เมื่อหลวงปู่ขาวถึงที่สุดแห่งทุกข์

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 31 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [​IMG]


    " หลวงปู่ก็ได้เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วหลายสิบปี หลวงปู่เล่าให้ฟังอย่างละเอียดติดต่อกัน เหมือนกับว่าประสบการณ์นั้นเพิ่งเกิดขึ้นเพียง ๒ - ๓ วันนี้เอง กิริยาท่าทางการแสดงออก หลวงปู่จำได้อย่างแม่นยำทีเดียว หลวงปู่เล่าถึงเหตุที่ทำให้เกิดปัญญาในครั้งนั้นว่า



    ในบ่ายวันหนึ่ง ได้ลงไปสรงน้ำที่เชิงดอย เป็นเวลาที่ชาวนากำลังเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อมองดูทุ่งนา ก็ล้วนแต่มีข้าวแก่เหลืองเต็มไปหมด ในตอนนั้นน้ำก็ยังไม่ได้สรง ในขณะที่ดูข้าวในนาเขาอยู่นั้น มีความคิดเกิดขึ้นที่ใจว่า เมล็ดข้าวนี้เกิดมาจากอะไร มีอะไรเป็นเหตุให้เมล็ดข้าวเกิดขึ้น



    ก็คิดตอบทันทีว่า เมล็ดข้าวเกิดขึ้นจากเมล็ดข้าวเอง เพราะเมล็ดข้าวนั้นมีเชื้อพาให้เกิด เมื่อคนเอาเมล็ดข้าวที่มีเชื้อนั้นไปหว่านลงบนพื้นดิน เชื้อของเมล็ดข้าวนั้นก็เริ่มแตกตุ่มออกมาจากเมล็ดข้าวนั้น ทีแรกก็เป็นตุ่มขาว ๆ เล็ก ๆ มีรากหยั่งลงไปในพื้นดิน แล้วดูดเอาปุ๋ยต่าง ๆ จากพื้นดินมาเป็นอาหาร ต่อมาก็มีต้นข้าวเล็ก ๆ งอกออกมาจากเมล็ดข้าวนั้น หลายวันต่อมาก็งอกงามเหมือนกับต้นหญ้า เมื่อได้ประมาณ ๑ เดือน เขาก็ถอนขึ้นมา แยกออกไปปลูกในพื้นดินอีก ต้นข้าวก็ใหญ่ขึ้นแก่ขึ้น เมื่อโตเต็มที่แล้วก็ออกรวงเป็นเมล็ดข้าวเปลือกอ่อน ๆ จากนั้นเมล็ดข้าวเปลือกอ่อน ๆ ก็แก่ขึ้น มีเมล็ดข้าวสารเกิดขึ้นในเมล็ดข้าวเปลือกนั้น และมีเชื้อติดอยู่กับหัวเมล็ดข้าว เมื่อแก่แล้ว ชาวนาก็จะเก็บเอาเมล็ดข้าวที่มีเชื้อนั้นไว้ เพื่อจะไว้ใช้ทำพันธุ์ต่อไป เมล็ดข้าวที่จะได้เกิดขึ้นมาใหม่ ก็เหมือนกันกับเมล็ดข้าวเก่านี่เอง


    หลวงปู่อธิบายต่อไปว่า


    เมล็ดข้าวที่มีเชื้ออยู่นี้ เมื่อไปตกอยู่กับพื้นดินที่ชุ่มเมื่อไรก็จะเกิดเป็นต้นขึ้นมาอีก แต่ถ้าแกะเอาเปลือกนอกมันออกทิ้งไป แล้วใช้เล็บมือแกะเอาหัวเชื้อที่เมล็ดข้าวออกทิ้งไปเสีย เมล็ดข้าวที่เหลือถึงจะเอาไปหว่านลงในพื้นดินที่ชุ่มไปด้วยน้ำและปุ๋ย เมล็ดข้าวนั้นก็จะไม่เกิดเป็นต้นขึ้นมาอีกเลย หรือเอาเมล็ดข้าวเปลือกนั้นไปคั่วด้วยไฟให้ร้อนไหม้ เมื่อนำมาหว่านบนพื้นดินก็จะไม่เกิดอีกเช่นกัน เพราะเชื้อในเมล็ดข้าวนั้นได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว จึงหมดเหตุหมดปัจจัยที่จะทำให้เมล็ดข้าวเกิดขึ้นมาได้อีก



    เมื่อพิจารณาเมล็ดข้าวเสร็จแล้วก็ โอปนยิโก น้อมเอาเมล็ดข้าวนั้นเข้ามาหากาย และน้อมเข้ามาหาใจ แล้วใช้ปัญญาพิจารณาต่อไปว่า ต้นข้าวทั้งหมดเหมือนกันกับร่างกายเรา เมล็ดข้าวนั้นเหมือนกันกับใจเรา เชื้ออยู่ในหัวเมล็ดข้าวนั้นเหมือนกันกับกิเลส ตัณหา อวิชชา การใช้เล็บมือแกะหัวเชื้อที่อยู่ในเมล็ดข้าวทิ้งไป ก็เหมือนกันกับได้ใช้สติปัญญากำจัดกิเลส ตัณหา อวิชชา ออกจากใจได้แล้ว ถ้าใจไม่มีเชื้อที่จะพาให้เกิดเป็นภพเป็นชาติอีก ร่างกายนี้จะมีมาจากที่ไหน ฉะนั้น เรื่องของใจและเรื่องกิเลส ตัณหา อวิชชา ที่มีอยู่ในใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องกำจัดให้หมดไปในชาตินี้ให้ได้ เพื่อจะไม่ให้ภพชาติของเรายืดเยื้อในการไปเกิดใหม่อีกต่อไป



    ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ในช่วงที่หลวงปู่เอาเมล็ดข้าวมาพิจารณาด้วยปัญญานี้เอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวิปัสสนาญาณที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ถ้าดูเพียงผิวเผินก็เหมือนกับใช้ความคิดพิจารณาธรรมดา ไม่แตกต่างกันกับความคิดพิจารณาของนักปฏิบัติทั่ว ๆ ไป แต่มีอีกอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนกัน นั่นคือ กำลังของใจ กำลังของสติ กำลังของปัญญา และกำลังบารมี ที่มาบรรจบกันพอดี เรียกว่า บารมีที่อบรมสะสมมาแล้วในอดีตชาติทั้งหมด และบารมีที่หลวงปู่ได้ภาวนาปฏิบัติ สะสมอินทรีย์ที่แก่กล้ามาในชาตินี้ ตลอดทั้งกำลังความเพียรอื่นใดที่หลวงปู่ได้บำเพ็ญมาแล้วทั้งอดีตและ ปัจจุบัน เมื่อรวมตัวกันได้แล้วจึงได้เกิดกำลังขึ้น เรียกว่า กำลังของวิปัสสนาญาณ นั่นเอง กำลังของวิปัสสนาญาณนี้จะประหารกิเลส ตัณหา อวิชชา ให้หมดไปจากใจทันที เพราะกำลังของวิปัสสนาญาณนี้ เหนือกว่ากำลังของกิเลสตัณหาทั้งปวง กำลังของวิปัสสนาญาณนี้เอง จึงเป็นจุดเด่นเฉพาะตัวของผู้ที่จะได้บรรลุธรรม


    หลังจากนั้น หลวงปู่ก็ได้สรงน้ำ และใช้กระบอกไม้ไผ่ตักเอาน้ำสะพายกลับมากุฏิทันที ในระหว่างที่เดินกลับนี้ หลวงปู่ก็ใช้อิริยาบถเดินจงกรม โดยใช้ปัญญาพิจารณาในสัจธรรมอยู่ตลอด ปัญญานี้จะมีความต่อเนื่องกันจากเมล็ดข้าวดังที่ได้อธิบายมาแล้ว เพื่อเป็นอุบายสอนใจอยู่ตลอดเวลา พิจารณาด้วยปัญญาประกอบเหตุผลให้เป็นไปตามความเป็นจริง ให้ใจได้เห็นทุกข์ โทษ ภัย ในชาติ คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าไม่มีอะไรเป็นของของเราอยู่ตลอดเวลา ปัญญาที่นำอุบายธรรมมาสอนใจนั้นห้าวหาญเด็ดเดี่ยวมาก จะพิจารณาเรื่องใดก็รู้เห็นชัดเจนไปทั้งหมด อุบายปัญญาที่นำมาพิจารณานั้นก็เป็นอุบายเก่า ๆ ที่เคยใช้มาแล้วทั้งหมด แต่ก่อนพิจารณาไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะใจยังไม่ยอมรับความจริงในสิ่งนั้น ๆ แต่เมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นที่ใจได้แล้ว ก็จะประหารกิเลสตัณหาอวิชชาที่มีอยู่ในใจให้หมดไป



    นั่นคือ ใจยอมรับตามความเป็นจริงทั้งหมด จะรู้เห็นในความเกิด แก่ เจ็บ และตาย ว่าเป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นภัย ที่น่ากลัวไปเสียทั้งหมด ชาติคือ ความเกิดในอดีตที่ผ่านมา ก็มีแต่ทุกข์ โทษ ภัย ในชาติปัจจุบันนี้ก็มีแต่ทุกข์ โทษ ภัย เต็มอยู่ในกายในใจทั้งหมด อนาคตที่จะไปเกิดในภพชาติต่อไป ก็จะมีแต่ทุกข์ โทษ ภัย เหมือนในชาติปัจจุบันนี้เอง ใจจึงมีความกลัวในการเกิดเป็นอย่างยิ่ง และเบื่อหน่ายในธาตุขันธ์ที่จะไปเกิดเอาภพชาติอีกต่อไป



    ในตอนเย็นวันนั้น หลวงปู่เดินจงกรมใช้ปัญญาพิจารณาอยู่ตลอด เมื่อค่ำมืดหลวงปู่ก็ขึ้นไปภาวนาที่กุฏิต่อไป หลวงปู่เล่าว่า การขึ้นไปภาวนาที่กุฏินั้นใช้อุบายในการทำสมาธิ เมื่อใช้สติกำหนดจิตนิดเดียวเท่านั้น ก็ลงสู่ความสงบเต็มที่ หลวงปู่ว่า นับแต่ปฏิบัติภาวนามาหลายปี เพิ่งรู้จักจิตสงบเป็นสมาธิในครั้งนี้เอง แต่ก่อนจิตมีความสงบเหมือนกับสายฟ้าแลบแวบเดียวก็ถอนออกมา แล้วจึงใช้ปัญญาพิจารณาด้วยอุบายธรรมต่าง ๆ ตลอด แต่บัดนี้ จิตมีความสงบหนักแน่นแน่วแน่มาก



    หลวงปู่จำคำสอนของหลวงปู่มั่นที่สอนไว้ว่า


    ขาว ถ้าจิตมีความสงบถึงฐานของสมาธิแล้ว อย่าไปบังคับให้ถอนนะ ปล่อยให้อยู่ใน ความสงบนั้นไป จนจิตได้มีความอิ่มตัวในสมาธินั้น ๆ ได้เวลาแล้วจิตก็จะถอนออกมาเอง เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว ก็ให้ใช้ปัญญาพิจารณาต่อไป



    ในคืนนั้น หลวงปู่ข่าวได้ปฏิบัติตามโอวาทของหลวงปู่มั่นได้เป็นอย่างดี ในที่สุด หลวงปู่ขาวก็ได้ตัดกระแสวัฏจักรให้ขาดไปจากใจในคืนนั้นเอง ฉะนั้น วิปัสสนาญาณจึงเป็นญาณที่คมกล้า เป็นญาณที่มีกำลัง เป็นญาณที่เกิดขึ้นเพื่อตัดกระแสของกิเลส ตัณหา อวิชชา โดยตรง เมื่อตัดกระแสของอาสวะกิเลสทั้งปวงหมดไปจากใจแล้ว วิปัสสนาญาณก็สลายไป ไม่ได้ตั้งอยู่นาน และไม่มีวิปัสสนาญาณใดเกิดขึ้นมาอีกเป็นรอบสอง เพราะไม่มีกิเลส ตัณหา อวิชชา เหลืออยู่ภายในใจอีกแล้ว



    หลวงปู่ขาวพูดว่า


    ในเวลาจวนจะสว่างของคืนนั้น กิเลส ตัณหา อวิชชา ที่เป็นเจ้าครองหัวใจมานาน กับวิปัสสนาญาณที่เกิดมาต่อสู้กันนั้น ถือว่าเป็นมหาสงครามเลยทีเดียว กิเลส ตัณหา อวิชชา ก็มีความเหนียวแน่นไม่ยอมหลุดออกไปจากใจ และเกาะยึดติดที่ใจเอาไว้ไม่ยอมปล่อยวาง แต่ก็ทนต่อกำลังของวิปัสสนาญาณไม่ไหว วิปัสสนาญาณจึงได้ฆ่ากิเลสให้ตายคายกิเลสออก สำรอกให้กิเลสหลุด จิตก็เข้าถึงวิมุตินิพพานในคืนนั้นแล เป็นอันว่าสงครามระหว่างกิเลสตัณหากับสติปัญญาที่ห้ำหั่นกันมาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ก็ได้สิ้นสุดลงในเวลาจวนสว่างของคืนนั้นเอง



    หลังจากที่สนทนากับหลวงปู่จนได้เวลาอันสมควร ก็ต้องลาหลวงปู่กลับไปกุฏิ หลวงปู่ได้สั่งว่า


    คืนต่อไปมาคุยธรรมะกันอีกนะ คุยกันยังไม่จบ นับแต่เฮารู้ธรรมมานี่ก็หลายปี ยังไม่เคยสนทนาธรรมกับใครยาวถึงขนาดนี้ เพราะไม่รู้ว่าจะพูดให้ใครฟัง เพราะไม่รู้ภาษากัน


    หลวงปู่พูดว่า ในครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เคยได้พูดเรื่องธรรมกับอาจารย์มหาบัว แต่ก็ไม่ได้พูดกันนานเพราะไปในงานกิจนิมนต์ด้วยกัน จากนั้นมาก็เพิ่งมีท่านนี่แหละ พาให้ผมได้พูดธรรมะอีก"


    http://www.dharma-gateway.com/monk-preach-index-page.htm
     
  2. นวกะ36

    นวกะ36 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +2,997
    ขอกราบนมัสการองค์หลวงปู่ขาวด้วยเศียรเกล้า สา...ธุ สา...ธุ สา...ธุ
     
  3. Nok Nok

    Nok Nok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +3,297
    [​IMG] กราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ ^_^
     
  4. su37berkut

    su37berkut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    422
    ค่าพลัง:
    +1,121
    ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ...

    พุทธะ เมตตัง จิตตะ มามะ พุทธะ พุทธานุภาเวนะ
    ธรรมะ เมตตัง จิตตะ มามะ ธรรมะ ธรรมานุภาเวนะ
    สังฆัง เมตตัง จิตตะ มามะ สังฆะ สังฆานุภาเวนะ

    คาถาของหลวงปู่ขาว ติดไว้ที่กุฎิของหลวงปู่
    วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู...
     
  5. runcnx

    runcnx Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2008
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +47
    เป็นบุญแล้วครับที่ได้รับธรรมจากหลวงปู่ขาว พระอรหันต์สาวกแห่งพระพุทธเจ้า
    ขอนุโมทนาในการเผยแผ่ธรรมในครั้งนี้
     
  6. ป่ากุง

    ป่ากุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +784
    ......น้อมกราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้า
     
  7. tong5959

    tong5959 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    2,056
    ค่าพลัง:
    +6,082
    [​IMG]
     
  8. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เว็บทางนิพพาน
    เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p</O:p

    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา


    [​IMG]</O:p>
     
  9. พอชูเดช

    พอชูเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,276
    ค่าพลัง:
    +4,339
    สาธุครับ

    -มหาโมทนากับกุศลจิตทุกท่าน ขอให้สำเร็จตามที่ปรารถนาครับ

    สาธุ
     
  10. somkiatdhana

    somkiatdhana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +619
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิครับ
    -----------------------------------
    พุทธวจน สุภาษิต( คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ) โดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตถิผโล วัดนาป่าพง ถ.ลำลูกกา คลอง 10 จ.ปทุมธานี

    1 “ เธอย่อมยุบ - ย่อมไม่ก่อ ; ย่อมขว้างทิ้ง – ย่อมไม่ถือเอา ; ย่อมทำให้กระจัดกระจาย - ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ; ย่อมทำให้มอด - ย่อมไม่ทำให้โพลง ซึ่งขันธ์ทั้งห้า ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    2 “ ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ; ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น ”<O:p</O:p
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕ (อ/๖๘๓)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    3 “ ไม่มั่นหมายซึ่งสิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมายในสิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมายโดยความเป็นสิ่งทั้งปวงไม่มั่นหมายสิ่งทั้งปวง ว่าของเรา.”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    4 “ อารมณ์อันเกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต) เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน) ; แต่มีสิ่งโน้นซึ่งระงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    5 “ เมื่อเห็นสิ่งทั้งปวงถูกต้องตามเป็นจริง ว่าเป็นเพียงการเกิดขึ้นของธรรมชาติล้วน ๆ ว่าเป็นเพียงการสืบเนื่องกันเป็นสาย ของสิ่งที่มีปัจจัยปรุงต่อ ๆ กันมาล้วน ๆ , แล้วความกลัวย่อมไม่มี “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    6 “ เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นกายอย่างหนึ่ง ๆ ในบรรดากายทั้งหลาย “ อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕/๒๘๙ (อ/๑๑๙๘)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    7 “ บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัยในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้วควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน “ อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๗/๖๕๙ (อ/๑๑)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    8 “ เราย่อมกล่าวว่า การทำในใจเป็นอย่างดี ถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่านั่นเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ๆ ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย “ อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕/๒๘๙ (อ/๑๑๙๙)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    9 “ เราไม่กล่าวว่าอานาปานสติเป็นสิ่งที่มีได้ แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    10 “ เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อรักษาตน ก็เป็นการรักษาผู้อื่น : เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อรักษาผู้อื่นก็เป็นการรักษาตนด้วย “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    11 “ สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี, สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    12 “ ผู้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งคาถาแม้เพียงสี่บท แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นแหละควรจะเรียกว่า เป็น พหุสูตผู้ทรงธรรม “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    13 “ สมถะเมื่ออบรมแล้ว … จิตจะเจริญ. จิตเจริญแล้ว … จะ ละราคะได้. วิปัสสนาเมื่อเจริญแล้ว … ปัญญาจะเจริญ. ปัญญาเจริญแล้วจะ ละอวิชชาได้ “ ทุก.อํ ๒๐/๗๗/๒๕๗<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    14 “ เราขอกล่าวกะเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษสุดท้ายของเราเลย “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    15 “ บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์, และย่อมทำประโยชน์ตนอันใหญ่หลวงให้เสื่อมสิ้น “<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    16 “ ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข , สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย เป็นอยู่ด้วย , และย่อมทำประโยชน์ตนอันใหญ่หลวงให้บริบูรณ์ด้วย “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    17 “ พวกเธอทั้งหลาย พึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่ได้เข้าถึง เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เถิด. “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    18 “ จงมาเถิด บุรุษผู้เป็นวิญญูชน ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีสัญชาติแห่งคนตรง, เราพร่ำสอนอยู่, แสดงธรรมอยู่, เธอปฏิบัติตามอยู่อย่างที่เราสอน ก็จักทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ( คืออรหัตตผล ) อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่าได้ต่อการไม่นาน “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    19 “ สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งเหล่านั้นอันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    20 “ นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง. พวกเธอจงเพียรเผากิเลส. อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. “<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    21 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    22 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    23 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความไ่ม่เที่ยง หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    24 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความจางคลาย หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    25 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความดับไม่เหลือ หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    26 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า … หายใจออก ”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    27 ถ้าเธอหวังว่า ความครุ่นคิดอันเกี่ยวข้องไป ทางเหย้าเรือนของเรา จงหายไปอย่างหมดสิ้น ดังนี้แล้ว ; เธอนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    28 “ ผู้เป็นธรรมวาที ย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกับใคร ๆ ในโลก “<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๖๙/๒๓๙ (พ/๒๘๕)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p
    29 เมื่อใดเห็นด้วยปัญญา ว่า “ โลกนี้ไม่มีค่าอะไรมากไปกว่า เศษหญ้าเศษไม้ , เมื่อนั้นเขาย่อมไม่ปรารถนาสิ่งใด ๆ นอกจาก สิ่งที่ไม่มีการเกิดใหม่อีกต่อไป “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    30 “ บุคคล...ไม่ควรที่จะตายก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล “<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    31 “ บุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “ นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา “ อ/๙๘๑<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    32 “ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ , สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา , สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    33 “ เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งตา …หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิ ย่อมละไป “ อ/๙๗๘<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    34 “ ความเป็นปฏิกูลในผัสสะ ย่อมปรากฎ แก่บุคคลผู้ตามเห็นอยู่ซึ่งความไม่เที่ยงใน ผัสสายตนะหก “ ปญฺจก.อํ. ๒๒/๓๒/๓๐. (อ/๙๙๖)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    35 “ สมาธิที่ได้ในขณะแห่งการเดิน ย่อมตั้งอยู่ได้นาน “ - ปฌจก อ ๒๒/๓๑/๒๙<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    36 “ ความเกิดแล้วเกิดอีกเป็นอเนกชาติ . ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไปทุกชาติ.”<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    37 “ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตนและท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    38 “ ท่านจะพึงรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้ ก็ต่อเมื่อท่านละความเพลิดเพลินและความกำหนัด ในอุปาทานนักขันธ์ทั้งห้าเสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุของท่าน "<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    39 “ พวกเธอทั้งหลาย เมื่อฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียวอยู่จักรู้สึกความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย มีความเบากายกระปรี้กระเปร่ามีกำลัง และมีความผาสุกด้วย “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    40 เธอก็เดินด้วยการตั้งจิตว่า “ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคือ อภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้เดินอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ “ อุปริ. ม. ๑๔/๒๓๖/๓๔๗<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    41 “ ในกาลก่อนก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม เราบัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น “ . มู.ม. ๑๒/๒๗๘/๒๘๖ (พ/๒๘๗)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    42 “ เรากล่าววิญญาณ ว่าเป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม ( สิ่งที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น ) “<O:p</O:p
    มู.ม. ๑๒/๔๗๕/๔๔๒ (อ/๑๐๐๗)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    43 “ สิ่งที่เรียกกันว่า " จิต " ก็ดี " มโน " ก็ดี ว่า " วิญญาณ " ก็ดี นั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน. “ นิทาน.สํ. ๑๖/๑๑๕/๒๓๒. (อ/๑๐๑๕)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    44 “ บุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย “<O:p</O:p
    นิทาน.สํ. ๑๖/๑๑๖/๒๓๑. (อ/๑๐๑๕)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    45 “กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคล เหล่าอื่น “ <O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    46 “ มาเถิด , แม้พวกเธอทั้งหลาย ก็จงฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว ( คือ ฉันหนเดียวลุกขึ้นแล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น ) “ <O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    47 “ เพราะสิ่งนี้มี , สิ่งนี้จึงมี ; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ , สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี , สิ่งนี้จึงไม่มี ; เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ , สิ่งนี้จึงดับไป “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    48 “ สิ่งใด ที่เป็นอนัตตา พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ “ <O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    49 “ เหตุเกิดของเวทนา เป็นทางดำเนินไปสู่ ตัณหา อต้น “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    50 “ ความดับแห่งทุกข์ย่อมมี เพราะความดับแห่งนันทิ “ <O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    51 “ ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ; ข้อนี้เป็นความเจริญในอริยวินัยของผู้นั้น “<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    52 “ ความพอใจในการสมาทานการปฎิบัติ ในศีลอันยิ่ง ของเธอต้องเข้มงวดเสมอ “<O:p</O:p
    ติก. อํ. ๒๐/๒๙๔/๕๒๑ (ข/๒๑๒)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    53 “ ความพอใจในการสมาทานการปฎิบัติ ในจิตอันยิ่ง ของเธอต้องเข้มงวดเสมอ “ <O:p</O:p
    ติก. อํ. ๒๐/๒๙๔/๕๒๑ (ข/๒๑๒)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    54 “ ความพอใจในการสมาทานการปฎิบัติ ในปัญญาอันยิ่ง ของเธอต้องเข้มงวดเสมอ “ <O:p</O:p
    ติก. อํ. ๒๐/๒๙๔/๕๒๑ (ข/๒๑๒)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    55 “ ความหวั่นไหว ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว “ <O:p</O:p
    อุ.ขุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑ (ป/๖๕๙)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    56 “ กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้เพียงตั้งไว้เนือง ๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี “ สฬา. สํ ๑๘/๒๔๘/๓๕๐ (อ/๑๒๓๖)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    57 “ ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ “ มหา.สํ. ๑๙/๓๙๙/๑๓๒๒ (อ/๑๒๕๘)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    58 “ หนัง เอ็น กระดูกจักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใดอันบุคคลจะลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษ หากยังไม่บรรลุถึงประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรนั้นเสีย เป็นไม่มีเลย “ ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑ (พ/๑๑๒)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    59 “ ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง, ความสันโดษ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง, ความคุ้นเคยกันเป็นญาติอย่างยิ่ง, นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง ” ธ. ขุ ๒๕/๔๒/๒๕ (อ/๔๗๐)<O:p</O:p
    <O:p> </O:p>
    60 “ เมื่อใด ‘เธอ’ ไม่มี; เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้, ไม่ปรากฏในโลกอื่น, ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั้นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ละ ” อุ. ขุ. ๒๕/๘๓/๔๙ (อ/๔๔๑)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 เมษายน 2010
  11. ahantharik

    ahantharik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,595
    ค่าพลัง:
    +6,346
    พระคุณเจ้าหลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งสำนักวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู ได้ชื่อว่าเป็นเพชรน้ำเอก และเป็นศิษย์ต้นแห่งวงพระกรรมฐานสายพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต

    ท่านเป็นพระธุดงค์กรรมฐานที่มีจิตใจแข็งแกร่ง เด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น มีเมตตาธรรมเป็นเลิศ มีปัญญาธรรมที่เฉียบคม และเป็นพระอริยะเจ้าที่ทรงคุณธรรมอันบริสุทธิ์ดุจดังเพชรเม็ดงามประดับไว้ในพระพุทธศาสนา ที่หาจุดตำหนิหรือรอยมัวหมองไม่มี นับตั้งแต่ท่านสละเพศฆารวาส ออกบวช ตราบจนวาระสุดท้ายในชีวิต ท่านละสังขารทิ้งในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เมื่อท่านอายุได้ ๙๖ ปี

    หลวงปู่มั่น เคยเปิดเผยกับศิษย์ใกล้ชิดว่า หลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นศิษย์หนึ่งในจำนวนสององค์ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นกิเลส เข้าสู่สอุปาทิเสสนิพพาน ที่บ้านโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ในช่วงหลวงปู่มั่นยังดำรงขันธ์อยู่ แล้วเดินทางกลับไปโปรดลูกศิษย์ในภาคอีสาน ใช้ชีวิตพระธุดงค์อยู่ตามป่าเขา แสวงความวิเวกโปรดญาติโยมในภาคอีสานตอนบน แถบจังหวัดสกลนคร หนองคาย อุดรธานี และฝั่งประทศลาวอยู่หลายปี

    หลวงปู่ขาว ธุดงค์ตามสันเขาภูพานมาถึงถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ในสมัยนั้น) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้ก่อตั้งวัดถ้ำกลองเพลขึ้น พัฒนามาจนเป็นวัดกรรมฐานที่สำคัญ และท่านก็ได้พำนักประจำที่วัดแห่งนี้จนสิ้นอายุขัย
     
  12. กังหันลม

    กังหันลม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +693
    ขอเราทั้งหลายจงได้รู้ส่วนแห่งธรรมอันพระมหาเถระนั้นรู้แล้วเถิด

    กราบอนุโมทนาครับ
     
  13. Felixkku

    Felixkku Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +32
    สาธุ สาธุ สาธุ

    ธรรมนี้ หลวงปู่สนทนากับใครครับ
     
  14. isme404

    isme404 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +301
    ขอกราบนอบน้อมพระอริยสงฆ์ด้วยจิตอันบริสุทธิ์...สาธุ..
     
  15. toon0901

    toon0901 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2011
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +17
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้หลุดพ้นแล้ว
    ขอนอบน้อมแด่วิมุติธรรม
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  16. ป่ากุง

    ป่ากุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +784
    ธรรมใดที่องค์หลวงปู่เห็น ขอให้ข้าน้อยเห็นธรรมนั้นด้วยเทอญ......
     
  17. ป่ากุง

    ป่ากุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +784
    ........... มีนถามว่า องค์ท่านสนทนากับใคร....................

    ..... หลวงปู่ สนทนา กับ หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ วัดป่าบ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี...ในประวัติหลวงพ่อทูล ท่านได้เป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่ขาว และในพรรษาที่9 ของหลวงพ่อทูล หลวงปู่ขาว แนะอุบายให้หลวงพ่อทูลไปปฏิบัตที่ จ.เชียงใหม่ พอออกพรรษา หลวงพ่อทูลจึงจบกิจ เป้นพระ พระอรหันต์องคืหนึ่งนบวรพระศาสนาครับ........ พออกพรรษา หลวงพ่อทูลจึงลาเชียงใหม่- วัดถ้ำกลองเพล บทสนทนานี้ จึงเกิดขึ้นครับ

    ....ปล. ลองไปหาอ่านประวัติ หรือ ฟังประวัติ หลวงพ่อทูล วัดป่าบ้านค้อดูครับ
     
  18. มัศนียา

    มัศนียา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2008
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +1
    อนุโมทนาบุญค่ะ สาธุ
    --------------
    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
    สรณะอื่น ไม่มี ชีวิตนี้เพื่อพระรัตนตรัย
     

แชร์หน้านี้

Loading...