ศีลของพระอริยะ มีลักษณะอย่างไร?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย จันทรเพ็ญ, 10 เมษายน 2011.

  1. จันทรเพ็ญ

    จันทรเพ็ญ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +2
    ศีลของพระอริยะ มีลักษณะอย่างไร ต่างจากศีลของคนธรรมดาอย่างไรบ้างเจ้าค่ะ? สาธุ :d
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ศีลเดียวกัน แต่การรักษาศีลของพระอริยะจะเป็นไปเองไม่ต้องบีบคั้นบังคับ
     
  3. Attila 333

    Attila 333 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +716
    ศีลคุณ<O:p</O:p


    คุณของศีล<O:p</O:p

    คนทั่วไปมักเข้าใจความหมายของศีลผิดไป เข้าใจว่าเป็นข้อบังคับที่คอยตีกรอบเรา
    เข้าใจว่าศีล คือข้อๆๆๆ ถ้าเรายังตีความหมายของศีล แปลว่าข้อๆๆๆ
    นั้นให้รู้ว่าเรายังห่างไกลจากจากความจริงของ ศีล อยู่มาก
    <O:p</O:p
    หากเราเข้าใจว่าศีล คือข้อห้าม คือข้อบังคับ คือกรอบที่ปิดล้อมเราไว้
    จิตใจของเราก็จะไม่ต่างอะไรจากสัตว์ป่าที่ถูกจับมาขังไว้ในกรง
    มันย่อมดิ้นรน ขัดขืน รู้สึกเป็นของท้าทาย อยากฝ่าฝืน อยากทำลายศีล อันนี้เป็นสันดานของจิตเดิม
    <O:p</O:p
    ศีลที่เกิดจากปัญญาจะต้องเห็นคุณของศีล ว่ามีคุณค่ามหาศาล
    <O:p</O:p
    . ปิดอบายภูมิ โอกาสที่เราจะพลาดไปเกิดเป็นสัตว์ในอบายภูมิ
    คือเป็น สัตว์นรก เปรต อสูรการ หรือเกิดเป็นสัตว์เดรฉาน ประตูสู่อบายภูมิถูกปิด
    <O:p</O:p
    . ทำลายเชื้อชั่ว ที่เป็นอุปนิสัย สันดานเดิม ของจิต<O:p</O:p
    จิตนั้นมีสภาพจำ ให้รู้เอาไว้ว่าอุปนิสัยของเรา
    ชาตินี้เคยเป็นคนอย่างไร ชาติหน้าก็จะเป็นอย่างนั้น<O:p</O:p
    คนที่เคยฆ่าสัตว์…….เขาก็จะทำในสิ่งที่เขาเคยทำ คือการฆ่าสัตว์ ในเมื่อเขาฆ่าสัตว์ได้ เขาก็ฆ่าคนได้<O:p</O:p
    คนเคยลักทรัพย์ แม้นเพียงเล็กน้อย……..ถ้าวันหนึ่งเกิดไปตกระกำลำบาก
    เขาอาจจะปล้น จี้ หรืออาจจะฆ่าใครก็ได้ เขาสามารถทำได้<O:p</O:p
    , การประพฤติผิดในกาม , การกล่าวมุสา , หรือคนที่ชอบดื่มสุรา ของมึนเมาก็เหมือนกัน ,
    สันดานเก่าของตนเคยเป็นคนอย่างไร มันก็จะเป็นอย่างนั้นไปตลอด
    ตราบใดที่เชื้อยังไม่ถูกทำลาย..……ก็เพราะจิตมีสภาพจำ<O:p</O:p

    ฉะนั้น เราจะไม่ทำลายความดี คือ ไม่ทำลายศีล เพราะการทำลายศีล คือการทำลายตัวเอง<O:p</O:p

    จึงต้องทำลายเชื้อชั่วที่นอนเนืองอยู่ในสันดาน อันจะนำพาไปสู่อบายภูมิให้หมดสิ้นไป<O:p</O:p
    จากนั้นปลูกฝังเชื้อดี อันเป็นกุศลให้ปรากฏเกิดกับใจเราด้วย ศีล๕ ให้บริสุทธิ์
    แล้วค่อยอบรมศีล ๘ ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อสร้างเชื้อเนกขัมมะให้ปรากฏ
    ให้เพิ่มพูน เมื่อเจริญให้มากแล้วก็จะเป็นหนทางไปสู่การสิ้นภพสิ้นชาติ<O:p</O:p
    ส่วนท่านที่เป็นอุคคติตัญญู เพราะท่านได้อบรมตนเองมาเป็นอย่างดีแล้ว
    มีเชื้อเนกขัมมะบริบูรณ์แล้ว เมื่อได้มาพบพระศาสนาได้สดับรับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แม้นเพียงประโยคเดียว
    เมื่อเชื้อมีความบริบูรณ์แล้วแค่เพียงประกายไฟ สะเก็ดไฟเพียงสะเก็ดเดียว
    จากพระโอษฐ์ก็สามารถทำให้ดวงตาปัญญาลุกโพรงได้ในทันที
    สำเร็จอรหัตผลในทันที เพราะท่านสั่งสมเนกขัมมะบารมีบริบูรณ์แล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ศีลต้องหยั่งลงสู่ใจ มีศีลคุมใจ ยุบรวมเหลือเพียงคำว่าปกติ ไม่มีคำว่าข้อๆ
    <O:p</O:p
    ศีล แปลว่าปกติ มีกาย วาจา ใจเป็นปกติ คือจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ มันจะเป็นของมันโดยอัตโนมัต เป็นไปโดยธรรมชาติ
    <O:p</O:p
    เมื่อศีลหยั่งลงสู่ใจแล้ว คุมใจตนเองอยู่แล้ว จะเริ่มเกิดความสุขขึ้น มีความพอใจในศีลที่ตนรักษา นึกถึงศีลเมื่อไรใจก็เป็นสุขเมื่อนั้น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อศีลคุมใจแล้ว อารมณ์ใจก็จะทรงตัว มันทรงตัวของมันเองโดยธรรมชาติ เป็นผลทำให้สมาธิทรงตัว ปัญญาก็เกิดตาม

    ศีลตัวเดียวจึงเป็นทั้งสมาธิ และปัญญา อยู่ในตัวเดียวกันโดยไม่ต้องไปหลับตา หรือตั้งท่าทำสมาธิ <O:p</O:p
    เมื่อปัญญาเกิด ปัญญาก็จะมาอบรมศีล
    <O:p</O:p
    ศีล ก็เป็นกำลังให้สมาธิต่อ
    <O:p</O:p
    สมาธิ ก็เป็นกำลังให้ปัญญาอีก………มันก็ไม่ไปไหน ศีล สมาธิ ปัญญา ก็จะวนเป็นกำลังให้กันอยู่อย่างนี้
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    และด้วยอานุภาพแห่งศีล ทำให้เรามีจิตใจหนักแน่น มั่นคง
    ทำให้เราไม่กลัวกับสิ่งที่จะต้องเจอ จะต้องเผชิญกับอะไรก็ตามบนโลกใบนี้ ไม่กลัว
    หรือหากต้องละอัตตภาพนี้ไปเราก็มีความสุข นี้คืออานิสงส์ของศีล

    (พูดซ้ำไปซ้ำมามีความผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ผมได้เป็นอะไรทั้งนั้น เป็นปุถุชนธรรมดา
    ไม่ได้ต้องการอวด แต่ไม่อยากให้ท่านต้องเสียผลประโยชน์ไป อยากให้ท่านได้รับผลประโยชน์โดยบริบูรณ์
    ไม่ให้เชื่อ แต่ให้ใช้ปัญญาพิจารณา )<O:p</O:p
    ……………แด่ทุกท่านผู้เป็นที่รัก <O:p</O:p

    เราตักเตือนตนเองโดยธรรมได้หรือไม่ ?
    <O:p</O:p

    แล้วผู้อื่นตักเตือนเราโดยธรรมได้หรือไม่ ?
    <O:p</O:p


    พิจารณาข้อบกพร่องของตน ดูที่ตัว แก้ที่ตัว จบที่ตัว

    เรามีความละอายต่อบาป และเกรงกลัวต่อผลของบาปที่จะเกิดขึ้น
    <O:p</O:p


    สิ่งใดก็ตามอันจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนแก่ตนในภายหลัง ควรละเสีย งดเว้นเสีย
    <O:p</O:p


    จงทำทางเดินของเธอ อย่าให้มันมีอุปสรรค
    <O:p</O:p


    เมตตาธรรมค้ำจุนโลก<O:p</O:p
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    หากถือศีล ไม่เข้าใจในสาระของศีล พึงระวังจะเป็น สีลัพพตปรามาส
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ในสมัยอรรถกถา ท่านนิยมแสดงสิกขา 3 ในแง่ที่เป็นระดับขั้นต่างๆของการละกิเลสคือ

    1. ศีล เป็นวีติกกมปหาน (เป็นเครื่องละวิติกกมกิเลส คือ กิเลสอย่างหยาบที่เป็นเหตให้ล่วงละเมิดออกมาถึงกายวาจา)

    2. สมาธิ เป็นปริยุฏฐานปหาน (เป็นเครื่องละปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลางที่เร้ารุมอยู่ในจิตใจ ซึ่งบางท่านระบุว่าได้แก่ นิวรณ์ 5)

    3. ปัญญา เป็นอนุสยปหาน (เป็นเครื่องละอนุสัยกิเลส คือ กิเลสอย่างละเอียดที่แอบแนบนอนคอยอยู่ในสันดาน รอแสดงตัวเมื่อได้กระตุ้น ได้แก่ อนุสัย 7 )
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ท่านยังได้แสดงในแง่อื่นๆอีก เช่น ศีลเป็นตทังคปหาน สมาธิเป็นวิกขัมภันปหาน ปัญญา เป็นสมุจเฉทปหาน

    ศีล เป็นเครื่องละทุจริต สมาธิเป็นเครื่องละตัณหา ปัญญา เป็นเครื่องละทิฏฐิ ดังนี้เป็นต้น

    ดู วินย.อ.1/22 ฯลฯ
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คำว่า ศีล คือ ความปกติ สุข ที่จิตใจ คำพูด และ การกระทำ
    ศีล ของพระอริยะ จะมีลักษณะ คือ เริ่มที่ จิตใจ เมื่อจิตใจดีแล้ว ย่อมไม่เจตนาทำความชั่ว
    เมื่อจิตใจดีแล้ว ย่อมไม่พูดปด ไม่พูดสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
    เมื่อจิตใจดีแล้ว ย่อมไม่กระทำความไม่ดี

    ลักษณะศีล ของพระอริยะ จึงประกอบด้วย ใจที่ปกติสุข และ มีปัญญาไตร่ตรอง งดเว้น สิ่งที่จะเป็นข้าศึกต่อจิตใจที่ปกติสุขนั้น
    โดยปกติแล้ว พระอริยะจะมีศีล แตกต่างกันไปตามชั้นตามภูมิ เพราะจิตท่านละเอียดแตกต่างกัน
    พระโสดาบันนี่ อาจจะยังโกรธ ยังไม่พอใจ
    แต่ พระสกิทาคามี ก็อาจจะพิจารณา งดเว้นการโกรธในเบื้องต้น บรรเทาความโกรธ และ ไปประหารความโกรธในขั้น อนาคามี

    เพราะฉะนั้นแล้ว คำว่า ศีล ของพระอริยะ ก็จะประกอบไปด้วย สมาธิ และ ปัญญา เข้าด้วยกัน
     
  8. ไผ่แดง

    ไผ่แดง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +1
    ศีลพระอริยะ ไม่ต้องระมัดระวัง ไม่ต้องเฝ้ารักษา เป็นไปโดยอัตโนมัติ เรียกว่าสมุจเฉทวิรัติ

    สาธุ.
     
  9. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ศีลนี่เป็นเรื่องของพระอริยะอยู่แล้วครับ คือพระอริยะปกติจะมีศีลอยู่แล้ว แต่ถ้ายัง
    ไม่ใช่ก็ปฏิบัติตามพระอริยะไปที่มี 5 ข้อ 8 ข้อน่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...