จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    [​IMG]
     
  2. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    ขออนุญาตนำส่วนหนึ่งของการบ้านลูกศิษย์ขึ้นกระทู้ ให้ทุกท่านได้โมทนาบุญกับผลการปฏิบัติของเธอกันค่ะ สาธุ..:cool::cool::cool:

    คุณครูเกษคะตอนนี้ ตูนรู้สึกได้เลยนะคะ ว่าในระหว่างวันไม่ว่าจะทำอะไรนั้น ตูนนึกถึงรูปพระท่านก็มาให้เห็นนะคะ ไม่ได้มาให้เห็นอย่างเดียวนะคะ แต่รู้สึกได้ว่าท่าตามตูนทุกๆ ขณะ อย่างเช่นเมื่อวันก่อน ตูนและครอบครัวได้ออกไปนอกบ้าน ซึ่งแฟนตูนมีหน้าที่ขับรถส่วนตูนนั้นเป็นผู้นั่ง ซึ่งในระหว่างที่นั่งรถไปนั้นตูนมองออกไปรอบๆ เหมือนกับมองวิวนะคะ และจิตของตูนก็นึกถึงภาพพระนะคะ ซึ่งครั้งนี้แปลกมากๆ คะคุณครูเกษ ตูนเห็นท่านตลอดเวลา ทุกๆ ที่มองไปเห็นท่านนั่งอยู่ ถ้ามองไปรอบๆ ภาพท่านก็ลอยตามมา มองไปที่รถคนหน้้าท่านก็นั่งอยู่ที่ท้ายรถคันนั้น มองไปที่ต้นไม้,หน้าต่างบ้านคน หรือหน้าของแฟนตูนท่านก็อยู่ตรงนั้นนะคะ และเป็นอย่างนี้ตลอดเลยคะ พอกลับมาถึงบ้าน ก็เป็นปกติพอนึกถึงท่านก็เห็นท่าน แล้วแต่จิตจะนึกให้ท่านอยู่ที่ไหนท่านก็อยู่ตรงนั้น โดยเฉพาะเวลามองกระจกเห็นเงาตัวเองในกระจก นึกเห็นท่านอยู่ในอกท่านก็นั่งอยู่ตรงนั้นนะคะ ในเงาตูนซึ่งอยู่ในกระจก ซึ่งเมื่อวานก็เป็นเช่นกัน ตูนกับแฟนออกไปทำธุระข้างนอก แต่คราวนี้ตูนเป็นคนขับรถ ซึ่งตูนก็ขับรถตามปกติ ในระหว่างขับรถตูนก็ฝึกกายกับสติพร้อมๆ กันให้รู้ว่าตอนนี้เราทำอะไรอยู่ เท้าก็ทำหน้าที่ของมันไป แขนก็ทำหน้าที่ของมันไป ส่วนสติและจิตทำหน้าที่พร้อมๆ กันคือว่าตอนนี้ขับรถก็ให้รู้ว่าขับ จิตนึกถึงภาพพระท่านก็ลอยมาให้เห็น จะนึกถึงตรงไหนท่านก็อยู่ตรงนั้นพอมองที่กระจกรถท่านก็อยู่ตรงนั้น มองรถคันหน้าท่านก็อยู่ตรงนั้นเช่นกันซึ่งเป็นอย่างนี้ไปตลอดทางทั้งขาไปและกลับเลยคะ และในระหว่างขับรถนั้นตูนก็เจริญสติไปพูดกับจิตตลอดเวลาว่าแฟนนั่งอยู่ข้างๆ ถ้าเขาพูดอะไรมาก็ฟังเขาแต่อย่างไปคิดนะ เพราะมันไม่ดีเขาเป็นของเขาอย่างนี้เราเปลี่ยนเขาไม่ได้ เราต้องกับมาดูตัวเราเองนะ ซึ่งเราคิดว่าเราเห็นตัวเองแล้ว แต่ที่จริงแล้วเรายังไม่เห็นตัวเองแน่แท้ แล้วนับประสาอะไรกับแฟนตูน ถ้าเขาพูดอะไรมาก็ที่ทำร้ายสิตและจิตของเรา ก็คิดไปว่าเขาเป็นมารร้ายที่มาสอนเราให้เจริญสติและวิปัสสนาเถิด (ตูนลืมบอกครูเกษไปว่าแฟนตูนกับตูนทะเลาะกันบ่อยนะคะ โดยเฉพาะเวลาขับรถ เค้าจะพูดโน้นพูดนี่่ บ่นโน้นบ่นนี่ทั้งเป็นคนขับหรืคนนั่งคือมองแต่คนอื่นอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ไม่เคยคิดที่จะมองตัวเอง)

    ส่วนเวลานั่งสมาธินั้นตูนพยายามทำอย่างที่คุณครูเกษแนะนำอยู่นะคะ พยายามนึกถึงรูปพระแต่ไม่สามารถเห็นท่านได้คะ แต่ไม่เป็นตูนจะค่อยๆ ทำไปนะคะ และในส่วนที่มองให้เห็นทุกข์นั้น ตูนก็พยายามวิปัสสนาให้เห็นทุกข์ที่เกิดมาในโลกนี้ อยู่นะคะ สุดท้ายนี้ตูนขอจบการรายงานการบ้านก่อนนะคะ ซึ่งตูนยังมีอะไรอีกมากมายในจิตที่จะบอกคุณครูเกษ(ในทางธรรมนะคะ) แต่ตอนนี้ตูนต้องขอตัวไปทำหน้าที่แม่ที่ดีของลูก และหน้าที่ภรรยาที่ดีของสามี(ทางโลกนะคะ) ทั้งที่ตอนนี้มีความรู้สึกว่าอยากจะไปที่ไหนเงียบๆแต่ก็พูดกับตัวเองว่าเราต้องอยู่ให้ได้ในโลกของความเป็นจริง


    ขอขอบคุณคุณครูเกษและขอบคุณตัวเองที่เปิดจิตให้รับในสิ่งที่ดีที่เข้ามาในชีวิต สาธุ
     
  3. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    ติดครูบาอาจารย์

    [​IMG]

    อาตมาจำได้เมื่อครั้งอยู่วัดหนองป่าพง บางขณะรู้สึกเบื่อหน่าย มองพระเณรอื่นๆ ในแง่ที่ไม่ดี มิใช่ท่านเหล่านั้นประพฤติมิชอบ แต่เป็นเพราะใจอาตมาหดหู่เองจึงมองสิ่งต่างๆ ในแง่ที่ไม่เป็นมงคล ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องคอยเฝ้าสังเกตความรู้สึกเช่นนั้น

    "เพราะผู้ที่อดทนต่อสิ่งที่ทนได้ยากเท่านั้น จะสามารถทนต่อสิ่งทั้งปวงได้"

    เหตุนั้น การที่เรามาอยู่กันที่นี่ ไม่ใช่มามองหา "อาจารย์ของฉัน" แต่ตั้งใจตั้งเรียนรู้ เรียนจากหนู จากยุง จากอาจารย์ที่เราเคารพนับถือ และจากคนทุกๆ คน

    เมื่อปีกลายอาตมากลับไปประเทศไทยเพื่อไปเยี่ยมท่านอาจารย์ชา ไปพบว่าอาจารย์ป่วยหนัก แทนที่จะเห็นลักษณะกระฉับกระเฉง ใยดี มีอารมณ์ขัน น่ารักน่านับถือ อย่างที่อาตมาเคยรู้จักก่อน กลับกลายเป็นเหมือนก้อนเนื้อหนึ่งตั้งอยู่เฉยๆ อย่างนั้น แล้วอาตมาอาจคิดไปว่า

    "โธ่เอ๊ย ท่านอาจารย์ที่เคารพของผม ไม่น่าเป็นอย่างนี้ไปได้ ผมอยากจะให้ท่านอาจารย์กลับคืนสู่สภาพท่านอาจารย์ชาผู้ที่ผมเคยพบเห็น เคยนั่งอยู่แทบเท้าฟังคำสั่งสอนของท่าน"

    หรือท่านอาจจะพูดว่า

    "ยังจำคำสอนอันฉลาดแหลมคมของท่านอาจารย์ได้ไหม"

    เมื่อมีใครมาคุยว่าอาจารย์ของเขาสอนอย่างนี้ ท่านก็มานั่งเปรียบเทียบว่าอาจารย์ของใครจะฉลาดแยบคายกว่ากัน แล้วเมื่ออาจารย์ของท่านนั่งนิ่งเป็นก้อนเนื้ออยู่เฉยๆ เช่นนั้น ท่านก็จะพูดว่า

    "โอ ผมเลือกอาจารย์ผิดไปเสียแล้ว"

    เจ้าความอยากที่จะได้อาจารย์ผู้ดีเลิศ ผู้ไม่เคยทำให้ท่านผิดหวังนั่นแหละคือ "ความทุกข์" ใช่ไหม จุดสำคัญใน
    คำสอนทางพระพุทธศาสนาคือ ให้สามารถเรียนรู้จากอาจารย์ ทั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือที่ได้สิ้นไป

    หากว่าท่านอาจารย์ชาท่านสิ้นไป เราก็ยังสามารถเรียนรู้จากท่านได้ ก็โดยเพ่งดูที่ศพของท่านซิ มีใครที่นี่สักกี่คนที่สมัครใจจะมองดูศพของคนที่เรารัก คนที่เราอยากจะเก็บเอาลักษณะอันแข็งแรงกระชุ่มกระชวย ไว้ในความทรงจำของเราตลอดไป


    การปฏิบัติธรรมนั้น หมายถึงว่าเราไม่ยึดอยู่กับมิตรภาพ
    หรือเสาะแสวงหาทางที่จะอยู่กับผู้ที่เราชอบพอเคารพนับถือ
    แต่จะรักษาความสมดุลให้ได้ในทุกสภาวะ



    พระธรรมเทศนาเรื่อง ติดครูบาอาจารย์
    พระอาจารย์สุเมโธ
    วัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2013
  4. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    [​IMG]

    สำหรับนักปฏิบัติแล้ว ถ้าเราพร้อมที่จะเรียนรู้
    ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเป็นครูของเรา ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จหรือความล้มเหลว
    ความทรงจำอันสวยงามหรือไม่งาม
    ที่ยังมีชีวิตอยู่หรือสิ้นไปแล้วก็ตาม ทีนี้เราเรียนรู้อะไรล่ะ
    เรียนรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เหล่านี้ล้วนเป็นเห็นเพียงสภาวะของจิตเท่านั้น
    เราปรุงแต่งขึ้นมาเองแล้วไปยึดเอาไว้
    แล้วสิ่งที่เรายึดนั่นแหละจะทำให้เราสิ้นมานะและตายในที่สุด
    เพราะฉะนั้น ให้เราเรียนรู้อย่างนั้น
    เมื่อรู้แล้วก็ปล่อยวางไป
    เรายอมให้ชีวิตเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ
    และมองมันอยู่ ให้สิ่งที่เกิดปัจจัยปรุงแต่งนำเราไปสู่สภาวะที่ไม่มีการปรุงแต่ง
    แม้แต่ความกำสรวลโศกเศร้าของเรา ก็ให้เป็นเครื่อง
    นำไปสู่ความว่าง ความเป็นอิสระหลุดพ้น
    จะทำให้ได้อย่างนั้น เราจะต้องอ่อนน้อมตน และอดทนอย่างยิ่งทีเดียว


    ที่มา : ธรรมบรรยายของพระอาจารย์สุเมโธ วัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2013
  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    สติก็เปรียบเสมือนคมมีด
    หรือวัตถุ หรือรังสีต่างๆ ที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูง
    เช่น Alfa rays, Beta rays and Gamma rays เป็นต้น

    แต่คุณภาพของคมมีดก็ขึ้นอยู่กับวัสดุ
    มีดที่ทำมาจากเนื้อเหล็กกล้า ย่อมมีความคม ทดทานและแข็งแรงกว่ามีดที่ทำมาจากเนื้อโลหะผสม

    สติของคนเราก็เหมือนกัน
    คุณภาพสติของพวกเรานั้น มีมากหรือน้อยเพียงไร ก็ขึ้นอยู่กับเฉพาะตัวบุคคล
    สติของปุถุชนหรือบุคคลธรรมดา มีสติแค่ธรรมดา ยกเว้น ผู้บกพร่องด้านสมองหรือสติปัญญา

    สติของบุคคลธรรมดา จึงเปรียบเสมือนกับคมมีดที่ทำมาจากเนื้อโลหะผสม(คมน้อยก็ฟันไม่ค่อยเข้า)
    สติประเภทนี้ยังไม่เพียงพอ ที่จะนำไปพิจารณาในธรรม
    เพราะสติยังคมไม่มากพอ ที่จะเอาชนะกิเลสตนเองและผู้อื่นได้
    แต่อาจชนะได้บ้าง ก็แค่กิเลสหยาบๆ เท่านั้นเอง

    สติที่มีคุณภาพเหมาะสำหรับการปฎิบัติธรรม ก็คือ สติสัมปชัญญะ
    สติสัมปชัญญะ(ความรู้สึกตัว+ทั่วพร้อม) หรือสติปัญญานี่เอง ที่พวกเราตามหา(กันจัง)
    ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาทางธรรม คือปัญญาที่เกิดหลังจากจิตนิ่ง(สมาธิหรือฌาน)
    ไม่ได้ไปหาปัญญาจากที่ไหน แต่ได้จากการนำจิตไปเดินมรรคหรืออริยมรรค นี่เอง
    ปัญญาระดับนี้ สามารถรู้หรือเห็นธรรมด้วยความเป็นจริง

    จิตคนเรานั้นสำคัญที่สุด! (ก็จริงอยู่)
    ถ้าหากเราขาดสติ เผลอสติ หรือไร้สติเมื่อไหร่ ก็จะเอาดีไม่ได้เลย
    เพราะฉะนั้น เราต้องเจริญสติภาวนาไปตลอดชีวิต
    เพราะสติปัจจุบันจะเป็นผู้กระทำกรรมทั้งสิ้น ตายเมื่อไหร่ กรรมทั้งหมด
    ก็จะถูกจดบันทึกลงที่จิตของเราและจุติไปตามกรรม ครั้งที่เรายังมีชีวิตอยู่ นั่นเอง

    เราเท่านั้น ที่จะเป็นฝ่ายกำหนดกรรมหรือการไปดวงจิตของตน(การจุติ)
    อันได้แก่ นรก สวรรค์ พรหม หรือพระนิพพาน เป็นต้น
    แทนที่เราจะปล่อยให้เป็นไปตามกฎแห่งกรรม หรือ ยถากรรม

    แต่ต้องกำหนดกรรมก่อนหมดลมหายใจ
    ถ้าไม่อย่างนั้น เราก็หมดโอกาสกระทำความดีหรือความชั่วแล้ว

    ความปรารถนาดี จาก..นายสติ
     
  6. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ดูจิต ต้องดูให้เป็น!
    เราดูจิตครั้งเดียว ก็เหมือนเราได้ชำระล้าง หรือทำความสะอาดจิตตนเองหนึ่งครั้ง
    แต่ถ้าเราดูบ่อยๆ ดูประจำ น่าจะสะอาดทุกวันหรือทุกครั้งที่เราดู

    ดูจิตทีนึง ก็เหมือนเราได้ปัดกวาด เช็ดถูดวงจิตของเราหนึ่งครั้ง เป็นต้น
    ดูจิตต้องดูให้เป็น แต่ถ้าดูไม่เป็น ดูไม่ถูก ก็เหมือนเราทำความสะอาดไม่เป็น ไม่สะอาด อยู่นั่นเอง

    ดูจิตต้องสนใจดูกันจริงๆ จิตถึงบริสุทธิ์ ใสสะอาด หมดจด ไร้มลทิน ไม่มีสิ่งเปรอะเปื้อน

    ดูจิตก็เท่ากับการเจริญสติภาวนากันดีๆ นี่เอง
    ดูจิต แปลว่า เอาสติตามดูจิต ตามรู้จิต ด้วยใจเป็นกลาง

    คำว่า ด้วยใจเป็นกลาง ก็หมายความว่า ให้ดูเฉยๆ ดูเป็นมั๊ย? เช่น เห็นสักแต่ว่าเห็น เป็นต้น
    แต่ถ้าเราดูจิตนานๆ ผลที่ได้ ก็คือ..จิตเป็นสมาธิ จิตเกิดปัญญา

    (เพิ่มเติม)
    เห็นสักแต่ว่าเห็น หมายถึง ขณะเห็นจริง ๆ ไม่มีความติดข้อง ไม่มีความยินดีใน
    การเห็นอย่างนั้น ต้องเป็นปัญญา เช่น จักขุวิญญาณขณะนั้นไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ
    อบรมให้เหมือนกับจัขุวิญญาณคือการเห็น ไม่มีอกุศลเกิด


    เห็นสักแต่ว่าเห็น [พาหิยสูตร]
     
  7. newwave1959

    newwave1959 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +2,681
    มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )


    ..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
    ..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
    .....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
    .....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
    .....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
    .....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว

    ..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
    .....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
    .....อำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
    .....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
    ..........1. สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง
    ..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
    ..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
    ..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
    ..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
    ..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
    ..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
    ..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
    .....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
    .....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
    ...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
    ....
    .สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา)
    .....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
    .....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
    .....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
    .....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
    .... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
    .....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
    .....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
    .....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
    .....เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
    สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา)
    .....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
    .....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
    .....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
    .....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์
    .สัมมาวาจา (ศีล)
    .....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
    .สัมมากัมมันตะ (ศีล)
    .....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
    .สัมมาอาชีวะ (ศีล)
    .....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
    .สัมมาวายามะ (สมาธิ)
    .....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
    .....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
    .สัมมาสติ (สมาธิ)
    .....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
    .....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
    .....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป
    .สัมมาสมาธิ (สมาธิ)
    .....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
    .....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา
    .....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้
    .....แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ
    ....องค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา
    .....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล
    .....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ
    .....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ
    ..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก
    .....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน
    .....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ
    .....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"
    .....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน
    .....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้
    .....กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคี
    .....พร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรม
    .....ยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า



    ขอเจริญในธรรม ด้วยจิตคารวะ

    นิวเวป จบ.๑๔
     
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    หลวงปู่ดูลย์

    จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
    (เห็นว่าจิตที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ทำให้หลงไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้าย)
    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
    (เห็นว่าจิตที่ไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้ายเป็นทุกข์)
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
    (เห็นจิตที่เป็นทุกข์ เห็นสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จึงมีความเพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เพราะเห็นแล้วว่าเป็นสภาพที่พ้นจากทุกข์ได้)
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ
    (เมื่อ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางได้ ก็ย่อมที่จะพ้นจากทุกข์ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เราไปพยายามแยกผู้รู้ให้ออกจากอารมณ์ เราเพียงแต่เพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง จนจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง)

    อย่าส่งจิตออกนอก
    จิตคิด จิตถูกทำลาย​

    ((เมื่อ)จิตคิด จิต(รู้ก็)ถูกทำลาย บรรดานักคิดทั้งหลาย ถ้าเข้าใจตนเองได้ว่า ตนกำลังฝันทั้งที่ลืมตาตื่น ตนกำลังหลงอยู่ในโลกของความคิด เพียงรู้ทันเท่านี้ ก็รู้แล้ว และเมื่อรู้แล้วก็อย่าหลงไปคิดต่อไปอีก ว่า "รู้เป็นอย่างไร ที่รู้นี้ถูกหรือไม่ถูก" เพราะจะหล่นไปสู่ความผิดพลาดในทันที คือหลงเข้าไปในโลกของความคิดอีกรอบหนึ่ง)
    (ความคิดนั้น มันเกิดอยู่เสมอ เหมือนลมหายใจนั่นเอง ห้ามไม่ได้ การปฏิบัติก็ไม่ได้มุ่งให้ดับความคิด เอาแค่ว่า พอรู้อารมณ์แล้วจิตมันคิดนึกปรุงแต่ง ก็ให้รู้ทัน อย่าให้ฝันทั้งที่ตื่น คือหลงคิดไปโดยไม่รู้ตัว เท่านี้ก็พอครับ อย่าไปพยายามดับความคิดเข้าเชียวครับ จิตจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักกว่าเก่าอีก และอันที่จริง เราก็ต้องอาศัยความคิดเหมือนกัน ในการอบรมสั่งสอนจิต เป็นบางครั้งบางคราว เวลามันดื้อมากๆ)

    "จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิตนี้คือ พุทธะ นั่นเอง"

    "จิตหนึ่งนั่นแหละคือพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือมันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือกพุทธะ"

    "การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะ ซึ่งมีตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นั่นแหละคือ พุทธะ ที่แท้จริง"

    "จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่องดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง"

    "เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิต นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของพวกเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง"


    เคล็ดวิชาดูจิต
    ให้รู้สิ่งที่ปรากฎด้วยจิตที่เป็นกลาง

    ��
     
  9. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คำสอน
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล​
    อดีตเจ้าอาวาส(พ.ศ. 2477 - 2526) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    หลวงปู่ท่านมรณภาพลงด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2526 เวลา 04.13 น.
    รวมสิริอายุได้ 96 ปี 26 วัน พรรษาที่ 74


    "ผู้ปฏิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้า-ชาติหลัง หรือ นรก-สวรรค์อะไรก็ได้
    ขอให้ตั้งใจปฏิบัติให้ตรง ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแน่วแน่ก็พอ
    ถ้าสวรรค์มีจริงถึง 16 ชั้น ตามตำรา ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ก็ย่อมได้เลื่อนฐานะของตนเองตามลำดับ
    หรือถ้าสวรรค์-นิพพานไม่มีเลย ผู้ปฏิบัติดีในขณะนี้ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุข เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ"

    "จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ"

    "คิดเท่าไรๆ ก็ไม่รู้
    ต่อเมื่อหยุดได้จึงรู้

    แต่ต้องอาศัยความคิดนั้นแหละจึงรู้"

    ที่มา:
    http://th.wikipedia.org/wiki/พระราชวุฒาจารย์_(ดูลย์_อตุโล)


    [​IMG]
    ลูกขอกราบแทบเท้าของหลวงปู่ดูลย์ฯ..ด้วยเศียรเกล้า
    _/l\_ _/l\_ _/l\_
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2013
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ทำดีที่สุดแล้ว
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=u1uT-A0UUvw]ดีที่สุดแล้ว.mpg - YouTube[/ame]​

    อย่ายึดติดอยู่กับสถานที่
    อย่ายึดติดอยู่กับบุคคล
    อย่ายึดติดอยู่กับความชั่ว แม้นกระทั่งความดี
    เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราต้องปล่อยวางทั้งหมดและจิตจะได้เข้าสู่ความว่าง

    ขอให้ทุกท่านมีจิตเป็นสัมมาทิฎฐิ
    ขอให้เราเข้าใจตนเองก็พอ คนอื่นไม่ต้องเข้าใจก็ได้
    การสร้างปรมัตถบารมี เบื้องบนเท่านั้น ที่จะรู้ถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของเรา
    และจะทำต่อไปฯ ตราบสิ้นอายุขัย แม้นไม่มีใครมาเดินร่วมทาง

    อยู่ตรงกลางให้ได้ ระหว่างสุขกับทุกข์ ดีใจกับเสียใจ ยินดีกับไม่ยินดี

    !!!ทำดีที่สุดแล้ว!!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2013
  11. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

    ถ้าถูกกลั่นแกล้ง ก็จงเห็นเป็นเรื่องธรรมดาของการมีร่างกายขึ้นมาในโลกนี้ ให้เห็นทุกข์ ให้เห็นกฎของกรรม อย่าไปโทษใคร อย่าโกรธเคือง แล้วให้พยายามฝึกจิตให้มีอภัยทานให้มากที่สุด แล้วอุปสรรคต่างๆ ก็จักสลายไป

    ● ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  12. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151

    สำคัญที่สติ
    : พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
    วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

    สติเป็นธรรมอันเอก ที่จะคอยประคององค์สมาธิให้เดินไป
    ในแนวสัมมาปฏิปทา ข้อนี้หลวงพ่อท่านเน้นไว้หนักหนา

    “สิ่งที่รักษาสมาธิไว้ได้คือสตินี้ เป็นธรรม เป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง
    ซึ่งให้ธรรมอันอื่นๆ ทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง
    สตินี้คือชีวิต ถ้าขาดสติเมื่อใด
    ก็เหมือนตาย ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เป็นคนประมาท

    ในระหว่างที่ขาดสตินั้น พูดไม่มีความหมายการกระทำไม่มีความหมาย
    ธรรมคือสตินี้ คือความระลึกได้ในลักษณะใดก็ตาม
    สติเป็นเหตุให้สัมปชัญญะเกิดขึ้นมาได้
    เป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้ ทุกสิ่งสารพัด

    ธรรมทั้งหลายถ้าหากว่าขาดสติ ธรรมทั้งหลายไม่สมบูรณ์
    อันนี้คือการควบคุมการยืน การนั่ง การนอน
    ไม่ใช่เพียงขณะนั่งสมาธิเท่านั้น แต่เมื่อเราออกจากสมาธิไปแล้ว
    สติยังเป็นสิ่งประจำใจอยู่เสมอ มีความรู้อยู่เสมอ
    เป็นของที่มีอยู่เสมอ ทำอะไรก็ระมัดระวัง
    เมื่อระมัดระวังทางจิตใจ ความอายก็เกิดขึ้นมา
    การพูด การกระทำอันใดที่ไม่ถูกต้อง เราก็อายขึ้น อายขึ้น

    เมื่อความอายมีกำลังกล้าขึ้นมา ความสังวรก็มากขึ้นด้วย
    เมื่อความสังวรมากขึ้น ความประมาทก็ไม่มี” นี่ถึงแม้ว่าเราจะ
    ไม่ได้นั่งสมาธิอยู่ตรงนั้น เราจะไปไหนก็ตาม อันนี้มันอยู่ใน
    จิตใจของตัวเอง
    ไม่ได้หนีไปไหน นี่ท่านว่าเจริญสติ ทำให้มาก เจริญให้มาก

    อันนี้เป็นธรรมะคุ้มครองรักษากิจการที่เราทำอยู่หรือทำมาแล้ว
    หรือกำลังจะกระทำอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นธรรมะที่มีคุณประโยชน์มาก
    ให้เรารู้ตัวทุกเมื่อ ความเห็นผิดชอบมันก็มีอยู่ทุกเมื่อ

    เมื่อความเห็นผิดชอบมีอยู่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อ ความละอายก็เกิดขึ้น
    จะไม่ทำสิ่งที่ผิดหรือสิ่งที่ไม่ดี เรียกว่าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
    แม้ในการเจริญปัญญา สติในแง่ของการระลึกรู้อยู่ในความไม่แน่
    ก็เป็นปัจจัยอันสำคัญอย่างหนึ่ง “ก็ให้รู้ว่า อันนี้มันไม่แน่นอน
    อย่างนี้เรื่อยไปเถอะ แล้วปัญญามันจะเกิดหรอก

    แต่อย่าไปคิดออกหน้ามันนะ ให้ดูไปเถอะให้มันรู้
    ถ้าหากเรารู้มันจะมารายงานเราหรอก มันก็คล้ายๆ คนเข้าไป
    ในบ้านที่มีหน้าต่างอยู่ ๖ ช่องแล้วก็มีคนๆ เดียวอยู่ในนั้น
    เราไปดูหน้าต่าง ก็มีคนโผล่ออกไป ทางโน้นก็มีคนโผล่ออกไป
    มันก็ไอ้คนๆ เดียวกันนั่นแหละ ไม่ใช่คน ๖ คน คนๆ เดียว
    มันไปโผล่ทั่วถึงกันทั้งหมด ๖ ช่อง คนๆ เดียวก็เรียกว่า
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่แน่ไม่นอนทั้งนั้น
    นี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา จะตัดความสงสัยทั้งหลายออกไปได้”

    (ที่มา : “สำคัญที่สติ” ใน ตามรอยพระอริยเจ้า หลวงพ่อชา สุภทฺโท
    พระโพธิญาณเถรแห่งหนองป่าพง, เรียบเรียง โดย ดำรงธรรม, หน้า ๑๖๓-๑๖๕)
     
  13. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,366
    =======

    ขออนุโมทนาครับ

    ในอริยะมรรค มีองค์8นั้น โอกาสนี้ขอกล่าวเสริมเรื่องสัมมาสมาธิ เพิ่มเติมดังนี้

    ตามอรรถคาถา นั้นพระพุทธองค์ตรัสกล่าวสอนเรื่อง สัมมาสมาธิไว้ดังนี้ว่า

    สัมมาสมาธิเป็นอย่างไร ขอกล่าวว่า สัมมาสมาธิ อันหมายถึงความตั้งใจมั่นคงชอบ ความตั้งใจมั่นดีชอบแล้ว
    ความตั้งใจมั่นเป็นอย่างไร คือการรักษาไว้ซึ่งสภาวะแบบนั้นอย่างมั่นคงไม่ส่ายไปมาไม่ไหลเข้าไหลออก คือตั้งมั่นไว้
    สัมมาสมาธิในที่นี้ขอกล่าวว่าเป็นลำดับขั้นดังนี้ว่า
    1 เมื่อเจริญสมาธิแล้ว จิตสงบตั้งมั่นไว้แล้ว แต่วิตกวิจาร ปิติสุข เอกคตายังอาศัยอยู่จัดว่าเป็นสมาธิขั้นฌาณ1
    2 เมื่อเจริญสมาธิแล้ว จิตสงบตั้งมั่นดีแล้ว อันวิตกวิจารหายไปแล้ว จิตอาศัยอยู่ด้วยปิติสุข และเอกคตา จัดว่าเป็นสมาธิขั้นฌาณ2
    3เมื่อเจริญสมาธิแล้ว จิตสงบตั้งมั่นดีแล้ว อันปิติ ทั้งหลายดับแล้วไม่มีการปรุงแต่ให้เกิดแล้ว อันอศัยอยู่ด้วยสุขและเอกคตา จัดว่าเป็นสมาธิขั้นฌาณ3

    4 เมื่อเจริญสมาธิแล้ว จิตสงบตั้งมั่นดีแล้ว อันสุข ทั้งหลายดับแล้ว คงเหลือแต่เอกคตา คือจิตอาศัยอยู่ด้วยอุเบกขา ไม่ยินดียินร้ายในสุข พร้อมทั้งไม่ยินดียินร้ายในทุกข์ทั้งปวง เป็นจิตที่ตั้งมั่นดีแล้วคือหลุดพ้นจากกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งปวง หลุดพ้นแล้วจากความดีและชั่วทั้งปวง นี่แหละคือสัมมาสมาธิ ที่เธอทั้งหลายควรเจริญให้ถึง สาธุครับ
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    หลวงตามหาบัว​
    (กล่าวถึงสติกับจิต)

    อาการของจิตทุกอาการที่เกิดขึ้นต้องดับและแปรปรวน อย่าตื่นเงาของจิตตัวเองจะเดือดร้อน ความรู้ว่าเผลอและไม่เผลอเป็นทางที่ถูกต้องแล้ว ความเสื่อมความเจริญเป็นอาการของโลก ให้รู้เท่าผู้รู้ว่าเสื่อมหรือเจริญ นี่แหละเป็นธรรมที่คงที่ ความรับรู้ทุกขณะนี้แลเป็นธรรมยั่งยืน เราเป็นนักปฏิบัติอย่าหลงตามอาการของความเสื่อมความเจริญ จงรู้ตามอาการ จึงจัดว่าเป็นผู้ฉลาดในธรรม ดวงไฟยังมีดอกแสงควันไฟ ต้องแสดงความเกิดความดับจากดวงไฟเป็นธรรมดา จิตยังมีอาการเกิดๆ ดับๆ ซึ่งเกิดจากดวงจิตต้องมีเช่นเดียวกัน ข้อสำคัญอย่าหลงตาม เสื่อมจงรู้ตาม เจริญจงรู้ตาม เผลอหรือไม่เผลอ จงรู้ตามทุกอาการ จึงจัดว่านักค้นคว้าความรู้เท่าในอาการเกิดๆ ดับๆของสิ่งเหล่านี้ด้วยปัญญาเสมอไป นั่นแลจัดว่าเป็นผู้รู้ จะรู้เท่าทันโลกและเรียนรู้โลกจบ จึงจะพบของจริง
    กระพี้ต้องหุ้มห่อแก่นไม้ไว้ฉันใด กระพี้ธรรมก็ห่อหุ้มปกปิดแก่นธรรมไว้ฉันนั้น อาการเกิดๆดับๆ ดี ชั่ว เสื่อม เจริญ เผลอไม่เผลอ เหล่านี้จงทราบว่าเป็นกระพี้ธรรมปกปิดแก่นธรรมคือของจริงไว้ ใครหลงตามชื่อว่าคว้าเอากระพี้ธรรม จะนำความเสื่อมความเจริญเป็นต้นมาผันดวงใจให้ดิ้นรน จะตามดูโลกและรู้โลกของตนไม่จบ จะพบแต่ของปลอม อาการที่ปรากฏขึ้นมาจากจิต จะดี ชั่ว สุข ทุกข์ เสื่อม เจริญ เผลอ ไม่เผลอ เศร้าหมอง ผ่องใส นี้เป็นเครื่องเตือนสติปัญญา จงตามรู้ทุกอาการอย่าด่วนถือเอา การเดินทางต้องมีสูงๆ ต่ำๆ ลุ่มๆ ดอนๆ ตลอดทางจนถึงที่อยู่ฉันใด การเดินธรรม (คือการดำเนินทางจิต) ต้องประสบอาการต่างๆ มีดีชั่วเป็นต้น ซึ่งจะเกิดจากจิตเช่นเดียวกัน จนถึงจุดจบของสมมุติ จึงจะไม่ประสบอาการเช่นนี้อีก การเดินทางอย่าถือความร้อนหนาว ความสูงต่ำในระยะทางมาเป็นอุปสรรค จงมุ่งถึงความถึงที่ประสงค์เป็นสำคัญ การดำเนินทางใจ อย่าถืออาการดีชั่ว เป็นต้น ที่เกิดจากใจมาเป็นอุปสรรค จงตั้งใจพิจารณาสิ่งที่มาสัมผัสด้วยปัญญาตลอดไป จนถึงจุดจบของสิ่งที่มาสัมผัส อย่าหวั่นไหวตามอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะใจ จะเป็นนักรบต้องประสบกับข้าศึกคืออารมณ์ จงสู้รบด้วยปัญญา จนเห็นความจริงของอารมณ์นั้นๆ ครูเอกของเราก่อนหน้าจะปรากฏเป็นองค์ศาสดาของเรา ต้องผ่านข้าศึกเช่นเดียวกับเรา แม้อาจารย์ของเราจะนำธรรมมาสอนเราได้ต้องขุดค้นขึ้นมาจากอุปสรรค คือสิ่งที่กระทบเช่นเดียวกับเรา ฉะนั้นจงต่อสู้จนสุดฝีมือ จะสมชื่อว่าเราเป็นศิษย์มีครูแท้

    ข้าศึกของเราทุกวันที่เป็นไปอยู่ ไม่มีวันสงบศึกกันได้ ก็เนื่องจากเราเป็นศึกกับตัวเราเอง คือถ้าใจสงบลงไม่ได้ ศึกก็ยังสงบลงไม่ได้ แท้จริงบาปมารเป็นต้น ไม่มีตั้งค่ายแนวรบรอรบกับเราอยู่สถานที่ใดๆ แต่ใจดวงเดียวเท่านี้ตั้งตัวเป็นเจ้าบาปเจ้ามารประหัตประหารกับเรา ถ้าเราเข้าใจว่าบาปมารคอยเราอยู่ภายนอก ไม่ย้อนกลับความรู้เข้ามาดูจิตผู้เป็นมารตัวแท้ ข้าศึกของเราจะหาวันสงบไม่ได้ จงทราบว่าเรื่องทุกข์ที่เป็นไปในกายแลจิตของเราตลอดเวลา ถ้าเรามองข้ามทุกข์ก้อนนี้ไป อริยสัจคือของจริงอันประเสริฐ ก็เป็นอันว่าเรามองข้ามไปเช่นเดียวกัน อริยสัจมีอยู่กับเราทุกเวลา จงตั้งปัญญาให้เห็นตามความเป็นจริงของอริยสัจที่มีอยู่ พระพุทธเจ้าถึงนิพพานเพราะพิจารณาอริยสัจ เห็นอริยสัจ อย่าส่งใจไปหาบาปบุญนอกจากกายใจจะผิดหลักผิดทาง อดีตอนาคตจงเป็นเป็นไฟ อย่าส่งใจไปเกาะเกี่ยว ปัจจุบันคือความเพียร มีสติจำเพาะหน้าพิจารณาไตรลักษณ์อันมีอยู่กับตนนี่แล เป็นธรรมแผดเผาบาปมารได้แท้ จงตั้งจิตลงตรงนี้ ฉะนั้นจงพากันตั้งใจ คุณทั้งสองมีวาสนาบารมีอันได้สร้างไว้มากแล้ว อย่าเสียใจ ไม่เสียทีเลย จงเร่งเข้า.
    7 ธันวาคม 2502

    การอบรมจิต จงใช้ปัญญาพิจารณาด้วยดีในอาการของธรรมทุกแง่ (อาการของจิต) ซึ่งเกิดขึ้นจากจิต ความสัมผัสรับรู้ในขณะที่อารมณ์มากระทบจิต ไม่ให้พลั้งเผลอและนอนใจในอารมณ์ นั้นแลเรียกว่า ความเพียร ดีชั่ว สุขทุกข์ เศร้าหมอง ผ่องใส จงตามรู้ด้วยปัญญาแล้วปล่อยไว้ตามสภาพ ไม่ยึดถือและสำคัญว่าเป็นตน สิ่งใดที่ปรากฏขึ้นจงกำหนดรู้ อย่าถือเอาแม้แต่อย่างเดียว รู้ชั่วปล่อยชั่ว กลับมาหลงดี ถือสิ่งที่ดีว่าเป็นตน นี้ก็ชื่อว่าหลง จงระวังการมีสติหรือเผลอสติในขณะๆ นั้นๆ อย่าตามกังวล เป็นความผิดทั้งนั้น จงกำหนดเฉพาะหน้า พิจารณาเฉพาะหน้า
    กายมีอยู่ จิตมีอยู่ ชื่อว่าธรรมมีอยู่ อย่าหลงธรรมว่ามีนอกไปจากกายกับจิต ไตรลักษณ์หรือสติปัญญาก็ต้องมีอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน จงพิจารณาในจุดที่บอกนั้น แม้ที่สุดทำผู้รู้หรือสติให้รู้อยู่ในวงกายตลอด โดยไม่เจาะจงในกายส่วนใดส่วนหนึ่งก็ถูก ข้อสำคัญให้จิตตั้งอยู่ในกาย อย่าใช้ความอยากเลยเหตุผลที่ตนกำลังทำอยู่ก็แล้วกัน การทำถูกจุดผลจะค่อยเกิดเอง ไม่มีใครแต่งหรือบังคับ อย่าส่งจิตไปตามอดีตที่ล่วงแล้ว ไม่มีประโยชน์แม้แต่น้อย
    16 มีนาคม 2503

    จงดูความเคลื่อนไหวของใจที่แสดงความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อาการของใจ มันเกิดไปถึงไหนและดับไปถึงไหน มันเกิดที่ไหนมันก็ดับลงที่นั่นเอง จงพิจารณาให้ชัดต่อความเกิด-ดับของใจ ความเกิดกับความดับที่ปรากฏขึ้นจากใจ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ควรถือเอา จงฆ่าแม่คือใจให้ตาย ลูกคืออาการก็จะหมดปัญหาทันที แม้จะปรากฏเกิดๆ ดับๆ ก็ไม่เป็นปัญหาและไม่มีพิษสงอะไรอีกต่อไปอีก อาการของใจจึงจะกลายเป็นขันธ์ล้วนๆ ไม่มีกิเลสเจือปน จะหมดกังวลใดๆ ลงทันที
    เมษายน 2504

    ธรรมชาติของจิต จะไปหยุดนิ่งอยู่นานๆ ไม่ได้เดี๋ยวมันก็คิด ในช่วงนั้นถ้าเกิดความคิดขึ้นมาปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ สิ่งที่มันคิดนั้นจะเป็นอะไรก็ได้เรื่องครอบครัว เรื่องการเรื่องงาน เรื่องผู้เรื่องคน จิปาถะสารพัดที่จะคิดขึ้นมา เมื่อมันคิดขึ้นมาอย่างนั้น ปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติกำหนดตามรู้ รู้ รู้ เป็นการส่งเสริมให้จิตของเรามีพลังเข้มแข้ง เพราะความคิดเป็นอาหารของจิต ความคิดเป็นการบริหารจิตให้เกิดสติปัญญาจินตามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นได้จากความคิด เมื่อจิตมีความคิด สติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ทุกขณะจิต ความคิดสะเปะสะปะเหลวไหลนั่นแหละจะกลายเป็นปัญญาในสมาธิ เพราะจิตของเราคิดแล้วจะรู้สึกแต่เพียงสักแต่ว่าคิด คิดแล้วก็ปล่อยวางไปๆ เมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้นกลายเป็นปัญญา เมื่อมีปัญญาก็สามารถกำหนดหมายรู้ความคิดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็รู้พระไตรลักษณ์ขึ้นมา ก็กลายเป็นปัญญาในขั้นวิปัสสนาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น จะไปข้องใจสงสัยอยู่ทำไมหนอ รีบเร่งบำเพ็ญภาวนาให้มากๆ ให้ได้สมาธิเป็นเบื้องต้น

    ทีนี้ถ้าหากว่าท่านผู้ใดขี้เกียจ หรือไม่มีอะไรจะคิดก็ให้กำหนดจิตรู้ที่จิตเฉยๆ ถ้าจิตว่างรู้ที่ความว่าง ถ้าจิตคิดรู้ที่ความคิด ว่างรู้ที่ความว่าง คิดรู้ที่ความคิด ไล่ตามกันไปอย่างนี้ เมื่อเราฝึกหัดจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ ทีหลังเราอาจจะไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้อารมณ์จิตหรือความคิด สติก็ทำหน้าที่ตามรู้คอยควบคุม เมื่อมีสติสัมปชัญญะ จิตของเราก็รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก มันจะรู้ของมันขึ้นมาเอง

    เมื่อพิจารณาไปพอสมควรแล้ว บางครั้งจิตอาจจะสงบลงในท่ามกลางแห่งภาวนา แล้วก็หยุดพิจารณา เมื่อมันหยุดพิจารณา ไปนิ่ง รู้เฉยอยู่ ให้กำหนดตัวผู้รู้ ในขณะกำหนดตัวผู้รู้ จิตจะหยุด นิ่งอยู่ ก็กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นแหละ อย่าไปรบกวน น้ำใจกำลังจะนิ่ง ในเมื่อน้ำใจนิ่ง ไม่มีคลื่นไม่มีฟอง ไม่มีอารมณ์มารบกวน เราก็จะสามารถเห็นจิตเห็นใจของเราได้ทะลุปรุโปร่ง เหมือนๆ กับน้ำทะเลที่มันนิ่ง เราสามารถมองเห็น เต่า ปลา กรวด ทราย สาหร่าย อยู่ใต้น้ำได้ถนัด ฉันใด ในเมื่อจิตของเรานิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน เราก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในจิตของเราได้อย่างชัดเจน อะไรผุดขึ้นมา จิตจะกำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติ
     
  15. phiung_ay

    phiung_ay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +895
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=LWOQby2DwVw]ยังยิ้มได้ - พลพล - YouTube[/ame]
    นู๋มาพร้อมพลพล >.<" ขอมอบให้พี่ๆทุกท่าน และ ส่งแรงใจมาถึงทุกคนนะคร้าบบบบบบบ


    ผึ้งน้อย จบ.124
     
  16. ลูกพลัง13

    ลูกพลัง13 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +24
    การทะเลาะกันของอวัยวะ ทั้ง 5


    อวัยวะทั้ง 5 ของคน ๆ หนึ่ง เกิดทะเลาะกันขึ้น พูดกันคนละทีสองที ทะเลาะกันอย่างดุเดือด

    มีอยู่วันหนึ่ง อวัยวะทั้ง 5 ของคน ๆ หนึ่ง เกิดทะเลาะกันขึ้น พูดกันคนละทีสองที ทะเลาะกันอย่างดุเดือด เริ่มแรกทั้งหมดต่างรุมว่า...ตา

    "แกวันทั้งวันไม่เห็นทำอะไรเลย แต่กลับมีโอกาสได้ชื่นชมวิวทิวทัศน์อังงดงามทั้งหลาย ช่างไม่ยุติธรรมจริงๆ"

    จากนั้นก็หันมาโจมตี...หู

    "แกตลอดทั้งวันอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว แต่กลับสามารถได้ยินเสียงอันไพเราะต่างๆ ทำไมพวกฉันถึงไม่มีโอกาสอย่างนี้บ้าง"

    เสร็จแล้วก็เปลี่ยนเป้าหมายหันมารุมว่า...ลิ้น

    "แกนะ นอกจากเวลานอนแล้ว ตลอดวันไม่กินก็ดื่ม ได้ลิ้มรสชาติอันโอชะประดามีในโลก แต่พวกฉันแม้เพียงสิ่งที่ธรรมดาสามัญที่สุดก็ไม่มีโอกาสได้กิน"

    ที่รู้สึกได้รับความยุติธรรมที่สุดคือ...มือ มือคิดว่าตัวเองต้องทำงานทั้งวัน มีผลงานมากที่สุด แต่กลับไม่มีโอกาสเสพสุขอะไรเลย

    แต่ทว่า...ขา ไม่เห็นด้วยกับมือ ขาบอกว่า

    "ถ้าพูดจริงๆ แล้ว คุณูปการของฉันมากที่สุด ถ้าฉันไม่พาเดินไปยังที่ต่างๆ ละก็ มือก็ไม่เห็นจะสามารถทำงานอะไรได้มากมาย"

    มือฟังคำพูดของขาแล้ว แม้ในใจจะรู้สึกไม่ยินยอมอย่างยิ่งแต่ก็ไม่รู้จะหาเหตุผลอะไรมาพูดดี ยิ่งคิดก็ยิ่งแค้น ในที่สุดอดรนทนไม่ไหวคว้ามีดขึ้นมา 1 เล่ม เริ่มด้วยการควักลูกนัยน์ตาออกมาก่อน อะไร ๆ ก็มองไม่เห็นแล้วสมแค้นไปอย่าง จากนั้นก็เฉือนใบหูลงมา อะไร ๆ ก็ไม่ได้ยินแล้ว พอเสร็จก็เฉือนลิ้นออกมาด้วย พูดไม่ได้แล้ว ท้ายสุดก็ตัดขาทิ้งไปด้วย เดินก็ไม่ได้แล้ว

    ผลสุดท้าย เนื่องจากบาดแผลสาหัสเกินไป คน ๆ นั้นจึงถึงแก่ความตาย แน่นอนมือก็ย่อมไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยลำพัง
     
  17. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    ขอโมทนาสาธุกับลูกพลังด้วยครับ
    ที่สามารถแสดงธรรมมานั้น ถูกต้อง เห็นแจ้ง และแทงตลอดสาย ตามนั้นเลย
    นานๆจะออกจากถ้ำมาแสดงธรรมให้พวกเราได้อ่านกัน หูตาจะได้สว่าง โล่ง โพรงกันบ้าง
    จิตนิ่งเท่านั้น จึงรู้ จิตไม่นิ่งก็วิ่งตามความคิด วิ่งตามสิ่งที่มากระมบจิตตนเองไป
    ผลสุดท้ายก็ถึงหัวลำโพงหรือหมอชิต2(กำแพงเพชร) นั่นก็คือ สถานนีทุกข์ นั่นเอง
    เพราะการที่จิตคนเรายังไม่นิ่ง ย่อมปรุงแต่งเป็นธรรม ผลก็ได้ทุกข์มาเป็นธรรมดา
    จิตผู้ใดไม่นิ่งเป็น ก็ยังปรุงแต่งและทุกข์อยู่ร่ำไปอย่างนั้น
    สรุปแล้ว ออกจากทุกข์ของตนเองกันให้ได้เสียก่อน คำว่า นิพพาน จะไกลนักสำหรับจิตผู้ที่นิ่ง ไม่เป็น
    ขอเอาช่วยกันต่อไปฯ

    ใครทุกข์ก็แวะมา ต่อไปนี้เรามีบทเรียนราคาแพงแล้ว
    ย่อมไม่นำพากันไปตายหมู่ เพราะอุปาทานหมู่ ตามที่เขาพูดกันมาจริงๆ

    ขอให้เจริญในธรรม เพราะจิตมีแต่พระพุทธเจ้าทุกลมหายใจ[/COLOR]

    (วันนี้ธรรมะผุดมามากมาย แต่ขอ งด! ชั่วคราว ขอปรับปรุงกายใจของตนก่อน)[/COLOR][/SIZE][/QUOTE]

    ดอกหญ้า ดอยหมอก
    ."รู้ว่าง วางอยู่ เข้าอู่ดูใข พูดงามเพียนดี กรรมดีกินใส" โชคดีที่ได้ตื่นมา ระลึกถึงพระพุทธองค์ และได้ทำความดีถวาย ทุกวินาทีมีค่ามากสำหรับชีวิต
     
  18. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ขออนุโมทนา สาธุ กับทั้งสองท่านที่ได้กล่าวดี กล่าวชอบแล้วผู้ปฏิบัติต้องเดินตามมรรคมีองค์ ๘ และเป็นทางสายกลางที่จะพาผู้ปฏิบัติถึงความหลุดพ้น เพราะพระพุทธเจ้าท่านก็ได้ดําเนินตามนี้และเสด็จได้ไปโปรดสาวกของท่านเป็นครั้งแรก คือ ปัญจวคคีย์ทั้ง ๕ ก็ยกธรรมข้อนี้ขึ้นมาแสดงจึงเป็นทางสายเอกของการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น สาธุค่ะ
     
  19. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ละเหตุแห่งทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง​
    ตัณหาจัดว่าเป็นตัวต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง... บุคคลที่มีตัณหาอยู่ก็มีทุกข์อยู่รํ่าไป การจะละตัณหาได้นั้นก็ต้องเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เพราะเป็นมรรควิสุทธิในการดับทุกข์(นิโรธ)นั้นเอง...หากดับตัณหาเสียได้หมดแล้วโดยเด็ดขาด ก็จะก่อให้เกิดสุขที่เรียกว่า"สันติสุข"ซึ่งก็ไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าอีกแล้ว...
    ที่มา หนังสือ นักธรรมและธรรมศึกษา
     
  20. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ไม่ควรไว้ใจในคนพูดพล่อยๆ​

    การพูดพล่อยๆ นี้จัดเป็นวจีทุจริต คือ ความประพฤติชั่วทางวาจา เป็นลักษณะของคนพาล อีกลักษณะหนึ่ง เพราะคนพาลย่อมชอบพูดพล่อยๆ คือ พูดปด พูดส่อเสียด พูดหยาบเป็นนิสัย การพูดเช่นนี้เป็นการพูดที่นํามาซึ่งความเดือดร้อนแก่ตนเอง และผู้คบหาตลอดถึงบุคคลอื่นอีกดังนั้น คนพูดพล่อยๆอันชนทั้งหลายไม่ควรคบหาและไว้ใจ เพราะจะก่อความเสื่อมเสียแก่ผู้คบหาได้
    ที่มา หนังสือ นักธรรมและธรรมศึกษา
     

แชร์หน้านี้

Loading...