รวบรวมข้อมูลเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 28 กันยายน 2006.

  1. อนิจฺจํ

    อนิจฺจํ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,374
    ค่าพลัง:
    +2,949
    ผมอยากได้จักรยานปั่นไฟสำหรับสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ใครมีความรู้ช่วยให้คำแนะนำผมด้วยครับ เพราะคิดว่าหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง ไฟฟ้าคงไม่มีใช้ น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุด
     
  2. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ใช้แบบโยก ตามชนบท น่าจะแข็งแรงกว่านะครับ
     
  3. วิญญ์ ชวาทิต

    วิญญ์ ชวาทิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +490
    ขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้หน่อยนะครับ..
    ...

    สวัสดีครับ

    สำหรับสมาชิกท่านใดที่ใช้ facebook เป็นประจำ
    และมีความประสงค์ที่จะรับข้อมูล เตือนภัย แจ้งข่าวสาร
    หรือประสานงานช่วยเหลือผู้อื่นเกี่ยวกับภัยพิบัติของโลก

    ขอเชิญเข้าไปคลิก ถูกใจ (like) ที่นี่ได้ครับ

    ไทยอาสาแจ้งและเตือนภัยพิบัติโลก World Disaster Awareness of Thailand- WDAT | Facebook

    ผมรู้สึกว่าปัจจุบันมีผู้ใช้เฟซบุ๊คมากขึ้น
    อีกทั้งยังมี application ในมือถือที่สามารถรับข้อมูลแบบ realtime
    ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม

    จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่ง
    ที่จะสร้างเครือข่ายช่วยเหลือกันได้ในยามนี้

    ส่วนตัวผมเองก็ยังคงมีภารกิจหลายๆ อย่างจึงอาจไม่สามารถดูแลเครือข่ายนี้ด้วยตัวเองคนเดียวได้

    ก็จะมีเพื่อนๆ จากวงการกู้ภัยและดำน้ำ อีกจำนวนหนึ่งเข้ามาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการช่วยแจ้ง อัพเดทข่าว

    ท่านใดที่รักและห่วงใยเพื่อนมนุษย์
    พร้อมที่อาสาเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานประสานความช่วยเหลือในจุดนี้

    เข้าไปแจ้งความประสงค์และร่วมเป็นส่วนหนึ่งได้เลยครับ
    (ตอนนี้กลุ่มเพิ่งตั้ง จึงยังไม่มีสมาชิกเท่าไร)



    ...อีกไม่นานแล้วครับ อีกไม่นานจริงๆ...


    รบกวนฝากบอกต่อด้วยครับ

    ขอบคุณครับ
     
  4. bovybovy5

    bovybovy5 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    ตอนนี้รวบรวมข้อมูลจากบอร์ดนี้ได้พอประมาณ เลยขอแชร์ลิ้งค์ที่คาดว่าจะสะดวกสำหรับหลายๆท่านมากขึ้นในการจัดอุปกรณ์ยังชีพค่ะ (แปลเป็นไทยภาษาบ้านๆเพื่อเข้าใจง่าย) รวมทั้งคำแนะนำจากท่านผู้รู้ทั้งหลายในนี้ รวบรวมไว้ในไฟล์นี้ และนำมาไว้ใช้แบ่งปันกันเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไปค่ะ

    ลิ้งค์รายการอุปกรณ์ยังชีพแบบพร้อมพิมพ์>> Hotfile.com: One click file hosting: sur.pdf

    ลิ้งค์ Survival Thailand สำหรับท่านที่มี facebook และอยากร่วมแบ่งปันความรู้กันอีกช่องทางนึงค่ะ >>> Survival Thailand | Facebook

    สามารถแจ้งความจำนงค์การเป็นแอดมินได้ค่ะ ตอนนี้ทำอยู่คนเดียว เพราะหวังอยากให้เพื่อนๆเราได้ผ่านหูผ่านตาบ้าง บางคนเค๊าก็ไม่สนใจ แต่ดิฉันก็อยากให้เค๊าได้รับรู้ไว้บ้างค่ะ คิดว่ายังไงก็น่าจะมีประโยชน์บ้างค่ะ วันนี้เค๊ายังไม่สน วันนึงเค๊าอาจจะสนใจและเป็นข้อมูลที่มีค่าสำหรับใครๆที่ต้องการขึ้นมาค่ะ

    ps ขอบคุณทุกท่านมากๆสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ :cool:
     
  5. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ดีครับ ชื่อเหมือนเว็บผมเลย

    พยายามต่อไปครับ สักวัน คนจะเห็นคุณค่าของมันเองครับ

    ผมแนะนำว่า ควรทำข้อมูลให้เป็นกลางๆ เข้าไว้ครับ อย่าเอนไปทางใดทางหนึ่ง ใช้หลักการและเหตุผล

    ถึงเราจะเชื่อแบบไหน ถ้าทำข้อมูลน่าเชื่อถือ คนก็อ่านมากขึ้นครับ
     
  6. bovybovy5

    bovybovy5 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณมากค่ะ

    ขอบคุณมากเลยค่ะ ข้อมูลกว่า 80% มาจากคุณ Kongp ทั้งนั้นเลยค่ะ
    ส่วนชื่อเว็บ แบบว่ามันคิดออกเป็นแว่บแรกอ่ะค่ะ ก็ดีเหมือนกันนะคะ
    จะได้ดูเป็นเครือข่ายกันดี ถ้าในเฟสมีเพื่อนๆสนใจซื้ออุปกรณ์ยังชีพ
    คิดไว้แล้วว่า คงต้องอาศัยช่องทางจากคุณ Kongp อีกทางเช่นกันค่ะ
    เพราะง่ายและสะดวก สำหรับมือใหม่จิงๆค่ะ ^^ :cool:
     
  7. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    โดยชีวิตปกติของคนเรา มีอะไรไม่มากนัก อย่างเช่น นอน กิน ขับถ่าย เดินทาง ทำงาน เป็นต้น นี่คือภาวะที่ปกติ

    ถ้าสถานการณ์ฉุกเฉินล่ะ จะเป็นอย่างไร

    เรื่องการนอนก่อนแบบคาดการณ์

    ภาวะปกติ

    - ต้องมีหมอน มีผ้าห่ม บางคนมีหมอนข้างอีก เตียงนุ่มๆ เปิดแอร์เย็นๆ พัดลมเย็นๆ แสนสบาย

    ภาวะฉุกเฉิน

    - ผ้าห่ม 1 ผืน หรือ ถุงนอน หมอนก็ใช้เป้หนุนหัวแทน พื้นแข็งๆ ในที่พักพิง แอร์ไม่มี พัดลมคงยากอยู่ ถ้าอยู่กันหลายๆคน เมืองไทยก็เป็นเมืองร้อน ไม่ได้หนาวแบบญี่ปุ่น บ้านเขาไม่ต้องอาบน้ำก็ได้ แต่บ้านเราร้อนๆ คงเหนียวตัวแย่ อาบน้ำก็ไม่ได้อีก เพราะคงต้องประหยัดน้ำ

    เรื่องการกินแบบคาดการณ์

    ภาวะปกติ

    - ควักเงินจ่าย ข้าวแกง อาหารตามสั่ง อาหารขยะ หรือ เปิดตู้เย็น หาวัตถุดิบ ทำกินเอง หรือเข้า 7-11 ซื้อน้ำ อาหารแช่แข็ง นั่งกินบนโต๊ะ แอร์เย็นๆ พัดลมเบาๆ สบายใจเฉิบ

    ภาวะฉุกเฉิน

    - อย่างน้อยต้องเตรียมอาหารแห้งไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง หรือฉุกเฉิน เผลอๆต้องแอบกินกันคนแย่งอีก ถ้าไม่แอบก็ต้องเผื่อแผ่ แบ่งปัน และก็ต้องรอรับการช่วยเหลือต่อไป เวลากินคงไม่ได้นั่งโต๊ะ กินสบายๆ คงนั่งอยู่บนดิน เศษซากปรักหักพัง แทน

    เรื่องการขับถ่ายแบบคาดการณ์

    ภาวะปกติ

    - เข้าห้องน้ำ ไม่ว่าที่บ้าน หรือที่ไหนก็แล้วแต่ ห้างสรรพสินค้า แอร์เย็นๆ มีหนังสือพิมพ์ การ์ตูนให้อ่าน ส้วมซึมคงไม่ค่อยมี มีแต่นั่งชักโครก กดน้ำ แสนสบาย มีสายชำระล้างด้วยน้ำอีก กระดาษทิชชู่สะอาดๆ

    ภาวะฉุกเฉิน

    - อย่างน้อยอาจมีพลั่วหรือถุงขยะ ถ้าเป็นพลั่วคงต้องขุดดิน ขับถ่าย แล้วนั่งยองๆ ใครเข่าไม่ดี ก็คงแย่หน่อย ไม่มีพลั่วใช้ถุงขยะก็ได้ อย่างน้อยจะได้สะอาด เชื้อโรคไม่แพร่สู่ที่อื่น ใครนั่งยองๆ ไม่ไหว หาเก้าอี้แบบมีฝารองนั่งสามขา ที่ผู้ป่วยใช้ก็ได้ น้ำคงต้องประหยัด ควรเตรียมทิชชู่เปียก แบบที่เช็ดก้นเด็กก็ได้ เคยมีประสบการณ์ เด็กอึแตก บนยอดภูเรือ ไม่มีน้ำใช้ โชคดีผมมีทิชชู่เปียกไว้ให้เช็ด คนที่มาด้วย ทำงง พกมาทำไมกัน

    ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นการคาดการณ์ในภาวะฉุกเฉิน

    จึงขอเรียนให้ท่านทราบว่า "ตื่นได้แล้ว" และเรียงลำดับความสำคัญใหม่ ว่าความจำเป็นเราต้องการอะไรกันแน่
     
  8. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    แล้วจะบอกว่า ประสบการณ์ที่ผ่านมา

    โดยปกติเราได้ศึกษาเรื่องการเตรียมตัวตลอดมา มันรวมไปถึงการประหยัดทรัพยากรที่เรามีอยู่ด้วย เพื่อให้ประหยัดที่สุด และใช้ได้ยาวนานที่สุด เพราะเราไม่รู้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือกลับมาอย่างไร

    เช่น เวลาเรากินน้ำ 1 ขวด เราจะค่อยๆจิบทีละนิด เพื่อเป็นการประหยัดน้อย ปกติผมจะเดินป่า น้ำ 1 ขวด 600 มิลลิลิตร ในระยะทางการเดิน 10 กม. ขึ้นเขาตลอด ผมสามารถใช้น้ำแค่ 1 ขวดเท่านั้น

    หลายๆครั้ง ใจดี แบ่งปันให้คนอื่น จากประสบการณ์ ถ้าคนแปลกหน้า เขาจะไม่สนใจว่าเขาต้อง save น้ำ เท่าไหร่ เพราะเขาจะกินด้วยความหิวโหย และไม่สนใจอะไร ให้น้ำ 1 ขวด กระดกทีเดียวเหลือครึ่งขวด

    ให้อาหาร 1 ห่อ หมด 1 ห่อ ไม่มีการ save ในภาวะฉุกเฉิน แล้วถ้าเรามีจำกัด เราจะทำอย่างไร

    ลองเก็บไปคิดกันดูครับ
     
  9. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    มีอยู่ช่วงหนึ่ง ขึ้นเขาคิชกูฏ วันธรรมดา ตอนกลางคืน ประมาณ ตีสาม

    ช่วงระหว่าง รอยพระพุทธบาท กับผ้าแดง ไม่มีอะไรขายเลย

    น้ำผมก็หมดพอดี มีอยู่ที่หนึ่ง มีน้ำถังให้เติมน้ำ แต่เปิดก๊อก ไม่มีน้ำสักหยด เปิดฝาถัง(แสตนเลส) มีอยู่หน่อยนึง อยู่ต่ำกว่าก็อก น้ำเลยไม่ไหลออก

    ผมก็จัดการควักมีด ปาดขวดน้ำ (บังเอิญมี 2 ขวด) ก็เลยจัดการขวดที่ผ่าแล้วไปตักน้ำรองไว้ใส่อีกขวดหนึ่ง ได้น้ำเกือบเต็มขวด

    ดังนั้นทำอะไรก็แล้วแต่ ลองใช้ปัญญาที่เรามีอยู่ ใช้มันครับ แล้วเราจะไม่อดตาย ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งอำนวยความสะดวกรอบกายมากนัก น้ำจำนวนนิด แต่มันก็สำคัญกับร่างกาย และมีค่ามากครับ
     
  10. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    [​IMG]


    เป้ฉุกเฉิน เป็นเป้ที่มีไว้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของตนเอง เหมาะสำหรับใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ต้องออกจากที่พักอาศัยอย่างรวดเร็ว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของผู้ประสบภัย

    การจัดเป้ฉุกเฉิน ควรให้ความสำคัญกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ โดยเฉพาะ ปัจจัย 4 ไม่ว่าจะเป็น อาหารและน้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ในทางกลับกันที่อยู่อาศัยเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า เราจะไปอยู่ที่แห่งใด อาจจะเป็น ที่พักพิงชั่วคราว ของผู้ประสบภัย โรงเรียน สถานที่ราชการ เป็นต้น แต่เราสามารถนำเรื่องของ อาหารและน้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค มาใช้ในการจัดเป้ฉุกเฉินได้

    นอกจากนี้ การจัดเป้ฉุกเฉิน ควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น น้ำหนักสิ่งของ โดยส่วนใหญ่แล้ว ตามสากลทั่วไปจะจัดเป้ให้พอในระยะเวลา 3 วัน เนื่องจากมนุษย์เราอดอาหารได้เป็นเดือน แต่ไม่สามารถอดน้ำได้เกิน 3 วัน และในระยะเวลา 3 วัน เป็นเวลาที่เหมาะ ซึ่งการจัดเป้ฉุกเฉิน จะทำให้เป้มีน้ำหนักไม่มากนัก เพื่อความคล่องตัว และหนีภัยได้อย่างรวดเร็ว ในด้านปัจจัยน้ำหนักนี้ มันทำให้เป้ฉุกเฉินสามารถรองรับได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ฉะนั้นโปรดตรวจสอบดูว่าสมาชิกในครอบครัวของท่านมีกี่คน และควรจัดให้พอกับสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น

    นอกจากปัจจัยทางด้านน้ำหนักแล้ว งบประมาณก็เป็นส่วนสำคัญในการจัดเป้ฉุกเฉิน ตามหลักทั่วไป คนส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญในการจัดเป้ค่อนข้างน้อยอยู่ บางท่านอาจมองเป็นเรื่องไร้สาระ หรือบางท่านมีรายได้ค่อนข้างน้อย ดังนั้นการซื้อสิ่งของเพื่อมาเป็นการจัดเป้ ต้องมีการจำกัดงบประมาณ ทำให้ประสิทธิภาพของเป้ฉุกเฉินน้อยลง ความคงทนของวัสดุมีส่วนที่จะเสื่อมเร็วมากขึ้น ระยะเวลาในการเก็บรักษาน้อยลงไป

    แต่ทุกอย่างย่อมมีทางออก ถึงงบประมาณค่อนข้างน้อยหรือจำกัด การดูแลรักษาเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เป้ฉุกเฉินของท่านมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น ควรตรวจเช็คบ่อยๆ เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน มีการหมุนเวียนเปลี่ยนสิ่งของบางอย่าง อาหารกระป๋อง อาหารแห้ง น้ำดื่ม ถ่านไฟฉาย ยารักษาโรค เพื่อความสดใหม่อยู่เสมอ

    ตัวอย่างเป้ฉุกเฉิน 1,800 บาทนี้ เป็นเป้ฉุกเฉินที่มีการจัดไว้ วัตถุประสงค์เพื่อให้ดูเป็นตัวอย่างว่า ถึงงบประมาณมีจำกัดก็สามารถจัดเป้ฉุกเฉินได้ ในราคา 1,800 บาท นี้ไม่รวมกระเป๋าหรือเป้ ปกติทุกๆบ้านมักจะมีกระเป๋าอยู่แล้ว หรือบางครั้ง สามารถใช้กระสอบข้าวสาร กระสอบปุ๋ย ได้ ตามแต่สะดวกของเราเอง รายการสิ่งของคร่าวๆ ดังต่อไปนี้

    1. ผ้าห่ม 1 ผืน ราคาประมาณ 200 บาท
    2. เสื้อกันฝน ราคาประมาณ 100 บาท
    3. น้ำดื่ม 600 มิลลิลิตร x 3 ขวด ราคา 15 บาท
    4. อาหารกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง ผักกาดดอง น้ำผึ้งหลอด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ราคาประมาณ 150 บาท
    5. ผ้าอนามัย 1 ห่อ ราคาประมาณ 30 บาท
    6. กระดาษชำระ 1 ม้วน ราคา 10 บาท
    7. ถุงมือผ้า 1 คู่ , ถุงเท้า 1 คู่ ราคา 50 บาท
    8. กางเกงชั้นใน 3 ตัว ราคา 200 บาท หรือต่ำกว่านั้น
    9. กระดาษเช็ดหน้า 1 ห่อ ราคาประมาณ 10 บาท
    10. ช้อน 1 คัน , แก้วน้ำพลาสติก 1 ใบ ราคาประมาณ 50 บาท
    11. หน้ากากปิดจมูกแบบผ้า ราคาประมาณ 10 บาท
    12. ไม้ขีดไฟ 2 กลัก ราคา 5 บาท
    13. เทียนไข 1 ห่อ ราคา 20 บาท
    14. วิทยุ AM FM ราคาประมาณ 200 บาท
    15. มีดเอนกประสงค์ ราคาประมาณ 200 บาท ขึ้นอยู่กับวัสดุ
    16. ถุงขยะ 1-2 ใบ ราคาประมาณ 5 บาท
    17. ไฟฉายพร้อมแบตเตอรี่ ราคาประมาณ 100 บาท
    18. อุปกรณ์ปฐมพยาบาล และยา ราคาประมาณ 200 บาท
    19. คู่มือปฐมพยาบาล ราคาประมาณ 150 บาท

    ที่มา : Thailand Survival.Com -
     
  11. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    เดี๋ยวถ้ามีเวลา จะมาเล่าประสบการณ์เพิ่มอีกนะครับ

    ขออภัยด้วย บางประโยค บางคำ ภาษาอาจจะไม่สละสลวย สวยงาม เรียบร้อย

    เนื่องจากว่า ผมเป็นคนตรงไปตรงมา ในเว็บ นอกเว็บ ผมเป็นอย่างไร ก็เป็นแบบนั้นครับ
     
  12. ยาล้างตา

    ยาล้างตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2007
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +3,539
    ถ้าอ่านแล้วไม่ลงมือลองทำ ดูเหมือนง่าย เอาจริงจะงง และทำไม่ทันของทุกอย่างดูง่ายแต่ถ้าไม่ตั้งใจหามาเตรียม เมื่อถึงเวลาจะหา มันจะไม่มีเวลาให้หาให้เตรียมนะครับ ลองจัดดูจะพบว่ามันใช้เวลาเหมือนกันที่จะทำให้เสร็จหรือครบทุกคนในบ้าน .....
     
  13. Itokin

    Itokin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +223
    มายืนยันอีกคนครับ ไม่ง่ายนะครับ แล้วตอนนี้ของบางอย่างเริ่มหาซื้อยากแล้วครับ เลยนึกถึงคำที่เคยมีคนบอกว่า ของบางอย่างอีกหน่อยมีเงินก็ซื้อไม่ได้
     
  14. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    ต้องจินตนาการ ถ้าเราต้องอพยพฉุกเฉิน หนีภัยแผ่นดินไหว/น้ำท่วม หรือภัยสงคราม เราจะต้องมีสิ่งของที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอะไรบ้าง เช่น อาหารต้องนำไปพอดำรงชีพในระยะหนึ่ง ประมาณ 3 วัน มี นน.เบา น้ำพร้อมกระติก/ขวด เสื้อผ้า
    1.ถ้าเจอสภาพหนาว ต้องมีเสื้อกันหนาว ถ้าเจอสภาพฝน ต้องมีเสื้อกันฝน ถ้าเจอน้ำท่วมต้องเสื้อชูชีพ ห่วงยาง เชือกขนาดที่ใช้ข้ามลำน้ำได้ ถ้าเจอสภาพจลาจล/สงคราม ต้องมีอาวุธป้องกันตน
    2.เวชภัณฑ์ สำหรับในกรณีในสภาวะสงคราม/จลาจล โรคระบาด รังสีนิวเคลียร์
    3.อุปกรณ์จำเป็น เช่นไฟฉาย ไฟแช็ค จาน หม้อข้าว ฯลฯ
     
  15. godsira

    godsira สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +0
    ผมคาดหวังว่า ถ้าเกิด ดีที่สุดคือ ขอให้อยู่ในบ้านได้ (ไม่ต้องอพยพไปไหน ไม่มีอาหาร ไม่มีไฟฟ้า น้ำประปา) ก็พอจะกักตุนของไว้ได้

    ถ้าอยุ่ในบ้านไม่ได้ ก็ขอให้พอใช้รถยนต์เดินทางได้ (หนีไป ตจว.ก็ได้)

    ถ้าใช้รถไม่ได้ ก็ขอให้มีเวลาหยิบเป้ หรือ อุปกรณ์ที่เตรียมไว้ได้

    กลัวก็แต่ จะเกิดรวดเร็วจนไม่มีอะไรอยู่ในมือเลย... เพิ่งดูหนังเรื่อง อาฟเตอร์ชอค มาครับ ตอนมันจะเกิด อยู่ๆมันก็เกิด ต้องหนีกันเดี๋ยวนั้นเลย ตอนนี้ก็เลยพก leatherman เป็น EDC และมีของจำเป็นในเป้ทำงานนิดหน่อย..(กลัวก็แต่เป้ที่เอามาทำงานถึงเวลาก็จะไม่มีโอกาสได้หยิบ ต้องหนีไปแต่ตัวหนะสิ) :'(

    ปล. มีชุดเสื้อ กางเกง รองเท้า พร้อมลุย แต่มันใส่มาทำงานไม่ได้.... ว่าจะเอารองเท้าเดินป่ามาใส่ทำงานแล้วเนี่ย ดีกว่าใส่รองเท้าหนังวิ่งเยอะเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2011
  16. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    เหตุการณ์นี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนเมษายน 2552 ครับ ผมและเพื่อนๆ ไปเที่ยว นอนแพที่สังขละบุรีมา ปกติแล้ว ถ้าผมไปรถกระบะ ผมจะใช้ "ถุงกันน้ำ" ขนาด 40 ลิตร ในการขนสัมภาระ ครับ เพราะไว้บนหลังกระบะ จะได้กันน้ำกันฝุ่น ครับ

    เรื่องมันมีอยู่ว่า แพที่สังขละบุรี เป็นแพนอน ซึ่งสามารถลากไปนอนที่กลางเขื่อนได้ครับ พวกเราก็ตัดสินใจกันว่า เราจะลากหรือ ไม่ลากดี สุดท้ายแล้วสรุปกันว่า ลากก็ลาก เพราะราคาไม่ต่างกันมากนัก จะเอาบรรยากาศ

    เราลากแพกันประมาณ 15.00 น. ลากแพขนาดใหญ่ จุคนประมาณ 30 คน ได้ โดยมีเรือหางยาว คอยลากอยู่ลำเดียวเท่านั้นครับ

    พอลากได้ไม่นาน เกิดฝนตกขึ้น เราคิดว่า ไม่มีอะไร เพราะฝนมันก็ตกเป็นธรรมดา เดี๋ยวมันก็หยุดเอง

    ปรากฏ ว่า ลากมาได้กลางเขื่อน เกิดลมกรรโชกหนัก มันก็คือพายุฤดูร้อนดีๆ นี่เอง แรงลม ทำให้ แพหมุน และ ตีเข้าฝั่ง เรือหางยาวที่ลากแพ ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะเครื่องยนต์เรือ ไม่สามารถสู้ลมได้ครับ ทำให้แพที่จุคนประมาณ 30 คน ถูกตีพัดเข้าฝั่ง จนไปกระแทก กับแพที่อื่น คนเรือ ก็พยายามช่วยดัน แต่เราไม่สามารถทำอะไร เพราะลมมันแรงจริงๆ ไม่สามารถควบคุมภัยธรรมชาติได้ นาทีวิกฤตที่สุดคือ เรือหางยาวที่ลากแพ ไปชนกับอีกแพหนึ่ง และแพของพวกผม ก็ได้อัดก๊อบปี กับเรือหางยาว ทำให้เรือหางยาวเสียหาย ส่วนเด็กขับเรือ เราก็พยายามที่จะตะโกนว่า "โดดน้ำไป สละเรือ" แต่เด็กเรือ คงกลัวเสียดายทรัพย์สิน โชคยังดี น้องเขา ได้รับบาดเจ็บ แพถลอก มือส้น เท่านั้นเอง แต่รอดการเกือบตายอย่างหวุดหวิด ครับ เพราะแรงลมมหาศาลจริงๆ

    สิ่ง ที่เกิดขึ้น โชคดี ไม่มีใครเป็นอะไรมากนัก แต่ทำให้ ลูกทริป คนอื่นๆ เริ่มวิตก กันมากขึ้น เนื่องจาก เรือลากก็เสียหาย ไม่สามารถลากกลับได้ ก็ต้องนอนกันกลางเขื่อน

    สิ่งที่ผมวิตกคือ กลัวว่ากลางคืน จะเกิดอีกครั้งหนึ่ง

    โชค ดี ที่เราเอา "ถุงกันน้ำ" มาใช้ และยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถช่วยชีวิตเราได้อีกหลายอย่างจริงๆ เช่น ไฟฉาย , มีดพับ , นกหวีด เป็นต้น

    ผมได้รวบรวมอุปกรณ์ที่มีอยู่ จัดไว้ในชุดเดียวกัน เอาไว้นอกถุงกันน้ำ เผื่อฉุกเฉินจริงๆ ส่วนทรัพย์สินมีค่า กระเป๋าเงิน มือถือ ผมจัดใส่ไว้ในถุงกันน้ำทั้งหมด และอัดอากาศ เข้าไป ให้ถุงน้ำมันพอง เผื่อว่าเวลา แพล่ม ก็มีถุงกันน้ำคอยจับไม่ให้จมน้ำได้ครับ

    แต่สุดท้าย ก็ไม่เกิดอะไร กลับบ้านได้โดยสวัสดิภาพ

    แต่อุปกรณ์ที่เรามีไว้ มันทำให้เราอุ่นใจมากขึ้น และนอนหลับในคืนนั้นได้ครับ
     
  17. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ประสบการณ์ เรื่อง ฝรั่งสอนลูก

    เมื่อปีที่แล้วที่่ผ่านมา ผมได้ขึ้นยอดดอยหลวงเชียงดาว สูงอันดับ 3 ของประเทศไทย และเป็นครั้งที่ 3 ของผมด้วยครับ

    ในครั้งนี้ ได้เห็นครอบครัวชาวต่างชาติ มี พ่อแม่ และลูกอีก 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1 อายุ ราวๆ 4-7 ขวบ ตัวยังเล็กครับ

    พ่อและแม่ จะเดินเอง แต่ลูก อีก 3 คน จะให้ลูกหาบแบกไปครับ โดยการให้ขี่คอ ดังนั้น เลยใช้ลูกหาบถึง 3 คน

    เป็นที่น่าแปลกใจ ทำไมให้เด็กขึ้นยอดเขาที่สูงขนาดนี้ แต่สิ่งที่แปลกใจมากกว่านั้น คือ

    เด็กผู้หญิงที่ขี่คอลูกหาบ อายุประมาณ 5 ขวบ ในมือได้ กำ "มีดวิกตอรินอกซ์" ไว้ อย่างแน่นเลยทีเดียว

    นี่ขนาดเด็กเล็กขนาดนี้ ยังกำ มีดเอนกประสงค์

    ผมยังคิดว่า พ่อและแม่ของเขาคงสอนให้รู้จักเตรียมพร้อม ไว้ ตามแบบฉบับแนวคิดของฝรั่งเขา

    สอนตั้งแต่ยังเล็กๆ เลยครับ น่านับถือจริงๆ
     
  18. หน่อง

    หน่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +185
    ขอบคุณครับ
     
  19. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ภัยแผ่นดินไหว ไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ และไม่สามารถแจ้งเตือนภัยได้ทันที หากเราได้ทราบถึงความอันตรายของแผ่นดินไหวแล้ว เราควรมีการวางแผน และเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราจากแผ่นดินไหว นอกจากนี้ การปรับปรุงที่พักอาศัยของท่าน ก็เป็นเรื่องสำคัญ เช่น การยึดชั้นวางอย่างแน่นหนา ให้มั่นคงแข็งแรง รวมไปถึงไฟบนเพดาน ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง ไม่ร่วงหล่นมาง่าย สิ่งเหล่านี้เป็นการลดผลกระทบความอันตรายที่เกิดจากแผ่นดินไหว

    5 วิธีในการเตรียมตัวรับมือแผ่นดินไหว

    1. ตรวจสอบความปลอดภัยในที่พักอาศัย

    - ยึดชั้นวางสิ่งของกับผนังให้แน่นหนา และปลอดภัย

    - วางสิ่งของที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากไว้ชั้นล่างหรือบนพื้น

    - วัสดุที่แตกง่าย เช่น แก้ว กระเบื้อง เซรามิก ควรเก็บไว้ในระดับต่ำ หรือในลิ้นชักที่ปิดสนิท และล็อกอย่างแน่นหนา

    - สิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เช่น กรอบรูป และกระจก ควรไว้ให้ห่างจากเตียงนอน และเก้าอี้พักพิง

    - ตรวจสอบ และยึดไฟเพดานให้แข็งแรง

    - ตรวจสอบและซ่อมสายไฟที่ชำรุด เนื่องจากอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ขณะเกิดแผ่นดินไหว

    - ตรวจสอบและซ่อมรอยแตกของผนัง และเพดานให้แข็งแรง โดยขอคำแนะนำจากวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้าง

    - ควรเก็บสารเคมีอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง วัตถุไวไฟ ไว้ในลิ้นชักชั้นล่างอย่างมิดชิด และล็อกอย่างแน่นหนา


    2. กำหนดสถานที่ปลอดภัยทั้งในและนอกที่พักอาศัย

    - เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น ใต้โต๊ะที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง

    - ในที่พักอาศัย ให้อยู่ห่างจาก ของมีคม วัสดุที่แตกหักง่าย เช่น แก้วน้ำ หน้าต่าง กระจก กรอบรูป หรือ เฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ในขณะแผ่นดินไหว

    - นอกที่พักอาศัย ให้อยู่ห่างจาก สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ต้นไม้ สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า รวมไปถึงทางยกระดับ สะพาน เป็นต้น

    3. ให้ความรู้กับตนเองและสมาชิกในครอบครัว

    - ศึกษาหาความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และการเตรียมพร้อมรับมือภัยแผ่นดินไหว โดยการติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงาน อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มูลนิธิสภาพเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นต้น

    - หากสมาชิกในครอบครัวของท่านมีเด็กเล็ก ควรให้คำแนะนำและสอนบุตรหลานของท่าน ในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยทางโทรศัพท์ เช่น เบอร์โทรศัพท์ 191 , 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นอกจากนี้ ควรสอนให้รู้จักการปรับคลื่นวิทยุ FM ยกตัวอย่างเช่น จส.100 , สวภ.91 เป็นต้น

    4. เตรียมเป้ฉุกเฉินไว้ให้พร้อม ยกตัวอย่างเช่น

    - ไฟฉายและแบตเตอรี่สำรอง

    - วิทยุ AM FM แบบพกพา พร้อมแบตเตอรี่สำรอง

    - ชุดปฐมพยาบาล และคู่มือปฐมพยาบาล

    - อาหารและน้ำฉุกเฉิน

    - มีดอเนกประสงค์

    - เงินสด เหรียญและธนบัตร

    - รองเท้าผ้าใบ

    5. วางแผนการติดต่อสื่อสารในยามฉุกเฉิน

    - ในกรณีที่สมาชิกในครอบครัว ไม่ได้อยู่ที่เดียวกันในระหว่างแผ่นดินไหว ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะ ผู้ใหญ่ต้องไปทำงาน ส่วนเด็กต้องไปโรงเรียน ควรมีการวางแผนสถานที่นัดพบหรือสถานที่รวมตัวหลังเกิดภัยพิบัติแล้ว

    - สมาชิกในครอบครัวทุกคน ควรมี ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของญาติ เพื่อน หรือบุคคลใกล้ชิดไว้ เพื่อสามารถติดต่อกันได้ง่าย หลังเกิดเหตุภัยพิบัติแล้ว

    ----------------------------------------------------------------------------------------

    ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา (FEMA)

    แปลและเรียบเรียง โดย Kongp

    เนื้อหาบางช่วงบางตอน มีการดัดแปลง แก้ไข เพื่อความเหมาะสมกับประเทศไทย
     
  20. วัสสานะ

    วัสสานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +565
    ถุงใส่น้ำพับได้จากร้านไดโซะ คุณภาพโอเคเลยครับ ถูกกว่าถุงใส่น้ำที่มียี่ห้อของต่างประเทศมาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...