เราจะรู้ได้อย่างไรว่าฝึก กสิณ สำเร็จ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 20 ธันวาคม 2011.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    "เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ฝึกกสิณ สำเร็จ"
    ข้าพเจ้าได้เข้าไปในเวบธรรมเวบหนึ่ง ไปพบคำถาม และมีคำตอบอย่างมากมายหลากหลายชนิด ในเรื่องของ "กสิณ"
    ความอยากรู้ของมนุษย์นั้น บางครั้ง ก็ไม่ได้อยากรู้ให้เป็นไปตามหลักความจริง ผู้ที่รู้ก็รู้แบบ บิดเบือนหลักธรรมคำสอน บิดเบือนหลักปฏิบัติ ในทางพุทธศาสนา แถมยังเที่ยวแอบอ้างว่า ต้องฝึกอย่างนั้น แล้วจะได้อย่างนี้ ฝึกอย่างนี้แล้วจะได้อย่างนั้น ในเรื่องของกสิณก็เช่นกัน บิดเบือนหลักปฏิบัติ สมถะกรรมฐาน แบบ กสิณ ไปในทางที่ว่าถ้าฝึกแล้วจะได้อภิญญาบ้าง จะมีพลังจิตบ้าง เพ้อเจ้อ กันไม่มีหยุด ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอ ยืมหัวข้อ "เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ฝึกกสิณ สำเร็จ" มาเขียนอรรถาธิบาย แบบให้เป็นไปตามหลักความจริง และมีคำตอบสำหรับ "คำถาม"ที่ได้กล่าวไปข้างต้น
    กสิณ หมายถึง การใช้วัตถุอันจูงใจ หรือใช้วัตถุเป็นเครื่องจูงใจเข้าไปผูกอยู่ หรือจูงให้ใจของบุคคลนั้นๆเข้าไปจดจ่อหรือฝักใฝ่ในวัตถุนั้นๆ ด้วยการเพ่ง หรือมอง หรือกำหนด เพื่อให้เกิดสมาธิ
    หากจะกล่าวถึงชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) แล้วละก้อ กสิณ ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ทั้งหลายที่ประพฤติกระทำอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่เป็นนิจ ดังนั้นในทางพุทธศาสนา จึงได้นำเอาหลักธรรมชาติที่เรียกว่า กสิณนี้มาใช้เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดสมาธิ อันเป็นการประพฤติปฏิบัติกันอยู่แล้วในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทั่วๆไป ในที่นี้ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวถึง กสิณ ว่ามีกี่อย่าง ซึ่งหลายๆท่านที่ฝึกศึกษาในด้านธรรมะแห่งพุทธศาสนาก็คงรู้กันอยู่บ้างแล้ว
    กสิณ หรือ การใช้วัตถุเป็นเครื่องจูงใจเข้าไปผูกอยู่ ด้วยการเพ่ง ด้วยการมอง ด้วยการระลึกนึกถึง เพื่อให้เกิดสมาธินี้ มนุษย์ ทุกคนทำได้ และทำได้ดีกันแทบทุกคน ยกเว้นผู้ที่มีร่างกายไม่ค่อยจะปกติ เช่น สมาธิสั้น เอ๋อ หรือ อื่นๆ อีกหลากหลาย ในชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้น ย่อมล้วนต้องทำงาน ประกอบอาชีพต่างๆ ประกอบการงานต่างๆ ซึ่งก็ล้วนเป็นกสิณในหลากหลายชนิดดังที่ปรากฎอยู่ในพุทธศาสนา บางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมการปฏิบัติ "กสิณ"จึงมีอยู่พุทธศาสนา ทั้งๆที่เป็นธรรมชาติในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ในสมัยโบราณ การทำงาน การประกอบอาชีพ การประกอบการงานต่างๆ ยังมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นการทำไร่,ทำนา,ทำสวน หรือค้าขายแลกเปลี่ยน หรือประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ทำจากไม้นานาชนิด กสิณ ที่มีในพุทธศาสนา จึงได้รวมเอาวิถีชีวิตประจำวันของคนในสมัยนั้น มาใช้เพื่อเป็นการฝึกให้เกิดสมาธิ ตามความชอบ ตามความถนัด อันเป็นพื้นฐานของการฝึกปฏิบัติธรรมชั้นต่อไป ดังนั้น ผู้ที่ฝึกกสิณ จะรู้ได้ว่าสำเร็จ กสิณ หรือไม่ ก็ไห้ดูที่ตัวเอง กล่าวคือ ถ้าเป็นผู้ที่ขณประกอบการงาน ขณะประกอบอาชีพ หรือทำงานใดใด ฝักใฝ่กับการประกอบการงาน ประกอบอาชีพ หรือทำงานนั้นๆ โดยไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ถือได้ว่า สำเร็จกสิณ ในชั้นหนึ่งแล้ว
    หากเป็นผู้ที่ปฏิบัติ กสิณ ในทางพุทธศาสนา จะรู้ได้ว่าสำเร็จ กสิณ ก็เมื่อ บุคคลผู้นั้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารณ์ ไม่มีปีติ ไม่มีสุข มีแต่สมาธิ ใจจดจ่อ ฝ้กใฝ่ อยู่กับ วัตถุ อันจูงใจเหล่านั้น และที่ได้กล่าวไปข้างต้น ก็คือวิธีที่จะวัดว่าให้รู้ว่า ฝึก "กสิณ สำเร็จหรือไม่"
    เขียนเมื่อ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔
    จ่าสิบตรี เทวฤทธ์ ทูลพันธ์
     
  2. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    กสิน สำเร็จ หรือไม่
    เค้าวัดกันที่ฤทธิ์
    จะต้องทำฤทธิ์ในกสินได้

    ถ้าทำไม่ได้ ต่อให้เป็นฌาน4
    ก็เป็นฌาน4ไม่เต็มที่ ฤทธิ์เลยไม่เกิด
     
  3. jate2029

    jate2029 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +729
    เหมือนอย่างที่เรากำหนดไฟ เผาผลาญ วิญญาณที่เป็น มิฐฉาทิฐิ อย่างนั้นรึป่าวครับ อย่างนั่งบำเบ็ญกสินไฟ แต่ไม่ได้จุดไฟนะ มีพวกวิณญาณ พร้อมเจ้าที่ มากมายมา ขอร้องให้หยุดบำเพ็ญ เพราะกระแสเราไปเผาผลาญเค้าจนร้อนอยุ่ไม่ได้รึป่าวครับ
     
  4. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817

    ฮ่า ฮ่า ฮ่า กลับไปอ่านหลักคำสอนของข้าพเจ้าให้ดีนะ อย่าดื้อ เอ็งว่า กสิณ สำเร็จ วัดกันที่ฤทธิ์ อย่างนั้นหรือ
    ใครบ้างละที่มีฤทธิ์ เพราะฝึกกสิณสำเร็จ
    ถ้ามี น้ำคงไม่ท่วมเสียหาย นับ ล้านล้านบาท ดอกนะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า
    หรือว่า ที่น้ำท่วม คงมีผู้ที่ฝึกกสิณ สำเร็จทำให้น้ำท่วมกระมัง
    เจ้าคงเป็นนอกรีต คือ พวกนอกพุทธศาสนาละซินะ
     
  5. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817

    ฮ่า ฮ่า ฮ่า กลับไปอ่านหลักคำสอนของข้าพเจ้าให้ดีนะ อย่าดื้อ เอ็งว่า กสิณ สำเร็จ วัดกันที่ฤทธิ์ อย่างนั้นหรือ
    ใครบ้างละที่มีฤทธิ์ เพราะฝึกกสิณสำเร็จ
    ถ้ามี น้ำคงไม่ท่วมเสียหาย นับ ล้านล้านบาท ดอกนะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า
    หรือว่า ที่น้ำท่วม คงมีผู้ที่ฝึกกสิณ สำเร็จทำให้น้ำท่วมกระมัง
     
  6. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    [​IMG]

    แถวววววว ตร๊ง !!!

    ทำความเคารพ ทหารผ่านสึก !

    [​IMG]
     
  7. thaijin

    thaijin สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +16
    โดนจนได้ท่าน5555555:cool:
     
  8. timezone

    timezone สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +3
    ไ้อ้นี่มันมั่วตลอดเห็นมาหลายกระทู้ล่ะอยากจะอวดรู้แต่รู้ไม่จริง
     
  9. ruangsin

    ruangsin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +130
    ฝึกแบบผมก็ได้ครับนั่งเพ่งหลอดไฟให้จิตมันนิ่งที่สุดมันจะไม่คิดถึงสิ่งใดเลยมีแต่ความว่าง
    เรียกว่าเข้าฌานครับจิตมันมีพลังจริงนั้นแหละนำไปรักษาโรคของตนเองก็หายดีไม่ค่อยได้ไปหาหมอหรอก เท่าที่สังเกตดูพลังนี่น่าจะมาจากการการหายใจเข้าแล้วกลั้นลมหายใจแล้วค่อยปล่อยออกมาแต่ถ้าจะเอามารักษาโรคนั้นจะต้องทำจิตให้เย็นกายก็จะเญ้นไปด้วยโรคก็หายครับ
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เราจะรู้ได้อย่างไรว่าฝึก กสิณ สำเร็จ<!-- google_ad_section_end -->

    ผมว่าน่าจะเหมือนว่าเรามีครูสอนให้ฝึกอ่านหนังสือ
    อ่านออกเมื่อไหร่นั่นแหละ คือรู้ได้เอง ว่าเราอ่านออกแล้ว

    จขกท. ดุจัง !
     
  11. คนเหาะ

    คนเหาะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +85
    ตลกแล้วครับ คนที่ได้กสิณแล้ว ถึงมีฤทธิ์กเจริงแหล่

    แต่ก็ฝืนกฏของกรรมไม่ได้

    คนที่ประสบภัยวิบัติ เป็นกฏของกรรมครับ

    เอาฤทธิ์เข้าไปขวาง คนขวางน่ะจะซวย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2012
  12. คนเหาะ

    คนเหาะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +85
    คนที่ไดเ้กสิณเปรียบก็เหมือนคนอยู่คฤหาสหรูราคาแพงระยับ มีความสุข

    ความสดวก สบายทุกอย่าง ใครเขาจะมาสนใจชีวิตสลัม ที่ห้อมล้อม

    ไปด้วยกองขยะ( สลัมก็คือชาวโลก ขยะโสโครก ก็คืออามารมณ์ใจชาวโลก

    มีสุข(สุขก็ต้องอิงด้วยวัตถุ)และทุกข์ คละเคล้าแปดเปื้อนอยู่ตลอเวลานาที)

    ถ้าพวกได้กสิณ คิดมาช่วยเพระาความเมตตา

    ก็จะเข้าความหมายของคำว่า เอ็นดูเขา เอ็นเราขาดทันที

    พวกที่ได้กสิณพอเอาัวรอดได้ เฉพาะตัวครับ

    จะช่วยได้พอประมาณเฉพระาหมู่คณะของตนเท่านั้น

    เพราะเขาเคยเกื้อกูลกันมาก่อน

    (เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน พลังในการช่วยเหลือ คนใน

    กลุ่มตัวเองมีไม่จำกัด พอจะไปช่วยคนที่เดินผ่านไปมา ตามท้องถนน

    มันยาก)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2012
  13. คนเหาะ

    คนเหาะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +85
    คนที่ทรงณาฌจริงๆ เอาแค่ ปฐมฌาณ หรือ ทุติยฌาณ

    คุยยังไม่อยากจะคุยเลย

    ข้างนอกดูนิ่งๆ เฉยๆ แต่สติไวมาก


    อะไรที่เป็นข้าสึกต่ออามารมณ์ฌาณ

    กำลังใจจะตัดสวิททันที

    เช่นเห็นผู้หญิงสวย เดิมผ่าน พอใจแกว่ง

    พวกที่ได้ฌาณและทรงฌาณ จะตัดทิ้งทันทีโดยเด็ดขาด

    โยนเหมือนโยนขี้ทิ้ง โยนอุจาระทิ้ง

    คือไมา่มีเยื้อใยเลย ถ้ามีเยื้อใยแม้แต่น้อยทรงฌาณไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2012
  14. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
    ผมมีวิธีการปฏิบัติแบบที่ศึกษามาแบ่งปันครับเผื่อท่านผู้เจริญทั้งหลายจะได้นำมาเป็นแนวทางการฝึกกสินส่วนมากที่ผมเห็นกันเราจะชอบปฏิบัติกันก็เลยหลงไปหลงมาฝึกไม่สำเร็จสักที ผมก็หลงมานานมากๆพึ่งมารู้ว่าที่เราทำมามันก็ถูกแต่ถูกนิดเดียวอย่างมากก็อ่านใจคนอื่นได้ ผมก็เลยจะขอเสนอวิธีการปฏิบัตินี้ครับ คือการฝึกอาปานุสสติกรรมฐานครับ เป็นการฝึกระลึกลมหายใจเข้าออก ทุกท่านอาจคิดว่าเราก็เคยฝึกกัน ซึ่งผมคิดว่ากรรมฐานกองนี้สำคัญมาก คือ ในการหายใจเข้าออก ยังมีการระงับลมหายใจเข้าออก (พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกายมหาวรรค หน้า ๒๑๖ อาปานบรรพ) ตามด้านล่างครับ

    วิชชาอธิษฐานฤทธิ์ - มนสิการอานาปานสติ ๘ <O:p</O:p
    คณา คือ การนับ อันเป็นที่มาของการใช้ลูกปะคํา เพื่อกําหนดนิมิต-เพื่อให้สติระลึกรู้ <O:p</O:p
    อนุพันธนา คือการกําหนดลมหายใจตามไปทุกเม็ดปะคํา ให้ถูกหลักอานาปานสติ - อักษร - ระยะลมหายใจ=๑ขนนก <O:p</O:p
    ผุสนา การตั้งลม(ฐิติขณะ) ณ ฐานใจที่กําหนด การกําหนดนิยะมะ <O:p</O:p
    ฐปนา คือ การนิ่งสนิทเป็นหนึ่งเดียวของ นิมิต กายวาจาใจ นํามาตั้งไว้ ณ ฐานใจ <O:p</O:p
    สัลลักขณา นิมิตที่ตั้งไว้ ณ นิยะมะ นั้นชัดเจน ไม่พร่ามัว <O:p</O:p
    วิวัฏนา เปลี่ยนนิมิตนั้นเป็นภาพที่อธิษฐาน ตามใจปรารถนา <O:p</O:p
    ปริสุทธิ นิมิตที่อธิษฐาน เกิดผลเป็นจริงได้ตามใจปรารถนา <O:p</O:p
    <V:p</V:p โตสัญจ ปฏิปัสสนา ระลึกอารมณ์ที่อธิษฐานแล้วสัมฤทธิ์ผลนั้นไว้ได้ ไม่ลืมเลือน (วินัย.มหาวิภังค์) มนสิการ คือการทําสมาธิ ถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ โดยกายใน มิใช่กายนอก นี้คือการทําสมาธิโดยกายในกาย ตาม หลักแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร ย่อมมีพฤติ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้นนั้น การอธิษฐานย่อมเกิดขึ้น ณ ขณะแห่งการทรงลม(ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ) ทั้งสติไม่ทิ้งภาวนา ถึงพร้อมด้วยนิมิตอันปรารถนา ด้วยมนสิการ จึงยังให้เกิด ปริสุทธิ คือ นิมิตอันได้อธิษฐานนั้น เกิดผลเป็นจริงตามใจ(มนัส) ได้ตั้งเจตนาปรารถนาไว้แต่ต้น นั้น สมดังพุทธพจน์ที่ว่า " มโนบุพฺพงฺคมาธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมายา สิงทังหลายย่อมสําเร็จได้ด้วยใจ " จริง แท้ เพราะ<O:p</O:p
    มนสิการ เป็นการทําสมาธิด้วยกายในกาย อาการ - พฤติทีเกิดดังนี<O:p</O:p
    กายนอก --------------> เคลื่อนลูกปะคํา(นับ) = คณา <O:p</O:p
    กําหนดตาม ------------> ระลึกรู้ลมหาใจที่เคลื่อน = อนุพันธนา <O:p</O:p
    สติระลึกอารมณ์ -------> นํานิมิตเข้าสู่ที่ตั้ง = ผุสนา <O:p</O:p
    นิมิตมาตังไว้ทีฐาน ----> ตั้งอยู่ ณ ฐานที่กําหนด = ฐปนา <O:p</O:p
    นิมิตชัดเจน-----------------> ไม่สั่นไหว พร่ามัว = สัญลักขณา <O:p</O:p
    เปลียนนิมิตเป็นสิงทีปรารถนา ----------------> = วิวัฏนา <O:p</O:p
    ผลแห่งอธิษฐานจึงสําเร็จสมประสงค์ดั่งใจปรารถนาได้ด้วยประการฉะนี้

    เมื่อผ่านการอธิฐานสำเร็จแล้วค่อยไปฝึกกสินครับ
    อ้างอิง:http://www.rustanyou.com/

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2012
  15. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
    คําที่ใช้ภาวนา ควบคุมธาตุทั้งหลาย ทั้ง ๑๘
    วาจาที่ใช้เป็นคําภาวนาเป็นตัวปรับความถี่(frequency)เป็นปถวีธาตุอันเป็นที่ตั้งแห่งธาตุทั้ง หลาย จึงทําหน้าที่เชื่อมรูปกาย ที่มีสภาพเป็นสนิทัสสนสัปปติมองเห็นได้(Mass) กับ นามกาย ที่มี สภาพเป็นอนิทัสนสัปปติไม่สามารถมองเห็นได้(Plasma) โดยวาจา(คลื่นคําภาวนา)จะปรับระดับความถี่คลื่น กายทั้ง๒ ให้เป็นความถี่ในระดับเดียวกัน->เกิดเป็นสภาพความถี่ใหม่ ที่ควบคุมได้ สัมปยุตให้ทั้งรูปและนาม เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า พหิทธิกายเป็นอานุภาเวนะ หรือ พลังงาน(Energy) อันมีลักษณะคล้ายกับ โฟตรอน(Photron) ซึ่งจะแปรสภาพจากอานุภาคเป็นพลังงานที่มีการปรับสภาพไปตามสภาวะของอารมณ์ (รับรองข้อมูลโดยผลการทดลองของนักวิทยาศาสตร์โลกในโครงการCERN) ว่าสมจริงดังพุทธพจน์ของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงกล่าวจริงแท้แน่นอน ปรากฏเป็นพระบาลีว่า “ กถํ อุปฺปาทฐิติภงฺควเสน ขณตฺตยเมกจิตฺตกฺขณํ นาม ฯ ตานิ ปน สตฺตรส จิตฺตขณานิ รูป ธมฺมาน มายูฯ” <O:p</O:p
    การกําหนดอารมณ์ของจิตด้วยสามารถแห่งระลึกรู้อารมณ์(คือสติ=ธรรมชาติระลึกรู้อารมณ์->พุทธคุณ) มีอติมหันตารมณ์เป็นต้นนั้น ด้วยอาการอย่างไร ? คือ การกําหนดอารมณ์ของจิตด้วยสติ(คือ การบังคับด้วยเสียงภาวนาจากกายใน จากตําแหน่งที่ตั้งแห่งกาย ใน(ใจ) โดยระลึกรู้ตําแหน่งกายใน(ใจ) อยู่ด้วยลมหาใจ) มีอติมหันตารมณ์ด้วยสามารถ คือ ๑. อุปาทขณะ = ขณะเกิดขึ้น = อัสสาสะ ลมหาใจเข้า ๒. ฐีติขณะ = ขณะที่ทรงไว้ = ระงับอัสสาสะ-ปัสสาสะ ๓. ภังคขณะ = ขณะที่ดับไป = ปัสสาสะ ลมหาใจออก ก็ขณะจิตทั้งหลายเหล่านั้นมี ๑๗ ขณะจิต มีมโนทวาร(กายใน)ควบคุมไว้ด้วยสามารถอีก ๑ รวมเป็น ๑๘ เป็นอายุแห่งรูปธรรมทั้งหลายในสังสารวัฏ ก็รูปเหล่านั้นล้วนดํารงอยู่ได้โดยอาศัยธาตุ การปรับเปลี่ยนแปรผันแห่งรูปเหล่านั้นล้วนมาจากกันแปรเปลี่ยน แห่งธาตุทั้ง ๑๘ เมื่อควบคุมธาตุ ๑๘ ได้แล้วไซร้ ธาตุทั้ง ๑๘ ย่อมอยู่ภายใต้อํานาจควบคุมของโยคาวจร นั้นแล ฯ ในระดับความถี่ของกายในกาย(นามกาย) มีสภาพระดับความถี่เท่ากันกับระดับความถี่ของโอปปาติกะ(มีเทวดา เป็นต้น) ดังนั้นผู้เห็นกายในกาย จึงเห็นรูปแห่งโอปปาติกะเป็นปกติวิสัย ก็ด้วยเหตุดังกล่าวนั้น พระพุทธองค์ จึงทรงสอนให้พระภิกษุจะต้องสั่งสอนทั้งมนุษย์และเทวดาด้วย ดังปรากฏเป็นพุทธพจน์เป็นหลักฐานว่า จารถภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย สตฺถาเทวมนุสฺสานํ เทเสถ ฯ แม้แต่ในพระไตรปิฏกก็ปรากฏชัดในส่วนพุทธกิจว่าหลังเที่ยงคืน คือเวลาที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาโปรด เทพยดาทั้งปวงเป็นปกติ ฉะนั้น การสื่อ สัมผัส เสวนา กับเทวดา จึงเป็นเรื่องปกติของผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน เพราะบังคับไว้ในข้อแรก ว่า พึงพิจารณาให้เห็นกายในกายเป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการภาวนา จึงน้อมนําเอาภาษาโอปปาติกะ(เทวดา)มาใช้ในการภาวนา ซึ่งระดับความ ถี่ของคําภาวนาทั้ง ๑๘ นั้นจึงเข้าควบคุมและสัมปยุตธาตุทั้ง ๑๘ นั้นให้เป็นระดับเดียวกันได้ด้วยประการ ฉะนี้ <O:p</O:p
    คําภาวนา นะโม มีทังหมด ๑๘ คํา แต่ละคําล้วนมีความถีทีแตกต่าง ทําหน้าทีกระตุ้นเตือนธาตุทัง ๑๘ แห่งรูปทั้งหลาย โดยผ่านทางวาจาพิทสังขาร อันมีสภาพเป็นปถวีธาตุ คือเป็น ที่ตั้งแห่งธาตุทั้งหลายนัน :: และ เหตุที่ต้องอยู่ในฐิติขณะ(ทรงลม)ไว้ให้นานก็คือการยืดระยะวิถีจิตให้ยาวนาน เพื่อรักษาสติแห่งอติมหัน ตารมณ์ ให้ยาวที่สุด นั่นเอง
    ลักษณะ พฤติ การควบคุมธาตุทั้ง ๑๘ จากความถี่ของวาจา(ปถวีธาตุ) เมือผู้ภาวนาเปล่งคลื่นเสียง นะโม ตัสสะ ฯ
    <O:p</O:p
    อ้างอิง:http://www.rustanyou.com/
     
  16. ekkapon.ch

    ekkapon.ch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +257
    คำภาวนาที่ใช้ทั้งหมดมี ๑๘ คำ ใช้ลมหาที่ตั้งของใจ(ลมหาใจ)ตั้งไว้ที่ฐานดินก่อน ระงับลมเข้าออก แล้วออกเสียงบริกรรมพร้อมกับกำหนดนิมิตรูปอักษรในใจ ออกเสียงยาวๆ เช่น นะ ก็ออกเสียงว่า นะ พร้อมกับการนับลูกปะคำ ๑ ลูก แล้วเปลี่ยนนิมิตอักษรเป็นภาพที่เราปรารถนา จึงเรียกว่าอธิฐาน ซึ่งในขณะที่ ออกเสียงเราจะถึงพร้อมด้วย วาจา ขณะเคลื่อนลูกปะคำ เราจะถึงพร้อมด้วย กาย และตอนที่เราออกเสียงให้ใช้ใจออกเสียงตาม เมื่อสามอย่างรวมกัน เรียกว่า กายปัสสัทธิ
    ในคาถา นะโมฯ ๑๘ คำ เมื่อเราเปล่งวาจาออกไป เสียงที่ภาวนาจะทำให้ เทวดาที่รักษาพระพุทธศาสนาได้ยินและตามมารักษาเราไม่ให้มีอุปสรรค์ในการภาวนา

    ลองศึกษากันดูครับ อาจไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่หรือผิดพลาดประการใดกขอภัยด้วยครับ ลองไปสืบค้นในเว็บอ้างอิงดูได้ครับ เพราะคนที่่ไปฝึกมาได้ผลจริงเห็นผลจริง พิสูจน์พุทธานุภาพได้จริงไม่ได้พูดเลื่อนลอย เพราะพระพุทธศาสนาสอนให้เราพิสูจน์ ถ้าเราไม่พิสูจน์เราจะไม่ทราบว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นความจริงหรือไม่ ขอความสวัสดีจงมีแต่ท่านผูเจริญทั้งหลาย สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...