ดารา นักแสดง แห่ร่าวมงานพิธีสมโภชพระพุทธเจ้าน้อย

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Lyla, 11 มีนาคม 2013.

  1. Lyla

    Lyla Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +61
    ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ สำหรับงานพุทธาภิเษก และ สมโภช พระพุทธเจ้าน้อย ที่พึ่งผ่านมาเมื่อวันที่ 8-10 ที่ผ่านมา หลังจากประธานจัดงาน คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ โต้โผในการจัดงานครั้งนี้ มีเหล่าดาราและประชาชนให้ความสนใจมาร่วมงานมากมาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ ขอความสวัสดีจงมีแก่ทุกท่านครับ
     
  3. wara99

    wara99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    379
    ค่าพลัง:
    +892
    นกย่อมเข้าหาฝูงนก .. โคย่อมเข้าหาฝูงโค
    แค่ชื่อองค์พระก็สับสนแล้ว
    อื่อ .. งง
     
  4. กัณหาชาลี

    กัณหาชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +423
    มาหาเงินเป็นร้อยล้าน-พันล้านในประเทศไทย เพื่อไปให้วัดในต่างประเทศที่คนไทยจำนวนน้อยนิดมีสิทธิ์ไปสักการะ มันจะมีประโยชน์อะไรในเมื่อวัดในประเทศไทยอีกหลายวัดยังไม่มีแม้น กุฏิให้พระ-หรือโบสถ์ อยู่

    "การทำทานให้ได้บุญมากนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า มีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ

    ๑. วัตถุบริสุทธิ์ คือ สิ่งของที่ให้ทานนั้นได้มาด้วยความสุจริตถูกต้อง หามาจากแรงงานหยาดเหงื่อของตน มิได้ไปเบียดเบียนทุจริตมา
    ๒. เจตนาบริสุทธิ์ คือ มีจิตตั้งมั่งเลื่อมใสศรัทธาที่จะทำอย่างแท้จริง ไม่ได้หวังผลตอบแทน หรือไม่มีเจตนาหวังประโยชน์แอบแฝง และเมื่อให้แล้วก็ไม่นึกเสียดายภายหลัง
    ๓. บุคคลบริสุทธิ์ คือ ผู้รับเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีคุณธรรมสูง ยิ่งมีคุณธรรมสูงมากเท่าใด บุญก็ยิ่งมากไปตามส่วน เช่น ทำบุญกับคนไม่มีศีลย่อมได้บุญน้อยกว่าทำบุญกับคนมีศีล ๕ ที่เรียกกันว่า เนื้อนาบุญที่ดี อย่างเช่น ทำบุญกับพระสงฆ์ที่ถือศีล ๒๒๗ ข้อ ซึ่งเป็นสมมุติสงฆ์นั้นได้บุญไม่เท่ากับพระอริยสงฆ์แน่นอน มันเป็นระดับขึ้นอยู่กับผู้รับนั้นมีคุณธรรมสูงเท่าใด

    ผู้ที่ให้ทานด้วยทรัพย์แม้เป็นจำนวนน้อย แต่มีความตั้งใจ มีความเลื่อมใสศรัทธาเต็มเปี่ยม และได้ให้ทานกับคนที่มีเนื้อนาบุญสูง ก็อาจได้บุญมากกว่าผู้ที่ทำด้วยทรัพย์มากแต่มีความเลื่อมใสศรัทธาน้อย และถ้าให้กับคนที่มีเนื้อนาบุญต่ำยิ่งน้อยกว่าเป็นร้อย ๆ เท่าก็ได้

    ดังตัวอย่าง เรื่องที่เล่ากันมานานแล้ว แต่อธิบายเรื่องของอานิสงส์ผลบุญได้ดีคือ ในสมัย ร.๕ มีผู้หญิงคนหนึ่งชื่อยายแฟง เป็นแม่เล้าเจ้าของซ่อง แกมีรายได้มาจากการขายตัวของหญิงงามในสังกัด ในแต่ละวันยายแฟงไม่ต้องทำมาหากินอย่างอื่นเลย เขาหากินบนความทุกข์ยากของคนอื่น อาชีพแม่เล้าทำให้แกร่ำรวย มีทรัพย์สินเงินทองมากขึ้นทุกวัน จนใคร ๆ ต่างก็นับถือแก พากันขอความช่วยเหลืออยู่บ่อย ๆ

    เมื่ออายุแกมากขึ้นใกล้จะตายยายแฟงแกกลัวจะตกนรก เพราะทั้งชีวิตของแกได้สร้างแต่กรรมไม่ดีไปเบียดเบียนผู้อื่นและประกอบอาชีพที่เป็นบาป ยายแฟงจึงคิดอยากทำบุญใหญ่สักครั้งหนึ่ง เผื่อว่าบุญนี้จะช่วยลบล้างบาปกรรมที่สร้างไว้ลงได้บ้าง จึงได้บริจาคเงินจำนวนมากจนแทบหมดตัวและได้สร้างวัดชื่อ วัดใหม่ยายแฟง หรือ วัดคณิกาผล ที่เรียกกันในเวลาต่อมา ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ

    ในวันฉลองวัดใหม่ยายแฟง ยายแฟงได้มีโอกาสสำคัญในชีวิตได้ไปนิมนต์พระมาแสดงธรรมเทศนา ซึ่งก็คือ ท่านสมเด็จพุฒาจารย์ฯ (โต) พรหมรังสี ท่านก็รับนิมนต์ไปเทศน์แสดงอานิสงส์ของการสร้างวัด บทธรรมเทศนาของสมเด็จฯโต ตอนหนึ่งในวันนั้นมีว่า

    “ยายแฟงสร้างวัดครั้งนี้ ได้ผลอานิสงส์บกพร่อง ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะเงินที่สร้างวัดเป็นเงินที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของคนอื่นที่ไม่ชอบด้วยธรรม ถ้าเปรียบอานิสงส์นี้ด้วยเงิน ๑ บาท ยายแฟงก็ได้ไม่เต็มบาท จะได้สักสลึงเฟื้องเท่านั้น นี่ว่าอย่างเกรงใจกันนะ”
     
  5. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    อนุโมทนาสาธุครับ กับทุกๆท่าน ใครมีบุญบาบารมีมาก บารมีน้อย ก็แล้วแต่ของๆละบุคคล ที่บำเพ็ญมา คนบางคนบอกไม่มีบารมี มันสามารถ ทำกันไหม่ได้ครับ ใครสร้างอะไรกันที่ไหน ก็ไปทำไปร่วมกับเขา เดี๋ยวก็มีบารมีเองแหละครับ บารมีมันต้องทำด้วยเอง ข้อย่อๆ ๓ หลักคือ ทาน รักษาศิล เจริญภาวนา ก็ไปศึกษาเอานะครับ ท่านที่เข้าใจยังไม่ถูก มันสร้างกันใหม่ได้ทุกเวลาครับ
     
  6. กัณหาชาลี

    กัณหาชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +423
    ในคืนวันตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พญามารได้ยกพลเสนามารมาผจญ พระองค์ต้องต่อสู้ด้วยพระบารมี ๑๐ ทัศ กล่าวในแง่ธรรมาธิษฐาน คือ ทรงต่อสู้กับกิเลสภายในใจจนทรงเอาชนะได้ด้วยพระบารมี คือ ความลำบากในการบำเพ็ญความดีทั้งปวง อันทรงได้สั่งสมมาตลอดแต่ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงต่อสู้จนพญามารพ่ายแพ้ไปตอนพระอาทิตย์จะตกแล้ว พระองค์จึงทรงเริ่มเจริญสมถภาวนา ทำจิตใจให้เป็นสมาธิ จนบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ตามลำดับบทความตอนนี้จะเล่าขยายความเรื่องบารมี ๑๐ ทัศ เป็นเบื้องต้น

    ก่อนที่พระโพธิสัตว์อันสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต จะได้ทรงตรัสรู้บรรลุธรรมเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อโปรดชาวโลกนั้น พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ อันได้แก่

    ๑. พระเตมีย์ ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ การถือบวชสูงสุด
    ๒. พระมหาชนก ทรงบำเพ็ญวิริยะบารมี คือ ความพากเพียรสูงสุด
    ๓. พระสุวรรณสาม ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี คือ ความเมตตาสูงสุด
    ๔. พระเนมิราช ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือ ความมีจิตที่แน่วแน่สมบูรณ์
    ๕. พระมโหสถ ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี คือ ความมีปัญญาสูงสุด
    ๖. พระภูริทัต ทรงบำเพ็ญศีลบารมี คือ ความมีศีลที่สมบูรณ์สูงสุด
    ๗. พระจันทกุมาร ทรงบำเพ็ญขันติบารมี คือ ความอดกลั้นสูงสุด
    ๘. พระนารทพรหม ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือ การมีอุเบกขาสูงสุด
    ๙. พระวิธูรบัณฑิต ทรงบำเพ็ญสัจจะบารมี คือ ความมีสัจจะสูงสุด
    ๑๐. พระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญทานบารมี คือ การรู้จักการให้ทานสูงสุด

    บารมี ๑๐ หรือ ทศบารมี (ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นมหาสาวก เป็นต้น ได้แก่ ทานบารมี, ศีลบารมี, เนกขัมมบารมี, ปัญญา บารมี, วิริยบารมี, ขันติบารมี, สัจจบารมี, อธิษฐานบารมี, เมตตาบารมี, อุเบกขาบารมี เป็นบารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญมาอย่างยิ่งยวด จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเป็น ๓ ขั้น ตั้งแต่อย่างธรรมดา เรียกว่า "บารมี" อย่างกลาง เรียกว่า "อุปบารมี" จนถึงอย่างละเอียด เรียกว่า "ปรมัตถบารมี"

    ในระดับ "บารมี" ทรงบำเพ็ญเพื่อพระโพธิญาณ โดยไม่คำนึงถึงทรัพย์สมบัติ ยศฐาบรรดาศักดิ์ และคนที่พระองค์รัก ทรงหวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนคนรักและทรัพย์สมบัติ จึงสละได้แม้กระทั่งคนรักและทรัพย์สมบัติ

    ในระดับ "อุปบารมี" ทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อพระโพธิญาณ โดยไม่คำนึงถึงอวัยวะร่างกาย ทรงหวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนอวัยวะร่างกาย จึงสละได้แม้กระทั่งอวัยวะร่างกาย

    ในระดับ "ปรมัตถบารมี" ทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อพระโพธิญาณ โดยไม่คำนึงถึงชีวิต ทรงหวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนชีวิต จึงสละได้แม้กระทั่งชีวิต

    ทศบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ทรงบำเพ็ญละเอียดขึ้นไปตามลำดับ ตั้งแต่บารมีอย่างธรรมดา อย่างกลาง ไปจนถึงอย่างละเอียดที่สุด รวมเป็น ๓๐ บารมี ดังนี้

    ๑. เนกขัมมบารมี หมายถึง การพรากกายและจิตออกจากเครื่องผูกรัดอันเป็นอุปสรรคต่อการขัดขวางการทำความดี ด้วยการบังคับกายไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งยั่วยุทางกาย ในเบื้องต้นแม้จะยังไม่ถึงกับออกบวช ก็เป็นการพรากกายออกไปจากความวุ่นวายสับสนของเหตุการณ์และของโลกในขณะนั้น เป็นกายวิเวก และการตั้งจิตให้อยู่ในความสงบ เป็นจิตวิเวก อย่างสูงสุดหมายถึงออกจากกิเลสทั้งปวง โดยมีความดับทุกข์เป็นเป้าหมาย

    พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิบัติในเนกขัมมบารมีมาโดยลำดับ ตั้งแต่อย่างหยาบ อย่างกลาง จนถึงอย่างละเอียด บางพระชาติก็ออกบวช บางพระชาติแม้มิได้ออกบวช แต่ก็ทรงดำรงตนอย่างมีสติน้อมใจให้ออกจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองต่างๆ บางพระชาติออกบวชขณะยังหนุ่มแน่น บางพระชาติออกบวชเมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีอย่างแรงกล้าตามลำดับ ดังนี้

    (๑) เนกขัมมบารมี ได้แก่ ออกไปด้วยความรักในพระโพธิญาณยิ่งกว่าคนที่รัก และทรัพย์สมบัติ จึงตัดความห่วงใย ปลีกตนออกไปบำเพ็ญกายวิเวก คือ ความสงัดทางกาย สงัดจากกามและอกุศลกรรมทั้งหลาย เนกขัมมะในระดับนี้ แม้คนรักและทรัพย์สมบัติจะสูญสิ้นไป ก็ไม่ทำลายปณิธาน ไม่ยอมให้กายไปเกี่ยวข้องกับกาม พยาบาท อวิหิงสา ตลอดจนอกุศลกรรมทั้งหลาย เพราะมีเป้าหมายอยู่ที่พระโพธิญาณ

    (๒) เนกขัมมอุปบารมี ได้แก่ ออกด้วยความรักในพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะ ร่างกาย จึงตัดความห่วงใย ปลีกตนออกบำเพ็ญจิตวิเวก คือ ความสงัดทางจิต จากกามและอกุศลทั้งหลาย ด้วยฌานและสมาธิ เนกขัมมบารมีระดับนี้ แม้อวัยวะร่างกายจะแตกทำลายไปก็ไม่ทำลายปณิธาน เป็นขั้นฝึกบังคับใจไม่ให้เกี่ยวข้องในกาม พยาบาท อวิหิงสา ตลอดจนอกุศลกรรมทั้งหลาย ด้วยฌานและสมาธิ เพราะมีเป้าหมายอยู่ที่พระโพธิญาณ

    (๓) เนกขัมมปรมัตถบารมี ได้แก่ ออกด้วยความรักในพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิต จึงตัดความห่วงใย ไม่อาลัยในชีวิต ปลีกตนออกบำเพ็ญอุปธิวิเวก คือ ความสงัดจากกิเลส รวมทั้งกามและอกุศลทั้งสิ้น ด้วยอริยมรรคญาณ แม้ชีวิตจะแตกทำลายไปก็จะไม่ทำลายปณิธาน เนกขัมมบารมีในระดับนี้ เป็นขั้นสงัดจากกาม พยาบาท อวิหิงสา ตลอดจนกิเลสทั้งหลายทั้งปวง ด้วยอริยมรรคญาณ

    ๒. วิริยบารมี หมายถึง ความเพียรพยายามอยู่ร่ำไปไม่ท้อถอย จนกว่าจะประสบผลสำเร็จ เพียรพยายามในการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศล และในการที่จะทำกุศลให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเพียรที่จะไม่ทำความชั่ว เพียรทำดี และเพียรชำระจิตของตนให้ผ่องแผ่ว

    ความเพียรมีหลายด้าน ตั้งแต่ความเพียรพยายามอย่างธรรมดาไปจนถึงความเพียรพยายามอย่างสูงสุด แต่ความเพียรพยายามในทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ อันจะเป็นเหตุแห่งวิริยบารมี มุ่งหมายเอาความเพียรพยายามที่จะพ้นทุกข์ และความเพียรที่จะต้องตั้งไว้เป็นเป้าหมายสูงสุด คือ สังวรปธาน เพียรละวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ภาวนาปธาน เพียรทำความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น อนุรักขนาปธาน เพียรทำความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งอยู่

    พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิบัติในวิริยบารมีอย่างแรงกล้า มุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเป้าหมายสูงสุด ๓ ขั้น ดังนี้

    (๑) วิริยบารมี ได้แก่ ความเพียรที่บำเพ็ญด้วยความมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย รักเพียรเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าคนที่รักและทรัพย์สิน จึงเพียรพยายามที่จะตัดใจสละคนที่รักและทรัพย์สินเพื่อมุ่งหวังโพธิญาณ

    (๒) วิริยอุปบารมี ได้แก่ ความเพียรที่บำเพ็ญด้วยความมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย มีความเพียรพยายามเพื่อบรรลุพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างกายของตน ไม่คำนึงถึงอวัยวะร่างกาย จึงกล้าสละได้แม้กระทั่งอวัยวะร่างกาย

    (๓) วิริยปรมัตถบารมี ได้แก่ ความเพียรที่บำเพ็ญด้วยความมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย รักความเพียรพยายามเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิตตน ไม่คำนึงถึงชีวิต เพื่อที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ จึงกล้าสละได้แม้กระทั่งชีวิต

    ๓. เมตตาบารมี หมายถึง ไมตรีจิต ความรัก ความปรารถนาดีความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจดีต่อกัน ต้องการสร้างเสริมประโยชน์สุขให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เมตตาจัดเป็นธรรมพื้นฐานของใจขั้นแรก ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งทำให้มองกันในแง่ดี หวังดีต่อกัน พร้อมที่จะรับฟัง และเจรจากันด้วยความเข้าใจ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่มีอคติ คือ ความโกรธ ความเกลียด เป็นที่ตั้ง เป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชน ประกอบด้วยเมตตากายกรรม การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เมตตาวจีกรรม การพูดจากันด้วยถ้อยคำสุภาพอ่อนโยน ว่ากล่าวตักเตือนด้วยความหวังดีและจริงใจ เมตตามโนกรรม การมองกันในแง่ดี มีความปรารถนาดี มีความหวังดี มีความสงสาร มีความเห็นใจ อยากช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ คิดทำแต่สิ่งที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่กันและกัน

    ความเมตตาอย่างสูงสุดมุ่งที่จะเห็นผู้อื่นพ้นทุกข์ในสังสารวัฏ จึงยอมสละได้แม้กระทั่งทรัพย์สิน คนรัก อวัยวะร่างกาย หรือแม้กระทั่งชีวิต เห็นการเกิดแก่เจ็บตายของสรรพสัตว์เป็นสิ่งที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิบัติในเมตตาบารมีอย่างแรงกล้ามาโดยลำดับ ๓ ขั้น ดังนี้

    (๑) เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีมาโดยลำดับ ทรงรักษาปฏิบัติในเมตตาบารมีเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่ารักษาคนที่รักและทรัพย์สิน

    (๒) เมตตาอุปบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมียิ่งขึ้นโดยลำดับ ทรงรักษาเมตตาบารมียิ่งกว่าอวัยวะร่างกาย คือ ทรงรักษาปฏิบัติในเมตตาบารมีเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างกาย

    (๓) เมตตาปรมัตถบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีอย่างสูงสุด ด้วยการรักษาเมตตาบารมียิ่งกว่าชีวิต คือ ทรงรักษาปฏิบัติในเมตตาบารมีเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิต

    ๔. อธิษฐานบารมี หมายถึง อธิษฐานใจให้ชีวิตมีเป้าหมาย มุ่งมั่นเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ หรือเพื่อบรรลุผลในสิ่งที่พึงประสงค์ การอธิษฐานที่จะเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลที่พึงประสงค์นั้น ต้องมีวิริยะ คือ ความเพียรพยายามอยู่ร่ำไปไม่ท้อถอย มีขันติ คือ ความอดทน มีสัจจะ คือ ความจริงใจ และรักษาความตั้งใจไว้อย่างมุ่งมั่นไม่หวั่นไหว ผู้ที่ต้องการก้าวไปสู่ความสำเร็จในชีวิตต้องอาศัยแรงอธิษฐาน คือ กำหนดเป้าหมายไว้แล้วก้าวเดินไปอย่างมุ่งมั่น

    ลักษณะแห่งการอธิษฐานธรรมนั้น ต้องประกอบด้วยปัญญา สิ่งนั้นต้องเป็นจริงและมีความจริงใจซื่อตรงต่อสิ่งที่อธิษฐาน สละได้แม้กระทั่งทรัพย์สิน คนรัก อวัยวะร่างกาย หรือแม้กระทั่งชีวิตที่จะทำให้เป้าหมายที่อธิษฐานไว้เปลี่ยนไป ตลอดจนแสวงหาความสงบส่งเสริมให้จิตมีความมั่นคงต่อสิ่งที่อธิษฐาน

    สิ่งที่จะต้องอธิษฐานไว้สูงสุด คือ อธิษฐานให้สามารถดับทุกข์ได้เป็นเป้าหมายสูงสุด พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิบัติในอธิษฐานบารมีอย่างแรงกล้า โดยมีพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย ๓ ขั้น ดังนี้

    (๑) อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีมาโดยลำดับ ทรงรักษาอธิษฐานเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่ารักษาคนที่รักและทรัพย์สิน แม้จะสูญเสียคนรักและทรัพย์สินไปก็จะไม่ละทิ้งเป้าหมายที่อธิษฐานไว้

    (๒) อธิษฐานอุปบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมียิ่งขึ้นโดยลำดับ ทรงรักษาอธิษฐานยิ่งกว่าอวัยวะร่างกาย คือ ทรงรักษาอธิษฐานเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างกาย แม้จะสูญเสียอวัยวะร่างกายไปก็จะไม่ละทิ้งเป้าหมายที่อธิษฐานไว้

    (๓) อธิษฐานปรมัตถบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีอย่างสูงสุด ด้วยการรักษาอธิษฐานยิ่งกว่าชีวิต คือ ทรงรักษาอธิษฐานเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิต แม้จะสูญเสียชีวิตก็จะไม่ละทิ้งเป้าหมายที่อธิษฐานไว้

    ๕. ปัญญาบารมี หมายถึง ความรอบรู้ เป็นพื้นฐานที่ใช้เป็นเครื่องพิจารณาไตร่ตรอง รู้จริงตามเหตุและผล ช่วยในการวินิจฉัยเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาให้รู้ว่า ผิด ถูก ชั่ว ดีอย่างไร อะไรจริง อะไรเท็จและ อะไรเป็นสัจธรรม เลือกยึดถือเอาแต่สิ่งที่ถูกต้อง ละทิ้งสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

    ปัญญามีหลายระดับ และที่จะเป็นปัญญาบารมี ต้องเป็นปัญญาที่มุ่งให้เกิดความพ้นทุกข์ โดยอบรมศีลให้เจริญ ศีลอบรมสมาธิ และสมาธิอบรมปัญญาจนเกิดความรู้ในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ทำให้เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงจนสามารถตัดกิเลสได้ อย่างสิ้นเชิง พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญปัญญาบารมีโดยประการต่างๆ ดังนี้

    (๑) ปัญญาบารมี ได้แก่ ปัญญาที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า รักปัญญาเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าคนรักและทรัพย์สิน แม้จะสูญเสียคนรักและทรัพย์สินไปก็จะไม่ละทิ้งสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญญา

    (๒) ปัญญาอุปบารมี ได้แก่ ปัญญาที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า รักปัญญาเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างกายของตน แม้จะสูญเสียอวัยวะร่างกายไปก็จะไม่ละทิ้งสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญญา

    (๓) ปัญญาปรมัตถบารมี ได้แก่ ปัญญาที่บำเพ็ญด้วยมุ่งพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า รักปัญญาเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิตของตน แม้จะสูญเสียชีวิตไปก็จะไม่ละทิ้งสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญญา

    ๖. ศีลบารมี หมายถึง การระวังกายไม่ให้ทำร้ายผู้ใด หรือสัตว์ใดจนเกิดความลำบากเดือดร้อน การระวังวาจาไม่ให้กระทบกระทั่งผู้ใดหรือสัตว์ใด จนเกิดความลำบากเดือดร้อน การระวังใจไม่ให้คิดที่จะทำร้ายผู้ใดหรือสัตว์ใด ไม่ให้มีความต้องการที่จะเห็นผู้ใดหรือสัตว์ใด ได้รับความพินาศย่อยยับ การรักษาศีลจึงเป็นการประคับประคองจิตไม่ให้ คิดร้าย ประคับประคองวาจาไม่ให้พูดร้าย ประคับประคองกายไม่ให้ทำร้ายใครๆ อันเป็นเหตุให้เขาเกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน เกิดความโศกเศร้าเสียใจนั่นเอง สูงสุดเพื่อจะรักษาศีลจึงยอมสละได้แม้กระทั่งชีวิต

    พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญศีล สั่งสมเป็นศีลบารมีมาตลอดเวลาช้านาน ทั้งรักษาจิตมิให้โกรธรักษาศีลไว้โดยไม่อาลัยแก่ชีวิตเลือดเนื้อ ดังนั้

    (๑) ศีลบารมี ได้แก่ ศีลทีบำเพ็ญด้วยรักษายิ่งกว่าคนที่รักษาทรัพย์สิน เพื่อพระโพธิญาณแม้จะสูญเสียคนรักและทรัพย์ แต่จะไม่ยอมทำลายศีล

    (๒) ศีลอุปบารมี ได้แก่ ศีลที่บำเพ็ญด้วยรักศีลยิ่งกว่าอวัยวะร่างกายของตน เพื่อพระโพธิญาณแม้จะสูญเสียอวัยวะร่างกาย แต่จะไม่ยอมทำลายศีล

    (๓) ศีลปรมัตถบารมี ได้แก่ ศีลที่บำเพ็ญด้วยรักษาศีลกว่าชีวิตของตน เพื่อรักษาศีลยอมสละได้แม้กระทั้งชีวิต ซึ่งเป็นการรักษาศีลอย่างสูงสุด โดยมีพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย ดังพระพุทธเจ้าตรัสไว้เมื่อครั้งเกิดเป็นภูริทัตว่า "ใครต้องการ หนัง เอ็น กระดูก หรือเลือดเนื้อของเรา"

    ๗. ขันติบารมี หมายถึง ความอดทน อดกลั้นต่อความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ ในเบื้องต้นเป็นความอดทนต่อความตรากตรำทั้งหนาวร้อน หิวกระหาย ทนต่อทุกขเวทนาในเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย สูงสุดสามารถทนต่อความเจ็บปวดใจ ต่อถ้อยคำที่คนอื่นดูถูกเหยียบหยาม เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้บำเพ็ญขันติบารมี ๓ ขั้น คือ

    (๑) ขันติบารมี ได้แก่ ขันติที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้า รักขันติเพื่อพระโพธิญาณ ยิ่งกว่าคนที่รักและทรัพย์สิน แม้จะสูญเสียคนรักและทรัพย์สมบัติ ก็จะไม่ละทิ้งขันติ

    (๒) ขันติอุปบารมี ได้แก่ ขันติที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้ารักขันติ เพื่อพระโพธิญาณ ยิ่งกว่าอวัยวะร่างกายของตน แม้จะสูญเสียอวัยวะร่างกาย ก็จะไม่ละทิ้งขันติ

    (๓) ขันติปรมัตถบารมี ได้แก่ ขันติที่บำเพ็ญด้วยมุ่งหวังพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้ารักขันติ เพื่อพระโพธิญาณ ยิ่งกว่าชีวิตของตน แม้จะสูญเสียชีวิตก็จะไม่ละทิ้งขันติ

    ๘. อุเบกขาบารมี หมายถึง การวางใจให้เป็นกลาง แม้จะมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความลำบากยุ่งยากใจ ก็มีใจเป็นกลางไม่โกรธเกลียด มองทุกสิ่งและยอมรับตามความเป็นจริง อุเบกขาในเบื้องต้น เป็นการยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่ให้อคติมามีอิทธิพลทำให้เอนเอียงไปด้านในด้านหนึ่ง ด้วยอำนาจของความรักชัง อุเบกขาอย่างสูง ได้แก่ อุเบกขาในฌาน อันเป็นผลมาจากกำลังสมาธิที่เกิดจากความสงบระงับอย่างสูง

    เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้บำเพ็ญอุเบกขาสูงสูดด้วยการเกิดเป็นพรหม ดำรงอยู่ในอุเบกขาอันเป็นสุขอย่างสูงสุด เพราะไม่มีความทุกข์สุขอันเป็นผลมาจากรักชัง แม้เช่นนั้นก็ทรงปรารถนาพระโพธิญาณ อุเบกขามี ๓ ขั้น คือ

    (๑) อุเบกขาบารมี คือ อุเบกขาของผู้บำเพ็ญเพื่อประโยชน์แห่งพระโพธิญาณ รักษาอุเบกขายิ่งกว่ารักษาคนและทรัพย์สิน

    (๒) อุเบกขาอุปบารมี คือ อุเบกขาของผู้บำเพ็ญเพื่อประโยชน์แห่งพระโพธิญาณ รักษาอุเบกขายิ่งกว่ารักษาอวัยวะของตนเอง

    (๓) อุเบกขาปรมัตถบารมี คือ อุเบกขาของผู้บำเพ็ญเพื่อประโยชน์แห่งพระโพธิญาณ รักษาอุเบกขายิ่งกว่ารักษาชีวิตของตน

    ๙. สัจจบารมี หมายถึง ความจริง หรือความซื่อตรง พูดไว้อย่างไรก็ยอมรับตามนั้น ตั้งใจไว้อย่างไรก็ทำตามนั้น มุ่งแสวงหาความจริงหรือความถูกต้องเที่ยงธรรม และรักษาความเที่ยงธรรมไว้ ลักษณะแห่งสัจจบารมีทางกาย ได้แก่ การตั้งสัจจะกับตนไว้ว่า จะไม่ทำสิ่งชั่วร้าย จะไม่พูดสิ่งชั่วร้าย และจะไม่คิดสิ่งชั่วร้ายโดยประการต่างๆ จะทำแต่สิ่งที่ดีงาม จะพูดแต่คำจริง คำอ่อนโยน คำที่ทำให้เกิดความสามัคคีก่อให้ประโยชน์ จะไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่อิจฉาตาร้อน เมื่อตั้งสัจจะไว้อย่างนี้แล้ว ก็ตั้งหน้าตั้งตารักษาสัจจะด้วยความซื่อสัตย์ต่อความตั้งใจของตน

    สัจจบารมีในเบื้องต้น ได้แก่ ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ซื่อสัตย์ต่อการงาน ซื่อสัตย์ต่อบุคคล และซื่อสัตย์ต่อความเที่ยงธรรม สูงสุดได้แก่การรักษาสัจจะยอมสละได้แม่ชีวิต เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้บำเพ็ญสัจจบารมีอย่างแรงกล้า ไม่ยอมทิ้งสัจจะที่ได้พูดไว้ แม้จะต้องสละชีวิต ๓ ขั้น คือ

    (๑) สัจจบารมี ได้แก่ สัจจะที่บำเพ็ญด้วยความหนักแน่นแน่นอน รักพระโพธิญาณยิ่งกว่าคนที่รักและทรัพย์สิน แม้จะสูญเสียคนรักและทรัพย์สมบัติ ก็จะไม่ละทิ้งสัจจะ

    (๒) สัจจอุปบารมี ได้แก่ สัจจะที่บำเพ็ญด้วยความหนักแน่นแน่นอน รักพระโพธิญาณยิ่งกว่าอวัยวะร่างกายของตน แม้จะสูญเสียคนอวัยวะร่างกาย ก็จะไม่ละทิ้งสัจจะ

    (๓) สัจจปรมัตถบารมี ได้แก่ สัจจะที่บำเพ็ญด้วยความหนักแน่นแน่นอน รักพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิตของตน แม้จะมีอันตรายเกิดขึ้นแก่ชีวิต ก็จะไม่ละทิ้งสัจจะ

    ๑๐. ทานบารมี หมายถึง การให้เพื่อสงเคราะห์ผู้ที่ขาดแคลน เพื่อสงเคราะห์ผู้ที่ควรสงเคราะห์ เป็นการผูกมิตรภาพไมตรีจิต หรือเพื่อบูชาผู้ที่ควรบูชา เป็นการบูชาคุณหรือตอบแทนคุณ หรือเป็นการบำเพ็ญบุญในบุญเขต ในเบื้องต้นได้แก่การสงเคราะห์ผู้อื่นและสัตว์อื่นด้วยวัตถุสิ่งของ เรียกว่า "อามิสทาน" นับตั้งแต่ญาติพี่น้อง พวกพ้อง สมณะพราหมณ์ผู้ทรงศีล และสัตว์เดรัจฉาน ตามโอกาส และเหมาะสมแก่ฐานะของคนนั้นๆ

    สูงขึ้นไป ได้แก่ การให้ธรรมะเป็นทาน ตลอดจนการแนะนำ สั่งสอนให้ผู้อื่นคิดดีทำดี ให้เขาสามารถครองชีวิตอยู่ได้ด้วยความดีงาม เป็นการสงเคราะห์โดยธรรม เป็นการให้ปัญญาแก่เขาได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องและมีคุณค่า เรียกว่า "ธรรมทาน"

    พระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพุทธภูมิโพธิญาณ ได้ทรงบำเพ็ญทาน ทรงสั่งสมเป็นทานบารมีมาช้านาน ทานบารมีของพระองค์ ได้เต็มยิ่งขึ้นตามลำดับ ๓ ขั้น ดังนี้

    (๑) ทานบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละทรัพย์ โดยมีพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย หวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนคนรักและทรัพย์สมบัติ เพื่อพระโพธิญาณจึงยอมให้ทานได้แม้กระทั่งคนรักและทรัพย์สมบัติ

    (๒) ทานอุปบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละอวัยวะ หวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนอวัยวะร่างกาย เพื่อพระโพธิญาณจึงยอมให้ทานได้แม้กระทั่งอวัยวะร่างกาย

    (๓) ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละชีวิต หวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนชีวิต เพื่อพระโพธิญาณจึงยอมให้ทานได้แม้กระทั่งชีวิต
     
  7. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    พระพุทธเจ้าท่านก็โปรดชาวโลก ไม่ได้โปรดเฉพาะชาวไทย การที่เราทำบุญนอกประเทศ
    ซึ่งเป็นที่กำเนิดพระพุทธเจ้า ก็ถือว่าสงเคราะห์ชาวพุทธทั่วโลก ไม่แน่ว่าซักวันนึงเราอาจจะ
    ไม่ได้เกิดมาเป็นคนไทยก็ได้ แต่อาจเกิดอยู่ในชาติอื่นที่นับถือพุทธศาสนา ฉนั้นขอให้ทำใจ
    กว้างๆแล้วทำจิตให้เป็นบุญกุศลดีกว่าครับ...
     
  8. pim45

    pim45 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +93
    สร้างที่ไหนก็ได้บุญค่ะ ถ้าเราบริสุทธิ์ใจ อย่างุบงิบล่ะกัน เดี๋ยวจะได้อย่างอื่นแทน
     
  9. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    โลกนี้ไม่เคยมี ‘พระพุทธเจ้าน้อย’http://www.naewna.com/politic/columnist/5766

    มีเรื่องที่ผม "คันใจ" มาเป็นปีแล้ว จะพูด..จะพูด..ก็เกรงเป็น "ตัวมาร" ขวางและขัดการทำสิ่งดีงามของผู้อื่นเขา นั่นคือการหล่อ "พระพุทธเจ้าน้อย" และกำลังสมโภชกันที่ท้องสนามหลวง นัยว่าจะนำไปประดิษฐาน ณ สถานที่ประสูติพระพุทธเจ้า คือลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล
    ก่อนหน้านี้ ผมก็เห็นมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เชิญชวนประชาชนร่วมหล่อ "พระพุทธเจ้าน้อย" มาเป็นปีแล้ว การบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าก็ดี การกระทำที่แสดงถึงความเคารพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและการมีกุศลเจตนาสร้างเสริมศาสนวัตถุเพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาก็ดี
    เป็นสิ่งดีงาม ไม่ว่าใครล้วนอนุโมทนาทั้งนั้น และถึงแม้ผู้ใดมิได้ร่วมกระทำ เพียงแต่มีจิตอนุโมทนาในกรรมประเสริฐร่วมไปกับเขา ก็นับเป็นบุญ-เป็นกุศลที่ต้องขออนุโมทนาด้วยเช่นกัน
    แต่ผมทะแม่งหู ขัดตา-ขัดใจ ยอมรับไม่ได้จริงๆ กับคำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย"!
    มันจะแผลงและพิเรนทร์นอกกรอบจนเกินงามไปหรือเปล่า ผมก็เรียนพุทธประวัติมาพอสมควร พบแต่ใช้คำว่า "พระพุทธเจ้า" เฉพาะกับสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกพระองค์
    ไม่เคยพบตรงไหนเลยทั้งในพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ว่ามีการใช้คำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" เรียกขานสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ว่าพระองค์ไหนทั้งสิ้น?
    พระพุทธเจ้าของเรา ทรงถือกำเนิดในศากยวงศ์ โคตมโคตร พระนามว่า "สิทธัตถะ โคตมะ" คำว่าโคตมะ พูดง่ายๆ คือนามสกุล บ่งบอกถึงโคตรเหง้าของวงศ์ตระกูล
    "โคตมโคตร" ก็แบ่งออกเป็นสาย คือหลายวงศ์ ของพระพุทธเจ้าคือ "ศากยวงศ์" หมายถึงว่า ศากยะ เป็นเลือดสายหนึ่งของโคตมะ เหมือนพวกเรานี่แหละ พี่น้องด้วยกัน แต่ข้างพ่อ-ข้างแม่ไปแต่งงาน ก็มีวงศ์ใหม่ กลายเป็นคนละนามสกุล
    ลูกพี่-ลูกน้อง คนละนามสกุล แต่สืบสายเป็นโคตรเดียวกัน!
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ตอนเป็นฆราวาส ทรงพระนามว่า "สิทธัตถะราชกุมาร" ครั้นทรงออกบวช บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้รับการถวายพระนามต่างๆ เช่น พระสมณโคดม พระพุทธโคดม พระศากยมุนี และ ฯลฯ
    คือถวายพระนามตามโคตร-ตามวงศ์ของพระองค์
    แต่พระพุทธเจ้าทรงออกพระนามพระองค์เอง คือเรียกตัวพระองค์ว่า "พระตถาคต" หมายถึง ผู้ตรัสรู้ธรรมตามที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง
    สรุปก็คือ ไม่มี-ไม่ปรากฏใครใช้คำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" กับสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตราบ ๒๕๕๔ ปีผ่าน นับจากเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็เพิ่งมาปี-สองปีนี่แหละ
    คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ท่านเกิดศรัทธาแก่กล้าในพระพุทธศาสนา หรือเพราะอกหักทางการเมืองก็ไม่ทราบได้ ไปรักษาตัว-รักษาใจอะไรของท่านตามพุทธสถานถึงอินเดีย-เนปาล
    ใครบอก หรือใครไปเข้าฝันเธอก็ไม่ทราบ ไปอุปโลกน์เอา "สิทธัตถะราชกุมาร" ขึ้นมาเป็นปางหนึ่งของพระพุทธเจ้า พร้อมตั้งเป็นพระพุทธเจ้าปางใหม่ของโลกเลยว่า
    "พระพุทธเจ้าน้อย"!?
    พระคุณเจ้าระดับมหาเถระบางรูปก็เอากับเขาด้วย ช่วยกันปลุกกระแสพระพุทธเจ้าน้อย หล่อรูปพระพุทธเจ้าน้อยขึ้นเป็นอีกปางหนึ่งในพระพุทธศาสนา
    ก็อย่างที่เห็นปั้นเป็นรูปเด็กชายตุ้ยนุ้ย เปลือยท่อนบน ยืนยกมือชี้นิ้วชี้โด่ๆ เหมือนตอนยิ่งลักษณ์หาเสียงเลือกตั้ง เบอร์ ๑ ยืนในท่าคล้ายตุ๊กตาเสาไฟหินอ่อนยุคโรมัน นัยว่า จะเอาไปประดิษฐานที่ลุมพินีสถานโน่น
    ผมว่าทำวิตถารให้ผู้คนสับสน-ไขว้เขวไปเปล่าๆ ทุกวันนี้ ฝรั่งมังค่ามันก็เอาพระพุทธรูปไปกระทำหยาบช้าต่างๆ มากมายอยู่แล้ว ซ้ำคนไทย-คนพุทธเอง เกาะกระพี้แทนแก่นกันอยู่ก็ส่วนมาก เมื่อบอกว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" ก็ไม่รู้เรื่อง-รู้ความอะไร
    เอ้า...น้อยก็น้อยตาม พากันบ้าใบ้ใหลหลงเข้าพง-เข้ารก ดูน่าเวทนา!
    มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว พระนามเดียวก็พอแล้วครับ กราบละ...พ่อคุณ-แม่คุณ อย่าให้เลอะเทอะไปกันใหญ่ถึงขั้นมีพระพุทธเจ้าน้อย-พระพุทธเจ้าใหญ่เลย!!
    ขืนทั้งพระ ทั้งฆราวาสเป็นไปด้วยกันแบบนี้ ในไม่ช้า จะมีมนุษย์อุตริทางการค้า สร้างรูป-หล่อรูปต่างๆ นานา แล้วอ้างเป็นอีกปางหนึ่งของพระพุทธเจ้าปลุกเสกขายบ้าง มันจะอเนจอนาถพุทธศาสนากันยกใหญ่ เดี๋ยวก็มีสิทธัตถะปางหนุ่ม ปางเข้าพิธีอภิเษกสมรส
    เผลอๆ อาจลามปามไปถึงขั้นปั้นรูป "พระนางยโสธราพิมพา" สมัยเป็นพระมเหสีเข้ามาด้วย พวกพุทธเปลือกซึ่งอ่อนแออยู่แล้ว ก็จะพากันเลื้อยไปเกาะกับสิ่งที่ง่ายทางการหลอกเพราะถูกจริต เมื่อถึงขั้นนั้น ด้วยศรัทธาของคนที่ต้องการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาแบบปัญญาอ่อน
    ก็จะกลายเป็น "ตัวทำลายพระพุทธศาสนา" โดยไม่ตั้งใจ ที่น่าเสียใจ!
    หลักการพระพุทธเจ้านั้น ใครก็ตามเมื่อละเพศฆราวาสคือ "ละทางโลก" เข้ามาทางธรรม บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ถือว่าตายไปแล้ว-ตัดขาดแล้วกับครอบครัว กับญาติพี่น้อง กับทรัพย์สมบัติ กับความเป็นตัวตนในอดีตทั้งมวล
    เกิดเป็นคนใหม่แล้ว เป็นผู้มีความเพียรในสมณธรรม ทำให้แจ้งในมรรค ผล นิพพาน อย่าว่าแต่อดีตแห่งความเป็นสิทธัตถะเลย สิ่งปัจจุบันอันเป็นเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ก็สลัดตัดทิ้งชนิดเรียกว่า "เด็ดเยื่อ-เด็ดใย" มุ่งสู่ความเป็น....
    พุทธะ-พุทโธ...ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยธรรม สถานเดียว!
    ฉะนั้น ในพระพุทธศาสนา ไม่มีหรอกครับ และไม่มีใครสอน ให้ยก-ให้ยึดเอาสิทธัตถะราชกุมารขึ้นมาเป็น "พระพุทธเจ้าน้อย" ในเมื่อมีพระพุทธเจ้า คือสมณโคดมทั้งพระองค์ ในความหมายว่า มีของแท้อยู่แล้วทั้งองค์ แล้วจำเป็นอะไรต้องดัดจริตไปปั่นกระแสเอาสิทธัตถะขึ้นมาเทียบเป็น "พระพุทธเจ้า"?
    บุญมาก บารมีมาก จนพระพุทธรูปที่มีอยู่ทุกวันนี้ไม่พอกราบไหว้บูชาให้ระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วอย่างนั้นหรือ ถึงต้องปั้น-ต้องหล่อสิ่งที่เรียกว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" ขึ้นมา หรือต้องการให้เกิด-ให้มีสิ่งนี้ คู่รัฐบาล "แดงทั้งแผ่นดิน"?
    ในความเป็นพุทธะ พระพุทธองค์เองยังทรงเอ่ยนามพระองค์ว่า "ตถาคต" นั่นแสดงว่า ไม่มีโคตมะ ไม่มีศากยะ ไม่มีสิทธัตถะ แล้วคุณหญิงสุดารัตน์เป็นตัวอะไร ไปแต่งตั้งสิทธัตถะราชกุมารขึ้นมาเป็น "พระพุทธเจ้าน้อย"
    ในภาวะแห่งสิทธัตถะนั้น คือภาวะ กิน-กาม-เกียรติ คนละเรื่อง-คนละโลก กับภาวะพุทธะ แล้วจะปั้นรูปสิทธัตถะมาเป็น "พระพุทธเจ้าน้อย" มันถูกเรื่องมั้ย?
    วงการพระพุทธศาสนา ไม่ใช่วงการมวยไทยนะ คุณหญิงสุดารัตน์และพระสงฆ์องคเจ้าโปรดตระหนัก เห็นวงการมวยมี อภิเดชน้อย อดุลย์น้อย วิชาญน้อย พออังกระไอศาสนสถานเข้าหน่อย อุตริไปตั้ง "พระพุทธเจ้าน้อย" ถึงขั้นหล่อรูปไปตั้งให้คนไขว้เขว
    พวกคนรวยไร้สาระ พวกนักการเมืองอกหัก และพวกข้าราชการ-นักการเมืองต้องคดีนี่ ยุคนี้นิยมไปชุบตัว ไปสร้างภาพลักษณ์ใหม่กันที่อินเดีย-เนปาล มีคำว่า "ไม่เห็นทุกข์-ไม่เห็นธรรม" แต่บางคนพอจมทุกข์ เมื่อเข้าวัดแทนที่จะหาธรรม
    กลับเอาสถานธรรมมาหุ้มทุกข์...เฮ้อ!
    พระครูปลัดพายัพ นั่นก็...สึกหาลาเพศตั้งแต่เมื่อวานแล้วมั้ง เห็นหนี "พื้นที่ข่าว" หายจ้อยทั้งพระเจ้าคุณ-พระฐานา นัยว่าไปหลบอยู่ตามสถานปฏิบัติธรรมแถวๆ โคราช ตั้งแต่กลับจากอินเดียโน่น
    คนรวย นักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ-พ่อค้า คนทั่วไป ที่ไปแสวงบุญ-ไปบวชตามสังเวชนียสถานด้วยศรัทธาบริสุทธิ์ก็มีมาก ที่ไปบวชถวายเป็นพระราชกุศลก็มาก เหล่านี้ ยกไว้จากที่ผมกล่าวไปแต่ต้นทั้งหมด
    เพราะเขาเหล่านั้น กระทำชอบแล้ว ไม่ได้มีการทำอันใดเป็นการแผลงพุทธศาสนาให้เพี้ยนอย่างที่บางคนทำ และผมก็ขออนุโมทนากับทุกท่านด้วย!
    เอาหละ...นี่คือทัศนะของผมต่อเรื่องพระพุทธเจ้าน้อย อาจผิดก็ได้ ถูกก็ได้ แต่ผิด-ถูกอย่างไร เพื่อความเข้าใจที่ไม่ไขว้เขวชาวพุทธ ท่านผู้รู้ เช่น ศาสตราจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก หรือพระคุณเจ้ารูปใดจะอธิบายสิ่งที่ถูกเป็นธรรมทาน ผมยินดีรับฟังและพร้อมแก้ไข
    จะได้บันทึกเป็นประวัติศาสตร์ไว้เลยว่า พระคุณเจ้าชั้นสมเด็จ ตั้งพระฐานานุกรม ระดับพระครูปลัดฯ ได้ แต่ระดับคุณหญิงสุดารัตน์ มีศักดิ์และสิทธิ์ตั้งสิทธัตถะราชกุมารเป็น "พระพุทธเจ้าน้อย" ได้?
    เปลว สีเงิน 11 March 2556 - 00:00
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 000(453).jpg
      000(453).jpg
      ขนาดไฟล์:
      107 KB
      เปิดดู:
      156
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2013
  10. pepsodent

    pepsodent Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +40
    โมทนาสาธุด้วยครับผม พุทธศาสนาดำรงสถาพรบนโลกเพื่อเกื้อหนุนสงเคราะห์สัตว์โลกโดยมาก
     
  11. เซี่ยมหล่อนั๊ง

    เซี่ยมหล่อนั๊ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +665


    โมทนา สาาาาาา ธุ อย่างยิ่งครับ
     
  12. e20ehq

    e20ehq เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +770
    ตอนนั้นยังมิได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิใช่หรือ แล้วไปเรียก "พระพุทธเจ้าน้อย" ได้อย่างไร
    น่าจะเรียก ว่า เจ้าชายสิทธัตถะ มิใช่หรือ
     
  13. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด


    สมัยนั้น ไม้สาละทั้งคู่ เผล็จดอกสะพรั่งนอกฤดูกาล ดอกไม้ เหล่านั้นร่วง
    หล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอก มณฑารพอันเป็นของทิพย์ก็ตกลง
    มา จากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่น โปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาแม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่น
    โปรยปรายลงยัง พระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ในอากาศ
    เพื่อ บูชาพระตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ฯ
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ ไม้สาละ
    ทั้งคู่ เผล็จดอกบานสพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของ ตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอก มณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปราย
    ลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่ง จันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่น โปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็
    ประโคมอยู่ใน อากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต
    ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่อง
    สักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม
    เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพนับถือ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด

    เพราะ เหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ

    ทีฆ. มหา. 10/129/112
     
  14. seniorgolf18

    seniorgolf18 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +63
    สิ่งที่ได้บุญบารมีมากที่สุด ก็ นั่งสมาธิ นี้แหละครับกำจัดกิเลสในตนเองให้หมดสิ้นไป...

    ผมไม่เห็นพระที่ไหนนะ วิ่งไปทำบุญนั้นบุญนี้ แค่นั่งสมาธิเฉยๆ บุญบารมีมหาศาล
     
  15. Djung

    Djung สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +10
    พระพุทธเจ้าน้อยและธุดงค์ธรรมชัย นี่ รู้สึกว่าแปลกๆ นะ และงงมากด้วย
     
  16. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    (พระสูตร ๖) ระวัง
    อปริหานิยธรรม (ข้อ ๓)
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่
    เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทาน
    ศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด,
    ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อม
    เลย อยู่เพียงนั้น.
    (ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๓๐๖,
    พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๒๓/ ๒๑/๒๑)

    (พระสูตร ๗) อย่าหลง
    ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
    ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้
    คนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกัน
    แล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้ง
    มรรค) เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุทั้งหลาย !
    ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค)
    เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
    เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่าง
    กัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุ
    ผู้ปัญญาวิมุตต์.
    (อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า ๗ ๒๑,
    พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๑๗/๘๑/๑๒๕)

    (พระสูตร ๘) คงคำสอน
    ภิกษุทั้งหลาย ! มูลเหตุสี่ประการเหล่านี้ ย่อมทำให้
    พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป.
    สี่ประการอะไรเล่า? สี่ประการ คือ
    (๑) ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่า
    เรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความ
    หมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่น
    นั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็นมูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระ
    สัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป……….
    (๓) ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง, พวกภิกษุเหล่าใด
    เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจน ทรงธรรม
    ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่
    บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่น ๆ, เมื่อท่าน
    เหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก
    (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย! นี่เป็นมูลกรณีที่
    สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อม
    สูญไป……….
    (ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๓๕๕,
    พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๒๑/๑๙๘/๑๖๐)

    (พระสูตร ๙) พร้อมป้องกัน
    หลักใหญ่เพื่อตรวจสอบวินิจฉัยธรรมวินัย (มหาปเทส ๔)
    เมื่อมีผู้กล่าวอ้างในแบบต่างๆ ว่า “นี้เป็นพุทธวจน” เพื่อ
    สอบสวนเทียบเคียงพระธรรมวินัย
    (๑) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ
    ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
    “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
    (๒) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ
    ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วย
    ปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรม
    นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...

    (๓) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ
    ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็นพหูสูต
    เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับ
    เฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น
    คำสอนของพระศาสดา”...
    (๔) (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ
    ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร
    เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้
    สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
    นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
    เธอทั้งหลายยังไม่พึงรับรอง ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าว
    ของผู้นั้น เธอพึงกำหนดเนื้อความเหล่านั้นให้ดี แล้วนำไป
    สอบสวนในสูตร นำไปเทียบเคียงในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะ
    เหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้
    พึงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาค
    พระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นจำมาผิด” เธอทั้งหลาย
    พึงทิ้งเหล่าคำนั้นเสีย ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงใน
    สูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้พระ
    ดำรัส ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้น
    รับมาด้วยดี” เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทส...นี้ไว้.
    (มหาปเทส ๔ พระไตรปิฎกแปลไทย มจร. ๑๔/๕๓/๔๑,
    มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที่. ๑๐/๑๔๔/๑๑๒

    (พระสูตร ๑๐) ใช้คำสอนแทนพระองค์
    อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า
    ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว
    พวกเราไม่มีพระศาสดา ดังนี้
    อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น
    อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
    ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
    ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
    โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
    (มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘)
    อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยานวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด
    บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย...
    เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า...
    เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย​
     
  17. ญานทิพย์

    ญานทิพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +404
    มีแต่พระพุทธรูปปางพระประสูติ ในโลกนี้ไม่มีพระพุทธเจ้าน้อย พระพุทธองค์ทรงสอนให้พ้นจากทุกข์ ด้วยปัญญา " ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"ชาวพุทธทั้งหลายจงเจริญสติ ด้วยปัญญาเถิด
     
  18. เนยนพนะโม

    เนยนพนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +429
    แล้วแต่จะสมมุติกัน ควรหรือไม่อยู่ที่ดุลยพินิจของแต่ละท่าน แต่ข้าพเจ้าขอปฏิบัติตามหลัก
    ธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ เท่าที่จะปฏิบัติได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ (ท่านคิดหรือไม่ว่าพระพุทธองค์จะยินดีดับสิ่งที่ท่านสมมุติให้ โปรดใช้วิจารณญาณในการคล้อยตาม) สติมา ปัญญาเกิด

    พุทธประวัติ

    1.ประสูติ

    - พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า "พระนางสิริมหามายา" ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
    - เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ(ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) ได้มีพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
    - ทันทีที่ประสูติ ทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว มีดอกบัวผุดรองรับ ทรงเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"



    2.วัยเด็ก
    - หลังประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์ จึงทรงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา
    - ศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลกในสมัยนั้น ค์อ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร
    - พระบิดาไม่ประสงค์จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอก จึงพยายามให้สิทธัตถะพบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่ออายุ 16 ปี ได้ให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา
    - เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง)

    3.เสด็จออกผนวช

    - เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณตามลำดับ จึงทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ จึงเกิดแนวความคิดว่า
    -ธรรมดาในโลกนี้มีของคู่กันอยู่ เช่น มีร้อนก็ต้องมีเย็น , มีทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
    -ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงมายา ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม เป็นเพียงภาพมายาที่ ชวนให้หลงว่าเป็นความสุขเท่านั้น ในความจริงแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความเพลิดเพลินใดที่ไม่มีความทุกข์เจือปน
    -วิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้ หนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ

    - สิ่งที่ทรงพบเห็นเรียกว่า "เทวทูต(ทูตสวรรค์)" จึงตัดสินพระทัยทรงออกผนวช ในวันที่พระราหุลประสูติเล็กน้อย พระองค์ทรงม้ากัณฐกะออกผนวช มีนายฉันทะตามเสด็จ โดยมุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระเกศา และเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นผ้ากาสาวพักตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันนะนำกลับพระนคร การออกบวชครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่)
    - หลังจากทรงผนวชแล้ว จึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ เพื่อค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณชั้นที่แปด) ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้


    - จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา 6 ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า "เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดีจึงจะได้เสียงที่ไพเราะ" ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่า เป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้
    - ระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ (โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ) มาคอยปรนนิบัติพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์จึงหมดศรัทธา พากันไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี (ต.สารนาถ)

    4.ตรัสรู้(15 ค่ำเดือน 6)

    - ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ...
    “ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ” ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้
    - ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา ประเทศอินเดีย)
    - ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
    - ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ
    1.) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
    2.) เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ(ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้
    3.) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ4
    - อาสวักขยญาณ ที่ทรงได้ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ 5 และใช่แห่งความเป็นเหตุที่ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นต้นทางให้เขาถึงอริยสัจ 4
    - เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า





    5.ปฐมเทศนา

    - หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ได้พิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ทรงเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป
    บัว ๔ เหล่า ได้แก่
    ๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

    ๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)

    ๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

    ๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)

    - จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ (ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ) จึงเสด็จไปที่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี ในวันขึ้น 15 เดือน 8 จึงทรงปฐมเทศนา " ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป)"
    ซึ่งใจความ 3 ตอน คือ
    1.) ทรงชี้ทางผิดอันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แต่เดินทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรคมีองค์แปด เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
    2.) ทรงแสดงอริยสัจ 4 โดยละเอียด
    3.) ทรงปฏิญญาว่าทรงตรัสรู้พระองค์เอง และได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว
    - โกญฑัญญะเป็นผู้ได้ธรรมจักษุก่อน เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งตามสภาพเป็นจริงว่า

    "ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ "
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดขึ้นเป็นธรรม สิ่งนั้นทั้งหมดมีดับเป็นธรรมดา
    จึงได้อุปสมบทเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทาองค์แรก
    - หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบทแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์ อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์




    6.ลักษณะการแสดงธรรม
    - สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางธรรมมาก่อนจะทรงเทศน์ "อนุปุพพิกถา" ซึ่งว่าด้วยเรื่อง
    - คุณของการให้ทาน การรักษาศีล
    - สวรรค์ (การแสวงสุขเนื่องจากการให้ทาน การให้ศีล)
    - โทษของกามและการปลีกตัวออกจากกาม
    - จากนั้นจึงทรงเทศน์ อริยสัจ 4


    7.แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตร
    - ยสกุลบุตรเบื่อหน่ายชีวิตครองเรือนหนีออกจากบ้าน ไปยังป่าอิสปตนมฤคทายวันในเวลาเช้ามืด แล้วพบพระพุทธเจ้าบังเอิญ ยสกุลบุตรสดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ และขอบวช
    - อุบาสิกอุบาสิกาคู่แรก คือ บิดามารดาของพระยสะ
    - ครั้นแล้วมีเพื่อนของพระยสะ 4 คนกับอีก 50 คน ได้มาฟังพระธรรมเทศนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงมีพระอรหันต์ในโลก 61 องค์



    8.การส่งสาวกออกประกาศศาสนา
    - ตรัสเรียกสาวกออกประกาศศาสนา เมื่อมีสาวกครบ 60 รูป (ปัญจวัคคีย์และพวกพระยสะ)
    - ตรัสให้พระสาวก 60 รูปแยกย้ายกันประกาศศาสนา 60 แห่งไม่ซ้ำทางกัน
    - พระองค์จะเสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม
    - เมื่อสาวกออกประกาศเทศนา มีผู้ต้องการบวชมาก และหนทางไกลกัน จึงทรงอนุญาตให้สาวกดำเนินการบวชได้ โดยใช้วิธีการ "ติสรณคมนูปสัมปทา" (ปฏิญาณตนเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย)



    9.การประดิษฐ์พุทธศาสนา ณ แคว้นมคธ
    - วิธีเผยแพ่รศาสนาในกรุงราชคฤห์ ทรงเทศน์โปรดชฎิล(นักบวชเกล้าผม)สามพี่น้อง ได้แก่ พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ พระคยากัสสปะ และบริวาร รวม 1,000 คนก่อน แล้วได้ขอบวชในพระพุทธศาสนา เพราะพวกชฎิลเป็นเจ้าลัทธิบูชาไฟที่ยิ่งใหญ่ หากชฎิลยอมรับพุทธธรรมได้ ประชาชนก็ย่อมเกิดความศรัทธา
    - พระอุรุเวลกัสสปะได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางมีบริษัท(บริวาร)มาก
    - พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายวัดนับว่าเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ พระเวฬุวันมหาวิหาร (วัดเวฬุวัน)



    10.อุปติสสะ(พระสารีบุตร)และโกลิตะ(พระโมคคัลลานะ)
    - ณ กรุงราชคฤห์นี้เอง เด็กหนุ่มสองคน ซึ่งเป็นศิษย์ของนักปรัชญาเมธี ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ สัญชัย เวลัฏฐบุตร โดยพระอัสสชิได้แสดงธรรมให้อุปติสสะว่า

    "ทุกสิ่งจากเหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุของสิ่งเหล่านั้น และการดับเหตุของสิ่งเหล่านั้น"
    อุปติสสะได้ฟังก็เกิด "ดวงตาเห็นธรรม" จึงกราบลาท่าน แล้วรีบไปบอกข้อความที่ตนได้ฟังมาแก่โกลิตะทราบ โกลิตะได้ฟังก็เกิด"ดวงตาเห็นธรรม" เด็กหนุ่มสองคนจึงมาขอบวชเป็นสาวกพร้อมกัน และมีชื่อเรียกทางพระศาสนาว่า พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ ตามลำดับ

    - หลังจากบวชได้ 7 วัน พระโมคคัลลานะได้ไปบำเพ็ญสมาธิอยู่ที่ กัลลวาลมุตตคาม ใกล้เมืองมคธ รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน แก้อย่างไรก็ไม่หาย จนพระพุทธเจ้าเสด็จไปตรัสบอกวิธีเอาชนะความง่วงให้ พร้อมประทานโอวาทว่าด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น ให้ใช้ปัญญาพิจารณาเวทนา (ความรู้สึก) ทั้งหลายว่า เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน จบพุทธโอวาท พระโมคคัลลานะก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    - หลังจากบวชได้ 15 วัน พระสารีบุตรได้ถวายงานพัดพระพุทธเจ้า ขณะพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดทีฆนขะปริพาชก (นักบวชไว้เล็บยาว) อยู่ที่ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชฌกูฏ ท่านพัดวีพระพุทธองค์พลางคิดตามพระโอวาทของพระพุทธเจ้าไปด้วย เมื่อจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    - ทั้งสองท่านได้รับแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าให้เป็นพระอัครสาวก โดยพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา มีความเป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางปัญญา และพระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย มีความเป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางฤทธิ์มาก

    11.โอวาทปาติโมกข์

    - วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (มาฆบูชา) เกิดมีจตุรงคสันนิบาต ซึ่งประกอบด้วย

    1.)วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
    2.)พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
    3.)พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้อภิญญา ๖ ซึ่งหมายถึงความสามารถ พิเศษ ๖ ประการ ได้แก่ แสดงฤทธิ์ได้ ระลึกชาติได้ ตาทิพย์ หูทิพย์ กำหนดรู้ใจคนอื่นได้ และบรรลุอาสวักขยญาณ
    (คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย)
    4.)พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)
    ทรงเทศน์ "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งถือเป็นหัวใจของศาสนาพุทธ ใจความว่า

    " จงทำดี ละเว้นความชั่ว และทำใจให้บริสุทธิ์ "
    - พระสงฆ์ปรารถว่าไม่เคยเห็นฝนเช่นนี้มาก่อน พระพุทธจึงทรงเล่าว่า ฝนนี้เคยตกมาแล้วเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร แล้วจึงทรงเล่าเรื่องมหาเวสสันดร


    12.โปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์
    - ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา (พระเจ้าสุทโธทนะ) ได้บรรลุโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล จนบรรลุอรหันตผลเมื่อใกล้สวรรคต
    - พระนันทะ (เป็นโอรสของพระสุทโธทนะกับพระนางปชาบดีโคตมี) ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านำ ออกผนวชอุปสมบท
    - ต่อมาพระนางยโสธราก็ให้พระกุมารราหุลซึ่งมีอายุ 7 ปีไปทูลขอราชสมบัติ พระพุทธเจ้าเห็นว่าราชสมบัติเป็นสิ่งไม่จีรังยั่งยืน อริยทรัพย์(ทรัพย์อันประเสริฐ)ต่างหากเป็นสิ่งยั่งยืน จึงทรงให้พระสารีบุตรทำการบรรพชาให้ราหุลเป็นสามเณร จึงเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา ณ นิโครธาราม พระเจ้าสุทโธทนะจึงขอร้องว่า "ขออย่าให้ทรงบวชใคร โดยที่พ่อแม่เขายังไม่ได้อนุญาต"
    เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จากนั้นก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางใคร่ต่อการศึกษา

    - ทรงให้อุปสมบทแก่เจ้าศากยะ 5 พระองค์ คือ พระอานนท์ พระอนุรุทธ์(เป็นผู้มีเลิศในทางมีทิพยจักษุ) พระภัททิยะสักยราชา พระภัคคุ พระกิมพิละ และเจ้าโกลิยะ 1 พระองค์ คือพระเทวทัต จนได้บรรลุอรหัตผล 5 ท่าน ยกเว้นพระเทวทัต
    - พระอุบาลีเป็นบุตรของช่างกัลบก(ช่างตัดผม)อยู่ในวรรณะต่ำ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานภูษามาลาของเจ้าศากยะ ทำหน้าที่จัดการดูแลเครื่องแต่งกาย เมื่อเจ้าศากยะ 5 พระองค์ และเจ้าโกลิยะ 1 พระองค์ทรงออกผนวช อุบาลีได้ติดตามไปขออุปสมบทด้วย พระอุบาลีเมื่อได้อุปสมบทแล้วไม่ช้าก็บรรลุอรหัตผล และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศทาง ด้านผู้ทรงไว้ซึ่งพระวินัย
    - พระนางปชาบดีโคตมี(พระน้าของพระพุทธเจ้า) ได้ผนวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา โดยพระอานนท์ช่วยกราบทูลขออนุญาตพระพุทธเจ้าสุดท้ายได้บรรลุพระอรหันต์ และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางรู้ราตรี
    - โปรดให้พระนางยโสธราได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีชื่อพระนางภัททา กัจจานา จนบรรลุอรหัตผล และได้ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางบรรลุอภิญญาใหญ่ (สามารถระลึกเหตุการณ์ในกัปป์ต่างๆย้อนหลังไปได้มากนับไม่ถ้วน)



    13.การประดิษฐ์พุทธศาสนา ณ แคว้นโกศล
    เมื่อประดิษฐานพระศาสนาในแคว้นมคธได้อย่างมั่นคงแล้ว ต่อมาไม่นานพระพุทธศาสนาก็มีศูนย์กลางแห่งใหม่ที่ เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล โดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้สร้าง"วัดพระเชตวัน"ขึ้น แล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ไปอยู่ประจำ และนางวิสาขามหาอุบาสิกาเศรษฐีนีคนหนึ่ง ก็มีจิตศรัทธาสร้าง วัดบุพพาราม ถวายด้วย



    14.ปัจฉิมกาล


    - ก่อนปรินิพพาน 3 เดือน ทรงปลงอายุสังขาร
    - ก่อนปรินิพพาน 1 วัน นายจุนทะถวายสุกรมัททวะ (หมูอ่อน) เมื่อพระองค์เสวยแล้วประชวรพระอานนท์โกรธ พุทธองค์จึงตรัสว่า

    "บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์)
    เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ ,ปรินิพพาน"


    - ก่อนปรินิพพานทรงกล่าวพุทธโอวาทว่า
    1.)การบูชาพุทธองค์อย่างแท้จริง คือ การปฎิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม
    2.)พุทธศาสนิกชนที่ต้องการเฝ้าพระองค์ควรไปที่ "สังเวชนียสถาน"
    3.)การวางตัวของภิกษุต่อสตรี ต้องคุมสติอย่าแปรปรวนตามราคะตัณหา
    4.)พระบรมสารีริกธาตุเป็นเรื่องของกษัตริย์(มัลลกษัตริย์) มิใช่กิจของสงฆ์
    5.)ความพลัดพรากเป็นธรรมดาของโลก
    6.)ธรรมและวินัย จะเป็นศาสดาแทนพุทธองค์ ทั้งนี้เพราะบุคคลไม่เที่ยงแท้เท่ากับพระธรรมซึ่งเป็นสัจธรรม


    - ปัจฉิมสาวก คือ สุภัททะบริพาชก
    - ปัจฉิมโอวาท

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา
    พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
    (อปปมาเทน สมปาเทต)


    - ปรินิพพาน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ
    พระชนมายุ 80 ปี ทรงเทศนาสั่งสอนมาเป็นเวลา 45 ปี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2013
  19. พงพัน

    พงพัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +478
    ยุคสมัยนี้การเป็นชาวพุทธะแท้ๆนั้นทำยาก ด้วยว่ามารและผู้ที่ทำตัวเป็นกาฝากเหลือบริ้นไรอาศัยร่มเงาศาสนามาบังหน้านั้นมีอยู่ดาษดื่น ขอชาวพุทธทั้งหลายพึงตระหนักใช้ปัญญาให้มาก โดยเฉพาะเน้นวัตถุเน้นปัจจัยแต่หาได้เน้นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามแนวแห่งพระพุทธองค์ บ้างวัดสร้างวัตถุอลังการเหล่าญาติโยมพากันไปกราบกรานเดรัจฉานดูแล้วน่าอนาถอดสูใจ บ้างก็เป็นผู้มีชื่อเสียงเสียเปล่าแต่หาได้ศึกษาพุทธประวัติความประพฤติรึเบื้องหลังก็ยังน่ากังขา ดังนั้นหากท่านๆได้ศึกษาพุทธประวัติแท้จริงแล้วก็จะรู้"พระพุทธเจ้าาน้อย"ควรรึไม่ ในทัศนะผมแล้วถ้าแค่เป็นเพียงรูปหล่อ"เจ้าชายสิทธธัตถะ"คุณหญิงจะเข้าใจรึจะไปสถาปนาขึ้นมาเองเพื่ออะไรก็แล้วแต่ ก็ขอให้พึงระวัง"มิจฉาทิฐิ"เห็นผิดเชื่อผิดๆตายแล้วจะพากันลงเหวอเวจีให้เป็นที่น่าเสียดายที่เกิดมาได้พบพุทธศาสนา แต่ไพล่ไปเอากระพี้หรือหลงแรงยุยงของข้าทาสบริวาร
     
  20. พลังจิ

    พลังจิ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +13
    โมทนาบุญครับ..สาธุุุ.

    แต่การเรียกว่าพระพุทธเจ้าน้อยนั้นผมว่าไม่ถูกไม่ควรอย่างยิ่ง..เพราะพระพุทธเจ้าไม่มีน้อยมีใหญ่..
    น่าจะเรียกโพธิสัตว์องค์น้อย..หรือ..สิทธัตถะน้อย มากกว่า...
     

แชร์หน้านี้

Loading...