อยากถามว่าผมทำสมาธิผิดใช่ไหมครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ihunz, 12 เมษายน 2012.

  1. ihunz

    ihunz สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2012
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    คือว่า

    คืนหนึ่ง(หลายวันมาแล้ว) ผมได้นอนทำสมาธิครับ

    ตั้งสติโดยกำหนดลมหายใจ "พุทโธ"
    แล้วก็นับ พุทโธ1, พุทโธ2, พุทโธ3, พุทโธ4, พุทโธ5

    แล้วก็กลับมานับ พุทโธ1 ใหม่ จนถึง พุทโธ6 แบบนี้ไปเรื่อย ๆ ครับ

    สักพักนึงก็รู้สึกว่า ข้างในหัวมันเหมือนโดนบีบเลยครับ
    (แต่ตอนนั้นคิดว่าสบายจัง ^ ^)

    แล้วก็รู้สึกชัดเจนขึ้นเรื่อยเลยครับ จนผมตกใจเลยเลิกทำไปเลยครับ

    *** เลยอยากถามที่เกิดขึ้นนั้น ผมทำสมาธิผิดใช่ไหมครับ เป็นเพราะผมเพ่งมากเกินไปรึป่าวครับ?(ผมเข้าใจถูกใช่ไหม?)

    Ps.จากวันนั้นมายังไม่ได้ทำอีกเลยครับ :'(
     
  2. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ควรมองที่การรับรู้ครับ ว่าชัดเจนมากไหมน่ะครับ

    หากชัดเจนมาก แต่มีอาการตึงๆที่หัว ลองข้ามดูสิครับ

    ข้ามไปโดยไม่สนใจความตึงที่เกิดขึ้น ด้วยการเพิกเฉยในอารมณ์ที่เกิดขึ้นครับ

    สาธุครับ
     
  3. ihunz

    ihunz สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2012
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0

    ครับผม ขอบคุณมากเลยครับ
    ถ้าเกิดขึ้นอีกจะลองข้ามไปดูครับ..^ ^..
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    การปฏิบัติที่ถูก ไม่ว่ากรรมฐานกองใหน ผลที่ได้คือต้องมีความเป็นลหุตา คือ เบา สบาย และสงบ นะครับ....

    คุณอาจใช้อารมณ์หนักมากไป...คุณลองนับแบบสบายๆ แบบไม่หวัง ทำแบบสบายๆ ไม่เกร็งดูสิครับ อาจดีกว่า ถ้าคุณใช้อารมณ์ที่หนักคือเพ่งซะว่าไม่ให้หลุด เอาไปเอามาเครียด แล้วปวดหัว อย่างนี้ไม่ใช่นะครับ....
     
  5. พยัคฆ์ร้าย

    พยัคฆ์ร้าย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,411
    ค่าพลัง:
    +161
    อนุโมทนาสาธุครับ ยึดหลักทางสายกลางก็ได้ครับ ไม่ปฏิบัติเคร่งเครียดจนเกินไป คือไม่ต้องตั้งใจจนเกินไป ให้ทำใจให้สบายๆปฏิบัติแบบปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติถ้าสมาธิ(สติ)หลุดเราก็กลับเข้าไปใหม่น่าจะประมาณนี้อะครับ ปล.ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับให้ผู้รู้มาช่วยเพิ่มเติมให้อีกjaah
     
  6. KhonKae

    KhonKae Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2011
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +76
    ขออนุญาตแจม เห็นด้วยกับคุณ Phanudet เพียงแต่อ่านแล้วสงสัยว่าคุณ ihunz ปฏิบัติโดยไม่มีครูอาจารย์สอน ไม่มีครูอาจารย์สอบอารมณ์ให้เลยหรือ
     
  7. ihunz

    ihunz สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2012
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0

    ผมไม่มี ครูอาจารย์ สอนเลยครับ

    แค่ทำตามศาสนาพุทธสอนที่ได้ยินมาตอนเด็ก ๆ นะครับว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

    ถ้ามีอะไรที่ผมทำผิดพลาดโปรดช่วยชี้แนะให้ด้วยนะครับ ^ ^
     
  8. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    คนภาวนาพุทโธ ส่วนใหญ่ เขาก็เกิดอาการ แน่น ทั้งนั้นแหละ โดยเฉพาะแน่น
    ที่หน้าผากส่วนหน้า ค่อนไปทางข้างบน ไม่บนมากนัก บนขึ้นไปมาก สังเกตว่า
    ลูกตาจะลอยไปด้วย แล้วก็ไม่ต่ำลงมาจนอยู่แถวๆหัวคิ้ว ต่ำไปลูกตามันก็บีบ
    เข้ามา

    จะเป็นอาการแน่น ที่กลางๆหน้าผาก บ้างก็รู้สึกแกว่งๆ ร่วมด้วย อันนี้ไม่เป็นไร

    มันเป็นเรื่องปรกติ แต่ จะภาวนาอย่างไร

    ต้องกลับมาที่ พุทโธ ต่อ

    ต้องกลับมาที่ พุทโธ เข้าไว้

    แล้วเวลา จิตมันแฉลบไปเห็น ไปสนใจอาการแน่น ให้รู้ว่า นั่นคือ จิตหลุดจากกรรม
    ฐาน ให้กลับมาที่ พุทโธ ต่อ

    ฟังดีๆนะ จิตมันจะแฉลบไปรู้แน่น เราไม่ห้าม แต่ให้น้อมกลับมาที่ ภาวนาพุทโธต่อ
    ไป ไม่หยุด

    ทีนี้ เนื่องจากเราไม่ห้าม มันก็จะแฉลบอีก คราวนี้ให้สังเกตุเพิ่ม คือ พอแฉลบออก
    จากพุทโธ ไปรู้ที่อาการแน่น สังเกตดีๆว่า

    พอตกจากรรมฐาน เขาเรียกว่า สภาวะนิวรณ์มันรอแทรก ถ้านิวรณ์แทรกได้ กรรมฐาน
    หยุดทันที

    ดังนั้น จากที่คุณเล่าก็คือ

    พอหลุดออกไปจากบริกรรมพุทโธ ไปรู้ที่ อาการแน่นแบบเต็มตัว เต็มวาระของจิต

    นิวรณ์ก็แทรกทันที คือ ทำให้ตกใจ แล้ว ก็ หยุดทันที

    เนี่ยะ เห็นไหม ตกจากรรมฐานเมื่อไหร่ นิวรณ์จ้องงับหัว ขวางกั้นความดีทันที

    เราก็เข้าใจ พฤติจิต อาการของจิต ของนักภาวนาทั่วๆไป ที่เขาจะเป็นกันแบบนี้

    เป็นกันแบบนี้นะ แรกๆจะเป็นกัน แต่ เราไม่เลิก พอมีเวลาให้กับการภาวนา ก็เอา
    ใหม่ สมมติว่าวันนี้มีเวลามาก มันพาเราเลื้อยลงนอน พอเรานึกขึ้นได้นี่ นิวรณ์
    แทรก เราก็ลุกขึ้นมา บริกรรมต่อ

    พอจิตสงบได้ที ไม่รู้จะทำอะไรต่อ ก็ให้ มาพิจารณา ขน เล็บ ฟัน หนัง น้ำเลือด
    น้ำหนอง อสุภะ อสุภัง นวสี ไปตามครรลอง เพื่อฝึกให้จิตใช้ ปัญญาผนวกกับกำลัง
    สมาธิ จนกว่าจิตจะออกรู้ออกเห็นเอง พิจารณาธรรมเอง ก็จะเข้าใจกรรมฐานได้
    มากขึ้น ....พอมากได้ที ก็ลองไปหาครู เอาผลงานไปส่ง ไปรับนิสัย วินัย ข้อวัตร
    เพิ่มเติม
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ปฏิบัติได้ดีแล้วครับ....คือกรรมฐานนี่ไม่มีกรรมฐานเบ็ดเสร็จที่ว่าดีสำหรับทุกคนหลอกนะ...ถ้าอย่างนั้นพระพุทธเจ้าท่านไม่มีความจำเป็นที่ต้องสอนทั้ง ๔๐ วิธี...

    อะไรก็ตามที่คุณทำแล้วรู้สึกดี รู้สึกสงบ รู้สึกสบาย เอาอย่างนั้นหละครับ...ไม่จำเป็นต้องไปตามใครเขา แต่ถ้าอันใหนที่คุณทำแล้วรู้สึกอึดอัด ไม่สงบ ไม่สบาย รู้สึกว่าไม่มีความเป็นลหุตา ก็ให้สันนิษฐานไว้ว่าอาจไม่เหมาะสมกับเราเท่านั้นเอง...และอีกอย่างสิ่งที่คุณทำเป็นเพียงแค่สภาวะที่คุณทำของวันนั้น ถ้าวันนี้คุณทำอาจไม่เหมือนเดิมก็ได้....อย่างไรนั้นถ้าเป็นไปได้คุณลองกลับไปทำอีกครับ...หรือเอาอย่างนี้ก็ได้เดี๋ยวผมแนะนำตามแบบครูบาอาจารย์แล้วกันนะครับ เพราะมีความแน่นอนในการที่จะปฏิบัติ....

    .............................................................

    <TABLE border=1 width="24%" align=center><TBODY><TR><TD>
    ฝึกทรงอารมณ์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    อารมณ์ทรงสมาธิ ถึงแม้ว่าจะทรงไม่ได้นานแต่ท่านทำด้วยความเคารพก็มีผลมหาศาล
    แต่ถ้ารักษาอารมณ์ได้นานกว่า มีสมาธิดีกว่าจะมีผลมากกว่านั้นมาก การฝึกทรงอารมณ์ให้อยู่
    นาน หรือที่เรียกว่ามีสมาธินานนั้น ในขั้นแรกให้ทำดังนี้
    ให้ท่านภาวนาควบกับรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้านึกว่า"พุท" หายใจออกนึกว่า
    "โธ" ดังนี้ นับเป็นหนึ่ง นับอย่างนี้สิบครั้งโดยตั้งใจว่าในขณะที่ภาวนาและรู้ลมเข้าลมออกอย่างนี้
    ในระยะสิบครั้งนี้เราไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรก คือไม่ยอมคิดอย่างอื่นจะประคองใจให้อยู่
    ในคำภาวนา และรู้ลมเข้าลมออกทำครั้งละสิบเพียงเท่านี้ ไม่ช้าสมาธิของท่านจะทรงตัวอยู่อย่าง
    น้อยสิบนาทีหรือถึงครึ่งชั่วโมง จะเป็นอารมณ์ที่เงียบสงัดมากอารมณ์จะสบายจงพยายามทำ
    อย่างนี้เสมอๆ ทางที่ดีทำแบบนี้เมื่อเวลานอนก่อนหลับและตื่นใหม่ๆ จะดีมากบังคับอารมณ์
    เพียงสิบเท่านั้นพอใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนจะสามารถทรงอารมณ์เป็นฌานได้เป็นอย่างดี


    <TABLE border=1 width="29%" align=center><TBODY><TR><TD>
    อย่าฝืนอารมณ์มากนัก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เรื่องของอารมณ์เป็นของไม่แน่นอนนัก ในกาลบางคราวเราสามารถควบคุมได้ตาม
    ที่เราต้องการ แต่ในกาลบางคราวเราก็ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะกระสับกระส่ายเสียจนคุม
    ไม่อยู่ ในตอนนั้นควรจะยอมแพ้มัน เพราะถ้าขืนต่อสู้จะเกิดอารมณ์หงุดหงิดหรือเครียดเกินไป
    ในที่สุดถ้าฝืนเสมอๆ แบบนั้นอารมณ์จะกลุ้ม สมาธิจะไม่เกิด สิ่งที่จะเกิดแทนก็คือ อารมณ์
    กลุ้ม เมื่อปล่อยให้กลุ้มบ่อย ๆ ก็อาจจะเป็นโรคประสาทได้
    ข้อที่ควรระวังก็คือ ทำแบบการนับดังกล่าวแล้วนั้น สามารถทำได้ถึงสิบครั้ง หรือบางครั้ง
    ทำได้เกินสิบก็ทำเรื่อย ๆ ไป ถ้าภาวนาไปไม่ถึงสิบอารมณ์เกิดรวนเรกระสับกระส่าย ให้หยุดพัก
    ประเดี๋ยวหนึ่งแล้วทำใหม่ สังเกตดูอารมณ์ว่าจะสามารถควบคุมภาวนาไปได้ไหม ถ้าสามารถ
    ควบคุมให้อยู่ภายในขอบเขตของภาวนาได้ และรู้ลมหายใจเข้าออกควบคู่กันไปได้ดีก็ทำเรื่อยๆ
    ไป แต่ถ้าควบคุมไม่ไหวจริง ๆ ให้พักเสียก่อน จนกว่าใจจะสบายแล้วจึงทำใหม่หรือเลิกไปเลย
    วันนั้นพัก ไม่ต้องทำเลยปล่อยอารมณ์ให้รื่นเริงไปกับการคุย หรือชมโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุ หรือ
    หลับไปเลยเพื่อให้ใจสบายให้ถือว่าทำได้เท่าไรพอใจเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้ไม่ช้าจะเข้าถึงจุดดี
    คือ อารมณ์ฌาน
    คำว่า ฌาน คือ อารมณ์ชิน ได้แก่ เมื่อต้องการจะรู้ลมหายใจเข้าออกเมื่อไร อารมณ์
    ทรงตัวทันที ไม่ต้องเสียเวลาตั้งท่าตั้งทางเลย ภาวนาเมื่อไรใจสบายเมื่อนั้น แต่ทว่าอารมณ์ฌาน-
    โลกีย์ที่ทำได้นั้น เอาแน่นอนไม่ได้ เมื่อร่างกายปกติ ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย ไม่ป่วยมันก็สามารถคุม
    อาการภาวนา หรือรู้ลมหายใจเข้าออกได้สบาย ไม่มีอารมณ์ขวาง แต่ถ้าร่างกายบกพร่องนิดเดียว
    เราก็ไม่สามารถคุมให้อยู่ตามที่เราต้องการได้
    ฉะนั้น ถ้าหลงระเริงเล่นแต่อารมณ์สมาธิอย่างเดียว จะคิดว่าเราตายคราวนี้หวังได้สวรรค์ ,
    พรหมโลก นิพพานนั้น (เอาแน่นอนไม่ได้) เพราะถ้าก่อนตายมีทุกขเวทนามาก จิตอาจจะทรง
    อารมณ์ไม่อยู่ ถ้าจิตเศร้าหมองขุ่นมัวเมื่อก่อนตาย อาจจะไปอบายภูมิ คือ นรก,เปรต,อสุรกาย,
    สัตว์เดียรัจฉานได้ ถ้าหลงทำเฉพาะสมาธิ ไม่หาทางเอาธรรมะอย่างอื่นเข้าประคับประคอง ถ้า
    เมื่อเวลาตายเกิดมีอารมณ์เศร้าหมองเข้าครองใจ สมาธิก็ไม่สามารถช่วยได้ จึงต้องใช้ธรรมะ
    อย่างอื่นเข้าประคองใจด้วยธรรมะที่ช่วยประคองใจให้เกิดความมั่นคงไม่ต้องลงอบายภูมิมีนรก
    เป็นต้นก็ได้แก่ กรรมบถ ๑๐ ประการ คือ​

    **************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2012
  10. ihunz

    ihunz สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2012
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณท่าน Phanudet ,เล่าปัง ,oatthidet ,พยัคฆ์ร้าย ,KhonKae

    ทั้ง 5 ท่านมากเลยครับที่ให้ความรู้

    ตอนนี้กระจ่างขึ้นเยอะเลยละครับ

    แล้วจะกลับมาเล่าต่อนะครับว่าเป็นอย่างไร..^ ^..<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  11. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ถ้าจะกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติสมาธิ ตามหลัก พุทธศาสนาแล้ว ทางตำราได้กล่าวไว้ว่า "สมถกัมมัฏฐาน" คือ อุบายทำให้ใจสงบ
    นั่นก็หมายความว่า ใจจะสงบได้ ก็คือ ไม่คิด รู้แต่ไม่คิด คิดแต่ไม่ฟุ้งซ่าน คิดเรื่องเดียวหรือไม่คิดอะไรเลย
    การปฏิบัติสมาธิ จะนั่ง ยืน เดิน นอน แถมจะ วิ่งก็ยังได้ เป็น วิธีการของ สมถกัมมัฏฐาน คือ อุบายทำให้ใจสงบ
    วิธีที่คุณเล่ามา เป็นการใช้สมองคิด แถมคิดมาซะด้วย เพราะต้องตั้งสมองให้นับถึงที่คุณกำหนด แล้วก็ต้องกำหนดนับใหม่ ใช้สมองมากพอสมควร ไม่ใช่การปฏิบัติสมาธิ แบบ สมถะฯ
    ถ้าปฏิบัติ แบบ สมถะฯ ก็คือ ไม่ต้องกล่าวคำอะไรทั้งสิ้น ใช้สมองและใจจดจ่ออยู่ที่การหายใจอย่างเดียว ได้ยิน ได้สัมผัส รู้ แต่ไม่คิด นั่นและ การปฏิบัติสมาธิ อย่างแท้จริง
     
  12. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318
    หุหุ..........................
     

แชร์หน้านี้

Loading...