วิธีรักษาศีลที่ถูกต้อง?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย จันทรเพ็ญ, 6 เมษายน 2011.

  1. จันทรเพ็ญ

    จันทรเพ็ญ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +2
    ต้องทำอย่างไรบ้างคะ อาราธนาศีลก่อนหรือเปล่า ขอโมทนานะค่ะ :cool:
     
  2. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,254
    อาราธนาเป็นการตั้งใจจะรักษาทำให้จิตเกิดความตั้งมั่น
     
  3. moshininja

    moshininja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +103
    อาราธนาก่อนก็ดี แต่แก่นแท้คือการปฏิบัติ ไม่ว่าจะศีล 5 ศึล 8 ศีล 10 หรือ ศีล 227 ข้อ คือการทำใจให้ผ่องแผ้ว ไม่คลุกคลีอยู่ในเครื่องเศร้าหมอง จงสำรวมอายตนะทั้งหลายด้วยความนอบน้อม ยอมรับ และเคารพทุกสิ่ง มองให้เห็นความดีชั่ว มองให้เป็นธรรม จงระวังภัยในใจให้ดี กระทำตนอย่างคนไม่ประมาททุกกาล นี่เป็นการเจริญศีลโดยแท้ ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  4. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ.
    ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

    พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนไว้ว่า เจตนาเป็นกรรม บุญจากการรักษาศีลจึงจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการตั้งความปราถนาหรือตั้งเจตนาไว้ในใจเราว่า เราจะไม่ประพฤติล่วงละเมิดข้อห้ามในศีลแต่ละข้อ และบุญจากการรักษาศีลจะคงอยู่ต่อไปตราบเท่าที่เจตนาดังกล่าวยังคงอยู่ ในที่สุดบุญจากการรักษาศีลจะขาดลงหรือบาปจากการไม่รักษาศีลจะเกิดขึ้นก็เมื่อใจมีเจตนาที่จะไม่รักษาศีลขึ้นมาแทนที่

    ดังนั้น ด้วยเหตุว่าเจตนารักษาศีลเป็นตัวบุญนี่เอง ผู้ใดที่ขาดการตั้งเจตนาในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ แม้ในเวลาที่เค้ายังไม่ฆ่าสัตว์ก็ตาม ผู้นั้นก็จะไม่ได้บุญจากการรักษาศีลในข้อห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

    นอกจากนี้ พระพุทธเจ้าท่านยังได้ตรัสไว้ด้วยว่า เราทั้งหลายไม่ควรประมาทในชีวิต ปุถุชนผู้ไม่ประมาทสามารถทำตามคำสอนนี้ได้โดยการตั้งใจสมาทานศีลเป็นประจำวันไว้เสมอ เพราะท่านเหล่านั้นทราบว่าสติปัญญาตนเองยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ในแต่ละวันจึงมีโอกาสพลาดจากศีล มีโอกาสทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยไปได้ไม่มากก็น้อย เพื่อความไม่ประมาทท่านเหล่านั้นจึงมักมีการตั้งเจตนารักษาศีลไว้ประจำวันเสมอๆ เผื่อตายลงเมื่อไร จะได้ตายในขณะที่ใจมีเจตนารักษาศีล คือตายในขณะที่จิตมีบุญแห่งศีลไว้แล้วนั่นเอง ถือเป็นการป้องกันตัวเองจากการตายไปสู่อบายภูมิได้เป็นอย่างดี

    สำหรับแนวทางในการฝึกฝนกำลังใจของผู้เริ่มต้นในการรักษาศีลใหม่ๆนั้น ควรเริ่มจากรักษาศีลเป็นเวลาก่อน เช่นอาจจะวันละ 2-3 ชั่วโมง ในช่วงเวลาเดิมๆ เพื่อปรับจิตใจให้ค่อยๆเคยชินกับการรักษาศีล และรู้สึกว่าการรักษาศีลไม่ใช่ของหนักเกินไป ก่อนนอนทุกคืนเราก็ควรมีการทบทวนพิจารณาตนเอง ว่าศีลข้อใดเราบกพร่อง ข้อใดเราไม่บกพร่อง ในข้อที่บกพร่องเราก็ตั้งใจใหม่ว่า นับแต่นี้เราจะไม่ยอมบกพร่องอีก การทำแบบนี้มีผลให้จิตที่มีสภาพจำเป็นธรรมชาติแห่งจิต จะเริ่มมีสติในการระวังรักษาศีลได้ดียิ่งขึ้น เมื่อทำต่อเนื่องซักเดือนจนกำลังใจมั่นคงขึ้นแล้ว เราก็ค่อยก้าวไปสู่กำลังใจในการการรักษาศีลทั้งวันต่อไป

    การรักษาศีลให้สมบูรณ์นั้น ถ้าอุปมาว่าศีลเป็นผลไม้ ต้นไม้แห่งศีลนี้จะเกิดจะเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ก็ย่อมต้องอาศัยเมล็ดพันธุ์แห่งความเมตตากรุณาทั้งต่อตนเองและผู้อื่นเป็นสำคัญ ดังนั้นการให้ทานเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือพระศาสนาโดยไม่หวังผลตอบแทนอยู่เสมอๆ รวมถึงการแผ่เมตตา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่เสมอ จึงเป็นวิธีเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งเมตตา กรุณา และต้นไม้แห่งศีลให้เกิดขึ้นกับใจเรา และเมตตากรุณาที่เจริญขึ้นนี้ ก็จะเกื้อกูลให้ศีลเจริญเติบโตและทรงตัวอยู่ได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุว่าทำไม พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เราปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา โดยให้เราทำควบคู่กันไปเพื่อให้ธรรมเหล่านี้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อยังความเจริญของ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นมรรคที่จะนำไปสู่ผลของความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมและการบรรลุธรรมในที่สุด
     
  5. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    [​IMG]
    หลวงพ่อชา สุภัทโท


    “การที่เราจะรักษาศีลนั้นมี ๓ ประการ หนึ่งเราจะขอสมาทานกับพระภิกษุ เป็นสมาทานวิรัติ สัมปัตตวิรัติคือเรางดเว้นด้วยตนเอง ถ้าเรารู้ว่าปาณา อทินนา กาเม มุสา สุรา ตลอดไปถึงอุโบสถศีล เมื่อเรารู้แล้ว เราก็ละเอง ไม่ต้องไปสมาทานกับใคร อันนี้เป็นศีลประการที่สอง ประการที่สามเป็นสมุจเฉทวิรัติ เป็นศีลของพระอริยเจ้า เป็นศีลที่เรียกว่ากำหนดละเลย ตั้งไว้ในใจเด็ดขาด ไม่ต้องสมาทานกับใคร อันนี้เป็นศีลของพระอริยเจ้า สมุนเฉทตัดขาดเลย เป็นผู้มีสติคุ้มครองอยู่เสมอ ดูแลอยู่ด้วยตนเองตลอดกาลตลอดเวลา ศีลมีทางที่จะเกิดขึ้นได้อย่างนี้ คือ

    สัมปัตตวิรัติ สมาทานวิรัติ สมุจเฉทวิรัติ สมาทานวิรัติก็คือว่าตามพระไป สัมปัตติวิรัติคืองดเว้นด้วยตนเอง ไม่ต้องสมาทานกับใคร คือเรารู้แล้วว่าสัตว์นี่ไม่ควรฆ่า เราก็ไม่ยอมฆ่ามันไม่เบียดเบียนมัน ไม่ต้องไปถามใครล่ะ รู้แล้วไม่ต้องทำ สมุจเฉทวิรัติขึ้นชื่อว่าบาปแล้ว ฉันเลิกเลย เลิกตลอดชีวิตไปเลย ขึ้นชื่อว่ามันเป็นบาปเป็นกรรม ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว ฉันเลิกแต่วันนี้เรียบร้อย นี่เรียกว่าสมุจเฉทวิรัติ ตัดขาดไปเลย

    ทีนี้ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นพื้นฐานของพระนิพพานทั้งนั้น สมาทานวิรัติก็เป็นพื้นฐานของพระนิพพานได้ สัมปัตตวิรัติก็เป็นพื้นฐานของพระนิพพานได้ สมุจเฉทวิรัติก็เป็นพื้นฐานของพระนิพพานได้ อันนี้อุบาสกอุบาสิกาเราทั้งหลายบางทีก็ข้องใจ ศีลนี้ก็คิดว่าจะไปเรียนกับพระอยู่ทุกเวลา ใครอยากจะได้ศีลก็ไปอาราธนา มะยังภันเต ติสะระเณนะสหะ ปัญจะสีลานิยาจามะ คิดว่าอย่างนี้จึงจะได้ศีล ถึงจะเป็นศีล นอกจากนี้ไป ไม่มีพระไม่รู้จะไปรับศีลที่ไหน ถ้าอย่างนี้มันจนตาย จนเพราะความโง่ของเรานี้เอง

    เมื่อรู้จักว่ากินสุรานี้มันบาป เราก็เลิกเท่านั้นแหละ ไม่ต้องไปถามใคร เรารู้แล้วมันก็ไม่เมา เหมือนมันก็เป็นศีลอันบริสุทธิ์อยู่แล้ว ศีลเดิมมันเป็นอย่างนี้ จะไปสมาทานกับคนอื่นนั้นก็เรียกว่าเรายังไม่รู้จักศีล ท่านก็บอกไป ท่านว่าไปก่อน เรียกว่าประกาศศีล ขณะนั้นเราก็ยังไม่รู้เลย

    ศีลนี้ถ้าพูดรวมแล้วมันเป็นพื้นฐานของธรรมะ ธรรมะเกิดขึ้นได้เพราะคนมีศีล คนรักษาศีลคือคนบริสุทธิ์ผ่องใสสะอาด ฉะนั้นบรรดาเราท่านทั้งหลายนั้นจึงพากันสมาทานศีล ความเป็นจริงสมาทานศีลนั้นเมื่อไรก็ได้”

    .....................................................................

    ขอเชิญชวนรักษาศีล๕ ร่วมกับพวกเราชาวโครงการเรารักศีล๕ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และน้อมถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระชนมายุ ครบ ๘๔ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ นะครับ

    http://palungjit.org/threads/โครงการเรารักศีล-๕.274075/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2011
  6. Dek-wat

    Dek-wat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +31

    ขอโมทนาคร้าบบ สาธุ..:cool:
     
  7. nanajitang

    nanajitang สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +19
    ขึ้นชื่อว่ามันเป็นบาปเป็นกรรม ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว ฉันเลิกแต่วันนี้เรียบร้อย นี่เรียกว่าสมุจเฉทวิรัติ ตัดขาดไปเลย.......
    อนุโมทนาค่ะ.....
     
  8. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    ศีลห้า ศีลติดตัว
    โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท

    “ศีลทั้งห้าข้ออันเป็นศีลสำหรับชาวบ้าน หลวงพ่อให้พยายามรักษา ถึงจะมีการด่างพร้อยไปบ้างในตอนแรก ก็ให้ตั้งใจพยายามตั้งขึ้นใหม่

    ข้อหนึ่ง ท่านห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ ไม่ให้เบียดเบียนสัตว์อื่นให้ได้รับความทุกข์ทรมานเพราะเป็นบาปกรรมทำให้เราต้องได้รับผลกรรมนั้น

    ข้อสอง อทินนา ห้าไม่ให้ลักขโมยหรือฉ้อโกง เพราะถ้ามีคนมาขโมยของเรา เราก็จะเสียใจเสียดายมาก ความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นก็เหมือนกันกับเรา จึงไม่ควรทำ

    ข้อสาม กาเม ห้ามไม่ให้ล่วงเกินสามีภรรยาของผู้อื่น ไม่ให้นอกใจคู่ครองของตน ถ้าล่วงเกินศีลข้อนี้ ก็จะทำให้มีการทะเลาะเบาะแว้งมีปากเสียงกัน ทำให้เกิดความหวาดระแวง ไม่เชื่อใจซึ่งกันและกัน ท่านจึงให้งดเว้น

    ข้อที่สี่ มุสา พูดเท็จหลอกลวงผู้อื่น ทำให้เราเสื่อจากสง่าราศี ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย จะพูดจาสิ่งใด ก็ไม่มีใครเคารพนับถือ ไม่มีใครเชื่อฟัง เราจึงไม่ควรพูดเท็จ

    ข้อห้า สุราเมรัย ห้ามไม่ให้ดื่มสุรายาเมา เพราะเป็นสิ่งที่ย้อมจิตใจให้ฮึกเหิมประมาทลืมตัว เป็นเหตุให้ก่อกรรมทำชั่วทุกอย่างได้ ความมึนเมาเป็นลักษณะอาการของคนบ้าใบ้เสียสติ ไม่มีกิริยามารยาทสมบัติผู้ดีหลงเหลืออยู่เลย จึงควรที่จะรักษา ไม่ควรประมาท

    ถ้าครอบครัวใดมีความประมาท ไม่ระวังรักษาศีลซึ่งเป็นข้อห้ามไม่ให้ทำความชั่วนี้ ครอบครัวนั้นจะไม่มีความสงบร่มเย็น จะได้รับความเดือดร้อนวุ่นวาย ท่านจึงสอนให้มีการงดเว้นจากการกระทำอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันเป็นทางนำมาซึ่งความเดือดร้อนเหล่านี้”

    นอกจากนั้น หลวงพ่อยังกำชับให้ทุกคนตั้งอกตั้งใจรักษาศีลของตน คือ
    เมื่อสมาทานแล้วก็ต้องงดเว้นจริง ๆ จึงจะเรียกว่าการปฏิบัติให้ศีลเกิดขึ้น

    “ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านจึงให้ปฏิบัติ ไม่ให้พูดเฉย ๆ ให้ปฏิบัติก็คือให้ทำตามความเป็นจริง เช่นว่า เราสมาทานซึ่งศีลอย่างนี้เป็นต้น ก็ว่าปาณา อทินนา กาเม มุสา สุรา นี่เรียกว่าศีล แต่เป็นเพียงคำพูดถึงศีล ไม่ใช่ตัวของศีล สภาวะของศีลนั้นไม่ใช่ว่าการพูด มันเป็นการกระทำจริง ๆ เช่นว่า ไม่ฆ่าสัตว์อย่างนี้ เราก็ไม่ฆ่าจริง ๆ ไม่กินสุราเราก็ไม่กินจริง ๆ ไม่พูดโกหกเราก็ไม่โกหกจริง ๆ เราไม่ขโมยของคนอื่นเราก็ไม่ขโมยจริง ๆ ไม่ใช่ดีแต่พูดเฉย ๆ

    ศีลมันอยู่ที่ตรงนั้น อยู่ตรงที่กระทำ ไม่ใช่อยู่ตรงที่พูด ที่พูดเพื่อชี้ให้เห็นว่า อันนั้นมันเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เมื่อเราตกลงใจว่ามันเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็ลงมือประพฤติปฏิบัติเลย ก็จะเกิดเป็นผลขึ้นมา อันนั้นท่านเรียกว่าก้อนศีล

    ศีล ไม่ใช่เป็นของยาก การละความชั่วเท่านั้นแหละ ความชั่วมันจะเกิดขึ้นทางไหน เกิดขึ้นทางกายของเรา ทางวาจาของเรา ทางใจของเรานี้ มันจะเกิดผิดพลาดก็เกิดตรงนี้แหละ เราไปที่ไหนเราก็เอาไปด้วย กายเราก็เอามาวันนี้ ใจเราก็เอามาวันนี้ วาจาก็เอามาวันนี้โทษมันจะเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นทางกาย ทางวาจา ทางใจนี้ นี่คือแหล่งที่จะปฏิบัติ ข้อปฏิบัติมีอยู่แล้ว มันจะดีขึ้นตรงนี้ พูดดีก็ขึ้นตรงที่ปากเรานี้ พูดไม่ดีก็ไม่ดีที่วาจานี้ ทั้งกายทั้งวาจานี้มันมีอยู่แล้ว ไม่ต้องอดที่จะต้องปฏิบัติ”

    ......................................................................

    ขอบพระคุณที่มาจาก : http://palungjit.org/posts/4309276
     
  9. จันทรเพ็ญ

    จันทรเพ็ญ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +2
    สาธุ ๆ ๆ ขอขอบพระคุณ ทุกๆ ท่าน ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่าน
    กราบขอบพระคุณจริงๆ เจ้าคะ

    :cool:
     
  10. rasetsacrifa

    rasetsacrifa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +127
    ครับโดยส่วนตัวแล้วยังขาดๆอยู่อีกนิดๆหน่อยครับ กล่าวคือโดยนิสัยผมเป็นคนตลก ชอบพูดเพื่อความสนุกสนานซึ่งบางครั้ง มันก็ไม่มีอยู่จริง เพ้อเจ้อไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับโกหกคนอื่นเพื่อหวังผลประโยชน์อะไรบางอย่าง แต่ก็ จะพยายามต่อไปครับ เกือบได้ศีลห้าบริสุทธิ์แล้ว
    อีกนิดเดียว ^^
     
  11. Attila 333

    Attila 333 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +716
    ศีลคุณ<O:p</O:p


    คุณของศีล<O:p</O:p

    คนทั่วไปมักเข้าใจความหมายของศีลผิดไป เข้าใจว่าเป็นข้อบังคับที่คอยตีกรอบเรา
    เข้าใจว่าศีล คือข้อๆๆๆ ถ้าเรายังตีความหมายของศีล แปลว่าข้อๆๆๆ
    นั้นให้รู้ว่าเรายังห่างไกลจากจากความจริงของ ศีล อยู่มาก
    <O:p</O:p
    หากเราเข้าใจว่าศีล คือข้อห้าม คือข้อบังคับ คือกรอบที่ปิดล้อมเราไว้
    จิตใจของเราก็จะไม่ต่างอะไรจากสัตว์ป่าที่ถูกจับมาขังไว้ในกรง
    มันย่อมดิ้นรน ขัดขืน รู้สึกเป็นของท้าทาย อยากฝ่าฝืน อยากทำลายศีล อันนี้เป็นสันดานของจิตเดิม
    <O:p</O:p
    ศีลที่เกิดจากปัญญาจะต้องเห็นคุณของศีล ว่ามีคุณค่ามหาศาล
    <O:p</O:p
    . ปิดอบายภูมิ โอกาสที่เราจะพลาดไปเกิดเป็นสัตว์ในอบายภูมิ
    คือเป็น สัตว์นรก เปรต อสูรการ หรือเกิดเป็นสัตว์เดรฉาน ประตูสู่อบายภูมิถูกปิด
    <O:p</O:p
    . ทำลายเชื้อชั่ว ที่เป็นอุปนิสัย สันดานเดิม ของจิต<O:p</O:p
    จิตนั้นมีสภาพจำ ให้รู้เอาไว้ว่าอุปนิสัยของเรา
    ชาตินี้เคยเป็นคนอย่างไร ชาติหน้าก็จะเป็นอย่างนั้น<O:p</O:p
    คนที่เคยฆ่าสัตว์…….เขาก็จะทำในสิ่งที่เขาเคยทำ คือการฆ่าสัตว์ ในเมื่อเขาฆ่าสัตว์ได้ เขาก็ฆ่าคนได้<O:p</O:p
    คนเคยลักทรัพย์ แม้นเพียงเล็กน้อย……..ถ้าวันหนึ่งเกิดไปตกระกำลำบาก
    เขาอาจจะปล้น จี้ หรืออาจจะฆ่าใครก็ได้ เขาสามารถทำได้<O:p</O:p
    , การประพฤติผิดในกาม , การกล่าวมุสา , หรือคนที่ชอบดื่มสุรา ของมึนเมาก็เหมือนกัน ,
    สันดานเก่าของตนเคยเป็นคนอย่างไร มันก็จะเป็นอย่างนั้นไปตลอด
    ตราบใดที่เชื้อยังไม่ถูกทำลาย..……ก็เพราะจิตมีสภาพจำ<O:p</O:p

    ฉะนั้น เราจะไม่ทำลายความดี คือ ไม่ทำลายศีล เพราะการทำลายศีล คือการทำลายตัวเอง<O:p</O:p

    จึงต้องทำลายเชื้อชั่วที่นอนเนืองอยู่ในสันดาน อันจะนำพาไปสู่อบายภูมิให้หมดสิ้นไป<O:p</O:p
    จากนั้นปลูกฝังเชื้อดี อันเป็นกุศลให้ปรากฏเกิดกับใจเราด้วย ศีล๕ ให้บริสุทธิ์
    แล้วค่อยอบรมศีล ๘ ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อสร้างเชื้อเนกขัมมะให้ปรากฏ
    ให้เพิ่มพูน เมื่อเจริญให้มากแล้วก็จะเป็นหนทางไปสู่การสิ้นภพสิ้นชาติ<O:p</O:p
    ส่วนท่านที่เป็นอุคคติตัญญู เพราะท่านได้อบรมตนเองมาเป็นอย่างดีแล้ว
    มีเชื้อเนกขัมมะบริบูรณ์แล้ว เมื่อได้มาพบพระศาสนาได้สดับรับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แม้นเพียงประโยคเดียว
    เมื่อเชื้อมีความบริบูรณ์แล้วแค่เพียงประกายไฟ สะเก็ดไฟเพียงสะเก็ดเดียว
    จากพระโอษฐ์ก็สามารถทำให้ดวงตาปัญญาลุกโพรงได้ในทันที
    สำเร็จอรหัตผลในทันที เพราะท่านสั่งสมเนกขัมมะบารมีบริบูรณ์แล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ศีลต้องหยั่งลงสู่ใจ มีศีลคุมใจ ยุบรวมเหลือเพียงคำว่าปกติ ไม่มีคำว่าข้อๆ
    <O:p</O:p
    ศีล แปลว่าปกติ มีกาย วาจา ใจเป็นปกติ คือจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ มันจะเป็นของมันโดยอัตโนมัต เป็นไปโดยธรรมชาติ
    <O:p</O:p
    เมื่อศีลหยั่งลงสู่ใจแล้ว คุมใจตนเองอยู่แล้ว จะเริ่มเกิดความสุขขึ้น มีความพอใจในศีลที่ตนรักษา นึกถึงศีลเมื่อไรใจก็เป็นสุขเมื่อนั้น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อศีลคุมใจแล้ว อารมณ์ใจก็จะทรงตัว มันทรงตัวของมันเองโดยธรรมชาติ เป็นผลทำให้สมาธิทรงตัว ปัญญาก็เกิดตาม

    ศีลตัวเดียวจึงเป็นทั้งสมาธิ และปัญญา อยู่ในตัวเดียวกันโดยไม่ต้องไปหลับตา หรือตั้งท่าทำสมาธิ <O:p</O:p
    เมื่อปัญญาเกิด ปัญญาก็จะมาอบรมศีล
    <O:p</O:p
    ศีล ก็เป็นกำลังให้สมาธิต่อ
    <O:p</O:p
    สมาธิ ก็เป็นกำลังให้ปัญญาอีก………มันก็ไม่ไปไหน ศีล สมาธิ ปัญญา ก็จะวนเป็นกำลังให้กันอยู่อย่างนี้
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    และด้วยอานุภาพแห่งศีล ทำให้เรามีจิตใจหนักแน่น มั่นคง
    ทำให้เราไม่กลัวกับสิ่งที่จะต้องเจอ จะต้องเผชิญกับอะไรก็ตามบนโลกใบนี้ ไม่กลัว
    หรือหากต้องละอัตตภาพนี้ไปเราก็มีความสุข นี้คืออานิสงส์ของศีล

    (พูดซ้ำไปซ้ำมามีความผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ผมได้เป็นอะไรทั้งนั้น เป็นปุถุชนธรรมดา
    ไม่ได้ต้องการอวด แต่ไม่อยากให้ท่านต้องเสียผลประโยชน์ไป อยากให้ท่านได้รับผลประโยชน์โดยบริบูรณ์
    ไม่ให้เชื่อ แต่ให้ใช้ปัญญาพิจารณา )<O:p</O:p
    ……………แด่ทุกท่านผู้เป็นที่รัก <O:p</O:p

    เราตักเตือนตนเองโดยธรรมได้หรือไม่ ?
    <O:p</O:p

    แล้วผู้อื่นตักเตือนเราโดยธรรมได้หรือไม่ ?
    <O:p</O:p


    พิจารณาข้อบกพร่องของตน ดูที่ตัว แก้ที่ตัว จบที่ตัว

    เรามีความละอายต่อบาป และเกรงกลัวต่อผลของบาปที่จะเกิดขึ้น
    <O:p</O:p


    สิ่งใดก็ตามอันจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนแก่ตนในภายหลัง ควรละเสีย งดเว้นเสีย
    <O:p</O:p


    จงทำทางเดินของเธอ อย่าให้มันมีอุปสรรค
    <O:p</O:p


    เมตตาธรรมค้ำจุนโลก<O:p</O:p
     
  12. SP6580

    SP6580 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +1,550
    จากที่คุณ Attila 333 ส่วนตัวผมว่าแจ่มจำรัสดีครับ
     
  13. วางใจ

    วางใจ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +23
    แม่ชีท่านหนึ่งเคยบอกว่า ศิล มาจาก ศิลา หมายถึง ความหนักแน่น เยือกเย็น เป็นสุข
    ผู้มีศิลจะรักษาจิตให้ผ่องใสได้ เบิกบานและเป็นสุข
     
  14. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    สมัยก่อนไม่มีพระ (เช่นสมัยพระเวสสันดรไปอยู่ป่า รักษาศีลในป่า ก็ตั้งใจรักษาศีลห้า
    แปลกหนึ่งข้อ คือไม่นอนเสพกามกับพระนางมัทรี หรือใคร ๆ ทั้งสิ้นฯ นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่าอยู่ที่เจตนา คือตั้งใจรักษา ไม่จำเป็นต้องอาราธนาก็ได้ ครับ แต่ปัจจุบันก็คงต้องถือตามธรรมเนียมปัจจุบันหละครับ (มีเรื่องตัวอย่างมากมายในอดีต ที่รักษาศีลโดยไม่ต้องอารธนา ศึกษาได้ใน เรื่องพระเจ้าสิบชาติ นะครับ)
     
  15. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    อนุโมทนา สาธุ;ปรบมือ หาเนื้อหามาได้ดีครับ
     
  16. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    ดีครับ อนุโทนาด้วย ;ปรบมือ
     
  17. pandablahblah

    pandablahblah Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +71
    อนุโมทนาสาธุแด่เจ้าของกระทู้ที่รักษาศีล และอนุโมทนาสาธุแด่ผู้แนะนำและรักษาศีลทุกท่านนะคะ ดีจังเลยค่ะ วันนี้แฮปปี้ผิดศีลข้อ 1 ไป เผลอ ตบแมลงไปสองแป๊ะค่ะ ฮือๆ T^T
     
  18. Fabreguz

    Fabreguz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,911
    ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน......... ศีลอยู่ที่ใจ ใจรักษาศีล ศีลก็ควบคุมใจ.....
    .
    สรุปคือ...... ควบคุมใจ....... เมื่อปกติดีแล้ว..... ศีลก็จะรักษาใจเอง

    จะศีลข้อไหน ถ้าใจคุมอยู่ .... ก็ไม่ยอมผิด......
     
  19. Raoeng

    Raoeng สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    การรักษาศีล

    สำหรับ"เราเอง"การรักษาศีล(5)ทำง่ายๆสบายๆคือ
    1. งดเจตนาฆ่าสัตว์ รวมทั้งเจตนารับประทานเนื้อสัตว์(ลดส่งเสริมการฆ่า)
    2. งดเอาของ ของคนอื่นที่ไม่อนุญาต หรือเองของที่ไม่ใช่ของตนเอง
    3. งดยุ่งเกี่ยวแบบสามี-ภรรยา กับผู้ไม่ใช่ สามี-ภรรยา ของตนเอง
    4. งดพูดจาหลอกลวง หยาบคาย ใส่ร้าย นินทา ฯลฯ (ข้อนี้รักษายากมาก)
    5. งดดื่มสุราหรือน้ำเมาต่างๆ
    ข้อ 1,2และ5 เกือบเด็ดขาดแล้ว น้าน.... นาน....เกิดขึ้น 1 ครั้ง(นับปี)
    ข้อ 3 ไม่มีเด็ดขาด
    ข้อ 4 มีบ้าง นานๆๆ ครั้ง (นับเดือน) ต้องพูดให้น้อยจึงจะไม่เกิดขึ้น
     
  20. ภูปรมัตถ์

    ภูปรมัตถ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +16
    ขอถามเป็นความรู้ การผิดศีลข้อสามเกิดขึ้นเมื่อใด
    1.เมื่อมีจิตปฏิพัทธ์ หรือ
    2.เมื่อมีปฏิสัมพันธ์แล้ว
    แล้วคนที่ทำผิดศีลข้อนี้สมควรได้รับผลของกรรมอย่างไรทั้งทางโลกและทางธรรม (เรารู้ว่าเขาทำผิดแต่ไม่เห็นว่าเขาจะได้รับผลกรรมอะไรเลย,ยังมีสังคม,หมู่มิตรปกติเหมือนชีวิตไม่มีอะไรเกิดขึ้นทั้งที่สังคมควรประณาม และมองว่าสิ่งนี้มันเป็นเรื่องผิด ผิด และผิด (อัดอั้นมาก)
     

แชร์หน้านี้

Loading...