จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    เกี่ยวกับลักษณะการนิพพานของพระอรหันต์นั้น องค์หลวงตากล่าวไว้ ดังนี้

    “...จิตที่ทำลายสมมุติหมดโดยสิ้นเชิงแล้ว อะไรเวทนาไหนจะไปแทรก นี่เราถึงได้กล้าพูดว่าพระอรหันต์ตาย ตายเมื่อไร ตายที่ไหน ตายเรื่องอะไร ด้วยเหตุผลกลไกอะไรก็ตาม ก็จิตพระอรหันต์ล้วนๆ ว่างั้นเลย ท่านไม่มีปัญหาอะไรกับสมมุติคือการตาย กิริยาแห่งการตายต่างๆ นั้นเป็นเรื่องสมมุติทั้งหมด ความบริสุทธิ์เต็มภูมิ จึงไม่วิตกวิจารณ์เรื่องการเป็นการตาย ..

    แล้วคำว่าบริสุทธิ์แล้วนั้น จะมีกาลสถานที่เวล่ำเวลาที่ไหนเป็นกำหนดกฎเกณฑ์ เป็นที่ให้เกิดสัญญาอารมณ์กับท่าน นิพพานท่าไหนจะดี หรือนิพพานท่าไหนจะเสียที หรือตายท่าไหนดีท่าไหนไม่ดีท่านไม่มี ตายท่าไหนก็คือ พระอรหันต์ตาย เอ้า เราพูดเรื่องตาย จะตายด้วยอุบัติเหตุอะไรก็ตาม ตายด้วยการเจ็บไข้ได้ ป่วยอะไรก็ตาม จะเข้าสมาธิสมาบัติหรือไม่เข้าก็ตาม ไม่มีสิ่งใดสำคัญทั้งนั้น

    ไม่มีอันใดที่จะลบล้างความบริสุทธิ์นั้นได้เลย ท่านเป็นพระอรหันต์อยู่เต็มตัวทุกกาลสถานที่อิริยาบถ .."

    จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์

    fbเครือข่ายกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
     
  2. kb 2500

    kb 2500 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +873
    ท่านเป็นพระอรหันต์อยู่เต็มตัวทุกกาลสถานที่อิริยาบถ .."

    ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน..เต็มรอบ
     
  3. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ...สมัยนี้เป็นสมัยที่โลกวุ่นวาย เนื่องมาจากเศษฐกิจบ้างจากภัยต่างๆ มีโจรบ้าง อุทกภัยบ้าง อัคคีภัยบ้าง และเกิดอุปัทวเหตุต่างๆ มีรถชนกันบ้างและจี้-ปล้น-เรียกค่าไถกันบ้างทําให้เกิดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน(หรือเรียกอีกอย่างว่าโลกร้อน)ทําให้หาความสุขไม่เจอหรือเจอก็ยาก จึงมีบางกลุ่มบางท่านที่เกิดปัญญาหาทางออกจากทุกข์โดยหันหน้ามาปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความสงบสุข จิตใจเยือกเย็นไม่ต้องเดือดร้อนวุ่นวายไปตามโลก...
    ผู้มีสันติคือ ความสงบย่อมมีใจเยือกเย็นเป็นสุข มีความสุภาพอ่อนโยน นิ่มนวล มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไม่อิจฉา ไม่พยาบาทใครเปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารธรรมเมื่อมีอุปสรรคหรืออันตรายเกิดขึ้นย่อมมีใจเข็มแข็ง ใช้สันติของตนเองโดยธรรมเอาชนะอุปสรรคหรืออันตรายเหล่านั้นให้ผ่านพ้นไปโดยสวัสดิ์ ถ้าเป็นผู้ปกครองเขาก็สามารถนําหมู่คณะของตนให้ปลอดภัยในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ...
    ที่มา หนังสือธรรมะสว่างใจ(หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโก)
    ลูกขอน้อมกราบหลวงปู่ด้วยความเคารพค่ะ
     
  4. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขอโมทนาสาธุกับคุณพี่มาลินีด้วยครับ
    โดยเฉพาะเรื่อง รักแบบเมตตา การให้อภัย การปล่อยวาง และการอโหสิกรรม ซึ่งกันและกัน
    แต่่การกระทำทั้งหมดนี้ได้ด้วย จิตเท่านั้นครับ
    ให้อภัยได้ กระทั่งแม้นศัตรูหรือคนที่เห็นต่างกับเราเอง
     
  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขอโมทนาสาธุกับคุณดาวด้วยครับ

    เอ๊ะ! ทำไม๊ ควายในกระทู้นี้มันเยอะจังเลย หรือว่ามันจะกลับมาใหม่
    ฮ่าๆ ล้อเล่นๆ เดี๋ยววิ่งตามความคิดตนเอง ไม่ทันอีก เดี๋ยวพี่ภูจะเดือดร้อนอีก

    ผู้ที่ทำหน้าที่ปล่อยวาง ก็คือ จิต
    แต่คำว่า ปล่อยวาง จักต้องใช้ปัญญาในทางธรรม (จิตมีปัญญา?)
    แต่ถ้าจิตยังไม่มีปัญญา ก็จะปล่อยยากหรือปล่อยวางไม่ได้เลย
    คำว่า ปล่อยวางนั้น มิใช่แค่ปากพูดๆๆ เพราะเป็นหน้าที่ของจิตที่จะปล่อยวางเอง
    เหตุที่จิตปล่อยวางยังไม่ได้สนิท เป็นเพราะจิตยังมีความหลงอยู่ จิตยังไม่เข้าถึงสภาวธรรมจริงๆ
    แต่ถ้าจิตเข้าถึงจริงๆ จิตใจของคนๆนั้น จะเบา ปราศจากทุกข์ใดๆ

    เพราะตรู(จิต)รู้แย๊ววว เห็นกิเลสคราใด ก็ไม่พ้นไตรลักษณ์ นั่นเอง
    เมื่อจิตผู้ใดเห็นไตรลักษณ์ หรือมองเห็นเกิด-ดับของกิเลสจนชิน+ชา
    เรา(จิต)จึงมองเห็นความเป็นธรรมดากันได้ เมื่อนั้น
    พอเห็นธรรมดาบ่อยๆเข้า เรา(จิต)จึงพอจะมองเห็นความเป็นอนัตตาของสิ่งมีชีวิต
    หรือสรรพสิ่งใดๆในโลก อันไม่เที่ยงนี้ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

    ส่วนกิจหรือการงานนั้น เป็นหน้าที่ของกาย(สมอง)กับสติ

    ผู้ปฎิบัติก็เหมือนกัน ถ้าตราบใด ยังมีขันธ์ ๕ ก็อย่าประมาท ก็คือ อย่าเพิ่งไปทิ้งเรือกัน
    หรือหมั่นเจริญสติภาวนาให้เป็นนิจ หรือว่า อย่าไปทิ้งฌานกันนะ
    แต่ถ้าท่านทิ้ง ก็ทุกข์เมื่อนั้น

    นำสติมาอยู่บ้านเดียวกับจิตให้ได้ สติกับจิตจะต้องสามัคคีกัน
    แต่ถ้าสติไปทาง จิตไปทาง ยุ่งแน่ๆ ทุกข์แน่ๆ ลองดู
    เพราะเราจะปราศจากทุกข์ได้ ต้องนำสติ+จิต=สมาธิ=ปัญญา
    ตามแบบฉบับพระกรรมฐานของพระพุทธองค์ ได้ตรัสมาดีแล้ว ชอบแล้ว นั่นเอง
    เมื่อมาถึงกันตรงนี้แล้ว แทบไม่ต้องพูดมากกันแล้วนะ
    จิตโตๆกันทั้งนั้น งั้นก็จิตใครจิตมัน ดูแลกันเองเถิด

    สำหรับกิเลสหรืออัตตาละเอียด ก็เช่นกัน กำจัดกันเอง
    เพราะไม่มีผู้ใดใช้ปัญญาของผู้อื่น ไปกำจัดอัตตาละเอียดของตนเองกันได้

    ปล.จิตบุญทุกท่าน อย่าลืมทบทวนเรื่องศีล สังโยชน์ อิทธิบาท พรหมวิหาร กรรมบท
    โดยเฉพาะเจริญสติภาวนาให้เป็นเนืองนิจ แยกกาย แยกจิตให้ชัดเจน
    นำสติกับจิตมารวมกันให้ได้ และสติกับจิตควรประพฤติ ควรปฎิบัติแต่ฝ่ายที่เป็นบุญ เป็นกุศล เท่านั้น
    ส่วนเรื่องกรรมในอดีตนั้น ก้มหน้ายอมรับมันไป เพราะถ้าผู้ใดปฎิบัติถึงจริงๆ มันไม่มีผลต่อจิตใจของตนอย่างแน่นอน
    เอาจิตรอดก่อนดีกว่า ส่วนสตินั้น ต้องเจริญให้มากๆ
    หรือเพื่อความไม่ประมาทแห่งจิตตน ให้นำจิตไปอยู่ข้างพระนิพพานหรือเกาะพระไว้จะดีกว่า
    อย่าให้สติหรือจิต มันไหลไปตามกิเลส ไปตามอายตนะ ไปตามความคิดนึก
    สำรวมจิตตัวเดียว ทุกอย่างจะดีเอง
    สาธุๆๆ
     
  6. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    มีมาร...ไม่มีมาร.

    มารไม่มี บารมี ยิ่งไม่แก่ จะมีแต่ ถอยหดลง หมดความหมาย

    ไม่มีพลังสร้างวิบาก ไว้มากมาย หรือสอบไล่เพื่อให้เราเข้าใจตัว

    มารยังมี บารมี ยิ่งแก่กล้า ยิ่งรุดหน้า สามารถในธรรมทั่ว

    สร้างวิบากได้มากมาย ให้เนียนัว ให้ดอกบัวเบ่งบาน สะท้านสะเทือน

    แล้วประหัต ประหารมารร้ายให้ตายเตือน ได้แนบเนียน

    ไม่มีอะไรเหมือน เมื่อมารมี มาตักเตือน ให้พบเงื่อนงำกล้า ฆ่ามารเอง.

    คติเตือนใจ...นำมาฝากท่านผู้อ่านค่ะ.
     
  7. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ศีลเป็นบันไดขั้นแรกของการภาวนา
    เป็นคุณสมบัติของผู้ที่จะปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ
    ศีลจะนำไปสู่มรรคผลหรือพระนิพพานได้ ในที่สุด
    อย่ามองข้ามเรื่องศีลของตนเองกันนะครับ
    แต่ถ้าเอาดีเรื่องศีลไม่ได้ ก็อย่าไปหวังถึงมรรคผลเลย นิพพานก็ยิ่งไกลเข้าไปใหญ่
    ศีลสำคัญมากสำหรับการเดินมรรค มีอิทธิพลต่อจิตโดยตรง
    ศีลจึงเป็นส่วนหนึ่งของมรรค์มีองค์ ๘ (ศีล สมาธิ ปัญญา)

    ขอโมทนาสาธุกับธรรมาทานของคุณหมออุษาวดีเป็นอย่างยิ่งครับ
    ที่ท่านคอยนำธรรมะดีๆ มาให้กับพวกเราในที่นี้
    ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กุมภาพันธ์ 2013
  8. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...ถ้าเราทำกรรมดี จงทำต่อไป

    อย่าไปท้อใจว่า ทำดีเท่าไรๆ

    ไม่เห็น...ไม่เห็นว่าได้อะไร...ว่าต่อไปนะ...ไม่แน่

    บางทีภายในวินาทีเดียวก็ได้แล้ว...

    พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙

    ขอกราบแทบเท้าพระองค์ท่าน และขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ

    ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2013
  9. Linda2009

    Linda2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +9,998
    -ขออนุโมทนากับคุณจุ๋ม จิตบุญ ดวงที่ 132 ครูผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านคะ่ สาธุ
     
  10. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
    สุขอื่น ยิ่งกว่า ความสงบไม่มี


    ทิ้งละวาง ว่างเว้น จิตเป็นสุข
    คลายความทุกข์ หม่นหมอง เรื่องกองขันธ์
    สมาธิ ภาวนา จงพากัน
    นั่งทุกวัน วันละนิด จิตชื่นบาน
    นั่งดูลม หายใจ ใสสว่าง
    เป็นแนวทาง สร้างสุข ทุกสถาน
    เรื่องสงบ จบสิ้น จินตการ
    สุขสำราญ หาไหน โอ้ใจเรา
    .
    ;39​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2013
  11. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ปลงขันธ์ ๕ เป็นปกติ เพื่อความสุขของใจ ไอ้ทางกายนี่ไม่มีความสำคัญ มันจะเป็นอย่างไรช่างหัวมัน เอาใจสบายก็แล้วกัน ทางกายนี่เราจะไปเอาให้มันดีไม่มีทาง ถ้าเราเอาใจไปเกาะกาย ว่ากายต้องเป็นอย่างนั้น ต้องดีอย่างนี้ ชาตินี้ทั้งชาติ กลุ้มทั้งชาตินะ ไม่มีความสุข

    ธรรมโอวาทหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    ที่มา fb ศูนย์พุทธศรัทธา
     
  12. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793
    ครั้งหนึ่งเมื่อเสด็จผ่านไปกลางทุ่งนา พบหนูกำลังขุดรูอยู่ ท่านก็ตรัสกับสาวกที่เดินตามข้างหลังมาว่า....หนูบางตัวขุดรู....แต่ไม่อยู่ หนูบางตัวอยู่....แต่ไม่ขุด หนูบางตัวขุดด้วย...อยู่ด้วย หนูบางตัวไม่ขุด...และก็ไม่อยู่ด้วย.....
    เหล่าสาวกก็มองหน้ากันด้วยความงงงัน มันยังไงกันแน่ทั้งขุดทั้งไม่ขุด ทั้งอยู่ทั้งไม่อยู่ พระพุทธเจ้าเลยบอกว่ามันเป็นอย่างนี้ อาตมาจะอธิบายให้ฟัง






    หนูตัวที่หนึ่ง.....หนูขุดรู แต่ไม่อยู่
    มีมากมายในสังคมไทย เหมือนพวกที่มาฟังเทศน์ฟังธรรมแล้วตั้งหน้าตั้งตาจดจำใหญ่เลย ได้ข่าวว่าพระองค์ไหนสอนดีไกลแค่ไหนก็ดั้นด้นไปฟัง ศึกษาจนเข้าใจแจ่มแจ้งอะไรดีอะไรไม่ดีรู้หมด แต่ไม่ทำ เข้าขั้น.....ดีชั่วรู้หมดแต่อดไม่ได้


    หนูตัวที่สอง.....หนูอยู่ แต่ไม่ขุด
    พวกนี้ไม่ได้เรียนไม่ได้ศึกษา แต่ประพฤติตัวดี มีศีลธรรม ไม่ต้องให้มีใครมาบอกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกก็รู้ได้ด้วยตัวเอง เข้าขั้น.....ประพฤติดีได้เพราะตนเลือกในสิ่งที่ดีให้แก่ชีวิต


    หนูตัวที่สาม.....หนูขุดด้วย อยู่ด้วย
    พวกที่มีจิตใจใฝ่ทางธรรม หมั่นศึกษาจนมีความรู้แตกฉาน ฟังเทศน์ทำให้จิตใจสงบสุขและนำมาสอนรวมทั้งปฏิบัติในชีวิตจริงได้ เข้าขั้น.....ครอบครัวสังคมและตัวเองอยู่เย็นเป็นสุข


    หนูตัวที่สี่.....หนูไม่ขุด และไม่อยู่ด้วย
    เป็นหนูที่น่าสงสารที่สุด ไม่สนใจศึกษาหาหนทางสว่าง ไม่เข้าวัดฟังธรรม ชอบแต่อบายมุขหาความสุขชั่วคราวไปวันๆ เบือนหน้าหนีกับคำสอนใดๆ เข้าขั้น.....บัวใต้น้ำเลยก็ว่าได้
     
  13. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    คำด่ามีค่ามากอย่างไร ?
    (๑) คำด่า คือ กระจกเงาสะท้อนความบกพร่องของงานที่เราทำ
    (๒) คำด่า มักแฝงคำแนะนำมาด้วยเสมอ
    (๓) คำด่า บอกเราว่า สิ่งที่เราทำอยู่นั้นหากมีคนที่คิดไม่เหมือนเราเขามองดูอยู่ เขาเห็นอะไรในสิ่งที่เรามองไม่เห็นบ้าง
    (๔) คำด่า คือ กระดาษทรายอย่างดี ที่คอยขัดสีฉวีวรรณให้เรามีความกลมกล่อมลงตัว เหมือนพระประธานที่ต้องถูกกระดาษทราย ขัดสีฉวีวรรณจนผุดผ่อง
    (๕) คำด่า ทำให้เราไม่ประมาทผลีผลามทำอะไรด้วยความเชื่อมั่นมากเกินไป
    (๖) คำด่า ทำให้รู้ว่า มีคนรักหรือเกลียดเรามากน้อยแค่ไหน
    (๗) คำด่า ทำให้รู้ว่า อย่างน้อยก็มีคนสนใจในสิ่งที่เราทำ หรืออย่างน้อย สิ่งที่เราทำมันกำลังส่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงมีคนอุทิศตนมาสนใจและด่าอย่างเป็นงานเป็นการ
    (๘) คำด่า จะทำให้เราได้หันกลับมาดูภูมิธรรมของตนเองว่า เข้มแข็งมากน้อยแค่ไหน เมื่อทุกข์กระทบแล้วธรรมกระเทือน หรือกิเลสกระเทือน ถ้า ธรรมกระเทือนแสดงว่าเราฝึกตนเองมาดี แต่ถ้ากิเลสกระเทือนแสดงว่า ต้องกลับไปฝึกจิตตัวเองใหม่ให้เข้มแข็งกว่านี้
    (๙) คำด่า ทำให้เราได้รู้ว่า ในโลกนี้ไม่มีใครหนีโลกธรรม ๘ ได้ (ได้ลาภ เสื่อมลาภ,ได้ยศ เสื่อมยศ,สรรเสริญ นินทา,สุข ทุกข์)
    (๑๐) คำด่า คือ บทเรียนเรื่องการปล่อยวางตัวกูหรืออัตตาที่ดีที่สุด เพราะหากเรายังปล่อยวางตัวกูไม่ได้ เราก็จะต้องหาวิธีด่าคืนอยู่ไม่สิ้นสุด
    คำด่ามีประโยชน์แบบนี้นี่เอง เดี๋ยวให้ด่าทุกวันเลย..........

    ท่าน ว.วชิรเมธี
    [/B]
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

    เล่าถึงการปฏิบัติทางจิตว่า เป็นของที่ละเอียดอ่อนมาก สติสัมปชัญญะต้องตื่นอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นจะตามไม่ทันจิต

    จิต เป็นธรรมชาติชอบคิด ชอบปรุง ชอบแส่ส่ายไปหาอารมณ์จากที่ใกล้ที่ไกลไม่มีขอบเขต

    ถ้าอยู่ในที่ชุมชน อารมณ์ที่เข้ามานั้น ส่วนมากจะเข้ามาทางตาบ้าง ทางหูบ้าง จมูกบ้าง ลิ้นบ้าง กายบ้าง
    การต้อนรับอารมณ์ของจิต มักจะนำมาแบกมาหาบมาหาม มาทับมาถมตัวเอง
    การที่จะสลัดตัดวางนั้นไม่ค่อยปรากฏ
    เพราะเหตุนั้น จึงทำให้เราเป็นทุกข์ไปกับอารมณ์นั้นๆ เป็นสุขไปกับอารมณ์นั้นๆ เป็นความเพลิดเพลินไปกับอารมณ์นั้นๆ
    ทั้งนี้ก็เพราะขาดการพิจารณาของจิตนั่นเอง

    จิตที่ไม่มีสติเป็นพี่เลี้ยงคอยควบคุมคอยแนะนำมักจะไปแบกไปหาบไปหามเอาทุกสิ่งทุกอย่างมาทับมาถมตนเองให้เกิดทุกข์ ถึงกับบางคนตีอกชกตน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่น่ารื่นรมย์ กลายเป็นพิษเป็นภัยไปก็มาก

    ส่วนอารมณ์ของนักปฏิบัติผู้อยู่ในป่านั้น มักเกิดขึ้นกับจิตที่ชอบปรุงแต่งเป็นอดีตเป็นอนาคต ซึ่งอารมณ์ประเภทนี้ทำลายนักปฏิบัติมามากต่อมากแล้ว เพราะไม่รู้เท่าทันกลมายาของจิต เหตุเพราะขาดสติปัญญานั่นเอง

    ดังนั้น การปฏิบัติจิตภาวนา จำเป็นต้องตื่นอยู่เสมอ อารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้าออกตามทวารต่างๆ นั้น ต้องได้รับการใคร่ครวญพิจารณาจากสติสัมปชัญญะเสียก่อนทุกครั้ง


    ที่มา
    ธรรมจักร :: เว็บธรรมะออนไลน์�-
     
  15. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน

    สิ่งทั้งปวงมีเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด

     
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่
    ประหนึ่งแผ่นดินเป็นสิ่งที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลาย
    เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์
    มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบาย
    มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาดเช็ดถูเรียบร้อย
    ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน ”
     
  17. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ คือ ความสงบใจ
    สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้น เป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ
    เหมือนเรือนที่มีฝาผนัง มีประตูหน้าต่างปิดเปิดเรียบร้อย มีหลังคาป้องกันลม แดดและฝน
    ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น
    ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลม แดดและฝน
    กล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า
    สมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะให้เบาบางและหมดสิ้นไป ”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กุมภาพันธ์ 2013
  18. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    “ อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ
    แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด
    ศีล สมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม
    จิตที่ฟอกด้วยศีล สมาธิและปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กุมภาพันธ์ 2013
  19. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ
    ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ด้วยตัวเรานี้เอง
    ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น
    เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย
    มนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตามแต่ก็ตามไม่เคยทัน
    การแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้น
    เป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อยเหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก
    ๆ เพียงตัวเดียว
    มนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ
    จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่ง
    ซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือดวงจิตที่ผ่องแผ่ว
    เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรน
    เรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา เรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้
    ภาระที่ต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้ว
    ในหมู่ชนที่เพ่งแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา
    ไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย
    เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตา
    เขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย
    พร้อมๆกันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง


    ที่มา
    http://www.atriumtech.com/cgi-bin/h...m/cafe/religious/topic/Y7112558/Y7112558.html
     
  20. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    จิตเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม ในชีวิตประจำวันอย่างไร

    หมายถึง การมีสติระลึกรู้เท่าทันตามความเป็นจริง รวมทั้งการพิจารณาให้เห็นความจริงใน กาย เวทนา จิต หรือธรรม อันเป็นหลักปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ หรือในแนวทางปฏิจจสมุปบาทธรรมนั่นเอง

    การนำสิ่งที่ปฏิบัติในพระกรรมฐานหรือการวิปัสสนา มาปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงจักให้ผลยิ่ง
    กล่าวคือ นำความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสติจากการฝึกปฏิบัติในพระกรรมฐานมาใช้ในการดำเนินชีวิต กล่าวคือเป็นการปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดผลขึ้น คือเพื่อการดับเหล่าอุปาทานทุกข์ลงไปจริงๆ พร้อมทั้งการสั่งสมอย่างถูกต้อง อย่างเชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง จนจิตเห็นในกาย เวทนา จิต ธรรม อย่างเป็นมหาสติ

    ปัญหาที่มักสงสัย คือปฏิบัติอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ต้องเห็นเท่าทันในธรรมทั้ง ๔ หรือ? ต้องปฏิบัติหรือเท่าทันอะไรก่อน? อะไรสำคัญกว่ากัน?
    (อ่านต่อ)
    http://www.nkgen.com/376.htm

    มีสติซึ่งก็คืออาการหนึ่งของจิต(ข้อที่ ๒๙ ในเจตสิก ๕๒)ชนิดจิตตสังขารจึงต้องประกอบด้วยการเจตนากระทำขึ้นนั่นเอง ที่ระลึกรู้เท่าทัน ที่ประกอบด้วยปัญญาอยู่ในที ที่หมายถึงรำลึกรู้เข้าใจตามความจริงในธรรมทั้ง ๔ ใดก็ได้ ที่สติระลึกรู้เท่าทันขึ้นนั้นๆ จึงขึ้นอยู่กับจริต, สติ, ปัญญา, การปฏิบัติหรือการสั่งสม ฯ.
    http://www.nkgen.com/ex3.htm#เจตสิก๕๒

    พจนานุกรมพุทธศาสน์
    http://84000.org/tipitaka/dic_dhamma/

    การปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังเช่น การมีสติเห็นจิตสังขาร ที่หมายถึง มีสติเห็นความคิด จึงไม่ใช่การไปหยุดคิดหยุดนึกให้สงบดังการปฏิบัติสมถสมาธิที่มีจุดประสงค์ให้จิตแน่วแน่หรือตั้งมั่น หรือการเข้าใจผิดไปยึดความว่าง ว่าเป็นการว่างจากความคิดความนึก เพราะความคิดความนึกต้องมีอยู่เป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนา ว่างนั้นจึงต้องเป็น ว่างจากเหล่ากิเลสตัณหาอุปาทาน กล่าวคือเมื่อคิดเมื่อนึกให้รู้เท่าทัน และรู้ตามจริง แล้วหยุดการปรุงแต่งสืบต่อไปหรืออุเบกขาในโพชฌงค์นั่นเอง

    ที่มา
    http://www.nkgen.com/901.htm

    ปล.น่าสนใจมาก และป้องกันการหลงทางในการปฎิบัติ
    ก็เลยนำมาฝากกัน
    อย่าลืมนะ...ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ...ทั้ง 3 ธรรมนี้ ขาดอย่างใด อย่างหนึ่ง ไม่ได้เลย
    ขอให้ผู้ปฎิบัติยึดแนวทางการปฎิบัติถูกต้อง(หลักการ)เข้าไว้ก่อน อย่าเอาถูกใจตนเข้าว่านะ เดี๋ยวจะหลง เดี๋ยวจะกู่ไม่กลับ
    อย่าเป็นนักปฎิบัติไปไกลเกิน ใครๆเตือนก็ไม่ฟัง คราวนี้เดี๋ยวจะยุ่งไปกันใหญ่
    ผมพยายามนำเสนอสิ่งที่ดีและถูกต้องให้กับพวกเราเสมอมาและตัวผมเองด้วย
    ขอฝากท่านผู้รู้ โดยเฉพาะเรื่องปริยัติ มาสอนสั่งหรือแนะนำผมหน่อย ผมเป็นคนที่สอนได้ครับ ไม่ใช่เป็นคนที่สอนไม่ได้

    ขอโมทนาสาธุกับผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบทุกๆท่านด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...