อุปกิเลส ๑๖ (พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมกรรมดี, 10 สิงหาคม 2012.

  1. ธรรมกรรมดี

    ธรรมกรรมดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +56
    อุปกิเลส ๑๖

    จิตเป็นประภัสสรผ่องใสโดยธรรมชาติ อุปกิเลสเป็นอาคันตุกะที่จรมาครอบงำจิต ทำให้จิตเศร้าหมอง ราคะ โทสะ โมหะ อกุศลมูล ๓ ตัวนี้ เมื่อมีเหตุปัจจัยประสมประสานกันแล้ว ก่อตัวขึ้นมาเป็นอุปนิสัยต่างๆ แบ่งไว้เป็น ๑๖ ลักษณะ เรียกว่าอุปกิเลส ๑๖ ถ้าเราได้ติดตามศึกษา จะเข้าใจนิสัยประจำตัวของเราดีขึ้น จะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขต่อไป เมื่อเราฝึกตามดูจิต จะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น เราจะรู้สึกว่าปกติเรามักจะมีความคิดอะไรประจำเป็นนิสัย ในสันดานมีอุปกิเลสตัวไหนตกค้างอยู่บ้าง ต่อไปนี้คืออุปกิเลสทั้ง ๑๖

    ๑.อภิชฌาวิสมโลภะ คือความละโมบ มักอยากได้ อยากมี อยากเป็น อย่างไม่มีความพอ เมื่อเราอยู่ในโลกนี้ มีร่างกาย เราก็ต้องอาศัยปัจจัย ๔ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เป็นต้น เหล่านี้เป็นของจำเป็นและใครๆก็ต้องอยากมี ถ้าเรามีสติปัญญา รู้จักตนเอง มีความสันโดษ ยินดีในสิ่งที่ได้พอใจในสิ่งที่มีอยู่ มันก็ไม่รบกวนจิตใจของเรา เราก็จะไม่คิดอยากได้อะไรมากมาย แต่ถ้าเรามีอุปกิเลสตัวนี้เกิดขึ้นเมื่อไร ก็จะเกิดความโลภเห็นแก่ได้ ลืมตัว คิดแต่จะจ้อง คิดแต่จะเอา ไม่เลือกว่าควรไม่ควร มันก็ทำให้จิตเศร้าหมอง

    <O:p</O:p
    ๒.พยาบาท คือความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา ว่าเขา คิดจะทำร้ายจะฆ่าเขา หรือคิดว่าอยากให้มีเรื่องร้ายเกิดขึ้นกับเขา อะไรทำนองนี้ โดยเหตุผลมักคือ “จะได้สาสมกับสิ่งที่เขาทำกับเรา” เช่นถ้ามีมอเตอร์ไซค์ตัดหน้าเรา เราก็อาจจะนึกไปว่าขอให้มันล้ม ! ขอให้มันตาย ! คือเราต้องการให้เขาเป็นทุกข์ บางครั้งทำคนอื่นไม่ได้ก็กลับมาทำตัวเอง ตำหนิตัวเอง ทำร้ายร่างกายตัวเอง ในที่สุดก็ฆ่าตัวตายทำนองนี้ นี่คืออำนาจของพยาบาท

    <O:p</O:p
    ๓.โกธะ คือความโกรธ มีอะไรที่ไม่ถูกใจมากระทบก็โกรธ แต่อาจจะหายเร็ว ถ้าหายแล้วก็พูดเหมือนเดิม ทำเหมือนเดิม เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ลักษณะโกรธเฉยๆ โกรธบ่อยๆ อาจโกรธมากแต่ไม่มีพยาบาท ไม่ผูกโกรธ เช่นนี้ก็มี หลายคนจะอยู่ในพวกโกรธง่าย หายเร็ว ความโกรธอาจจะทำให้ทำอะไรไปโดยไม่ยั้งคิด ไม่หาเหตุหาผลให้ดีก่อน

    <O:p</O:p
    ๔.อุปนาหะ คือการผูกโกรธ ใครพูดอะไร ทำอะไรก็โกรธ เป็นทุกข์ แล้วเก็บไว้ ผูกไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม ปีที่แล้ว สองปีที่แล้ว ห้าปีที่แล้ว สิบปีที่แล้วก็ยังจำได้ จำได้ในรายละเอียดด้วย มีอะไรมากระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดบัญชีรวมกัน แล้วคิดทบทวนว่าเขาเคยคิดไม่ดีกับเราอย่างไร ขนาดไหน มีเรื่องเกิดขึ้นเมื่อไรก็เอาเรื่องเก่ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้จิตใจเศร้าหมอง นี่เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ ล้วนเป็นอาการของโทสะ

    <O:p</O:p
    ๕.มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน หรือผู้มีพระคุณ ผู้มีอุปการคุณ ลบหลู่ความดีของผู้อื่น ปิดซ่อนความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณ กลับตำหนิเขาว่าให้ของไม่ดีเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น จิตที่ชอบคิดลักษณะอย่างนี้ก็มีอยู่ ใครพูดชมเขา (positive) เราฟังเฉยๆไม่ได้ เราต้องยกเรื่องไม่ดีของเขามาเสริมมาว่าเขา หรือการที่เราไม่ให้เกรียรติอาจารย์หรือผู้ที่เคยสอนเคยช่วยเรามา เป็นต้น

    <O:p</O:p
    ๖.ปลาสะ คือการตีเสมอ การยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน เด่นกว่าตน ยกตัวเองว่าดีกว่าเขา ชอบตีเสมอ แสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่าถ้าให้เราทำ เราจะทำดีกว่าเขาได้ อะไรทำนองนี้ ตีเสมอตั้งแต่คนทั่วไปจนถึงรัฐมนตรี หรือผู้ใหญ่ในสังคม ถ้าให้ฉันทำ ฉันจะทำได้ดีกว่าเขา ถ้าให้ฉันจัดการเรื่องปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ นะ ฉันต้องทำให้ดีกว่านี้แน่ๆ ถ้าเป็นฉัน น่าจะทำอย่างนี้ อย่างนั้น เป็นต้น

    <O:p</O:p
    .อิสสา คือความริษยา เห็นเขาได้ดี เราทนไม่ได้ ความรู้สึกว่าเขาได้ดีกว่าเรา เขาได้รับความรักมากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ และอยากจะเหมือนเขา ความจริงเราอาจมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว เรากับเขาอาจจะรับเท่ากัน แต่เราเกิดความรู้สึกอย่างนั้นก็เป็นได้

    <O:p</O:p
    .มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ขึ้เหนียว เสียดายของ ยึดในของที่เรามีอยู่ อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร ไม่อยากแบ่งใคร พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จักหาโภคทรัพย์ ให้หามาในทางสุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และรู้จักใช้โภคทรัพย์นี้ให้สร้างประโยชน์ให้ใคร

    <O:p</O:p
    .มายา คือความเจ้าเล่ห์ ไม่จริงใจ คือความหลอกลวง ใช้เล่ห์เหลี่ยม ใช้อุบาย เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ความจริงดีแต่ต้องการให้คนอื่นเห็นว่าไม่ดี หรือความจริงไม่ดีแต่ต้องการให้คนอื่นเห็นว่าดี พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินจริง หรือจริงๆแล้วมีหนึ่งแต่แสดงด้วยการแต่งตัวบ้าง อะไรบ้างให้เขาเข้าใจว่าเรามีสิบ เพื่อให้เรามีภาพพจน์ที่ดีหรือเพื่อให้เราทำการบางอย่างได้ง่ายขึ้น เป็นต้น หรือใจเราคิดตำหนิเขาแต่เวลาพูดแสดงความชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราก็ไม่มีความรู้มากมายแต่ชอบคุย ชอบอวด แสดงว่ารู้มากรู้จริง เป็นต้น

    <O:p</O:p
    ๑o.สาเถยยะ ก็เป็นการหลอกลวงคล้ายมายา แต่เน้นที่การโอ้อวด หลอกเขาด้วยการโอ้อวด ชอบอวดว่าดีเกินที่เป็นจริง เก่งเกินที่เป็นจริง พยายามแสดงให้เขาเห็นเพื่ออยากจะให้เขาเกิดอิจฉาเรา หรือนับถือ หรือมองเราเกินความจริง เมื่อได้โอ้อวด กิเลสมันมีความสุข ทำนองนี้แหละ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 สิงหาคม 2012
  2. ธรรมกรรมดี

    ธรรมกรรมดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +56
    ๑๑.ถัมถะ คือความดื้อ ความกระด้าง ยึดถือยึดมั่นในตัวเอง ในความคิดของตัวเอง ใครแนะนำให้แก้ไข ก็ไม่ยอมรับฟัง เป็นต้น

    <O:p</O:p
    ๑๒.สารัมภะ คือการแข่งดี มุ่งแต่เอาชนะ คิดแต่จะเอาชนะเขาตลอด เช่น เมื่อพูดเถียงกัน ก็จะอ้างเหตุผลต่างๆนานา เพื่อให้เอาชนะให้ได้ ไม่ยอมแพ้ สารัมภะเน้นที่การชนะ ไม่เน้นที่เนื้อหาของการแช่ง การเถียงนั้นๆในบางครั้งทำให้ไม่คำนึงถึงวิธีการ ไม่คำนึงถึงเหตุผล ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ถึงแม้ว่าตัวเองผิดก็ต้องชนะ การพูดก็ดี การทำก็ดี ต้องเหนือกว่าเขา ต้องชนะตลอด ในบางครั้งการที่เราชนะก็ไม่ได้มีประโยชน์ ในทางกลับกันกลับสร้างความเสียหายมากกว่าการยอมแพ้

    <O:p</O:p
    ๑๓.มานะ คือความถือตัว ทะนงตน ว่าเราเป็นคนแบบนี้ๆ เช่นว่าเราเป็นคนซื่อสัตย์ ว่าเราเป็นคนขยัน ว่าเราเป็นคนทันสมัย ฯลฯ ถือสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นคุณสมบัติของตัวเราหรือสิ่งที่เราภาคภูมิใจ ใครว่าเราเป็นคนไม่ดี เราก็โกรธ เราก็เดือดร้อน ใครว่าเราจน มันกระทบตัวอัตตา เรารับไม่ได้ มานะมีหลายประเภท มานะที่ถือว่าสูงกว่าเขา มานะที่ถือว่าเสมอกับเขา เชื่อว่าทุกคนเสมอกันหมด มานะที่ถือว่าต่ำกว่าเขา เชื่อว่าเราไม่ดี เขาดีกว่า มานะเป็นกิเลสที่ละเอียด มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่แก้ได้หมด

    <O:p</O:p
    ๑๔.อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าดีกว่าเขา เหนือกว่าเขา ดูถูก ดูหมิ่นคนอื่น เช่น คนผิวขาวถือตัวถือตนว่าเขาเหนือกว่าคนผิวสีอื่น หรือคนรวยกว่าดูหมิ่นคนจนกว่าเพียงเพราะเขามีเงินมากกว่า หรือคนที่ปฏิบัติธรรมถือตนและดูหมิ่นคนที่ไม่สนใจการปฏิบัติธรรม

    <O:p</O:p
    ๑๕.มทะ คือความมัวเมา ความหลง หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังแข็งแรง ยังมีเวลา ไม่แก่ ไม่ตาย หลงอำนาจ หลงตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป ไม่เร่งทำในสิ่งที่ควรจะทำ หลงทำแต่สิ่งที่ไม่สำคัญ หรือทำอะไรเกินเหตุ ลืมไปว่า อายุไม่แน่นอน สุขภาพก็ไม่แน่นอน อะไรๆก็ไม่แน่นอน

    <O:p</O:p
    ๑๖.ปทามะ คือความประมาท เลินเล่อ ไม่ได้คิดให้รอบคอบก่อน อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา พระพุทธเจ้าสอนว่าความประมาทคือหนทางแห่งความตาย เมื่อเราประมาท คุณงามความดี บุญกุศล อะไรก็ไม่เกิด ที่เกิดแล้วก็ไม่เจริญ ธรรมมะ ๘๔,ooo พระธรรมขันธ์ ก็รวมอยู่ในความไม่ประมาท นี่เป็นโอวาทสุดท้ายในพระผู้มีพระภาคเจ้า
    <O:p</O:p

    ในขั้นนี้ให้เรามองตามดูจิต สังเกตความคิดของเราว่าเป็นอย่างไร มองลึกๆเข้าไป ให้เห็นหน้าตาของความคิดของตัวเองชัดๆ โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ รวมกันออกเป็นลักษณะต่างๆท่านแบ่งไว้เป็น ๑๖ ลักษณะ เราต้องอาศัยจิตที่สงบเป็นสมาธิ พิจารณาให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในราคะ โทสะ โมหะอย่างชัดเจน จึงจะเห็นโทษภัยของสิ่งเหล่านี้ และยอมแก้ไข ยอมปล่อยไป ยังคงปราโมทย์ให้เกิดขึ้นในที่สุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 สิงหาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...