..ทุกข์ทำไม..

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย toya, 10 มกราคม 2007.

  1. toya

    toya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    186
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,010
    อริยสัจสี่ เป็นสัจจะความจริงที่ประเสริฐ เพราะนำปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลสไปสู่ความประเสริฐได้ เราต้องการอะไรจากชีวิต? หากประสงค์ หรือมุ่งมาดปรารถนาต่อชีวิตที่เป็นอริยะ คือ ชีวิตที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความอิจฉาพยาบาท ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และสิ่งเศร้าหมองทั้งหลาย
    ถ้าเราเห็นว่า ความเป็นอิสระภายใน ความเมตตากรุณา และปัญญา เป็นสิ่งที่น่าพัฒนา เราควรเอาใจใส่เรื่อง อริยสัจ

    พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยสัจข้อแรก คือ ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้การที่พระองค์สอนอย่างนั้นก็เพราะว่าโดยสัญชาตญาณ เราไม่อยากทำ (กำหนดรู้) ความทุกข์เกิดขึ้นแล้ว เราชอบปฏิเสธบ้าง เอาหัวมุดลงไปในทรายเหมือนนกกระจอกเทศบ้างหาความสุขทางเนื้อหนังมากลบเกลื่อนความทุกข์เอาไว้บ้าง แต่หนีไม่พ้น ตราบใดที่เรายังไม่รู้ธรรมชาติของทุกข์ก็เหมือนเราหลงในเขาวงกตถึงจะนั่งพักในที่ร่มเย็นชั่วคราวก็ยังคงหลงอยู่ดี

    ก่อนจะอธิบายเรื่องอริยสัจ ขอทำความเข้าใจเรื่องภาษาสักเล็กน้อย ในภาษาบาลีคำว่า
    ทุกข์ มีความหมายที่กว้างขวางกว่าและลึกซึ่งกว่าในภาษาไทย มีสองแง่หลัก คือ

    หนึ่ง ความทุกข์ที่เป็นอาการหรือเป็นลักษณะของสิ่งทั้งปวง (ทุกข์ในไตรลักษณ์) และ สอง ความทุกข์ที่เกี่ยวกับหรือเป็นเรื่องของมนุษย์โดยเฉพาะ (ทุกข์ในอริยสัจ)

    ขอเปรียบเทียบกับคำว่า ร้อน ความร้อนที่เป็นอาการของธรรมชาติก็อย่างหนึ่งความร้อนในใจที่ไม่สบายก็อย่างหนึ่ง ข้อแรกกว้างกว่า และไม่ต้องขึ้นอยู่กับคน

    พระองค์ตรัสว่า สัพเพ สังขารา ทุกขาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ เราอาจจะสงสัยเอ...ต้นไม้เป็นทุกข์ได้หรือ? ก้อนหินเป็นทุกข์ได้หรือ? แก้วน้ำเป็นทุกข์ได้หรือ?....ได้ แต่เป็นทุกข์ในความหมายแรกคือ มันทนอยู่ในสภาพเดิมของมันไม่ได้มีอะไรบีบให้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือว่าพูดอีกนัยหนึ่งว่าสิ่งทั้งหลาย
    ขาดเสถียรภาพ

    เพราะฉะนั้น การกล่าวว่าสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นทุกข์หมายถึงการขาดเสถียรภาพของมันท่านให้เราพิจารณาเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเป็นหน่วยรวมของเหตุปัจจัยและส่วนประกอบ เช่น ต้นไม้มีราก แก่น เปลือก กิ่งก้าน ดอกผล เป็นส่วนประกอบ มีดิน แดด ฝนเป็นต้น เป็นปัจจัยภาพนอก แมลงกินผลก็กระทบต่อต้นไม้นั้นทั้งต้น ฝนไม่ตกต้นไม้อาจเหี่ยว ลมพัดแรงๆ ต้นไม้นั้นอาจจะล้ม

    เมื่อเหตุปัจจัยล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่เป็นหน่วยรวมของสิ่งที่ไม่เที่ยงหลายๆ อย่างนั้นก็พลอยไม่เที่ยงไปด้วย และภาวะที่ขาดความมั่นคงหรือเสถียรภาพ ท่านเรียกว่า
    ทุกข์ แกงกระหรี่เป็นทุกข์ เพราะพอตักใส่จานแล้วมันพร้อมที่จะเสื่อมสิ่งแรกที่เสื่อมคือความร้อนของมันทิ้งไว้ชั่วโมงหนึ่งก็เย็นไม่ค่อยน่าทานเสียแล้ว ถ้าทิ้งไว้สองวันมันจะบูด ต้องทิ้ง

    ความร้อน ความหอม ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนประกอบไม่คงทน ทำให้ตัวแกงไม่คงทน ท่านเรียกความจริงนี้ว่า
    ทุกข์ พระตถาคต จะบังเกิดขึ้นในโลกก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นในโลกก็ตาม สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันเป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติยังไม่เป็นปัญหาหากทุกข์ในอริยสัจคือความทุกข์ของมนุษย์โดยเฉพาะ ไม่เหมือนทุกข์ในไตรลักษณ์ แต่สืบต่อจากความทุกข์นั้น คือขันธ์ห้าของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ต้องเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ แต่มนุษย์เราแปลกตรงที่ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า อวิชชา ห่อหุ้มจิตไว้ทำให้เกิดความผิดปกติที่ท่านให้ชื่อว่า ทุกข์ เหมือนกัน แต่เป็น
    ทุกขอริยสัจ

    ท่านแยกความทุกข์นี้ออกมาต่างหาก เพราะมีเหตุที่ระงับได้และมีจุดจบซึ่งพระองค์ให้ชื่อว่า
    นิโรธ ทุกข์ในอริยสัจหมดแล้วมีแต่ทุกข์ในไตรลักษณ์สำหรับชีวิตที่ยังเหลืออยู่ คือ ทุกขเวทนา ทางกายความแก่ ความเจ็บ และความตาย สำหรับผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์แต่ไม่เป็นปัญหาเป็นแค่รสชาติของไตรลักษณ์ที่ทุกคนในโลกรวมทั้งพระอรหันต์ต้องเสวย

    <o:p> </o:p>
    ที่มา : http://larndham.net/index.php?showtopic=20042
     
  2. sumet

    sumet สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +8
    ในความคิดเห็นของผมนะครับ
    ทุกข์เป็นบทเรีบนที่ดีสำหรับการฝึกจิต เพื่อให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่เสมอ รู้ว่าจิตของตนนั้นมีสุขหรือมีทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ เมื่อรู้ว่าตนทุกข์แล้วก็จะพยายามอย่างยิ่งเพื่อให้ตนพ้นทุกข์ (จิตทุกดวง รักสุขเกลียดทุกข์) ผลของการปฏิบัตินั้นก็สามารถวัดจากความทุกข์ที่เกิดขึ้นภายในจิต ได้ด้วยครับ มีท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่า " ความเศร้าหมองย่อมไม่มีกับบุคคลผู้มีสติอันสมบูรณ์ " ก็ขอให้เพื่อน ๆ ทุกท่าน หมั่นดูแล สติ ด้วยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...