พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    คุณหนุ่มอย่าลืมท่านอีกองค์หนึ่งด้วย
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.palungjit.org/board//archive/index.php/t-11905.html

    รวมพระคาถาสืบทอดจากสำเร็จลุนแห่งนครจำปาศักดิ์

    กาฝาก

    04-08-2005, 06:27 PM

    พระคาถาเหล่านี้บางส่วนสืบทอดจากสำเร็จลุนแห่งนครจำปาศักดิ์สู่พระครูโพนสะเม็ด(พระครูขี้หอม)
    สืบต่อถึงหลวงพ่อโต ตังคปัญญา โคราช(มรณะแล้ว)


    คาถาล่องหนหายตัว
    ตัง นิ พุท ติง นิ พุท ติง ตะ นิ
    พุท ติง ตะ นิ ติง ตะ นิ พุท ธะ

    คาถาลงตะกรุดกันปืน
    อะ นิ ทัส สะ นะ อัป ปะ ฏิ คา เมตตัญ จะ
    นะ หะ โล อัต โส ภะ คะ วา อิ ติ ปิ ติ อะระหังฯ

    คาถาเสกบอระเพ็ดกินคงพยาธิโรคหาย
    พุทธังเพซชะคงหนัง ธัมมังเพ็ซชะคงหนัง สังฆังเพ็ชชะคงกระตูก
    นะ มะ พะ ทะ อม สะหัส คง คงฯ

    คาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์เสกยากิน
    นะ มะ นะ อะ นอ กอ นะ กะ
    กอ ออ นอ อะ นะ อะ กะ อัง
    อุดมิ อะ มิ มะ หิ สุ ตัง
    สุ นะ พุท ธัง อะ สุ นะ อะ.

    พระคาถาเสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน
    มะ คิ ยา โน มะ คิ ยา มะ
    คิ ธิ โส หะ ยะ ลา ปะ สา โน
    นะ มา เช นะ สา

    พระคาถาเสกยากินเป็นมหาอุด และคงกระพัน
    พุทธังคงเนื้อ ธัมมังคงหนัง สังฆังคงกระดูก
    อะระหังพันผูก ตรีเพชรคงคง
    พุทธังอุด ธัมมังอัด สังฆังปิด.

    คาถานะโมตาบอด
    นะ โม ตัน ติด นะ โม ติด ตัน ตา
    นะ โม ตัน ตา นะ โม ตา ตัน ติด
    (เป่าไข้ เป่าไอ เป่าหนาว เสกข้าวกินกันปืน)

    คาถาหายตัว
    กุ กะ กุ โก กุ รา มะ โม
    โม รา กุ
    (ภาวนาจับต้นไม้ตอนเดือนหงาย แต่งขันธ์ 5ภาวนา) ฝึกแล้วชาวบ้านแตกตื่น เพราะ หายตัวไม่ได้เห็นชีเปลือยโทงๆ นี่ไม่ประกันความปลอดภัย

    คาถาอิติปิโส ๘ ทิศ
    ๑. อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา อิ
    ๒. ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง ติ
    ๓. ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท ปิ
    ๔. โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ โส
    ๕. ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ ภะ
    ๖. คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ คะ
    ๗. วา โธ โน อะ มะ มะ วา วา
    ๘. อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ อะ
    ใช้ในทางป้องกันอันตรายต่างๆ ได้ทุกอย่าง สวด ๑ จบ ก่อนนอน สวด ๑ จบ
    ก่อนไปไหนมาไหน ขึ้นรถลงเรือไปเหนือล่องใต้วิเศษนัก ไปปักกลดอยู่ป่าเขาเอาก้อนดิน
    ๘ ก้อน หรือก้อนหิน ๘ ก้อน เสกด้วยอิติปิโส ๘ ทิศ แล้วเสก ๘ บทนึ้ ๓ จบ ปา
    ก้อนหินก้อนดินไป ๘ ทิศ ท่านว่าจักไม่มีอันตรายเลยแม้แต่เสือเป็นต้น จะไม่ล่วงก้อนหิน
    ที่เราปาเอาไว้เข้ามาได้เลย คาถาอยู่ที่ความเชื่อความศรัทธา จึงจะขลัง ท่องให้ได้ขึ้นใจ
    เชื่อมั่นตนเอง (จากตำราของเก่า)

    คาถากระทู้ ๗ แบก
    อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง
    ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ
    ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ
    วา โธ โน อะ มะ มะ วา อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ
    พระคาถากระทู้ ๗ แบกนี้ ไม่ได้หมายความว่า ๗ ข้อหรือ ๗ วรรค ถ้า
    นับเป็นวรรค เป็น ๘ วรรค ที่ว่า ๗ ก็เพราะว่า วรรคหนึ่งมี ๗ อักษร ท่านจึงเรียก
    กระทู้ ๗ แบก ท่านพรรณนาความขลังของคาถาวิเศษไว้ว่า
    ถ้าผู้ใดถือคาถานี้ขลังแล้วลงไปอยู่ในบ่อนาเอากระทู้ไม้ยาว ๑ วา เสี้ยมปลายให้แหลม พุ่งลงไปเพื่อให้ลถูกคนนั้นจนหมด กระทู้ ๗ แบก ไม่ถูกเลยแม้สักอันเดียว (จากตำราของเก่า)

    คาถาธาตุสี่
    ของสำเร็จลุน(แห่งนครจำปาศักดิ์)ใช้แสดงปาฏิหาริย์สารพัด
    แต่ละธาตุมีสี่บรรทัด จะมี สี่ บรรทัด
    สำเร็จลุนให้ตำราพระยาครูโพนสะเม็ก (พระครูขี้หอม) สืบทอดไว้

    ปฐวีธาตุ หรือ ธาตุดิน ให้ว่าดังนี้
    มะ กะ ทะ นะ พะ กะ สะ จะ
    มิ ตะ ติ อุ อะ มะ นะ
    จิ ตะ ติ จะ พะ กะ สะ
    มุ ตะ ติ มะ นะ อะ อุ

    อาโปธาตุ หัรือ ธาตุน้ำ
    นะ มะ ทะ จะภะ กะ สะ
    ริ ตะ ติ นะ อะ อิ อุ
    ริ ตะ ติ สะ มะ นิ ทุ
    ริ ตะ ตะ วิ กะ วิ ตะ ติ

    วาโยธาตุ หรือ ธาตุลม
    พะ ทะ นะ มะ พะ สะ จะ พะ
    ริ ตะ ติ ทะ พะ มะ นะ
    มิ ตะ ติ อุ อะ มะ นะ
    วิ ตะ ติ พะ สะ กะ สะ

    เตโชธาตุ หรือ ธาตุไฟ
    ทะ นะ มะ พะ สะ จะ พะ วะ
    มิ ตะ ติ พะ จะ สะ กะ
    มุ ตะ ติ นะ มะ อะ อุ
    จุ ตะ ติ กะ ระ มะ กะ

    นอกจากคาถาธาตุตัวเต็มนี้แล้ว ท่านยังถอดเอาไปใช้เฉพาะเรื่อง
    ทำให้ร่างกายให้โตว่า
    มะ นะ อุ อะ นะ มะ อะ อุ
    ทำให้มีข้าวของเครื่องใช้มากว่า
    อะ อุ มะ นะ นะ มะ อุ อุ
    ทำให้วิ่งเดินเร็วว่า
    อุ อะ มะ นะ นะ มะ อะ อุ
    ทำให้หายตัวไม่มีใครเห็น
    อะ อุ นะ มะ มะ นะ อะ อุ
    ทำให้ฝนตก
    นะ มะ อะ อุ มะ นะ อุ อะ

    คาถามหากระจาย
    การที่จะใช้คาถานี้ให้เกิดประโยชน์ เหมือนแก้วสารพัดนึก คือนึกจะให้เป็นสิ่งใดก็
    เป็นได้ จะต้องทำพระขึ้นองค์หนึ่งประกอบด้วยไม้ต่างๆ
    คือเอาไม้กัลปพฤกษ์มา ทำเป็นองค์ เอาไม้ต้นยอมาทำเป็นแท่น เอาไม้ต้นแพงมาทำ
    เป็นเกศ เอาไม้ต้นแสงมาทำเป็นหู เอาไม้ต้นรักมาทำเป็นหัวอก
    เมื่อทำพระดังกล่าวเสร็จแล้ว ก็ให้ทำเครื่องร้อยเป็นเครื่องบูชา
    เครื่องร้อยนั้น ท่าน ว่าประกอบด้วยธูป ๙ ดอก เทียนขี้ผึ้ง ๙ เล่ม ดอกไม้ใส่ขัน
    จอก ๙ ดอก
    ให้ทำจิตให้เป็นสมาธิ ในวันปุณณมีดิถี ขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางคืนเพ็ญเดือนหงาย
    ปลุกเสกด้วยคาถาดังจะกล่าวต่อไปนี้ ๑๐๘ คาบ สวดชยันโตอีก ๑๐๘ คาบ
    เรียกว่า พระยอดแก้วดวงธรรมดีนักแล จะคิดเนรมิตให้เป็นสิ่งใดได้ดังปรารถนา
    คาถาที่ให้สวดปลุกเสก ๑๐๘ คาบ นั้นมีดังนี้ คือ
    ธุ สะ สะ ปะ วะ โร สิ นุ สิ สิ โย มะหิทธิโก
    ยัง ยัง ชะนะปัตตัง ยาตินิคะ เมรัง
    ชะ มะ วา ทะ โย ปิยัง ยะถาวะริ วะโหปุโร
    สัพพะการัง นะขียันติ เอวันตัง โสระโห ปัจจะยัง มหาลาภัง กะโรนตุเม
    เมื่อว่าดังนี้ ๑๐๘ คาบล้ว ว่าชะยันโตอีก ๑๐๘ จบ เป็นใช้ได้
     
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คุณพันวฤทธิ์ ส่ง code ลับแบบนี้ พาใจให้น้องพี่สงสัยนา
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1&hl=th&start=0&sa=N<O:p</O:p
    [DOC] <O:p</O:p
    บทที่ ๑<O:p</O:p

    รูปแบบไฟล์: Microsoft Word - แสดงเป็นแบบ HTML
    ... นางเพา) ซึ่งเดิมนับถือผีสาง ได้รับวัฒนธรรมไทย-ลาว สมัยพระครูโพนเสม็ด หรือโพนสะเม็ก (
    พระครูขี้หอม) พร้อมด้วยเจ้าหน่อกษัตริย์ ได้พาพรรคพวกอพยพจากล้านช้าง ...
    ubon.obec.go.th/school/swws/tham/tamnan01.doc - หน้าที่คล้ายกัน

    <O:pบทที่ ๑<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตำนาน ภาษาและวรรณกรรมอีสาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ดินแดนภาคอีสานมีประวัติความเป็นมายาวนาน ดังจะได้ศึกษาต่อไปนี้ โดยได้แบ่งเนื้อหาเป็น ๓ ตอน คือตอนที่ ๑ จะพูดถึงความเป็นมาของชาวอีสาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ การจัดตั้งชุมชนอีสานในแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช รวมทั้งการขยายอำนาจส่วนกลางเข้าสู่ภาคอีสาน ตอนที่ ๒ จะพูดถึงภาษาและตัวอักษรไทยอีสาน ส่วนตอนที่ ๓ จะพูดถึง วรรณกรรมอีสาน เพื่อจะได้ทราบพื้นฐานของกลุ่มชน วัฒนธรรมทางภาษาและวรรณกรรมอีสาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ตอนที่ ๑ ความเป็นมาของชาวอีสาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    . ชุมชนอีสานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ <O:p</O:p
    จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในบริเวณแอ่งสกลนคร (บริเวณลุ่มน้ำสงคราม จังหวัดอุดรธานี และสกลนคร) และแอ่งโคราช (จากเทือกเขาภูกระดึง เทือกเขาภูพานลงมาจนถึงบริเวณลุ่มน้ำมูล น้ำชี) พบว่ามีชุมชนโบราณในภาคอีสานเมื่อราว ๕,๐๐๐ ปีมาแล้วบริเวณแอ่งสกลนครมีหลักฐานว่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ก่อนแหล่งอื่น มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ในชิวิตประจำวัน เป็นภาชนะดินเผา เครื่องมือสำริด เครื่องประดับลูกปัด เป็นต้น เช่นที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ส่วนบริเวณแอ่งโคราช ก็ปรากฏชุมชนโบราณเช่นเดียวกัน ปรากฏหลักฐานเช่น ภาพเขียนสีแดงที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น (ธวัช ปุณโณทก. ๒๕๔๔ ก : ๑ - ๕)
    <O:p</O:p
    . ชุมชนอีสานสมัยประวัติศาสตร์<O:p</O:p
    ในการพิจารณาจำแนกยุคสมัยประวัติศาสตร์และยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้น โดยทั่วไปจะยึดเกณฑ์การมีตัวอักษรใช้ในสังคมนั้นๆ (ธวัช ปุณโณทก. ๒๕๔๔ ก : ๕) แต่ในกรณีภาคอีสานนี้ มีปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจากพบว่า มีการใช้ตัวอักษรหลายรูปแบบ กล่าวคือ ในยุคแรกๆ มีการใช้อักษรปัลลวะ (อักษรคฤนถ์ หรืออักษรอินเดียใต้) เขียนภาษาสันสกฤตและภาษาขอม ส่วนในยุคสุดท้าย ใช้อักษรตัวธรรมและอักษรไทยน้อย บันทึกภาษาไทยอีสาน (ภาษาไทย-ลาว) <O:p</O:p
    ปัญหาสำคัญคือ นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ไม่อาจจะชี้ชัดได้ว่า กลุ่มชนที่สร้างศิลาจารึก (อักษรปัลลวะ อักษรขอมโบราณ) ในยุคต้นๆ นั้น เป็นชนชาติไทยที่สืบเผ่าพันธุ์และวัฒนธรรมที่ต่อเนื่องมาเป็นกลุ่มไทย-ลาวในปัจจุบันหรือไม่
    <O:p</O:p
    อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากหลักฐานที่ปรากฏ โดยไม่คำนึงว่าเป็นของใคร อาจแบ่งเป็น ๓ ยุค ดังนี้<O:p</O:p
    ๑. ยุคร่วมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) <O:p</O:p
    จากการศึกษาศิลาจารึกที่พบในภาคอีสานในยุคนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องทางพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จารึกด้วยอักษรปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤต เชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เช่นใบเสมาหินทรายที่เมืองฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ และวัดกุดโง้ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น<O:p</O:p
    ๒. ยุคอิทธิพลขอมสมัยพระนคร (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘)<O:p</O:p
    อาณาจักรขอมสมัยพระนครได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดและสามารถแผ่อิทธิพลอย่างกว้างขวางนั้น น่าจะเริ่มในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๓-๑๕๙๓) ได้เข้าครอบครองภาคอีสาน รวมทั้งภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๒) ขอมได้สร้างอาณาจักรอย่างยิ่งใหญ่ ได้ระดมสร้างปราสาทหินอันเลื่องชื่อของขอม เช่นนครวัด นครธม และบายน ส่วนในภาคอีสานก็มีหลายปราสาท ที่สำคัญ เช่น เขาพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย เป็นต้น รูปแบบอักษรขอมโบราณที่พบในศิลาจารึกต่างๆ พบว่าได้คลี่คลายมาจากอักษรอินเดีย (อักษรปัลลวะ) และค่อยวิวัฒนาการมาเป็นอักษรขอมบรรจงและขอมหวัด<O:p</O:p
    . ยุควัฒนธรรมไทย-ลาว (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-ปัจจุบัน)<O:p</O:p
    หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ขอมเสื่อมอำนาจลง ชุมชนในภาคอีสานจึงน่าจะเป็นกลุ่มเล็กๆ และไม่สืบทอดวัฒนธรรมขอมอีก (ธวัช ปุณโณทก. ๒๕๔๔ ก : ๑๒) เป็นการสิ้นสุดวัฒนธรรมขอมโบราณโดยสิ้นเชิง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่พบการก่อสร้างหรือจารึกใดๆ ในช่วง ๒๐๐-๓๐๐ ปีจากนั้นมา ขณะเดียวกัน ได้พบร่องรอยของกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแบบใหม่เข้ามาแทนที่ นั่นคือ จารึกวัดแดนเมือง จังหวัดหนองคาย (พ.ศ. ๒๐๗๓) เป็นอักษรไทยน้อย จึงสันนิษฐานว่าเป็นวัฒนธรรมไทย-ลาว ซึ่งรวมตัวเป็นปึกแผ่นในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. ๑๘๙๖) เป็นต้นมา<O:p</O:p
    วัฒนธรรมไทย-ลาว เริ่มก่อตัวมั่นคงอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง เช่น เมืองปากห้วยหลวง (อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย) เมืองโคตรบูรณ์ (อำเภอ ธาตุพนม จังหวัด นครพนม) รวมทั้งเมืองหนองหาน (จังหวัดสกลนคร) และค่อยกระจายมาสู่ที่ราบสูงตอนกลาง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    . การจัดตั้งชุมชนกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว ในแอ่งสกลนคร<O:p</O:p
    ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ มีกลุ่มชนรวมกันเป็นนครรัฐที่บริเวณลุ่มน้ำโขงตอนเหนือและลุ่มแม่น้ำอู (เมืองแถนและเมืองเชียงคงเชียงทอง) มีความรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักของสุโขทัย เพราะปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กล่าวว่า <O:p</O:p
    "...ทั้งมากาวลาวและไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฏ...ไทชาวของชาวอูมาออก..." หรือ<O:p</O:p
    "...เท่าฝั่งของ เถิงเวียงจันเวียงคำเป็นที่แล้ว..." หรือ "...พ้นฝั่งของเมืองชวาเป็นที่แล้ว..." <O:p</O:p
    (กรมศิลปากร. ๒๕๒๖ : ๕๒-๕๙) แสดงให้เห็นว่าชาวเมืองสุโขทัยรู้จักชุมชนทางลุ่มแม่น้ำโขงเป็นอย่างดี หลังจากนั้น ในจารึกสมัยพระเจ้าลิไท ได้กล่าวถึงอาณาจักรนี้ ว่า<O:p</O:p
    (เขตเมืองสุโขทัย) "...เบื้องตะวันออก...เถิงแดนพระญาฟ้าง้อม..." (งุ้ม)<O:p></O:p>
    สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. ๑๘๙๖-๑๙๑๖) มีการขยายอาณาเขตของอาณาจักรล้านช้างอย่างกว้างขวาง และเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในเวลาต่อมาคือรัชสมัยพระเจ้าสามแสนไทย (พ.ศ. ๑๙๑๖-๑๙๕๙) โดยในระยะแรกได้แพร่กระจายชุมชนในบริเวณแอ่งสกลนครเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง มีขอบเขตตั้งแต่จังหวัดเลย (เมืองหล่ม เมืองเลย ปากเหือง เชียงคาน ด่านซ้าย) จังหวัดหนองคาย (เมืองเวียงคุก เมืองปากห้วยหลวง) จังหวัดอุดรธานี บริเวณอำเภอบ้านผือ จนถึง ตำบลหนองบัวลำภู จังหวัดสกลนครและนครพนม (เมืองโคตรบอง) พงศาวดารลาวมักกล่าวถึงหัวเมืองที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ส่วนพงศาวดารไทยได้กล่าวถึงหัวเมืองสำคัญของล้านช้างเท่านั้น ไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า อยุธยาได้รู้จักเส้นทางผ่านทางช่องดงพระยาไฟ และดงพระยากลาง ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (ธวัช ปุณโณทก. ๒๕๔๔ ก : ๑๖)ทั้งๆที่หัวเมืองพิมาย เมืองพนมรุ้ง เคยเป็นชุมชนที่รุ่งเรืองในสมัยขอมพระนคร อันน่าเชื่อได้ว่าชุมชนดังกล่าวคงลดความสำคัญลงไปมาก ดังนั้น ทั้งพงศาวดารไทยและลาวจึงไม่ได้กล่าวถึงหัวเมืองในดินแดนที่ราบสูงแอ่งโคราชในสมัยอยุธยาตอนต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    . การขยายวัฒนธรรมไทย-ลาวเข้าสู่ดินแดนแอ่งโคราช<O:p</O:p
    ดินแดนในเขตแอ่งโคราชในสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น เป็นชุมชนที่มีความสำคัญน้อย ดังที่ หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว. ปฐม คเนจร) เขียนว่า <O:p</O:p
    "พื้นที่ในมณฑลลาวกาวนี้ เมื่อก่อนจุลศักราช ๑๐๐๐ (พ.ศ. ๒๑๘๑) ก็เป็นทำเลป่าดง เป็นที่อาศัยของคนป่าซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่าพวกข่า ส่วย กวย (หรือกุย)..."<O:p</O:p
    (หม่อมอมรวิจิตร. ๒๕๐๔ : ๒๑) แสดงว่า ช่วงนั้นยังไม่มีคนไทย-ลาวเข้ามาอยู่บริเวณนี้<O:p</O:p
    ทางตอนใต้ลุ่มแม่น้ำโขง มีชุมชนขนาดใหญ่ของพวกข่า เรียกว่านครจำปาศักดิ์ มีหัวหน้าปกครองเป็นเอกราช (นางแพง นางเพา) ซึ่งเดิมนับถือผีสาง ได้รับวัฒนธรรมไทย-ลาว สมัยพระครูโพนเสม็ด หรือโพนสะเม็ก (พระครูขี้หอม) พร้อมด้วยเจ้าหน่อกษัตริย์ ได้พาพรรคพวกอพยพจากล้านช้าง (เวียงจันทน์) ลงไปทางใต้ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๑ เข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนา เป็นที่เคารพของชาวจำปาศักดิ์ และต่อมา เจ้าหน่อกษัตริย์ได้ปกครองนครจำปาศักดิ์ ได้พระนามว่า "เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร" (ธิดา สาระยา. ๒๕๓๖ : ๑๑๘) ซึ่งนครจำปาศักดิ์นี้ เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมไทย-ลาวที่สำคัญแห่งหนึ่ง <O:p</O:p
    การขยายวัฒนธรรมไทย-ลาวเข้าสู่แอ่งโคราช มีกลุ่มใหญ่ๆ ๔ กลุ่ม คือ<O:p</O:p
    . กลุ่มเจ้าแก้วหรือ จารย์แก้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๒๕๖ เจ้าสร้อยศรีสมุทรฯ แห่งนครจำปาศักดิ์ ได้ส่งเจ้าแก้ว เชื้อสายเจ้าเมืองเวียงจันทน์ ไปปกครองเมืองท่ง หรือเมืองสุวรรณภูมิ ได้ขยายชุมชนเป็นเมืองร้อยเอ็ดและมหาสารคามในเวลาต่อมา (พ.ศ. ๒๓๑๘)<O:p</O:p
    . กลุ่มพระวอพระตา ได้แยกจากเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ สมัยพระเจ้าสิริบุญสาร มาตั้งเมืองที่หนองบัวลุ่มภู ตั้งชื่อเมืองว่า "นครเขื่อนขันกาบแก้วบัวบาน" เวียงจันทน์เกรงว่าจะเป็นภัย จึงยกทัพมาปราบปราม รบกันอยู่ ๒-๓ ปี พระตาเสียชีวิต พระวอเห็นท่าสู้ไม่ได้ จึงอพยพลงไปรวมกลุ่มกับนครจำปาศักดิ์ (สมัยเจ้าไชยกุมาร) ได้ตั้งมั่นที่บ้านดู่ บ้านแก แขวงปากเซ อีก ๓-๔ ปี ต่อมา มีเหตุขัดใจกับเจ้าไชยกุมาร จึงอพยพขึ้นไปตั้งเมืองที่ดอนมดแดง และห้วยแจระแม เห็นว่าเมืองจำปาศักดิ์คงให้ความคุ้มครองไม่ได้ จึงมีใบบอกไปยังเมืองนครราชสีมา ขอขึ้นกับกรุงธนบุรี<O:p</O:p
    ทัพเวียงจันทน์ยกมาตีอีก พระวอมีใบบอกไปยังนครราชสีมา ขอกำลังมาช่วย ในการรบครั้งนั้น พระวอเสียชีวิต (พ.ศ. ๒๓๑๙) พวกที่เหลือ มีท้าวคำผงเป็นหัวหน้า ท้าวทิดพรมท้าวก่ำ รวมตัวกันไปตั้งมั่นที่บ้านดู่ บ้านแก อีกครั้ง ต่อมาในปี ๒๓๒๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (สมัยดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาจักรี) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (น้องชาย) ยกทัพไปตี ได้ทั้งจำปาศักดิ์และเวียงจันทน์และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ที่ธนบุรีด้วย
    เป็นครั้งแรกที่ราชธานีได้เข้าครอบครองพื้นที่ภาคอีสาน ตำนานเมืองอุบล ยังกล่าวต่อไปอีกว่า หลังจากนั้น ท้าวคำผงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระประทุมสุรราชภักดี ขึ้นกับนครจำปาศักดิ์ (พ.ศ. ๒๓๒๓) ต่อมาได้ย้ายขึ้นไปตั้งเมืองที่ดอนมดแดง แต่ชัยภูมิไม่ดี จึงย้ายอีกครั้งไปตั้งที่ดงอู่ผึ้ง (ตัวเมืองอุบลราชธานีในปัจจุบัน) ในปี ๒๓๓๕ สมัยรัชกาลที่ท้าวคำผงได้รับแต่งตั้งเป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ครองเมืองอุบลเป็นคนแรก ตั้งชื่อเมืองว่า "อุบลราชธานีศรีวนาลัย ประเทศราช" (สภาวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี. ๒๕๔๐ : ๑๐)<O:p</O:p
    . กลุ่มผ้าขาวสมพมิตร เป็นกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่ง ในพงศาวดารกล่าวว่า อพยพจากเมืองผ้าขาว ศรีสัตนาคนหุต เข้ามาตั้งอยู่ที่บ้านแก่งส้มโฮง (แก่งสำโรง) ในราว พ.ศ. ๒๓๑๐ ขออยู่ใต้บังคับกรุงธนบุรี ท้าวสมพมิตร ได้รับแต่งตั้งเป็น พระยาชัยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์<O:p</O:p
    . กลุ่มท้าวแล อพยพมาจากเวียงจันทน์ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ตั้งหลักแหล่งที่บริเวณเทือกเขาดงพระยากลางและเทือกเขาเพชรบูรณ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาภักดีชุมพล เจ้าเมืองชัยภูมิ<O:p</O:p
    ส่วนบริเวณลุ่มน้ำมูล (ตอนใต้ของแอ่งโคราช) มีชนพื้นเมืองตั้งชุมชนอยู่ทั่วไป ที่เรียกกันว่า "เขมรป่าดง" อยู่แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    . การขยายอำนาจส่วนกลางเข้าสู่ภาคอีสาน<O:p</O:p
    ในช่วงอยุธยาตอนต้นนั้น พงศาวดารไทย ไม่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับที่ราบสูงภาคอีสาน แต่ได้กล่าวถึงหัวเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขง ว่าเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครอง และมีหลักฐานว่าอาณาจักรล้านช้างมีอำนาจเหนือฝั่งขวาแม่น้ำโขง เช่น เมืองโคตรบอง (หรือโคตรบูรณ์) เป็นต้น ในสมัยพระนารายณ์มหาราช มีการพัฒนาเมืองโคราชและส่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาปกครอง มีเมืองขึ้นเพียง ๕ เมือง คือ นครจันทึก (ปากช่องและสีคิ้ว) เมืองชัยภูมิ (น่าจะเป็นเมืองเก่า ก่อนท้าวแลจะมาตั้งถิ่นฐาน) เมืองพิมาย เมืองแปะ (บุรีรัมย์) และเมืองนางรอง นอกนั้นไม่กล่าวถึง<O:p</O:p
    สมัยพระเจ้าเอกทัศน์ (ก่อนเสียกรุงเล็กน้อย) ช้างพลายสำคัญตกมัน หนีมาทางภาคอีสาน จึงได้ส่งขุนนางมาตามช้าง ได้รับการช่วยเหลือจากพวกส่วย หรือกุย จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นขุนนาง ได้แก่ หลวงสุวรรณ (ตากะจะ) ครองเมืองขุขันธ์ หลวงเพชร์ (เชียงฆะ) ครองเมืองสังขะ หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุ่ม) ครองเมืองคูปะทายสมัน (สุรินทร์) หลวงศรีนครเตา (เชียงสี) ครองเมืองรัตนบุรี ทั้งหมดขึ้นกับเมืองพิมาย ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ เรียกว่า หัวเมืองเขมรป่าดง<O:p</O:p
    ปลายสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ยึดได้จำปาศักดิ์และเวียงจันทน์ ภาคอีสานทั้งหมดจึงอยู่ใต้การปกครองของไทย ในฐานะหัวเมืองประเทศราช<O:p</O:p
    สมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีการขยายหัวเมืองมากขึ้น โดยแต่งตั้งให้ผู้ที่สามารถรวบรวมสมัครพรรคพวกไปตั้งเมืองใหม่ให้เป็นปึกแผ่นได้ ก็จะได้เป็นเจ้าเมืองนั้น จึงเกิดหัวเมืองในแอ่งโคราชเป็นจำนวนมาก (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์. ๒๕๐๔ : ๒๔๕)<O:p</O:p
    สมัยรัชกาลที่ ๓ เกิดสงครามยืดเยื้อกับญวน และเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว จึงได้เกลี้ยกล่อมชาวบ้าน จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตอนบน ให้เข้ามาอยู่ฝั่งขวาเพื่อตัดเสบียงพวกญวน เช่นจากเมืองมหาชัยกองแก้ว เมืองพิน เมืองนอง เมืองตะโพน เมืองคำเกิด คำม่วน เป็นต้น ส่วนใหญ่มาอยู่แอ่งสกลนคร จึงปรากฏว่าในเขตจังหวัดสกลนคร นครพนมปัจจุบัน มีหลายกลุ่มหลายภาษา เช่น ย้อ ผู้ไทย แสก เป็นต้น<O:p</O:p
    สมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสล่าอาณานิคม ไทยต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส (พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๙๙) และได้ตกลงทำสนธิสัญญาแบ่งประเทศโดยใช้แม่น้ำโขงเป็นเขตแดน ได้จัดการปกครองหัวเมืองในภาคอีสานใหม่ จากธรรมเนียมแบบล้านช้าง (ตำแหน่งอาญาสี่ คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร) เป็นมณฑลเทศาภิบาล จัดการปกครองตามลักษณะปกครองท้องที่ (พ.ศ. ๒๔๔๐) ได้ส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ มาปกครองหัวเมืองใหญ่ๆ เช่น ที่อุบลราชธานี ทรงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร มาเป็นข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวพระองค์แรก องค์ต่อมาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว ได้ทรงสู่ขอนางเจียงคำ ธิดาของท้าวสุรินทร์ชมภู (หมั้น) บุตรของราชบุตร (สุ่ย) เชื้อสายเจ้านายเมืองอุบลมาเป็นชายา อันเป็นการประสานไมตรี เกี่ยวดองเป็นเครือญาติ สร้างความกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงกับวัฒนธรรมลุ่มน้ำเจ้าพระยา
    (ธิดา สาระยา. ๒๕๓๖ : ๑๙๖)<O:p></O:p
    ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้มีพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้น ชาวไทยอีสานต้องเรียนภาษาไทยกลาง มีการตั้งโรงเรียนขึ้นในวัด โดยการนำของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ เช่น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) (๒๓๙๙ - ๒๔๗๕) ได้ตั้งโรงเรียนแห่งแรกของเมืองอุบล ที่วัดสุปัฏนาราม ชื่อโรงเรียนอุบลวิทยาคม สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) (๒๔๑๐ - ๒๔๙๙) ได้ดำเนินการจัดการศึกษาต่อมาให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ได้รวบรวมศิลาจารึกจากที่ต่างๆ มาไว้ที่วัดสุปัฏนาราม เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น จากภูหมาไน ใกล้ปากแม่น้ำมูล เป็นต้น ปัจจุบัน ศิลาจารึกเหล่านั้นยังอยู่ที่วัดสุปัฎนาราม ส่วนโรงเรียนอุบลวิทยาคม เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสมเด็จ เป็นโรงเรียนราษฎร์ อยู่ในวัดสุปัฏนาราม (อุบลราชธานี ๒๐๐ ปี. : ๑๗๓ - ๑๗๕) จากนั้นเป็นต้นมา ภาษาไทยกลางจึงแพร่ไปทั่วภาคอีสาน ตัวอักษรไทยน้อย และอักษรธรรมซึ่งเป็นอักษรดั้งเดิมจึงลดความสำคัญลง<O:p</O:p
    จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่กล่าวมา สรุปได้ว่า พื้นที่ภาคอีสาน มีชุมชนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาได้รับวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมขอม วัฒนธรรมไทย-ลาว และไทยเมืองหลวง บรรพบุรุษของชาวไทยอีสานปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไทย-ลาว ซึ่งยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะ "ภาษาพูด"ไว้อย่างเหนียวแน่นเพียงแต่ "ตัวอักษร" เท่านั้นที่เปลี่ยนไป
    </O:p
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://oldkhonkaen.mcu.ac.th/budhasilpa/history_pralub.html

    ประวัติพระลับ
    พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองขอนแก่น

    พระพุทธลักษณะของพระลับ
    พระลับเป็น "พระพุทธรูปปางมารวิชัย" หล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งองค์และทั้งฐาน ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑ นิ้ว สูง ๒๙ นิ้ว ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฎกว้าง พระขนงโก่ง พระเนตรเรียว เหลือบตาลงต่ำ พระนาสิกสันปลายแหลม พระโอษฐ์แย้ม ขนาดพระเกษาเหล็กแหลม พระเกตุมาลาใหญ่ รัศมีเป็นเปลว ตั้งอยู่บนฐานกลีบบัว ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ฐานปัทม์ยกทรงสูงสี่เหลี่ยมบัวคว่ำหงาย และแนวลูกแก้วอกไก่งอนขึ้นทางด้านบน
    พระลับจัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปลาว "สกุลช่างเวียงจันทน์" คล้ายพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ระเบียงหอพระแก้ว กรุงเวียงจันทน์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๔
    ประวัติความเป็นมา
    กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ภายหลังจากที่พระยาสุริยวงศาสิ้นพระชนม์ กรุงเวียงจันทน์เกิดการระส่ำระสายแย่งชิงอำนาจราชสมบัติกัน ฝ่ายยึดอำนาจได้ก็ปราบปรามฝ่ายตรงข้ามให้หมดสิ้นไป กลุ่มพระยาแสน (พญาเมืองจันทน์) ยึดครองเวียงจันทน์ได้ "เจ้าศรีวิชัย" อนุชาของพระสุริยวงศา ไม่สามารถขึ้นครองราชย์ได้ จึงพร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์หลบหนีภัยไปพึ่งบารมีอยู่กับ "เจ้าราชครูโพนสะเม็ก" หรือ "ญาคูขี้หอม" ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ของกรุงเวียงจันทน์ ในสมัยนั้นเทียบเท่ากับสมเด็จพระสังฆราช มีคนเคารพนับถือสักการะมากที่สุด อยู่ที่วัด "โพนสะเม็ก" ใกล้กรุงเวียงจันทน์ ในการหลบหนีครั้งนี้ เจ้าศรีวิชัยได้นำบุตรไปด้วย ๒ คน คือ
    ๑. เจ้าแก้วมงคล ได้บวชเรียนเป็นพระภิกษุ เรียนพระอรรถธรรมกัมมัฎฐานจนแตกฉานแล้วสึกออกมา จนคนเรียกว่า "อาจารย์แก้ว" หรือ "แก้วบูโฮม"
    ๒. เจ้าจันทร์สุริยวงศ์
    พระยาแสนเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ได้คิดที่จะกำจัดเชื้อพระวงศ์ของพระสุริยวงศาที่หนีกันมาพึ่งบารมีของเจ้าราชครูโพนสะเม็กอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเจ้าราชครูฯ ซึ่งมีผู้ให้ความเคารพนับถือมากด้วย และเนื่องจากโพนสะเม็กและกรุงเวียงจันทน์อยู่ใกล้กันมาก เจ้าราชครูโพนสะเม็กเกรงว่าเชื้อพระวงศ์ที่อพยพมาพึ่งบารมีจะได้รับอันตราย จึงวางแผนการอพยพออกจากรุงเวียงจันทน์ไปทางใต้เพื่อหาที่อยู่ใหม่
    พ.ศ. ๒๒๓๒ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ได้ขออนุญาตพระยาเมืองแสนเดินทางไปบูรณปฏิสังขรณ์ "พระธาตุพนม" ซึ่งชำรุดมาก ในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้จะได้นำชาวเวียงจันทน์และช่าง จำนวน ๓,๐๐๐ คน ร่วมเดินทางไปด้วย เมื่อได้รับอนุญาตก็พากันอพยพเดินทางล่องน้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนโขง ในการอพยพคราวนี้เชื้อพระวงศ์ก็ได้หลบหนีออกมาด้วย ครั้นเดินทางมาถึงพระธาตุพนมก็เริ่มลงมือบูรณะพระธาตุพนมในปี พ.ศ.๒๒๓๓
    ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมคราวนี้นั้น เจ้าราชครูโพนสะเม็กได้บูรณะตั้งแต่ขั้นที่ ๒ ขึ้นไปจนสุดยอดพระธาตุ เล่ากันว่า เจ้าราชครูโพนสะเม็กได้ไปขุดเอาโลหะชนิดหนึ่งคล้ายตะกั่วหรือเงิน ซึ่งไทยล้านช้างเรียกเหล็กเปียก ไทยใต้เรียกเหล็กไหล มาเป็นโลหะหล่อเป็นโบกสวมลงในปูนที่ยอดพระธาตุ สถานที่ขุดนั้นอยู่ที่ภูเหล็กใกล้บ้านดอนข้าวหลาม ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม อยู่ทางใต้ของพระธาตุพนม ประมาณ ๘ กม. ปัจจุบันยังมีหลุมและรอยขุดอยู่ ภูนั้นเป็นภูเขาศิลาแลงเตี้ยเป็นเนินสูงจากทุ่งนา
    กำเนิดพระพุทธรูป
    พ.ศ.๒๒๓๖ หลังจากการบูรณะพระธาตุพนมคราวนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าราชครูโพนสะเม็กได้หล่อพระพุทธรูปใหญ่ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๘๐ เมตร เป็นประธานอยู่พระวิหารหอแก้วปัจจุบัน และนอกจากนั้นก็ได้นำเอาทองแดง เศษปูน และวัสดุ ที่เหลือจากการปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม มาหล่อพระพุทธรูปหลายองค์ มอบให้แก่ศิษยานุศิษย์ เพื่อจะได้นำไปสัการะเป็นสิริมงคลในโอกาสที่จะไปสร้างเมืองทางใต้ในโอกาสต่อไป ส่วนที่เหลือได้บรรจุไว้ที่ธาตุพนม (ต่อมา พ.ศ.๒๔๙๗ เจ้าคุณพระเทพรัตนโมลีฯ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้ซ่อมแซมพระวิหารหอแก้วก่อนจะปูกระเบื้องลายซีเมนต์ ก็ได้สั่งให้ช่างขุดพื้นวิหารตรงหน้าประธาน ได้พบกรุพระจำนวนมาก มีพระทองคำบุ ๒๕๐ องค์ พระเงินและพระเล็กๆ เป็นจำนวนมาก แต่มิได้เอาขึ้นมา เอาแต่องค์พระทองคำ ๑ องค์ หนักประมาณ ๔ กิโลกรัมครึ่ง พระนาค ๑ องค์ พระทองคำบุ ๓ องค์ พระหินดำ ๑ องค์ และพระทองสัมฤทธิ์ ๑ องค์ นอกนั้นอยู่ในกรุทั้งหมด
    ข้อสันนิษฐาน "พระลับ" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองขอนแก่น คาดว่าจะสร้างโดยท่านราชครูโพนสะเม็กในคราวนี้ แล้วมอบให้แก่เชื่อพระวงศ์เพื่อนำไปให้ลูกให้หลานไปเป็นสิริมงคลในการสร้างบ้านสร้างเมืองในโอกาสต่อไป ส่วนชื่อนั้นคงจะไม่มีใครจดจำได้จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้
    การสร้างบ้านสร้างเมือง
    พ.ศ.๒๒๓๖ หลังจากที่ เจ้าราชครูโพนสะเม็ก บูรณะพระธาตุพนมเสร็จแล้วก็ได้แบ่งครอบครัวจำนวนหนึ่งให้อยู่อุปัฎฐากพระธาตุ นอกนั้นก็อพยพไปทางใต้ตามลำน้ำโขงเพื่อตั้งบ้านเรือนต่อไป กล่าวถึง นางเภา และ นางแพง(แม่ญิง) ผู้ครองเมืองกาลจำบากนาคบุรีศรี ได้ทราบข่าวว่าเจ้าราชครูโพนสะเม็กพำนักอยู่ที่เกาะแดง ท่านเป็นพระเถระที่มีคนเคารพสักการะมาก ไปที่ใดก็สร้างพระพุทธรูปวิหหาร เกิดความศรัทธาเลื่อมใส จึงพร้อมด้วยท้าวพญาแสน ไปนิมนต์อาราธนาท่านขอให้พำนักอยู่ที่เมืองเพื่อทำนุบำรุงศาสนาให้ถาวรรุ่งเรืองต่อไป ท่านราชครูโพนสะเม็กก็ไม่ขัดศรัทธา ครั้นอยู่ต่อมานางแพงพร้อมด้วยมุขมนตรีประชาราษฎรทั้งปวงมีความเลื่อมใสศรัทธาและเคารพนับถือเจ้าราชครูฯมากยิ่งขึ้น จึงพร้อมกันถวายทั้งพุทธจักรและอาณาจักรให้ราชครูฯ ปกครองทั้งสิ้น นครจำบากนาคบุรีศรีเป็นพระปกครอง
    พ.ศ.๒๒๕๖ ท่านราชครูฯ ได้ใช้วิธีปกครองโดยทางธรรมแต่ไม่สำเร็จเรียบร้อย การชำระความตามอาญาแผ่นดินก็จะผิดวินัยพระ เมื่อพิจารณาแล้วจึงเห็นว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าองค์หล่อ หรือ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (อพยพหลบหนีเมื่อคราวมาบูรณะพระธาตุพนม) เป็นเชื้อกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์โดยแท้จริง จึงได้เชิญมาเป็นประมุขฝ่ายอาณาจักร ถวายนามว่า "เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร" และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่จาก กาลจำบากนาคบุรี เป็น "นครจำปาศักดิ์" แยกออกจากอาณาเขตของกรุงเวียงจันทน์
    เมื่อ "เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร"ได้ปกครองนครจำปาศักดิ์แล้ว ก็มอบอำนาจให้เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กมีอำนาจฝ่ายพุทธจักรปกครองสงฆ์ที่นครจำปาศักดิ์ จนท่านราชครูหลวงฯ อายุได้ ๙๐ ปี ก็มรณภาพโดยโรคชรา (พ.ศ.๒๒๖๓)
    การขยายดินแดนอาณาเขต
    เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ได้แต่งตั้งให้ลูกหลานสายโลหิตพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ ไปสร้างเมืองเพื่อขยายอาณาเขตให้กว้างยิ่งขึ้นหลายเมือง แต่จะขอกล่าวเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ "พระลับ" และเมืองขอนแก่นเท่านั้น
    เจ้าแก้วมงคล หรือ อาจารย์แก้ว พร้อมด้วยลูกหลานของท่านที่อพยพหนีติดตามมาจากนครเวียงจันทน์ ไปปกครอง "เมืองท่ง" หรือ "เมืองศรีภูมิ" เดิมเป็นที่ร้างให้ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ พ.ศ.๒๒๕๖ เจ้าแก้วมงคลพร้อมด้วยลูกหลาน ๕๐๐ ครอบครัว จึงอพยพขนทรัพย์สมบัติ รวมทั้งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เจ้าราชครูโพนสะเม็กสร้างเมืองคราวบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมรวมไปด้วย สร้างเมืองเสร็จ พ.ศ.๒๒๕๗ ปัจจุบันคือตำบลเมืองท่ง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เจ้าแก้วมงคลมีบุตรกับภรรยาเก่า ๑ คน ชื่อ เจ้าหน่อคำ ให้ไปปกครองเมืองน่าน และกับภรรยาใหม่ ๒ คน คือ ท้าวมือ หรือเจ้ามืด กับเจ้าทน เจ้าแก้วมงคลเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.๒๒๖๘
    "ท้าวมืด" หรือ "เจ้ามืด" บุตรของเจ้าแก้วมงคลได้เป็นเจ้าเมืองต่อมา ท้าวมืดมีบุตรชาย ๓ คน คือ
    ๑. ท้าวเซียง เป็น เมืองแสน คุมกองทหารทั้งหมด
    ๒. ท้าวสูน เป็น เมืองจัน ปกครองฝ่ายพลเรือน
    ๓. ท้าวสัก เป็น "เพี้ยเมืองแพน" คุมทหารรักษาเขตแดนอยู่ชายฝั่ง "ชีโหล่น" หรือ "ซีล้น"
    พ.ศ.๒๓๓๒ "ท้าวสัก" ได้รับคำสั่งให้ไปตั้งแห่งใหม่ชายแดนด้านเหนือเขตเมืองสุวรรณภูมิกับเขตเมืองร้อยเอ็ด ท้าวสักซึ่งมีตำแหน่งเป็นเ "เพี้ยเมืองแพน" ก็อพยพประชาชนพลเมืองประมาณ ๓๓๐ ครอบครัว พร้อมทั้งนำพระพุทธรูปไปไว้สักการะเป็นมิ่งขวัญแก่บ้านเมืองด้วย ครั้นเดินทางมาถึงบริเวณบึงมีต้นบอนเกิดขึ้นมากมาย เป็นทำเลดี อยู่ใกล้แม่น้ำชี สองฝั่งบึงนั้นสูงน้ำท่วมไม่ถึง จึงตั้งบ้านเรือนเรียกว่า "บ้านบึงบอน" และได้ก่อสร้างหลักเมืองฝั่งตะวันตกของบึง (ปัจจุบันอยู่ที่คุ้มกลางเมืองเก่า) เมื่อสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเรียบร้อยแล้ว ก็ได้สร้างวัดขึ้น ๔ วัด คือ
    ๑. วัดเหนือ ให้เจ้าเมืองและลูกหลานไปทำบุญอุปัฎฐาก
    ๒. วัดกลาง ให้เสนาอำมาตย์พร้อมลูกหลานไปทำบุญอุปัฎฐาก
    ๓. วัดใต้ ให้ประชาชนพลเมืองทั่วไปทำบุญอุปัฎฐาก
    ๔. วัดท่าแขก อยู่ทางทิศตะวันออก สำหรับพระภิกษุอาคันตุกะจากถิ่นอื่นมาพักและประกอบพุทธศาสนพิธิ
    ในการสร้างวัดต่างๆ หรือ "หอ" หรือ "โฮง" ปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนาของชาวลาว ล้วนชำนาญในการใช้ไม้เป็นวัสดุสร้างวัด ทำห้ไม่มั่นคงแข็งแรง จึงได้นำเอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดไปซ่อนไว้ถือเป็นความลับ เพราะกลัวขโมยหรือพวกอันธพาลมาลัก มาทำลาย เมื่อสร้างวัดเหนือเสร็จแล้วจึงสร้างพระธาตุมีอุโมงค์ภายใน นำเอาพระพุทธรูปไปเก็บซ่อนไว้อย่างลับที่สุด รู้แต่เจ้าอาวาสวัดเท่านั้น คนทั้งหลายจึงเรียกว่า "พระลับ" หรือ "หลวงพ่อพระลับ" สืบจนมาถึงทุกวันนี้ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๓๔๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบรมราชโองการยกฐานะบ้านบึงบอนเป็น "เมืองขอนแก่น" ตั้งให้ "ท้าวสัก" ซึ่งเป็น "เพี้ยเมืองแพน" เขตเมืองสุวรรณภูมิ เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก มีนามว่า "พระนครศรีบริรักษ์" ส่วนการปกปิดพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไว้ในพระธาตุไม่มีใครเคยเห็น จึงไม่ทราบว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เมื่อกล่าวถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นี้ก็เรียกว่า "พระลับ" คนรุ่นต่อมาขยายบ้านเมืองมาตั้งบ้านขึ้นใหม่ด้านเหนือเมืองเก่า จึงตั้งชื่อว่า "บ้านพระลับ" และยกระดับเป็นตำบลพระลับ ปัจจุบันตำบลพระอยู่ทางด้านตะวันออกของเมืองขอนแก่น และต่อมาเมื่อได้เป็นจังหวัดขอนแก่น วัดเหนือเปลี่ยนชื่อเป็นวัดธาตุ (พระอารามหลวง) วัดกลาง คงชื่อเดิม วัดใต้ ตั้งอยู่ริมหนองน้ำมีต้นแวงขึ้นมา จึงเรียกว่า วัดหนองแวง (พระอารามหลวง)
    การเปิดเผยพระลับ
    เมื่อ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗ "หลวงปู่พระเทพวิมลโมลี" (เหล่ว สุมโน ,ปัจจุบัน พระธรรมวิสุทธาจารย์) เจ้าอาวาสวัดธาตุ (พระอารามหลวง) , รองเจ้าคณะภาค ๙ (มหานิกาย) และเป็นรองอธิการบดี มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยยาเขตขอนแก่น (ในขณะนั้น) ท่านมีอายุได้ ๘๖ ปี เกรงว่าต่อไปจะไม่มีใครรู้จัก "หลวงพ่อพระลับ" ท่านจึงได้เชิญ "นายกวี สุภธีระ" ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น พร้อมด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายสงฆ์และฆราวาส มาร่วมกันเปิดเผยและประกาศให้เป็นทางการว่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ "พระนครศรีบริรักษ์" เจ้าเมืองขอนแก่นคนแรกได้นำมาพร้อมกับการสร้างเมืองคือ "พระลับ" ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดธาตุ (พระอารามหลวง) เมืองเก่า ขอนแก่น และประกาศว่า "เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองขอนแก่น" สืบไปชั่วกาลนาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pra-lub.gif
      pra-lub.gif
      ขนาดไฟล์:
      37.6 KB
      เปิดดู:
      224
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-seetud/lp-seetud-hist.htm

    พระอาจารย์สีทัตถ์

    วัดท่าอุเทน นครพนม
    และเรื่อง
    พระถวัลย์ โชติธัมโม
    เซียงโมงระลึกชาติ
    พระอาจารย์สีทัตถ์ กลับชาติมาเกิด
    โดย ทองทิว สุวรรณทัต

    <table id="table1" align="left" border="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td>
    พระถวัลย์ โชติธมฺโม

    </td></tr></tbody></table>​
    เช้าวันหนึ่ง ขณะที่ผู้เขียนเดินขึ้นไปบนสำนักงาน

    [FONT=&quot]เช้าวันหนึ่ง ขณะที่ผู้เขียนเดินขึ้นไปบนสำนักงาน [/FONT] [FONT=&quot]“โลกทิพย์” กับ คุณอานนท์ เนินอุไร บรรณาธิการ[/FONT]
    [FONT=&quot]ก็พอดีเหลือบไปเห็นพระภิกษุรูปลักษณะโปร่งบาง ครองจีวรสีกรักอ่อน อายุประมาณ ๓๐ ปีเศษ รูปหนึ่ง นั่งอยู่ที่เก้าอี้รับแขก[/FONT]
    [FONT=&quot]คุณอานนท์ได้รีบเข้าไปนมัสการทักทายท่านอยู่ ๒-๓ ประโยคแล้วหันมาบอกผู้เขียนว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]“พอดี ท่านเซียงโมง มาคุณทองทิวสัมภาษณ์เสียเลยจะได้ไม่เสียเที่ยว ท่านระลึกชาติได้”[/FONT]
    [FONT=&quot] เวลานั้นผู้เขียนกำลังยุ่งอยู่กับการส่งต้นฉบับหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.อ.(พิเศษ) เสนาะ จินตรัตน์ และจะต้องรีบไปพบกับ คุณอัญชลี จินตรัตน์ ภรรยาของผู้การเสนาะ[/FONT]
    [FONT=&quot]จึงได้เข้าไปนมัสการท่าน [/FONT] [FONT=&quot]“เซียงโมง” ด้วยความสับสนวุ่นวายในใจ ทั้งระคนสงสัยว่า เหตุไฉนท่านจึงได้มีนามเช่นนี้ ?[/FONT]
    [FONT=&quot]และได้เรียนถามท่านว่า ท่านจะให้เวลาแก่.ผู้เขียนไปทำธุรกิจสักชั่วโมงหนึ่งก่อนจะได้ไหม [/FONT] [FONT=&quot]? แล้วผู้เขียนจะกลับมาสัมภาษณ์ท่าน เพราะผู้เขียนกำลังสนใจในเรื่องตายแล้วเกิด และเรื่องระลึกชาติได้อยู่เป็นอย่างยิ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot]ท่าน[/FONT][FONT=&quot] “เซียงโมง” ดูจะอึดอัดใจอยู่ ด้วยท่านจะไปหาที่พักซึ่งท่านยังไม่ทราบว่าจะเป็นที่ไหนแน่ ครั้นจะปฏิเสธผู้เขียนก็ใช่ที่[/FONT]
    [FONT=&quot]คุณอานนท์เห็นดังนั้นก็ตัดบท ขอนิมนต์ท่านไปยังบ้านของคุณอานนท์ ที่ตั้งเป็น [/FONT] [FONT=&quot]“กองทุนโลกทิพย์” อยู่ใกล้ ๆ กับสำนักงาน “โลกทิพย์” นั่นเอง และขอให้ผู้เขียนสัมภาษณ์ก่อนจะไปหาคุณอัญชลี เพราะมีเวลาเหลือพอจะกระทำได้[/FONT]
    <table id="table2" align="right" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    [FONT=&quot] คุณทองทิว ขณะสัมภาษณ์พระถวัลย์[/FONT]​
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    [FONT=&quot]ผู้เขียนจึงตามไปสัมภาษณ์ท่าน [/FONT] [FONT=&quot]“เซียงโมง” ตามประสงค์ของคุณอานนท์ในเวลาต่อมา และได้เรื่องที่น่าอัศจรรย์มาเสนอต่อท่านผู้อ่านอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ได้[/FONT]
    [FONT=&quot]แม้ ศาสตราจารย์เอียน สตีเวนสัน ได้ค้นคว้าและพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์หลายรายแล้วก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายก็ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าเป็นเพราะเหตุใด มนุษย์เราจึงตายแล้วเกิด ไม่ใช่ตายแล้วสูญดังที่เข้าใจกันอยู่ [/FONT] [FONT=&quot]?[/FONT]
    [FONT=&quot] เรื่องที่ท่านทั้งหลายจะได้อ่านต่อไปเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนขอนำมาเสนอให้ท่านได้ช่วยพิจารณาว่า พระพุทธศาสนามีสัจธรรมเหนือกว่าที่วิทยาศาสตร์จะพิสูจน์ได้ จริงหรือไม่ [/FONT] [FONT=&quot]?[/FONT]
    บันทึกชีวิตจริง
    [FONT=&quot]ภิกษุวัยกลางคน ผู้นั่งสำรวมอยู่บนอาสนะที่คุณอานนท์จัดให้นั้น ได้เปิดเผยชีวิตตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงปัจจุบันให้ฟัง[/FONT]
    [FONT=&quot] ซึ่งเรื่องราวชีวิตของท่านในช่วงที่ยังเยาว์วัยนั้น มีหลักฐาน พยานพิสูจน์ข้อเท็จจริง คือบันทึกเรื่อง[/FONT][FONT=&quot] “คนตายแล้วเกิดใหม่ ระลึกชาติได้” เขียนโดยท่านพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)[/FONT]
    [FONT=&quot]บันทึกเรื่องนี้ ท่านพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ได้ให้ทางวารสารยุวพุทธิกะสมาคมแห่งประเทศไทย ออกนำตีพิมพ์เผยแพร่ โดยกล่าวยืนยันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ซึ่งมีเรื่องราวดังต่อไปนี้คือ..[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2011
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE id=table3 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ ข้าพเจ้า (พระอริยคุณาธาร = เส็ง ปุสฺโส) ได้มีโอกาสติดตามเจ้าคณะมณฑลอุดร ไปตรวจการคณะฯ ทางริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขตจังหวัดหนองคาย ไปถึงบ้านโพนแพง อำเภอโพนพิสัย พักแรมที่วัดโพนเงิน ตรงข้ามกับพระพุทธบาทโพนสัน ในเขตประเทศลาว
    ครั้งนั้นพระอาจารย์สีทัตถ์ กำลังก่อสร้างอุโมงค์ (กะตึบ) คร่อมพระพุทธบาทอยู่ที่นั่น
    วันรุ่งเช้า เจ้าคณะมณฑลข้ามฟาก (แม่น้ำโขง) ไปเขตประเทศลาว ข้าพเจ้าจึงขอโอกาสสนทนากับพระอาจารย์สีทัตถ์
    ข้าพเจ้าเพิ่งพบกันเป็นครั้งแรกในครั้งนั้น แต่ก็สนิทสนมกันง่ายดาย คล้ายกับได้รู้จักคุ้นเคยกันมานานแล้ว
    เรื่องสำคัญที่สนทนากันในวันนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการระลึกชาติของพระอาจารย์สีทัตถ์
    ท่านกล่าวว่า ท่านได้ฌานและอภิญญาณโลกีย์ มีความรู้ระลึกชาติในอดีตอนาคตของท่านได้ ตลอดถึงคนอื่นที่เกี่ยวข้องกันท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้ากับท่านเคยเป็น “พ่อลูกปลูกโพธิ์” มาด้วยกัน แต่ต่างคนต่างมีกรรมเป็นของตน กรรมซัดไปติดคนละทาง คนละทิศ ห่างไกลกัน ทั้งวยายุกาลก็ห่างกันด้วย ถึงดังนั้นบุญก็ยังบันดาลให้มาประสบพบพานกันได้
    ฝากไว้ให้เลี้ยงดู
    การพบกันครั้งนี้เป็นทั้งครั้งแรก และเป็นทั้งครั้งสุดท้าย (ท่านอายุ ๗๑ แล้ว) จึงขอถือโอกาสบอกเล่าเก้าสิบเรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ กับขอฝากให้เลี้ยงดูท่านในเมื่อเกิดชาติหน้านั้นด้วย
    พระอาจารย์สีทัตถ์ท่านกล่าวว่า ท่านเป็นนิยโตโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลไกลโน้น และเป็นชนิด “สัทธาธิกะ” มีกำหนดสร้างบารมี ๑๖ อสงไขยกัลป์ จึงจะสำเร็จพระโพธิญาณ
    ท่านกล่าวว่าในอดีตชาตินานมาแล้ว ท่านเคยเกิดเป็นลูกของข้าพเจ้า และในชาติหน้าในลำดับต่อไปนี้ แม้จะไม่ได้เป็นลูกเกิดแต่ในอกของข้าพเจ้า ขอแต่เป็นลูก “บุญธรรม” ขอให้ข้าพเจ้าเลี้ยงลูกปลูกโพธิ์อีกครั้ง
    ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วก็เอะใจ ! และท่านกล่าวต่อไปว่า
    ในสมัยกึ่งพุทธกาลนั้น พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ข้าพเจ้าจะเป็นคนสำคัญคนหนึ่งในสมัยนั้น ท่านจะไม่ได้ทันเห็น แต่ก็ไม่เป็นไร ในสมัยนั้นได้มาเกิดใหม่เป็นลูก “บุญธรรม” ของข้าพเจ้า
    ท่านย้ำคำนี้หลายครั้งเพื่อให้กระชับใจข้าพเจ้า แล้วท่านก็กล่าวเรื่องการเกิดใหม่ในอนาคตของท่านไว้ดังนี้
    เกิดใหม่ไม่มีสกุล
    ท่านเกิดในชาติหน้าในท้องคนไม่มีสกุล พ่อผู้ให้กำเนิดไม่ปรากฏแก่คนทั้งหลาย แม่ผู้ให้กำเนิดเป็นคนพลัดถิ่น เขาจะไปคลอดบุตรในถิ่นที่ไม่มีคนรู้จัก ในหมู่บ้านชื่อว่า “บ้านสงเปลือย ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัด อุดรธานี”
    แล้วมารดาก็จะละทิ้งบุตรหนีไป มีทุคตะผัวเมียคู่หนึ่งรับไปเลี้ยงไว้ในระยะแรก เพราะฐานะของเขาเป็นคนยากจน เลี้ยงอยู่ประมาณ ๓ เดือน ไม่สามารถจะเลี้ยงต่อไปได้
    ท่านว่า ทั้งนี้ก็เพราะเวรกรรมของท่านที่ทำลูกนกให้พลัดพรากจากแม่ของมันในอดีตชาติ
    ต่อจากนั้นจะมีผู้หญิงใจบุญคนหนึ่งเป็นหญิงม่ายไม่มีบุตร ซึ่งเคยเป็นมารดาในชาติก่อนมารับไปเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม
    หญิงคนนั้นชื่อ “สายบัว” อยู่ในหมู่บ้านสงเปลือยนั้นเอง เคยเป็นภริยาหลวงวรวุฒิมนตรี นายอำเภอ ฯ
    เมื่อเกิดในชาติหน้านั้น จะได้สัดส่วนสมทรง ความยาวของขากับลำตัวจะเท่ากัน หลังมือหลังเท้านูน ผิวขาวเหลือง สะอาดเกลี้ยงเกลาปราศจากไฝฝ้า ด้วยอำนาจบุญที่ปฏิสังขรณ์ตบแต่งและก่ออุโมงค์คร่อมพระพุทธบาท
    แต่ใบหน้านั้นหักนิดหน่อย เพราะความใจน้อยโกรธง่าย ทำหน้าเง้าหน้างอ และจะมีเสียงก่า ๆ เพราะด้วยการกล่าวผรุสวาจา
    จะมีนามว่า “ถวัลย์” แต่คนมักจะเรียกเล่น ๆ กันว่า “บุญติด” แต่เมื่อได้มาอยู่กับข้าพเจ้าแล้วจะเรียงกันว่า “เซียงโมง”
    เมื่อสนทนากันไป ท่านเห็นว่าข้าพเจ้าไม่ปลงใจเชื่อสนิท ท่านจึงขออนุญาตเล่าประวัติของข้าพเจ้าในชาติปัจจุบันที่ล่วงมาแล้วให้ฟังเพื่อเป็นพยานยืนยันความรู้ที่ท่านระลึกชาติได้ ข้าพเจ้าก็อนุญาต
    ท่านได้เล่าประวัติความเป็นมาของข้าพเจ้าที่ล่วงมาแล้ว ถูกต้องตามความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนอย่างกับตาเห็น
    ข้าพเจ้าได้ใคร่ครวญหาเหตุผลว่า ท่านรู้ได้อย่างไร (เวลานั้นข้าพเจ้าอายุ ๒๙ ปี) เข้าใจว่าท่านมีญาณชนิดหนึ่งรู้ได้จริง จึงตกลงปลงใจเชื่ออย่างสนิท
    และรับปากรับคำว่าจะรับเลี้ยงท่านในเมื่อท่านเกิดใหม่ในชาติหน้า
    จากวันพบพระอาจารย์สีทัตถ์มาประมาณ ๓ ปีเศษ คือในราวปี พ.ศ.๒๔๘๑ หรือต้นปี พ.ศ๒๔๘๒ จำไม่แน่
    ข้าพเจ้าได้รู้จักกับ คุณนายสายบัว อินทรกำแหง ซึ่งเคยเป็นภริยาของหลวงวรวุฒิมนตรี มีภูมิลำเนาตรงกับที่พระอาจารย์สีทัตถ์บอกไว้ จึงเล่าเรื่องที่กล่าวมาแล้วให้คุณนายสายบัวฟัง
    และสั่งไว้ว่า ถ้าคุณนายได้เด็กชายตามที่กล่าวมาแล้วมาเลี้ยงไว้ ขอให้ส่งข่าวด้วย
    ปริศนาทารกน้อย
    จากวันเมื่อพบคุณนายสายบัวมาแล้วประมาณ ๑๕ ปี ข้าพเจ้าก็ทราบว่าคุณนายสายบัวได้เด็กชายมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมแล้วจึงหาโอกาสไปพบ
    คุณนายก็นำเด็กนั้นมาให้ข้าพเจ้าดูที่วัดในหมู่บ้านนั้น ซึ่งเวลานั้นเด็กนั้นมีอายุได้ ๓ ขวบ (เกิดใน พ.ศ.๒๔๙๓)
    ข้าพเจ้าได้สอบถามเหตุการณ์เมื่อแรกเกิดและที่ได้มา คุณนายสายบัวเล่าว่า
    มีหญิงคนหนึ่งพลัดถิ่นมาที่บ้านสงเปลือย ไม่มีใครรู้จัก พอมาถึงในคืนนั้นก็ปวดท้องคลอดบุตร ชาวบ้านได้ช่วยกัน
    พอรุ่งเช้าชาวบ้านต้มน้ำร้อนจะให้เขาอาบ พอน้ำเดือด หญิงนั้นก็ตักมาจะลวกบุตรให้ตาย ชาวบ้านป้องกันไว้ทัน เอาบุตรซ่อนเสีย หญิงนั้นก็เลยหนีเตลิดเปิดเปิงไปในวันนั้น
    มีผัวเมียคู่หนึ่งรับไปเลี้ยงไว้๓ เดือน เลี้ยงไม่ไหวเพราะความยากจน จึงนำมามอบแก่คุณนายสายบัว
    คุณนายสายบัวเล่าต่อไปว่า ก่อนที่เขาจะนำเด็กมาให้ ในคืนนั้นฝันว่า “มีแก้วเก้าสี มีรัศมีรุ่งเรือง มาประดิษฐานอยู่ที่ชานเรือนรู้สึกดีใจไปรับเอามาไว้” พอรุ่งเช้าก็ได้รับเด็กคนนี้
    ต่อมาได้ขนานนามว่า “ถวัลย์” แต่เรียกกันเล่น ๆ ว่า “บุญติด”
    ทดสอบตอบฉะฉาน
    ตามที่คุณนายสายบัวเล่าให้ข้าพเจ้าฟังนี้ ตรงกับที่พระอาจารย์สีทัตถ์พูดไว้ ตลอดถึงลักษณะของเด็กด้วยทุกประการ
    ข้าพเจ้าจึงพูดกับคุณนายสายบัวว่า จะขอรับเอาไปเป็นบุตรบุญธรรม แต่ยังเล็กอยู่เกรงเด็กจะลำบาก ขอให้คุณนายเลี้ยงไปก่อนจนกว่าจะมีวัยอันสมควร
    พ.ศ.๒๔๙๖ ออกพรรษาแล้วข้าพเจ้าไปบ้านสงเปลือยอีกครั้งหนึ่ง พักอยู่ที่วัดในหมู่บ้าน คุณนายสายบัวก็พาเด็กชายคนนี้มาต้อนรับ
    ข้าพเจ้าอยากจะพิสูจน์ให้แน่อีกครั้งหนึ่งว่า จะเป็นพระอาจารย์สีทัตถ์แน่หรือไม่ จึงถามว่า เมื่อก่อนนั้น ตัวชื่อสีทัตถ์หรือไม่ ?
    เขาตอบทันทีว่า “ใช่”
    แล้วข้าพเจ้าก็ยุติไว้เพียงนั้นไม่เล่าเรื่องอาจารย์สีทัตถ์ให้เขาได้ยิน เพราะเพื่อจะสังเกตความเป็นไปต่อไป
    เมื่อคุณนายสายบัวพากลับบ้านแล้ว คุณนายสายบัวกลับมาเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า
    เด็กนั้นเมื่อกลับถึงบ้านได้เล่าเรื่องราวครั้งเป็นอาจารย์สีทัตถ์ในชาติก่อนให้คุณนายสายบัวฟังแต่ทว่าไม่ติดต่อกัน เล่าเฉพาะเรื่องสำคัญของชีวิตเป็นท่อน เป็นตอน พอรู้ได้ว่าเขาระลึกชาติได้
    กลางปี พ.ศ.๒๔๙๗ คุณนายสายบัวนำเด็กชายถวัลย์มาให้ข้าพเจ้าที่วัดป่าเขาสวนกวาง ข้าพเจ้าเอารูปถ่ายของพระอาจารย์สีทัตถ์ให้ดู แล้วถามเด็กว่า นี่รูปของใคร ? เด็กตอบว่ารูปของเขาในตอนปลาย
    (ตั้งแต่พระอาจารย์สีทัตถ์มรณภาพ จนถึงเด็กชายคนนี้เกิดประมาณ ๑๐ ปีกว่า ๆ เมื่อตอนท่านทำนายนั้นพระอาจารย์สีทัตถ์อายุ ๗๑ ปี)
    ต่อมาข้าพเจ้ามีธุระไปที่อุดรธานีพาเด็กชายคนนั้นไปด้วย
    วันหนึ่งข้าพเจ้าไปเยี่ยมพระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตร์ พอขึ้นไปบนบ้าน เห็นเจ้าคุณอุดรฯกำลังนั่งโต๊ะรับประทานอาหารเย็น เด็กชายคนนี้ก็ตรงรี่เข้าไปหา และทำท่าจะรับประทานอาหารร่วมด้วย เจ้าคุณอุดรฯ มีความเมตตาจึงจัดอาหารให้รับประทาน
    ข้าพเจ้ามานั่งรอคอยเจ้าคุณอุดรฯ อยู่ที่โต๊ะรับแขกใต้ซุ้มกล้วยไม้ เมื่อเด็กชายนั้นรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าถามว่าไม่กลัวท่านหรือ ท่านเป็นพระยา
    เขาตอบว่าไม่กลัว เพราะเคยรู้จักกับท่าน
    ข้าพเจ้าถามว่า รู้จักท่านที่ไหน ?
    เขาตอบว่า รู้จักเมื่อครั้งก่ออุโมงค์คร่อมพระพุทธบาทที่อำเภอบ้านผือ
    พอเจ้าคุณอุดรฯ มานั่งกับข้าพเจ้าเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าถามเจ้าคุณอุดรฯ ว่า เมื่อครั้งพระอาจารย์สีทัตถ์ก่ออุโมงค์คร่อมพระพุทธบาทที่บ้านผือนั้น ท่านเจ้าคุณเคยไปและเคยรู้จักสนิทกันกับพระอาจารย์สีทัตถ์หรือไม่ ?
    ท่านเจ้าคุณอุดรฯ ตอบว่าเคยไป และรู้จักกันสนิทสนมกันมาก
    ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๗ จนถึงปัจจุบันนี้ เด็กคนนี้ได้มาอยู่กับข้าพเจ้าที่เขาสวนกวาง เมื่อคนต่างถิ่นมาเยี่ยม ถ้าคนนั้นเคยรู้จักกับพระอาจารย์สีทัตถ์ แม้เขาจะไม่รู้จัก ก็แสดงอาการสนิทสนมเหมือนกับคนที่เคยรู้จักกันมาช้านานแล้ว
    แต่ถ้าคนนั้นไม่เคยรู้จักพระอาจารย์สีทัตถ์ แม้จะแนะนำให้เขารู้จัก เขาก็ไม่แสดงอาการสนิทสนม แสดงอาการอย่างคนธรรมดาที่เพิ่งรู้จักกัน
    เซียงโมง
    เด็กคนนี้เมื่อมาอยู่กับข้าพเจ้าข้าพเจ้าต้องการทดลองว่าเขาจะเคยบวชในชาติก่อนหรือไม่ จึงตัดสบงจีวรและย่ามเล็ก ๆ ให้ ทำทีบรรพชาให้เป็นสามเณร
    เขาแสดงอาการดีใจชื่นบานหรรษา ส่อว่ามีอุปนิสัยในการบวชมาแล้ว เมื่อบวชแล้วอดข้าวเย็นไม่ได้ ต้องสึกกินข้าวเย็นในวันนั้น
    (อายุ ๕ ขวบกับ ๗ เดือน เกิดวันอังคาร แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีขาล วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๕.๐๐ น.เศษ)
    จึงตั้งชื่อล้อเลียนเขาว่า “เซียงโมง” คนที่บวชเณรไม่ข้ามวันแล้วสึก ทางภาคอีสานเรียกผูสึกจากเณรนั้นว่า “เซียง”
    เมื่อเหตการณ์ตรงกับคำพยากรณ์ของพระอาจารย์สีทัตถ์ทุกประการดังที่เล่ามาตลอด ถึงพฤติการณ์ของเด็ก ข้าพเจ้าจึงปลงใจเชื่อว่าอาจารย์สีทัตถ์มาเกิดและระลึกชาติได้จริง
    ข้าพเจ้าจึงขอรับรองด้วยเกียรติยศและศีลธรรมว่า เป็นความจริงดังนี้กล่าวมามิได้เสกสรรปั้นแต่งขึ้น
    ขอส่งเรื่องนี้แก่ยุวพุทธิกะ เพื่อเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกลับชาติมาเกิดใหม่ของคน
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เด็กนั่นคืออาตมา
    <TABLE id=table7 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระถวัลย์ โชติธมฺโม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระภิกษุท่านนั้น จากการสัมภาษณ์ท่านได้กล่าวยืนยันว่า
    “เด็กคนนั้นคืออาตมาเอง”
    แล้วท่านได้เปิดเผยว่า...
    ท่านชื่อ ถวัลย์ นามสกุล อินทรกำแหง
    เกิดเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ อำเภอกุมภวาปี จังหวัด อุดรธานี
    บิดามารดาไม่มี เพราะเมื่อท่านเกิดมาแล้วจะตายหรือหายไปไหนทั้งคู่ก็ไม่ทราบเลย และจนบัดนี้ท่านมีอายุย่างเข้า ๓๘ ปี ก็ยังไม่ทราบว่าบิดามารดาของท่านเป็นใคร ? ชื่ออะไร ?
    เพราะชีวิตเติบโตขึ้นมาด้วยการอนุเคราะห์เลี้ยงดูจากคุณแม่สายบัว อินทรกำแหง จนอายุได้สามขวบก็นำไปให้ ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) อุปการะต่อ และได้ใช้นามสกุล “อินทรกำแหง” เรื่อยมา
    ครั้นอยู่กับท่านเจ้าคุณเส็งได้๒ ปี ท่านลงมากรุงเทพฯ ก็ได้พามาอาศัยอยู่บ้าน คุณสนั่น วีรวรรณ และได้เรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสุกิจวิทยาลัยของ ท่านศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินทร์ ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมไปนานแล้ว โดยเริ่มเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๑ ถึงประถมปีที่ ๔
    จากนั้นก็ไปสอบเข้าโรงเรียนวัดธาตุทอง จนถึงชั้นประถมปีที่ ๗ จบแล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนยาสูบอุปถัมภ์ ข้างสะพานเหลืองเดิมจนถึงชั้นมัธยมปีที่ ๒
    ภายหลังเกิดมีปัญหาภายในบ้านเล็กน้อย ก็เลยสอบตก จึงกลับไปอยู่กับคุณแม่สายบัว และไปเรียนต่อจนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ของโรงเรียนน้ำตาลอุปถัมภ์
    แล้วของเก่าจะกลับมา
    พระภิกษุถวัลย์ได้เล่าต่อไปว่า
    เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมปีที่สามแล้ว ได้ไปรอทำงานอยู่ที่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เพราะน้าชายซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ จะฝากให้
    แต่รออยู่นานก็ไม่ได้ทำงานสักที จึงกลับมาบวชเณร เมื่อปี ๒๕๑๒ ที่วัดจอมสี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านพระครูชิโนวาทธำรงค์ เป็นอุปัชฌาย์ (มรณภาพแล้ว)
    เป็นสามเณรสมบูรณ์แล้วก็ไปอยู่วัดเขาสวนกวางกับท่านเจ้าคุณเส็ง พออายุครบอุปสมบทก็บวชเป็นพระภิกษุ โดยมี ท่านพระครูอินทรโสภณ เป็นอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า โชติธัมโม
    ท่านเจ้าคุณเส็งได้สอนให้ปฏิบัติกรรมฐานและสอนให้เร่งความเพียรให้หนัก ท่านบอกว่า
    “ให้เพียรทำสมาธิเรื่อย ๆ แล้วของเก่าจะกลับมา”
    มารผจญ
    แต่ท่านพระภิกษุถวัลย์ อุปสมบท เป็นพระภิกษุได้เพียงไม่กี่พรรษา สอบนักธรรมโทได้ ก็ต้องลาสิกขาออกมาผจญกับความวุ่นวายในเรื่องทางโลกอยู่อีกหลายปี
    อาตมาสึกออกมามีครอบครัวแล้วก็อยู่กันได้ไม่นานก็แยกทางกัน อาตมาก็มาพิจารณาดูว่าจะไปทางไหน
    จนเห็นว่าไม่มีทางไหนดีกว่าอยู่ในสมณเพศ เพราะมีแต่ความสงบร่มเย็น อาตมาจึงได้กลับมาอุปสมบทโดยมีอุปัชฌาย์องค์เดิมเป็นผู้บวชให้ท่านเล่าให้ฟัง
    จะอยู่เรื่อยไป
    ปัจจุบันท่านจำพรรษาอยู่ที่ วัดวงศ์สนิทเมตตาราม ตำบลกะเฉด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
    อาตมายังไม่ลืมพระคุณของท่านเจ้าคุณเส็งเลย อาตมาเคยไปกราบท่านในฐานะท่านเป็นผู้มีพระคุณชุบเลี้ยงอาตมา มาที่วัตเขาสวนกวาง
    ได้เข้าไปปฏิบัติรับใช้ท่านอยู่ ท่านรู้จักหลักธรรมะดี ท่านพูดแต่ละคำเป็นหลักธรรมโดยตรงเลย
    ทุกวันนี้ อาตมาสวดมนต์ภาวนาแล้วอุทิศกุศลไปให้ท่านเจ้าคุณทุกครั้ง และตั้งใจจะอยู่ในสมณเพศไปเรื่อย ๆ
    ตั้งใจจะปฏิบัติภาวนาให้จิตสงบจนถึงที่สุด แต่คงต้องใช้เวลาบ้าง เพราะอาตมาใช้ชีวิตทางโลกมานาน เพิ่งจะกลับมาบวชได้สองพรรษานี้เองท่านพระภิกษุถวัลย์กล่าว ในที่สุด
    อยู่ที่ไหน
    เรื่องหลวงปู่สีทัตถ์กลับชาติมาเกิดเป็นพระถวัลย์ โชติธัมโม จึงจบเพียงแค่นี้
    แต่ความนึกคิดของผู้เขียนยังไม่จบ ด้วยผู้เขียนมีความสงสัยว่าจิตที่ออกจากรูปกายของคนเราเมื่อตายไปแล้วเป็นวิญญาณนั้น ไปอยู่ที่ไหนกันแน่ ?
    ดังรายของ พ.อ.(พิเศษ) เสนาะ จินตรัตน์ ซึ่งเพิ่งจะถึงแก่อนิจกรรมเมื่อไม่นานมานี้ คุณอัญชลี จินตรัตน์ ภรรยาของท่านได้บอกแก่ผู้เขียนในวันหนึ่งว่า
    “หนูมีความรู้สึกว่าพี่เหนาะอยู่ใกล้ ๆ หนูนี่เอง ไม่ได้ไปไหน”
    และมารดาของเธอก็ยังเป็นผู้เห็นผู้การฯเสนาะเข้ามาเยี่ยมภรรยาและลูกสาวของท่านถึงในมุ้ง ทั้งยืนยันได้ว่าไม่ใช่ความฝัน
    หรืออย่างราย ท่านศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล ก็เช่นกัน ถ้าวิญญาณของท่านไปอยู่บนสรวงสวรรค์ เหตุไฉนลูกชายของท่าน จึงสามารถเป็นร่างให้วิญญาณของท่านเข้ามาแฝงอยู่ได้ ในรายการพิสูจน์เกี่ยวกับวิญญาณทางวิทยาศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ?
    ใครจะสามารถเรียกวิญญาณที่อยู่บนสวรรค์ชั้นสูงลงมายังโลกมนุษย์ได้ครั้งแล้วครั้งเล่า ?
    “แล้วถ้าเช่นนั้น วิญญาณอยู่ที่ไหน ?”
    คำถามข้อนี้ผู้เขียนไม่สามารถจะตอบให้ชัดเจนลงไปได้ นอกจากจะต้องใช้เวลาศึกษาอีกมาก เพราะดั่งราย หลวงปู่สีทัตถ์ ที่กลับมาเกิดในชาตินี้เป็นพระถวัลย์ อินทรกำแหง นั้น
    หลวงปู่สีทัตถ์เป็นพระภิกษุที่เชี่ยวชาญทางอภิญญาเป็นอย่างยิ่ง สามารถบอกแก่เจ้าคุณอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ได้ล่วงหน้าว่า ท่านจะมาเกิดเป็นเด็กกำพร้า ขอให้ช่วยอปถัมภ์เลี้ยงดูด้วย !
    ปัญหาอยู่ตรงที่ระหว่างวิญญาณหลวงปู่สีทัตถ์ยังไม่ได้เกิดนั้นอยู่ที่ไหน ? ลอยละล่องคอยการจุติหรือไปอยู่บนสวรรค์ชั้นไหน ?
    ใครคิดออกช่วยกรุณาบอกแก่ผู้เขียนด้วยจะเป็นพระคุณเพราะปัญหาทางภูมิธรรมของผู้เขียนมีน้อยเกินกว่าจะคาดคะเนได้
    และจะขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ถ้าชี้หนทางให้ผู้เขียนได้พบกับท่านผู้มีภูมิธรรมอันสูง เพื่อจะได้เรียนถามท่านด้วยตัวผู้เขียนเอง จึงขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้
    ประวัติพระทรงคุณ
    ในโอกาสนี้ เมื่อได้พูดถึงพระถวัลย์ โชติธัมโม ซึ่งเป็นชาติปัจจุบันของ หลวงปู่สีทัตถ์ พระผู้มากบารมีในครั้งอดีต ก็ใคร่ขอนำประวัติในอดีตชาติของท่านซึ่งได้เคยสร้างคุณมหาศาลแก่วงการพระพุทธศาสนามาเสนอแก่ท่านสักเล็กน้อย
    หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านเป็นชาวท่าอุเทนโดยกำเนิด ท่านเกิดที่หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อพ.ศ. ๒๔๐๘
    โยมบิดาชื่อ นายมาก โยมมารดาชื่อ นางดา สุวรรณมาโจ
    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโพนแก้ว อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมทางบาลีจากท่านพระอาจารย์ขันธ์ พระอาจารย์ผู้มีวิทยาคมสูงยิ่งแห่งวัดโพนแก้วนั่นเอง
    เมื่อเห็นว่ามีความรู้ขั้นพื้นฐานดีแล้ว ท่านจึงได้ย้ายสำนักไปเรียนอยู่กับ พระอาจารย์ตาคำ แห่งวัดศรีสะเกษในตัวเมืองท่าอุเทนเช่นกัน
    การเรียนในสำนักของพระอาจารย์ตาดำนั้น ท่านมุ่งเรียนในวิชามูลกัจจายน์และคัมภีร์ทั้ง ๕ จนมีความรู้แตกฉานในทางบาลีเป็นอย่างดี
    ในสมัยนั้นการศึกษาทางฝ่ายปริยัติธรรม ยังไม่ได้แยกเป็นชั้นเช่นทุกวันนี้ คือนักธรรมชั้นตรี โท เอก และมหาเปรียญแต่อย่างใด เพียงแต่เรียนรวมกันทีเดียวเป็นปี ๆ เลย
    ชีวิตที่ผันแปร
    ในประวัติเมืองท่าอุเทนซึ่งเขียนโดย นายเมธี ดวงสงค์ ได้เขียนถึงประวัติของหลวงปู่สีทัตถ์พระอาจารย์ผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทนเอาไว้ว่า
    หลวงปู่สีทัตถ์ท่านบวชถึง ๓ ครั้ง และได้ลาสึกถึง ๒ ครั้ง ส่วนสาเหตุที่ทำให้ท่านต้องลาสิกขาบทออกไป แล้วเข้ามาบวชอีกว่า เป็นเพราะมีเรื่องทางโลกเข้ามารบกวนความสงบของท่านกล่าวคือ มีเหตุอันเป็นกระแสแห่งโลกทำให้ท่านต้องสึกไปแต่งงานซ้ำแล้วซ้ำอีก
    ชาวบ้านที่เคารพนับถือท่านบางคนก็กล่าวว่า สาเหตุที่หลวงปู่สีทัตถ์ท่านลาสิกขาไปนั้น คงเนื่องมาจากมี พระบาง อยู่ในวัด
    แต่มูลเหตุดังกล่าวนี้ก็เป็นความเข้าใจของคนบางคนเท่านั้นจะมีความจริงเท็จแค่ไหนเพียงไรก็ยากที่จะนำมาพิสูจน์กัน
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สืบต่อกันมา
    <TABLE id=table5 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    พระบาง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระบางนี้ได้มีผู้เล่าสืบต่อกันมาว่า ได้มีการสร้างขึ้นในประเทศลาว โดยคณะกรรมการ ๒ ฝ่ายเป็นผู้ร่วมกันสร้างขึ้นคือ
    ฝ่ายสงฆ์มี สมเด็จเหมมะวันนา เป็นประธาน
    ส่วน ฝ่ายฆราวาส มี พญาแมงวัน (มีรูปแมลงวันติดอยู่ที่หน้าผาก) ผู้เป็นเจ้าเมืองเหิบ ประเทศลาวเป็นประธาน
    ในครั้งนั้นได้หล่อพระที่มีขนาดเท่ากันขึ้น ๒ องค์ องค์หนึ่งเป็นพระขัดสมาธิ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่บ้านดอนติ้ว เมืองหินปูน ประเทศลาว)
    องค์ที่สองนั้นเป็นพระยืนปางห้ามสมุทร คือพระบาง ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรภูมิ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทนจังหวัดนครพนม
    อาถรรพณ์พระบาง
    <TABLE id=table4 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระบาง วัดไตรภูมิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หลังจากได้อัญเชิญพระบางจากประเทศลาวมาประดิษฐานที่วัดพระธาตุท่าอุเทนได้ไม่นาน ก็ต้องย้ายไปประดิษฐานยังวัดไตรภูมิ
    ส่วนสาเหตุที่ต้องย้ายที่ประดิษฐานพระบางจากวัดพระธาตุท่าอุเทนไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมินั้นก็สืบเนื่องมาจาก หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านต้องลาสึกถึง ๒ ครั้งนั่นเอง
    ทั้งนี้เพราะเป็นความเชื่อถือของชาวบ้านว่า พระบางเป็นพระที่ไม่ให้คุณ มีอาถรรพณ์ทำให้หลวงปู่สีทัตถ์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่มีผู้เคารพนับถือมากในลุ่มแม่น้ำโขง ตลอดจนถึงฝั่งลาวต้องลาสึก ซึ่งเรื่องราวมีว่า
    หลังจากหลวงปู่สีทัตถ์ท่านเข้ามาบวชเป็นครั้งที่สองนั้น ท่านมักจะออกแสวงหาความวิเวกตามสถานที่สงบต่าง ๆ อยู่เสมอ
    และการอุปสมบทครั้งที่สองของท่านนั้น ท่านอุปสมบทหลังจากที่พระบางได้มาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุท่าอุเทนแล้ว คือหลังปี พ.ศ. ๒๔๕๐
    ส่วนสาเหตุที่ท่านต้องสึกอีกครั้งนั้น มีเรื่องเล่าว่า ท่านพร้อมกับลูกศิษย์องค์หนึ่งได้ถือธุดงคกรรมฐานไปที่ฝั่งลาว
    วันหนึ่ง ขณะที่ท่านนั่งกรรมฐานอยู่นั้น ท่านได้ยินเสียงร้องรำของหญิงสาวชาวบ้านมีความไพเราะจับใจมาก ถึงขนาดตัดสินใจลาสิกขาบทในคืนวันนั้นทันที
    หลวงปู่ท่านได้ลาสิกขาเปลื้องผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว ไปสู่ขอหญิงสาวชาวบ้านผู้ที่ร้องรำคนนั้นกับบิตามารดาทันที ซึ่งบิดามารดาของหญิงสาวก็ไม่ขัดข้องเพราะมีความเคารพนับถือท่านมากอยู่แล้ว
    การลาสิกขาบทของท่านสร้างความประหลาดแก่ผู้พบเห็นในเวลานั้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะจู่ ๆ พระผู้ทรงศีลาจารวัตรอันงดงาม ต้องมาพ่ายแพ้กิเลสอันเป็นตัวมารอย่างง่าย ๆ เช่นนั้นจึงทำให้ชาวบ้านคิดไปว่าคงเป็นเพราะพระบางที่อยู่ในวัดมีอาถรรพณ์จึงบันดาลให้ท่านเป็นไป
    ต่างลงความเห็นกันว่าไม่สมควรเอาไว้ จึงได้พากันย้ายพระบางออกจากวัดพระธาตุท่าอุเทน ไปอยู่วัดไตรภูมิตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    บุญบารมีสูง
    <TABLE id=table6 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุท่าอุเทน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านเป็นพระที่มีบุญญาบารมีสูงยิ่งจริง ๆ และท่านมีอภินิหารแก่กล้ามาก
    ท่านสามารถก่อสร้างพระธาตุต่าง ๆ สำเร็จมาแล้วหลายแห่ง เช่น
    ๑. พระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
    ๒. พระธาตุพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
    ๓. มณฑปโพนสัน ประเทศลาว
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระธาตุท่าอุเทน นั้น หลวงปู่สีทัตถ์ท่านมีความสามารถสร้างเหมือนพระธาตุพนมสมัยก่อนได้ทั้ง ๆ ที่ฐานรองรับก็เพียงขุดหลุมแล้วใส่หินนางเรียง หรือหินแก้วนางฝาน เป็นฐานรองรับพระธาตุซึ่งยังไม่ทรุดแต่ประการใด และมีอายุยาวนานมากว่า ๗๐ ปีแล้ว
    นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์มิใช่น้อยที่คนในสมัยนี้คงไม่มีบารมีก่อสร้างได้เช่นท่าน เพราะการนำเอาหินแก้วนางฝานมารองรับองค์พระธาตุได้นี้ นับว่าเป็นอภินิหารอันแก่กล้าของท่านเหนือโลกจริง ๆ
    ข่าวลือ
    ในระหว่างที่หลวงปู่สีทัตถ์ทำการก่อสร้างองค์พระธาตุท่าอุเทนนั้น (ในราว พ.ศ. ๒๔๕๖) ได้มีพระครูสมุห์วรคณิสรสิทธิการ ซึ่งทางฝ่ายคณะสงฆ์จากกรุงเทพฯ ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้แทนหัวหน้าสงฆ์ มาตรวจการทางภาคอีสาน
    ครั้นมาถึงจังหวัดหนองคายได้ข่าวว่า
    หลวงปู่สีทัตถ์ เป็นผู้มีอิทธิพลมาก และแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ได้ เช่น ล่องหนหายตัว ย่อแผ่นเดินให้แคบเข้า และ ข้ามแม่น้ำโขงได้โดยไม่ต้องใช้เรือ มีผู้คนเลื่อมใสมากและได้ซ่องสุมผู้คนเพื่อจะกบฏต่อกรุงเทพฯ
    พระคูรสมุห์วรฯ จึงคิดจะมาจับเอาตัวท่านหลวงปู่ลงไปกรุงเทพฯ
    ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นข่าวลือที่เกิดขึ้น เพราะหลวงปู่ท่านเป็นคนสุภาพอ่อนโยน รักความสงบ และถ่อมตนอยู่เสมอเป็นผู้ตั้งอยู่ในสุจริตปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย จึงทำให้มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสท่านมาก
    หลวงปู่ท่านไม่ได้แสดงปาฏิหาริย์ ท่านตั้งใจสร้างพระธาตุเจดีย์โดยบริสุทธิ์ใจ แต่ก็มีผู้ไม่หวังดีใส่ร้ายท่าน ซึ่งเรียกว่าเป็นตัวมารโดยแท้
    พระครูสมุห์วรฯ เมื่อโดยสารเรือล่องลงมาจากจังหวัดหนองคายมาถึงท่าอุเทนแล้ว ก็จอดหรือตรงท่าวัดกลาง ซึ่งขณะนั้นมีหาดทรายติดกับตลิ่งฝั่งท่าอุเทนยื่นไกลออกไปสู่กลางแม่น้ำโขงประมาณ ๑๐ เส้น
    และเมื่อพระครูสมุห์วรฯ มาถึงก็มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนออกมาให้การต้อนรับพอสมควร
    ท่านได้ขึ้นไปวัดอรัญญวาสี เพื่อจะจับเอาหลวงปู่สีทัตถ์ แต่ก็ไปไม่ถึงวัด ไปถึงแค่หน้าที่ว่าการอำเภอก็แวะเข้าไปพักอยู่ที่นั่น
    เมื่อมีผู้ไปถามท่านว่า “ทำไมไม่ไปให้ถึงวัด”
    ท่านก็ตอบว่า “กลัวพระสีทัตถ์จะสั่งให้ลูกน้องทำอันตราย”
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ไม่มาดอก
    พระคูรองค์นั้นได้โทรเลขให้ พระพนมนราฯรักษ์ (อุ้ย นาครทรรพ) ผู้ว่าฯ นครพนมในสมัยนั้น ให้ขึ้นมาจับเอาตัวหลวงปู่สีทัตถ์เอง แต่กลับได้รับคำตอบกลับไปว่า
    ท่านอาจารย์สีทัตถ์มิได้คิดกบฏซ่องสุมผู้คนอะไรเลย หากแต่ท่านสร้างพระธาตุเจดีย์และมีผู้คนมาจากอำเภอและจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เดียงเดินทางมาช่วยท่าน โดยหวังผลในส่วนกุศลเท่านั้น มิได้คิดเป็นอย่างอื่นดังที่พระคุณเจ้าเข้าใจ
    และตัวท่านพระอาจารย์สีทัตถ์เองก็อยู่ในศีลธรรมอันดี รักความสงบไม่มีจิตคิดอิจฉาและชิงดีคนอื่น
    เมื่อพระครูสมุห์วรฯ ทราบความจริงเช่นนั้น จึงเดินทางต่อไปยังเมืองนครพนม เหตุการณ์ก็เป็นอันสงบไป
    ส่วนทางฝ่ายวัดอรัญญวาสี เมื่อทราบข่าวว่ามีพระภิกษุมาจากกรุงเทพฯ จะมาจับเอาตัวหลวงปู่ซึ่งท่านก็ไม่ได้สะทกสะท้านแต่อย่างใด ท่านยังสั่งให้พระลูกศิษย์เตรียมปูอาสนะให้ด้วย และท่านก็ยังคงทำงานก่อสร้างพระธาตุของท่านไปเรื่อย ๆ
    ต่อมาได้มี พระอาจารย์ปาน ซึ่งมาจากบ้านใหม่ ดอนสังคี อำเภอโพนพิสัย กับ พระอาจารย์ยอดแก้ว และ พระอาจารย์ปิ่น ได้มาขอสู้แทนหลวงปู่ซึ่งท่านก็กล่าวว่า
    “พระคูรสมุห์ฯ ไม่มาดอก อย่าวุ่นวายไปเลย” และก็ไม่มาจริง ๆ
    หมดไหแล้ว
    เรื่องอภินิหารที่เกิดจากบุญญาบารมีของผู้สร้าง คือหลวงปู่สีทัตถ์นี้ได้มีผู้กล่าวกันว่า ได้แสดงอภินิหารด้วยการเรียกปลาร้ามาเลี้ยงคนงานที่มาก่อสร้างองค์พระธาตุอย่างอัศจรรย์ยิ่ง
    ซึ่งเรื่องมีอยู่ว่า ในการสร้างพระธาตุท่าอุเทนนั้น อาหารหลักที่จะนำมาเลี้ยงคนทั่วไปก็คือ ปลาแดก (ปลาร้า) กับผักสด และปลาแห้ง
    หลวงปู่สีทัตถ์ท่านได้ตั้งโรงครัวเพื่อให้คนงานที่ออกแรงปั้นอิฐ (ดินจี่) เผาอิฐ ได้รับประทานกัน ซึ่งมีจำนวนเป็นร้อย ๆ (รวมทั้งพระภิกษุสามเณรด้วย)
    เย็นวันหนึ่ง หลวงปู่ได้เดินตรวจดูความเรียบร้อยของงานที่ผ่านไปวันหนึ่ง ๆ และท่านได้มายืนคุยกับญาติโยมที่กำลังพากันรับประทานอาหารเย็นอยู่ พวกแม่ครัวจึงพากันนมัสการท่านว่า
    “วันนี้ปลาร้าหมดไหแล้วพรุ่งนี้จะไม่มีปลาร้าประกอบอาหารอีก”
    หลวงปู่ท่านได้ยินแล้วก็ไม่ตอบอะไรได้แต่ยิ้ม ๆ และหัวเราะหึ ๆ ในลำคอเท่านั้น และท่านได้เดินมาดูไหปลาร้าที่ว่างเปล่ากว่า ๑๐ ไห แต่ท่านก็ไม่ได้แสดงอาการวิตกกังวล หรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ทำให้พวกแม่ครัวพากันห่วงยิ่งขึ้นและคิดไปว่า
    “เอ... หลวงปู่เรานี่ จะเอาอย่างไรนะ ปลาร้าหมดไห บอกให้รู้ก็ทำเป็นเฉย ๆ อยู่ จะเอาอย่างไรก็ดี จะให้ทำอย่างไรก็ไม่บอก”
    ก่อนที่หลวงปู่ท่านจะเดินจากไป ท่านก็พูดเปรย ๆ ขึ้นว่า
    “กินข้าวกินปลากันไปเถอะแล้วจะมีคนเอามาให้”
    คำพูดของหลวงปู่ครั้งนั้นทำให้พวกแม่ครัวพากันฉงนอยู่มิใช่น้อย จากนั้นต่างก็ช่วยกันเก็บล้างถ้วยชามทำความสะอาด แล้วปิดประตูโรงครัวเพื่อกันไม่ให้สุนัขหรือแมวเข้าไปรบกวนแล้วก็พากันเข้าไปนอน
    เหตุอัศจรรย์
    <TABLE id=table8 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงปู่ตา ผู้เป็นกำลังสำคัญ
    ที่ช่วยสร้างพระธาตุท่าอุเทน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พอวันรุ่งขึ้นพวกแม่ครัวก็พากันมาติดไฟนึ่งข้าวเหนียวเพื่อเตรียมไว้ให้พวกที่สร้างพระธาตุได้กินกันก่อนทำงาน
    ปรากฏการณ์อันแปลกประหลาดก็เกิดขึ้นแก่แม่ครัวได้อัศจรรย์กันไปตาม ๆ กัน เพราะบรรดาไหปลาร้าที่ว่างเปล่าเมื่อเย็นวานนี้ กลับมีปลาร้าเต็มไหหมด
    สร้างความฉงนสนเท่ห์แก่ทุกคนที่พบเห็นเป็นอย่างมาก จึงได้บอกต่อ ๆ กันไปให้มาดูความแปลกมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น เมื่อทุกคนมาเห็นเข้ากับตาต่างก็พากันงึด (อัศจรรย์) เป็นที่สุด
    พอสว่างได้เวลาที่พระจะออกบิณฑบาต ต่างก็พากันไปกราบนมัสการให้หลวงปู่ทราบว่า ที่พวกเขาตกใจว่ากลัวจะไม่มีปลาร้ากินในวันนั้นปลาร้าได้มีอยู่เต็มไปหมดทุกไหแล้ว และต่างก็สอบถามหลวงปู่ว่าปลาร้ามีมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ให้มา ทำไมจึงมีมาได้
    หลวงปู่ท่านไม่ตอบเช่นเคย ท่านหยิบเอาบาตรได้แล้วก็จะออกไปบิณฑบาตตามที่เคยปฏิบัติมา เพียงแต่วางหน้าเฉย ๆ และท่านได้เปรยขึ้นว่า
    “เออ...มีก็ดีเล้ว จะได้กินกันอีก ทำงานกันต่อไปเถอะ”
    ข้ามมายังไง
    ในประวัติของเมืองท่าอุเทนได้มีผู้บันทึกถึงเรื่องหลวงปู่ว่าหลวงปู่ท่านข้ามโขง (แม่น้ำโขง) โดยไม่ต้องใช้เรือ
    เหตุนี้เกิดขึ้นที่อำเภอบ้านแพง ซึ่งสมัยนั้นเป็นเพียงตำบลหนึ่งเท่านั้น
    จากปากคำของคนที่เชื่อถือได้ กล่าวกันว่าผู้เปิดเผยเรื่องอภินิหารของหลวงปู่ คือ อดีตครูใหญ่ตำบลหนึ่ง ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งให้ไปเป็นครูผู้ใหญ่ในตำบลที่มีผีปอบมาก ๆ เพื่อให้ไปปราบผีและได้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง
    บรรดาผีที่เข้าสิงคนอยู่นั้น ถ้าได้เห็นครูคนนี้ขึ้นไปบนบ้านเท่านั้น ก็ร้องเสียงหลงทันที “ออกแล้ว ยอมแล้ว”
    ในปัจจุบันท่านผู้นี้อายุ ๘๓ ปี คือ อาจารย์ทอน กิตติศรีวรพันธุ์ แห่งบ้านเนินคนึง อำเภอบ้านแพง ในปัจจุบัน
    อาจารย์ทอนได้เล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า ในสมัยนั้นเขาได้พบกับสามเณรตัวเล็ก ๆ องค์หนึ่งซึ่งเป็นผู้ติดตาม หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านออกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาสัจธรรมตามป่าเขาลำเนาไพรในระยะใกล้ ๆ
    เณรน้อยองค์นั้นก็ติดตามไปเพื่อปรนนิบัติท่าน เพื่อเป็นการเริ่มฝึกหัดการเจริญวิปัสสนากรรมฐานกับท่าน
    สามเณรองค์นี้ได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว ก่อนที่จะมรณภาพ ก็ได้เล่าเรื่องหลวงปู่ให้ฟังว่า
    วันหนึ่งหลังจากฉันอาหารเช้าแล้ว หลวงปู่จะพาข้ามไปฝั่งลาวเพื่อไปแสวงหาพระอาจารย์ดังทางฝั่งโน้น
    หลวงปู่ท่านได้พาเดินเลาะท่าเรือที่จะข้ามไปแต่ก็ไม่มีสักลำ ท่านพาเดินจนเหนื่อยจึงได้พบเรือแต่ไม่มีคนพายข้ามไป เณรน้อยจึงบอกกับหลวงปู่ว่า
    “ขอพักก่อนเถอะ เพราะเดินเหนื่อยแล้ว ผมเบื่อและเมื่อยเต็มที”
    หลวงปู่ท่านกล่าวกับเณรน้อยว่า “เฉย ๆ ไว้ ต้องไปให้ได้หลวงปู่จะพาไปเอง”
    จากนั้นท่านก็สั่งให้กลับหลังหัน แล้วให้ยืนนิ่ง ๆ พร้อมกับให้หลับตาให้สนิทจริง ๆ
    ขณะที่สั่งหลวงปู่ท่านอยู่ด้านหลัง และอยู่ห่างกันประมาณวาเศษ ๆ พอหลวงปู่ท่านสั่งแล้วเณรน้อยก็หลับตาตามที่ท่านสั่ง
    เณรก็คิดอยู่ในใจว่าหลวงปู่ท่านจะพาเราไปอย่างไรกันหนอพร้อมกับระลึกและจดจ่ออยู่ว่าเมื่อไรหลวงปู่ท่านจะให้ลืมตาสักที
    เมื่อหลับตาแล้วก็มืดมิดมองไม่เห็นอะไร
    ทันใดนั้นเองหลวงปู่ก็พูดเป็นเสียงธรรมดาว่า
    “เอ้าถึงแล้ว ลืมตาได้”
    สามเณรน้อยลืมตาขึ้น และได้เห็นตัวเองกับหลวงปู่มายืนอยู่ที่ฝั่งประเทศลาวเสียแล้ว เมื่อมองดูที่ริมน้ำก็ไม่เห็นมีเรือเลย ปาฏิหาริย์แท้ ๆ ด้วย ความแปลกประหลาดและพิศวง ทำให้เณรน้อยผู้คอยอุปัฏฐากท่านอดรนทนไม่ไหว ใคร่อยากจะรู้ว่า หลวงปู่ท่านทำอย่างไรนะ ถึงได้ข้ามแม่น้ำโขงมาได้ จึงได้เอ่ยถามขึ้นว่า
    “หลวงปู่ครับ เราข้ามมาได้อย่างไร ใครดลบันดาลให้”
    แทนที่หลวงปู่ท่านจะตอบถึงสาเหตุที่สามารถข้ามแม่น้ำโขงมาได้ ท่านกลับตอบเป็นเชิงดุ ๆ ว่า
    “ไม่ใช่เรื่อง เอาล่ะ ไปกันได้แล้ว”
    ทำให้เณรน้อยยิ่งงงใหญ่ พลางก็เดินตามหลังหลวงปู่ท่านไป
    เร้นกาย-หายตัว
    จากปากคำบอกเล่าในบันทึกของอดีตนายอำเภอซึ่งได้รับคำไขขานบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ของเมืองท่าอุเทนเล่าให้ฟังว่า
    หลวงปู่ท่านหายตัวได้และย่อแผ่นดินจากกว้างให้แคบได้
    เช่นเมืองท่าอุเทนอยู่ฝั่งไทย เมืองปากหินปูนอยู่ฝั่งลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นกลางอยู่ แต่หลวงปู่ท่านก็มีความสามารถเดินข้ามได้อย่างสบาย
    มีเรื่องเล่าว่าในสมัยนั้นฝั่งลาวกับฝั่งไทยมีความรักใคร่กันดี เมื่อมีงานบุญก็จะบอกกล่าวถึงกันเป็นประจำ แม้จะมีแม่น้ำโขงขวางกั้นอยู่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
    พระเณรจะถูกนิมนต์ให้ไปร่วมทำบุญและไปกันเป็นคณะ ซึ่งหลวงปู่ท่านก็กำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง ท่านก็ถูกนิมนต์ไปด้วยเสมอ เพราะชาวฝั่งเมืองหินปูนต้องการชมบารมี และจะได้เห็นหน้าเห็นตาท่านชัด ๆ สักที
    เมื่อญาติโยมได้นิมนต์พระสงฆ์องค์เณรเรียบร้อยแล้วก็ได้พากันไปนิมนต์หลวงปู่สีทัตถ์ ซึ่งขณะนั้นท่านกำลังสั่งและควบคุมพวกช่างสร้างพระธาตุท่าอุเทนอยู่โดยขอนิมนต์ให้ท่านไปพร้อม ๆ กันหลาย ๆ รูปและหลายลำเรือและกล่าวกับท่านว่า
    ชาวเมืองปากหินปูนกำลังรออยู่ ขอให้หลวงปู่ลงเรือไปด้วยกันให้จงได้ เพราะที่เรือได้เตรียมปูเสื่อน้อยให้สำหรับหลวงปู่อยู่แล้ว เพื่อจะได้ไปทันเจริญพระพุทธมนต์ก่อนเพลในโบสถ์ วัดปากหินปูน
    เสร็จแล้วก็จะได้ให้หลวงปู่ร่วมฉันเพลกับพระรูปอื่น ๆ ด้วย
    หลวงปู่ท่านกล่าวกับญาติโยมว่า
    ไปก่อนเถอะ จะสั่งเสียมอบหมายการงานให้ช่างสร้างพระธาตุท่าอุเทนเรียบร้อยแล้ว จะรีบตามไปให้ทันทีหลัง
    พวกญาติโยมก็พากันคะยั้นคะยออยู่หลายครั้ง หลวงปู่จึงหันหน้ามาบอกว่า
    “ไปเถอะ ไปก่อนเถอะ จะตามไปให้ทันทีหลัง ไม่ต้องห่วง”
    จากนั้นญาติโยมก็พากันลงเรือข้ามไปปากหินปูน พอไปถึงฝั่งปากหินไน ที่วัดกำลังมีงานผู้คนก็มาก ญาติโยมได้พาพระเณรจากฝั่งไทยเข้าโบสถ์
    แต่เมื่อทุกคนมองเข้าไปในโบสถ์ ก็เกิดความสงสัยเป็นอย่างยิ่งเพราะพระเณรของเมืองปากหินปูน ต่างก็นั่งห้อมล้อมหลวงปู่สีทัตถ์อยู่อย่างเนืองแน่น สร้างความประหลาดใจไปตาม ๆ กัน
    เพราะเรือที่ตามมาติด ๆ กันมิได้เห็นมีสักลำ จะเข้าไปถามดูว่าท่านมาได้อย่างไรก็ไม่มีโอกาส เพราะมีพระอยู่มาก และกำลังประกอบกิจทางศาสนาอยู่
    เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ตอนบ่าย ๆ ญาติโยมก็พากันเดินทางกลับมายังเมืองท่าอุเทน ซึ่งหลวงปู่ท่านก็กลับมาด้วย
    พอมาถึงวัด ญาติโยมที่ฉงนสนเท่ห์เป็นอย่างมาก เพื่อให้หายสงสัยจึงไปกราบนมัสการถามหลวงปู่ว่า
    “หลวงปู่ไปถึงวัคปากหินปูนก่อนได้อย่างไร”
    ซึ่งหลวงปู่ท่านก็ตอบไปโดยเลี่ยง ๆ ว่า“ก็ตามกันไปนั่นแหละ ไม่เห็นหรือ ?”
    จากนั้นหลวงปู่ท่านก็พูดคุยไปในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างพระธาตุว่า
    “งานของเรายังมีอีกมาก ช่วยกันเข้าจะได้เสร็จ ๆ ไป”
    มรณกาล
    ต่อมาภายหลังเมื่อเสร็จจากการก่อสร้างพระธาตุบัวบกแล้ว ท่านก็ข้ามฝั่งโขงไปถึงธุดงคกรรมฐานอยู่ในป่าประเทศลาว
    หลังจากนั้นก็ได้มาสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท (จำลอง) ที่บ้านโพนสัน ซึ่งการก่อสร้างก็สำเร็จไปด้วยดี
    หลวงปู่ท่านได้อยู่ที่วัดบ้านโพนสันอีก ๖ ปี ก็มรณภาพ ณ ที่วัดแห่งนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓สิริอายุได้ ๗๕ ปีพอดี
    ก่อนมรณภาพ หลวงปู่ท่านสั่งเอาไว้ว่า
    “เมื่อเผาศพเสร็จแล้วให้เอากระดูกของท่านไปทิ้งลงในแม่น้ำโขงให้หมด ”
    ตังนั้น หลังจากเสร็จสิ้นพิธีศพของท่านแล้ว บรรดาศิษย์ทั้งหลายจึงนำอัฐิของท่านทิ้งลงในแม่น้ำโขงจนหมดสิ้น
    ในชีวิตของหลวงปู่สีทัตถ์พระผู้ใฝ่ในธรรมแห่งเมืองท่าอุเทน ท่านได้ออกเดินธุดงค์จงกรมไปหาความจริงถึงประเทศพม่า ลาว และทั่วภาคเหนือ-อีสาน ซึ่งมีสภาพเป็นป่าเขาลำเนาไพร อันเป็นสถานที่ยินดี เหมาะที่จะบำเพ็ญพลังจิต โดยมิได้ย่อท้อต่อภูมิประเทศและดินฟ้าอากาศแต่อย่างใด
    จิตใจของท่านจึงมั่นคง ไม่หวั่นไหว มุ่งแต่จะแสวงหาความจริงอันเป็นความจริง ดังคำสอนของพระพุทธรูปองค์ ท่านจึงเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การยกย่องเป็นอย่างยิ่งองค์หนึ่ง
    [​IMG]
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="ประวัติ พระอาจารย์สีทัตถ์ วัดท่าอุเทน นครพนม";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://hits.truehits.in.th/data/i0017685.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT>
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-parn-wat-bang-nom-kho-hist.htm

    [​IMG]
    ประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน)
    วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    คัดลอกจาก http://www.soonphra.com/geji/pan/index.html
    วัดบางนมโคนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ บางท่านก็ว่ามีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดินชื่อวัดนมโค ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2310 ในคราวที่ควันแห่งศึกสงครามกำลังรุมล้อมกรุงศรีอยุธยา พม่าข้าศึกได้มาตั้งค่ายหนึ่งขึ้นที่ตำบลสีกุก ห่างจากวัดบางนมโค ซึ่งย่านวัดบางนมโคนี้มีการเลี้ยงวัวมากกว่าที่อื่นพม่า ก็ได้ถือโอกาสมากวาดต้อนเอา วัว ควาย จากย่านบางนมโคไปเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพ
    ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า บ้านเมืองระส่ำระสาย วัดบางนมโคจึงทรุดโทรมไปบ้างตามกาลเวลา ต่อมาก็ได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ก็ยังมีการเลี้ยงโคกันอยู่อีกมากมาย ชาวบ้านจึงเรียกติดปากว่า วัดบางนมโคอาณาเขตของวัดบางนมโค
    วัดบางนมโคมีเนื้อที่ทั้งหมด 24 ไร่ 21 วา 3 งาน ทิศตะวันออกจดที่ดินเลขที่ 163 ทางสาธารณะประโยชน์ทิศตะวันตกจดที่มีการครอบครองแม่น้ำปลายนา ทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 134 มีการครอบครองแม่น้ำเก่าปลายนา ทิศใต้จดที่ดินเลขที่ 162, 163, 165 ทางสาธารณะประโยชน์
    ลำดับเจ้าอาวาสวัดบางนมโค

    เจ้าอาวาสวัดบางนมโค จะมีกี่รูปไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เริ่มจะมีการบันทึกเป็นหลักฐานก็ตั้งแต่
    1. เจ้าอธิการคล้าย
    2. พระอธิการเย็น สุนทรวงษ์ มรณภาพ ปี พ.ศ. 2478
    3. ท่านพระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน) โสนันโท รับตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 มีโอกาสได้เป็นเจ้าอาวาสได้เพียง 2 ปี ก็มรณภาพลงเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2480
    4. พระอธิการเล็ก เกสโร
    5. พระอธิการเจิม เกสโร
    6. พระมหาวีระ ถาวโร (ฤาษีลิงดำ)
    7. พระอาจารย์อำไพ อุปเสโน
    8. พระครูวิหารกิจจานุยุต (อุไร กิตติสาร) ได้รับการอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน
    ในเมื่อไหนๆ จะคุยกันถึงเรื่องพระเครื่องหลวงพ่อปานแล้ว เราก็จะคุยกันนานๆ แบบถึงกึ๋นพอสมควรไปเลย เผื่อท่านที่กำลังที่จะศึกษา หรือหาพระหลวงพ่อป่านไว้ใช้ซักองค์ ท่านจะได้นำความรู้เล็กๆ น้อยๆ ของผมนำไปประกอบการพิจารณาการเล่นได้บ้างไม่มากก็น้อย
    เมื่อพูดถึงพระเครื่องหลวงพ่อปานแล้ว นับได้ว่าจากอดีตไม่เคยมีพระคณาจารย์รูปใดสร้างพระเครื่องพิมพ์ที่แปลก! ผมขออนุญาตใช้คำว่า "แปลก"ครับ ท่านผู้อ่าน จะแปลกยังไง เราจะค่อยๆ ว่ากันไปเรื่อยๆ
    • • • • • • • • • • • • • •
    ประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ
    (หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ)
    • • • • • • • • • • • • • •
    ชาติภูมิของหลวงพ่อป่าน ท่านได้ถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ 16กรกฎาคม 2418 โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ โดยอาชีพทางครองครัว คือ ทำนา
    สาเหตุที่โยมบิดาขนานนามท่านว่า "ปาน" เนื่องจากท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวคือปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนนิ้วถึงปลายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว
    • • • • • • • • • • • • • •
    หลวงพ่อปานในวัยเด็ก

    • • • • • • • • • • • • • •
    พระมหาวีระ ถาวโร หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปานว่า
    "...ท่าน (หลวงพ่อปาน) บอกว่า สมัยท่านเป็นเด็กอายุสัก 3-4 ขวบ ท่านวิ่งเล่นใต้ถุนบ้าน หลวงพ่อปานท่านเป็นคนบางนมโค และเป็นคนตำบลนั้น ไม่ใช่คนที่อื่น เป็นคนที่มีฐานะค่อนข้างจะมั่งคั่งอยู่สักหน่อย สมัยนั้นเขามีทาสกันที่บ้านท่านก็มีทาส ท่านบอกว่า ท่านวิ่งเล่นอยู่ใต้ถุนบ้านย่าของท่าน ก็ปรากฏว่าย่าของท่านกำลังป่วยหนัก ใกล้จะตาย เวลานั้นก็เห็นจะเป็นเวลาบ่ายสัก 2-3 โมงกว่า ท่านว่าอย่างนั้นโดยประมาณ
    คนทุกคนเขามาเยี่ยมย่า พ่อแม่ของท่านก็ไป เมื่อคนทุกคนขึ้นไปแล้วท่านบอก เห็นร้องดังๆ บอก แม่แม่ อรหันนะ อรหัน ภาวนาไว้ อรหัน พระอรหัน จะช่วยแม่ ก็ร้องกันเสียงดังๆ ท่านอยู่ใต้ถุน ท่านยืนฟังเขาว่าอรหันกันทำไม พอท่านสงสัยก็ย่องขึ้นไปที่หน้าบันไดชานเรือนพอท่านขึ้นไปแล้วก็ปรากฏว่า ผู้อยู่เขาเอาปากกรอกไปที่ข้างหูของคุณย่าท่าน บอกแม่ แม่อรหันนะ อรหัน แต่ว่าพอผู้ใหญ่เขามองเห็นท่านเข้าไป เขาก็ไล่ท่านไปเขาจะหาว่า ไอ้เจ้าเด็กมันรุ่มร่าม ท่านก็เลยไปเล่นใต้ถุนบ้านอื่น พอมาถึงตอนเย็นเวลากินข้าว ท่านแม่ก็ป่าวหมู่เทวฤทธิ์คือ เรียกลูกกินข้าว
    เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้วท่านแม่ก็จัดกับข้าวมาวางกลาง สำหรับตัวท่านเองเป็นเด็ก เขาเอาข้าวใส่จานมาให้แล้วเอาแกงเผ็ด ท่านบอกว่า ไอ้แกงฉู่ฉี่แห้ง ท่านชอบ เขาใส่มาให้เรียกว่า ไม่ต้องหยิบกับข้าว กินแบบประเภทข้าวราดแกง
    เวลาที่ท่านกินเข้าไปแล้วมานั่งนึกว่า กับข้าวมันอร่อยถูกใจ ก็เกิดความชุ่มชื่น พอจิตมันนึกขึ้นได้ว่าเอาบอกอรหัง อรหัง นึกถึงคำว่า อรหัง ขึ้นมาได้ ท่านก็เลยปลื้มใจอย่างไรชอบกล เลยเปล่งวาจาออกมาดังๆ ว่า อรหัง อรหัง ว่า 2- 3 คำ
    ท่านแม่ที่มองตาแป๋วลุกพรวดจับชามข้าวที่ท่านถืออยู่วางไว้ จับตัวท่านวางปังออกไปนอกชาน แล้วร้องตะโกนสุดเสียง "เอ้า มึงจะตายโหง ตายห่าก็ตายคนเดียว มันจะมาว่าอรหังที่นี่ได้รึ? คำว่า อรหัง พุทโธ นี่คนเขาจะตายเท่านั้นแหละเขาว่ากัน นี่ดันมาว่า อรหังที่นี่ ทำเป็นลางร้ายให้คนอื่นเขาพลอยตายด้วย"
    ท่านแปลกใจคิดว่า นี่เราว่าดีๆ นี่แม่ดุเสียงเขียวปัด นี่มันเรื่องอะไรกันในเมื่อถูกแม่ดุอย่างนั้น จะขืนว่าอีกก็เกรงไม้เรียว ก็เลยไม่ว่า
    พอท่านพูดถึงตอนนี้แล้ว ท่านก็หัวเราะบอกว่า "คุณแม่ฉันน่ะโง่นะ ไม่ได้ฉลาดหรอก อีตอนใหม่นั้น ตอนฉันมาบวชได้แล้ว อรหันหรือพุทโธนี้ ถ้าใครภาวนาไว้ เป็นวาจาที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด ถ้าใครภาวนาคำนี้ได้ตกนรกไม่ได้...แต่ว่าแม่ของฉันนี่ท่านไม่รู้ ก็เป็นโทษเพราะไม่ได้รับการศึกษา แต่ว่าไม่เป็นหรอก ตอนหลังที่ฉันบวชแล้วนี่นะ ฉันกลับใจแม่ของฉันได้ ฉันแนะนำให้ท่านทราบแล้ว เวลาท่านตายท่านก็ยึดพุทโธ อรหันเป็นอารมณ์ แต่ไม่ได้ยึดเวลาตาย ฉันให้ท่านว่าทุกวัน....
    สมัยก่อน เมื่อลูกชายมีอายุครบบวช ก็จะทำการอุปสมบท ทางบิดามารดาจะต้องส่งบุตรของตนไปอยู่วัดเพื่อรับการอบรม และท่านขานนาคเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน เป็นอย่างน้อยท่านเองมีความสงสัยในใจว่า เหตุไฉนสตรีเพศจึงดึงดูดบุรุษเพศมากมายนัก ทำให้หลงใหลใฝ่ฝัน ตัวท่านเองก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงมาก่อน จึงคิดว่าจะหาวิธีลองของจริงดูว่าเป็นอย่างไรถ้าดีจริงบวชครบพรรษาจะสึกออกมา ถ้าไม่เป็นจริงตามวิสัยโลกก็จะไม่สึก
    ที่บ้านของท่านมีคนรับใช้อยู่คนหนึ่ง เรียกกันว่า ทาส ชื่อว่า พี่เขียว อายุประมาณ 25 ปี ตอนกลางวันอยู่ด้วยกันสองคน ท่านเกิดสงสัยเนื้อผู้หญิงขึ้นมา บอกว่าตั้งแต่เกิดมานอกจากเนื้อแม่กับเนื้อพี่แล้ว ไม่เคยจับเนื้อใคร ท่านคิดว่าเนื้อผู้หญิงมันดียังไงผู้ชายถึงได้อยากกันนัก บางทีถึงกับฆ่ากันเลย ก็สงสัยว่าจะบวชแล้วนี่ ถ้ามันดีจริงแล้วก็จะสึก ถ้าไม่ดีก็จะไม่สึกละ
    เมื่อคนว่างก็เข้าไปหาพี่เขียว พี่เขียวแกอยู่ในครัวทาส แต่ว่าท่านเรียกพี่ในฐานะที่เขาแก่กว่าตัว ยกมือไหว้บอกว่า "พี่เขียว ขออภัยเถอะ ฉันขอจับเนื้อพี่เขียวดูหน่อยได้ไหมว่า เนื้อผู้หญิงน่ะมันดียังไง เขาถึงชอบกันนัก"
    พี่เขียวก็แสนดี อนุญาต ท่านก็เลือกจับเนื้อกล้าม เขาเรียกว่า กล้ามเนื้อที่หน้าอก ผู้หญิงนี้มีกล้ามเนื้อพิเศษอยู่ที่กล้ามเนื้อ 2 กล้ามที่หน้าอก แต่ไม่ได้จับมาหรอก จับตรงนั้น แต่ก็ไม่ได้ลวนลามไปถึงไหน จับๆ แล้วก็มาจับน่อง เอ๊! มันคล้ายกัน บอกพี่เขียวว่านี่มันคล้ายกันนี่ พี่เขียวแกก็บอกว่าเป็นอย่างนั้นมันก็คล้ายกัน แล้วท่านก็ถามพี่เขียวว่า ทำไมผู้ชายเขาถึงชอบเนื้อผู้หญิงนัก ดันไปถามผู้หญิงได้ นี่ว่ากันอย่างเราๆนะ แล้วเขาจะตอบอย่างไร เขาก็บอกไม่รู้เหมือนกัน แล้วท่านก็ยกมือไหว้ขอขมาพี่เขียวบอกว่า "ขอโทษ ที่ขอจับเนื้อนี่ไม่ได้ดูถูกดูหมิ่น อยากจะพิสูจน์เท่านั้นว่ามันดีอย่างไร" เมื่อท่านหมดความสงสัยในใจแล้วก็ตกลงใจว่าจะบวช คราวนี้จะไม่ขอสึกหาลาเพศ ก็สมจริงกังที่ท่านตั้งใจทุกประการ
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สู่ร่มกาสาวพัสตร์

    • • • • • • • • • • • • • •
    หลังจากที่โยมมารดาบิดาได้นำท่านมาฝากไว้กับหลวงปู่คล้าย ให้ฝึกหัดขานนาคให้คล่องแคล่วแล้ว ท่านก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2438 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม โดยมี
    หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า "โสนันโท"
    • • • • • • • • • • • • • •
    หลวงพ่อปานเรียนวิชา

    • • • • • • • • • • • • • •
    หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้วหลวงพ่อปานท่านก็ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์คือ หลวงพ่อสุ่น ด้วยความสนใจใคร่ศึกษา เพราะว่าในสมัยนั้นหลวงพ่อสุ่นท่านเป็นพระที่แก่กล้าทางคาถาอาคมและรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อตามไปเล่าเรียนเป็นศิษย์แล้ว หลวงพ่อสุ่นเห็นลักษณะของหลวงพ่อป่านว่ามีลักษณะดี จะได้เป็นครูบาอาจารย์ต่อไปภายภาคหน้า จึงได้ให้สติหลวงพ่อปานเบื้องต้นในหน่ายกิเลสว่า
    1. อย่าอยากรวย อยากมีลาภได้ ทรัพย์มาแล้วดีใจ ตั้งหน้าสะสมทรัพย์
    2. เป็นอย่างต้นแล้ว เมื่อทรัพย์หมดก็เป็นเหตุให้เสียใจ
    3. อยากมียศฐาบรรดาศักดิ์ ได้ยศมาแล้วปลื้มใจ
    4. เมื่อหมดยศไปแล้วก็เสียใจ
    5. ได้รับคำสรรเสริญแล้วยินดี
    6. มีความสุขความเพลิดเพลินในกามารมณ์
    8. เมื่อมีความทุกข์ก็หวั่นไหวท้อแท้ใจ
    จากเพศฆราวาสมาสู่เพศบรรพชิตแล้วอย่าหวังรวย ถ้ารวยแล้วไม่ใช่พระ พระต้องรวยด้วยบุญญาบารมี เงินที่ได้มาอย่าติด จงทำสาธารณประโยชน์เสียให้สิ้น เหลือกินเหลือใช้แต่พอเลี้ยงอาตมาอย่าหวังในยศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่รับยศไม่ได้แล้ว ก็อย่าเมายศฐาบรรดาศักดิ์ มันเป็นเครื่องถ่วงกิเลส ยศลาภสรรเสริญ ความสุขในกามารมณ์ มันเป็นตัวกิเลส มันเป็นโลกธรรม ต้องตัดออกให้หมด ถ้าพอใจในสี่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่พระ จะพาให้สู่ห้วงนรก จ้องระลึกอยู่เสมอว่า เราบวชเพื่อนิพพาน อย่างที่กล่าวในตอนขออุปสมบทครั้งแรกว่า "นิพพานัสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวังคะ เหตะวา" อันหมายความว่า เราขอรับผ้ากาสาวพัตร์เพื่อให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สั่งให้ท่องสวดมนต์ตลอดจนคาถาธาตุทั้งสี่ คือ นะ มะ พะ ทะ ให้ว่า ถอยหลังแล้วเป่าให้กุญแจหลุด ถ้าเจ้าเป่าหลุดแล้วบอกพ่อ จะให้วิชาต่างๆ ให้หมดไม่ปิดบัง
    นี่คือการฝึกสมาธิจิตที่หลวงพ่อสุ่นสอนหลวงพ่อปานทางอ้อม คือถ้าจิตไม่มีสมาธิแล้วอย่าหวังเลยว่า ด้วยคาถาเพียงสี่ตัวจะดีกว่าลูกกุญแจได้ หลวงพ่อป่านท่านก็มีความอดทน หมั่นฝึกเป่ากุญแจนานเป็นเดือน เป่าเท่าไหร่ก็ไม่หลุด มาหลุดเอาตอนที่ท่านทำใจสบายเป็นสมาธิ นึกถึงคาถาเป่ากุญแจได้ จึงลุกขึ้นมาเป่ากุญแจ
    คราวนี้กุญแจหลุดหมด ทดลองกับลูกอื่นๆ ก็หลุด เพิ่มกุญแจขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 40 ดอก แขวนไว้บนราว ก็หลุดหมด แล้วจึงทดลองให้หลวงพ่อสุ่นดูจนพอใจ
    หลังจากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สอนวิปัสสนาให้แก่หลวงพ่อปาน ตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงที่สุด ด้วยความเมตตา หลวงพ่อ ปานในตอนท้ายว่า เมื่อมีฤทธิ์แล้วอย่าแสดงให้คนอื่นเขาเห็นเป็นการอวดดี จะเป็นโทษตามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้
    จบจากวิปัสสนาแล้วหลวงพ่อสุ่นยังได้ถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณให้ ซึ่งหลวงพ่อปานก็ได้อาศัยใช้ช่วยชีวิตผู้ได้รับทุกข์ทรมานให้หายมามากต่อมาก จนท่านได้ชื่อว่าเป็น "พระหมอ"
    หลวงพ่อสุ่นสอนว่า "การเป็นหมอนั้น บังคับไม่ได้ให้คนตายไม่ได้หมอเป็นเพียงช่วยระงับทุกข์เวทนาเท่านั้น"
    จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็ถ่ายทอดกสิณต่างๆ ให้หลวงพ่อปานจนกระทั่งสิ้นความรู้
    • • • • • • • • • • • • • •
    องค์อาจารย์ของหลวงพ่อปาน

    • • • • • • • • • • • • • •
    การเรียนวิชาของหลวงพ่อปานนั้น พอจะรวบรวมได้ดังนี้
    เรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิชาแพทย์ จากหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ
    เรียนวิชาปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ดกับพระอาจารย์จีน ด้วยเหตุที่หลวงพ่อสุ่นท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงแนะนำให้มาเรียนปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน
    จากปากคำของชาวบ้านแถบวัดเจ้าเจ็ด และผู้ที่เคยไปเรียนกับพระอาจารย์จีนได้ให้ปากคำตรงกันว่า พระอาจารย์จีนเป็นคนโมโหร้าย เวลาโมโหแล้วยั้งไม่อยู่ ปากว่ามือถึง
    ดังนั้น เวลาสอนใคร ถ้าลูกศิษย์ทำไม่ถูกต้องตามใจที่สอนไปแล้ว กลัวว่าจะไปทำร้ายลูกศิษย์เข้า ท่านจึงได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นสำหรับขังตัวท่านเองเวลาสอนหนังสือ โดยให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้
    เวลาสอนหนังสือลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียนหรือตอบคำถามไม่ถูกต้องทำให้อาจารย์จีน ท่านก็จะโมโหโกรธาเอามือจับลูกกรงเหล็กเขย่าจนลูกศิษย์ที่เรียนตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอท่านคลายโทสะลงแล้ว ท่านก็กลายเป็นพระอาจารย์จีนรูปเดิม
    หลวงพ่อปานท่านมีความมานะพยายามเป็นที่ตั้ง ท่านต้องพายเรือมาเรียนหนังสือที่วัดเจ้าเจ็ดทุกวัน เวลาพายเรือไปเรียนท่านก็จะท่องพระปาฏิโมกข์ และบนเรียนที่อาจารย์สอนจนขึ้นใจ พอเวลาเรียน อาจารย์ถามอะไรก็ตอบได้ถูกต้อง เป็นที่พอใจแก่อาจารย์ยิ่ง
    ในที่สุดพระอาจารย์จีนก็สิ้นความรู้ที่จะสอนให้ท่านท่านจึงหยุดเรียนและเตรียมตัว สำหรับที่จะหาสำนักเรียนใหม่ หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกันต์ตามคำบอกเล่าของพระภิกษุเลี่ยมว่า หลวงพ่อปานได้เรียนรู้วิชามาหลายอย่างเคยพิมพ์คาถาออกแจกด้วย
    เมื่อเห็นว่าพระอาจารย์จีนไม่มีความรู้ที่จะสอนได้อีกต่อไป ท่านจึงคิดเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นแหล่งรวมวิชาต่างๆ ท่านจึงได้ไปเรียนให้โยมมารดาของท่านได้รับทราบว่า จะขอลาไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เพราะว่าที่นี่หาอาจารย์สอนไม่ได้อีกแล้ว
    โยมมารดาท่านเป็นห่วงว่าท่านเป็นบุตรคนเล็กที่มีอยู่ นอกนั้นออกเรือนไปหมดแล้ว อีกทั้งไม่ญาติโยมทางกรุงเทพฯ จึงขอร้องไม่ให้ไป ท่านจึงลากลับวัดด้วยความเด็ดเดี่ยว ท่านตัดสินใจนำจีวรแพรที่โยมมารดาถวายไว้นำไปขายได้เงินแปดสิบบาท แล้วตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯ โดยไม่บอกให้โยมมารดารู้ จะให้รู้ก็กลัวจากลงเรือไปแล้ว จึงเข้าไปกราบนมัสการ หลวงปู่คล้าย(เจ้าอาวาสวัดบางนมโคสมัยนั้น)ว่าจะไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ หลวงปู่คล้าย จึงแนะนำให้ไปเรียนกับ พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ โดยมอบเงินช่วยเหลือไปอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นทุนในการศึกษาเล่าเรียน
    ตลอดเวลาท่านจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์เจิ่น ท่านได้พยายามหาความรู้เพิ่มเติม ในด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม ซึ่งต่อมาเมื่อท่านกลับมาวัดบางนมโค ปรากฏว่าท่านเป็นพระธรรมกถึกที่เทศนาได้เพราะจับใจ และดึงดูดศรัทธายิ่งนัก
    นอกจากวัดสระเกศแล้ว ท่านยังได้มาเรียนเพิ่มเติมที่วัดสังเวช และที่อื่น จนมีความรู้ทางด้านแพทย์แผนโบราณแตกฉานอีกด้วย
    จากข้อความในหนังสือ อนุสรณ์ครบ 101 ปี หลวงพ่อปาน เขียนไว้ว่า
    "หลวงพ่อปานเคยเล่าให้ฟังว่าระหว่างอยู่ที่วัดสระเกศนั้น อัดคัตมากบิณฑบาตบางครั้งก็พอฉัน บางครั้งก็ไม่พอ ได้แต่ข้าวเปล่าๆ จ้องเด็ดยอดกระถินมาจิ้มน้ำปลา น้ำพริก ฉันแทบทุกวัน แต่ท่านก็อดทน ด้วยรับการอบรมเป็นปฐมมาจากพระอุปัชฌาย์คือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ ท่านว่าอยู่กรุงเทพฯ 3 ปี ได้ฉันกระยาสารทเพียงครั้งเดียว โดยนางเฟือง คนกรุงเทพฯ นำมาถวาย ได้รับนิมนต์ไปบังสุกุลครั้งหนึ่งได้ปัจจัยมาหนึ่งสลึง เจ้าหน้าที่สังฆการีก็มาเก็บเอาไปเสียเลยไม่ได้ใช้เงินที่ติดตัวไป ท่านก็ใช้จ่ายไปในการศึกษาจนเกือบหมด ท่านเหลือไว้หนึ่งบาท เอาไว้ใช้เมื่อมีความจำเป็นสุดยอดเท่านั้น
    ด้วยความอดทนของท่าน ในปีสุดท้ายที่ท่านจะกลับวัดบางนมโคนั้นเอง คืนหนึ่งท่านได้ยินเสียงคนเคาะหน้ากุฏิ ท่านเปิดออกไปก็เจอเทวดามาบอกหวยแล้วเขียนให้ดู แล้วย้ำว่าจำได้ไหม ท่านก็ตอบว่าจำได้
    ท่านนอนคิดจนนอนไม่หลับ พอรุ่งเช้าแทนที่ท่านจะแทงหวย ท่านกลับเห็นว่า นั่นไม่ใช่กิจของสงฆ์ตามที่หลวงพ่อสุ่นได้อบรมไว้ ท่านก็ไม่แทง ปรากฏว่าวันนั้นหวยออกตรงตามที่เทวดาบอกถ้าท่านแทงหวย ก็คงจะรวยหลาย
    ท่านอาจารย์แจง ฆราวาสชาวสวรรคโลก จากบันทึกของท่านฤาษีลิงดำว่า ท่านอาจารย์แจง เป็นฆราวาสสวรรคโลก ได้เดินทางล่องลงมาทางใต้ ถึงวัดบางนมโค มาเลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงพ่อปาน จึงได้สอนให้รู้ถึงวิธีการปลุกเสกพระ และวิธีสร้างพระตามตำรา ซึ่งเป็นของพระร่วงเจ้าได้รับการสืบทอดมาจากอาจารย์ซึ่งเขียนไว้ว่า
    "ข้าพเจ้าได้รักษาตำราของพระอาจารย์ไว้แล้วก็ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทุกอย่าง วิชาต่างๆ มีผลดีทุกประการ ถ้าบุคคลใดได้พบแล้วจะนำไปใช้ให้บูชาพระอาจารย์ของท่านแต่มิได้ระบุว่าเป็นใคร"
    ท่านอาจารย์แจงได้นิมนต์หลวงพ่อปานไปในโบสถ์ตามลำพัง เพื่อถ่ายทอดวิชา ซึ่งนอกจากวิชาการปลุกเสกพระ และทำพระแล้ว ยังได้ มหายันต์ เกราะเพชร ซึ่งท่านก็ได้ใช้ยันต์เกราะเพชรนี้สงเคราะห์ผู้คนได้มากมาย
    หลวงพ่อเนียมวัดน้อย อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จากหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน บันทึกโดยท่านฤาษีลิงดำเขียนไว้ว่า "หลวงพ่อปานนิยมพระกัมมัฏฐาน หมายความว่า สิ่งที่ท่านต้องการที่สุด และปรารถนาที่สุดคือ พระกัมมัฏฐาน เรื่องพระกัมมัฏฐานนี้เป็นชีวิตจิตใจของหลวงพ่อปานจริงๆ ท่านเทิดทูนพระกัมมัฏฐานมาก ทั้งๆ ที่ทรงสมาบัติอยู่แล้ว ความอิ่ม ความเบื่อ ความพอใจในพระกัมมัฏฐานของท่านก็ไม่มี ท่านก็มีการทุรนทุราย ปรารถนาจะเรียนพระกัมมัฏฐานให้มันดีกว่านั้น
    สมัยนั้นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นพิเศษในสมัยนั้นนะ สายอื่นฉันไม่ทราบก็มีหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี สมัยนั้นเรือยนต์มันก็ไม่มี ถ้าจะไปก็ต้องไปเรือแจว ถ้าไปเรือ แต่ทว่าทางเดินสะดวกกว่าเดินลัดทุ่งลัดนาลัดป่าไป ป่าก็เป็นป่าพงส่วนใหญ่ ท่านก็ใช้วิธีธุดงค์
    สมัยนั้นวิธีธุดงค์เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เรียนกว่า ใกล้ค่ำที่ไหนปักกลดที่นั่น ชาวบ้านเขาเลี้ยงตอนเช้า ฉันอิ่มแล้วก็ไปกัน พระธุดงค์ฉันเวลาเดียว
    ท่านบอกว่า เวลาที่ถึงวัดน้อยเขาร่ำลือกันว่า หลวงพ่อเนียมนี่เก่งมาก ท่านก็เข้าไปหาหลวงพ่อเนียม เข้าไปหานะไม่รู้จักหลวงพ่อเนียมหรอก ความจริงท่านก็คิดว่าหลวงพ่อเนียมท่านจะเป็นเหมือนหลวงพ่อองค์อื่นๆ ที่ท่านมีชื่อเสียงมาก นุ่งสบง จีวร เป็นปริมณฑล แล้วก็มักจะนั่งเฉยๆ ดีไม่ดีหลับตาปี๋ ก็หลับขยิบๆ เรียกว่าหลับไม่สนิทล่ะ คือ แกล้งหลับตาทำเคร่ง
    ที่นี้เวลาหลวงพ่อปานไปหาหลวงพ่อเนียม ก็ไปโดนดีเข้า เข้าไปแล้วเจอะหลวงพ่อเนียมที่ไหน ความจริงหลวงพ่อเนียมก็เดินคว้างๆ อยู่กลางวัดนั่นแหละ มีผ้าอาบน้ำ 1 ผืน ที่ชาวบ้านเขาเรียกว่า ผ้าอาบน้ำฝน สีเหลือง ผ้าอีกผืนแบบเดียวกันคล้องคอเดินไปรอบวัด
    หลวงพ่อปานก็บอกว่า เมื่อท่านเห็นนะ ก็ไม่รู้หลวงพ่อเนียนเห็นพระแก่ๆ ผอมๆ นุ่งผ้าลอยชายผืนหนึ่งเข้าไปถึงก็กราบๆ
    หลวงพ่อปานบอกว่า "เกล้ากระผมมาจากเมืองกรุงเก่าขอรับกระผมจะมานมัสการหลวงพ่อ ขอเรียนพระกัมมัฏฐาน" หลวงพ่อเนียมก็ทำท่าเป็นโมโห บอกว่า ไม่มีวิชาอะไรจะสอนพร้อมทั้งกล่าวขับไล่ไสส่งออกจากวัด หลวงพ่อปานก็นั่งทนฟังอยู่ ในที่สุดเห็นท่าจะไม่ได้เรื่องก็เลี้ยวหาพระในวัด ไปขออาศัยนอน แล้วก็ถามว่า พระองค์นั้นน่ะชื่ออะไร พระท่านก็บอกว่า องค์นี้แหละชื่อ หลวงพ่อเนียมล่ะ
    พอวันรุ่งขึ้น หลวงพ่อปานก็เข้าไปหา ก็ถูกด่าว่าอีกอย่างหนัก ท่านยืนยันจะเรียนให้ได้ หลวงพ่อเนียมเลยสั่งว่า 2 ทุ่ม ให้นุ่งสบงจีวรคาดสังฆาฎิไปหาในกุฏิ
    พอตอนกลางคืน หลวงพ่อปานเข้าไปหาท่าน ปรากฏว่ารูปร่างท่านผิดไปมาก ผิวดำ ผอมเกร็งแบบเก่า ไม่มีทางนุ่งสบงจีวรพาดสังฆาฏิเหลืองอร่ามผิวกายสมบูรณ์ร่างกายก็สมบูรณ์หน้าตาอิ่มเอิบ รัศมีกายผ่องใส่ สวยบอกไม่ถูก
    หลวงพ่อปานตรงเข้าไปกราบ 3 ครั้งแล้วก็นั่งมอง ท่านก็นั่งมองยิ้มๆ แล้วท่านก็ถามว่า "แปลกใจรึคุณ" หลวงพ่อป่านก็ยกมือนมัสบอกว่า "แปลกใจขอรับหลวงพ่อรูปร่างไม่เหมือนตอนกลางวัน" ท่านก็บอกว่า "รูปร่างน่ะคุณมันเป็นอนัตตา หาความเที่ยงแท้ไม่ได้ มันจะอ้วนเราก็ห้ามไม่ได้มันไม่มีอะไรห้ามได้เลยที่คุณ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนอนิจจัง เห็นไหม ไปเจอตัวอนิจจังเข้าแล้วซิ"
    หลวงพ่อปานบอกว่า ตอนนี้ล่ะเริ่มสอนกัมมัฏฐาน อธิบายไพเราะจับใจฟังง่ายจริงๆ พูดได้ซึ้งใจทุกอย่าง เวลาท่านพูดคล้ายๆ ว่าจะบรรลุพระอรหันตผลไปพร้อมๆ ท่าน ท่านสอนได้ดีมาก พอสอนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็บอกให้ไปพักที่กุฏิอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับกุฏิของท่าน แล้วเวลาทำกัมมัฏฐานกลางคืน หลวงพ่อปานวางอารมณ์ผิดท่านจะร้องบอกไปทันที บอก "คุณปานเอ๊ย คุณปาน นั่นคุณวางอารมณ์ผิดแล้วตั้งอารมณ์เสียใหม่มันถึงจะใช้ได้"
    นี่หลวงพ่อปานบอกว่า ท่านมีเจโตปริยญาณแจ่มใสมาก ท่านเรียนพระกัมมัฏฐานอยู่กับหลวงพ่อเนียม 3เดือน แล้วจึงกลับก่อนหลวงพ่อปานจะกลับ หลวงพ่อเนียมก็บอกว่า
    "ถ้าข้าตายนะ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เขาแทนข้าได้ ถ้ามีอะไรสงสัยก็ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน"
    หลวงพ่อปานได้เรียนคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อช่วงตอนปลายของชีวิต คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ท่านไปเรียนกับ ครูผึ้ง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนั้น ครูผึ้ง เป็นฆราวาส อายุ 99 ปี เพราะได้ข่าวว่าครูผึ้งเป็นคนพิเศษ เวลาขอทานมาขอให้คนละ 1 บาท สมัยนั้นเงิน 1 บาท มีค่ามาก เงิน 100 บาท 200 บาท สามารถสร้างบ้านได้ 2 หลัง มีครัวได้ 1 หลัง เวลาทำบุญแกจะช่วยรายละ 100 บาท ไม่ใช่เงินเล็กน้อย
    เมื่อทราบข่าว หลวงพ่อจึงไปขอเรียนกับแก คาถาปัจเจพุทธเจ้านี้เรียกว่า คาถาแก้จน ท่านได้เรียนมาและพิมพ์แจกเป็นทานแก่สาธุชนนำไปปฏิบัติและมีผลดีจบสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้
    • • • • • • • • • • • • • •
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    กลับมาตุภูมิ

    • • • • • • • • • • • • • •
    หลังจากที่หลวงพ่อปานได้เสร็จสิ้นการเรียนจากกรุงเทพฯ แล้วท่านก็หวนคิดถึงโยมมารดาที่ท่านจากมาถึง3 ปี จึงเดินทางกลับวัดบางนมโค พร้อมกับความรู้ที่ได้รับมา
    ท่านได้ระลึกถึงว่า การเล่าเรียนของท่านที่ลำบากมาก จึงอยากจะจัดสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรและบุตรธิดาชาวบางนมโค ให้มีความรู้ จึงนิมนต์พระภิกษุเกี้ยว ที่อยู่สำนักเดียวกับท่านมาด้วย เพื่อจัดสอนหนังสือเมื่อมาถึงแล้วท่านก็นำมากราบนมัสการหลวงปูคล้าย และได้ไปหาโยมมารดาให้ได้ชมบุญ
    • • • • • • • • • • • • • •
    อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน

    • • • • • • • • • • • • • •
    จากปากคำของผู้ทราบเคยอยู่ใกล้ชิดกับท่าน และเรื่องเล่าสืบต่อกันมาพอจะอนุมานได้ดังนี้
    จากบันทึกของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ บันทึกไว้ว่า "หลวงพ่อปานท่านมีลักษณะของชายชาตรีที่มีผิวพรรณขาวละเอียด ลักษณะสมส่วนเสียงดังกังวานไพเราะมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสชวนให้ศรัทธาปสาทะเป็นอย่างยิ่ง ดวงตาบ่งบอกถึงความเมตตาปรานีในสัตว์โลกทั้งหลาย ต้อนรับผู้คนที่มาหาไม่เลือกเศรษฐี ผู้ดี ไพร่ ใครไปก็ไต่ถาม ว่ากันว่าถ้าหลวงพ่อพูดจากับผู้ใดแล้วนั้น มักจะจับจิตจับใจที่ใจชั่วมั่วเมามาก็กลับตัว แม้แต่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาก็ยังหันมานับถือพระพุทธศาสนา"
    ตลอดเวลาท่านจะไม่แสดงทีท่าว่าเหน็ดเหนื่อยหรือทำให้ผู้ที่มาหาเสื่อมศรัทธาเลย วันหนึ่งๆ จะมีคนมาหาท่าน เพื่อขอความช่วยเหลือนับเป็นจำนวนร้อยๆ คน ไหนจะให้รดน้ำมนต์ไหนจะต้องพ่น ไหนจะขอยา ไหนจะมาปรึกษาถึงเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ บางคนก็เรียกว่า หลวงพ่อบางคนเรียกว่าหลวงปู่บ้าง เป็นเราๆท่านๆน่ากลัวจะนั่งไม่ทน เพราะตั้งแต่เพลจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 4 หรือ 5 ทุ่ม นั่นแหละท่านถึงจะพักผ่อน และเป็นอย่างนี้อยู่ประจำทุกวัน จนกระทั่งท่านมรณภาพ
    "ท่านไม่ยินดียินร้ายในทางโลกธรรมแต่ประการใด คงปฏิบัติธรรมเหมือนพระแก่ๆ รูปหนึ่งที่ไม่ต้องการยศบรรดาศักดิ์หรือชื่อเสียงดีเด่นแต่อย่างใด ท่านคงหวังแต่ทำหน้าที่ให้ความสุขสบายแก่พระสงฆ์และชาวบ้านทั่วไปตามกำลังความสามารถเท่านั้น
    ด้วยความไม่ติดอยู่ในยศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านจึงได้ปฏิเสธตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางนมโค กล่าวคือ เมื่อหลวงปู่คล้ายเจ้าอาวาสวัดบางนมโครูปก่อนมรณภาพลง ทายกทายิกาพระภิกษุสงฆ์ได้พร้อมใจกันอาราธนาท่านขึ้นครองวัดบางนมโคแทน ท่านก็ไม่รับท่านให้เหตุผลว่า ท่านหน่ายเสียแล้วจากกิเลสอันจะมาเป็นเครื่องขวางกั้นทางพระนิพพาน กลับแนะนำท่านสมภารเย็น ซึ่งเวลานั้นเป็นพระลูกวัดธรรมดาขึ้นรับตำแหน่งแทน ส่วนท่านขอเป็นพระลูกวัดต่อไปอย่างเดิม
    ด้วยความที่ท่านได้เสริมสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นบางนมโคและสถานที่อื่นๆ มากมาย โดยไม่ได้หวังจะได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์ตอบแทนแม้ว่าจะมีเชื่อพระวงศ์ชั้นสูง จะมาเป็นลูกศิษย์ของท่านอยู่มากมายก็ตาม
    ในที่สุดความดีของท่าน ทางฝ่ายบ้านเมืองจึงตอบแทนความเป็นผู้เสียสละของท่านด้วยการมอบถวายสมณศักดิ์ให้แก่ท่านเป็นที่ "พระครูวิหารกิจจานุการ" ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2474 โดยมี
    1. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ
    2. พระวรวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ
    3. หม่อมเจ้าโฆษิต
    4. หม่อมเจ้านภากาศ
    5. ท้าววรจันทร์
    ข้าราชการและบรรดาสานุศิษย์ของท่านได้นำพัดยศพระราชทานมาให้ท่านถึงที่วัด โดยนำไปมอบให้ท่านในพระอุโบสถ ตามพระบรมราชโองการท่านกลางคณะสงฆ์และชาวบ้านต่างแซ่ซ้องสาธุการกันถ้วนหน้า
    แต่หลวงพ่อปานเองท่านก็วางเฉยด้วยอุเบกขา และแม้จะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นที่พระครูวิหารกิจจานุการแล้ว ท่านเองก็ยังคงเป็นหลวงพ่อปานรูปเดิม ปฏิบัติกิจวัตรอย่างที่แล้วๆ มา แต่ผู้ที่ยินดีที่สุดกลับเป็นบรรดาศิษยานุศิษย์
    • • • • • • • • • • • • • •
    หลวงพ่อปานรักษาโรค

    • • • • • • • • • • • • • •
    ในเรื่องการรักษาโรคช่วยชีวิตคนของหลวงพ่อปาน เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น ผู้คนต่างแห่กันมาที่วัดจนแน่นขนัด จนไม่มีที่รับรองแขกเพียงพอ
    วิชาการรักษาโรคและวิชาการบางอย่างที่หลวงพ่อปานสำเร็จและนำมาช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์ เท่าที่เกิดปาฏิหาริย์และได้รับการบันทึกไว้มีมากมาย ตัวอย่างเช่น รักษาโรคด้วยน้ำมนต์ โรคที่ท่านรักษาด้วยน้ำมนต์ เรียกว่าโรคภายใน เช่น บางคนถูกของ ถูกคุณ ถูกเขากระทำมา โรคที่เกิดจากกรรมเวร ถูกผีสิง เป็นต้น บางครั้งก็ต้องแป้งเสกควบคู่ด้วย
    ในตอนเพล ขณะที่ท่านพักผ่อนท่านจะทำการเสกน้ำมนต์เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อเวลาอาบจะได้สะดวก และท่านได้ใช้เวลาในการอาบนั้นบริกรรมเสกเป่าเฉพาะรายอีกด้วย
    น้ำมนต์ของท่านนี้ศักดิ์สิทธิ์นักและกรรมวิธีในการรักษาโรคด้วยน้ำมนต์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วยระยะ คือ
    ช่วงแรก ท่านจะเรียกคนไข้มาหาแล้วถามชื่อเสียงเรียงนาม ถามอาการแล้วยื่นหมากให้คำหนึ่ง คาถาที่ใช้เสกหมากนี้ท่านบอกผู้ใกล้ชิดว่า ใช้ดังนี้จะขลังหรือไม่อยู่ที่จิตของผู้ทำ
    "ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วว่า โสทาย นะโม พุทธายะ ลัมอิทังโล นันโทเทติ ยาทาโลเทตีติ"
    เมื่อคนไข้ได้รับหมากเสกแล้วให้เคี้ยวให้แหลก บ้วนน้ำหมากทิ้งเสียสามที กลืนลงคอไป ให้คนไข้สังเกตุดูว่าหมากนั้นมีรสอะไร แล้วบอกหลวงพ่อปาน จากนั้นก็จะทำการรักษาตามวิธีของท่าน
    หลวงพ่อปานท่านบอกว่า รสหมากนั้นบอกโรคได้ดังนี้
    รสเปรี้ยว แสดงว่าต้องเสนียดที่อยู่อาศัย เข้ามาเกี่ยวข้อง คือมีของต้องห้ามอยู่กับบ้าน เช่น มีไม้ไผ่ผูกส่วนต้นสาวนปลายอยู่ในบ้าน มีตออยู่ใต้ถุนบ้าน ที่เรียกว่า ปลูกเรือนคล่อมตอ หรืออย่างอื่น ต้องจัดการเรื่องนี้เสียก่อนแล้วจึงรักษาหาย ส่วนมากแล้วหลวงพ่อปานจะใช้ญาณดูแล้วบอกว่ามีอย่างไหนบ้าง ให้แก้เสียก่อน
    รสหวาน แสดงว่าต้องแรงสินบนอย่างใดอย่างหนึ่ง คนไข้หรือคนในบ้านบนไว้ต้องนึกให้ออกว่า ตนเคยบนบานศาลกล่าวอะไรบ้าง ถ้านึกได้ผู้ป่วยไข้จะต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนไปจุดบูชากลางแจ้ง ขอทำการแก้บนให้ถูกต้องในภายหน้าต่อไป
    เมื่อกลับมาหาท่าน ท่านจะรดน้ำมนต์ให้ รดแล้วจะต้องให้กินหมากเสกอีกว่า หมดสิ้นหรือยัง ถ้าไม่มีรสหวานก็หมดแล้ว ถ้ายังหวานอยู่ก็ต้องนึกดูก็ต้องแก้บนอีก แล้วจึงรักษาหาย
    รสขม แสดงว่าต้องคุณคน คือถูกของที่มีผู้ใช้เดียรัจฉานวิชานำมาไว้ในตัว เช่น ในท้องมีตะปูบ้าง มีเข็มเย็บผ้าบ้าง ไม้กลัดผูกกากบาทบ้าง ด้ายตราสังข์มัดศพ เปลวหมูบ้าง หนังสัตว์บ้าง
    ของเหล่านี้จะทำให้คนไข้เจ็บปวดเสียดแทงในร่างกายเป็นที่ทรมานนัก คนไข้ประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นหญิง ที่เป็นชายมีน้อย โดยมากพวกนี้มักจะรับจ้างทำร้ายผู้อื่น หรือไม่ก็ปล่อยไปตามยถากรรม ถูกใครก็เจ็บไป ทำร้ายใครไม่ได้ก็กลับมาเข้าตัวเอง เคยมีแขกผู้หนึ่งถูกของของตัวเอง หลวงพ่อปานท่านแก้ให้แล้วขอสัญญา ให้เลิกอาชีพนี้เสีย
    คนไข้ประเภทนี้ หลวงพ่อท่านจะเสกน้ำมนต์พิเศษใส่กระป๋องน้ำ เพื่อให้คนที่แช่เท้าทั้งสองข้างไว้ เพื่อเวลารดน้ำมนต์ ของที่อยู่ในตัวจะได้หลุดออกมาทางเท้าอยู่ในกระป๋องน้ำมนต์
    มีอาการยันหมาก มึนงงศีรษะเวียนศีรษะ อย่างนี้หลวงพ่อท่านว่าถูกคุณผี คือมีอาการใช้ผีมาเข้าสิง คนไข้นั้นจะสำแดงอาการกิริยาผิดปกติ ถ้าผียังสิงอยู่ จะไม่ยอมกินหมากเสกหลวงพ่อ ต้องใช้อำนาจจิตบังคับให้กิน ถ้าผีแกล้งออกไปชั่วระยะ คนไข้จะยอมกินหมากแล้วมีอาการยันหมาก ผีประเภทนี้ เป็นผีตายโหง ที่มีผู้มีวิชานำวิญญาณมาใช้ทำอันตรายคนทำให้เสียสติเพ้อคลั่ง เสียคน เป็นต้น
    คนไข้ประเภทนี้ หลวงพ่อปานท่านจะทำน้ำมนต์พิเศษจากพระดินเผาของท่านเอง ซึ่งท่านมักจะใส่ในกระเป๋าอังสะของท่านอยู่เสมอ เพื่อทำน้ำมนต์ให้คนไข้อาบ และใช้มีดหมอของท่านกดกลางศีรษะ และรดน้ำมนต์คนไข้นั้นเรื่อยไปจนกว่าผีจะออก ถ้าดิ้นรนก็ต้องมีคนมาช่วยจับและรดน้ำมนต์ในระหว่างที่ท่านกดมีดหมอและบริกรรมอยู่
    คนไข้ประเภทนี้เมื่อหายแล้วจะจำอะไรไม่ได้เลย และท่านมักจะให้สายสิญจน์มงคล ไว้คล้องคอกันถูกกระทำซ้ำ อีกทุกรายมีอาการร้อนหูร้อนหน้า แสดงว่าร้ายแรงมาก ถึงขนาดที่ถูกน้ำมันผีพราย ประเภทนี้จะอาการป้ำๆ เป๋อๆ ๆ คุ้มดีคุ้มร้าย ชาวบ้านเรียกว่า ลมเพลมพัด ขาดสติ ปวดศีรษะบ่อยๆ
    คนไข้ชนิดนี้ท่านจะให้แช่เท้าในกระป๋องด้วยเหมือนกับที่ถูกคุณคน เมื่อเวลารดน้ำมนต์นั้น น้ำมันพรายจะซึมออกมา เป็นฝ้าน้ำมันลอยอยู่ในน้ำให้เห็น
    หลวงพ่อบอกว่า คนไข้ประเภทนี้หายยาก เพราะว่าน้ำมันซึมอยู่ในร่างกาย ต้องมารักษาบ่อยๆ เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ จนกว่าจะหมดน้ำมันพรายและท่านมักจะสั่งห้ามกินน้ำมันสัตว์ เพราะจะไปเพิ่มน้ำมันให้กับน้ำมันพราย
    หมากเสกของท่านนี้ ถ้ากินแล้วร้อนลึกเข้าไปในทรวงอก ท่านว่าเป็นโรคฝีในท้อง วัณโรค ประเภทนี้นอกจากรดน้ำมนต์แล้ว ยังต้องกินยาคุณพระควบไปด้วยอีกทางหนึ่ง เป็นการขับถ่ายพิษร้าย ออกจากร่างกาย
    • • • • • • • • • • • • • •
    รักษาโรคด้วยยาพระพุทธคุณ

    • • • • • • • • • • • • • •
    นอกจากน้ำมนต์แล้ว ท่านยังมียาคุณพระพุทธคุณให้กินอีกด้วย ยานี้มีสรรพคุณแก้โรคได้ทุกชนิด แล้วแต่ชนิดของโรค คือยานี้เป็นยาอธิษฐานของหลวงพ่อปาน นอกจากจะรักษาโรคแล้ว ยังเป็นยาที่หลวงพ่อปานให้กินเวลาท่านรดน้ำมนต์แก้ถูกกระทำไปแล้ว ยาของท่าน ท่านจะบอกกับผู้ใกล้ชิดว่า ตำรับยานี้เป็นของหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ องค์อุปัชฌาย์ของท่านมอบให้ท่านเป็นทายาทแทนเมื่อหลวงพ่อสุ่นล่วงลับไปแล้ว มี 2 ขนาน (คัดมาจากหนังสืออนุสรณ์ 100 ปี หลวงพ่อปาน)
    • • • • • • • • • • • • • •
    พระคาถา

    • • • • • • • • • • • • • •
    (ว่า "นะโม ฯลฯ " ๓ จบ )
    พระคาถาบทนำ ว่าครั้งเดียว
    พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ
    พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์
    ว่า ๓ จบ หรือ ๕ จบ หรือ ๗ จบ หรือ ๙ จบ ก็ได้ แต่ต้องสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผล
    " วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม "
    คาถามหาพิทักษ์

    จิตติ วิตัง นะกรึง คะรัง
    ใช้ภาวนาขณะใส่กุญแจ ปิดหีบ ปิดตู้ ปิดประตูหน้าต่างฯ
    คาถา มหาลาภ
    นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา ระชะตังวา ธะนังวา พึซังวา อัตถังวา ปัตถังวาเอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมึมา นะมามิหัง
    ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ
    พระคาถา ๓ บทนี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดนำไปใช้จะเกิดโชคลาภมั่งมีเงินทองอย่างมหัศจรรย์
    [​IMG]
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.dhammathai.org/monk/sangha47.php


    <TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>พระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี

    เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ เดิมชื่อสังเวียน เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายควง นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง ๕ คน เมื่ออายุ ๖ ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่ออายุ ๑๕ ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ ๑๙ ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ พออายุครบบวช
    อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ ๒๑ ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ ๒๒ ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ ๒๓ ปี สอบได้ นักธรรมเอก
    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ
    พ.ศ. ๒๔๘๑ เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี ต่อมา สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ ๔ วัดประยูรวงศาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอยู่อีกหลายวัด
    พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อมสร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมมีพื้นที่ ๖ ไร่เศษ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ ๒๘๙ ไร่
    พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระสุธรรมยานเถร"
    พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
    มรณภาพ
    ตุลาคม ๒๕๓๕ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๑๐ น.

    ตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่ หลวงพ่อพระราชพรหมยานได้ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ

    ทางด้านชาติ ได้สร้างโรงพยาบาล , สร้างโรงเรียน , จัดตั้งธนาคารข้าว , ออกเยี่ยมเยียน ทหารหาญของชาติและตำรวจตระเวณชายแดนตามหน่วยต่างๆ เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และ แจกอาหาร , ยา , อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และวัตถุมงคลทั่วประเทศ
    ทางด้านพระศาสนา ได้สั่งสอนพุทธบริษัทศิษยานุศิษย์ให้มุ่งพระนิพพานเป็นหลัก โดยให้ประพฤติปฏิบัติกาย , วาจา , ใจ , ในทาน , ในศีลและในกรรมฐาน ๑๐ ทัศ และมหาสติปัฏฐานสูตร ได้พิมพ์หนังสือคำสอนกว่า ๑๕ เรื่อง และบันทึกเทปคำสอนกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง นอกจากนี้ยังได้แสดงธรรม เทศนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ยังเดินทางไปสงเคราะห์คณะศิษย์ในต่างจังหวัดและต่างประเทศทุกๆ ปี
    ทางด้านวัตถุ ท่านได้ช่วยสร้างพระพุทธรูปและถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนามากกว่า ๓๐ วัด รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟูวัดท่าซุงด้วยเงินกว่า ๖๐๐ ล้านบาท ได้สร้างพระไตรปิฎก , หนังสือมูลกัจจายน์ และถวายผ้าไตรแก่วัดต่างๆ ปีละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ไตร
    ทางด้านพระมหากษัตริย์ท่านได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ศูนย์ฯ นี้ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ งานของศูนย์ฯ รวมทั้งการแจกเสื้อผ้า , อาหาร และยารักษาโรคแก่ราษฎรผู้ยากจน , การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ , การส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย , การให้ทุน นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน , การบริจาคทุนทรัพย์ให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลต่างๆ ฯลฯ
    นับได้ว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นปูชนียบุคคลผู้อยู่ด้วยความกรุณา เป็นปกติ พร่ำสอนธรรมะและสิ่งทีเป็นประโยชน์และสงเคราะห์เกื้อกูลมหาชนด้วยเมตตามหาศาลสมกับ เป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส แท้องค์หนึ่ง

    ข้อมูล : เว็บศิษย์หลวงพ่อ http://www.sitluangpor.com/
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    พระวังหน้า ไม่มีการติดพลอยใดๆทั้งสิ้นนะครับ

    ส่วนพระที่ติดพลอยนั้น ต้องดูอีกว่าเป็นพระหรือเป็นเณรครับ มีของทำเลียนแบบเยอะมากครับ
    พระที่ติดพลอยนั้นถ้าเป็นพระแท้ จะสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2453 ครับ

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คุณพันวฤทธิ์ครับ

    ผมลงให้เรียบร้อยแล้วครับ เท่าที่ผมค้นหาจากคูเกิ้ลมาได้

    .

    หมายเหตุ รูปมีการลงเพิ่มเติม
    เริ่มต้นลง วันที่ 7 ธันวาคม 2554

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PB270068.JPG
      PB270068.JPG
      ขนาดไฟล์:
      152.8 KB
      เปิดดู:
      93
    • PB270069.JPG
      PB270069.JPG
      ขนาดไฟล์:
      169.5 KB
      เปิดดู:
      89
    • PB270070.JPG
      PB270070.JPG
      ขนาดไฟล์:
      111.8 KB
      เปิดดู:
      103
    • PB270074.JPG
      PB270074.JPG
      ขนาดไฟล์:
      95.9 KB
      เปิดดู:
      86
    • PB270078.JPG
      PB270078.JPG
      ขนาดไฟล์:
      77.4 KB
      เปิดดู:
      93
    • PB270080.JPG
      PB270080.JPG
      ขนาดไฟล์:
      598.7 KB
      เปิดดู:
      110
    • PB270083.JPG
      PB270083.JPG
      ขนาดไฟล์:
      500 KB
      เปิดดู:
      90
    • PB270084.JPG
      PB270084.JPG
      ขนาดไฟล์:
      524.5 KB
      เปิดดู:
      85
    • PC100097.JPG
      PC100097.JPG
      ขนาดไฟล์:
      304.7 KB
      เปิดดู:
      102
    • PC100098.JPG
      PC100098.JPG
      ขนาดไฟล์:
      218.8 KB
      เปิดดู:
      86
    • PC100099.JPG
      PC100099.JPG
      ขนาดไฟล์:
      89.9 KB
      เปิดดู:
      497
    • PC100100.JPG
      PC100100.JPG
      ขนาดไฟล์:
      86.8 KB
      เปิดดู:
      69
    • PB270067.JPG
      PB270067.JPG
      ขนาดไฟล์:
      186.2 KB
      เปิดดู:
      68
    • somdej1-1.JPG
      somdej1-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      99.4 KB
      เปิดดู:
      85
    • somdej1-2.JPG
      somdej1-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      112.2 KB
      เปิดดู:
      77
    • somdej 1-1.JPG
      somdej 1-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      95.6 KB
      เปิดดู:
      59
    • somdej 1-2.JPG
      somdej 1-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      99.7 KB
      เปิดดู:
      55
    • DS.jpg
      DS.jpg
      ขนาดไฟล์:
      64.6 KB
      เปิดดู:
      341
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2011
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    สาธุคุณหนุ่ม สำหรับผ้ายันต์ ผมคงจบกิจธุระของผมแค่นี้แล้ว อย่าลืมคำฝากจากพี่ใหญ่ ถึงพระอาจารย์นิลด้วย..ขอขอบคุณพวกเราในก๊วนทุกคน
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    รับทราบครับ

    พระอาจารย์ท่านเตรียมไว้ทุกเรื่องแล้ว ตั้งแต่ที่เรายังไม่ได้พูดกันครับ

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รายละเอียดพระพิมพ์และวัตถุมงคล ที่มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญในกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ ( http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=68899 ) จะอยู่ในหน้าแรกของกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ

    ส่วนยอดคงเหลือ ผมจะแจ้งให้ทราบในกระทู้ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิและกระทู้พระวังหน้า ฯ เป็นระยะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...