ขอความกรุณาจากผู้รู้ค่ะ ว่า..ดิฉันมาถูกทางแล้วหรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย บุญน้อมนำ, 7 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    ถามอีกค่ะ..เรื่องของเพื่อน เพื่อนนั่งสมาธิ(ภาวนาพุธโธ)แล้วเกิดดึ่งลึก เกิดว่างๆ(ใช้เวลานั่งไป 2 ชม.)ปวดขาก็วางเฉยไม่ได้กำหนดอะไรเกิด อะไรขึ้นขณะนั่งก็ไม่ได้กำหนดคือปล่อยวางเฉยจะเกิดอะไรก็เกิด และขณะที่เขาแผ่ส่วนกุศลให้ลูกขณะนั่งก็เกิดร้องไห้ขึ้นมา..
    ถามว่า..สมาธิที่นั่งนี้เป็นแบบไหน..และขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยค่ะ
    แล้วการแผ่ส่วนกุศลให้ผู้ล่วงรับโดยเฉพาะลูกทำไมถึงร้องไห้เหมือนไม่ใช่ตัวเอง(แผ่ให้คนอื่นไม่ร้องไห้)
     
  2. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    การให้ผลของกรรม
    การให้ผลของกรรมมีสองชั้น คือ การให้ผลของกรรมชั้นธรรมดาอย่างหนึ่ง และการให้ผลของกรรมในชั้นศีลธรรมอีกอย่างหนึ่ง การให้ผล
    ของกรรมชั้นธรรมดา เป็นการให้ผลโดยไม่คำนึงถึงว่าถูกหลังความชอบธรรมหรือไม่ เช่นนาย ก. โกงเงินหลวงหรือขโมยทรัพย์มา นาย ก. ก็จะได้เงินนั้นมา
    และถ้านาย ก. ใช้เงินซื้อบ้าน นาย ก. ก็จะได้อยู่บ้านนั้น นี่เป็นการให้ผลของกรรมชั้นธรรมดา แต่การให้ผลของกรรมหาได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้นไม่ กรรมที่
    ทำลงไปยังจะให้ผลในชั้นศีลธรรมอีก คือ ถ้าทำดีจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน และถ้าทำชั่วก็จะต้องได้รับผลชั่วอย่างหลีกไม่พ้น
    กรรมบางอย่างอาจจะให้ผลในชาตินี้ เรียกว่า "ทิฎฐธรรมเวทนียกรรม" กรรมบางอย่างอาจจะให้ผลในชาติหน้า ที่เรียกว่า "อุปปัชชเวทนียกรรม" กรรมบางอย่างอาจจะให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป ที่เรียกว่า "อปราปรเวทนียกรรม"

    ควรจะกำหนดครับ กำหนดนี่ได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนาทั้ง2อย่าง สติจะครบบริบูรณ์และทำให้ทนต่อเวทนาได้เป็นอย่างดี เมื่อผ่านความปวดไปได้ ก็จักไม่ปวดอีก จิตก้ย่อมตั้งมั่นขึ้นกว่าเดิม เพราะเอาชนะอุปาทานความปวดในรูปได้แล้ว(กายปวดแต่จิตไม่ปวดตาม)

    ต้องถามคนที่ร้องไห้ดู ว่าเขาร้องไห้เพราะอะไร คาดคิดเอาเองคงตอบได้ยาก
    แต่ส่วนหนึ่งคิดว่า คงคิดถึงลูกคนที่จากไปมากๆ เลยมีความเสียใจตอนขณะแผ่เมตตา ไม่น่าจะเกี่ยวกับฝึกสติสมาธิ และการแผ่เมตตาออกไป เพราะเป็นคนละเรื่องกัน
     
  3. topnank

    topnank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,899
    ค่าพลัง:
    +874
    ลักษณะของคุณมีกรรมดีส่งมา ควรไปหาวัดสายธรรมยุติ สอนให้ ต้องให้ท่านชี้แนะจะดี

    กว่า เพราะของคุณถ้าเดินให้ถูกต้อง และพระกรรมฐานชี้แนะจะทำได้ครับ อาการของคุณ

    มีกึ่งวิปัสสนา กึ่งสมาธิ แต่ถ้าให้ดีที่สุดต้องเอาสมาธิให้ได้ดีกว่าแล้วค่อยไป วิปัสสนา

    เพราะคุณเกิดเห็นแล้วตกใจทุกครั้ง เพราะสมาธิยังไม่ถึงปฐมฌาน

    วัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี หรือ วัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101 ถ้าสะดวกตรงไหนไป

    ตรงนั้น (FM.89.25 คลื่น วิทยุวัดสังฆทาน)

    อาการของเพื่อนคุณจิตน่าจะดิ่งลึก จนผ่านเวทนาไปได้ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเขาได้พิจารณา

    ระหว่างอยู่ในสมาธิหรือไม่ เหตุที่ร้องไห้ น่าจะเกิดจากอารมณ์ของ ปิติเกิดขึ้น หลังจาก

    ออกสมาธิ
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    คนเรามีจิตที่มีสภาพรู้ตลอดเวลา แต่ว่า
    ไม่ได้มีสติสัมปชัญญะเกิดตลอดเวลา

    เรียกว่า รู้อยู่ตลอด แต่ไม่รู้สึกตัวตลอด
    คำว่า รู้ กับ รู้สึกตัวจึงต่างกันมาก

    ที่กล่าวว่า " ให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลา "

    อันนี้เป็นการฝึกสร้างสติ

    สติมีสัญญาเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ

    การกล่าวว่า ให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
    ก็คือการให้หันมามองดูตัวเอง
    เห็นตัวเอง หยาบก็คือกาย ละเอียดก็คือจิต

    เมื่อเห็นตัวเองบ่อยๆเข้า ก็จะสามารถสร้างสติ
    ให้มีความเป็นไปเองได้มากขึ้น
    เรียกว่า เป็นอัตโนมัติมากขึ้น
    ไม่มีการจงใจไปสั่งให้สติเกิดขึ้นมา
    แต่สติจะเกิดขึ้นมาได้เองจากการฝึกฝนทำเหตุไว้

    คำสอนจึง บอกให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
    เมื่อชำนาญมากเข้า จะรู้สึกตัวได้มากขึ้น เพื่อพัฒนาในลำดับต่อไป


    ปกติคนเราใจลอยอยู่ตลอด
    หรือจะเรียกว่า ยังหลับ ฝันทั้งกลางวัน ฝันทั้งกลางคืน
    ต่อเมื่อมารู้จัก สัมมาสติ จึงจะรู้จักกับคำว่า ตื่น ของจริง

    ในทางฝึกฝน จึงต้อง สร้าง สติ มาเป็นอันดับแรก
    ตาม วิธีการที่ถนัด ที่เหมาะกับตัวเอง
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอให้ทำความเข้าใจโดยย่อ 2 กรณี

    เจตนาทำกรรมนั้น
    เจตนาทำกรรมในแต่ละอย่างให้ผลต่างกันไป
    เจตนาทำกรรมที่ดีมากกว่า ย่อมเป็นอานิสงส์
    ให้ผลของการกระทำดีให้ผลก่อน

    ซึ่งมีทั้ง แต่ปางก่อนที่ส่งผล และปัจจุบันชาติให้ผล
    การขายของประกอบการค้า ไม่ได้มุ่งตั้งใจเอาแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ก็ต้องดูว่า เป็นส่วนมากหรือส่วนน้อย
    อันนี้เป็นกรณีที่ 1

    การประกอบการสุจริตในทางโลก
    แต่เมื่อวัดลงทางมรรค มี 2ขณะ
    ขณะในการประกอบมรรค กับขณะแห่งมรรคเกิด
    ขณะประกอบมรรค มีการสร้างสุจริตด้วยอาชีพเป็นทางดำเนิน
    เรียกว่าประกอบเป็นพื้นทางทางดำเนินชีวิต

    และก็อบรมเจริญสติปัฏฐานไปด้วยจนมาถึง
    ในขณะแห่งมรรคเกิด แม้กุศลทางดำเนินที่เป็นพื้นก็ถูกเผิกออก
    จึงกล่าวว่า ขณะในการประกอบมรรคใช้กุศลละอกุศล
    แต่ในขณะแห่งมรรคเกิด ละกุศลแต่ถ่ายเดียว
    อันนี้เป็นกรณีที่ 2

    อ่านแล้วก็อย่าเพิ่งงง สงสัยก้ให้รู้ว่าสงสัย

    ในทางฝึกฝน อย่าไปสนใจในผลที่จะตามมา
    ขอเพียงสร้างเหตุแห่ง สติ(สัมมาสติ) ที่จะมีได้ ในลำดับแรกให้ได้ก่อน
     
  6. boontiga

    boontiga เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    457
    ค่าพลัง:
    +2,357
    ขอแนะนำให้อ่านกระทุ้ของคุณปราบเทวดาเรื่อง
    รวมเทคนิค วิธี ข้อสังเกตุ การฝึกสติ สมาธิ ปัญญา โดยหลวงปู่พุธ ฐานิโย
     
  7. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    ขอขอบคุณทุกท่านมากๆค่ะที่มีความกรุณาแนะนำ..ขอทุกๆท่านบุญรักษาค่ะ
     
  8. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    ถามเรื่องวิธีการยกพานไหว้ครูบาอาจารย์ก่อนการนั่งสมาธิค่ะ..จำเป็นไหมค่ะแล้วทำอย่างไร..ทำที่หิ้งพระที่บ้านได้ไหมค่ะ..
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    อยู่ที่ความสะดวกครับ
    พานพวงมาลัยไหว้พระสวดมนต์ ทำได้ตามความสะดวก

    หากอยู่ในภาวะที่หาได้ ทำได้ทุกวันก็ดี
    หากอยู่ในภาวะที่ติดขัด
    ก็เพียงทำความระลึกถึง คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    แล้วกราบลงไป ไม่ว่าอยู่ที่ไหนๆ จะมีหรือไม่มีพระพุทธรูปก็ดี
    จะมีหรือไม่มีเครื่องสักการะก็ดี
    เพียงใจเราเชื่อมั่นในคุณพระรัตนะตรัย
    สิบนิ้วก้มลงกราบแสดงความนอบน้อมที่ตรงไหน
    คุณของพระรัตนตรัยและครูอาจารย์ก็อยู่ที่นั่น
    ก็ถึงทุกครั้งที่เราระลึกและก้มลงกราบด้วยความนอบน้อม
     
  10. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    ขอบคุณมากค่ะคุณปราบเทวดา..เรื่องรวมเทคนิค ข้องสังเกตุ การฝึกสมาธิของหลวงปู่พุธ ฐานิโย ได้โหลดมาเก็บไว้ในโทรศัพท์หมดแล้วค่ะ ฟังแล้วกระจ่างดีค่ะ..
     
  11. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    หลังจากนั่งสมาธิมาได้ 6ปี แต่เมื่อต้นปีนี้ทำจริงจังและศึกษาพระธรรมด้วย(แต่ก่อนได้แต่ไปนั่งที่นู่นที่นี่ไม่เคยรู้เลยค่ะ ขันธ์5คืออะไรไม่ศึกษาอะไรเลย)แต่เดี๋ยวนี้เห็นอะไรรับรู้อะไรก็พิจารณาเห็นเหตุที่ทำให้เกิด แล้วก็รู้ว่ามันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ทนอยู่ไม่ได้ ดิฉันก็ไม่รู้อะไรมากนะค่ะยังโง่อยู่ แต่ก็พิจารณาตามความเป็นจริงเท่านั้น รู้สึกว่าเริ่มมีปัญญาผุดกับเขาขึ้นมาบ้างแล้ว..บางทีเวลาพูดกับเพื่อนมันเหมือนพูดได้ลื่นไหลเหมือนมันมีตัวปัญญาอยู่ภายในเลยค่ะแปลกดีค่ะ เพื่อนก็อึ้งค่ะ ว่าทำไม่มีเหตุและผลขนาดนี้..
     
  12. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    อยากเล่า..เรื่องการเลี้ยงสัตว์ด้วยความสงสาร เมตตา เพราะคิดว่ามันก็แค่หาที่กินอิ่มนอนหลับปลอดภัยก็เท่านั้น แต่มันไม่เท่านั้นค่ะ มันเป็นบ่วงรัด จะไปไหนก็ห่วง จะถูกใครทำร้ายหรือโดนกัดหรือไม่ จะทำให้ข้างบ้านเดือดร้อนหรือไม่ มันกลับทำให้เราเป็นทุกข์ซะเอง ด้วยความคลุกคลี(คือตั้งแต่น้ำท่วมเห็นมันเล็กอยู่ก็หอบมันไปลี้ภัยด้วยหลายตัวด้วยความสงสารว่ามันคงหากินเองไม่ได้ต้องอดตายแน่ๆแม่มันก็หายไปไหนก็ไม่รู้)..วันหนึ่งนั่งสมาธิอยู่พักนึง หน้าแมวก็ปรากฏขึ้น..ทำให้เราพิจารณาเห็นว่านี้หล่ะจะเป็นอุปสรรคในการนั่งของเราต่อๆไป ครั้งหนึ่งนั่งอยู่ได้ยินเสียงมันถูกกัด ต้องออกสมาธิเลยค่ะเพื่อลงไปดู จึงขอฝากเตือน.. เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ อย่าได้เลี้ยงสัตว์ให้เป็นภาระเลยนะคะ..
     
  13. ฟางฟืน

    ฟางฟืน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +48
    ลองฟังดูคับ
     
  14. วัชรวงศ์

    วัชรวงศ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +7
    กระผมจะพยายามตอบตามความรู้ที่มีแต่โดยสัมมาทิฏฐินะครับ

    ๑. สิ่งที่สำคัญรากเหง้าของวิปัสนากรรมฐาน มีศีลวิสุทธิ์๑ มีจิตที่บริสุทธิ์๑เป็นปฐม แลมีความเป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสามาธิ ในอริยมรรคมีองค์๘ เป็นสำคัญ จึงควรบูชาพระคุณสมเด็จพระรัตนตรัยด้วยใจที่บริสุทธิ์ขอให้การปฏิบัติในลมหายใจนี้เป็นไปโดยสัมมาทิฏฐิ แลสมาทานศีลแลจิตให้บริสุทธิ์ แลตระหนักสำเนียกอยู่ทุกลมหายใจว่าธรรมทั้งปวงเป็นไปเพื่อระงับแลดับกิเลส
    ๒.แลจึงควรพิจารณาว่าเราควรใช้กรรมฐานตัวใดในกองกรรมฐานทั้ง๔0แลสติปัฏฐาน๔ที่องค์พระบรมศาสดาองค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงมาใช้ระงับแลดับกิเลสให้ถูกจริตของแต่ละรูปนาม
    ๓.แลขณะปฏิบัติจักเป็นกองกรรมฐานหรือสติปัฏฐานใด ก็ให้พิจารณาระงับแลดับกิเลสในจิตโดยมีศีลแลสติจิตที่บริสุทธิ์เป็นปฐม ปฏิบัติเพื่อให้จิตวางจากกิเลส ปฏิบัติเพื่อให้จิตสงบจากกิเลส ปฏิบัติเพื่อให้จิตใสจากกิเลส ปฏิบัติเพื่อให้จิตสว่างดับความมืดในกิเลส ปฏิบัติเพื่อให้จิตสอาดเป็นธรรมชาติปราศจากกิเลส
    ๔.การปฏิบัติมิใด้ให้หวังอยากได้ อยากมี อยากเป็น อยากเห็น อยากได้ยิน อยากรู้สึกในสิ่งใดใด แต่ปฏิบัติเพื่อให้มีศีลแลสติสัมปปะชัญญะแลจิตที่ปราศจากกิเลสในลมหายใจปัจจุบันนั้นๆที่ปฏิบัติโดยสัมมาสมาธิ
    ๕.แลความเป็นสัมมาทิฏฐิคือ ธรรมทั้งปวงเป็นไปเพื่อระงับแลดับกิเลส ก่อนปฏิบัติมีเจตนาสมาทานที่บริสุทธิ์ว่าจักปฏิบัติเพื่อให้มีศีลแลสติแลพยายามทำให้จิตระงับแลดับกิเลส ขณะปฏิบัติก็เพื่อให้มีศีลแลสติสัมปะชัญญะแลกระทำซึ่งความระงับแลดับของกิเลสเพื่อให้จิตใส สว่าง แลสงบ แลเมื่อปฏิบัติแล้วมาถูกทางแล้วกิเลสความโลภ โกรธ หลง ต้องลดลง สามารถมีความเพียรประครองตั้งจิตไว้เพื่อจะยังอกุศลกรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น แลมีความเพียรประครองตั้งจิตไว้เพื่อจะกระทำกุศลธรรมอันเป็นบุญให้เกิดขึ้นมา คุณธรรมความดีเป็นสิ่งที่จักต้องกระทำในลมหายใจปัจจุบัน แลเป็นสิ่งที่จักต้องกระทำตลอดชีวิต
     
  15. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ขอยืมเลยนะครับหลวงพ่อ พระท่านว่าให้เกาะสติให้มั่นคืออะไรจะเกิดก็ตามแต่หลังจากนี้ยึดสติไว้ให้มั่นแล้วตามดูตามรู้ไปใช้ปัญญากลับมาพิจารณาเอาเองนะครับหาเหตุผลมาเทียบมาบวกมาลบมาทำอะไรก็ได้ว่าตรงนั้นคืออะไร

    ตามด้วยสายสตินะครับอย่าหลงตามทางและให้รู้อยู่เสมอว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ที่ไหน

    เรื่องแมวหรือสัตว์เลี้ยงโปรดระวังขอรับ ขณะตกภวังค์ ครึ่งๆกลางกลาง เสียงนิดเดียวสะดุ้งสุดตัวต้องควบคุมสติให้ดี และค่อยๆถอนตัวออกมาจากภาวะบืบคั้นนั้นโดยยึดสติไว้ให้มั่นและไม่หวาดกลัวหรือเกิดเสียสติไป

    กลัวสะดุ้งเวลาเขามานอนที่ตักนะขอรับ หากภาวะจิตมีสติเต็มที่เรารู็้้้้ว่าแมวก็ไม่เป็นไร เพราะคุ้นเคยอยู่แล้วนะครับ

    เหมือนคำกล่าวที่ว่าธรรมมะอยู่หลังความตายคนที่ประพฦติปฏิบัติธรรมและมีบุญหรือทำบุญ บารมีมาพอ หรือดีพอเท่านั้นจะรู้ความจริงว่า ชีวิตหลังความตายมีจริงปฏิบัติได้ครับแต่อย่าประมาทนะครับ

    ขอทุกท่านเจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2012
  16. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ยินดีๆ ๆด้วยครับ ที่คิดได้เช่นนี้ ก้าวเข้าไปภายในจิตเป็นสมาธิเกิดสมถะ ถอยจิตออกมารับรู้อารมณ์ภายนอกเพื่อรู้ตามความจริงเกิดวิปัสสนา ให้ทำสองอย่างนี้ให้ชำนาญแค่นั้น...ย่อมพบความสุขจากความสงบที่แท้จริงตามธรรมชาติ
     
  17. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    ขอขอบคุณทุกๆท่านมากเลยค่ะ..มีผู้แนะนำและก็มีกำลังใจดีๆมาให้ก็ซาบซึ้งมากค่ะ..
    ถามอีกค่ะ..แห่ะๆๆ เมื่อเช้ามืดนั่งสมาธิจู่ๆมันก็มีภาพตาคน ผุดขึ้นมาอีกค่ะลูกตาดำมีประกายมาก เห็นตาดวงเดียวนะค่ะมีขอบตาด้วย ใหญ่ประมาณ 2 นิ้วครึ่งได้ ก็กำหนดเห็นหนอเหมือนเดิมอ่ะค่ะ(เริ่มชินแร่ะ)แต่อยากจะถามว่าถ้าเราเห็นอย่างนั้นแล้วเราเพ่งพิจารณาดูได้ไหมคะ หรือว่าเห็นหนอเฉยๆก็พอคะ..แล้วคนที่นั่งแล้วเห็นนั่นนี่ กับไม่เห็นอะไรมันต่างกันยังไงคะและจะเป็นอุปสรรคไหมคะ..qsqu
     
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ธรรมเกิดครับ พลาดของดีไปหรือป่าว ฮิๆ

    ถ้าเห็นอีก ก็ พิจารณาดูครับ

    คนเราสร้างบารมีมาไม่เหมือนกันครับ

    บางคนที่เห็นเป็นอย่างอื่นๆ ตามพื้นฐาน จิต ที่เคย ทำมาสร้างสม มาใน อดีต

    ดังนั้น สิ่งที่เกิดนั้น ทำให้ไม่เหมือนกันครับ

    ไม่ว่า จะทำสมาธิ แบบไหน สายไหน ต่อให้ เปลี่ยน วิธี ไปเรื่อยๆ มันก็จะ ปรากฏ ให้เห็น เหมือนที่ตัวเอง สร้างทำมา สงผลให้ในชาติ ปัจจุบัน ครับ


    สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ถ้าไปเจอ ครูสอนไม่เป็น สอนผิดๆ เจอนิมิต ต่างๆ แล้วบอกให้ ตัดทิ้งให้หมด บราๆ ระวังจะไป ตัด ธรรม ที่เกิด ทิ้งไป โดยความไม่รู้ ครับ มีเยอะ หลายคน ธรรม เกิด แต่ ด้วยความไม่รู้ อวิชา ตัดทิ้งไปเยอะ


    การทำ สมาธิ เป็นได้ทั้ง สมถะ แล้วก็ วิปัสสนา อยู่ที่ว่า จะเลือกให้เป็นแบบไหนครับ


    สติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม

    คุณเห็น ลูกตา ก็เหมือน เห็น กาย ภาย ใน จิต ครับ

    ดังนั้น ถ้าคุณเห็นอีก ก็ พิจารณาดูครับ

    ถ้าเพ่งเฉยๆ รู้สักว่ารู้ เห็นสักว่าเห็น ที่ ลูกตา นั้น ก็จะกลาย เป็น สมถะ ไป

    แต่ถ้า พิจารณา ลูกตา นั้น ก็เป็น วิปัสสนา ไปครับ ให้ พิจารณา ไปเรื่อยๆ ครับ

    ทำ สมาธิ แล้ว เห็นอีก ก็ พิจารณาไปอีก ทำซ้ำๆ ไปอีก เรื่อยๆ จะเห็น 100 ครั้ง ก็ พิจาณา ไปทั้ง 100 ทั้ง 1000 ครั้งละครับ

    ถ้าทำได้ จะก้าวหน้า ขึ้นไปอีกขั้น

    นิมิต ที่เราเห็นนั้น จริง แต่มันไม่มีจริง

    ถ้า นิมิตเกิด ก็ต้อง ใช้ สติ ครับ ว่า นิมิต ที่เกิด นั้น เป็น นิมิต ที่ให้ คุณ หรือ โทษ นั้นเอง ถ้า เป็น นิมิต โทษ ก็ ตัดทิ้งเสีย ครับ ถ้าเป็น นิมิตที่ จิตส่งออก แล้วไปเห็น ก็ตัดทิ้งเสีย เหมือนกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2012
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <H1>ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า ตอนที่ ๕

    </H1>จาก หนังสือ ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า




    บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท และบรรดาภิกษุสามเณรทั้งหลาย ได้พากันสมาทานศีลและสมาทานพระกรรมฐานแล้ว วันนี้ก็จะขอน้อมนำเอาปฏิปทาของท่านผู้เฒ่า ท่านผู้นั้นเป็นใครไม่ต้องพูดถึง ก็ขอได้โปรดทราบว่า ท่านผู้นั้น ตามบันทึกของท่านตอนหลัง ท่านหาที่เกิดไม่ได้เสียแล้ว
    สำหรับท่านผู้นี้มีอายุกาลไม่นานนัก ที่ท่านจากเราไป เป็นเวลากาลไม่นาน ขอบรรดาท่านนักปฏิบัติทุกท่านจงมีความมั่นใจในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเวลานี้พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังสมบูรณ์บริบูรณ์อยู่ และก็ยังสามารถทำให้ท่านทั้งหลายที่มีความเคารพในองค์สมเด็จพระจอมไตร ปฏิบัติในด้านอธิศีลคือมีศีลยิ่ง ปฏิบัติในด้านอธิจิตคือมีสมาธิตั้งมั่น และปฏิบัติในวิปัสสนาญาณทำลายกิเลสให้สิ้นไป ยังมีผล
    ก่อนที่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะรับฟังปฏิปทาของท่านผู้เฒ่า อันดับแรกจงอย่าลืมควบคุมกำลังใจของท่านให้ทรงอยู่ในสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกให้มีสติคงตัว มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราต้องตายแน่ ขึ้นชื่อว่าความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตของเราเป็นของไม่เที่ยง ถ้าเรายังพอใจอยู่ในโลกียวิสัย เราจะไม่พ้นความทุกข์ เราจะเข้าถึงความสุขที่เป็น เอกันตบรมสุข ได้แก่สุขยอดเยี่ยมคือพระนิพพาน ก็คือ
    หนึ่ง เป็นผู้มีทานเป็นปกติ ไม่โลภโมโทสันในทรัพย์สิน
    สอง ตัดความรักในระหว่างเพศ
    สาม ทำลายโทสะและพยาบาทให้สิ้นไป
    สี่ ตัดอาลัยในร่างกายของตัว ร่างกายของบุคคลอื่นในโลกและวัตถุทั้งหมดในโลก ไม่ยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเรา พยายามคิดไว้อย่างนี้เสมอ จิตใจของบรรดาท่านทั้งหลายก็จะเข้าถึงความดีของท่านผู้เฒ่าตามที่ท่านเล่าประวัติของท่านไว้
    อย่าลืมว่าประวัติของท่านๆ ไม่ได้พิมพ์แจก ท่านไม่ได้หวังมรรค ท่านไม่ได้หวังผล เป็นแต่เพียงว่าท่านบันทึกปฏิปทาของท่านไว้เท่านั้น ผมก็ไปพบบันทึกของท่านด้วยความบังเอิญอย่างยิ่ง จึงได้นำมาเล่าให้บรรดาพุทธบริษัทชายหญิงได้รับทราบ สำหรับปฏิปทาของท่านผู้เฒ่านี้ ผมจะเล่าแต่เพียงย่อๆ เพราะความรู้ของพวกเรานี้มีเกินไปเสียแล้ว ไม่ใช่พอดี
    ในตอนนี้ก็จะเล่าถึงจิตที่จะเข้าสู่อุปจารสมาธิ ขณะที่จิตของท่านเข้าสู่อุปจารสมาธิ ท่านบอกว่าภาพต่างๆ มันเกิดขึ้นอยู่เสมอ ครูบาอาจารย์ต่างๆ เคยแนะนำว่า จงอย่าติดในภาพ ถ้าติดในภาพที่เกิดขึ้น นั่นก็หมายความว่าใจของเราจะพลาดจากสมาธิ ท่านก็บันทึกไว้ตรงๆ ท่านก็บอกว่าใหม่ๆ ก็อดไม่ได้ อดจะติดไม่ได้ บางทีเห็นเป็นพระบ้าง เทวดาผู้ชายบ้าง เป็น เทวดาผู้หญิงบ้าง เป็นภาพฤาษี เป็นภาพวิมานบ้าง เป็นแสงสว่างบ้าง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาในกาลก่อน ก็อดที่จะดีใจไม่ได้ เมื่อเกิดดีใจภาพก็หายไป จนกว่านานแสนนานนับเป็นเวลาแรมเดือนจึงจะสามารถชนะกำลังใจได้ โดยครูบาอาจารย์ก็แนะนำไว้เสมอว่า ภาพที่ลอยมานั้น อย่าสนใจ ถ้าสนใจแล้วจิตมันจะไม่มีสมาธิ มันจะตก คือความจริงภาพต่างๆ เป็นของจริง เป็นภาพทิพย์ เมื่อลอยมาแล้วก็ไม่ได้หายไป ของทิพย์ยังเป็นของทิพย์ ที่หายไปก็เพราะเราสนใจว่าภาพนี้เกิดขึ้น ภาพก็หายเพราะจิตตกจากอุปจารสมาธิ
    ตอนนี้ขอท่านรับฟัง แล้วก็นำไปเป็นเครื่องปฏิบัติว่า กำลังของเราขณะที่ทรงไว้ในอุปจารสมาธิ จงอย่าสนใจ อย่าคิดเห็นว่าภาพที่ลอยมาให้เห็นเป็นของดีของวิเศษ ความจริงจิตเราเริ่มเข้าอุปจารสมาธิ เมื่อจิตเริ่มเข้าถึงอุปจารสมาธิจิตก็เริ่มเป็นทิพย์ เมื่อจิตเป็นทิพย์ก็เริ่มเห็นโน่นบ้างนี่บ้าง ไม่สามารถจะบังคับจิตให้เห็นได้นอกจากภาพนั้นจะปรากฏขึ้นเอง
    สำหรับการเห็นภาพอย่างนี้ ทำคนเสียมาเสียมากแล้ว ที่ว่าทำคนเสียมามากเพราะหลงในภาพ เป็นภาพสวยสดงดงามชื่นตาชื่นใจไม่เคยเห็น แต่ว่าวันหลังนั่งอยากจะเห็นไม่เห็น เพราะตัวอยากเป็นกิเลส ตัวอยากเป็นตัณหา ตัวอยากเป็นอุทธัจจะ กุกกุจจะ เป็น นิวรณ์ นี่ การที่จะเห็นภาพได้ก็จะเกิดจากไม่ใช่ความอยาก แต่ความจริงภาพนั้นที่เห็น เรายังไม่ได้ทิพจักขุญาณ เพียงแต่ว่าจิตของเราเพิ่งจะเริ่มผ่านเข้าไปถึงอุปจารสมาธิเท่านั้น ถ้าจิตของเราตกลงมาต่ำกว่าอุปจารสมาธิเราก็ไม่เห็นภาพ ถ้าจิตของเราสูงกว่า มีความสุขมากขึ้นถึงปฐมฌานขึ้นไป เราก็ไม่เห็นภาพ แต่ความจริงสิ่งที่เราต้องการนั่นคือฌาน จิตตั้งอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศลที่เรากำลังทรงอยู่ เช่น เรากำลังกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกหรือคำภาวนา ถ้าอาการเกิดขึ้นอย่างนี้ เราก็ตั้งใจกำหนดรู้ไว้เท่านั้น ให้ทรงอยู่ได้นานแสนนานเป็นที่พอใจของเรา ถ้าอารมณ์นั้นตั้งอยู่ได้นาน จิตมีความสุข ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ นั่นเป็นอารมณ์ฌาน สำหรับเรื่องนี้ก็พูดกันมามากแล้ว ก็ขอพูดเรื่องปฏิปทาของท่านผู้เฒ่าต่อไป
    ท่านกล่าวว่า มีคราวหนึ่ง มันเป็นเรื่องสำคัญ ภาพที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นแต่ท่านก็ทิ้งไปเสีย เพราะฟังจากคำครูบาอาจารย์สอน ท่านบอกว่าอย่าหลงในภาพ อย่าติดในภาพ นี่ภาพที่มีความสำคัญเกิดขึ้น นั่นก็คือภาพโครงกระดูก เห็นภาพโครงกระดูกลอยมาเป็นแถว เป็นระยะยาวนานตลอดเวลาที่ท่านนั่งอยู่
    ท่านบอกว่าท่านให้เวลาจิตมันเป็นสุขอยู่ ๑ ชั่วโมง จะต้องคิดว่าจิตเป็นสุขจริงๆ ถ้ามันปวด มันเมื่อยมันฟุ้งซ่านจะต้องเลิกเสียก่อน อย่าไปตั้งเวลาตามนั้นไว้ ท่านบอกว่าท่านไม่ได้ตั้งเวลาการทรงตัว แต่จิตมันเป็นสุขไม่อยากถอน ในชั่วเวลาหนึ่งชั่วโมงนั้น ภาพโครงกระดูกลอยมาเป็นแถวมาเป็นชิ้นๆ ทีแรกภาพโครงกระดูกด้านศีรษะไปก่อน มากระดูกคอ กระดูกซี่โครงมาเป็นชิ้นๆ แล้วมากระดูกสันหลัง กระดูกขา กระดูกแขน กระดูกมือ กระดูกเท้าลอยไป ลอยไปแล้ว ท่านก็ไม่ได้จับเอาไว้ แต่แล้วภาพนั้นก็กลับมาตั้งต้นใหม่ ลอยวนมาวนไปอยู่อย่างนั้น ท่านก็บอกว่า จิตของท่านก็ทรงไว้อย่างนั้นโดยเฉพาะ คือรู้ลมหายใจเข้าออก รู้คำภาวนา ภาพจะไปจะมาก็ไม่สนใจ
    เวลาเช้า เข้าไปหาพระอาจารย์ผู้ใหญ่นั้น นั่นก็คือหลวงพ่อปาน ไปนมัสการท่านตามระเบียบ คือก่อนเวลาท่านฉันข้าว คือเมื่อท่านนั่งอยู่ที่พัก บรรดาพระที่เป็นลูกศิษย์ทั้งหลายก็พากันเข้าไปนมัสการท่านก่อน เป็นประเพณีนิยม เมื่อนมัสการท่านแล้วท่านพบท่านผู้เฒ่าผู้นั้น นี่ตามบันทึกของท่านเขียนไว้อย่างนั้น
    หลวงพ่อปานเห็นหน้าเข้าก็ยิ้มว่า คุณ เมื่อคืนนี้ผีหลอกหรืออย่างไร ท่านก็กราบเรียนว่า ผีไม่ได้หลอกขอรับ กระดูกมันหลอน หลวงพ่อปานถามว่ามันหลอนอย่างไร
    ท่านบอกว่ามันลอยผ่านหน้าไปตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มทำจิตเป็นสมาธิ เริ่มจับลมหายใจเข้าออก ก็เริ่มเห็นภาพกระดูกลอยไป
    หลวงพ่อปานท่านก็ยิ้ม ถามว่าแล้วคุณทำอย่างไรล่ะ ท่านก็กราบเรียน ท่านบอกว่า กระผมก็ช่างมัน เพราะรับคำสอนไว้ว่าช่างมัน อะไรจะไปอะไรจะมาก็ช่างมัน
    หลวงพ่อท่านก็ยิ้มอีก ท่านบอกว่า นี่คุณ คุณไม่ได้ช่างมันเสียแล้วนี่ แอบไปช่างเผือกเสียแล้ว เพราะช่างเผือกนี่มันคัน ช่างมันไม่เป็นไร มีประโยชน์ แล้วท่านก็บอกว่า คุณ ทีหลังเอาใหม่นะ คุณเสียท่าไปเสียวันหนึ่งแล้ว ความจริงภาพโครงกระดูกที่ปรากฏขึ้นมานี่มันเป็นกรรมฐานกองเดิมที่คุณได้เคยปฏิบัติมาแล้วในชาติก่อน ความจริงในชาติก่อนๆ ที่คุณจะมาเกิดนี่ คุณบำเพ็ญบารมีเอาไว้มาก คุณได้กรรมฐานมาแล้วหลายสิบกอง ในจำนวนกรรมฐานสี่สิบคุณผ่านมาแล้วเกือบจะทั้งหมดแล้ว หรืออาจจะเรียกว่าทั้งหมดก็ได้ เพราะว่าอย่างอสุภกรรมฐาน ๑๐ อย่าง เราทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือว่ามีผลเสมอกัน ถือว่าได้หมด หรือว่ากสิณ ๑๐ อย่าง ถ้าได้กองใดกองหนึ่งก็ถือว่าได้กสิณหมด แต่ทว่าเป็นที่น่าเสียดายคุณปล่อยให้ของเก่าหายไป แต่ความจริงเมื่อของเก่าเกิดขึ้น เราจะต้องยึดของเก่านี่ทำให้ถึงที่สุดของอารมณ์
    คำว่าที่สุดของอารมณ์ก็หมายถึงว่า อารมณ์ในกรรมฐานกองนั้นจะทรงได้ถึงฌานไหน อาจจะทรงได้ถึงนิพพิทาญาณก็ใช้ได้ ต้องทำให้ถึงที่สุดของอารมณ์นั้นจึงจะถูก เพราะของเก่านี่เราทำได้ง่าย แสวงหาได้ง่าย เกิดผลง่าย มันเหมือนกับสภาพที่เรามีเงินมีทองอยู่ในกระเป๋าไม่รู้จักเงิน ไม่รู้จักทอง ไม่รู้จักใช้ ของที่มีแล้วไม่รู้จักใช้ ไปหาของใหม่นี่มันยาก ถ้าบังเอิญเราจะได้ของเก่ามาใช้ รู้ว่าเงินในกระเป๋ามีควัก เราเอามาใช้อย่างนี้สะดวก ไม่ลำบาก ท่านก็แนะนำต่อไปว่า ถ้าท่านเห็นกระดูกขึ้นมาใหม่ แต่ต้องระวังนะคุณนะ คุณจำไว้ให้ดีที่คุณจะเห็นภาพกระดูกปรากฏก็ดี จะเห็นภาพอย่างอื่นลอยมาก็ดี คุณอย่าลืมว่าภาพเหล่านั้นคุณไม่ได้คิดไว้ก่อนว่ามันจะมา เพราะอาศัยที่คุณไม่ได้คิด อาศัยที่คุณตั้งใจกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ตั้งใจภาวนาตามที่คุณเห็นสมควร ตามที่คุณพอใจ จิตจึงเป็นสมาธิ อารมณ์เป็นทิพย์ที่เรียกว่าอุปจารสมาธิ คุณจึงเห็นภาพนั้นได้เพราะจิตมันเป็นทิพย์ ถ้าคุณตั้งใจอยากจะเห็นมันก็ไม่มีทาง
    เป็นอันว่าหลวงพ่อปานแนะนำแล้วต่างคนต่างก็ลุกมาฉันข้าว พอฉันข้าวเสร็จ หลวงพ่อปานก็นำเรื่องนั้นมาพูดอีกครั้งหนึ่ง ว่าท่านองค์ใดที่พอใจในอสุภสัญญา หรือที่เราเรียกกันว่า อสุภกรรมฐาน เห็นภาพกระดูกก็ดี เห็นเป็นภาพคนตายก็ดี เห็นภาพคนเน่าก็ดี จงยึดเอาภาพนั้นมาเปรียบเทียบกับตัวเรา ถ้าเห็นภาพกระดูกก็จงคิดว่า ร่างกายของเราที่เนื้อหนังมันหุ้มห่ออยู่ได้ก็เพราะกระดูกเป็นโครง ในเมื่อกระดูกมันเป็นโครงแบบนี้ เราก็ต้องคิดว่ากระดูกนี่มันสวยหรือไม่สวย
    ความจริงสภาวะกระดูกเป็นสภาวะที่น่าเกลียด มีความโสโครก ไม่มีอะไรจะดี เมื่อเราทราบวาระจิตแบบนี้ ท่านบอกว่าจงมาเปรียบเทียบกับร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี มีตัวอย่างกระดูกเป็นโครง ว่ามันไม่สะอาด เต็มไปด้วยความสกปรก ไม่มีอะไรเป็นของสวยสดงดงาม กระดูกผีทุกก้อนเป็นกระดูกเป็นสิ่งที่เราพึงรังเกียจ โครงกระดูกทุกท่อนที่เขาผูกไว้ไม่มีใครพึงปรารถนา
    จงคิดว่ากระดูกทั้งหมดคือร่างกาย ทั้งหมดเป็นเรือนร่างที่ตัณหาสร้างขึ้น แล้วตัณหามันก็ทำลายเอง เราเป็นคนโง่ยึดถือเรือนร่างที่ตัณหาสร้างขึ้น เมื่อตัณหามันทำลายแล้วเราก็เสียใจนั่นไม่ถูก เราจงคิดว่าสมบัติใดที่ตัณหาสร้างให้ไว้ สมบัติส่วนนั้นมันเป็นกับสำหรับดักหนูคือเรา ที่ตัณหาจะนำเราเข้าไปขังกรงหรือทุบตีให้เราบาดเจ็บหรือมีทุกขเวทนา การเกิดเป็นคนหรือการเกิดเป็นสัตว์เต็มไปด้วยความทุกข์ ตั้งแต่วันเกิดถึงวันตาย ไม่มีเวลาใดที่จะมีความสุข แล้วท่านก็แนะนำว่าจงจำคำในอริยสัจที่ฉันสอนไว้ สิ่งใดที่ท่านสอนไว้แล้ว ท่านจะไม่พูดต่อไป เพราะว่าในสมัยนั้นต้องเป็นนักจำแล้วก็นักปฏิบัติ นักเอาจริง รวมความว่าลูกศิษย์ของท่านจะต้องประกอบไปด้วยอิทธิบาททั้ง ๔ ประการครบถ้วน
    คำว่ามีอิทธิบาททั้ง ๔ ประการครบถ้วน เขาถือว่าเป็นคนจริงเอาจริงทุกอย่าง ไม่สักแต่เพียงว่าฟัง หรือว่าไม่สักแต่เพียงว่าจำไปแนะนำชาวบ้าน เรื่องชาวบ้านนั่นพระสมัยนั้นเขาไม่สนใจ ถ้าชาวบ้านถามเขาตอบ เขาไม่แสดงตนเป็นผู้วิเศษ เขาพยายามสอนตนเขาอยู่เสมอ เขาจึงได้ดีกัน เมื่อท่านย้ำเท่านั้นแล้วท่านก็เลิก ก่อนท่านจะยถา ท่านก็ย้ำว่า พวกคุณจงอย่าลืมคำสอนใดที่ฉันสอนพวกเธอไปแล้วเธอต้องจำ เกรงว่าจะจำไม่ได้ก็ต้องจด จดแล้วก็ท่องเพื่อให้จำได้แล้วก็ปฏิบัติตาม ถ้าสิ่งใดที่ฉันสอนไปแล้วเธอจำไม่ได้ ฉันถือว่าเธอเป็นบุคคลที่หาความเจริญไม่ได้ ฉันไม่พึงปรารถนาบุคคลประเภทนั้น เพราะคนที่มีจิตใจเป็นสัตว์ในอบายภูมิ ฉันไม่ต้องการ ฉันถือว่าไม่ใช่ลูกศิษย์ของฉัน และเมื่อยถาเสร็จ ทำวัตรเสร็จ ต่างคนต่างก็แยกกันไป
    ท่านผู้เฒ่าท่านเล่าต่อไปในบันทึกของท่าน ท่านเขียนไว้โดยย่อ หลังจากนั้นมาจากฉันอาหารเสร็จ ฉันก็รู้สึกว่าฉันเจ็บใจตัวเองว่าฉันไม่น่าจะโง่แบบนั้น แต่ว่าคิดไปอีกที เราจะไปโกรธตัวเองมันก็ไม่ถูกเพราะเราเป็นคนไม่รู้ ครูท่านบอกให้ปล่อยเราก็ปล่อย เราก็ปฏิบัติตามครูแล้ว แต่ทว่าเวลานี้ครูบาอาจารย์ท่านบอกให้เกาะ ท่านบอกให้พวกเราเกาะกระดูก เราก็ต้องเกาะ แต่นอกจากกระดูกเราก็จะไม่ยอมเกาะ
    ท่านสั่งไว้แล้วว่า ใครเรียนกรรมฐานกับฉันต้องเรียนแบบโง่ๆ ห้ามอวดฉลาด ในเมื่อเราเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ เมื่อท่านให้โง่เราก็ต้องโง่ โง่ตามครูสอนดีกว่าฉลาดนอกรีตนอกรอย ท่านตัดสินใจแบบนั้นแล้วท่านก็ไม่รอค่ำ ทำวัตรเสร็จในตอนเช้า ยังไม่มีงานที่จะต้องปฏิบัติ หมายความว่างานก่อสร้างในวัดตอนนั้นจางๆ ไป คือจะลงมือทำกันก็หลังจากฉันอาหารเพลแล้ว ฉะนั้นท่านก็ไม่ยอมให้เวลามันเสีย แต่ความจริงท่านผู้เฒ่านี่ท่านเป็นผู้เคร่งครัดมาก ยามปกติท่านไม่ค่อยจะคุยกับใคร งานของท่านจัดเป็นเวลาจัดตารางไว้เสมอ เวลานี้ดูหนังสือ เวลานี้เจริญพระกรรมฐาน เวลานี้ปล่อยอารมณ์สบาย ใคร่ครวญไปตามปกติ เวลานี้เป็นเวลางาน เวลานี้เป็นเวลาทำวัตร เวลานี้เป็นเวลาสวดมนต์ เวลานี้เป็นเวลานมัสการครูบาอาจารย์ผ่านกุฏิหลวงพ่อปานทุกครั้ง เวลาท่านผ่านไปท่านยกมือไหว้ ท่านบันทึกไว้อย่างนั้น ท่านบอกว่าฉันไม่ได้ไหว้กุฏิ ฉันไหว้หลวงพ่อปานและความดีของท่าน เวลาไหว้ไปฉันก็นึกถึงพระพุทธเจ้าด้วย นึกถึงพระธรรมด้วย นึกถึงหลวงพ่อปานด้วย เพราะท่านเป็นครู คำสอนทั้งหมดหลวงพ่อปานเอามาสอนฉัน
    ต่อมาท่านบอกว่า หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จ ทำวัตรเสร็จ ท่านก็เข้ากุฏิ นั่งบ้างนอนบ้างตามอัธยาศัย เดินมาเดินไปในห้องของท่าน เวลาท่านเดินตามปกติเท้าท่านค่อยมาก ท่านบอกว่าเวลาเข้าไปถึงปับ หันหลังเข้าฝา เอาหน้าเข้าหาพระพุทธรูป กราบไว้ตามสมควร แล้วก็เริ่มจับจิตเป็นสมาธิ พอจิตเริ่มจับเป็นสมาธิ ก่อนจะจับ จิตท่านจับพระพุทธรูปก่อน
    ท่านบอกว่าภาพพระพุทธรูปนี่จับใจฉันเหลือเกิน ฉันจะเดินไปไหนก็ตาม ฉันเห็นภาพพระพุทธรูปตลอดเวลา จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ขึ้นชื่อว่าจิตฉันว่างจากพระพุทธรูปฉันไม่มี ทั้งนี้เพราะฉันรักพระพุทธเจ้า ฉันมีความสุขที่มาบวชเป็นพระ ฉันไม่ต้องทำไร่ไถนาเพราอาศัยบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาพพระพุทธเจ้าปรากฏชัดเสมอ แล้วอีกประการหนึ่ง ภาพของหลวงพ่อปานในอิริยาบถต่างๆ ที่ไปหาท่านๆ มีบัญชา ภาพหลวงพ่อปานก็ผสมผสานอยู่กับภาพพระพุทธเจ้าตลอดเวลา เห็นทั้งภาพพระพุทธเจ้าเห็นทั้งภาพหลวงพ่อปาน ท่านบอกว่าใจมันคิดอย่างนี้
    เวลากราบพระ จิตนึกถึงภาพพระพุทธเจ้า เวลาเริ่มทำจิตเป็นสมาธิจับลมหายใจเข้าออก พอเริ่มจับก็ปรากฏโครงกระดูกคือศีรษะก้อนเบ้อเร่อ หลวงพ่อปานท่านสั่งไว้ตอนนั้นว่า ทีหลังเธอเห็นภาพโครงกระดูกจงใช้จิตแบบนี้ ว่าโครงกระดูกชิ้นแรกมาบังคับให้ตกลงไปข้างหน้า ชิ้นสองต่อมาก็บังคับให้ตกลงๆ แล้วก็พิจารณาเป็น อัฏฐิกัง ปฏิกุลัง คำนี้แปลว่ากระดูกนี้มันสกปรก ให้เห็นกระดูกนั้นเทียบกับกระดูกของเรา สกปรกกว่านั้น
    กระดูกที่เราเห็นนั้นเป็นกระดูกแห้ง กระดูกในร่างกายเรามันเปื้อนเลือด เปื้อนน้ำเหลือง น้ำหนอง ทั้งไขมันเต็มไปหมด สกปรกเหลือทน กระดูกของบุคคลอื่นก็เช่นเดียวกัน เราเกลียดกระดูก เห็นตัวคนเห็นเป็นกระดูก เห็นตัวเรา นึกถึงตัวเรา นึกถึงภาพของกระดูกนั้น แล้วนึกถึงภาพโครงกระดูกในตัวเราว่ามันน่าเกลียดน่ากลัวสักเพียงไหน ท่านบอกว่าที่หลวงพ่อปานสอนมาก้องอยู่ในใจ พอเริ่มจับจิตเป็นสมาธิ โครงกระดูกบนศีรษะก็เริ่มลอยมา ท่านก็นึกให้ภาพหล่นลง ภาพโครงกระดูกหล่นลง ภาพต่อมาลอยมาๆ ก็ชนต่อกันๆ จนเป็นรูปคนสมบูรณ์ ต่อมาท่านก็พิจารณากระดูกตามสภาพว่ามันน่าเกลียดไม่น่ารัก เป็นของไม่สะอาด เป็นของสกปรก อัฏฐิกัง ปฏิกุลัง ตอนนี้ไม่ใช่ภาวนา เป็นพิจารณาไป
    นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทั้งภาพพระพุทธเจ้า ภาพหลวงพ่อปาน ภาพโครงกระดูกปรากฏผสมผสานกัน ท่านเห็นคนเดินมา เห็นเป็นกระดูกเดินหมด ไม่เห็นเนื้อเลย จิตใจมันจับเข้าถึงโครงกระดูก ไม่เห็นเนื้อเลย จนกระทั่งเกิดความสะอิดสะเอียนในร่างกายของคนและสัตว์ได้ชัด ความปรารถนาในเพศไม่มีเพราะจิตมันรังเกียจ หมายความว่าในขณะนั้นนอกจากจะภาวนากระดูกสกปรกแล้ว ยังเห็นว่ามันเป็นอนิจจัง เป็นของไม่เที่ยง ความจริงมันมีเนื้อมีหนัง เวลานี้เนื้อหนังหมดไปแล้ว มันก็เป็นอนัตตา ถ้าเราติดอยู่ในมันเราก็มีความทุกข์ จิตก็เริ่มมีความสุข เข้าถึงนิพพิทาญาณ มีความเบื่อหน่ายในสังขารของตนเอง เบื่อหน่ายในสังขารของบุคคลอื่น และเบื่อหน่ายในสังขารของทั้งหมด เป็นอันว่าจิตกำหนดไว้อย่างเดียวว่าร่างกายอย่างนี้เราไม่ต้องการมี เรียกว่านิพพิทาญาณ
    เอาละ บรรดาพุทธบริษัททุกท่าน จะเป็นที่พอใจของท่านหรือไม่ก็เป็นเรื่องของท่านเวลาหมดแล้ว ต่อแต่นี้ขอทุกท่านจงพยายามตั้งทรงกายตามอัธยาศัย นั่ง นอน ยืน เดิน ได้ตามสบายจนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี

     
  20. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    ขอบคุณมากค่ะ คุณSaber และขออนุโมทนา.. ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า ดิฉันจะนำไปปฏิบัติตาม..แต่แปลกนะค่ะเมื่ออาทิตย์ที่แล้วฝันตอนเช้ามืดว่าไปทำบุญเจอพระสงฆ์รูปหนึ่งท่านนั่งอยู่ ในตอนนั้นในใจคิดแต่จะถามเรื่องสมาธิกับท่าน(เพราะตัวเองยังเบาปัญญานักในเรื่องนี้)พอเจอท่าน..ท่านบอกให้กระเถิบมาใกล้ๆดิฉันก็เลยถามชื่อท่าน..ท่านบอกว่าชื่อปาน
    แล้ววันนี้ก็ได้ฟังคำสอนของหลวงพ่อจากคุณ..ดีใจจริงๆค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...