ข้อมูลเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์แผ่นดินไหว‏

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย tanakorn_ss, 10 ธันวาคม 2011.

  1. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ขออนุญาติเผยแพร่ข้อมูล การเตรียมการรับมือสถานการณ์แผ่นดินไหว เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับทุกๆท่านที่มีความสนใจและกำลังค้นหาวิธี การเตรียมตัวเพื่อความไม่ประมาท ในคราวที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้นโดยที่ไม่คาดคิด แลเะหวังว่าข้อมูลดังกล่าวคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยข้อมูลบางส่วนบางท่านอาจเคยได้อ่านได้ศึกษามาแล้วในกระทู้เว็บภัยพิบัตินีัก็มีมาก

    ภัยแผ่นดินไหว ไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ และไม่สามารถแจ้งเตือนภัยได้ทันที หากเราได้ทราบถึงความอันตรายของแผ่นดินไหวแล้ว เราควรมีการวางแผน และเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราจากแผ่นดินไหว นอกจากนี้ การปรับปรุงที่พักอาศัยของท่าน ก็เป็นเรื่องสำคัญ เช่น การยึดชั้นวางอย่างแน่นหนา ให้มั่นคงแข็งแรง รวมไปถึงไฟบนเพดาน ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง ไม่ร่วงหล่นมาง่าย สิ่งเหล่านี้เป็นการลดผลกระทบความอันตรายที่เกิดจากแผ่นดินไหว



    แผ่นดินไหวคืออะไร

    แผ่นดินไหว :เป็น ปรากฎการณ์ธรรมชาติ เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่ แผ่นดินไหวมักเกิดตรงบริเวณขอบ ของแผ่นเปลือกโลกเป็นแนวแผ่นดินไหวของโลก การเคลื่อนตัวดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากชั้นหินหลอมละลาย ที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันให้เปลือกโลกตอนบนตลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ในทิศทางต่าง ๆ กันพร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน บริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกันเสียดสีกัน หรือแยกจากกัน หากบริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกใด ๆ ไม่ผ่านหรืออยู่ใกล้กับประเทศใดประเทศนั้น ก็จะมีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น นอกจากนั้นพลังที่สะสมในเปลือกโลก ถูกส่งผ่านไปยังเปลือกโลกพื้นของทวีป ตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลกหรือที่เรียกว่า “รอยเลื่อน” เมื่อระนาบ รอยร้าวที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมาก ๆก็จะทำ ให้รอยเลื่อนมีการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลันเกิดเป็น แผ่นดินไหวเช่นเดียวกัน แผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิต และทรัพย์สินของมนุษย์ได้ เป็นบริเวณกว้าง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเผชิญภัยแผ่นดินไหว คือการเตรียมพร้อมที่ดี ควรมีมาตรการ/จัดทำแผนในการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว เช่น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว รอยเลื่อนต่าง ๆ ให้ความรู้ และข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหวต่อประชาชน ให้มีการแบ่งเขตแผ่นดินไหวตามความเหมาะสมของความเสี่ยงภัย ออกกฎหมายให้อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ สามารถรับแรงแผ่นดินไหวตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่เสี่ยงภัย มีการวางแผนการจัดการที่ดี หากเกิดความเสียหายร้ายแรงหลังการเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น
    [​IMG]


    ปฏิกิริยาการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ที่เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยพลังงานอย่างรวดเร็ว หรือ แผ่นดินไหวนั้นยังมีอีกหลายสาเหตุในโลกนี้ที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวสะเทือน ไม่ว่าจะเป็น การระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ (atomic bomb) หรือ การระเบิดของภูเขาไฟ เป็นต้น แต่สาเหตุที่ว่ามานี้ นับว่าทำให้แผ่นดินไหวสะเทือนอ่อนมาก และเกิดไม่บ่อย เมื่อเทียบกับเหตุจากการที่โลกปล่อยพลังงานอย่างรวดเร็ว และสาเหตุนี้มาจากการ เคลื่อนไหว ของแผ่นเปลือกโลก บริเวณที่เป็นรอยร้าวขนาดใหญ่ของแผ่นเปลือกโลกที่เรียกว่า รอยเลื่อน (faults) แรงการขยับตัวของเปลือกโลกต้องใช้พลังงานมหาศาล ด้วยพลังงานนี้เองที่ทำให้แผ่นดินไหว พลังงานนี้จะแผ่กระจายออกจากจุดศูนย์กลางกำเนิดพลังงาน(focus) ไปในทุกทิศทาง แบบเดียวกับคลื่น (wave) ที่เกิดจากการที่เราโยนก้อนหินสัก ก้อนลงในในสระน้ำที่มีน้ำนิ่งๆ ซึ่งจะเห็นคลื่นน้ำกระจายออกจากจุดที่ก้อนหินกระทบผิวน้ำในสระ คลื่นแผ่นดินไหว (seismic wave) เกิดแบบเดียวกันนี้ พลังงานที่เกิดขึ้นจะมีมากที่สุด ณ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว (focus) และจะลดความรุนแรงลงเมื่อไกลจุดศูนย์กลางออกไป อย่างไรก็ดี การที่จะตรวจจับและบันทึกแผ่นดินไหวนั้นต้องใช้เครื่องมือที่มีความไวสูงมาก
    [​IMG]
    ความสั่นสะเทือนของพื้นดินนั้นมีลักษณะการเคลื่อนตัวของอนุภาคหินหรือดิน แบบ 3 มิติ คือสามารถวัดการเคลื่อนตัวในแนวระนาบของทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก และแนวดิ่ง ทั้งนี้คลื่นแผ่นดินไหวสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน 2 แบบได้แก่ แบบวัดความเร็วของอนุภาคดินหรือหิน (Seismograph )ซึ่งสามารถวิเคราะห์คลื่นแผ่นดินไหวเพื่อการกำหนดตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดิน ไหว ขนาด เวลาเกิด ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของโลก ลักษณะของแนวรอยเลื่อน กลไกการเกิดแผ่นดินไหว และแบบวัดอัตราเร่งของพื้นดินได้แก่ เครื่องวัดอัตราเร่งของพื้นดิน (Accelerograph ) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับงานด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหว ในบริเวณพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว


    คลื่นแผ่นดินไหวแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่

    -คลื่นหลัก (Body Wave )เป็นคลื่นที่เดินทางอยู่ภายใต้ โลก ได้แก่ คลื่น P อนุภาคของดินเคลื่อนที่ไปตามแนวแรง และคลื่น S อนุภาคดินเคลื่อนที่ไปตามแนวระนาบ ทิศเหนือใต้ และตะวันออกตะวันตก ความยาวช่วงคลื่นหลักอยู่ระหว่าง 0.01-50 วินาที


    -คลื่นผิวพื้น (Surface Wave) ได้แก่คลื่นเลิฟ (Love :LQ) อนุภาคดินเคลื่อนที่ในแนวระนาบเหมือนการเคลื่อนที่ของงูเลื้อย และคลื่น เรย์เลห์ (Rayleigh :LR) อนุภาคของดินเคลื่อนที่เหมือนคลื่น P แต่ ขณะเดียวกันมีการเคลื่อนตัวแบบย้อนกลับ ความยาวช่วงคลื่นผิวพื้นประมาณ 10-350 วินาที
    [​IMG]
    [​IMG]

    การเกิดแผ่นดินไหวอาจมีด้วยกันหลายสาเหตุดังนี้
    <table border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="center" valign="top" width="215"> เกิดภายในโลก</td> <td align="center" valign="top" width="208"> เกิดภายนอกโลก</td> <td align="center" valign="top" width="193"> ทั้งภายในและภายนอกโลก</td> </tr> <tr> <td style="text-align:left" valign="top" width="215">- แผ่นดินไหวเกิดจากรอยเลื่อนระเบิด ใต้ดิน
    – การไหลหมุนเวียนของน้ำใต้ดิน

    – การเคลื่อนตัวของหินหลอมละลาย

    – การเปลี่ยนแปลงสถานะใต้ดิน

    – การทำเหมือง

    – การยุบตัวใต้ดิน

    </td> <td style="text-align:left" valign="top" width="208">- ลม ความดันบรรยากาศ
    – คลื่นในทะเล น้ำขึ้นหรือลง

    – ความสั่นสะเทือนจากกิจกรรมของมนุษย์เช่น จราจร ระเบิดเป็นต้น

    – การชนของอุกาบาต
    </td> <td valign="top" width="193">
    – การระเบิดของภูเขาไฟ
    – แผ่นดินถล่ม

    </td> </tr> </tbody> </table>

    แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่ที่

    -แนวแผ่นดินไหวของโลก ตรงบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก ในกรณีของประเทศไทยแนวแผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ๆ ได้แก่ แนวในมหาสมุทรอินเดีย สุมาตรา และ ประเทศเมียนมาร์
    - แนวรอยเลื่อนต่างๆ ในกรณีประเทศไทยได้แก่ แนวรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน พม่า จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาชนลาว และเวียตนาม แนวรอยเลื่อนภายในประเทศซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตก แสดงดังรูปที่ 7 ทำให้บริเวณนี้มีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวมากกว่าบริเวณภาคอื่นๆ ที่น่าสังเกตคือแนวรอยเลื่อนบางแห่งเท่านั้นมีความสัมพันธ์กับเกิดแผ่นดิน ไหว เช่น รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อน แม่ทา รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนระนอง เป็นต้น ซึ่งในทางทฤษฎีถือว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังและเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ได้ในหลายขนาด ขึ้นอยู่กับความยาวของการเคลื่อนตัว
    -บริเวณที่มนุษย์มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดแผ่น ดินไหว เช่น เหมือง เขื่อน บ่อน้ำมัน บริเวณที่มีการฉีดของเหลวลงใต้พื้นดิน บริเวณที่มีการเก็บกากรังสีเป็นต้น


    จุดที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุด
    [​IMG]
    Ring of Fire


    ปัจจุบันความรู้ความเข้าใจในเรื่องของลักษณะรอยเลื่อนเพิ่มขึ้น รอยเลื่อนสามารถแบ่งออกตามลักษณะการเคลื่อนตัวในทิศทางต่างๆ ดังแสดงในรูปที่ 8 เนื่องจากรอยเลื่อนในประเทศไทยมีด้วยกันหลายแนว แต่รอยเลื่อนทุกแนวนั้นมิใช่เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว มีเพียงบางแนวที่ยังเคลื่อนตัวได้ ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดจากรอยเลื่อนจะมากหรือน้อยขึ้นกับความยาวของแนวรอย เลื่อน และระยะทางที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัว หรือระยะขจัด (Displacement) หากเคลื่อนตัวได้มากก็จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เช่น แผ่นดินไหวขนาด 7 ริคเตอร์ อาจมี ระยะขจัดประมาณใกล้เคียง 1 เมตรหรือมากกว่า


    ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว
    ารเกิด แผ่นดินไหว “แผ่นดินไหว” เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลก ออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่สาเหตุ ของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจัดแบ่งได้ 2 ชนิด ชนิดที่หนึ่ง เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การ ทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อนและแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่ เป็นต้น ชนิดที่สองเป็นแผ่นดินไหวจากธรรมชาติ ซึ่งมีทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวอันเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน 2 ทฤษฎี คือ

    1. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (Dilation source theory) อันเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้งโก่งงออย่างฉับ พลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว

    2. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (Elastic rebound theory) เชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจากการเคลื่อนตัว ของรอยเลื่อน (Fault) ดังนั้นเมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจากกัน และเสียรูปอย่างมาก พร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่เชื่อว่า แผ่นดินไหวมีกลไกการกำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรง และใกล้ชิดกับแนวรอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) ที่เกิดขึ้นจากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (Plate tectonics)
    [​IMG]
    เปลือกโลกของ เราประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก จำนวนประมาณ 12 แผ่นใหญ่ ทั้งที่เป็นแผ่นมหาสมุทรและแผ่นทวีป ซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาต่อให้บางแผ่นมีการเคลื่อนแยกออกจากกัน บางแผ่นเคลื่อนเข้าหาและมุดซ้อนเกยกัน และบางแผ่นเคลื่อนเฉียดกัน อันเป็นบ่อเกิดของแรงเครียดที่สะสมไว้ภายในเปลือกโลกนั้นเอง

    ขนาด (Magnitude)
    เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงาน ที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น ” ริคเตอร์”
    <table> <tbody> <tr> <th>ตัวเลขริกเตอร์</th> <th>จัดอยู่ในระดับ</th> <th>ผลกระทบ</th> <th>อัตราการเกิดทั่วโลก</th> </tr> <tr> <td>1.9 ลงไป</td> <td>Micro</td> <td>ไม่มี</td> <td>8,000 ครั้ง/วัน</td> </tr> <tr> <td>2.0-2.9</td> <td>Minor</td> <td>คนทั่วไปมักไม่รู้สึก แต่ก็สามารถรู้สึกได้บ้าง และตรวจจับได้ง่าย</td> <td>1,000 ครั้ง/วัน</td> </tr> <tr> <td>3.0-3.9</td> <td>Minor</td> <td>คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ และบางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง</td> <td>49,000 ครั้ง/ปี</td> </tr> <tr> <td>4.0-4.9</td> <td>Light</td> <td>ข้าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้ปานกลาง</td> <td>6,200 ครั้ง/ปี</td> </tr> <tr> <td>5.0-5.9</td> <td>Moderate</td> <td>สร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง แต่กับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงนั้นไม่มีปัญหา</td> <td>800 ครั้ง/ปี</td> </tr> <tr> <td>6.0-6.9</td> <td>Strong</td> <td>สร้างความเสียหายที่ค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร</td> <td>120 ครั้ง/ปี</td> </tr> <tr> <td>7.0-7.9</td> <td>Major</td> <td>สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณกว้างกว่า</td> <td>18 ครั้ง/ปี</td> </tr> <tr> <td>8.0-8.9</td> <td>Great</td> <td>สร้างความเสียหายรุนแรงได้ในรัศมีเป็นร้อยกิโลเมตร</td> <td>1 ครั้ง/ปี</td> </tr> <tr> <td>9.0-9.9</td> <td>Great</td> <td>‘ล้างผลาญ’ ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีเป็นพันกิโลเมตร</td> <td>1 ครั้ง/20 ปี</td> </tr> <tr> <td>10.0 ขึ้นไป</td> <td>Epic</td> <td>ไม่เคยเกิด จึงไม่มีบันทึกความเสียหายไว้</td> <td>0

    </td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="0" width="95%"> <tbody> <tr> <td width="25%"> ขนาด</td> <td width="75%"> ความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง</td> </tr> <tr> <td width="25%">1-2.9</td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียน ศีรษะ</td> </tr> <tr> <td width="25%">3-3.9</td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน</td> </tr> <tr> <td width="25%">4-4.9</td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว</td> </tr> <tr> <td width="25%">5-5.9</td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่</td> </tr> <tr> <td width="25%">6-6.9</td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย</td> </tr> <tr> <td width="25%">7.0 ขึ้นไป</td> <td width="75%">เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น</td> </tr> </tbody> </table>


    ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity)
    แสดง ถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด ได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น

    ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สำหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก
    [​IMG]
    ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งเรื่องตำแหน่ง ขนาด และเวลาเกิด ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ ได้มี ความพยายามอย่างยิ่งในการศึกษาวิเคราะห์ถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของบริเวณแหล่ง กำเนิดแผ่นดินไหว เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการพยากรณ์แผ่นดินไหว โดยอาศัยทั้งที่เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับ


    คุณลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลก ที่เปลี่ยนแปลงจากปกติก่อนเกิดแผ่นดินไหว
    - แรงเครียดในเปลือกโลกเพิ่มขึ้น- การเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วง- การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก - น้ำใต้ดิน (ชาวจีน สังเกต การเปลี่ยนแปลง ของน้ำในบ่อน้ำ 5 ประการ ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
    ได้แก่ น้ำขุ่นขึ้น มีการหมุนวนของน้ำ ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง มีฟองอากาศ และรสขม)
    - ปริมาณก๊าซเรดอน เพิ่มขึ้น
    - การส่งคลื่นวิทยุความยาวคลื่น สูงๆ

    การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์หลายชนิดที่มีการรับรู้ถึงภัยก่อนเกิดแผ่นดินไหว
    - แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน
    - สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี ตื่นตกใจ
    - หนู งู วิ่งออกมาจากรู
    - ปลา กระโดดขึ้นจากผิวน้ำ ฯลฯ

    เหตุการณ์แผ่นดินไหว
    เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ ในบริเวณเดียวกัน หลายสิบครั้งหรือหลาย ร้อยครั้งในระยะเวลาสั้นๆ เป็นวันหรือในสัปดาห์ อาจเป็นสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า ว่าจะเกิดแผ่นดิน ไหวที่มีขนาดใหญ่กว่าตามมาได้ หรือในบางบริเวณที่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีต สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอาจเกิด แผ่นดินไหวใหญ่ที่มีขนาดเท่าเทียมกัน หากบริเวณนั้นว่าง เว้นช่วงเวลา การเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลา ยาวนานหลายสิบปีหรือหลายร้อยปี ยิ่งมีการ สะสมพลังงานที่เปลือกโลกในระยะเวลายาวนานเท่าใด การเคลื่อน ตัวโดยฉับพลันเป็นแผ่นดิน ไหวรุนแรงก็เพิ่มมากขึ้น
    โดยสรุปการพยากรณ์แผ่นดินไหวในภาวะปัจจุบัน ยังอยู่ในช่วงของการ ศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อการคาดหมายที่แม่นยำและแน่นอนขึ้น อย่างไรก็ตามการมีมาตรการ ป้องกัน และบรรเทาภัยแผ่นดินไหว เช่น การก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรงในพื้นที่ เสี่ยงภัย รวมถึงการเตรียมพร้อมที่ดีของประชาชน จะช่วยลดการสูญเสียได้มาก

    พื้นที่เสี่ยงในประเทศไทย
    แนวรอยเลื่อนภายในประเทศซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันตก ที่น่าสังเกต คือ แนวรอยเลื่อนบางแห่งเท่านั้นมีความสัมพันธ์กับเกิดแผ่นดินไหว เช่น รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ รอยเลื่อนระนอง เป็นต้น
    [​IMG]
    @=>>ข้อมูลรอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย<<=@


    [​IMG]
    <table border="0" cellpadding="0" width="95%"><tbody><tr><td width="25%">
    </td><td width="75%">
    </td></tr><tr><td valign="top" width="25%">
    </td><td valign="top" width="75%">
    </td></tr><tr><td width="25%">
    </td><td width="75%">
    </td></tr><tr><td valign="top" width="25%">
    </td><td valign="top" width="75%">
    </td></tr><tr><td width="25%">
    </td><td width="75%">
    </td> </tr> </tbody> </table>









    ลักษณะภัยแผ่นดินไหว
    แผ่นดินเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง โดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า

    ข้อควรจำ
    เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง มักมีแผ่นดินไหว ตามมาอีกหลายครั้ง อาจเกิดแผ่นดินแยก แผ่นดินถล่ม และอาคารอาจไม่พังทลายในทันทีแต่อาจะพังทลายภายหลัง

    ข้อควรปฏิบัติ

    * ตรวจสอบดูว่าที่พักอาศัยนั้นตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวหรือไม่
    * ควรเสริมบ้านหรืออาคารให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเพื่อต้านแผ่นดินไหว
    * ทำที่ยึดตู้และเฟอร์นิเจอร์ไว้ไม่ให้ล้ม
    * ติดยึดชุดโคมไฟบนเพดานให้มั่นคง
    * จัดการป้องกันไม่ให้แก๊สรั่วไหล โดยใช้สายท่อแก๊สที่ยืดหยุ่นได้
    * หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หน้าต่างหรือผนังห้อง
    * มีไฟฉาย วิทยุ ไว้ใกล้ตัว

    วิธีการปฏิบัติ
    · ออกจากอาคารไปสู่ที่โล่งแจ้งในทันที
    · หากมีคนอยู่จำนวนมากอย่าแย่งกันออกที่ประตู เพราะจะเกิดอันตรายจากการเหยียบกัน
    · หากออกจากอาคารไม่ได้ให้หมอบอยู่ใต้โต๊ะ หรือยืนชิดติดกับเสาร์ที่แข็งแรง
    · คลุมศีรษะไว้จนกระทั่งแผ่นดินไหวหยุดเอง
    · ถ้าอยู่ในตึกสูงให้อยู่ที่ชั้นเดิม อย่าใช้ลิฟท์
    · เตรียมพร้อมเพื่อใช้ระบบเตือนภัยและระบบดับเพลิง
    · หากขับขี่ยานพาหนะให้รีบจอดยานพาหนะ ในที่โล่งแจ้ง ห้ามหยุดใต้สะพาน ใต้ทางด่วน ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง และให้อยู่ภายในรถยนต์

    ข้อควรปฏิบัติของประชาชน
    นอกจากการป้องกันการพังทลายของอาคารแล้ว มาตรการเตรียมพร้อมและการเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉินหลังเกิดเหตุ ก็มีส่วนช่วยบรรเทาความเสียหายได้บ้าง กรมอุตุนิยมวิทยาได้จัดทำคำแนะนำการป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหวไว้ดังนี้ (ดูเรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับแผ่นดินไหว)

    การเตรียมพร้อม
    ๑. ควรมีไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และแจ้งให้ทุกคนทราบว่าเก็บไว้ที่ไหน
    ๒. ควรศึกษาการปฐมพยาบาลขั้นต้น เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน
    ๓. ควรทราบตำแหน่งวาล์วปิดถังแก๊ส ปิดน้ำ และตำแหน่งสะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแสไฟฟ้า และทุกคนในบ้านควรจะทราบวิธีการปิดวาล์วถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า
    ๔. อย่าวางของหนักไว้บนชั้นหรือหิ้งสูงๆ เพราะเมื่อมีการสั่นไหว สิ่งของอาจตกลงมาเป็นอันตรายต่อคนในบ้าน
    ๕. ผูกเครื่องใช้ให้แน่นกับพื้น และยึดเครื่องประดับบ้านหนักๆ เช่น ตู้ถ้วยชาม ไว้กับผนัง
    ๖. ควรวางแผนการในกรณีที่ทุกคนอาจต้องพลัดพรากจากกัน ว่าจะกลับมารวมกันที่ไหน อย่างไร

    เมื่อเกิดแผ่นดินไหว
    ๑. อยู่อย่างสงบ ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน ส่วนใหญ่คนที่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้า-ออกจากบ้าน
    ๒. ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้ยืนอยู่ในส่วนของ บ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และควรอยู่ห่างจากหน้าต่างและประตูที่จะออกข้างนอก
    ๓. ถ้าอยู่ในที่โล่ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่อาจตกลงมา
    ๔. อย่าใช้เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่ใน บริเวณนั้น
    ๕. ถ้ากำลังอยู่ในรถยนต์ ให้หยุดรถ และอยู่ในรถต่อไปจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง
    ๖. ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
    ๗. หากอยู่ใกล้ชายทะเล ให้อยู่ห่างจาก ฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

    เมื่ออาการสั่นไหวสงบลง
    ๑. ควรตรวจดูตัวเองและคนใกล้เคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้ามีการบาดเจ็บ ให้ทำการปฐมพยาบาลก่อน หากว่าบาดเจ็บมาก ให้นำส่งสถานพยาบาลต่อไป
    ๒. ควรรีบออกจากตึกที่เสียหาย เพื่อความปลอดภัยจากอาคารถล่มทับ
    ๓. ควรตรวจท่อน้ำ แก๊ส และสายไฟฟ้า หากพบส่วนที่เสียหาย ปิดวาล์วน้ำหรือถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า
    ๔. ตรวจแก๊สรั่วโดยการดมกลิ่น ถ้าได้กลิ่นแก๊ส ให้เปิดหน้าต่างและประตูทุกบาน รีบออกจากบ้าน และแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
    ๕. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะใช้ส่งข่าว
    ๖. อย่ากดน้ำล้างโถส้วมจนกว่าจะตรวจสอบว่า มีสิ่งตกค้างอยู่ในท่อระบายหรือไม่
    ๗. สวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันเศษ แก้วและสิ่งหักพังทิ่มแทง

    ดูเพิ่มเติมเรื่อง การตรวจอากาศ เล่ม ๒ และปรากฏการณ์ของอากาศ เล่ม ๔


    ขั้นตอนการปฏิบัติตัวรับมือแผ่นดินไหว

    โดยอาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทยเมื่อ 24 มีนาคม 2011 เวลา 22:12 น.​

    ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว

    1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
    2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
    4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
    5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
    6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
    7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกันเพื่อมารวมกันอีกครั้งในภายหลัง
    8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
    ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว

    1. อย่า ตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
    2. ถ้าอยู่ในบ้าน ให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็ง แรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
    3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
    4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
    5. อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
    6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
    7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
    8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
    หลังเกิดแผ่นดินไหว

    1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
    2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
    3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
    4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
    5. ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
    6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
    7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
    8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
    9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคาร
    10. อย่าแพร่ข่าวลือ



    อุปกรณ์เบสิกรับมือแผ่นดินไหว

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2011
  2. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ชุดรับมือภัยพิบัติ

    แผ่นดินไหว น้ำท่วม และภัยพิบัติอื่นๆ สามารถสร้างความเสียหายแก่ชีวิตได้ การช่วยเหลืออาจเข้าไม่ถึง การขนส่งถูกตัดขาด และถนนอาจถูกกีดขวาง ในบางกรณี คุณอาจถูกบังคับให้อพยพ จงพร้อมที่จะรับมือสถานการ์แบบนี้ด้วย ชุดรับมือภัยพิบัติ
    น้ำ
    เตรียมน้ำประมาณ 4 ลิตรต่อคนต่อวัน (1 US gallon = 3.7854118 liter/ผู้แปล) เก็บน้ำไว้ในภาชนะพลาสติกเช่น ขวดน้ำเปล่า ขวดน้ำอัดลมขนาด 1.5 -2 ลิตร หลีกเลี่ยงการการใช้ภาชนะจะบุบสลายหรือแตกได้ -ขวดแก้ว กระปุก...
    ใช้น้ำเพื่อสุขลักษณะ เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ เราไม่ควรที่จะอดน้ำ ดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน (1 US quart = 0.946353 liter/ผู้แปล) จนกว่าน้ำจะหมด แล้วจึงมองหาแหล่งน้ำอื่นต่อไป
    อาหาร
    สำรองอาหารที่เน่าเสียยากในปริมาณที่รับประทานได้อย่างน้อยสามวัน (อาหารกระป๋อง อาหารแห้ง ฯลฯ/ผู้แปล) เลือกอาหารที่ไม่จำเป็นต้องแช่เย็น ปรุงให้สุก หรือต้องมีการเตรียม และเลือกอาหารที่มีขนาดเล็กและเบา ถ้าอาหารนั้นจำเป็นต้องปรุงให้สุก อย่าลืมแอลกอฮอล์กระป๋อง (Sterno เป็นเครื่องหมายการค้า ของแอลกอฮอล์แบบกระป๋องที่ใช้อุ่นอาหาร แบบเดียวกับตามงานเลี้ยงบุฟเฟ หรือ ร้านอาหาร/ผู้แปล)
    ข้อเสนอแนะ
    • อาหารกระป๋องพร้อมรับประทาน เช่นเนื้อ ผลไม้และผัก
    • อาหารกระป๋องจำพวก น้ำผลไม้ นม ซุป(ถ้าเป็นซุปผง อย่าลืมสำรองน้ำเพิ่มเติม) เครื่องปรุงหลัก น้ำตาล เกลือ พริกไทย
    • อาหารให้พลังงานสูงพวก เนยถั่ว เยลลี่ แครกเกอร์ ถั่วต่างๆ ธัญพืชอัดแท่ง เอนเนอจีบาร์(แบบที่นักกีฬาใช้/ผู้แปล)
    • อาหารลดความเครียด เช่น คุ๊กกี้ ขนมหวาน ซีเรียลหวาน
    • วิตามินต่างๆ
    • ขวด โหล กล่องเก็บอาหาร
    • เก็บอาหารเหล่านี้ในภาชนะที่หยิบฉวยได้ง่าย เช่น เป้สนาม กระเป๋ากีฬา หรือถังแบบมีฝาปิด
    ชุดปฐมพยาบาล
    เตรียมไว้สองชุด ชุดหนึ่งในรถและอีกชุดที่บ้าน
    หนึ่งชุดประกอบด้วย
    • พลาสเตอร์ปิดแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วคละขนาด
    • ผ้าก๊อซขนาด 2 นิ้ว (4-6)
    • ผ้าก๊อซขนาด 4 นิ้ว
    • เทปยึดแผลสำหรับคนแพ้ง่าย
    • ผ้าสามเหลี่ยม (3)
    • ผ้าพันแผลขนาด 2 นิ้ว (3 ม้วน)
    • ผ้าพันแผลขนาด 3 นิ้ว
    • กรรไกร
    • ปากคีบ
    • เข็มเย็บแผล
    • กระดาษทำความสะอาดแบบเปียก (แบบที่เป็นซองหรือกระป๋องสำเร็จ/ผู้แปล)
    • ยาฆ่าเชื้อ/ ยาปฏิชีวนะ
    • ปรอทวัดไข้
    • ไม้กดลิ้น (2)
    • วาสลีนหรือสารหล่อลื่นอื่นๆ
    • เข็มกลัดซ่อนปลายคละขนาด
    • สบู่ก้อน/เหลวสำหรับทำความสะอาด
    • ถุงมือยาง (2 คู่)
    • ครีมกันแดด
    • แอสไพริน หรือยาแก้ปวด
    • ยาแก้ท้องเสีย
    • ยาลดกรด
    • ยากระตุ้นให้อาเจียน (Ipecac syrup เป็นยาที่นิยมใช้ในเด็ก โดยยามีส่วนประกอบเป็น alkaloid ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นให้เกิดการอาเจียนคือ cephalin และ emetine โดยอาจมียานี้ที่บ้านและควรให้เด็กกินยานี้ภายใน 1 ชั่วโมงหลังกินสารพิษ
    Doses
    เด็ก 6-12 เดือน : 10 ml ตามด้วยน้ำหรือน้ำผลไม้ ประมาณ 15 ml/Kg
    เด็ก 1ปี -12 ปี : 15-30 ml ตามด้วยน้ำหรือน้ำผลไม้ ประมาณ150-240 ml
    เด็ก >12 ปี : 30-60 ml ตามด้วยน้ำหรือน้ำผลไม้ ประมาณ 240-480 ml
    เมื่อกินยาแล้วเด็กจะอาเจียนภายใน 15 นาที ถ้าไม่อาเจียนให้ซ้ำอีก 1 ครั้งในขนาดเท่าเดิมภายใน 20 นาที
    Indication
    1. ในเด็กที่รู้ตัวดี
    2. เด็กที่ อายุ เกิน 6 เดือน
    3. กินสารพิษไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงและแนะนำให้เป็น first aid treatmentขณะอยู่ที่บ้าน ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
    Contraindication
    1. มีโอกาสเสี่ยงต่อการสำลักสูง
    2. กินสารที่เป็นกรด ด่าง (corrosive agents), hydrocarbon หรือ กินยาที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการชักเช่น tricyclic antidepressant
    3. มีอาการ Upper GI hemorrhage หรือปัญหาเลือดออกง่าย
    4. มีปัญหาความดันโลหิตสูง หรือ มี Malignant cardiac arrhythmias
    5. อายุต่ำกว่า 6 เดือน / คำแนะนำเพิ่มเติม http://www.rcped-thai.org/act26.html /ผู้แปล)
    • ยาถ่าย/ยาระบาย
    • คาร์บอนต์เม็ด ใช้ดูดซับพิษในระบบทางเดินอาหาร (ให้ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์)
    ติดต่อกาชาด โรงพยาบาล หรือสาธารณสุข ใกล้บ้านท่านเพื่อรับหนังสือคำแนะนำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    (สำหรับคาร์บอนเม็ดและยากระตุ้นให้อาเจียน ให้ใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะการกลืนสารพิษแต่ละชนิดมีการปฏิบัติต่างกัน บางชนิดต้องให้อาเจียนออกมา บางชนิดถ้าอาเจียนจะเป็นอันตรายต่อทางเดินอาหาร ฯลฯ/ผู้แปล)
    อุปกรณ์และเครื่องมือ
    • คู่มือเตรียมตัวรับเหตุฉุกเฉิน (SAS Survival Handbook: How to Survive in the Wild, in Any Climate, on Land or at Sea/ผู้แปลใช้เล่มนี้)
    • วิทยุแบบใช้ถ่าน และถ่านสำรอง
    • ที่เปิดกระป๋องแบบไม่ใช้ไฟฟ้า, มีดสารพัดประโยชน์ (Victorinox, Leatherman, etc../ผู้แปล)
    • เครื่องดับเพลิงขนาดเล็ก ใช้ได้กับไฟคลาส A-B-C
    ( Class A rating: ใช้กับไฟขนาดเล็ก ไม้ กระดาษ ผ้า ยาง
    Class B rating: ใช้กับไฟขนาดเล็ก น้ำมัน ของเหลวติดไฟ
    Class C rating: ใช้กับไฟขนาดเล็ก อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังจ่ายไฟอยู่ / ผู้แปล)
    • เต๊นท์สามเหลี่ยม (ลักษณะเดียวกับที่ใช้เวลาไปร.ด./ผู้แปล)
    • คีม
    • เทปติดของ
    • เข็มทิศ
    • ไม้ขีดไฟในกล่องกันน้ำ
    • ฟอยล์อลูมิเนียม
    • พลุสัญญาณ
    • กระดาษและดินสอ
    • เข็มและด้าย
    • หลอดหยดยา
    • ประแจ ใช้ขันปิดวาลว์ก๊าซ วาล์วน้ำ
    • นกหวีด
    • ผ้าพลาสติก
    เสื้อผ้าและอุปกรณ์รองนอน
    สำรองเสื้อผ้าและรองเท้าสำหรับผลัดเปลี่ยนอย่างน้อยหนึ่งชุดต่อหนึ่งคน
    • รองเท้าบูทลุยน้ำ
    • อุปกรณ์กันฝน ร่ม เสื้อฝน (ผ้าปันโจของทหาร ถือเป็นอุปกรณ์ที่ควรมี /ผู้แปล)
    • ผ้าห่มหรือถุงนอน คนละหนึ่งชุด
    • หมวกและถุงมือ
    • ชุดชั้นในแบบเก็บความอบอุ่นได้ดี (ผ้าฝ้ายหรือขนสัตว์ แบบแนบตัว/ผู้แปล)
    • แว่นกันแดด
    อุปกรณ์รักษาความสะอาด
    • กระดาษชำระ
    • สบู่ สารทำความสะอาด
    • เครื่องใช้ส่วนตัวของผู้หญิง /ผ้าอนามัย
    • เครื่องใช้ส่วนตัว แชมพู สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาดับกลิ่นตัว หวี แปรง ลิปมัน
    • เสียม พลั่ว จอบ ขนาดเล็ก เพื่อขุดหลุมถ่าย
    • ถุงดำ และเชือดรัด
    • ถังพลาสติกแบบมีฝา
    • ยาฆ่าเชื้อโรค
    • ์สารฟอกผ้าขาวชนิดคลอรีน
    สิ่งของพิเศษ
    อย่าลืมสิ่งของจำเป็นสำหรับสมาชิกในครอบครัว เช่น ทารก สตรีมีครรถ์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ
    • ทารก
    • อาหารสำหรับทารก
    • ผ้าอ้อม
    • ขวดนม
    • นมผง
    • ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น
    • ผู้สูงอายุ
    • ยารักษาโรคหัวใจและความดัน
    • อินซูลิน
    • ยาประจำตัว
    • ฟันปลอม
    • เครื่องหย่อนใจอื่นๆ
    • หนังสือสีและสีเทียนสำหรับเด็ก
    • เกมส์
    • หนังสือ
    เอกสารสำคัญ
    เก็บเอกสารเหล่านี้ในภาชนะกันน้ำ
    • พินัยกรรม กรมธรรม์ประกันภัย สัญญา โฉนด ใบหุ้นและตราสารหนี้
    • หนังสือเดินทาง บัตรประกันสังคม ประวัติการฉีดวัคซีน (ประวัติการรักษาพยาบาล ถ้ามี/ผู้แปล)
    • สมุดบัญชี สมุดเช็ค เลขที่บัญชีธนาคารต่างๆ
    • เลขบัญชีบัตรเครดิตต่างๆ
    • บัญชีทรัพย์สิน หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
    • เอกสารของครอบครัว สูติบัตร ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส มรณะบัตร
    คำแนะนำในการเก็บรักษา
    เก็บชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินนี้ไว้ในที่สะดวกและปลอดภัย ทุกคนในบ้านรู้ที่เก็บ ถ้าเป็นไปได้เก็บในที่เย็น แห้ง และไม่ถูกแสงแดด เก็บชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินขนาดย่อมไว้ในรถ เก็บรายการต่างๆเหล่านี้ หรือกลุ่มของสิ่งของไว้ในภาชนะกันน้ำ กันอากาศเข้า เปลี่ยนน้ำและอาหารที่สำรองไว้ทุกๆ 6 เดือนเพื่อให้ใหม่อยู่เสมอ เปลี่ยนถ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าสม่ำเสมอ และสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรถึงวิธีการเก็บรักษายาและเครื่องมือแพทย์ที่ถูก ต้อง

     
  3. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    แนวทางการปฏิบัติตนเพื่อ ความปลอดภัย
    ในกรณีเกิดแผ่นดินไหว



    ○ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว

    (1) เตรียมรักษาความปลอดภัยของตัวเองไว้ก่อน ลี้ภัยไปยังสถานที่ลี้ภัยที่ใกล้ที่สุด
    (2) ดับก๊าซต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ เช่น เตาก๊าซ ปิดดับเครื่องหุงต้มอาหารและเครื่องทำความอุ่นอื่น ๆ
    ทั้งหมดที่อาจเป็นต้นเพลิงได้ ถ้าเกิดเพลิงไหม้ขึ้นมาให้รีบดับเสียด้วยเครื่องดับเพลิง
    (3) เตรียมทางหนีภัยให้พร้อมโดยเปิดประตูบ้านทั้งหมด
    (4) เตรียมวิทยุ โทรทัศน์ และโทรศัพท์ให้พร้อมเพื่อที่จะติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลา
    (5) อย่ารีบลนลานหนีออกจากบ้านขณะเกิดแผ่นดินไหว รอให้การไหวสงบก่อนแล้วหยิบกระเป๋า
    หรือเป้บรรจุสิ่งจำเป็นเวลาฉุกเฉินที่เตรียมไว้ สวมใส่หมวกนิรภัย หรือผ้าคลุมปกป้องศีรษะ
    เสียก่อน แล้วจึงหนีภัยออกมายังที่โล่งแจ้ง
    (6) เพื่อป้องกันการพลัดหลงของสมาชิกในครอบครัวขณะลี้ภัย แต่ละคนควรจะตรวจสอบดูสมาชิก
    ในครอบครัวซึ่งกันและกันในขณะลี้ภัย
    (7) ในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว ถ้ากำลังขับรถอยู่ อย่าเบรครถกระทันหัน ให้ค่อย ๆ ชะลอรถแล้วเข้า
    จอดชิดซ้ายของถนน อย่าจอดในบริเวณใกล้กับปั๊มนํ้ามัน หรือโรงงานที่มีน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมี
    ความดันสูงหรือใต้สะพานลอย
    (8) ถ้ากำลังเดินอยู่บนถนนกว้างๆ ให้หลบไปอยู่กลางถนน ถ้าอยู่ในที่แออัด ให้คอยระวังป้ายโฆษณา
    เสาไฟฟ้า หรือกระจกหน้าต่างบนตึกที่อาจจะล้มหรือแตกร่วงลงมา



    หากเกิดแผ่นดินไหวขณะที่คุณอยู่ใกล้ริมชายทะเล


    ควรปฏิบัติ ดังนี้
    • พยายามเคลื่อนตัวไปอยู่ที่ๆสูงที่สุดเท่าที่สามารถทำได้(การหลบหลีกจากชายฝั่งเท่านั้นที่ไม่เหมาะสม)
    • ยืนยันให้แน่นอนว่าจะเกิดซึนามิหรือไม่ ทางโทรทัศน์ หรือวิทยุ
    ห้ามอยู่ที่ชายฝั่งทะเล

    <hr> • พยายามเคลื่อนตัวไปอยู่ที่ๆสูงที่สุดเท่าที่สามารถทำได้(การหลบหลีกจากชายฝั่งเท่านั้นที่ไม่เหมาะสม เหตุผล คือ) ในกรณีที่รู้สึกว่าแผ่นดินไหวเมื่ออยู่ใกล้ทะเล ถึงแม้จะคิดว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก อาจจะเกิดคลื่นซึนามิขนาดยักษ์บริเวณทะเลบริเวณที่ไกลจากฝั่ง อย่างรวดเร็ว ประมาณ 5 นาที คลื่นลูกแรกจะพัดเข้ามา
    คลื่นซึนามิ เป็นกระแสน้ำ เข้าไปในตัวเมืองราวกับน้ำท่วม แตกต่างกับคลื่นปกติ แค่หนีออกจากชายฝั่ง อาจจะหนีไม่ทัน เพื่อไม่ให้ถูกพัดพาไป เคลื่อนย้ายไปที่สูงเท่าที่สามารถทำได้
    • ห้ามอยู่ที่ชายฝั่งทะเล (เหตุผล คือ) ในระยะเวลาอันสั้น ก่อนที่คลื่นซึนามิจะมาถึง น้ำทะเลตามแนวชายฝั่งอาจจะลดลงมากถึงขนาดสามารถเดินไปถึงทะเลบริเวณที่ไกล จากฝั่งได้ ห้ามเข้าไปใกล้เป็นอันขาด
    นอกจากนั้น ประชาชนจำนวนมากที่อยู่แถบชายฝั่งด้วยความอยากรู้อยากเห็นคลื่น เสียชีวิตเพราะถูกม้วนเข้าไปในกระแสน้ำไปพร้อมกับคลื่นลูกใหญ่



    หากเกิดภัยพิบัติ แผ่นดินไหว ในขณะที่อยู่นอกบ้าน

    ข้อควรปฏิบัติ

    •ปกป้องศีรษะและส่วนต่างๆของร่างกาย

    •ออกไปอยู่ในที่โล่งกว้าง ที่ๆไม่มีอะไรตกมาจากข้างบน (ถ้าทำได้)

    •ในตัวอาคาร ให้ก้มต่ำ ขยับไปที่ๆไม่มีคาน ขื่อ แปบนศีรษะ

    ห้ามเข้าใกล้กำแพง

    ห้ามขึ้นลงลิฟท์
    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    * ปกป้องศีรษะและส่วนต่างๆของร่างกาย (เหตุผล คือ) ในบางโอกาสร่างกายอาจลอยขึ้นไปในอากาศเนื่องจากการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง ของแผ่นดินไหว ยืนอย่างลำบากเพราะถูกทำให้สั่นไปทุกทิศทุกทาง
    อยู่ในท่าก้มต่ำ ปกป้องศีรษะด้วยกระเป๋า เป็นต้น

    * ออกไปอยู่ในที่โล่งกว้าง ที่ๆไม่มีอะไรตกมาจากข้างบน (เหตุผล คือ) ใกล้ตัวตึก อาคาร หน้าต่างกระจกที่แตก ป้าย ผนังกำแพงด้านนอก เป็นต้น อาจตกลงมา
    * ในตัวอาคาร ให้ก้มต่ำ ขยับไปที่ๆไม่มีคาน ขื่อ แปบนศีรษะ (เหตุผล คือ) ในกรณีที่ตัวอาคารไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันแผ่นดินไหวเพียงพอ บางชั้นของตัวอาคารอาจถูกอัดเข้าด้วยกัน กระนั้นก็ตามระหว่างหลังคากับพื้นมักจะเหลือช่องว่างประมาณ 1เมตร ก้มตัวต่ำ เคลื่อนไหวอย่างสงบ
    •ห้ามเข้าใกล้กำแพง (เหตุผล คือ) เมื่อเกิดแผ่นดินไหว กำแพงอาจจะล้ม เพราะไม่สามารถต้านแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง (คศ.1978)แผ่นดินไหวโอคิ จ.มิยากิ ในจำนวนผู้เสียเชียวิต 28คน เสียชีวิตเนื่องจากกำแพงอิฐบล็อก กำแพงหินถล่มจำนวน 18 คน
    •ห้ามขึ้นลงลิฟท์ (เหตุผล คือ)
    หากไฟตก อาจติดอยู่ข้างใน
    หากเกิดแผ่นดินไหวในขณะใช้ลิฟท์ ให้กดปุ่มทุกชั้น ให้ออกจากลิฟท์ทันทีตรงชั้นแรกที่ลิฟท์หยุด



    กรณีเกิดแผ่นดินไหว ขณะอยู่ในบ้าน

    ข้อควรปฏิบัติ

    * ปกป้องศีรษะและส่วนต่างๆของร่างกาย

    * ปิดไฟ

    * เปิดประตู เพื่อรับรองความปลอดภัยทางออก

    ไม่ผลีผลาม ออกไปข้างนอกทันที
    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    * ปกป้องศีรษะและส่วนต่างๆของร่างกาย (เหตุผล คือ) เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เครื่องมือเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่าง เพดาน อาจตกลงมา ใช้หมอน หรือหลบภัยใต้โต๊ะ เป็นต้น เพื่อปกป้องร่างกายและศีรษะ

    * ปิดไฟ ( ในกรณีที่สามารถทำได้ เช่น เตาหุงอาหาร เป็นต้น) (เหตุผล คือ) "แผ่นดินไหวคันโต(the Kanto Earthquake)"ที่เกิดขึ้นเมื่อ 1กันยายน คศ.1923 หลังจากแผ่นดินไหวเกิดอัคคีภัยครั้งยิ่งใหญ่ สูญเสียผู้เสียชีวิตทั้งหมดประมาณกว่า 1 แสน 5 พันคน,ผู้เสียชีวิตจากอัคคีภัยกล่าวกันว่า ในจำนวนนั้นเกินกว่า 9 หมื่นคน
    ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ กลายเป็นภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดที่ชาวญี่ปุ่นทุกคนรู้จักกัน ดี เรียกกันว่า"ภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต "the Great Kanto Earthquake Disaster"
    "ปิดไฟทันที ขณะเกิดแผ่นดินไหว"กลายเป็นคำที่ตระหนักกันดี ในประเทศญี่ปุ่น
    * เปิดประตู เพื่อรับรองความปลอดภัยทางออก(เหตุผล คือ) เมื่อเกิดแผ่นดินไหว อาคารสิ่งก่อสร้างจะบิดเบี้ยว เอียง ประตูอาจจะเปิดไม่ได้ เพื่อไม่ให้ถูกกักขังอยู่ในอาคาร ให้เปิดประตูเตรียมไว้อย่างรวดเร็ว ทั้งตอนที่เริ่มสั่นสะเทือนและหลังจากสั่นสะเทือน
    •ไม่ผลีผลามออกไปข้างนอกทันที(ไม่ว่าจะอยู่ในห้องน้ำ อ่างอาบน้ำก็ตาม) (เหตุผล คือ) ขณะเกิดแผ่นดินไหว หากผลีผลามออกไปข้างนอกทันทีจะมีอันตรายมาก เนื่องจากกำแพงด้านนอกอาคารจากชั้นบน เป็นต้น อาจหล่นลงมา
    ห้องน้ำ อ่างอาบน้ำหากเปรียบไปแล้วนับว่าเป็นสถานที่ๆปลอดภัย ในการปกป้องศีรษะ รอจนกว่าการสั่นสะเทือนสงบลง


    หากเกิดแผ่นดินไหวในขณะที่อยู่ในรถยนต์

    ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

    จอดรถช้าๆ ที่ลานโล่งกว้างหรือด้านซ้ายของถนน
    •หลบภัยด้วยการเดินเท้า พร้อมพกพาหนังสือรับรองเกี่ยวกับรถยนต์ติดตัวไปด้วย
    •ทิ้งกุญแจคาไว้ ไม่ล็อคประตูรถ ( ถ้าเหมาะสมทำได้)
    •ไม่ควรเดินทางโดยใช้รถยนต์

    <hr> •จอดรถช้าๆ ที่ลานโล่งกว้างหรือด้านซ้ายของถนน (เหตุผล คือ) เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ชะลอความเร็วลง จอดรถด้านซ้ายของถนนหรือบริเวณที่ว่าง เนื่องจากอันตรายจากพื้นถนนอาจจะปริแตกหรือเอนเอียง ถนนบริเวณริมน้ำอาจทรุดตัว
    •หลบภัยด้วยการเดินเท้า พร้อมพกพาหนังสือรับรองเกี่ยวกับรถยนต์ติดตัวไปด้วย (เหตุผล คือ) สัญญาณ จราจรอาจหยุดทำงานเนื่องจากไฟตกเพราะแผ่นดินไหว มีผลให้ถนนหลายสายถูกปิดรถไม่สามารถผ่านไปได้ เกิดการจราจรติดขัดทันทีทันใด ไม่สามารถเดินทางด้วยยานพาหนะได้ ดังนั้น ให้หลบภัยด้วยการเดินเท้า พร้อมพกพาหนังสือเอกสารเกี่ยวกับรถยนต์ไปด้วย อย่าทิ้งไว้ในรถ
    •ทิ้งกุญแจคาไว้ ไม่ล็อคประตูรถ (เหตุผล คือ) รถของคุณอาจจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายในบางกรณี เพื่อให้รถดับเพลิง รถพยาบาลผ่าน ดังนั้นจึงขึ้นกับดุลยพินิจของคุณว่าจุดจอดนั้นจะเกิดการกีดขวางหรือไม่
    •ไม่ควรเดินทางโดยใช้รถยนต์ (เหตุผล คือ) เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ถนนพัง เกิดการจราจรติดขัด เป็นต้น รถไม่สามารถขยับได้ไม่ว่าจะด้านหน้าและด้านหลัง




    สามเหลี่ยมชีวิต: วิธีรอดตายจากแผ่นดินไหว

    [​IMG]
    จากบทความของดัก คอบบ์ เรื่อง สามเหลี่ยมชีวิต
    เรียบเรียงสำหรับการสรุปให้คณะกรรมการความปลอดภัย MAA

    My name is Doug Copp. I am the Rescue Chief and Disaster Manager of the American Rescue Team International (ARTI), the world.s most experienced rescue team. The information in this article will save lives in an earthquake.

    ผมชื่อ ดัก คอบบ์ ผมเป็นหัวหน้าหน่วยกู้ภัยและผู้จัดการด้านพิบัติภัยของทีมกู้ภัยนานาชาติ แห่งสหรัฐฯ ซึ่ง เป็นทีมกู้ภัยที่มีประสบการณ์มากที่สุดในโลก ข้อมูลในบทความนี้จะช่วยชีวิตคนในกรณีแผ่นดินไหว

    I have crawled inside 875 collapsed buildings, worked with rescue teams from 60 countries, founded rescue teams in several countries, and one of the United Nations experts in Disaster Mitigation for two years. I have
    worked at every major disaster in the world since 1985.

    ผมเคยคลานเข้าไปในตึกที่ถล่มมา 875 ตึก เคยทำงานกับหน่วยกู้ภัยจาก 60 ประเทศ ก่อตั้งหน่วยกู้ภัย ในหลายประเทศ และเป็นเหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการอพยพผู้คนกรณีเกิดพิบัติภัยขององค์การ สหประชาชาติมา 2 ปี ผมได้ทำงานกับพิบัติภัยใหญ่ๆ ในโลกมาตั้งแต่ปี 1985

    In 1996 we made a film, which proved my survival methodology to be correct. We collapsed a school and a home with 20 mannequins inside. Ten mannequins did duck and cover, and the other ten mannequins used my triangle of life survival method. After the simulated earthquake, we crawled through the rubble and entered the building to film and document the results. The film showed that there would have been zero percent survival for those doing duck and cover; and 100 percent survivability for people using my method of the triangle of life.


    เมื่อปี 1996 เราได้ทำภาพยนต์ขึ้นมาเรื่องหนึ่งซึ่งได้พิสูจน์ว่าวิธีการรักษาชีวิตของผมถูกต้อง เราได้
    ถล่มโรงเรียนและบ้านที่มีหุ่นมนุษย์ 20 ตัวอยู่ภายใน หุ่น 10 ตัว มุดและหาที่กำบัง และอีกสิบตัวใช้วิธีการรักษาชีวิตแบบ สามเหลี่ยมชีวิต ของผม หลังจากแผ่นดินไหวทดลอง เราคลานผ่านซากปรักหักพังและเข้าไปในตึกเพื่อถ่ายภาพและเก็บข้อมูลของผลที่ เกิด ในภาพยนต์แสดงให้เห็นว่าอัตราการอยู่รอด ของพวกที่มุดและหาที่กำบังคือศูนย์ และโอกาสรอด 100% สำหรับพวกที่ใช้วิธี สามเหลี่ยมชีวิต ของผม

    This film has been seen by millions of viewers on television in Turkey and the rest of Europe, and it was seen in the USA, Canada and Latin America on the TV program.

    ภาพยนต์ชุดนี้ได้ผ่านสายตาของผู้ชมโทรทัศน์ เป็น ล้านๆ คนในตุรกี และส่วนที่เหลือของยุโรป เคยออกอากาศทางโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา คานาดา และลาตินอเมริกา

    The first building I ever crawled inside of was a school in Mexico City during the 1985 earthquake. Every child was under its desk. Every child was crushed to the thickness of their bones. They could have survived by lying down next to their desks in the aisles.

    ตึกแห่งแรกที่ผมได้คลานเข้าไปคือโรงเรียนแห่ง หนึ่งในเมืองเม็กซิโกซิตี้ในแผ่นดินไหวปี 1985 เด็กทุก คนอยู่ใต้โต๊ะเรียน เด็กทุกคนถูกอัดแบนจนกระดูกแหลก พวกเขาอาจจะมีชีวิตรอดด้วยการนอนราบกับพื้น ตรงบริเวณทางเดินข้างๆ โต๊ะเรียนของตัวเอง

    At that time, the children were told to hide under something. Simply stated, when buildings collapse, the weight of the ceilings falling upon the objects or furniture inside crushes these objects, leaving a space or void next to them. This space is what I call the triangle of life. The larger the object, the stronger, the less it will compact. The less the object compacts, the larger the void, the greater the probability that the person who is using this void for safety will not be injured.

    ในเวลานั้น เด็กๆ ได้รับคำแนะนำให้หลบใต้อะไรบางอย่าง อธิบายอย่างง่ายๆ เมื่อตึกถล่ม น้ำหนัก ของเพดานที่ตกลงมาบนสิ่งของ หรือเครื่องเรือนที่อยู่ภายในจะทับทำลายสิ่งของเหล่านั้น เหลือที่ว่างหรือ ช่องว่างข้างๆ มัน ที่ว่างเหล่านี้คือสิ่งที่ผมเรียกว่า สามเหลี่ยมชีวิต สิ่งของชิ้นยิ่งใหญ่ ยิ่งแข็งแรง โอกาสถูกทับอัดยิ่งน้อย โอกาสที่สิ่งของถูกทับอัดยิ่งน้อย ช่องว่างก็จะยิ่งใหญ่ขึ้นโอกาสที่คนที่อาศัย ช่องว่างเหล่านั้นหลบภัยจะไม่เป็นอันตรายก็ยิ่งมาก
    The next time you watch collapsed buildings, on television, count the triangles you see formed. They are everywhere. It is the most common shape.

    ครั้งต่อไปที่คุณดูอาคารที่ถล่มในโทรทัศน์ ลองนับสามเหลี่ยม ที่เกิดขึ้นที่คุณเห็นดู มันทีอยู่เต็มไปหมดทุกที่ เป็นรูปทรงที่เห็นได้มากที่สุดอยู่ทั่วไป



    TEN TIPS FOR EARTHQUAKE SAFETY
    สิบวิธีเพื่อความปลอดภัยยามแผ่นดินไหว

    1) Almost everyone who simply ducks and covers when buildings collapse are crushed to death. People who get under objects, like desks or cars, are crushed.

    1) เกือบทุกคนที่ มุดและหาที่กำบัง เมื่ออาคารถล่มถูกทับอัดจนตาย คนที่เข้าไปอยู่ใต้สิ่งของ อาทิ โต๊ะหรือรถยนต์ถูกอัดทับ

    2) Cats, dogs and babies often naturally curl up in the fetal position. You should too in an earthquake. It is a natural safety/survival instinct. You can survive in a smaller void. Get next to an object, next to a sofa,
    next to a large bulky object that will compress slightly but leave a void next to it.

    2) แมว หมา และเด็กทารก โดยธรรมชาติมักจะขดตัวในท่าเหมือนอยู่ในครรภ์มารดา คุณควรทำเช่น กันในกรณีแผ่นดินไหว มันเป็นสัญชาติญาณเพื่อความปลอดภัย/รักษาชีวิต คุณสามารถมีชีวิตรอดในช่อง ว่างที่เล็กกว่า ไปอยู่ข้างๆ สิ่งของ ข้างเก้าอี้โซฟา ข้างของหนักๆ ชิ้นใหญ่ๆ ที่จะบี้แบนไปบ้างแต่ยัง เหลือที่ว่างข้างๆ มันไว้

    3) Wooden buildings are the safest type of construction to be in during an earthquake. Wood is flexible and moves with the force of the earthquake. If the wooden building does collapse, large survival voids are created. Also, the wooden building has less concentrated, crushing weight. Brick buildings will break into individual bricks. Bricks will cause many injuries but less ashed bodies than concrete slabs.

    3) อาคารไม้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ปลอดภัยที่สุดที่จะอยู่ภายในขณะแผ่นดินไหว ไม้มีความยืดหยุ่นและเคลื่อน ตัวตามแรงของแผ่นดินไหว ถ้าอาคารไม้จะถล่มจะเกิดช่องว่างขนาดใหญ่เพื่อช่วยชีวิต และอาคารไม้ ยังมีน้ำหนักทับทำลายที่เป็นอันตรายน้อยกว่า อาคารอิฐจะแตกพังเป็นก้อนอิฐมากมาย ก้อนอิฐเหล่านี้ เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บ แต่จะทับอัดร่างกายน้อยกว่าแผ่นคอนกรีต

    4) If you are in bed during the night and an earthquake occurs, simply roll off the bed. A safe void will exist around the bed. Hotels can achieve a much greater survival rate in earthquakes, simply by posting a sign on the back of the door of every room telling occupants to lie down on the floor, next to the bottom of the bed during an earthquake.

    4) หากคุณกำลังนอนอยู่บนเตียงตอนกลางคืนและเกิดแผ่นดินไหว เพียงกลิ้งลงจากเตียง ช่องว่างที่ ปลอดภัยจะเกิดรอบๆ เตียง โรงแรมจะสามารถเพิ่มอัตราผู้รอดชีวิตจากแผ่นดินไหวได้ โดยเพียงติด ป้ายหลังประตูในทุกห้องพักบอกให้ผู้เข้าพักนอนราบกับพื้นข้างๆ ขาเตียงระหว่างแผ่นดินไหว

    5) If an earthquake happens and you cannot easily escape by getting out the door or window, then lie down and curl up in the fetal position next to a sofa, or large chair.

    5) หากมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นและคุณไม่สามารถหนี้ออกมาง่ายๆ ทางประตูหรือหน้าต่าง ก็ให้นอนราบและ ขดตัวในท่าทารกในครรภ์ข้างๆ เก้าอี้โซฟาหรือเก้าอี้ตัวใหญ่ๆ

    6) Almost everyone who gets under a doorway when buildings collapse is killed. How ? If you stand under a doorway and the doorjamb falls forward or backward you will be crushed by the ceiling above. If the doorjamb falls sideways you will be cut in half by the doorway. In either case, you will be killed!

    6) เกือบทุกคนที่อยู่ตรงช่องประตูตอนตึกถล่มไม่รอด เพราะอะไร? หากคุณยืนอยู่ตรงช่องประตูและวง กบประตูล้มไปข้างหน้าหรือข้างหลัง คุณจะโดนเพดานด้านบนตกลงมาทับ หากวงกบประตูล้มออกด้านข้าง คุณจะถูกตัดเป็นสองท่อนโดยช่องประตู ไม่ว่ากรณีไหน คุณไม่รอดทั้งนั้น!

    7) Never go to the stairs. The stairs have a different moment of frequency (they swing separately from the main part of the building).The stairs and remainder of the building continuously bump into each other
    until structural failure of the stairs takes place. The people who get on stairs before they fail are chopped up by the stair treads - horribly mutilated. Even if the building doesnt collapse, stay away from the stairs. The stairs are a likely part of the building to be damaged. Even if the earthquake does not collapse the stairs, they may collapse later when overloaded by fleeing people. They should always be checked for safety,
    even when the rest of the building is not damaged.

    7) อย่าใช้บันไดเด็ดขาด บันไดมี -ช่วงการเคลื่อนตัว- ที่แตกต่างไป (บันไดจะมีการแกว่งแยกจากตัวอาคาร) บันไดและส่วนที่เหลือของตัวอาคารจะชนกระแทกกันอย่างต่อเนื่องจนเกิดปัญหากับ โครงสร้างของบันได คนที่อยู่บนบันไดก่อนที่บันไดจะถล่มถูกตัดเป็นชิ้นโดยชั้น บันได--ถูกแยกส่วนอย่างน่าสยดสยอง ถึงอาคารจะไม่ถล่มก็ควรอยู่ห่างบันไดไว้ บันไดเป็นส่วนของ อาคารที่มีโอกาสถูกทำให้เสียหาย ถึงแม้แผ่นดินไหวจะไม่ได้ทำให้บันไดถล่ม มันอาจถล่มในเวลาต่อมา เมื่อรับน้ำหนักมากเกินไปจากคนที่กำลังหนี มันควรได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยเสมอ ถึงแม้ส่วนที่ เหลือของอาคารจะไม่ได้รับความเสียหายก็ตาม

    8) Get near the Outer Walls Of Buildings or Outside Of Them if possible. It is much better to be near the outside of the building rather than the interior. The farther inside you are from the outside perimeter of the building the greater the probability that your escape route will be blocked.

    8) ไปอยู่ใกล้กำแพงด้านนอกของอาคารหรือออกจากอาคารถ้าเป็นไปได้ จะเป็นการดีกว่ามากที่จะอยู่ ใกล้ส่วนนอกของอาคารมากกว่าจะอยู่ที่ส่วนในของอาคาร คุณยิ่งอยู่ลึกเข้าไปหรือไกลจากบริเวณภาย นอกของอาคารมากเท่าไหร่ โอกาสที่ทางหนี้ของคุณจะถูกปิดกั้นยิ่งมีมาก

    9) People inside of their vehicles are crushed when the road above falls in
    an earthquake and crushes their vehicles, which is exactly what happened
    with the slabs between the decks of the Nimitz Freeway. The victims of the San Francisco earthquake all stayed inside of their vehicles. They were all killed. They could have easily survived by getting out and sitting or lying next to their vehicles. Everyone killed would have survived if they had been able to get out of their cars and sit or lie next to them. All the crushed cars had voids 3 feet high next to them, except for the cars that had columns fall directly across them.

    9) คนที่อยู่ภายในรถยนต์ถูกทับอัดเมื่อถนนด้านบนตกลงมาเพราะแผ่นดินไหวและทับรถ ของพวกเขา นี้เป็น สิ่งที่เกิดขึ้นกับแผ่นคอนกรีตระหว่างชั้นของถนนหลวงนิมิทซ์ ผู้เคราะห์ร้ายทั้งหมดจากแผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโกอยู่ในรถของตัวเอง พวกเขาตายทั้งหมด พวกเขาสามารถมีชีวิตรอดได้ง่ายๆ ด้วยการออกจากรถและนั่งหรือนอนราบอยู่ข้างๆ รถตัวเอง คนที่ตายทุกคนอาจรอดได้ถ้าพวกเขาสามารถออกจากรถ และนั่งหรือนอนราบอยู่ข้างรถตัวเอง รถที่ถูกทับอัดทุกคันมีช่องว่างสูง 3 ฟุตอยู่ข้างๆ ยกเว้นรถที่ถูกเสาคานตกทับกลางคันรถ

    10) I discovered, while crawling inside of collapsed newspaper offices and other offices with a lot of paper, that paper does not compact. Large voids are found surrounding stacks of paper.

    10) ผมค้นพบ--ขณะที่คลานเข้าไปในซากสำนักงานหนังสือพิมพ์และสำนักงานอื่นที่มี กระดาษจำนวน มาก--ว่ากระดาษไม่อัดตัว จะพบช่องว่างขนาดใหญ่รอบๆ กองกระดาษที่เรียงทับ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2011
  4. ARUNN

    ARUNN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +298
    กระทู้นี้ดีจัง กำลังมองหาอยู่พอดี :)
     
  5. ขุนเวช

    ขุนเวช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +245
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลฮะ Save เก็บไว้แล้วฮะ:cool:
     
  6. น้ำใหลนิ่ง

    น้ำใหลนิ่ง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +79
    สุดยอดครับ โมธนาบุญด้วยครับ ที่มาให้ความรู้เป็นทาน
     
  7. poon-pan

    poon-pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,134
    สาธุ สาธุ เพื่อนสมาชิกได้รับความสะดวก ไม่ต้องไปเสียเวลาค้นหากระทู้เก่า ๆ
     
  8. skyroad

    skyroad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +259
    ขอบคุณมากนะคะ และขอโมทนาบุญกับความรู้ดีๆที่แบ่งปันมาให้กันทุกท่านเลย ค่ะ และขอนำไปแบ่งปันให้กับท่านอื่นๆด้วยนะคะ ^^
     
  9. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ...:cool:

    กำลังหาข้อมูลแบบ How to... อยู่พอดีเลย
    ขออนุญาตแชร์และแบ่งปันนะครับ


    (f)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2011
  10. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    รอบรู้ธรณีไทย Introductory Geology in Thai 1

    - รู้เรื่องโลก Introduction to Geology & Structure and Evolution of Earth
    ความหมายและความสำคัญของธรณีวิทยา วิธีการทางธรณีวิทยา สัณฐานของโลก
    องค์ประกอบภายในโลก (เปลือกโลก เนื้อโลก แก่นโลก) ทฤษฎีทวีปเดียว (แพนเจีย) การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

    ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย

    ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand's Department of Mineral Resources)
    http://www.dmr.go.th

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Glzh3Y1MlDc]รอบรู้ธรณีไทย 1/12 โลก - YouTube[/ame]
     
  11. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    รอบรู้ธรณีไทย Introductory Geology in Thai 4

    - กำเนิดสุวรรณภูมิ Origin of Goldent Land, Indochinese peninsula
    การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้ 2 อนุทวีปบรรจบกันเกิดเป็นแผ่นดินไทย และมีแนวรอยต่อของอนุทวีปเป็นที่ราบสูงซึ่งเป็นแหล่งแร่สำคัญ และมีแนวคดโค้งโก่งตัวของเทือกเขาเหนือ-ใต้

    ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย

    ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand's Department of Mineral Resources)
    http://www.dmr.go.th

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=eeWugS6ClhU&feature=related]รอบรู้ธรณีไทย 4/12 กำเนิดสุวรรณภูมิ - YouTube[/ame]
     
  12. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    รอบรู้ธรณีไทย Introductory Geology in Thai 5

    - ภูเขาและที่ราบสูง Origin of Mountain & Highland - Mountain & Highland in Thailand
    ภูเขาและที่ราบสูงเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่
    1.เทือกเขาหิมาลัยเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก
    2.หินหนืดดันเปลือกโลก
    3.เปลือกโลกถูกบีบอัดจนโค้งงอ
    4.บริเวณโดยรอบผุกร่อนเหลือส่วนที่แข็งกว่าเป็นที่สูง
    และพิจารณาที่มาและลักษณะของภูเขาและที่ราบสูงในภาคต่างๆ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=9YOgfNM-X5k&feature=related]รอบรู้ธรณีไทย 5/12 เทือกเขา - YouTube[/ame]
     
  13. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    รอบรู้ธรณีไทย Introductory Geology in Thai 10

    - ธรณีพิบัติภัย Geological Disaster
    ภัยธรรมชาติทางธรณีวิทยาในประเทศไทยถือว่าพบน้อยกว่าส่วนอื่นของโลก ได้แก่
    1.ดินถล่ม (โคลนถล่ม) เกิดจากฝนตกหนักน้ำไหลบ่าบนที่สูงชัน
    2.แม่น้ำกัดเซาะตลิ่งพัง และหลุมยุบ เกิดตามธรรมชาติแต่กิจกรรมของมนุษย์เป็นตัวเร่ง เช่น การสูบทราย การสูบน้ำบาดาล
    3. แผ่นดินไหว และสึนามิ ประเทศไทยไม่ใช่แนวแผ่นดินไหวแต่ก็มีพื้นที่เสี่ยงภัย ภาคตะวันตกและชายฝั่งอันดามัน ควรสังเกตปรากฏการณ์ดึงมวลน้ำซึ่งเป็นสัญญาณก่อนเกิดสึนามิ

    ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย

    ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand's Department of Mineral Resources)
    http://www.dmr.go.th

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=er2q4U7760s&feature=related]รอบรู้ธรณีไทย 10/12 ธรณีพิบัติภัย - YouTube[/ame]
     
  14. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    อัปโหลดโดย saisawanchannel เมื่อ 21 มี.ค. 2011

    [​IMG]

    ดิฉันได้มีโอกาสเป็นพิธีกรรายการ "ถอดรหัสพิบัติภัย"ทางสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ [ETV] เมื่อหลายปีมาแล้ว ได้ความรู้จากวิทยากรของรายการ คือคุณสมศักดิ์ โพธิสัตย์ ซึ่งขณะนั้นท่านดำ รงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ด้วยความเป็นนักธรณีวิทยาที่เชี่ยวชาญ จึงสามารถอธิบายเรื่องพิบัติภัยต่างๆ อันเกิดจากธรรมชาติของธรณีวิทยาได้อย่างสนุก เข้าใจง่าย ดิฉันจึงได้นำ เอาคลิปรายการตอนที่เข้ากับสถานการณ์การเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิมาถอดเทป เรียบเรียง เพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนที่เป็นปัจจุบันลงไป รวมทั้งตัดคลิปให้มีความยาวพอดีกับการอัพโหลดทาง Youtube ให้ทุกท่านได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันนะคะ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=WGCrtIzWsYU]แผ่นดินไหว ภัยพิบัติที่อาจเกิด 1 - YouTube[/ame]
     
  15. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    อัปโหลดโดย saisawanchannel เมื่อ 21 มี.ค. 2011

    การที่กรุงเทพฯเคยเป็นทะเลเมื่อ 6,000 ปีมาแล้ว จึงมีสภาพดินที่เป็นโคลนทะเล ทำให้รับรู้แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ค่อนข้างมาก ขณะที่เขื่อนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรี ก็ตั้งขวางลำ น้ำ 2 สายตามแนวรอยเลื่อนรอยยาว แม้จะได้รับการยืนยันว่าสามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้ถึง7 ริกเตอร์ แต่เราก็ยังต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับแผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิด และต้องทำ การบ้านกันให้มากขึ้น

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=VJMy7tXMJxw&feature=related]แผ่นดินไหว ภัยพับัติที่อาจเกิด 2 - YouTube[/ame]
     
  16. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747


    ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา (FEMA)

    แปลและเรียบเรียง โดย Kongp

    เนื้อหาบางช่วงบางตอน มีการดัดแปลง แก้ไข เพื่อความเหมาะสมกับประเทศไทย


    [​IMG]

    เพราะเหตุฉุกเฉินกับรถยนต์ อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอขณะที่เราเดินทาง ไม่ว่ารถของคุณจะเป็นรถมือหนึ่ง หรือจะเป็นรถมือสองก็ตาม เพราะรถมีเรื่องให้เกิดปัญหาได้สารพัด ไล่ตั้งแต่ยาง เครื่องยนต์ กลไก หรือแม้แต่น้ำมันหมดกลางทาง ซึ่งเบาที่สุดก็แค่สร้างความรำคาญให้เท่านั้น แต่ถ้าแย่ที่สุดอาจทำให้ความปลอดภัยน้อยลง รถใช้การไม่ได้ ต้องเสียเงินเสียทองในการเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์ต่างๆ

    วันนี้จะมานำเสนอแนวทางการเตรียมพร้อมไว้ก่อน ด้วยอุปกรณ์ติดรถยนต์ที่ “ทุกคันต้องมี” ซึ่งต้องมีติดรถไว้ยามฉุกเฉิน โดยรถยนต์ใหม่ๆ ในปัจจุบันก็มักจะมีให้พร้อมอยู่แล้ว ทั้งนั้นทั้งนี้เพื่อความมั่นใจในการขับขี่ปลอดภัย และใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับรถยนต์ของคุณเพื่อให้คุณเดินทางต่อไปได้

    แม่แรง ประแจขันล้อ และยางอะไหล่ - รถยนต์ทุกคันจะมีชุดอุปกรณ์ในการเปลี่ยนล้อติดมาให้ทั้งนั้น (หากคุณซื้อรถมือสองมา ก็ให้ตรวจสอบด้วยว่ามีอุปกรณ์ติดรถยนต์นี้ให้มาครบด้วยหรือไม่) ให้ดูจากคู่มือถึงตำแหน่งที่เก็บและวิธีการใช้งานเบื้องต้น ถ้าเป็นรุ่นทีใช้ยางรถยนต์แบบ Run Flat จะไม่มียางอะไหล่ให้ เพราะยาง Run Flat สามารถใช้งานวิ่งต่อได้ (มีข้อแม้ว่าต้องไม่เกินระยะทางที่กำหนด เพื่อทำการเปลี่ยนยางใหม่) แม้จะไม่มีลม เพราะยางรถยนต์ประเภทนี้จะมีโครงสร้างแก้มยางที่แข็งกว่าปกติ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุยางแบนโดยเฉพาะ

    เกจวัดแรงดันลมยาง - ควรมีติดรถยนต์ไว้เสมอ และใช้วัดเดือนละครั้ง หรือทุกครั้งหลังมีการเปลี่ยนอุณหภูมิภายนอกมาก เพราะลมยางจะลดลงประมาณ 2-3 ปอนด์ต่อเดือน อย่าลืมว่าต้องวัดขณะที่ยางรถยนต์ยังเย็นอยู่ และเติมที่ยางอะไหล่ของรถคุณด้วย

    ฟิวส์สำรอง – ถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟในรถยนต์ไม่ว่าส่วนไหนก็ตาม อย่างแรกที่สามารถตรวจสอบได้ทันทีและง่ายก็คือ ตรวจที่กล่องฟิวส์ ดูตำแหน่งฟิวส์ของอุปกรณ์ที่มีปัญหาตามที่ระบุจากตารางในคู่มือรถยนต์ หรือที่หลังกล่องฟิวส์ ถ้าพบว่าฟิวส์ขาด ก็สามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนฟิวส์สำรองทดแทนไปก่อน โดยในกล่องจะมีตำแหน่งบอกฟิวส์สำรอง ด้วย

    สายพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ – ควรมีติดรถยนต์ไว้ตลอดการเดินทาง แม้แบตเตอรี่ของรถจะยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ เพราะโอกาสที่แบตเตอรี่รถยนต์จะมีปัญหาระหว่างการเดินทางก็ยังคงมีความเป็น ไปได้ ขณะเดียวกันก็อาจเป็นฝ่ายให้ความช่วยเหลือผู้อื่นได้อีกด้วย

    ชุดปฐมพยาบาล - เลือกใช้แบบทั่วไปเพื่อกรณีอย่าง รอยแผลบาด โดนของร้อน เคล็ดฟกช้ำ และควรมีผ้าพันแผลไว้ด้วย

    กระป๋องดับเพลิง - ไฟอาจเกิดขึ้นได้กับรถด้วยสาเหตุง่ายๆอย่าง สายไฟช็อต หรือ น้ำมันรั่ว ทันทีที่เกิดเปลวไฟขึ้นกับรถยนต์ของคุณ ให้รีบออกจากรถโดยเร็วที่สุด ส่วนการใช้กระป๋องดับเพลิงนั้น จะใช้กับกรณีที่เป็นเปลวไฟเล็กๆ ที่เพิ่งเริ่มก่อตัว กระป๋องดับเพลิงจะช่วยดับและลดความเสียหายได้ แต่ถ้าเกิดเป็นเปลวไฟขนาดใหญ่ กระป๋องดับเพลิงอาจไม่เพียงพอ ควรพาตัวเองออกจากรถให้เร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัยกระป๋องดับเพลิง หาซื้อได้ตามแผนกอุปกรณ์รถยนต์ หรือร้านประดับยนต์ตามห้างทั่วไป อย่าลืมทำความเข้าใจวิธีการใช้งานก่อนด้วย

    ไฟเตือนระวัง
    - เป็นอุปกรณ์ที่ควรมีติดรถไว้ในกรณีที่รถยนต์ของคุณเกิดมีปัญหาต้องจอดข้าง ทาง เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องแสดงให้ผู้ใช้รถยนต์คนอื่นๆเห็นและระวัง โดยเฉพาะเวลากลางคืน นอกจากเปิดไฟฉุกเฉินที่รถแล้ว เราอาจะใช้ไฟเตือนระวังวางไว้บนหลังคา (แต่ต้องใช้แบตเตอรี่) ซึ่งผู้ใช้รถยนต์คันอื่นจะสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ระยะไกล หรือถ้าไม่มีก็อาจใช้อุปกรณ์สามเหลี่ยมสะท้อนแสงบอกตำแหน่งแทน

    ถุงมือ ครีมทำความสะอาด และผ้าสะอาด – ต่อให้เป็นงานที่ง่ายที่สุดในการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษารถยนต์ ก็ยังทำให้มือของท่านเปื้อนได้เช่นกัน ด้วยอุปกรณ์เหล่านี้ อย่างน้อยก็ไม่ทำให้มือที่เลอะของท่านไปโดนเสื้อผ้า เบาะ หรืออุปกรณ์ภายในรถยนต์ ซึ่งยากต่อการทำความสะอาด

    บัตรสมาชิกหรือเอกสาร Roadside Assistance - ที่สมัครเอาไว้ ให้เก็บไว้ในรถยนต์หรือกระเป๋าสตางค์เพื่อความสะดวกในการติดต่อใช้บริการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทุกครั้ง

    กล้องดิจิตอล หรือกล้องจากโทรศัพท์มือถือ
    – เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถยนต์ เราสามารถใช้กล้องบันทึกภาพและเสียงได้เอง เพื่อไว้เป็นหลักฐาน หรือประโยชน์ต่อการเอาประกันภัย

    โฟมปะยาง และเครื่องเติมลมไฟฟ้าแบบพกพา – เป็นอุปกรณ์ที่ควรซื้อติดรถยนต์ไว้ (สำหรับคนที่อาจจะขี้เกียจเปลี่ยนยางอะไหล่) สำหรับรอยรั่วเล็กน้อยบนยาง โฟมที่ว่านี้จะสามารถเข้าไปอุดรูรั่วเพื่อให้สามารถใช้งานยางรถยนต์ต่อไปได้ แต่ใช้งานเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น หลังจากที่หาร้านยางรถยนต์ได้ให้รีบทำการแก้ไข อย่างไรก็ตามร้านยางทั่วไปจะไม่ปะยางที่ได้รับการยิงโฟมอุดรั่วมาเพราะว่า ข้างในยางจะเต็มไปด้วยคราบเหนียวของโฟม อย่าลืมว่าโฟมใช้เพื่อการใช้งานแบบชั่วคราวเท่านั้น นอกจากโฟมอุดรั่ว เราอาจใช้เครื่องเติมลมไฟฟ้าแบบพกพาได้ แต่ก็จะทำได้แค่ประวิงเวลาสำหรับรอยรั่วเล็กๆเท่านั้น

    กระดาษและปากกา – หลายคนมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป แต่จริงๆ เราใช้ประโยชน์จากมันได้หลากหลาย เช่นเขียนโน้ตเหน็บไว้ที่กระจกหน้ารถยนต์ เป็นต้น

    GPS (Global Positioning System)
    – เมื่อต้องเดินทางไปในที่ใหม่ๆ หรือสถานที่ไม่คุ้นเคย การมีเครื่อง GPS ติดรถยนต์ไปด้วยจะช่วยในเรื่องการบอกพิกัดของตำแหน่งที่อยู่ และที่ๆ จะไปได้อย่างชัดเจนและง่ายขึ้น

    และเมื่อต้องเดินทางไกลควรตรวจสอบว่าโทรศัพท์มีแบตเตอรี่เพียงพอต่อการ ใช้งานไป ตลอดการเดินทางๆ รถยนต์หรือไม่ เพื่อการโทรขอความช่วยเหลือยามเกิดเหตุฉุกเฉินโดยเฉพาะเวลาอยู่ในพื้นที่ เปลี่ยว และควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์สำคัญเช่นของสถานีตำรวจท้องที่ ตำรวจทางหลวง (1193), 191, และจส.100 (0-2711-9160-2) เอาไว้ด้วย

    นอกจากนี้ยังมีเรื่องสำคัญที่ควรจะมีการตรวจเช็คอุปกรณ์ติดรถยนต์ต่างๆ ให้แน่ใจ ว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เช่น ยางอะไหล่รถยนต์ มีลมเพียงพอหรือไม่ , ชุดปฐมพยาบาล ยังมียาและอุปกรณ์ใช้งานได้ไม่หมดอายุหรือเปล่า, แม่แรงและเครื่องมือประจำรถยนต์อื่นๆ อยู่ครบถ้วนหรือไม่ และควรทำความคุ้นเคยในการใช้อุปกรณ์ด้วย
     
  17. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747

    สาระน่ารู้เกี่ยวกับการยังชีพ (Survival)

    คำแนะนำในการจัดเตรียมชุดฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง

    [​IMG]


    แปลและเรียบเรียง โดย Kongp


    สถานการณ์ฉุกเฉิน สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน ทุกที่และทุกเวลา ไม่สามารถคาดคะเนได้ หลายๆครั้งในข่าวทางโทรทัศน์ จะเห็นบุคคลที่ไม่ได้เตรียมเลยสำหรับกรณีฉุกเฉิน คนเหล่านี้มักจะตกอยู่ในอันตรายมาก และคนเหล่านี้ต้องรับการช่วยเหลือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น วัตถุประสงค์ของชุดฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง คือ การตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของเรา และรอรับการช่วยเหลือต่อไป โดยปกติแล้ว ระยะเวลา 3 วันก็เพียงพอสำหรับชุดฉุกเฉินของคุณ เพื่อให้สามารถยังชีพและอยู่รอดได้ จนความช่วยเหลือต่างๆ เข้ามา หากคุณมีครอบครัว คุณควรเตรียมชุดฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ให้พอดีกับสมาชิกในครอบครัวของคุณ คำแนะนำดังต่อไปนี้ เป็นขั้นตอนที่จะช่วยให้คุณทราบวิธีการจัดชุดฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ด้วยตัวคุณเอง
    คำแนะนำในการจัดเตรียมชุดฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง

    สิ่งจำเป็นที่คุณจะต้องทำ

    - หา กระเป๋า เป้สะพาย หรือ จะเป็นถุงกันน้ำก็ได้ เพื่อสำหรับใส่สิ่งของตามรายการทั้งหมดที่คุณเลือกไว้
    - คุณไม่จำเป็นต้องเลือกทุกรายการที่จะให้คำแนะนำต่อไปนี้ก็ได้ แต่ให้เลือกในสิ่งที่คุณคิดว่าจำเป็นที่สุด
    - ทำรายการสิ่งของจำเป็นที่จะรวมอยู่ในชุดฉุกเฉิน 72 ชั่วโมงของคุณและสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยจดใส่แผ่นกระดาษ อย่าลืมว่า ต้องเหมาะสำหรับคุณและคนในครอบครัวจริงๆ

    การเลือกสิ่งของที่อยู่ในชุดฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง

    1. อาหารประเภทใดที่คุณจะต้องเลือกใส่ลงในชุดฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ?

    - ควรเป็นอาหารที่รับประทานได้ทันที และเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ควรเป็นอาหารที่รสไม่จัด และไม่ต้องใช้น้ำมาก รวมไปถึงเตาขนาดเล็กพร้อมเชื้อเพลิง , ถ้วย ชามอลูมิเนียม ที่เปิดกระป๋อง อลูมิเนียมฟอยด์ เผื่อไว้สำหรับกรณีที่คุณจำเป็นต้องประกอบอาหาร คุณอาจจะต้องตกปลา เพื่อยังชีพ ดังนั้นควรมีชุดตกปลาสำรองไว้ เผื่อเหตุฉุกเฉิน นอกจากนี้ ควรมีสบู่สำหรับล้างมือ หรือล้างจานของคุณ

    2. คุณควรจะมีอุปกรณ์ เครื่องมืออะไรบ้าง ?

    - คุณจำเป็นจะต้องมีเทปผ้า (Duct Tape) ไว้ซ่อมแซมบ้านของคุณ เชือกร่มยาว 50 ฟุต , เลื่อยโซ่ ,ที่อุดหู หน้ากากกันฝุ่น N95 , พลั่วขนาดเล็ก พับได้ , กรรไกร ,มีด , กาว , ถุงมือช่าง , น็อต สกรู , คีม , ประแจ , ปากกาเมจิ , คีมเอนกประสงค์ และ กล่องพลาสติก ไว้เก็บสิ่งของเหล่านี้

    3. เงินและเอกสารประเภทไหน ที่คุณต้องนำไปด้วย ?

    - ในชุดฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง คุณจำเป็นต้องมีรายการเอกสารที่สำคัญ เช่น เอกสารเกี่ยวกับประกันภัย เอกสารเกี่ยวกับครอบครัวของคุณ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน ใบรับรองการเกิด และทะเบียนสมรส แผนที่ในท้องถิ่นของคุณ และเข็มทิศ เพื่อวางแผนอพยพ ภาพถ่ายครอบครัว เงินสด บัตรเครดิต กล้องใช้แล้วทิ้ง กล้องส่องทางไกล หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต และเอกสารอื่นๆ ที่คุณคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะอยู่ในชุดฉุกเฉิน

    4. อุปกรณ์ให้แสงสว่าง ควรเลือกอย่างไร ?

    - ควรมีไฟฉาย พร้อมแบตเตอรี่สำรอง , เทียนไขขนาดใหญ่ ที่สามารถจุดได้หลายชั่วโมง และแท่งเรืองแสงแบบ 12 ชั่วโมง

    5. ที่พักอาศัยและเครื่องนุ่งห่ม จะเตรียมอย่างไรดี ?

    - สำหรับที่พักอาศัยและเครื่องนุ่งห่มของคุณ คุณสามารถเลือกเต็นท์ที่มีขนาดเล็ก มาไว้ในชุดฉุกเฉินได้ นอกจากนี้ ยังมีถุงนอน , ผ้าห่ม , ผ้าห่มฉุกเฉิน ,เสื้อกันฝน และผ้าพลาสติกกันน้ำ ไว้ทำหลังคา หรือเรียกว่าฟลายชีต

    6. สำหรับน้ำเพื่อบริโภคและอุปโภค ควรบริหารจัดการอย่างไรดี ?


    - คุณควรมีน้ำเก็บไว้ในชุดฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ไม่น้อยกว่า 1 แกลลอนต่อคนต่อวัน หรือ 2 แกลลอนต่อคนต่อวัน เพื่อสำหรับบริโภคและอุปโภค หากต้องการทำน้ำให้สะอาด คุณสามารถทำให้สะอาดได้ด้วยวิธีการต้มน้ำ และใช้ยาบำบัดน้ำ

    7. เกี่ยวกับความร้อนและการให้ความอบอุ่น ควรมีอะไรบ้าง ?


    - คุณควรมีไม้ขีดไฟ หรือ ไม้ขีดไฟกันน้ำ ,ไฟแช็ค , แท่งจุดไฟ , เลนส์ขยาย สำหรับก่อกองไฟ หรือ ฮีทเตอร์แบบพกพา เพื่อความอบอุ่นแก่คุณ

    8. เกี่ยวกับการสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควรเตรียมตัวอย่างไร ?

    - คุณควรมีวิทยุ AM FM พร้อมแบตเตอรี่สำรอง หรือ แบบชาร์จมือหมุนไดนาโม หรือ แบบชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ ควรมีอุปกรณ์ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลืออื่นๆ เช่น กระจกสะท้อนแสง นกหวีด โทรศัพท์มือถือ , กระดาษและดินสอ , บัตรโทรศัพท์แบบเติมเงิน , พลุส่งสัญญาณ และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน

    9. เกี่ยวกับด้านสุขภาพอนามัย ควรนึกถึงอะไรบ้าง ?

    - คุณควรที่จะมี กระดาษชำระ , เสปรย์ดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ , โลชั่นต่างๆ , ยาประจำตัว ,อุปกรณ์ปฐมพยาบาล , ผ้าเช็ดตัว , สบู่ , ยาทากันยุง ไล่แมลง , มีดโกน ครีมโกนหนวด , หวี แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และรายการอื่นๆ ที่คุณคิดว่ามันจำเป็นสำหรับคุณ

    10. เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย ควรเลือกอย่างไร ?


    - ควรเลือกเสื้อผ้าที่มีความอบอุ่น ไม่อุ้มน้ำ และสามารถปกป้องร่างกายได้เป็นอย่างดี เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว นอกจากนี้ ยังมีรองเท้าที่แข็งแรง เช่น รองเท้าผ้าใบ ถุงเท้า หมวก ถุงมือ แว่นกันแดด เป็นต้น


    [​IMG]


    การวางแผนและการเตรียมพร้อมชุดการอยู่รอดฉุกเฉิน จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักปลอดภัย และรู้สึกสบายใจในสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ชุดการอยู่รอดฉุกเฉินที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ ทำไมถึงมีความสำคัญต่อการอยู่รอดกับคุณและครอบครัว

    จากเหตุการณ์พายุเฮอริเคนแคททริน่าในประเทศสหรัฐอเมริกา ในเหตุการณ์นี้ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ ได้รู้สึกถึงความล่าช้าในการช่วยเหลือของทางราชการอย่างมาก ทำให้พวกเขาได้คิดว่า หากมีภัยพิบัติเกิดขึ้นอีกในอนาคต และไม่รู้จะเกิดในระยะเวลานานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนอย่างไร
    แม้การเตรียมเป้ฉุกเฉินสำหรับ 3 วันหรือ 72 ชั่วโมง อาจจะเหมาะกับการรับมือแผ่นดินไหว แต่ถ้าลองนึกถึงภัยธรรมชาติอื่นๆ เช่น พายุไต้ฝุ่น น้ำท่วม เหล่านี้แล้ว ดังนั้นจึงควรเตรียมไว้ให้สามารถใช้ได้ไม่น้อยกว่า 1 เดือน หรือมากกว่านั้น

    ทำไมถึงไม่ซื้อชุดการอยู่รอดแบบสำเร็จรูป ???

    ในสถานการณ์ปกติแล้ว คุณสามารถเดินหาซื้อสินค้าได้ตามร้านค้าทั่วไป ไว้ล่วงหน้าได้ ชุดการอยู่รอด หรือ Emergency Kit แบบสำเร็จรูป ที่ผู้ผลิตมักจะผลิตเพื่อจำหน่าย เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า แต่ในการผลิตแต่ละครั้ง ผู้ผลิตมักจะผลิตให้ได้ราคาต่ำที่สุด เพื่อหวังผลกำไร มันจึงส่งผลให้คุณภาพสินค้าหรือชุดการอยู่รอดของคุณน้อยลงไป หากมีการเก็บไว้นานๆ แล้ว สินค้าจะเสื่อมคุณภาพและไม่สามารถใช้งานในสภาวะฉุกเฉินได้เลย

    นอกจากนี้ การที่คุณเลือกจับจ่ายสินค้าเอง มันทำให้คุณได้เลือกในสิ่งที่เหมาะสมกับคุณเอง และครอบครัว โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สภาวะอากาศในท้องถิ่นของคุณ จำนวนสมาชิกในครอบครัว นิสัยการรับประทานอาหารของสมาชิก รวมไปถึงกิจกรรมที่คุณจะวางแผนในช่วยเกิดภัยพิบัติ ซึ่งแต่ละครอบครัวมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

    หมายเหตุ การซื้อชุดฉุกเฉินที่มีราคาถูก อาจทำให้คุณมีความเสี่ยงได้ การที่คุณจัดชุดฉุกเฉินเอง มันทำให้คุณประหยัด และเลือกอุปกรณ์ที่คุณไม่ต้องการ ตัดทิ้งออกไปได้ และเหมาะสมกับคุณเองโดยเฉพาะ

    รายการชุดฉุกเฉิน (Emergency & Survival Kit List)


    อาหารฉุกเฉิน

    ชุดการอยู่รอดในสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับบ้านของคุณ ควรมีการจัดหาอาหารเพิ่มเติม นอกเหนือจากอาหารที่คุณรับประทานประจำ คุณควรหาที่เก็บไว้แยกต่างหาก เช่น คุณอาจจะจัดชั้นวาง ช่องแข็งในตู้เย็น เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับ อาหารที่คุณเตรียมไว้ยามฉุกเฉิน มันไม่ใช่เรื่องยากอะไร ในขณะที่แต่ละวันคุณจับจ่ายใช้สอยในร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า คุณอาจจะซื้ออาหารแห้ง หรืออาหารแช่แข็งติดๆ มาด้วยก็ได้

    ข้อควรระมัดระวังในการรับประทานอาหารในสถานการณ์ภัยพิบัติ คุณควรวางแผนการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้ดีที่สุด ด้วยสภาพจิตใจที่มีความเครียดในภาวะฉุกเฉิน คุณอาจจะเผชิญกับโรคลำไส้อักเสบ หรือ ท้องเสีย ดังนั้น คุณควรวางแผนการรับประทานอาหารให้ดี และให้เหมาะสมกับสภาพจิตใจที่เราอยู่ ณ ขณะนั้นด้วย ลองกลับไป จินตนาการดูว่า คุณจะมีความรู้สึกอย่างไร ที่ต้องมานั่งรับประทานอาหาร ด้วยความเครียดและกังวลในสภาวะภัยพิบัติธรรมชาติ

    ในการเลือกอาหาร เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการอยู่รอดของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่า คุณได้เลือกรายการอาหารที่ดีที่สุด สามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน ควรเป็นอาหารแห้ง โดยไม่ต้องแช่ในตู้เย็น หากคุณซื้ออาหารกระป๋องมาเก็บไว้ คุณควรดูวันหมดอายุ และวางแผนในการเก็บรักษา โดยการหมุนเวียนเปลี่ยนอาหารให้สม่ำเสมอ มีความสดใหม่อยู่เสมอ ทำอย่างเคร่งครัด ให้อาหารของคุณมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาในภาวะภัยพิบัติธรรมชาติ

    อาหารสำหรับชุดการอยู่รอดของคุณ ควรคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ ผมขอยกตัวอย่างรายการอาหารในเวลาฉุกเฉิน ดังต่อไปนี้

    - เครื่องกระป๋องทุกประเภท รวมไปถึง ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์
    - ถั่วเมล็ดแห้ง และข้าว
    - อาหารเช้าแบบซีเรียล รวมไปถึงข้าวโอ๊ต
    - นมผง
    - ผลไม้แห้ง
    - ปลากระป๋อง
    - เกลือ , ลูกอม
    - หากมีเด็กทารก คุณควรจัดอาหารสำหรับเด็กทารกด้วย

    อย่าลืมที่เปิดกระป๋อง อุปกรณ์รับประทานอาหารอื่นๆ

    น้ำดื่มฉุกเฉิน


    ในหลายสัปดาห์คุณสามารถอดอาหารได้ แต่น้ำไม่สามารถอดได้ เนื่องจากว่าร่างกายของเรามีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก ในช่วงระหว่างการเกิดภัยพิบัติ การทำน้ำให้สะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

    ชุดการอยู่รอดของคุณ อาจจัดหาน้ำบรรจุขวด หรือแกลลอนก็ได้ แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับระยะยาว ตามหลักแล้ว คุณและครอบครัว ต้องมีน้ำอย่างน้อย 1 แกลลอน สำหรับบริโภคและอุปโภค หากสมาชิกในครอบครัวของคุณมี 4 คน คุณควรมีน้ำอย่างน้อย 120 แกลลอนต่อเดือน

    ในเวลาที่เกิดภัยพิบัติ เป็นที่น่าเสียดายว่า น้ำในประปาหรือรอบบ้านของคุณ เป็นน้ำที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค ที่อาจเกิดจากน้ำป่าไหลหลาก หากคุณดื่มน้ำนี้เข้าไป อาจเป็นอันตรายกับคุณได้ เพราะน้ำเหล่านี้ มักจะมีเชื้อปรสิต ที่เป็นอันตรายต่อความสามารถในการอยู่รอด เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย คุณควรทำน้ำให้สะอาดและปลอดภัย ในการอยู่รอดให้ได้

    โดยวิธีการที่ดีที่สุดในการทำลายเชื้อโรคเหล่านี้ ควรทำโดยวิธีการต้มน้ำ น้ำเดือดสามารถทำให้เชื้อโรคเหล่านี้ตายได้ ในทางตรงกันข้าม หากใช้วิธีการกรองน้ำ หรือยาบำบัดน้ำ อาจทำให้เชื้อบางตัวไม่สามารถตายได้

    ด้วยเหตุนี้ชุดการอยู่รอดของคุณในเวลาฉุกเฉิน ควรหาอุปกรณ์ที่ไว้สำหรับต้มน้ำ เตรียมพร้อมไว้ เช่า เตาแก๊ส เตาถ่าน เพราะหากน้ำประปาถูกปิด คุณอาจจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำจากนอกบ้านของคุณที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคมากมาย และการเลือกอุปกรณ์สำหรับต้มน้ำ คุณควรดูสภาวะแวดล้อมบ้านของคุณว่า สามารถจุดไฟได้หรือไม่

    หากคุณมองถึงว่าการต้มน้ำเป็นสิ่งที่ยุ่งยากสำหรับคุณ บางคนหันไปใช้ยาบำบัดน้ำ แต่คุณลองนึกถึงว่า ยาบำบัดน้ำก็มีอายุการใช้งานของมัน ภัยพิบัติไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดนานหรือไม่ นอกจากนี้ หากคุณมีสมาชิกในครอบครัวหลายคน คุณลองนึกถึงว่า คุณต้องใช้ยาบำบัดน้ำกี่เม็ด ถึงจะพอสำหรับแกลลอนน้ำจำนวนพันแกลลอน

    อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำน้ำให้สะอาดขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

    - แกลลอนน้ำที่สามารถใส่น้ำดื่มได้ ได้รับการรับรองว่าสามารถใส่น้ำเพื่อบริโภคได้
    - หม้อโลหะขนาดใหญ่ สำหรับต้มน้ำ
    - เตาถ่าน เตาแก๊ส และควรมีเชื้อไฟ เช่น ถ่านไม้ แก๊สกระป๋อง น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
    - ยาบำบัดน้ำ เครื่องกรองน้ำ กรุณาตรวจสอบประสิทธิภาพของมันว่า สามารถฆ่าเชื้อโรคอะไรได้บ้าง

    ไฟฉุกเฉิน หรืออุปกรณ์ให้แสงสว่าง

    ส่วนหนึ่งของชุดการอยู่รอดของคุณ คุณควรหาอุปกรณ์ให้แสงสว่าง เนื่องจากว่า ภัยพิบัติอาจทำให้กระแสไฟฟ้าของบ้านคุณถูกตัดขาด นับสัปดาห์ หรือหลายเดือน คุณควรหาอุปกรณ์ให้แสงสว่างไว้ เช่น ไฟฉาย เทียนไข ตะเกียง สามารถนำไปใช้ในที่พักอาศัยของคุณ หรือใช้เพื่อขอส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้

    ผมแนะนำให้คุณมีไฟฉายให้ครบทุกคนในครอบครัว และควรมีหลอดไฟ แบตเตอรี่สำรอง ถ้าเป็นไปได้ คุณควรใช้ไฟฉายแบบคาดหัวที่นักเดินทางหรือนักปีนเขาชอบใช้ ไม่ต้องใช้มือในการถือไฟฉาย คุณอาจจะต้องเดินทางยกกระเป๋าไปไหนต่อไหน หรืออาจจะต้องมีการซ่อมแซมอุปกรณ์อื่นๆ ในที่มืดก็เป็นไปได้ มันทำให้สะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก

    นอกจากนี้ คุณควรหาเทียนขนาดใหญ่ หรือมีขนาดยาวไว้ และควรมีแท่งเรืองแสงไว้เพื่อขอความช่วยเหลือ เพื่อความสะดวกในการค้นหาของเจ้าหน้าที่กู้ภัย

    ผมขอยกตัวอย่างอุปกรณ์ให้แสงสว่าง ดังนี้

    - ไฟฉาย
    - แบตเตอรี่สำรอง หลอดไฟ
    - เทียนขนาดใหญ่ จุดได้นาน
    - แท่งเรืองแสง
    - ตะเกียง เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซินขาว แก๊สกระป๋อง

    การสื่อสารในยามฉุกเฉิน

    ทุกชุดการอยู่รอดของคุณ คุณควรมีวิทยุ AM FM หรือวิทยุพลังไดนาโม ซึ่งจะทำให้คุณได้ทราบการติดตามความคืบหน้า การถ่ายทอดฉุกเฉินจากสถานีวิทยุ เพื่อให้คุณได้ทราบข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับสถานะของการดำเนินการช่วยเหลือ และขั้นตอนการอพยพ

    โปรดจำเอาไว้ว่า โทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์สื่อสารรูปแบบอื่นๆที่มีความทันสมัย อาจไม่ทำงานในสภาวะฉุกเฉิน การส่งสัญญาณอาจมีคลื่นรบกวนได้ กรุณาอย่าคิดว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่จะช่วยเหลือคุณได้เสมอไป

    ชุดการอยู่รอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควรจะมีอุปกรณ์ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือต่างๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยสามารถทำงานได้ง่ายมากขึ้น เช่น กระจกสะท้อนแสง นกหวีด เป็นต้น ในขณะที่คุณสามารถตะโกนเป็นระยะเวลาสั้นๆ ได้ แต่เสียงของคุณอาจะถูกกลบไปด้วยเสียงรบกวนอื่นๆก็เป็นไปได้ ดังนั้นคุณควรมีนกหวีดที่เสียงดัง และสามารถใช้ได้ในกรณีที่เปียกน้ำ นอกจากนี้ กระจกส่องสัญญาณก็เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะสามารถขอความช่วยเหลือ จากการค้นหาของเจ้าหน้าที่กู้ภัยทางอากาศได้

    ผมขอยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่สามารถส่งสัญญาณหรือสื่อสารได้ ดังนี้

    - โทรศัพท์เคลื่อนที่
    - วิทยุ AM FM พร้อมแบตเตอรี่สำรอง / วิทยุพลังไดนาโม
    - กระจกส่องสัญญาณ
    - นกหวีดเสียงดังๆ

    การปฐมพยาบาลในยามฉุกเฉิน

    ชุดการอยู่รอดของคุณ ควรมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาล เป็นของตนเอง รวมไปถึงยาประจำตัวอื่นๆ ที่จำเป็น กรุณาตรวจสภาพ เช็ควันหมดอายุอยู่ตลอดเวลา และควรหมุนเวียน เปลี่ยนกันใช้บ้าง เพื่อสามารถใช้ได้ท่วงทีในยามฉุกเฉิน

    คุณไม่จำเป็นต้องไปฝึกอบรม หรือต้องมีอุปกรณ์ครบครันอย่างในโรงพยาบาล คุณอาจจะมีคู่มือปฐมพยาบาลขั้นต้นเผื่อไว้ หรือมีการศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้บ้าง และกรุณาอย่าแสดงอาการตกใจเมื่อคุณปฐมพยาบาลให้กับผู้ป่วย หรือบาดเจ็บ

    อุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่คุณควรจะมี ดังนี้

    - ถุงมือปลอดเชื้อ หรือ ถุงมือแพทย์
    - กรรไกรขนาดเล็ก
    - แหนบ
    - ปิโตรเลียมเจล (วาสลีน)
    - สบู่ ครีมล้างมือแบบฆ่าเชื้อโรค
    - พลาสเตอร์ยา ประเภทต่างๆ หลายๆขนาด
    - น้ำยาล้างตา
    - ปรอทวัดไข้
    - ยาและเวชภัณฑ์ ที่ต้องการ
    - แอสไพริน หรือ ไอบูโปรเฟน
    - ยาแก้ท้องเสีย
    - ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
    - ยาระบาย
    - ครีมกันแดด

    ที่พักฉุกเฉิน

    ในระหว่างสถานการณ์ภัยพิบัติ บ้านของคุณอาจไม่สามารถอยู่ได้ คุณอาจถูกบังคับให้อพยพ ด้วยเหตุนี้ชุดการอยู่รอดของคุณ ควรมีอุปกรณ์ทำที่พักอาศัยและเครื่องนอน

    ที่พักที่เหมาะสมที่สุด และพอสำหรับในสมาชิกครอบครัวของคุณ นั่นคือ เต็นท์ขนาดใหญ่ เพียงพอสำหรับทุกคนในครอบครัว นอกจากนี้ควรมีถุงนอน หรือผ้าห่ม แผ่นรองนอน ผ้าห่มรักษาอุณหภูมิ (Emergency Blanket)

    ความถูกสุขลักษณะในยามฉุกเฉิน

    ประปาในบ้านของคุณอาจใช้ไม่ได้ ในระหว่างการเกิดภัยพิบัติ มันเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ที่คุณจะต้องแก้ปัญหาว่าคุณต้องขับถ่ายอย่างไร คุณจะมีวิธีการทำให้สะอาดอย่างไร เพราะถ้าคุณไม่ทำให้ถูกสุขลักษณะแล้ว อาจทำให้บ้านของคุณกลายเป็นที่แพร่พันธุ์เชื้อโรค และสมาชิกในครอบครัวของคุณอาจเจ็บป่วยได้ ดังนั้นคุณอาจจำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

    - กระดาษชำระ , กระดาษเช็ดก้นเด็ก (ทิชชู่เปียก)
    - น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
    - ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับผู้หญิง เช่น ผ้าอนามัย
    - ถังขนาดใหญ่ ไว้สำหรับทำเป็นห้องน้ำแบบพกพา
    - ถุงขยะ หรือ ถุงดำ

    การค้นหาและการกู้ภัยในยามฉุกเฉิน

    หลายครั้ง ผลที่เกิดจากภัยพิบัติ สมาชิกในครอบครัวของคุณอาจจะติดอะไรสักอย่าง ไม่สามารถออกได้ ในการค้นหาและกู้ภัย คุณควรจัดชุดการอยู่รอดของคุณ ให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็น สำหรับปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือ ดังนี้

    - เครื่องมือเอนกประสงค์
    - มีดแบบใบตาย
    - พลั่ว
    - ถุงมือ
    - หน้ากากปิดจมูก
    - เทปผ้าเอนกประสงค์แบบกันน้ำ
    - เชือก
    - ขวาน

    ชุดอุปกรณ์การอยู่รอดเพิ่มเติม เช่น

    - ไม้ขีดไฟกันน้ำ
    - แท่งจุดไฟ
    - เชื้อไฟอย่างดี
    - แว่นตากันแดด
    - เชือกร่ม 100 ฟุต
    - เป้แบบสะพาย สำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว
    - กล่องพลาสติกขนาดใหญ่ ในกรณีสำหรับขนย้ายสิ่งของด้วยยานพาหนะ
    - ยากันแมลง ยากันยุง
    สุดท้ายนี้ การอยู่รอดของตนเองที่ดีที่สุดคือ คุณพร้อมที่จะเผชิญกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นหรือยัง หรืออย่างไร?

    สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นแค่จุดเริ่มต้น และคุณควรทำชุดการอยู่รอดเหล่านี้ให้ได้อย่างไร หากเมื่อได้ประสบกับเหตุการณ์ภัยต่างๆ ในสถานที่ต่างๆ ด้วยตนเองและควรจะปรับตัวอย่างไร เตรียมความพร้อมในการรับมืออย่างไร ในการดำรงชีวิตอยู่อย่างไร
    ได้อย่างปลอดภัย ได้อย่างปกติสุข ถ้ามันลำบากอยู่แล้ว ก็ให้มันลำบากน้อยสุดก็ยังดี

    สติคือสิ่งสำคัญกว่าสิ่งใดในทุกสถานการณ์ ตามมาด้วยปัญญา จะมัวรอแต่บุญวาสนา หรือรอโชคชะตา หรืออ้อนวอนในสิ่งต่างๆที่มีความเชื่อความศรัทธาอยู่ก็ดี จะสมควร เหมาะสมแล้วหรือ หากไม่ช่วยเหลือตนเองให้ดีที่สุดก่อน

    ดังพระพุทธสุภาษิต หรือพระพุทธวัจนะ ที่ว่า


    "อัตตาหิ อัตโน นาโถ " ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
    ทั้งทางโลกและทางธรรม
    ส่วนอื่นๆที่ตามมาขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยต่างๆประกอบกัน

    ทางโลกเป็นอย่างไร เช่นจะปรับตัวใช้ชีวิตอย่างไรในยุคสมัยสังคมที่เปลี่ยนไป ให้อยู่กับโลกกับธรรมชาติไ้ด้อย่างไม่เดือดร้อนและทุกข์ และหากมีการเตือน การออกข่าวในสื่อทางใด หรือใครเขาหวังดีบอกมา จะจริงหรือไม่จริงจะเป็นด้วยเหตุผลปัจจัยอื่นๆ อย่างไร แต่ว่าเขาก็มีเจตนาที่ดีอยู่ เพียงแต่ว่าอาจจะใช่สิ่งที่ตนคิดว่าใช่หรือไ่ม่ใช่ หรือว่ามีเหตุมีภัยอะไรมา จะเตรียมตัวรับมือ ป้องกัน อย่างไร ถ้าพิจารณาด้วยเหตุผลแล้วน่าจะมีความเป็นไปได้ก็นำไปใช้ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นเรื่องงมงาย ไม่มีประโยชน์ทำให้ตื่นตระหนกก็ปล่อยวางอุเบกขา หรือเห็นข้อบกพร่องหากเขายอมรับความคิดเห็นโดยไม่มีทิฏฐิหรือจิตที่พยองทะนง ตนและยอมรับข้อเสนอแนะได้ก็แนะนำให้ถูกต้อง ก็ดูงามกว่า ถ้าบอกว่ากระต่ายตื่นตูมก็ให้เป็นกระต่ายตื่นตัวน่าจะเหมาะกว่า

    ทางธรรมเป็นอย่างไร ก็ลองพิจารณาดูว่า

    • เราเชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือไม่
    • เราเชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรมหรือไม่
    • เราเชื่อว่าพระอรหันต์มีจริงหรือไม่
    • เราว่าเชื่อโลกนี้ – โลกหน้ามีจริงหรือไม่
    เมื่อมีความเชื่อที่ถูกต้อง แล้วก็สร้่างศรัทธา ปัญญา ให้เกิดอย่างถูกต้อง
    ก็ดำรงชีวิตด้วยความมีสติ ไม่ประมาท ละความชั่วอกุศลทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำใจให้บริสุทธิ์ ให้ ทาน รักษาศิล เจริญสมถภาวนา วิปัสนาภาวนาตามจริตของตน ปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า หมั่นสร้างกุศลกรรมไว้ให้มากทำอะไรก็ทำไปเถอะดีกว่าไม่ทำเลย ถ้าเป็นความดีในการช่วยพัฒนาจิตตนเองและเพื่อเป็นการเกื้อกูลสังเคราะห์นั้น เป็นความงดงามเป็นมงคลของชีวิตแล้วที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา

    ก่อนที่มรณะจะมาถึง ถึงตอนนั้นแล้วถ้าระลึกได้ก็คงสายไปแล้ว



    สิ่งต่างๆที่นำเสนอเหล่านี้ หวังอย่างยิ่งว่า มันอาจเป็นกุญแจสำคัญอีกทางหนึ่งในการอยู่รอดในอนาคตต่อไปก็ได้

    จากเหตการณ์น้ำท่วมครั้งนี้คงทำให้เรียนรู้บทเรียนและ บททดสอบอะไรหลายๆ อย่าง ความจริงอะไรหลายๆอย่าง การเตรียมตัว เตรียมความพร้อม และการปรับตัวในการับมือในภัยต่างๆ ที่ไม่ใช่แต่น้ำอย่างเดียวแล้ว และเมื่อถึงเวลาภัยธรรมชาติเขามาอย่างเต็มตัวแล้วประสบการณ์เหล่่านี้น่าจะ เป็นทางเลือกทางหนึ่งที่ดีที่สุดก็เป็นได้ในการรับมือ






    บุญใหญ่อานิสงส์ไม่มีประมาณ ขอเชิญร่วมบุญสร้างบันได กราบรอยพระพุทธบาท วัดลำจังหัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2012
  18. whitepanda

    whitepanda สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +8
    ขอให้บุญรักษาทุกท่านครับ
     
  19. พิชญากร

    พิชญากร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    909
    ค่าพลัง:
    +5,261
    เป็นกระทู้ที่ดีและมีประโยชน์มากๆค่ะ ขอนำไปแบ่งปันในเฟซนะคะ
     
  20. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ปินส์อาฟเตอร์ช็อคกว่า 700 ครั้ง บัวแก้วยันคนไทยปลอดภัย

    [​IMG] หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 6.7 ริกเตอร์ ที่ฟิลิปปินส์ จนมีประชาชนสังเวยภัยธรรมชาติแล้วเกือบ 50 ศพ ล่าสุดไม่พบคนไทยเสียชีวิตจากเหตุดังกล่าว...

    เมื่อวันที่ 7 ก.พ. หน่วยกู้ภัยฟิลิปปินส์เร่งขุดค้นหาผู้รอดชีวิตด้วยพลั่วและมือเปล่า 1 วัน หลังเกิดแผ่นดินไหว 6.7 ริกเตอร์ ที่หมู่เกาะเนกรอสและเซบูทางภาคกลาง ทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาคารบ้านเรือนพังเสียหายหลายร้อยหลัง มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 48 คน บาดเจ็บกว่า 70 คน ยังสูญหาย 92 คน คาดว่ายอดจะพุ่งขึ้นอีก
    [​IMG]

    ผู้ เสียชีวิตส่วนใหญ่ 39 คน อยู่ที่เมืองกุยฮัลงัน แต่ทางการระบุยอดผู้เสียชีวิตแค่ 15 คน บาดเจ็บ 52 คน สูญหาย 29 คน การกู้ภัยเป็นไปอย่างยากลำบากในหลายพื้นที่ เพราะโทรศัพท์ ถนน และสะพานถูกตัดขาด ทำให้ขนย้ายเครื่องมือหนักเข้าไปไม่ได้ ทั้งเกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่อง หรืออาฟเตอร์ช็อคกว่า 700 ครั้ง บางครั้งวัดได้ถึง 6.2 ริกเตอร์ และคาดว่าจะเกิดอีกหลายสัปดาห์ แต่เมืองเซบู เมืองใหญ่อันดับ 2 แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ยังไม่พบผู้เสียชีวิต

    ขณะ ที่กระทรวงต่างประเทศไทย แถลงว่า ยังไม่พบคนไทยเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ ทั้งนี้ มีคนไทยอาศัยในฟิลิปปินส์ราว 650 คน อยู่ในกรุงมะนิลากว่า 350 คน และเกาะเซบูราว 300 คน
    ส่วนภัยหนาวจัดยังคุกคามยุโรป ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งเกิน 300 คน ส่วนใหญ่อยู่ในยูเครนเกือบ 150 คน ขณะที่รัฐบาลอิตาลีใช้มาตรการฉุกเฉินเพื่อรับมือวิกฤติขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ จากรัสเซีย.
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...