นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 18 มกราคม 2013.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    นิพพานสูตร
    สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
    ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว
    ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า
    ดูกรอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร ฯ

    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
    ดูกรอาวุโส นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข
    ดูกรอาวุโส กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
    เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ
    กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ
    รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ
    โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย
    อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด กามคุณ ๕ ประการนี้แล
    ดูกรอาวุโสสุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ นี้เรียกว่ากามสุข ฯ

    ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุ
    นั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธ
    ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด
    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามเหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ
    ฉันนั้นเหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์
    ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบไป ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่
    ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ
    เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญา
    มนสิการอันสหรคตด้วยวิตกเหล่านั้น ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้น
    เหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์
    ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้
    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความ
    ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วย
    ปีติ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค
    ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์
    ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้
    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขาย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือน
    ความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการ
    อันสหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้นข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์
    ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ฯลฯ ภิกษุบรรลุอากาสานัญ
    จายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้
    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความ
    ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคต
    ด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค
    ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์
    ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหาร
    ธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่านข้อนั้นเป็นอาพาธ
    ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุขเพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด
    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธ
    ของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์
    ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรม
    ข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ
    เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญา
    มนสิการอันสหรคตด้วยวิญญานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ
    ฉันนั้นเหมือนกันซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์
    ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วย
    วิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธ
    ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด
    สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธ
    ของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์
    ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    โดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
    ดูกรอาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๓๕/๓๗๙
     
  2. ก้อนหิน

    ก้อนหิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +238
    สภาพ จิตหมด ความยึดมั่น ถือมั่น ในขันธ์..เป็นสุข...
     
  3. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    **นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร**
    ได้นิพพานแล้วจิตย่อมอยู่เหนือสุขและทุกข์ ย่อมไร้การเกิดดับ อยู่เหนืออวิชชาทั้งปวง
    ความสงบ สว่าง บริสุทธิ์ และเบิกบานอยู่เนืองนิจ คือสมบัติแห่งพระนิพพานโดยแท้ อย่างนี้เป็นต้นครับ
    โมทนาธรรมทุกท่านครับ ​
     
  4. โพธิภูมิ

    โพธิภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +112
    อย่าเอาสุขแบบจำได้หมายรู้จาก กิเลสตัณหามาเปรียบเทียบกับสุขสภาวะธรรมชาติของนิพพานเลย มันคนละอย่างกัน มันเปนสุขจากการละ จากการรู้เท่าทันสภาวะธรรมชาติของจิต
    ตั้งแต่เริ่มต้น ท่ามกลาง จนที่สุด ด้วยกำลังสติที่สมบูรณ์ จึงไม่เปนทุกข์จากการบีบคั้นของกิเลสที่เปนต้นเหตุเปนปัจจัยของความทุกข์
     

แชร์หน้านี้

Loading...