ข้อมูลเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์แผ่นดินไหว‏

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย tanakorn_ss, 10 ธันวาคม 2011.

  1. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    ๔. สังเกตลักษณะการบาดเจ็บของผู้บาดเจ็บแต่ละคน และจำแนกระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บได้เช่นเดียวกับการเจ็บป่วยฉุกเฉิน อื่นๆ คือ


    [​IMG]


    ระดับที่ ๑ (วิกฤติ หรือฉุกเฉินมาก) คือผู้บาดเจ็บที่มักจะเสียชีวิตหรือพิการถาวรหากไม่ได้รับการรักษาทันทีหรือทันท่วงที เช่น

    (๑) คนที่หมดสติทันที ไม่หายใจ และไม่กระดุกกระดิกเลย

    (๒) คนที่หายใจไม่ออกทันที หยุด หรือกำลังจะหยุดหายใจ

    (๓) คนที่ชักตลอดเวลา หรือชักจนเขียว

    (๔) คนที่เลือดออกรุนแรง ตลอดเวลา (เลือดไหลไม่หยุด)


    [​IMG]


    ระดับที่ ๒ (กึ่งวิกฤติ หรือฉุกเฉิน) คือ ผู้บาดเจ็บที่มักจะกลาย เป็นระดับที่ ๑ ถ้าได้รับการรักษา ช้าเกินไป เช่น

    (๑) คนที่หมดสติ (ไม่รู้สึกตัว) ซึมมาก (ไม่ค่อยรู้สึกตัว) สับสน เลอะเทอะ คลุ้มคลั่ง ประสาทหลอน ชัก หรืออัมพาตเฉียบพลัน

    (๒) คนที่หอบเหนื่อยมาก (หายใจมากกว่า ๓๐ ครั้งต่อนาที) หรือมีเสมหะเป็นฟองปนเลือด

    (๓) คนที่หายใจน้อยกว่า ๑๐ครั้งต่อนาทีหรือหน้าตาและมือเท้า"เขียว"
    (เป็นสีม่วงน้ำเงิน) ฉับพลันหรือมากขึ้นๆ

    (๔) คนที่เสียเลือด หรือซีดมากทันที และมือเท้าเย็น ซีด และชื้นด้วยเหงื่อ ร่วมกับชีพจรที่เบามากจนคลำเกือบไม่ได้

    (๕) คนที่ชีพจรเร็วมาก (มากกว่า ๑๕๐ ครั้งต่อนาที) หรือ ช้ามาก (ช้ากว่า ๔๐ ครั้งต่อนาที)

    (๖) คนที่ตัวร้อนจัด (ไข้สูงกว่า ๔๐ องศาเซลเซียส) หรือ ตัวเย็นจัด และไม่รู้สึกตัว

    (๗) คนที่กระสับกระส่ายทุรนทุราย เจ็บปวดมาก หรือคลอดฉุกเฉิน

    (๘) คนที่ได้รับอุบัติเหตุภยันตราย หรือสารพิษ แพ้ยาหรือ บาดเจ็บรุนแรงจากสาเหตุอื่นๆ

    คนที่ได้รับอุบัติเหตุหรือภยันตราย ที่ควรถือว่าน่าจะมีการบาดเจ็บรุนแรง เช่น

    * ศีรษะได้รับการกระทบ กระแทก จนเป็นแผลหรือฟกช้ำ (หัวโน) หรือความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป

    * เจ็บปวดบริเวณคอ อก และ/หรือท้อง โดยเฉพาะถ้าขยับเขยื้อนส่วนที่เจ็บไม่ได้ หรือใช้มือกดเบาๆ แล้วเจ็บมาก

    * อุบัติเหตุรถยนต์ที่ห้องผู้โดยสารยุบเข้าไปข้างใน หรือมีผู้โดยสารเสียชีวิต

    * ตกจากที่สูงเกิน ๓ เมตร

    * ถูกกระสุนปืน หรือถูกแทง (แผลทะลุ) เข้าที่ศีรษะ คอ อก ท้อง ท้องน้อย หรือสันหลัง

    * ถูกไฟลวกเป็นบริเวณกว้าง หรือสำลักควันจนหายใจลำบาก

    * จมน้ำ

    * ไฟฟ้าช็อต เป็นต้น


    ระดับที่ ๓ (เฉียบพลัน) คือ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ ช่วย ตนเองได้ และไม่มีลักษณะของการ บาดเจ็บที่รุนแรง หรืออาการที่รุนแรง ดังที่กล่าวไว้ในระดับที่ ๑ และ ๒
     
  2. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    ๕. การปฐมพยาบาล ทำการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บในระดับที่ ๑ ก่อนถ้าทำได้ ถ้าทำไม่ได้ หรือทำเสร็จแล้วจึงทำการปฐมพยาบาลระดับที่ ๒ ต่อไปส่วน ระดับที่ ๓ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมักจะดูแลตนเองได้ โดยเฉพาะเมื่อได้รับคำแนะนำว่าจะช่วยตนเองได้อย่างไร


    [​IMG]


    ๕.๑ ผู้บาดเจ็บที่หมดสติ ไม่หายใจ และไม่กระดุกกระดิกเลย ให้ถือว่า " ฉุกเฉินที่สุด" เพราะถือ ว่า " หัวใจหยุด " แล้ว ให้ทำการ "กู้ชีพ " ทันทีถ้าทำได้ หลังจากนำ (ลาก) ผู้บาดเจ็บให้พ้นจากจุดอันตรายแล้ว (ดูวิธี " กู้ชีพ " ใน" มาเป็นหมอกันเถิด " ในหมอชาวบ้าน ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๕)


    คำเตือน : ต้องระวังภาวะกระดูกคอหักเสมอในผู้บาดเจ็บที่หมดสติไม่หายใจ ไม่ขยับคอ หรือเจ็บปวดบริเวณต้นคอ การกู้ชีพและการช่วยหายใจจะต้องระวังให้ หน้า คอ และลำตัว เป็นแท่งตรงเสมอ ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยรู้ตัวและยังหายใจเองได้ แล้วไม่สามารถหันคอให้หน้าคอ และลำตัวเป็นแท่งตรงได้ ก็ให้ตรึงคอผู้ป่วยไว้ในท่านั้น



    [​IMG]


    ๕.๒ ผู้บาดเจ็บที่หมดสติ แต่ยังหายใจได้ ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกซากรถ ต้องพยายามตรึงหรือ ดามคอให้อยู่นิ่งๆ ก่อน (ดูคำเตือน ในข้อ ๕.๑) ถ้าไม่เคยฝึกวิธีช่วยคนกระดูกคอหักมาก่อน ห้ามเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับศีรษะ คอ และลำตัวผู้บาดเจ็บเด็ดขาด เพราะถ้าศีรษะ คอ และลำตัว ไม่เคลื่อนไหวไปพร้อมกันในแนวทางเดียวกัน กระดูกคอที่หักอาจจะไปกดไขสันหลัง บริเวณคอทันทีทำให้เกิดอัมพาตของแขน ขา และหยุดหายใจได้

    ถ้าไม่แน่ใจว่าตนเองจะสามารถช่วยผู้บาดเจ็บ โดยไม่ทำให้ผู้บาดเจ็บเป็นอัมพาต หรือหยุดหายใจ ควรรอให้ผู้ที่ชำนาญกว่ามาช่วยจะดีกว่า


    ๕.๓ ผู้ที่หมดสติจากการจมน้ำ ถ้าเกิดจากการที่ศีรษะกระแทกพื้นหรือถูกกระแทก ควรตรึงคอหรือดามคอก่อนเสมอ ถ้าไม่เกิดจากศีรษะกระแทกหรือถูกกระแทก ให้เปิดทางหายใจและช่วยหายใจทันที (ดูใน " มาเป็นหมอกันเถิด " ในหมอชาวบ้านฉบับเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน ๒๕๔๕)

    ถ้าช่วยหายใจลำบาก เพราะมีน้ำในกระเพาะอาหารมากให้ตะแคงตัวผู้ป่วยแล้วกดท้อง แล้วใช้นิ้วล้วงสิ่งที่อาเจียนออกมาและค้างอยู่ในปากออกจนหมดก่อนช่วยหายใจและนวดหัวใจต่อ ถ้าทำได้ควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าหัวต่ำ (๑๕-๒๐ องศา) เพื่อให้น้ำไหลออกได้สะดวกโดยทั่วไป คนที่จมน้ำจะไม่กลืนน้ำเข้าไปมากนัก


    ๕.๔ ผู้บาดเจ็บที่ไม่หายใจ หรือกำลังจะหยุดหายใจ รีบช่วยหายใจโดยล้วงสิ่งของในปาก เช่น ฟันปลอม เศษอาหารออกจากปากเช็ดเลือดและสิ่งสกปรกต่างๆ ออก จากบริเวณจมูก ปาก และหน้า แล้ว " เป่าปาก " หรือ " เป่าจมูก " ช่วยหายใจ (ดูวิธีช่วยหายใจใน "มาเป็นหมอกันเถิด " ในหมอชาวบ้านฉบับเดือน พฤษภาคมและมิถุนายน ๒๕๔๕)

    คำเตือน : ต้องระวังภาวะกระดูกคอหัก ดังที่กล่าวไว้ในข้อ ๕.๑ เสมอ

    ๕.๕ ผู้บาดเจ็บที่ชัก ให้การปฐมพยาบาลแบบผู้ป่วยชักอื่นๆ (ดูการปฐมพยาบาลผู้ป่วยชัก ใน"มาเป็นหมอกันเถิด " ในหมอชาวบ้านฉบับเดือนเดือนมิถุนายนและ กรกฎาคม ๒๕๔๕)


    ๕.๖ ผู้ที่มีบาดแผลเลือดออกมาก ผู้ที่เข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บควรสวมถุงมือยางก่อน ในกรณีไม่มีถุงมือยาง ต้องระวังไม่ให้มือมีบาดแผล และไม่ให้เกิดบาดแผล เพราะอาจติดโรคได้


    [​IMG]


    - ในกรณีที่เลือดออกจากบาดแผลภายนอก และไม่มีสิ่งปักคาอยู่ เช่น มีด ไม้ หรืออื่นๆ ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือ หรือสันมือกดลงตรงจุดที่เลือดออกจนเลือดหยุดไหลแล้วกดไว้เช่นนั้นเป็นเวลาอย่างน้อย ๑๐-๑๕ นาที ถ้าปล่อยมือแล้วเลือดออกอีก อาจต้องกดไว้อย่างนั้นจนกว่าจะพบหมอหรือไป ถึงโรงพยาบาลแล้ว เมื่อเลือดหยุดออกรุนแรงแล้วให้ใช้ผ้าสะอาดพับเป็นก้อนขนาดใหญ่กว่าบาดแผลเล็กน้อย แล้ววางลงบนบาดแผลแล้วใช้เชือกพันรัดให้แน่นถ้าทำได้ จะได้ไม่ต้องกดอยู่ตลอดเวลา ควรรัดให้แน่นพอที่เลือดจะหยุดออกเท่านั้น อย่ารัดแน่นจนเลือดไหลไปเลี้ยงส่วนปลายไม่ได้ และห้ามขันชะเนาะเด็ดขาด


    ในกรณีที่เลือดออกจากบาดแผลภายนอกที่มีมีด ไม้ หรือสิ่งอื่นปักคาอยู่ ห้ามดึงสิ่งที่ปักคาอยู่ ออก ต้องพยายามตรึงสิ่งที่ปักคาอยู่ให้อยู่นิ่งๆ ถ้าเลือดออกเพียงไหลรินหรือซึมๆออก ควรปล่อยไว้เฉยๆ แล้วมันจะแห้งและหยุดเอง แต่ถ้ามันไม่หยุดไหล หรือมีเลือดออกมากควรกดลงที่บาดแผล รอบๆ สิ่งที่ปักคาอยู่เพื่อให้เลือดหยุดไหลหรือไหลออกน้อยลง หรือ ใช้น้ำแข็งประคบ


    [​IMG]


    ผู้ที่เสียเลือด แล้วมีอาการหน้ามืดเป็นลม หรือกระหายน้ำ ควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่ (ถ้าหาไม่ได้ ให้ดื่มน้ำเปล่าแทน) บ่อยๆ จนหายหน้ามืดเป็นลม หรือกระหายน้ำ แล้วรีบส่งโรงพยาบาล


    อย่าลืมปลอบขวัญและให้กำลังใจบ่อยๆ และให้ผู้ป่วยสงบ และมีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เลือดจะออกน้อยลง


    [​IMG]



    - ในกรณีที่เลือดออกจากบาดแผลภายใน เช่น กระดูกหัก ตับแตก ม้ามแตก ซึ่งมักจะไม่เห็นเลือดไหลออกมาภายนอกแต่ผู้ได้ รับบาดเจ็บจะมีอาการปวดบริเวณที่มีบาดแผลภายในมาก และจะซีดลงอย่างรวดเร็ว ตัวเย็น และเหงื่อเย็นๆ ออกในเวลาต่อมา ปลอบขวัญ ให้กำลังใจ และทำให้ผู้ป่วยสงบและมีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ถ้าตรึงส่วนที่เจ็บปวดให้อยู่นิ่งๆ ได้ ควรจะตรึงทันที ถ้าผู้ป่วยไม่ปวดท้อง และไม่คลื่นไส้อาเจียนแล้วยังมีอาการกระหายน้ำ ควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำเปล่าบ่อยๆ ยก เว้นถ้าผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือดหรือ อุจจาระสีดำหรือเป็นเลือด ควรงดอาหารและน้ำ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล



    [​IMG]



    - ในกรณีที่เลือดออกจากจมูก (เลือดกำเดา) ให้ผู้ป่วยนั่งพิงเอน ศีรษะพิงพนักหรือกำแพง (ผนัง หรือสิ่งอื่น) หายใจเข้าออกยาวๆ ปลอบใจให้สงบ (ยิ่งตื่นเต้น เลือด ยิ่งออกมาก ใช้นิ้วบีบจมูกทั้ง ๒ ข้างให้แน่น โดยหายใจทางปากแทน วางน้ำแข็งหรือน้ำเย็นบริเวณสันจมูก และหน้าผาก ถ้าเลือดไม่หยุด รีบพาไปโรงพยาบาล


    - ในกรณีที่เลือดออกจากปาก จมูก หรือหู โดยไม่เห็นบาดแผล ให้จับนอนตะแคงคว่ำ (ท่านอนตะแคงกอดหมอนข้าง) เหมือนผู้ป่วยหมดสติ เพื่อให้เลือดที่ออกสามารถไหลออกสู่ภายนอกได้สะดวก เลือดจะได้ไม่ไหลเข้าคอหอย และทำให้สำลักเลือดเข้าไปในปอด)


    - ในกรณีที่เลือดออกจากส่วนอื่น และไม่สามารถมองเห็นบาดแผลได้ ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายที่สุด และทำให้เลือดออกน้อยที่สุด เช่น ให้ส่วนที่เลือดออกอยู่สูงที่สุดปลอบใจให้สงบ วางน้ำแข็งหรือน้ำเย็นบริเวณที่เลือดออกถ้าเลือดไม่หยุดรีบพาไปโรงพยาบาล


    [​IMG]


    ๕.๗ ผู้ที่มีบาดแผลทะลุ
    ถ้าบาดแผลทะลุนั้นมีสิ่งปักคาอยู่ ห้ามดึงสิ่งที่ปักคาอยู่ออก พยายามตรึงสิ่งที่ปักคาอยู่ให้อยู่นิ่งๆ ถ้ามีเลือดออกมากรอบสิ่งที่ปักคาอยู่ ให้ใช้ปลายนิ้วกดบริเวณที่เลือดออกนั้น แล้วใช้น้ำแข็งประคบ ถ้าบาดแผลทะลุนั้นไม่มีสิ่งปักคาอยู่ ให้ใช้มือหรือผ้าสะอาดปิดรูทะลุนั้นทันที ในกรณีที่เป็นแผลทะลุที่ช่องท้องแล้วมีลำไส้ไหล เลื่อนออกมาทางแผลทะลุนั้น ห้ามยัดลำไส้กลับเข้าไปในช่องท้องให้ใช้ผ้าสะอาดคลุมไว้ แล้วพันรัดช่องท้องให้แน่นพอที่ลำไส้จะไม่ไหลเลื่อนออกมาอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2012
  3. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    ๕.๘ ผู้ที่ถูกฟ้าผ่า ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ น้ำร้อน หรือ สารเคมีลวก


    [​IMG]


    (๑) ให้รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณอันตราย

    * ถ้ามีไฟลุกติดเสื้ออยู่ ให้กลิ้งตัวผู้ป่วยไปกับพื้นแล้วใช้ผ้าผืนใหญ่ ๆ ตบหรือครอบบริเวณเสื้อผ้าที่ติดไฟ เพื่อให้ไฟดับ ถ้ามีน้ำก็ใช้น้ำดับไฟได้

    * ถ้าผู้ป่วยมีสายไฟติดอยู่ และมีน้ำนองบริเวณที่ผู้ป่วยนอนอยู่ ห้ามเข้าใกล้ผู้ป่วย ยืนให้ห่างจากน้ำและโลหะที่จะนำไฟฟ้ามาถึงตัวคนช่วยได้ แล้วใช้ไม้ที่ยาวๆ ที่ไม่เปียกน้ำเขี่ยสายไฟให้พ้นไปจากตัวผู้ป่วย และจากบริเวณที่มีน้ำนองอยู่ และลองใช้นิ้วแตะบริเวณน้ำและตัวของผู้ป่วยเป็นเวลาสั้นๆ เพื่อตรวจดูว่ามีไฟฟ้า “ ดูด “ ไหม ถ้าไม่มีจึงจะเข้าไปนำ ( ลาก ) ผู้ป่วยออกจากบริเวณนั้น

    * ถ้าได้กลิ่นสารเคมี หรือมีควันคลุ้งในบริเวณนั้น ให้เข้าทางเหนือลม ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกตนเอง และถ้าจะให้ดี ควรสวมแว่นตากันน้ำ (ที่ใช้ใส่เวลาว่ายน้ำ ) ด้วย ก่อนเข้าไปบริเวณนั้น เพื่อนำ ( ลาก ) ผู้ป่วยออกมาจากบริเวณอันตราย


    ( ๒ ) รีบถอดเสื้อผ้าที่ถูกไฟไหม้หรือเปื้อนสารพิษออก แล้วใช้น้ำเย็นสะอาด ( น้ำประปา )ราดบริเวณแผลไฟไหม้ หรือถูกลวกให้มาก ๆ
    ในกรณีที่ถูกสารเคมีควรถอดเสื้อผ้าออกทั้งหมด และใช้น้ำราดทั้งตัวจนแน่ใจว่าไม่มีสารเคมี หรือสารพิษเหลืออยู่ ผู้ที่เข้าไปช่วยถอดเสื้อผ้าควรระวังไม่ให้สารเคมีถูกต้องตนเอง ควรใส่ถุงมือและอาจต้องใส่หน้ากากป้องกันไอพิษด้วย

    ( ๓ ) ใช้ผ้าสะอาดคลุมแผล ถ้าเป็นมากให้คลุมหรือห่อทั้งตัว

    ( ๔ ) ให้ใช้น้ำแข็งประคบถ้าปวดแสบปวดร้อนมาก

    ( ๕ ) ห้ามเจาะแผลที่พองอย่างเด็ดขาด

    ( ๖ ) ให้การปฐมพยาบาลส่วนอื่นที่บาดเจ็บด้วย อย่ามัวพะวงกับแผลไฟไหม้เท่านั้น ผู้ที่หายใจลำบากต้องรีบช่วยหายใจ ผู้ป่วยฟ้าผ่าส่วนมากเสียชีวิตจากการหยุดหายใจ


    [​IMG]


    ๕.๙ ผู้ที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายบิดเบี้ยวไปจากรูปเดิม และใช้การไม่ได้

    ( ๑ ) ให้ตรึงหรือดามส่วนที่บิดเบี้ยวและใช้การไม่ได้ จนส่วนนั้นไม่เคลื่อนไหว ( อยู่นิ่ง ) ก่อน

    ( ๒) เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณอันตราย โดยใช้ส่วนที่ตรึงไว้หรือดามไว้ได้รับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด

    (๓ ) ถ้ามีบาดแผลในบริเวณนั้นให้ใช้น้ำเย็นสะอาดราดบริเวณแผลให้มากๆ แล้วใช้ผ้าสะอาดคลุมบาดแผลไว้

    ( ๔ ) ใช้น้ำแข็งประคบ ถ้าเจ็บปวดมาก ( น้ำแข็งและน้ำเย็นจะช่วยลดการอักเสบและการบวมด้วย )

    ( ๕ ) นำส่งโรงพยาบาล

    ๕.๑๐ ผู้ที่มีบาดแผลอื่น ๆ

    นอกจากที่กล่าวไว้ข้างต้น ปลอบใจ ให้กำลังใจ และเคลื่อนย้ายออกจากบริเวณอันตราย แล้วให้การปฐมพยาบาลตามลักษณะของบาดแผลต่าง ๆ


    [​IMG]


    ก. แผลสดทั่วไป

    ( ๑ ) ใส่ถุงมือยางที่สะอาดก่อนทำแผล ถ้าไม่มีถุงมือยางต้องล้างมือให้สะอาดก่อน ไม่ให้เกิดบาดแผลได้ในขณะที่ช่วย เพราะอาจติดโรคจากผู้บาดเจ็บ ยกเว้นที่ผู้บาดเจ็บเป็นคนรู้จักที่รู้แน่ว่าไม่มีโรคติดจ่อได้ทางเลือดหรือน้ำเหลือง ถ้าเป็นคนไม่รู้จักควรล้างแผลให้โดยไม่ให้มือไปแตะต้องเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้บาดเจ็บ

    ( ๒ ) ล้างแผลที่สะอาดก่อนแผลสกปรก ถ้าไม่มีถุงมือยางและ มือมีแผล ควรใช้น้ำสะอาดราดที่แผลให้มากๆ ถ้ามีถุงมือยาง หรือแน่ใจว่าผู้บาดเจ็บไม่มีโรคติดต่อทางเลือดและน้ำเหลือง ควรล้างแผลด้วยสบู่ ( ฟอกแผล ) เพื่อให้แผลสะอาด

    ( ๓ ) เสร็จแล้วใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ หรือทิงเจอร์ไอโอดีน เช็ดรอบแผลด้านในสุด ( ติดขอบแผล ) ก่อนแล้วเช็ดวนทางเดียวรอบแผลจากด้านในสุดออกสู่ด้านนอก ( ห้ามเช็ดจากด้านนอกเข้าใน และห้าเช็ดวนกลับไปกลับมา )

    ( ๔ ) แล้วทาแผลด้วยยาฆ่าเชื้อที่ไม่แสบมาก เช่น ยาโพวิโดนไอโอดีน

    ( ๕ ) ปิดแผลด้วยผ้าสะอาดและระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ ถ้าถูกน้ำต้องทำแผลใหม่

    ( ๖ ) ถ้าแผลใหญ่ หรือลึก หรือสกปรก ควรไปโรงพยาบาล


    ข. แผลตะปูตำ หรือหนามตำ / เสี้ยนตำ

    ( ๑ ) ดึงตะปูออก ดึงหรือบ่งหนามและเสี้ยนออก

    ( ๒ ) บีบเลือดให้ออกตามรูแผล เพื่อล้างสิ่งสกปรกออกมา

    ( ๓ ) ถ้าปากแผลเล็กแคบ ควรใช้เข็มสะอาดสะกิดปากแผลให้กว้างออก

    ( ๔ ) ล้างสิ่งสกปรกออกจากแผลให้มากที่สุด

    ( ๕ ) ใส่ทิงเจอร์ ใส่แผลสดหรือน้ำยาโพวิโดนไอโอดีน

    ( ๖ ) ถ้าแผลตำลึก ควรฉีดยากันบาดทะยัก และกินยาปฏิชีวนะ

    ค. แผลถูกแทง

    ( ๑ ) ห้ามดึงสิ่งที่ปักอยู่ออก ให้ตรึงสิ่งที่ปักอยู่ให้อยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวเวลาเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ถ้าสิ่งที่ปักคาอยู่ยาวมาก อาจตัดให้สั้นได้ แต่ต้องตัดด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้กระเทือนแผล

    ( ๒ ) ใช้น้ำสะอาดราดที่แผลให้มากๆ

    ( ๓ ) ถ้าเลือดออกมา ดูข้อ ๕.๖ ( ฉบับเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕ )

    ( ๔ ) รีบส่งโรงพยาบาล

    ง. แผลถึงกระดูก หรือกระดูกโผล่

    ( ๑ ) ใช้น้ำสะอาดราดแผลให้แผลสะอาดขึ้น

    (๒ ) ห้ามดึงสิ่งที่ปักคาอยู่ออกจากแผล

    ( ๓ ) ห้ามคุ้ยแผล ห้ามจับกระดูกที่โผล่ออกมายัดกลับเข้าไป

    ( ๔ ) ถ้าเลือดออกมาก ดูข้อ ๕.๖ ( ฉบับเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕ )

    ( ๕ ) ใช้ผ้าสะอาดคลุมปิดแผล

    ( ๖ ) ให้ส่วนที่มีแผลอยู่นิ่ง ๆ

    ( ๗ ) ใช้น้ำแข็งประคบถ้าปวดมาก

    ( ๘ ) รีบส่งโรงพยาบาล

    จ. แผลเบ็ดเกี่ยว

    ( ๑ ) ล้างแผลและส่วนของเบ็ดนอกแผลให้สะอาด

    ( ๒ ) ถ้าปลายเบ็ดโผล่นอกเนื้อ ให้ตัดปลายเบ็ดส่วนที่มีเงี่ยงออก แล้วจึงดึงโคนเบ็ดออก ถ้าปลายเบ็ดไม่โผล่ ให้ดันจนปลายเบ็ดและเงี่ยง โผล่พ้นเนื้อแล้วตัดปลายเบ็ด หรือตัดโคนตรงใกล้เนื้อทิ้ง แล้วดึงส่วนที่เหลือออก

    ( ๓ ) บีบเลือดออกจากแผลจนเลือดหยุด

    ( ๔ ) ล้างแผลและทำแผลแบบตะปูตำ ( ข้อ ข. )


    ขอบคุณที่มา หมอชาวบ้าน
    ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2012
  4. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
  5. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    'วงแหวนแห่งไฟ'ขยับญี่ปุ่น,อินโดนีเซีย,นิวซีแลนด์สั่นไปทั่ว


    อาฟเตอร์ช็อคแผ่นดินไหวญี่ปุ่น เกิดตามมากว่า10 ครั้งมากสุดวัดได้ 6.1 ขณะพื้นที่โดยรอบวงแหวนแห่งไฟมหาสมุทรแปซิฟิก ตลอดคืนเกิดแผ่นดินไหวเกือบ20ครั้ง ทั้งนิวซีแลนด์ และอินโดนีเซีย ...

    ภายหลังจากที่เมื่อช่วงเวลาประมาณ 16.02 น.ตามเวลาประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาดความแรง 7.3 ริคเตอร์ ที่นอกชายฝั่ง ด้านทิศตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองคามิอาชิ ราว 300 กิโลเมตร ความลึก 33 กิโลเมตร โดยมีการเกิดสึนามิขนาดเล็กความสูงคลื่นประมาณ 1 เมตร ตามมาด้วยนั้น ตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาจนถึงเวลาประมาณ 03.30 น. ปรากฏว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาดความสั่นสะเทือนเกินกว่า 4.0 ริคเตอร์นับสิบครั้งโดยเป็นอาฟเตอร์ช๊อคที่ประเทศญี่ปุ่น 15 ครั้ง วัดความสั่นสะเทือนได้มากที่สุดในส่วนของอาฟเตอร์ช็อกนั้นสามารถวัดได้ถึง 6.1 ริคเตอร์

    นอกจากนี้ เว็บไซต์ GFZ Potsdam Earthquake Bulletin - last 20 events ยังรายงานเพิ่มเติมอีกด้วยว่า เมื่อเวลาประมาณ 01.19 น. เกิดแผ่นดินไหวทางตอนเหนือของเกาะนิวซีแลนด์ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.3 ริคเตอร์ โดยแรงสั่นสะเทือนขยายกว้างไปแทบทั่วทั้งเกาะ ขณะที่ยังไม่มีรายงานความเสียหายจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ปรากฎแต่อย่างใด ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหวจำนวนหลายครั้งและมีความแรงการสั่นสะเทือนใกล้เคียงหรือเกิน ระดับ 5.0 ริคเตอร์หลายครั้ง โดยพิกัดการเกิดแผ่นดินไหวที่พบนี้ ทั้งหมดอยู่ในแนวของรอยเลื่อนเปลือกโลกที่เรียกว่า วงแหวนแห่งไฟ ในมหาสมุทรแปซิฟิคทั้งสิ้น.

    ที่มา GFZ Potsdam Earthquake Bulletin - last 20 events

    ญาติพ่อแม่พี่น้องคนไทยที่อาศัยแถวเขตนี้ ขอให้ระมัดระวังกันด้วยนะครับ ตื่นตัว แต่ไม่ตื่นตูมกับข่าวสาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2012
  6. supaporn_s

    supaporn_s Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +73
    ขอบพระคุณในข้อมูลของท่านนะครับที่ได้เคยฝากไว้นะครับ เพิ่งมา เห็นว่าจะมีประโยชน์ช่วงนี้นี้เอง เป็นกระทู้ที่ดีมากๆ ขอ like ให้เลย
    ขออนุญาติแชร์ข้อมูลนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...