พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    เรียน ท่านพี่

    มาเป็นชุดๆ อ่านไม่ทันครับ
    เดี๋ยวน้องนี้ มาด้วยคนนะครับ

    ช่วยกันสรรสร้างความดีให้แก่สังคม

    ขอขอบคุณครับ

    สาธุครับ
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 8 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 4 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, chaipat+, peesut, ผ่อนคลาย </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีครับ คุณผ่อนคลาย แวะมาเยี่ยมเยียนนะครับ

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รายละเอียดพระพิมพ์และวัตถุมงคล ที่มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญในกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ ( http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=68899 ) จะอยู่ในหน้าแรกของกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ

    ส่วนยอดคงเหลือ ผมจะแจ้งให้ทราบในกระทู้ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งและกระทู้พระวังหน้าฯเป็นระยะครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>กระเบื้องถ้วยกะลาแตก “เบื้องหลังชีวิตผู้ดีกรุงสยาม”</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>17 กรกฎาคม 2550 17:32 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เครื่องกระเบื้องเคลือบสีลงยา (เป็นเครื่องกระเบื้องที่หายากที่สุด)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ใครจะรู้บ้างว่า "ถ้วยกระเบื้อง" แตกหักกระจายเหมือนของไม่มีค่าเมื่อ 400-500 ปีที่ผ่านมา จะกลายเป็นพยานวัตถุชิ้นสำคัญที่ร้อยรัดบันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งสมัยอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นให้มีความเชื่อมโยงกัน

    สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ จึงได้จัดงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ “กระเบื้องถ้วยกะลาแตก” ผลงานของ “พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร” ทายาทเจ้าสัวสำเภาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเเธอใช้เวลาในการค้นคว้ารวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลมานานกว่า 4 ปี เพื่อให้ได้ภาพสี่สีสวยงามของกระเบื้องจีนที่หาชมได้ยากยิ่งมาให้ได้ทัศนากัน สำหรับความถูกต้องของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และถ้อยคำได้ถูกเรียบเรียงและตรวจตราอย่างถี่ถ้วนจาก “ศ.ดร. แถบสุข นุ่มนนท์” รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการให้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร (กลาง) พร้อมด้วยคุณพ่อคุณแม่</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หนังสือ “กระเบื้องถ้วยกะลาแตก” เป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศไทย-จีน ในยุคการค้าสำเภาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้อ่านจะได้สัมผัสถึงชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้านายชั้นสูง โดยผู้เขียนใช้เครื่องกระเบื้องจีนมาเดินเรื่อง พร้อมชมภาพสวยงามของเครื่องกระเบื้องที่มีชิ้นเดียวในโลก ซึ่งหาชมที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว

    พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร เล่าว่า ศิลปะบนถ้วยกระเบื้องต่างๆ จะเป็นผู้เล่าเรื่องราวทำให้ได้สัมผัสถึงชีวิตและรสนิยมของเจ้านายไทยชั้นสูง การค้าขายระหว่างไทย-จีน และเข้าใจถึงความผันผวนในชีวิตของเหล่าขุนนางและพ่อค้าไทยเชื้อสายจีนที่เป็นต้นตระกูลของคหบดีในปัจจุบัน

    “เครื่องกระเบื้องจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมในอดีต เพราะถ้วยกระเบื้องบางชิ้นมีอายุเก่าแก่ถึง 300-400 ปี จึงทำให้สามารถศึกษาได้ว่ารสนิยมของอาณาจักรประเทศขณะนั้นเป็นอย่างไร”

    ค่านิยมของราชสำนักไทยในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ นิยมเครื่องกระเบื้องที่เน้นสีทอง เพราะเชื่อกันว่าเป็นสีที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ แต่พอมาถึงยุคสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อมีการติดต่อกับตะวันตกรสนิยมในการใช้เครื่องกระเบื้องจึงเปลี่ยนไปเป็นเครื่องลายครามแทน ทำให้ถ้วยกระเบื้องนั้นมีรูปแบบที่เป็นสากลมากขึ้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>จานเชิงลายน้ำทอง จากสำเภาก๊กเจ้าสัวหลิน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ช่วงต้นของรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 เครื่องกระเบื้องจะเป็นเครื่อง “ลายน้ำทอง” เป็นสีทองที่เน้นถึงความสวยงามและความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์จักรี ในขณะนั้นทางราชสำนักไทยได้ส่งราชทูตไปควบคุมการผลิตเอง แต่พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ความนิยมเครื่องกระเบื้องจะเป็น "ลายคราม" แทน ด้วยเหตุผลที่ว่าราชทูตที่ส่งไปสั่งซื้อเครื่องกระเบื้องที่ประเทศจีน ระหว่างเดินทางกลับมายังสยามประเทศ ได้ถูกโจรปล้นจนแทบไม่เหลือ เมื่อเป็นดังนั้นจึงไม่ส่งราชทูตไปสั่งถ้วยกระเบื้องที่ประเทศจีนอีกต่อไป

    “แต่จะมีพ่อค้าสำเภาในประเทศไทยไปรับถ้วยกระเบื้องจากประเทศจีนมาขายต่อยังราชสำนักไทยแทนการส่งราชทูตไปเอง ซึ่งในขณะนั้นทั่วโลกรวมทั้งภายในประเทศจีนนิยมถ้วยกระเบื้องที่เป็น “ลายคราม” จึงทำให้ราชสำนักในรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 และ 5 นิยมถ้วยกระเบื้องที่เป็นลายคราม” พิมพ์ประไพอธิบาย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ชุดอาหารสมัย ร.4 “ยี่ห้อโปจูลี่กี่”</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับกระเบื้อง “โปจูลี่กี่” งานศิลปะล้ำค่าที่ทุกคนปรารถนาเป็นเจ้าของและเก็บรักษาไว้เป็นมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น พิมพ์ประไพอธิบายว่า “โปจูลี่กี่” เป็นยี่ห้อของถ้วยกระเบื้องอีกชนิดหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นพยานวัตถุชิ้นสำคัญทางประวัติศาสตร์ อธิบายถึงการค้าขายระหว่างไทยและจีน และเป็นสินค้าชนิดเดียวที่ต้องผลิตในประเทศจีนแห่งเดียวเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งของหายากและล้ำค่าคู่ควรแก่การสะสมมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันแทบจะหาไม่ได้อีกแล้ว เพราะถูกไฟไหม้ไปเกือบหมด

    “สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายความหมายของยี่ห้อโปจูลี่กี่ ในตำนานเครื่องโต๊ะแลถ้วยปั้นว่า “ราวกับแก้วอันวิเศษ” ซึ่งแก้วในที่นี้หมายถึง สิ่งมีค่า สิ่งที่รัก สิ่งที่ดี” พิมพ์ประไพตบท้าย

    นี่จึงเป็นงานศิลป์ชั้นเลิศอีกชิ้นหนึ่ง ที่ร้อยโยงประวัติศาสตร์อันล้ำค่าเข้าหากันได้อย่างสมบูรณ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    ผมกำลังหาหนังสือเล่มนี้(ตำนานเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น เป็นหนังสือที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเขียน)อยู่เหมือนกันครับ
    หรือเล่มนี้(กระเบื้องถ้วยกะลาแตก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2007
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    กรมการประกันภัยเตือน!แก๊งหลอกขายประกันภัยทางโทรศัพท์
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->แนะก่อนซื้อขอกรมธรรม์มาศึกษาก่อน 15 วัน หากไม่พอใจยกเลิกได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    [​IMG]
    เตือนภัยแก๊งมิจฉาชีพหลอกขายประกันภัยทางโทรศัพท์ อ้างเก็บเบี้ยถูก คุ้มครองสูง แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุเคลมไม่ได้ แนะก่อนซื้อขอกรมธรรม์มาศึกษาก่อน 15 วัน หากไม่พอใจยกเลิกได้ ย้ำต้องถามข้อมูลตัวแทนขายให้ละเอียด หรือไม่แน่ใจโทร.เช็ก 1186 เพื่อความชัวร์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนผ่านสายด่วนประกันภัย 1186 จากประชาชนเป็นจำนวนมาก กรณีมีตัวแทนบริษัทประกันภัย หรือผู้ให้บริการจากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) เช่น บริษัทให้บริการสินเชื่อ ซึ่งได้เบอร์โทรศัพท์จากผู้ให้บริการบัตรเครดิต ติดต่อลูกค้าผ่านโทรศัพท์ ชักชวนให้ซื้อประกันอุบัติเหตุรูปแบบต่างๆ ในอัตราเบี้ยประกันไม่สูงนัก เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 150-200 บาท โดยมีวงเงินคุ้มครองตั้งแต่ 100,000-500,000 บาท ซึ่งจูงใจลูกค้าอย่างมาก แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้เอาประกันไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมหรือการคุ้มครองตามที่ตัวแทนนายหน้าแอบอ้างได้จริง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อย่างไรก็ตาม หากประชาชนไม่แน่ใจว่าจะได้รับความคุ้มครองตามที่ได้ตกลงไว้กับตัวแทนหรือไม่ ขอให้พิจารณาจากรายละเอียดของกรมธรรม์นั้นๆ เพื่อศึกษาการคุ้มครองหรือค่ารักษาพยาบาลใดๆ ได้ก่อนล่วงหน้า 15 วัน และหากซื้อกรมธรรม์แล้ว หากผู้เอาประกันยังเห็นว่าเสียเปรียบ ก็มีสิทธ์บอกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 15 วันเช่นกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    "ขอเตือนประชาชนที่พบเห็นพฤติกรรมดังกล่าว อย่าหลงเชื่อคำแอบอ้างจากผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาหา และอ้างเป็นตัวแทนบริษัทประกันเด็ดขาด โดยขอให้ผู้ที่อ้างเป็นตัวแทนขายประกันบอกชื่อและเลขที่ใบอนุญาตการเป็นนายหน้าขายประกัน และชื่อของบริษัทประกันก่อน หากไม่แน่ใจสอบถามมายังกรมฯ หรือสายด่วนประกันภัย 1186 ก่อน หรือก่อนที่จะตัดสินใจทำประกัน ขอให้พิจารณาเอกสารที่ตัวแทนส่งมาให้อย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนว่าให้ความคุ้มครองครอบคลุมตามที่ได้คุยกันก่อนหรือไม่ หากไม่ครอบคลุมก็สามารถยกเลิกการซื้อกรมธรรม์ได้ทันที" นางจันซากล่าว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทั้งนี้ รูปแบบการจำหน่ายประกันอุบัติเหตุทางโทรศัพท์ที่บริษัทประกันได้รับอนุญาตเปิดจำหน่าย จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการประกันภัยกำหนด หากเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพื่อชักจูงให้หลงเชื่อว่าจะได้รับการคุ้มครอง แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุจริงแล้วไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมได้ ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ผู้ที่เสียหายสามารถร้องเรียนและแจ้งความดำเนินคดีได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท้ายที่สุดผู้เขียนอยากให้ทุกคนมีสติรอบคอบก่อนการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ เพื่อที่เวลามีเหตุจะได้ไม่มีปัญหาตามมา และอยากกราบเรียนว่าประกันภัยไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เราปลอดภัยจากอุบัติเหตุได้ สติ ต่างหากที่สำคัญหากเราใช้รถด้วยความระมัดระวังปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยทำให้ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุน้อยลงด้วยครับ !!!<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p

    ที่มา<O:p</O:p
    เรียบเรียงโดย : นาย วัลลภ พรมไทย content<O:p</O:p
    ภาพประกอบ : www.thaihealth.or.th<O:p</O:p
    </O:p

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=6696&goto=nextnewest

    <TABLE class=tborder id=post101566 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">01-08-2005, 09:55 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>phuang<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_101566", true); </SCRIPT>
    ทีมพระไตรปิฏก (น้ำผึ้ง)
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: 12-07-2007 10:12 AM
    วันที่สมัคร: Jan 2005
    ข้อความ: 3,866 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 517 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 3,551 ครั้ง ใน 888 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 843 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_101566 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->[​IMG] อภินิหาร ของ หลวงปู่ สำเร็จลุน
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><TABLE borderColorDark=#f3f3f3 width="80%" borderColorLight=#f3f3f3 border=1><TBODY><TR bgColor=#6699ff><TD class=white10bc width="100%">Religion : อภินิหาร ของ หลวงปู่ สำเร็จลุน</TD></TR><TR><TD style="MARGIN-LEFT: auto; WIDTH: 99%; COLOR: #000000; MARGIN-RIGHT: auto" width="100%" bgColor=#ffffff><CENTER>[​IMG]</CENTER>
    สำเร็จลุน (สมเด็จลุน)

    สำเร็จลุน เป็นพระมหาเถระนามกระเดื่องทางด้านผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ มีมหัศจรรย์ในตัวท่านเอง คล้ายๆ กับสมเด็จโต พรหมรังษี วัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพมหานคร สมัยโน้น

    สำเร็จลุน เป็นพระมหาเถระชาวเมืองจำปาศักดิ์ เกิดประมาณพ.ศ 2338 เป็นศิษย์ของพระคูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) ผู้มีวสี (ความชำนาญ) ในการเดินเรื่องธาตุ และกสิน สำเร็จลุนได้แสดงฤทธิ์ให้คนเห็นหลายครั้ง แต่ไม่มีใครจดบันทึกไว้ มีแต่เล่าสืบๆ ต่อๆ กันมา

    หลวงพ่อพรหมา วัดบ้านดงนาที่ดังๆ อยู่ในขณะนี้ เล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่ง สำเร็จลุนจะโดยสารทางเรือไปกับเรือกลไฟฝรั่งเศส แต่ฝรั่งไม่ยอมรับเพราะฝรั่งเห็นว่า ในเรือมีผู้โดยสารเต็มแล้ว และส่วนใหญ่ก็เป็นผู้หญิงด้วย ฝรั่งจึงไม่รับท่านกับสามเณรพรหมาผู้สะบายย่ามให้ พอเรือกลไฟฝรั่งออกไปไม่นาน เรือก็ถอยหลังมาเอง หยุดอยู่ตรงหน้าท่าน โดยที่ฝรั่งพลขับก็งงว่า “เรือเป็นอะไรถึงได้ถอยหลัง”

    พอเรือจอดนิ่ง สำเร็จลุนก็เดินเข้าไปหาเรือ และก้าวขาข้างขวาขึ้นเหยียบแคมเรือ พอเท้ขวาสำเร็จลุนแตะแคมเรือเท่านั้น ยังมิได้เหยียบเลย เรือก็โคลงเหมือนจะพลิกคว่ำ

    ที่ว่ามานี้ก็จับใจความได้ว่า ท่านมีอภินิหาร เช่นนี้เพราะท่านฝึกจนชำนาญในเรื่องธาตุและกสิน </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.tat.or.th/zodiac/main-09.html

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=* background=images/bg.gif>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD>[​IMG] <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2][​IMG]
    พระธาตุพนม พระบรมธาตุเจดีย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนสองฝั่งโขง บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้า[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]ตามตำนานว่าก่อสร้างโดยกษัตริย์ห้าองค์คือ พระยาจุฬณีพรหมทัต พระยานันทเสน พระยาอินทปัต พระยาคำแดง และพระยาสุวรรณภิงคาร พร้อมไพร่พล ในส่วนลวดลายที่เรือนธาตุนั้นตำนานเล่าว่าตกแต่งโดยพระอินทร์และเหล่าเทวดา มีแผ่นอิฐที่จำหลักลวดลายเป็นภาพกษัตริย์โบราณ ฝีมือช่างพื้นบ้าน ศิลปะสมัยทวารวดี หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ นับว่าเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่ของภาคอีสาน[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2] พระธาตุพนมได้รับการบูรณะและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห้งล้านช้าง ในสมัย พ.ศ. ๒๒๒๓-๒๒๒๕ พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) นำราษฎรจากเวียงจันทร์ ๓,๐๐๐ คนมาปฏิสังขรณ์พระธาตุให้สูงขึ้น และเป็นรูปแบบที่นิยมในอีสาน ต่อมาทางรัฐบาลได้บูรณะให้สูงขึ้นอีกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ แต่ในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ เกิดฝนตกหนักและพระธาตุพนมได้ทรุดพังทลายลง แต่ก็ได้รับการบูรณะโดยภาครัฐและเอกชนเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2] ในเขตวัดมีบ่อน้ำพระอินทร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดของบ่อน้ำที่ใช้น้ำมาเสกน้ำพระพุทธมนต์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2] งานนมัสการพระธาตุพนมจัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น ๑๐ ค่ำ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓[/SIZE][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]** ภาพซ้าย พระธาตุพนม
    ภาพขวา ลายจำหลักรูปกษัตริย์พื้นเมืองที่บูรณะตามแบบดั้งเดิม
    [/SIZE][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=708 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=21>[​IMG]</TD><TD width=665>[​IMG]</TD><TD width=22>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=21>[​IMG]</TD><TD width=665 background=images/k_r2_c2.jpg><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=4 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=+1]ปันนะศิริสะมิง ปัพพะเต อุตะมังธาตุ
    เหทะยัง วะละจิตตัง เสฐะวะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา
    [/SIZE][/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=22>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=21>[​IMG]</TD><TD width=665>[​IMG]</TD><TD width=22>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG] <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]ที่ตั้ง : ถ.ชยางกูร บ้านธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]การเดินทาง

    [/SIZE][/FONT]<TABLE cellSpacing=2 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=36>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2][​IMG][/SIZE][/FONT]</TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ถึง จ. สระบุรีบริเวณ กม. ที่ ๑๐๗ เข้าทางหลวงหมายเลข ๒ ผ่าน จ.นครราชสีมามาถึงขอนแก่นแล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๑๓ ผ่าน จ.กาฬสินธุ์ สกลนคร จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๒ ไป จ.นครพนม ระยะทางประมาณ ๗๖๐ กม. จากตัวเมืองนครพนมใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ไป ประมาณ ๕๐ กม.[/SIZE][/FONT]​
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=36>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2] [/SIZE][/FONT]</TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2] [/SIZE][/FONT]</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=36>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2][​IMG][/SIZE][/FONT]</TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]มีรถโดยสารกรุงเทพฯ-นครพนม ขึ้นรถที่สถานีขนส่งหมอชิต (ใหม่) สอบถามเพิ่มเติมที่โทร. ๐-๒๙๓๖-๑๘๘๐, ๐-๒๙๓๖-๒๒๕๒[/SIZE][/FONT]</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=36>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2] [/SIZE][/FONT]</TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2] [/SIZE][/FONT]</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=36>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2][​IMG][/SIZE][/FONT]</TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]มีรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครพนม ออกเดินทางทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. ๐-๒๒๓-๗๐๑๐, ๐-๒๒๒๓-๗๐๒๐[/SIZE][/FONT]</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=36>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2] [/SIZE][/FONT]</TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2] [/SIZE][/FONT]</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=36>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2][​IMG][/SIZE][/FONT]</TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-2]สายการบินไทยมีเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-นครพนม ออกทุกวัน สอบถามเพิ่มเติมที่โทร. ๑๕๖๖, ๐-๒๒๘๐-๐๐๖๐[/SIZE][/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-seetud/lp-seetud-hist.htm

    พระอาจารย์สีทัตถ์
    วัดท่าอุเทน นครพนม
    และเรื่อง
    พระถวัลย์ โชติธัมโม
    เซียงโมงระลึกชาติ
    พระอาจารย์สีทัตถ์ กลับชาติมาเกิด
    โดย ทองทิว สุวรรณทัต
    <TABLE id=table1 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระถวัลย์ โชติธมฺโม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เช้าวันหนึ่ง ขณะที่ผู้เขียนเดินขึ้นไปบนสำนักงาน “โลกทิพย์” กับ คุณอานนท์ เนินอุไร บรรณาธิการ
    ก็พอดีเหลือบไปเห็นพระภิกษุรูปลักษณะโปร่งบาง ครองจีวรสีกรักอ่อน อายุประมาณ ๓๐ ปีเศษ รูปหนึ่ง นั่งอยู่ที่เก้าอี้รับแขก
    คุณอานนท์ได้รีบเข้าไปนมัสการทักทายท่านอยู่ ๒-๓ ประโยคแล้วหันมาบอกผู้เขียนว่า
    “พอดี ท่านเซียงโมง มาคุณทองทิวสัมภาษณ์เสียเลยจะได้ไม่เสียเที่ยว ท่านระลึกชาติได้”
    เวลานั้นผู้เขียนกำลังยุ่งอยู่กับการส่งต้นฉบับหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.อ.(พิเศษ) เสนาะ จินตรัตน์ และจะต้องรีบไปพบกับ คุณอัญชลี จินตรัตน์ ภรรยาของผู้การเสนาะ
    จึงได้เข้าไปนมัสการท่าน “เซียงโมง” ด้วยความสับสนวุ่นวายในใจ ทั้งระคนสงสัยว่า เหตุไฉนท่านจึงได้มีนามเช่นนี้ ?
    และได้เรียนถามท่านว่า ท่านจะให้เวลาแก่.ผู้เขียนไปทำธุรกิจสักชั่วโมงหนึ่งก่อนจะได้ไหม ? แล้วผู้เขียนจะกลับมาสัมภาษณ์ท่าน เพราะผู้เขียนกำลังสนใจในเรื่องตายแล้วเกิด และเรื่องระลึกชาติได้อยู่เป็นอย่างยิ่ง
    ท่าน “เซียงโมง” ดูจะอึดอัดใจอยู่ ด้วยท่านจะไปหาที่พักซึ่งท่านยังไม่ทราบว่าจะเป็นที่ไหนแน่ ครั้นจะปฏิเสธผู้เขียนก็ใช่ที่
    คุณอานนท์เห็นดังนั้นก็ตัดบท ขอนิมนต์ท่านไปยังบ้านของคุณอานนท์ ที่ตั้งเป็น “กองทุนโลกทิพย์” อยู่ใกล้ ๆ กับสำนักงาน “โลกทิพย์” นั่นเอง และขอให้ผู้เขียนสัมภาษณ์ก่อนจะไปหาคุณอัญชลี เพราะมีเวลาเหลือพอจะกระทำได้
    <TABLE id=table2 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    คุณทองทิว ขณะสัมภาษณ์พระถวัลย์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ผู้เขียนจึงตามไปสัมภาษณ์ท่าน “เซียงโมง” ตามประสงค์ของคุณอานนท์ในเวลาต่อมา และได้เรื่องที่น่าอัศจรรย์มาเสนอต่อท่านผู้อ่านอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ได้
    แม้ ศาสตราจารย์เอียน สตีเวนสัน ได้ค้นคว้าและพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์หลายรายแล้วก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายก็ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าเป็นเพราะเหตุใด มนุษย์เราจึงตายแล้วเกิด ไม่ใช่ตายแล้วสูญดังที่เข้าใจกันอยู่ ?
    เรื่องที่ท่านทั้งหลายจะได้อ่านต่อไปเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนขอนำมาเสนอให้ท่านได้ช่วยพิจารณาว่า พระพุทธศาสนามีสัจธรรมเหนือกว่าที่วิทยาศาสตร์จะพิสูจน์ได้ จริงหรือไม่ ?
    บันทึกชีวิตจริง
    ภิกษุวัยกลางคน ผู้นั่งสำรวมอยู่บนอาสนะที่คุณอานนท์จัดให้นั้น ได้เปิดเผยชีวิตตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงปัจจุบันให้ฟัง
    ซึ่งเรื่องราวชีวิตของท่านในช่วงที่ยังเยาว์วัยนั้น มีหลักฐาน พยานพิสูจน์ข้อเท็จจริง คือบันทึกเรื่อง “คนตายแล้วเกิดใหม่ ระลึกชาติได้” เขียนโดยท่านพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)
    บันทึกเรื่องนี้ ท่านพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ได้ให้ทางวารสารยุวพุทธิกะสมาคมแห่งประเทศไทย ออกนำตีพิมพ์เผยแพร่ โดยกล่าวยืนยันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ซึ่งมีเรื่องราวดังต่อไปนี้คือ..
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE id=table3 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ ข้าพเจ้า (พระอริยคุณาธาร = เส็ง ปุสฺโส) ได้มีโอกาสติดตามเจ้าคณะมณฑลอุดร ไปตรวจการคณะฯ ทางริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขตจังหวัดหนองคาย ไปถึงบ้านโพนแพง อำเภอโพนพิสัย พักแรมที่วัดโพนเงิน ตรงข้ามกับพระพุทธบาทโพนสัน ในเขตประเทศลาว
    ครั้งนั้นพระอาจารย์สีทัตถ์ กำลังก่อสร้างอุโมงค์ (กะตึบ) คร่อมพระพุทธบาทอยู่ที่นั่น
    วันรุ่งเช้า เจ้าคณะมณฑลข้ามฟาก (แม่น้ำโขง) ไปเขตประเทศลาว ข้าพเจ้าจึงขอโอกาสสนทนากับพระอาจารย์สีทัตถ์
    ข้าพเจ้าเพิ่งพบกันเป็นครั้งแรกในครั้งนั้น แต่ก็สนิทสนมกันง่ายดาย คล้ายกับได้รู้จักคุ้นเคยกันมานานแล้ว
    เรื่องสำคัญที่สนทนากันในวันนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการระลึกชาติของพระอาจารย์สีทัตถ์
    ท่านกล่าวว่า ท่านได้ฌานและอภิญญาณโลกีย์ มีความรู้ระลึกชาติในอดีตอนาคตของท่านได้ ตลอดถึงคนอื่นที่เกี่ยวข้องกันท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้ากับท่านเคยเป็น “พ่อลูกปลูกโพธิ์” มาด้วยกัน แต่ต่างคนต่างมีกรรมเป็นของตน กรรมซัดไปติดคนละทาง คนละทิศ ห่างไกลกัน ทั้งวยายุกาลก็ห่างกันด้วย ถึงดังนั้นบุญก็ยังบันดาลให้มาประสบพบพานกันได้
    ฝากไว้ให้เลี้ยงดู
    การพบกันครั้งนี้เป็นทั้งครั้งแรก และเป็นทั้งครั้งสุดท้าย (ท่านอายุ ๗๑ แล้ว) จึงขอถือโอกาสบอกเล่าเก้าสิบเรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ กับขอฝากให้เลี้ยงดูท่านในเมื่อเกิดชาติหน้านั้นด้วย
    พระอาจารย์สีทัตถ์ท่านกล่าวว่า ท่านเป็นนิยโตโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลไกลโน้น และเป็นชนิด “สัทธาธิกะ” มีกำหนดสร้างบารมี ๑๖ อสงไขยกัลป์ จึงจะสำเร็จพระโพธิญาณ
    ท่านกล่าวว่าในอดีตชาตินานมาแล้ว ท่านเคยเกิดเป็นลูกของข้าพเจ้า และในชาติหน้าในลำดับต่อไปนี้ แม้จะไม่ได้เป็นลูกเกิดแต่ในอกของข้าพเจ้า ขอแต่เป็นลูก “บุญธรรม” ขอให้ข้าพเจ้าเลี้ยงลูกปลูกโพธิ์อีกครั้ง
    ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วก็เอะใจ ! และท่านกล่าวต่อไปว่า
    ในสมัยกึ่งพุทธกาลนั้น พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ข้าพเจ้าจะเป็นคนสำคัญคนหนึ่งในสมัยนั้น ท่านจะไม่ได้ทันเห็น แต่ก็ไม่เป็นไร ในสมัยนั้นได้มาเกิดใหม่เป็นลูก “บุญธรรม” ของข้าพเจ้า
    ท่านย้ำคำนี้หลายครั้งเพื่อให้กระชับใจข้าพเจ้า แล้วท่านก็กล่าวเรื่องการเกิดใหม่ในอนาคตของท่านไว้ดังนี้
    เกิดใหม่ไม่มีสกุล
    ท่านเกิดในชาติหน้าในท้องคนไม่มีสกุล พ่อผู้ให้กำเนิดไม่ปรากฏแก่คนทั้งหลาย แม่ผู้ให้กำเนิดเป็นคนพลัดถิ่น เขาจะไปคลอดบุตรในถิ่นที่ไม่มีคนรู้จัก ในหมู่บ้านชื่อว่า “บ้านสงเปลือย ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัด อุดรธานี”
    แล้วมารดาก็จะละทิ้งบุตรหนีไป มีทุคตะผัวเมียคู่หนึ่งรับไปเลี้ยงไว้ในระยะแรก เพราะฐานะของเขาเป็นคนยากจน เลี้ยงอยู่ประมาณ ๓ เดือน ไม่สามารถจะเลี้ยงต่อไปได้
    ท่านว่า ทั้งนี้ก็เพราะเวรกรรมของท่านที่ทำลูกนกให้พลัดพรากจากแม่ของมันในอดีตชาติ
    ต่อจากนั้นจะมีผู้หญิงใจบุญคนหนึ่งเป็นหญิงม่ายไม่มีบุตร ซึ่งเคยเป็นมารดาในชาติก่อนมารับไปเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม
    หญิงคนนั้นชื่อ “สายบัว” อยู่ในหมู่บ้านสงเปลือยนั้นเอง เคยเป็นภริยาหลวงวรวุฒิมนตรี นายอำเภอ ฯ
    เมื่อเกิดในชาติหน้านั้น จะได้สัดส่วนสมทรง ความยาวของขากับลำตัวจะเท่ากัน หลังมือหลังเท้านูน ผิวขาวเหลือง สะอาดเกลี้ยงเกลาปราศจากไฝฝ้า ด้วยอำนาจบุญที่ปฏิสังขรณ์ตบแต่งและก่ออุโมงค์คร่อมพระพุทธบาท
    แต่ใบหน้านั้นหักนิดหน่อย เพราะความใจน้อยโกรธง่าย ทำหน้าเง้าหน้างอ และจะมีเสียงก่า ๆ เพราะด้วยการกล่าวผรุสวาจา
    จะมีนามว่า “ถวัลย์” แต่คนมักจะเรียกเล่น ๆ กันว่า “บุญติด” แต่เมื่อได้มาอยู่กับข้าพเจ้าแล้วจะเรียงกันว่า “เซียงโมง”
    เมื่อสนทนากันไป ท่านเห็นว่าข้าพเจ้าไม่ปลงใจเชื่อสนิท ท่านจึงขออนุญาตเล่าประวัติของข้าพเจ้าในชาติปัจจุบันที่ล่วงมาแล้วให้ฟังเพื่อเป็นพยานยืนยันความรู้ที่ท่านระลึกชาติได้ ข้าพเจ้าก็อนุญาต
    ท่านได้เล่าประวัติความเป็นมาของข้าพเจ้าที่ล่วงมาแล้ว ถูกต้องตามความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนอย่างกับตาเห็น
    ข้าพเจ้าได้ใคร่ครวญหาเหตุผลว่า ท่านรู้ได้อย่างไร (เวลานั้นข้าพเจ้าอายุ ๒๙ ปี) เข้าใจว่าท่านมีญาณชนิดหนึ่งรู้ได้จริง จึงตกลงปลงใจเชื่ออย่างสนิท
    และรับปากรับคำว่าจะรับเลี้ยงท่านในเมื่อท่านเกิดใหม่ในชาติหน้า
    จากวันพบพระอาจารย์สีทัตถ์มาประมาณ ๓ ปีเศษ คือในราวปี พ.ศ.๒๔๘๑ หรือต้นปี พ.ศ๒๔๘๒ จำไม่แน่
    ข้าพเจ้าได้รู้จักกับ คุณนายสายบัว อินทรกำแหง ซึ่งเคยเป็นภริยาของหลวงวรวุฒิมนตรี มีภูมิลำเนาตรงกับที่พระอาจารย์สีทัตถ์บอกไว้ จึงเล่าเรื่องที่กล่าวมาแล้วให้คุณนายสายบัวฟัง
    และสั่งไว้ว่า ถ้าคุณนายได้เด็กชายตามที่กล่าวมาแล้วมาเลี้ยงไว้ ขอให้ส่งข่าวด้วย
    ปริศนาทารกน้อย
    จากวันเมื่อพบคุณนายสายบัวมาแล้วประมาณ ๑๕ ปี ข้าพเจ้าก็ทราบว่าคุณนายสายบัวได้เด็กชายมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมแล้วจึงหาโอกาสไปพบ
    คุณนายก็นำเด็กนั้นมาให้ข้าพเจ้าดูที่วัดในหมู่บ้านนั้น ซึ่งเวลานั้นเด็กนั้นมีอายุได้ ๓ ขวบ (เกิดใน พ.ศ.๒๔๙๓)
    ข้าพเจ้าได้สอบถามเหตุการณ์เมื่อแรกเกิดและที่ได้มา คุณนายสายบัวเล่าว่า
    มีหญิงคนหนึ่งพลัดถิ่นมาที่บ้านสงเปลือย ไม่มีใครรู้จัก พอมาถึงในคืนนั้นก็ปวดท้องคลอดบุตร ชาวบ้านได้ช่วยกัน
    พอรุ่งเช้าชาวบ้านต้มน้ำร้อนจะให้เขาอาบ พอน้ำเดือด หญิงนั้นก็ตักมาจะลวกบุตรให้ตาย ชาวบ้านป้องกันไว้ทัน เอาบุตรซ่อนเสีย หญิงนั้นก็เลยหนีเตลิดเปิดเปิงไปในวันนั้น
    มีผัวเมียคู่หนึ่งรับไปเลี้ยงไว้๓ เดือน เลี้ยงไม่ไหวเพราะความยากจน จึงนำมามอบแก่คุณนายสายบัว
    คุณนายสายบัวเล่าต่อไปว่า ก่อนที่เขาจะนำเด็กมาให้ ในคืนนั้นฝันว่า “มีแก้วเก้าสี มีรัศมีรุ่งเรือง มาประดิษฐานอยู่ที่ชานเรือนรู้สึกดีใจไปรับเอามาไว้” พอรุ่งเช้าก็ได้รับเด็กคนนี้
    ต่อมาได้ขนานนามว่า “ถวัลย์” แต่เรียกกันเล่น ๆ ว่า “บุญติด”
    ทดสอบตอบฉะฉาน
    ตามที่คุณนายสายบัวเล่าให้ข้าพเจ้าฟังนี้ ตรงกับที่พระอาจารย์สีทัตถ์พูดไว้ ตลอดถึงลักษณะของเด็กด้วยทุกประการ
    ข้าพเจ้าจึงพูดกับคุณนายสายบัวว่า จะขอรับเอาไปเป็นบุตรบุญธรรม แต่ยังเล็กอยู่เกรงเด็กจะลำบาก ขอให้คุณนายเลี้ยงไปก่อนจนกว่าจะมีวัยอันสมควร
    พ.ศ.๒๔๙๖ ออกพรรษาแล้วข้าพเจ้าไปบ้านสงเปลือยอีกครั้งหนึ่ง พักอยู่ที่วัดในหมู่บ้าน คุณนายสายบัวก็พาเด็กชายคนนี้มาต้อนรับ
    ข้าพเจ้าอยากจะพิสูจน์ให้แน่อีกครั้งหนึ่งว่า จะเป็นพระอาจารย์สีทัตถ์แน่หรือไม่ จึงถามว่า เมื่อก่อนนั้น ตัวชื่อสีทัตถ์หรือไม่ ?
    เขาตอบทันทีว่า “ใช่”
    แล้วข้าพเจ้าก็ยุติไว้เพียงนั้นไม่เล่าเรื่องอาจารย์สีทัตถ์ให้เขาได้ยิน เพราะเพื่อจะสังเกตความเป็นไปต่อไป
    เมื่อคุณนายสายบัวพากลับบ้านแล้ว คุณนายสายบัวกลับมาเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า
    เด็กนั้นเมื่อกลับถึงบ้านได้เล่าเรื่องราวครั้งเป็นอาจารย์สีทัตถ์ในชาติก่อนให้คุณนายสายบัวฟังแต่ทว่าไม่ติดต่อกัน เล่าเฉพาะเรื่องสำคัญของชีวิตเป็นท่อน เป็นตอน พอรู้ได้ว่าเขาระลึกชาติได้
    กลางปี พ.ศ.๒๔๙๗ คุณนายสายบัวนำเด็กชายถวัลย์มาให้ข้าพเจ้าที่วัดป่าเขาสวนกวาง ข้าพเจ้าเอารูปถ่ายของพระอาจารย์สีทัตถ์ให้ดู แล้วถามเด็กว่า นี่รูปของใคร ? เด็กตอบว่ารูปของเขาในตอนปลาย
    (ตั้งแต่พระอาจารย์สีทัตถ์มรณภาพ จนถึงเด็กชายคนนี้เกิดประมาณ ๑๐ ปีกว่า ๆ เมื่อตอนท่านทำนายนั้นพระอาจารย์สีทัตถ์อายุ ๗๑ ปี)
    ต่อมาข้าพเจ้ามีธุระไปที่อุดรธานีพาเด็กชายคนนั้นไปด้วย
    วันหนึ่งข้าพเจ้าไปเยี่ยมพระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตร์ พอขึ้นไปบนบ้าน เห็นเจ้าคุณอุดรฯกำลังนั่งโต๊ะรับประทานอาหารเย็น เด็กชายคนนี้ก็ตรงรี่เข้าไปหา และทำท่าจะรับประทานอาหารร่วมด้วย เจ้าคุณอุดรฯ มีความเมตตาจึงจัดอาหารให้รับประทาน
    ข้าพเจ้ามานั่งรอคอยเจ้าคุณอุดรฯ อยู่ที่โต๊ะรับแขกใต้ซุ้มกล้วยไม้ เมื่อเด็กชายนั้นรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าถามว่าไม่กลัวท่านหรือ ท่านเป็นพระยา
    เขาตอบว่าไม่กลัว เพราะเคยรู้จักกับท่าน
    ข้าพเจ้าถามว่า รู้จักท่านที่ไหน ?
    เขาตอบว่า รู้จักเมื่อครั้งก่ออุโมงค์คร่อมพระพุทธบาทที่อำเภอบ้านผือ
    พอเจ้าคุณอุดรฯ มานั่งกับข้าพเจ้าเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าถามเจ้าคุณอุดรฯ ว่า เมื่อครั้งพระอาจารย์สีทัตถ์ก่ออุโมงค์คร่อมพระพุทธบาทที่บ้านผือนั้น ท่านเจ้าคุณเคยไปและเคยรู้จักสนิทกันกับพระอาจารย์สีทัตถ์หรือไม่ ?
    ท่านเจ้าคุณอุดรฯ ตอบว่าเคยไป และรู้จักกันสนิทสนมกันมาก
    ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๗ จนถึงปัจจุบันนี้ เด็กคนนี้ได้มาอยู่กับข้าพเจ้าที่เขาสวนกวาง เมื่อคนต่างถิ่นมาเยี่ยม ถ้าคนนั้นเคยรู้จักกับพระอาจารย์สีทัตถ์ แม้เขาจะไม่รู้จัก ก็แสดงอาการสนิทสนมเหมือนกับคนที่เคยรู้จักกันมาช้านานแล้ว
    แต่ถ้าคนนั้นไม่เคยรู้จักพระอาจารย์สีทัตถ์ แม้จะแนะนำให้เขารู้จัก เขาก็ไม่แสดงอาการสนิทสนม แสดงอาการอย่างคนธรรมดาที่เพิ่งรู้จักกัน
    เซียงโมง
    เด็กคนนี้เมื่อมาอยู่กับข้าพเจ้าข้าพเจ้าต้องการทดลองว่าเขาจะเคยบวชในชาติก่อนหรือไม่ จึงตัดสบงจีวรและย่ามเล็ก ๆ ให้ ทำทีบรรพชาให้เป็นสามเณร
    เขาแสดงอาการดีใจชื่นบานหรรษา ส่อว่ามีอุปนิสัยในการบวชมาแล้ว เมื่อบวชแล้วอดข้าวเย็นไม่ได้ ต้องสึกกินข้าวเย็นในวันนั้น
    (อายุ ๕ ขวบกับ ๗ เดือน เกิดวันอังคาร แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีขาล วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๕.๐๐ น.เศษ)
    จึงตั้งชื่อล้อเลียนเขาว่า “เซียงโมง” คนที่บวชเณรไม่ข้ามวันแล้วสึก ทางภาคอีสานเรียกผูสึกจากเณรนั้นว่า “เซียง”
    เมื่อเหตการณ์ตรงกับคำพยากรณ์ของพระอาจารย์สีทัตถ์ทุกประการดังที่เล่ามาตลอด ถึงพฤติการณ์ของเด็ก ข้าพเจ้าจึงปลงใจเชื่อว่าอาจารย์สีทัตถ์มาเกิดและระลึกชาติได้จริง
    ข้าพเจ้าจึงขอรับรองด้วยเกียรติยศและศีลธรรมว่า เป็นความจริงดังนี้กล่าวมามิได้เสกสรรปั้นแต่งขึ้น
    ขอส่งเรื่องนี้แก่ยุวพุทธิกะ เพื่อเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกลับชาติมาเกิดใหม่ของคน
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เด็กนั่นคืออาตมา
    <TABLE id=table7 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระถวัลย์ โชติธมฺโม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระภิกษุท่านนั้น จากการสัมภาษณ์ท่านได้กล่าวยืนยันว่า
    “เด็กคนนั้นคืออาตมาเอง”
    แล้วท่านได้เปิดเผยว่า...
    ท่านชื่อ ถวัลย์ นามสกุล อินทรกำแหง
    เกิดเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ อำเภอกุมภวาปี จังหวัด อุดรธานี
    บิดามารดาไม่มี เพราะเมื่อท่านเกิดมาแล้วจะตายหรือหายไปไหนทั้งคู่ก็ไม่ทราบเลย และจนบัดนี้ท่านมีอายุย่างเข้า ๓๘ ปี ก็ยังไม่ทราบว่าบิดามารดาของท่านเป็นใคร ? ชื่ออะไร ?
    เพราะชีวิตเติบโตขึ้นมาด้วยการอนุเคราะห์เลี้ยงดูจากคุณแม่สายบัว อินทรกำแหง จนอายุได้สามขวบก็นำไปให้ ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) อุปการะต่อ และได้ใช้นามสกุล “อินทรกำแหง” เรื่อยมา
    ครั้นอยู่กับท่านเจ้าคุณเส็งได้๒ ปี ท่านลงมากรุงเทพฯ ก็ได้พามาอาศัยอยู่บ้าน คุณสนั่น วีรวรรณ และได้เรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสุกิจวิทยาลัยของ ท่านศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินทร์ ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมไปนานแล้ว โดยเริ่มเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๑ ถึงประถมปีที่ ๔
    จากนั้นก็ไปสอบเข้าโรงเรียนวัดธาตุทอง จนถึงชั้นประถมปีที่ ๗ จบแล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนยาสูบอุปถัมภ์ ข้างสะพานเหลืองเดิมจนถึงชั้นมัธยมปีที่ ๒
    ภายหลังเกิดมีปัญหาภายในบ้านเล็กน้อย ก็เลยสอบตก จึงกลับไปอยู่กับคุณแม่สายบัว และไปเรียนต่อจนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ของโรงเรียนน้ำตาลอุปถัมภ์
    แล้วของเก่าจะกลับมา
    พระภิกษุถวัลย์ได้เล่าต่อไปว่า
    เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมปีที่สามแล้ว ได้ไปรอทำงานอยู่ที่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เพราะน้าชายซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ จะฝากให้
    แต่รออยู่นานก็ไม่ได้ทำงานสักที จึงกลับมาบวชเณร เมื่อปี ๒๕๑๒ ที่วัดจอมสี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านพระครูชิโนวาทธำรงค์ เป็นอุปัชฌาย์ (มรณภาพแล้ว)
    เป็นสามเณรสมบูรณ์แล้วก็ไปอยู่วัดเขาสวนกวางกับท่านเจ้าคุณเส็ง พออายุครบอุปสมบทก็บวชเป็นพระภิกษุ โดยมี ท่านพระครูอินทรโสภณ เป็นอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า โชติธัมโม
    ท่านเจ้าคุณเส็งได้สอนให้ปฏิบัติกรรมฐานและสอนให้เร่งความเพียรให้หนัก ท่านบอกว่า
    “ให้เพียรทำสมาธิเรื่อย ๆ แล้วของเก่าจะกลับมา”
    มารผจญ
    แต่ท่านพระภิกษุถวัลย์ อุปสมบท เป็นพระภิกษุได้เพียงไม่กี่พรรษา สอบนักธรรมโทได้ ก็ต้องลาสิกขาออกมาผจญกับความวุ่นวายในเรื่องทางโลกอยู่อีกหลายปี
    อาตมาสึกออกมามีครอบครัวแล้วก็อยู่กันได้ไม่นานก็แยกทางกัน อาตมาก็มาพิจารณาดูว่าจะไปทางไหน
    จนเห็นว่าไม่มีทางไหนดีกว่าอยู่ในสมณเพศ เพราะมีแต่ความสงบร่มเย็น อาตมาจึงได้กลับมาอุปสมบทโดยมีอุปัชฌาย์องค์เดิมเป็นผู้บวชให้ท่านเล่าให้ฟัง
    จะอยู่เรื่อยไป
    ปัจจุบันท่านจำพรรษาอยู่ที่ วัดวงศ์สนิทเมตตาราม ตำบลกะเฉด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
    อาตมายังไม่ลืมพระคุณของท่านเจ้าคุณเส็งเลย อาตมาเคยไปกราบท่านในฐานะท่านเป็นผู้มีพระคุณชุบเลี้ยงอาตมา มาที่วัตเขาสวนกวาง
    ได้เข้าไปปฏิบัติรับใช้ท่านอยู่ ท่านรู้จักหลักธรรมะดี ท่านพูดแต่ละคำเป็นหลักธรรมโดยตรงเลย
    ทุกวันนี้ อาตมาสวดมนต์ภาวนาแล้วอุทิศกุศลไปให้ท่านเจ้าคุณทุกครั้ง และตั้งใจจะอยู่ในสมณเพศไปเรื่อย ๆ
    ตั้งใจจะปฏิบัติภาวนาให้จิตสงบจนถึงที่สุด แต่คงต้องใช้เวลาบ้าง เพราะอาตมาใช้ชีวิตทางโลกมานาน เพิ่งจะกลับมาบวชได้สองพรรษานี้เองท่านพระภิกษุถวัลย์กล่าว ในที่สุด
    อยู่ที่ไหน
    เรื่องหลวงปู่สีทัตถ์กลับชาติมาเกิดเป็นพระถวัลย์ โชติธัมโม จึงจบเพียงแค่นี้
    แต่ความนึกคิดของผู้เขียนยังไม่จบ ด้วยผู้เขียนมีความสงสัยว่าจิตที่ออกจากรูปกายของคนเราเมื่อตายไปแล้วเป็นวิญญาณนั้น ไปอยู่ที่ไหนกันแน่ ?
    ดังรายของ พ.อ.(พิเศษ) เสนาะ จินตรัตน์ ซึ่งเพิ่งจะถึงแก่อนิจกรรมเมื่อไม่นานมานี้ คุณอัญชลี จินตรัตน์ ภรรยาของท่านได้บอกแก่ผู้เขียนในวันหนึ่งว่า
    “หนูมีความรู้สึกว่าพี่เหนาะอยู่ใกล้ ๆ หนูนี่เอง ไม่ได้ไปไหน”
    และมารดาของเธอก็ยังเป็นผู้เห็นผู้การฯเสนาะเข้ามาเยี่ยมภรรยาและลูกสาวของท่านถึงในมุ้ง ทั้งยืนยันได้ว่าไม่ใช่ความฝัน
    หรืออย่างราย ท่านศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล ก็เช่นกัน ถ้าวิญญาณของท่านไปอยู่บนสรวงสวรรค์ เหตุไฉนลูกชายของท่าน จึงสามารถเป็นร่างให้วิญญาณของท่านเข้ามาแฝงอยู่ได้ ในรายการพิสูจน์เกี่ยวกับวิญญาณทางวิทยาศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ?
    ใครจะสามารถเรียกวิญญาณที่อยู่บนสวรรค์ชั้นสูงลงมายังโลกมนุษย์ได้ครั้งแล้วครั้งเล่า ?
    “แล้วถ้าเช่นนั้น วิญญาณอยู่ที่ไหน ?”
    คำถามข้อนี้ผู้เขียนไม่สามารถจะตอบให้ชัดเจนลงไปได้ นอกจากจะต้องใช้เวลาศึกษาอีกมาก เพราะดั่งราย หลวงปู่สีทัตถ์ ที่กลับมาเกิดในชาตินี้เป็นพระถวัลย์ อินทรกำแหง นั้น
    หลวงปู่สีทัตถ์เป็นพระภิกษุที่เชี่ยวชาญทางอภิญญาเป็นอย่างยิ่ง สามารถบอกแก่เจ้าคุณอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ได้ล่วงหน้าว่า ท่านจะมาเกิดเป็นเด็กกำพร้า ขอให้ช่วยอปถัมภ์เลี้ยงดูด้วย !
    ปัญหาอยู่ตรงที่ระหว่างวิญญาณหลวงปู่สีทัตถ์ยังไม่ได้เกิดนั้นอยู่ที่ไหน ? ลอยละล่องคอยการจุติหรือไปอยู่บนสวรรค์ชั้นไหน ?
    ใครคิดออกช่วยกรุณาบอกแก่ผู้เขียนด้วยจะเป็นพระคุณเพราะปัญหาทางภูมิธรรมของผู้เขียนมีน้อยเกินกว่าจะคาดคะเนได้
    และจะขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ถ้าชี้หนทางให้ผู้เขียนได้พบกับท่านผู้มีภูมิธรรมอันสูง เพื่อจะได้เรียนถามท่านด้วยตัวผู้เขียนเอง จึงขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้
    ประวัติพระทรงคุณ
    ในโอกาสนี้ เมื่อได้พูดถึงพระถวัลย์ โชติธัมโม ซึ่งเป็นชาติปัจจุบันของ หลวงปู่สีทัตถ์ พระผู้มากบารมีในครั้งอดีต ก็ใคร่ขอนำประวัติในอดีตชาติของท่านซึ่งได้เคยสร้างคุณมหาศาลแก่วงการพระพุทธศาสนามาเสนอแก่ท่านสักเล็กน้อย
    หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านเป็นชาวท่าอุเทนโดยกำเนิด ท่านเกิดที่หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อพ.ศ. ๒๔๐๘
    โยมบิดาชื่อ นายมาก โยมมารดาชื่อ นางดา สุวรรณมาโจ
    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโพนแก้ว อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมทางบาลีจากท่านพระอาจารย์ขันธ์ พระอาจารย์ผู้มีวิทยาคมสูงยิ่งแห่งวัดโพนแก้วนั่นเอง
    เมื่อเห็นว่ามีความรู้ขั้นพื้นฐานดีแล้ว ท่านจึงได้ย้ายสำนักไปเรียนอยู่กับ พระอาจารย์ตาคำ แห่งวัดศรีสะเกษในตัวเมืองท่าอุเทนเช่นกัน
    การเรียนในสำนักของพระอาจารย์ตาดำนั้น ท่านมุ่งเรียนในวิชามูลกัจจายน์และคัมภีร์ทั้ง ๕ จนมีความรู้แตกฉานในทางบาลีเป็นอย่างดี
    ในสมัยนั้นการศึกษาทางฝ่ายปริยัติธรรม ยังไม่ได้แยกเป็นชั้นเช่นทุกวันนี้ คือนักธรรมชั้นตรี โท เอก และมหาเปรียญแต่อย่างใด เพียงแต่เรียนรวมกันทีเดียวเป็นปี ๆ เลย
    ชีวิตที่ผันแปร
    ในประวัติเมืองท่าอุเทนซึ่งเขียนโดย นายเมธี ดวงสงค์ ได้เขียนถึงประวัติของหลวงปู่สีทัตถ์พระอาจารย์ผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทนเอาไว้ว่า
    หลวงปู่สีทัตถ์ท่านบวชถึง ๓ ครั้ง และได้ลาสึกถึง ๒ ครั้ง ส่วนสาเหตุที่ทำให้ท่านต้องลาสิกขาบทออกไป แล้วเข้ามาบวชอีกว่า เป็นเพราะมีเรื่องทางโลกเข้ามารบกวนความสงบของท่านกล่าวคือ มีเหตุอันเป็นกระแสแห่งโลกทำให้ท่านต้องสึกไปแต่งงานซ้ำแล้วซ้ำอีก
    ชาวบ้านที่เคารพนับถือท่านบางคนก็กล่าวว่า สาเหตุที่หลวงปู่สีทัตถ์ท่านลาสิกขาไปนั้น คงเนื่องมาจากมี พระบาง อยู่ในวัด
    แต่มูลเหตุดังกล่าวนี้ก็เป็นความเข้าใจของคนบางคนเท่านั้นจะมีความจริงเท็จแค่ไหนเพียงไรก็ยากที่จะนำมาพิสูจน์กัน
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สืบต่อกันมา
    <TABLE id=table5 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    พระบาง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระบางนี้ได้มีผู้เล่าสืบต่อกันมาว่า ได้มีการสร้างขึ้นในประเทศลาว โดยคณะกรรมการ ๒ ฝ่ายเป็นผู้ร่วมกันสร้างขึ้นคือ
    ฝ่ายสงฆ์มี สมเด็จเหมมะวันนา เป็นประธาน
    ส่วน ฝ่ายฆราวาส มี พญาแมงวัน (มีรูปแมลงวันติดอยู่ที่หน้าผาก) ผู้เป็นเจ้าเมืองเหิบ ประเทศลาวเป็นประธาน
    ในครั้งนั้นได้หล่อพระที่มีขนาดเท่ากันขึ้น ๒ องค์ องค์หนึ่งเป็นพระขัดสมาธิ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่บ้านดอนติ้ว เมืองหินปูน ประเทศลาว)
    องค์ที่สองนั้นเป็นพระยืนปางห้ามสมุทร คือพระบาง ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรภูมิ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทนจังหวัดนครพนม
    อาถรรพณ์พระบาง
    <TABLE id=table4 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระบาง วัดไตรภูมิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หลังจากได้อัญเชิญพระบางจากประเทศลาวมาประดิษฐานที่วัดพระธาตุท่าอุเทนได้ไม่นาน ก็ต้องย้ายไปประดิษฐานยังวัดไตรภูมิ
    ส่วนสาเหตุที่ต้องย้ายที่ประดิษฐานพระบางจากวัดพระธาตุท่าอุเทนไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมินั้นก็สืบเนื่องมาจาก หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านต้องลาสึกถึง ๒ ครั้งนั่นเอง
    ทั้งนี้เพราะเป็นความเชื่อถือของชาวบ้านว่า พระบางเป็นพระที่ไม่ให้คุณ มีอาถรรพณ์ทำให้หลวงปู่สีทัตถ์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่มีผู้เคารพนับถือมากในลุ่มแม่น้ำโขง ตลอดจนถึงฝั่งลาวต้องลาสึก ซึ่งเรื่องราวมีว่า
    หลังจากหลวงปู่สีทัตถ์ท่านเข้ามาบวชเป็นครั้งที่สองนั้น ท่านมักจะออกแสวงหาความวิเวกตามสถานที่สงบต่าง ๆ อยู่เสมอ
    และการอุปสมบทครั้งที่สองของท่านนั้น ท่านอุปสมบทหลังจากที่พระบางได้มาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุท่าอุเทนแล้ว คือหลังปี พ.ศ. ๒๔๕๐
    ส่วนสาเหตุที่ท่านต้องสึกอีกครั้งนั้น มีเรื่องเล่าว่า ท่านพร้อมกับลูกศิษย์องค์หนึ่งได้ถือธุดงคกรรมฐานไปที่ฝั่งลาว
    วันหนึ่ง ขณะที่ท่านนั่งกรรมฐานอยู่นั้น ท่านได้ยินเสียงร้องรำของหญิงสาวชาวบ้านมีความไพเราะจับใจมาก ถึงขนาดตัดสินใจลาสิกขาบทในคืนวันนั้นทันที
    หลวงปู่ท่านได้ลาสิกขาเปลื้องผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว ไปสู่ขอหญิงสาวชาวบ้านผู้ที่ร้องรำคนนั้นกับบิตามารดาทันที ซึ่งบิดามารดาของหญิงสาวก็ไม่ขัดข้องเพราะมีความเคารพนับถือท่านมากอยู่แล้ว
    การลาสิกขาบทของท่านสร้างความประหลาดแก่ผู้พบเห็นในเวลานั้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะจู่ ๆ พระผู้ทรงศีลาจารวัตรอันงดงาม ต้องมาพ่ายแพ้กิเลสอันเป็นตัวมารอย่างง่าย ๆ เช่นนั้นจึงทำให้ชาวบ้านคิดไปว่าคงเป็นเพราะพระบางที่อยู่ในวัดมีอาถรรพณ์จึงบันดาลให้ท่านเป็นไป
    ต่างลงความเห็นกันว่าไม่สมควรเอาไว้ จึงได้พากันย้ายพระบางออกจากวัดพระธาตุท่าอุเทน ไปอยู่วัดไตรภูมิตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    บุญบารมีสูง
    <TABLE id=table6 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุท่าอุเทน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านเป็นพระที่มีบุญญาบารมีสูงยิ่งจริง ๆ และท่านมีอภินิหารแก่กล้ามาก
    ท่านสามารถก่อสร้างพระธาตุต่าง ๆ สำเร็จมาแล้วหลายแห่ง เช่น
    ๑. พระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
    ๒. พระธาตุพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
    ๓. มณฑปโพนสัน ประเทศลาว
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระธาตุท่าอุเทน นั้น หลวงปู่สีทัตถ์ท่านมีความสามารถสร้างเหมือนพระธาตุพนมสมัยก่อนได้ทั้ง ๆ ที่ฐานรองรับก็เพียงขุดหลุมแล้วใส่หินนางเรียง หรือหินแก้วนางฝาน เป็นฐานรองรับพระธาตุซึ่งยังไม่ทรุดแต่ประการใด และมีอายุยาวนานมากว่า ๗๐ ปีแล้ว
    นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์มิใช่น้อยที่คนในสมัยนี้คงไม่มีบารมีก่อสร้างได้เช่นท่าน เพราะการนำเอาหินแก้วนางฝานมารองรับองค์พระธาตุได้นี้ นับว่าเป็นอภินิหารอันแก่กล้าของท่านเหนือโลกจริง ๆ
    ข่าวลือ
    ในระหว่างที่หลวงปู่สีทัตถ์ทำการก่อสร้างองค์พระธาตุท่าอุเทนนั้น (ในราว พ.ศ. ๒๔๕๖) ได้มีพระครูสมุห์วรคณิสรสิทธิการ ซึ่งทางฝ่ายคณะสงฆ์จากกรุงเทพฯ ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้แทนหัวหน้าสงฆ์ มาตรวจการทางภาคอีสาน
    ครั้นมาถึงจังหวัดหนองคายได้ข่าวว่า
    หลวงปู่สีทัตถ์ เป็นผู้มีอิทธิพลมาก และแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ได้ เช่น ล่องหนหายตัว ย่อแผ่นเดินให้แคบเข้า และ ข้ามแม่น้ำโขงได้โดยไม่ต้องใช้เรือ มีผู้คนเลื่อมใสมากและได้ซ่องสุมผู้คนเพื่อจะกบฏต่อกรุงเทพฯ
    พระคูรสมุห์วรฯ จึงคิดจะมาจับเอาตัวท่านหลวงปู่ลงไปกรุงเทพฯ
    ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นข่าวลือที่เกิดขึ้น เพราะหลวงปู่ท่านเป็นคนสุภาพอ่อนโยน รักความสงบ และถ่อมตนอยู่เสมอเป็นผู้ตั้งอยู่ในสุจริตปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย จึงทำให้มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสท่านมาก
    หลวงปู่ท่านไม่ได้แสดงปาฏิหาริย์ ท่านตั้งใจสร้างพระธาตุเจดีย์โดยบริสุทธิ์ใจ แต่ก็มีผู้ไม่หวังดีใส่ร้ายท่าน ซึ่งเรียกว่าเป็นตัวมารโดยแท้
    พระครูสมุห์วรฯ เมื่อโดยสารเรือล่องลงมาจากจังหวัดหนองคายมาถึงท่าอุเทนแล้ว ก็จอดหรือตรงท่าวัดกลาง ซึ่งขณะนั้นมีหาดทรายติดกับตลิ่งฝั่งท่าอุเทนยื่นไกลออกไปสู่กลางแม่น้ำโขงประมาณ ๑๐ เส้น
    และเมื่อพระครูสมุห์วรฯ มาถึงก็มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนออกมาให้การต้อนรับพอสมควร
    ท่านได้ขึ้นไปวัดอรัญญวาสี เพื่อจะจับเอาหลวงปู่สีทัตถ์ แต่ก็ไปไม่ถึงวัด ไปถึงแค่หน้าที่ว่าการอำเภอก็แวะเข้าไปพักอยู่ที่นั่น
    เมื่อมีผู้ไปถามท่านว่า “ทำไมไม่ไปให้ถึงวัด”
    ท่านก็ตอบว่า “กลัวพระสีทัตถ์จะสั่งให้ลูกน้องทำอันตราย”
    ไม่มาดอก
    พระคูรองค์นั้นได้โทรเลขให้ พระพนมนราฯรักษ์ (อุ้ย นาครทรรพ) ผู้ว่าฯ นครพนมในสมัยนั้น ให้ขึ้นมาจับเอาตัวหลวงปู่สีทัตถ์เอง แต่กลับได้รับคำตอบกลับไปว่า
    ท่านอาจารย์สีทัตถ์มิได้คิดกบฏซ่องสุมผู้คนอะไรเลย หากแต่ท่านสร้างพระธาตุเจดีย์และมีผู้คนมาจากอำเภอและจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เดียงเดินทางมาช่วยท่าน โดยหวังผลในส่วนกุศลเท่านั้น มิได้คิดเป็นอย่างอื่นดังที่พระคุณเจ้าเข้าใจ
    และตัวท่านพระอาจารย์สีทัตถ์เองก็อยู่ในศีลธรรมอันดี รักความสงบไม่มีจิตคิดอิจฉาและชิงดีคนอื่น
    เมื่อพระครูสมุห์วรฯ ทราบความจริงเช่นนั้น จึงเดินทางต่อไปยังเมืองนครพนม เหตุการณ์ก็เป็นอันสงบไป
    ส่วนทางฝ่ายวัดอรัญญวาสี เมื่อทราบข่าวว่ามีพระภิกษุมาจากกรุงเทพฯ จะมาจับเอาตัวหลวงปู่ซึ่งท่านก็ไม่ได้สะทกสะท้านแต่อย่างใด ท่านยังสั่งให้พระลูกศิษย์เตรียมปูอาสนะให้ด้วย และท่านก็ยังคงทำงานก่อสร้างพระธาตุของท่านไปเรื่อย ๆ
    ต่อมาได้มี พระอาจารย์ปาน ซึ่งมาจากบ้านใหม่ ดอนสังคี อำเภอโพนพิสัย กับ พระอาจารย์ยอดแก้ว และ พระอาจารย์ปิ่น ได้มาขอสู้แทนหลวงปู่ซึ่งท่านก็กล่าวว่า
    “พระคูรสมุห์ฯ ไม่มาดอก อย่าวุ่นวายไปเลย” และก็ไม่มาจริง ๆ
    หมดไหแล้ว
    เรื่องอภินิหารที่เกิดจากบุญญาบารมีของผู้สร้าง คือหลวงปู่สีทัตถ์นี้ได้มีผู้กล่าวกันว่า ได้แสดงอภินิหารด้วยการเรียกปลาร้ามาเลี้ยงคนงานที่มาก่อสร้างองค์พระธาตุอย่างอัศจรรย์ยิ่ง
    ซึ่งเรื่องมีอยู่ว่า ในการสร้างพระธาตุท่าอุเทนนั้น อาหารหลักที่จะนำมาเลี้ยงคนทั่วไปก็คือ ปลาแดก (ปลาร้า) กับผักสด และปลาแห้ง
    หลวงปู่สีทัตถ์ท่านได้ตั้งโรงครัวเพื่อให้คนงานที่ออกแรงปั้นอิฐ (ดินจี่) เผาอิฐ ได้รับประทานกัน ซึ่งมีจำนวนเป็นร้อย ๆ (รวมทั้งพระภิกษุสามเณรด้วย)
    เย็นวันหนึ่ง หลวงปู่ได้เดินตรวจดูความเรียบร้อยของงานที่ผ่านไปวันหนึ่ง ๆ และท่านได้มายืนคุยกับญาติโยมที่กำลังพากันรับประทานอาหารเย็นอยู่ พวกแม่ครัวจึงพากันนมัสการท่านว่า
    “วันนี้ปลาร้าหมดไหแล้วพรุ่งนี้จะไม่มีปลาร้าประกอบอาหารอีก”
    หลวงปู่ท่านได้ยินแล้วก็ไม่ตอบอะไรได้แต่ยิ้ม ๆ และหัวเราะหึ ๆ ในลำคอเท่านั้น และท่านได้เดินมาดูไหปลาร้าที่ว่างเปล่ากว่า ๑๐ ไห แต่ท่านก็ไม่ได้แสดงอาการวิตกกังวล หรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ทำให้พวกแม่ครัวพากันห่วงยิ่งขึ้นและคิดไปว่า
    “เอ... หลวงปู่เรานี่ จะเอาอย่างไรนะ ปลาร้าหมดไห บอกให้รู้ก็ทำเป็นเฉย ๆ อยู่ จะเอาอย่างไรก็ดี จะให้ทำอย่างไรก็ไม่บอก”
    ก่อนที่หลวงปู่ท่านจะเดินจากไป ท่านก็พูดเปรย ๆ ขึ้นว่า
    “กินข้าวกินปลากันไปเถอะแล้วจะมีคนเอามาให้”
    คำพูดของหลวงปู่ครั้งนั้นทำให้พวกแม่ครัวพากันฉงนอยู่มิใช่น้อย จากนั้นต่างก็ช่วยกันเก็บล้างถ้วยชามทำความสะอาด แล้วปิดประตูโรงครัวเพื่อกันไม่ให้สุนัขหรือแมวเข้าไปรบกวนแล้วก็พากันเข้าไปนอน
    เหตุอัศจรรย์
    <TABLE id=table8 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงปู่ตา ผู้เป็นกำลังสำคัญ
    ที่ช่วยสร้างพระธาตุท่าอุเทน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พอวันรุ่งขึ้นพวกแม่ครัวก็พากันมาติดไฟนึ่งข้าวเหนียวเพื่อเตรียมไว้ให้พวกที่สร้างพระธาตุได้กินกันก่อนทำงาน
    ปรากฏการณ์อันแปลกประหลาดก็เกิดขึ้นแก่แม่ครัวได้อัศจรรย์กันไปตาม ๆ กัน เพราะบรรดาไหปลาร้าที่ว่างเปล่าเมื่อเย็นวานนี้ กลับมีปลาร้าเต็มไหหมด
    สร้างความฉงนสนเท่ห์แก่ทุกคนที่พบเห็นเป็นอย่างมาก จึงได้บอกต่อ ๆ กันไปให้มาดูความแปลกมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น เมื่อทุกคนมาเห็นเข้ากับตาต่างก็พากันงึด (อัศจรรย์) เป็นที่สุด
    พอสว่างได้เวลาที่พระจะออกบิณฑบาต ต่างก็พากันไปกราบนมัสการให้หลวงปู่ทราบว่า ที่พวกเขาตกใจว่ากลัวจะไม่มีปลาร้ากินในวันนั้นปลาร้าได้มีอยู่เต็มไปหมดทุกไหแล้ว และต่างก็สอบถามหลวงปู่ว่าปลาร้ามีมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ให้มา ทำไมจึงมีมาได้
    หลวงปู่ท่านไม่ตอบเช่นเคย ท่านหยิบเอาบาตรได้แล้วก็จะออกไปบิณฑบาตตามที่เคยปฏิบัติมา เพียงแต่วางหน้าเฉย ๆ และท่านได้เปรยขึ้นว่า
    “เออ...มีก็ดีเล้ว จะได้กินกันอีก ทำงานกันต่อไปเถอะ”
    ข้ามมายังไง
    ในประวัติของเมืองท่าอุเทนได้มีผู้บันทึกถึงเรื่องหลวงปู่ว่าหลวงปู่ท่านข้ามโขง (แม่น้ำโขง) โดยไม่ต้องใช้เรือ
    เหตุนี้เกิดขึ้นที่อำเภอบ้านแพง ซึ่งสมัยนั้นเป็นเพียงตำบลหนึ่งเท่านั้น
    จากปากคำของคนที่เชื่อถือได้ กล่าวกันว่าผู้เปิดเผยเรื่องอภินิหารของหลวงปู่ คือ อดีตครูใหญ่ตำบลหนึ่ง ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งให้ไปเป็นครูผู้ใหญ่ในตำบลที่มีผีปอบมาก ๆ เพื่อให้ไปปราบผีและได้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง
    บรรดาผีที่เข้าสิงคนอยู่นั้น ถ้าได้เห็นครูคนนี้ขึ้นไปบนบ้านเท่านั้น ก็ร้องเสียงหลงทันที “ออกแล้ว ยอมแล้ว”
    ในปัจจุบันท่านผู้นี้อายุ ๘๓ ปี คือ อาจารย์ทอน กิตติศรีวรพันธุ์ แห่งบ้านเนินคนึง อำเภอบ้านแพง ในปัจจุบัน
    อาจารย์ทอนได้เล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า ในสมัยนั้นเขาได้พบกับสามเณรตัวเล็ก ๆ องค์หนึ่งซึ่งเป็นผู้ติดตาม หลวงปู่สีทัตถ์ ท่านออกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาสัจธรรมตามป่าเขาลำเนาไพรในระยะใกล้ ๆ
    เณรน้อยองค์นั้นก็ติดตามไปเพื่อปรนนิบัติท่าน เพื่อเป็นการเริ่มฝึกหัดการเจริญวิปัสสนากรรมฐานกับท่าน
    สามเณรองค์นี้ได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว ก่อนที่จะมรณภาพ ก็ได้เล่าเรื่องหลวงปู่ให้ฟังว่า
    วันหนึ่งหลังจากฉันอาหารเช้าแล้ว หลวงปู่จะพาข้ามไปฝั่งลาวเพื่อไปแสวงหาพระอาจารย์ดังทางฝั่งโน้น
    หลวงปู่ท่านได้พาเดินเลาะท่าเรือที่จะข้ามไปแต่ก็ไม่มีสักลำ ท่านพาเดินจนเหนื่อยจึงได้พบเรือแต่ไม่มีคนพายข้ามไป เณรน้อยจึงบอกกับหลวงปู่ว่า
    “ขอพักก่อนเถอะ เพราะเดินเหนื่อยแล้ว ผมเบื่อและเมื่อยเต็มที”
    หลวงปู่ท่านกล่าวกับเณรน้อยว่า “เฉย ๆ ไว้ ต้องไปให้ได้หลวงปู่จะพาไปเอง”
    จากนั้นท่านก็สั่งให้กลับหลังหัน แล้วให้ยืนนิ่ง ๆ พร้อมกับให้หลับตาให้สนิทจริง ๆ
    ขณะที่สั่งหลวงปู่ท่านอยู่ด้านหลัง และอยู่ห่างกันประมาณวาเศษ ๆ พอหลวงปู่ท่านสั่งแล้วเณรน้อยก็หลับตาตามที่ท่านสั่ง
    เณรก็คิดอยู่ในใจว่าหลวงปู่ท่านจะพาเราไปอย่างไรกันหนอพร้อมกับระลึกและจดจ่ออยู่ว่าเมื่อไรหลวงปู่ท่านจะให้ลืมตาสักที
    เมื่อหลับตาแล้วก็มืดมิดมองไม่เห็นอะไร
    ทันใดนั้นเองหลวงปู่ก็พูดเป็นเสียงธรรมดาว่า
    “เอ้าถึงแล้ว ลืมตาได้”
    สามเณรน้อยลืมตาขึ้น และได้เห็นตัวเองกับหลวงปู่มายืนอยู่ที่ฝั่งประเทศลาวเสียแล้ว เมื่อมองดูที่ริมน้ำก็ไม่เห็นมีเรือเลย ปาฏิหาริย์แท้ ๆ ด้วย ความแปลกประหลาดและพิศวง ทำให้เณรน้อยผู้คอยอุปัฏฐากท่านอดรนทนไม่ไหว ใคร่อยากจะรู้ว่า หลวงปู่ท่านทำอย่างไรนะ ถึงได้ข้ามแม่น้ำโขงมาได้ จึงได้เอ่ยถามขึ้นว่า
    “หลวงปู่ครับ เราข้ามมาได้อย่างไร ใครดลบันดาลให้”
    แทนที่หลวงปู่ท่านจะตอบถึงสาเหตุที่สามารถข้ามแม่น้ำโขงมาได้ ท่านกลับตอบเป็นเชิงดุ ๆ ว่า
    “ไม่ใช่เรื่อง เอาล่ะ ไปกันได้แล้ว”
    ทำให้เณรน้อยยิ่งงงใหญ่ พลางก็เดินตามหลังหลวงปู่ท่านไป
    เร้นกาย-หายตัว
    จากปากคำบอกเล่าในบันทึกของอดีตนายอำเภอซึ่งได้รับคำไขขานบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ของเมืองท่าอุเทนเล่าให้ฟังว่า
    หลวงปู่ท่านหายตัวได้และย่อแผ่นดินจากกว้างให้แคบได้
    เช่นเมืองท่าอุเทนอยู่ฝั่งไทย เมืองปากหินปูนอยู่ฝั่งลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นกลางอยู่ แต่หลวงปู่ท่านก็มีความสามารถเดินข้ามได้อย่างสบาย
    มีเรื่องเล่าว่าในสมัยนั้นฝั่งลาวกับฝั่งไทยมีความรักใคร่กันดี เมื่อมีงานบุญก็จะบอกกล่าวถึงกันเป็นประจำ แม้จะมีแม่น้ำโขงขวางกั้นอยู่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
    พระเณรจะถูกนิมนต์ให้ไปร่วมทำบุญและไปกันเป็นคณะ ซึ่งหลวงปู่ท่านก็กำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง ท่านก็ถูกนิมนต์ไปด้วยเสมอ เพราะชาวฝั่งเมืองหินปูนต้องการชมบารมี และจะได้เห็นหน้าเห็นตาท่านชัด ๆ สักที
    เมื่อญาติโยมได้นิมนต์พระสงฆ์องค์เณรเรียบร้อยแล้วก็ได้พากันไปนิมนต์หลวงปู่สีทัตถ์ ซึ่งขณะนั้นท่านกำลังสั่งและควบคุมพวกช่างสร้างพระธาตุท่าอุเทนอยู่โดยขอนิมนต์ให้ท่านไปพร้อม ๆ กันหลาย ๆ รูปและหลายลำเรือและกล่าวกับท่านว่า
    ชาวเมืองปากหินปูนกำลังรออยู่ ขอให้หลวงปู่ลงเรือไปด้วยกันให้จงได้ เพราะที่เรือได้เตรียมปูเสื่อน้อยให้สำหรับหลวงปู่อยู่แล้ว เพื่อจะได้ไปทันเจริญพระพุทธมนต์ก่อนเพลในโบสถ์ วัดปากหินปูน
    เสร็จแล้วก็จะได้ให้หลวงปู่ร่วมฉันเพลกับพระรูปอื่น ๆ ด้วย
    หลวงปู่ท่านกล่าวกับญาติโยมว่า
    ไปก่อนเถอะ จะสั่งเสียมอบหมายการงานให้ช่างสร้างพระธาตุท่าอุเทนเรียบร้อยแล้ว จะรีบตามไปให้ทันทีหลัง
    พวกญาติโยมก็พากันคะยั้นคะยออยู่หลายครั้ง หลวงปู่จึงหันหน้ามาบอกว่า
    “ไปเถอะ ไปก่อนเถอะ จะตามไปให้ทันทีหลัง ไม่ต้องห่วง”
    จากนั้นญาติโยมก็พากันลงเรือข้ามไปปากหินปูน พอไปถึงฝั่งปากหินไน ที่วัดกำลังมีงานผู้คนก็มาก ญาติโยมได้พาพระเณรจากฝั่งไทยเข้าโบสถ์
    แต่เมื่อทุกคนมองเข้าไปในโบสถ์ ก็เกิดความสงสัยเป็นอย่างยิ่งเพราะพระเณรของเมืองปากหินปูน ต่างก็นั่งห้อมล้อมหลวงปู่สีทัตถ์อยู่อย่างเนืองแน่น สร้างความประหลาดใจไปตาม ๆ กัน
    เพราะเรือที่ตามมาติด ๆ กันมิได้เห็นมีสักลำ จะเข้าไปถามดูว่าท่านมาได้อย่างไรก็ไม่มีโอกาส เพราะมีพระอยู่มาก และกำลังประกอบกิจทางศาสนาอยู่
    เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ตอนบ่าย ๆ ญาติโยมก็พากันเดินทางกลับมายังเมืองท่าอุเทน ซึ่งหลวงปู่ท่านก็กลับมาด้วย
    พอมาถึงวัด ญาติโยมที่ฉงนสนเท่ห์เป็นอย่างมาก เพื่อให้หายสงสัยจึงไปกราบนมัสการถามหลวงปู่ว่า
    “หลวงปู่ไปถึงวัคปากหินปูนก่อนได้อย่างไร”
    ซึ่งหลวงปู่ท่านก็ตอบไปโดยเลี่ยง ๆ ว่า“ก็ตามกันไปนั่นแหละ ไม่เห็นหรือ ?”
    จากนั้นหลวงปู่ท่านก็พูดคุยไปในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างพระธาตุว่า
    “งานของเรายังมีอีกมาก ช่วยกันเข้าจะได้เสร็จ ๆ ไป”
    มรณกาล
    ต่อมาภายหลังเมื่อเสร็จจากการก่อสร้างพระธาตุบัวบกแล้ว ท่านก็ข้ามฝั่งโขงไปถึงธุดงคกรรมฐานอยู่ในป่าประเทศลาว
    หลังจากนั้นก็ได้มาสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท (จำลอง) ที่บ้านโพนสัน ซึ่งการก่อสร้างก็สำเร็จไปด้วยดี
    หลวงปู่ท่านได้อยู่ที่วัดบ้านโพนสันอีก ๖ ปี ก็มรณภาพ ณ ที่วัดแห่งนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓สิริอายุได้ ๗๕ ปีพอดี
    ก่อนมรณภาพ หลวงปู่ท่านสั่งเอาไว้ว่า
    “เมื่อเผาศพเสร็จแล้วให้เอากระดูกของท่านไปทิ้งลงในแม่น้ำโขงให้หมด ”
    ตังนั้น หลังจากเสร็จสิ้นพิธีศพของท่านแล้ว บรรดาศิษย์ทั้งหลายจึงนำอัฐิของท่านทิ้งลงในแม่น้ำโขงจนหมดสิ้น
    ในชีวิตของหลวงปู่สีทัตถ์พระผู้ใฝ่ในธรรมแห่งเมืองท่าอุเทน ท่านได้ออกเดินธุดงค์จงกรมไปหาความจริงถึงประเทศพม่า ลาว และทั่วภาคเหนือ-อีสาน ซึ่งมีสภาพเป็นป่าเขาลำเนาไพร อันเป็นสถานที่ยินดี เหมาะที่จะบำเพ็ญพลังจิต โดยมิได้ย่อท้อต่อภูมิประเทศและดินฟ้าอากาศแต่อย่างใด
    จิตใจของท่านจึงมั่นคง ไม่หวั่นไหว มุ่งแต่จะแสวงหาความจริงอันเป็นความจริง ดังคำสอนของพระพุทธรูปองค์ ท่านจึงเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การยกย่องเป็นอย่างยิ่งองค์หนึ่ง
    [​IMG]
     
  15. ศ.รุ่งเรือง

    ศ.รุ่งเรือง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2007
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +719
    โอนเงินค่าหนังสือ 2 เล่มครับ วันที่ 18/7/50 จำนวน 501.-
     
  16. กุ้งมังกอน

    กุ้งมังกอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +1,181
    ได้ความรู้อีกอย่างแระ การสร้างพระเจดีย์ท่าอุเทน ของหลวงปู่สีทัตถ์ ทีมีการขุดหลุมแล้ววางหินนางเรียง หรือหินแก้วนางฝาน เป็นฐานรองรับพระธาตุไปพบมาเหมือนกันตามแบบการสร้างพระธาตุพนม เพิ่งทราบความจริงเป็นเช่นนี้ ที่ไปพบและทำบุญมายัง งง อยู่เหมืนกันทีได้เห็นและคิดว่าจะอยู่ได้อย่างไรมีก้อนหินรองรับฐาตุพระเจดีย์ ที่แท้ก่อสร้างตามแบบโบราณของหลวงปู่สีทัตถ์นี่เองอืม.....น่าสนใจ ทีเล่าให้พี่หนุ่มอะครับ.วิเคราะแล้วตามแบบเลยถึงต้องมีการบรรจุจนเสร็จทั้งองค์พระเจดีย์ ขอบคุณครับทีลงรายเอียด พระเจดีย์ท่าอุเทน
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137

    ปริศนาธรรมบางครั้งไม่ได้มาในคราเดียว ทิ้งไว้ช่วงหนึ่ง จะมีข่าวสาร หรือข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกันมาให้เราได้ไขข้อสงสัยในสายธรรม หรือสายบุญเดียวกัน

    โมทนาสาธุ
     
  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    ผมกำลังหาหนังสือเล่มนี้(ตำนานเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น เป็นหนังสือที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเขียน)อยู่เหมือนกันครับ
    หรือเล่มนี้(กระเบื้องถ้วยกะลาแตก
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

แชร์หน้านี้

Loading...