จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    สมาธิ3

    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒-175

                สมาธิ ๓

            ๑.  สุญญตสมาธิ            สมาธิที่ว่างเปล่า

            ๒.  อนิมิตตสมาธิ           สมาธิที่หานิมิตมิได้

            ๓.  อัปปณิหิตสมาธิ        สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้.

                            อรรถกถาอธิบายกถาในสุญญตะ

    เป็นต้น   มี  ๓  อย่างคือ   โดยความสำเร็จ   โดยคุณของตน   โดยอารมณ์.

    ภิกษุรูปหนึ่ง  ยึดถือโดยความเป็นอนัตตา  เห็นโดยความเป็นอนัตตา  ย่อม

    ออกไป (คือหลุดพ้น) โดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่า (สุญญตะ)  โดยความ

    สำเร็จ.  วิปัสสนาของท่านชื่อว่า  เป็นสุญญตะ   เพราะเหตุไร.  เพราะกิเลส 

    ตัวกระทำไม่ให้เป็นสุญญตะไม่มี.  มรรคสมาธิ  ชื่อว่าเป็นสุญญตะ    เพราะ

    สำเร็จด้วยวิปัสสนา  ผลสมาธิ   ชื่อว่า  เป็นสุญญตะ     เพราะสำเร็จด้วยมรรค.

    รูปอื่นอีก   ยึดถือโดยความเป็นของไม่เที่ยง   เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง

    แล้วออกไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง. วิปัสสนาของท่าน ชื่อว่าเป็น อนิมิต 

    ตะ.  เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีกิเลสที่กระทำนิมิต. มรรคสมาธิ  ชื่อว่า  เป็น

    อนิมิตตะ  เพราะสำเร็จโดยวิปัสสนา  ผล ชื่อว่า อนิมิตตะ  เพราะสำเร็จโดย

    มรรค.  รูปอื่นอีก  ยึดมั่นโดยความเป็นทุกข์  เห็นโดยความเป็นทุกข์  แล้ว

    ออกไป   ( หลุดพ้น )   โดยความเป็นทุกข์.   วิปัสสนาของท่านชื่อว่า  เป็น

    อัปปณิหิตะหาที่ตั้งมิได้.  เพราะเหตุไร.  เพราะไม่มีกิเลสตัวที่กระทำปณิธิที่

    ปรารถนา. มรรคสมาธิ     ชื่อว่า  เป็นอัปปณิหิตะ    เพราะสำเร็จโดยวิปัสสนา

    ผลชื่อว่า เป็นอัปปณิหิตะ.  เพราะสำเร็จโดยมรรค  กถาโดยความสำเร็จมีเท่า

    ที่พรรณนามานี้แล.  

    ก็มรรคสมาธิ ชื่อว่า สุญญตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะเป็นต้น  

    ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีราคะเป็นนิมิตเป็นต้น 

    ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีราคะเป็นที่ตั้งอาศัยเป็นต้น     


    กถาโดยคุณของตนมีเท่าที่พรรณนามานี้แล. 

    พระนิพพาน ชื่อว่า สุญญตะ อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะเป็นต้น

    และเพราะไม่มีราคะเป็นต้น เป็นเครื่องหมายแล้วเป็นที่ตั้งอาศัยมรรคสมาธิ  

    ซึ่งมีนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ จึงเป็นสุญญตะอนิมิตตะอัปปณิหิตะ ฯลฯ
     
  2. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    ควันหลง..ท่านสุญญ
    โดยปริยัติธรรมของสมาธิ3 แล้ว ท่านคงหาอ่านได้ไม่ยากอยู่แล้ว
    หากแต่ในทางปฎิบัตินั้น.. สมาธิ3
    - จิตจะทำของเขาเองเป็นอัตโนมัติ
    - สมาธิ3 เกิดพร้อมกันในคราเดียวกัน
    - โดยอาศัยปัญญาญาณเป็นหลัก
    - สรรพสิ่งใดๆไหลเข้า แล้วก็ไหลออกเอง
    - รู้ได้ด้วยสติ+สัมปชัญญะ
    - บังคับหรือกำหนดให้จิตทำเช่นนี้ ไม่ได้!
    เอาว่าประมาณแบบเนี๊ยะ.. เป็นปัจจัตตังแห่งตนเอง

    ปล.เรื่องที่จะควรจะคุยและเรื่องที่ไม่ควรจะคุย ท่านสุญญกับท่านก้องก็ปุจฉา-วิสัชชนากันไปหมดแร๊ะ จบข่าว!
    อ้อ..ท่านทั้งสองอย่าลืมขอขมาพระรัตนตรัยและอโหสิกรรมซึ่งกันและกันด้วยนะครับ..
     
  3. phiung_ay

    phiung_ay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +895
    ขอผึ้งคุยกับลุง◎ เค๊านะคะ ลุงเค๊าใจดีค่ะ

    ลุงเค๊าขี้เหงา เดี๋ยวมาแล้วไม่มีใครสนทนาด้วย ผึ้งก้อจะคอยสนทนาเป็นเพื่อนลุง◎ ลุงเค๊าได้สอนธรรมะเด็กน้อยคนนี้ และในบางครั้ง ลุง◎ก้อจะเป็นบททดสอบของเด็กน้อยคนนี้เหมือนกัน ผู้ที่มีจิตใจดีงาม...ย่อมอยู่อย่างสงบได้ แม้ในกองไฟที่ร้อน กองไฟต่อให้ร้อนแค่ไหนวันนึงก้อต้องหมดเชื้อไฟ เมื่อเราดับกองไฟที่ร้อนละอุและเปิดไฟนีออนแทน สว่างเหมือนกันแต่ความร้อนต่างกัน จริงไหมคะ ^^
     
  4. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ผมก็ลองถามไปงั้นล่ะครับ เรื่องสมาธิ3

    จริงแล้ว ก็สอดคล้องกับไตรลักษณ์

    เผื่อจะมีคนยกมาลงกระทู้ ให้คนเกาหลีได้พิจารณาในสุตตะเหล่านั้น (นวังคสัตถุศาสน์)

    ก็ได้คุณลูกพลัง นี่ล่ะครับนำมาลง _/\_
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2013
  5. Kim_UoonSo

    Kim_UoonSo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +5,937



    โมทนา สาธุกับครูลูกพลัง และโมทนาในเจตนาของท่านพี่
    แต่ตอนนี้ คนเกาหลีนามนี้ไม่สามารถพิจารณาอะไรได้ เพราะอ่านแล้วสมองมันว่าง...ว่างจนง่วง
    ว่าแล้วเราก็ไปพักผ่อน (เข้านอน) กันเถอะค่ะ ... สามทุ่มแล้ว พักกาย พักจิตกันเถอะ
     
  6. phiung_ay

    phiung_ay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +895
    ว่าด้วยเรื่องของไฟ

    "ไฟ" เป็นตัวแทนของความร้อนแรง เผาได้ทุกสิ่งอย่าง เมื่อเราเอานิ้วไปแหย่ไฟ

    เราจะรู้สึกร้อน...และเข็ดกลัว "เรา"ผู้ดำเนินชีวิตเยี่ยงปุถุชนคนธรรมดา ทำไมถึงไม่เข็ดกลัว มีแต่ยิ่งเติมเชื้อไฟให้ร้อนแรง

    ดังเช่น ไฟที่เกิดภายในจิต เมื่อ โกรธ บุคคลที่โกรธ หรือทะเลาะกันนั้น เหมือนยิ่งนำไฟมาไล่เผากัน ฝ่ายหนึ่งร้อน อีกฝ่ายก้อร้อน ไฟจึงเผาไหม้จิตใจ..

    แล้วทำไมเราต้องสุมไฟนั้นให้เชื้อแรงขึ้น หากมีคนหนึ่งคนใดดับไฟ เชื้อไฟนั้นก้อจะอ่อนกำลังลง และดับไปในที่สุด

    เรื่องใกล้ตัวง่ายๆ สมมติไฟไหม้บ้าน ทุกคนย่อมช่วยกันสามัคคีกันดับไฟ แล้วทำไมไฟไหม้ใจไม่มีใครยอมดับ

    ปล่อยให้มันเผาจนวอดวาย ผู้ที่ดับกองไฟได้สำเร็จคือผู้ที่จุดปัญญา

    "ปัญญาก้อเปรียบเสมือนแสงไฟนีออน ให้ความสว่างแต่ไม่ร้อนเหมือนกองไฟ"

    เราจะเลือกใช้ชีวิตที่สงบแบบบรมสุข หรือทุกข์แบบอนันตา อยู่ที่เรา เพียงแค่เรามองเห็นความจริงในวัฎสงสาร

    "เรื่องง่ายที่คนส่วนมากไม่สามารถทำได้ ก้อคือการดับไฟนั้นแล"สาธุ

    ไปนอนพร้อมคนเกาหลีแล้วค่ะ เป็นเด็กห้ามนอนดึกค่ะ คุณลุงคะ ไปนอนก่อนนะคะ ง่วงแย้ว...^^

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2013
  7. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    คนเราพอได้ยินคำว่า "สัญญา" ก็จะเข้าใจว่าคือ "ความจำ" โดยส่วนเดียว โดยเข้าใจไปในสัญญาขันธ์

    ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้นเลย เช่น

    ๑. อนิจจสัญญา คือ กำหนดหมายในสังขาร ว่าเป็นของไม่เที่ยง
    ๒. อนิจเจทุกขสัญญา คือ กำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยง ว่าเป็นทุกข์
    ๓. ทุกเขอนัตตสัญญา คือ กำหนดหมายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นอนัตตา

    พอเข้าใจไปอย่างนั้น ก็พลอยคร้านพาลปวดหมองในตำรา
    กลัวว่าจะเป็นสัญญาความจำบ้าง กลัวจะเป็นใบลานเปล่าบ้าง ซึ่งมันคนละเรื่องกันเลย

     
  8. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    อาพาธสูตร
    [๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
    ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมา-
    *นนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้
    มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์
    อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้
    โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา
    ๑๐ ประการแก่คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับ
    โดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐
    ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนว
    สัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรต
    สัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑ อนาปานัสสติ ๑ ฯ


    ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่
    เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วย
    ประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็น
    อนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา
    โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็น
    โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการ
    เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา
    มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้
    มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ
    ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด
    หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์
    นี้เรียกว่าอสุภสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ
    โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก
    โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง
    โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก
    โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด
    โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม
    โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
    อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
    อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง
    อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย
    ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วย
    ประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความ
    ไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้
    หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี
    ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตก
    อันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อม
    ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว
    ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าปหานสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรม
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส
    ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าวิราคสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรม
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่
    เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่านิโรธสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ ละอุบาย ๑- และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็น
    อนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรต
    สัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง ดูกรอานนท์
    นี้เรียกว่าสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติ
    หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็
    รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อ
    หายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง
    @๑. อุบาย คือ ตัณหาและทิฐิ อุปาทาน คือ อุปาทาน ๔
    (ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า
    จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อม
    ศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา)
    หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
    จักระงับจิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า ย่อม
    ศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง
    หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้
    มั่นหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้อง
    จิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหาย
    ใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษา
    ว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็น
    ผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น
    โดยความดับสนิทหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัด
    คืนหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า
    ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ ฯ

    ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่
    คิริมานนทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน
    เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

    ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของ
    พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว
    สัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์ ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่าน
    พระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระ-
    *คิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น ก็แลอาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้
    แล้วด้วยประการนั้นแล ฯ


    จบสูตรที่ ๑๐
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2013
  9. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    แท้จริงแล้ว รูปฌาน นี่ล่ะอาศัยสัญญาล้วนๆ ในการกำหนด

    แม้การจับภาพพระก็ดี จับนิมิตในกองกสิณก็ดี
    จนล่วงไป ถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ หรืออรูปฌาน นี่ก็ยังเป็นสัญญามีก็ไม่ใช่ สัญญาไม่มีก็ไม่ใช่

    ผู้พลาดท่าตกสูงในกำลังของสมถะ เพราะจะไปดับสัญญาวิราคะ นี่ล่ะครับ
    เพื่อให้หมดความยินดีในสัญญา ก็เลยเป็นอสัญญีไป ในส่วนของรูปฌาน

    วิปัสสนาจะเกิดขึ้น กับการพิจารณา ด้วย
    อนิจจานุปัสสนา หรืออนิจจสัญญา
    ทุกขานุปัสสนา หรือทุกขสัญญา
    อนัตตานุปัสสนา หรืออนัตตสัญญา

    จึงอยู่กับการดำเนินจิต การหมายไว้ในใจ มีการสัมปยุต จนเกิดปัญญาญาณพิจารณา

    ก็อย่างที่คุณ tjs กล่าวไว้ในท่อนนี้
    "สัญญาโดยทั้งหมดย่อมเป็นสัญญา(ขันธ์) สัญญาส่วนหนึ่งย่อมเป็นปัญญา(การหมายไว้)"
     
  10. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    โมทนาบุญด้วยครับ ....
    สิ่งใดๆที่ทำ ก้อคือ สิ่งที่จะได้รับ


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  11. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    น้ำใส ในสายตาของแต่ละคน ก้อไม่เท่ากัน
    ขึ้นอยู่อยู่กับแต่ละคนจะมอง และเข้าใจ

    สิ่งที่พอสำหรับเค้า อาจไม่พอสำหรับเรา

    แล้วสิ่งใดเล่าจะนำพาความพอมาให้เรา

    หาใช่ เงิน ทอง สิ่งภายนอกใดๆ
    ภายในเท่านั้นที่จะนำความพอมาให้เรา
    ไม่ต้องไปหาจากที่ใดๆ หรือคนใดๆทั่วหล้า

    เลิกเงยหนา ชะเง้อมอง เลิกตามหา

    หยุด แล้ว มองมาที่ภายในของเรา
    แล้ว เริ่มที่สติ เพื่อให้จิตนิ่ง
    เมื่อนิ่งก้อจะทำสิ่งใดๆได้

    จิต สติ ปัญญา จะมาถ้าเราหยุด
    หยุดสอดส่าย หยุดส่งออกนอก

    ขอให้มีสติ มีสมาธิ(ฌาน) แค่นี้พอ
    ค่อยๆทำไป ไม่ต้งมีความกดดัน
    ค่อยๆเดิน ค่อยๆก้าว
    ล้มก้อลุก ลุกก้อเดินใหม่

    ทำให้ง่ายๆ(แต่ไม่ประมาทนะครับ)

    รับรู้สิ่งกระทบ แต่ไม่นำมาเกาะเกี่ยวหรือยึดไว้ มันหนัก มันรุงรัง

    ทำแล้ว ให้เกิดความธรรมดาแก่ตน มิใช่เกิดความเป็นตัวเป็นตน เป็นผู้วิเศษขึ้นมา

    เมื่อทำแล้ว ต้องมีหลักชัย
    เมื่อมีหลักชัยแล้ว ต้องรู้วิธีทางเดิน
    เมื่อรู้ทางเดิน ก้อ อยู่ที่เราแล้วสินะ ที่จะ ทำๆๆๆ แล้วก้อ ทำๆๆๆๆๆ



    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  12. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    อ้าวไม่เห็นโพสนี้ จะรีบนอนไปถึงไหน ไหนบอกว่าเจริญฌานได้ตลอด24 ทำไมง่วงล่ะ

    คนทำฌานได้เขาไม่ง่วงกันหรอก เพราะมีกำลังของฌานอยู่เป็นนิจ

    มีสมาธิฌานก็เหมือนได้พักผ่อนไปในตัวอยู่แล้ว เคยไหม พอออกมาแล้วตาแจ้งวาบ

    มีหลวงพ่อองค์หนึ่งท่านไม่นอน ถืออิริยาบถ3 คือหลังไม่แตะพื้น

    อยู่แถวๆโคราช น่ะ และก็อีกองค์แถวลพบุรี ท่านไม่นอนมาเป็นแรมปี ท่านอยู่ได้อย่างไร ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2013
  13. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    เมื่อมี ก้อหมด
    เมื่อพบ ก้อจาก

    ลองดูสิ สุดท้ายแล้ว เราเหลือสิ่งใดๆอีกหรือไม่
    แล้วเรายังจะมาเอาสิ่งใดในระหว่างยังมีลมหายใจอยู่อีกเล่า

    เรามีหน้าที่ที่จะนำออก มิใช่ ใส่เข้านะ

    นำออกๆ นำออกๆ ด้วยปัญญา มิใช่แบบหน้ามืด
    นำออกด้วยปัญญานั้น ต้องนำพาด้วยสมาธิ และสติ

    จิตนิ่งก้อจะมองเห็นสิ่งที่ควรหรือไม่ควร
    สิ่งที่จะทิ้งหรือจะยึด พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านบอกกล่าวไว้หมดแล้ว
    เพียงแต่เราเข้าใจแต่จากการอ่าน การฟัง การตีความเท่านั้น จึงยังไม่สามารถนำออกได้จริงๆ

    ตัวเราต้องทำจริง ถึงจะออกได้จริงๆด้วยปัญญา

    อันอัตตา นั้นจะว่าไปมันก้อดี ที่ยังทำให้เราไม่ลืมตัว ยังเห็นความเลวที่ยังมีอยู่ในเรา
    ทำให้เราไม่ประมาท ต้องหมั่นสำรวจตนอยู่เสมอ ด้วยความมีสติ รู้เท่าทันตลอดเวลา

    เมือใดที่เราลืมสำรวจตน นั่นแหละทางแห่งความอันตรายเริ่มแล้วครับ

    หมั่นสอดส่องความเลว ความดี ในตนเสมอ
    ดีก้อไม่ควรยึด
    เลวก้อไม่ควร ท้อ นำมาฟูมฟายโทษตนให้หมดกำลังใจ

    จะกังวล หรือ กลัวไปใย
    เมื่อ ดี ชั่ว ล้วนแล้วอยู่ในจิตเรา ในตัวเรา นี่แหละ มันไม่ได้อยู่ไกลเลย
    เรานั่นแหละ ที่ต้องหามันให้เจอ แล้วอยู่กับมันให้เป็น วางให้เป็น ก้อไม่ทุกข์

    อยู่ให้เป็น ก้อจะเป็น
    อยู่ไม่เป็น ก้อจะทุกข์


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  14. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    หยุด สงสัย ในสิ่งภายนอก หรือผู้อื่น อันมิใช่เรา
    เฝ้ามองเราแต่อย่างเดียว ก้อเพียงพอแล้วนะ
    แค่นี้ก้อไม่มีเวลาจะไปทำสิ่งใดแล้ว
    ตัวเรานี้มีสิ่งใดอีกเยอะที่ต้องดู ต้อง รู้ และต้องวาง

    เริ่มจากวันนี้ .... ศีล สมาธิ ปัญญา
    ขอให้เริ่มกับตน แล้วจะพบตน และสุดท้ายจะหมดตน

    อยากหมดเนื้อหมดตัว หมดตน สิ้นเนื้อประดาตัว ก้อเริ่มสะ
    แล้วจะรู้ว่า มันไม่ทุกข์หนอ ดีจริงหนอ การสิ้นเนื้อประดาตัว การหมดตัวนี้

    มันเป็นเช่นนี้หนอ

    หมด ก้อ ไม่ทุกข์
    มี ก้อยัง ทุกข์


    จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
     
  15. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขอแจ้งเตือน!​

    ผู้โพสต์ทุกท่าน

    กรุณาโพสต์ไปในทิศทางบวก หรือธรรมะๆ ธรรมชาติๆๆ
    แต่ถ้าธรรมะหรือธรรมชาติจริงๆแล้ว จะไม่มีคำว่า ขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้น
    ทั้งความคิด คำพูด หรือการกระทำ
    แม้นกระทั่งการแสดงออกใดๆ ก็ตาม
    อันได้แก่ การพิมพ์หรือการโพสต์ก็ตาม ก็ล้วนที่มา ก็คือ สติหรือจิตของผู้นั้น
    หากมีแต่สติหรือจิต เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมโพสต์ไม่ได้แน่

    พี่ภูติดตามดูตลอดเวลา บวกกับตามดูจิตของตนเองไปด้วยเสมอ

    ได้โปรดเถอะครับ พี่ภูขอร้องทุกๆท่าน
    กระทู้นี้..เปิดมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียว นั่นก็คือ เผยแผ่จิตเกาะพระ
    เปิดเพื่อมาสอนจิตเกาะพระ หรือใครๆ ก็ได้มาโพสต์ธรรมะเป็นธรรมาทาน

    กระทู้นี้เปิดเพื่อถวายงานของท่านพ่อ คือสมเด็จองค์ปฐม โดยเฉพาะ
    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ หรือครูบาอาจารย์ทุกท่านของพวกเรา
    มิได้ไปแบ่งพรรค แบ่งพวก แต่ประการใดๆ
    มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ก็คือ ช่วยกันสืบสานพระพุทธศาสนา


    มิใช่ เปิดกระทู้นี้มาเพื่อหาศัตรู หรือไปหาใครถูก-ผิด หรือดี-ไม่ดี
    หรือไปตามหาใครเก่งปริยัติหรือเก่งปฎิบัติ
    แล้วพี่ภูจะไปเปิดกระทู้ไปเพื่อหาไม้หน้าสามมาาตีหัวกบาลตนเองหรือ?

    ทุกท่านก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทั้ง3ธรรมนั้น ก็คือ ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ
    ต่างก็ขาดจากกันไม่ได้เลย
    ผู้ใด เก่งด้านใด ถนัดทางไหนนั้น ย่อมดีอยู่แล้ว และพยายามแก้ไขในสิ่งที่ยังขาดอยู่เสมอ
    และคอยหมั่นเต็มเต็มให้กันและกัน จะดีกว่าไหม๊
    ไม่มีมนุษย์หน้าไหน ที่สมบูรณ์แบบ100% หรอก
    หรือไม่มีใครดีหรือเลวแบบ100% หรอก

    โดยเฉพาะ ผู้ที่เกิดมีร่างกายนั้น ก็คือ ผู้ที่หลงทาง แทบทั้งสิ้น หาดีไม่
    ยิ่งผู้ที่คิดว่าตนเอง ฉลาดกว่าหรือดีกว่าผู้อื่นๆนั้น ก็ยังถือว่า ยังเลวอยู่มาก

    สรุปแล้ว ถ้าผู้ใดยังขืนโพสต์ทำนองขัดแย้งหรือเสียดสีกันและกัน
    ขอให้เลิกพฤติกรรมนั้นเสีย
    และพี่ภูไม่ตอบโต้กับผู้ใดๆทั้งสิ้น ที่มาในแนวนี้
    บอกไปแล้วว่า คำว่า เหตุผลของมนุษย์นั้น หาที่สุดมิได้ หรือไม่มีวันจบสิ้น
    เพราะจิตที่เป็นธรรมนั้นย่อมอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ไปวุ่นวายข้างนอก

    จิตเกาะพระ สอนสั่งผู้ที่จิตพร้อม(กำลังใจ)เท่านั้น
    มิได้หมายถึงปริยัติเพรียบพร้อม หรือว่ารู้มากอะไรประมาณนั้น
    ถ้าหากรู้มาก แต่ยังวางไม่เป็น ที่นี่ก็สอนไม่ได้ คือทำตัวแก้วน้ำเต็ม
    เพราะจิตเกาะพระ ไม่ได้ไปง้อให้ใครมาปฎิบัติตามหรือเห็นด้วย
    คนฉลาดจริงๆต้องลองทำดูสิ ตั้งใจทำไม่กี่วันก็รู้ผลแร๊ะ แต่ต้องวางของเก่าลงให้ได้เสียก่อนนะ
    มิฉะนั้น ไม่มีทางสำเร็จแน่


    แต่ถ้าผู้ใดคิดจะตามหาความจริงในธรรมเหล่านั้น จงวางคำภาวนาต่างๆและวางความรู้ทางโลก(Ego)
    หรือปริยัติหรือตำรานั้นเสีย เพราะสิ่งเหล่านั้น จะไปขัดขวางการเจริญในธรรม
    หรือการเข้าถึงกระแสจิตและกระแสธรรมของตนเอง
    วางความลังเลและสงสัยของท่านซะ
    สรุปแล้ว ต้องปฎิบัตินำความสงสัย สงสัยได้แต่ต้องลงมือปฎิบัติก่อน

    ในเบื้องต้น หากผู้ปฎิบัติท่านใด ไม่มีความศรัทธาในจิตเกาะพระหรือครูบาอาจารย์ที่นี่
    หรือแอบเรียนก็ตาม ก็เรียนไม่ได้ เรียนไม่จบแน่ๆ พี่ภูขอยืนยัน นั่งยันและนอนยัน
    และขอบอกก่อนนะว่า ไม่ว่าท่านจะเก่งมาจากที่ไหนก็ตาม
    แต่ถ้าไม่มีครูที่นี่คอยแนะนำนั้น..สำเร็จยาก
    ยกเว้นผู้นั้น คือ สัพพัญญู
    เก่งแต่จิตดื้อก็ไม่ประโยชน์ สอนยาก สำเร็จจึงยากตามไปด้วย
    สู้จิตโง่ๆ ใสๆแบบจิตเด็กไม่ได้ บอกอะไรก็ทำตาม แต่ก่อนจะทำตามนั้น อย่าได้ดูแต่ภายนอก

    เพราะจิตเกาะพระ จะไม่สอนผู้ที่เก่งแล้ว หรือคิดว่าตนเองดีแล้ว
    จิตเกาะพระไม่ง้อ ผู้ที่จิตไม่พร้อมแบบนั้น แต่จะให้โอกาสทุกๆท่านได้เข้ามาลองพิสูจน์ด้วยตนเอง

    ไม่ได้หมายถึงปริยัติหรือความรู้เพรียบพร้อม จิตพร้อมในที่นี้หมายถึง พร้อมเดินตาม
    จิตเกาะพระมิได้สอนให้ผู้คนงมงาย สอนให้มีสติปัญญา แล้วก็ให้เชื่อในสติปัญญาของตนเอง
    ตามพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ดีแล้ว
    ว่าแต่ว่า พวกเราจะตามหาปัญญาของตนเองกันได้ไหม
    แต่ที่มาของปัญญาในทางธรรม มิใช่ปัญญาในทางโลกนั้น
    ก็คือ ปัญญาที่มาจากสมาธิหรือฌานนั้น

    ปล.หากผู้ใดยังสงสัยอยู่ มัวเอาแต่ถามๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    พี่ภูจะไม่มีคำตอบให้ แต่อยากให้ผู้ปฎิบัติตอบตนเองจะดีกว่า
    ตามที่จิตยกหรือจิตบุญนั้น เขาพอจะตอบตนเองได้ เมื่อเราตอบตนเองได้แล้ว
    ต่อไปเราถึงจะไปตอบกับผู้อื่นได้

    จบแร๊ะ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มกราคม 2013
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ตาดีได้ ตาร้ายเสีย

    คิดดีได้ดี คิดร้ายได้ร้าย
    สติก็เหมือนมือ มือก็เหมือนสติ นั่นแหล่ะ!

    ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเราเองว่า..จะเลือก(จับ)เอาอะไร
     
  17. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ความเป็นผู้รู้ เป็นผู้ตื่น เป็นผู้เบิกบาน ซึ่งเป็นคุณลักษณะของความเป็นพุทธะ

    ได้แก่ ปัญญา บริสุทธิ์ และกรุณานั้นเอง เพราะคำว่ารู้เป็นผลที่เกิดขึ้นมาจากปัญญา.

    คำว่า ตื่น คือตื่นจากอำนาจของความหลับด้วยกิเลสที่เรียกว่า ตื่นจากกิเลส

    นิทรา เบิกบานเป็นอาการของจิตที่มองสรรพชีวิตทั้งหลายในโลกด้วยความเมตตากรุณา

    แม้แต่คุณของพระรัตนตรัยเอง.

    พระพุทธคุณได้เน้นให้เห็นถึงพระมหากรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงสัมผัส

    โลกด้วยความกรุณา โดยการเสด็จเที่ยวจาริกไปในนิคมชนบทราชธานีต่างๆ ชี้แจงแนะนำสั่งสอน

    ประดิษฐานขึ้นเป็นรูปของพระศาสนา เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และอำนวยความสุขแก่ชาวโลก

    ตลอดกาลยาวนาน ทรงสมบูรณ์ด้วยพุทธจริยาทั้ง ๓ ประการ คือ

    โลกัตถจริยา ทรงทำประโยชน์แก่โลกในฐานะที่ทรงเป็นสมาชิกคนหนึ่งของโลก

    ญากัตถจริยา ทรงทำประโยชน์แก่พระประยูรญาติทั้งหลายในฐานะที่เป็นราชโอรสของศากยสกุล

    และโกลิยสกุล

    พุทธัตถจริยา ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้าในตำแหน่งของศาสดาผู้เอ็นดูต่อพุทธบริษัททั้งหลาย

    ดังนั้น พระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ อันเป็นสรณะที่พึ่ง ที่ระลึกสูงสุดของพุทธ

    ศาสนิกชนทั้งหลายก็คือ พระคุณทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้านั่นเอง พระพุทธเจ้านั้นทรงเป็น

    ธรรมะทั้งส่วนของพระรูปกาย และส่วนของพระนามกาย พระธรรมนั้นเป็นส่วนของนามธรรม

    พระสงฆ์นั้นได้แสดงให้เห็นถึงปัญญา ความบริสุทธิ์ และความเมตตากรุณาทั้งด้านกาย

    ด้านวาจา และด้านจิตใจ และเมื่อท่านปฏิบัติได้สมบูรณ์ก็ได้ชื่อว่าเป็นอนุพุทธะ คือ

    รู้ตามที่พระพุทธเจ้ารู้ เห็นตามพระพุทธเจ้าเห็น ท่านจึงมีความเมตตากรุณาตามรอยบาท

    ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนั้นธรรมะภาคปฏิบัติจึงกลายเป็นเรื่องพัฒนาปัญญา เพียงประการเดียว

    เพราะปัญญาเหมือนแสงสว่างดังกล่าวแล้ว เมื่อเกิดขึ้นก็ขจัดความมืด คือกิเลส

    ทั้งหมดในจิตใจให้สว่างด้วยปัญญานั้น เป็นจิตใจที่ประกอบด้วยความบริสุทธิ์ และมีความกรุณา

    ในสรรพสัตว์ เป็นการพลิกโลกขึ้นมาอีกด้านหนึ่ง จากอำนาจของอวิชชาความไม่รู้

    และออกมาเป็นรูปกิเลส ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเศร้าหมองขึ้นมาในด้านต่างๆ จนมีการเบียดเบียน

    ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน กลายเป็นมิคสัญญี ผลจากการประพฤติปฏิบัติชั้นสูงสุด

    ซึ่งเป็นการพลิกด้านหนึ่งของโลกขึ้นมา. ในขณะที่โลกประกอบด้วยอวิชชา

    พระพุทธศาสนาประกอบด้วยวิชชา ในขณะที่โลกมีความหนาแน่นไปด้วยกิเลส

    พระพุทธศาสนามีความบริสุทธิ์ ในขณะที่โลกมีการเบียดเบียนกัน พระพุทธศาสนา

    สอนให้มีความกรุณากัน ดังนั้น การปฏิบัติตนตามหลักของอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ

    ย่อมจะอำนวยผลให้เกิดปัญญา ความบริสุทธิ์ ความกรุณา ตามกำลังความสามารถของแต่ละบุคคล

    ที่จะปฏิบัติได้ตามจุดมุ่งหมายของแต่ละบุคคล.


    คัดจากหนังสือนิเทศธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2013
  18. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    สาธุ อนุโมทนาบุญน่ะจ๊ะ ภาษาธรรมหนูธรรมด๊า ธรรมดาเนอะ แต่ "จิต" หนูไม่ธรรมดาเลยน่ะนี้ ขอบอก...แม่หนูผึ้งน้อยพเนจร:cool::cool:
     
  19. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    _Friend_hp_daythaxx;37

    sawatdee ka อ.ใหญ่ภู....น้องครูเกษ
     
  20. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    :cool:ขอบพระคุณพี่น้อง ชาวจิตเกาะพระทุก ๆ ท่าน ที่นำให้พอใจมาพบกับบ้านที่แท้จริง..มาเป็นลูกของสมเด็จพ่อ..เราจะนำพาดวงจิตทุก ๆ ดวงจิต สู่พระนิพพานให้ได้นะคะ..
     

แชร์หน้านี้

Loading...