พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet04.htm

    ๔. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) วัดมหาธาตุ
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=204 rowSpan=6>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>(ไม่ปรากฏ)</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันประสูติ

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>วันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีฉลู จ.ศ. ๑๐๙๕ พ.ศ. ๒๒๗๖
    ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกษฐ แห่งกรุงศรีอยุธยา
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>วันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓
    ในรัชกาลที่ ๒
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>วันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕
    ในรัชกาลที่ ๒ (๔ กันยายน ๒๓๖๕)
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๘๙ พรรษา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=450 colSpan=3 height=34>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑ ปี ๑๐ เดือน
    [NEXT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
    พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระจนมีพระฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet05.htm

    ๕. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุ
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=204 rowSpan=6>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=301 height=34>(ไม่ปรากฏ)</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันประสูติ

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=301 height=34>วันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๐๔ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=301 height=34>เดือน ๔ ปี มะแม ตรงกับเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ ในรัชกาลที่ ๒</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=301 height=34>วันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ ปีขาล ๒๓ กันยายน ๒๓๘๕ ในรัชกาลที่ ๓</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=301 height=34>๘๑ พรรษา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=461 colSpan=3 height=34>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๙ ปี ๖ เดือน
    [ NEXT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ
    สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุ
    พระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) มีพระประวัติเบื้องต้น เป็นมาอย่างไรไม่ปรากฏรายละเอียด ทราบแต่เพียงว่า ประสูติในในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๐๔ เดิมจะได้เปรียญและเป็นพระราชาคณะตำแหน่งใดมาก่อนหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐาน กระทั่งมาในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงปรากฏหลักฐานว่าเป็นพระเทพโมลี อยู่วัดหงษ์ ถึงรัชกาลที่ ๒ เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระพรหมมุนี แล้วเลื่อนขึ้นเป็นที่พระพิมลธรรม เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๕๙ ในคราวเดียวกับที่ทรงตั้ง สมเด็จพระสังฆราช (มี)
    อนึ่ง วัดหงษ์นี้ แต่เดิมมาเรียกกันว่า วัดเจ๊สัวหงบ้าง วัดเจ้าสัวหงบ้าง วัดเจ้าขรัวหงบ้าง ตามชื่อของคหบดีจีนที่เป็นผู้สร้างวัด มาในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเป็นพระอารามที่อยู่ติดกับพระราชวัง และพระราชทานชื่อว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร จึงได้เป็นพระอารามหลวงและพระอารามสำคัญมาแต่ครั้งนั้น มาในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงปฏิสังขรณ์ จึงพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า วัดหงษ์อาวาสบวรวิหาร เพราะเป็นพระอารามที่อยู่ใกล้กับพระราชวังเดิม อันเป็นที่ประทับของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ จึงได้พระราชทานเปลี่ยนนามอีกครั้งหนึ่งว่า วัดหงสาราม ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อทรงปฏิสังขรณ์เสร็จบริบูรณ์แล้ว จึงพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า วัดหงส์รัตนาราม ดังที่เรียกกันสืบมาจนปัจจุบัน
    พ.ศ. ๒๓๖๒ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชดำริจะทรงตั้ง สมเด็จพระพนรัตน์ (อาจ) วัดสระเกศ เป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงโปรดให้แห่ไปอยู่วัดมหาธาตุ เพื่อเตรียมการทรงตั้งต่อไป และโปรดให้พระพิมลธรรม (ด่อน) ย้ายจากวัดหงษ์มาครองวัดสระเกศสืบต่อจาก สมเด็จพระพนรัตน์ (อาจ) ในปี พ.ศ. ๒๓๖๒ นั้น
    สำหรับสมเด็จพระพนรัตน์ (อาจ) นั้นเมื่อแห่ไปอยู่วัดมหาธาตุได้ ๘ เดือน ยังมิทันได้ทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็เกิดอธิกรณ์ขึ้นเสียก่อน จึงโปรดให้ถอดเสียจากสมณฐานันดร แล้วให้ออกไปเสียจากวัดมหาธาตุ จึงไปอยู่ที่วัดไทรทอง (บางที่เรียกว่า วัดแหลม) ซึ่งเป็นวัดเบญจมบพิตรในบัดนี้ จนถึงมรณภาพ
    พ.ศ. ๒๓๖๓ ทรงโปรดให้เลื่อน พระพิมลธรรม (ด่อน) เป็นสมเด็จพระพนรัตน์ ในคราวเดียวกันกับที่ทรงตั้ง สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นสมเด็จพระสังฆราช
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ครั้น พ.ศ. ๒๓๖๕ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงตั้ง สมเด็จพระพนรัตน์ (ด่อน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อเดือน ๔ ในศกนั้น แต่ไม่พบสำเนาประกาศสำเนาทรงตั้ง เมื่อทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว จึงโปรดให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุเช่นเดียวกับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อนๆ นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ สุดท้ายที่สถิต ณ วัดมหาธาตุ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๒ และทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ ๒ ปีเศษ ก็สิ้นรัชกาลที่ ๒
    พระกรณียกิจพิเศษ
    ในปลายรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจสำคัญ คือทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ตรงกับกับวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ เมื่อทรงผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดมหาธาตุ ๓ วัน แล้วเสด็จไปประทับศึกษาวิปัสสนาธุระ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) หลังจากทรงผนวชได้เพียง ๑๕ วัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็เสด็จสวรรคต เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้เสด็จกลับมาประทับ ณ วัดมหาธาตุ เพื่อทรงศึกษาภาษาบาลีต่อไป พระตำหนักอันเป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวชครั้งนั้น คือตรงที่ปัจจุบันสร้างเป็นวิหารโพธิลังกา ซึ่งอยู่ทางมุมวัดมหาธาตุด้านทิศตะวันออก หลังพระบวรราชานุสาวรีย์สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในบัดนี้
    การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาครั้งสำคัญ
    เนื่องมาจากการทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยของสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ครั้งนั้น ได้ก่อให้เกิดการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ที่นับว่าสำคัญครั้งหนึ่ง ในประวัติการณ์ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในเวลาต่อมา กล่าวคือ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับมาประทับทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดมหาธาตุ จนทรงรอบรู้ในภาษาบาลีและเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกแล้ว ก็ทรงพิจารณาเห็นความบกพร่องในวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในยุคนั้น ดังพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet06.htm

    ๖. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบูรณะ
    <TABLE height=204 width=737 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=204 rowSpan=6>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>(ไม่ปรากฏ)</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันประสูติ

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๑๙ มีนาคม ๒๓๐๑ วันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีขาล จ.ศ. ๑๑๒๐
    ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ แห่งกรุงศรีอยุธยา
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>วันพุธ แรม ๑๑ เดือน ๖ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>ปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ ในรัชกาลที่ ๓</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๘๖ พรรษา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=450 colSpan=3 height=34>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๕ ปีเศษ
    [NEXT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ
    สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบุรณะ
    พระองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระประวัติในเบื้องต้น

    สมเด็จพระสังฆราช (นาค) ก็เช่นเดียวกับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน ๆ คือ มีพระประวัติเบื้องต้นเป็นมาอย่างไร ไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าประสูติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์รัชกาลสุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีขาล จ.ศ. ๑๑๒๐ ตรงกับวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๐๑ สันนิษฐานว่า เป็นพระราชาคณะที่ พระนิกรมมุนี มาแต่ในรัชกาลที่ ๑
    ถึงรัชกาลที่ ๒ เลื่อนเป็นพระพรหมมุนี เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๕๙ ในคราวที่ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช ต่อมา ในรัชกาลที่ ๒ หรือในรัชกาลที่ ๓ ไม่ทราบแน่ เลื่อนเป็นพระธรรมอุดม ถึงปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๓ ในรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเป็นสมเด็จพระพนรัตน
    สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พ.ศ. ๒๓๘๕ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) สิ้นพระชนม์และพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ศกนั้น
    ครั้น ปีเถาะ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๘๖ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (นาค) เป็นสมเด็จพระสังฆราชในราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงษญาณ
    ในประกาศทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (นาค) นั้น ระบุว่าสถิต ณ วัดมหาธาตุ ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แต่ในความเป็นจริง สมเด็จพระสังฆราช(นาค)มิได้เสด็จมาสถิต ณ วัดมหาธาตุเพราะขณะนั้นวัดมหาธาตุอยู่ในระหว่างการปฏิสังขรณ ครั้งใหญ่ซึ่งต้องรื้อลงแล้วทำใหม่ดุจสร้างใหม่ทั่วทั้งพระอาราม โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของภิกษุสามเณรได้ ๑,๐๐๐ รูป ได้เริ่มลงมือปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ จนสิ้นรัชกาลที่ ๓ ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี จนต้นรัชกาลที่ ๔ จึงสำเร็จบริบูรณ์ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะ จนถึงสิ้นพระชนม์ธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ ก็เป็นอันเลิกไปตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระสังฆราช (นาค) เป็นต้นมา นับแต่นั้นมา สมเด็จพระสังฆราชเคยสถิตอยู่ ณ พระอารามใด เมื่อก่อนที่จะเป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ยังสถิตอยู่ ณ พระอารามนั้นสืบไป ดังที่ถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมกันต่อมาจนถึงทุกวันนี้
    สมณทูตไทยไปลังกา
    ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดส่งสมณฑูตไปลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เพื่อสืบข่าวพระศาสนาและยืมคัมภีร์พระไตรปิฎกในส่วนที่ไทยยังบกพร่อง สมณฑูตชุดนี้ได้เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ ในต้นปี พ.ศ. ๒๓๘๖ อันเป็นปีที่ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (นาค) ครั้นปี พ.ศ. ๒๓๘๗ พระสงฆ์ลังกาฝากหนังสือเข้ามาเตือนหนังสือพระไตรปิฏกที่ยืมมาเที่ยวก่อน ๔๐ พระคัมภีร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้จัดสมณฑูตออกไปยังลังกาอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นครั้งที่ ๒ ในรัชกาลนี้ พระสงฆ์ที่ไปในครั้งนี้ ๖ รูป
    สมณฑูตชุดนี้ก็เป็นพระภิกษุสามเณรธรรมยุตล้วนเช่นเดียวกับชุดก่อน สมณฑูต ๗ รูปพร้อมด้วยพระภิกษุชาวลังกาอีก ๑ รูป และไวยาวัจกร ๑๐ คน ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เมื่อเดือน ๑๒ ข้างแรม พ.ศ. ๒๓๘๗ โดยเรือหลวงอุดมเดชและได้กลับมาถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๔ ปีเดียวกัน พร้อมกับได้ยืมหนังสือพระไตรปิฏกเข้ามาอีก ๓๐ คัมภีร์ และในคราวนี้ได้มีภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ชาวลังกาติดตามมาด้วยถึง ๔๐ คนเศษ
    เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไทยกับลังกาได้มีการติดต่อกันในทางพระศาสนาค่อนข้างใกล้ชิด ทั้งโดยทางราชการและโดยทางเอกชน ทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ชาวลังกาได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยบ่อย ๆ และโปรดให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชและทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ทำหน้าที่ต้อนรับดูแลพระสงฆ์ลังกา ตลอดถึงจัดสมณฑูตไทยออกไปลังกาตามพระราชประสงค์ถึง ๒ ครั้ง ที่วัดบวรนิเวศวิหารถึงต้องมีหมู่กุฏิไว้รับรองพระสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ เรียกว่าคณะลังกา (คือตรงที่เป็นพระวิหารพระศาสดาในบัดนี้) ดังที่กล่าวไว้ในตำนานวัดบวรนิเวศวิหารว่า
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet07.htm

    ๗. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี) วัดพระเชตุพน
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=172 rowSpan=6>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=299 height=34>เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันประสูติ

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=299 height=34>๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จ.ศ. ๑๑๕๒
    พ.ศ. ๒๓๓๓
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=299 height=34>วันศุกร์ เดือน ๙ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๙๔ ในรัชกาลที่ ๔</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=299 height=34>๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ วันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู ในรัชกาลที่ ๔</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=299 height=34>๖๓ พรรษากับ ๔ วัน</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=459 colSpan=3 height=2>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑ ปี ๔ เดือน
    [NEXT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    พระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช องค์พระประมุขแห่งคณะสงฆ์ไทย นับเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ในการปกครองของคณะสงฆ์ไทย เพราะแต่ก่อนมานับแต่ยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ย้อนไปจนถึงยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ไม่ปรากฏว่ามีเจ้านายพระองค์ใด แม้ทรงผนวชอยู่จนตลอดพระชนมชีพ ได้รับสถาปนาในตำแหน่งที่ สมเด็จพระสังฆราช เพราะฉะนั้น พระประวัติและพระเกียรติคุณของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสจึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจุ้ย เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ตรงกับวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ มีพระนามว่าพระองค์เจ้าวาสุกรี ทรงผนวชเป็นสามเณรแต่เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา โดยทรงผนวชเป็นหางนาค ในคราวที่ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (กรมพระวังหลัง) ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อทรงผนวชแล้ว เสด็จไปประทับ ณ วัดพระเชตุพน ทรงศึกษาอยู่ในสำนักของสมเด็จพระพนรัต ผู้เป็นอธิบดีสงฆ์ วัดพระเชตุพนในขณะนั้น
    สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย และภาษาบาลีตลอดทั้งวิธีลงยันต์เลขไสยในสำนักสมเด็จพระพนรัต ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางอักษรสมัยและเวทย์มนต์ยิ่งนัก โดยเฉพาะภาษาบาลีนั้น สมเด็จพระพนรัตน รอบรู้แตกฉานมาก ได้รจนาหนังสือเป็นภาษาบาลีหรือภาษามคธไว้ ๓ เรื่อง คือ สังคีติยวงศ์ พงศาวดารการสังคายนา ๑ จุลยุทธการวงศ์ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ๑ มหายุทธการวงศ์ พงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช ๑ กล่าวกันว่า ตำรับตำราพิชัยสงครามและพระคัมภีร์ต่างๆ สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งอยู่กับสมเด็จพระพนรัตน วัดป่าแก้ว ก็ตกมาอยู่ที่วัดพระเชตุพนนี้ด้วย ฉะนั้น สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส คงจักได้ทรงศึกษาเล่าเรียนตำรับตำราต่างๆ ดังกล่าวเหล่านี้ จึงได้ทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งทางด้านคดีโลกและคดีธรรม ดังเป็นที่ประจักษ์จากผลงานอันเป็นบทพระนิพนธ์เรื่องต่างๆมากมาย
    ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    สมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่จนตลอดรัชกาลที่ ๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๕๔ ในรัชกาลที่ ๒ จึงทรงผนวชเป็นพระภิกษุเข้าใจกันว่า สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพนรัต พระอาจารย์ของพระองค์ ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงได้พระนามฉายาว่า
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet08.htm

    ๘. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=204 rowSpan=6>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ รัชกาลที่ ๒</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันประสูติ

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ วันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง
    จ.ศ. ๑๑๗๑
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๔ ในรัชกาลที่ ๕</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ในรัชกาลที่ ๕</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๘๓ พรรษา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=450 colSpan=3 height=34>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๑ เดือนเศษ
    [NEXT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    พระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    นับแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ในรัชกาลที่ ๔ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกจนตลอดรัชกาล เป็นเวลา ๑๕ ปี ฉะนั้น ในรัชกาลที่ ๔ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชจนเกือบตลอดรัชกาล เพราะสมเด็จฯ กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่เพียงปีเศษตอนต้นรัชกาลเท่านั้น
    เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้น สมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สองจาก สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    มาในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้โปรดสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตลอดช่วงต้นแห่งรัชกาล เป็นเวลาถึง ๒๓ ปี ฉะนั้น ในช่วงต้น รัชกาลที่ ๕ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่ถึง ๒๓ ปี จึงได้ทรงสถาปนา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ เป็นสมเด็จพระสังฆราช นับเป็นพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระประวัติในเบื้องต้น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ และเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ อันเป็นวันเริ่มสวดมนต์ ตั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงได้พระราชทานนามว่า พระองค์เจ้าฤกษ์
    ทรงผนวช
    พ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุ ๑๓ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุ สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักพระญาณสมโพธิ (รอด) ครั้งทรงผนวชเป็นสามเณรได้ ๔ พรรษา ประชวรไข้ทรพิษต้องลาผนวชออกมารักษาพระองค์ เมื่อหายประชวรแล้ว สมเด็จกรมพระราชบวรมหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงจัดการให้ทรงผนวชเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่ง
    พ.ศ. ๒๓๗๒ พระชนมายุครบทรงผนวชเป็นพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ทรงลาผนวชออกสมโภช แล้วแห่พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ เจ้าฟ้าอาภรณ์ ที่จะทรงผนวชเป็นเป็นสามเณรในเวลานั้น ในการทรงผนวชเป็นพระภิกษุนั้น สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส กับพระวินัยรักขิต วัดมหาธาตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้วทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ ณ วัดมหาธาตุนั้น เช่นกัน ในเวลานั้น (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระเจริญพระชนมายุกว่า ๕ พรรษา) เป็นเหตุให้ทรงเลื่อมใสในลัทธิธรรมวินัยตามอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ภายหลังจึงได้ทรงอุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งในนทีสีมา โดยพระสุเมธาจารย์ (พุทธวังสะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจนทรงแตกฉานในภาษาบาลี แต่ไม่ทรงเข้าสอบเพื่อเป็นเปรียญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก ที่เคยพระราชทานแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อครั้งยังมิได้ทรงเป็นพระราชาคณะให้ทรงถือเป็นเกียรติยศ สืบมา พระนิพนธ์อันเป็นเครื่องแสดงถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลีของพระองค์ก็คือ พระนิพนธ์เรื่อง สุคตวิทัตถิวิธานซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลีว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์คืบพระสุคตอันเป็นมาตราวัดที่มีกล่าวถึงในทาง พระวินัย นอกจากนี้ ก็ได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เป็น ภาษาบาลีไว้อีกหลายเรื่อง นับว่าทรงเป็นปราญ์ทาง ภาษาบาลีที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์
    ในรัชกาล ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะสมณศักดิ์ เสมอพระราชาคณะสามัญ พระราชทานตาลปัตรแฉกถมปัดเป็นพัดยศ
    พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะยังทรงผนวชอยู่ ทรงเป็นพระเถราจารย์ประธานแห่งพระสงฆ์ธรรมยุตินิกายทรงลาผนวชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นรัชกาลที่ ๔ จึงได้ทรงสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าฤกษ์ เป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ทรงอิศริยยศเป็นประธานาธิบดีแห่งพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet09.htm

    ๙. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสสเทว) วัดราชประดิษฐ์
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=204 rowSpan=6>
    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>แขวงบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันประสูติ
    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๕๖ วันพฤหัสบดี แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา
    จ.ศ. ๑๑๗๕
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ในรัชกาลที่ ๕</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ในรัชกาลที่ ๕</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๘๗ พรรษา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=450 colSpan=3 height=34>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๕ ปี ๒ เดือน
    [NEXT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
    สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว)
    พระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) เป็นชาวตำบลบางไผ่ จังหวัดนนทบุรีประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๑๗๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๖ ในรัชกาลที่ ๒ โยมบิดาชื่อ จันท์ โยมมารดาชื่อ สุข มีพี่น้องชายหญิงรวมด้วยกัน ๕ คน
    กล่าวกันว่า โยมบิดาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นชาวตำบลบางเชิงกราน จังหวัดราชบุรี ได้เคยบวชเรียน จนเป็นผู้ชำนาญในการเทศน์มิลินท์และมาลัย แม้เมื่อลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสแล้วก็ยังเรียกกันติดปากว่า
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พ.ศ. ๒๓๗๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่ ให้เสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นพระเปรียญเอกพรรษา ๔ ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารด้วย
    ครั้น พ.ศ. ๒๓๘๒ พรรษา ๖ ทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระอมรโมลี (ไม่พบประกาศทรงแต่งตั้ง) จะเห็นได้ว่าทรงได้รับยกย่องให้ดำรงอยู่ในฐานะพระเถระผู้ใหญ่ตั้งแต่ทรงมีอายุพรรษา ๖ (คือพระชนมายุ ๒๖) เท่านั้น ทั้งนี้ก็คงเนื่องด้วยทรงมีพระปรีชาแตกฉาน ในพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัยเป็นมูลนั่นเอง
    การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จจากวัดราชาธิวาสมาครองวัดบวรนิเวศวิหารนั้น นับเป็นครั้งแรกที่พระสงฆ์ธรรมยุตได้มีวัดเป็นสำนักของตนเองเป็นเอกเทศ เพราะก่อนแต่พระสงฆ์ธรรมยุตก็ยังคงอยู่รวมในวัดเดียวกันกับพระสงฆ์เดิม เมื่อมีสำนักเป็นเอกเทศขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงปรับปรุงระเบียบปฏิบัติด้านต่าง ๆ ของพระสงฆ์ในปกครองของพระองค์ได้อย่างเต็มที่ เช่น ทรงตั้งธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำ ที่เรียกกันทั่วไปว่า ทำวัตรเช้า-ทำวัตรค่ำ เป็นประจำวันขึ้น พร้อมทั้งทรงพระราชนิพนธ์คำนมัสการพระรัตนตรัยเป็นภาษามคธ (ภาษาบาลี) ขึ้นใหม่ ที่เรียกกันว่า บททำวัตรเช้าค่ำ ดังที่ใช้สวดกันทั่วไปในบัดนี้ ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) มีการแสดงพระธรรมเทศนาแก่พุทธศาสนิกชน เป็นต้น ในด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงส่งเสริมการเรียนพระปริยัติธรรมให้รุ่งเรือง โดยพระองค์ทรงบอกพระปริยัติธรรม (คือสอน) ด้วยพระองค์เอง มีพระภิกษุสามเณรเป็นศิษย์เข้าแปล (คือสอบ) ในสนามหลวงได้เป็นเปรียญประโยคสูงถึงประโยค ๙ หลายรูป การเรียนพระปริยัติธรรมของสำนักวัดบวรนิเวศวิหารในยุคนั้นรุ่งเรืองมาก พระเปรียญพูดภาษามคธได้คล่อง และคงเนื่องด้วยเหตุนี้เอง วัดบวรนิเวศวิหารในครั้งนั้น จึงต้องทำหน้าที่รับรองพระสงฆ์ลังกาที่เข้ามาเจริญศาสนไมตรีกับไทย ถึงกับต้องมีเสนาสนะหมู่หนึ่งไว้รับรองที่วัดบวรนิเวศวิหาร เรียกว่าคณะลังกา (ปัจจุบันรื้อไปแล้ว) ในส่วนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์ก็ทรงศึกษาภาษาละตินและภาษาอังกฤษกับชาวต่างประเทศ จนทรงสามารถตรัส เขียน อ่าน ได้อย่างคล่องแคล่ว แม้พระภิกษุสามเณรที่เป็นศิษย์ในพระองค์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ก็เข้าใจว่าคงได้รับการส่งเสริมให้เรียนภาษาต่างประเทศที่นอกเหนือไปจากภาษามคธด้วยเช่นกัน ดังปรากฏในประวัติของพระอมราภิรักขิต (อมโร เกิด) ซึ่งเป็นศิษย์หลวงเดิมท่านหนึ่งและได้เป็นสมณทูตไปลังกาถึง ๒ ครั้ง ว่า สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว จนชาวลังกายกย่องเป็นอันมาก เป็นตัวอย่าง เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชก็คงจะเช่นเดียวกัน นอกจากจะทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจนมีความแตกฉานคล่องแคล่วในภาษามคธแล้ว ก็คงจักได้ศึกษาภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ด้วย ตามความนิยมของสำนักวัดบวรนิเวศวิหารในครั้งนั้น ดังปรากฏในคำประกาศทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ตอนหนึ่งว่า
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet10.htm

    ๑๐. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) วัดบวรนิเวศวิหาร
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=204 rowSpan=6>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=300 height=34>เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันประสูติ

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=300 height=34>๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๓ วันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๒๑ ในรัชกาลที่ ๔</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=300 height=34>๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ วันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ในรัชกาลที่ ๖</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=300 height=34>๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ในรัชกาลที่ ๖</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=300 height=34>๖๐ พรรษา ๓ เดือนเศษ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=460 colSpan=3 height=34>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๐ ปี ๗ เดือนเศษ
    [NEXT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    พระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    หลังจากสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์ สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ไม่ทรงสถาปนาพระเถระรูปใด ในตำแหน่งที่ สมเด็จพระสังฆราช อีกจนตลอดรัชกาล ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่เป็นเวลา ๑๑ ปี ถึงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวอย่างสามัญทั่วไปก็คือ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั่นเอง
    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ และเจ้าจอมมารดาแพ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๒๑ ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๓ เมื่อวันประสูติ นั้นฝนตกใหญ่ พระบรมชนกนาถจึงทรงถือเป็นมงคลนิมิตพระราชทานนามว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ หลังจากประสูติได้เพียงปีเดียว เจ้าจอมมารดาของพระองค์ก็ถึงแก่กรรมพระองค์จึง ทรงอยู่ในความเลี้ยงดูของกรมหลวงวรเสฐสุดา (พระองค์เจ้าบุตรี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็นพระญาติ ทรงเรียกว่าเสด็จป้า มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ต่อมา ทรงย้ายมาอยู่กับท้าวทรงกันดาร (ศรี) ผู้เป็นยาย
    เมื่อพระชนมายุ ๘ พรรษา ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี ทรงศึกษาอยู่จนสามารถแปลธรรมบทได้ก่อนที่จะทรงผนวชเป็นสามเณร และทรงเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษกับครูฝรั่งเมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาโหราศาสตร์กับครูที่เชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์มาแต่พระชนม์ยังน้อย
    ทรงผนวช
    เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับเจ้านายอื่นอีก ๒ พระองค์ สมเด็จพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา (พระนามเดิม ศิขเรศ) เป็นประทานสรณะและศีล เมื่อทรงผนวชแล้ว มาประทับ ณ วัด บวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ ๒ เดือนเศษ จึงทรงลาผนวช
    ครั้น พระชนมายุ ๒๐ พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๒๒ สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จันทรังสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงผนวชแล้วเสด็จมาอยู่จำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ถึงหน้าเข้าพรรษาของปีนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาทรงถวายพุ่มพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามราชประเพณี และในคราวนั้น ได้เสด็จฯ ไปถวายพุ่มพรรษาแด่พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ซึ่งเพิ่งทรงผนวชใหม่ถึงกุฏิที่ประทับ พร้อมทั้งทรงกราบด้วยพระอาการเคารพ อันเป็นพระอาการที่ไม่เคยทรงปฏิบัติต่อพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์อื่นที่ทรงผนวช เป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้นทรงตัดสินพระทัยไม่ทรงลาผนวชแต่วันนั้น
    ทรงทำทัฬหีกรรม อุปสมบทซ้ำ
    หลังจากทรงจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พรรษาแล้ว ได้เสด็จไปจำพรรษาที่ ๒ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม ในสำนักของพระจันทโคจรคุณ (ยิ้ม) ผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ในระหว่างที่ประทับ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามนั้นเอง ได้ทรงทำทัฬหีกรรม อุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งตามธรรมเนียมนิยมของพระสงฆ์ธรรมยุตในครั้งนั้น โดยพระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช ฐานจาโร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่ครั้งยังเป็นพระเปรียญอยู่วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ณ โบสถ์แพ หน้าวัดราชาธิวาส เมื่อ วันที่ ๓ มกราคม ๒๔๒๒
    ทรงกรมและเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง
    เมื่อทรงผนวชได้ ๓ พรรษา ทรงเข้าแปลพระปริยัติ ธรรมหน้า พระที่นั่ง ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหราฬ ห้องเขียวท่ามกลางประชุมพระราชาคณะผู้ใหญ่ ๑๐ รูป มีสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นประธาน ทรงแปลได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค และทรงหยุดอยู่เพียงนั้น
    หลังจากทรงแปลพระปริยัติธรรมได้เป็น เปรียญ ๕ ประโยคแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระอิศริยยศเป็น กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะรองในธรรมยุตินิกาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ พระองค์ทรงเป็นเจ้าคณะรองในคณะธรรมยุตเป็นพระองค์แรกและทรงเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ทรงมีพรรษา
    ยุกาลน้อยที่สุด คือ ๓ พรรษาเท่านั้น
    ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร
    พ.ศ.๒๔๓๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์สิ้นพระชนม์พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดให้สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสขณะเมื่อทรงดำรงพระอิศริยยศ เป็นกรมหมื่น ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารสืบต่อจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ ๓
    ครั้น ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ทรงพระกรุณาโปรดเลื่อนพระสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต นับเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตพระองค์ที่ ๒ ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตเมื่อทรงมีพรรษายุกาล ๑๕ พรรษา
    เมื่อทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ได้ทรงเริ่มพัฒนากิจการพระศาสนา โดยทรงเริ่มทำขึ้นภายในวัดบวรนิเวศวิหารก่อนเป็นการทดลองเพื่อดูผลได้ผลเสียและทรงปรับปรุงแก้ไขจนทรงเห็นว่า มีผลดีเป็นคุณประโยชน์แก่พระศาสนาเป็นส่วนรวม จึงทรงขยายออกในวงกว้าง กล่าวเฉพาะที่สำคัญ คือ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    การศึกษาพระปริยัติธรรมในภาษาไทย
    ทรงริเริ่มให้ภิกษุสามเณรที่บวชใหม่เล่าเรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทยเพื่อให้รู้จักพระพุทธศาสนาทั้งส่วนที่เป็นธรรม
    และวินัยในขั้นพื้นฐานในชั่วระยะเวลาอันสั้น โดยพระองค์ได้ทรงสอนด้วยพระองค์เอง มีการสอบความรู้ของภิกษุสามเณรที่เรียนด้วยวิธีสอบแบบใหม่คือวิธีเขียน ต่อมาได้มีภิกษุสามเณรไม่เฉพาะแต่พระใหม่เท่านั้นที่นิยมเล่าเรียนพระธรรมวินัยแบบใหม่ที่พระองค์ทรงจัดขึ้นนี้ และนิยมแพร่หลายออกไปถึงวัดอื่นๆ ด้วย เมื่อทรงเห็นว่าเป็นการเล่าเรียนที่มีประโยชน์ต่อภิกษุสามเณรทั่วไป จึงได้ทรงกำหนดให้เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ในเวลาต่อมา ที่เรียกว่า
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet11.htm

    ๑๑. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์) วัดราชบพิธ
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=204 rowSpan=6>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top width=290 height=34>เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100 height=34>วันประสูติ

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top width=290 height=34>๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒ วันศุกร์แรม ๗ ค่ำเดือนอ้าย ปีมะแม จ.ศ. ๑๒๒๑ ในรัชกาลที่ ๔</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top width=290 height=34>๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ในรัชกาลที่ ๖</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top width=290 height=34>๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ในรัชกาลที่ ๘</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top width=290 height=34>๗๘ พรรษา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=450 colSpan=3 height=34>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๖ ปี
    [NEXT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    พระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าภุชงค์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้นหนึ่ง กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ กับ หม่อมปุ่น ชุมพูนุท ประสูติ เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม ๗ ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้ตามเสด็จคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ จนถึงเมืองสิงคโปร์ แล้วโปรดให้อยู่เล่าเรียนในโรงเรียนแรฟฟัล ณ เมือง สิงคโปร์นั้น พร้อมกับหม่อมเจ้าอื่นๆ อีกราว ๒๐ องค์ ทรงเล่าเรียนอยู่ที่เมืองสิงคโปร์เป็นเวลา ๙ เดือน เมื่อทางกรุงเทพฯ ได้มีการเปิดโรงเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเจ้านายขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ จึงโปรดให้กลับมาเล่าเรียนต่อที่กรุงเทพฯ
    ทรงผนวช
    พ.ศ. ๒๔๑๖ พระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระยศกรมหมื่นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร แต่ยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระราชาคณะ เป็นพระอาจารย์ เมื่อทรงผนวชแล้วเสด็จอยู่ที่วัดราชบพิธ ทรงเล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อมาจนถึงพระชนมายุครบอุปสมบท จึงทรงอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อทรงอุปสมบทแล้วก็เสด็จประทับ ณ วัดราชบพิธตามเดิม ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม ๒ ครั้ง ได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค
    พ.ศ. ๒๔๓๐ เมื่อทรงอุปสมบทได้ ๘ พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสถาพรพิริยพรต
    ทรงเป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย
    พ.ศ. ๒๔๓๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงดำรงพระยศ กรมหมื่น ได้ทรงพระดำริจัดตั้งสถาบันการศึกษาแบบใหม่สำหรับภิกษุสามเณร ตลอดถึงจัดตั้งโรงเรียนสำหรับกุลบุตรขึ้น เรียกว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อจัดการศึกษาสำหรับภิกษุสามเณรและกุลบุตรให้ทันสมัย และเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่ พระสถาพรพิริยพรต ก็ทรงเป็นกรรมการพระองค์หนึ่งในกรรมการชุดแรกของมหามกุฏราชวิทยาลัย นับว่าทรงเป็นผู้ร่วมบุกเบิกกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยมาแต่เริ่มต้น และได้ทรงเริ่มมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้ามาจนตลอดพระชนม์ชีพ ของพระองค์
    พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่เสมอชั้นเทพ
    พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมปาโมกข์ในราชทินนามเดิม
    ทรงครองวัดราชบพิธ
    พ.ศ. ๒๔๔๔ พระองค์เจ้าอรุณนิภาคุณากร เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ สิ้นพระชนม์ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ทรงครองวัดราชบพิธสืบต่อมา นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ ๒
    พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้ารองที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรองในคณะกลาง ในราชทินนามเดิมพร้อมทั้งทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
    พ.ศ. ๒๔๕๓ ในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง
    ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    พ.ศ. ๒๔๖๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๖๔ ครั้นถึงวันที่ ๒๐ สิหาคม ๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ และทรงสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลสังฆปริณายก
    ถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศเป็น กรมหลวง
    คำเรียกตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมี ๓ อย่าง
    เมื่อทรงสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ เป็น สมเด็จสกลสังฆปริณายก ประธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร นั้น โปรดสถาปนาคำสำหรับเรียกตำแหน่งนี้ว่า
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet12.htm

    ๑๒. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=204 rowSpan=6>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>บางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน ธนบุรี</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันประสูติ

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙ วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
    ปีมะโรง จ.ศ.๑๒๘๑ ในรัชกาลที่ ๔
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๑ ในรัชกาลที่ ๘</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗ ในรัชกาลที่ ๘</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๘๙ พรรษา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=450 colSpan=3 height=34>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๖ ปี
    [NEXT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
    สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศน์เทพวราราม
    พระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระสังฆราช วัดสุทัศน์เทพวราราม พระนามเดิมว่า แพ พระนามฉายาว่า ติสฺสเทว ประสูติในรัชกาลที่ ๔ เมื่อ ณ วันพุธ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๓๙๙ บิดาชื่อนุตร์ มารดาชื่ออ้น เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี
    บรรพชา อุปสมบท
    เมื่อพระชนมายุได้ ๗ ขวบ ได้ไปศึกษาอักษรสมัยอยู่ที่วัดทองนพคุณ ในสำนักของสมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์มาตั้งแต่ท่านยังครองวัดทองนพคุณ ครั้นชนมายุได้ ๑๓ ปี จึงพาไปถวายเป็นศิษย์ สมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์ เมื่อท่านยังเป็นพระธรรมวโรดมมาอยู่วัดราชบูรณะ และได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปีมะโรง
    พ.ศ. ๒๔๑๑ แล้วกลับไปเล่าเรียนอยู่วัดทองนพคุณตามเดิม ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระอาจารย์โพ วัดเศวตรฉัตร
    ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ปี สมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์ให้ไปรับมาอยู่กับท่านที่วัดพระเชตุพน ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม ต่อมาจนถึงปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ อายุครบอุปสมบท แต่สมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์อาพาธ ต้องอยู่ประจำรักษาพยาบาล จึงมิได้มีโอกาสอุปสมบท และเมื่อสมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์ใกล้ถึงมรณภาพนั้น ท่านแนะนำให้ไปอยู่เป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัตน (แดง) วัดสุทัศน์ แต่เมื่อยังเป็นพระเทพกวี ครั้นสมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์มรณภาพแล้ว จึงไปถวายตัวเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (แดง) แล้วได้ทรงอุปสมบทที่วัดเศวตรฉัตรอันอยู่ใกล้บ้านเดิม เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๒ สมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อยังเป็นพระเทพกวี เป็นพระอุปัชฌายะ แล้วมาอยู่ที่วัดสุทัศน์กับสมเด็จพระวันรัต (แดง) ต่อมา ในตอนนี้ได้เล่าเรียนกับสมเด็จพระวันรัตน (แดง) เป็นพื้น และได้ไปเรียนกับสมเด็จพระสังฆราช สา ที่วัดราชประดิษฐ์บ้าง
    เมื่อสมเด็จพระวันรัต แดง เลื่อนเป็นพระธรรมวโรดม ได้ตั้งให้ท่านเป็นพระครูใบฎีกา ในถานานุกรมตำแหน่งนั้นแล้วเลื่อนเป็นพระครูมงคลวิลาศ และพระครูวินัยธร ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม ๓ ครั้ง ได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค
    สมณศักดิ์และพระภารกิจในคณะสงฆ์
    ถึงปี ฉลู พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระศรีสมโพธิ์ ถึงปีวอก
    พ.ศ. ๒๔๓๙ เมื่อวันในรัชกาลแห่งสมเด็จบรมบพิตรที่ ๕ ครบหมื่นวัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม พระราชทานตาลิปัตรแฉกประดับพลอยและเพิ่มนิตยภัทร ในคราวเดียวกันกับที่ได้โปรดให้พระธรรมวโรดม แสง วัดราชบูรณะ เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    ถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพโมลี
    ต่อมาถึงปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ โปรดให้เลื่อนเป็นที่พระธรรมโกศาจารย์
    ถึงรัชกาลที่ ๖ พระราชทานหิรัญญบัฏทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระพรหมมุนี เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๕๕
    ต่อมาถึงปีกุน พุทธศักราช ๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานสุพรรณบัฎเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อวันศุกร์ที่ ๙ พฤศจิกายน
    ครั้นถึงรัชกาลที่ ๗ ได้ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระวันรัต
    การปกครองคณะสงฆ์ร่วมในจังหวัดพระนครนั้นเล่า ตั้งแต่แรกเริ่มจัดระเบียบเข้าสู่ระบอบใหม่ในทำนองการคณะแขวง ก็ต้องเพิ่มภาระในการปกครองขึ้นอีกมาก กระนั้นก็สู้บั่นบาก ควบคุมการคณะให้เรียบร้อยเจริญดีเป็นลำดับมา ในด้านการศึกษาก็ทรงได้เพาะปลูกพระภิกษุสามเณรให้เกิดปสาทะนิยม โดยแนะนำให้เกิดอุตสาหะในการเรียนการสอน เมื่อการศึกษาแพร่หลายดี จึงได้ขอให้ทางการเปิดสถานที่ทำการสอบความรู้นักธรรมขึ้นเป็นประจำในอำเภอนั้น ๆ จนเป็นปึกแผ่นแน่นหนาถาวรมาจนถึงยุคนี้ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๙ เมื่อตำแหน่งปลัดแขวงในพระนครว่างลง สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดราชบพิธ จึงได้มีพระบัญชาให้ย้ายท่านเข้ามาเป็นปลัดคณะแขวงในพระนคร ได้ทรงทำการในหน้าที่เรียบร้อยตลอดมา
    ในส่วนพระปริยัติธรรม ได้ทรงรับหน้าที่เป็นแม่กองสนามหลวงฝ่ายบาลี ทำการสอบความรู้พระปริยัติธรรมพระภิกษุสามเณรในพระราชอาณาจักร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๗๕ รวม ๔ ศก การปฏิบัติหน้าที่ในส่วนแม่กองนี้ ดำเนินไปโดยเรียบร้อยเป็นลำดับมามิได้บกพร่อง
    ในส่วนมหาเถรสมาคมได้ทรงรับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการด้วยรูปหนึ่ง ตั้งแต่เดิมมา ได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ในฐานะแห่งกรรมการเป็นอันดีมิบกพร่อง อุดมคติเป็นไปในทำนอง เยภุยยสิกาวาท ในเบื้องต้นจะวิปลาสด้วยมติที่ผิดแผกแยกกันไปก็มิได้ยึดถือ ข้อที่มุ่งหมายเป็นสำคัญก็คือถือมติส่วนรวมโดยสมานฉันท์ มีใจมั่นอยู่ด้วยสามัคคี เพราะยึดอุดมคติเช่นนี้ จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพในมหาเถรสมาคมกอบทั้งที่ท่านสมบูรณ์ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิเป็นที่สุดในมหาเถรสมาคม จึงเป็นที่นิยมนับถือในฐานะเป็นประมุขสงฆ์มหานิกาย
    สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
    ครั้นถึงรัชกาลปัจจุบัน เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดราชบพิธสิ้นพระชนม์ลง ประจวบกับสมเด็จ
    พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จกลับจากยุโรป เข้ามาเยี่ยมพระมหานคร ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระราชทานตาลิปัตรแฉกประจำตำแหน่งในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามและประกาศตั้งในราชกิจจานุเบกษา
    การปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์
    จำเดิมแต่พระองค์ท่านได้ดำรงตำแหน่งสกลสังฆปริณายก สืบสนองพระองค์จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธเป็นต้นมา แม้จะทรงพระชราภาพมากแล้วก็ตาม
    ก็ได้ยังความเจริญร่มเย็นเป็นสุขให้บังเกิดแก่สงฆมณฑล เป็นอเนกประการ โดยที่ทรงพระปรีชาญาณอันสุขุม คัมภีรภาพในศาสโนบายวิธ เมื่อทรงเห็นว่าจะไม่สามารถปกครองสงฆมณฑล ให้สัมฤทธิผลได้ดังพระราชประสงค์ จึงทรงพระกรุณาตั้งคณะบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์ขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินศาสนากิจให้ลุล่วงไปด้วยความสวัสดีตลอดมา จวบจนเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ รัฐบาลได้ประกาศ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ออกใช้กฎหมายเพื่อประสานนโยบาย ฝ่ายพุทธจักรกับอาณาจักรให้อนุรูปกัน ในฐานแห่งพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสกลสังฆปริณายกในระบบใหม่นี้ จึงมีพระบัญชาให้เปิดประชุมสมัยสามัญแห่งสังฆสภาขึ้น และได้เสด็จไปเปิดเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันวิสาขบุรณมีที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ แลได้ทรงแต่งตั้งพระมหาเถรานุเถระในสังฆสภาให้ดำรงตำแหน่งตามบทแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ โดยครบถ้วน เพื่อบริหารศาสนกิจให้วัฒนาถาวรสืบไป
    ในระยะต่อมา พระองค์ก็ทรงพระประชวรพระโรคชรากระเสาะกระแสะเรื่อยมา ๆ แต่เพราะพระทัยของพระองค์เข้มแข็งยิ่งนัก แต่พระอาการโรคได้ทรุดหนักลงทุกวัน จนถึงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ ก็ได้เสด็จดับขันธ์สิ้นพระชนม์ลงเมื่อเวลา ๓.๐๐ น. ที่ตำหนักวัดสุทัศนเทพวราราม สิริพระชนมายุ ๘๙ โดยปี พระพรรษา ๖๖ ทรงดำรงตำแหน่งสกลสังฆปริณายกได้ ๖ พรรษา

    ย่อความจาก "ธรรมจักษุ"
    นิตยสารทางพระพุทธศาสนารายเดือน
    จัดทำโดย มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=08&A=8956&Z=9006



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘

    ปริวาร
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    วิเคราะห์ปาราชิก
    [๑๐๓๕] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าปาราชิกดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป. บุคคลเป็นผู้เคลื่อนแล้ว ผิดพลาด แลเหินห่างจากสัทธรรม อนึ่งแม้สังวาสก็ไม่มีในผู้นั้น เพราะเหตุนั้นเราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า ปาราชิก.
    วิเคราะห์สังฆาทิเสส
    [๑๐๓๖] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าสังฆาทิเสสดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป. สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานเพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า สังฆาทิเสส.
    วิเคราะห์อนิยต
    [๑๐๓๗] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า อนิยต ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป. กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่ บทอันพระผู้มีพระภาคทรงทำแล้วโดยมิใช่ส่วนเดียว บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งเรียกว่าอนิยต.
    วิเคราะห์ถุลลัจจัย
    [๑๐๓๘] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าถุลลัจจัยดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว.ต่อไป ภิกษุแสดงอาบัติถุลลัจจัยในที่ใกล้ภิกษุรูปหนึ่ง และภิกษุรับอาบัตินั้นโทษเสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มีเพราะเหตุนั้น จึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย.
    วิเคราะห์นิสสัคคิยะ
    [๑๐๓๙] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่านิสสัคคิยะดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป. ภิกษุเสียสละในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ และต่อหน้าภิกษุรูปหนึ่งๆ แล้วจึงแสดงข้อละเมิดใด เพราะเหตุนั้น จึงเรียกข้อละเมิดนั้นว่านิสสัคคิยะ
    วิเคราะห์ปาจิตตีย์
    [๑๐๔๐] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าปาจิตตีย์ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป. ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตก ย่อมฝืนต่ออริยมรรค เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต เพราะเหตุนั้น จึงเรียกความละเมิดนั้นว่า ปาจิตตีย์.
    วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ
    [๑๐๔๑] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าปาฏิเทสนียะดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะ-กล่าวต่อไป. ภิกษุไม่มีญาติหาโภชนะได้ยากรับมาเองแล้วฉัน เรียกว่าต้องธรรมที่น่าติ. ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ภิกษุณีสั่งเสียอยู่ในที่นั้นตามพอใจ ภิกษุไม่ห้ามฉันอยู่ในที่นั้น เรียกว่าต้องธรรมที่น่าติ. ภิกษุไม่อาพาธไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์น้อย เขามิได้นำไปถวายแล้วฉันในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ. ภิกษุใดถ้าอยู่ในป่าที่น่ารังเกียจมีภัยจำเพาะหน้า ฉันภัตตาหารที่เขาไม่ได้บอกในที่นั้น เรียกว่าต้องธรรมที่น่าติ. ภิกษุณีไม่มีญาติขอโภชนะที่ผู้อื่นยึดถือว่าเป็นของเรา คือเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม ด้วยตนเองชื่อว่า ถึงธรรมที่น่าติในศาสนาของพระสุคต.
    วิเคราะห์ทุกกฏ
    [๑๐๔๒] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุกกฏ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป. กรรมใดผิดพลั้งและพลาด กรรมนั้นชื่อว่าทำไม่ดี คนทำความชั่วอันใดในที่แจ้งหรือในที่ลับ บัณฑิตทั้งหลายย่อมประกาศความชั่วนั้นว่าทำชั่วเพราะเหตุนั้น กรรมนั่นจึงเรียกว่า ทุกกฏ.
    วิเคราะห์ทุพภาสิต
    [๑๐๔๓] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าทุพภาสิตดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป. บทใดอันภิกษุกล่าวไม่ดีพูดไม่ดีและเศร้าหมอง วิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียนบทใด เพราะเหตุนั้น บทนั้น จึงเรียกว่า ทุพภาสิต.
    วิเคราะห์เสขิยะ
    [๑๐๔๔] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าเสขิยะดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป. ข้อนี้เป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทางและเป็นข้อระวังคือสำรวม ของพระเสขะผู้ศึกษาอยู่ ผู้ดำเนินไปตามทางตรง สิกขาทั้งหลายเช่นด้วยสิกขานั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น สิกขานั้นจึงเรียกว่า เสขิยะ.




    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๘๙๕๖ - ๙๐๐๖. หน้าที่ ๓๔๓ - ๓๔๔.http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=8956&Z=9006&pagebreak=0 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๘</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=8&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD
    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1>page="tipitaka-1. อ่านพระวินัย";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/c0004100.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.6.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT>



    </PRE>


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘
    ปริวาร
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    อุปมาอาบัติและอนาบัติ
    เรือนคืออาบัติอันภิกษุปิดไว้ย่อมรั่ว เรือนคืออาบัติอันภิกษุเปิดแล้ว ย่อมไม่รั่ว เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้ เมื่อเป็นอย่างนั้น เรือนคืออาบัตินั้น ย่อมไม่รั่ว. ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศ เป็นทางไปของหมู่ปักษี ความเสื่อมเป็นคติของธรรมทั้งหลาย นิพพาน เป็นภูมิที่ไปของพระอรหันต์.
    คาถาสังคณิกะ จบ

    </PRE>
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=303



    <CENTER>พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE height=50 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [303] พุทธคุณ 9 (คุณของพระพุทธเจ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2007
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE height=50 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [304] พุทธคุณ 2 (virtues, qualities or attributes of the Buddha)
    1. อัตตหิตสมบัติ (ความถึงแห่งประโยชน์ตน, ทรงบำเพ็ญประโยชน์ส่วนพระองค์เอง เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=305


    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE height=50 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [305] พุทธคุณ 3 (virtues, qualities or attributes of the Buddha)
    1. ปัญญาคุณ (พระคุณคือพระปัญญา
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=306


    <CENTER>พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE height=50 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [306] ธรรมคุณ 6 (คุณของพระธรรม
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=307

    <CENTER>พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE height=50 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [307] สังฆคุณ 9 (คุณของพระสงฆ์ — virtues of the Sangha; virtues or attributes of the community of noble disciples)
    1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี — Of good conduct is the community of noble disciples of the Blessed One)
    2. อุชุปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติตรง — of upright conduct)
    3. ญายปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง — of right conduct)
    4. สามีจิปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติสมควร — of dutiful conduct; of proper conduct)
    ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา (ได้แก่ คู่บุรุษ 4 ตัวบุคคล 8 — namely, the four pairs of men, the eight types of individuals.)
    เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ — This community of the disciples of the Blessed One is)
    5. อาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย — worthy of gifts)
    6. ปาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ — worthy of hospitality)
    7. ทกฺขิเณยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา, ควรแก่ของทำบุญ — worthy of offerings)
    8. อญฺชลีกรณีโย (เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี, ควรแก่การกราบไหว้ — worthy of reverential salutation)
    9. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส (เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก, เป็นแหล่งปลูกฝังและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก — the incomparable fied of merit or virtue for the world)

    <TABLE class=ref width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="50%">M.I.37;
    A.III.286 <TD>ม.มู. 12/95/67;
    องฺ.ฉกฺก. 22/281/318.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER></CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=307
    </TABLE><CENTER> </CENTER><CENTER>บันทึก ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo</CENTER>
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=323

    <CENTER>พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE height=50 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [323] ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง — the Ten Powers of the Perfect One)
    1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน — knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)
    2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน — knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)
    3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร — knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)
    4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น — knowledge of the world with its many and different elements)
    5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน — knowledge of the different dispositions of beings)
    6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ — knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)
    7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย — knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)
    8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ — knowledge of the remembrance of former existences)
    9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม -- knowledge of the decease and rebirth of beings)
    10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)

    <TABLE class=ref width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="50%">M.I.69;
    A.V.33;
    Vbh.336. <TD>ม.มู. 12/166/140;
    องฺ.ทสก. 24/21/35;
    อภิ.วิ. 35/839/454.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [***] ทศพิธราชธรรม ดู [326] ราชธรรม 10.
    [***] ธรรมจริยา 10 เป็นอีกชื่อหนึ่งของ [320] กุศลกรรมบถ 10<SUP></SUP>.
    [***] ธรรมมีอุปการะมาก 10 ดู [324] นาถกรณธรรม 10.

    <CENTER></CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=323

    บันทึก ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_type_index.php

    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=213

    <CENTER>พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE height=50 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [213] อิทธิบาท 4 (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย - path of accomplishment; basis for success)
    1. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป - will; aspiration)
    2. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย - energy; effort; exertion)
    3. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป - thoughtfulness; active thought)
    4. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น - investigation; examination; reasoning; testing)

    <TABLE class=ref width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="50%">D.III.221;
    Vbh.216. <TD>ที.ปา. 11/231/233;
    อภิ.วิ. 35/505/292.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER></CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=213


    บันทึก ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo
     

แชร์หน้านี้

Loading...