พระศรีอารยเมตรัย จะลงมาอุบัติประกาศศาสนาพุทธ จะมาเมื่อใดครับนับจาก พ.ศ. ๒๕๕๓ ?

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย AVATAAR, 17 ตุลาคม 2010.

  1. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    ครับลองอ่านกระทู้ก่อนๆดูนะครับ ก็ใกล้เคียงครับสำหรับตัวเลขหลังๆ

    19,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    992,006,447
    +
    40,000
    -
    3 (พ.ศ.2556-2553)

    =
    19,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    992,046,444 ปี
     
  2. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    โดยคิดจาก 100-10=90
    90*100=9,000
    120,000-10=119,990
    119,990*100=11,999,000
    11,999,000+9,000=12,008,000
    12,008,000-2556=12,005,444
     
  3. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    ตัวเลขทั้งหมดนั้นมีที่มาที่ไปเป็นอย่างไรครับ

    วิธีการคำนวณก็อาจแตกต่างกันได้ครับ

    ลองดูวิธีการคำนวณในกระทู้ที่ 57-58 (หน้า 3) ครับ

    120,000 นั่นมาจากไหนครับ

    ไม่ซีเรียสไรครับ ประมาณ 1 อันตรกัปนั่นแหละครับ

    12,005,444 นั่นอาจจะน้อยไปหน่อยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2013
  4. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    อืมครับ เกี่ยวกับ เรื่อง กัป อสงไขย หรือ อันตรกัป เคยอ่านผ่านๆบ้างคับ แต่ว่านานมาแล้วเลยจำไม่ได้แล้วคับ ส่วนที่ตอบ 12,005,444 ปีนั้นนะคับ คือคิดเอาแค่เรื่องการลดลงหรือเพิ่มขึ้นของอายุมี 100 ปี ต่อ 1 ปีคับ แล้วช่วงนี้ก็น่าจะเป็นช่วงขาลง โดนถ้านับเอา อายุุมนุษย์ขาลงจาก 100 ปี ลดลงจนถึง 10 ปี ขาขึ้นจาก 10 ปีเพิ่มขึ้นจนถึง 100,000 ปี แล้วก็ลดลง จาก 100,000ปี เหลือ 80,000ปี ในเรื่องนี้ ถ้านับแบบนี้นะคับ แต่ถ้า อายุเป็นมากเป็นอสงไขย ก็คง นับกันเป็นหลักหลายล้าน เคยอ่านมาหลายตำราคับสับสนเหมือนกันคับ ถ้าไม่ถูกอย่างไรก็ขอ อภัย ด้วยนะคับ
     
  5. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    พระสูตรนี้ก็มีเนื้อความเกี่ยวกับ การอุบัติของพระศรีอริยเมตไตรด้วยนะครับ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค



    ๓. จักกวัตติสูตร (๒๖)
    --------------------------
    [๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลาในแคว้นมคธ ณ ที่
    นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามี
    สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
    มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เป็นไฉน
    ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
    อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
    มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดา
    ของตน มารจักไม่ได้โอกาส มารจักไม่ได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้
    เจริญขึ้นอย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล ฯ
    [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาจักรพรรดิ์
    พระนามว่า ทัลหเนมิ ผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
    มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์
    ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว
    คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วน
    กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์
    ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตราครอบครองแผ่นดิน มีสาคร
    เป็นขอบเขต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น โดยล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลาย
    พันปี ท้าวเธอตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นจักรแก้ว
    อันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ในกาลใด พึงบอกแก่เราในกาลนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี บุรุษนั้นได้เห็นจักรแก้วอันเป็น
    ทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
    พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ถอย-
    *เคลื่อนจากที่แล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารองค์ใหญ่มา
    รับสั่งว่า ดูกรพ่อกุมาร ได้ยินว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว
    ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ใด ถอย
    เคลื่อนจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้น พึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นานในบัดนี้
    ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากาม
    ทั้งหลายอันเป็นทิพย์ของพ่อ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดิน อันมีสมุทร
    เป็นขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจาก
    เรือนบวชเป็นบรรพชิต ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารองค์ใหญ่
    ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อม-
    *น้ำฝาด เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ฯ
    [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ราชบุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชา
    ผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้ว ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
    พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ท้าวเธอได้ทรงเสียพระทัยและทรงเสวยแต่ความเสียพระทัย ท้าวเธอเสด็จเข้าไป
    หาพระราชฤาษีถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า
    พระองค์พึงทรงทราบว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่อท้าวเธอกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชฤาษีจึงตรัสกะท้าวเธอว่า ดูกรพ่อ พ่อ
    อย่าเสียใจ และอย่าเสวยแต่ความเสียใจไปเลย ในเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์
    อันตรธานไปแล้ว ดูกรพ่อ ด้วยว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์หาใช่สมบัติสืบมาจาก
    บิดาของพ่อไม่ ดูกรพ่อ เชิญพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด ข้อนี้
    เป็นฐานะที่จะมีได้แล เมื่อพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ จักรแก้ว
    อันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง จักปรากฏมี
    แก่พ่อผู้สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ใน
    วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ
    ร. พระพุทธเจ้าข้า ก็จักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น เป็นไฉน ฯ
    ราช. ดูกรพ่อ ถ้าเช่นนั้น พ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม
    ทำความเคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย
    มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันเป็นธรรม
    ในชนภายใน ในหมู่พล ในพวกกษัตริย์ผู้เป็นอนุยนต์ ในพวกพราหมณ์และ
    คฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในเหล่าเนื้อ
    และนก ดูกรพ่อ การอธรรมอย่าให้มีได้ในแว่นแคว้นของพ่อเลย ดูกรพ่อ อนึ่ง
    บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของพ่อ ไม่มีทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้น
    ด้วย ดูกรพ่อ อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด ในแว่นแคว้นของพ่อ งดเว้นจาก
    ความเมาและความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนแต่ผู้เดียว สงบ
    ตนแต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
    โดยกาลอันควร แล้วไต่ถามสอบถามว่า ท่านขอรับ กุศลคืออะไร ท่านขอรับ
    อกุศลคืออะไร กรรมมีโทษคืออะไร กรรมไม่มีโทษคืออะไร กรรมอะไรควรเสพ
    กรรมอะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรอันข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อไม่เป็นประโยชน์
    เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อประโยชน์
    เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน พ่อได้ฟังคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใด
    เป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลพึงถือมั่นสิ่งนั้นประพฤติ ดูกรพ่อ
    นี้แล คือจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวเธอรับสนองพระดำรัสพระราชฤาษีแล้ว ทรง
    ประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เมื่อท้าวเธอทรงประพฤติจักกวัตติวัตรอัน
    ประเสริฐอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วย
    อาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่ท้าวเธอผู้สระพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ
    ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นแล้ว
    มีพระดำริว่า ก็เราได้สดับมาว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม
    บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใด ผู้ได้
    มูรธาภิเษก สระพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน
    ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระราชาพระองค์นั้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ เราได้เป็น
    พระเจ้าจักรพรรดิ์หรือหนอ ฯ
    [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จลุกจากพระที่แล้ว
    ทรงทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง จับพระเต้าด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรง
    ประคองจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วตรัสว่า ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงเป็น
    ไปเถิด ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงชนะโลกทั้งปวงเถิด ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น จักรแก้วนั้นก็เป็นไปทางทิศบูรพา พระเจ้า
    จักรพรรดิ์พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จติดตามไป ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาพากันเสด็จ
    เข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ์ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราช-
    *เจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชอาณาจักรเหล่านี้ เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น ขอ
    พระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิด มหาราชเจ้า ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า
    พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์
    ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้
    ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
    ไม่พึงกล่าวคำเท็จ
    ไม่พึงดื่มน้ำเมา
    จงบริโภคตามเดิมเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาได้พากันตาม
    เสด็จท้าวเธอไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้น ก็ลงไปสู่สมุทร
    ด้านบูรพา แล้วโผล่ขึ้นไปลงที่สมุทรด้านทักษิณ แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศปัจฉิม
    ท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จติดตามไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักรแก้ว
    ประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด ท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ ประเทศนั้น
    พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศปัจฉิมก็พากันเสด็จ
    เข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราชเจ้า
    พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักรเหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น
    มหาราชเจ้า ขอพระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิด ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า
    พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์
    ไม่พึงเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
    ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
    ไม่พึงกล่าวคำเท็จ
    ไม่พึงดื่มน้ำเมา
    จงบริโภคตามเดิมเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศอุดร ได้พากันตาม
    เสด็จท้าวเธอไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นได้ชนะวิเศษยิ่งซึ่ง
    แผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขตได้แล้ว จึงกลับคืนสู่ราชธานีนั้น ได้หยุดอยู่ที่ประตู
    พระราชวังของท้าวเธอ ปรากฏเหมือนเครื่องประดับ ณ มุขสำหรับทำเรื่องราว
    สว่างไสวอยู่ทั่วภายในพระราชวังของท้าวเธอ ฯ
    [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ที่ ๒ ก็ดี องค์ที่ ๓ ก็ดี
    องค์ที่ ๔ ก็ดี องค์ที่ ๕ ก็ดี องค์ที่ ๖ ก็ดี องค์ที่ ๗ ก็ดี โดยกาลล่วงไป
    หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ได้ตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรบุรุษ
    ผู้เจริญ ท่านเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ ถอยเคลื่อนจากที่ในกาลใด พ่อพึงบอก
    แก่เราในกาลนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของ
    ท้าวเธอแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
    บุรุษนั้นได้แลเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่
    ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ
    จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับ
    นั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารองค์ใหญ่มารับสั่งว่า ดูกรพ่อกุมาร ได้ยินว่า
    จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักร-
    *แก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์ใด ถอยเคลื่อนออกจากที่ พระ-
    *เจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้นพึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน ในบัดนี้ ก็กามทั้งหลาย
    อันเป็นของมนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากามทั้งหลาย
    อันเป็นทิพย์ของพ่อ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดินอันมีสมุทรเป็น
    ขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจากเรือนบวช
    เป็นบรรพชิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารองค์
    ใหญ่ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้า
    ย้อมน้ำฝาด เสด็จออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงพระผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธาน
    ไปแล้ว ฯ
    [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชา
    ผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้วถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
    พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ได้ทรงเสียพระทัย และได้ทรงเสวยแต่ความเสียพระทัย แต่ไม่ได้เสด็จเข้าไป
    เฝ้าพระราชฤาษี ทูลถามจึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ นัยว่าท้าวเธอทรงปกครอง
    ประชาราษฎร์ ตามพระมติของพระองค์เอง เมื่อท้าวเธอทรงปกครองประชาราษฎร์
    ตามพระมติของพระองค์อยู่ ประชาราษฎร์ก็ไม่เจริญต่อไป เหมือนเก่าก่อน เหมือน
    เมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น คณะอำมาตย์ข้าราชบริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์
    นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา
    ได้ประชุมกันกราบทูลท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่าเมื่อพระองค์ทรงปกครอง
    ประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เอง ประชาราษฎร์ไม่เจริญเหมือนเก่าก่อน
    เหมือนเมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ
    อยู่ พระพุทธเจ้าข้า ในแว่นแคว้นของพระองค์มีอำมาตย์ข้าราชบริพาร โหราจารย์
    และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคน
    เลี้ยงชีพด้วยปัญญา อยู่พร้อมทีเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือข้าพระพุทธเจ้า
    ทั้งหลายด้วยและประชาราษฎร์ เหล่าอื่นด้วย จำทรงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐได้อยู่
    ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด พวกข้าพระพุทธ-
    *เจ้าอันพระองค์ตรัสถามแล้ว จักกราบทูลแก้จักกวัตติวัตรอันประเสริฐถวายพระองค์ฯ
    [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอโปรดให้ประชุมอำมาตย์ราช-
    *บริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้าเป็นต้น จนคนรักษา
    ประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา แล้วตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เขา
    เหล่านั้นอันท้าวเธอตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐแล้ว จึงกราบทูลแก้ถวาย
    ท้าวเธอ ท้าวเธอได้ฟังคำทูลแก้ของพวกเขาแล้ว จึงทรงจัดการรักษาป้องกัน
    และคุ้มครอง อันชอบธรรม แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์
    เมื่อไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนจึงได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย บุรุษคนหนึ่งจึงขโมยทรัพย์ของคนอื่น
    ไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว แสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า
    พระพุทธเจ้าข้า บุรุษคนนี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
    เขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้
    ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ
    บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    ร. เพราะเหตุไร ฯ
    บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา
    แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา
    จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์
    มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์นี้เถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้บุรุษอีกคนหนึ่งก็ได้ขโมยทรัพย์ของคนอื่นไป เขา
    ช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้วจึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
    บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูล
    อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมย
    เอาทรัพย์ของคนอื่นไป จริงหรือ ฯ
    บุ. จริงพระพุทธเจ้าข้า ฯ
    ร. เพราะเหตุไร ฯ
    บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา
    แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงชีพมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา
    จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผล ในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่
    สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์
    นี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย
    ได้ยินว่า คนขโมยทรัพย์ของคนพวกอื่นไป พระเจ้าแผ่นดินยังทรงพระราชทาน
    ทรัพย์ให้อีก เขาได้ยินมา จึงพากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้เรา
    ทั้งหลายก็ควรขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นบ้าง ฯ
    [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของ
    คนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า
    พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
    เขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้
    ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ
    บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    ร. เพราะเหตุไร ฯ
    บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเรา
    จักให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นเสมอไป อทินนาทานนี้จักเจริญทวี
    ขึ้นด้วยประการอย่างนี้ อย่ากระนั้นเลย เราจะให้คุมตัวบุรุษผู้นี้ให้แข็งแรง จะทำ
    การตัดต้นตอ ตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอ
    ตรัสสั่งบังคับราชบุรุษทั้งหลายว่า แน่ะ พนาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเอาเชือก
    เหนียวๆ มัดบุรุษนี้ให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น
    แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ออกทางประตู
    ด้านทักษิณ จงคุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้นเสีย นอก
    พระนครทิศทักษิณ ราชบุรุษทั้งหลายรับพระราชดำรัสของเธอแล้ว จึงเอาเชือก
    เหนียวมัดบุรุษนั้นให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น แล้วพา
    ตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ออกทางประตูด้านทักษิณ
    คุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้น นอกพระนคร
    ทิศทักษิณแล้ว ฯ
    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญ
    ทั้งหลาย ได้ยินว่า พระเจ้าแผ่นดินให้คุมตัวบุคคลผู้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่น
    อย่างแข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะพวกเขาเสีย เพราะได้ฟังมา พวกเขา
    จึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้พวกเราควรให้ช่างทำศัสตรา
    อย่างคม ครั้นแล้วจะคุมตัวบุรุษที่เราจักขโมยเอาทรัพย์ให้แข็งแรง จักทำการตัด
    ต้นตอ ตัดศีรษะพวกมันเสีย พวกเขาจึงให้ช่างทำศัสตราอย่างคม ครั้นแล้ว
    จึงเริ่มทำการปล้นบ้านบ้าง ปล้นนิคมบ้าง ปล้นพระนครบ้าง ปล้นตามถนน
    หนทางบ้าง คุมตัวบุคคลที่พวกเขาจักขโมยเอาทรัพย์ไว้อย่างแข็งแรง ทำการตัด
    ต้นตอ ตัดศีรษะบุคคลนั้นเสีย ฯ
    [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึง
    ความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่
    หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุ
    ของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจาก
    อายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุ
    ถอยลง เหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี
    บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดง
    แก่พระราชาผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
    บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่าง
    นี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของ
    คนอื่นไปจริงหรือ บุรุษนั้นได้กราบทูล คำเท็จทั้งรู้อยู่ว่า ไม่จริงเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯ
    [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึง
    ความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่
    หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุ
    ของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจาก
    อายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ก็มี
    อายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี บุรุษคนหนึ่งขโมย
    เอาทรัพย์ของคนอื่นไป บุรุษอีกคนหนึ่งจึงกราบทูลแก่พระราชาผู้กษัตริย์ซึ่งได้
    มูรธาภิเษกเป็นการส่อเสียดว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษชื่อนี้ ขโมยเอาทรัพย์
    ของคนอื่นไป ฯ
    [๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
    วรรณก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง
    บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี สัตว์บางพวกมีวรรณะ
    ดี สัตว์บางพวกมีวรรณะไม่ดี ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีวรรณะไม่ดี
    ก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่มีวรรณดี ถึงความประพฤติล่วงในภรรยาของคนอื่น ฯ
    [๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ
    กาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
    วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง
    บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ธรรม ๒ ประการคือ
    ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความ
    แพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวก
    เขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ
    ๕,๐๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี อภิชฌาและพยาบาท
    ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของ
    สัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุ
    บ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง
    เหลือ ๑,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความ
    แพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย
    แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ
    บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี ธรรม ๓ ประการคือ
    อธรรมราคะ ๑- วิสมโลภ ๒- มิจฉาธรรม ๓- ก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย เมื่อธรรม
    ๓ ประการถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็
    เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตร
    ของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี ธรรมเหล่านี้คือ ความ
    ไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ
    ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้
    ถึงความแพร่หลาย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่
    พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย
    เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ
    อทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความ
    แพร่หลาย ปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย
    มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้
    ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความ
    แพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจา
    และสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย
    อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความ
    แพร่หลาย มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย
    ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    @(๑) ความกำหนัดในฐานะอันไม่ชอบธรรม (๒) ความโลภไม่เลือก (๓) ความ
    @กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจผิดธรรมดา
    เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้ คือ ความไม่ปฏิบัติชอบใน
    มารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติ
    ชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
    วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ
    บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี ฯ
    [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ใน
    เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
    น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ
    ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ ๑- จักเป็นอาหารอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุก
    ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมด
    สิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติ
    ชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่
    ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และ
    ได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติ
    ชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
    ตระกูล ในบัดนี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพ
    ยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยา
    ของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือน
    แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความ
    คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับ
    บุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความ
    อาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพราน
    เนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า
    อย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
    [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัป
    สิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้ง
    หลายอันคมจักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคม
    นั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมี
    ความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้น
    เลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้
    และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้
    ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด
    ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ
    ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุม
    ว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
    ถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระ
    นั้นเลยเราควรทำกุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทาน
    กุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศล
    ธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง
    จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตร
    ของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นสัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
    เจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่า
    กระนั้นเลย เราควรทำกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นจาก
    อทินนาทาน ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา ควรงดเว้น
    จากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควรละพยาบาท
    ควรละมิจฉาทิฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม
    อย่ากระนั้นเลยเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบ
    ในสมณะ ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
    ตระกูล ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดา
    ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติ
    อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะ
    เหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วย
    วรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคน
    ผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุ
    เจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี บุตร
    ของคนผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี
    จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง
    ๒,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี บุตร
    ของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี บุตรของคนมีอายุ
    ๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี
    จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญ
    ขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ฯ
    [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมี
    อายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑
    ความแก่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จัก
    มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไป
    ด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จัก
    เป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คน
    คับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี
    ในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักร-
    *พรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรง
    ธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต
    ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑
    ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็น
    ที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
    สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง
    ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรง
    พระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เอง
    โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี
    ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
    เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้
    เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้ง
    โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
    ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
    เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้
    แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
    *พราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
    มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์
    พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
    เมตไตรย์พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
    ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
    บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
    งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
    บริบูรณ์สิ้นเชิง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหาร
    ภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะจักทรงให้ยกขึ้นซึ่งปราสาทที่
    พระเจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรงสละ จักทรงบำเพ็ญ
    ทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย จัก
    ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรง
    ผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์อรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้า ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียว
    ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักก็จักทรงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
    อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
    ต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ใน
    ทิฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่ ฯ
    [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
    อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มี
    ธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไรเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มี
    ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่
    พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างนี้แล ฯ
    [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย
    อันสืบมาจากบิดาของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร
    ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญทั้งด้วยอายุ จักเจริญทั้งด้วยวรรณะ
    จักเจริญทั้งด้วยสุข จักเจริญทั้งด้วยโภคะ จักเจริญทั้งด้วยพละ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิปธาน
    สังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยะสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท
    ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน
    สังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท
    ๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
    ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องวรรณะ
    ของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
    ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแก่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มี
    ความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี
    สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ
    ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุ
    จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
    ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายใน
    เรื่องสุขของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่
    ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
    เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ
    มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุก
    สถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
    ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิต
    ประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
    ความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิต
    ประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือน
    กัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยมุทิตา
    อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่
    ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา
    แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง
    เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ
    เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก
    ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องโภคะ
    ของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันหา
    อาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียว
    เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้
    แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้
    อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล ฯ
    จบ จักกวัตติสูตร ที่ ๓

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A=1189&Z=1702&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2013
  6. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    อยากรบกวนถาม คุณ AVATAAR
    คือ ช่วงเวลาการบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า
    ที่นับ เป็น อสงไขย และ นับเป็น มหากัป นี้คิดยังงัยคับ อันไหนใช้เวลาเยอะกว่า อสงไขย และ มหากัป คับ
     
  7. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    ถ้านับจากตอนนี้ขาลง จนถึง 10 ปี แล้ว ขาขึ้น จาก 10 ปี ไปถึง 1 ตาม ด้วย 0 ถึง 140 ตัว แล้ว นับจาก 1 ตามด้วย 0 ถึง 140 ตัว จนลดลงมาเหลือ 80,000 ปี แล้ว เริ่มจาก พ ศ 2553 นะคับ ผมนับได้
    19,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    999,999,999,999,999,999,999,999,999,
    992,005,447 ปี นะคับ

    เพราะ100 ปีเท่ากับ 10000 ปี แต่ 100 ลดลงเหลือ 10 ปี ก็เท่ากับ 90ปี 90 * 100=9,000
    9,000-2553=6447
    แล้ว นับจากอสไขย ขาขึ้น และขาลง รวมเป็น 2 ตามด้วย 0 ถึง 140 ตัว
    เอา 10 ปี จาก ขาขึ้น และเอา 80,000 ปีจากขาลง มา รวมกัน = 80,010
    เอา 2 ตามด้วย 0 ถึง 140 ตัว ลบ ดัวย 80,010
    ได้เท่าไร ค่อยมาคูณ 100 แล้ว บวก 6447 จะได้ตามที่ตอบคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2013
  8. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    การนับกาลเวลาต่าง ๆ


    ความหมาย ของ อสงไขย , กัป , มหากัป


    ( ๑ อันตรกัป เท่ากับระยะเวลาที่อายุของมนุษย์ ไขลงจากอสงไขยปีจนถึง ๑๐ ปี แล้ว
    ไขขึ้นจาก ๑๐ ปี จนถึงอสงไขยปีอีก ครบ ๑ คู่ เรียกว่า ๑ อันตรกัป )
    อสงไขยปีเท่ากับเลข ๑ ตามด้วยเลขศูนย์ ๑๔๐ ตัว

    อสงไขยกัปนี้ มีอยู่ 4 อสงไขยกัป ด้วยกัน โดยแบ่งเป็นตอนๆ ดังนี้ คือ
    1. สังวัฏฏอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัป ที่ปรากฏในตอนที่โลกถูกทำลาย ซึ่งได้แก่คำว่า สงวฏฏตีต สงวัฏโฏ คือ กัปที่กำลังพินาศอยู่
    2. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัป ที่ปรากฏในตอนที่โลกถูกทำลายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้แก่คำว่า สงวฏโฏ หุตวา ติฏฐตีติ สงวฏฏฐยี คือ กับที่มีแต่ความพินาศตั้งอยู่
    3. วิวัฏฏอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัป ที่ปรากฏในตอนที่โลกกำลังจะเริ่มพัฒนาเข้าสู่สภาวะปกติซึ่งได้แก่คำว่า วิวฏฏตีติ วิวฏโฏ คือกัปที่กำลังเริ่มเจริญขึ้น
    4. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป เป็นอสงไขยกัป ที่ปรากฏในตอนที่โลกเจริญขึ้น พัฒนาเรียบร้อยเป็นปกติตามเดิมแล้ว ซึ่งได้แก่คำว่า วิวฏโฏ หุตวา ติฏฐตีติ วิวฏฏฐายี คือกัปที่เจริญขึ้น พร้อมแล้วทุกอย่างตั้งอยู่ตามปกติ
    ทีนี้มีข้อควรทราบไว้คือ สัตว์โลกทั้งหลายเช่นมนุษย์และเดียรฉาน เป็นต้น จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ก็เฉพาะตอน อสงไขยกัปสุดท้าย คือ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัปนี้เท่านั้น ส่วนในตอน 3 อสงไขยกัปข้างต้น จะไม่มีสิ่งที่มีชีวิตอาศัยอยู่ในโลกนี้เลย

    มหากัป เป็นอย่างไร

    เมื่อนับจำนวนทั้ง 4 อสงไขยรวมกัน เราจะเรียกว่า 1 มหากัป คือ
    1. สังวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป
    2. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป
    3. วิวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป
    4. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง 64 อันตรกัป

    รวม 4 อสงไขยกัป ก็เป็น 256 อันตรกัป ซึ่งจะเท่ากับ 1มหากัป
    ** ( อสงไขยปี กับ อสงไขยกัป จะต่างกันตามที่กล่าว ) **

    ส่วนคำว่า " กัป " หมายถึงเวลาที่ยาวนานนับประมาณไม่ได้ เปรียบเหมือน
    มีภูเขาแท่งศิลาทึบ กว้าง ยาว สูง อย่างละ ๑ โยชน์ ( ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร )
    ครบร้อยทิพย์ปี มีเทวดาเอาผ้าทิพย์ที่บางเบาราวกับควันไฟมาลูบภูเขานี้ ๑ ครั้ง
    เมื่อใดภูเขาสึกกร่อนจนเรียบเสมอพื้นดิน เรียกว่า ๑ กัป


    คำว่า " กัป " กับ " มหากัป " ต่างกันดังที่กล่าว


    ในมหากัปหนึ่งๆจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้น ๑ พระองค์
    ๒ พระองค์ ๓ พระองค์บ้าง แต่ไม่เกิน ๕ พระองค์ มหากัปที่ไม่
    มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นเลยก็มีเรียกว่า สุญกัป


    มหากัปของเรานี้จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้น ๕ พระองค์
    เรียกว่า ภัทรกัป ซึ่งเป็นกัปที่เจริญที่สุด


    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงอุบัติขึ้นแล้วคือ

    ๑. สมเด็จพระกกุสันธะพุทธเจ้า
    ๒. สมเด็จพระโกนาคมนะพุทธเจ้า
    ๓. สมเด็จพระกัสสปะพุทธเจ้า
    ๔. สมเด็จพระสมณโคดมพุทธเจ้า
    และจักเสด็จอบัติตรัสเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์สุดท้าย
    ในภัทรกัปนี้ ทรงพระนามว่า
    ๕.สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า


    ตอนนี้เราอยู่ในช่วงที่เรียกว่า กัปไขยลง คือทุก ๑๐๐ ปี อายุมนุษย์จะลด
    ลง ๑ ปี อายุของพวกเราจะลดลงเรื่อยจนไปถึง ๑๐ ปี แล้วสูงขึ้นเรื่อยๆ
    ใหม่ จนกระทั่งอายุมนุษย์มีกำหนด ๘ หมื่นปี สตรีมี่อายุ ๕๐๐ ปี จึงมี
    ครอบครัว

    เวลานั้นมีความทุกข์เรื่องโรคภัยไข้เจ็บอยู่เพียง ๓ อย่าง คือ ความหิว
    ความง่วง และความแก่ ผู้คนยังทำความดีเพิ่มขึ้น อายุยิ่งทวีตาม จนกระ
    ทั่งอายุอสงไขยปี

    ในสมัยมนุษย์มีอายุอสงไขยปี มองเห็นความแก่ความตายได้ยาก ความ
    เจ็บไม่มี เลยทำให้เกิดความประมาท ทิฎฐิมานะก็เกิดอีก เวียนเป็นวัฎฎ
    จักรของมนุษย์ในยุคต้นกัปใหม่ เมื่อมีกิเลสเกิด อายุมนุษย์ก็เริ่มลดลงกระ
    ทั่งเหลือ ๘ หมื่นปี เมื่อนั้นพระศรีอริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จ
    มาอุบัติขึ้นในโลก อันเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ องค์สุดท้ายใน
    ภัทรกัปนี้

    .......ช่วงระยะเวลาระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งไปยัง
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่งเรียกว่า หนึ่งพุทธธันดร

    แต่ทีนี้เวลาบอกว่า พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญเพียร สั่งสมบารมี เป็น 4 อสงไขยกับหนึ่งแสนมหากัป นั้น คำว่า อสงไขยในที่นี้ หมายถึง การนับจำนวนของมหากัป เป็นอสงไขย กับ อีกหนึ่ง แสน มหากัป
    หมายเหตุ คำว่ากัปและกัลนั้น ต่างก็มีความหมายเหมือนกัน แตกต่างกันที่ คำหนึ่งเป็น ภาษาบาลี อีกคำหนึ่งเป็น ภาษาสันสกฤต แต่ไม่แน่ใจว่าคำใดเป็นบาลี คำใดเป็นภาษาสันสกฤต
    แหล่งข้อมูล จากหนังสือชื่อ ศาสตร์ว่าด้วยการเป็นพระพุทธเจ้า (มุนีนาถทีปนี) สำนักพิมพ์ คณะสังคมผาสุก ผู้แต่ง พระเทพมุนี (วิลาส ญาณวโร) ISBN: 974-7437-92-9
    ในเรื่องของมหากัป นั้น มีการแบ่งมหากัป ออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1. ประเภทที่ มีพระพุทธเจ้าลงมาตรัสรู้ เรียกว่า อสุญกัป
    2. ประเภทที่ไม่มี พระพุทธเจ้าลงมาตรัสรู้ สุญกัป
    อสุญกัป คือ กัปที่ไม่สูญจากพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังรวมถึง การที่จะมีพระปัจเจกพระพุทธเจ้า พระอริยบุคคล และพระจักรพรรดิ จะได้มาอุบัติในมหากัปดังกล่าวนี้ด้วย
    ในทางตรงกันข้าม สุญกัปคือ กัปที่ไม่มีบุคคลผู้วิเศษเหล่านี้เลย
    หากพูดถึงเรื่องอสุญกัปแล้ว ไม่กล่าวถึงเรื่องต่อไปนี้คงจะไม่ครบถ้วนกระบวนความนะครับ
    ในบรรดาอสุญกัปนั้น คือกัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ยังมีชื่อเรียกตามจำนวนสมเด็จพระพุทธเจ้าที่เสด็จมาตรัสรู้อีก ดังต่อไปนี้
    1. สารกัป อสุญกัปใดที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง 1 พระองค์ อสุญกัปนั้นเรียกว่า สารกัป
    2. มัณณฑกัป อสุญกัปใดที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง 2 พระองค์ อสุญกัปนั้นเรียกว่า มัณฑกัป
    3. วรกัป อสุญกัปใดที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง 3 พระองค์ อสุญกัปนั้นเรียกว่า วรกัป
    4. สารมัณฑกัป อสุญกัปใดที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง 4 พระองค์ อสุญกัปนั้นเรียกว่า สารมัณฑกัป
    5. ภัทรกัป อสุญกัปใดที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ 5 พระองค์ อสุญกัปนั้นเรียกว่า ภัทรกัป
    ในกัป ประเภทสุดท้ายนี้ เป็นกัปที่ประเสริฐที่สุด คือมี พระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัส มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ เหล่าสัตว์โลก คือ มนุษย์และเทวดาอินทร์ พรหม ผู้ที่มีจิตเป็นกุศลโสภณ ปฏิสนธิด้วยไตรเหตุ ประกอบไปด้วยบุญวาสนาบารมี ย่อมสามารถที่จะกระทำอาสวะกิเลส ให้สูญสิ้นไปจากขันธสัน-ดาน แห่งตนโดยชุกชุม เป็นกัปที่หาได้โดยยากยิ่ง นานแสนนาน จึงจักปรากฏมีในโลกเรานี้สักครั้งหนึ่ง ท่านจึงขนานนามอสุญกัปนี้ว่า ภัทรกัป = กัปที่เจริญที่สุด

    คราวนี้ก็สงสัยว่าพระโพธิสัตว์ท่านบำเพ็ญปรมัตถบารมีในช่วง ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัปสุดท้ายนี่นับกันยังไง เขาไม่นับกันเป็นตัวเลขแล้ว เพราะนับไม่ได้อย่างที่บอก แต่เขาใช้วิธีนับเป็นช่วงแทน ในช่วง ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัปสุดท้ายนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสุญอสงไขย คือแต่ละกัปที่ผ่านไปนี่ไม่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเลย
    ย้อนกลับไปอสงไขยที่ ๕ ก่อนโน้นเป็นอสุญอสงไขย เรียกว่า สัพพผาละอสงไขย มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๒,๐๐๐ พระองค์ เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว กัปก็สูญสิ้นไป แล้วก็เกิดสุญกัปจำนวนหนึ่ง
    .....จากนั้นก็มีสารมัณฑกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๔ พระองค์ คือ พระตัณหังกร พระเมทังกร พระสรณังกร และพระทีปังกร กัปนี้เขาเรียกว่ากัปแทรก เป็นกัปต้นของอสงไขยที่ ๔ ย้อนหลังไปครับ เพราะพอสิ้นกัปนี้ไปแล้ว ก็เกิดเป็นสุญกัปจำนวนเท่ากับ ๑ ๒ ๓ ....... จนถึง ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว แล้วก็ยังต่อไปอีกแบบนับไม่ได้ นี่แหละครับเรียกว่าอสงไขย อสงไขยนี้ชื่อว่าเสละอสงไขย แล้วเสละอสงไขยสิ้นสุดกันตรงไหน สิ้นสุดอสงไขยนี้ตรงที่มีกัปหนึ่งมาคั่นอยู่ เรียกว่า สารกัป มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๑ พระองค์ คือ พระโกณฑัญญะ
    เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว กัปก็สูญสิ้นไป แล้วก็เกิดสุญกัปจำนวนมาก จำนวนเท่ากับ ๑ ๒ ๓ ....... จนถึง ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว แล้วก็ยังต่อไปอีกแบบนับไม่ได้ นี่เป็นอีกอสงไขยหนึ่ง อสงไขยนี้ชื่อว่าภาสะอสงไขย แล้วภาสะอสงไขยสิ้นสุดกันตรงไหน สิ้นสุดตรงมีสารมัณฑกัปหนึ่งมาแทรกอยู่ มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติอีก ๔ พระองค์ คงพอเข้าใจคำว่าอสงไขย ถ้าถามว่า แต่ละอสงไขยนี่มันยาวนานเท่ากันไหม ไม่เท่ากัน เพราะมันเป็นเพียงอุปมา ไม่สามารถบอกระยะเวลาจริงๆ ได้ อสงไขยหนึ่งอาจจะนานกว่าอีกอสงไขยหนึ่งเป็น ๒ เท่าก็ได้ แต่ที่แน่ๆ คือนานจริงๆ





    ที่มาคับ Untitled Document
     
  9. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    แต่ อย่างไรก็ตามนะคับ มันเป็นเรื่องของ อนาคต ตำราก็คือตำรา สำคัญที่สุด การฝึกตน และสร้างบารมี ให้ยิ่งๆขึ้นไป ละการละอัตตาตัวตน ธรรมะ ทั้งหมดทั้งปวง ก็มีสภาพเป็น อนัตตา แม้แต่จิต และสัพพสิ่ง ก็มีสภาพ เป็นอนัตตา ถืออะไร ยึดอะไร ก็เป็นทุกข์ เพราะสิ่งนั้น ไม่ถืออะไร ก็ไม่ต้องทุกข์เพราะอะไร ขอให้ เจริญในธรรมะ ยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับทุกๆ ท่าน อนุโมทนาคับ
     
  10. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    หลังจากที่คุณมหาพรหมราชาโพสต์มาแล้วและเข้าไปดูความเห็นที่ 57-58 จะเห็นว่าหน่วยนับเวลาที่ใหญ่ที่สุด...นานที่สุด คือ มหากัป ครับ

    ที่พูดว่า พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมามากตั้ง ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป นั่น เศษไม่ใช่มหากัปครับ แต่เป็น อสงไขยต่างหากที่เป็นเศษ เพราะอสงไขยเป็นหน่วยที่เล็กกว่ามหากัป
    ถ้าจะเอามหากัปเป็นเศษหรือน้อยกว่าอสงไขยปี การคำนวณจะเป็นเลขยกกำลังผูกต่อเนื่องกันไม่สิ้นสุด ซึ่งผมคิดว่ามันต้องมีจุดสิ้นสุด และมีจุดหมายครับ
    ไม่งั้นเราก็สร้างบารมีกันเรื่อยไปไม่รู้จบสิ้นหาต้นหาปลายหาที่สุดไม่ได้ เป้าหมายที่ตั้งไว้ก็จะไม่ถึงเสียที ทำให้ท้อใจถอดใจในการสร้างบารมีได้
    แต่ถ้าเรามีจุดหมายมีเป้าหมายมีระยะเวลา ถึงจะยาวนานมากก็ยังพอเห็นจุดหมายบ้างครับ


    การเริ่มนับบารมีแบบนี้จะเริ่มต้นเมื่อได้รับพุทธพยากรณ์ จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นครั้งแรก ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งชื่อ....ต่อไปในอนาคตกาล
    เรียกพระนิตยะโพธิสัตว์
    ที่สร้างบารมีมาก่อนหน้านี้ก็ยกเลิกและเริ่มบำเพ็ญบารมีใหม่ทั้งหมดครับ
    เช่นพระพุทธเจ้าทีปังกร พุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกให้ ท่านสุเมธดาบส ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปในอนาคตกาลนามว่า พระพุทธเจ้าสมณะโคดม
    หลังจากนั้นท่านสุเมธดาบสก็เริ่มบำเพ็ญบารมีใหม่จากที่ได้รับพุทธพยากรณ์อีก ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป จึงได้เป็นพระพุทธเจ้าสมณะโคดม

    พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมายิ่งใหญ่เป็นแสนมหากัปเหมือนกัน แต่แตกต่างกันเพียง อสงไขยเท่านั้น

    พระพุทธเจ้าแบบปัญญาธิกะ บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป

    พระพุทธเจ้าแบบศรัทธาธิกะ บำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป

    พระพุทธเจ้าแบบวิริยะธิกะ บำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป

    ซึ่งจะทำให้ใน ๑ มหากัปมีพระพุทธเจ้าได้มากที่สุด ๕ พระองค์ ไม่ขัดแย้งกับพระไตรปิฎก

    แต่ถ้าใช้หน่วยมหากัปเป็นเศษ ใน ๑ มหากัป จะมีพระพุทธเจ้าได้พระองค์เดียว ซึ่งขัดแย้งกับ ๑ มหากัปมีพระพุทธเจ้าได้มากที่สุด ๕ พระองค์

    และอีกอย่างจำนวนอสงไขยต้องเป็นอสงไขยปี เพราะถ้าเป็นอสงไขยกัป ๔ อสงไขยกัปเท่ากับ ๑ มหากัป
    เช่น พระพุทธเจ้าที่บำเพ็ญบารมีแบบ ปัญญาธิกะ จะต้องเรียกว่า บำเพ็ญบารมี หนึ่งแสนหนึ่งมหากัป ซึ่งไม่น่าจะถูก

    เมื่อเราดูมาถึงตรงนี้แล้ว จึงควรพูดว่า พระพุทธเจ้าแบบปัญญาธิกะบำเพ็ญบารมีมามากตั้ง ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัป จึงจะใกล้เคียงและถูกต้องมากกว่าครับ
     
  11. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    .

    ที่ท่านมหาพรหมราชานำข้อมูลมาก็ดีครับ ไว้อ้างอิงวิเคราะห์กัน ซึ่งผมก็ตั้งใจว่าจะตัดจากพระไตรปิฎกมาโพสต์ไว้เหมือนกัน
    แต่เห็นกระทู้อื่นๆเพื่อนๆนำข้อมูลจากพระไตรปิฎกมาลงหลายกระทู้แล้ว ผมเลยไม่ได้ลงและก็อยากจะปล่อยๆกระทู้นี้ไป ไม่ให้ต้องวนเวียนคิดมากให้วุ่นวาย
    เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องในอนาคต ไกลตัวเกินไป ยังอีกยาวไกลและยาวนานมากครับ

    พากเพียรสร้างบารมีอินทรีย์ให้ถึงพร้อม...เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นแหละครับ

    ขอให้ทุกท่านเจริญยิ่งขึ้นในธรรมอันประเสริฐทุกประการครับ



    .
     
  12. Nuthsunti

    Nuthsunti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +328
    ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป หมายถึง ๔ อสงไขยมหากัป กับเศษแสนมหากัป ครับ
    ซึ่งก็คือ จักรวาลที่เราอยู่นี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นจำนวน ๔ อสงไขยครั้ง + แสนครั้ง
    หรือเขียนเป็นตัวเลขให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ จักรวาลที่เราอยู่นี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นจำนวน
    40000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000
    00000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000
    0000100000 ครั้ง

    จะเห็นได้ว่า แสนมหากัป เป็นแค่ เศษ จริงๆครับ
    หลังจากเห็นตัวเลขแล้ว หวังว่า ท่านพระโพธิสัตว์ทุกท่าน คงยังไม่ถอดใจ นะครับ
     
  13. รอยตะวัน

    รอยตะวัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +116
    ร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ

    ที่ว่าอายุขัยของมนุษย์ลดลงนั้น เด็กที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากบิดามารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้นหากเด็กได้รับเชื้อด้วย เด็กจะมีอายุสูงสุดได้สิบถึงสิบสองปีค่ะ ตามความคิดเห็นส่วนตัวแล้วคงเริ่มลงมาสร้างบารมีแล้วล่ะคะ
     
  14. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    :cool:เห็นหัวข้อความเข้ามาใน กระทู้ผม ก็เลยคลิ๊กเข้ามาดู อ่านหน้าแรกกับหน้าสุดท้าย พอได้ใจความ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ผมนั่งฟังเทศ ที่ศาลาพระพินิจ หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง ท่านเทศ ผมจำได้นิดหน่อย จึงนำข้อความนี้ มาคุยให้ฟังกันนิดหน่อยครับผม ถ้าผิดก็ขออภัย ไว้นะที่นี้ด้วยครับ หลวงพ่อท่านเทศว่า ในสายของเรา ส่วนใหญ่แล้ว ปราถนาพุทธภูมิ กันมาทุกคน เมื่อหัวหน้าลา ลูกหลาน บริษัท บริวารก็ลาตาม พี่น้อง พวกพ้อง

    ส่วนใหญ่ ติดตามกันมา อย่างน้อยนะ ๑๐ อสงขัย กำไลย อีกแสนมหากัป ท่านหยุดนิดหนึ่ง แล้วต่อว่า ส่วนใหญ่ จะติดตามกันมา ๑๖ อสงขัย กำไลยอีกแสนมหากัป พวกบริวาร ลูกหลาน ก็ลาพุทธภูมิ ตามหลวงพ่อ แต่ที่ไม่ลาพุทธภูมิ กำลังใจเขา ดำเนินต่อ ก็มีอีกหลายๆท่าน และที่จะต้องไปเกิดเป็นพระเจ้าจักพรรดิราช ก็ยังมีอยู่ครับ จริงๆ ท่านได้เกิด เป็นลูก ของพระพุทธเจ้า นับสิบๆพระองค์ แม้สมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้าองค์แรกของโลก ท่านก็เคยเกิดเป็นลูก ของท่านมา หลายชาติ ท่านลามาช่วยประกาศพระศาสนา ของพระสมณะโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ให้มีความเจริญรุ่งเรือง ครบ ๕,๐๐๐ ปี ตามเจตนาขององค์สมเด็จ พระภัควัณ

    ถ้าท่านไม่ลาพุทธภูมิ ท่านจะต้อง เกิด อีก ๖ ชาติบารมีถึงจะเต็ม ในเมื่อท่าน ตายในชาตินี้ ๖ หรือ ๗ ครั้ง บารมีของท่านจึงเต็ม ในชาตินี้ และถ้าท่านรอคิว ที่จะไปเป็นพระพุทธเจ้า ถ้านับพระศรีอารย์ด้วย เป็นองค์ที่ ๒๓ ถ้าไม่นับพระศรีอารย์ ก็อีก ๒๒ พระองค์ จึงได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ท่านไม่รอแล้ว ขี้เกียจรอ และไม่ขออธิบาย ...........ไปศึกษาเองครับ


    ถ้าเปรียบเทียบกับในหลวง ถ้าในหลวงไม่ลา ในหลวง ยังจะตรัสรู้ ก่อนท่านครับ ถ้าจำไม่ผิด ผิดขออภัยครับ นับจากพระศรีอารย์ไป พระพุทธเจ้า มาตรัสรู้ อีก ๑๗ พระองค์ พ่อหลวงถึงจะมาตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าครับ ผมเลยเถิดมาถึงนี่เลย มาว่า ตอนที่หลวงพ่อ เทศต่อครับ ท่านกล่าวว่า ก่อนที่พระศรี อาริยะเมตตรัย จะมาตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้านั้น กลึ่งหนึ่ง หรือครึ่งหนึ่ง ระหว่าง ศาสนา ของ พระโคดมพุทธเจ้าของเรา กับศาสนา พระศรี จะอุบัติขึ้นในโลก จะมีพระปัจเจกะพุทธเจ้า อุบัติขึ้นก่อนครับ

    พระปัจเจกะพุทธเจ้า มาตรัสรู้ครั้งหนึ่ง เป็นหมื่นๆ แสนๆพระองค์เลยทีเดียว เขาเรียก พระพุทธเจ้า ชนิดหนึ่ง ตรัสรู้ เอง คล้ายพระพุทธเจ้า แต่ไม่สอนให้ผู้ใด ตรัสรู้ ตาม เหมือนพระพุทธเจ้า ใครมีศัทธา อย่างดีก็สอนให้อยู่ในศิลในธรรมเท่านั้น เพราะไม่ใช่วิสัยของท่านครับ พุทธภูมิส่วนใหญ่ ถ้าไม่ลามาเป็นพระปัจเจ ก็ สาวก ภูมิ ดูตัวอย่างพระเทวทัต เป็นเพื่อนกัน กับพระพุทธเจ้า แต่บำเพ็ญได้แค่พระปัจเจ หลังจาก สิ้นพระศาสนา องค์ปัจจุบันไปแล้ว หนึ่งในนั้นก็คือพระเทวทัต จะมาตรัสรู้ เป็นพระปัจเจกะพุทธเจ้า:cool:
     
  15. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    :cool:มาว่าต่อตอน ๒ ครับ ท่านเทศว่า อีกล้านกว่าปีในเมืองมนุษย์ พระศรีอารย์จะมาตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า คนและสัตว์ จะคุยกันรู้เรื่อง สัตว์พูดได้ เพราะคนในสมัยนั้น อายุยืน หลายหมื่นปี ถ้านับตอนนี้แล้วก้คงไม่ถึง ล้านปีในเมืองมนุษย์ แล้วแหละครับ เพราะหลวงพ่อมรณะไป ๒๐ ปีแล้ว ๑ พุทธธันดร ผ่านไป ครึ่งหนึ่ง ก็อีกประมาณ ห้าแสนปีมนุษย์ หรือไม่ถึง ห้าแสนปี พระปัจเจกะพุทธเจ้า จะมาตรัสรู้ก่อนครับ เพราะว่า กัปนี้ เฮงที่สุด มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ถึง ๑๐ พระองค์

    บางกัป ท่านกว่าวว่า มีพระพุทธเจ้า มาตรัสรู้ ๑ องคื บ้าง ๒ องค์บ้าง ๓ องค์บ้าง ๕ องค์มีน้อยมาก แต่กัปนี้มีถึง ๑๐ พระองค์ ซึ่งหายากมากๆครับ ถ้า เป็น อัตรายกัป กับศูนย์ กัป จะไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เลยครับ เพราะไม่มีคนดีมาเกิดกัน มีแต่พวก อบายภูมิ มาเกิดกัน มีการเข่นฆ่ากันตาย มากมาย จึงไม่มีพระโพธิสัตว์องค์ไหน มาตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าครับ

    ผมไม่ได้บอกให้ พวกท่านเชื่อ จงใช้ใจ พิจรณา หาเหตุและผล เรียนเอาเองเถิดครับ พวกพุทธภูมิไม่เชื่อใคร ง่ายๆอยู่แล้ว ย่อมเรียนถูกผิด เอาเอง หาเหตุผลเอาเองครับผม เพราะท่านพวกนี้ ต้องไปเป็นครูเขา มันต้องเรียนรู้หมดทุกอย่างครับ ทั้งโลกและทางธรรม ไม่มีข้อยกเว้น ใดๆทั้งสิ้น มันจึงต้องมีที่มาและที่ไป ไงครับท่าน ถ้าตาบใด ยังไม่บริจาค ลูกเมียให้เป็นทาน ชาติสุด ท้าย ท่านยังไม่มีสิทธิ์ ตรัสรู้ เป้นพระพุทธเจ้าครับ มันเป็นกฎตายตัว ของเหล่าพุทธภูมิ ที่ต้องทำ ฉนั้น ถ้ามันง่ายคงไม่มีพุทธภูมิ ลามาเป็นสาวกบ้าง พระปัจเจบ้าง กันเป้นแถวๆ หรอกครับ

    พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลกแสนยาก แต่เมื่อตรัสรู้แล้ว เปิดโลกได้แค่ครั้งเดียว พรหม เทวดา มนุษย์ สัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัชฉาน เห็นความอัศจรรย์ ของพระพุทธเจ้า ทำความปราถนา เป็นพระพุทธเจ้า กันเป็แถว แม้แต่มด มันยังทำความปราถนาเลย แล้วพระโพธิ สัตว์จะไม่มากได้อย่างไร แต่ใครจะดำเนิน ไปถึง ก้เท่านั้นเอง จึงมีคำว่าการเกิด ขึ้น ของพระพุทธเจ้านั้น เกิดขึ้นได้โดยยากมากครับ:cool:
     
  16. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    เมื่อมีต่ำสุด ก็มีสูงสุด มีขึ้นก็มีลง เมื่อมีเสื่อม ก็มีเจริญขึ้น โลกมันเป็นเป็นอย่างนี้ เหมือนเช่นเดียวกับตัวคนเรานี้ เมื่อวัยทารก วัยเด้ก วัยสรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยกลางคน วัยแก่แชล แก่ชรา วัย ตาย ถึงจุดจบแห่งสังขาร เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เมื่อสิ้นศาสนา พระตถาคตแล้ว หนึ่งพันปี ถึง หนึ่งพันห้าร้อยปี ถ้าผิดขออภัยครับ มนุษย์เราในยุคนั้น มีอายุ สูงสุด ๑๐ ปี เมื่อมนุษย์ ทำความดี อายุจะสูงขึ้นไปเรื่ยๆ จาก ๑๐ ปี เป็น ๒๐ เป็น ๔๐ ปี เป็น ๘๐ ปี เป็น ๑๖๐ ปี เป็น ๓๒๐ ปี เป็น ๖๔๐ ปี เป็น ๑๒๘๐ ปี

    จาก ๑๒๘๐ ปี ก็ขึ้นเป็น ๒๕๖๐ปี จนมนุษย์มีอายุ หลายหมื่นปี เมื่ออายุคงที่ พระศรีอาริยะเมตตรัย ก็จะมาตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ผมเคยสนธนากับ ท่านผู้ทรงสิล ผู้หนึ่ง ปรกติ พระโพธิสัตว์ ที่มีบารมมากแล้ว ในขั้น ปรมัตถบารมี จะแบ่งกายไปเกิด ในโลกนี้ เพื่อ โปรด บริวารของท่าน หรือช่วยเหลือ สัพสัตว์ให้พ้นทุกข์ สามารถทำได้ อยู่แล้ว นี่เป็นข้อสนธนากันเฉยๆครับ ข้อปิกย่อย บารมีเต็มแล้ว ผมว่า ไม่มีพระโพธิสัตว์องค์ ขี้เกียจหรอกครับ ท่านจะลงไปโปรดใคร นั่นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ปรกติ หลวงพ่อ ฤาษีวัดท่าซุง ท่านได้พูดไว้ว่า

    พระโพธิสัตว์ ถ้าท่านทำหน้าที่ของท่านไม่ทัน พระโพธิสัตว์องค์อื่นจะทำหน้าที่แทนทันที หรือพรหม เทวดา ทำแทนครับ พระโพธิสัตว์ ท่านจะใช้ ญาณ หรือกำลังฌาณ ของท่านช่วย สัพสัตว์เต็มความสามารถ เพื่อ ความสุข ต่อมหาชนทั้งหลาย เท่าที่สำผัสมา แต่ละท่าน ล้วน ยิ่งยวด ทั้งนั้นเลย ที่บารมียังอ่อนอยู่ ก็ว่ากันไปครับ ของใครของมัน ตามแต่ทำได้ขนาดไหน มาถึงไหน มีทั้ง บารมีต้น กลาง ปลาย แต่ละชั้น แต่ละขั้น ก็ยังมีหยาบ กลาง ละเอียดอีก จบ ป.๔ จะไปรู้ คนเรียน จบม ๓ -๖ ไม่ได้ ม.๓-๖ จะไปรู้ ปริญญา ตรี โท เอก ได้อย่างไร ว่าไปตามขั้น

    ตอนของมัน ตรี โท เอก จะไปรู้ พวกจบ ดอกเตอร์ไหมน้อ ด๊อกเตอร์ก็มีหลายสาขา อาชีพ :cool: ไปกันใหญ่แล้ว ว่าไปโน่น ขอจบครับ
     
  17. bristol345

    bristol345 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +91
    คำตอบคือ 200 อสงไขยปี ครับ ถ้านับง่ายๆในหน่วย ล้านปีก็คือ
    20,000 ตามด้วยล้านยี่สิบสามครั้ง ปี
    หรือ พูดง่ายๆก็คือ
    20,000ล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านปี
    ซึ่งเท่ากับระยะเวลายาวนานประมาณ 1 อันตรกัปนั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มกราคม 2013
  18. Rama bodhisattva

    Rama bodhisattva Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2016
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +63



    ผมขออนุโมทนาในบุญบารมีด้วยคนนะครับ
     
  19. migza005

    migza005 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +6
    แค่ 60,000,000,000 หกหมื่นล้านปีเองครับ
     
  20. AVATAAR

    AVATAAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +603
    ขอขอบคุณทุกองค์ความรู้ที่ช่วยกันชี้แนะ
    นำเสนอแนะนำตามภูมิธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...