{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเหรียญหลวงปู่ทวดครับ
    เหรียญนี้คือรุ่นสองหรือรุ่นสี่ครับ
    เห็นมีรูปไข่อยู่หลายรุ่นเลย
     
  2. aoodwing4

    aoodwing4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +282
    ขอบคุณครับ

    น่าจะเป็นรุ่นสี่ครับ แต่ไม่รู้บล็อคไหนครับ
     
  3. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับพี่โอกระบี่ด้วยคนครับ
     
  4. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระหลวงปู่ทวดองค์นี้ของพี่ Amuletism
    เห็นครั้งใดก็งามจับใจทุกทีครับ
    เดิมๆมากๆ แท้ตาเปล่าเลย
     
  5. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ขอบคุณครับ สำหรับภาพพระสวยแปลกตา
    หาชมยากๆแบบนี้
     
  6. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ขอบคุณครับ คุณ CaptainZire
    หลวงปู่ทวดองค์นี้เป็นหนึ่งในความภูมิใจของผมเลยครับ
    เคยได้รับเกียรติให้ขึ้นปกนิตยสารนะโมเมื่อปีก่อนด้วยครับ
     
  7. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ภาพจากปกนะโมครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  8. sofar1976

    sofar1976 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +30
    อ้างอิง

    ขอบคุณครับสำหรับข้อคิดเห็น แล้วสร้างยุคหลังหมายถึงเป็นของที่อื่นหรืออย่างไรครับแล้วแท้หรือเก๊ครับพี่
     
  9. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ผมได้พบบทความดีๆ ในเวปอิทธิปาฏิหารย์พระเครื่อง
    ที่เกี่ยวข้องกับพระกรุสำคัญๆ ของเมืองไทย
    จึงจะขอนำเอาเฉพาะพระกรุสำคัญที่น่าสนใจ
    มาโพสต์เป็นข้อมูลให้เพื่อนๆ ครับ
    ต้องขอบคุณเจ้าของเวปไซด์และเจ้่าของข้อมูล
    มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  10. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม 1/3

    พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม

    ประวัติการสร้างพระสมเด็จ วัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

             การสร้างพระเครื่องไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนานั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ต่อมาท่านโบราณจารย์ผู้เชี่ยวชาญฉลาดได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระเครื่อง ด้วยรูปแบบต่างๆนานาตามแต่จะเห็นว่างาม นอกจากนั้นแล้งยังได้บรรจุพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตลอดจนพระปริตรและหัวใจพระพุทธมนต์อีกมากมายหลายแบบด้วยกัน และการสร้างพระเครื่องนั้น นิยมสร้างให้มีจำนวนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์อีกด้วย

             ดังนั้น ในชมพูทวีปและแม้แต่ประเทศไทยเราเอง ปรากฏว่ามีพระเครื่องอย่างมากมาย เพราะท่านพุทธศาสนิกชนได้สร้างสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย และในบรรดาพระเครื่องจำนวนมากด้วยกันแล้ว ท่านยกย่องให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ซึ่งสร้างโดยท่านเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับถวายสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งพระเครื่อง อีกด้วย

             ปฐมเหตุซึ่งพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้รับการยกย่องเช่นนั้น อาจจะเป็นด้วยรูปแบบของ พระสมเด็จ เป็นพระเครื่ององค์แรกซึ่งสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างทรงเลขาคณิต ส่วนองค์พระและฐานนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบ และย่อมาจากองค์พระประธาน จากพระอุโบสถเพียงองค์เดียวเท่านั้น ปราศจากอัครสาวกซ้ายขวา องค์พระจึงดูโดดเด่นอย่างเป็นเอกรงค์ สำหรับซุ้มเรือนแก้วอันเป็นปริมณฑลนั้นเล่า ท่านได้จำลองแบบอย่างมาจากครอบแก้ว (ครอบแก้วพระพุทธรูป) และถึงจะเป็นรูปแบบอย่างง่ายๆ ปราศจากส่วนตกแต่งแต่อย่างใดเลย ก็ตามทีต้องยอมรับว่าเป็นความงามที่ลงตัวอย่างหาที่ติมิได้เลย

             นอกจากรูปแบบอันงดงามของพระสมเด็จดังกล่าวแล้ว ศรัทธาและความเลื่อมใสของนักสะสมพระเครื่อง อันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คงจะมาจากคุณวิเศษอันเป็นมหัศจรรย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ผู้ประติมากรรมพระสมเด็จเป็นอันดับสอง

             ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )วัดระฆังโฆสิตาราม ผู้เป็นอมตเถระ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) วัดระฆังโฆสิตาราม  บางกอกน้อย ธนบุรี นามเดิมว่า โต ได้รับฉายา พฺรหฺมรํสี ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ ของวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ จุลศักราช ๑๑๕๐ ในรัชกาลที่ ๑ บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อ เกศ เป็นชาวบ้าน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
        
             นอกจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะได้สร้างปูชนียวัตถุแล้ว มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของกรุงสุโขทัย และเป็นเมืองที่ร่ำรวยด้วยโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นอีกเมืองหนึ่ง ที่มีพระเครื่องซึ่งงดงามไปด้วยพุทธศิลปะ อันบริสุทธิ์ของชาวไทยเราอีกด้วย และโดยเฉพาะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านมีความรู้และแตกฉานทางอักษรโบราณ ท่านจึงสามารถอ่านศิลาจารึกที่ว่าด้วยกรรมวิธีการสร้างพระเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระพิมพ์ด้วยเนื้อผงขาว ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า เนื้อพระสมเด็จ โดยมีเนื้อหลักเป็นปูนขาว (ปูนหิน) หรือปูนเปลือกหอย ผสมผสานด้วยวัตถุมงคลอาถรรพณ์อื่นๆ และมีผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากการลบสูตรสนธิ์จากคัมภีร์ทางพุทธาคม เมื่อนำเอามาบดตำกรองจนดีแล้ว จึงนำเอาวัตถุมงคลและอาถรรพ์ต่างๆเหล่านั้นมาผสมผสานกับดินสอพอง (ดินขาว) แล้วปั้นเป็นแท่งตากให้แห้งแล้วจึงนำเอามาเขียนอักขระเลขยันต์ตามคัมภีร์บังคับบนกระดานโหราศาสตร์ซึ่งทำจากต้นมะละกอ เสร็จแล้วจึงลบเอาผงมาสร้างเป็นพระสมเด็จ ที่เรียกว่าผงวิเศษ หรือผงพุทธคุณนั่นเอง

             นอกจากนั้นแล้วยังสันนิษฐานกันว่า ท่านยังเอาข้าวก้นบาตร และอาหารหวานคาวที่ท่านฉันอยู่ถ้าคำไหนอร่อยท่านจะไม่ฉัน จะคายออกมาแล้วตากให้แห้งเพื่อนำไปบดตำสร้างพระสมเด็จของท่าน ซึ่งถูกต้องตามวิธีการสร้างพระอาหารของชาวรามัญ

             ส่วนตัวประสาน หรือตัวยึดเกาะนั้น ที่เราทราบๆ กันอย่างเด่นชัดก็คือ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง กล้วย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เยื่อกระดาษ ได้จากการที่เอากระดาษฟางหรือกระดาษสามาแช่น้ำข้ามวันข้ามคืน จนกระดาษละลายเป็นเมือกดีแล้ว จึงนำเอามากรองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมผสานบดตำลงไป เชื่อกันว่าตัวเยื่อกระดาษนี้ เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้พระสมเด็จวัดระฆัง มีความหนึกนุ่ม เนื้อจึงไม่แห้งและกระด้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนผสมที่เป็นประเภทพืช เช่น ข้าว อาหาร กล้วย อ้อย เป็นต้น ก็มีส่วนที่ทำให้เนื้อพระมีความหนึกนุ่มอีกเช่นกัน

             สำหรับในด้านแม่พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตารามนั้น ถ้าได้พิจารณากันอย่างถ่องแท้แล้วจักเป็นรูปแบบที่เรียบง่าย คือเค้าโครงภายนอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงเลขาคณิต เป็นการออกแบบที่ทวนกระแสความคิดสร้างสรรค์ ของคนโบราณอย่างสิ้นเชิง อาจจะพูดได้ว่า เป็นการออกแบบที่เป็นศิลปะของตนเอง อย่างบริสุทธิ์ หาได้อยู่ภายใต้ของศิลปะพระเครื่องสกุลอื่นใดไม่ ทั้งๆที่การสร้างพระพิมพ์หรือพระเครื่องได้มีมาแต่ครั้งสมัยคันธารราษฎร์ (อินเดีย) มากกว่า ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว

             ในด้านองค์พระคงจะได้แนวคิดและแบบอย่างมาจากพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งส่วนมากจักประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี เฉพาะซุ้มเรือนแก้วนั้นคงจักได้แนวคิดมาจากครอบแก้ว ซึ่งเพิ่งจะมีครอบแก้วครอบพระบูชาประจำวัด ประจำบ้าน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไม่ให้ผิวทองหมองประการหนึ่ง และเพื่อเป็นการป้องกันฝุ่นละอองที่มีคละคลุ้งในอากาศอีกด้วย เป็นที่เชื่อกันว่า ผู้ที่แกะแม่พิมพ์ถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น น่าจะเป็นฝีมือช่างสิบหมู่หรือฝีมือช่างหลวงนั่นเอง

             พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตารามในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น เป็นเป็นพระที่สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแต่โอกาสและเวลาจะอำนวย หาได้สร้างเป็นครั้งเดียวไม่ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะพระแต่ละพิมพ์ของท่าน เนื้อหา ตลอดจนมวลสารนั้นมีอ่อนแก่กว่ากัน ละเอียดบ้าง หยาบบ้าง สีสันวรรณะก็เป็น เช่น เดียวกันทั้งสิ้น เมื่อท่านสร้างพระแต่ละพิมพ์แต่ละคราวเสร็จแล้ว ท่านจะบรรจุลงในบาตร นอกจากท่านจะบริกรรมปลุกเสกด้วยตัวท่านจงดีแล้ว ยังนิมนต์ให้พระเณรปลุกเสกอีกด้วย เมื่อท่านออกไปบิณฑบาตท่านก็จะเอาติดตัวไป ญาติโยมที่ใส่บาตรท่าน ท่านจะแจกพระให้คนละองค์ และมักจะพูดว่า เก็บเอาไว้ให้ดีนะจ๊ะ ต่อไปจะหายาก โดยไม่บรรยายสรรพคุณให้ทราบแต่อย่างใด แต่ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ในยุคสมัยนั้นแล้วว่า พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โด่งดังทางโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม
     
  11. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม 1/2

    พระสมเด็จวัดระฆัง ถูกจำแนกออกไปเป็น ๕ พิมพ์ใหญ่ด้วยกันคือ

    เป็นที่ค่อนข้างจะเชื่อได้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ท่านสร้างสมเด็จวัดระฆังของท่านไปเรื่อยๆ จนท่านอาจจะมีการดูฤกษ์เป็นกรณีพิเศษ แล้วท่านก็สร้างขึ้นมาท่านมีกำหนดว่าจะสร้างกี่องค์ ท่านก็สร้างขึ้นมา แต่มั่นใจว่าท่านไม่ได้สร้างครั้งละมากๆ เพื่อแจกไว้นานๆ

             วันไหนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ กำหนดจะสร้างพระ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะเอาปูนเอาส่วนผสมต่างๆ มาตำได้เนื้อพระสมเด็จมาก้อนหนึ่ง แล้วปั้นเป็นแท่งสี่เหลียม ตัดออกเป็นชิ้นๆ ในสมัยก่อนเรียกว่า ชิ้นฟัก

             แล้วนำเนื้อสมเด็จชิ้นฟักวางลงที่แม่พิมพ์ ซึ่งแกะจากหินชนวนกดเนื้อพระ กับแม่พิมพ์ให้แน่น นำเอาไม้แผ่นมาวางทับด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆัง แล้วใช้ไม้หรือของแข็ง เคาะที่ไม้ด้านหลังเพื่อไล่ฟองอากาศ และกดให้เนื้อพระสมเด็จแน่นพิมพ์

             จึงจะเอาไม้แผ่นด้านหลังออก จึงปรากฏรอยกระดานบ้าง รอยกาบหมากบ้างบนด้านหลัง ขององค์สมเด็จวัดระฆัง กลายเป็นจุดสำคัญและเป็นหัวใจของการดูพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม

      เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้กดพระบนพิมพ์เรียบร้อยแล้ว ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะตัดขอบพระเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้ตอกตัด ตอกไม้ไผ่ที่ใช้จักสาน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่ใช้มีดเพราะเป็นพระไม่ควรใช้ของมีคม วิธีตัดตอกนั้นตัดจากด้านหลัง ไปด้านหน้า โดยเข้าใจว่าในแม่พิมพ์พระสมเด็จ ที่เป็นหินชนวนนั้น จะบากเป็นร่องไว้สำหรับนำร่องการตัดตอก

             เพราะพระสมเด็จวัดระฆัง บางองค์ที่ขอบมีเนื้อเกินจะเห็นเส้นนูนของร่องไว้ให้สังเกต การตัดตอกพระสมเด็จวัดระฆัง จากด้านหลังไปด้านหน้า จึงเกิดร่องรอยปรากฏ ที่ด้านข้างขององค์พระ และรอยปริแตกขององค์พระ ด้านหลังที่ลู่ไปตามรอยตอก ที่ลากลงร่องรอยต่างๆ

            เมื่อผ่านอายุร้อยกว่าปีมาแล้ว การหดตัวขององค์พระสมเด็จฯ การแยกตัวของการปริแตกตามรอยตัด กลายเป็นตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆังที่สำคัญที่สุด เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้กดพิมพ์สร้างพระสมเด็จฯ จนหมดเนื้อแล้วก็คงหยุด คงไม่ได้สร้างครั้งละมากๆ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต นำมาสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง แน่นอนที่สุด อันดับแรก ประกอบด้วยปูนเปลือกหอย คือเอาเปลือกหอยมาเผาเป็นปูนขาว

             ในสมัยก่อนมีปูนเปลือกหอยมาก แต่ปัจจุบันหาไม่ค่อยมีแล้ว อันดับสอง คือส่วนผสมของน้ำมัน ตังอิ๊ว เพราะเคยเห็นมากับตา เวลาพระสมเด็จวัดระฆัง ชำรุดหักจะเห็นเป็นน้ำมันตังอิ๊ว เยิ้มอยู่ข้างในเนื้อพระเป็นจุดๆ

             อันดับที่สาม มีปูนอีกชนิดหนึ่งเขาเรียกว่า ปูนหิน มีน้ำหนักมากไม่ทราบว่าทำมาจากอะไร ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตว่าตามโรงงิ้วพวกงิ้วจะเอาแป้งจากปูนหินสีขาวๆมาพอกหน้า เป็นพื้นแล้วจะติดแน่น

             เอาเนื้อสามส่วนนี้เป็นหลักมาผสมกัน ยังมีมวลสารชนิดหนึ่งเป็นเม็ดสีเทาๆมองเหมือนก้อนกรวดสีเทา แต่ไม่ใช่ เพราะเนื้อนิ่มเวลาเอามีดเฉือนจะเฉือนเข้าง่าย จึงไม่ทราบว่าเป็นมวลสารอะไรและเคยเจอผ้าแพรสีเหลือง เข้าใจว่าเป็นผ้าแพรที่ถวายพระพุทธรูป แล้วเวลาเก่า หรือชำรุด แทนที่จะนำผ้าแพรที่ห่มพระพุทธรูป มีผู้คนกราบไหว้มากมายไปทิ้ง

             ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ได้นำผ้าแพรตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เอาดินสอลงอักขระเป็นอักษรไว้ แล้วผสมในมวลสารที่สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง ชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ก้านธูปบูชาพระ สันนิษฐานว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ คงนำเอาสิ่งของที่บูชาพระทั้งหมด เมื่อกราบไหว้บูชาพระ แล้วก็ไม่ทิ้ง

             นำมาตัดหรือป่นกับเนื้อที่จะสร้างสมเด็จวัดระฆัง จะเห็นเป็นเศษไม้ลักษณะก้านธูปผสมอยู่ในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง กลายเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญยิ่งถ้ามีเศษธูปแล้วต้องเป็นสมเด็จวัดระฆัง วัสดุอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือมีเม็ดแดงเหมือนอิฐผสมอยู่ในเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง เม็ดแดงนี้ขอยืนยันได้เลยว่า เป็นเศษเนื้อพระซุ้มกอตำให้ละเอียดแล้วผสมไว้กับมวลสารที่จะสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง

             เอกลักษณ์อันสำคัญที่สุดคือเม็ดเล็กๆมีผสมค่อนข้างมาก สีขาวออกเหลือง ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกว่า เม็ดพระธาตุ แต่คงไม่ใช่เม็ดพระธาตุเพราะถ้าเป็นเม็ดพระธาตุคงต้องใช้จำนวนมหาศาล เพราะพระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์จะมีเม็ดพระธาตุมาก จะไปเอาพระธาตุมาจากไหนมากมายมหาศาล

             จุดเม็ดพระธาตุนี้กลายเป็นจุดสำคัญของตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆัง ที่สำคัญที่สุด สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นปูนหินสีขาวๆเมื่อผสมกับน้ำมันตังอิ๊วจับตัวเป็นก้อน เมื่อตำผสมกับปูนขาวเปลือกหอยแล้ว ไม่กลืนกันภายหลังแยกกันเป็นเม็ดๆในเนื้อของสมเด็จวัดระฆัง

             แต่บางคนก็สันนิษฐานไปว่า อาจจะเป็นปูนขาวที่ปั้นพระบูชาตามโบสถ์ เสร็จแล้วทารักปิดทอง ให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชา เป็นร้อยเป็นพันปี บางครั้งปูนขาวพองขึ้นชำรุดเสียหาย จึงต้องลอกเอาปูนขาวออกปั้นด้วยปูนขาวใหม่ ให้พระสมบูรณ์ เพื่อยืดอายุพระพุทธรูปบูชา ในโบสถ์ให้มีอายุนับพันปี

             ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เห็นเป็นวัสดุบูชาที่ไม่ควรจะทิ้ง จึงนำมาตำผสมไว้ในมวลสารของพระสมเด็จวัดระฆัง มาจนถึงปัจจุบัน อายุของพระสมเด็จวัดระฆังร้อยกว่าปี การหดตัวของมวลสารเกิดขึ้น

             วัสดุที่ต่างกัน อายุต่างกัน จึงหดตัวไม่เท่ากัน จึงเกิดรอยแยกตัวของรอบๆ เม็ดพระธาตุอย่างสม่ำเสมอ เป็นตำนานอันสำคัญที่สุดในการดูพระสมเด็จวัดระฆังแท้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะนำดินสอพองมาเขียนเป็นตัวอักขระ บนกระดานชนวน เสร็จแล้วก็ลบออก และเขียนอักขระใหม่แล้วก็ลบออกอีก นำเอาผงที่ลบออกมาเก็บเอาไว้ คนรุ่นเก่ารุ่นแก่เรียกว่า ผงอิทธิเจ นำมาผสมในพระสมเด็จวัดระฆัง

    พระสมเด็จ วัดระฆังโฆษิตาราม

             พระสมเด็จวัดระฆังเป็นพระที่สร้างจากเนื้อผงวิเศษ ๕ ชนิด คือ ปถมัง,อิธะเจ,มหาราช,พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ตามลำดับ การเกิดผงวิเศษทั้ง ๕ นี้ นับเป็นขบวนการหล่อหลอมพระเวทย์วิทยาคมอันศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๕ มาเป็นหนึ่งเดียว วิธีการสร้างผงวิเศษนั้นเริ่มมาจากการบริการพระคาถา เขียนสูตร ชักยันต์ด้วยชอล์คลงในกระดาษชนวน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนใหม่ทำเช่นนี้นับเป็นร้อยๆครั้ง จนเกิดเศษชอล์คจากการลบ ซึ่งถือว่าเป็นผงศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากการตั้งจิตบริกรรมพระเวทย์ในขณะที่เขียนให้ครบถ้วนตามจำนวนที่พระเวทย์ในแต่ละบทกำหนดไว้ ขั้นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่มีชื่อ “ ปถมัง ”

             เมื่อได้ผง “ ปถมัง ” แล้ว นำผงนี้มาปั้นเป็นดินสอ ตากแห้ง แล้วนำแท่งดินสอชอล์ดที่เกิดจากผงปถมัง มาเขียนสูตรพระเวทย์อีกบทหนึ่งเขียนแล้วลบ ทำซ้ำกันตามจำนวนครั้งที่พระเวทย์บทใหม่กำหนด จนเกิดผงชอล์ดครั้งใหม่ ที่เรียกว่า “ ผงอิธะเจ ” แล้วก็ผงอิธะเจมาปั้นเป็นแท่งชอล์ด เขียนสูตรพระเวทย์อีก เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนเช่นนี้จนได้ ผงมหาราช แล้วก็ผงมหาราช กระทำเช่นเดียวกับขั้นตอนการทำตอนการผงอื่นๆ หากแตกต่างกันที่สูตรในการเขียน อักขระเลขยันต์ และจำนวนครั้งที่ถือเป็นเฉพาะแต่ละสูตรจนได้ ผงพุทธคุณ และสุดท้ายคือ ผงตรีนิสิงเห อันเกิดจากหลอมรวมสูตรทั้ง ๕ มาเป็นหนึ่งเดียวจากนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) จึงนำผงวิเศษนี้มาผสมรวมกันกับเปลือกหอยที่บดหอยที่บดละเอียดอันเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ก็จะมีข้าวสุก ดินสอพอง กล้วย โดยมีน้ำตังอิ๊วเป็นตัวประสานส่วนผสมเหล่านี้ จากนั้นจึงนำพระที่ผสมเสร็จแล้วนั้น กดลงในแม่พิมพ์ซึ่งแกะพิมพ์โดย นายเทศ แห่งช่างหล่อ

    การสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นการสร้างไปแจกไป มิได้เก็บลงกรุ โดยประมาณว่ามีการสร้างถึง ๘๔ , ๐๐๐ องศ์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์



     
  12. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม 3/3

    พระสมเด็จวัดระฆัง ถูกจำแนกออกไปเป็น ๕ พิมพ์ใหญ่ด้วยกันคือ

             ๑ พิมพ์พระประธาน หรือ พิมพ์ใหญ่
             ๒ พิมพ์ทรงเจดีย์
             ๓ พิมพ์เกศบัวตูม
             ๔ พิมพ์ฐานแซม
             ๕ พิมพ์ปรกโพธิ์ สำหรับพระพิมพ์นี้มีให้พบน้อยมาก ภายหลังจึง ไม่ค่อยจะมีผู้กล่าวถึง

    พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

             พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน หรือที่นิยมเรียกว่า พระพิมพ์ใหญ่ เป็นพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในบรรดาพระสมเด็จวัดระฆังทั้ง ๔ พิมพ์ ด้วยความงดงามสง่าผ่าเผย ขององค์พระ และความสมบรูณ์สมส่วนขององศ์ประกอบโดยรวมขององค์ประกอบศิลป์ทั้งหมด ประกอบกับจำนวนพระที่มีปริมาณเหมาะสม จึงส่งผลให้พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธานนี้ นับเป็นสุดยอดของพระในตะกูลสมเด็จทั้งหมด

             พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน มีทั้งเนื้อละเอียด เนื้อหยาบ เนื้อแก่น้ำมันตังอิ๊ว หรือเนื้อสังขยา และเนื้อแก่ปูนในพระพิมพ์นี้ สามารถแยกแยะออกเป็น ๓ โครงสร้างใหญ่ด้วยกันโดยถือเอารูปร่างขององค์พระเป็นตัวกำหนด

             พระพิมพ์ ๑ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์หนา พระพักตร์ค่อนข้างกลมใหญ่ หรือเรียกว่า ( เอวหนา หน้าใหญ่ )
             พระพิมพ์ ๒ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์หนา ส่วนพระพักตร์นั้น จะเรียวอูมตรงกลางและรูปพระพักตร์นั้นยาวกว่าพิมพ์แรก หรือที่เรียกว่ารูปพระพักตร์แบบ “ ผลมะตูมใหญ่ ” ( เอวหนา หน้ากลาง )
             พระพิมพ์ ๓ จะมีลักษณะที่ลำพระองค์บาง คอดหายไปตรงส่วนปลายรูปพระพักตร์จะเรียวอูมรีเล็กกว่าทุกพิมพ์ที่เรียกว่า “ ผลมะตูมเล็ก ” ( เอวบาง หน้าเล็ก )

             เนื่องจากแม่พิมพ์ของพระเป็นการสร้างด้วยมือ และมีหลายอัน จึงทำให้เกิดรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปบ้าง แต่ยังคงเค้าโครงหลักดังกล่าวมาแล้ว ถึงกันนั้นความแตกต่างในส่วนของเค้าโครงก็มิได้มีผลต่อความแตกต่างเรื่องค่านิยม สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างในค่านิยมคือ ความสมบรูณงดงามขององค์พระ นับเป็นปัจจัยหลัก

    พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เจดีย์

             พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ นี้นับได้ว่าเป็นพระที่มีลักษณะโดยรวมของลำพระองค์ ( ลำตัว ) ขององค์พระที่หนากว่าทุกพิมพ์ และรูปทรงทั้งหมดจากพระเกศถึงฐานชั้นล่างสุด จะมีลักษณะคล้ายเจดีย์ พระพิมพ์นี้สามารถแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือ

             พระพิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่ จะพบว่าส่วนของพระพักตร์ จะมีลักษณะอูมเกือบกลม ด้านข้างของพระพักตร์ จะมีเส้นพระกรรณ ( หู ) ติดอยู่ไรๆ ไม่ชัดเจนเท่าพิมพ์เกศบัวตูม สำหรับพระที่ยังคงความสมบรูณ์ และการกดในช่วงแรกของการทำ ก่อนที่แม่พิมพ์จะเริ่มลบเลือน ส่วนลำพระองค์ ( ลำตัว ) จะล่ำ เอวหนา และวงพระกร ( วงแขน ) จะสอบเข้าหาลำตัว ( วงพระกรแคบ )
    พระพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก พระพิมพ์นี้จะมีลักษณะโดยรวมผอมบางกว่าพิมพ์แรก พระพักตร์ ( หน้า ) จะเรียวกว่า ปลายพระเกศจะสั้น หลายองค์ที่พบเห็นพระเกศจะไม่จรดซุ้มด้านบน ลำพระองค์จะหนาเป็นรูปกระบอก ( แต่เว้าเอวเล็กน้อย ) ลำพระกร ( ลำแขน ) ช่วงบนจะหนาอูมแบบแขนนักกล้าม และวาดลำพระกรแคบ ( วงแขนแคบ ) มากกว่าสมเด็จทุกพิมพ์ ในพระที่มีความสมบรูณ์ จะปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน

    พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ใหญ่ จะมีค่านิยมสูงกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์เล็ก หากมีความสมบรูณ์ เท่ากัน แต่พิมพ์ทรงเจดีย์เล็กอาจจะมีค่าความนิยมสูง หากความสมบรูณ์ชัดเจนมากกว่าพิมพ์เจดีย์ใหญ่

    พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม

             พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม เป็นพระที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองมาจากพิมพ์พระประธาน ความนิยมนับว่าใกล้เคียงพิมพ์เจดีย์ แต่ความล่ำสันขององค์พระ และปริมาณที่พบน้อยกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์ จึงทำให้ลำดับความนิยมสูงกว่าทรงพิมพ์เจดีย์เล็กน้อย

             สาเหตุที่เรียกพระพิมพ์นี้ว่า “ เกศบัวตูม ” นั้นเนื่องมาจากรูปพระพักตร์ของพระพิมพ์นี้ จะมีความกว้างของหน้าผาก แล้วเรียวลงมาสู่ลูกคางเล็กน้อย และจะมีความมุ่นเมาลีเหนือพระเคียร เป็นกระเปาะเล็กน้อย ก่อนที่จะถึงส่วนปลายของพระเกศคล้ายรูปดอกบัวคว่ำ ที่สำคัญจะปรากฏเส้นพระกรรณ ( หู ) ที่ยาวเกือบจรดพระอังสา ( บ่า ) แทบทุกองค์

    พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูมนี้ แบ่งตามโครงสร้างของโดยรวมของลำพระองค์ได้เป็น ๒ ประเภทคือ

             • พิมพ์เกศบัวตูมใหญ่ จะมีลักษณะลำพระองค์หนา บางองค์เกือบเป็นรูปทรงกระบอก พระพักตร์ใหญ่ ค่อนข้างกลม รูปของลำพระกร ( ท่อนแขน ) จะล่ำหนา
             • พิมพ์เกศบัวตูมเล็ก มีลักษณะของลำพระองค์ที่เรียบบางกว่าพิมพ์แรก ( เอวคอด ) รูปพระพักตร์เกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ( คางมน ) ลำพระกร ( ท่อนแขน ) จะบางเล็ก จะเด่นของพระพิมพ์นี้คือจะปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน พาดผ่านลำพระองค์โดยตลอด นับเป็นพระที่เกิดจากแม่พิมพ์ที่มีความคมลึก และรายละเอียดชัดเจนมาก}}

    ค่าความนิยมของพระพิมพ์นี้ขึ้นอยู่กับความสมบรูณ์คมลึกของรายละเอียดที่รวมอยู่ในองค์ พระเป็นหลัก

    พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม

             พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม เป็นพระที่ได้รับความนิยมรองมาจากทุกพิมพ์ที่กล่าวมาข้างต้น สาเหตุที่เรียกพิมพ์นี้ว่า “ พิมพ์ฐานแซม ” เนื่องจากมีเส้นแซมที่ใต้องค์พระกับฐานชั้นบนสุด และระหว่างฐานชั้นบนสุดกับฐานชั้นกลาง

    พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม สามารถแบ่งตามโครงสร้างของพระองค์ได้ ๓ ประเภทคือ

             พิมพ์ที่ ๑ จะมีลักษณะรูปพระพักตร์ ( ใบหน้า ) ที่อูมรีใหญ่ ลำพระองค์จะหนาเกือบเป็นทรงกระบอกจนบางองค์แทบไม่มีเส้นโค้งข้างลำพระองค์เลย
             พิมพ์ที่ ๒ จะมีลักษณะของรูปพระพักตร์ ( ใบหน้า ) เรียวและอูมน้อยกว่าพิมพ์แรก ลำพระองค์ ( ลำตัว ) จะเล็กกว่าพิมพ์แรกมีเส้นเอวให้เห็นชัดเจนขึ้น พระที่กดพิมพ์ชัดเจนจะปรากฏเส้นคอให้เห็นด้วย
             พิมพ์ที่ ๓ จะมีลักษณะพระพักตร์ ( ใบหน้า ) ที่เรียวยาวมากกว่าสองพิมพ์แรก เส้นพระกรรณ ( หู ) ข้างพระพักตร์จะติดชัดเจน ลำพระองค์ ( ลำตัว ) บาง เอวคอด ในพระที่มีความคมชัดจะปรากฏเส้นสังฆาฏิพาดลำพระองค์ชัดเจนมากขึ้น

             สำหรับความแตกต่างในด้านค่านิยมทั้ง ๓ พิมพ์ แทบจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ความสวยงาม ความสมบรูณ์ คมชัด เป็นสิ่งที่กำหนดความแตกต่างของค่านิยมพระพิมพ์นี้

    พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์

    • พิมพ์ปรกโพธิ์ สำหรับพระพิมพ์นี้มีให้พบน้อยมาก ภายหลังจึงไม่ค่อยจะมีผู้กล่าวถึง


     
  13. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระสมเด็จบางขุนพรหม วัดบางขุนพรหม สุดยอดวัตถุมงคลสมเด็จโต

    พระสมเด็จบางขุนพรหม วัดบางขุนพรหม สุดยอดวัตถุมงคลสมเด็จโต

    ถึงพุทธคุณของ "พระเครื่อง" จะสัมผัสไม่ได้ด้วยตา แต่แน่นอนมีอิทธิพลทางด้านจิตใจอย่างมาก เมื่อห้อยอยู่ที่คอแล้วทำให้อบอุ่นกายแบบบอกไม่ถูก หลายคนคงได้เจอกับตัวเองมาแล้ว ยิ่งในห้วงที่การเมืองเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง เมื่อมีการแข่งขันสูง ความรุนแรงย่อมเกิดขึ้นได้ โดนเป็นรายแรก ส.ส.หลายสมัยของเมืองปากน้ำ "ประชา ประสพดี" มือปืนดักลอบสังหารด้วยอาวุธร้ายแรง แต่มัจจุราชยังไม่ต้อง การตัว ส่งผลให้รอดตายราวปาฏิหาริย์

    หลังจากรอดตาย "ส.ส.ประชา" โชว์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยให้รอดตายในครั้งนี้ เจ้าตัวมั่นใจเป็นเพราะบารมีของ "พระสมเด็จบางขุนพรหม" ที่ห้อยคออยู่ประจำ งานนี้ส่งผลให้ "พระสมเด็จบางขุนพรหม" ถูกแสวงหาราคาพุ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว เพราะนักการเมืองหลายคนหันมาอาราธนาพกพาติดตัว ป้องกันอันตรายจากคมกระ สุน แทนการใช้เสื้อเกราะ

    เรียกว่าพุทธคุณมั่นใจได้ไม่แพ้ "พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม"

    ปัจจุบันสนนราคา "พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม" ไต่อันดับขึ้นหลักล้านมายาวนาน แต่สิ่งสำคัญหาของแท้บูชาพกพาอาราธนาติดตัวยากมาก มีแต่เจอ "เก๊ใกล้แท้" นักสะสมส่วนใหญ่จึงเบนเข็มมาหา "พระสมเด็จบางขุนพรหม" แทน เพราะมีจำนวนที่มากกว่า และมีพิมพ์ทรงให้เลือกบูชามากกว่า แถมราคายังเบากว่าด้วย

    "วัดบางขุนพรหม" ในอดีตมีอาณาบริเวณกว้างขวาง โดยเฉพาะในช่วงที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ชราภาพ ท่านมาจำพรรษาหาความสงบ ขณะนั้นชาวบ้านได้นำที่ดินมาถวายเพิ่มเติมจากเดิม เพื่อให้ท่านสร้างพระหลวงพ่อโต ประดิษฐานเป็นที่พึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชน ทำให้วัดบางขุนพรหมมีอาณาเขตกว้างขวางมากขึ้น ทิศตะวันตกติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศเหนือติดคลองเทเวศร์ ทิศตะวันออกถึงบ้านพาน บ้านหล่อพระนคร

    ในขณะนั้นทางราชการได้สร้างทางตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์ผ่านกลางวัดบางขุนพรหม ทำให้วัดบางขุนพรหมแยกออกเป็น 2 วัด คือวัดบางขุนพรหมใน และวัดบางขุนพรหมนอก

    ปัจจุบันวัดบางขุนพรหมใน คือ "วัดใหม่อมตรส" สถานที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์ และวัดบางขุนพรหมนอก คือ "วัดอินทรวิหาร" สถานที่ประดิษฐานพระหลวงพ่อโตยืนองค์ใหญ่ "พระมหาเจดีย์" องค์นี้แหละเป็นที่มาของ "พระสมเด็จบางขุนพรหม"

    ครั้งนั้นสมเด็จโต และเสมียนตราด้วง ศิษย์ใกล้ชิดท่าน หลังจากดำเนินการจัดสร้างพระมหาเจดีย์เสร็จ ได้จัดสร้างพระพิมพ์เป็นเนื้อผงสีขาว อย่างพระสมเด็จวัดระฆังฯ จำนวนมากถึง 84,000 องค์ เท่าพระธรรมขันธ์บรรจุไว้ เพื่อเป็นการบูชาและสืบทอดพระพุทธศาสนาตามโบราณนิยม

    "พระสมเด็จบางขุนพรหม" ที่บรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์ มีหลักๆ อยู่ทั้งหมด 9 พิมพ์ ดังนี้ พิมพ์ใหญ่, พิมพ์ทรงเจดีย์, พิมพ์เกศบัวตูม, พิมพ์ฐานแซม, พิมพ์เส้นด้าย, พิมพ์สังฆาฏิ, พิมพ์ฐานคู่, พิมพ์ปรกโพธิ์ และพิมพ์อกครุฑ เป็นต้น

    ผมอยู่วงการพระมานาน โดนคำถามตลอด พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าสภาพองค์พระที่เจอทำไมดูใหม่กว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่ คงอธิบายได้ไม่ยาก การนำพระขึ้นจากกรุที่ต่างกัน พระบางขุนพรหมกรุเก่ามีสภาพองค์พระที่สะอาด หลายองค์ไร้ขี้กรุเกาะติด เพราะช่วงนั้นมีการแอบใช้ดินเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ หย่อนลงไปตามช่องลมพระมหาเจดีย์ เพื่อให้พระสมเด็จติดก้อนดินขึ้นมา เรียกว่า "ตกพระ"

    องค์พระที่ได้จะอยู่ส่วนด้านบน สภาพพระจึงสมบูรณ์ ไม่ปรากฏขี้กรุชัดเจน ผิวเรียบ มีอยู่บ้างประเภทองค์พระขาวนวลขึ้นมาคล้ายฟองเต้าหู้

    ส่วนพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่ ได้มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.2500 โดยมี จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นประธานการเปิดกรุ ปรากฏว่าองค์พระสมบูรณ์มีน้อย ส่วนใหญ่แตกหัก ขี้กรุผสมจับตัวแน่น บางองค์เป็นก้อนสีน้ำตาลแก่

    พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่ ขณะนั้นทางวัดเปิดให้ประชาชนบูชาองค์สภาพสมบูรณ์องค์ละ 3-4 พันบาท ไล่ตามพิมพ์ที่นิยม ส่วนองค์ที่แตกหักให้บูชาองค์ละ 3-4 ร้อยบาท

    ปัจจุบันพระสมเด็จบางขุนพรหม ทั้งกรุเก่าและกรุใหม่มีค่านิยมเล่นหามากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเพราะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นประธานการจัดสร้างพุทธคุณย่อมไม่แตกต่างกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จวัดไชโยแน่นอน

    คอลัมน์ มุมพระเก่า
    อภิญญา
     
  14. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานเส้นด้าย

    พระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานเส้นด้าย

    สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาดูมาคุยถึงพระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย กรุวัดบางขุนพรหมกันซักหน่อย ก็พอดีเพิ่งมีข่าวส.ส.ถูกยิงด้วยเอ็ม 16 แต่ก็รอดตายมาได้ ในคอห้อย พระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย องค์เดียว

    พระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย เป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สร้างปลุกเสกไว้ที่วัดบางขุนพรหม ในส่วนที่เป็นของวัดระฆังฯ นั้นไม่มี เป็นแม่พิมพ์ที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะของวัดบางขุนพรหมเท่านั้น พระสมเด็จพิมพ์นี้ต่อมานิยมเรียกกันว่า พิมพ์ฐานเส้นด้าย เนื่องจากในกระบวน พิมพ์ของพระสมเด็จที่พบทั้งหมด พระพิมพ์นี้มีเส้นสายเรียวเล็กกว่าทุกๆ พิมพ์ โดยเฉพาะเส้นฐานขององค์พระนั้น ปรากฏเพียงเป็นเส้นเรียวๆ บางๆ เท่านั้น นอกจากนี้ เส้นสายที่แสดงเป็นรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นซุ้ม เส้นที่แสดงเป็นองค์พระ ไม่ว่าจะเป็นพระเกศ เส้นแขน ขาหน้าตักต่างๆ ล้วนเป็นเส้นเรียวบางทั้งสิ้น จึงเรียกกันเพื่อแยกพิมพ์ว่า พิมพ์ฐานเส้นด้าย ต่อมาก็เรียกกันสั้นๆ เข้าไปอีกเป็นพิมพ์เส้นด้าย

    พระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้ายนี้เป็นพระสมเด็จพิมพ์เดียวที่มีจำนวนแม่พิมพ์มากที่สุด ในชื่อเรียกพิมพ์ของพระสมเด็จนั้น เป็นการแบ่งแยกหมวดพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์จะมีตัวแม่พิมพ์แยกออกไปอีกหลายแม่พิมพ์ โดยส่วนมากจะมีตัวแม่พิมพ์ในแต่ละหมวดประมาณ 4 แม่พิมพ์ ที่ต้องทำแม่พิมพ์หลายๆ อัน ก็เพื่อที่จะทำพระได้คราวละมากๆ นั่นเองครับ ในส่วนของวัดระฆังฯ ก็มีพระพิมพ์ใหญ่ ซึ่งมีแม่พิมพ์แยกออกไปอีก 4 แม่พิมพ์ พระพิมพ์ทรงเจดีย์ ก็มี 4 แม่พิมพ์ พระพิมพ์ฐานแซมก็มี 4 แม่พิมพ์และพระพิมพ์เกศบัวตูมของวัดระฆังฯ มีแม่พิมพ์เดียว ต่อมามีการสร้างพระสมเด็จ เพื่อบรรจุในองค์พระเจดีย์วัดบางขุนพรหม ซึ่งมีการสร้างตามจำนวนพระธรรมขันธ์ ซึ่งก็เท่ากับแปดหมื่นสี่พันองค์ จึงต้องทำพิมพ์เพิ่มอีกเป็นจำนวนมากเพื่อจะได้ช่วยกันกดพิมพ์พระให้ทันในเวลาจำกัด มีการแกะแม่พิมพ์ตามกำหนดโดยช่างสิบหมู่ นอกจากพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์เกศบัวตูมแล้ว ก็ได้แกะพิมพ์เพิ่มอีกคือ พิมพ์ฐานเส้นด้าย พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์อกครุฑ พิมพ์ปรกโพธิ์ และพิมพ์ไสยาสน์ และในแต่ละพิมพ์ก็ยังมีตัวแม่พิมพ์แยกออกอีกหลายแม่พิมพ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิมพ์ฐานเส้นด้ายนี้มีแม่พิมพ์มากที่สุด คือ 7 แม่พิมพ์

    ถึงจะมีตัวแม่พิมพ์มากเพียงใด แต่ก็ไม่ทิ้งภาพลักษณ์โดยรวมของหมวดพิมพ์ คือจะมีเส้นสายเรียวเล็กเหมือนๆ กันทุกแม่พิมพ์ แต่รายละเอียดในส่วนอื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ ก็จะแตกต่างกันไปบ้าง ตัวแม่พิมพ์ของพระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้ายมีดังต่อไปนี้

    1. พระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย พิมพ์ใหญ่

    2. พระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย พิมพ์เกศยาว

    3. พระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย พิมพ์แขนบ่วง

    4. พระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย พิมพ์ฐานกว้าง

    5. พระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย พิมพ์ฐานแคบ

    6. พระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย พิมพ์อกวี

    7. พระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย พิมพ์หูบายศรี

    ครับ การศึกษาพระนั้นจำเป็นอย่างยิ่งต้องจดจำพิมพ์ของพระ และโดยเฉพาะพระสมเด็จนั้น ก็อย่างที่ผมบอกคือต้องจดจำแม่พิมพ์ของทุกๆ พิมพ์ให้ได้ด้วยเช่นกัน ถ้าเราไม่ศึกษาว่า พระสมเด็จพิมพ์นั้นๆ มีแม่พิมพ์กี่ตัว พอเริ่มศึกษาก็จะงงว่าทำไมไม่เห็นเหมือนกัน และทำไมถึงแท้ล่ะ ถ้าเราไม่เข้าใจถึงตัวแม่พิมพ์ว่ามีกี่แม่พิมพ์ในแต่ละพิมพ์ก็จะงงและไม่เข้าใจซักที ตอนที่ผมเริ่มศึกษาใหม่ๆ ก็งงเช่นกัน แต่พอครูบาอาจารย์และผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องได้ชี้แนะให้ ก็เริ่มเข้าใจ และเริ่มศึกษาทีละพิมพ์ทีละแม่พิมพ์ก็เข้าใจได้ครับ ถ้าถามว่ายากไหม ผมก็ต้องตอบว่าไม่ยากไม่ง่ายครับ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความตั้งใจ ความขยันและพยายามหมั่นฝึกฝนครับ ไม่มีอะไรยากเกินไปหรอกครับถ้าเราพยายามและมีความมุ่งมั่นครับ ประวัติการสร้างต่างๆ นั้นสำคัญมาก เพราะจะทำให้เรารู้ว่า เขาสร้างอย่างไร และมีแม่พิมพ์กี่ตัว สร้างเมื่อปี พ.ศ.อะไร อย่างนี้เป็นต้น จึงจะทำให้เราเข้าใจในแม่พิมพ์ รู้ว่าสร้างด้วยเนื้อหาอะไร และสร้างมานานแค่ไหนแล้ว ความเก่าควรจะเป็นอย่างไร เป็นต้น

    ครับวันนี้เอาแค่นี้ก็แล้วกันครับ พร้อมทั้งผมได้นำรูปพระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้าย กรุวัดบางขุนพรหมมาให้ชม แม่พิมพ์นี้ก็คือ แม่พิมพ์อกวีครับ

    ชมรมพระเครื่อง
    แทน ท่าพระจันทร์
     
  15. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน

    ประวัติ พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน
         
             พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน
         
             พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอด ในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร
         
             พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอด กรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว
         
             จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย
         
             พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี – ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นนั้น มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก

             เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอกพระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน

             นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก

    พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน ลักษณะ: พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน 3 ทางได้แก่

             1. ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
             2. ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด
             3. เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด

             ลักษณะทั่วไปของพระรอด เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง
    สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์

             1. พิมพ์ใหญ่
             2. พิมพ์กลาง
             3. พิมพ์เล็ก
             4. พิมพ์ต้อ
             5. พิมพ์ตื้น
     

    นอกจากนี้ยังมีสีสันและวรรณะต่างๆของพระรอด ซึ่งมีอยู่ ๖ สีด้วยกันคือ

             1. สีเขียว
             2. สีพิกุล (สีเหลือง)
             3. สีแดง
             4. สีเขียวคราบเหลือง
             5. สีเขียวคราบแดง
             6. สีเขียวหินครก

             สำหรับสีของพระรอด ทั้ง 6 สี นี้เป็นสีของพระรอดทุกพิมพ์ทั้ง 5 พิมพ์จะมีสีสันวรรณะแตกต่างกันไป ตามสีทั้ง 6 และนอกเหนือจากทั้งสี 6 สี นี้พระรอดจะไม่มีสีอื่นๆ ไปโดยเด็ดขาดนอกจากนี้พระรอดทุกพิมพ์ (ทั้ง 5 พิมพ์) พระกรรณ หรือใบหูของพระองค์ จะต้องติดชัดทุกพิมพ์ และฝ่าพระหัตต์ด้านขวา ที่วางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ด้านขวาจะต้องมี 6 พิมพ์ และทุกองค์ โดยเฉพาะองค์ที่มีความคมชัดจะเห็นได้ชัดเจน

    พระรอดวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่ 
         
             พระรอดพิมพ์นี้ต้องเรียกว่าพิมพ์ใหญ่ ก็เพราะว่า ลักษณะขององค์พระจะมีฐาน 4 ชั้น ซึ่งมีมากกว่าพระรอดพิมพ์อื่นๆ (ที่มีเพียง 3 ชั้นเท่านั้น) ดั้งนั้นถ้าพระรอดมีฐาน 4 ชั้นก็จะต้องเป็นพระรอดพิมพ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งฐาน 4 ชั้น ของพระรอดพิมพ์ใหญ่จะต้องปประกอบด้วย ฐานชั้นที่ 1, ชั้นที่ 2, ชั้นที่ 3, และชั้นที่ 4 โดยฐานชั้นที่ 3 และชั้นที 4 จะติดกัน ส่วนด้านล่างสุด เป็นเนื้อเกินที่ล้นพิมพ์ และจะกดพับขึ้นมาชนกับฐานชั้นที่ 4 นอกจากนี้ยังมีแอกลักษณ์ ที่เป็นพระพิมพ์ใหญ่อีก ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป และจะได้พิจารณาถึงเอกลักษณ์ที่เป็นพิมพ์ใหญ่ ซึ่งเป็นหลักในการพิจารณาพิมพ์ของพระรอดพิมพ์ใหญ่


    ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระรอด

             1.พระเกศ และพระเมาลีคล้ายฝาชี
             2.พระพักตร์สอบเสี้ยม องค์ติดชัดๆพระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์เจ่อ
             3.มีเส้นแตกพาดเฉียงจากพระเนตร มาชนใบโพธิ์
             4.ปลายพระกรรณ ซ้ายมือองค์พระ จะแหลมเป็นตัววี
             5.พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
             6.นิ้วหัวแม่มือขวา องค์พระจะขาด ส่วนปลายนิ้ว 4 นิ้วที่เหลือมักติดชัด
             7.แขนซ้ายองค์พระแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม
             8.เส้นน้ำตกใต้แขนซ้ายองค์พระ มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกแผ่วๆ ในแนวเดียวกัน
             9.ร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะมีเส้นแซมบางๆหนึ่งเส้น
            10.ฐานอาสนะชั้นล่างสุด มี 3 ชั้น ชั้น 2 และ 3 บางทีติดกันโดยมีร่องตื้นๆ คั่นกลาง
            11.ก้นฐานพระมีรอยบี้และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากตอนดันพระออกจากพิมพ์ เป็นแบบนี้ทุกองค์
            12. ต้นแขนขวาองค์พระค่อกเล็กน้อย คล้ายพระคง แต่อาการน้อยกว่า
            13. พระพิมพ์ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆ ปรากฏ

    พุทธคุณ: พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี

    ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544
     
  16. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระรอดพิมพ์ต้อ กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน

    พระรอดพิมพ์ต้อ กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน

    ใน บรรดาพระเนื้อดินที่ว่าดังๆ จากทั่วทุกสารทิศในประเทศไทย ถ้าถามว่าพระอะไรที่มีอายุมากที่สุด คำตอบก็คือ พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน และเช่นเดียวกันถ้าถามว่าพระอะไรที่ดูยากดูเย็นมากที่สุด ก็คงจะต้องตอบว่า พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน อีกเช่นกัน เพราะสำหรับวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องแล้วเป็นที่ทราบกันดีว่า "พระรอด" ซึ่งได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระยอดนิยมของเมืองไทย หรือที่เรียกว่า "พระชุดเบญจภาคี" นั้น นับเป็นพระเครื่องที่มีศิลปะ ชั้นสูง แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน เป็นที่ต้องการและเสาะแสวงหากันมากมาย ดังนั้น ถ้าคิดจะเข้าสู่วงการกับเขาบ้างก็ควรจะรู้วิธีการดูพระรอดขั้นต้นเอาไว้บ้าง ครับผม

    พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน นั้น จะมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ ตั้งแต่พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก แถมยังมีพิมพ์ตื้น และพิมพ์ต้อ อีก ด้วย สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึง "พระรอด พิมพ์ต้อ" กันก่อน สาเหตุที่เรียกว่า "พิมพ์ต้อ" นั้น เนื่องด้วยองค์พระมีลักษณะต้อๆ สั้นๆ กว่าพระรอดพิมพ์อื่นนั่นเอง

    พุทธลักษณะองค์พระของพระรอดทุกพิมพ์จะเหมือนกัน คือ ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายใต้โพธิบัลลังก์ มีฐานเขียงเป็นอาสนะสามชั้น ศิลปะของพระรอด พิมพ์ต้อ นั้น องค์พระจะเตี้ยล่ำ คล้ายๆ กับพระพุทธรูปเชียงแสนศิลปะขนมต้ม ส่วนเค้าพระพักตร์คนโบราณจะเรียกว่า "เป็นแบบเมล็ดพริกไทย" คล้ายกับพระรอด พิมพ์กลาง พระโอษฐ์สั้นเหมือนปลากัด และพระรอด พิมพ์ต้อนี้ให้สังเกตที่พระกรรณ ซึ่งจะสั้นกว่าพระรอดพิมพ์อื่น

    พระหัตถ์ข้างขวาขององค์พระที่วางพาดเข่าก็จะใหญ่ แลดูเป็นนิ้ว 6 นิ้ว และที่นิ้วหัวแม่มือดูคล้ายจะมีรอยตัด เหลือปลายนิ้วเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ชี้ลงมาที่โคนน่องของขาขวา ที่โคนน่องให้สังเกตลอยขยัก 2 ขยัก อันนับเป็นจุดสำคัญในแม่พิมพ์

    จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ผ้ารองนั่ง จะเป็นขีดเหนือฐานชั้นล่างสุดหรือฐานชั้นที่หนึ่งเล็กน้อย และไม่ห่างกันมาก ถ้าห่างกันจะเป็นของเก๊ อีกประการหนึ่งคือ ในพิมพ์นี้จะไม่ปรากฏเนื้องอกหรือเนื้อปลิ้นที่เกิดจากการดันออกจากพิมพ์ใต้ ฐานองค์พระ

    สำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาในระยะแรก ควรจะหัด วาดและจัดกลุ่มใบโพธิ์เหนือองค์พระก่อน ซึ่งสามารถจัดได้ 6 กลุ่มโพธิ์ โดยจะมีโพธิ์ขีดยาวที่เรียกว่า "ก้านโพธิ์" เป็นตัวแบ่ง เพราะหัวใจของการดูพระรอดก็คือ การดูกลุ่มโพธิ์ ให้สังเกต "โพธิ์กลุ่มแรก"

    ซึ่งนับจากทางขวาขององค์พระจะปรากฏโพธิ์ 2 ใบที่ไม่เรียงเป็นแนวเดียวกันหากแต่วางขัดกัน ผิดกับ "โพธิ์กลุ่มที่ 6" ซึ่งอยู่สุดทางซ้ายขององค์พระใบโพธิ์จะวางเรียงตามกันทุกใบ และใน "กลุ่มโพธิ์ที่ 5" จะเห็นเป็นโพธิ์เขยื้อนในบางใบโพธิ์อย่างชัดเจน ครูเก่าๆ ท่านเคยสอนผมว่าพระรอดเป็นพระที่เนื้อละเอียดและแห้งมาก หากล้างมือให้สะอาดเช็ดมือให้แห้งแล้วนำพระรอดวางลงในอุ้งมือองค์พระจะดูด มือนิดๆ ก็ลองกันดู ค่อยเป็นค่อยไปจากหลักการเบื้องต้นนี้ก่อน และก็หวังว่า พระรอดแล้วคนก็จะรอดด้วยนะครับผม

    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง :โดย ราม วัชรประดิษฐ์
     
  17. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ขอบคุณพี่กรุพระ
    ที่สรรหาข้อมูลดีๆมากมาย
    มาให้อ่านให้ศึกษาครับ
     
  18. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    ช่างงดงามเร่าร้อนเหมือนกระดังงาลนไฟครับตอนนี้(f)(f)(f)(f)(f)
     
  19. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/w9I4v61l4gZzvfFS" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/61f/4yh3M2.jpg" /></a>
    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/w9I4xdTqLQah4n1u" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/0b4/NGB9YL.jpg" /></a>

    ครับพี่ captainzire พระองค์นี้เป็นพระหล่อที่สร้างจากเบ้าดินโบราณ ซึ่งเบ้าทำจากวัสดุแบบโบราณล้วน ๆ มีสองด้าน หน้า และหลังเรียกว่าเบ้าประกบ ส่วนโลหะมวลสารได้มาจากการบริจาคของชาวบ้านในสมัยนั้นซึ่งไม่จำกัดว่าเป็นโลหะใด ๆ อาทิเช่น ชิ้นส่วนพระเก่า ๆ ขันทองเหลือง ขาปิ่นโต เครื่องประดับเงิน ทอง เรียกว่าสมรมลงไปผสมกับแผ่นจารอักขระซึ่งท่าน อ.ดิษฐ์ได้จารแผ่นบนสุดเพียงแผ่นเดียวแต่อักขระที่จารจะติดลงไปถึงแผ่นล่าง จากนั้นนำไปหล่อหลอมรวมกันแล้วเทลงเบ้า เมื่อได้องค์พระออกมาก็ให้นายช่างมาทำการแต่งให้มีรูปทรงสวยงามอีกครั้งด้วยตะไบ เมื่อเสร็จแล้วก็จะส่งให้ท่าน อ.ดิษฐ์ปลุกเสกอีกครั้ง ดังนั้นพระเครื่องของท่าน อ.ดิษฐ์จึงมีเนื้อหาที่ดูแปลกตาจริง ๆ และเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของพระปิดตาสายนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2012
  20. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    เดี๋ยวสักพักจะเอาพระที่พุทธคุณดีเยี่ยมแต่ราคาขนมมาลงให้ศึกษากันครับ กำลังเตรียมข้อมูลอยู่
     

แชร์หน้านี้

Loading...