าการล่วงละเมิดผู้ไม่มีศีลธรรม

    บุคคลที่ไม่ควรเกี่ยวข้องนั้น พิจารณาง่ายๆ ก็คือผู้ที่มีเจ้าของ หรือผู้ปกครองหวงอยู่ คือไม่อนุญาตให้ล่วงเกิน หรืออนุญาตโดยไม่เต็มใจ ซึ่งการล่วงเกินนั้นจะทำให้คนเหล่านั้นไม่พอใจ ทั้งนี้รวมถึงผู้ที่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือจารีตประเพณี ห้ามเอาไว้ด้วย เช่น ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี แม่ชี เป็นต้น

    ซึ่งนอกจากจะพิจารณาที่ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดแล้ว ยังต้องพิจารณาที่ผู้กระทำการล่วงละเมิดเองด้วย เช่น ผู้ชายที่มีภรรยาอยู่ ถ้าภรรยาเขาไม่อนุญาตให้ไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น ถ้าชายคนนั้นไปเสพกามกับใคร (นอกจากกับภรรยาของเขา) ชายผู้นั้นก็ย่อมจะผิดศีลข้อนี้อย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าอีกฝ่ายจะไม่ใช่บุคคลที่ไม่ควรเกี่ยวข้องก็ตาม และหญิงใดที่ล่วงละเมิดกับชายผู้นี้ ผู้หญิงคนนั้นก็ย่อมจะเป็นผู้ที่ผิดศีลข้อนี้ด้วยเช่นกัน

    หญิงที่ชายไม่ควรเกี่ยวข้อง มี 20 จำพวก คือ
    1. หญิงที่มีมารดาปกครอง
    2. หญิงที่มีบิดาปกครอง
    3. หญิงที่มีทั้งมารดาและบิดาปกครอง
    4. หญิงที่มีพี่สาวปกครอง หรือมีน้องสาวดูแลรักษาหรือหวงอยู่
    5. หญิงที่มีพี่ชายปกครอง หรือมีน้องชายดูแลรักษาหรือหวงอยู่
    6. หญิงที่มีญาติปกครอง
    7. หญิงที่มีตระกูลเดียวกัน หรือเชื้อชาติเดียวกันเป็นผู้ปกครอง
    8. หญิงที่มีผู้ประพฤติ ปฏิบัติศีลธรรมด้วยกันเป็นผู้ปกครอง เช่น แม่ชีมีหัวหน้าชีปกครอง เป็นต้น
    9. หญิงที่กษัตริย์ หรือผู้มีอำนาจได้จองตัวเอาไว้
    10. หญิงที่มีคู่มั่น
    11. หญิงที่ถูกผู้อื่นซื้อตัวมา
    12. หญิงที่สมัครใจไปอยู่กับชาย (คนอื่นแล้ว) คือหญิงที่มีสามีแล้ว
    13. หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชาย (คนอื่นแล้ว) โดยหวังในทรัพย์สินเงินทอง คือหญิงที่มีสามีแล้วอีกประเภทหนึ่ง
      (ข้อ 12 ถึง 20 คือหญิงที่มีสามีแล้วประเภทต่างๆ )
    14. หญิงที่ยอมเป็นภรรยาของชาย (คนอื่นแล้ว) โดยหวังในเครื่องนุ่งห่ม
    15. หญิงที่มีสามีแล้วโดยการทำพิธีแต่งงาน
    16. หญิงที่เป็นภรรยาของชายคนอื่น โดยชายคนนั้นเป็นผู้ช่วยให้พ้นจากการแบกของขาย คือช่วยให้พ้นจากความยากลำบากนั่นเอง
    17. หญิงที่มีสามีแล้ว โดยเมื่อก่อนเป็นเชลย แล้วภายหลังตกมาเป็นภรรยาของนายเชลยนั้น
    18. หญิงที่มีสามีแล้ว โดยเมื่อก่อนเป็นลูกจ้าง แล้วภายหลังตกมาเป็นภรรยาของนายจ้างนั้น
    19. หญิงที่มีสามีแล้ว โดยเมื่อก่อนเป็นทาส แล้วภายหลังตกมาเป็นภรรยาของนายทาสนั้น
    20. หญิงที่เป็นภรรยาของชายชั่วครั้งชั่วคราว แล้วถูกล่วงละเมิดในขณะที่ทำหน้าที่เป็นภรรยาของชายคนอื่นอยู่ เช่น หญิงขายบริการที่อยู่ในช่วงสัญญากับชายคนหนึ่งอยู่ แต่กลับไปมีสัมพันธ์กับชายอีกคนหนึ่ง เป็นต้น
    ทั้งหมดนี้เป็นการระบุรวบรวมเอาไว้ตั้งแต่สมัยโบราณ บางข้อจึงดูแปลกๆ อยู่บ้าง เพราะประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ที่แสดงเอาไว้ก็เพื่อให้ครบถ้วนตามตำรา และเอาไว้ใช้ในการเทียบเคียงกับยุคปัจจุบัน

    สำหรับผู้ที่ไม่เข้าข่ายต้องห้ามก็เช่น ชายหญิงที่เป็นสามีภรรยากัน หญิงขายบริการที่บิดา มารดา และผู้ปกครองทั้งหลายยินยอมพร้อมใจให้ทำอาชีพนั้น ทั้งนี้ต้องไม่อยู่ในช่วงสัญญากับคนอื่นด้วย หญิงที่ไม่มีผู้ใดปกครองดูแลและไม่มีเจ้าของหวงอยู่ (คือหญิงที่มีอิสระในตัวเองอย่างแท้จริง) หญิงที่ได้รับความยินยอมจากใจจริงของผู้ปกครองและผู้ที่เป็นเจ้าของ (เช่น บิดา มารดา สำหรับหญิงที่มีสามีแล้วต้องได้รับอนุญาตจากสามีก่อน) โดยทุกกรณีถ้าฝ่ายชายมีภรรยาแล้ว ต้องได้รับอนุญาตจากภรรยาก่อนด้วย

    โดยสรุปก็คือ จะต้องไม่ทำให้ใคร (ผู้ที่มีสิทธิ์โดยชอบธรรมในตัวหญิงและชายนั้น) ไม่พอใจ หรือรู้สึกเจ็บช้ำน้ำใจ

    ผู้รวบรวม
    ธัมมโชติ
    7 ตุลาคม 2544

    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl009.htm

    รายละเอียดของศีล 5 (4)

    การผิดศีลข้อที่ 4 มุสาวาท (การพูดปด พูดเท็จ โกหก หลอกลวง)

    การกระทำที่ถือว่าผิดศีลข้อนี้อย่างสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้
    1. เรื่องราวนั้นไม่เป็นความจริง
    2. มีจิตคิดจะมุสา คือมีเจตนาที่จะโกหก หลอกลวง
    3. พยายามด้วยกาย หรือด้วยวาจา หรือวิธีการใดๆ เพื่อจะให้ผู้อื่นเชื่อตามเรื่องราวนั้น คือดำเนินการโกหก หลอกลวงนั่นเอง
    4. ผู้อื่นเชื่อตามเรื่องราวนั้น
    ข้อแตกต่างระหว่างมุสาวาท ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)
    • มุสาวาท คือการพูด หรือการกระทำใดๆ โดยมีเจตนาให้ผู้อื่นเชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง โดยหวังจะให้เขาได้รับความเดือดร้อน เสียหาย หรือเสียประโยชน์อันพึงมีพึงได้ จากความเชื่อนั้น
    • ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) คือการพูด หรือการกระทำใดๆ ในสิ่งที่เป็นความจริง หรือไม่เป็นความจริงก็ตาม โดยมีเจตนาจะยุยงให้เขาแตกแยกกัน ไม่สามัคคีกัน
    • ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) คือการพูด หรือการกระทำใดๆ ในสิ่งที่เป็นความจริง หรือไม่เป็นความจริงก็ตาม ด้วยคำที่สุภาพ หรือไม่สุภาพก็ตาม โดยมีเจตนาจะให้เขาเจ็บใจ ไม่สบายใจ หรือร้อนใจ (ไม่ได้มีเจตนาให้เขาเชื่อตามนั้นเป็นหลักใหญ่) เช่น การด่าว่าเขาเป็นสัตว์บางชนิด เป็นต้น โดยรู้อยู่แล้วว่าเขาจะไม่เชื่อ แต่จะต้องเจ็บใจ หรือการพูดถึงปมด้อยของเขาที่เป็นจริง การประชดประชันด้วยคำที่สุภาพ ฯลฯ
    • สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) คือการพูด หรือการกระทำใดๆ ในสิ่งที่เป็นความจริง หรือไม่เป็นความจริงก็ตาม โดยเจตนาเพียงเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ไร้สาระ ไม่มีใครได้ประโยชน์จากการพูด หรือการกระทำนั้น
    >>>>> สำหรับมุสาวาทนั้น เป็นทั้งการผิดศีล 5 และเป็นอกุศลกรรม คือเป็นวจีทุจริต ในอกุศลกรรมบถ 10
    >>>>> ส่วนปิสุณวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะ นั้นไม่ถือเป็นการผิดศีล 5 แต่เป็นอกุศลกรรม คือเป็นวจีทุจริต ในอกุศลกรรมบถ 10

    ผู้รวบรวม
    ธัมมโชติ
    24 ตุลาคม 2544


    รายละเอียดของศีล 5 (5)

    การผิดศีลข้อที่ 5 สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน (การเสพสุรา เมรัย และของมึนเมาทั้งหลายอันทำให้ประมาท หรือขาดสติ)

    แยกรายละเอียดได้ดังนี้คือ
    1. สุรา คือ น้ำเมาที่กลั่นแล้ว ได้แก่ เหล้าชนิดต่างๆ นั่นเอง
    2. เมรัย คือ น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น, น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ เช่น ไวน์ชนิดต่างๆ
    3. มัชชะ คือ สิ่งที่เสพแล้วทำให้มึนเมา หรือขาดสติทั้งหลาย เช่น บุหรี่ ยาเสพติดทุกชนิด รวมทั้งเหล้า เบียร์ และสุรา เมรัยทุกชนิดด้วย
    การผิดศีลข้อที่ 5 นี้ จัดว่าเป็นอันตรายมาก เพราะทำให้ขาดสติ เมื่อขาดสติแล้วการทำผิดทุกชนิดก็จะตามมาได้โดยง่าย นอกจากนี้ยังจะทำให้ต้องเสียทรัพย์ไปโดยไม่จำเป็น ทั้งยังเสี่ยงต่ออุบัติเหตุเภทภัยทั้งหลาย ความทะเลาะเบาะแว้ง ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น หรืออาจถึงขั้นทำให้ครอบครัวแตกแยกเลยก็ได้ และยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้ขาดการพักผ่อน ซึ่งอาจส่งผลไปถึงหน้าที่การงานอีกด้วย

    ผู้รวบรวม
    ธัมมโชติ
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]24 ตุลาคม 2544 [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl011.htm

    ข้อเตือนใจนักบวช

    อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร (พระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต)


    ธรรมที่บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ 10 ประการ
    1. เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์
    2. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
    3. อากัปกิริยาอย่างอื่น อันเราควรทำมีอยู่
    4. เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีล หรือไม่
    5. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ติเตียนเราได้โดยศีล หรือไม่
    6. เราจะต้องพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
    7. เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน ...... เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
    8. วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้ เราทำอะไรอยู่
    9. เราย่อมยินดีในเรือนว่างเปล่า หรือไม่
    10. ญาณทัสสนะวิเศษ อันสามารถกำจัดกิเลส เป็นอริยะ คืออุตตริมนุสสธรรมอันเราได้บรรลุแล้ว มีอยู่หรือหนอ.
    นิรยวรรค ที่ 22 (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ ก้อนเหล็กอันร้อนประหนึ่งเปลวไฟ ภิกษุบริโภคยังดีกว่า
    ภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวม บริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นจะประเสริฐอะไร.

    @ หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด
    คุณเครื่องเป็นสมณะที่บุคคลลูบคลำไม่ดี
    (หมายถึงนักบวชที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม - ธัมมโชติ)
    ย่อมคร่าเขาไปนรก ฉันนั้น.

    นีตเถรคาถา (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา)

    @ คนโง่เขลา มัวแต่นอนหลับตลอดทั้งคืน
    และคลุกคลีอยู่ในหมู่ชน ตลอดวันยังค่ำ
    เมื่อไรจักทำที่สุดแห่งทุกข์ (พระนิพพาน - ธัมมโชติ) ได้เล่า.

    ยโสชเถรคาถา (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา)

    ภิกษุอยู่รูปเดียวย่อมเป็นเหมือนพรหม
    อยู่สองรูปเหมือนเทวดา
    อยู่สามรูปเหมือนชาวบ้าน
    อยู่ด้วยกันมากกว่านั้น ย่อมมีความโกลาหลมากขึ้น.....

    อรรถกถา ที่ 3 (ธัมมัฏฐวรรค ที่ 19 ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกผู้เรียนมากหรือพูดมาก ว่า"เป็นผู้ทรงธรรม"
    ส่วนผู้ใด เรียนคาถาแม้คาถาเดียว แล้วแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย (บรรลุมรรคผล - ธัมมโชติ)
    ผู้นั้นชื่อว่าผู้ทรงธรรม.

    บัณฑิตวรรค ที่ 6 (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าวนิคคหะชี้โทษ
    ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต
    เพราะว่าเมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มีโทษที่ลามก.

    อรรถกถาที่ 8 (มลวรรค ที่ 20 ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ ความเพียรเครื่องเผากิเลสควรทำในวันนี้ ทีเดียว
    ใครพึงรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้
    เพราะว่าความผัดเพี้ยนด้วยความตาย ซึ่งมีเสนาใหญ่นั้น ไม่มีเลย
    มุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนั้น
    มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน ตลอดกลางวันและกลางคืน
    นั้นแล ว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญ.

    สัพพกามเถรคาถา (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา)

    @ เบญจกามคุณอันน่ารื่นรมย์ใจเหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
    ที่มีปรากฏอยู่ในรูปร่างหญิง ย่อมล่อลวงปุถุชนให้ลำบาก
    เหมือนพรานเนื้อแอบดักเนื้อด้วยเครื่องดัก
    พรานเบ็ดจับปลาด้วยเบ็ด
    บุคคลจับวานรด้วยตัง ฉะนั้น.

    ตัณหาวรรค ที่ 24 (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ ตัณหาดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแก่คนผู้มีปกติประมาท
    เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้ เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น.

    @ หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว
    ย่อมกระเสือกกระสน เหมือนกระต่ายที่นายพรานดักได้แล้ว ฉะนั้น.

    สุขวรรค ที่ 15 (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะย่อมไม่มี
    ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ย่อมไม่มี สุขอื่นจากความสงบย่อมไม่มี.

    อรรถกถาที่ 8 (นาควรรค ที่ 23 ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ บรรพต พึงเป็นของล้วนด้วยทองคำที่สุกปลั่ง
    แม้ความที่บรรพตนั้น (ทวีขึ้น) เป็นสองเท่า
    ก็ยังไม่เพียงพอแก่ (ความต้องการของ) บุคคล (เพียง) คนหนึ่ง
    บุคคลทราบดังนี้แล้ว พึงประพฤติแต่พอสม.

    ผู้รวบรวม
    ธัมมโชติ
    17 พฤศจิกายน 2544
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl012.htm
    วิธีพิจารณาศีลอย่างง่าย

    พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 2 ทีฆนิกาย
    มหาวรรค สักกปัญหสูตร

    [๒๕๘] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ในปัญหาพยากรณ์ข้อนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อความสำรวมในปาติโมกข์ ฯ (ปาติโมกข์คือศีลสำหรับภิกษุ แต่ก็สามารถพิจารณาเทียบเคียงกับศีลสำหรับคนทั่วไป ได้ในทำนองเดียวกัน - ธัมมโชติ)

    (พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า) ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจาร (ความประพฤติทางกาย - ธัมมโชติ) โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
    วจีสมาจาร (ความประพฤติทางวาจา - ธัมมโชติ) ก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
    และการแสวงหาก็แยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฯ

    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงกายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในกายสมาจารทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบกายสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจารนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม กายสมาจารเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ

    บุคคลพึงทราบกายสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจารนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเห็นปานนี้ควรเสพ

    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวกายสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงกายสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ

    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าววจีสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงวจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในวจีสมาจารทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม วจีสมาจารเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ

    บุคคลพึงทราบวจีสมาจารอันใดว่า เมื่อเราเสพวจีสมาจารนี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น วจีสมาจารเห็นปานนี้ควรเสพ

    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าววจีสมาจารโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงวจีสมาจารดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ

    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวการแสวงหาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ก็ที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในการแสวงหาทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวงหานี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม การแสวงหาเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ

    บุคคลพึงทราบการแสวงหาอันใดว่า เมื่อเราเสพการแสวงหานี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น การแสวงหาเห็นปานนี้ควรเสพ

    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวการแสวงหาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงการแสวงหาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ

    ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อสำรวมในปาติโมกข์ ฯ

    [๒๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อความสำรวมอินทรีย์ ฯ

    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวกลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวรสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวโผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี กล่าวธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ โดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฯ

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบเนื้อความแห่งภาษิต ที่ตรัสโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลเสพรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ

    เมื่อบุคคลเสพรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาเห็นปานนี้ควรเสพ

    เมื่อบุคคลเสพเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู เห็นปานใด ...
    เมื่อบุคคลเสพกลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก เห็นปานใด ...
    เมื่อบุคคลเสพรสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น เห็นปานใด ...
    เมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย เห็นปานใด ...

    เมื่อบุคคลเสพธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานนี้ไม่ควรเสพ

    เมื่อบุคคลเสพธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจเห็นปานนี้ควรเสพ

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งภาษิตที่ตรัสโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่าอย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการพยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ

    ผู้รวบรวม
    ธัมมโชติ
    10 กุมภาพันธ์ 2545

    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl013.htm
    การสมาทานกับการรักษาศีล

    ผู้สนใจท่านหนึ่งได้ถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

    ต้องขออภัยด้วยนะครับที่บางข้ออาจจะโป๊ไปบ้าง แต่ก็คิดว่าอาจจะมีประโยชน์กับผู้สนใจบางท่าน และคิดว่าผู้ถามก็ถามอย่างบริสุทธิ์ใจจริงๆ เลยนำมาลงไว้ด้วย


    <HR>คำถาม

    Sent: Friday, February 08, 2002 12:21 AM
    Subject: Dhamma Question

    สวัสดีครับ

    1. .....
    2. .....
    3. การบำบัดความใคร่ด้วยตัวเอง ถือว่าผิดศีล 5 หรือไม่ครับ
    4. การสมาทานศีล กับการระวังตัวไม่ให้ผิดศีล มีค่าเท่ากันหรือไม่ครับ

    ขอบพระคุณมากครับ

    <HR>ตอบ

    สวัสดีครับ ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ ธัมมโชติ

    1. .....
    2. .....
    3. ไม่ผิดศีล 5 แต่ผิดศีล 8 ครับ
    4. การสมาทานศีลเป็นเจตนาในขั้นต้น ส่วนการระวังตัวไม่ให้ผิดศีลเป็นเจตนาในขั้นปลาย ถ้าสมาทานโดยไม่ได้คิดว่าจะรักษาจริงๆ เพียงแค่ทำตามธรรมเนียมก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่ถ้าตั้งใจจริงก็ได้ประโยชน์ อย่างน้อยจิตก็ผ่องใสขึ้นมาในช่วงนั้น แต่จะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่แท้จริงก็ในขณะที่มีการระวังตัวไม่ให้ผิดศีลนั่นเองครับ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญกว่า

      ความจริงเพียงแค่ตั้งใจว่าจะระวังตัวไม่ให้ผิดศีล ก็ถือได้ว่าเป็นการสมาทานศีลแล้วครับ ถ้าตั้งใจจริงก็ดีกว่าไปสมาทานจากพระด้วยซ้ำไป (กรณีที่สมาทานกันพอเป็นพิธีเท่านั้น)

      ในสมัยพุทธกาลนั้น แม้แต่การสมาทานศีล 8 ก็เพียงแค่บ้วนปาก (คงเพื่อไม่ให้มีเศษอาหารติดค้างอยู่ในปาก จะได้ไม่เป็นวิกาลโภชนา หรืออาจเพื่อให้ปากสะอาดเพื่อให้เกียรติแก่ศีล) แล้วก็ตั้งใจอธิษฐานเอาเองที่บ้านก็เป็นอันเสร็จพิธีแล้ว ไม่ต้องไปวัดให้ยุ่งยากเหมือนสมัยนี้ (เขารักษาศีล 8 กันเองที่บ้าน)
    ถ้ายังไม่กระจ่าง หรือมีข้อสงสัยอะไรอีก ก็เชิญถามมาได้ใหม่นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ

    ธัมมโชติ
    17 กุมภาพันธ์ 2545
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl014.htm
    อินทรียสังวร

    พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๑ ทีฆนิกาย
    สีลขันธวรรค สามัญญผลสูตร


    (ความจริงอินทรียสังวรนี้จัดเป็นขั้นที่สูงกว่าศีลอีก 1 ขั้น หรือจะกล่าวว่าเป็นศีลในระดับจิตใจ หรือเป็นศีลขั้นสูงก็ว่าได้ อินทรียสังวรนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเน้นเป็นอย่างมาก - ธัมมโชติ)

    อินทรียสังวร

    [๑๒๒] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?
    (พระพุทธเจ้าตรัสโปรดพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหีบุตร พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร - ธัมมโชติ)

    ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ (คือไม่ยินดียินร้าย ไม่ฝักใฝ่ผูกพัน คือเห็นก็สักว่าเห็น ไม่ถูกกิเลสครอบงำ - ธัมมโชติ) เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ (สิ่งที่เป็นใหญ่ในการมองเห็น คือตานั่นเอง - ธัมมโชติ) ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ - ธัมมโชติ) และโทมนัส (ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ - ธัมมโชติ) ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

    ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ...
    ดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
    ลิ้มรสด้วยชิวหา ...
    ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

    รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ (สิ่งที่เป็นใหญ่ในการคิด คือใจหรือจิตนั่นเอง - ธัมมโชติ) ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์

    ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน

    ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.

    ผู้รวบรวม
    ธัมมโชติ
    30 มิถุนายน 2545

    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl015.htm
    ศีลหนึ่ง
    (รักษาศีลเพียงข้อเดียวพ้นทุกข์ได้)

    อรรถกถาธรรมบท จิตตวรรควรรณนา
    เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ


    พระเถระแนะอุบายพ้นทุกข์แก่เศรษฐีบุตร


    ดังได้สดับมา เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี บุตรเศรษฐีผู้หนึ่งเข้าไปหาพระเถระผู้เป็นชีต้น (ภิกษุที่คุ้นเคย ซึ่งเขาเคารพนับถือเป็นอาจารย์ เป็นที่ปรึกษา เรียกอีกอย่างว่ากุลุปกะ - ธัมมโชติ) ของตน เรียนว่า "ท่านผู้เจริญ กระผมใคร่จะพ้นจากทุกข์, ขอท่านโปรดบอกอาการสำหรับพ้นจากทุกข์แก่กระผมสักอย่างหนึ่ง."

    พระเถระกล่าวว่า "ดีละ ผู้มีอายุ ถ้าเธอใคร่จะพ้นจากทุกข์ไซร้, เธอจงถวายสลากภัต (อาหารที่ทายกถวายตามสลาก คือผู้ประสงค์จะทำบุญแต่ละคนจะจับสลาก ว่าตนจะได้ถวายอาหารแก่ภิกษุรูปใด - ธัมมโชติ) ถวายปักขิกภัต (ภัตที่ทายกถวายในวันปักษ์ คือทุก 15 วัน - ธัมมโชติ) ถวายวัสสาวาสิกภัต (ภัตที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษา) ถวายปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น, แบ่งทรัพย์สมบัติของตนให้เป็น ๓ ส่วน ประกอบการงานด้วยทรัพย์ส่วน ๑ เลี้ยงบุตรและภรรยาด้วยทรัพย์ส่วน ๑ ถวายทรัพย์ส่วน ๑ ไว้ในพระพุทธศาสนา."

    เขารับว่า "ดีละ ขอรับ" แล้วทำกิจทุกอย่าง ตามลำดับแห่งกิจที่พระเถระบอก แล้วเรียนถามพระเถระอีกว่า "กระผมจะทำบุญอะไรอย่างอื่น ที่ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกเล่า ? ขอรับ."

    พระเถระตอบว่า "ผู้มีอายุ เธอจงรับไตรสรณะ (คือยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง - ธัมมโชติ) (และ) ศีล ๕." เขารับไตรสรณะและศีล ๕ แม้เหล่านั้นแล้ว จึงเรียนถามถึงบุญกรรมที่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น.

    พระเถระก็แนะว่า "ถ้ากระนั้น เธอจงรับศีล ๑๐." เขากล่าวว่า "ดีละ ขอรับ" แล้วก็รับ (ศีล ๑๐). เพราะเหตุที่เขาทำบุญกรรมอย่างนั้นโดยลำดับ เขาจึงมีนามว่า อนุปุพพเศรษฐีบุตร.

    เขาเรียนถามอีกว่า "บุญอันกระผมพึงทำ แม้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ยังมีอยู่หรือ ? ขอรับ" เมื่อพระเถระกล่าวว่า "ถ้ากระนั้นเธอจงบวช," จึงออกบวชแล้ว.

    ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรูปหนึ่งได้เป็นอาจารย์ของเธอ, ภิกษุผู้ทรงพระวินัยรูปหนึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์, ในเวลาที่ภิกษุนั้นได้อุปสมบทแล้วมาสู่สำนักของ (อาจารย์ของ) ตน อาจารย์กล่าวปัญหาในพระอภิธรรมว่า "ชื่อว่าในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำกิจนี้จึงควร, ทำกิจนี้ไม่ควร."

    ฝ่ายพระอุปัชฌาย์ก็กล่าวปัญหาในพระวินัย ในเวลาที่ภิกษุนั้นมาสู่สำนักของตนว่า "ชื่อว่าในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำสิ่งนี้ควร, ทำสิ่งนี้ไม่ควร; สิ่งนี้เหมาะ สิ่งนี้ไม่เหมาะ."

    อยากสึกจนซูบผอม

    ท่านคิดว่า "โอ ! กรรมนี้หนัก; เราใคร่จะพ้นจากทุกข์จึงบวช, แต่ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเราไม่ปรากฏ, (คือมีข้อห้ามและข้อปฏิบัติมากมายเต็มไปหมด จนแทบทำอะไรตามความพอใจไม่ได้เลย - ธัมมโชติ) เราดำรงอยู่ในเรือนก็อาจพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ เราควรเป็นคฤหัสถ์ (ดีกว่า)."

    ตั้งแต่นั้น ท่านกระสัน (จะสึก) หมดยินดี (ในพรหมจรรย์) ไม่ทำการสาธยายในอาการ ๓๒, (การพิจารณาส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย 32 อย่าง เพื่อคลายความยึดมั่น - ธัมมโชติ) ไม่เรียนอุเทศ (หัวข้อธรรม บางครั้งหมายถึงปาฏิโมกข์ คือศีล 227 ข้อ - ธัมมโชติ) ผอม ซูบซีด มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ถูกความเกียจคร้านครอบงำ เกลื่อนกล่นแล้วด้วยหิดเปื่อย.

    ลำดับนั้น พวกภิกษุหนุ่มและสามเณรถามท่านว่า "ผู้มีอายุ ทำไม ? ท่านจึงยืนแฉะอยู่ในที่ยืนแล้ว นั่งแฉะในที่นั่งแล้ว ถูกโรคผอมเหลืองครอบงำ ผอม ซูบซีด มีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น ถูกความ เกียจคร้านครอบงำ เกลื่อนกล่นแล้วด้วยหิดเปื่อย, ท่านทำกรรมอะไรเล่า ?"

    ภิกษุ. (นั้นตอบว่า) ผู้มีอายุ ผมเป็นผู้กระสัน.

    ภิกษุหนุ่มและสามเณร. (ถามว่า) เพราะเหตุไร ?

    ภิกษุนั้นบอกพฤติการณ์นั้นแล้ว, ภิกษุหนุ่มและสามเณรเหล่านั้นบอกแก่พระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของท่านแล้ว. พระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ได้พากันไปยังสำนักพระศาสดา.

    รักษาจิตอย่างเดียวอาจพ้นทุกข์ได้

    (คำว่าอาจ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า 1. กล้า, ห้าวหาญ 2. มีคุณสมบัติเหมาะแก่การจัดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 3. คำช่วยกริยาบอกการคาดคะเน ในที่นี้น่าจะเป็นความหมายที่ 2. มากกว่าความหมายอื่น - ธัมมโชติ)

    พระศาสดาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาทำไมกัน ?"

    อาจารย์และอุปัชฌาย์. (ทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้กระสันในศาสนาของพระองค์.

    พระศาสดา. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ? ภิกษุ.

    ภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

    พระศาสดา. เพราะเหตุไร ?

    ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เพราะ) ข้าพระองค์ใคร่จะพ้นจากทุกข์จึงได้บวช, พระอาจารย์ของข้าพระองค์นั้นกล่าวอภิธรรมกถา, พระอุปัชฌาย์กล่าววินัยกถา. ข้าพระองค์นั้นได้ทำความตกลงใจว่า 'ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเราไม่มีเลย, เราเป็นคฤหัสถ์ก็อาจพ้นจากทุกข์ได้, เราจักเป็นคฤหัสถ์' ดังนี้ พระเจ้าข้า.

    พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าเธอจักสามารถรักษาได้เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น, กิจคือการรักษาสิ่งทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่มี.

    ภิกษุ. อะไร ? พระเจ้าข้า.

    พระศาสดา. เธอจักอาจรักษาเฉพาะจิตของเธอ ได้ไหม ?

    ภิกษุ. อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า.


    พระศาสดาประทานพระโอวาทนี้ว่า " ถ้ากระนั้น เธอจงรักษาเฉพาะจิตของตนไว้, เธออาจพ้นจากทุกข์ได้" ดังนี้เเล้ว จึงตรัสพระคาถานี้
    สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ


    จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.



    "ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก


    ละเอียดยิ่งนัก มันตกไปในอารมณ์ตามความใคร่,


    (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้."


    (ในที่สุดภิกษุรูปนี้ก็บรรลุเป็นโสดาบัน สำหรับมรรคผลขั้นสูงกว่านี้ไม่ได้กล่าวถึงเอาไว้ในเรื่องนี้ - ธัมมโชติ)
    ผู้รวบรวม
    ธัมมโชติ
    20 กรกฎาคม 2545

    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl016.htm
    ศีล 227 กับคฤหัสถ์


    ผู้สนใจท่านหนึ่งได้ถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

    <HR>คำถาม

    เรียน webmaster

    การให้ชาวบ้านเรียนรู้ถึงศีลของพระ (๒๒๗) โดยไม่ลึกซึ้งทำให้ชาวบ้านเพ่งโทษพระ อยากทราบความเห็นของท่านทั้งด้านดีและด้านเสีย เพื่อจะได้ตอบคำถามเมื่อมีผู้วิจารณ์การทำตัวของพระ (ขออภัยถ้าใช้สรรพนามพระไม่ถูกต้อง)

    ขอบคุณและอนุโมทนาที่ได้รักษาเว็บนี้ให้มีคุณค่าตลอดมา

    เขียนเมื่อวันที่: 6 กรกฎาคม 2545 เวลา: 21:57

    <HR>ตอบ

    เรียน คุณ .....

    ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ ธัมมโชติ

    ขอแสดงความเห็นดังนี้ครับ

    ข้อดี

    1. ทำให้พระระวังตัวมากขึ้น เพราะคนทั่วไปรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรควรอะไรไม่ควร ซึ่งก็จะเป็นผลดีทั้งต่อตัวท่านเอง (ทำให้ศีลบริสุทธิ์ขึ้น) และต่อศาสนา
    2. คนทั่วไปจะได้ปฏิบัติต่อพระได้ถูกต้อง เหมาะสมยิ่งขึ้น จะได้ไม่ถวายสิ่งที่ไม่เหมาะสมให้พระ รวมทั้งไม่วางตัวอย่างไม่เหมาะสมด้วย ซึ่งก็จะทำให้สิ่งยั่วกิเลสของพระลดน้อยลงไป ก็จะทำให้พระรักษาศีลได้ง่ายขึ้นด้วย
    3. ถ้าเป็นคนที่รู้จักแยกแยะ เมื่อเห็นพระทำผิดศีล ก็จะได้รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงติเตียน ไม่ทรงสรรเสริญ เพราะฉะนั้น ถ้าจะตำหนิ ก็ควรจะแยกแยะได้ว่าพระรูปนั้นน่าตำหนิ ไม่ใช่ไปตำหนิศาสนา เพราะสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติเอาไว้นั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ปฏิบัติได้ประโยชน์ และน่าเลื่อมใสทั้งสิ้น
    4. เมื่อมีคนคอยสอดส่องกันมากขึ้น ภิกษุที่ทำตัวไม่ดีก็จะอยู่ไม่ได้ไปเอง เพราะขาดคนสนับสนุนเกื้อกูล (ถ้าคนส่วนใหญ่รู้จักแยกแยะตามข้อ 3.)
    5. คนที่มีศรัทธาคิดจะบวชจะได้เตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้ก่อน เมื่อบวชแล้วจะได้ปรับตัวได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสผิดพลาดน้อยลง
    6. คนที่พิจารณาตนเองแล้ว คิดว่าไม่สามารถทำตัวให้เหมาะสมได้ ก็จะได้ไม่เข้ามาบวชแล้วทำให้ศาสนามัวหมอง
    ข้อเสีย
    1. ในสมัยพุทธกาลมีกรณีเกิดขึ้น คือมีชายคนหนึ่งกำลังจะบวช แล้วพระบอกอนุศาสน์ 8 ก่อนบวช (คือ นิสสัย 4 และ อกรณียกิจ 4, นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี 4 อย่าง ได้แก่ 1. การบิณฑบาตเลี้ยงชีพ 2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล 3. อยู่โคนไม้ 4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (น้ำปัสสาวะ) เป็นยารักษาโรค - ปัจจุบันยารักษาโรคหาได้ง่าย จึงไม่จำเป็นต้องฉันน้ำมูตรเน่าแล้ว อกรณียกิจ คือ กิจที่ไม่ควรทำ มี 4 อย่างได้แก่ 1. เสพเมถุน 2. ลักขโมย 3. ฆ่าสัตว์ 4. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน)

      พอชายคนนั้นได้ฟังแล้ว เลยเปลี่ยนใจไม่บวช และกล่าวว่าถ้าบวชแล้วจึงได้ฟังเรื่องนี้ก็คงจะพยายามปฏิบัติตาม แต่นี่ยังไม่ได้บวชก็ขอเปลี่ยนใจดีกว่า

      พระพุทธเจ้าก็เลยทรงห้ามให้อนุศาสน์ก่อนบวช เรื่องนี้ก็คงเป็นตัวอย่างได้ว่า สำหรับคนที่ศรัทธาไม่แน่วแน่นั้น เมื่อรู้ระเบียบวินัยต่างๆ มากเกินไป ก็อาจท้อ และไม่อยากบวช ทั้งๆ ที่ถ้าเขาได้บวช ได้ศึกษาศาสนาอย่างจริงจัง เขาก็อาจจะได้ประโยชน์อย่างมากเลยก็ได้
    2. มีภิกษุอยู่ไม่น้อยที่รักษาศีลได้อย่างกระท่อนกระแท่น เมื่อคนที่รู้เรื่องศีลมาก แต่ไม่รู้จักแยกแยะให้ดีไปพบเห็นภิกษุเหล่านั้นเข้า ก็อาจพลอยรู้สึกเสื่อมศรัทธาต่อศาสนาไปทั้งหมดเลยก็ได้ ซึ่งก็จะเป็นผลเสียทั้งต่อผู้ที่เสื่อมศรัทธานั้นเอง (ทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากศาสนาอย่างที่ควรจะเป็น และอาจถึงขั้นไปชักจูงให้คนอื่นๆ เสื่อมศรัทธาไปด้วยก็ได้) และต่อศาสนาอีกด้วย
    3. เป็นช่องทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดีใช้ในการโจมตีศาสนา
    ความเห็นเพิ่มเติม

    เมื่อมีการให้ความรู้เรื่องศีลแก่คนทั่วไป ก็คงจะต้องพิจารณาผู้ฟังด้วยนะครับ ว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วให้ความรู้ตามความเหมาะสม เช่น

    • ควรรู้ศีลข้อไหนบ้าง (ศีลมีหลายประเภท ทั้งที่เกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ และไม่เกี่ยวข้อง ทั้งที่มีผลต่อตัวผู้ปฏิบัติเอง มีผลต่อสงฆ์ และมีผลกระทบต่อคฤหัสถ์)
    • ควรรู้ลึกซึ้งแค่ไหน
    • ควรชี้แนะให้เขารู้จักแยกแยะมากน้อยแค่ไหน
    • ฯลฯ
    ถ้ายังไม่กระจ่าง หรือมีข้อสงสัยอะไรอีก ก็เชิญถามมาได้ใหม่นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ
    ธัมมโชติ
    21 กรกฎาคม 2545
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl017.htm
    ศีลและอกุศลกรรม


    ผู้สนใจท่านหนึ่งได้เมล์มาถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

    <HR>คำถาม

    Sent: Wednesday, June 12, 2002 2:26 PM

    ตามความเข้าใจเดิม ศีลคือข้อห้ามการละเมิดกายวาจา แต่เมื่อได้อ่านคัมภีร์วิสุทธิมรรค และจากผู้รู้ จะเน้นที่ใจ เจตนา เจตสิก การสังวรอินทรีย์ และนอกจากไม่ละเมิดแล้ว ยังให้เป็นที่ตั้งและรวมแห่งกุศลธรรม มีความสะอาดและหิริโอตตัปปะ ไม่เกิดบาปธรรม แต่เกิดสันโดษและขัดเกลากิเลส

    เช่นนี้ฆราวาสก็คงครองศีลได้ ไม่ผ่องแผ้วนัก ต้องเป็นระดับโสดาบันขึ้น ใช่ไหมครับ

    ขอบคุณมากครับ

    <HR>ตอบ

    เรียน คุณ .....

    ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ ธัมมโชติ

    ขอตอบคำถามดังนี้นะครับ

    ตามความเข้าใจของผมนะครับ ศีลโดยทั่วไปนั้นจะเน้นที่ใจและเจตนาที่มีความรุนแรง จนถึงขั้นทำให้เกิดการแสดงออกมาทางกาย หรือทางวาจา แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นแสดงออกมาทางกาย หรือทางวาจาก็จะยังไม่ถึงขั้นผิดศีล แต่จะเป็นอกุศลกรรมได้แม้เพียงแค่คิดก็ตาม


    เช่น การลักทรัพย์นั้นก็จะมีขั้นตอนคร่าวๆ คือ
    1. เห็นทรัพย์นั้น


    2. อยากได้แบบไม่ชอบธรรม (อภิชฌา)


    3. คิดจะลัก


    4. เข้าไปใกล้ทรัพย์นั้น (เพื่อจะลัก)


    5. จับทรัพย์นั้น (เพื่อจะลัก)


    6. ทรัพย์นั้นเคลื่อนจากตำแหน่งเดิม (เพราะความพยายามที่จะลักทรัพย์นั้น)


    7. เอาทรัพย์นั้นไป

    ใน 7 ขั้นตอนนี้

    ขั้นที่ 1. ยังไม่ผิดศีล และไม่เป็นอกุศลกรรม
    ขั้นที่ 2. ยังไม่ผิดศีล แต่เป็นอกุศลกรรม
    ขั้นที่ 3. เป็นอกุศลกรรม และเริ่มเข้าสู่องค์ของการผิดศีล แต่ยังไม่ผิดอย่างสมบูรณ์ (ถ้าเป็นภิกษุก็ยังไม่ปาราชิก)
    ขั้นที่ 4 - 5. เป็นอกุศลกรรม และเริ่มเข้าสู่องค์ของการผิดศีลมากขึ้น แต่ยังไม่ผิดอย่างสมบูรณ์ (ถ้าเป็นภิกษุก็ยังไม่ปาราชิก)
    ขั้นที่ 6. เป็นอกุศลกรรม และผิดศีลอย่างสมบูรณ์แล้ว (ถ้าเป็นภิกษุก็ปาราชิกในขั้นตอนนี้ - ตามหลักเกณฑ์ของพระวินัย)
    ขั้นที่ 7. คงไม่ต้องพูดถึงนะครับ

    "เช่นนี้ฆราวาสก็คงครองศีลได้ไม่ผ่องแผ้วนัก ต้องเป็นระดับโสดาบันขึ้น ใช่ไหมครับ"

    ส่วนใหญ่ก็คงจะเป็นอย่างนั้นครับ แต่โดยหลักการแล้วแม้แต่โสดาบันก็ยังผิดศีลได้ครับ แต่จะเป็นศีลที่ไม่เป็นเหตุไปสู่อบายภูมิ คือจะรักษาศีล 5 ได้อย่างบริบูรณ์ แต่ยังอาจพูดเพ้อเจ้อ (เป็นอาบัติขั้นทุพพาสิตสำหรับภิกษุ) หรืออาจต้องอาบัติเล็กน้อยข้ออื่นๆ ได้

    ในพระไตรปิฎกมักใช้คำว่า "ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต"

    คำว่าธุลีก็คือกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิตทั้งหลาย

    ถ้ายังไม่กระจ่าง หรือมีข้อสงสัยอะไรอีก ก็เชิญถามมาได้ใหม่นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ


    ธัมมโชติ
    27 กรกฎาคม 2545

    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl018.htm
    ผู้ยอมตายเพื่อรักษาชีวิตผู้อื่น

    อรรถกถาธรรมบท : ปาปวรรควรรณนา
    เรื่องพระติสสเถระผู้เข้าถึงสกุลนายช่างแก้ว


    ข้อความเบื้องต้น


    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระชื่อติสสะ ผู้เข้าถึงสกุลนายช่างเเก้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "คพฺภเมเก อุปฺปชฺชนฺติ" เป็นต้น.

    พระเจ้าปเสนทิโกศลส่งแก้วให้นายช่างเจียระไน

    ได้ยินว่า พระเถระนั้นฉัน (ภัต) อยู่ในสกุลของนายมณีการ (นายช่างแก้ว - ธัมมโชติ) ผู้หนึ่ง สิ้น ๑๒ ปี. ภรรยาและสามีในสกุลนั้นตั้งอยู่ในฐานะเพียงมารดาและบิดา ปฏิบัติพระเถระแล้ว.

    อยู่มาวันหนึ่ง นายมณีการกำลังนั่งหั่นเนื้อข้างหน้าพระเถระ. ในขณะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงส่งแก้วมณีดวงหนึ่งไป ด้วยรับสั่งว่า "นายช่างจงจัดและเจียระไนแก้วมณีนี้แล้วส่งมา." นายมณีการรับแก้วนั้นด้วยมือทั้งเปื้อนโลหิต วางไว้บนเขียงแล้วก็เข้าไปข้างในเพื่อล้างมือ.

    แก้วมณีหายนายช่างสืบหาคนเอาไป

    ก็ในเรือนนั้น นกกะเรียนที่เขาเลี้ยงไว้มีอยู่. นกนั้นกลืนกินแก้วมณีนั้น ด้วยสำคัญว่าเนื้อเพราะกลิ่นโลหิต เมื่อพระเถระกำลังเห็นอยู่เทียว. นายมณีการมาแล้ว เมื่อไม่เห็นแก้วมณีจึงถามภริยา ธิดา และบุตร โดยลำดับว่า "พวกเจ้าเอาแก้วมณีไปหรือ?" เมื่อชนเหล่านั้นกล่าวว่า "มิได้เอาไป" จึงคิดว่า "(ชะรอย) พระเถระจักเอาไป จึงปรึกษากับภริยาว่า "แก้วมณี (ชะรอย) พระเถระจักเอาไป"

    ภริยาบอกว่า "แน่ะนาย นายอย่ากล่าวอย่างนั้น. ดิฉันไม่เคยเห็นโทษอะไรๆ ของพระเถระเลยตลอดกาลประมาณเท่านี้. ท่านย่อมไม่ถือเอาแก้วมณี (แน่นอน)."

    นายมณีการถามพระเถระว่า "ท่านขอรับ ท่านเอาแก้วมณีในที่นี้ไปหรือ?"

    พระเถระ. "เราไม่ได้ถือเอาดอก อุบาสก."

    นายมณีการ. "ท่านขอรับ ในที่นี้ไม่มีคนอื่น. ท่านต้องเอาไปเป็นแน่, ขอท่านจงให้แก้วมณีแก่ผมเถิด."

    เมื่อพระเถระนั้นไม่รับ, เขาจึงพูดกะภริยาว่า "พระเถระเอาแก้วมณี ไปแน่, เราจักบีบคั้นถามท่าน."

    ภริยาตอบว่า "แน่ะนาย นายอย่าให้พวกเราฉิบหายเลย, พวกเราเข้าถึงความเป็นทาสเสียยังประเสริฐกว่า, ก็การกล่าวหาพระเถระผู้เห็นปานนี้ไม่ประเสริฐเลย."

    ช่างแก้วทำโทษพระติสสเถระเพราะเข้าใจผิด

    นายช่างแก้วนั้นกล่าวว่า "พวกเราทั้งหมดด้วยกัน เข้าถึงความเป็นทาส ยังไม่เท่าค่าแก้วมณี" ดังนี้แล้ว จึงถือเอาเชือกพันศีรษะพระเถระ ขันด้วยท่อนไม้. โลหิตไหลออกจากศีรษะ หู และจมูกของพระเถระ. หน่วยตาทั้งสองได้ถึงอาการทะเล้นออก, ท่านเจ็บปวดมาก ก็ล้มลง ณ ภาคพื้น. นกกะเรียนมาด้วยกลืนโลหิต ดื่มกินโลหิต.

    ช่างแก้วเตะนกกะเรียนตายแล้วจึงทราบความจริง

    ขณะนั้น นายมณีการจึงเตะมันด้วยเท้าแล้วเขี่ยไป พลางกล่าวว่า "มึงจะทำอะไรหรือ?" ด้วยกำลังความโกรธที่เกิดขึ้นในพระเถระ. นกกะเรียนนั้นล้มกลิ้งตายด้วยการเตะทีเดียวเท่านั้น.

    พระเถระเห็นนกนั้น จึงกล่าวว่า "อุบาสก ท่านจงผ่อนเชือกพันศีรษะของเราให้หย่อนก่อน แล้วจงพิจารณาดูนกกะเรียนนี้ (ว่า) มันตายแล้วหรือยัง?"

    ลำดับนั้น นายช่างแก้วจึงกล่าวกะท่านว่า "แม้ท่านก็จักตายเช่นนกนั่น."

    พระเถระตอบว่า "อุบาสก แก้วมณีนั้น อันนกนี้กลืนกินแล้ว. หากนกนี้จักไม่ตายไซร้, ข้าพเจ้าแม้จะตาย ก็จักไม่บอกแก้วมณีแก่ท่าน."

    ช่างแก้วได้แก้วมณีคืนแล้วขอขมาพระติสสเถระ

    เขาแหวะท้องนกนั้นพบแก้วมณีแล้ว งกงันอยู่ มีใจสลด หมอบลงใกล้เท้าของพระเถระ กล่าวว่า "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอดโทษแก่ผม, ผมไม่รู้อยู่ ทำไปแล้ว."

    พระเถระ. "อุบาสก โทษของท่านไม่มี. ของเราก็ไม่มี มีแต่โทษของวัฏฏะเท่านั้น. เราอดโทษแก่ท่าน."

    นายมณีการ. "ท่านขอรับ หากท่านอดโทษแก่ผมไซร้. ท่านจงนั่งรับภิกษาในเรือนของผมตามทำนองเถิด."

    พระเถระเห็นโทษของการเข้าชายคาเรือน

    พระเถระกล่าวว่า "อุบาสก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจักไม่เข้าไปภายในชายคาเรือนของผู้อื่น เพราะว่านี้เป็นโทษแห่งการเข้าไปภายในเรือนโดยตรง. ตั้งแต่นี้ไป เมื่อเท้าทั้งสองยังเดินไปได้ เราจักยืนที่ประตูเรือนเท่านั้น รับภิกษา" ดังนี้แล้ว สมาทานธุดงค์กล่าวคาถานี้ว่า
    "ภัตในทุกสกุลๆ ละนิดหน่อย อันเขาหุงไว้เพื่อมุนี
    เราจักเที่ยวไปด้วยปลีแข้ง, กำลังแข้งของเรายังมีอยู่."
    ก็แล พระเถระครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ต่อกาลไม่นานนักก็ปรินิพพาน ด้วยพยาธินั้นนั่นเอง. (คือปรินิพพานเพราะความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการถูกทรมานในครั้งนั้น - ธัมมโชติ)

    คนทำบาปกับคนทำบุญมีคติต่างกัน


    นกกะเรียนได้ถือปฏิสนธิในท้องแห่งภริยาของนายช่างแก้ว. นายช่างแก้วทำกาละแล้ว (เสียชีวิตแล้ว - ธัมมโชติ) ก็บังเกิดในนรก. ภริยาของนายช่างแก้วทำกาละแล้ว เกิดในเทวโลก เพราะความเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนในพระเถระ.

    ภิกษุทั้งหลายทูลถามอภิสัมปรายภพของชนเหล่านั้น กะพระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ ย่อมเกิดในครรภ์. บางจำพวกทำกรรมลามก ย่อมเกิดในนรก. บางจำพวกทำกรรมดีแล้ว ย่อมเกิดในเทวโลก. ส่วนผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน" (อาสวะ คือกิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน - ธัมมโชติ)

    ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
    ๑๐. คพฺภเมเก อุปฺปชฺชนฺติ
    นิรยํ ปาปกมฺมิโน
    สคฺคํ สุคติโน ยนฺติ
    ปรินิพฺพนฺติ อนาสวา.

    "ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์,
    ผู้มีกรรมลามก ย่อมเข้าถึงนรก,
    ผู้มีกรรมเป็นเหตุแห่งสุคติ ย่อมไปสวรรค์
    ผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน."
    ผู้รวบรวม
    ธัมมโชติ
    7 กันยายน 2545
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl019.htm
    ศีล 5 กับการเกิดเป็นคน


    ผู้สนใจท่านหนึ่งได้เมล์มาถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้



    <HR>คำถาม

    อ่านหนังสือที่ว่า เทพบุตรทั้งหลายมีนางอัปสรเป็นบริวาร และในสมัยก่อนผู้ใหญ่โตมีนางน้อยๆ มากมาย ตามบารมี อย่างนี้ไม่ผิดศีลห้าเหรอคะ (ข้อสาม)

    แล้วที่ว่าศีลห้าไม่ครบไม่ได้เกิดเป็นคน อย่างนี้ที่เห็นๆ กันนี่ ก็ไม่มีโอกาสเป็นคนกันอีกซะส่วนมากหน่ะสิคะ แค่ข้อห้าก็กวาดไปแล้วมากมายเกือบหมดประเทศเข้าไปแล้ว



    <HR>ตอบ

    สวัสดีครับ

    ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ ธัมมโชติ

    ขอตอบคำถามเป็นข้อๆ นะครับ

    1. เรื่องศีลข้อ 3 นั้น ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องมีภรรยาคนเดียวเสมอไปนะครับ ถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยินยอมพร้อมใจก็ไม่ผิดศีลข้อนี้ครับ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหมวดศีล เรื่องรายละเอียดของศีล 5 (3) )

      อย่างกรณีที่กล่าวถึงนี้ ถ้าเป็นธรรมเนียมที่ถือเป็นเรื่องธรรมดาในที่นั้น โอกาสที่จะเป็นการผิดศีลก็น้อยลงไปด้วยครับ (ขึ้นกับรายละเอียดดังที่กล่าวเอาไว้ในเรื่องรายละเอียดของศีล 5 (3) ด้วย)

      และว่ากันว่าไม่ใช่เทพบุตรเท่านั้นนะครับที่มีนางอัปสรเป็นบริวารมากๆ เทพธิดาบางองค์ที่มีบารมีมากๆ ก็อาจจะมีเทพบุตรเป็นบริวารจำนวนมากก็ได้นะครับ (เขาเล่าว่านะครับ ไม่ทราบความจริงเป็นอย่างไร)

    2. ที่ว่าศีล 5 ไม่ครบไม่ได้เกิดเป็นคนนั้น อาจจะคลาดเคลื่อนนะครับ คือศีล 5 นั้นถือเป็นศีลขั้นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ถ้าศีล 5 ไม่สมบูรณ์ก็ถือว่าเป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์

      การจะเกิดเป็นอะไรนั้นขึ้นกับสภาวะจิตตอนใกล้ตายเป็นสำคัญครับ คือถ้าตอนใกล้ตายจิตอยู่ในสภาวะไหน ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสภาวะจิตนั้นครับ

      เช่น ถ้าตอนใกล้ตายจิตประกอบด้วยอกุศล เมื่อตายไปก็จะไปเกิดใหม่ในอบายภูมิ ตามลำดับขั้นของความหยาบ/ประณีตของจิตนั้น

      ถ้าตอนใกล้ตายจิตเป็นกุศล และยังมีความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่น่ารักน่ายินดีอยู่ (กามคุณ 5) ก็จะไปเกิดใหม่ในกามสุคติภูมิ เช่น มนุษย์ สวรรค์ (ตามขั้นของความประณีตของจิต)

      ถ้าตอนใกล้ตายจิตเป็นกุศล และไม่มีความยินดีในกามคุณ 5 (มีความยินดีในฌาน หรือเป็นอนาคามีบุคคล) แต่ยังยินดีในการมีรูป ก็จะเกิดใหม่ในรูปภูมิ

      ถ้าตอนใกล้ตายจิตเป็นกุศล และไม่มีความยินดีในกามคุณ 5 (มีความยินดีในฌาน หรือเป็นอนาคามีบุคคล) และไม่ยินดีในการมีรูป ก็จะเกิดใหม่ในอรูปภูมิ

      ถ้าตอนใกล้ตายจิตยินดีในพระนิพพาน ไม่มีความยึดมั่นสิ่งใดๆ เลย (พระอรหันต์) ก็จะพ้นจากการเกิดใหม่ครับ (ดูเรื่องภพภูมิในพระพุทธศาสนา ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ)

      แต่ก็เป็นธรรมดาที่คนที่ถือศีล 5 ได้บริสุทธิ์ เมื่อใกล้ตายโอกาสจะนึกถึงสิ่งที่เป็นอกุศลก็ย่อมจะน้อยกว่าคนที่ผิดศีลอยู่เป็นประจำนะครับ

      ส่วนบุญ หรือบาปต่างๆ ที่ทำเอาไว้ ถ้าไม่ได้โอกาสในการเป็นกรรมนำเกิด (คือนำให้ไปเกิดในภพภูมิต่างๆ) ก็จะส่งผลในขณะที่เกิดแล้วต่อไป ไม่สูญหายไปไหน (จนกว่าจะปรินิพพานถึงจะตัดยอดกันไป)

      และอีกอย่างก็คือถ้าในชีวิตประจำวันตามปรกติ ผู้ที่ส่วนใหญ่จิตน้อมไปในทางกุศล เมื่อใกล้ตายโอกาสที่จิตจะน้อมไปในทางกุศลก็มีมากกว่าผู้ที่ปรกติจิตเป็นอกุศลนะครับ
    3. สำหรับผลของการผิดศีล 5 ในแต่ละข้อนั้นก็มีผล เช่น การฆ่าสัตว์จะทำให้อายุสั้น ร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคมาก การลักทรัพย์จะทำให้ทรัพย์ที่มีอยู่ถึงความพินาศ สูญหายได้ง่าย การประพฤติผิดในกามจะทำให้เกิดเป็นกะเทย หรือถูกตอน การพูดปดทำให้ไม่มีใครเชื่อถือ การเสพของมึนเมาทำให้สติไม่ดี ฯลฯ
    ถ้ายังไม่กระจ่าง หรือมีข้อสงสัยอะไรอีก ก็เชิญถามมาได้ใหม่นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ

    ธัมมโชติ
    7 ตุลาคม 2545

    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl020.htm
    ศีลข้อ 3 (เพิ่มเติม)


    ผู้สนใจท่านหนึ่งได้เมล์มาถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้



    <HR>คำถาม

    (เป็นคำถามต่อเนื่องจากเรื่องศีล 5 กับการเกิดเป็นคน - ธัมมโชติ)


    อ่านในเวบฯๆ บอกว่า... (มากข้อ) แต่เจอข้อหนึ่งที่บอกว่าหญิงที่มารดาห้าม .. ก็เลยคิด (เอาเองอีกแล้ว) ว่ามารดาคงห้ามทุกคนแน่ๆ ดังนั้นผิดหมดแน่นอน ขอโทษค่ะ ไม่ค่อยเข้าใจ

    แต่ถ้าเอาประเพณีเป็นที่ตั้ง ปัจจุบันนี้ก็ผิดหมดอยู่ดีสิคะ เพราะค่านิยม (อย่างน้อยก็ตามอรรถ) ให้มีภรรยาคนเดียว และภรรยาคนเดียวที่ว่าก็คงไม่มีใครไม่เจ็บช้ำแน่นอน ในกรณีที่สามีจะมีภรรยามากกว่าหนึ่งคน

    ข้อสามเนี่ยดูยุ่งกว่าเพื่อน ข้ออื่นๆ ชัดเจนดีหมด มีเจตนา และลงมือกระทำ ก็จบ ผิดแล้ว



    <HR>ตอบ

    สวัสดีครับ

    ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ ธัมมโชติ

    เรื่องศีลข้อ 3 นี้ ละเอียดอ่อนครับ ต้องพิจารณาตามยุคสมัย รวมถึงประเพณีในสถานที่นั้นประกอบด้วยครับ ขอแยกตอบเป็นกรณีนะครับ

    1. สำหรับโลกมนุษย์ในปัจจุบันนี้ ยกเว้นชาวมุสลิมที่มีภรรยาได้ 4 คนแล้ว ศาสนาอื่นๆ โดยทั่วไปแล้วถ้ามีภรรยามากกว่า 1 คน ก็มีโอกาสผิดศีลได้มากอยู่แล้วครับ (ขึ้นกับเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่อธิบายไปแล้วด้วย)
    2. ที่ว่าคิดว่ามารดาคงห้ามทุกคนแน่ๆ นั้น ก็น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ จะมียกเว้นบ้างก็บางคนเท่านั้น อย่างเช่น แม่บางคนขายลูกสาวตัวเองก็มีข่าวนะครับ หรืออาจจะมีแม่บางคนคิดว่าลูกสาวจะได้ดีมีสุขก็เลยยอมยกให้กับคนรวยๆ หรือคนมีอำนาจ ก็อาจจะมีนะครับ
    3. เรื่องที่ว่าภรรยาเก่าจะต้องเจ็บช้ำแน่นอนนั้น ผมเคยทราบว่ามีเรื่องเกิดขึ้นจริงๆ ดังนี้ครับ (เรื่องนี้มีภรรยา 2 คน แต่ไม่ผิดศีลข้อ 3) คือภรรยา (คนแรก) ไม่มีลูก อยากจะให้ครอบครัวมีลูกไว้สืบสกุล หรือสืบสมบัติก็ไม่ทราบนะครับ (เป็นคนฐานะดีครับ) เลยไปขอหลานสาวของตนเองมาให้สามี ซึ่งทุกฝ่ายก็ยินยอมพร้อมใจกัน แล้วก็อยู่ด้วยกันด้วยดี

      พอภรรยาคนที่ 2 มีลูก ภรรยาคนแรกก็รักลูกนั้น เหมือนเป็นลูกของตนเองจริงๆ ลูกก็เรียกทั้งแม่แท้ๆ และภรรยาคนแรกของพ่อว่าแม่ ทุกวันนี้ฝ่ายสามี และภรรยาคนแรกเสียชีวิตไปแล้วครับ เหลือแต่ภรรยาคนที่สอง และลูกๆ ผมรู้จักครอบครัวนี้ตั้งแต่ตอนที่ฝ่ายภรรยาคนแรกยังมีชีวิตอยู่ แต่สามีเสียชีวิตไปแล้ว ก็เห็นเขารักใคร่ และช่วยกันทำงานดีครับ
    เรื่องนี้ละเอียดอ่อนมากๆ ครับ ต้องพิจารณาให้ดี (ผมอธิบายไปตามหลักการนะครับ ไม่ได้เข้าข้างใคร)

    แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดก็มีคนเดียวสบายใจกว่าครับ ถ้าจะให้สบายใจที่สุดก็คือการอยู่คนเดียวนะครับ ไม่ต้องวุ่นวายใจเรื่องเหล่านี้เลย :)

    ถ้ายังไม่กระจ่าง หรือมีข้อสงสัยอะไรอีก ก็เชิญถามมาได้ใหม่นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ

    ธัมมโชติ
    7 ตุลาคม 2545
    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --></OBJECT></LAYER>
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl021.htm
    ศีลข้อ 3 และข้อ 5


    ผู้สนใจท่านหนึ่งได้เมล์มาถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้



    <HR>คำถาม

    ได้อ่านเรื่องศีลจากหลายแหล่งแล้ว ยังมีข้อสงสัยดังนี้ครับ

    1. กรณีซึ่งพบได้มากในสังคมยุคนี้ คือคน ๒ คน บรรลุนิติภาวะ ทำงานการ และแยกมาจากบิดามารดาแล้ว มามีสัมพันธ์กัน อาจเป็นแบบครั้งคราว หรืออยู่ ด้วยกันโดยญาติไม่รู้ (ถ้ารู้ก็ไม่ได้) นับว่าเป็นการผิดศีล ๓ เพราะญาติไม่ได้รับรู้ เห็นชอบ เป็นการละเมิดบุคคลที่มีญาติหวงห่วง ทำให้ผู้อื่นเจ็บช้ำน้ำใจ ใช่ไหมครับ
    2. กรณีศีลข้อสุรา บางคนอ้างว่าดื่มพอรู้รส เข้าสังคม ไม่ได้ดื่มจนเมามาย ขาดสติ จึงไม่นับว่าผิดศีล ใช่หรือครับ
    และกรณีการสูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหมาก ก็จัดเป็นกิจที่สงฆ์ไม่ควรกระทำ ใช่ไหมครับ

    ขอบคุณมากครับ



    <HR>ตอบ

    สวัสดีครับ

    ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ ธัมมโชติ

    ขอตอบคำถามดังนี้ครับ

    1. ใช่แล้วครับ เพราะการบรรลุนิติภาวะแล้ว ก็คือการเป็นผู้ใหญ่แล้วตามกฎหมาย แต่ในเรื่องของความสัมพันธ์ทางจิตใจระหว่างพ่อแม่ลูกนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ต้องแยกกันพิจารณา
    2. เรื่องการดื่มสุรานั้น ผู้ที่ดื่มจะรู้ดีที่สุดว่าเขามีเจตนาอย่างไร ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ และไม่ขาดสติก็มีโทษน้อยหน่อย แต่ก็ไม่ใช่จะไม่มีโทษเสียเลย เพราะการกระทำที่เริ่มต้นเพียงเล็กน้อยนั้น นานเข้าก็ย่อมจะลุกลามใหญ่โตได้ คือดื่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตนั่นเอง สู้ไม่เริ่มเสียเลยดีกว่า

      และการอ้างเรื่องสังคมนั้น ถ้าเราพูดไปอย่างเด็ดขาดเลยว่าไม่ดื่ม ก็ไม่เห็นจะทำให้เข้าสังคมไม่ได้ตรงไหน และถ้าเรายืนยันชัดเจนก็จะไม่มีใครมารบเร้าเราเรื่องนี้อีก แต่ถ้ายังมีคนอย่างนั้นจริงๆ ก็คงต้องพิจารณาแล้วล่ะครับ ว่าเราควรจะคบคนที่ชักจูงเราไปในทางที่ผิดศีลเช่นนั้นหรือเปล่า
    การสูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหมากนั้นเป็นการผิดศีลข้อ 5 อยู่แล้ว เพราะเป็นของมึนเมา คงไม่ต้องพูดถึงศีล 227 นะครับ ถ้าภิกษุยังทำเป็นตัวอย่างอย่างนี้ แล้วสังคมจะเป็นยังไงล่ะครับ

    ถ้ายังไม่กระจ่าง หรือมีข้อสงสัยอะไรอีก ก็เชิญถามมาได้ใหม่นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ

    ธัมมโชติ
    12 ตุลาคม 2545
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl022.htm
    ขายอุปกรณ์ฆ่าสัตว์


    ผู้สนใจท่านหนึ่งได้ถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

    <HR>คำถาม

    ในศีลข้อห้ามฆ่าสัตว์ ถึงเราจะไม่ได้เป็นคนฆ่าโดยตรง แต่เราขายอุปกรณ์ที่นำไปฆ่า ถือว่าผิดและบาปไหมค่ะ

    <HR>ตอบ

    สวัสดีครับ

    ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ ธัมมโชติ

    ในศีลข้อปาณาติบาตนั้นเน้นที่เจตนา และความพยายามในการฆ่า ซึ่งทั้งเจตนาและความพยายามนี้ มีความหมายรวมทั้งกรณีฆ่าด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นฆ่าด้วยครับ คือพยายามสื่อความให้คนอื่นฆ่าก็ผิดศีลข้อนี้เช่นเดียวกัน

    สำหรับกรณีที่ถามมานั้น ขอแยกตอบเป็นกรณีดังนี้ครับ

    1. ถ้าขายอุปกรณ์สำหรับฆ่าสัตว์ พร้อมด้วยความรู้สึก หรือเจตนาว่าต้องการให้มีการฆ่าสัตว์เกิดขึ้น หรือรู้สึกยินดีทำนองว่าสัตว์จะถูกฆ่าเพราะเครื่องมือนั้น อย่างนี้ก็ผิดศีลข้อนี้เต็มๆ ครับ และเป็นมิจฉาอาชีวะด้วยครับ
    2. ถ้าขายโดยไม่มีความรู้สึก หรือเจตนาอย่างในข้อ 1. แต่ขายด้วยความรู้สึกเพียงว่าเป็นการหาเลี้ยงชีพ ก็ไม่ผิดศีลข้อปาณาติบาตโดยตรง แต่จัดได้ว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ (ถึงไม่ผิดทางโลก แต่ก็ผิดทางธรรมครับ)

      มิจฉาอาชีวะ มีหลายอย่าง เช่น ขายสุรา ขายอาวุธ ขายยาพิษ ขายมนุษย์ เลี้ยงสัตว์เพื่อฆ่าเอง หรือเพื่อให้เขาเอาไปฆ่า กรณีนี้ก็เป็นการขายอาวุธครับ
    ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ผิดทางธรรม และเป็นบาปกรรมทั้ง 2 กรณีครับ แต่กรณีที่ 1 หนักกว่ากรณีที่ 2

    ถ้ายังไม่กระจ่าง หรือมีข้อสงสัยอะไรอีก ก็เชิญถามมาได้ใหม่นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ

    ธัมมโชติ
    21 กุมภาพันธ์ 2546

    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl023.htm
    ฉีดยาเกินขนาดจนคนไข้ตาย


    ผู้สนใจท่านหนึ่งได้เมล์มาถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

    <HR>คำถาม

    สวัสดีครับ

    มีปัญหารบกวนเรียนถาม ดังนี้ครับ

    เพื่อนซึ่งเป็นแพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ปรึกษาว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้รับความทุกข์ทรมานเจ็บปวดเป็นที่สุด จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดมอร์ฟีนฉีดเป็นจำนวนมาก และบ่อยๆ (ซึ่งยานี้มีผลกดการหายใจ) เมื่อให้ไปแล้วแต่ผู้ป่วยยังทรมานอยู่ ร้องครวญคราง ก็จำเป็นต้องให้ต่อไปอีกเพื่อให้ผู้ป่วยสงบ มีผลทำให้เสียชีวิตจากยาตามมา เช่นนี้ จะถือว่าเป็นบาปหรือไม่

    โดยส่วนตัวได้แสดงความเห็นว่า ดูเจตนาเป็นหลัก การให้ยานั้น ให้เพื่อรักษา เพื่อลดความเจ็บปวดทรมาน ไม่ได้ตั้งใจให้เพื่อให้หยุดหายใจ แต่เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาเป็นจำนวนมากเพื่อการรักษา แล้วเกิดผลข้างเคียง และเราไม่กู้ชีวิตผู้ป่วย (หมายถึงการใส่ท่อช่วยหายใจ ให้ยาช่วยต่อชีวิต ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ไม่ต้องการ) จนผู้ป่วยตาย ไม่คิดว่าเป็นบาป

    เรียนถามความเห็นจากคุณธัมมโชติด้วยครับ

    <HR>ตอบ

    สวัสดีครับ

    ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ ธัมมโชติ

    ขอแยกเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้ครับ

    1. จะเห็นได้อย่างชัดเจนนะครับว่า ตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงการให้ยาครั้งสุดท้ายนั้น ทำไปด้วยเจตนาที่ต้องการช่วยเหลือคนไข้ตลอด ไม่ได้มีจิตคิดจะให้คนไข้ตายเลย ดังนั้น จิตจึงเป็นกุศลคือเป็นบุญนะครับ ไม่ได้เป็นบาปเลย และเมื่อไม่มีเจตนาจะให้ตายจึงไม่เป็นการผิดศีลอีกเช่นกันนะครับ
    2. เมื่อทราบว่าผู้ป่วยนั้นตายแล้ว ขอแยกเป็นกรณี ดังนี้ครับ

      • ตรงจุดนี้ ถ้าวางใจให้เป็นอุเบกขาได้ (เช่น โดยการพิจารณาเห็นตามข้อ 1.) ก็ไม่เป็นบุญหรือบาปครับ
      • ถ้าใช้พิจารณาให้เห็นตามความจริงว่า ชีวิตมีความตายเป็นธรรมดา คนโดยทั่วไปไม่มีใครรู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไหร่ เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ประมาท อย่างนี้ก็เป็นบุญเป็นกุศลครับ (เป็นบุญตรงที่พิจารณา และไม่ประมาทนะครับ ไม่ใช่เป็นบุญที่คนไข้ตาย)
      • แต่ถ้ารู้สึกเสียใจ เป็นทุกข์ ซึ่งจัดเป็นโทสะอ่อนๆ หรืออาจถึงขั้นโกรธตัวเอง อย่างนี้จิตเป็นอกุศล เป็นบาป (ทำจิตให้เศร้าหมอง) ครับ ถึงแม้จะเป็นบาปขั้นเล็กน้อยก็ไม่ควรจะให้เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็นนะครับ

    3. ส่วนการที่ไม่กู้ชีวิตผู้ป่วยนั้น ก็ต้องดูที่เจตนาประกอบด้วยนะครับ

      • คือถ้าคิดว่ายังไงก็กู้ไม่สำเร็จอยู่แล้ว หรือทำไม่ทันเพราะข้อติดขัดทางเทคนิค หรือทางฝ่ายผู้ป่วยเองไม่ต้องการ อย่างนี้ก็ไม่เป็นบาปครับ
      • แต่ถ้าไม่กู้เพราะความตระหนี่ คือกลัวว่าจะสิ้นเปลือง หรือเพราะคิดว่าถ้าทำอย่างนั้นจะเป็นการฟ้องว่าให้ยาผิดพลาด กลัวตนเองจะเดือดร้อน อย่างนี้จิตก็เป็นอกุศล เป็นบาปนะครับ แต่ไม่ถึงขั้นผิดศีล และไม่ล่วงกรรมบถ (อกุศลกรรมบถ 10 - ดูเรื่องอกุศลกรรมบถ 10 ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ)
      • แต่ถ้าไม่ช่วยเพราะมีความไม่พอใจผู้ป่วยนั้นอยู่ เลยปล่อยให้ตาย อย่างนี้ก็ล่วงอกุศลกรรมบถ ข้อพยาบาท แต่ไม่ผิดศีลเพราะไม่ได้มีเจตนาฆ่า เพียงแต่ไม่ช่วยเหลือเท่านั้นครับ
    ถ้ายังไม่กระจ่าง หรือมีข้อสงสัยอะไรอีก ก็เชิญถามมาได้ใหม่นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ

    ธัมมโชติ
    28 กุมภาพันธ์ 2546

    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/final.htm
    บทส่งท้าย


    ด้วยผลแห่งความทุ่มเทมาเป็นเวลา 2 ปีกว่า ในการสร้างสรรค์บทความธรรมะเกือบ 200 บทความ ซึ่งครอบคลุมความรู้ในการปฏิบัติธรรม ทั้งในเรื่องของทาน ศีล สมาธิ และวิปัสสนา ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงขั้นสูง รวมทั้งความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนาในแง่มุมต่างๆ ที่บุคคลทั่วไปควรจะทราบอีกเป็นจำนวนมาก

    บัดนี้ ผู้ดำเนินการคิดว่าเว็บไซต์ธัมมโชติแห่งนี้ มีความสมบูรณ์ในเนื้อหา ตามกำลังความรู้ ความสามารถ เท่าที่ผู้ดำเนินการจะสามารถกระทำได้แล้ว

    ดังนั้น จึงสมควรแก่เวลาแล้ว ที่ผู้ดำเนินการจะได้ปลีกตัวออกแสวงหาความสงบ และความเจริญก้าวหน้าในธรรมในร่มกาสาวพัสตร์ต่อไป ถ้าไม่มีอะไรติดขัด ผู้ดำเนินการก็จะออกบวชในเวลาอันใกล้นี้

    ขอฝากเว็บไซต์แห่งนี้เอาไว้ในโลกอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจในธรรม ในการค้นคว้าหาความรู้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงแก่นแท้แห่งพระพุทธศาสนาโดยถ้วนทั่วกัน

    ผู้สนใจท่านใดที่เห็นคุณค่าของเว็บไซต์แห่งนี้ และมีความประสงค์จะนำข้อมูลไปเผยแพร่ หรือประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบใดๆ ก็ตาม รวมถึงการทำเป็น Mirror Site เพื่อยืดอายุของบทความธรรมะเหล่านี้ ในโลกอินเทอร์เน็ตให้ยืนนาน (เพราะไม่ทราบว่าทาง Geocities จะเก็บเว็บไซต์ธัมมโชตินี้ เอาไว้อีกนานเท่าไหร่) อันจะเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกต่อไป ผู้ดำเนินการยินยอมให้กระทำได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตใดๆ ทั้งสิ้น โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    1. จะต้องไม่ขัดต่อคุณธรรม และจริยธรรมอันดี รวมทั้งกฎหมายบ้านเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
    2. การเผยแพร่ หรือประชาสัมพันธ์นั้น จะเป็นการให้บริการฟรี หรือคิดค่าใช้จ่าย (ในราคาอันสมควร) ก็ได้
    3. ลิขสิทธิ์ทั้งหมดของบทความ รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ในเว็บไซต์แห่งนี้ ผู้ดำเนินการขอมอบให้เป็นของพระพุทธศาสนา ผู้ดำเนินการไม่ขอมอบลิขสิทธิ์ให้กับผู้ใดผู้หนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่อนุญาตให้ผู้สนใจทุกท่านนำบทความ รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ในเว็บไซต์แห่งนี้ ไปเผยแพร่ หรือประชาสัมพันธ์ได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้นี้
    4. กรุณาอย่าย่อ หรือตัดข้อความในบทความต่างๆ ออกไป เพราะบางเรื่องผู้ดำเนินการอธิบายอย่างละเอียดจนอาจดูเยิ่นเย้อ แต่ที่ทำอย่างนั้นเพื่อป้องกันการเข้าใจคลาดเคลื่อนของผู้อ่าน การตัดข้อความบางตอนออกไปอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
    5. ถ้าจะมีการแทรกข้อความอะไรลงไปในบทความ กรุณาใส่ในวงเล็บ และลงชื่อกำกับเอาไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านทราบที่มาที่ชัดเจน
    บุญกุศลอันใดที่บังเกิดขึ้นแล้ว และจักบังเกิดขึ้น จากการสร้างสรรค์เว็บไซต์ธัมมโชตินี้ ขอผลบุญนั้นจงดลบันดาลให้ผู้ใฝ่ธรรมทุกๆ ท่าน มีความเจริญก้าวหน้าในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป และขอให้หลักธรรมของพระพุทธศาสนาแพร่หลาย และเจริญรุ่งเรืองอยู่คู่โลก เพื่อสร้างความสงบสุขให้แก่โลก ตราบนานเท่านานเทอญ.
    ธัมมโชติ
    5 มีนาคม 2546
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2007
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Sila/sl009.htm

    รายละเอียดของศีล 5 (4)


    การผิดศีลข้อที่ 4 มุสาวาท (การพูดปด พูดเท็จ โกหก หลอกลวง)



    การกระทำที่ถือว่าผิดศีลข้อนี้อย่างสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้
    1. [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]เรื่องราวนั้นไม่เป็นความจริง[/FONT]
    2. [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]มีจิตคิดจะมุสา คือมีเจตนาที่จะโกหก หลอกลวง[/FONT]
    3. [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]พยายามด้วยกาย หรือด้วยวาจา หรือวิธีการใดๆ เพื่อจะให้ผู้อื่นเชื่อตามเรื่องราวนั้น คือดำเนินการโกหก หลอกลวงนั่นเอง[/FONT]
    4. [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ผู้อื่นเชื่อตามเรื่องราวนั้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ข้อแตกต่างระหว่างมุสาวาท ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]มุสาวาท คือการพูด หรือการกระทำใดๆ โดยมีเจตนาให้ผู้อื่นเชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง โดยหวังจะให้เขาได้รับความเดือดร้อน เสียหาย หรือเสียประโยชน์อันพึงมีพึงได้ จากความเชื่อนั้น[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) คือการพูด หรือการกระทำใดๆ ในสิ่งที่เป็นความจริง หรือไม่เป็นความจริงก็ตาม โดยมีเจตนาจะยุยงให้เขาแตกแยกกัน ไม่สามัคคีกัน[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) คือการพูด หรือการกระทำใดๆ ในสิ่งที่เป็นความจริง หรือไม่เป็นความจริงก็ตาม ด้วยคำที่สุภาพ หรือไม่สุภาพก็ตาม โดยมีเจตนาจะให้เขาเจ็บใจ ไม่สบายใจ หรือร้อนใจ (ไม่ได้มีเจตนาให้เขาเชื่อตามนั้นเป็นหลักใหญ่) เช่น การด่าว่าเขาเป็นสัตว์บางชนิด เป็นต้น โดยรู้อยู่แล้วว่าเขาจะไม่เชื่อ แต่จะต้องเจ็บใจ หรือการพูดถึงปมด้อยของเขาที่เป็นจริง การประชดประชันด้วยคำที่สุภาพ ฯลฯ[/FONT]
    • [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) คือการพูด หรือการกระทำใดๆ ในสิ่งที่เป็นความจริง หรือไม่เป็นความจริงก็ตาม โดยเจตนาเพียงเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ไร้สาระ ไม่มีใครได้ประโยชน์จากการพูด หรือการกระทำนั้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]>>>>>[/FONT][FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC] สำหรับมุสาวาทนั้น เป็นทั้งการผิดศีล 5 และเป็นอกุศลกรรม คือเป็นวจีทุจริต ในอกุศลกรรมบถ 10[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]>>>>> ส่วนปิสุณวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะ นั้นไม่ถือเป็นการผิดศีล 5 แต่เป็นอกุศลกรรม คือเป็นวจีทุจริต ในอกุศลกรรมบถ 10[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ผู้รวบรวม[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ธัมมโชติ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]24 ตุลาคม 2544[/FONT]
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder id=post758130 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">15-10-2007, 10:07 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#10842 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>sithiphong<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_758130", true); </SCRIPT>
    สมาชิก ยอดนิยม
    สมาชิกยอดฮิต



    วันที่สมัคร: Dec 2005
    ข้อความ: 16,062 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 19,221 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 90,417 ครั้ง ใน 12,294 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 10677 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]




    </TD><TD class=alt1 id=td_post_758130 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->ช่วงนี้ งานผมเองค่อนข้างเยอะมาก ทั้งงานหลวงและงานราษฎร์ ผมขอลาพักร้อน พักงานบุญไว้ก่อน

    หลังปีใหม่(2551)นี้ ผมจะมาแจ้งให้ทราบกันอีกครั้งว่า ผมจะมอบพระพิมพ์ไหนให้กับท่านที่ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งอีกนะครับ


    ขอขอบคุณเพื่อนๆ น้องๆ ทุกๆท่านที่ให้กำลังใจนะครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder id=post759237 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">เมื่อวานนี้, 11:09 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#10855 </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รายนามท่านผู้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ที่ผมยังไม่ได้ส่งพระพิมพ์ให้ ผมรบกวนตรวจสอบให้ผมอีกครั้งนะครับ ตามรายละเอียดนี้ ผมเองพิมพ์ไว้หลายแผ่น ก็เลยสับสนว่าส่งให้แล้วหรือยัง รบกวนด้วยนะครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.คุณPichet-m <O:p</O:p
    1.1ชุดหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน 1 ชุด ( 5องค์ )
    <O:p</O:p
    2.คุณdrmetta<O:p</O:p
    2.1ชุดพระสมเด็จเนื้อผงยาวาสนา 1 ชุด ( 8 องค์ )<O:p</O:p
    2.2พระพิมพ์ไตรโลกอุดร เนื้อกรมท่า 2 องค์<O:p</O:p
    2.3พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาว 4 องค์<O:p</O:p
    2.4พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาวแตกลายงา 4 องค์<O:p</O:p
    2.5ชุดไกเซอร์ 1 ชุด ( 4 องค์)
    <O:p</O:p
    3.คุณtg22070<O:p</O:p
    3.1พระพิมพ์ไตรโลกอุดร เนื้อกรมท่า 1 องค์
    <O:p</O:p
    4.คุณเทพารักษ์<O:p</O:p
    4.1ชุดไกเซอร์ 1 ชุด ( 4 องค์ )<O:p</O:p
    4.2ชุดหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน 1 ชุด ( 5 องค์)<O:p</O:p
    4.3ชุดสมเด็จวังหน้า (เนื้อสีเดียว) 1 ชุด (6 องค์ 6 สี)<O:p</O:p
    4.4ชุดพระสมเด็จเนื้อผงยาวาสนา 1 ชุด ( 8 องค์ )
    4.5พระพุทธประวัติ เนื้อขาว 1 องค์
    4.6พระพุทธประวัติ เนื้อขาวแตกลายงา 1 องค์
    <O:p</O:p
    5.คุณpunnarphut<O:p</O:p
    5.1พระจิตรลดา (เนื้อกรมท่า องค์ซ้าย) 1 องค์<O:p</O:p
    5.2พระสมเด็จเนื้อขาวลงชาด(สีแดง) ไม่ใช่เนื้อจูซาอั้ง 1 องค์<O:p</O:p
    5.3พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาวแตกลายงา 1 องค์
    <O:p</O:p
    6.คุณVodka109<O:p</O:p
    6.1พระสมเด็จ เนื้อปัญจสิริ 1 องค์<O:p</O:p
    6.2พระพิมพ์ไตรโลกอุดร (เนื้อกรมท่า) 1 องค์
    <O:p</O:p
    7.คุณdragonlord<O:p</O:p
    7.1พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาว 1 องค์<O:p</O:p
    7.2พระพิมพ์ไตรโลกอุดร (เนื้อกรมท่า) 1 องค์
    <O:p</O:p
    8.คุณteerachaik <O:p</O:p
    8.1พระพิมพ์ท่านท้าวมหาพรหมชินะปัญจะระ 1 องค์ (สีน้ำเงิน)
    <O:p</O:p
    9.คุณactive<O:p</O:p
    9.1ชุดสมเด็จวังหน้า (เนื้อสีเดียว) 1 ชุด (6 องค์ 6 สี)<O:p</O:p
    9.2พระนาคปรก 2 องค์
    <O:p</O:p
    10.คุณพุทธันดร<O:p</O:p
    10.1พระนาคปรก 2 องค์
    <O:p</O:p
    11คุณThanyaka<O:p</O:p
    11.1พระพิมพ์ท่านท้าวมหาพรหมชินะปัญจะระ 1 องค์ (สีน้ำเงิน)<O:p</O:p
    11.2พระนาคปรก 1 องค์
    <O:p</O:p
    12คุณตั้งจิต <O:p</O:p
    13.คุณaries2947<O:p</O:p
    14.คุณchaipat

    ส่วนถ้ามีท่านอื่นที่ผมตกหล่นแจ้งให้ทราบอีกครั้งนะครับ

    โมทนาสาธุครับ<!-- / message --><!-- sig --><!-- / message --><!-- sig --><!-- / message --><!-- sig --><!-- / message --><!-- sig -->
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm


    ประวัติพระพากุลเถระ
    เอตทัคคมหาสาวกผู้มีอาพาธน้อย

    การที่ท่านพระพากุลเถร ท่านนี้ได้รับการสถาปนาจากพระบรมศาสดาให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุสาวกทั้งหลายผู้มีอาพาธน้อย นั้นก็เนื่องด้วยเหตุ ๒ ประการคือ โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ คือพระมหาสาวกองค์นั้น ได้แสดงความสามารถออกมาให้ปรากฏในเรื่องการเป็นผู้มีอาพาธน้อยได้อย่างชัดแจ้ง และอีกเหตุหนึ่งก็คือเนื่องด้วยท่านได้ตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้นตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

    บุรพกรรมในสมัยพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า

    นับย้อนไป อสงไขยกับอีกแสนกัป นับแต่กัปนี้ ในกาลแห่งพระทศพล พระนามว่าอโนมทัสสี พระเถระนี้ถือปฏิสนธิในสกุลพราหมณ์ เมื่อเติบใหญ่แล้ว ก็เล่าเรียนพระเวท แต่เมื่อท่านมาพิจารณาดูก็มองไม่เห็นสาระในคัมภีร์ไตรเพท จึงคิดว่าน่าจะแสวงหาทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อไปภายภาคหน้า จึงได้ออกบวชเป็นฤษี บำเพ็ญเพียรจนได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ จากนั้นท่านก็เสวยสุขอยู่ในฌาน
    สมัยนั้น เป็นเวลาที่พระอโนมทัสสีโพธิสัตว์ ได้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงเสด็จจาริกไปพร้อมหมู่พระอริยสาวก ท่านเมื่อได้ทราบข่าวว่า เกิดพระรัตนตรัยขึ้นในโลกแล้ว จึงไปเข้าเฝ้าพระศาสดา ครั้นได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาค ก็เกิดความเลื่อมใสตั้งอยู่ในสรณะ แต่ไม่ได้ออกบวช ยังคงอยู่ในฐานะแห่งดาบสอยู่ ท่านไปเฝ้าพระศาสดาและฟังธรรมเป็นครั้งคราว
    ต่อมา สมัยหนึ่ง พระตถาคตทรงพระประชวร เกิดลมในพระอุทร ท่านดาบสนั้นเมื่อเดินทางมาเพื่อจะเฝ้าพระศาสดาตามที่เคยทำ ครั้นทราบว่าพระศาสดาประชวร จึงถามพระภิกษุว่า ท่านเจ้าข้า พระศาสดาประชวรเป็นโรคอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่าเป็นโรคลมในพระอุทร ท่านจึงคิดว่า นี้เป็นโอกาสของเราที่จะได้ทำบุญ จึงเดินทางไปยังเชิงเขา รวบรวมยาสมุนไพรชนิดต่าง ๆ แล้วประกอบเป็นยา นำไปถวายพระเถระผู้อุปัฏฐากพระศาสดา กล่าวว่า ท่านโปรดน้อมถวายยานี้แต่พระศาสดา ครั้นเมื่อพระศาสดาได้เสวยยาที่ท่านนำมาถวายนั้น โรคลมในพระอุทรก็สงบ ต่อมาเมื่อดาบสนั้นไปเฝ้าในเวลาที่พระศาสดาทรงพระสำราญแล้ว ท่านก็ทูลว่า ความผาสุกที่เกิดแก่พระตถาคต เพราะยาของข้าพระองค์นี้อันใด ด้วยผลแห่งการถวายยาของข้าพระองค์นั้น ขอความเจ็บไข้ทางร่างกายแม้แต่เพียงเท่าการถอนผม ก็จงอย่ามีในภพที่ข้าพระองค์เกิดแล้ว
    นี้เป็นกัลยาณกรรมในภพนั้นของท่าน และเมื่อท่านจุติจากภพนั้น ก็บังเกิดในพรหมโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดามนุษย์ สิ้นอสงไขยหนึ่ง

    บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านเกิดเป็นบุตรเศรษฐี ในพระนครหงสาวดี วันหนึ่งท่านได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ได้ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายหมู่พุทธบริษัท ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุผู้มีอาพาธน้อย ท่านก็ปรารถนาจะได้อยู่ในตำแหน่งเช่นนั้นบ้างในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในอนาคต จึงได้นิมนต์พระตถาคตพร้อมด้วยพระสงฆ์ให้ฉันตลอด ๗ วัน แล้วแสดงความปรารถนาในตำแหน่งนั้น
    ท่านกระทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์

    บุรพกรรมในสมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้า

    ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ในก่อนกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีจะทรงอุบัติ ท่านมาเกิดในครอบครัวพราหมณ์ ณ กรุงพันธุมวดี บวชเป็นฤๅษีโดยนัยเดียวกับเมื่อครั้งในกาลสมัยพระอโนมทัสสีพุทธเจ้านั่นแหละ เป็นผู้ได้ฌาน อาศัยอยู่เชิงเขา พระวิปัสสีโพธิสัตว์บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ มี ภิกษุหกล้านแปดแสนเป็นบริวาร ทรงอาศัยกรุงพันธุมวดี ทรงทำการสงเคราะห์พระมหาราชเจ้าผู้เป็นพุทธบิดาแล้วประทับอยู่ ณ มิคทายวัน อันเกษม
    ครั้งนั้น ดาบสนี้ทราบว่าพระทศพลอุบัติขึ้นในโลก จึงมาฟังธรรมกถาของพระศาสดา แล้วตั้งอยู่ในสรณะ แต่ก็ไม่อาจละเพศดาบสของตนได้ แต่ก็มาอุปัฏฐากพระศาสดาเป็นครั้งคราว สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เว้นพระศาสดาและพระอัครสาวก เกิดโรคที่ศีรษะ เพราะถูกลมของ ต้นไม้มีพิษที่ออกดอกสพรั่งในป่าหิมพานต์อยู่ในเวลานั้น ท่านดาบสที่มาเฝ้าพระศาสดา เห็นเหล่าภิกษุนั่งคลุมศีรษะจึงถามว่า ท่านเจ้าข้า ภิกษุสงฆ์เป็นอะไร ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ผู้มีอายุ เหล่าภิกษุเป็นโรคดอกไม้พิษ ดาบสคิดว่านี้เป็นเวลาที่จะทำการขวนขวายทางกายแก่ภิกษุสงฆ์ ให้บุญบังเกิดแก่เรา ท่านจึงไปเก็บยาสมุนไพรชนิดต่าง ๆ แล้วเอาประกอบเป็นยาถวาย เมื่อได้ฉันยาของดาบสนั้นโรคของภิกษุทุกรูปก็สงบไปทันที ดาบสนั้นดำรงอยู่ชั่วอายุ ก็บังเกิดในพรหมโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ เก้าสิบเอ็ดกัป

    บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

    ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ท่านพระเถระมาบังเกิดในกรุงพาราณสี เป็นฆราวาสผู้ครองเรือนอยู่ วันหนึ่งเขาเห็นว่า เรือนที่ท่านอาศัยอยู่ชำรุดทรุดโทรมลงไปมากแล้ว ควรที่จะต้องเดินทางไปยังชายแดนเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์มาซ่อมแซมเรือน จึงออกเดินทางไปกับพวกช่างไม้ ในระหว่างทางได้พบวัดใหญ่ซึ่งเก่าคร่ำคร่าและปรักหักพังลงไปเพราะขาดการบำรุงรักษา ท่านก็คิดว่าการซ่อมแซมเรือนของเราเห็นควรรอไว้ก่อน ท่านได้ให้พวกช่างไม้เหล่านั้นนำเอาวัสดุอุปกรณ์ที่จะซ่อมเรือนเหล่านั้นมาสร้างโรงอุโบสถในวัดนั้น ให้สร้างโรงฉัน โรงไฟ (ที่จงกรม) เรือนไฟ กัปปิยกุฏิ (เรือนพยาบาล) ที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน วัจจกุฏิ (ส้วม) จัดตั้งยาใช้และฉันสำหรับภิกษุสงฆ์ไว้ทุกอย่าง.

    กำเนิดเป็นพักกุลในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในภัทรกัปนี้ ท่านจุติจากเทวโลก เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี แห่งนครโกสัมพี ในสมัยก่อนเวลาที่พระพุทธเจ้าของพวกเราจะทรงอุบัติ ตั้งแต่วันที่ท่านถือปฏิสนธิ สกุลเศรษฐีนั้นก็ประสบลาภผลอันเลิศมาโดยตลอด ครั้งนั้น มารดาของท่านคิดว่า ลูกของเราคนนี้มีบุญ กระทำบุญไว้แต่ปางก่อน เป็นผู้ไม่มีโรค อายุยืน ยังดำรงอยู่ตลอดกาลเท่าใด ก็จักเป็นผู้ให้สมบัติแก่เราตลอดกาลเพียงนั้น ในสมัยนั้นมีธรรมเนียมที่ถือกันว่า เด็กทั้งหลายที่อาบน้ำในแม่น้ำยมุนา จะเป็นผู้ไม่มีโรค ท่านมารดาจึงส่งทารกนั้นไปอาบน้ำ เมื่อพวกพี่เลี้ยงพาท่านไปดำเกล้า แล้วลงเล่นในแม่น้ำ เมื่อพวกพี่เลี้ยงกำลังให้ทารกเล่นดำผุด ดำว่ายอยู่ ปลาตัวหนึ่งเห็นทารกสำคัญว่าเป็นอาหาร จึงคาบเด็กไป พวกพี่เลี้ยงต่างก็ทิ้งเด็กหนีไป
    ฝ่ายปลานั้นเมื่อกลืนเด็กลงไปแล้วนั้น เป็นธรรมดาของผู้ที่จะมาเกิดเป็นภพสุดท้ายย่อมไม่มีอันตรายถึงชีวิตก่อนที่จะบรรลุพระอรหัตผล ดังนั้นทารกนั้นไม่เดือดร้อนเลย ท่านได้เป็นเหมือนเข้าไปสู่ห้องนอนแล้วนอนหลับไป ด้วยเดชแห่งทารก ปลามีสภาพเหมือนกลืนภาชนะที่ร้อนลงไป ถูกความร้อนแผดเผาอยู่ มีกำลังว่ายไปได้เพียง ๓๐ โยชน์แล้วเข้าไปติดข่ายของชาวประมงเมืองพาราณสี ปกติปลาใหญ่ที่ติดข่ายนั้นจะยังไม่ตายทันที ต่อเมื่อถูกนำไปถึงจะตาย แต่ด้วยเดชแห่งทารก ปลาตัวนี้พอเขานำออกจากข่ายก็ตายทันที และธรรมดาชาวประมง ได้ปลาตัวใหญ่ ๆ แล้วย่อมผ่าออกแบ่งขาย แต่ก็ด้วยอานุภาพของเด็ก ชาวประมงยังไม่ผ่าปลานั้น ใช้คานหามไปทั้งตัว ร้องประกาศไปทั่วเมืองว่า จะขายราคาหนึ่งพันกหาปณะ แต่ก็ไม่มีใครซื้อ.
    ในเมืองพาราณสีนั้นมีตระกูลเศรษฐี มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ แต่ไม่มีบุตรผู้สืบสกุลอยู่ตระกูลหนึ่ง ครั้นเมื่อชาวประมงหาบปลามาถึงประตูเรือนของเศรษฐีนั้น ภริยาเศรษฐีเห็นปลานั้นเข้าก็ชอบใจ จึงถามว่า จะขายเท่าไร ชาวประมงแทนที่จะตอบตามราคาที่ตั้งใจไว้ กลับตอบว่าขายหนึ่งกหาปณะ นางจึงให้เงินหนึ่งกหาปณะแล้วซื้อไว้ ธรรมดาภริยาท่านเศรษฐีนั้น ปกติจะไม่ชอบทำปลา แต่ในวันนั้น ก็วางปลาไว้บนเขียง แล้วลงมือผ่าเองทีเดียว และก็ธรรมดาปลาต้องผ่าที่ท้อง แต่นางกลับผ่าข้างหลัง เห็นทารกผิวดังทองในท้องปลา ก็ยินดีตะโกนว่า เราได้บุตรในท้องปลา แล้วอุ้มเด็กไปให้เศรษฐีผู้เป็นสามีดู ท่านเศรษฐีก็ให้คนตีกลองประกาศข่าวไปทั่วพระนครในทันทีทันใดนั้นเอง แล้วอุ้มทารกตรงไปยังราชสำนัก กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้าได้ทารกในท้องปลา ข้าพระพุทธเจ้า จะทำประการใด พระราชาตรัสว่า ทารกที่อยู่ในท้องปลาได้โดยปลอดภัยได้นี้มีบุญ ท่านจงเลี้ยงไว้เถิด.
    ข่าวนั้นได้กระจายไปถึงนครโกสัมพีว่า ในพระนครพาราณสี ตระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่งได้ทารกในท้องปลา มารดาเดิมของทารกนั้นจึงเดินทางไปในเมืองนั้น ได้เห็นเขากำลังแต่งตัวเด็กแล้วให้เล่นอยู่ จึงตรงเข้าอุ้มด้วยคิดว่า เด็กคนนี้น่ารักจริงหนอ แล้วบอกเล่าความเป็นไปต่าง ๆ.
    ภริยาเศรษฐีเมืองพาราณสีพูดว่า เด็กคนนี้เป็นลูกเรา.
    มารดาเดิมของทารกนั้น ถามว่า ท่านได้มาจากไหน.
    ภริยาเศรษฐีเมืองพาราณสีพูดว่า เราได้ในท้องปลา
    มารดาเดิมของทารกนั้นจึงพูดว่า เด็กคนนี้ไม่ใช่ลูกของท่าน เป็นลูกของเรา.
    ภริยาเศรษฐีเมืองพาราณสี ถามว่า ท่านได้ที่ไหน.
    มารดาเดิมของทารกนั้นนั้น เล่าว่า เราอุ้มท้องเด็กคนนี้มาถึง ๑๐ เดือน คราวนั้นปลาได้กลืนเด็กที่พวกพี่เลี้ยงกำลังให้เล่นน้ำ.
    ภริยาเศรษฐีเมืองพาราณสี จึงแย้มว่า ลูกของท่านชะรอยปลาอื่นจะกลืนไป แต่เด็กคนนี้ข้าพเจ้าได้ในท้องปลา
    ทั้งสองฝ่ายจึงพากันไปยังราชสำนัก.
    พระราชาตรัสว่า หญิงผู้เป็นมาดาเดิมนี้ใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะปฏิเสธได้ว่าไม่ใช่มารดา เพราะตั้งท้องมาถึง ๑๐ เดือน แม้หญิงคนนี้ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่ใช่มารดา เพราะได้เด็กในท้องปลาส่วนพวกชาวประมงที่จับปลาได้ ก็ได้ทำการซื้อขายเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงหมดสิทธิ เพราะฉะนั้น ขอทั้งสองฝ่ายจงเลี้ยงดูเด็กร่วมกันเถิด
    นับแต่นั้นมา ทั้งสองตระกูล ก็เลี้ยงดูเด็กร่วมกัน สกุลทั้งสองก็ประสบลาภยศอันเลิศอย่างยิ่ง จึงพากันขนานนามท่านว่า พากุลกุมาร ซึ่งหมายความว่า เติบโตขึ้นเพราะสองสกุลเลี้ยงดู (พา = สอง, กุละ = ตระกูล) เมื่อเด็กเจริญวัยแล้ว ตระกูลทั้งสองก็ได้สร้างปราสาทให้เขา ไว้ในพระนครทั้งสองแล้วให้บำรุงบำเรอด้วยพวกหญิงฟ้อนรำ เขาจะอยู่นครละ ๔ เดือน เมื่อเขาอยู่ในนครหนึ่งครบ ๔ เดือนแล้ว ทั้งสองตระกูลให้ช่างสร้างมณฑปไว้ในเรือที่ต่อขนานกัน แล้วให้เขาอยู่ในเรือนั้น พร้อมด้วยหญิงฟ้อนรำทั้งหลาย.เขาเสวยสมบัติเพลิน เดินทางไปอีกเมืองหนึ่ง หญิงฟ้อนรำชาวพระนครได้ไปส่งเขาถึงครึ่งทาง หญิงเหล่านั้นต้อนรับห้อมล้อมแล้วนำเขาไปยังปราสาทของตน หญิงฟ้อนรำชุดเก่าก็พากันกลับเมืองของตนเหมือนกัน เขาอยู่ในปราสาทนั้นตลอด ๔ เดือน แล้วเดินทางกลับไปยังอีกเมืองหนึ่ง โดยทำนองนั้นแล เขาเสวยสมบัติอยู่อย่างนี้จนอายุครบ ๘๐ ปีบริบูรณ์
    สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริกมาโดยลำดับ ถึงกรุงโกสัมพี พากุลเศรษฐี สดับข่าวว่า พระทศพลเสด็จมาแล้ว จึงถือเอาของหอมและมาลัยไปสำนักพระศาสดาฟังธรรม ได้ศรัทธาก็บวช ท่านเป็นปุถุชนอยู่ ๗ วัน อรุณวันที่ ๘ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
    ครั้งนั้น พวกหญิงแม่บ้านที่ท่านสร้างสมไว้ครั้งเป็นคฤหัสถ์ในนครทั้งสอง ก็กลับไปเรือนสกุลของตน อยู่ในเรือนสกุลนั้นนั่นแหละ ทำจีวรส่งไปถวาย พระเถระใช้สอยจีวรผืนหนึ่ง ที่ชาวกรุงโกสัมพีส่งไปถวาย ครึ่งเดือน จีวรผืนหนึ่งที่ชาวกรุงพาราณสีส่งไปถวาย ครึ่งเดือน โดยทำนองนี้ นี่แล ชาวนครก็นำจีวรแต่ชนิดสุดยอด ในนครทั้งสองมาถวายแต่พระเถระรูปเดียว พระเถระครองเรือน ๘๐ ปี อาพาธเจ็บป่วยไร ๆ ก็มิได้มีตลอดกาล แม้เพียงใช้ ๒ นิ้วจับก้อนของหอมสูดดม ในปีที่ ๘๐ ก็เข้าบรรพชาโดยสะดวกดาย ท่านแม้บวชแล้ว อาพาธแม้เล็กน้อยหรือความขาดแคลนด้วยปัจจัย ๔ มิได้มีเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...