พระป่าและวัดป่าของไทย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 23 พฤศจิกายน 2005.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    <CENTER>
    [SIZE=+2]พระป่าและวัดป่าของไทย[/SIZE]
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] พระภิกษุในพระพุทธศาสนาแบ่งออกได้เป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายคันถธุระ และฝ่ายวิปัสสนาธุระ ฝ่ายคันถธุระ ศึกษาพระปริยัติธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดความรอบรู้ในหลักธรรม เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ และสั่งสอนผู้อื่นต่อไป พระภิกษุฝ่ายนี้เมื่อศึกษาแล้วจะเกิดปัญญาที่เรียกว่า สุตตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้จากภายนอกโดยการฟังการเห็นเป็นต้น ส่วนใหญ่พระภิกษุฝ่ายคันถธุระ มักจะอยู่ที่วัดในเมืองหรือหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกในการแสวงหาความรู้เพื่อตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และได้ใช้ความรู้นั้น ๆ สั่งสอนผู้อื่นได้ง่าย ได้บ่อยครั้งและได้เป็นจำนวนมาก จึงเรียกพระภิกษุฝ่ายนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นฝ่ายคามวาสี หรือพระบ้าน
    [SIZE=-1] อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าฝ่ายวิปัสสนาธุระ นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จริงจังโดยเน้นที่การฝึกจิตในด้านสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาในลักษณะของภาวนามยปัญญา อันเป็นความรู้ที่แท้จริงตามหลักของพระพุทธศาสนา เป็นปัญญาที่เกิดจากภายในผุดเกิดขึ้นเองเมื่อได้ปฏิบัติสัมมาสมาธิ จนถึงระดับหนึ่งคือ จตุตถฌานแล้วกระทำในในให้แยบคายน้อมไปไปสู่ที่ใต้ต้นวิชชาสาม ซึ่งจะเป็นความรู้ตามความเป็นจริงในระดับหนึ่ง ตามกำลังความสามารถของผู้ปฏิบัตินั้น ๆ อันเป็นหนทางนำไปสู่ความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวจำเป็นต้องหาที่สงบสงัด ห่างไกลต่อการรบกวนจากภายนอกในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นพระภิกษุฝ่ายนี้จึงออกไปสู่ป่าเขา แสวงหาสถานที่ เพื่อให้เกิดสัปปายะแก่ตนเองที่จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาอย่างได้ผล จึงเรียกพระภิกษุฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายอรัญวาสี หรือพระป่า หรือพระธุดงค์
    [SIZE=-1] ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุทุกรูปจะเป็นพระป่า พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำชับให้ภิกษุสาวกของพระองค์ ให้ออกไปสู่โคนไม้ คูหาหรือเรือนร้าง เพื่อปฏิบัติสมาธิภาวนา[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระพุทธเจ้าประสูติในป่า คือที่ป่าลุมพินีวัน ณ เขตติดต่อแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ตรัสรู้ที่ใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ในป่าริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เขตกรุงสาวัตถี แคว้นมคธ ทรงแสดงพระปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสี และเข้าสู่ปรินิพพานที่ป่าในเขตกรุงกุสินาราย ตลอดระยะเวลา ๕๑ ปี พระพุทธเจ้าได้ทรงจาริกไปสั่งสอนเวไนยสัตว์ และเสด็จประทับอยู่ในป่า เมื่อมีผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาสร้างวัดถวายก็จะสร้างวัดในป่า เช่น เชตวัน เวฬุวัน อัมพวัน ลัฏฐิวัน ชีวกัมพวัน มัททกุจฉิมฤคทายวัน อันธวัน และนันทวัน เป็นต้น คำว่าวันแปลว่าป่า พระพุทธองค์จะประทับอยู่ในวัดดังกล่าวตอนช่วงพรรษา ปีหนึ่งไม่เกินสี่เดือน นอกจากนั้นจะเสด็จจาริกนอนตามโคนไม้ตามป่า
    [SIZE=+1]พระป่าของไทย[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระป่าของไทย หมายถึงพระที่อยู่ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับ พระบรมศาสดาอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นผู้ที่บรรพชาอุปสมบทถูกต้องครบถ้วนตามพระธรรมวินัย ไม่ผิดกฏหมายของบ้านเมือง บวชด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นและบริสุทธิ์ใจในบวรพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้วก็มุ่งมั่นบำเพ็ญเพียร ตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้บรรลุธรรม อันนำไปสู่การพ้นจากวัฏสงสาร ทำให้พ้นจากกองทุกข์ อันเป็นจุดหมายอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในสมัยสุโขทัยต่อเนื่องมายังสมัยอยุธยา เรามีพระภิกษุฝ่ายคามวาสี เน้นทางด้านคันถธุระ และฝ่ายอรัญวาสีเน้นทางด้านวิปัสสนาธุระ ดังจะเห็นได้ในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่กระทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า ได้ชัยชนะ แต่แม่ทัพนายกองหลายคนกระทำการบกพร่องได้รับการพิจารณาโทษ สมเด็จพระนพรัตน์แห่งวัดป่าแก้วและคณะ ได้เสด็จมาแสดงธรรมเพื่อให้ทรงยกโทษประหารแก่ แม่ทัพนายกองเหล่านั้น โดยยกเอาเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธองค์ผจญพญามาร ในคืนวันที่ จะทรงตรัสรู้มาเป็นอุทาหรณ์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปิติโสมนัส ซาบซึ้งในพระธรรมที่สมเด็จพระนพรัตน์วัดป่าแก้ว ทรงแสดงยิ่งนักตรัสว่า "พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ควรหนักหนา" และได้ทรงพระราชทานอภัยโทษประหารแก่แม่ทัพนายกองเหล่านั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] จะเห็นว่าสมเด็จพระนพรัตน์วัดป่าแก้ว เป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี จึงได้ชื่อนี้ และอยู่ที่วัดป่า แต่ก็มิได้ตัดขาดจากโลกภายนอก เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญที่ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์สมควรที่จะออกมาสงเคราะห์ฝ่ายบ้านเมือง หรืออาจจะกล่าวโดยรวมว่า ฝ่ายศาสนจักรสงเคราะห์ฝ่ายอาณาจักร ท่านก็สามารถกระทำกิจนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ อย่างผู้ที่แตกฉานในพระไตรปิฎก ดังนั้น พระภิกษุสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีผู้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระ จะต้องมีความรู้ทางคันถธุระเป็นอย่างดีมาก่อน จะได้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระได้อย่างถูกต้องตรงทาง คุณสมบัติข้อนี้ได้มีตัวอย่างมาแล้วแต่โบราณกาล[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีพระภิกษุที่เป็นแบบอย่างของพระป่าในปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันดีคือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพ ฯ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ[COLOR=#cc0000] หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต[/COLOR][COLOR=#000099] ทั้งสามท่านมีกิตติศัพท์เป็นที่เลื่องลือ ในดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทั้งในประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศพม่า สำหรับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระภิกษุที่มีศิษย์เป็นพระป่ามากที่สุดสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ และมรณภาพ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๖ นับจากปี พ.ศ.๒๔๖๐ จนมรณภาพท่านได้ออกสั่งสอนศิษย์เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสูงสุด โดยเน้นภาคปฏิบัติที่เป็นจิตภาวนาล้วน ๆ ตามแนวทาง[COLOR=#cc0000]พระอริยมรรคมีองค์แปด[/COLOR][COLOR=#000099] เมื่อกล่าวโดยย่อได้แก่ [COLOR=#cc0000]ไตรสิกขา[/COLOR][COLOR=#000099] คือ ศีล สมาธิ ปัญญา[/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]ปัจจัยสี่ของพระป่า[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อให้พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตอยู่สำหรับการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้สี่อย่าง พระป่าของไทยได้นำมาประพฤติปฏิบัติจนถือเป็นนิสัยคือ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑. [B][COLOR=#cc0000]การออกเที่ยวบิณฑบาตมาเลี้ยงชีพตลอดชีวิต[/COLOR][/B][COLOR=#000099] การบิณฑบาตเป็นงานสำคัญประจำชีวิต ในอนุศาศน์ท่านสั่งสอนไว้มีทั้งข้อรุกขมูลเสนาสนะ และข้อบิณฑบาต การออกบิณฑบาต พระผู้มีพระภาคทรงถือเป็นกิจจำเป็นประจำพระองค์ ทรงถือปฏิบัติเพื่อโปรดเวไนยสัตว์อย่างสม่ำเสมอตลอดมาถึงวันปรินิพพาน[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] การบิณฑบาต เป็นกิจวัตรที่อำนวยประโยชน์แก่ผู้บำเพ็ญเป็นเอนกปริยาย กล่าวคือ เวลาเดินบิณฑบาตไปในละแวกบ้าน ก็เป็นการบำเพ็ญเพียรไปในตัวตลอดเวลาที่เดิน เช่นเดียวกับเดินจงกรมอยู่ในสถานที่พักประการหนึ่ง เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถในเวลานั้นประการหนึ่ง ผู้ที่บำเพ็ญทางปัญญาโดยสม่ำเสมอ เมื่อเวลาเดินบิณฑบาต เมื่อได้เห็นหรือได้ยินสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาสัมผัสทางทวารย่อมเป็นเครื่องเสริมสติปัญญา และถือเอาประโยชน์จากสิ่งนั้น ๆ ได้โดยลำดับประการหนึ่ง เพื่อตัดความเกียจคร้านของตนที่ชอบแต่ผลอย่างเดียว แต่ขี้เกียจทำเหตุที่คู่ควรแก่กันประการหนึ่ง และเพื่อตัดทิฏฐิมานะถือตน รังเกียจต่อการโคจรบิณฑบาต อันเป็นลักษณะของการเป็นผู้ขอ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] เมื่อได้อะไรมาจากบิณฑบาตก็ฉันอย่างนั้น พอยังอัตภาพให้เป็นไป ไม่พอกพูนส่งเสริมกายให้มาก อันจะเป็นข้าศึกต่อความเพียรทางใจให้ก้าวหน้าไปได้ยาก การฉันหนเดียวในหนึ่งวันก็ควรฉันเถิดแต่พอประมาณ ไม่ให้มากเกินไป และยังต้องสังเกตด้วยว่าอาหารชนิดใดเป็นคุณแก่ร่างกาย และเป็นคุณแก่จิต เพื่อให้สามารถปฏิบัติสมาธิภาวนาได้ด้วยดี[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒. [B][COLOR=#cc0000]การถือผ้าบังสุกุลจีวรตลอดชีวิต[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ในสมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญพระมหากัสสปะว่า เป็นผู้เลิศในการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ผ้าบังสุกุล คือผ้าที่ถูกทอดทิ้วไว้ตามป่าช้า เช่นผ้าห่อศพ หรือผ้าที่ทิ้งไว้ตามกองขยะ ซึ่งเป็นของเศษเดนทั้งหลาย ไม่มีใครหวงแหน พระภิกษุเอามาเย็บติดต่อกันตามขนาดของผ้าที่จะทำเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ ได้ประมาณแปดนิ้วจัดเป็นผ้ามหาบังสุกุล ผ้าบังสุกุลอีกประเภทหนึ่งที่เป็นรองลงมา ผู้ที่มีจิตศรัทธานำผ้าที่ตนได้มาด้วยความบริสุทธิ์ไปวางไว้ในสถานที่พระภิกษุเดินจงกรมบ้าง ที่กุฏิบ้าง หรือทางที่ท่านเดินผ่านไปมา แล้วหักกิ่งไม้วางไว้ที่ผ้า หรือจะจุดธูปเทียนไว้ พอให้ท่านรู้ว่าเป็นผ้าถวายเพื่อบังสุกุลเท่านั้น[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๓. [B][COLOR=#cc0000]รุกขมูลเสนาสนัง[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ถือการอยู่โคนไม้ในป่าเป็นที่อยู่อาศัย มหาบุรุษโพธิสัตว์ก่อนทรงตรัสรู้ในระหว่างที่แสวงหาโมกขธรรมอยู่หกปี ก็ได้มีความเป็นอยู่อย่างนี้มาโดยตลอด ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำพระสาวกให้เน้นการอยู่ป่าเป็นส่วนใหญ่ จำทำให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้ากว่าการอยู่ที่อื่น[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๔. [B][COLOR=#cc0000]การฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าตลอดชีวิต[/COLOR][/B][COLOR=#000099] เป็นการฉันยาตามมีตามได้ หรือเที่ยวแสวงหายาตามป่าเขา อันเกิดตามธรรมชาติเพื่อบรรเทาเวทนาของโรคทางกายเท่านั้น[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]กิจวัตรของพระป่า[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] กิจวัตรที่สำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นแนวปฏิบัติของพระป่า ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำมีอยู่สิบประการคือ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑. ลงพระอุโบสถในอาวาสหรือที่ใด ๆ มีพระภิกษุตั้งแต่สี่รูปขึ้นไป ต้องประชุมกันลงฟังพระปาฏิโมกข์ ทุก ๑๕ วัน (ครึ่งเดือน)[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒. บิณฑบาตเลี้ยงชีพตลอดชีวิต[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๓. ทำวัตรสวดมนต์ เช้า - เย็นทุกวัน เว้นแต่เจ็บไข้อาการหนัก พระป่าจะทำวัตรสวดมนต์เอง ไม่ได้ประชุมรวมกันทำวัตรสวดมนต์เหมือนพระบ้าน[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๔. กวาดเสนาสนะ อาวาส ลานพระเจดีย์ ลานวัด และบริเวณใต้ต้นมหาโพธิ ถือเป็นกิจวัตรสำคัญ เป็นเครื่องมือขจัดความเกียจคร้านมักง่ายได้เป็นอย่างดี พระวินัยได้แสดงอานิสงส์ไว้ ห้าประการ คือ หนึ่งในห้าประการนั้นคือ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ผู้กวาดชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินตามคำสั่งสอนของพระศาสดา เบื้องหน้าแต่ตายเพราะทำลายขันธ์ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๕. รักษาผู้ไตรครองคือ สังฆาฏิ จีวร และสบง[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๖. อยู่ปริวาสกรรม[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๗. ปลงผม โกนหนวด ตัดเล็บ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๘. ศึกษาสิกขาบท และปฏิบัติอาจารย์[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๙. แสดงอาบัติคือ การเปิดเผยโทษที่ตนทำผิดพระวินัยที่เป็นลหุโทษ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้ทราบ และสัญญาว่าจะสำรวมระวังมิให้เกิดทำผิดเช่นนั้นอีก[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้งสี่ ด้วยความไม่ประมาท คือ พิจารณาสังขาร ร่างกาย จิตใจ ให้เป็นของไม่เที่ยงถาวรที่ดีงามได้ยาก ให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเป็นอุบายทางปัญญาอยู่ตลอดเวลาในอิริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]ธุดงควัตรของพระป่า[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ธุดงค์ที่พระผู้มีพระภาคให้ปฏิบัติเพื่อขจัดกิเลสที่ฝังอยู่ภายใจจิตใจของปุถุชน มีอยู่ ๑๓ ข้อ ดังนี้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒. เตจีวริกังคะ ถือใช้ผ้าเพียงสามผืนเป็นวัตร[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๓. ปิณฑปาติกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๔. สปทานจาริกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร เพื่อเป็นความงามในเพศสมณะในทางมรรยาท สำรวมระวังอยู่ในหลักธรรม หลักวินัย[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๕. เอกาสนิกังคะ ถือการฉันมื้อเดียวเป็นวัตร เพื่อตัดกังวลในเรื่องการฉันอาหารให้พอเหมาะกับเพศสมณะให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่รบกวนคนอื่นให้ลำบาก[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ คือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ฉันเฉพาะในบาตร เพื่อขจัดความเพลิดเพลินในรสอาหาร[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือการห้ามฉันภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๘. อารัญญิกังคะ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๙. รุกขมูลิกังคะ ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ข้อนี้ตามแต่กาลเวลาและโอกาสจะอำนวยให้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๐. อัพโภกาลิกังคะ ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ข้อนี้ก็คงตามแต่โอกาส และเวลาจะอำนวยให้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๑. โสสานิกังคะ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติให้เหมาะกับเวลาและโอกาส[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๒. ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่เสนาสนะแล้วแต่เข้าจัดให้ มีความยินดีเท่าที่มีอยู่ไม่รบกวนผู้อื่น อยู่ไปพอได้บำเพ็ญสมณธรรม[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือการ ยืน เดิน นั่ง อย่างเดียว ไม่นอนเป็นวัตร โดยกำหนดเป็นคืน ๆ ไป[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]เครื่องบริขารของพระป่า[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] เครื่องบริขารของพระป่า ตามพระวินัยกล่าวไว้มีสองชนิด คือ บาตรดินเผา และบาตรเหล็ก ปัจจุบันใช้บาตรเหล็กที่ระบมด้วยไฟ เพื่อป้องกันสนิม[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] สบงหรือผ้านุ่ง จีวรหรือผ้าห่ม และสังฆาฏิ เป็นบริขารที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ ผ้าเหล่านี้พระป่าจะทำกันเองตั้งแต่การตัดเย็บ ย้อมด้วยน้ำแก่นขนุนเรียกว่า [COLOR=#cc0000]ย้อมด้วยน้ำฝาด[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] บริขารอื่นนอกจากบริขารแปดแล้ว ก็มีกลดพร้อมมุ้งกลด ในฤดูฝนสามารถใช้แทนร่มในเวลาออกบิณฑบาต นอกจากนี้ก็มีผ้าอาบน้ำฝนใช้นุ่งอาบน้ำ ผ้าอาบน้ำฝนนี้จะใช้หินแดงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาฝนเป็นสีสำหรับย้อม ผ้าที่ย้อมด้วยหินแดงนี้ จะมีสีแดงเป็นส่วนใหญ่ หินแดงนี้ยังใช้ผสมกับสีแก่นขนุนเพื่อย้อมสบงจีวร และสังฆาฏิได้อีก นอกจากนี้ผ้าปูที่นอน ผ้านิสีทนะสำหรับใช้ปูนั่ง ผ้าอังสะ ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก ย่ามสำหรับใส่ของ เมื่อถึงเวลาออกเที่ยววิเวกตามป่า ตามเขา ตามถ้ำ ท่านจะซักย้อมผ้าของท่านเพื่อให้สีทนทาน บางทีไปนานสองสามเดือน ก็จะเคี่ยวแก่นขนุนเก็บติดตัวไปด้วย[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]การเข้าเป็นพระป่า[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] การเริ่มต้นชีวิตแบบพระป่าอาจทำได้สองวิธีคือ วิธีที่หนึ่ง บวชเป็นพระภิกษุเสียก่อนในที่อื่นแล้วขอไปพำนักในวัดป่า วิธีนี้เป็นวิธีที่พระภิกษุส่วนมากผ่านเข้าสู่วัดป่า ทั้งนี้เพราะสมภารวัดป่าส่วนมาก ไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นพระอุปัชฌาย์[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] วิธีที่สองคือ วิธีผ้าขาวคือ เป็นผู้ที่ปวารณาตัวเป็นอุบาสก ถือศีลแปด และอาศัยอยู่ในวัดทำหน้าที่เป็นลูกศิษย์พระ และฝึกปฏิบัติไปด้วย ต้องทำหน้าที่ให้เรียบร้อยเป็นที่พอใจของสมภารหรืออาจารย์ที่เป็นผู้ปกครอง จึงจะได้รับอนุญาตให้บวช บางคนเป็นผ้าขาวอยู่สองสามเดือนก็ได้บวช แต่บางคนก็อยู่เป็นปี บางคนเริ่มด้วยเป็นผ้าขาวน้อยตั้งแต่อายุยังน้อยสิบหรือสิบเอ็ดขวบ พอรู้เรื่องวัดดีก็บวชเป็นเณรเมื่ออายุครบก็บวชเป็นพระภิกษุ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] เป็นที่น่าสังเกตว่าวัดป่ามักไม่ใคร่มีลูกศิษย์พระ ทั้งนี้เพราะลูกศิษย์ถือแค่ศีลห้า และบางทีก็ทำได้ไม่ครบถ้วน มักจะรบกวนการปฏิบัติของพระด้วยประการต่าง ๆ พระป่าจึงไม่ใคร่นิยม[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]การอยู่วัดป่า[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] วัดป่าไม่เหมือนวัดบ้าน ความรู้สึกที่ได้รับเมื่อเข้าสู่เขตวัดป่าคือ ความร่มรื่น ซึ่งเกิดจากต้นไม้น้อยใหญ่ที่เป็นสวนป่าในวัด ประการต่อมาคือความสะอาด และมีระเบียบ ถนนและทางเดินจะเตียนโล่งไม่มีเศษกิ่งไม้ใบไม้ร่วงหล่นเกลื่อนกลาด ทั้งที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นโดยรอบ ประการต่อมาคือความเงียบ บางเวลาเงียบมากจนได้ยินเสียงใบไม้ตกได้อย่างชัดเจน เสียงคนพูดคุยกันดัง ๆ แบบที่ได้ยินกันตามบ้านจะไม่มีเลย เวลาที่พระป่าจะคุยกันก็มีเฉพาะเวลาเตรียมฉันจังหัน เวลานัดดื่มน้ำเวลาบ่าย และเวลาพร้อมกันปัดกวาดถนนหนทางและลานวัด พระภิกษุทุกท่านจะพูดกันด้วยเสียงค่อยมาก จะไม่พบว่ามีการตะโกนคุยกันสนุกสนานเฮฮา เลย[/SIZE][/COLOR][/FONT] <CENTER>
    [IMG]http://www.heritage.thaigov.net/religion/prapa/phapa03.jpg[/IMG]</CENTER>
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]กุฏิพระป่า[/COLOR][/B][COLOR=#000099] พระป่ามักไม่ค่อยเอาใจใส่กับที่อยู่อาศัยนอกเหนือไปจากขอให้บังแดดบังฝน และกันลมหนาวได้พอสมควรเท่านั้น กุฏิส่วนมากสร้างขึ้นชั่วคราวมีพื้นเป็นไม้ฟาก ซึ่งทำจากไม้ไผ่นำมาทุบแล้วแผ่ออกให้แบน หลังคามุงด้วยหญ้าหรือใบไม้ เวลาใช้ไม้กระบอกหรือไม้แบบที่ใช้ทำเสาเข็ม ฝาผนังเป็นกระดาษเหนียวกรุระหว่างตะแกรงที่สานด้วยไม้ไผ่ บานประตูหน้าต่างเป็นแบบเดียวกับฝาผนังเปิดโดยวิธีเลื่อนหรือใช้ไม้ค้ำ กุฏิแบบนี้หน้าร้อนจะเย็นสบายเพราะลมเข้าได้ทุกทาง แต่หน้าฝนมักเปียกเพราะหลังคาหรือฝาผนังรั่ว ในหน้าหนาวลมเย็นจะเข้าได้ทุกทาง ทำให้เย็นจัด[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] เมื่อมีผู้มีจิตศรัทธามากขึ้น กุฏิของพระป่าก็ค่อย ๆ เปลี่ยนจากกุฏิชั่วคราวเป็นกึ่งถาวร และถาวร อย่างไรก็ตามกุฏิของพระป่ามักจะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน ต่างกันแต่ขนาดและวัสดุก่อสร้าง กุฏิชั่วคราวมักจะเตี้ยยกพื้นสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เพียงให้พ้นจากการรบกวนของสัตว์ เช่น งู หรือหนู ถ้าเป็นกุฏิถาวรมักทำใต้ถุนสูงพอเข้าไปอาศัยหรือยืนได้ ตามธรรมดาจะมีอยู่ห้องหนึ่งเป็นที่จำวัด หรือนั่งสมาธิภาวนา และเก็บสิ่งของเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดเฉลี่ยกว้างด้านละประมาณสองเมตรครึ่ง มีเฉลียงสำหรับนั่งพักหรือรับแขก ขนาดพอสมควรแก่การใช้งาน ถ้าสร้างกว้างใหญ่มากก็จะผิดพระวินัย[/SIZE][/COLOR][/FONT] <CENTER>
    [IMG]http://www.heritage.thaigov.net/religion/prapa/phapa02.jpg[/IMG]</CENTER>[FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] โดยทั่วไปภายในกุฏิมักจะมีแต่กลดพร้อมมุ้งกลด เสื่อปูนอน เครื่องอัฐบริขาร ผ้าห่มนอน จีวร ตะเกียง หรือเทียนไขและหนังสือ ที่หัวนอน อาจมีหิ้งพระตั้งรูปพระอาจารย์ต่าง ๆ อย่างอื่น ๆ ก็มีขวดน้ำ และแก้วน้ำ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] กุฏิแต่ละหลังผู้อยู่อาศัยต้องระวังรักษาเองให้อยู่ในสภาพที่สะอาดเรียบร้อยทั้งตัวกุฏิ และบริเวณกุฏิ บนกุฏิสิ่งของต่าง ๆ ต้องวางเป็นที่ และมีระเบียบ พระป่าปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด ต้องรักษาเสนาสนะคือ ที่อยู่อาศัย และบริเวณให้สะอาด ทุกเช้าตั้งแต่ยังไม่สว่าง พระป่าทุกท่านจะหยุดนั่งสมาธิในตอนเช้า จัดการปัดกวาดกุฏิ พอรุ่งสางก็ช่วยกันกวาดถูศาลาการเปรียญ การถูพื้นจะใช้เปลือกมะพร้าวห้าวมาทุบตัดครึ่งแล้วนำไปถูพื้น เมื่อทำนาน ๆ ไปจะให้พื้นกระดานเป็นมันจนลื่น[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ทุกวันเวลาบ่ายประมาณ สามโมง ถึงสี่โมงเย็น จะเป็นเวลากวาดวัดของวัดป่าส่วนมากการกวาดจะใช้ไม้กวาดด้ามไม้ไผ่ยาว ต้องใช้แรงในการกวาดมาก เป็นการออกกำลังที่ดียิ่งในแต่ละวัด นอกเหนือจากการเดินจงกรม และเดินบิณฑบาต การถูศาลาและการกวาดลานวัดทุกวันทำให้พระป่าแข็งแรง และมีสุขภาพดีเป็นประโยชน์ในทุกด้าน[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
     
  2. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    [SIZE=+1]สังคมแบบพระพุทธศาสนา[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระพุทธศาสนาเป็นตัวอย่างของสังคมประชาธิปไตย และสังคมนิยม ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบวชเป็นสมาชิกของวัดก็ต้องผ่านการลงมติของคณะสงฆ์เสียก่อน สิ่งของต่าง ๆ ที่มีผู้ถวายแก่วัด จะเป็นสมบัติส่วนของคณะสงฆ์ ภิกษุผู้ใดจะเอาไปเป็นของส่วนตัวไม่ได้ ทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกัน ถ้าเกิดมีกรณีพิพาทกันก็ต้องตั้งกรรมการขึ้นมาพิจารณามีระบบอาวุโส มีการคารวะระหว่างกัน การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการสมัครใจไม่มีการบังคับ ถ้าไม่พอใจก็ออกจากสังคมนี้ไป[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในวัดป่าได้ใช้ระบบดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เมื่อมีลาภสิ่งใดมาสู่วัด สมภารจะเป็นผู้สั่งให้แจกจ่ายหรือเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนกลาง พระภิกษุรูปใดขาดแคลนก็จะได้รับไปก่อนหรือได้รับมากกว่ารูปอื่น อาหารที่บิณฑบาตได้ จะนำมารวมกันก่อน แล้วจึงแจกไปให้ทั่วกัน ผ้าที่ได้จากกฐินหรือผ้าป่าก็นำมาไว้เป็นกองกลาง ภิกษุรูปใดมีจีวรเก่า และชำรุดมากแล้ว สมภารจเป็นผู้สั่งจ่ายให้ตามความจำเป็น ปัจจัยที่มีผู้นำมาถวายวัด จะนำเข้าบัญชีของวัด[/SIZE]
    [SIZE=-1] การขบฉัน พระป่าถือหลักฉันน้อยเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างที่เร่งความพากเพียร เช่นระหว่างพรรษา ยิ่งฉันน้อยลงไปอีก บางรูปไม่ฉันเสียหลายวัน ท่านว่าทำให้จิตโปร่งและภาวนาได้ดี นอกจากระวังไม่ฉันมากแล้ว ท่านยังระวังไม้ให้ติดรสอาหารอีกด้วย โดยหลักเลี่ยงอาหารที่รสอร่อย เพราะเกรงว่าจะติดสุขในเวลาฉัน ต้องพิจารณาตามแบบที่พระพุทธเจ้าสอน คือ ให้กินเพื่ออยู่ ท่านจะเงียบสงบระหว่างฉัน ไม่พูดจากัน เพราะท่านต้องเพ่งพิจารณาอาหารด้วย[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] วัดป่าสายหลวงปู่มั่น มีระเบียบเกี่ยวกับการฉันเป็นอย่างเดียวกัน คือ ฉันมื้อเดียวในตอนสาย ฉันอาหารที่ได้จากบิณฑบาต และฉันในบาตร มีเฉพาะน้ำและสิ่งที่ใช้ดื่มเท่านั้นที่ใส่ถ้วยไว้นอกบาตรได้ ดังนั้นพระป่าต้องออกบิณฑบาตทุกวัน นอกจากอาพาธหรือเดินไม่ได้ ธรรมดาวัดป่าจะอยู่ห่างจากหมู่บ้าน เพื่อให้พ้นจากการรบกวนจากคน สัตว์ และเสียง แต่จะต้องไม่ไกลเกินไปจนเดินไปบิณฑบาตไม่ไหว โดยมากจะอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณสองถึงสามกิโลเมตร พอจะเดินไปกลับได้ภายในหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ตามปกติจะออกจากวัดประมาณ หกโมงเช้าเศษ หลังจากทำความสะอาดตอนเช้าเสร็จ ก่อนจะออกบิณฑบาตต้องจัดบาตรให้พร้อมโดยผูกมัดบาตรให้แน่น และเรียบร้อย ท่านจะสะพายบาตรไปบิณฑบาต เวลาออกจากวัดจะเดินไปเป็นกลุ่ม พระภิกษุผู้น้อยจะอยู่ข้างหน้า พระผู้ใหญ่อยู่ข้างหลัง พอเข้าเขตบ้านพระภิกษุข้างหน้าจะหยุดคอยให้พระผู้ใหญ่นำเดินเข้าหมู่บ้านเป็นแถวเรียงหนึ่ง ตามลำดับอาวุโส และรับอาหารอย่างเป็นระเบียบน่าดู เมื่อรับไปทั่วแล้วก็วกกลับวัด บางทีพระผู้น้อยจะรับบาตรของพระผู้ใหญ่ไปสะพายแทน บางทีชาวบ้านขออาสาสะพายหรืออุ้มบาตรไปส่งจนถึงวัด[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>[SIZE=-1] การฉันภัตตาหารพระภิกษุทุกรูปจะขึ้นไปรวมบนศาลาที่นั่งฉัน แล้วเข้าที่นั่งฉันจัดอาหารลงบาตร ที่นั่งนั้นได้จัดปูอาสนะไว้เรียบร้อยก่อนออกบิณฑบาต การนั่งจะเรียงตามอาวุโส พระภิกษุทุกรูปจะถ่ายบาตรเอาอาหารใส่ลงในถาดที่วางไว้เป็นของกลาง พระภิกษุที่เป็นเจ้าหน้าที่ยกถาดไปถวายให้สมภารก่อนแล้ว จึงส่งต่อไปตามลำดับ อาหารที่เลือกไว้แต่ละรูป จะจัดลงในบาตรเพื่อจะฉันต่อไป เสร็จแล้วเอาผ้าปิดปากบาตรไว้ คอยจนเสร็จพร้อมกัน พระภิกษุที่เป็นประธานว่าบท ยถา..สัพพี เสร็จแล้วจึงเปิดผ้าคลุมบาตรขึ้นพร้อมกัน พิจารณาอาหารในบาตรตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ เช่น ให้สำนึกว่าฉันภัตตาหาร เพื่อให้คลายทุกข์ที่เกิดจากความหิว ไม่ใช่เพื่อความมีรสอร่อย ฯลฯ เสร็จแล้วจึงเริ่มฉันระหว่างนั้นไม่มีการพูดจากัน เพราะต่างก็พิจารณาไปเรื่อย ๆ เมื่อฉันเสร็จก็เช็ดถูพื้นศาลาตรงบริเวณที่ตัวนั่ง ยกบาตรออก เก็บเครื่องปูลาดเข้าที่ อาหารเหลือก้นบาตรเทลงถาดมอบให้แก่ผู้ที่ต้องการ นำบาตรไปล้างและเช็ดถูจนสะอาดแล้วคว่ำผึ่งแดดให้แห้ง[/SIZE]
    [SIZE=-1] บาตรเป็นบริขารที่สำคัญยิ่งสำหรับพระป่า จะไปไหนต้องเอาไปด้วยเสมอ บาตรมักจะใหญ่กว่าบาตรของพระบ้าน แต่เป็นเพราะท่านถือธุดงค์ฉันในบาตร ถ้าบาตรแคบจะฉันไม่สะดวก นอกจากนั้นเวลาท่านเดินทางยังใช้บาตรบรรจุเครื่องอัฐบริขารต่าง ๆ แล้วสะพายไปจึงต้องรักษาบาตรให้สะอาด แล้วผึ่งแดดให้แห้งสนิท ต้องรักษาไม่ให้เกิดสนิม[/SIZE]
    [SIZE=+1]การอบรมและการปฏิบัติ[/SIZE]
    [SIZE=-1] การอบรมของพระป่า ดำเนินตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างเคร่งครัด สิ่งที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือพระอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ที่พระป่าต้องพยายามเสาะหาอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้อุปนิสัยใจคอที่เข้ากันได้ แม้กระทั่งคำพูดและวิธีการพูดที่ทำให้เข้าใจกันง่าย ในการปฏิบัติภาวนานั้น เป็นการยากที่ผู้ปฏิบัติจะฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ นานาไปจนถึงจุดหมายปลายทางได้โดยลำพังตนเอง จำเป็นต้องมีอาจารย์คอยช่วยแนะนำ อาจารย์ที่ดีย่อมให้โอกาสแก่ศิษย์ทุกคน ตั้งใจอบรมสั่งสอน แนะช่องทางสำหรับการก้าวหน้า เอาใจใส่ในทุกข์สุขการกินอยู่ การเจ็บไข้ได้ป่วย และความต้องการอื่น ๆ ให้ความอนุเคราะห์ทุก ๆ อย่าง ท่านต้องทำตัวเป็นทั้งพระอาจารย์และพ่อแม่ และศิษย์ก็ตอบแทนท่านอย่างกับอาจารย์ และบิดามารดารวมกัน เวลาพูดถึงอาจารย์ พระป่าจะเรียกท่านว่า พ่อแม่ ครู อาจารย์ ทุกครั้ง การปฏิบัติอาจริยวัตรก็เป็นไปโดยสมบูรณ์แบบเสมอ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ศีล จากวัดป่าจะเน้นเรื่องศีล พระป่าทุกรูปจะต้องรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ไม่ให้มีด่างพร้อย ในไตรสิกขา ศีลเป็นข้อที่ง่ายที่สุด และเท่ากับเป็นเครื่องทดสอบพระภิกษุ เพราะการรักษาศีลต้องการเพียงความตั้งใจเท่านั้น ถ้าผู้ใดรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ผู้นั้นก็ไม่มีหวังที่จะก้าวหน้าไปถึงธรรมชั้นสูง ศีลเป็นเครื่องรองรับหรือเป็นฐานของสมาธิ ทำให้สมาธิเกิดง่าย และตั้งอยู่โดยมั่นคง ศีล ๒๒๗ ข้อ พระป่าไม่เพียงแต่รักษาทุกข้อ แต่ท่านรักษาถึงทุกตัวอักษรทีเดียว[/SIZE]
    [SIZE=-1] ภาวนา ในวัดป่าการไหว้พระสวดมนต์รวมกันนั้นมีน้อย โดยมากกระทำเฉพาะวันพระที่มีการสวดปาฏิโมกข์ ในวันธรรมดาต่างรูปต่างสวดในกุฏิของตนเอาตามความพอใจ ตามธรรมดาพอฉันเสร็จจัดการเรื่องบาตรเรียบร้อยแล้ว กลับถึงกุฏิก็จะทำการภาวนา ส่วนมากมักเริ่มด้วยการเดินจงกรม เพื่อแก้อาการง่วง ซึ่งอาจเกิดขึ้นภายหลังอาหาร ใกล้ ๆ กับกุฏิทุกหลังจะมีทางเดินจงกรมสร้างไว้ มีขนาดกว้างประมาณ ๑ เมตร ยาวประมาณ ๑๐ - ๑๕ เมตร เป็นทางตรงและรักษาไว้สะอาด มีหลักสำหรับแขวนหรือตั้งโคมในเวลากลางคืน เพื่อจะได้มองเห็นทางไม่ไปเหยียบสัตว์ให้ตายหรือถูกงูกัด ระหว่างเดินจงกรมอาจบริกรรมคาถา หรือพิจารณาเกี่ยวกับสังขารร่างกาย จุดประสงค์เพื่อให้เกิดความสงบเกิดสมาธิ และเกิดปัญญา ระยะเวลาในการเดินแล้วแต่บุคคล อาจจะเป็นหนึ่งชั่วโมงไปจนถึงสี่ชั่วโมง เมื่อหยุดเดินก็เข้าที่ภาวนา พอเมื่อยหรือง่วงก็ออกมาเดินอีกสลับกันไปจนถึงเวลาดื่มน้ำร่วมกันในตอนบ่าย[/SIZE]
    [SIZE=-1] การดื่มน้ำตอนบ่ายอาจเป็นน้ำอัฐบาน กาแฟ น้ำหวาน อย่างใดอย่างหนึ่ง เสร็จแล้วกวาดวัด กวาดวัดเสร็จก็สรงน้ำ ซักสบง และอังสะ แล้วเอาไปตาก ต่อจากนั้นเป็นเวลาว่าง จะทำอะไรก็ได้ บางท่านอาจเข้าที่ภาวนาต่อ บางวัดท่านอาจารย์ขึ้นศาลาเทศน์สั่งสอนในตอนหัวค่ำทุกคืน เสร็จแล้วนั่งภาวนาพร้อมกันประมาณหนึ่งชั่วโมงแล้วจึงแยกย้ายกลับกุฏิ และปฏิบัติต่อไปตามลำพัง โดยมากจะเดินจงกรม สลับกับการนั่งสมาธิ เช่นเดียวกับตอนกลางวันจนถึงห้าทุ่ม หรือสองยามจึงนอน ประมาณตีสามตื่นขึ้นนั่งสมาธิจนสว่าง ภายหลังจากนั้นก็เตรียมออกบิณฑบาต เป็นการจบรอบกิจวัตรประจำวันโดยทั่วไป[/SIZE]
    [SIZE=-1] สำหรับบางรูปที่กำลังเร่งความเพียรมาก อาจไม่นอนเลยจะนั่งกับเดินตลอดคืน ตอนกลางวันหลังจังหันแล้วจึงนอนสองสามชั่วโมงแล้วปฏิบัติต่อ บางรูปถือธุดงค์เนสัชชิกังคะไม่ลงนอนเลย กระทำแต่อิริยาบถสามคือ นั่ง ยืน เดิน ไม่นอน ถ้าง่วงก็นั่งหลับ เป็นวิธีหัดให้จิตมีกำลังเข้มแข็ง การฝึกอย่างอื่นก็มี เช่น อดอาหารซึ่งได้ผลสองต่อคือจิตเข้มแข็งและจิตเบา ภาวนาได้ผลดีกว่าธรรมดา บางรูปอดจนผ่ายผอม เพราะเห็นว่าอดแล้วไม่ง่วง จิตปลอดโปร่ง พิจารณาปัญหาต่าง ๆ ได้ดีกว่าธรรมดา[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในการภาวนา ส่วนมากใช้บริกรรมพุทโธ บางทีก็รวมกับอานาปานสติ เช่น หายใจ้เข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ อาจารย์ทุกท่านคอยติดตามการดำเนินของการปฏิบัติอยู่เสมอ โดยการซักถามปรากฏการณ์ทางจิตของศิษย์ จึงสามารถดัดแปลงแก้ไขการปฏิบัติให้เหมาะกับภาวะของแต่ละคน ช่วยให้ได้ผลดีขึ้นไปตามลำดับ[/SIZE]
    [SIZE=-1] หลักสำคัญประการหนึ่งที่เน้นอยู่เสมอคือ ธรรมะทั้งหลายอยู่ในกายของเราเอง ในการพิจารณาให้ส่งจิตเข้าไปในกาย ศึกษาภายในกายไม่ให้ส่งออกไปภายนอก เพราะนอกจากไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังจะเกิดการล่องลอยของจิตอีกด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1] ระหว่างเข้าพรรษาเป็นโอกาสที่พระป่า จะได้ศึกษาเล่าเรียนกับอาจารย์ของตนอย่างใกล้ชิด และได้ผลเต็มที่เพราะได้อยู่ด้วยกันถึงสามเดือนเต็ม พอออกพรรษารับกฐินแล้วทั้งอาจารย์และศิษย์ต่างก็ออกธุดงค์ เพื่อเสาะแสวงหาที่สำหรับภาวนา[/SIZE]
    [SIZE=-1] กฐินของวัดป่า จะทอดกันอย่างไม่มีพิธีรีตองอะไร มีแต่ผ้าขาวสำหรับเย็บจีวร และอัฐบริขาร บริวางกฐินจะมีอะไรบ้างก็แล้วแต่ศรัทธา การทอดก็มีแต่พระภิกษุสงฆ์ชุมนุมกันบนศาลา ทายก และทายิกาขนของไปกองไว้ข้างหน้าพระ ประธานยกผ้าขาวขึ้นกล่าวคำถวาย พระภิกษุสงฆ์รับผ้าไปทำพิธีกรานกฐิน เสร็จแล้วประเคนของที่เหลือเป็นเสร็จพิธี ต่อไปพระภิกษุจะจัดการตัดและย้อมจีวรตามแบบ ใช้เวลาไม่ช้าก็เสร็จ อนุโมทนาแล้วก็หมดธุระ ต่อจากนั้นต่างก็ออกเดินทางไปสู่จุดหมายในป่าเขา และถ้ำที่วิเวก เพื่อกระทำการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ตามวิธีที่พระพุทธเจ้าสอนไว้[/SIZE]
    [SIZE=-1] การออกธุดงค์อาจต่างรูปต่างไป หรือไปเป็นหมู่ก็ได้ พระภิกษุที่พรรษายังอ่อนต้องไปกับ อาจารย์ท่านใดท่านหนึ่ง การท่องเที่ยวกัมมัฏฐาน นอกจากจะได้พบที่สัปปายะเหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาแล้ว ยังได้ฝึกหัดจิตใจให้มีความอดทนเข้มแข็ง และไว้วางใจตนเองด้วย ยิ่งไปกว่านั้นการธุดงค์ยังเป็นการอบรมให้ยึดมั่นในไตรสรณาคม คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีความเพียรมาก[/SIZE]
    [SIZE=+1]อันตรายของพระป่า[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระพุทธเจ้าทรงเตือนสาวกของพระองค์ให้ระวังอันตรายสี่ประการ คือ ความเบื่อหน่ายต่อคำสอนของอาจารย์ประการหนึ่ง ความเห็นแก่ปากแก่ท้องประการหนึ่ง ความเพลิดเพลินในกามคุณประการหนึ่ง และความรักในสตรีประการหนึ่ง พระป่าต้องอาศัยอาจารย์ที่เข้มงวดกวดขัน คอยเตือนสติไม่ให้ปล่อยตนตกเป็นอันตรายทั้งสี่ดังกล่าว สมภารจะควบคุมทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภคไม่ปล่อยให้ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ จำกัดการติดต่อกับคนภายนอกที่อาจจะชวนให้เขว บางวัดห้ามอ่านหนังสือพิมพ์ เพราะเกรงจะดึงความสนใจไปภายนอก ส่วนวิทยุและโทรทัศน์นั้นเป็นอันห้ามขาด[/SIZE]
    [SIZE=+1]ความหวังของพระป่า[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระป่าเพียรบำเพ็ญสมณธรรม ด้วยอิทธิบาทสี่ และสัมมัปปธานสี่ จะต้องอดทนต่อความเป็นอยู่ซึ่งล้วนแล้วแต่ตรงกันข้ามกับความสุขสบาย ต้องระมัดระวังทุกฝีก้าว ไม่ทำผิดพระวินัย และผิดระเบียบของวัด สำหรับระเบียบของวัดพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๑.เวลาออกบิณฑบาตห้ามคุยกัน ให้ภาวนากำหนดจิตของตน ตั้งอยู่ในความไม่ประมาททุกเมื่อ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๒.กลับจากบิณฑบาตถึงวัดแล้ว ขณะนั่งจัดบาตรอยู่ห้ามคุยกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๓.เมื่อได้ยินระฆังสัญญาณ ให้พร้อมกันออกมาทำกิจวัตรปัดกวาดสถานที่[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๔.ถ้าหมู่เดียวกันทำผิดศีลธรรม ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ถ้าว่าไม่ฟังให้ร้องเรียนครูอาจารย์ให้ทราบโดยด่วน อย่าถือว่าเป็นการฟ้องร้อยกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๕.เมื่อผู้อื่นนั่งภาวนากำหนดจิตของท่านอยู่ อย่าไปเพ่งโทษท่านว่าหมู่รังเกียจตน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๖.เมื่อทำกิจวัตรสรงน้ำเสร็จแล้ว ห้ามคุยกันบนกุฏิ เว้นไว้แต่ไปศึกษาธรรม และไปดูแลความเจ็บป่วยของกันและกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๗.เมื่อมีกิจของสงฆ์เกิดขึ้นอย่าเมินเฉย ต้องเอาธุระช่วยดูแล ถ้าใครไม่เอาใจใส่ท่านปรับอาบัติทุกกฏ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๘.ห้ามเก็บอาหารไว้ฉันตอนเพล เพราะจะทำให้เสียระเบียบพระธุดงค์กัมมัฏฐาน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๙.เวลาไปต้อนรับแขกที่มาสู่วัด ต้องห่มจีวรให้เรียบร้อย[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๑๐.เมื่อได้ยินสัญญาณที่ศาลาการเปรียญ ต้องรีบไปให้ถึงภายใน ๑๐ นาที เมื่อถึงแล้วห้ามคุยกันในกิจที่ไม่จำเป็น ให้นั่งภาวนากำหนดจิตของตน เมื่อเห็นผู้อื่นไม่พูดด้วยอย่าหาว่าท่านรังเกียจ ให้เข้าใจว่าท่านกำลังกำหนดจิตของท่านอยู่[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๑๑.ช่วยกันรักษาของสงฆ์ที่มีอยู่ตามศาลาและกุฏิ ใครไม่เอื้อเฟื้อในของสงฆ์ท่านปรับอาบัติเท่ากับละเมิดของสงฆ์[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๑๒.ของสิ่งใดที่มีผู้เอามาถวาย มีเจ้าหน้าที่เก็บไว้ ถ้าจะใช้ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เก็บเสียก่อน[/SIZE]
    [SIZE=-1] นอกจากต้องระวังตัวไม่ให้ทำผิดพระวินัย และไม่ผิดระเบียบของวัดแล้ว พระป่ายังต้องพากเพียรฝึกอบรมจิตของตน เพื่อยังกิเลสให้เบาบางไปตามลำดับ จุดหมายปลายทางที่สุดยอดคือความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ถ้าพลาดจากนั้นก็ขอให้ได้อริยธรรมชั้นใดชั้นหนึ่ง ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป ซึ่งจะประกันว่าจะไม่ต้องไปเกิดในทุคติภพ ความมุ่งมาดดังกล่าวเป็นความจริงจังของพระป่า[/SIZE]
    [SIZE=+1]ข้อควรทราบบางประการเกี่ยวกับพระป่า[/SIZE]
    [SIZE=-1] การทำบุญบริจาคทานกับพระป่านั้น ควรทราบว่าอะไรทำและอะไรไม่ควรทำ อะไรไม่ควรบริจาคทานทำบุญกับพระป่า อะไรสมควรที่ท่านจะบริโภคได้ อาหารอะไรควรฉันเวลาไหน[/SIZE]
    [SIZE=+1]เวลาและประเภทของโภชนาหารที่พระภิกษุรับประเคนได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๑. ของที่ควรถวายแก่พระป่าตอนเช้า ได้แก่ โภชนาหารห้าอย่างคือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลาและเนื้อ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๒. ของที่พระป่ารับประเคนได้ ฉันได้ทั้งในตอนเช้า ตอนเย็น ตอนกลางคืน และท่านเก็บไว้ฉันได้เจ็ดวัน ได้แก่ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำหวาน เนยใส เนยข้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๓. ของที่พระป่ารับประเคนได้ ทั้งตอนเช้า ตอนเย็น ตอนกลางคืน และฉันได้ทุกเวลา ถ้ามีเหตุจำเป็นได้แก่ยารักษาโรค[/SIZE]
    [SIZE=-1] ๔. ของที่พระป่ารับประเคนได้ และฉันได้ในตอนบ่าย ตอนเย็น และตอนกลางคืน ได้แก่น้ำปานะ ซึ่งทำจากผลไม้ที่ไม่ใช่เป็นมหาผล ผลไม้ที่ควรใช้ทำน้ำปานะถวายพระป่า ได้แก่ มะนาว พุทรา ลูกหว้า ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง มะขาม มะปรางดิบ กล้วยดิบมีเมล็ด ฯลฯ น้ำที่ใช้ทำน้ำปานะควรต้มให้สุกเสียก่อน แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น วิธีทำน้ำปานะโดยสังเขปคือ นำผลไม้มาแกะเอาเมล็ดออก แล้วคั้นเอาแต่น้ำผลไม้ จากนั้นนำมากรองด้วยผ้าขาวเจ็ดครั้ง แล้วจึงนำมาผสมด้วยพริกหรือเกลือ หรือน้ำตาล หรือยาสมุนไพรต่าง ๆ ตามต้องการ น้ำปานะที่ผสมเสร็จแล้วนี้ห้ามนำไปต้มให้สุกอีก น้ำปานะจะประเคนพระได้ตั้งแต่เที่ยงวัน ถึงเที่ยงคืนก็หมดอายุกาล เพราะน้ำปานะนั้นจะกลายเป็นเมรัยไป จึงห้ามภิกษุสามเณรฉันเป็นอันขาด[/SIZE]
    [SIZE=-1] เนื้อสัตว์ที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุสามเณรฉัน[/SIZE][SIZE=-1] มีอยู่สิบอย่างด้วยกันคือ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อเสือเหลือง เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว เนื้อหมี เนื้อราชสีห์ เนื้องู เนื้อสุนัข เนื้อม้า[/SIZE]
    [SIZE=+1]พระพุทธศาสนากับป่าไม้[/SIZE]
    [SIZE=-1] จากพุทธประวัติเราจะพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับป่าไม้หลายประการด้วยกันคือ[/SIZE]
    [SIZE=-1] ศากยวงศ์ของพระพุทธเจ้าจัดตั้งขึ้นโดยพระราชโอรส และพระราชธิดาของพระเจ้าโอกากราช ณ ป่าไม้สัก ใกล้ภูเขาหิมาลัย อันเป็นที่อยู่ของกบิลดาบสมาก่อน ได้สร้างเมืองขึ้นในป่าไม้สักให้ชื่อว่ากบิลพัสดุ์[/SIZE]
    [SIZE=-1] โกลิยวงศ์ อันเป็นราชวงศ์ของพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา ก็มีความเป็นมาเนื่องด้วยป่าไม้กระเบา มีราชธานีชื่อ กรุงเทวทหะ[/SIZE]
    [SIZE=-1] เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์จวนประสูติพระโอรส พระนางได้เดินทางเพื่อไปประสูติพระโอรส ณ กรุงเทวทหะ แต่เมื่อไปถึง ลุมพินีวัน ซึ่งเป็นป่าที่ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ พระนางก็ประสูติพระโพธิสัตว์ ณ ที่นั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในสมัยที่ทรงพระเยาว์ พระโพธิสัตว์มักใช้เวลาส่วนหนึ่งเที่ยวจาริกไปตามป่าเชิงภูเขาหิมาลัย จนสัตว์ป่ามีความคุ้นเคยเดินตามพระองค์ไปเป็นฝูง ด้วยความสนิทสนมคุ้นเคยเป็นที่อัศจรรย์[/SIZE]
    [SIZE=-1] ตลอดระยะเวลาหกปี ที่พระโพธิสัตว์ได้เที่ยวศึกษาแสวงหาทางเพื่อความตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ได้ประทับศึกษาอยู่ในป่าต่าง ๆ แม้ในเวลาตรัสรู้ก็ทรงเลือกเอาป่าในตำบล อุรุเวลาเสนานิคมเป็นที่บำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้ภายใต้ต้น อัสสัตถพฤกษ์ แล้วประทับเสวยวิมุติสุข ณ ต้นไทร ต้นเกด ตามลำดับ
    [SIZE=-1] เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ พระธัมมจักกัปวัตตนสูตร แก่ ปัญจวัคคีย์ ก็ทรงแสดงที่ ป่าอิสิปนมฤคทายวัน อันเป็นสวนป่า และทรงแสดงพระธรรมเทศนาอีกเป็นอันมาก ณ ป่าอิสิปนมฤคทายวันแห่งนั้น จนเกิดพระอรหันต์ขึ้นในโลกคราวแรกติดต่อกันถึงหกสิบรูป[/SIZE]
    [SIZE=-1] ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อนุบุพพิกถา และอริยสัจสี่ โปรดพระเจ้าพิมพิสาร และบริวาร จำนวนรวมกัน ๑๒๐,๐๐๐ ท่าน ณ ลัฏฐิวัน อันเป็นป่าเช่นเดียวกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] พระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนาคือ [COLOR=#cc0000]เวฬุวัน[/COLOR][COLOR=#000099] คือป่าไผ่ที่พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ หลังจากที่พระองค์ได้ฟังธรรมเทศนาจนบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลแล้ว พระอารามอีกแห่งหนึ่งในกรุงราชคฤห์คือ [COLOR=#cc0000]ชีวกัมพวัน[/COLOR][COLOR=#000099] เป็นป่าไม้มะม่วงที่หมอชีวกโกมารภัจถวายเป็นพระอาราม สำหรับพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ และที่ในกรุงราชคฤห์นั้น ยังมีป่าที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอีกเป็นอันมาก เช่น [COLOR=#cc0000]มัททกุจฉิมฤคทายวัน[/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ในแคว้นกาสี แคว้นโกศล อันเป็นที่ตั้งของพระอารามคือพระเชตวัน บุพพาราม มีป่าเป็นอันมาก นอกจาก[COLOR=#cc0000]เชตวัน[/COLOR][COLOR=#000099] คือ ป่าของเจ้าเชต ที่ท่านอนาถบิณทิกเศรษฐีซื้อเพื่อสร้างเป็นพระอารามถวายพระพุทธเจ้าแล้วยังมี[COLOR=#cc0000]อันธวัน[/COLOR][COLOR=#000099] และ[COLOR=#cc0000]นันทวัน[/COLOR][COLOR=#000099] ที่พระพุทธเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ ได้ไปพักอาศัยในป่าเหล่านั้น[/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ในแคว้นวัชชี และแคว้นสักกะ มีชื่อ[COLOR=#cc0000]ป่ามหาวัน[/COLOR][COLOR=#000099]อยู่ทั้งสองแห่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรเป็นอันมากแก่พระภิกษุบ้าง เทวดาบ้าง พระราชา พราหมณ์ คฤหบดีบ้างในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับในป่านั้น[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ตามปกติพระพุทธเจ้าจะเสด็จหลีกออกจากหมู่คณะ ไปประทับสงบอยู่ในป่าระยะสั้น ๆ เจ็ดหรือสิบห้าวันทุกครั้งจะเสด็จเข้าไปประทับในป่า เช่นคราวที่พระภิกษุทะเลาะกันที่เมืองโกสัมพี พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ป่า [COLOR=#cc0000]รักขิตวัน[/COLOR][COLOR=#000099] อยู่กับช้างและลิงที่เราเรียกพระพุทธรูปปางนี้ว่าปางป่าลิเลยกะ[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] การอยู่ป่าเป็นวัตรจัดเป็นนิสัย คือปัจจัยเครื่องอาศัยชีวิตของนักบวชในพระพุทธศาสนา และแม้นักบวชในลัทธิอื่นก็ถือแนวเดียวกัน พระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ในสมัยพุทธกาลล้วนแล้วแต่อาศัยอยู่ในป่าเป็นส่วนมาก ยิ่งท่านที่ต้องการ เจริญกรรมฐาน หรือที่ใช้คำว่าเจริญสมณธรรมด้วยแล้ว เสนาสนะป่าเขา เงื้อมเขา ถ้ำ เป็นสถานที่ที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติเจริญสมณธรรม พระพุทธเจ้าทรงยกย่องสรรเสริญป่าไว้โดยนัยต่าง ๆ เป็นอันมาก[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็ทรงปรินิพพาน ณ [COLOR=#cc0000]สาลวโนทยาน [/COLOR][COLOR=#000099]คือ สวนป่าสาละของกษัตริย์มัลละ แห่งเมืองกุสินารา[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]ป่าไม้ในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งบุญ[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ในสคาถวรรค สังยุตตนิกาย พระพุทธเจ้ารับสั่งตอบเทวดาที่มากราบทูลถามว่า[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] "ชนเหล่าใด สร้างสวนดอกไม้ ผลไม้ ปลูกหมู่ไม้ สร้างสะพาน และให้โรงเป็นทาน บ่อน้ำทั้งบ้านที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญ เจริญในกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์"[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] [B][COLOR=#cc0000]ป่าไม้ในฐานะที่เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์[/COLOR][/B][COLOR=#000099] ในพระพุทธศาสนา มีบทบัญญัติทางพระวินัยที่ห้ามมิให้พระภิกษุกระทำการอะไรเป็นการทำลายสภาพของป่า และต้นไม้ เช่น[/COLOR][/SIZE][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] พระภิกษุรูปใดตัดทำลายต้นไม้ ถ้าเป็นต้นไม้มีเจ้าของหวงแหน ท่านปรับอาบัติในฐานอทินนาทานคือ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ถ้าเป็นการตัดกิ่งต้นไม้ของตนหรือของวัด ท่านปรับอาบัติในข้อที่เป็นการพรากภูติคามคือ หักรานกิ่ง ใบ ดอกของต้นไม้ แม้แต่การทำลายต้นไม้ที่เป็นเมล็ดที่ปลูกได้ แง่ง กิ่งของต้นไม้ ล้วนปรับเป็นอาบัติทั้งสิ้น[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] และเพื่อเป็นการอนุรักษ์สภาพของป่า และต้นไม้ ได้มีบทบัญญัติทางพระวินัย ห้ามพระภิกษุถ่ายปัสสาวะอุจจาระ บ้วนน้ำลายลงน้ำ ในของสดเขียวทั้งเล็กและใหญ่ รวมถึงการทิ้งสิ่งสกปรกลงในน้ำ ในของสดของเขียวทั้งหลายอันเป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ความเชื่อในเรื่องที่มีเทพารักษ์ สิงสถิตอยู่ในป่า ต้นไม้ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา จึงเป็นประโยชน์และเอื้ออำนวยที่สำคัญในการอนุรักษ์ป่า ต้นไม้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ยิ่งไปกว่านั้น พระวินัยยังกำหนดให้พระภิกษุที่สร้างกุฏิอยู่ตามป่า ไม่ให้ทำลายต้นไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และแม้แต่ได้รับอนุญาตก็ตัดทำลายเองไม่ได้ และยังต้องระมัดระวังไม่ให้กุฏิพังลงมาทับต้นไม้ในป่า ดังนั้นวันในพระพุทธศาสนา จึงเรียกว่า [COLOR=#cc0000]อาราม[/COLOR][COLOR=#000099] แปลว่าสถานที่ทำใจให้รื่นรมย์ โดยเน้นไปที่สวนไม้ดอกไม้ผล ไม้ที่ให้ร่มเงา วัดหลักในพระพุทธศาสนาจึงมีคำลงท้ายว่า [COLOR=#cc0000]วัน[/COLOR][COLOR=#000099] ที่แปลว่าป่า เช่น เวฬุวัน เชตวัน ชีวกัมพวัน และแม้แต่นิโครธาราม ก็เป็นป่าที่มีต้นไทรขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก[/COLOR][/COLOR][/SIZE]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]การตั้งวัด[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] การตั้งวัดมีขั้นตอน และวิธีดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ดังนี้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑. ให้ผู้ได้รับอนุญาต ทายาท หรือผู้แทนเสนอรายงานขอตั้งวัดตามแบบ (ศถ.๓) ซึ่งทางราชการได้กำหนดไว้ต่อนายอำเภอ หรือหัวหน้าเขต[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒. นายอำเภอหรือหัวหน้าเขตได้รับรายงานขอตั้งวัด และพิจารณาเห็นสมควร ให้นำปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ หรือเจ้าคณะเขต[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1]แล้วเสนอเรื่องและความเห็นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการ กทม.[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๓. ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณาเห็นสมควรให้นำปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด หรือเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ส่งเรื่องและความเห็นไปยังกรมศาสนา[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๔. กรมศาสนาพิจารณาเห็นสมควรให้ตั้งวัดได้ จะรายงานกระทรวงศึกษาธิการเพื่อขอรับความเห็นชอบ แล้วนำเสนอมหาเถรสมาคม[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๕. มหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจะได้ประกาศตั้งวัดในราชกิจจานุเบกษา แบบ ว.๑ ท้ายกฏกระทรวงดังกล่าว[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๖. กรมศาสนาจะได้ส่งประกาศตั้งวัดไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเจ้าคณะภาคเพื่อทราบ และแจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตสร้างวัด ทายาท หรือผู้แทน ดำเนินการโอนที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างให้แก่วัดนั้นตามกฏหมาย[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๗ เจ้าอาวาสจะต้องบันทึกประวัติของวัดไว้เป็นหลักฐานด้วย[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]หลักเกณฑ์สำคัญในการสร้างวัด[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑. จำนวนประชากรที่จะบำรุงวัดจะต้องไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ คน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น (เมื่อมีประชาชนไม่ถึง ๑,๐๐๐ คน) ให้ชี้แจงเหตุผลประกอบไปด้วย[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒. วันที่ เดือน พ.ศ. ที่ทำหนังสือสัญญาตกลงยกที่ดินให้วัด กับที่ต้องแจ้งใน ศถ.๑ ต้องตรงกัน[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๓. อยู่ห่างจากวัดอื่นที่ถูกต้องตามกฏหมายแล้วไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นก็ให้ชี้แจงถึงเหตุจำเป็นไว้ด้วย[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๔. ความเห็นชอบของเจ้าคณะ และเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในแบบ ศถ.๑ ต้องมีครบถ้วน[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๕. ที่ดินที่จะใช้เป็นที่สร้างวัดต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๖ ไร่[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๖. การตั้งชื่อวัดต้องชี้แจงเหตุผลประกอบใน ศถ.๓ ด้วย การตั้งชื่อวัดควรตั้งตามชื่อหมู่บ้านที่ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด หรือสถานที่ที่ตั้งวัด และให้ชี้แจงด้วยว่ามีวัดที่มีชื่อตรงตามชื่อบ้าน และชื่อตำบลนั้นแล้วหรือไม่ เพื่อมหาเถรสมาคมจะได้พิจารณาตั้งชื่อวัดไม้ให้ซ้ำกัน ถ้าชื่อวัดที่ขอตั้งชื่อตามหมู่บ้านที่มีหลายพยางค์ ให้ตัดคำว่าบ้านออก เช่น [COLOR=#cc0000]บ้านทุ่งทอง[/COLOR][COLOR=#000099] ให้ตั้งชื่อว่า [COLOR=#cc0000]วัดทุ่งทอง[/COLOR][COLOR=#000099] แต่ถ้าชื่อหมู่บ้านมีพยางค์เดียว ให้คงคำว่าบ้านไว้ เช่น [COLOR=#cc0000]บ้านนา[/COLOR][COLOR=#000099] ให้ชื่อว่า [COLOR=#cc0000]วัดบ้านนา[/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๗. จำนวนภิกษุจำพรรษาต้องไม่ต่ำกว่าสี่รูป และให้เสนอชื่อผู้ที่จะเป็นเจ้าอาวาสพร้อมด้วยอายุ พรรษา สังกัดสำนักวัดเดิม (ตามหนังสือสุทธิ) พระภิกษุที่จะเป็นเจ้าอาวาสต้องมีอายุพรรษาห้าพรรษาขึ้นไป[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๘. ถ้าทางวัดได้สร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือสามารถทำสังฆกรรมได้แล้ว ให้รายงานขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามแบบ ศถ.๗ ถ้ายังไม่เสร็จต้องรอให้ครบห้าปี[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [B][FONT=FreesiaUPC][COLOR=#cc0000][SIZE=+1]การขอพระราชทานวิสุงคามสีมา[/SIZE][/COLOR][/FONT][/B]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ขั้นตอนการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฏกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ มีดังนี้[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๑. เจ้าอาวาสเสนอรายงานขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามแบบ ศถ.๗ต่อเจ้าคณะตำบล และเจ้าคณะอำเภอ[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๒. เจ้าคณะตำบล และเจ้าคณะอำเภอเห็นสมควรให้นำปรึกษานายอำเภอแล้วเสนอเรื่องและความเห็นไปยังเจ้าคณะจังหวัด[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๓. เมื่อเจ้าคณะจังหวัดเห็นสมควรให้นำปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วเสนอเรื่อง และความเห็นไปยังเจ้าคณะภาค[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๔. เมื่อเจ้าคณะภาคเห็นสมควรแล้วให้ส่งเรื่อง และความเห็นไปยังกรมการศาสนา[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๕. เมื่อกรมการศาสนาเห็นสมควรแล้ว จะกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชเพื่อทรงอนุมัติแล้วเสนอกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำความการบังคมทูลขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมาต่อไป[/SIZE][/COLOR][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif][COLOR=#000099][SIZE=-1] ๖. เมื่อพระราชทานวิสุงคามสีมาแก่วัดใดแล้ว ให้นายอำเภอท้องที่ที่วัดนั้นตั้งอยู่ ดำเนินการปักหมายเขตที่ดินตามที่ได้รับพระราชทานต่อไป[/SIZE][/COLOR][/FONT][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE]
    [/SIZE]

    <CENTER>
    [SIZE=+2]วัดป่าภูก้อน[/SIZE]
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] วัดป่าภูก้อน เกิดจากความดำริของพุทธบริษัท ผู้ตระหนักถึงคุณค่าอันยิ่งใหญ่ และความสำคัญของป่าไม้ธรรมชาติที่เหลือน้อยลงทุกวัน โดยมุ่งดำเนินตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ตลอดจนสัตว์ป่า และพรรณไม้นานาพันธุ์ เพื่อให้เป็นมรดกของลูกหลานไทยคู่กับแผ่นดินไทย พร้อมทั้งเพื่อจรรโลงส่งเสริมพระบวรพุทธศาสนา ใฝเจริญมั่งคงคู่แผ่นดินไทยตราบชั่วกาลนาน[/SIZE]
    [SIZE=-1] การก่อสร้างวัดป่าภูก้อนได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ โดยการริเริ่มของครอบครัวนายโอฬาร และนางปิยวรรณ วีรวรรณ และโดยการเมตตาอนุเคราะห์ให้คำแนะนำปรึกษาของพระเถราจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระในภูมิภาคอิสานหลายองค์ ตลอดจนความร่วมมือร่วมใจของพุทธบริษัทหลายฝ่าย[/SIZE]
    [SIZE=-1] การก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.๒๕๓๙ งบการก่อสร้างรวม ๗๑ ล้านบาท[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๕๔๒ จังหวัดอุดรธานี ได้นำองค์พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์ถวายเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ และได้รับอนุญาตให้อัญเชิญตราสัญญลักษณ์ และพระบรมรูปหล่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประดิษฐานภายในองค์พระมหาเจดีย์[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปริณายก ได้โปรดประทานพระบรมสารีริกธาตุ เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐาน ณ องค์พระเจดีย์วัดป่าภูก้อน[/SIZE]
    [SIZE=-1] สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระเกศพระร่วงรุ่งโรจน์ศรีบูรพา ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาประธานประจำพระองค์ พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔[/SIZE]
    [SIZE=+1]ความเป็นมาของวัดป่าภูก้อน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ภูก้อนเป็นชื่อภูเขาลูกหนึ่งอยู่ในท้องที่บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง กิ่งอำเภอนกยูง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี เป็นภูเขาใหญ่ สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ ๘๓๐ เมตร สูงกว่าภูเขาลูกอื่น ๆ ในแถบนั้น มีภูเขาลูกเล็ก ๆ ติดกันอยู่ โดยรอบบริเวณเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ อากาศชุ่มชื้นมีหมอกปกคลุม เป็นต้นน้ำลำธารที่มีน้ำไหลตลอดปี เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ได้แก่ หมูป่า หมี เก้ง กระจง ลิง ค่าง บ่าง ชะนี กระรอก กระแต และงูเหลือม[/SIZE]
    [SIZE=-1] บริเวณภูก้อนปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีว่าเป็นสถานที่ซึ่งมีคนเคยอยู่อาศัยมาก่อน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เจ้าเมืองโสม ได้พาไพร่พล ขนสมบัติหลบหนีข้าศึก นำสมบัตมาซุกซ่อนไว้ตามถ้ำในเทือกเขาภูก้อน ปรากฏชื่อเขาลูกหนึ่งในบริเวณนี้ว่า ภูเจ้าเมือง[/SIZE]
    [SIZE=-1] ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงนับถือว่าภูก้อนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้านจะพากันขึ้นไปสรงน้ำพระพุทธรูปในถ้ำ แต่ปัจจุบันนี้ถ้ำปิดเข้าไม่ได้[/SIZE]
    [SIZE=-1] ได้ปรากฏนิมิตว่า หลวงปู่ฝั้น อาจาโร มาแนะนำให้ไปธุดงค์ทางภาคอิสานเป็นเวลา ๑๐ วัน ดังนั้นเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๒๗ คณะผู้ริเริ่มได้นิมนต์อาจารย์หนูสิน ฉันทสีโล ออกธุดงค์ที่จังหวัดสกลนคร แล้วมานมัสการหลวงปู่เทสก์ที่วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย จากนั้นได้เดินทางต่อไปยังวัดป่านาคำน้อย อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ที่มีอาจารย์อินถวาย สันตุสสโกเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาได้ทราบว่าท่านกำลังดำเนินเรื่องขอสร้างวัดในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ต้นไม้จำนวนมากไว้ คณะผู้ริเริ่มก็รับไปดำเนินการจนได้รับอนุญาต ให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูง และป่าน้ำโสม เพื่อจัดตั้งวัดป่านาคำน้อย และปลูกสร้างสวนป่าอนุรักษ์ธรรมชาติ แล้วได้รับอนุญาตให้สร้างวัด ให้ตั้งวัดจนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในปลายปี พ.ศ.๒๕๒๗ อาจารย์อินทร์ถวายได้นำมายังป่าภูก้อน ที่บ้านนาคำใหญ่ ตำบลบ้านก้อง ห่างจากวัดป่านาคำน้อย ประมาณ ๘ กิโลเมตร เป็นที่สัปปายะอย่างยิ่ง เคยมีพระธุดงค์มาพักวิเวกอยู่เสมอ เป็นที่ชอบใจของทุกฝ่าย จึงได้ลงมือสร้างวัดมีภิกษุสามเณรอยู่ประจำเรื่อยมา และได้อาราธนาอาจารย์ชาลี ถิรธัมโม จากวัดถ้ำจันทร์ บ้านถ้ำจันทร์ ตำบลชมพุพร อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย ให้มาอยู่เป็นประธานผู้นำสร้างวัด โดยมีอาจารย์หนูสินเป็นผู้ประสานงาน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จากกรมป่าไม้เพื่อสร้างวัดป่าภูก้อนในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายูงและป่าน้ำโสม เพื่อสร้างวัดป่าภูก้อน ภายในพื้นที่ ๑๕ ไร่ (กว้าง ๑๒๐ เมตร ยาว ๒๐๐ เมตร) และต่อมาได้รับหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดในปีเดียวกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม เพื่อจัดตั้งพุทธอุทยาน มีพื้นที่ ๑,๐๐๐ ไร่ (กว้าง ๑,๐๐๐ เมตร ยาว ๑,๖๒๕ เมตร) และได้ขนานนามว่า พุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ในด้านเสนาสนะได้จัดสร้างศาลาเอนกประสงค์สองชั้น ชั้นบนใช้เป็นอุโบสถ ชั้นล่างใช้เป็นศาลาโรงฉัน และศาลาการเปรียญ กุฏิสำหรับภิกษุสามเณร ๔๕ หลัง เรือนครัว เรือนพักฆราวาส ๗ หลัง[/SIZE]
    [SIZE=-1] ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในเขตกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร และได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา (ขอดสิม) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓[/SIZE]
    [SIZE=-1] ทางวัดได้ร่วมกับกรมป่าไม้ช่วยกันดูแลรักษาป้องกันไฟป่า และการบุกรุกทำลายป่าล่าสัตว์ ทำให้วัดป่าภูก้อนเป็นที่สงบสับปายะวิเวก ควรแก่การบำเพ็ญภาวนากรรมฐาน[/SIZE]
    [SIZE=-1] คณะผู้ศรัทธาได้ร่วมกันดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์ ณ ภูเจ้าเมือง การออกแบบใช้เวลาสองปี และได้มีการวางศิลาฤกษ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ การก่อสร้างเริ่ม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ ใช้เวลาก่อสร้างสามปีเศษ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๙ สิ้นค่าใช้จ่าย ๗๑ ล้านบาท ให้ชื่อว่า พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์ โดยได้จองรูปแบบโดยรวมของสถาปัตยกรรมองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม องค์มหาเจดีย์เป็นทรงลังกา ประดับด้วยโมเสกแก้วทองคำสูง ๒๔ เมตร แบ่งเป็นสองชั้น ชั้นบนกว้าง ๑๑ เมตร[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ภายในองค์เจดีย์ตกแต่งด้วยหินอ่อน และหินแกรนิต ซุ้มพระและองค์เจดีย์ภายในเป็นลายปูนปั้นปิดทองประดับกระจก เพดานห้องโถงชั้นบนติดดาวไม้สักขนาดใหญ่ แกะสลักปิดทองฝังเพชร และพลอยรัสเซียหลากสีจำนวนกว่าแสนกะรัต[/SIZE]
    [SIZE=-1] พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จัดขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๘ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ ได้ประทานพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่ออัญเชิญมาบรรจุพร้อมกับพระอรหันตธาตุ ซึ่งได้รับจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี และหลวงปู่หล้า เขมปัตโต[/SIZE]
    [SIZE=-1] คณะผู้ศรัทธาได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรัตนโกสินทร์ ด้วยทองคำบริสุทธิ์ ปางประทานพร หน้าตักห้านิ้ว แท่นอาสนะเป็นเงินบริสุทธิ์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในซุ้มวิมาน ภายในองค์พระมหาเจดีย์คู่กับพระสยามเทวาธิราชจำลองสององค์ ส่วนซุ้มพระอีก ๕ ซุ้มเป็นที่ประดิษฐานพระรูปและรูปหล่อสำริดของครูบาอาจารย์หกรูป ที่มีส่วนสำคัญในชีวิตของผู้จัดตั้งวัดป่าภูก้อน คือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ขาว อนาลโย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ และหลวงปู่บัว ญาณสัมปันโน[/SIZE]
    [SIZE=-1] ฐานชั้นล่างกว้าง ๑๔ เมตร เป็นที่เก็บอัฐบริขาร และรูปภาพพระอาจารย์ที่ยังมีชีวิตอยู่สี่รูป[/SIZE]
    [SIZE=-1] ด้านหน้าองค์พระมหาเจดีย์เป็นซุ้มประดิษฐานพระร่วงรุ่งโรจน์ศรีบูรพา ปางห้ามญาติ สูง ๔.๕๐ เมตร[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    [SIZE=-1] ราวบันไดทางขึ้นพระมหาเจดีย์ เป็นพญานาคทองสำริดเจ็ดเศียรหนึ่งคู่ ยาว ๑๐๐ เมตร กึ่งกลางเป็นศาลารายสองหลัง สำหรับจุดธูปเทียนสักการะพระมหาเจดีย์หนึ่งหลัง และสำหรับจารึกรายชื่อผู้บริจาค และเก็บอัฐิของผู้มีส่วนร่วมในการก่อสร้างพระมหาเจดีย์อีกหนึ่งหลัง รอบองค์พระมหาเจดีย์เป็นระเบียงสามารถมองเห็นทัศนียภาพไปไกลถึงแม่น้ำโขง ใต้ฐานพระมหาเจดีย์เป็นกุฏิพระ และมีที่เก็บน้ำ[/SIZE] <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>[SIZE=-1] ลานหน้าพระมหาเจดีย์ มีพื้นที่ประมาณสามไร่ เป็นที่ตั้งของศาลาเรือนไทยสี่หลังใช้เป็นศาลาอำนวยการศาลาสงฆ์ และศาลาเอนกประสงค์[/SIZE]
    [SIZE=-1] ด้วยเหตุที่องค์พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี และเป็นสมบัติของชาติ ทางจังหวัดอุดรธานีจึงได้นำถวายเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ทางวัดจึงได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์ และรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประดิษฐานไว้ภายในองค์พระมหาเจดีย์[/SIZE]
     
  3. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    จริยาน่าเลื่อมใสมากครับ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยากยิ่ง โมทนาครับ สาธุ สาธุ...
     
  4. Apinya1102

    Apinya1102 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +11
    อนุโมทนาสาธุค่ะ...ได้อ่านก็รู้สึกปีติมากมายเลยค่ะ โชคดีที่ได้เกิดได้พบกับพระพุทธศาสนาค่ะ ^^
     
  5. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    พระคุณเจ้าแต่ละรูป ดูน่าเลื่อมใสดีนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...