ด้วยมีข้องใจว่าผู้ข้องใจว่าภิกษุอายุ60ทำไมต้องกราบเราด้วยอายุ30

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เนตรอิศวร, 9 พฤศจิกายน 2012.

  1. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    *****พิจารณาก่อนท่านทั้งหลาย*****
    .....มีผู้มีอายุท่านหนึ่งด้วยเป็นผู้ศรัทธาในพระศาสนาครองตนเป็นอุบาสกท่านเป็นผู้มีอายุ๗๐ปีได้เข้ามาสนทนากับเราด้วยมีปัญหาที่ไม่เข้าใจ เราจึงสนทนากันดังต่อไปนี้.

    .....ท่านผู้มีอายุกล่าว: พระคุณท่าน เหตุใดพระคุณท่านถึงไม่ยอมให้หลวงตาที่มีอายุมากกว่าท่านนั่งเป็นพระอันดับที่เหนือกว่าท่าน ทั้งที่หลวงตาองค์นั้นก็เป็นผู้มีอายุมากกว่าท่านอยู่มาก.
    .....เรากล่าว:โยมตา.. แล้วโยมตากราบอาตมาด้วยเหตุใดกันล่ะ?.
    .....ท่านผู้มีอายุกล่าว: ที่ผมกราบท่าน ก็เพราะว่าท่านนั้นเป็นพระ ผมนั้นเป็นแค่อุบาสกท่านเป็นผู้มีศีลมากกว่าผม.
    .....เรากล่าว:โยมตา กราบพระเพียงด้วยพระเป็นผู้มีศีลมากกว่าเท่านั้นหรือ? แล้วโยมตารู้ได้อย่างไรว่าพระนั้นเป็นผู้มีศีลมากกว่าโยมตา.
    .....ท่านผู้มีอายุกล่าว: ผมก็ไม่รู้หรอกว่าพระจะมีศีลมากหรือมีศีลน้อย ผมเห็นว่าคนบวชแล้วครองผ้าเหลืองแล้วย่อมมีศีลมากกว่าอุบาสกอุบาสิกา.
    .....เรากล่าว: ถ้าอย่างนั้น โยมตาก็คงไม่ได้กราบพระด้วยเห็นว่าเป็นพระแล้วล่ะ ที่โยมตากราบพระก็ด้วยเห็นว่าพระครองผ้าเหลืองเพียงเท่านั้น โยมตา การกราบพระนั้นกราบที่ศีลนั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่การที่จะรู้ว่าพระนั้นมีศีลหรือไม่ ก็สมควรพิจารณาด้วยการปฏิบัติของพระว่า พระนั้นเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบหรือไม่ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั่นก็หมายถึง พระนั้นได้ครองตนอยู่ในศีลในธรรมของสงฆ์ดีแล้วหรือไม่ ธรรมของสงฆ์ก็คือการปฏิบัติและปริยัติ. ปฏิบัติ คือการครองตนอยู่ในหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ภิกษุควรปฏิบัติ ส่วน ปริยัติ นั้นก็คือ การศึกษาพระธรรมเพื่อการเผยแพร่พระธรรมคำสอนในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมุ่งหวังสอนให้ทุกคนเป็นคนดี และชี้ทางให้หลุดพ้นจากทุกข์ด้วยการชี้ทางในอริยะสัจทั้ง๔ คือ ทุกข์ ก็คือทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเป็นทุกข์ สมุทัย คือ เหตุอันเป็นที่มาแห่งทุกข์ นิโรธ คือ วิธีการดับทุกข์ และ มรรค คือ หนทางแห่งความพ้นทุกข์ ...อย่างนี้แลที่โยมตาสมควรกราบไหว้.

    *****ส่วนเรื่องที่โยมตากล่าวว่าทำไมอาตมาถึงไม่ให้พระที่มีอายุมากกว่านั่งเป็นพระอันดับหน้าเหนือกว่าอาตมา นั่นก็เพราะว่าเราอาตมานั้นเป็นผู้ที่ได้บวชก่อนมีพรรษามากกว่า ในพระธรรมวินัยสงฆ์แล้วผู้ที่บวชที่หลังย่อมต้องกราบผู้ที่บวชก่อนด้วยถือว่าเป็นผู้มีพรรษามากกว่าตน.
    .....ท่านผู้มีอายุกล่าว: แล้วพระคุณท่านไม่รู้สึกระอายบ้างหรือครับที่มีพระอายุมากกว่าท่านต้องมากราบท่าน ทั้งหลวงตาองค์นั้นก็เคยเป็นคนที่ท่านรู้จักเคยให้ข้าวให้น้ำท่านมาเมื่อครั้งพระคุณท่านยังไม่ได้บวช?
    .....เรากล่าว: โยมตา ...ในใจของเรานั้นก็ระลึกถึงพระคุณอยู่เสมอไม่เคยลืม แต่ด้วยพระธรรมวินัยนี้แล้ว และการปฏิบัติตนในพระศาสนนานี้หลวงตาท่านเองก็คงเข้าใจเพราะหลวงตาท่านเองก็เคยบวชมาก่อนหนหนึ่งเมื่อตอนท่านยังหนุ่มอยู่. ถ้าอย่างนั้นอาตมาขอถามโยมตาอย่างนี้ว่า ..." ระหว่างเด็กที่เกิดใหม่ กับโยมตา โยมตาว่าใครจะต้องกราบใครหรือ?
    .....ท่านผู้มีอายุกล่าว: ก็ต้องเด็กซิครับท่าน ท่านจะให้คนหัวหงอกไปไหว้เด็กได้อย่างไร.
    .....เรากล่าว:โยมตา ถ้าอย่างนั้น อาตมาขอถาม แล้วเพราะอะไรโยมตาถึงเห็นว่าโยมตาเป็นผู้มีอายุมากกว่าเด็กแรกเกิดกันล่ะ?.
    .....ท่านผู้มีอายุกล่าว: แหม..พระคุณท่านก็พูดเป็นเล่นไปได้ ก็เห็นๆอยู่ว่าผมอายุ๗๐แล้ว เด็กแรกเกิดอายุยังไม่ถึงขวบ แล้วพระคุณท่านจะให้ผมไปกราบเด็กได้อย่างไร ถ้าเป็นอย่างพระคุณท่านก็ไปอย่าง ที่ผมกราบท่านก็ด้วยท่านนั้นเป็นพระ.
    .....เรากล่าว: โยมตา อาตมาต้องขอโทษด้วยนะหากล่วงเกินโยมตา โยมตาต้องบอกอาตมาก่อนว่าโยมตาจะไม่โกรธเคือง.
    .....ท่านผู้มีอายุกล่าว: เชิญพระคุณท่านพูดมาเถอะครับ ผมไม่โกรธเคืองท่านหรอก ผมรู้จักท่านดี.
    .....เรากล่าว: ถ้าอย่างนั้น อาตมาขอถามว่าโยมตาเคยมีคนรู้จักที่อายุมากกว่าโยมตาที่โยมตารักและเครพที่โยมตาเคยกราบไหว้ได้เสียชีวิตไปแล้วบ้างไหม แล้วถ้าสมมุติว่าอาตมาพูดว่าคนที่โยมตาเคยรักและเครพคนนั้นเขาได้กลับมาเกิดเป็นเด็กทารกคนนี้ล่ะ โยมตา ยังจะกราบอยู่อีกไหม? (ท่านผู้มีอายุนิ่งเงียบ) ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น. โยมตา ผู้ที่ได้ออกบวชเป็นภิกษุก็เช่นเดียวกัน ก็เปรียบประดุจผู้ที่สละทางโลก แล้วมาเกิดใหม่ในทางธรรม ด้วยเหตุนี้ผู้ที่บรรพชาในพระธรรมวินัยนี้ก่อนก็ย่อมเป็นผู้ที่ถือว่าได้เกิดก่อน ส่วนผู้ที่ได้ออกบรรพชาที่หลังย่อมถือว่าย่อมเป็นผู้ที่ได้เกิดในพระธรรมวินัยนี้ที่หลัง เช่นเดียวกัน ฉะนั้นผู้ที่เกิดที่หลังก็หมายถึงผู้ที่มีพรรษาน้อยกว่า หรือแม้แต่บวชหลังกันเพียงแค่วันเดียว เขานั้นก็ย่อมที่จะต้องทำความนอบน้อมต่อภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าหรือภิกษุผู้บวชก่อนตนเพียงแค่วันเดียว ไม่ว่าจะด้วยธรรมเนียมปฏิบัติหรือจะด้วยจริยธรรมของพระวินัยนี้. เฉกเช่นเดียวกันกับเด็กทารกแรกเกิดกับโยมตานั่นแหละ ถึงแม้ว่าในอดีตชาติจะเคยเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า แต่เมื่อเปลี่ยนชาติภพแล้ว ก็ย่อมถือว่าเป็นผู้ที่ได้เกิดใหม่อาศัยร่างใหม่ อันโยมตาจะไปกราบไว้ก็จะเป็นเหตุผิดธรรมเนียมจริยะธรรม ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น. เหตุอย่างนี้แลเพื่อเป็นการปฏิบัติตามหลักในพุทธศาสนานี้ อาตมาจึงต้องนั่งเป็นพระอันดับที่อยู่เหนือว่าหลวงตาท่านที่เป็นผู้มีอายุ แต่สิ่งที่โยมตาท่านกล่าวมาก็มีเหตุผลอยู่ที่ว่าอาตมาไม่รู้สึกตะขิดตะขวนใจหรืออย่างไร อาตมาก็ตะขิดตะขวนใจอยู่เหมือนกัน เอาไว้อาตมาจะเข้าไปสอบถามหลวงพ่อท่านก่อนว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง.
    .....ท่านผู้มีอายุกล่าว:โอ้...พระคุณท่าน ผมเข้าใจความหมายของท่านแล้ว จริงๆแล้วท่านไม่ต้องทำอย่างนั้นหรอกครับ เพราะเดี๋ยวจะผิดทางสงฆ์ไป ท่านพูดมาวันนี้ผมได้ยินแล้วดีจริงๆ ผมก็ไม่เคยรู้มาก่อน ผมขอให้ท่านบวชอยู่ต่อไปนานๆนะครับท่าน บวชอยู่เป็นหลวงพ่อไปเลย (ก็มีเสียงโยมอุบาสกอีกคน พูดออกมาว่า " ถ้าหลวงพี่สึกนะหรอ เดี๋ยวผมจะเอาไม้มาดักรอ" แล้วก็หัวเราะ แล้วก็เดินไปกุฏิหลวงพ่อ ) ถ้าอย่างนั้นผมก็ขอตัวก่อนนะครับ ท่านจะได้พักผ่อน ผมขอกราบลาครับ.
    .....เรากล่าว: ตามสบายเถอะโยมตา พระก็ว่าจะไปเข้าโบสถ์อยู่เหมือนกัน.

    *****หลังจากวันนั้น เราก็ได้เข้าไปปรึกษาหลวงพ่อ ท่านก็แนะนำว่าให้เราไปปรึกษาภิกษุรูปอื่นว่าท่านจะยอมให้หลวงตาที่มีอายุได้นั่งอยู่ลำดับหน้าได้หรือไม่ ด้วยสุดท้ายภิกษุทั้งหลายกล่าวยินยอม ครั้งต่อๆมาเราก็จึงให้ภิกษุผู้มีอายุได้นั่งลำดับหน้าของเรา ด้วยเราเองก็สบายใจ และผู้ไม่รู้ทั้งหลายก็สบายใจ.
    .....ด้วยสิ่งที่เรานั้นได้บรรยายมานี้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ที่บวชก่อนในพระวินัยนี้ แม้จะเป็นผู้มีอายุในทางโลกมากกว่า แต่เมื่อมาบรรพชาแล้วย่อมถือว่าเป็นผู้เกิดใหม่ในพระ ผู้ที่ได้ออกบวชก่อนย่อมถือว่าเป็นผู้ที่ได้เกิดก่อน ผู้ที่บวชที่หลังย่อมถือว่าเป็นผู้ที่ได้เกิดที่หลัง ผู้ที่เกิดที่หลังไม่ว่าจะเป็นผู้มีอายุในทางโลกมากเพียงใดเขานั้นก็ต้องทำความนอบน้อมต่อภิกษุผู้ที่ได้บวชก่อนในพระวินัยนี้ ด้วยตนเองเป็นผู้ที่ถือว่าเป็นผู้มีพรรษาน้อยกว่านั้นเอง.
    *****เพื่อความเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย ที่ในบางครั้งที่ได้ไปทำบุญแล้วเห็นว่ามีภิกษุที่ดูมีอายุมากกว่าทำไมยังต้องนั่งลำดับหลังกว่าภิกษุที่ดูมีอายุน้อยกว่า และในบางครั้งอาจจะเคยเห็นภิกษุผู้ดูเหมือนมีอายุมากกว่า กราบภิกษุที่ดูเหมือนว่ามีอายุน้อยกว่า อันสิ่งที่เราบรรยายนี้ก็จะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายที่ยึดมั่นในพุทธศาสนานี้แล อันเราขออนุโมทนา.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2012
  2. โพธิบัลลัง

    โพธิบัลลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +21
    ท่าน เนตรอิศวรครับ แล้วท่านให้ภิกษุที่อ่อนพรรษากว่าท่านนั่งอยู่ลำดับหน้าท่านแล้วอย่างนี้ไม่ถือว่าผิดวินัยสงฆ์หรือผิดทำเนียมสงฆ์หรอครับ ผมขออนุญาติถามครับ
     
  3. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    *****พิจารณาก่อนเถิด ท่าน โพธิบัลลัง*****
    .....อันเรานั้นขอถามท่านด้วยว่า การที่มีผู้ทั้งหลายได้เป็นผู้ออกบวชแล้วนั้น เขานั้นมีจุดประสงค์เพื่อสิ่งใด? บางคนก็เพื่อศึกษาธรรมะ บางคนก็เพื่อหาทางแห่งความสงบสุขให้แก่ตน บางคนก็เพื่อค้ำจุนพระศาสนาให้มีความดำเนินเป็นไป บางคนก็เพื่อบำเพ็ญเพียรบารมีเพื่อความหลุดพ้น .....อย่างนี้แลหนอท่าน.
    .....เมื่อเราเป็นผู้ที่ได้เข้ามาบวชแล้วเรานั้นย่อมมีจุดประสงค์ในจิตใจของตนเอง การที่เราจะนั่งอยู่ในที่ใด เมื่อเราเห็นว่าเป็นการสมควรเราย่อมถือว่าสมควร แต่การที่เราจะทำสิ่งใดที่เราเห็นว่าไม่สมควรเราก็จะไม่ทำในสิ่งที่ไม่สมควรนั้น.
    .....กล่าวคือ ถึงแม้ว่าจะมีผู้ที่นั่งเหนือกว่าเรา ก็ไม่ได้หมายว่าเราจะกราบเขา และการที่ผู้ที่นั่งเหนือกว่าเราก็ไม่ได้ว่าเขานั้นจะมีจิตใจที่หมายลบหลู่เรา เมื่อการนั่งเป็นเพียงการนั่ง แต่ใจมิได้ลบหลู่ดูหมิ่นเราก็ถือว่าเป็นเพียงการนั่ง.
    .....เพราะด้วยความเป็นจริง เรานั้นก็ไม่ได้เป็นผู้กราบภิกษุผู้ด้อยพรรษากว่า หรือภิกษุผู้ด้อยพรรษากว่าท่านจะไม่ได้กราบเรา ก็เป็นปกติในพระวินัยโดยทั่วไป หากสงฆ์หมู่นั้นมีมัตติเห็นชอบแล้วก็ย่อมไม่เกิดสิ่งใดในการนั่ง แต่ในพระวินัยและแนวทางการบำเพ็ญเพียรทางใจเราก็ย่อมรู้.

    .....ฉะนั้นการที่เรายอมให้ภิกษุที่ด้อยพรรษากว่าได้นั่งเหนือกว่าเรานั้นเราเองก็ไม่ได้รู้สึกขัดข้องประการใด ด้วยเราขอมัตติสงฆ์ในอาวาสเดียวกันแล้วด้วยเห็นชอบแล้ว ก็ถือว่าสิ่งนั้นสงฆ์เห็นชอบแล้วจึงถือว่าอนุโลมได้ตามธรรมเนียม เพราะการปฏิบัตินั้นอยู่ที่ใจ ไม่ได้อยู่ที่การนั่ง อันเราขออธิบายไว้อย่างนี้แล ขออนุโมทนา.
     
  4. โพธิบัลลัง

    โพธิบัลลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +21
    ขออนุโมทนากับท่านครับ ไม่รู้ว่าท่านอยู่ที่ไหนครับ ผมอยากจะขอไว้เผื่อมีโอกาสได้เข้าไปสนทนาธรรมร่วมบุญกับท่านครับ
     
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สาธุ... อยากทราบเช่นกันครับ ถ้าอยู่ไม่ไกล จะหาเวลาเข้าไปกราบพระคุณเจ้าครับ
     
  6. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    *****ขออนุโมทนาท่านทั้งหลายที่ปราถนาร่วมบุญกุศลร่วมกับเรา.....ด้วยเรานั้นประจำอยู่วัดอาวาสในจังหวัดลพบุรี ท่านทั้งหลายเรานั้นก็ยังเป็นผู้ด้อยพรรษา หากท่านทั้งหลายไม่คิดปรามาสด้วยเราเป็นผู้ด้อยพรรษาอันเรานั้นก็ขออนุโมทนา แต่หากท่านใดหมายจะทดสอบธรรมอันเราก็ขอท่านทั้งหลายไว้ว่าอย่าได้เพียรพยายามเลย. เพราะเรานั้นมิได้เข้ามาเพื่อหวังการกระทำที่ไม่เป็นประโยชน์ อันเรานั้นเข้ามาก็เพื่อหวังการกระทำที่อันจะเกิดประโยชน์ หากท่านใดพิจารณาแล้วว่าเห็นสมควรสามารถนำไปให้เกิดประโยชน์ได้อันเรานั้นก็ขออนุโมทนา แต่สิ่งใดที่ท่านทั้งหลายเห็นว่านำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ก็ขอปล่อยวางเอาไว้เถิด. *****สนทนาธรรมก็เพื่อปัญญา ไม่ใช่ว่าจะมาอวดตนเองว่ามีปัญญาเหนือผู้ใด ผู้ใดเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนจนเกิดประโยชน์ได้ก็ถือว่าเป็นกุศล ผู้ใดเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์แก่ตนก็อย่าได้สร้างอกุศลให้เกิดแก่ตนเลย อันเรานั้นขออนุโมทนามาด้วยประการ ณ ฉะนี้แล.*****
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2012
  7. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    ...พระศาสดาได้บัญญัติไว้แล้วว่า
    ภิกษุให้ความเคารพกันที่จำนวน พรรษา ไม่ใช่ที่อายุทางโลก...และความเป็นอริยะบุคคล
    ***เช่น ภิกษุ ก.อายุพรรษา 5 พรรษาอายุทางโลก 40 ปีแต่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ต้องกราบไหว้ ภิกษุ ข. อายุทางโลก 70ปี พรรษาที่ 30 เป็นต้น

    ******
     
  8. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    เป็นเช่นนั้นแล...อย่าว่าแต่อายุทางโลกเลยน่ะครับ แม้แต่บวชเป็นภิกษุมหานิกาย จะญัตติเป็นธรรมยุต ก็ต้องมานับพรรษาใหม่ ลดทอนทิฏฐิเรื่องพรรษา กระผมเข้าใจจิตที่เป็นกุศลของท่าน แต่การกระทำเช่นนี้อาจจะเป็นการเพิ่มทิฏฐิแก่พระผู้บวชใหม่ซึ่งมีอายุทางโลกมากกว่า แล้วถ้ามีพระผู้บวชใหม่มีอายุทางโลกมากกว่าท่านมาบวชอีกท่านยังจะปฏิบัติเช่นนี้อยู่อีกหรือไม่
    ขอเสนอแนะจากผู้น้อยด้อยปัญญา...
     
  9. เนตรอิศวร

    เนตรอิศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2011
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +425
    *****พิจารณาก่อนเถิดหนอท่านผู้ใฝ่บุญ*****
    .....การนั่นนั้นเป็นเพียงการนั่ง สิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่ใจ ขนบธรรมเนียมมีไว้เพื่อหลักแห่งความเรียบร้อย การที่ผู้น้อยกราบผู้มีอายุนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง การที่ผู้ด้อยพรรษากราบผู้มีพรรษานั้นก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่การที่ผู้มีพรรษากราบผู้ด้อยพรรษากว่านั้นเห็นเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ดั่งเช่น มีภิกษุ15พรรษาแต่ไม่มีหน้าที่ในสงฆ์ ย่อมต้องนั่งเป็นพระลำดับรองจากผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสที่มีพรรษาเพียง10พรรษา ฉะนั้นในกรณีนี้ก็มีอยู่ทั่วไป.
    .....พิจารณาก่อนท่านผู้เจริญ การนั่งนั้นเป็นเพียงการนั่ง การเดิน การยืนนั้นเป็นเพียงกิริยา มันเป็นเรื่องภายนอกหามีความสำคัญไม่ สิ่งสำคัญนั้นคือจิตใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด.
    ....ส่วนเรื่องหากมีภิกษุที่มีอายุมากกว่าในวันข้างหน้าเราจะยอมให้นั่งลำดับหน้าหรือไม่ อันเราขอตอบว่าก็ขอให้เป็นกรณีและวาระไปแล้วแต่โอกาสนั้นๆว่าเป็นเช่นใดแล้วแต่ความสมควรในโอกาสนั้นๆ อันเรานั้นไม่สามารถตอบท่านได้ในเวลานี้ อันเราขออนุโมทนา.
     

แชร์หน้านี้

Loading...