ช้วยหาตรงกลาง ให้หน่อยค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นราสภา, 23 ธันวาคม 2011.

  1. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    มา อนุสฺสวเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
    มา ปรมฺปราย อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
    มา อิติกิราย อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
    มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
    มา ตกฺกเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
    มา นยเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
    มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
    มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
    มา ภพฺพรูปตา อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
    มา สมโณ โน ครูติ อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา


    รบกวนผู้รู้ช้วย หา การวางกําลังความเชื่อ ที่ ควรเชื่อให้หน่อยเจ้าค่ะ
    น้องไม่รู้ว่า ควร จะเอาใจไปวางไว้ตรงไหนดีเเล้ววววววววววววววว

    เเล้วบางเรื่อง ถ้า ลงไปรู้มันเเล้ว เข้าใจมันเเล้ว คิดว่าเเน่เเล้ว เเต่ก็ดันมาตรงกับ
    ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน

    เลยไม่รู้เลย ว่าต้องทํายังไงดี

    รบกวนด้วยเจ้าค่ะ

     
  2. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    มันก็คือเชื่อตัวเองนั่นแหละ เชื่อในสิ่งที่รู้เห็นเป็นประสบการณ์ของตัวเอง มันต่าง
    กับเห็นตรงกับความเห็นของตัวเอง เพราะสิ่งที่เราเห็นตรงกับความเห็นของตัว
    เองถ้ามีคนมากๆ ไม่เห็นด้วยเราก็เริ่มสงสัยในความเชื่อนั้นแล้ว แต่สิ่งที่รู้เห็นเป็น
    ประสบการณ์ของตัวเองแม้คนทั้งโลกบอกว่าไม่จริงก็ไม่มีผลอะไรเลยกับความ
    เชื่อของเราเลย
     
  3. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,960
    ก็อย่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้งไงครับ คือประมาณว่า ถ้าเราเรียนมา 1+1=0 แต่อีกคนเรียนมา 1+1=1 ไม่ตรงกับความรู้ของเราที่เรียนเราก็บอกว่าของคนนั้นผิดไม่ใช่ไม่ถูก คงประมาณนี้มั้งครับ
     
  4. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    คงให้พิจารณา ก่อนแล้วค่อยเชื่ออะมั้งครับ
     
  5. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าท่านให้เราใช้ปัญญาพิจารณาก่อนว่า ธรรมที่เราฟังตามๆกันมา...จนถึงธรรมที่ฟังมาจากอาจารย์ เป็นอกุศลหรือกุศล มีโทษหรือไม่มีโทษ ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลหรือเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เมื่อรู้ท่องแท้ด้วยปัญญาแล้วว่าธรรมนั้นเป็นกุศล ไม่มีโทษ และเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลก็ควรเชื่อถือ ควรสมาทานประพฤติตามธรรมเหล่านั้น

    ..............................................................
    (ส่วนที่ผมเห็นว่าสำคัญของพระสูตรนี้ แต่กลับไม่ค่อยมีคนพูดถึง)

    ...เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
    ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
    เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรม
    เหล่านั้นเสีย ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็น
    ประโยชน์. พวกชนกาลามโคตรต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
    พระเจ้าข้า.


    พุทธะ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิต
    อันความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
    สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภ ย่อม
    ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ .


    กาลามชน. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโกรธเมื่อเกิดขึ้น
    ในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์ .


    กาลามชน. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า .


    พทธะ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ มีจิต
    อันความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
    สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อม
    ชักชวนผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ .


    กาลามชน. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความหลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่ง
    ไม่เป็นประโยชน์ .


    กาลามชน. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ มีจิต
    อันความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
    สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้หลง ย่อม
    ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ .


    กาลามชน. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล .


    กาลามชน. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. มีโทษหรือไม่มีโทษ .


    กาลามชน. มีโทษ พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ .


    กาลามชน. ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
    เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร .

    กาลามชน. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อ
    ทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้..........................................

    ...... เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่า
    นี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้
    ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่าน
    ทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะ
    สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่โลภเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดเพื่อ
    ประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ .


    กาลามชน. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำ
    มีจิตไม่ถูกความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
    สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่
    โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น .


    กาลามชน. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า .

    พุทธะ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความไม่โกรธ เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อ
    สิ่งไม่เป็นประโยชน์ .


    กาลามชน. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ
    มีจิตไม่ถูกความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
    สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โกรธ
    ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น .


    กาลามชน. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ความไม่หลง เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อ
    สิ่งไม่เป็นประโยชน์ .


    กาลามชน. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่หลง ไม่ถูกความหลงครอบงำ
    มีจิตไม่ถูกความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
    สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่
    หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น .


    กาลามชน. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล .


    กาลามชน. เป็นกุศล พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. มีโทษหรือไม่มีโทษ .


    กาลามชน. ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า .


    พุทธะ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ .


    กาลามชน. ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระเจ้าข้า .

    พุทธะ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
    ความสุขหรือหาไม่ ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร .

    กาลามชน. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
    ความสุข ในข้อนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้ .


    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 ธันวาคม 2011
  6. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    อันเรือแพ(ความคิด ความเชื่อ)นั้น แค่ใช้พายไปให้ถึงฝั่ง(นิพพาน) แล้วก็ทิ้งมันไปเสีย จะแบกมันไป ทำไม กันฤา

    อันความเชื่อใดที่ควรเชื่อ ท่านก็ให้เชื่อในสัมมาทิฎฐิ

    สัมมาทิฐิ แปลว่า ความเห็นถูกต้อง หมายถึงความเห็นที่ถูกคลองธรรม เห็นตามความเป็นจริง เป็นความเห็นที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยปัญญา

    สัมมาทิฐิ ที่เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 หมายถึง ความเห็นในอริยสัจ คือเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค
    สัมมาทิฐิ ที่เป็นมโนสุจริตหมายถึง ความเห็นถูกต้อง 10 อย่าง คือ

    1. เห็นว่าการให้ทานมีผลจริง (หมายถึงการให้ในระดับแบ่งปันกัน)
    2. การบวงสรวงมีผลจริง(หมายถึงการให้ในระดับสงเคราะห์กันมีผล)
    3. การเคารพบูชามีผลจริง (หมายถึงการยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผลดีจริง)
    4. ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีจริง
    5. คุณของมารดามีจริง (หมายถึงมารดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่)
    6. คุณของบิดามีจริง (หมายถึง บิดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่)
    7. โลกนี้มี (หมายถึง โลกนี้มีคุณเป็นอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับใช้สร้างบุญบารมี)
    8. โลกหน้ามี (หมายถึง โลกหน้ามีจริง ตายแล้วไม่สูญ ความเป็นไปของโลกหน้า เป็นผลมาจากโลกนี้)
    9. พวกโอปปาติกะ (ผุดขึ้นเกิด) มี (หมายถึง สัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดแล้วโตทันทีมีจริง อาทิเช่น ในภูมิทุคติ ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ในภูมิสุคติ ได้แก่ เทวดา พรหม อรูปพรหม)
    10. สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุมรรคผลนิพพาน รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้รู้ตามด้วยมีจริง
     
  7. สาวอุทัย

    สาวอุทัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    2,293
    ค่าพลัง:
    +6,620
     
  8. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    เป็นคำถามที่น่างุนงง สงสัย และน่าสนใจยิ่ง..!
    ..ตามความคิดเห็น ของผมแล้ว "กลามสูตร10" นี้น่าจะเป็นอุบายอย่างหนึ่ง ที่ดึงพวกทิฏฐิความเชื่อนำ..ให้กลับมาอยู่ในทิฏฐิ ครรลองของเหตุผล มากกว่า..
    ดังนั้นการจะหา ตรงกลาง เพื่อวางใจของ "ความคิด-ทิฏฐิ" สิ่งต่างๆตามกะลามสูตรนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ เพราะมันยังไม่เกิดขั้นตอนของผลที่ได้พิสูจน์แล้ว ทำแล้วจนสำเร็จแล้ว..รู้แล้ว ..ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะวางใจลงได้ว่า..ตรงกลางอยู่ที่ไหน..?
    กรณีที่เราต้อง ลงมือพิสูจน์ จนรู้ความจริงแล้ว จึงจะวางใจลงได้..ครับ
    ..เหตุ-ปัจจัย เช่นนี้- ผลย่อมเกิดตามเหตุ-ปัจจัย..เชนนี้เช่นกัน..เป็นทฤษฎี ที่พระพุทธองค์ได้กระทำแล้ว เห็นผลแล้วจึงนำมาชี้ชวนให้คนอื่นกระทำ..และชี้นำให้ปฏิบัตก่อน จึงยังไม่ใช่ผลสำเร็จ ของการปฏิบัติจึงยังหาจุด ตรงกลางมิได้ครับ ต้องลงมือทำก่อน อุเบกขาจะตามมา การวางใจจะถูกต้องตามเหต-ผลครับสาธุครับ (ความเห็นส่วนตัว)
     
  9. นำขบวน

    นำขบวน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    แม้นว่าจะมีเหตุ มีผลก็ไม่ควรเชื่อ เพราะสิ่งนั้นก็มาจากความคิดเห็นที่ปรุงแต่งขึ้นมาเองทั้งนั้น ความรู้อัรเกิดมาจากเหตุและผลถึงบางสถานการณ์จะนำมาใช้ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นความรู้ขยะ และ ขยะยังไงก็ยังเป็นขยะอยู่วันยังค่ำ
     
  10. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ของมันมีนอก มันมีใน

    เวลาทำสมถะ นี่ มันจะยังอยู่ข้างนอก ยังไม่ถึงข้างใน

    ปัญญาที่ใคร่ครวญ โยนิโส หรือ ที่ภาษาพระเรียกว่า "จิตมีมนสิการ"
    มันถึงจะทำให้ น้อมเข้าไปสู่ข้างใน รู้ที่ฐาน

    อย่างอยาตนะ มันก็มีนอก มีใน หากยังรู้สักแต่ว่าอยู่นอกๆ มันก็
    เป็นสมถะกรรมฐาน แต่ถ้า นมสิการเข้าไปในอตยานะใน มันก็ถึงฐาน

    พอจิตอยู่ในๆ(โยนิโสมนสิการ) ไม่ในแบบนอกๆ(สมถะ) ตรงจุดนี้
    จะเรียกถึงจุดหมดเชื่อ ไม่ใช่เชื่ออีก เป็นจุดที่หมดอาจารย์ ไม่มีอาจารย์
    อีก(ภาษาบาลีใช้ อันเตวาสิก กับ อนันเตวาสิก) ซึ่งผู้ภาวนาที่ถูกจะ
    ต้อง "ไม่มีอาจารย์"

    พอถึงสภาวะที่ หมดเชื่อ ไม่ใช่เชื่อ มันจะพอดี แต่ เนื่องจากมันจะเป็นการ
    เจริญสติ ไม่ใช่การทรงสมาธิ(หากทรงสมาธิ ก็ ส่งจิตออกนอกไปแล้ว --จะ
    ไปเห็นชัดตอนอนาคามี ) จึงไม่มีอะไรอยู่นาน ไม่มีการทรงอารมณ์ แต่ก็เป็น
    สมาธิ ภาษาบาลีก็เรียกอีกว่า สุญญตาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิชนิดเดียวที่พระพุทธ
    สอน

    ก็ให้ รู้ลงไปว่า สิ่งที่ระลึกอยู่ เห็นอยู่ว่ามันไม่กลาง ก็รู้ไปตรงๆว่า มันไม่กลาง

    ระลึกรู้ตามไปเลยว่า มันไม่กลาง โดยไม่ต้องแก้ไข ถ้าคิดแก้ไขจะเป็น "สมถะ"
    แต่หากรู้ซื่อๆ ระลึกรู้ซื่อกับทุกสิ่ง ก็จะเป็นการกลับไป เจริญสติ ไม่หลงลืมสติ
    มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น ขึ้นมา ก็จะ กลางพอดี

    ไร้ตัณหา ก็เป็น สุญญตาสมาธิ
    ไร้การกำหนดนิมิตเพื่อแก้ ก็เป็น อนิมิตสมาธิ
    ไร้การตั้งฐาน ก็เป็น อัปณิหิตสมาธิ

    ตามเห็นความไม่เที่ยงเป็นประจำ
    ตามเห็นการสลัดคืนเป็นประจำ

    ภาวนาถูก จะเห็น ถี่ยิบเลย แต่พอเห็นเข้านะ เอ๊ะเราเป็นอะไร
    เสร็จ ตกและ เพราะเราทนไม่ได้การการที่ ตัวตนจะหายไป
    และ ทนไม่ได้ต่อการมุ่งรู้ทุกขสัจจ

    พอเลยจุด อาศัยเชื่อได้นะ ก็จะปรารภว่า ได้ยินในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน
    และ เพราะมาเห็น สิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงพบว่า จิตเราไม่ได้อาศัยเชื่อ

    จิตที่ไม่ได้อาศัยเชื่อ แต่ เห็น ก็เรียกว่า ...............ด้วยตนเอง

    * * * *

    จะเห็นว่า พุทธวัจนะ คำสอน ของมหาศาสดา ล้วนเป็นหนึ่งเดียว คือเป็นมรรคที่สอนให้ถึง
    ความหลุดพ้นได้ทุก ธรรมบท

    แต่พี่ไทย เอาไปใช้ในแง่ "การแก่งแย่ง" จนเราคลาดอรรถสาระไปหมด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2011
  11. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ระหว่างลมเข้าออก :cool:
     
  12. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ...เป็นหลักคิด ให้ได้พิจารณาก่อน จะได้เป็นเหตุเป็นผล อย่างรอบคอบ(คิดให้ดีดี อย่าด่วนลงความเห็นหากยังไม่ได้คิดทุกด้าน)

    ...เป็นหลักแห่งการใช้ปัญญา....

    ...หลักกาลามสูตรอย่าแยกกัน....ต้องใช้ทั้งหมดในการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงเรียกว่า "รอบคอบ"
     
  13. guaregod

    guaregod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +1,009
    ทุกอย่างอธิบายได้ด้วยคณิตศาสตร์ ก่อนอื่น คนต้องมีความรู้พื้นฐานก่อนอะไรจริงอะไรเท็จ กำหนดนิยามขึ้นมา เพื่อพิสูจน์
    เช่น บางคนบอก 1 + 1 เท่ากับ 1 คือ มี ทราย 1 กอง รวมกับทรายอีก 1 กอง รวมเป็น 1 กอง
    แต่ถ้าเราเปลี่ยน ทรายกองที่ 1 มีปริมาตร 1 เมตร^3 + ทรายกองที่ 2 มีปริมาตร 1 เมตร^3 รวมกันได้เป็นทราย 1 กองที่มีปริมาตร 2 เมตร^3 เพราะฉะนั้นก็จะเข้าตาม 1+1 = 2 คือถ้าเราถ้ามารู้และหาคำตอบของคำบอกเล่านั้นได้ เราก็ควรคิดก่อนเชื่อ แต่ถ้าเราไม่สามารถหาคำตอบได้เราก็เชื่อไปก่อนก็ได้ แล้วค่อยหาความรู้ต่อยอดเอาว่าที่เขาบอกมานั้นจริงหรือไม่ พวกนี้มันอยู่ตัวที่ตัวเองว่าเราจะวางตัวไว้นะตำแหน่งไหน จะเชื่อทุกอย่างที่เขาพูดหรือ จะพิสูจน์ก่อนว่าที่เขาพูดเป็นจริงหรือไม่ เลือกเอา ในเลขจำนวนเต็ม 0 ถึง 1 ยังมีเลขจำนวนจริงอีกนับไม่ถ้วน
     
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ไม่เชื่อ แต่ไม่ปฏิเสธ
    ทบทวน แต่ไม่ปักใจ
    ปล่อยวาง หากยังไม่ต้องตัดสินใจเร่งด่วน
    ทำความสงบเมื่อ คิดมาก
    เมื่อจิตเราสงบแล้ว องค์ธรรมจะปรากฎแล้วเราจะเห็นทางที่เป็นสัมมา ด้วยการใช้สติใคร่ครวญตามความจริง
     
  15. Oº°ஜ௰°ºO

    Oº°ஜ௰°ºO สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +5
    ในกาลามสูตร นี้ มีมาในพระไตรปิฏก สมัยพุทธศาสนา อุบัติ ใหม่ ๆ เนื่องด้วยสมัยนั้น ด้วยมีคำสอนอยู่หลาย ลัทธิ ทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความลังเล ว่า คำสอนใหนจะถูกต้อง และเป็นผล ...

    แต่สมัยนี้ ศาสนาพุทธได้อุบัติมากว่า 2500 ปีแล้ว ความลังเลสงสัย จึงไม่ควรมี ในคำสอนที่พระพุทธองค์ ตรัสไว้แล้ว สมกับคำที่ว่า


    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วัชชาจะระณะสัมปันโน สุขโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา

    เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส และตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
    เป็นผู้สามารถผฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 ธันวาคม 2011
  16. เฮียเครียด

    เฮียเครียด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2011
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +332
    เชื่อในสิ่งที่เราปฎิบัติ ปฎิบัติในสิ่งเราเชื่อ
     
  17. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465

    เห็นด้วย ความลังเลสงสัย ควรไม่มีในคำสอน ของพระพุทธเจ้า ค่ะ สาธุ
     
  18. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -อย่าไปยึดมั่นในความเชื่อทั้งหลาย หากจำเป็นต้องยึดก็ได้ แต่อย่าให้มันมั่น

    -ที่สุดแล้ว ความคิด จิตใจ ของเราก็เชื่อไม่ได้
     
  19. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    นั่นมัน แบล็คเรเบิ้ลแล้ว เฮียเครียด..! เชื่อในสิ่งที่เราเฮ็จ..เฮ็จในสิ่งที่เราเชื่อ..แม่นบ่ เฮียเครียด..!:':)@
     
  20. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ตอบว่า

    องค์ธรรม คือ โยนิโสมนสิการ เป็นไปเพื่อให้เกิดกุศล เพื่อให้เกิดปัญญา

    ที่จริงหลัก กาสามสูตร เป็นหลักในการพิจารณาครอบทั้ง ศรัทธา ศีล สมาธิ และแนวทางปฏิบัติต่างๆ

    ว่าปัญญานั้นรู้อะไร เป็นกุศลหรือไม่ หรือเป็นประโยชน์อย่างไร

    อนุโมทนาพระสูตร ในโพสที่ ๕ ครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 ธันวาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...