วิธีสร้างสติอัตโนมัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย MindSoul1, 10 ตุลาคม 2012.

  1. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    มีสติ แต่อย่าตามความคิด

    อัคคิเวสนะ ! …ครั้นภิกษุประกอบพร้อมด้วยสติ สัมปชัญญะแล้ว

    ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า “มาเถิดภิกษุ ! เธอจงเสพเสนาสนะอันสงัด
    คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หรือลอมฟางเถิด” ดังนี้.

    ---

    ภิกษุนั้นย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด

    ครั้นก้าวกลับจากบิณฑบาต ในกาลเป็นปัจฉาภัต
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

    เธอย่อมละอภิชฌาในโลก
    มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌาอยู่

    ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท
    เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาทอยู่

    ละถีนมิทธะ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ
    มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีสติสัมปชัญญะ คอยชำระจิตจากถีนมิทธะอยู่

    ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะอยู่

    ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้
    ไม่ต้องกล่าวถามว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉาอยู่

    ---

    ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ 5 ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว
    เธอเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่
    …มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
    …มีปกติ ตามเห็นจิตในจิตอยู่
    …มีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก

    ---

    ตถาคต ย่อมแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า

    มาเถิดภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกายอยู่
    แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับกายเลย ( มา จ กายูปสญหิตํ วิตกฺกํ วิตกฺเกสิ )

    มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
    แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับเวทนาเลย

    มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นจิตในจิตทั้งหลายอยู่
    แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับจิตเลย ;

    มาเถิด ภิกษุ ! เธอจงเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
    แต่อย่าตรึกซึ่งวิตกอันเข้าไปประกอบอยู่กับธรรมเลย” ดังนี้

    ภิกษุนั้น เพราะเข้าไปสงบระงับเสียได้ ซึ่งวิตกและวิจาร จึงเข้าถึงทุติยฌาน
    อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
    ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่

    ( แล้วได้ตรัสถึง ตติยฌาน …จตุตถฌาน
    …ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ …จุตูปปาตญาณ …อาสวักขยญาณ
    จนกระทั่ง วิมุตติญาณ ตามหลักที่มีกล่าวอยู่ในบาลีทั่วๆไป ที่กล่าวถึงเรื่องนี้ )

    ---

    - ทันตสูตร อุปริ. ม. 14/268 – 270/396 – 401.
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไม่ได้ว่า จขกท นะครับ แต่ เห็นมาเยอะ ว่า

    สติอัตโนมัติ นั้น ถ้าคนไม่รู้ คนไม่รู้จริง ก็ไม่มีทางเข้าใจได้

    หรือ สอนผิดๆ ได้ เพราะความไม่รู้ว่า สติอันโนมัติ คืออะไร


    แต่ไปตีความเข้าใจผิด ๆ ตามความเห็นของตนเอง


    สติอัตโนมัติ เป็นของ พระอรหันต์ ครับ จขกท.


    วิธีสร้างสติอัตโนมัติ ต้องเป็น พระอรหันต์ ครับ


    สติอันโนมัติ ของ พระอรหันต์ เป็นอย่างไร

    พูดง่ายๆ นะครับ

    คุณอยู่ในป่า มองไปที่พื้น เบื้องหน้า ที่โรยด้วยกรวดเต็มพื้นไปหมด

    หินทุกก้อน กรวดทุกก้อน ที่เห็นนั้น ในการชายตามองแค่ แวบเดียว

    สามารถจำได้หมด ว่า กรวดก้อนไหน อยุ่มุมไหน ตำแหน่งไหน

    มีหินกี่ก้อน มีกรวดกี่ก้อน สามารถ ที่จะ บอกได้หมด อย่างละเอียด

    รูปร่างไหน ทรงไหน มีกี่เหลี่ยม ในแต่ละ ก้อนกรวดเม็ด แต่ละเม็ด นั้น

    สติ สามารถ จับได้หมด ครับ

    นี่คือ สติอัตโนมัติ ของ พระอรหันต์ เป็นแบบนี้ ครับ


    ขนาดเรียกได้ว่า ถ้าใครได้อ่านที่ผมบอก นี้ คงคิดว่า เวอร์ ไม่มีทางเป็นไปได้หรอกมั้ง



    ถามว่าผมรู้ได้อย่างไร

    พระอรหันต์ เทศน์ให้ฟังครับ ว่า สติอัตโนมัติ ละเอียดขนาดไหน เป็นอย่างไร


    ถ้าแค่เป็นผม คนธรรมดา มองแค่ แววเดียวนะ หิน หรือ กรวดแค่ 10 เม็ด ก็ยังจำไม่ได้เลย ว่ามีอะไร บ้าง


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2012
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ)
    วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    • สติเป็นของสำคัญ

    เวลามันตั้งไม่ได้อยู่ในวงใน ก็ให้มันอยู่ในวงกาย
    ไม่ได้หนีจากนี้ เป็นสัมปชัญญะอยู่ในนี้

    ระลึก เป็นที่ เป็นฐาน เป็นจุด เป็นต่อม นี่เรียกว่าสติ

    ความระลึกรู้อยู่ทั้งตัว ความรู้ตัว ซ่านไปหมดในตัวนี้ เรียกว่าสัมปชัญญะ

    รู้พร้อม รู้รอบ นี้แหละที่จะไปรวมตัวให้เป็นกำลังขึ้นมา
    กลายมาเป็นมหาสติขึ้นมาได้ เพราะอันนี้รวมตัว

    ถ้าเป็น มหาสติ แล้วตั้งไม่ตั้ง ....มันก็รู้

    มหาสติมหาปัญญาคือปัญญาที่ทำงานภายในตัวเอง โดยไม่ต้องถูกบังคับขู่เข็ญใดๆ นั้น เป็นปัญญาที่ควรแก่การรื้อภพรื้อชาติ ได้อย่างมั่นเหมาะ ไม่มีอะไรสงสัย


    • ท่านใช้ชื่อว่ามหาสติมหาปัญญา
    ก็ไปตั้งแต่ปัญญาล้มลุกคลุกคลานนี้แล
    จนกลายเป็นมหาสติมหาปัญญาขึ้นมาได้
    เพราะการฝึกการอบรมอยู่โดยสม่ำเสมอหนุนกันไปเรื่อย
    พิจารณาเรื่อยจนมีกำลังแล้วกลายเป็นอัตโนมัติขึ้นมา



    (คัดลอกบางตอนมาจาก : ธรรมวิสุทธิ์ ใน “มหาสมัยในปัจจุบัน”
    โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี)
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สติอัตโนมัติ


    สติมันจะเกิดโดยสัจจะ แล้วถ้าคนมีสตินะ

    เวลาโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรคนี้มันใช้สติ

    แล้วถ้าคนเป็นพระอนาคามีนี้มันจะเห็นมหาสติ

    ถ้าคนไม่มีมหาสติ จะเป็นพระอนาคามีไม่ได้

    พระอนาคามีอย่างน้อยต้องมีมหาสติมหาปัญญา

    แล้วเป็นพระอรหันต์นี่มันจะมีสติอัตโนมัติ ​



    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

    ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
    ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
     
  5. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    เริ่มตั้งแต่ดำเนินไปเพื่อโสดาปัตฏิมรรคแล้วนะครับ

    แต่ไม่ใช่มหาสติมหาปัญญาแบบ(พระอนาคามี และพระอรหันต์ อันนี้ฟังจากเทศน์หลวงตา)

    เราฝึกในช่วงแรกที่สติตัวจริงๆเกิด แรกๆจะรู้ได้น้อย
    แต่ถ้ามีความเพียรเอาจริงในการปฏบัติและต้องอึด อดทนให้มาก

    ไม่ใช่เล่นๆ เหลาะๆ แหละๆ และต้องอ่อนน้อม ถ่อมตน ต่อธรรม
    เป็นผู้เริ่มต้นใหม่เสมอ ยอมเปลี่ยนตัวเองจาก กูเก่ง เป็นคนโง่ต่อธรรมทุกเวลา

    ฝึกไปเรื่อยสติจะรู้สภาวะธรรมได้มากขึ้น

    อันที่ยากคือหลงไปคิดแล้ว รู้ว่าหลงแล้วเกิดสติ จิตตื่นขึ้นมาได้

    ตัวโมหะน่ะรู้ทันได้ยากที่สุด ก่อนจะเกิดกิเลสตัวอื่นมันต้องมีโมหะยืนพื้นก่อน
    นักปฏิบัติถ้าทันตัวนี้จะเริ่มได้ทางปฏิบัติอย่างแท้จริง

    ถ้าเริ่มรู้ทันความหลง บ่อยขึ้น สติจะเริ่มเกิดเองโดยไม่ต้องบังคับ

    แล้วถ้านักปฏิบัติที่คอยรู้อริยาบททั้งสี่ ยืน เดิน นั่งนอน ขยันเดินจงกรม
    คอยมีสติรู้กาย - ใจ

    พอจิตเป็นอัตโนมัติ มันจะไม่เลือก สาย กาย เวทนา จิต ธรรมแล้วครับ

    บางทีระลึกรู้เวทนา บางทีหลงไปคิดแล้วรู้ จิตก็กลับมาตั้งมั่นรู้ร่างกายอยู่

    ไม่ว่าจะขยับนิ้ว ขยับขา แขน เกิดผัสสะทางกาย จิตก็จะระลึกรู้ตื่นได้ทั้งวัน

    มาถึงตรงนี้การปฏิบัติจะเหมือนกับสบายขึ้น จะรู้สึกว่าที่ยอมเหนื่อยฝืนกิเลสพาตัวเองปฏิบัติมา

    เริ่มได้รับความสบาย ที่หลือก็คอยรักษาศีล รักษาความเพียรไม่ให้ตก

    สร้างบารมีอย่างอื่นไป อย่าขี้เกียจภาวนา

    จิตจะเริ่มเดินไปได้เอง เราไม่ต้องเหนื่อยเหมือนตอนปฏิบัติใหม่

    แล้วจะมีความสุขอยู่ทั้งวัน

    สติเกิดทีจิตก็สงบตั้งมั่น มีความปิติสุข ยิ่งถ้าช่วงใหนจิตพลิกเป็นปัญญาได้

    ยิ่งสงบสุขมาก แต่มันต้องเสื่อมเป็นวงรอบของมัน ถ้าสื่อมก็ไม่ท้อ
    ป่วยก็ปฏิบัติ ขี้เกียจก็ต้องฝืน อย่ายอมกิเลสเด็ดขาด

    จิตมันจะเริ่มเดินปัญญาไปได้เอง ความทุกข์มันจะเริ่มหายไปเยอะแล้ว
    ไม่ใช่ว่าต้องได้โสดาปัตฏิผลก่อนค่อยเบาบางลง

    แต่อัตตาจะเริ่มเบาลงตั้งแต่ เริ่มมีสติปัญญาเกิดแล้วครับ

    ปฏิบัติไปอย่าท้อถึงเวลาอิ่มพอเขาจะพอเอง

    ธรรมบารมีต้องใช้เวลาสั่งสมหลายชาติ นานมาก
    บางคนอาจเพิ่งเริ่มปฏิบัติแต่มี อินทรีย์แก่กล้า สะสมมานานหลายภพหลายชาติ

    อาจปฏิบัติได้เร็ว เพราะฉนั้นนักปฏิบัติที่ดีต้องไม่ดูแคลนกัน

    งูพิษ ถึงจะเป็นลูกงูแต่ก็มีพิษจะประมาทกันไม่ได้

    ผู้ยังอินทรีย์อ่อนก็เพียรกันไป

    หลักง่ายๆคือ ต้องทำตนให้เป็นผู้ปฏิบัติใหม่อยู่เสมอ ทำลายตัว กูเก่งๆ ลง

    ผมเองก็ขอตัวไปดัดสันดานตัวกูเก่งก่อนแล้วนะครับ

    แลกเปลี่ยนกันนะครับ ธรรมะสวัสดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2012
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สาธุๆๆ...

    จากที่เคยเจอมา... พอสติเริ่มเกิดแล้ว ถ้าเราไปยอมตามกิเลส อันนี้เป็นตัวทำลายสติชั้นเลิศ สภาวะจะตกเร็วมากครับ...
     
  7. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    ครับ..ถอยยาวเลยครับ

    กว่าจะมาได้แต่ละก้าว ยอมรับมากกับคนที่จิตใจเด็ดเดี่ยว

    จิตลงให้เลยครับ
     
  8. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เป็นไงๆ ท่านเจ้าของกระทู้ผู้มีศรัทธาก่อขึ้นแล้ว ใน วจนะของพระพุทธองค์

    หากพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ! เพียงแค่นี้ ก็จะแล่นกลับ
    ไปสู่การ ปรารภ "ก็ประจักษ์..........." บ้าง "หลังจากนั้น.........." บ้าง

    เหล่านี้คือ การถอยกลับไปมี กาย เพราะ เกิดการตรึก ที่มี วิตก วิจาร

    ถ้า รู้แล้วจบที่รู้ ให้มากๆ เนืองๆ น้อมคำสอนของพระพุทธองค์ที่ คุณเจ้าของ
    กระทู้ผู้ใฝ่เจริญได้สดับมาแต่องค์ภควัน ว่า

    เหลือแต่จิต พิจารณาเห็น ปิติ เนืองๆ ยุบยับ ยิยแย๊บ ไปหมด ถ้าไม่แล่น
    ไปสู่ ความพยาบาทวิตก ก็พ้นเรื่องสับสนองค์ลง ลงองค์ โปรดสัตว์

    ถ้าไม่แล่นไปสู่ วิหิงสาวิตก การเบียดเบียน ก็ไม่ต้องไป ก้มกราบขอขมาอะไรใคร
    เพราะมันคือ องค์สมาธิ ไม่ใช่ สิ่งอกุศลที่เขาพยายามจะกรอกหูเราแล้วพาไป
    เชิด หรือ ซื้อขนมปังวางหน้าโบสถ์ เพื่อให้ พระเจ้าจักรพรรดิ์( ฮิตเลอร์ และ มุสโสลินี )
    มาเก็บ ขนมปังกินเอาภายหลัง

    จิตคุณก็จะแล่นสู่ ทุตยิฌาณ ไม่ชื่อว่า เหินห่างจาก ฌาณ

    ถ้าเข้าแล้วแลอยู่ รู้เห็นการดับไปของปิติ ของสุข ก็จะทำให้ เกิดปัสสัทธิ
    ปิติไม่มีอามิส เมื่อนั้นผลิกกลับเป็นสัมมาสมาธิ แต่ถ้า ปิติแล้วแล่นไป
    สุขก็จะ ฮานาก้า ....แล้วเอาอยู่ จน พณฯ ท่าน ค้อนขวับ !!

    แทนที่จะมี ปิติ ที่ไม่มีอามิส เพื่อก้าวขึ้นสู่ ฌาณจิต ระดับถัดไป ก็ไป
    ติดสุข อมลูกอมเสียจนแก้มตุ่ย .................. อยู่มาไม่นานออก
    ลุกออกหลานก็เป็น .........


    เนี่ยะ ลองเอาไป แยกแยะ พิจารณา ใคร่ครวญให้แยบคายเอาเอง

    ผู้มีปัญญาย่อมเฝ้นธรรมได้ ย่อมเห็น พุทธวัจนะ ที่แท้ได้ ผู้มีปัญญาทรามเห็นไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2012
  9. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ก็นี่ไงเพราะความไม่รู้ของตัวเองเเท้ๆ ทำให้คนอื่นเค้าไม่รู้ตามไปด้วย

    ''
    เหลือแต่จิต พิจารณาเห็น ปิติ เนืองๆ ยุบยับ ยิยแย๊บ ไปหมด ถ้าไม่แล่น
    ไปสู่ ความพยาบาทวิตก ก็พ้นเรื่องสับสนองค์ลง ลงองค์ โปรดสัตว์
    ถ้าไม่แล่นไปสู่ วิหิงสาวิตก การเบียดเบียน ก็ไม่ต้องไป ก้มกราบขอขมาอะไรใคร
    เพราะมันคือ องค์สมาธิ ไม่ใช่ สิ่งอกุศลที่เขาพยายามจะกรอกหูเราแล้วพาไป
    เชิด หรือ ซื้อขนมปังวางหน้าโบสถ์ เพื่อให้ พระเจ้าจักรพรรดิ์( ฮิตเลอร์ และ มุสโสลินี )
    มาเก็บ ขนมปังกินเอาภายหลัง ''

    เพราะไม่เข้าใจในธรรมไง ก็เลยปรุงเเต่งไปทั่ว พระสูตรนั้นอธิบายว่าเข้าถึงปฐมฌานมาเเล้วดูดีๆ ยังไปเข้าใจอยู่เหมือนเดิมว่าต้องอย่างนี้ ที่อาจารย์ข้าสอนมา
    มันต้องอย่างนี้ มันไม่ถูกนะ เอาหลายมาตรฐานของตัวเองมาพูดมันก็เเย่สิ ศาสนาเสียหายหมด
    การที่เข้า ปฐมฌาน ส่วนประกอบคือ กามวิตก พยามบาทวิตก วิหิงสาวิตก เเละอกุศลธรรมทั่งหลายมันดับไป ถึงจะบรรลุปฐมฌานได้ ไม่ใชนำ กาม พยาบาท วิหิงสา มาเป็นองค์ของการภาวนา มันก็จะทำให้เกิดอกุศลเรื่อยๆไม่รูดับ พระองค์ให้ดับไม่ใช่ให้นำมาเป็นฐานสมาธิ เพราะความที่ไม่รู้ภาษาคนหรืออย่างไร นำมาปะปนอยู่กับเรื่องปฐมฌาน มันคนละเรื่อง เเล้วอีกอย่าง คำว่า ''วิตก''เนี่ยอย่ามาสรุปเอามั่วๆ คำนั้นมันกว้างอยู่ วิตกไม่ใช่เเค่ตริตรึกอยู่กับ อกุศล เเต่อาจจะเป็นทุกเรื่องที่มันเกิดขึ้น ก็ทำให้ตริตรึกขึ้นได้ เพราะงั้นพระองค์ไม่ได้ให้ไปตริตรึกกับสิ่งที่อยู่ในฐานสติปัฏิฐานทั่ง4 นอกจาก กาย เวทนา จิต ธรรม
    นายมามั่วมั่วค้านคำพระศาสดาว่าต้องตริตรึก คิดค้นธรรมว่าตริตึกอยู่กับอกุศลได้ ขนาดกุศลธรรมพระองค์ยังไม่ให้ตริตรึกเลย นี่มาพูดว่าตริตรึกได้ ซึ่งคนละเรื่องกัน เเล้วพระองค์พูดเลยมาเเล้วเรื่องนี้ คือการสงัดจากอกุศลธรรมมาได้ เเต่ ทลึ้งบั้งนำไปรวมกันอย่างไม่คิด มันคนละเรื่อง ไม่ได้ให้ตริตรึกทั่งอกุศลเเละกุศล นะอย่าเข้าใจผิด
     
  10. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ''ถ้าเข้าแล้วแลอยู่ รู้เห็นการดับไปของปิติ ของสุข ก็จะทำให้ เกิดปัสสัทธิ
    ปิติไม่มีอามิส เมื่อนั้นผลิกกลับเป็นสัมมาสมาธิ แต่ถ้า ปิติแล้วแล่นไป
    สุขก็จะ ฮานาก้า ....แล้วเอาอยู่ จน พณฯ ท่าน ค้อนขวับ !!

    แทนที่จะมี ปิติ ที่ไม่มีอามิส เพื่อก้าวขึ้นสู่ ฌาณจิต ระดับถัดไป ก็ไป
    ติดสุข อมลูกอมเสียจนแก้มตุ่ย .................. อยู่มาไม่นานออก
    ลุกออกหลานก็เป็น ......... '''''''''''''''''''''''''''''''''''''''


    ปิติที่ไม่อิงอามิส มันก็เรื่องเดียวกัน ไม่ต้องมาตื่นตนกอะไร
    การที่ปฏิบัติสมาธิ ปิติมันก็ไม่อิงอามิสอยู่เเล้ว ให้ทำให้มากให้เจริญให้มาก
    พูดพูดเเมวๆเเบบนี้ เดียวคนตกใจ ไม่ใช่เกิดจาก กามคุณทั่ง5สักหน่อย ไปเรี่ยทำประเด็นให้ดู ระทึก ทึกทัก
    สรุปเเล้วมันก็ได้อะไรละ? นอกจากความไม่รู้ ความเขล่า ใช่มั้ย


    นี่ไงมั่วใหญ่เลย พองใหญ่เลย ไม่มีใครดูเเลเลยหรอนิ มันก็เลยเป็นเเบบนี้ไง
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......สงสัย แมวน้อย จะมี พยาบาทวิตก แฮะ:cool:
     
  12. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    [๘๓๓] ในญาณวัตถุ หมวดละ ๕ นั้น สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ เป็นไฉน
    ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาที่แผ่สุขไป ปัญญาที่แผ่จิตไป ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป และ
    ปัจจเวกขณนิมิต

    o ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป

    o ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่สุขไป

    o ญาณกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่จิตไป

    o ทิพพจักขุ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป ( แก้ไข เพิ่มเติม ฉบับ พ.ศ.ไข่ปลา )

    o ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสมาธินั้นๆ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต นี้เรียกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2012
  13. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    [๘๓๔] สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ เป็นไฉน

    o ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบันด้วย มีสุขเป็นวิบากต่อไปด้วย

    o ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ไกลจากกิเลส หาอามิสมิได้

    o ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้อันบุรุษมีปัญญาทราม เสพไม่ได้

    o ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ความสงบ ระงับ ได้บรรลุแล้วโดย
    ความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่บรรลุโดยการข่มนิวรณ์ ห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็นสสังขาริก

    o ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจากสมาธินี้

    นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีญาณ ๕
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2012
  14. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ''แทนที่จะมี ปิติ ที่ไม่มีอามิส เพื่อก้าวขึ้นสู่ ฌาณจิต ''

    ก็เห็นๆอยู่ว่าเข้าถึงปฐมฌานเเล้ว นี่ยังละเมออยู่เลยว่ายังไม่ถึงฌานจิต คงหมายถึงว่า ปฐม
    ฌาน
    เเต่ไม่ได้มองหรอว่าเค้าจะไป ทุติยฌานเเล้ว ด้วยการละ วิตก กับ วิจาร ในสติปัฏิฐาน4
    ก็เป็นเทคนิคที่พระพุทธองค์เเนะนำ ด้วยฐานะของวิปัสสนาเห็นความไม่เทียงเเทน
    ก็คือไม่ได้ตริตรึกอยู่เเต่สิ่งนั้นเเล้ว เพราะเข้าถึงปฐมฌานอยู่ ให้ไปเห็นการเกิด การดับของ
    วิตกที่ปรากฏอยู่เเทน เดียวก็จะระงับวิตก วิจารได้เอง เข้าทุติยฌานต่อได้
    เเล้วอย่าพึ่งมาพูดสรุปว่าปิติ จะหายไปเลย หรือดับไปสนิท ขณะอกุศลธรรมกำลังงอกงามนี้อย่าง
    มันใช่เรื่องเดียวกันหรือ
    เอามาปะปนกันอย่างนี้
     
  15. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337

    ก็คงใช่นะ อย่างที่นำอรรถกถา มาเเสดง ก็จะเข้าใจว่าอย่างนั้น ที่เรียนตามสาวกภาษิต เเต่ก็ไม่ใช่ว่าจริงสะทุกเรื่อง
    อย่างธรรมอันเป็นเอกผุดขึ้น ก็หมายถึง ทุติยฌาน
    เเต่ว่าการที่จะเข้าถึงปฐมฌานได้นั้น ก็ต้องละ นิวรณ์ กาม พยามบาท อกุศลธรรมทั่งหลายมาก่อน อย่างพระสูตรข้างบน เพราะงั้นไม่มีอะต้องข่มนิวรณ์ เพราะมันมีเพียง วิตก วิจาร ปิติ สุข เเค่นั้น
     
  16. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    สมาธินี้อันบุรุษมีปัญญาทราม เสพไม่ได้

    พระองค์บอกสมาธิ ทุกระดัดับ 1-9 สิ้นอาสวะได้
    การที่บอกว่ายังมีนิวรณ์อยู่ใน ปฐมฌาน มันก็ไม่ต่างอะไรกับการเเก้ต่าง
    ขนาดอาจารย์ยุคนี้ยังพูดเลยว่า ก่อนเข้าปฐมฌานได้ต้องละนิวรณ์ให้ได้ก่อน ขนาดไม่ได้มาศึกษาคำตถาคตอะไรนะ
    เสียงคืออุปสรรค์กับการเข้าฌาน ก็ถูกอย่างที่ว่า เเต่นี้ก็ดันไปสันหาคำที่เเต่งขึ้นมาใหม่เเล้วมาอธิบายไปเรื่อยปัญหาถึงเกิด
    การสิ้นอาสวะ อย่างพระพุทธองค์ ไม่ใช่เห้นอกุศลธรรมเกิด-ดับ
    เพราะ ปฐมฌานพระองค์บอกว่า อกุศลธรรมต่างๆมันดับไปเเล้ว เพราะงั้นถ้าเกิดคิดว่ายังมีอุกศลอยู่เเบบนี้คำพระองค์ก็คัดกัน ไม่ใช่ไง เเละถ้าเข้าใจเเบบนี้เล้วเมื่อไหร่ละจะสิ้นอาสวะ
     
  17. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496

    ให้ข้อสังเกตุค่ะ ธรรมอันเป็นเอกผุดขึ้น จะเกิดขึ้นกับฌานต่างๆ (ที่ขีดเส้นใต้นะคะ)
     
  18. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ( สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ )

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ก็สติปัฏฐานทั้ง 4 อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า
    จึงทำโพชฌงค์ทั้ง 7 ให้บริบูรณ์ได้ ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
    เป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำก็ดี,
    เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำก็ดี,
    เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำก็ดี,
    เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำก็ดี
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

    สมัยนั้น สติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง,
    สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่
    ชื่อว่าย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา
    สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญาอยู่
    ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน ก็ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญาได้ปรารภแล้ว
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้วเช่นนั้น
    ปีติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้น ( อามิส = รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ | นิรามัส = ไม่อิงอามิส )

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ
    แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ
    สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่
    จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ ย่อมเป็นจิตตั้งมั่น
    สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี
    สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ---
    ภิกษุทั้งหลาย !
    สติปัฏฐานทั้ง 4 อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
    ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง 7 ให้บริบูรณ์ได้.

    ---
    มหาวาร. สํ. 19 / 424 / 1402-1
     
  19. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    เดียวให้ดูสูตรที่พระองค์ตรัสเอาไว้ เเละ พระสาวกตรัสกันเอาไว้บ่อย
    ทุติยฌาน หมายถึง เป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
    ตติยฌาน หมายถึง เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรติสุข
    จตุถฌาน หมายถึง มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
    เพราะงั้นเราไม่ต้องไปคิดเพื่อ เอาตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้จะดีกว่า

    ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจาก
    อกุศลธรรมทั้งหลายเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจาก
    วิเวก แล้วแลอยู่;
    เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน
    เป็นเครื่องผ่องใสใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
    อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่
    ; อนึ่ง เพราะความ
    จางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสิตและสัมปชัญญะ และย่อมเสวย
    ความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า
    "เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข" ดังนี้
    เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่ ;
    เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและ
    โทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่
    สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
    แล้วแลอยู่.
     
  20. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253



    ตรงนี้ หาก ท่านเจ้าของกระทู้ เพ่งพิจารณาให้แยบคาย

    ก็คงจะเคยเห็นบ้าง เวลามัน ปราศจากรส เหมือนๆ จิตปราศจากการรู้รส

    เพราะไม่เกิด ผัสสะกระทบมาทางอยาตนะ

    ระหว่างนั้น ก็เกิด โลเลว่า เอ "ไม่รู้รสแล้วจะได้อะไร" "ไม่สัมผัสสะรส
    แล้วจะเอาอะไรมาวิจิตร" เสร็จแล้ว ก็ กระโจนออกมาหา รส อะไรสัก
    หน่อย ซึ่งก็จะ ยิบๆ แย็บๆ ขึ้นมา

    เนี่ยะ .....ตกจากการภาวนา นะ ศรัทธาง่อนแง่นแล้ว ลองพิจารณา
    ดู ถ้าตรงนี้พอเห็นได้ เกิดความเลื่อมใสขึ้นมา

    คำที่เขาพูดๆกันว่า ขยัน เพียร ล่วงทุกข์ด้วยความเพียร มันจะเลาๆขึ้นมา

    เสร็จแล้ว พระพุทธองค์ ก็จะตรัสอย่างอ่อนโยนว่า แต่เมื่อไหร่เธอมี
    ศรัทธาง่อนแง่นแล้ว เธอก็จะไม่กระทำให้มากๆ จะหยุดการเพียรอยู่
    ให้มากๆ เพื่อกลับไปสู่โลก .......

    ถ้าเข้าใจ จะเห็นเลยว่า ฌาณระดับไหนๆ ก็เอามาเป็น ฐีติจิต ฐีติธรรม ( ธรรมเอก นั่นแหละ ) ได้ !!

    เพราะ การชน "..............." นั้น ก็จะทำให้ทราบว่า อะไรคือ ทางเดินที่ห่างข้าสึก(ตัวต้นๆ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...