จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ● มุตโตทัย...แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น ●


    โอวาทของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น มุตโตทัย
    บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
    ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. 2486
    ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อธรรมดังต่อไปนี้

    1. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
    2. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
    2. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
    4. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
    5. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
    6. มูลการของสังสารวัฏฏ์
    7. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
    8. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
    9. อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส
    10. จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง แต่มืดมัวไปเพราะอุปกิเลส
    11. การทรมานตนของผู้บำเพ็ญเพียร ต้องให้พอเหมาะกับอุปนิสัย
    12. มูลติกสูตร
    13. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้
    14. อกิริยาเป็นที่สุดในโลก - สุดสมมติบัญญัต
    15. สัตตาวาส
    16. ความสำคัญของปฐมเทศนา มัชฌิมเทศนา และปัจฉิมเทศนา
    17. พระอรหันต์ทุกประเภทบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2013
  2. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,084
    ค่าพลัง:
    +10,246
    ดูกรอานนท์ ข้อที่ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วจะพึงทำกาละนั้นไม่อัศจรรย์
    เมื่อผู้นั้นๆ ทำกาละแล้ว พวกเธอจักเข้าไปเฝ้าพระตถาคต แล้วทูลถามเนื้อความ
    นั้น อันนี้เป็นความลำบากแก่พระตถาคต

    เพราะฉะนั้น เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส สำหรับที่จะให้อริยสาวก
    ผู้ประกอบแล้ว เมื่อจำนงอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว
    มีกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
    เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้าดังนี้
    ก็ธรรมปริยายชื่อว่า ธรรมาทาส นั้น เป็นไฉน

    ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบ
    ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี-
    *พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา
    และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งซึ่งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่น
    ยิ่งไปกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น
    ผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้

    เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน
    พระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง
    ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะ-
    *ตน ดังนี้

    เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่า
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติ
    เป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษสี่ บุรุษบุคคลแปด นี้พระสงฆ์สาวกของ
    พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี
    เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

    เป็นผู้ประกอบด้วยศีลอันพระอริยะใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
    เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญแล้ว อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ

    ดูกรอานนท์ อันนี้แลคือธรรมปริยายชื่อว่าธรรมาทาส สำหรับที่จะให้อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว
    เมื่อจำนงอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก
    สิ้นแล้ว มีกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ
    วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมี
    อันจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
     
  3. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444

    โอวาทท่านแม่ศรี


    "แม่รักลูก รู้ว่าลูกเบื่อโลก เพราะโลกนี้เป็นทุกข์ แต่แม่ขอให้ลูกอดทนเข้าไว้
    "ทุกข์"ก็ขอให้รู้ว่าทุกข์ อย่าเศร้าโศก อย่าให้ใจเป็นทุกข์ไปด้วย ต้องเข้มแข็งไว้ ลูกมีหน้าที่จะต้องทำ


    ลูกเอ๋ย ดูพ่อของลูก(หลวงพ่อฤาษีฯ)ซี ต้องทนทุกขเวทนามากกว่าลูกอีก แต่พ่อของลูกยังอยู่
    เพราะต้องการช่วยเหลือมนุษย์และพระศาสนา ให้คนที่ยัง"ไม่รู้"ทุกข์ ให้รู้ทุกข์อย่างเราด้วย
    ลูกรักของแม่ ลูกต้องอดทนต่อไปนะลูกรัก....."


    "ลูกทุกคน อย่าร่าเริงจนเกินไป จงอย่าทำจิตใจหดหู่ เมื่อกฎแห่งกรรมมาถึง เราจะต้องสู้เพื่อหักล้างในการเกิด เราจะไม่เกิดอีกต่อไป!!!
    ขอให้ลูกทุกคนจงรักษากำลังใจ ทรงไว้ซึ่งความดีตามกำลังของจิต ความดีใด ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทรงแนะนำไว้แล้ว ขอลูกทุกคนจงนำไปประพฤติปฏิบัติ รักษากำลังใจไว้เพื่อพระนิพพานโดยเฉพาะ


    ไฟร้ายที่จะไหม้ใจของเรา คือ ราคะ-โทสะ-โมหะ จงอย่ามีในจิตของลูก"

    ลูกขอน้อมรับใส่จิตและปฏิบัติ ตามอย่างที่หลวงพ่อและ ท่านแม่ พร่ำสอนด้วยชีวิตของลูก เจ้าค่ะ ...กราบแทบเท้า ท่านแม่ทั้ง สาม ด้วยเศียรเกล้า...​
     
  4. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ขออนุโมทนา สาธุ กับคุณ supatorn ที่ได้นําเอาธรรมะของผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อเข้าถึงความหลุดพ้น จากข้อความทั้งหมดที่ท่านได้กล่าวมานั้น"ถูกต้องแล้ว"เพราะผู้ปฏิบัติที่จะเดินทางมาถึงจุดนี้ได้ต้องมีความมุ่งมั่นอย่างหนัก เพราะการที่จะรู้ว่าสุขนั้นก็ต้องไม่ยึด คือผู้ปฏิบัติพอถึงขั้นนี้สุขก็ไม่เอาทุกข์ก็ไม่เอานั้นเอง... เพราะถ้าผู้ปฏิบัตินั้นถ้าติดสุขนานๆเข้าพอสุขเสื่อมไปก็ทุกข์ได้ จึงได้เกิดความเข้าใจว่าทั้งทุกข์และสุขนั้นแค่จรมาเท่านั้นก็จะไม่เข้าไปยึดไว้...อย่างพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบท่านก็มีทุกข์ทางขันธ์เวลาเจ็บป่วยแต่ทุกข์ไม่เข้าถึงจิตท่านได้และการปฏิบัติได้อย่างนี้ต้องเข้าถึงซึ้งการได้เห็นอริยะสัจ ๔ นั้นเองและเข้าใจการทํางานของกิเลสว่าเป็นตัวหนุนอยู่ฉากหลังของสังขาร เกิด-ดับและผู้ปฏิบัติได้ใช้"ตัวปัญญา"ตัวเดียวเท่านี้ที่จะไล่ล้าฆ่ากิเลสให้สิ้นซากไปได้จึงขออนุโมทนาสาธุด้วยคะ
     
  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    วิเคราะห์! หาใช่เปรียบเทียบ

    ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม เปรียบเสมือนได้แว่นขยายหรือกล้องส่องทางไกล
    ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม ย่อมเป็นผู้ที่เข้าใจพระธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
    ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม ย่อมรู้ เข้าใจและเข้าถึงพระธรรม ไม่เท่ากัน
    มีสติปัญญา หรือภูมิธรรม ภูมิปัญญา ต่างกันไป

    เหตุผลหลัก ก็คือ ความละเอียดของจิตผู้นั้นเป็นหลัก เช่น จิตพระโสดาบัน จิตพระอรหันต์ เป็นต้น
    ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม เป็นผู้ที่มีจิตนิ่ง เป็นสมาธิหรือปัญญามากกว่าจิตปุถุชน
    เพราะยังไม่ได้รับการฝึกจิต หรือการเจริญสติภาวนา จิตส่วนใหญ่ก็เลยเป็นทุกข์บ้าง
    รวมถึงผู้ที่เคยฝึกจิตมาแล้ว แต่จิตยังไม่นิ่งหรือเสถียร บางครั้งรู้สึกทุกข์บ้าง เป็นธรรมดา

    ลักษณะจิตที่นิ่งหรือสมาธิ ย่อมไม่ตกเป็นทาสกิเลส ตัณหา อุปาทานง่าย
    จิตย่อมไม่ตกไปอยู่ในโลกแห่งความคิดตนหรือผู้อื่น จิตก็ไม่ปรุงแต่ง
    เพราะจิตไม่เอามาเป็นอารมณ์ที่มาจากอายตนะ๖ ทุกข์ใดๆ ก็ย่อมไม่เกิด
    แต่ต้องขึ้นอยู่กับเจ้าของจิตผู้นั้น ได้แก่ จิตพระโสดาบัน หรือ จิตอรหันต์ เป็นต้น

    ทำไม๊ พระอริยเจ้าถึงได้แนะนำเหล่าบรรดาลูกศิษย์ของท่านว่า..
    ให้ปฎิบัติเยอะๆ คือเยอะกว่าไปอ่าน ไปจดจำมาจากตำรา
    เพราะถึงเราจะจดจำธรรมะในพระไตรปิฎก หรือ 84000 พระธรรมขันธ์ ได้ทั้งหมด
    ก็มิอาจทำให้เราบรรลุธรรม หรือมีดวงตาเห็นธรรมได้
    เห็นมีแต่จะเอาธรรมะไปถกเถียงกัน ตามความรู้ ตามความเข้าใจ
    หรือภูมิธรรม ภูมิปัญญาของตน ที่ได้จากการจำจดหรือท่องตำรา

    การเจริญสติภาวนา โดยเฉพาะปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้น
    เราต้องนำจิตไปปฎิบัติ ตามมรรคมีองค์ ๘ มิใช่เอากายไปเดินมรรคแทนจิต
    โดยเฉพาะผู้ปฎิบัติที่ชอบเอาสตินำจิต โดยมิรู้ตัว อันนี้จะปฎิบัติกันไม่ถึงไหน
    โดยเฉพาะผู้ที่ติดอีโก้ ติดตัวรู้ทางโลก ติดอัตตามานะสูง
    แต่ถ้าจะใฝ่ดีทางธรรม เมื่อเรามีหัวโขน คนที่ฉลาดย่อมวางเป็น
    เพราะอีโก้หรือความรู้ทางโลก จะเป็นตัวขัดขวางเจริญในธรรมของตนเป็นอย่างดี

    จิตเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ปล่อยวาง มิใช่กายหรือสติ
    โดยเฉพาะไม่สามารถปฎิบัติตามได้ทันที ทันใด หรือปล่อยวางไม่สนิทใจ

    สติและสมาธิเป็นแค่กระพี้ ปัญญาหรือญาณเป็นแค่เปลือก
    แต่แก่นธรรม ก็คือ จิต หรือจิตเราปล่อยวางกับทุกสิ่งได้อย่างสนิทใจหรือไม่
    การเข้าถึงหลักธรรมหรือปรมัตถธรรมนั้น เราต้องลงมือปฎิบัติเอง

    ความอัศจรรย์แห่งจิต มีมากกว่าสมองหลายล้านเท่า
    เพราะการจดจำของสมองมีขีดจำกัด มีความเสื่อม หรือสมองไม่เที่ยง นั่นเอง
    แต่จิตสามารถจดจำข้ามภพ ข้ามชาติ เลยทีเดียว

    เพราะฉะนั้น ปัญญาทางธรรมกับปัญญทางโลก จึงต่างกันมาก ราวฟ้ากับเหว
    สังเกตกันง่ายๆ ก็คือ เด็กที่ปฎิบัติธรรมหรือทำสมาธิ จะเรียนเก่งกว่าเด็กทั่วไป
    เพราะมิได้เอาสมองไปเรียนแทนจิต แต่ต้องทำจิตให้มีคุณภาพ ก็คือ ทำจิตเป็นสมาธิ

    คลายความสงสัยและความลังเลใจของตน โดยไม่ต้องไปถามผู้ใด
    ด้วยธรรมะปฎิบัติ หรือนำจิตตนเจริญรอยตามมรรคมีองค์ ๘
    เมื่อท่านมีปัญญาเป็นของตนเองแล้ว ท่านก็รู้เมื่อนั้น
    แต่จะรู้มากหรือน้อย ต้องตอบว่า ท่านทำจิตตนเองให้ละเอียดเท่าใด
    เพราะภูมิธรรม ภูมิปัญญา ย่อมขึ้นอยู่กับจิตละเอียดท่านนั้น

    ปล.เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ไม่มีเจตนาล่วงเกินจิตผู้ใด ผิดถูกอย่างไร กรุณาติ-ชม
    ผู้เขียนจะได้เช็คจิตตนไปด้วย พยายามฝึกแยกกาย แยกจิตให้ได้ (เด็ดขาด)
    เพราะตราบใดยังมีขันธ์ ๕ ถือว่ายังสกปรก ยังไม่บริสุทธิ์

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 มีนาคม 2013
  6. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อย่าเสียเวลาค้นหาความจริง
    จากคนอื่นหรือที่อื่น

    เพราะธรรมะหรือความจริง หาใช่อยู่ที่ผู้อื่น หรือสถานที่อื่นไม่
    แต่อยู่ที่กายใจของตนเอง ได้แก่ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
    หรือ ธรรมใครธรรมมัน เฉกเช่นทุกข์ใครทุกข์มัน เป็นต้น
    นี่แหล่ะ! ธรรมะของตนเอง

    เพิ่มเติ่ม
    สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ใน มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง
    คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง โดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ
    หรือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุมมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ
    โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวงได้แก่
    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุมหรือรวม
    นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา
    แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา
    คือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง
    เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้
    ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย
    แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรม
    ล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

    ขอให้ผู้ที่ตั้งใจปฎิบัติ เข้าถึงพระธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
    เข้าถึงสุญญตา(ว่างจากตัวตนหรืออัตตา) เข้าถึงวิมุตติ(ความหลุดพ้น)
    เข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบัน ตามที่ตนปรารถนากันทุกท่านด้วยเทอญ
    สาธุๆๆ
     
  7. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อ่านเฉยๆ ความรู้รอบเอว
    เดี๋ยวจะหาว่าเอาแต่ปฎิบัติ ปริยัติไม่เอา


    วิมุตติ ​
    คือ ความหลุดพ้น เป็นวัตถุประสงค์มุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ดังพุทธภาษิตว่า
    "พรหมจรรย์นี้มิได้มีลาภสักการะสรรเสริญเป็นอานิสงส์
    มิได้มีกามสุขในสวรรค์เป็นอานิสงส์ มิได้มีการเข้าถึงความเป็นอันเดียวกับพรหมในพรหมโลกเป็นอานิสงส์
    แต่ว่ามีวิมุตติเป็นอานิสงส์ ดังนี้"

    ตทังควิมุตติ คือ การพ้นไปจากอำนาจของ"ตัวกู-ของกู"ด้วยอำนาจของสิ่งที่บังเอิญประจวบเหมาะ
    วิกขัมภนวิมุตติ คือความดับแห่ง"ตัวกู" ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจของการประพฤติหรือการกระทำทางจิต
    หมายถึง ขณะนั้นมีการกระทำจิตให้ติดอยู่กับอารมณ์ของสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามแบบของการทำสมาธิ
    สมุจเฉทวิมุตติ คือความดับ"ตัวกู" ด้วยการกระทำทางปัญญา คือการทำลายอวิชชาลงอย่างสิ้นเชิง

    เปรียบเทียบได้ว่า อย่างแรกนั้นอาศัยอำนาจของการประจวบเหมาะ
    อย่างที่ 2 หรืออย่างกลางนั้นอาศัยอำนาจของจิตที่ปฏิบัติถูกวิธี
    ส่วนอย่างที่ 3 หรืออย่างสูงนั้นอาศัยอำนาจของปัญญา

    วิมุตติ 2
    คือ ความหลุดพ้นด้วยสมาธิและปัญญา ได้แก่
    1.เจโตวิมุตติ ​
    หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต
    ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะด้วยกำลังแห่งสมาธิ
    2.ปัญญาวิมุตติ​
    หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา
    ความหลุดพ้นแห่งจิตจากจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง​

    นอกจากนี้ยังมี วิมุตติ 5 มีความหมายเดียวกับ นิโรธ 5

    ที่มา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 มีนาคม 2013
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อ่านเฉยๆ ไม่ต้องจำ!
    เพราะจำไปเดี๋ยวก็ลืม ปฎิบัติถึงไหน เดี๋ยวจิตจะบอกเราเอง

    วิมุตติ 5
    หลักธรรมว่าด้วยนิโรธ

    วิมุตติ 5 คือ ความหลุดพ้นจากกิเลส 5 ประการ ได้แก่

    1. วิกขัมภนวิมุตติ
    ความหลุดพ้นหรือความดับกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยฌาน (ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์)
    เป็นการดับกิเลสของผู้บำเพ็ญฌานถึงขั้นปฐมฌาน (ฌานที่ 1 มีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
    ตลอดเวลาที่อยู่ในปฐมฌานนั้นย่อมข่มนิวรณ์ 5 (ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี มี 5 อย่าง
    ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา)ไว้ได้
    2. ตทังควิมุตติ
    ความหลุดพ้นหรือความดับกิเลสด้วยองค์ธรรมนั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่ตรงกันข้าม เช่น
    ดับความโกรธด้วยเมตตา หรือดับความเห็นว่าเป็นตัวตน หรือความเห็นเป็นเหตุให้ถือตัวตน (สักกายทิฏฐิ)
    ด้วยการกำหนดแยกนามรูปออกได้ ถือเป็นการดับกิเลสชั่วคราว
    3. สมุจเฉทวิมุตติ
    ความหลุดพ้นหรือความดับกิเลสด้วยการตัดขาดด้วยอริยมรรค หรือโลกุตตรมรรคในขณะแห่งมรรคนั้นๆ
    4. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
    ความหลุดพ้นหรือความดับกิเลสด้วยการสงบระงับ คือ การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอริยผล
    (ผลอันประเสริฐ มี 4 ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผล)
    และเป็นการหลุดพ้นที่ยั่งยืนเด็ดขาด ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก
    5. นิสสรณวิมุตติ
    ความหลุดพ้นหรือความดับกิเลสด้วยการสลัดออก คือ ดับกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว
    ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วอย่างยั่งยืน นั่นคือ การบรรลุนิพพาน (สภาพที่ดับกิเลสและทุกข์ทั้งปวง)

    ที่มา
    http://www.aksorn.com/lib/detail_print.php?topicid=173

    (อ่านต่อ นิโรธ 5)
    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%98
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,064
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ความหลุดพ้น

    =======================
    อนุโมทนาสาธุค่ะ เกิดสงสัยว่าเราจะสามารถที่จะรักษาสภาพนี้ไว้ได้นานเพียงไร และโดยเฉพาะ"จิต"กับ"สติ"รวมทั้ง"ฌาน"จะต้องมีอยู่ตลอดเวลาใช่ไหมคะ?(ใช่) กราบท่านอ.ภูค่ะcatt1
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,064
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    หลวงปู่มั่น(หมู่บ้านหนองผือ)

    *****************************
    อนุโมทนาสาธุค่ะ ชอบอ่านมากเลยค่ะ อ่านแล้วอ่านอีกก็ยังชอบอ่าน "ธรรมะบันเทิง"ดีแท้ สาธุค่ะ(หรือว่าเกี่ยวกับสว)
     
  11. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ขอแสดงความยินดีและอนุโมทนาจิตบุญดวงที่135 และคุณครูผู้สอนรวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านค่ะสาธุๆๆค่ะ;ปรบมือ
     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ปฎิบัติทุกท่าน

    ก่อนที่ข้าพเจ้าจะหันหน้าเข้าหาธรรม คำว่าศีล คำว่าภาวนา ไม่เคยสนใจ
    คือไปทางโลกสุดๆ คิดระแวงหรือไม่ไว้ใจคนอื่นตลอดเวลา
    มองเห็นแต่คนอื่น มีทั้งดีและไม่ดี แต่ไม่เคยหันกลับมามองดูตัวเองบ้างเลย
    แต่เดี๋ยวนี้ไม่สนใจผู้อื่นแล้ว แต่กลับมาสนใจดูกายดูจิตตนเองเพียงอย่างเดียว
    เพราะแท้ที่จริงแล้ว ตัวทุกข์ก็คือขันธ์ ๕ ของเราดีๆ นี่เอง
    ร่างกายเห็นมีแต่ความเสื่อม ความไม่เที่ยง ไม่รู้ว่าเราจะตายจากคนรอบข้างหรือโลกนี้เมื่อไหร่
    ส่วนความคิดนึกของตนเองก็จะมีทั้งดีและไม่ดี
    แต่ถ้าจิตของผู้ปฎิบัติเข้าใจและเข้าถึงธรรมะตัวนี้ได้แล้ว จิตก็จะปล่อยวางง่าย
    แต่ถ้าจิตเราปล่อยวางง่าย เท่ากับเราออกจากทุกข์ตนเองได้ เมื่อนั้น
    อย่าลืมนะ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ขอให้เราสนใจเรื่องจิตตนเองให้มากๆ
    เพราะแก่นของธรรมมันอยู่ที่จิตใจ คือความหลุดพ้น หรือปล่อยวางง่าย
    ให้อภัยคนก็ง่าย เพราะเราเจริญพรหมวิหาร เมื่อจิตเราเป็นพรหมแล้ว ทุกอย่างจะง่าย
    ยิ่งได้ผลมากจากการปฎิบัติของตน จิตใจก็จะเบา และกายก็จะเบาตามจิตไปด้วย

    มาตอนนี้ถึงได้เข้าใจผู้ที่ยังไม่ปฎิบัติธรรม ไม่รักษาศีล ไม่ทำภาวนา
    หรือปฎิบัติธรรมแล้ว แต่ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม ทั้งๆที่บางท่านก็บวชทั้งกายทั้งใจ
    บางท่านบวชแต่ใจ แต่สุดท้ายว่าทำไมยังมีความทุกข์อยู่ บางครั้งทำใจได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
    ว่าไปตามวาระและโอกาส ตามอารมณ์ขึ้นลงของตนเอง เพราะยังไม่เข้าใจตนเอง

    แท้จริงแล้วการปฎิบัติธรรมก็เพื่อตนเองเป็นหลักก่อน แต่ถ้าเรารอดแล้วค่อยพาผู้อื่นออกจากทุกข์
    แต่ถ้าผู้ปฎิบัติเข้าใจและเข้าถึงธรรมะ ทุกท่านก็จะร้องคำว่า อ๋อ!
    เมื่อปฎิบัติธรรมก็เพื่อเข้าใจตนเองก่อน เมื่อเราเข้าใจตนเองแล้ว ต่อไปเราจึงค่อยเข้าใจผู้อื่น
    แต่ขั้นตอนการปฎิบัตินั้นไม่ยากเลยสำหรับผู้เอาจริง เอาจัง เพราะการปฎิบัตินั้นต้องใจมาก่อนเลย
    แค่เตรียมใจหรือกำลังใจเท่านั้นเอง ต่อไปให้รักษาศีลให้ครบ โดยวัดตัวเจตนาก่อน
    เมื่อเราปฎิบัติธรรม จนจิตนิ่งและละเอียด ศีลกับธรรมก็จะละเอียดตามไปด้วย
    จิตใจก็ค่อยพัฒนาสูงขึ้นไปเรื่อยๆไปตามลำดับ ไปตามกำลังใจของตนเอง

    เวลาเราปฎิบัติธรรม จะต้องมีระเบียบวินัยในตนเอง เช่น อยู่กับตนเองให้มาก
    หรืออยู่กับกายใจให้มาก หรือดูความเคลื่อนไหวของกายทุกอิริยาบถและดูความนึกคิดของตน
    แต่ถ้าเรามีสติมากจนเป็นสัมปชัญญะ เราก็จะเห็นสิ่งกระทบจิตและรู้เท่าทันความนึกคิดของตน
    แต่ถ้าจิตเราไม่นิ่งพอ เราก็จะมองไม่เห็นสองธรรมนี้เลย เพราะแค่สติธรรมดาๆ ตามไม่มชทันแน่
    เพราะมันทำงานได้รวดเร็วมาก แต่จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อ จิตเรานิ่งเป็นสมาธิ แล้วปัญญาจะผุดตัวรู้เอง
    จิตเรานิ่งหรือเป็นสมาธิกันได้เมื่อไหร่ เราก็จะได้อานิสงฆ์หรือความสุขมาแทนที่ความทุกข์ของเรา

    เพราะฉะนั้น ขอให้ผู้ปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้น หรือเพื่อมรรคผลนิพพานของตนเอง
    ขอให้ทำด้วยใจจริงๆ เพราะถ้าเราทำจริงๆก็จะได้ของจริงๆกับไป
    โดยเฉพาะผู้ที่บวชใจอย่างเดียว จะต้องมีกำลังใจเป็นสองเท่าตัว
    คือจะต้องมีอดทน ความพยายาม ความขยัน ความเพียร มากกว่าผู้ที่บวชทั้งกายทั้งใจ
    ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว เราก็ยากจะปฎิบัติให้สำเร็จ ยากที่เราจะออกทุกข์ของตน

    ขอให้พวกเราปฎิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น หรือออกจากทุกข์ มิใช่หนีทุกข์ตนเอง
    แต่ถ้าออกจากทุกข์ของตนเองได้แล้ว เราก็จะอยู่กับตัวทุกข์หรือกิเลสได้เหมือนเดิม
    อยู่แบบไม่รู้สึกว่าตนเองทุกข์ และอยู่ไป ภาวนาไปจนกว่าจะดับขันธ์

    ปล.กรรมแก้ไขได้เฉพาะกรรมไม่ดีในปัจจุบัน โดยการหยุดกระทำความชั่วทุกชิด
    และกระทำกรรมดีหรือบุญกุศลเพียงถ่ายเดียว
    ส่วนกรรมในอนาคตจะดีหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า กรรมในปัจจุบัน เรากระทำดีหรือชั่ว
    ก็ต้องไปว่าตามกฎแห่งกรรม เพราะทุกคนเิกิดมาย่อมตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม
    แต่กรรมไม่ดีในอดีตนั้น แก้ไม่ได้ มากที่สุดก็แค่แก้ไขกรรมจากหนักให้เป็นเบา

    ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย โดยเฉพาะสมเด็จองค์ปฐม หรือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
    จงดลบันดาลให้ผู้ที่สนใจและตั้งใจในการปฎิบัติธรรม เพื่อความหลุดพ้นหรือเพื่อมรรคผลนิพพานในชาตินี้
    และขอให้มีความสุขทั้งกายใจ หรือตามแต่ใจปรารถนาของทุกๆท่านด้วยเทอญ...สาธุๆๆ
     
  13. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    “แต่ละถ้อยคำเป็นอกาลิโก
    ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาล”

    -----------------------------
    ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำ
    ไปแล้วด้วยธรรมนี้
    อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก),
    เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก),
    เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก),
    ควรน้อมเข้ามาใส่ตน (โอปนยิโก),
    อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน
    (ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ)
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=3oPIFtXMAL0]เพลงดอกบัวงามเมื่อบำเพ็ญ (ญ) // by ballbangpra - YouTube[/ame]
    ปัญญาญาณปางก่อนเลือนรางหายไป
    เมื่อมีกายต้องกรำทุกข์ เวียนวนอย่างนั้น
    อวิชชามากมาย มามัดใจยากเปลี่ยนผัน
    เหล่าเวไนยเกี่ยวกรรมกันมาแสนนา­น
    มือจูงมือเร่งช่วยพี่น้องรับธรร­ม
    ขอแจ้งธรรมในการณ์นี้ ถึงกาลสุดท้าย
    อย่าเพียงพบ แล้วลา ใจพุทธะต้องห่างหาย
    จากนาวาต้องตรมทุกข์ ยากพ้นวัฏฏะ

    เอ๊า! พวกเราอย่าช้า รีบเร่งบำเพียรบุญบารมีแห่งตน
    อย่าช้าๆ เพราะตอนนี้ครูสอนจิตเกาะพระหายไปหมดแย๊ววว..
    ก่อนที่จะหมดโอกาสมีดวงตาเห็นธรรม
    เพราะตอนนี้เหลือแต่ครูเกษคนเดียว(มั้ง)..อิอิ

    พูดแบบนี้มีหวังคงจะเหลือครูเกษคนเดียวแน่ๆ เดี๋ยวครูท่านอื่นแอบน้อยใจ
    จึงขออนุญาตแก้ข่าวใหม่ว่า..ยังพอมีครูท่านอื่น(แอบ)สอนอยู่หลายท่านเหมือนกัน


    @นาวาเกษไม่มีจม เพราะทอดสมอบนบก เห่อๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 มีนาคม 2013
  15. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    ขอโมทนา กับ จิตบุญดวงที่ ๑๓๕ คือ คุณอ๊อด และครูผู้สอน คือ ครูลูกพลังและครูก้องด้วยค่ะ
     
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อ๊าวตกลงเป็นประโยคคำถามหรือบอกเล่า ถามเองตอบเองเสร็จสรรพ
    แต่น่าจะตอบให้ยาวอีกนิดนึงนะ จะดีมาก

    ครับ! แต่ถ้าเราหมั่นเจริญสติภาวนา หรือนำสติไปรวมกับจิตให้เป็นเอกัคคตารมณ์ก็ยิ่งดีใหญ่
    เพราะถือว่าเป็นบุญใหญ่ ทำไมถึงพูดว่าเป็นบุญใหญ่ ตอบว่า..
    ในขณะที่จิตเราเป็นสมาธินั้น จิตปราศจากกิเลสหรือนิวรณ์มารบกวน
    แต่ความจริง หาได้ทำแบบพระอริยเจ้ากันได้ไม่ เพราะด้วยภาระหน้าที่ต้องเกี่ยวข้องกับทางโลกนั้น ยังต้องดำเนินต่อไป
    แต่พวกเราฆราวาส คือผู้ที่บวชจิตอย่างเดียว นักบวชอาชีพท่านก็ยังทำกันยาก
    แต่ช่างเห่อ จะไม่ขอกล่าวไปยังบุคคลที่สาม มันไม่ดี บอกกันแค่รู้นิดหน่อย

    สรุปว่า หลังจิตยกแล้ว หรือเป็นอริยบุคคล ประเภทใดก็ตาม
    หลักใจความมันอยู่ที่ว่า.. เราขยันทบทวนหรือทรงอิทธิบาท๔ ไหม?
    คือทบทวนตั้งแต่เรื่องศีลของตน
    (ข้อนี้ทบทวนบ่อยๆหน่อย เผลอไม่ได้เลย ให้เราสมานทานศีล ๕ ก่อนนอนทุกคืนก็จะดีมาก)
    เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเจตนาที่อยากกระทำผิดศีลแบบซึ่งหน้ากันหรอก
    ผู้ปฎิบัติน่าจะได้ยินกันทุกคนว่า แค่คิดก็ผิดแล้ว นี่สำหรับผู้ที่จิตละเอียด ศีลและธรรมย่อมละเอียดตาม
    คนที่จิตละเอียดเขามักดูกันที่ศีลข้อเดียวหรือ ศีลที่เกี่ยวกับมโนอย่างเดียว หรือเราเรียกว่า ศีลใจ
    แต่ถ้าใจเราดี เปรียบเสมือนต้นน้ำดี ปลายน้ำก็ย่อมดีหรือสะอาดตามไปด้วย
    เพราะฉะนั้นคนที่จิตละเอียดขอให้ดูศีลใจ ว่าด้วยมโนกรรมเป็นหลัก เพียงข้อเดียว
    เพราะภายในก็คือจิต เพราะถ้าภายในดีเพียงอย่างเดียวแล้ว ภายนอกคือ คำพูดและการกระทำก็ย่อมออกมาดีด้วย
    (จบนะสำหรับเรื่องศีล) ผ่านไป เรื่องการภาวนา จะขอกล่าวเพียงสั้นๆก็คือ..

    การภาวนามีอยู่ ๒ ประเภท ก็คือ สมมถกับวิปัสสนา คงไม่ต้องพูดกันมากแล้ว
    วกกลับมาทบทวนข้อต่อไป ก็คือ สังโยชน์๑๐ประการ ของตนเป็นยัง เราอ่อนข้อใด ให้เร่งซ่อม แก้ไขข้อนั้นๆโดยด่วน
    ทบทวนข้อต่อไปก็คือ จิตเราเป็นเหมือนพรหมไหม๊ ก็คือ พรหมวิหาร นั่นเอง
    ข้อนี้ดูง่ายนิดเดียวก็คือ เราให้อภัยคนง่ายไหม๊ แต่ง่ายก็มีหลายระดับ
    หมายถึงคนที่ทำใหเราไม่พอใจแล้ว เรายังให้อภัยเขาได้ไหม๊ มากหรือละเอียดเข้าไปใหญ่ เช่น
    คนที่ฆ่าพ่อแม่ลูกหรือคนรักเรา เราให้อภัยได้ไหม๊
    แต่จริงๆแล้ว ถ้าเรารู้ตัวเองว่าเป็นอริยบุคคล โดยเฉพาะอริยบุคคลขั้นสูง
    คือตั้งแต่จิตอนาคามีเป็นต้นไป ถามว่าใครยังสอบไม่ผ่านเรื่อง ปฎิฆะ หรือมานะ
    หรือยังติดใจ ข้องใจอยู่กับ คำว่า พอใจหรือไม่พอใจ ยินดีหรือไม่ยินดีกันอยู่ไหม
    สรุปแล้ว จิตยังไปไม่ถึงไหนเลย ปากก็พร่ำบอกตนเองหรือชาวบ้านไปวันๆ
    ว่าข้าฯคืออนาคามีหรืออรหันต์ เขาไม่ทำกันแบนั้นหรอก
    โลกธรรม๘ จิตเขาพากันก้าวข้ามพ้นไปหมดแล้ว ลองตริตรองหรือตรวจสอบกันดูนะ
    เพราะพระอรหันต์จริงๆ จิตถึงนิพพานจริงๆ ย่อมไม่อ่อนไหว จิตย่อมอยู่ตรงกลาง คำว่า
    ทุกข์กับทุกข์ ดีใจกับเสียใจ พอใจกับไม่พอใจ
    เพราะจิตพระอรหันต์ท่านไม่มีอารมณ์แบบนี้ กิเลสตัณหาอุปาทานมันมีอยู่เฉพาะที่กายหยาบเท่านั้น
    แต่มิได้นำมายึดเป็นอารมณ์ เช่น เห็นสักแต่ว่าเห็น เป็นต้น จิตเขาเห็นปรมัตถธรรมหมดแล้ว
    จิตก้าวข้ามคำบัญญัติหรือสมมุติทั้งปวงไปหมดแล้ว
    นี่ไง๊ คอยสังเกตกันดูให้ดีๆนะว่า ศีลและธรรมของเราจะดีหรือละเอียดเพียงใด
    ก็ขึ้นอยู่กับจิตของเรามันละเอียดไหม๊ และละเอียดกี่วัน กี่เดือน ก็ขึ้นอยู่ที่เราขยันเจริญสติกันไหม๊
    แต่ถ้าใครขยันเจริญสติเป็นประจำแล้ว สติธรรมดาๆก็จะกลายเป็น สติสัมปชัญญะ นี่ไง๊ ตัวปัญญามันเริ่มโผล่มาแร๊ะ
    ที่ผู้ปฎิบัติอยากได้กันนักกันหน๋า ก็คือ ปัญญา รู้ทั้งรู้นะ ว่าปัญญามันต้องได้มายังไง
    แต่พวกเราก็แกล้งโง่ หรือโง่จริงก็ไม่ทราบนะ หรือว่าขี้เกียจซะมากกว่า
    พวกเรานึกว่าการเป็นอริยบุคคลมันง่ายนักมั้ง โดยเฉพาะจิตอนาคามีเป็นต้นไป แต่ถ้าปฎิบัติกันง่าย
    ป่านนี้บ้านเมืองเงียบสงัดอย่างกับป่าช้าไปแร๊ะ ทุกวันนี้มันวุ่นวายกายใจกันเพราะอะไร
    ตอบได้คำเดียวว่า จิตไม่นิ่ง เพราะจิตเป็นใหญ่ กายเป็นบ่าว คอยสังเกตกันให้ดีๆ
    เมื่อคนเราจิตไม่นิ่ง ก็ดีไม่ได้ ศีลและธรรมก็ไม่ชอบอยู่กับคนประเภทนี้
    ถ้าเราลองเปรียบเทียบกันเล่นระหว่างพระภิกษุสงฆ์กับฆราวาส ใครเป็นอริยบุคคลมากกว่ากัน...
    หรือดูให้มันแคบลงไปอีกก็ได้ ก็คือ เราลองสังเกตดูฆราวาสที่มีจิตอรหันตืกี่ดวง
    มีเยอะนะ แต่เขาหลีกหนี ปลีกวิเวกกันไปหมดแล้ว ไม่ใช่เขาอยู่ทางโลกไม่ได้ แต่เขาไม่อยากอยู่
    เพราะจิตผู้ที่สงบสงัดหรือนิ่งได้ที่หรือจิตเสถียรนั้น เขาอยู่ที่ไหนก็สงบทั้งนั้น เพราะมันไม่เกี่ยวกับสถานที่หรือไปอยู่กับใครๆ
    เพราะจิตใจเขาสงบสงัด เยือกเย็นทั้งกายใจไปแล้ว แล้วคนจำพวกนี้จะมีพลังงานไปหากัน ต้องไปพบเจอกันอยู่ดี
    เพราะต่างจิตต่างใจย่อมรู้วาระจิตกันได้ มองหน้าก็รู้ใจ อะไรประเภทนั้น
    อ๊าวทำไม๊มันยาวจนได้เนี๊ย ไหนๆก็ไหนๆ ขอพิเศษก็แล้วกัน สำหรับคนเคยรักกัน(อดีตชาตินะ)
    แต่ปัจจุบัน ฉันมีแต่ความเมตตาให้กันๆ มันยิ่งกว่ารักกันทางโลกๆอีกนะ
    แต่รักแบบนี้มีแต่ให้ ไม่ยึดติด เพราะถ้าผู้ใดยึดติดกับอดีตก็จะได้แต่อดีต ธรรมปัจจุบันและอนาคตก็หายมลายไปในพริ๊บตา
    พร่ำถึงไหนแร๊ะ
    ขออีกนิดนึงน่ะ ก็คือ เมื่อเราทำมาทุกอย่างแล้ว แชมป์ก็ได้แล้ว ต่อไปเราก็แค่รักษาแชมป์เก่าให้ได้
    ด้วยเจริญศีลกันแล้ว ภาวนากันแล้ว สุดท้ายเราก็เจริญรอยตามมรรคมีองค์๘ ให้ครบ
    คำว่าให้ครบนะ นี่แหล่ะ สำคัญมาก สำหรับอริยบุคคล
    โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่รู้ตนเองว่า ตนเองคืออริยบุคคลเบื้องสูง
    จำเป็นต้องเจริญรอยตามมรรคให้ครบทั้ง ๘ ข้อ
    ถ้าไม่เจริญหรือปฎิบัติไม่ครบองค์มรรค มาถึงจุดสุดยอดตอนนี้กันเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ
    ปัญญาญาณหรือญาณ(ยาน) จะหายไปโดยมิรู้ตัว สำหรับผู้ประมาทย่อมมีทุกระดับ
    พึงระวังให้ดี (ข้าพเจ้าขออนุญาตกล่าวธรรมสูงเกินครึ่งทางในที่สาธารณะ)
    ข้าพเจ้ารู้ว่า ผู้ปฎิบัติยังคงติดตามอ่านอยู่ แต่ผมจะไม่บอกว่าใครบอกมานะ
    เป็นอันว่ารู้ก็แล้วกัน แต่ก็ดีนะ ถ้าผมพูดไม่เถือก เอ๊ย ไม่ถูก ก็คอยชี้แนะผมด้วย เพราะผมก็ยังมีกายหยาบเหมือนกัน
    ตอนนี้เราอย่าไปพูดถึงเรื่องกายหยาบ ตัดทิ้งไปเลย เพราะที่นี่ เน้นจิต โดยเฉพาะจิตพร้อมก่อน
    แต่ถ้าใครไม่พร้อมหรือกำลังใจยังไม่มาก ไม่ถึงก็ไม่เป็นไร อ่านไปเรื่อยๆ
    เดี๋ยวมีเข้าสักวันนึง ปฎิบัติถึงแล้ว จะมาพูดคุยกันภายหลัง
    ตอบว่ายินดีครับผม ทั้งแลกทั้งเปลี่ยนธรรมกัน
    อย่ามัวเอาแต่นั่งหลับตาปี๋คนเดียว ได้บุญได้บาปคนเดียวก็ไม่รุ๊
    แต่ที่นี่ให้แต่บุญ บาปผมไม่ให้ เพราะผมก็ไม่ครบมัน รักษาแค่ศีล ทำภาวนาเฉพาะคนเดียวก็แย่แล้ว

    ขอวกเข้าเรื่องอีกนิดก็คือ นอกจากญาณหายแว๊บไปกลับตาแล้ว
    คำสุดท้ายที่เหล่านักปฎิบัติ ตามหากัน นั่นก็คือ วิมุตติ ย่อมไม่ถึงตามไปด้วย
    เอาน่ะ บอกแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน ผมไม่รู้มากหรอก รู้แค่นิดเดียว แต่พูดมากเฉยๆ
    ลองไปไถ่ถามผู้ที่ปฎิบัติถึงกันดูนะว่า จริงไหม๊...

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มีนาคม 2013
  17. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,084
    ค่าพลัง:
    +10,246
    [๙๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในนาทิกคาม
    แล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยัง
    เมืองเวสาลี ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น
    พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงเมืองเวสาลีแล้ว ได้ยินว่า
    พระผู้มีพระภาคประทับในอัมพปาลีวัน เขตเมืองเวสาลีนั้น ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค
    ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุสาสนีของเราสำหรับเธอ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่าภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นผู้มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    อย่างนี้แลภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสติ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวในการก้าว
    ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการ
    ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่าย
    อุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ
    การตื่น การพูด การนิ่ง อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุสาสนีของเรา
    สำหรับเธอ ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2013
  18. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อ่านดีๆ มีรางวัล!
    โดยเฉพาะตัวหนังสือสีแดง​

    ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายเธอจงเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า จงรู้ว่าเป็นผู้หายใจเข้า เมื่อหายใจออกก็จงรู้ว่าเป็นผู้หายใจออก" หมายความว่า การรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนี่เราไม่ต้องระวังกัน ไม่ต้องตั้งท่า ไม่ต้องหาเวลา เป็นเวลาใดก็ตาม เวลาที่กินข้าวอยู่ก็ดี หรือว่าทำการงานก็ดี เวลาพูดคุยกับเพื่อนฝูงก็ดี เดินไปก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ทุกอิริยาบทเราสามารถรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกได้อย่างสบาย อย่างนี้เรียกว่าเข้าถึงอานาปานาสติ มหาสติปัฏฐานสูตรข้อนี้แล้ว
    เรื่องของพระกรรมฐานกับนิมิตเป็นของธรรมดา นิมิตของอานาปานาสติกรรมฐานก็มี เช่น สีเขียว สีแดง สีสว่างคล้าย ๆ แสงไฟฉาย หรือเหมือนแสงฟ้าแลบ การที่จะได้บุญ อยู่ตรงที่จิตเป็นสมาธิ ตัวบุญอยู่ที่จิตเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ตั้งมั่น ไม่ใช่อยู่ที่องค์ภาวนาอย่างเดียว การภาวนาด้วย ก็เพื่อจะใช้อารมณ์ยึด คือ สติ ให้รู้อยู่ว่าเรากำหนดลมหายใจเข้าออก หรือว่าเราภาวนาว่ายังไง แล้วก็ควบคุมอารมณ์อยู่เฉพาะอย่างนั้นอย่างเดียวให้เป็นเอกัคคตารมณ์ คำว่า เอกัคคตารมณ์ แปลว่า เป็นหนึ่ง ตัวบุญใหญ่คือ การทรงสมาธิจิต ถ้าสมาธิทรงได้สูงมากเพียงใด นิวรณ์ที่จะมากั้นความดีคืออารมณ์ของความชั่ว คำว่านิวรณ์ได้แก่ อารมณ์ของความชั่ว ถ้าขณะใดจิตทรงสมาธิที่เรียกกันว่าเป็นฌาน คำว่าฌานนี้ แปลว่า การเพ่ง การทรงอยู่ของจิต จิตเพ่งอยู่เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อันนี้เราเรียกกันว่า ฌาน
    เมื่อเรามีสติสามารถจะรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ที่กระทบเข้าและกระทบออกที่จมูกได้ เข้าก็รู้ออกก็รู้ จิตก็จะเริ่มเป็นสมาธิ สมาธิขั้นต้นเรียกว่า ขณิกสมาธิ แปลว่า สมาธิเล็กน้อย เมื่อขณิกสมาธิละเอียดขึ้น จิตก็จะเข้าสู่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์ของที่เป็นทิพย์จะปรากฎ จิตเป็นทิพย์ คือ จิตย่อมว่าจากกิเลส จิตว่างจากนิวรณ์ทั้ง ๕ เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์ ๕ ประการแล้ว จิตก็สามารถจะเป็นทิพย์ แต่จะเป็นมากหรือเป็นน้อยขึ้นอยู่กับสมาธิจิต จะเห็นแสง เห็นภาพ แต่ภาพที่ปรากฎก็ดี แสงสีที่ปรากฎก็ดี จงอย่าเอาจิตเข้าไปเกาะ เพียงกำหนดว่า ถ้าหากว่าเราเห็นนานหรือเร็ว จงรู้ตัวว่า นี่จิตของเราเป็นทิพย์ เข้าสู่อุปจารสมาธิ


    ที่มา:
    http://www.larnbuddhism.com/grammathan/sati2.html
     
  19. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขออนุญาตขยายธรรม เพื่ออ่านง่าย เข้าใจง่าย
    สวัสดีและโมทนาสาธุครับ คุณพี่ UncleGee
    ขอขอบพระคุณมากสำหรับธรรมาทาน มีประโยชน์มาก
    ปฎิบัติมากๆไปก็ดี แต่ควรนำปฎิเวธตนเอง ไปเทียบเคียงปริยัติไปกันบ้าง
    เพื่อป้องกันตนเอง ปฎิบัติผิดทางหรือหลงทาง
    พยายามยึดหลักพระธรรม เป็นแนวทางในการปฎิบัติ โดยเฉพาะมรรคมีองค์ ๘
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 มีนาคม 2013
  20. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ขออนุโมทนาสาธุ กับครูพี่ภู ที่ท่านได้นําวิธีที่ถูกต้องในการ"ภาวนา"มาให้พวกเราๆท่านๆได้นํามาปฏิบัติช่างเป็นบุญและเป็นวิธีที่ถูกตามคําสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขออนุโมทนาค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...