สงสัยเรื่องอนัตตา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย reindear, 19 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. reindear

    reindear เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +173
    ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องอนัตตาอ่ะค่ะ ช่วยหาคำอธิบายให้เข้าใจหน่อยนะคะ เป็นธรรมทานค่ะ
    คือสงสัยว่า ร่างกายไม่ใช่ของเรา จิตก็ไม่ใช่ของเรา แล้วทำไมเราควบคุมจิตได้ล่ะคะ อย่างเช่นเวลาเรามีจิตโกรธใคร เราก็รู้ว่าจิตโกรธเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วเราก็ทำให้มันดับได้โดยคิดเรื่องอื่น หรือแผ่เมตตา แสดงว่าเราควบคุมจิตได้หรอคะ
    แล้วทีี่บอกว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา จิตไม่ใช่ของเรา ไม่มีอะไรเป็นเรา แล้ว "เรา" คืออะไร???
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สาธุ กับการสงสัยในข้อนี้ เป็นการสงสัยที่จะนำพาตัวเองไปพิสูจน์คำตอบ เพื่อหาทางออกจากการเกิดต่อไป

    อนัตตา ที่นอกเหนือการบังคับบัญชาของตัวเรา สภาวะนี้ ไม่สามารถเข้าใจได้โดยการคิด โดยการฟังผู้อื่น โดยการตรึกตรอง แต่สามารถเข้าไปทดสอบเพื่อเห็นความจริงได้ โดยการฝึกให้เกิดสติ ทำความรู้สึกตัว เมื่อเพียรทำจนถึงเวลา จะสามารถเข้าไปเห็น และ พิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง และจะเข้าใจได้ ณ ขณะนั้น ว่า ทำไมทุกสิ่งทุกอย่าง จึงไม่ใช่เรา และ ทำไม เราจึงควบคุมมันไม่ได้
     
  3. pongtera24p

    pongtera24p ชมรมศิษย์หลวงปู่เทพโรคอุดร พิจิตร

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    887
    ค่าพลัง:
    +1,905
    ผมขออธิบายให้ฟังดังนี้ครับ
    คำว่าอนัตตา ก็คือ ไม่ใช่ตัวเรา และตัวเราที่เห็นเป็นคนและสัตว์ แท้จริงมันประกอบขึ้นมาจากธาตุทั้งสี่ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ส่วนที่ว่าสามรถควบคุมจิตได้อันนั้นไม่จริงครับเพราะคุณไม่สามารถควบคุมจิตให้ร่างกายอย่าเปลี่ยนแปรงได้เลยนั้นแสดงว่าคุณไม่สามารถควบคุมจิตได้จริงเลยครับ ส่วนความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นอารมย์ที่มากระทบ อายตนะ ทั้ง6ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเราจะโกรธ จะหลง แต่ถ้าเราฝึกจิตมาดีแล้วเราก็จะรู้เท่าทันในอารมย์นั้นๆได้เราก็สามารถวางเฉยได้ครับ
    ผมขอเล่าให้ฟังแค่นี้ก่อนครับ คงจะหายสงสัยครับ
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    คุณลองศึกษาข้อมูลข้างล่างดูนะครับ แล้วคุณจะเข้าใจที่ว่า ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นอย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2013
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    พิจารณาขันธ์ ๕

    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    ๑๙๖) องค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้
    ตัดความชั่ว คือกิเลสให้สิ้นไป ด้วยการพิจารณาร่างกาย คือขันธ์ห้า เรียกกัน
    ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ถ้าจะมาไล่เสียทั้ง ๕ อย่างก็ยุ่ง
    สำหรับอารมณ์รวมความว่าขันธ์ ๕ ประการนี้ได้แก่ร่างกาย เราได้เห็นว่า
    ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ทั้งนี้ก็เพราะว่า
    กายถ้าเป็นเราจริง เราไม่ต้องการให้มันแก่ มันก็ต้องไม่แก่ เราไม่ต้องการ
    ให้มันป่วย มันก็ต้องไม่ป่วย เราไม่ต้องการให้มันหนาว มันก็ต้องไม่หนาว
    ร้อน หิวกระหาย เราไม่ต้องการให้มันตาย ก็ต้องไม่ตาย ในที่สุดเวลาตายไป
    พระพุทธเจ้าบอกว่าคนทำชั่วไปตกนรก คนสร้างความดีไปสวรรค์ ไปพรหมโลก
    ไปนิพพาน มันก็ต้องไปกับเราด้วย ที่แท้แล้วร่างกายมันไม่ได้ไปกับเรา เวลา
    สิ้นลมปราณ จิตที่อาศัยร่างกายไปเสวยสุข เสวยทุกข์ด้วยอำนาจกฎของกรรม
    ร่างกายมันก็นอนทับถมแผ่นดินอยู่ เน่าเปื่อยจมลงไปในแผ่นดิน เป็นอันว่าเรา
    พิจารณาได้ว่า อัตภาพร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ในเมื่อมันไม่ใช่
    ของเราเสียอย่างเดียว ทรัพย์สินที่เราพึงหามาได้ในโลกนี้จะมีอะไรเป็นของ
    เรา ที่ พระพุทธเจ้าสอน ให้บรรดาท่านพุทธบริษัทคิดแบบนี้ ถ้าเราใช้
    สักกายทิฏฐิ คือพิจารณาเห็นว่า อัตภาพร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ตัดความเมาในร่างกายเสีย ตัดตัวยึด
    ในร่างกาย ว่าร่างกายนี่เป็นเรือนร่างที่อาศัยเพียงชั่วคราว ไม่ช้ามันก็สลายตัว
    ถ้าเรายังทรงความชั่ว เราจะมีร่างกายต่อไป ถ้าหากบุคคลผู้ใดมีแต่ความดี
    ประจำใจโดยเฉพาะ ร่างกายพังเมื่อใดก็ถึงซึ่งพระนิพพานเมื่อนั้น

    ๑๙๗) วิธีที่จะปฏิบัตินี่ก็ไม่มีอะไร บรรดาท่านพุทธบริษัทถ้าเราเป็นคนชนะใจ
    แล้วมันก็ไม่ยากเหมือนกัน ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราที่ไม่สามารถเห็นผี
    เห็นเทวดาได้ ก็เพราะอาศัยเราเป็นคนแพ้ใจ หรือว่าใจของเราเป็นผู้แพ้นิวรณ์
    นี่บรรดาท่านพุทธบริษัทมันจึงไม่เห็น เมื่อนิวรณ์มันมี สภาพเหมือน โคลน
    สกปรกมาก ใจมีสภาพเหมือนแก้วใส เมื่อมีโคลนตมเข้าไปแปดเปื้อนเราก็
    ไม่สามารถจะเอาแก้วใสมาทำ แว่นตาส่องเห็นทางได้ฉันใด อารมณ์ใจของเรา
    ก็เหมือนกัน ถ้าหากว่าอารมณ์ใจของเรายังคบนิวรณ์ ๕ ประการอย่างใดอย่าง
    หนึ่งอยู่ เราก็ไม่สามารถจะติดตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมครูได้
    นี่ความจริงมันเป็นอย่างนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายนี่มันเรื่องของ
    ความจริง หากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิงชนะนิวรณ์ ๕ ประการได้
    เมื่อไร เรื่องผี เรื่องเทวดา เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ หรือพรหมโลก หรือคำสั่งสอน
    ขององค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่ของแปลก
    สำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัท

    ๑๙๘) เรื่องของขันธ์ ๕ นั้นลูกเอ๋ย จงอย่าสนใจมันมากนัก ทั้งนี้เพราะอะไร
    ก็เพราะว่า ขันธ์ ๕ มันก็เป็นขันธ์ ๕ ที่เรียกขันธ์ ๕ มันเป็นขันธ์ ๕ ก็เพราะ
    ว่า ขันธ์ ๕ ในเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว สิ่งที่มันนำมาด้วยก็คือความแก่ ความ
    ทรุดโทรม ความป่วยไข้ไม่สบาย ความทุกข์ และอาการพลัดพรากจากของรัก
    ของชอบใจประสบกับอารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนา และมีความตายไปในที่สุด
    ท่านสอนแบบนี้ อาตมายังจำได้ บอกว่าก่อนที่จะภาวนากรรมฐานบทใด
    ก็ตามควรพิจารณาขันธ์ ๕ เห็นว่าเป็นอนิจจัง คือความไม่เที่ยง ทุกขังเป็น
    ทุกข์ อนัตตา มันสลายตัว ถ้าเราเกิดมาเป็นคน จงอย่าเมาในความเป็นคน
    จงคิดว่าเราจะตายเป็นผีอยู่ตลอดเวลา ว่าเรื่องความตายนี้ไม่ต้องมีใครมา
    บันดาลให้เราตาย เราก็ตายของเราเองได้ ไม่ต้องง้อใครเรื่องความตาย

    ๑๙๙) สุขหรือทุกข์นี่มันอยู่ที่ใจ เพราะว่าใจมันเกาะ จะให้มันอยู่อย่างนั้น
    นั่นมันเป็นอาการของความทุกข์ ในเมื่อมันไม่อยู่ด้วย ถ้าใจเราปล่อยถือว่า
    นี่เป็นเรื่องธรรมดาของขันธ์ ๕ มันก็ไม่มีอะไรเป็นทุกข์ ขันธ์ ๕ ของเรา
    ขันธ์ ๕ ของเขา ขันธ์ ๕ ของสัตว์ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ถือว่ามันเป็น
    เรื่องธรรมดาวาระมันเข้ามาถึงมันก็เป็นอย่างนั้น ทรงใจให้มันเป็นปกติ
    อย่างนี้มันก็หมดอาการของความทุกข์ สรรพวัตถุต่าง ๆ ที่เรามีมันขึ้นมา
    มันมีการเกิดขึ้น มันมีการเสื่อมตัว และก็มีการสลายไปในที่สุด ถ้ามัน
    สลายตัวจริง ๆ เราเกาะมันหรือเปล่าล่ะ ถ้าอารมณ์ยังเป็นทุกข์ก็แสดงว่า
    เราเกาะมัน ถ้าอารมณ์เป็นทุกข์ไม่มี ก็แสดงว่าเราไม่ได้เกาะมัน แล้วก็
    จะไปเกาะมันทำอะไร สภาวะของมันต้องเป็นอย่างนั้นก็ปล่อยมันไปตามนั้น
    มันอยากจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมันมีความรู้สึกไว้ก่อนเสมอว่า มันจะต้อง
    เป็นอย่างนั้น
    นี่อารมณ์จิตของเราให้มันมีปกติเป็นอย่างนี้ อย่าเกาะเล็ก แค่มรณานุส-
    สติกรรมฐาน ความตายเป็นอารมณ์ยังเล็กเกินไป ใจของเราต้องตั้งไว้
    ตัวเดียวคือตัว ปลด เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันสักแต่เพียงว่า ตาเรา
    ผ่านเท่านั้น อารมณ์จิตเรากระทบเท่านั้น เราจะไม่ถือว่าอะไรมันเป็นเรา
    เป็นของเราอยู่เลย เราจะไม่เกาะติดในมันและก็ถือว่ามันก็ไม่ใช่ทรัพย์สิน
    ของเรา ที่เราจะนำไปชาติหน้าได้ ชาตินี้เรายังมีความต้องการในการใช้
    เราก็ใช้มันมันหมดเราก็ไม่ทุกข์ มันมีมาเราก็ไม่ดีใจ มีหน้าที่ใช้ก็ใช้
    มันหมดแล้วก็แล้วกันไป หามาใหม่ได้ก็ใช้มันไป ถ้าบังเอิญจะหาไม่ได้
    ใจเราก็ไม่เป็นทุกข์ ไม่ว่าสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ทำอารมณ์อย่างนี้เป็น
    ปกติ

    ๒๐๐) พิจารณาขันธ์ ๕ ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เป็นเรา
    เป็นของเราหรือเปล่า หรือมันเป็นในมัน มันเป็นในเรา ก็มานั่งดูกัน ขันธ์ ๕
    ถ้ามันเป็นเราจริง มันเป็นของเราจริง ถ้าเราต้องการให้มันหนุ่มอย่างนี้
    ตลอดไป มันจะหนุ่มไหม ท่านที่กำลังแก่อยู่แล้วเคยคิดไหมว่า เวลายังหนุ่ม
    ต้องการให้มันแก่เป็นอันว่าเราก็ไม่เคยจะคิด เราไม่เคยปรารถนาแล้วทำไม
    มันถึงแก่ล่ะ ก็เพราะเราห้ามมันไม่ได้ใช่ไหม ในเมื่อเราห้ามมันไม่ได้แล้วมัน
    จะเป็นเรา เป็นของเราได้อย่างไร และความปรารถนาใด ๆ ที่ผ่านมาในชีวิต
    มันเป็นอาการของความสุข หรือความทุกข์ นั่งดูให้ดี

    ๒๐๑) การตัดสังโยชน์ ๑๐ ก็คือ ตัดตัวแรก ได้แก่ สักกายทิฎฐิ อันนี้ ใน
    ขันธวรรค ปรากฏว่ามี พราหมณ์ ถามพระพุทธเจ้าถึงกิเลสหลายสิบประการ
    ว่า จะห้ำหั่นกิเลสทั้งหลายเหล่านี้ให้หมดไปใช้อะไร องค์สมเด็จพระจอมไตร-
    บรมศาสดาก็ทรงตรัสไว้เช่นเดียวกับ พระสารีบุตรว่า" จงตัดที่ขันธ์ ๕
    คือ เห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่
    ของเรา เราไม่มีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป เวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีในเรา" เท่านี้ไหวไหม นี่การปฏิบัติจริง ๆ
    เขาจับกันตรงนี้เท่านั้นเองนะ
    .

    ที่มา โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๔

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=428
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2013
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ส่วนที่คุณหมายถึงจิต นั้น จริงแล้วคือ สังขาร (ความคิด) เป็นหนึ่งในขันธ์ ๕.....

    ถ้าคุณมีความคิดว่า สังขาร นั้นเป็นคุณ เป็นของคุณ วิธีการทดสอบนั้นง่ายมาก คุณลองสั่งให้จิตคุณห้ามคิดอะไรเลย เอาเพียงแค่ ๑ นาที ถ้ามันเชื่อฟังคุณ แสดงว่า มันเป็นคุณ เป็นของคุณ เป็นตัวคุณ แค่นั้นหละครับ ลองดู
     
  8. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    เวลาที่เราเห็นร่างกาย รู้ถึงร่างกายเมื่อนั้นเรากับกายก็แยกจากกัน เมื่อไหร่ที่เราเห็นจิต เรากับจิตก็แยกจากกัน เพราะผู้สังเกตจะถูกสังเกตไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่รู้ได้ไม่ใช่เรา และเราก็เป็นสิ่งที่รู้ไม่ได้ ถ้าเราเห็นสิ่งต่างๆ ไม่เที่ยง ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นไปตามใจเราได้ ก็แสดงว่ามันไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นของเรา ไม่มีสาระที่จะยึดมั่นถือมั่น นั่นคืออนัตตา ความโกรธก็เหมือนกัน มันมีเหตุให้โกรธ หมดเหตุก็ดับ ยังไม่หมดเหตุมันก็ตั้งอยู่เป็นไปตามเหตุและปัจจัย จะให้มันอยู่ตลอดไปก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นทุกข์ต้องแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา แม้แต่ใจของเราก็ยังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด
     
  9. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    ควบคุมไม่ให้โกรธให้ได้ก่อนสิครับ แล้วค่อยอ้างว่า"ตนสามารถควบคุมจิตใจได้".....ถ้าคุมควบใจได้จริง จะไม่มีความรักโลภโกรธหลงเลยทีเดียว..เพราะใครๆก็อยากหมดกิเลสกันทั้งนั้นจริงใหมครับ..


    ส่วนกายนั้นไม่ต้องพูดถึงเลย ลองคุมไม่ให้สกปรกดูสักวันเถิด ไม่แปรงฟันอาบน้ำสักวัน แล้วดูว่ามันมีกลิ่นเหม็นหรือหอมครับ พิสูจน์ได้ครับ...


    ที่เราคิดเห็นรู้สึกว่า"มีเรา" "เป็นเรา"หรือ"ของเรา"นั้นเป็น"วิปลาส"เรียกว่า"ทิฏฐิวิปลาส"คือเห็นขันธ์๕ ว่าเป็นตัวตนบุคคลเราเขา...

    คำถามว่าเราอยู่ใหน ก็เป็นคำถามที่ตั้งอยู่บนความเห็นผิด(มิจฉาทิฏฐิ)ประเภท"สัสสตทิฏฐิ" คือเชื่อว่าสัตว์มี(ตัวตนเราเขา อัตตามี)...

    เพราะเข้าใจผิดว่าขันธ์๕คือสัตว์ ไม่อาจแยกแยะได้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน เขามารวมกลุ่มกันและดำเนินกิจกรรมของแต่ละอย่างไปตาม"อำนาจเหตุปัจจัย"..เลยคิดว่าขันธ์๕คือเรา..

    เหมือนว่ามีรถยนต์อยู่ หากเราเอามาแยกออกเป็นชิ้นๆ คำว่ารถยนต์ก็หมดไป เช่นถอดล้อออก เอาโครง..เอาเครื่องออก เอาคัทซีออก เอาเบาะที่นั่ง พวงมาลัยฯลฯออก มันก็หมดสิ่งที่เรียกว่า"รถยนต์สิครับ..

    ดังนั้น พึงเร่งแก้ไขทิฏฐิที่วิปลาสนี้เสียโดยเร็ว ด้วยการสดับศึกษาพระธรรมให้มากย่อมได้สุตมยปัญญาช่วยบรรเทาความลังเลสงสัยได้ในเบื้องต้น..

    ต่อมาก็เจริญวิปัสสนา แยกแยะขันธ์๕ออก ให้เห็นความไม่เป็นกลุ่มก้อนของขันธ์๕ ย่อมทราบชัดว่าไม่มีสัตว์บุคคลเราเขาที่ใหน..มีแต่ขันธ์๕เท่านั้นที่หมุนไปตามเหตุปัจจัย..จะไม่เข้าใจผิดว่าตนอาจบังคับบัญชาอะไรๆได้เช่นนี้..
     
  10. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าอัตตาคืออะไร
    อัตตาก็คือความคิดนี้ละครับ เพราะความคิดนี้ละว่ามันเป็นของๆเรา ทั้งๆที่สิ่งที่เราคิดว่าเป็นของเรานั้น เขาก็ไม่รู้ว่าเขาเป็นอะไรหรือเป็นของใคร ที่เป็นเรา และของๆเรา ก็เพราะคิดเอาเองทั้งนั้น
    อนัตตาหมายถึงไม่มีความคิดเข้าไปยึดอะไรว่าเป็นของเรา(ความคิดดับ)
    คุณควบคุมจิตได้จริงหรือครับ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ควบคุมจิตหรือความคิดได้
    หากคุณควบคุมได้ ก็บอกมันว่าอย่าโกรธ อย่าเกลียด อย่ารัก อย่าทุกข์ และเจ้าจงเป็นพระอรหันต์เถิด หากทำได้ผมก็จะเชื่อ
    ที่คุณพูดมีความหมายว่าบางครั้งมีลักษณะคล้ายกับว่าจะควบคุมได้เท่านั้น
    แล้วเราคืออะไร เราก็คืออัตตาหรือความคิดไงครับ ถ้าความคิดดับ อัตตาก็ดับ เราก็ดับ
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2013
  11. reindear

    reindear เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +173
    ขอบคุณทุกคนค่ะ จากที่อ่านๆมาทำให้เรานึกได้ว่าเราไม่ค่อยเข้าใจขันธ์5เท่าไหร่
    เพราะความเข้าใจเราคือรูปกับสังขารมันเหมือนกันอ่ะ 555
    เวทนาคือความรู้สึกเห็นใจ ส่วนสัญญาคือข้อตกลง 555
    จะไปหาอ่านเพิ่ม ขอบคุณนะคะ
     
  12. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ขันธ์๕ ก็เป็นสภาวะที่ประกอบด้วยลักษณะ ๕ ประการ ด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นลักษณะเกิดมาพร้อมและดับไปพร้อมๆกัน
    ตัวอย่างเราได้ยินเสียงเคาะ ๑ ครั้งก็เป็นองค์ของขันธ์๕ สมบูรณ์พร้อมทุกขันธ์ เสียงนั้นเป็นรูป๑ จำได้ว่าเป็นเสียงอะไรเป็นสัญญา๒ รู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยต่อเสียงเป็นเวทนา๓ คิดปรุงแต่งไปกับเสียงเป็นสังขาร๔ รู้ว่าเป็นเสียงเป็นวิญญาณ๕ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
    ที่แยกออกมาเป็นลส่วนๆได้ทั้ง ๕ ส่วนนี้เป็นปัญญาของพระพุทธเจ้าท่านทรงแยกแจกแจงให้เห็นในรายละเอียดเพื่อไม่ให้เราไปยึดไปติดในขันธ์๕
    ขันธ์๕ เป็นปัจจุบันอารมณ์ที่เกิดกับเราตลอดเวลา
    ขันธ์๕ นี้ยังแยกย่อยออกไปอีก ๑๑ กองได้แก่ ขันธ์ภายใน ขันธ์ภายนอก ขันธ์หยาบ ขันธ์ละเอียด ขันธ์เลว ขันธ์ปราณีต ขันธ์ ณ ที่ใกล้ ขันธ์ ณ ที่ไกล ขันธ์ในอดีต ขันธ์ในปัจจุบัน ขันธ์ในอนาคต
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2013
  13. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    คิดง่าย ๆ สิ่งใดเป็นของเรา เป็นเรา สิ่งนั้นเป็นทุกข์
    พ่อเรา แม่เรา อะไร ๆ ของเรา หากมันสูญหาย ก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น

    พ่อ แม่ สิ่งของ ของคนอื่น ตาย สูญหาย เราเป็นทุกข์ไหม ?
    แต่เมื่อใดที่เราหลงยึดว่า เป็นตัวเรา ของเรา เมื่อมันเสื่อมสูญไป ......
    ทุกข์เกิดขึ้นทุกที จริงหรือไม่จริง ก็พิจารณาดูเอาเถิด ของง่าย ๆ

    ให้พิจารณาว่า เกิดมาคนเดียว ตายคนเดียว อะไร ก็เอาไปไม่ได้
    แม้กายเราเขายังเอาไปเผา แล้วมันมีไหมล่ะ สูญไปทั้งหมด ยึดถือไม่ได้
    สักอย่าง ไม่มีมั่นคงแน่นอน ไร้ตัวตนแท้จริง เสื่อมสูญ ไม่มั่นคงยั่งยืน

    ต้องเสื่อมสูญ สลายไม่ยั่งยืน ทั้งหมดสิ้น.......ค่อย ๆ พิจารณาครับ.
     
  14. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    จขกท ควรหานิยามความหมายองค์ประกอบของขันธ์ห้าตามความหมายทางธรรมก่อนจะเข้าใจมากขึ้น
    และศึกษาบทสวดอนัตตลักขณสูตรซึ่งจะอธิบายข้อธรรมประเด็นนี้อย่างชัดเจนและละเอียด ลองหาได้ในเวบพลังจิตนี้
    นอกจากนั้นหาโอกาสพบครูอาจารย์เพราะจะให้ความกระจ่างมากว่าการอ่านด้วยตนเอง
    เช่น ที่วัดมหาธาตุมีการเรียนการสอนในหลายระดับตามความพร้อมตั้งแต่ปูพื้นฐานจนระดับสูง
     
  15. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    อนัตตา เป็นความไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ยึดติด ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ต้องเกิดด้วยปัญญา ที่เข้าใจอย่างแจ้งชัดว่า เหตุใดจึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น การยึดมั่นถือมั่น ในสรรพสิ่งทั้งหลายเป็นอย่างไร เกิดอะไรขึ้นถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่น ให้พิจารณาให้ลึกด้วยปัญญา มันเกี่ยวกับทุกข์อย่างไร หากท่านพบคำตอบ ทุกๆเรื่องราว ย่อมเห็นจริงว่า ความเป็นอนัตตามันเป็นเช่นนี้นี่เองครับ สาธุ
     
  16. spharm

    spharm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +389
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........ลองดูพระสูตรนี้ ครับ -----พระวจนะ" [SIZE="4[SIZE="4"]สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า ย่อมกล่าวซึ่งโรค(ความเสียดแทง) นั้นโดยความเป้นตัวเป็นตน เขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็น(ตามความเป็นจริง) โดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น(จากที่เป็นจริง) จึงได้เพลิดเพลินยิ่งในภพนั้น เขาเพลิดเพลินยิ่งในสิ่งใด สิ่งนั้นเป้นภัย เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ...............พรห์มจรรยนี้อันบุคคลย่อมประพฤติ ก้เพื่อละขาดจากภพ.............สมณพราห์มเหล่าใด กล่าวความลุดพ้นจากภพว่ามีได้เพราะภพ เรากล่าวว่าสมณพราห์มเหล่านั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.....ถึงแม้สมณพราห์มเหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพ ว่ามีได้เพราะวิภพ เรากล่าวว่าสมณพราห์มเหล่านั้น ก็ยังสลัดภพออกไปไม่ได้............ก็ทุกข์นี้มีขึ้นเพราะอาศัยอุปธิทั้งปวง....เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงไม่มี.............[SIZE="4"ท่านจงดูโลกนี้เถิด สัตว์ทั้งลาย อันอวิชชาหนาแน่นบังหน้าแล้ว และว่า สัตว์ผู้ินดีในภพอันเป้นแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นจากภพได้..........ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด อันเป้นไปในที่หรือเวลาทั้งปวง เพื่อความมี แห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยงเป้นทุกขื มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา .............เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง อย่างนี้อยู่ เขาย่อมละ [SIZE="5"]ภวตัณหาได้ และไม่เพลิดเพลินในวิภวตัณหาด้วย..............ความดับเพราะสำรอกไม่เหลือ เพราะความสิ้นไปแห่งตัรหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือ นิพพาน.......................ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้ว เพราะไม่มีความยึดมั่น ภิกษุนั้น เป็นผู้ครอบงำมารได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว ก้าวล่วงภพทั้งหลาย ทั้งปวงได้แล้ว เป้นผู้คงที่ ดังนี้แล-----------อุ.ขุ.25/121/84...(อริยสัจจากพระโอษฐ์ท่านพุทธทาส)[/SIZE][/SIZE]:cool:[/SIZE][/SIZE]
     
  18. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเล่าใด จะเป้นสมระหรือพราห์ม ก็ตาม ไม่รู้อยู่ตามที่เป้นจริง ว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป้นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้แล้ว เขาเหล่านั้นย่อมยินดีอย่างยิ่ง ในเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่งที่เป็นไปพร้อมเพื่อการเกิด ความแก่ ความตาย ความโสก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับใจ เขาผู้ยินดีในเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่งชนิดที่เป็นไปพร้อมเพื่อความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก เป้นต้นนั้นนั้น ครั้นเขาก่อสร้างเหตุปัจจัยนั้นนั้น แล้วเขาตกลงในเหวแห่งความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกขืกาย ความทุกข์ใจ และความคับใจ นั้นเอง เราย่อมกล่าวบุคคลเหล่านั้น ว่า เขาไม่พ้นไปจาก ทุกข์ ทั้งหลาย คือ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความโสก ความร่ำไรรำพัน ความทุกขืกาย ความทุกข์ใจ และความคับใจ ไปได้ ดังนี้----มหาวาร.สํ.19/560/1729.....:cool:
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เพราะความจางคลาย จนดับไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นแหละ จึงมีความดับของสังขาร เพราะความดับของสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาน เพราะความดับแห่งวิญญาน จึงมีความดับของนาม รุป เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งอายตนะหก เพราะความดับแห่งอายตนะหก จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัรหา เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะความดับแห่งชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ย่อมดับไม่เหลือ ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกขืทั้งสิื้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล---นิทาน.สํ.16/2/3.....:cool:
     
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ........อริยสัจสี่ คือทุกข์ สมุทัย(สาเหตุของการเกิดทุกข์) นิโรธ(ความดับทุกข์) มรรค(ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์).......ที่พระท่านบันลือสีหนาทประกาศจตุราริยสัจ คือ สิ่งนี้............................และผู้มีอวิชชา คือผู้ไม่รู้อริยสัจสี่.....................แท้จริงสิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ นั้น คือ ปฎิจสมุปบาท(หรือ ผู้ที่เข้าใจปฎิจสมุปบาท จะทำลายทิฎฐิ ที่ว่า สิ่งทั้งปวงมี และ ทิฎฐิที่ว่าสิ่งทั้งปวงไม่มี............)----อันนี้ ตรงกับความสงสัยเรื่อง อนัตตา ของ จขกท...ขอให้ทำความเข้าใจโยนิโสมนสิการจาก พระธรรมเอง:cool:ทุกข์นั้นแหละ..สำคัญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...