'ปราโมทย์'ดัน3ยุทธศาสตร์จัดการน้ำ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 13 พฤศจิกายน 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    'ปราโมทย์'ดัน3ยุทธศาสตร์จัดการน้ำ

    สัมภาษณ์พิเศษ : 'ปราโมทย์ ไม้กลัด' ดัน 3 ยุทธศาสตร์จัดการน้ำ : 'สู้ภัย-ปรับตัว-หนีภัย' : โดย 'เตชะวัฒน์ สุขรักษ์' สำนักข่าวเนชั่น



    [​IMG]






    ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการ ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำ (กยน.) โดยมี นายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นที่ปรึกษา และมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ เป็นประธาน


    ขณะที่คณะกรรมการ ประกอบด้วย นายปราโมทย์ ไม้กลัด ,นายกิจจา ผลภาษี, นายชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล, นายนิพัทธ พุกกะณะสุต, นายปลอดประสพ สุรัสวดี, นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา, นายรอยล จิตรดอน, นายรัชทิน ศยามานนท์, นายศรีสุข จันทรางศุ, นายสนิท อักษรแก้ว, นายสมบัติ อยู่เมือง, ดร.สมิทธ ธรรมสโรช, นายอัชพร จารุจินดา รวมถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้น แต่ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ รวมถึงยังไม่มีการเรียกประชุมนัดแรกเพื่อวางกรอบการทำงานทั้งสิ้น
    "สำนักข่าวเนชั่น" ได้จับเข่าคุยกับหนึ่งในกรรมการชุดนี้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมานับนับสิบปี
    "ปราโมทย์ ไม้กลัด" ได้เตรียมแนวทางการบริหารจัดการน้ำซึ่งจะเสนอในการประชุมนัดแรกอย่างชัดเจน ไว้ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ "ยุทธศาสตร์สู้ภัย ปรับตัว และหนีภัย"

    # คณะกรรมการที่ดูแลเรื่องการจัดการน้ำก่อนหน้านี้ มีมาแล้วหรือไม่ ?

    ไม่มี แต่คำว่ายุทธศาตร์แก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ต้องเป็นภาพที่มีความชัดเจน หากแก้ไขปัญหาน้ำอุทกภัย ก็จะมุ่งเรื่องปัญหาน้ำอุทกภัย แต่ในนั้นไม่ได้บอกว่าปัญหาอุทกภัย แต่ไม่เข้าใจว่า น้ำอะไร ซึ่งอยากจะอ่านคำสั่ง ว่าขอบข่ายหน้าที่คืออะไร และอยู่ที่ไหน ไม่ส่งมาให้ผมเลย ซึ่งเวลานี้เป็นเหตุการณ์น้ำมาก น้ำอุทกภัย จะไปทำน้ำทั้งระบบ จะเป๋ไปมากและงานมากขึ้น ถ้าน้ำทั้งระบบ จะเป็นเรื่องใหญ่ จะเอาเรื่องใหญ่ 2 เรื่องมาอยู่ด้วยหรืออย่างไร
    ส่วนคณะกรรมการที่เห็นนั้น ก็ไม่ใช่ ซึ่งอาจจะเหมาะกับน้ำอุทกภัยก็ได้ มองแล้วไม่ค่อยได้เรื่อง หากเป็นเรื่องแก้ปัญหาน้ำท่วมในลุ่มน้ำทั่วประเทศ น้ำอุทกภัยเวลานี้ต้องกำหนดหลักยุทธศาสตร์ หลักคิด หลักทำ เรื่องน้ำอุทกภัย บริหารจัดการอุทกภัย ไม่ใช่แก้ปัญหาอุทกภัย ควรเป็นยุทธศาตร์จัดการปัญหาอุทกภัยมากกว่า ไม่ใช่แก้ปัญหาอุทกภัย ซึ่งปัญหาอุทกภัยแก้ไขไม่ได้ แต่ภัยที่เกิดขึ้นทั้งปัญหาน้ำมาก น้ำล้นตลิ่ง อุทกภัยที่คือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากน้ำมีปริมาณมาก ไม่สามารถบรรจุอยู่ในแม่น้ำได้ และล้นตลิ่ง จนเกิดเป็นอุทกภัย ถ้าเราจะทำยุทธศาตร์จัดการปัญหาอุทกภัยจะว่าอย่างไรบ้าง ซึ่งปัญหาอุทกภัยไม่สามารถแก้ไขได้
    เป้าหมายวัตถุประสงค์จะต้องให้คนสามารถอยู่ได้ในการเกิดอุทกภัย จะเป็นแบบไหนก็ได้เสนอไปแล้วหลายอย่างว่าการเกิดอุทกภัย หากจะบริการจัดการ ก็ต้องแยกเป็น 1.บริเวณไหน ย่านไหน ก็ควรจัดเป็นชุดการสู้ภัย ที่จะแยกเป็นยุทธศาตร์การสู้ภัย ซึ่งอยากจะขูให้คณะกรรมการชุดนี้มีความเข้าใจ เพราะแต่ละคนก็ไม่ได้คลุกคลีกับเรื่องน้ำมา ไม่มีความเข้าใจ แต่จะเข้าใจว่าจะทำอย่างไรหรือแก้ไขอย่างไร ไม่ให้มีเรื่องน้ำท่วมและการป้องกัน ซึ่งไม่อยากให้ใช้การป้องกัน เพราะจะไม่สามารถทำได้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการสร้างเขื่อน เพราะไม่มีสถานที่ที่จะดักน้ำทำได้แล้ว
    การเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา ก็ต้องพูดถึงหลักคิดหลักทำในการจัดการปัญหาอุทกภัยว่าจะทำอย่างไร เพราะตั้งแต่อดีตไม่มีหลักคิด และหลักทำก็ทำแบบมั่ว จึงต้องชูประเด็นหลักคิดหลักทำว่าจะจัดการปัญหาอุทกภัยอย่างไร ซึ่งการป้องกันอุทกภัยไม่ให้เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถทำได้ แต่จะอยู่ที่เรื่องว่าจะจัดการเมื่อเกิดภัยขึ้นแล้ว จึงอยากให้มีการรับฟัง
    หลักคิดก็อยากให้เข้าใจธรรมชาติของน้ำ ธรรมชาติของภูมิศาตร์ ภูมิประเทศ ปกติที่จะเกิดอุทกภัยก็จะเกิดฝนตก พายุเข้า ทางภาคเหนือของประเทศไทย แต่ไม่ใช่พายุที่ใหญ่ ซึ่งเข้าทางภาคเหนือช่วงต้นฤดูฝน ต้นเดือนกรกฎาคม จะทำความเข้าใจในด้านของภาคเหนือ ซึ่งเมื่อเกิดเรื่องเช่นนี้น้ำก็จะเทมาที่ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำยมก่อน โดยเรื่องภูมิศาตร์ของประเทศมีความสำคัญที่สุด แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน โดยเฉพาะแม่น้ำยม เมื่อเข้าพ้นจ.แพร่ ก็จะเข้าสู่ที่ราบลุ่ม หรือท้องกระทะสุโขทัยและพิษณุโลก เช่นที่ทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นท้องกระทะ แอ่งใหญ่เป็นแสนไร่ เป็นแก้มลิงธรรมชาติ ส่วนสายแม่น้ำน่าน จะมีจ.พิจิตร อ.โพธิ์ทะเล เป็นท้องกระทะเช่นกัน ไม่ต้องมีความสงสัยเลย การที่บอกว่าไม่ให้น้ำท่วม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก หรือ อ.สามง่าม จ.พิจิตร นั้นเป็นไปไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องรู้และทำความใจในหลักคิด
    ลักษณะน้ำท่วมขังในปัญหาอุทกภัยที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นนั้นเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้อย่าชูประเด็นอุทกภัยให้เสียเวลา เพราะน้ำจะท่วมที่ลุ่ม ที่ต่ำ คือการเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งจะจัดการปัญหาอย่างไร และสู้ไม่ไหว

    # การบริหารจัดการน้ำในปีนี้ถือว่าผิดพลาดมั้ย ?

    จัดการไม่ได้ แต่หากเข้าใจธรรมชาติแล้วจะจัดการสภาพความเป็นอยู่อย่างไรต่างหากที่ควรดการ เพราะฉะนั้นสิ่งที่รัฐบาลชูประเด็นต่างๆ ก่อนหน้านี้ทั้งบางระกำโมเดล หรือเรื่องอื่นนั้น เป็นเรื่องที่ผิด ซึ่งหากไม่เข้าใจหลักคิด สื่อออกมาก็ไม่ดี
    แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน เมื่อรวมกันที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ เป็นแม่เจ้าพระยา ซึ่งปากน้ำโพที่มีลักษณะเป็นช่องแคบ ทำให้น้ำล้นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีความจุประมาณ 3,500 ลบ.ม.ต่อวินาทีเท่านั้น หากเข้ามาตั้งแต่ 4,000 ลบ.ม.ต่อวินาที น้ำก็จะล้นตลิ่ง อีกทั้งเมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่อ่างทองและสิงห์บุรี นั้นจะมีลักษณะตีบ เล็ก รับน้ำได้ประมาณ 2,800 ลบ.มต่อวินาทีทำให้น้ำล้นตลิ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมเคยบอกแล้วว่า การเกิดอุทกภัย น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูก เกิดขึ้นง่ายและบ่อย ซึ่งเมื่อถึงจ.พระนครศรีอยุธยา แม่น้ำเจ้าพระยาก็จะรวมกับน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งทำให้น้ำล้นตลิ่งเป็นจำนวนมาก
    เพราะฉะนั้น การตั้งเป้าตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูจัดการน้ำนั้น รัฐบาลต้องการอะไร เช่น ยุทธศาสตร์ที่จะจัดการปัญหาอุทกภัยหรือการจัดการปัญหาอุทกภัยซึ่งต้องมีความ เข้าใจว่าป้องกันไม่ได้ 100 เปอร์เซ็น ซึ่งหากเข้าใจธรรมชาติน้ำล้นตลิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีฝนตกลงมาก ก็จะกระจายไปทั่ว ซึ่งปี 2554 นี้ทุ่งลพบุรี อ.บ้านหมี่ อ.ท่าวุ้ง อ.เมือง มีคันกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วม แต่น้ำล้นตลิ่งน้ำยกตัวขึ้นทำให้คันกั้นน้ำสู้ไม่ไหว เช่นเดียวกันกับที่จ.นครสวรรค์

    # แสดงว่าเขื่อนที่อยู่ทิศเหนือบริหารจัดการน้ำไม่ได้ ?

    เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตติ์ และการสร้างเขื่อนนั้นจะใช้ดักน้ำอุทกภัย และน้ำในเขื่อนจะแห้งต่ำสุดในเดือนมิถุนายน ซึ่งภาคเหนือยังไม่เข้าฤดูฝน เหลือน้อยที่สุดเดือนกรกฎาคม แล้วจะให้จะเขื่อนปล่อยน้ำเพื่อเก็บน้ำอุทกภัยนั้น มองว่าใครจะรู้อนาคตว่าจะเกิดอุทกภัย ซึ่งไม่มีใครทราบอนาคต

    # แล้วที่เขื่อนประกาศว่าน้ำจะเกินความจุแล้ว ก็ย่อมต้องพยากรณ์ได้ระดับหนึ่ง ?

    เขื่อนสิริกิตต์ ในเดือนกรกฎาคมน้ำยังไม่มาก แต่มีการดักน้ำไว้ เพื่อไม่ให้เกิดอุทกภัยในจ.อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก แต่พอจ.น่าน น้ำท่วม ซึ่ง เขื่อนปล่อยน้ำจำนวนหนึ่งและดักไว้จำนวนหนึ่งจึงไม่ผิด การจัดเก็บน้ำในเขื่อนจะมีเกณฑ์วัดอยู่แล้ว ซึ่งตัวเขื่อนในขณะนั้นอาจจะมีน้ำ 70 เปอร์เซ็น จะระบายน้ำก็ไม่ได้ เพราะเวลาเดียวกันนั้นน้ำด้านล่างเริ่มล้นตลิ่งแล้ว พอน้ำในเขื่อนเกือบเต็มและน้ำในทุ่งมีจำนวนมาก ซึ่งเป็นเรื่องสุดวิสัย และยังบวกน้ำท้ายเขื่อนก็มีจำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องของเขื่อน แต่เป็นเรื่องของน้ำทั้งหมดในลุ่มน้ำต่างๆ ที่ฝนตกเฉลี่ยแล้วเท่าๆกันทำให้น้ำล้นตลิ่ง

    # คนเลยสงสัยว่าเหตุใดเขื่อนไม่ทะยอยปล่อยไว้ แต่กลับอั้นไว้และปล่อยในครั้งเดียว ?

    ปล่อยไม่ได้ เพราะน้ำล้นตลิ่งท่วมพื้นที่ด้านล่างอยู่แล้ว จึงต้องทำหน้าที่อุ้มไว้ก่อน

    # การชะลอน้ำเพื่อรอให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางเกี่ยวข้าวได้ทัน เกี่ยวกับการบริหารน้ำในเขื่อนด้วยมั้ย ?

    มองแล้วเป็นการผูกประเด็นมากกว่า จะชะลอน้ำทำไม ซึ่งชะลอการปล่อยน้ำจากเขื่อน ทั้งเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิตต์ เพื่อรอให้เกษตรกรภาคกลางเก็บเกี่ยวข้าวได้นั้น เห็นว่าเขื่อนกับพื้นที่ภาคกลางมีระยะทางไกลมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องนี้ ไม่ทราบจะเกี่ยวข้องกันอย่างไร อย่าลืมว่าจะบริหารจัดการน้ำจุดใดจุดหนึ่ง ต้องคิดว่าน้ำใช้เวลาเดินทางหลายวัน และจะมาถึงโดยตรงได้อย่างไร เพราะน้ำจะกระจายไปหลายจุด ซึ่งไม่เกี่ยวกันและไม่ตรงประเด็น ไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องกันที่ไหน

    # รู้ปัญหาของน้ำแล้ว จะนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำอย่างไร ?

    อยากจะชวนกำหนดหลักคิดใหม่ว่าจะจัดการปัญหาอุกทกภัยอย่างไร ซึ่งแนวทางที่ 1 จะกำหนดบริเวณใดที่จะใช้ "ยุทธศาตร์สู้ภัย" ไม่ให้น้ำไปทำอันตรายในพื้นที่ปกป้อง เช่นเขตเศรษฐกิจ หรือศาลากลาง ก็มาคิดว่าสมควรจะปกป้องหรือไม่ ซึ่งอาจจะมีคันกั้นน้ำปกป้องพื้นที่ มีการสูบน้ำ ให้ชัดเจน ไม่ใช่สู้กันแบบกระสอบทราย ซึ่งต้องกำหนด อาจจะเป็นหมู่บ้านก็ได้ ซึ่งเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ของพื้นที่ โดยการกำหนดยุทธศาตร์สู้ภัยก็จะเป็นหลักคิด โดยการคิดของนักเทคนิค นักการเมืองไม่ควรยุ่งกี่ยว การสู้ภัยนั้นก็ต้องมีทางน้ำให้น้ำมีทางไป การตั้งป้อมสู้อย่างเดียวนั้น สู้ไม่ไหว
    ขณะเดียวกันฝั่งธนบุรีนั้นไม่มีทางไหลของน้ำ รวมทั้งคลองแนวดิ่ง ก็ไม่มี แต่กลับกันมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ รวมทั้งคลองต่างๆ ที่เป็นคลองชลประทาน ก็เป็นคลองแนวขวาง ซึ่งหากเข้าใจธรรมชาติและจะสู้กับน้ำก็ต้องหาทางให้น้ำไป โดยพื้นที่น้ำท่วมก็ควรซื้อกลับ หรือเวนคืน เพื่อให้เป็นทางของน้ำ ซึ่งเป็นหลักคิดว่าจะเอาอย่างไร และการเตือนภัยก็ไม่ต้องเตือน แต่หากยังเป็นอยู่อย่างนี้ น้ำก็จะยังท่วมกรุงเทพมหานคร ซึ่งการสู้ภัยก็ต้องกำหนดเขตให้ชัดเจน ซึ่งหากพื้นที่ใดไม่สู้ ก็ต้องใช้ยุทธศาตร์ปรับตัวให้อยู่ได้กับสภาพที่เป็นอยู่ จะท่วมมากหรือท่วมน้อยก็อยู่ได้ โดยเฉพาะบรรดาทุ่งต่างๆ ในภาคกลาง
    ยุทธศาสตร์ที่สองก็คือ ยุทธศาสตร์การปรับตัวให้สอดคล้องอยู่กับธรรมชาติ ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อน โดยเฉพาะเรื่องการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน อย่าอยู่กันแบบตามใจชอบอีก ควรพัฒนาจัดการให้อยู่ได้อย่างมีความสุข พยายามให้องค์ความรู้กับประชาชน โดยยุทธศาตร์การปรับตัว เช่น ให้เริ่มทำนาหลังน้ำลด โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตชลประทานซึ่งบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางเกือบทั้งหมดอยู่ ในเขตชลประทานยอยู่แล้ว ซึ่งจะมีน้ำสนับสนุนอย่างแน่นอนและมีระยะเวลาทำ 10 เดือน ปลูกข้าวได้ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นประชาชนอยู่ในเขตชลประทาน และหากน้ำมาก็จะอยู่ได้

    # หากรัฐบาลไม่ริเริ่มบอกประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมว่าต้องปรับตัว ยุทธศาสตร์นี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ?

    ก็ต้องทำความเข้าใจกัน โดยเริ่มทำตัวอย่างโซนหรือ 2 โซน โดยมีหน่วยงานรัฐเป็นแม่งาน ทีนี้เมื่อมียุทธศาตร์สู้ภัยแล้ว ปรับตัวแล้ว ก็จะต้องมียุทธศาตร์หนีภัยด้วย โดยให้ประชาชนย้ายที่อยู่ให้ห่างจากลำธาร ลำห้วย รางน้ำ ด้วย เพราะมีบ้านประชาชนปลูกบ้านระเกะระกะ ที่สูงบ้าง ที่ลุ่มบ้าง ซึ่งการย้ายไปอยู่ที่สูงก็เพื่อป้องกันน้ำหลาก ยกตัวอย่างที่บ้านน้ำปาด อันนี้สู้ก็ไม่ได้ ปรับตัวก็ไม่ได้ ต้องหนี คือหนีไปจากที่อยู่เดิมซึ่งเป็นที่ต่ำ เขยิบออกไปให้ห่างขึ้นจากแนวทางน้ำที่ไหลจากเขาลงมา แล้วก็จัดระเบียบให้เรียบร้อย จะให้ปลูกระเกะระกะแบบเดิมไม่ได้ ส่วนพื้นที่ลุ่มก็จัดเป็นพื้นที่การเกษตรที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

    # ทั้งหมดดูเหมือนจะเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง คณะกรรมการชุดนี้จะทำไหวหรือ ?

    มองดุแล้วมันเป็นงานด่วน ลักษณะงานเข้มข้น ก็อยากจะได้องค์กรพิเศษที่เป็นองค์กรทางราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือจะมอบให้ใครก็ว่ากันไป แต่หากตั้งกระทรวงน้ำขึ้นมาใหม่ ผมก็เกรงว่ามันก็จะกลายเป็นกระทรวงน้ำเน่าไปอีก ซึ่งที่ผ่านไม่มีหลักคิด และหากไม่มีการปฏิรูปก็จะสำเร็จยาก

    ....................
    (สัมภาษณ์ พิเศษ : 'ปราโมทย์ ไม้กลัด' ดัน 3 ยุทธศาสตร์จัดการน้ำ : 'สู้ภัย-ปรับตัว-หนีภัย' : โดย 'เตชะวัฒน์ สุขรักษ์' สำนักข่าวเนชั่น)

    -http://www.komchadluek.net


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1760403/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. nickybamby

    nickybamby เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    216
    ค่าพลัง:
    +174
    ขอบคุณครับ

    แต่เนื้อข่าวยาวล้นจอ อ่านจบหลงบรรทัดซะงั้น:'(
     
  3. hi5

    hi5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +701
    ภัยพิบัติ เกิดจาก..สังคมไทย เป็นสังคม ที่ประมาท.. สังคมไทย ละเลย ภูมิหลัง ประวัติศาสตร์ ..ประเทศไทย ควรมี เกษตรกรรม เป็นฐาน.. อุตสาหกรรม เป็นตัวเสริม ..การเมือง ที่มี พรรคการเมือง ไม่ใช่ คำตอบ ของ สังคมไทย.. พรรคการเมืองทั้ง ๒ ขั้ว คือต้นเหตุทำประเทศฉิบหาย ..หรือไม่ก็หายนะ เพราะแท้จริงแล้ว พรรคการเมืองทั้ง ๒ ขั้ว.. ต่างแย่งซีนกัน ทำงานสนองนโยบาย new world order - corporate world อันเป็นความสำคัญลำดับแรก [ame="http://www.youtube.com/watch?v=BAHzKA0StwA&feature=related"]http://www.youtube.com/wat<wbr>ch?v=BAHzKA0StwA&feature=r<wbr>elated[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2011
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  5. Putra-Jit

    Putra-Jit สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +7
    ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่าย ร่วมมือร่วมใจแก้ไขปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ให้ผ่านไปได้ด้วยดีนะคะ

    เชื่อว่าในเมืองไทยยังมีคนเก่งและมีความสามารถไม่แพ้ประเทศอื่น ยังอยากเห็นเมืองไทยมีเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี ยังหวังว่ามีวันนั้นคะ
     
  6. นริส

    นริส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2011
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +4
    พวกที่มือไม่พาย(มีแต่วิจารณ์)แต่เสือกเอาเท้าราน้ำมีมากในประเทศนี้ แต่นักปฏิบัติไม่มี เบื่อๆๆ
     
  7. นริส

    นริส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2011
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +4
    โดยเฉพาะนักวิชาการ รู้หมดส้มตำปรุงอย่างไร แต่พอตัวเองลงมือตำ กลับกินไม่ได้
     
  8. เฮียเครียด

    เฮียเครียด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2011
    โพสต์:
    877
    ค่าพลัง:
    +332
    ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่าย ร่วมมือร่วมใจแก้ไขปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ให้ผ่านไปได้ด้วยดีน่ะครับ...................
    แสดงความคิดอะไรไปมันก็ไม่ดีเสมอไป .............
     
  9. Yanky1890

    Yanky1890 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +234
    [​IMG]

    กด Like ไม่ทัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. hi5

    hi5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +701
    แนะสร้างโครงข่ายทางด่วนน้ำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2011
  11. hi5

    hi5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +701
    ฟังให้ดี! นายกฯใหม่อิตาลีด่านักการเมือง 'รกโลก' ไม่ทำประโยชน์ให้บ้านเมือง.. "นักการเมือง" เป็น "บุคคลที่มีประโยชน์น้อยที่<wbr>สุด" ต่อ ประเทศ ในยามที่ประเทศวิกฤต ดังนั้น ครม.อิตาลี ไม่มี นักการเมือง แม้แต่รายเดียว http://www.thairath.co.th/content/oversea/217300 ข่าวไทยรัฐออน.. อีกไม่นาน คงถึงคิว ประเทศไทยบ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...