วิปัสสนาคืออะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 11 มิถุนายน 2010.

  1. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    - วิปัสสนา = พิจารณาxมหาพิจารณา+ไตรลักษณ์
     
  2. bankbankbank

    bankbankbank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +885
    วิปัสสนา แปลว่า รู้แจ้ง...ไม่ใช่สมอง รู้แจ้ง ต้อง จิต รู้แจ้ง หลายๆคน ยังไม่รู้จักจิต ด้วยซ้ำว่าคืออะไร แต่ อยาก แสดง..แม้แต่ จขกท.เอง ไม่ได้รู้เรื่อง อะไรเลย อยาก แสดง วางมาด นักธรรมผู้ยิ่งใหญ่...พระ เขามา กล่าว ธรรมแบบถูกต้อง ก็ ขัด ก็แก้ เขาไปทุก สำนวน จะเอาชนะคะคานเขา...ไม่ไหว ๆๆๆ
     
  3. savanna2

    savanna2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2011
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +65
    แล้วจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไรให้จิตได้รู้แจ้งละครับ
     
  4. bankbankbank

    bankbankbank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +885
    หลักการ ปฏิบัติ คือ วิชาสติปัฎฐาน 4.....
    สติปัฎฐาน 4 นั้นคือการ ตั้งสติ ตามรู้ รูป และนาม ...โดย มีฐาน ให้เลือกปฏิบัติ 4 แบบ..ใคร ที่ศึกษา ปริยัติ เริื่องสติปัฎฐาน 4 ดีแล้ว ก็ พึงน้อม นำมา ลองหัด ปฏิบัติ แก่ ตนว่า..เรา ปฏิบัติ ฐาน อันไหน แล้ว..จิตใจสงบลงได้ เกิด รู๔้สึกตัวได้ แบบ รู้ตัวทั่วพร้อม...การรู้ตัว ทั่งพร้อม คือ ความตั้งมั่นของจิต ที่ ไม่ส่ายออกนอก ไม่ แส่ ไป ใน แบบเพ่งๆ

    การ รู้สึกตัวทั่วพร้อม คือ ความตั้งมั่นของจิต อย่างแท้จริง...
     
  5. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    วิปัสสนา คือ ชื่อของปัญญา
     
  6. bankbankbank

    bankbankbank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +885
    การปฏิบัติ ..เพื่อ เกิด วิปัสสนานั้น...หากว่าตามแนวทางพระป่า..สายธรรมยุติ นั้น..โดยมีหลวงปู่มั่น เป็นผู้ เผยแผ่กว้างขวาง อันเป็นที่รู็จักกันมาก...ในทุกวันนี้ นั้น ท่านสอนให้เริ่ม ที่การ ภาวนา สมถะก่อน ด้วยการภาวนา พุทโธ จน จิตดิ่งรู้ในอารมณ์ เดียว ที่เรา ผู้หัด ทั้งหลายมักใช้ คำว่า พุทโธ กันแบบแพร่หลาย....

    หลวงปู่มั่น ท่าน..เริ่มต้นการปฏิบัติ ด้วยการ เจริญ กาบานุปัสสนากรรมฐาน ใน บรรพพะ ที่ 1 คือ อาณาปาณบรรพพะ..ว่าด้วยการ จับลมหายใจ เข้าออก..แต่ ว่าการ เข้าออกของลม นั้น ใจเรามัก ไหลไป ไม่อยู่กับ เนื้อ กับตัว ท่านจึง ให้จับคำบริกรรม พุทโธ...เพื่อเป็นการ ผูกจิตไม่ให้ไปคิดเรื่องเหลวไหล อื่นๆ การปฏิบัติ แบบนี้ของ หลวงปู่มั่น จึง อิง สมถะ กรรมฐานมาก..ใครก้ ตามเมื่อ หัดภาวนา พุทโธ ไปนานๆ..จะได้ จิต ท ี่นิ่งสงบ เพราะเกิดจากการ รู้อารมณ์ เดียว..แต่หากใคร เมื่อ หัดๆไปได้ สักพัก.การ รู้ลม จนจิตสงบลงแล้ว..จิตจะเกิด สติ สามารถมองเห็นสภาวะไหลไปไหลมาของจิตได้..อันเป็น สิ่งอัศจรรย์ เมื่อ ใดที่จิตสามารถ มองเห็นสภาวะ ของตัวจิตว่ามีการไหลไปไหลมา แสส่าย ไม่อยู่นิ่ง ได้ จนจิตเห็นว่ามันไไม่เที่ยง นั่นเท่ากกับว่าเริ่ม เกิด วิปัสสนาแล้ว..เพราะ สัจจะเกิด บ้างแล้ว..จิตเห็นเอง ไม่ใช่ ความคิด ไปเห็น เรื่องแบบนี้ละเอียดอ่อน มาก จิต เห็น จิต..ได้เอง และรู้ เองว่า มันเกิดๆดับๆ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน การเห็น แบบนี้ จะเรียกว่า วิปัสสนา ของจริง ไม่ใช่การ คิดๆๆ เอา ว่า อะไรๆในโลกนี้ไม่เที่ยง..การ คิดๆ เอา ไม่มีทาง ที่ จิตจะรู้ความจริงได้เลย..

    เพราะว่า วิปัสสนา เกิด เมื่อ หมด ความคิด...ครับ
     
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สาธุ...
    ตามนี้เลย
    หากจะจับต้องสิ่งที่ไม่มีตัวตน จะจับมันมาดู มาพิจารณา ก็ต้องมองเห็นมันให้ได้เสียก่อน...
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    การปฎิบัติเพือความสมดุลย์แห่งสมถะและวิปัสนา....พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาบุคคลสี่จำพวกนั้น 1)บุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสนานั้น บุคคลนั้นพึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้อธิปัญญาธัมวิปัสนา แล้วถามว่า ท่านผู้มีอายุ เราควรห็นสังขารกันอย่างไร? ควรเห็นแจ้งสังขารกันอย่างไร?ดังนี้ ผู้ถูกถามนั้น จะพยากรณ์ตามที่ตนเห็นแล้ว แจ่มแจ้งแล้วอย่างไร แก่บุคคลนั้นนั้นว่า ท่านผู้มีอายุ สังขารควรห็นกันอย่างนี้อย่างนี้ สังขารควรพิจารณาอย่างนี้อย่างนี้ สังขารควรเห็นแจ้งกันดังนี้ดังนี้ สมัยต่อมาบุคคลนั้นก็จะได้เป็นผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมวิปัสนา.....................2) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้อธิปัญญาธัมวิปัสนา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน บุคคลนั้น พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แล้วถามว่า ท่านผู้มีอายุ จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้(สณฐเปตพพ)อย่างไร? ควรถูกชักนำไป(สนนิยาทตพพ)อย่างไร? ควรทำให้จิตมีอารมณ์ดียว(เอโกทิกตตพพ)อย่างไร? ควรทำให้ตั้งมั่น(สมาทหาตพพ)อย่างไร? ดังนี้ ผู้ถูกถามนั้นจะพยากรณ์ ตามที่ตนเห็นแล้ว แจ่มแจ้งแล้วอย่างไร แก่บุคคลนั้นว่า ท่านผู้มีอายุ จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้ด้วยอาการอย่างนี้อย่างนี้ ควรถูกชักนำไปด้วยอาการอย่างนี้อย่างนี้ ควรทำให้จิตมีอารมณ์เดียวด้วยอาการอย่างนี้อย่างนี้ ควรถูกชักนำไปด้วยอาการอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้ สมัยต่อมา บุคคลนั้น ก็จะได้ทั้งอธิปัญญาธัมวิปัสนา และเจโตสมถะในภายใน.................................3)ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมวิปัสนา บุคคลนั้นพึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายในและอธิปัญญาธัมวิปัสนา แล้วถามว่า ท่านผู้มีอายุ จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้อย่างไร ควรถูกชักนำไปอย่างไร ควรทำให้จิตมีอารมณ์เดียวอย่างไร ควรทำให้ตั้งมั่นอย่างไร สังขารเป็นสิ่งที่ควรเห็นอย่างไร ควรพิจารณาอย่างไร ควรเห็นแจ้งอย่างไร ดังนี้ ผู้ถูกถามนั้นจะพยากรณ์ ตามที่ตนเห็นแจ่มแจ้งแล้วอย่างไรแก่บุคคลนั้น ว่าท่านผู้มีอายุ จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้อย่างนี้อย่างนี้ ควรถูกชักนำไปอย่างนี้อย่างนี้ ควรทำให้จิตมีอารมณ์เดียวอย่างนี้อย่างนี้ ควรทำให้ตั้งมั่นด้วยอาการอย่างนี้อย่างนี้ สังขารเป็นสิ่งที่ควรเห็นกันอย่างนี้อย่างนี้ ควรพิจารณากันอย่างนี้อย่างนี้ ควรเห็นแจ้งกันอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้ สมัยต่อมา บุคคลนั้น ก็จะเป็นผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายในและอธิปัญญาธัมวิปัสนา..................................4)ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมวิปัสนา นั้น บุคคลนั้น พึงดำรงตนไว้ในธรรมทั้งสองนั้น แล้วประกอบความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ให้ยิ่งขึ้นไป ภิกษุทั้งหลาย บุคคล4จำพวกเหล่านี้มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก....................(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
  9. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    จิตว่างก็แค่นั้นแหละ อย่าคิดมาก จิตใครจิตมัน ไม่ต้องสนใจจิตใครจะสว่าง ขาวรอบ จิตไม่มีตัณหา นั่นแหละอนาคามี...เหอๆๆ อุอิ...
     
  10. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    - ก่อนจะเกิด ปัญญา สิ่งที่ขาดไม่ได้คือความสงบ
     
  11. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ก่อนที่จะสงบ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ ตัวสติ
    โดยเฉพาะ สัมปชัญญะปัพพะ ข้อว่าด้วยสัมปชัญญะคือความรู้ตัว

    ซึ่งอยู่ใน อานาปานสติ+สัมปชัญญะ ๔
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ก่อนที่จะรู้จักสติ ต้องมาเรียนรู้วิธี ว่า ทำอย่างไร สติจะเกิดขึ้นมาได้

    วิธีการเรียนรู้เรื่อง สติ สำคัญมาก :d
     
  13. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318
    แล้วต้องทำไงถึงเกิดสติได้บอกหน่อยซิเจ้าคับ พี่ปราบเทวดาผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน
     
  14. bankbankbank

    bankbankbank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +885
    แวะมา แจม นะครับ...
    สติ นั้นแปลว่าระลึกได้...และ มี 2 อย่าง คือ มิจฉาสติ กับสัมมสติ

    สัมมาสตินั้น ตามตำรา ท่านว่า คือ การระลึกได้ แบบ ปัจจุบัน และ ต้องระลึกได้ ใน กาย และ ใจเท่านั้น..ไม่ใช่ การระลึกเรื่อง ภายนอก อื่นๆ หรือ ระลึก นามธรรม อื่นๆ ที่นอก กาย และใจ...การระลึก ได้ ในกายและใจ ที่เป็นปัจจุบัน นั้น ให้ระลึก ได้ว่า เกิด การเคลื่อน ไป ของ กายหรือใจ โดยการระลึกนั้นๆ เป็นการ รู้ทัน การเกิด ของวิญญาณ ที่ไป จับ กาย หรือ ใจ ที่รับรู้ สภาวะ ของการเกิด และดับไป..

    แบบนี้เรียกว่า การเกิด สัมมาสติ ครับ...
    ใน คน ปฏิบัติ สมถะ จนจิตได้ฌาณ จะ สามารถ เห้น สภาวะ เหล่านี้ได้ง่าย เพราะ ใจสงบดีแล้ว...แต่ ในคน บางจำพวก ใช้การ หัด สังเกตุ เอา เลยว่า กาย และ ใจกำลัง เคลื่อนไหว อะไรบ้างในแต่ละขณะ..ซึ่งการสังเ้กตุ ครั้งแรกๆ จะเป็น การ จงใจบ้าง แต่หาก ปฏิบัติไป เรื่อยๆ..จิต จะเริ่ม จำ สภาวะได้ ภายหลังหาก เกิด สภาวะ เดิมๆ อีก จิตจะ เกิด การระลึกเองได้ และ ความขาดไป ของสภาวะ จะง่ายและเร็วขึ้น กิเลส จะขาดตอนไป เอง นี่เป็นการหัด ละกิเลส เลย ทีเดียว..กิเลสใหม่ ไม่เกิด กิเลสเก่า ฝ่อตัวไปเรื่อย..จิตจะตั้งมั่น เป็น สัมมาสมาธิ ด้วย เกิด ขณิกสมาธิ เป็นคราวๆไป เรื่อยๆ

    แนวทางเช่นนี้ คือ การเจริญสติ ล้วนๆ..
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ก่อนอื่น ต้องอ่านนี่ก่อน

    แม้จะเป็น เพียงอักษร แต่ก็มีค่า อ่านก่อนโลด


    มิลินทปัญหา

    ปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงเหตุที่ให้ระลึกถึงสิ่งที่ล่วงแล้วได้


    " ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลระลึกถึงสิ่งที่ล่วงไปนานแล้วได้ด้วยอะไร? "

    " ได้ด้วย สติ ขอถวายพระพร "

    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่ล่วงไปนานแล้วสิ่งหนึ่ง บุคคลระลึกได้ด้วย จิต ต่างหาก ไม่ใช่ระลึกได้ด้วยสติ"

    " ขอถวายพระพร มหาบพิตรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้แล้ว ระลึกไม่ได้มีอยู่หรือไม่? "

    " มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า "

    " ขอถวายพระพร ในเวลานั้นพระองค์ไม่มีจิตหรือ ? "

    " จิตมี แต่เวลานั้นสติไม่มี "

    " ถ้าอย่างนั้น ขอมหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า บุคคลระลึกได้ด้วย สติ ไม่ใช่ระลึกได้ด้วย จิต "

    " ถูกดีแล้ว พระนาคเสน "


    ปัญหาที่ ๑๑ ถาม สติเกิดขึ้นได้เอง หรือเกิดจากผู้อื่น

    (เป็นสำนวนแปลของนายยิ้ม ปัณฑยางกูร จากหนังสือ "ปัญหาพระยามิลินท์" ฉบับหอสมุดแห่งชาติ)

    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูกร พระนาคเสน สตินั้นเกิดขึ้นเอง หรือเกิดขึ้นต่อเมื่อมีคนเตือน

    พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เกิดขึ้นได้ทั้ง ๒ ทาง

    ม. แต่ความเห็นของข้าพเจ้า ว่า เกิดขึ้นเอง มิพักต้องมีคนอื่นเตือน

    น. ถ้าเป็นอย่างพระองค์ตรัส คนก็ไม่ต้องมีครูอาจารย์คอยตักเตือนว่ากล่าว แต่นี่เพราะมิเป็นเช่นนั้น จึงต้องมีครู มี อาจารย์ คอยให้สติในเมื่อเราพลั้งเผลอ

    ม. จริง

    จบวรรคที่ ๖

    มิลินทปัญหา วรรคที่ ๗

    ปัญหาที่ ๑ ถาม สติเกิดแต่อาการเท่าไร

    (เป็นสำนวนแปลของนายยิ้ม ปัณฑยางกูร จากหนังสือ "ปัญหาพระยามิลินท์" ฉบับหอสมุดแห่งชาติ)


    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สติความระลึกหรือความจำ เกิดแต่อาการเท่าไร

    พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เกิดแต่อาการ ๑๗ อย่างคือ

    (๑) เกิดแต่ความรู้ยิ่ง ดังผู้รู้ประวัติการณ์ที่ล่วง ๆ มาแล้ว ความรู้นั้นย่อมเป็นแนวให้ระลึกถึงเหตุการณ์แต่หลังได้

    (๒) เกิดแต่การที่ได้กระทำเครื่องหมายไว้

    (๓) เกิดแต่การได้ขยับฐานะสูงขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้นึก ให้จำกิจการที่ตนได้กระทำมาแต่หลัง

    (๔) เกิดแต่การได้รับความสุข ซึ่งชวนให้สาวเอากิจการที่ล่วงแล้วมานึก มาคิด เพื่อไต่สวนหาเหตุ

    (๕) เกิดแต่การได้รับความทุกข์ ซึ่งชวนให้หวนไปนึกถึงเหตุแห่งความทุกข์นั้น ๆ

    (๖) เกิดแต่การได้รู้เห็นสิ่งที่คล้ายกัน ซึ่งเป็นการเตือนให้จำอีกสิ่งหนึ่งได้

    (๗) เกิดแต่การรู้เห็นสิ่งที่ตรงกันข้าม เช่น เห็นสีขาว ทำให้นึกถึงสีดำได้

    (๘) เกิดแต่การได้รับคำเตือน

    (๙) เกิดแต่รู้เห็นตำหนิ หรือลักษณะทรวดทรง

    (๑๐) เกิดแต่นึกขึ้นได้โดยลำพัง

    (๑๑) เกิดแต่การพินิจพิเคราะห์

    (๑๒) เกิดแต่การนับจำนวนไว้

    (๑๓) เกิดแต่การทรงจำไว้ได้ตามธรรมดา

    (๑๔) เกิดแต่การอบรม เช่นผู้ที่กระทำใจได้แน่วแน่ ในเมื่อกระทำกิจการ สามารถรวบรวมกำลังใจมาคิด มานึก เฉพาะในกิจการอย่างนั้น แม้ว่ากิจการนั้น จะได้ผ่านหูผ่านตามานานแล้ว เมื่อมานึกมาคิดขึ้นในภายหลัง ก็ยังคงจำได้ระลึกได้

    (๑๕) เกิดแต่การได้จดได้เขียนไว้

    (๑๖) เกิดแต่การเก็บไว้

    (๑๗) เกิดแต่การเคยพบ เคยเห็น

    ม. มากอย่าง


    อ่านต่อที่นี่ http://palungjit.org/threads/เหตุให้เกิดสติ-มี-๑๔-สาเหตุ.53391/
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ครับผม ฝึกต่อ _/ _
     
  17. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สติก็คือปัญญา แค่กระพริบตาเท่านั้นแหละสติได้เลย อรหันต์ก็ได้นะเนี่ย นั่นไง บรรลุหลายท่านแล้ว...
     
  18. prarot

    prarot สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +11
    แล้ว วิธี เจริญสติเขาทำกันอย่างไร ควรรู้สึกตัว แบบรู้อาการกาย หรือจะรู้อาการจิตดี
    แล้ว การรู้ตัว ว่าได้คิด ได้เห็น ได้รู้สัมผัส เขาใช้ความคิด(สมอง) หรือความรู้สึก(จิต)
    สรุปแล้วอะไเป็นตัวปรุงแต่ง กันแน่
     
  19. prarot

    prarot สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +11
    แล้ว วิธี เจริญสติเขาทำกันอย่างไร ควรรู้สึกตัว แบบรู้อาการกาย หรือจะรู้อาการจิตดี
    แล้ว การรู้ตัว ว่าได้คิด ได้เห็น ได้รู้สัมผัส เขาใช้ความคิด(สมอง) หรือความรู้สึก(จิต)
    สรุปแล้วอะไเป็นตัวปรุงแต่ง กันแน่
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    หากว่างๆ ลองเข้าไปเลือกอ่านตามหัวข้อดูครับ

    http://palungjit.org/threads/รวมเทค...กสติ-สมาธิ-ปัญญา-โดยหลวงปู่พุธ-ฐานิโย.298624/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 สิงหาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...