วิธีสร้างสติอัตโนมัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย MindSoul1, 10 ตุลาคม 2012.

  1. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ความดำริออกจากกาม ความตรึกออกจากกาม

    องค์ธรรมคือ วิตก คือความตรึก ความพิจารณา

    ในวิปัสสนานั้น สำคัญมาก เพราะเป็นกุศลวิตก การพิจารณารูปนาม ขันธ์ ธาตุ วิปัสสนาภูมิต่างๆ

    เพื่อยังมรรคให้เกิด เพื่ออินทรีย์พละบริบูรณ์



    พระสูตรข้างต้นกล่าวถึง ฌาณ ทำฌาณ ฌาณกีฬา

    หมายถึง สมถะภาวนาก่อน วิปัสสนาทีหลัง

    ละวิตก วิจาร ปิติ สุข เอกคัตตา นี้ก็ว่ากันตามลำดับ เจริญรูปฌาณ ไปอรูปฌาณ

    ที่สุดแล้วไม่ว่าจะเอาสงบ ระงับแค่ไหน ก็ต้องหยั่งลงวิปัสสนาภูมิ

    พิจารณา อุปาทะขณะ ฐีติขณะ ภังคะขณะ
     
  2. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค


    โมคคัลลานสังยุตต์

    [๕๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหา-
    *โมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะ
    แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ขอ
    โอกาส เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ที่เรียก
    ว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้ ปฐมฌาน เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุใน
    พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติ
    และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน เราก็สงัด จากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่
    ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล
    พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
    โมคคัลลานะๆ เธอ
    อย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
    ขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัด
    จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้
    มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง
    อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า
    สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

    [๕๑๖] ที่เรียกว่า ทุติยฌานๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอ เรา
    ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่ง
    จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ
    สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าทุติยฌาน เราก็เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่ง
    จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ
    และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบ
    ด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์
    แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาททุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ใน
    ทุติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในทุติย-
    *ฌาน สมัยต่อมา เราเข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม
    เอกผุดขึ้น

    ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
    อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระ-
    *ศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
    คำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

    [๕๑๗] ที่เรียกว่า ตติยฌานๆ ดังนี้ ตติยฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความ
    คิดอย่างนี้ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
    นามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
    เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้เรียกว่าตติยฌาน เราก็มีอุเบกขา มีสติ มี
    สัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้า
    ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เมื่อเราอยู่ด้วย
    วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มี
    พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่า
    ประมาท ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ในตติยฌาน จงตั้งจิตไว้ในตติยฌาน สมัยต่อมา เรามีอุเบกขา มีสติ มีสัม-
    *ปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
    สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
    ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึง
    ความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอัน
    พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

    [๕๑๘] ที่เรียกว่า จตุตถฌานๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ เราได้
    มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
    เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ
    บริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าจตุตถฌาน เราก็เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละ
    สุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยสุขย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้น
    แล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ
    เธออย่าประมาทจตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรม
    เอกผุดขึ้นในจตุตถฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในจตุตถฌาน สมัยต่อมา เราเข้า
    จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
    ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูด
    ให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้
    ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรง
    อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

    [๕๑๙] ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้ อากาสานัญจายตน
    ฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้า
    อากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้
    เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการ
    ทั้งปวง นี้เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน เราก็เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย
    คำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสีย
    ได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วย
    วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยรูป สัญญาย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล
    พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ
    เธออย่าประมาทอากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน
    จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน
    อากาสานัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า
    อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้
    เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
    ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
    ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวก
    อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

    [๕๒๐] ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้ วิญญาณัญจายตนฌาน เป็น
    ไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าวิญญาณัญจายตน
    ฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
    เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าวิญญาณัญจายตนฌาน เราก็เข้า
    วิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสา
    นัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา
    มนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มี
    พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธอ
    อย่าประมาทวิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน จง
    กระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน
    วิญญาณัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณ
    หาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้
    มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง
    อนุเคราะห์ ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า
    สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

    [๕๒๑] ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้ อากิญจัญญายตนฌาน
    เป็นไฉนหนอเราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากิญจัญญายตน
    ฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
    เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน เราก็เข้าอากิญจัญญายตน
    ฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
    เสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอัน
    ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีภาคเสด็จเข้าไป
    หาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาท
    อากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็น
    ธรรมเอกผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน
    สมัยต่อมาเราเข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะ
    ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคล
    เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความ
    เป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา
    ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

    [๕๒๒] ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้ เนวสัญญา-
    *นาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย
    นี้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดย
    ประการทั้งปวง นี้เรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราก็เข้าเนวสัญญา
    นาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อ
    เราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้ง
    ซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ ตรัสว่า
    โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ใน
    เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญานา
    สัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สมัย
    ต่อมา เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
    เสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
    คำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคล
    เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
    ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

    [๕๒๓] ที่เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิๆ ดังนี้ อนิมิตตเจโตสมาธิ
    เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอนิมิตตเจโต
    สมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง นี้เรียกว่าอนิมิตตเจโตสมาธิ
    เราก็เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เมื่อเราอยู่
    ด้วยวิหารธรรมนี้ วิญญาณอันซ่านไปตามซึ่งอนิมิตย่อมมี ครั้งนั้นแล พระผู้มี-
    *พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่า
    ประมาทอนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงกระทำจิตให้
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ
    สมัยต่อมา เราเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดา
    ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้น
    กะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ

    [๕๒๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากพระวิหารเชตวัน
    ไปปรากฏในดาวดึงสเทวโลก เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขน
    ที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไป
    หาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้
    ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ
    ท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะ
    เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตาย
    ไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึง
    พระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก
    ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพ
    ตรัสว่า ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก
    เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย
    ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึง
    พระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก
    ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

    ...

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=6846&Z=7183&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2012
  3. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    วิปัสสนา ---> เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ขององค์ธรรม ของวิตก วิจาร ปิติ สุข ...
     
  4. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    [๕๑๖] ที่เรียกว่า ทุติยฌานๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอ เรา
    ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่ง
    จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ
    สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าทุติยฌาน เราก็เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่ง
    จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ
    และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบ
    ด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์
    แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาททุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ใน
    ทุติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในทุติย-
    *ฌาน สมัยต่อมา เราเข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม
    เอกผุดขึ้น

    นี่เป็นพระไตรปิฏกฉบับใหม่นะครับ
    ที่จริงต้องนำไปเทียบกับพระสูตรในส่วนของพระไตรปิฏกฉบับหลัก คือสยามรัฐ ก่อนด้วย เพราะคำพูดจะใช้ไม่ค่อยเหมือนกันสะเท่าไหร่ อย่างเช่นมีทั่งบัว4เหล่า กับ บัว3เหล่า ขัดกันบ้าง
    ถ้าพูดตามที่นำมาเเสดงให้
    ก็ดู ทุติยฌาน ดีๆสิครับ
    ก็ตรีสไว้เหมือนเดิม คือ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
    ธรรมเอกนี้คือความสงบที่เกิดขึ้นคืออุเบกขา

    เเต่ว่าพระองค์ก็ตรัสอีกว่า จงดำรงจิตไว้ในฌานนั้นให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นมาอีก นี่จะเห็นว่าเป็นธรรมเอกอีก1ส่วนที่เกิดขึ้น กลายเป็น มีธรรมเอก 2เอกชนกันอยู่ อย่างนี้จะเห็นได้ว่า ธรรมเอกอีก1ที่พระองค์ตรัสเเสดงให้พระสาวกก็ไม่ใช่อย่างที่ผมพูดไปเหมือนกัน ก็น่าจะเป็นในส่วนของสมาธิเเต่ละระดับ ที่พระองค์ให้เลื่อนขึ้นไปเรื่อยๆ มันก็มีหลายเเบบสมาธิภาวนา เป็นไปเพื่อสุข เพื่อญาณทัศนะ เพื่อสิ้นอาสวะ ก็จะตรัสไม่เหมือนกัน
     
  5. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    การที่เข้าไจเเบบว่า ธรรมเอกในส่วนของอุเบกขาที่ผุดมาได้นั้น มันจะผุดขึ้นมาทุกระดับสมาธิ ทั่ง9ระดับ นั้นก็เป็นไปไม่ได้อยู่ดี เพราะว่า อย่าง สัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อสมาธิก็ บงบอกอยู่เเล้วว่า สัญญากับเวทนาดับไป เพราะงั้น ผู้ที่เข้าถึง ระดับ9 มันไม่มีอะไรให้ผุดขึ้นมา มันมีเเต่ดับไป เรื่อยๆจนถึงระดับ9 เหลือเพียง1ขันธ์ ฉะนั้น จึงต้องออกจากสมาธิเเล้วเข้าสมาธิใหม่ ให้เห็นการเกิด-ดับ ในส่วนการสิ้นอาสวะ ก็เพื่อให้ดับไม่เหลือ นั่นธรรมเอกที่ผมหมายถึง ถ้าดูกันดีๆมันดับไปตั้งเเต่ระดับ5เเล้วด้วยซ้ำไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2012
  6. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาสังกัปปะ

    http://palungjit.org/tripitaka/default.php?cat=7700216

    (บาลีข้อ ๑๖๔)
    พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัมมาสังกัปปะ ต่อไป.

    สังกัปปะ (ความดำริ) ใด ออกจากกาม เพราะเหตุนั้น สังกัปปะนั้น
    จึงชื่อว่า เนกขัมมสังกัปปะ (ความดำริในการออกจากกาม).
    สังกัปปะใด

    ออกจากพยาบาท เพราะเหตุนั้น สังกัปปะนั้น จึงชื่อว่า อัพยาปาทสังกัปปะ
    * บางแห่งแสดงว่า เอาปลายขนทรายยินปลายขนทรายที่แบ่งแล้ว ๗ ส่วน.
    (ความดำริในการไม่พยาบาท).

    สังกัปปะใดออกจากความเบียดเบียน เพราะ เหตุนั้น สังกัปปะนั้น จึงชื่อว่า อวิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริในการไม่
    เบียดเบียน).

    บรรดาสังกัปปะทั้ง ๓ เหล่านั้น เนกขัมมวิตกเกิดขึ้นทำการตัดทาง
    คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของกามวิตก อัพยาบาทวิตกเกิดขึ้นทำการตัดทาง
    คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นทำการ
    ตัดทาง คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของวิหิงสาวิตก. อนึ่ง เนกขัมมวิตก
    เกิดขึ้นเป็นข้าศึกต่อกามวิตก อัพยาบาทวิตกและอวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นเป็นข้าศึก
    ต่อพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก.

    ในวิตกเหล่านั้น พระโยคาวจรย่อมพิจารณากามวิตก ก็หรือสังขาร
    ไร ๆ อื่น เพื่อทำนายทางของกามวิตก ต่อจากนั้น ความดำริของเธอซึ่ง
    สัมปยุตด้วยวิปัสสนาในขณะแห่งวิปัสสนาก็จะเกิดขึ้นทำการตัดทาง คือทำลาย
    ทางของกามวิตก ด้วยสามารถแห่งองค์ของวิปัสสนานั้น (ตทังคปหาน) เธอ
    ขวนขวายวิปัสสนาก็จะบรรลุมรรคได้ ลำดับนั้น สังกัปปะ (ความดำริ) ซึ่ง
    สัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของเธอก็จะเกิดขึ้นทำการตัดทาง คือทำลาย
    เครื่องดำเนินของกามวิตก ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉท. อนึ่ง พระโยคาวจรย่อม
    พิจารณาพยาบาทวิตก หรือสังขารอื่น เพื่อทำลายทางของพยาบาทวิตก หรือ
    ย่อมพิจารณาวิหิงสาวิตก หรือสังขารอื่น เพื่อทำลายทางของวิหิงสาวิตก ต่อ
    จากนั้น พึงประกอบคำทั้งปวงในขณะแห่งวิปัสสนาของเธอ โดยนัยมีในก่อน
    นั่นแล.
     
  7. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อกุศลฌาน [โคปกโมคคัลลานสูตร]
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=14&item=106
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 ตุลาคม 2012
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ดีละดีละ

    นี้จะเป็นมาติกาในเรื่อง. พินาธรรมในธรรมต่อไป

    ป๋าเปรม จะพึงยินดี ที่มีบัณฑิตมาอยู่ด้วย
     
  9. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    สัลเลขสูตร

     
  10. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ที่จริงนั้นเรื่องฌานไม่น่าคิดว่าสูงอะไรขนาดนั้น การที่พระองค์พูดเเต่ฌานนั้น ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า เพราะพระองค์ไม่ได้พูดสมาธิอะไรที่ต่ำกว่าฌาน เเละสัมมาสมาธิเเห่งความขยายมรรคองค์8 ก็มีเพียง9ระดับเท่านั้น เพราะงั้นถ้าสมณะหรือพรามหณ์เหล่าอื่น พูดเกียวกับสมาธิเมื่อไหร่ ก็พูดถึงเเต่ฌาน สมัยนั้นจะไม่มีเช่นอุปจารสมาธิอย่างสมัยนี้ เพราะงั้น ก็ต้องการพูดไปว่า ฌานสมาธิที่ยังไม่ได้บรรลุถึง ยังไม่สงัด อย่างอกุศลธรรมยังไม่ดับ นิวรณืยังไม่ดับ ก็อาจจะเรียกได้ เเต่ที่สุดเเล้วฌานของพระพุทธเจ้านั้นอกุศลธรรมทั่งหมดต้องดับ ไม่งั้นไม่ได้เรียกว่าฌาน ถ้าเกิดยังมีความเข้าใจผิดๆอยู่ ก็จะเห็นฌานนั้นสูงเกินจนมองไม่เห็น ที่จริงเเล้วนั้น เพียงสงัดจากกามเเละอกุศลธรรมทั่งหลาย ก็คือสมาธิที่ไม่มีอกุศลธรรม เเละ นิวรณ์


    ส่วนอีกเรื่อง ใครก็พูดได้เรื่องฌาน ขนาดเป็นเพียงปุถุชนธรรมดา ก็เข้าฌานได้สบาย เเต่ก็ยังไม่รอดพ้นไปจากนรกกำเนิดเปรตวิสัย ก็เห็นเป็นเพียงเครื่องอยู่สุขในปัจจุบันเท่านั้น อนาคตมันก็อยู่ที่ปัจจัยที่กระทำ
    การอธิบายฌานนั้นก็มีหลายเเบบ ก็อย่างที่เห็นง่ายๆสุด คือ เครื่องอยู่สุข กับ เครื่องอยู่สงบ
    มุมมองมันก็ครายๆกัน เเต่ว่าเข้าใจในฌานนั้นต่างกัน ซึ่ง ปุถุชน ก็มองเห็นอยู่ว่ามันสุข เเต่ก็ไม่รู้วิธีปฏิบัติว่าต้องทำอย่างไรบ้าง สิ้นอาสวะด้วยฌานโดยวิธีใดบ้าง เพราะเมื่อยังไม่เข้าใจ ก็จะเข้าใจเพียงว่ามันคือเครื่องสุขเชยๆ มันอารมณ์เป็น1 วิปัสสนาไม่ได้ ซึ่งจริงๆ พระองค์ก็บอกสาเหตุว่าก็คือยังไม่ได้มาสดับไง เเต่ถ้า ได้เข้าใจธรรมพระองค์ ถึงยังไม่บรรลุในปัจจุบัน ก็จะไปปรินิพพานในภพต่อไป ส่วน นรก เปรตวิสัยก็สิ้น ปิดไป
    เพราะงั้นการที่อกุศลธรรมไม่มี ตามเเบบฉบับด้วยการสิ้นอาสวะด้วยปฐมฌานบ้าง ซึ่งอกุศลธรรมทั่งหลายดับไปเเล้ว มันก็เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจตามได้เหมือนกัน


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
    บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
    มีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น
    ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม
    เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
    ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว

    ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง

    ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ
    ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
    ระหว่าง อริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือในเมื่อคติอุบัติมีอยู่
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มรรค มันมี หนึ่งเดียว

    ไอ้ประเภทมา โอเคนะครับ แต่ กลายเป็นว่า มรรคมีหลายมรรค แบบนี้
    เขาเรียกว่า ภาวนายังไม่ถึงไหนแล้วสู่รู้

    สติ บ้านใครให้ไป จ้องแต่ไอ้สิ่งโสโครกกันเล่า เขามีแต่ เห็นกุศลที่
    ปราณีตขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วก็ปล่อยไปเรื่อยๆ ก็กุศลยังเอาสติระลึกเพื่อ
    ปล่อย แล้วจะไปนั่ง งมโข่ง อะไรอีก

    เนี่ยะ ภาวนาให้มันเห็นทางสิคร้าบ แล้ว จะเลิกกล่าวอธิบาย สติ แบบ
    คนภาวนาไม่เอาไหนไปเลย

    ป่านนี้แล้ว ยังพูดจาประหลาดๆ " (กุศลก็หมั่นเจริญแต่ไม่ยึด) "

    ไม่ยึดแล้ว ทำไมกล่าวเป็นเรื่อง สะสม ไปเสียหละ

    ไม่ยึดแล้ว ทำไมกล่าวเป็นการ เอาน้ำดีไปเติมให้เต็มหละ

    คนละเรื่องแล้ว !! สติ มีหรือเปล่า ถามจริง

    ***************

    "ฉลาดอยู่" มันเป็นเรื่องในการ ฉลาดระลึก มีสติ ระลึกในกุศล เนืองๆ
    ทำให้เข้า ออก เมือไหร่ก็ได้ เพียงแค่ น้อมนึก ระลึกถึง

    "ฉลาดอยู่" แบบ สะสม นู้นไป ไปคลอง10 นู้น ไปถวาย ส้มตำไก่ย่างให้นกยูงนู้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2012
  12. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337

    ที่จริงเเล้วการมีสติอัตโนมัติอะไรมันไม่มีหรอก ถ้ามันอัตโนมัติจริงๆงั้นเราก็ไม่รู้ตัวสิว่ามันเกิดขึ้นตอนไหน สติเนี่ยไว้ใช้ในการระลึกได้ เเต่มันก็ขึ้นอยุ่ว่าเราจะระลึกถึงอะไร ในส่วนของกุศล หรือ อกุศล การระลึกชอบหรือสัมมาสติ พระองค์ก็ตรัสไว้เเล้วว่าควรระลึกถึงอะไร ที่เทียวของจิตควรไปที่ไหนเเละไม่ควรไปที่ไหน มันก็ขึ้นอยู่ว่าจะทำถูกหรือเปล่า หรือจะมีจิตไปจดจ่อกับอกุศลนำเป็นเครื่องอยู่ นำเป็นเครื่องพิจรณา นั้นก็ผิดหลักการอยู่เเล้วตามหลักการหลุดพ้น เพราะมันคือบาปอกุศลทางใจ ที่มันให้ผลเเรงอยู พระองค์ถึงได้เเนะนำให้อยู่อย่างเสาเขื่อนเสาหลัก เพื่ออกุศลที่เกิดขึ้นก็ดับไป ส่วนที่ยังไม่เกิดก็พยายามไม่ให้มันเกิดขึ้นมาอีก ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องที่ดีอะไร

    ดูอย่างในส่วนของปัญญา ของความขยายเเห่งอริยมรรคองค์8

    ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! การละทิ้งความคิดในทางกาม,
    การละทิ้งความคิดใน ทางพยาบาท, การละทิ้งความคิดใน
    ทางเบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

    ^
    พระองค์ให้ละ

    เเละดูในส่วนของสมาธิ ของความขยายเเห่งอริยมรรคองต์8

    ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมปลูก
    ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร
    ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้น
    แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ที่ยังไม่ได้บังเกิด;
    ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร
    ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรม
    ทั้งหลายอันเป็นบาป ที่บังเกิดขึ้นแล้ว; ย่อมปลูกความพอใจ
    ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
    ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
    ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม
    ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้
    เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น
    ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรม
    ทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว, นี้เราเรียกว่า สัมมาวายามะ.

    ^
    ก็คือสัมมัปปธาน4 เพราะงั้นจะเห็นว่า เราไม่ควรยุ้งกับอกุศล เเต่ให้เพียรละ ไม่ใช่ให้จิตจดจ่อ เห็นอกุศลดับไป เเต่ให้ไปเห็นการเกิดของสัจจะที่ระเอียดกว่า ระงับ เเละ ปราณีตกว่า คือ อุเบกขา เเทน
     
  13. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496

    วันนั้นเข้าเว็บ E-Tipitaka | Search ไม่ได้ค่ะจึงไปคัดลอกจากที่
    เว็บ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka...83&pagebreak=0
    แต่ Mind เคยเทียบดูหลายพระสูตรก็ตรงกันทุกตัวอักษร และตรงท้ายข้างล่างของเว็บก็มีบอกไว้ว่า อ้างอิงมาจากพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐค่ะ

    ส่วนเรื่องธรรมเอกผุดมีขึ้นได้ในฌานต่างๆนั้น Mind เคยฟังพระอาจารย์คึกฤทธิ์เทศน์ว่า สามารถบรรลุธรรมได้ตั้งแต่ปฐมฌาน
    แล้วแต่อินทรีย์ภาวนาของใครจะไปบรรลุที่ฌานไหน ตามเหตุปัจจัยของแต่ละคน และการเห็นธรรมเอกผุดนั้นก็ตามเหตุปัจจัยของแต่ละคนเช่นกัน
    ท่านเทศน์ไว้หลายเรื่องค่ะ แต่จำไม่ได้ว่าเทศน์ที่ไหนเมื่อไหร่ ถ้าหาเจอจะนำมาลงไว้แล้วกันนะคะ

    ยังงัย ลองพิสูจน์ด้วยตัวเองก็ดีค่ะ อิๆ
     
  14. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    สติอัตโนมัติ เป็นเพียงบัญญัติใช้เรียกสภาวะหนึ่ง เพื่อใช้สื่อสารกันให้เข้าใจตรงกันเท่านั้นเองค่ะ

    สภาวธรรมใดเกิดขึ้น ก็เพียงรู้ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วปล่อยวาง
    มันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน ตามเหตุปัจจัย
    ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของของใคร เป็นเพียงเครื่องระลึกรู้
    มีกายคตาสติเป็นเครื่องอยู่
     
  15. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนาได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่

    ภิกษุ ท.! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และ
    เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนาโดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากซึ่งฌานทั้งสี่
    อันประกอบในจิตอันยิ่ง
    เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม,

    ในกาลใด; ภิกษุ ท.! ในกาลนั้น
    อริยสาวกนี้เรียกได้ว่า เป็นผู้ที่มารอันมีบาปกระทำอะไรไม่ได้.

    ภิกษุ ท.! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
    มีเสาระเนียดอันมีรากลึก ฝังไว้ดีไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน
    สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก
    , นี้ฉันใด ;

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีสัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
    "แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.... ฯลฯ
    .... เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำ แนกธรรม"
    ดังนี้,

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้ มีสัทธาเป็นเสาระเนียด ย่อมละอกุศล
    เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ
    บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน :
    นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หนึ่ง.

    :cool:

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
    มีคูรอบ ทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายในและ
    ป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
    ละอายต่อการถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย,

    ภิกษุ ท.! อริยสาวก ผู้มีหิริเป็นคูล้อมรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
    ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษบริหารตนให้หมดจดอยู่,
    ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สอง.

    :cool:

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
    มีเชิงเทินเดินรอบ ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายใน
    และป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต
    มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อความถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะเป็นเชิงเทินเดินรอบ ย่อมละอกุศล
    เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญ กรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่,
    ฉันนั้นเหมือนกัน : นื้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สาม.

    :cool:

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
    มีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัวและประหารไกลตัว
    สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ,
    ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งานในสุด
    ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
    พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญ ชนะ, ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น
    อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
    ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่,
    ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.

    :cool:

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
    มีกองพลประจำ อยู่เป็นอันมาก คือกองช้าง กองม้า กองรถ กองธนู
    กองจัดธงประจำ กอง กองเสนาธิการ กองพลาธิการ กองอุคคโยธี
    กองราชบุตร กองจู่โจม กองมหานาค กองคนกล้า กองโล้ไม้ กองเกราะโล้หนัง
    กองทาสกบุตร สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;

    ภิกษุ ท.! อริยสาวก มีความเพียรอันปราภแล้ว เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย
    เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง
    ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย,

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้ มีวิริยะเป็นพลกาย ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
    ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่.
    ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่ห้า.

    :cool:

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
    มีนายทวารที่เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา ห้ามเข้าแก่คนที่ไม่รู้จัก
    ให้เข้าแก่คนที่รู้จัก เพื่อคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาอย่างยิ่ง
    ระลึกถึง ตามระลึกถึงซึ่งกิจที่กระทำ และคำที่พูดแล้วแม้นานได้,

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้ มีสติเป็นนายทวาร ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
    ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่
    ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หก.

    :cool:

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
    มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง สมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ
    เพื่อคุ้มภัยในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา
    เป็นเครื่องถึงธรรมสัจจะแห่งการตั้งขึ้นและการตั้งอยู่ไม่ได้ อันเป็นอริยะ
    เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ,

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้มีปัญญาเป็นความสมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ
    ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ
    บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน :
    นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่เจ็ด.

    อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้แล

    - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔.

     
  16. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ก็ดูพระสูตรเองละกัน
    เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน
    เป็นเครื่องผ่องใสใจในภายใน ให้สมาธิเป็น
    ธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
    อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่


    ความว่า ธรรมอันเอกนี่ผมหมายถึง อะไร? ก็คือต้องสงัดจาก วิตก วิจาร ใช่มั้ยงั้นถ้าเกิดทุกสมาธิมีธรรมเอกเเบบที่คุณบอกมา ความหมายเดียวกับผม พระองค์ก็ต้องตรัสสิครับว่าธรรมเอกผุดขึ้นมาตั้งเเต่ปฐมฌานขั้นเเรก เเต่พึ้งมาผุดสมาธิตอนไหน? คือตอนทุติยฌาน ผมถึงให้คุณดูพระสูตรดีๆไง มีธรรมเอก 2เอกชนกันอยุ่ เพราะงั้นธรรมเอกอีก1ส่วน ที่เริ่มตั้งเเต่ปฐมฌานที่คุณยกมา นั่น ก็คือธรรมเอกของการทำให้เเจ้งทั่งวิชา3เเละวิมุตตินั่นละ

    เเล้วลองดูคำว่า อันเกิดจากสมาธิ นั่นพูดถึงปฐมฌาน เพราะปฐมฌานนั้นพึ่งเป้นสมาธิระดับที่1 เพราะงั้นถ้าไปดูระดับ3 จะเขียนว่าเกิดจากอุเขกขา
    จะเข้าใจว่า ธรรมเอกที่ผมหมายถึงคือธรรมอุเบกขาที่เกิดขึ้น ที่พึงเกิดจากการละวิตก วิจาร มีสมาธิที่สงบขึ้น
     
  17. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ภิกษุ ท.! อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก
    ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่
    อันประกอบในจิตอันยิ่ง
    เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
    เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุ ท.!
    เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
    มีหญ้าไม้และน้ำ สั่งสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว
    อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
    นี้ฉันใด;
    ภิกษุ ท.! อริยสาวก สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน
    อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี
    ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน
    เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีข้าวสาลี
    และข้าวยวะสะสมไว้เป็นอันมาก
    เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว
    อยู่เป็นผาสุกในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
    นี้ฉันใด;
    ภิกษุ ท.! อริยสาวก เพราะความเข้าไปสงบระงับแห่งวิตกและวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน
    อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
    ไม่วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี
    ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน
    เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอปรัณณชาติ
    คืองา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส เป็นต้น สั่งสมไว้เป็นอันมาก
    เพื่อความยินดี
    ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
    นี้ฉันใด;
    ภิกษุ ท.! อริยสาวกเพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา
    มีสติและสัมปปชัญญะและย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย อันชนิดที่พระอริยเจ้า
    กล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข ดังนี้
    เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุกแห่งตน
    เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเภสัชสั่งสมไว้เป็นอันมาก
    คือ เนยใส เนยข้น น้ำ มัน น้ำ ผึ้ง น้ำ อ้อย และเกลือ เพื่อความยินดี
    ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,
    นี้ฉันใด;
    ภิกษุ ท.! อริยสาวก เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัส
    และโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน
    เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
    มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี
    ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุกแห่งตน
    เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.

    อริยสาวก
    เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบากซึ่งฌานทั้งสี่
    อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้แล.

    ภิกษุ ท.! อริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้
    และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนาได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบากซึ่งฌานทั้งสี่
    อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้ด้วย, ในกาลใด ;
    ภิกษุ ท.! ในกาลนั้น
    อริยสาวกนี้ เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มารอันมีบาปกระทำอะไรไม่ได้.

    - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔.

    (กายนี้ ได้ชื่อว่า กายนคร เพราะมีอะไร ๆ ที่ต้องจัดการรักษาป้องกันเหมือนกับนคร.
    กายนครนี้มีมารคอยรังควาญอยู่ตลอดเวลา ; เมื่ออริยสาวกประกอบอยู่ด้วยสัทธรรมทั้งเจ็ด และมีฌานทั้งสี่เป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกแล้ว มารก็ทำอะไรไม่ได้ จัดเป็นภายนคร
    ที่ปลอดภัย ด้วยข้อความเป็นอุปมาอุปไมยอย่างไพเราะมาก แห่งพระบาลีนี้).

     
  18. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ^

    ธรรมเอกผุดขึ้นมาสมาธิขั้นไหนครับ
     
  19. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    กระทู้นี้ เจ้าของกระทู้จะไม่กดอนุโมทนาให้กับใคร
    เพื่อลดการเกิด ภพ ชาติ ค่ะ :cool:

    ********

    ภิกษุทั้งหลาย !
    คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด

    ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    แม้มีประมาณน้อยชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้

    -เอก. อํ. 20/46/203.
     
  20. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ไปสืบค้นหาในพุทธวจนเถิดนะคะ

    อย่ามาสืบค้นกับ รูป-นาม อันไม่เที่ยงนี้เลยค่ะ อิๆ

    จะช่วยค้นหาพุทธวจนแล้วกันนะคะ เจอเมื่อไหร่จะนำมาแชร์นะคะ อิๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...