พวกเจ้าฟังพระธรรมคำสั่งสอนมาแล้วเป็นแสนๆ องค์ พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย คนหลงเงา, 13 กันยายน 2011.

  1. คนหลงเงา

    คนหลงเงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +541
    พวกเจ้าฟังพระธรรมคำสั่งสอนมาแล้วเป็นแสนๆ องค์
    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม
    ............................
    ข้อความนี้เป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าองค์ปฐมทรงเตือนคุณหมอและสหายธรรมของท่าน พวกเจ้าฟังพระธรรมคำสั่งสอนมาแล้วเป็นแสนๆ องค์ พระธรรมที่นำเสนอในชุดนี้ มีความประทับใจทุกตอนเช่น ถ้าตั้งใจทำจริงๆ ไม่มีอะไรที่จักยาก,การต่อสู้กับกิเลสต้องรู้วิธีต่อสู้ด้วย, มัชฌิมาปฏิปทาของร่างกาย,เรื่องกิจของงานทางโลก ให้ทำไปเรื่อยๆ ในทางสายกลาง,เวลานี้ให้ดูที่อารมณ์ของจิตตัวเดียว ดูความเลวของตนเองมิใช่ให้ดูความดี, เป็นต้น พวกเราโชดดีมากที่มีโอกาสศึกษาพระธรรมด้วยภาษาไทยปัจจุบัน เพียรกันให้มากนะครับ สิ่งนี้หาได้ยากในโลก พระธรรมชุดนี้ผมนำมาจาก ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ กรกฏาคมตอน ๓ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน เช่นเคย
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ...............................................<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ไม่ต้องไปห้ามใคร ให้ห้ามใจตนเอง<O:p</O:p





    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอน โดยให้หลักไว้ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. ให้เก็บแต่สิ่งที่ดีสำหรับสิ่งเลวๆ จงตัดทิ้งไป วางอารมณ์ให้ลงตัวธรรมดา
    <O:p</O:p
    ๒. กระทบกับสิ่งใด แล้วรู้ว่าไม่เที่ยง - เป็นทุกข์ ก็จงอย่ายึดสิ่งนั้นมาเป็นอารมณ์
    <O:p</O:p
    ๓. ไม่เพียงแต่วัตถุเท่านั้น แม้คนหรือสัตว์มาแสดงความโกรธ - โลภ - หลง แสดงอารมณ์ให้เห็นว่ามีความพอใจหรือไม่พอใจออกมาทางกาย - วาจา - ใจก็จงเห็นเป็นธรรมดาของคนและสัตว์นั้นๆ ซึ่งเขาก็แสดงออกมาถึงความไม่เที่ยงแห่งจิต ที่ยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการไม่ได้หมดสิ้น
    <O:p</O:p
    ๔. จงอย่ายึดการแสดงออกแห่งอารมณ์นั้นๆ ของเขามาเป็นสาระเพราะอารมณ์เขานั้นยังไม่เที่ยง เราไปเกาะติดอยู่กับการแสดงออกของเขา จึงได้ชื่อว่าเกาะทุกข์
    <O:p</O:p
    ๕. จงเห็นเป็นธรรมดาเจ้าเองยังไม่สามารถจักบังคับจิตของตนเองได้ ห้ามไม่ให้มีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจยังไม่ได้ หรือไฉนจึงจักไปห้ามคนอื่นหรือสัตว์อื่นไม่ให้มีอารมณ์ได้เล่า
    <O:p</O:p
    ๖. เพราะฉะนั้น จึงพึงลงความเห็นเป็นตัวธรรมดาให้มากๆใครจักนินทาหรือสรรเสริญ ก็เป็นเรื่องธรรมดา เราไปห้ามปากเขาใจเขาได้อย่างไรกัน เมื่อห้ามไม่ได้ เพราะเป็นกฎธรรมดาเจ้าก็จงอย่าฝืนกฎธรรมดา ไม่ต้องไปห้ามใคร ให้ห้ามใจของเราเองดีกว่า นั่นแหละเป็นของจริงของแท้
    <O:p</O:p
    ๗. อย่าไปห้ามคนอื่นให้ฝืนกฎธรรมดาของชาวโลก พวกเจ้าปรารถนาอยากจักเข้าพระนิพพาน จักต้องห้ามกาย-วาจา-ใจของตนเอง ไม่ให้ชั่วไปในสังโยชน์ ๑๐ ประการ ค่อย ๆ ทำไป ถ้าตั้งใจทำจริงๆ ไม่มีอะไรที่จักยาก ขอให้ทำให้จริงก็แล้วกัน
    <O:p</O:p

    <O:p</O:p


    ให้ดูอารมณ์จิตตัวเดียว ดูแต่ความเลวของตนเอง
    <O:p</O:p

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. กิจ ๒ ประการที่ต้องจำไว้ให้ดี ๆ คือ เรื่องกิจของงานทางโลก ให้ทำไปเรื่อยๆ ในทางสายกลาง ใครจักว่าอย่างไรก็ช่างเขา ให้ถือเอาเจตนาบริสุทธิ์เป็นหลักสำคัญกับเรื่องกิจของงานทางธรรม ซึ่งทำที่จิตเพื่อพระนิพพานจุดเดียว ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนเพื่อความหลุดพ้นหรือพ้นทุกข์เป็นครั้งสุดท้าย เป็นชาติสุดท้าย ในทางสายกลางเช่นกัน
    <O:p</O:p
    ๒. เวลานี้ให้ดูที่อารมณ์ของจิตตัวเดียว ดูความเลวของตนเองมิใช่ให้ดูความดี ถ้าระมัดระวังความเลวไม่ให้เกิดขึ้นในจิตได้เพียงประการเดียว ความดีก็จักเกิดขึ้นได้โดยง่ายเพียงแต่บังคับจิตให้คิดอยู่ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หรือ มหาสติปัฎฐาน ๔ กองใดกองหนึ่งก็ย่อมได้ตลอดเวลา สำคัญคือต้องใช้อารมณ์ให้เป็นมวย ต้องรู้เท่าทัน มีชั้นเชิงชกให้เป็น
    <O:p</O:p
    ๓. การต่อสู้กับกิเลส มิใช่จักมานั่งประมาทเฉยๆ นั้นก็ชนะกิเลสไม่ได้ จักต้องรู้วิธีต่อสู้ด้วย โดยใช้จริตหกนั่นแหละเป็นอาวุธ หากใช้เป็น ผลที่ได้รับก็คือมีแต่ชัยชนะลูกเดียว
    <O:p</O:p
    ๔. อย่าสนใจร่างกายจนเกินพอดี บางคนห่วงกาย ปรนเปรอร่างกายจนเกินพอดี เป็นการเพิ่ม สักกายทิฎฐิ มิใช่ลด สักกายทิฎฐิ แต่บางคนก็ไร้ปัญญาเบียดเบียนร่างกายจนเกินไป แม้กายจักหิว - กระหายก็ไม่ให้กิน ไม่ให้ดื่ม ทั้งๆ ที่พระตถาคตเจ้าทุกๆ พระองค์ อนุญาตให้บริโภคเภสัชทั้ง ๕ ได้ในยามวิกาล รวมทั้งน้ำปานะด้วย(เภสัชทั้ง ๕ มีนมสด, นมส้มหรือนมเปรี้ยว, เนยแข็ง, เนยเหลว คือพวกน้ำมันจากพืชและสัตว์, น้ำผึ้ง - น้ำอ้อย - น้ำผลไม้ที่ลูกเล็กกว่ากำปั้นมือคนโบราณ)
    <O:p</O:p
    ๕. บางคนป่วยแต่ไม่ยอมรับการรักษาคิดว่าตนเองทนสู้โรคได้ ทั้งๆ ที่เป็นความโง่ หลงผิด รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นี่ตถาคตมิได้ตรัสเพื่อให้พวกเจ้าไปตำหนิพระ เพียงแต่ตรัสเพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจแก่พวกเจ้า ให้รู้เท่าทันสภาวะของร่างกายตามปกติอย่าฝืนโรคจนเกิดเป็นภัยเบียดเบียนตนเอง ในขณะที่ร่างกายมันยังทรงชีวิตอยู่ ให้รู้จักรักษาร่างกายไว้ เพื่อไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้มากจนเกินไป
    <O:p</O:p
    ๖ . การรู้เท่าทันสภาวะตามความเป็นจริงของร่างกายเสมือนหนึ่งเราได้เรียนรู้สภาวะของอักขระ พยัญชนะของตัวหนังสือ เราเข้าใจตามความเป็นจริงก็อ่านออกเขียนได้ มีความเข้าใจไม่ผิดพลาดฉันใด ร่างกายนั้นก็เช่นเดียวกันเราเรียนรู้ว่ามันเสื่อมมันพร่องลงไปทุกวัน มันอยู่ได้ด้วยสันตติ เราก็เรียนรู้สันตตินั้น เห็นความเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย เป็นของธรรมดา
    <O:p</O:p
    ๗. เมื่อยังไม่ตาย ร่างกายมันก็มีเวทนาทุกวัน เราก็มีหน้าที่บรรเทาทุกเวทนาให้มันทุกวัน แต่เพียงพอดี นี่ก็เข้าหลักเหมือนกัน พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ สอนเหมือนกันหมด เรื่องทางสายกลางคือความพอดีไม่เบียดเบียนทั้งกาย วาจา ใจ ของตนเองและผู้อื่น ศีล สมาธิ ปัญญา กำหนดลงอยู่ตรงนี้เช่นกัน บุคคลผู้สิ้นความเบียดเบียนทั้งกาย วาจา ใจ คือ ผู้เข้าถึงอรหัตผล
    <O:p</O:p
    ๘. ตัวอย่างธรรมะมีให้พวกเจ้าเห็นอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าคนหรือสัตว์ วัตถุธาตุ สุดแล้วแต่พวกเจ้าจักเห็น หรือสามารถนำมาพิจารณาลงในแง่ไหนได้เท่านั้นเองพยายามเลิกเบียดเบียนตนเองเสียให้ได้ โดยใช้สังโยชน์เป็นหลักปฏิบัติ หมั่นถามจิตตนเองว่า การคิด การพูด การกระทำในทุก ๆ ขณะจิตนั้น เบียดเบียนตนเองหรือไม่ จักต้องศึกษาให้ได้โดยละเอียด
    <O:p</O:p
    ๙. อย่าลืมธรรมะทุกข้อจักต้องเกิดขึ้นกับตนเองก่อน จึงจักเป็นของแท้ตนเองจักต้องเลิกเบียดเบียนตนเองก่อน จึงจักเลิกเบียดเบียนบุคลอื่นได้ พรรษานี้จักทำความเพียรได้สักแค่ไหน พวกเจ้าทั้งสองจงถามจิตตนเองดู อายุล่วงไปใกล้ความตายเจ้าไปทุกที ยังจักประมาทกันอยู่อีกหรือ มีสติไม่ตั้งมั่น สัมปชัญญะไม่แจ่มใส จำได้บ้าง เพียรได้บ้าง ลืมเสียบ้าง เผลอปล่อยความเพียรเสียมากเพราะอ่อนใน อานาปาสัสสติ กันทั้ง ๒ คน ชอบให้อารมณ์อื่น ๆ มาแย่งเวลาของการเจริญพระกรรมฐานไปเสียมากต่อมาก เหมือนคนไม่ตั้งใจทำจริง จึงดูคล้ายกำลังใจไม่เต็มกระนั้น นี่จงอย่าโทษใครให้โทษใจตนเองที่ไม่ใคร่จักเตือนตนให้เดินตรงทาง
    <O:p</O:p
    ๑๐. พวกเจ้ายังมีอารมณ์ขี้เก็บ ชอบเก็บทุกข์เอาไว้ไม่ยอมวางจิตคนช่างจดจำอยู่แต่ความชั่วดีแท้ ๆ คำด่า คำนินทาใครว่ามาหลายสิบปียังอุตส่าห์เก็บเอามาจำได้ ไม่ใคร่จักลืม ต่างกับคำสอนของตถาคตเจ้า พวกเจ้าฟังแล้วไม่ใคร่จักจำนี่แต่ละรายไม่ได้พบพระพุทธเจ้ามากันน้อยๆ นะ พบกันมาแล้ว ฟังพระธรรมคำสั่งสอนมาแล้วเป็นแสนๆ องค์ แต่ก็ไม่ค่อยจักจำไม่นำมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลอย่างนี้กันมาโดยตลอด พวกเจ้าไม่เสียดายกาลเวลากันบ้างหรือ เกิดตายๆ ทนทุกข์อยู่ในวัฏฏะสงสารอย่างนี้ดีหรือ (ก็ยอมรับว่าไม่ดี) รู้ว่าไม่ดี ก็จงพยายามทำให้พ้นจากความไม่ดีนี้ ไม่มีใครช่วยพวกเจ้าได้ พวกเจ้าแต่ละคนจักต้องช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ คิดถึงจุดนี้เอาไว้ให้ดีๆ<O:p</O:p

    <O:p</O:p



    วิธีรักษาโรคเหนื่อยใจ
    <O:p</O:p

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. ขณะใดจิตเหนื่อยใจ มีความอ่อนใจ ไร้กำลังต่อต้านกิเลส ขณะนั้นไม่สมควรใช้อารมณ์คิด ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นกรณีสำคัญ จักช่วยให้หายเหนื่อยใจได้
    <O:p</O:p
    ๒. อย่าลืม อานาปานัสสติ นอกจากระงับกายสังขาร คือ ระงับทุกขเวทนาแล้ว ก็ยังระงับอารมณ์ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ ก็สามารถระงับได้ชั่วคราว
    <O:p</O:p
    ๓. จงหมั่นเรียนรู้ประโยชน์ของ อานาปานัสสติ ให้มาก และจงหมั่นทำหาความชำนาญใน อานาปานัสสติ ให้มาก เพราะจักทำให้จิตมีกำลัง เมื่อถอนออกมาจากฌานแล้ว จักใช้กำลังมาทำวิปัสสนาญาณจักมีปัญญาคมกล้ามาก<O:p</O:p

    <O:p</O:p



    อากาศธาตุกับธาตุลมต่างกันอย่างไร
    <O:p</O:p

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. อากาศก็คือลมที่เคลื่อนไหวน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลยถ้าหากมองด้วยตาเปล่า เหมือนกับเรามองสภาพท้องฟ้าที่เวิ้งว้าง ไม่มีเมฆหมอก สภาพที่เราเห็นโล่งๆ เวิ้งว้างนั้นคืออากาศ (ทางโลกเขาพยากรณ์อากาศกันทุกวัน ว่าวันนี้อากาศดี เลว ก็โดยอาศัยดูเมฆและหมอกเป็นหลัก)
    <O:p</O:p
    ๒. แต่ถ้ามีเมฆหมอกถูกลมพัดกระจัดกระจาย เราก็ว่ามีลมบนพัดอยู่ในอากาศหรือท้องฟ้าส่วนนั้น คำว่าธาตุลมก็คือลมที่พัดไหวๆ ลมหายใจที่ไหลเข้าไหลออกตามปกติของร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ มีการเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัด จึงกำหนดเรียกว่าธาตุลม
    <O:p</O:p
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
    <O:p</O:p
    ...............................<O:p</O:p
    ที่มาของข้อมูล<O:p</O:p
    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ กรกฏาคมตอน ๓<O:p</O:p
    หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม<O:p</O:p
    หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......<O:p</O:p
    http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html<O:p></O:p>
    ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้า และหลวงพ่อในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ตครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ..........................................<O:p</O:p
    <O:p
     
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่www.tangnipparn.com<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  3. สน2550

    สน2550 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2007
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +280
    คำสอนนี้ขอบันทึกไว้อ่านทบทวนต่อไปครับ
    โมทนาสาธุ
     
  4. Jittangman

    Jittangman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    278
    ค่าพลัง:
    +741
    ผลสูตรที่ ๒
    ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ
    [๑๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๕] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.<O:p</O:p
    [๑๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ
    - จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ <O:p</O:p
    - ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมในเวลาใกล้ตาย ๑<O:p</O:p
    - ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑ <O:p</O:p
    - ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ <O:p</O:p
    - ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑<O:p</O:p
    - ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ <O:p</O:p
    - ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
    <O:pดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ<O:p</O:p
    อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่๑๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    หน้าที่ ๓๒๑/๔๖๙ หัวข้อที่ ๑๓๑๔ - ๑๓๑๘<O:p</O:p
    <O:p

    ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
    ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ คือ
    </O:p๑. การบรรลุอรหัตตผลทันที่ในปัจุบันนี้<O:p</O:p
    ๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมบรรลุอรหัตตผลในกาลแห่งมรณะ<O:p</O:p
    ๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอัตราปรินิพพายิ (ผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุไม่ถึงกึ่ง)<O:p</O:p
    ๔. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานเมื่อใกล้จะสิ้นอายุ)<O:p</O:p
    ๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมากนัก)<O:p</O:p
    ๖. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก)<O:p</O:p
    ๗. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฎฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฎฐภพ)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ภิกษุ ท.! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ผลอานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ย่อมหวังได้ ดังนี้.
    ทุติยพลสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๘๗/๑๓๑๔-๑๓๑๖.<O:p</O:p


    ขอกราบอนุโมทนาบุญในกาลนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...