หมดแล้ว ล็อกเก็ตหลวงปู่มั่น สร้างโบสถ์

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย woottipon, 12 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    การจัดสร้างโดยผมจะนำวัตถุมงคลออกให้บูชา เป็นค่าจัดสร้าง ส่วนเงินที่ร่วมบุญถวายเข้าวัดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ หลวงพ่อท่านจะเร่งให้เสร็จภายในปีนี้ ค่าแรงสร้างโบสถ์มีเจ้าภาพแล้วขาดแต่ค่าวัสดุก่อสร้าง อีกหลายล้านบาท
     
  2. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p>ประวัติพระอาจารย์ เปลี่ยน ปัญญาปทีโป</o:p><o:p></o:p>
    อ่านประวัติส่วนตัว การจำพรรษา และการออกธุดงค์(PDF file) 01 02 03 04 05

    [​IMG]
     
  3. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    หลวงตาพวง สุขินทริโย (ศิษย์หลวงปู่มั่น)
    พระอริยเจ้าลุ่มน้ำชี วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

    [​IMG]
    ขอขอบคุณรูปหลวงตาพวง จาก watpa.com ครับ

    หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ กล่าวถึง หลวงตาพวง ชื่อ เสียงของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ย่อมเป็นที่รู้จักกันดีในสายวงวัตถุมงคลโชคลาภ ของคนไทยทั่วประเทศเพราะด้วยปฏิปทาที่เรียบง่าย สมถะและเมตตาแก่ทุก ๆ คนที่ไปหา มิใช่แต่ชาวจังหวัดนครราชสีมาที่เลื่อมใสและศรัทธาท่าน ชาวยโสธรเองก็เช่นเดียวกันที่เลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติ และพากันไปกราบนมัสการหลวงพ่อคูณ เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมทั้งขอวัตถุมงคลเพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่าง ๆมิได้ขาด
    แต่ทุก ๆ ครั้งที่ชาวยโสธรไปกราบนมัสการหลวงพ่อคูณนั้น หากท่านทราบว่าเป็นชาวยโสธรแล้วหลวงพ่อคูณท่านจะไม่ยอมให้วัตถุมงคล และบอกว่าให้กลับไปเอาที่ยโสธร ท่านมักจะพูดว่า "ที่ ยโสธรมีคนเก่งกว่ากูมีอีก ผมหงอก ๆ ขาว ๆ ที่นั่งอยู่ริมแม่น้ำชีนั่นแหละ ท่านหมดกิเลสแล้ว ท่านไม่แสดงเฉยๆ กูยังไม่ถึงเท่าท่านเลย ไป"
    เมื่อสัมภาษณ์หลวงตาพวง ถึงเรื่องนี้ ท่านก็เล่าให้ฟังว่า "ก็เคยได้ยินมาจากญาติโยมหลายสิบคนแล้ว ที่เล่าให้ฟังเหมือนกันว่าเมื่อชาวยโสธรไปกราบหลวงพ่อคูณ ท่านมักจะไล่กลับมาหาหลวงตา"
    "หลวงตาเองก็ ไม่เคยได้พูดคุยกับหลวงพ่อคูณสักครั้งเดียว หลวงตาก็เคยไปวัดบ้านไร่มาสองครั้ง แต่ไม่เคยมีโอกาสพูดคุยกับท่านเพราะมีญาติโยมเป็นจำนวนมากจึงไม่มีโอกาสพูด คุยกัน หลวงพ่อคูณจะทราบได้อย่างไรก็ไม่ทราบหรืออาจเป็นเพราะมีลูกศิษย์เล่าให้ฟัง ถึงประวัติหลวงตากระมัง"


    ปาฏิหาริย์หลวงตาพวง เดินข้ามบิณฑบาตรแม่น้ำชี
    มีเรื่องเล่าขานกันใน หมู่ชาวบ้านแถบลำน้ำชีอันเป็นที่ตั้งของ วัดศรีธรรมารามซึ่งหลวงตาพวงเคยจำพรรษาอยู่ ฝั่งตรงข้ามของวัดศรีธรรมารามเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตของอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ชาวบ้านเล่ากันว่ามีคนออกไปเก็บกับดักหนูที่ดักไว้ในช่วงเช้ามืดได้เห็นหลวง ตาพวงออกเดินบิณฑบาตโดยเดินบนแม่น้ำชีจากวัดศรีธรรมารามไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ฝั่งอำเภอพนมไพร
    คุณสมจันทร์ โพธิศรี อยู่บ้านเลขที่ 68 บ้านกุดกุง (คุ้มหนองแสง) ต. เขื่อนคำ อ.เมือง จ. ยโสธร เล่าให้ฟังเป็นภาษาอิสานว่า "เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538- 2539 เช้าวันหนึ่งข่อยไปดักหนูป่าแมะ ได้เห็นหลวงตาพวงเพิ่นเดินข้ามแม่น้ำชีไปแมะ ข่อยนี้แหละเป็นผู้เห็นท่านเองเลย" (คัดจากหนังสือโลกทิพย์)
    เมื่อถามเรื่องนี้กับหลวงตา หลวงตาก็ตอบว่า "เป็นเรื่องของเขาเห็นปรากฏในสายตา หลวงตาไม่ค้าน ไม่ได้ปฏิเสธ เขาคงเห็นด้วยสายตาของเขา จะเล่าลืออย่างไร หลวงตาไม่ได้พูด ไม่ได้อวดอะไร" แล้วหลวงตาก็เปลี่ยนเรื่องพูดถึงเรื่องหมู่บ้านในฝั่งอำเภอพนมไพรว่า " หลวงตาก็รับนิมนต์ไปสวดหรือไม่ก็ฉันที่หมู่บ้านฝั่งนี้เป็นประจำทุกวันออก พรรษาชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน ก็พากันมามอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์ มากราบขอพรเพราะพวกเขาไม่มีที่พึ่งในหมู่บ้าน เขาจึงมาพึ่งหลวงตา เมื่อมีการงานอะไรพวกเขาก็มาช่วยเสมอ ๆ แม้แต่มาอยู่ที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม พวกเขาก็ยังมา"

    --------------------------------------------------------------------------------------------------------
    สำหรับท่านที่จะไปกราบไหว้หลวงตาพวง สุขินทริโย ก็ไปกราบไหว้ได้นะครับ....
    ท่านเป็นพระอริยบุคคล ที่มีพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในวงสายพระป่ากรรมฐานได้รับรองภูมิธรรมไว้มากมายหลายท่านครับ...
    ตอนนี้องค์ท่านพำนักที่ วัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
     
  4. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height="100%" vAlign=top width="85%">หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านบวชเณรเมื่อครั้งงานเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    จากนั้นท่านก็ได้ติดตามหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จนกระทั่งมาสร้างวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
    หลวงปู่ฯท่านพระลูกศิษย์หลวงตามหาบัว รุ่นแรกๆเลยก็ว่าได้ สำหรับภูมิธรรมของหลวงปู่ฯนั้น เมื่อเร็วๆ
    นี้หลวงตาบัวท่านก็ได้เทศน์ประกาศให้ลูกศิษย์ได้รับรู้รับทราบกันกระจ่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ว่าหลวงปู่ลี
    ท่านถึงที่สุดแห่งธรรมมานานแล้วนะ แต่ท่านอยู่ของท่านอย่างเงียบๆ รู้กันเฉพาะในวงกรรมฐานเท่านั้น


    หลวงปู่ลี ท่านบวชปี พ.ศ.2492 พร้อมหลวงปู่บัวคำ มหาวีโร (อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมมานุสรณ์ และเป็นศิษย์หลวงปู่ชอบ
    รุ่นไปประเทศลาว ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ที่ หลวงปู่บุญพิน ครั้นยังเป็นพระครูบาอยู่ ได้สงสารปลาจึงเทเศษอาหารลงแม่น้ำโขง
    จนเกิดเหตุการณ์ตลิ่งทรายริมแม่น้ำสั่นสะเทือน และพังทลายลง เพราะ พญานาคแผลงฤทธ์ / หาอ่านได้จากประวัตฺ ลป.ชอบ
    หรือ สอบถามได้จาก ลป.บุญพิน วัดผาเทพนิมิตร อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร)

    ต่อ....หลังจากงานประชุมเพลิงหลวงปู่ใหญ่มั่นฯ เสร็จแล้ว องค์ท่านก็ได้มาอยู่สำนักของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่ บ.หนองบัวบานก่อน
    (ต่อมาบริเวณนี้ได้กลายเป็นวัดป่านิโครธาราม) องค์ท่านเองได้เป็นพระพี่เลี้ยง พระอาจารย์จันทร์เรียน และได้ร่วมวิเวกด้วยกันหลาย
    ต่อหลายแห่ง และได้พบกันบ้างเมื่อติดตามหลวงปู่ชอบ ฐานสโมเข้าป่าไป มีเรื่องอภินิหารที่ได้รับฟังจากประสบการณ์ของหลวงพ่อ
    จันทร์เรียน ครั้นที่ ท่านทั้ง 2 อยู่ร่วมกันหลายเรื่อง (แต่ถ้าเล่าไปคงต้องโดนท่านเข่น ภายหลังแน่ ฉนั้นไปสอบถามท่านเองดีกว่า)
    หลังจากนั้นองค์หลวงปู่ลี ท่านก็ได้มาอยู่ที่ดอยน้ำจั่น (ใครไปภูสังโฆ คงเห็นป้ายอยู่ ปัจจุบันท่านพระอาจารย์สมหมาย อริโย ศิษย์
    หลวงปู่ฝั้น ,หลวงปู่ขาว มาอยู่ดูแลแทน และได้ตั้งเป็นวัดดอยน้ำจั่น บ.ห้วยไร่ ต.อุบมุง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี )

    สมัยที่หลวงปู่ลี ไปอยู่เกิดเหตุการณ์ถูกรบกวนจากพวกนายหน้าตัดไม้ทำลายป่า เข้ามาก่อกวน ท่านจึงวิเวกมาอยูที่ วัดป่าภูทอง
    บ.ภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรฯ (เดิมที หลวงปู่มหาบุญมี สิรินธโร มาสร้างไว้ ก่อนไปอยู่ถ้ำและวัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม ตามลำดับ
    ซึ่งปัจจุบันเจ้าอาวาส วัดป่าภูทอง คือ หลวงปู่คูณ สุเมโธ (ศิษย์ หลวงปู่สิงห์ทอง,หลวงปู่ฝั้น,หลวงตามหาบัว) หลังจากนั้น หลวงปู่ลี
    ก็ออกมาวิเวก ไปแถบภูลังกาต่อ ที่นี่ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ (วัดป่าบ้านนาคูณ) เคยมาอยู่ก่อนแล้ว (คนละด้านกับวัดถ้ำยา ของ
    หลวงปู่วัง ฐิติสาโร ศิษย์หลวงปู่ใหญ่มั่น เป็นเจ้าอาวาส)

    ปัจจุบันหลวงปู่ลี องค์ท่านอยู่ที่ วัดภูผาแดง ท่านที่จะเข้าไปใส่บาตร กรุณามาเร็วหน่อย จะได้ทัน เพราะแถบหนองวัวซอนี้
    วัดท่าน เริ่มฉัน ภัตตาหารเร็วกว่าที่อื่น และ 9 โมงเช้า ท่านก็เข้าพักแล้ว จะพบท่านอีกที ก็ประมาณ เที่ยง ถึง บ่ายสี่โมงเย็น


    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2><HR class=hrcolor SIZE=1 width="100%">[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height="100%" vAlign=top width="85%">ประสบการณ์วัตถุมงคลของท่าน
    ประสบการณ์ร้อนๆ เมื่อเร็วๆ นี้ เรื่องมีอยู่ว่ามีวัยรุ่นคนหนึ่งที่ราชบุรีโดนยิงด้วยปืนลูกซอง ขณะกำลังหันหลังนั่งบนจักรยานยนต์
    ในเวลาช่วงพลบค่ำ มือปืนเมื่อยิงใส่ในระยะเผาขน หวังผลได้ ก็ขับขี่รถจักรยานยนต์รีบหนีไปคิดว่าเสร็นแน่ๆ คนถูกยิงก็โดดหลบ
    แล้วรีบหนีเช่นกัน คนถูกยิงวิ่งไปได้หน่อยหนึ่งรู้สึกเจ็บๆร้อนๆ ที่เอว เลยเอามือคลำดู ปรากฎว่าตะกรุดที่คาดเอวอยู่ร้อนจี๋เลย
    พอถอดออกดู มีรอยลูกปืนจมในตะกรุดรอยเท่าเม็ดถั่วเขียว ลูกซองลูกนั้นเข้าเป้าเม็ดเดียว แถมยังไปโดนตะกรุดซะอีก
    ผลรอดหวุดหวิด แบบนี้แคล้วคาดครับ ประสบการณ์วัตถุมงคลหลวงปู่ลีฯ เริ่มเป็นที่ประจักษ์หลายครั้งแล้วครับ (ขอบคุณข้อมูลพี่เด็กวัด)
    ยังมีอีก ก็ ตำรวจ ต.ช.ด. 24 ค่าย เสนีย์รณยุทธ ก็ห้อยเหรียญของท่านลงไปสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประสบการณ์รอดชีวิตกลับมาก็เพราะเหรียญรุ่นแรก หลัง นเรศวร ออกศึกทรงหลังช้างครับ ฟังๆ ดู ไม่ธรรมดาครับ


    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.udon108.com/board/index.php?topic=1161.0
    <SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
    <SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
     
  6. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    [​IMG]

    ประวัติิหลวงปู่ทา จารุธัมโม
    หลวงปู่ทา ท่านเกิดในสกุล “อารีวงศ์” นามเดิมคือ ทา อารีวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2452 ตรงกับขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา ที่ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเป็นบุตรของนายลี อารีวงศ์ มีอาชีพทำนา ทำไร่ มีพี่น้อง 9 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 7 น้อง 2 คนเสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก ตอนเป็นเด็กท่านไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือ มีชิวิตที่ค่อนข้างลำเค็ญ ต้งช่วยบิดามารดาทำงาน ทำไร่ทำนา และเลี้ยงควาย มารดาของท่านได้เสียชีวิตตั้งแต่ท่านอายุได้ 5 ขวบ หลังจากนั้นไม่นานบิดาก็เสียชีวิตอีกคน ปล่อยให้ท่านและพี่น้อง 7 คนอยู่กันตามลำพัง ภายหลังพี่น้องก็แยกย้ายไปอาศัยอยู่กับญาติผู้ใหญ่ในที่ต่าง ๆ ส่วนท่านไปอาศัยอยู่กับน้าหญิง น้าชายที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

    [​IMG]

    เมื่อท่านอายุได้ 15 ปี เกิดความเลื่อมใสในร่มกาสาวพัตร์ จึงขอน้าบวชเป็นสามเณร พออายุครบ 20 ปี ได้ญัตติจากสามเณรเป็นฝ่ายมหานิกายที่วัดใหญ่ชีทวน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดนี้เป็นเวลา 5 พรรษา น่าเสียดายที่ไม่ท่านไม่มีอาจารย์สอนอุบายธรรม ทำให้ จิตใจว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง เมื่อไม่ได้ดื่มด่ำในรสพระธรรมอย่างที่ใจหวัง ท่านจึงตัดสินใจลาสิกขาบทช่วยงานบ้านอีกครั้งหนึ่ง

    มีอยู่วันหนึ่งในสมัยเเป็นหนุ่มฉกรรจ์ ท่านและเพื่อนอีก 5 คน ได้ไปตัดต้นพันชาติเพื่อนำมาทำเครื่องหีบอ้อย เพื่อนของท่านแต่ละคนแสดงอาการคึกคะนองลบหลู่ดูหมิ่นเทพารักษ์ พูดจาไม่สุภาพกล่าวคำหยาบ ส่วนท่านสำรวมระวังตัวอยู่ตลอดเวลา หลังจากนั้น 1 เดือน เพื่อนของท่านแต่ละคนได้ล้มป่วยด้วยโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ มีอาการแปลกแตกต่างไปในแต่ละคน และเสียชีวิตทีละคน ส่วนท่านล้มป่วยเป็นคนสุดท้ายมีอาการป่วยหนักปางตาย น้าชาย – หญิงของท่านได้สวดอ้อนวอนขออำนาจ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ช่วยให้ท่านหายป่วย และสัญญาว่าหากหายป่วยจะให้ท่านบวช และให้ท่านภาวนาพุทโธ ทำให้จิตสงบ ทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนปางตายได้หายไป จิตใจสงบเยือกเย็น ครั้งนั้นทำให้ท่านเชื่อมั่นในคุณค่าแห่งพระพุทธศาสนา
    ต่อมาเมื่อหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มี ญาณมุนีและคณะได้เดินทางมาธุดงค์ปักกรดที่ป่าบ้านชีทวน หลวงปู่ทาได้ฟังธรรมอันมีรสชาติเข้มข้น ทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงตั้งสัจจะว่า “จะต้องบวชเป็นครั้งที่ 2 และจะไม่มีครอบครัว” ท่านจึงได้เดินทางไปขอเป็นศิษย์หลวงปู่มี ที่เสนาสนะบ้านสูงเนิน(ปัจจุบันคือวัดป่าญาณโสภิตวราราม) อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาครั้งหนึ่งหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มี ญาณมุนีและคณะได้เดินทางมาธุดงค์ปักกรดที่ป่าบ้านชีทวน หลวงปู่ทาได้ฟังธรรมอันมีรสชาติเข้มข้น ทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงตั้งสัจจะว่า “จะต้องบวชเป็นครั้งที่ 2 และจะไม่มีครอบครัว” ท่านจึงได้เดินทางไปขอเป็นศิษย์หลวงปู่มี ที่เสนาสนะบ้านสูงเนิน(ปัจจุบันคือวัดป่าญาณโสภิตวราราม) อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
    หลวงปู่ทาได้ติดตามรับใช้หลวงปู่มีโดยตลอดระยะเวลา 3 ปี ท่านได้เป็นตาปะขาวรักษาศีลอย่างเคร่งครัด มีกิริยามารยาทเรียบร้อย ความประพฤติดี หลวงปู่มีจึงอนุญาตให้ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 34 ปี วันที่ 26 กรกฎาคม 2485 ณ อุโบสถวัดใหญ่สูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยมีหลวงปู่มี ญาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายา “จารุธมฺโม” แปลว่า “ผู้มีธรรมอันงามพร้อม”
    ปี พ.ศ. 2500 หลวงปู่สีลา อิสฺสโร ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ท่องธุดงค์กรรมฐานได้พบป่าเขาและถ้ำที่วิเวกสงัด น้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถดำรงชีพแบบสมณะ จึงนำเรื่องไปกราบเรียนหลวงปู่มี หลวงปู่มีจึงนำลูกศิษย์ปฏิบัติธรรมในป่าลึกทางซับม่วง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พระทั้งหมดได้เข้าพักบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ถ้ำสวยงามที่ชื่อว่า “ถ้ำมืด” ต่อมาเรียกว่า “ถ้ำซับมืด” การธุดงค์ครั้งนี้ทำให้พระทั้ง 5 รูปต่างได้รับเชื้อมาลาเรียแม้แต่หลวงปู่มีก็ป่วยปางตาย ท่านจึงถอนธุดงค์กลับ มีพระภิกษุที่ออกธุดงค์ในครั้งนี้ได้มรณภาพ 1 รูป
    หลังจากที่ ปี พ.ศ. 2506 หลวงปู่ทาได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดถ้ำซับมืด ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง ในปี พ.ศ. 2507-2511 หลวงปู่มี หลวงปู่ทาและหลวงพ่อสุพีร์ สุสญฺญโม ได้ไปจำพรรษาที่วัดดอยพระเกิด อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
    ปี พ.ศ. 2512 หลวงปู่ทา จารุธมฺโม ได้มาจำพรรษา ณ วัดถ้ำซับมืดกับหลวงปู่มีและหลวงพ่อสุพีร์ สุสญฺญโมอีกครั้งหนึ่ง แม้หลวงปู่มีจะมรณภาพไปแล้ว แต่หลวงปู่ทาท่านครองสมณะเพศอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ ถือสันโดษ เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม ให้ความเมตตาต่อสาธุชน ศิษยานุศิษย์ เสมอกัน โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เป็นผู้สืบทอดข้อวัตรปฏิบัติปฏิปทาจากหลวงปู่มีอย่างเคร่งครัด สหธรรมิกที่เดินทางมาเยี่ยมเยือนสนทนาธรรมกับท่านเสมอที่วัดถ้ำซับมืด นอกจากนั้นพระกรรมฐานทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุตก็มาอยู่ร่วมสำนักปฏิบัติ ธรรมกับท่านเสมอ
    หลวงปู่ทา จารุธมฺโมได้ละสังขารเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 สิริอายุ 98 ปี
    พรรษา 65
    http://keemao.fix.gs/index.php?topic=358.0
     
  7. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    ประวัติหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท

    วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม

    พระผู้เป็นดังผ้าขื้ริ้วห่อทอง

    หลวงปู่เจี๊ยะ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. พ.ศ. 2459 ณ บ้านคลองน้ำเค็ม ตำบล คลองน้ำเค็ม อำเภอ แหลมสิง จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรของนาย ซุ่นแฉ และ นางแฟ โพธิกิจ ในเพศฆาราวาสก่อนอุปสมบทท่ามีอาชีพค้าขายผลไม้ มีนิสัยออกจะติดทางนักเลง เป็นคนตรงไปตรงมา เด็ดเดี่ยว อาจหาญ เป็นคนจริงจังในหน้าที่การงาน ยอมหักแต่ไม่ยอมงอพูดจาโฮกฮากไม่กลัวคน
    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม พ.ศ. 2480 ณ พัทธสีมาวัดจันทนาราม ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีโดยมี พระครูครุนารถสมาจาร (เศียร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพัฒน์พิหารการ (เชย) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ร่วมจำพรรษากับท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ที่เสนาสนะป่าช้าผีดิบบ้านหนองบัว ปัจจุบันคือวัดทรายงาม จังหวัดจันทบุรี
    ปลายปี พ.ศ. 2482 หลวงปู่เจี๊ยะได้กราบลาท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ และท่านพ่อลี ธมฺมธโร เดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมพระอาจารย์เฟื่อง โชติโก เพื่อไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่เสนาสนะ วัดร่างป่าแดง อำเภอ พร้าว จังหวัดเชียงใหม่
    ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2483-2485 หลวงปู่เจี๊ยะเป็นพระคิลานุปัฏฐาก และเป็นปัจฉาสมณะ เป็นประดุจเงาติดตามตัวท่านพระอาจารย์มั่นมาโดยตลอด เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นรับนิมนต์ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์เดินธุดงค์จาก จังหวัดเชียงใหม่ มายังภาคอิสาน และพักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าซึ่งเป็นที่ทิ้งศพโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี 2 พรรษา จึงธุดงค์จาริกต่อไปยังจังหวัดสกลนคร และพักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ที่เสนาสนะป่าบ้านโคกนี้เอง ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวชมเชยในคุณธรรมและนิสัยวาสนาของหลวงปู่เจี๊ยะ ท่ามกลางหมู่สงฆ์ว่า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ท่านผู้นี้ปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว ปฏิบัติเพียง 3 ปี เท่ากับเราปฏิบัติภาวนามาเป็นเวลา 22 ปี
    ต้นปี พ.ศ. 2452 ท่านได้หลีกเร้นภาวนาในดงป่าลึก ณ เชิงเขาบายศรี อ. ท่าใหม่ จ. จันทบุรี และเกิดป่วยเป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก ในขณะที่ป่วยหนักอยู่นั้นท่านเล่าว่า จิตเป็นธรรมชาติที่อัศจรรย์ตลอดเวลา พิจารณาจนกระทั่งจิตมันดับหมด หยุดความคิดค้น จิตปล่อย วางสิ่งทั้งปวง คว่ำวัฏจักร วัฏฏจิต แหวกอวิชชา และโมหะอันเป็นประดุจตาข่าย กิเลสขาดสะบั้นออกจากใจ จิตมีอิสระอย่างสูงสุดเกินที่จะประมาณได้
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา หลวงปู่เจี๊ยะ ได้รับนิมนต์มาอยู่เป็นเจ้าอาวาส วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และอยู่จำพรรษามาโดยตลอด จนกระทั้งท่านละขันธ์เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ด้วยความสงบ ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2547 สิริอายุรวม 88 ปี 2 เดือน 17 วัน 64 พรรษา
    [​IMG]
     
  8. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย พระอริยสงฆ์แห่งวัดถ้ำพญาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ พระผู้มีปฏิปทาอันซ่อนเร้นดำรงตนอย่างช้างเผือกในหุบเขาอันห่างไกลความเจริญด้วยวัย ๗๕ ปี ๕๐ พรรษา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล พระผู้ร่วมธุดงค์พร้อมหลวปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อยท่านเป็นสหธรรมมิกองค์สำคัญของหลวงปู่บุญพิณ กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิตและหลวงปู่หวัน จุลปัณฑิโต ด้วยปฏิปทาอย่างนี้อันเรียบง่าย สมถอย่างสวยงามขององค์หลวงปู่คนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยรู้จักกันมาก แม้กระทั่งองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอริยเจ้าแห่งวัดป่าบ้านตาดยังออกปากชมท่านเสมอเพราะท่านเมตตาต่อองค์หลวงปู่อย่างลับๆมาโดยตลอดด้วยปฏิปทาของหลวงปู่ว่า " หลวงพ่อวิไลย์ ท่านสมเป็นช้างเผือกจริงๆ ศิษย์หลวงปู่ขาวน่ะอยู่อย่างช้างเผือก เป็นองค์ที่สำคัญมากอีกองค์หนึ่งของชัยภูมิ เป็นพระดี " องค์หลวงปู่ดำรงตนอย่างพระป่ามากท่านเน้นสอนในเรื่องของการปฏิบัติภาวนาเป็นสำคัญคนที่ไปหาท่านส่วนใหญ่จึงเป็นนักภาวนาที่ค่อนข่างเพรียบพร้อมสมาธิภาวนา เพราะท่านเขม้นเน้นหนักจริงๆต่อลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสในเวลาการอบรม แต่เวลารับแขกองค์หลวงปู่เมตตาและอารมณ์ดีมากๆๆๆๆต่างกัน ท่านเคยบอกว่า หลวงตามหาบัวบอกให้ท่านหลวงปู่วิไลย์ว่า"ให้เอาอย่างหลวงตาเป็นแบบอย่างในการดำเนิน"หลวงปู่จึงมีลักษณะหลายประการที่คล้ายกับองค์หลวงตามหาบัวแต่ท่านก็พูดเสมอกับลูกศิษย์ว่า"จะให้เป็นอย่างหลวงปู่วัดบ่านตาดนั้นทำไม่ได้หรอกนิสัยคนเราเกิดมาแตกต่างกันพระอรหันต์ก็มีนิสัยแตกต่างกัน" ธรรมที่หลวงปู่สอนนั้นเป็นธรรมแบบป่าล้วนๆเข้าใจง่ายแล้วท่านก็มีเมตตามากๆทั้งต่อพระ โยม และสัตว์ ท่านจึงเป็นพระที่พระทั้งจังหวัดชัยภูมิ,วัดถ้ำกลองเพลและต่างจังหวัดให้ความเคารพอย่างมาก เช่นหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต ,หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม ,หลวงปู่จื่อ วัดเขาตาเงาะฯลฯ แม้กระทั่งเกศาหลวงปู่ก็กลายเป็นพระธาตุสำหรับผู้ที่นำไปบูชา สภาพวัดของท่านเป็นภูเขาน่าอยู่ภายในถ้ำมีการตกแต่งที่สวยงามด้วยการบูรณะของหลวงปู่ซึ่งถ้ำนี้เป็นถ้ำที่หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ท่านเคยอยู่มาก่อน หลวงปู่ออกจากวัดถ้ำกลองเพลจึงได้ธุดงค์มาพบถ้ำนี้ หลวงปู่บอกว่าที่นี้มีเทพเทวดาเยอะบางคืนจะมาฟังธรรมของท่านลูกศิษย์ของหลวงปู่เล่าว่ามีคนเคยเห็นแสงสว่างมากลอยมาจากถ้ำมาเข้ากุฏิหลวงปู่แสงนั้นสว่างจ้าทั่วบริเวณวัดชาวบ้านต่างๆก็เห็นกันเยอะ เช้ามาท่านบอกว่า พวกเทพเทวดาภพภูมิเขามาฟังธรรม จึงเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มากสำหรับบุคคลที่ได้พบเห็น กระผมได้มีโอกาสไปกราบท่านที่วัดและที่ตามงานต่างๆจึงได้ยินมาจากครูบาอาจารย์หลายรูปจึงนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อท่านผู้ที่ยังไม่รู้จักและน่าจะเป็นกุศลแก่ผู้ที่สนใจ
    *หลวงปู่เมตตารับกิจนิมนต์ลงกรุงเทพมาฉันเช้าที่องค์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๑ นี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้กราบท่านพระอริยสงฆ์ผู้ดำรงตนอย่างช้างเผือก

    <!--cached-Fri, 25 Feb 2011 09:24:48 +0000-->[​IMG]
     
  9. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    พระอริยเจ้าแห่งวัดถ้ำเกีย "หลวงปู่มี (เกล้า) ปมุตโต"<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->พระอริยเจ้าแห่งวัดถ้ำเกีย "หลวงปู่มี (เกล้า) ปมุตโต" มรณภาพแล้ว..หลวงปู่เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในสายกรรมฐานมีหลวงปู่มั่นเป็นประธาน..หลวงปู่มีท่านเป็น พระเถระมั่นคงในธรรมวินัยเคร่งครัดในธุดงคกรรมฐาน และมีปฏิปทามักน้อยสันโดษ ท่านชอบหลีกเร้นอยู่ในถ้ำในผาในป่าในเขาเพื่อบำเพ็ญสมณธรรมมานาน... วัดของหลวงปู่คือวัดถ้ำเกีย หรือวัดดอยเทพนิมิตร ตามเส้นทางถนนสายอุดรธานี - หนองวัวซอ -หนองบัวลำภู หลวงปู่อาพาธเพราะโรคชรามานานด้วยวัยของสังขารท่านสิริอายุได้ 89 ปี 4 เดือน เป็นแม่ทัพธรรมผู้มีคุณวิเศษในธรรมปฏิบัติในสายหลวงปู่มั่น

    หลวงปู่เป็นพระพี่ชายของหลวงปู่ลี กุสลธโร (วัดภูผาแดง) หลวงปู่มีท่านได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบที่วัดถ้ำเกีย (วัดดอยเทพนิมิต) บ้านหนองแซง ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ในวันพุธที่ 6 สิงหาคม 2551 เมื่อเวลา 08.00 น.

    กำหนดการถวายเพลิงศพหลวงปู่ในวันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม 2551 วันที่ 24 นี่น่าจะเกิดปาำิฎิหาริย์อารัยรึป่าว วันที่ 24 อาจารย์้อ้อเดินทางมาที่อุดรธานีกับพี่เข้ พอดีก็นัดเจอกันกับนัดที่อุดรธานีเหมือนกัน นัดเจอคุยงานการสอนแฟลชนี่แหละ และทำความรู้จักกัน ผู้ร่วมเดินทางไปด้วย ก็มีพี่ต้น พี่มะปราง พี่แต้ว และก็พี่นัท เราคุยงานกันแค่ครึ่งวันก็สรุปงาน ตกลงเป็นอันเป็นการเรียบร้อย พี่นัทและเพื่อน ๆ กำลังจะลากลับจากมาที่มหาวิทยาลัย และไม่รู้เหมือนกันว่าจะไปไหนต่อ อาจารย์อ้อก็เลยชวนไปร่วมงานประชุมเพลิงหลวงปู่ที่วัดถ้ำเจีย แล้วทีนี้ผมก็ไม่รู้ว่าหลวงปู่ท่านมรณภาพก็เอะใจ ซึ่งแต่ก่อนก็เคยไปถ่ายทำสารคดีอยู่นั่นก็พักที่นั่น 3 วัน ก็มีโอกาสไปกราบนมัสการท่านอยู่ห่าง ๆ ก็เจอท่านอยู่เหมือนกันแต่ไม่ได้ไปสนทนาธรรมด้วย แต่เหตุการณ์ทั้งหมดนี้มันเกิดขึ้นโดยการไม่เตรียมตัว ไม่ว่าจะตั้งแต่การได้ไปถ่ายทำสารคดีโดยบังเอิญที่วัดแห่งนี้ และการร่วมไปครั้งนี้กับอาจารย์อ้อ
    บรรยากาศของวัดร่มลื่นมากครับ อยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยป่าไม้ ทางเข้าเป็นป่าไม้ ชันร่มรื่นดี เหมาะแก่การไปทำจิตใจให้บริสุทธิ์ดีจริง

    [​IMG]

    ประสบการณ์บอกเล่าจากผู้ที่ไปกราบหลวงปู่ (ญาติธรรมท่านหนึ่ง)
    คนส่วนใหญ่อาจไม่รู้ ขอแนะนำกราบหลวงปู่รูปนี้
    (แม้กระทั่งถ่ายภาพท่านยังไม่ติดถ้าไม่ขอ)
    ดังเรื่องราวต่อไปนี้ที่จะได้เสนอ
    (ขออนุญาติพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในการเล่าเรื่องเพื่อเป็นวิทยาทานต่อไปครับ)
    หมายเหตุหลวงปู่มี ท่านเป็นพระพี่ชายหลวงปู่ลี กุสลธโร ครับ
    เมื่อสงกรานต์ผมได้มีโอกาสกลับมากราบหลวงปู่เกล้า (หลวงปู่มี ปมุตโต )
    พระอริยเจ้าแห่งวัดถ้ำเกียอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้ท่านชราภาพมากแล้วครับ แต่บารมียังมากล้นผู้คนยังเข้ามาอย่างมากมาย......เห็นภาพขยายขนาดใหญ่ของหลวงปู่เกล้าที่ติดใต้ศาลาก็อด นึกชมคนถ่ายไม่ได้ว่าช่างถ่ายได้สวยงามเหลือเกิน แล้วก็อดย้อนนึกถึงตัวเองเมื่อสัก20ปีที่แล้วไม่ได้ว่าทำไมจึง"ถ่ายไม่ติด" ครานั้นครอบครัวผมที่มีคุณพ่อ-คุณแม่และพี่ๆอีก3-4คนได้มีโอกาสเข้าใกล้ชิดหลวงปู่และได้รับฟังเรื่องราวต่างๆ จากการบอกเล่าของท่านมากมายเลยถือโอกาสถามเรื่อง"ถ่ายไม่ติด" ท่านก็จ้องหน้าเลยครับแล้วก็บอกว่า"ถ่ายหยังล่ะ" - "ขอตี้(ขอสิ)"- "บอกเฮาตี้".....ก็เคยขอครับแต่ขอไม่หมดก็มีอันต้องตะลึง เฉพาะประสบการณ์ถ่ายไม่ติด.(ภาพนิ่ง)....ถ่ายติดแต่ดูได้ครั้งเดียว(วิดีโอ).....ถ่ายติดแต่ดูได้เฉพาะในวัดเท่านั้น (วิดีโอ).....ถ่ายติดดูได้แค่ในวัดพอพ้นรั้ววัดกล้องเสียเลย)......รวมๆแล้ว4-5ครั้งครับ วันหลังหลวงปู่เลยบอกว่า"มันขี้ดื้อ" ก้อ..น้อมรับครับ ..........วันที่ได้รับฟังคำบอกเล่าจากหลวงปู่นานหน่อยก็คือวันที่ผมปีนขึ้นไปแต่งองค์พระพุทธรูปที่เนินหักศอก ในวัดครับ ตอนนั้นผมเรียนจบใหม่ๆและไปทำงานที่ กทม.และมีโอกาสซื้อหอยมุกกับสะเก็ดดาวขนาดใหญ่มาเจียระไนยเพื่อทำตาขาวและตาดำองค์พระดังกล่าว หลวงปู่ก็เมตตาให้ผมเป็นคนเลื่อยฉลุหอยมุกและให้ผสมซีเมนต์+กาวลาเท๊กซ์แล้วขึ้นไปแปะเอง ทาสีเองโดยมีช่างนาย(เพิ่งทราบข่าวว่าเพิ่งเสียไป)คอยช่วยดูแล วันนั้นทำหลายชั่วโมงครับหลวงปู่ก็นั่งอยู่ใต้ต้นไม้ใกล้ๆดูพวกเราทำงานกัน ท่านเล่าถึงการเดินป่า ของขลัง คาถา พวกบังบด(ในถ้ำเกีย)ให้ฟังและมีเมตตาบอกว่าอยากเห็นไหม ไปดูด้วยกันเลยเดี๋ยวนี้ "ไป่เบิงบอล่ะ ไป่กับเฮาตี้ ยูฮั่น" โห!!ผมว่าผมกล้าแล้วน้ะ แต่วันนั้นไม่กล้าครับแม้กระทั่งกลางวันก็ตามครับ ทุกวันนี้ยังเสียดายอยู่เลยครับ........แต่!ผมมีสัญญาเก่าๆอยู่ที่วัดถ้ำเกียอยู่ครับ ผมได้รับความกรุณามาเสมอๆ หากได้กลับมาอุดรอีกครั้งผมคงต้องให้เวลากับวัดทางวัดอย่างจริงจังครับ.......

    [​IMG]

    เหตุที่ทางบ้านกระผมรู้จักหลวงปู้เก้า ก็เพราะหลวงตาบัวครับ เมื่อกว่า20ปีที่แล้วที่บ้านไปวัดบ้านตาดกัน(ยกเว้นผม)พอกลับมาคุณพ่อก็บอกว่าเราก็ไม่ต้องไปวัดบ้านตาดอีกก็ได้ มหาบัว(สมัยนั้นคุณพ่อเรียกอย่างนั้นครับ)เพิ่นบอกว่า"ของดีอยู่บนเขามีใบบัวปิดไว้ ไปหาเอาเอง" จากนั้นจึงมีรายการตามหาครับจนเจอนี่ล่ะและคุณพ่อก็กลับไปที่วัดบ้านตาดอีกหลายครั้ง หลวงตาบัวท่านก็บอกว่า"ไม่ต้องมาหาเราอีก อยู่นู่นคือกัน เหมือนกัน"........................

    หลวงปู้เก้าเป็นพระชาวบ้านๆที่พูดแล้วฟังดูง่ายๆ แต่ทุกๆพยางค์นั้นท่านจะเน้นให้เราเกิดการคิดตาม ดังเช่นเราจะได้ยินคำว่า"ให้ความเห็น"บ่อยมากๆจากท่าน ท่านให้เรารู้จักพิจารณาถึงสิ่งบอกเหตุต่างๆอย่างมีสติครับ ยกตัวอย่างกรณียืนอยู่ใต้ต้นไม้แล้วมีใบไม้เขียวสดปลิดตัวลงมาต่อหน้า ท่านบอกเลยว่า"เขามาให้ความเห็นแล้ว" "เดี๋ยวมีคนมาหาเฮา" แป๊บเดียวก็มีคนเข้ามากราบครับบอกว่าคนที่บ้านตาย........นั่งในกุฎิท่านแล้วจีวรที่พาดหรือวางไว้คลี่ตัวแล้ว หล่นไหลลื่นลงมาท่านก็บอกว่า"เขาให้ความเห็นเฮา มีคนตาย"ก้อ.จริงครับ.......2-3ครั้งที่ท่านรับนิมนต์มาที่บ้านผมและเดินดูบ้านแล้วท่านจะจ้องเขม็งเป็นระยะๆ ตามบริเวณบ้าน จากนั้นท่านก็บอกว่าเอาศาลพระภูมิออกไป ไม่ต้องมี "บ้านนี่มีกั่วฮั่น เอาออกไปอย่าให้มันมาอยู่ มากิน พระอยู่ในบ้านอยู่แล่ว ธรรมตั้วฮั่น".....ขออนุญาตเล่าเท่าที่จำได้แม่นๆครับ

     
  10. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    เกร็ดประวัติ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ


    [​IMG]


    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เดิมชื่อ ญาณ หรือ ยาน รามศิริ เกิดวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2430 วันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ณ บ้านนาโป่งบ้างก็ว่า บ้านหนองบอน ตำบลหนองใน (ปัจจุบันเป็น ตำบลนาโป่ง) อำเภอเมือง จังหวัดเลย
    ท่านเกิดในตระกูลช่างตีเหล็ก เป็นบุตรคนที่ 2 (คนสุดท้อง) ของ นายใส หรือ สาย กับ นางแก้ว รามศิริ มีพี่สาวร่วมท้องเดียวกัน 1 คน เมื่อหลวงปู่อายุประมาณ 5 ขวบ พอจำความได้บ้างว่า ก่อนที่มารดาจะเสียชีวิต ได้เรียกไปสั่งเสียว่า "ลูกเอ๋ย แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ จะเป็นกี่ล้านกี่โกฏก็ตาม แม่ก็ไม่ยินดี และแม่จะยินดีมาก ถ้าลูกจะบวชให้แม่จนตายในผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีเมียนะลูกนะ"
    หลังจากนั้นมารดาได้ถึงแก่กรรมลง ท่านจึงอยู่ในความดูแลของตากับยายขุนแก้ว อนึ่ง ยายของหลวงปู่ได้ฝันว่า เห็นหลานชายไปนั่งไปนอนอยู่ในดงขมิ้นจนเนื้อตัวเหลืองอร่ามน่าชม จึงได้มาร้องขอให้บวชเช่นเดียวกัน ท่านจึงรับปาก แล้วบวชพร้อมกับหลานยายอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และมีศักดิ์เป็นน้า ยายได้นำหลานทั้ง 2 คน ไปถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ที่ วัดโพธิ์ชัย (มหานิกาย) ในหมู่บ้านนาโป่ง เพื่อฝึกหัดขานนาค ทำการบรรพชาเป็นสามเณรต่อไป ด้วยคำพูดของแม่ในครั้งนั้น เป็นเหมือนพรสวรรค์คอยเตือนสติอยู่ตลอดเวลา มันเป็นคำสั่งที่ก้องอยู่ในความทรงจำมิรู้เลือน จนในที่สุดท่านก็ได้บวชตามความประสงค์ของมารดาและใช้ชีวิตอยู่ในผ้าเหลืองจนตลอดอายุขัย


    [​IMG]

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    หลวงปู่ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2439 มีอายุได้ 9 ปี ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาโป่ง ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพระอาจารย์คำมา เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์อ้วน เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เป็นพระพี่เลี้ยง เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แหวน อยู่จำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัยนั่นเอง พอเข้าพรรษาได้ประมาณ 2 เดือน สามเณรผู้มีศักดิ์เป็นน้าที่บวชพร้อมกันเกิดอาพาธหนักถึงแก่มรณภาพไป ทำให้ท่านสะเทือนใจมาก
    เนื่องจาก วัดโพธิ์ชัย ไม่มีการศึกษาเล่าเรียน เพราะขาดครูสอน ท่านจึงอยู่ตามสบาย คือ สวดมนต์ไหว้พระบ้าง เล่นบ้างตามประสาเด็ก ต่อมาได้ถูกส่งไปเรียนมูลกัจจายน์ ที่ วัดสร้างก่อ อำเภอหัวสะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในสมัยนั้น จังหวัดอุบลราชธานีมีสำนักเรียนที่มีชื่อเสียง มีครูอาจารย์สอนกันเป็นหลักเป็นฐานหลายแห่ง เช่น สำนักเรียนบ้านไผ่ใหญ่ บ้านเค็งใหญ่ บ้านหนองหลัก บ้านสร้างก่อทั่วอีสาน 15 จังหวัด (ในสมัยนั้น) ใครต้องการศึกษาหาความรู้ ต้องมุ่งหน้าไปเรียนมูลกัจจายน์ ตามสำนักดังกล่าว ผู้เรียนจบหลักสูตรได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์ เพราะเป็นหลักสูตรที่เรียนยาก มีผู้เรียนจบกันน้อยมาก ภายหลัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงมาปรับปรุงเปลียนแปลงหลักสูตรใหม่ดังเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้การเรียนมูลกัจจายน์ถูกลืมเลือน
    ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนที่สำนักนี้หลายปี จนอายุครบบวชพระ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกายที่ วัดสร้างก่อนอก อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระอาจารย์แว่น เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2451 ในระยะที่เรียนหนังสืออยู่นั้น ท่านเกิดความว้าวุ่นใจเพราะ ท่านอาจารย์อ้อน อาจารย์เอี่ยม ครูผู้สอนหนังสือเกิดอาพาธด้วยโรคนอนไม่หลับ ท่านจึงแนะนำให้ลาสิกขาบทเผื่อโรคอาจจะหายได้ หายแล้วหากยังอาลัยในสมณเพศ เมื่อได้โอกาสก็ให้กลับมาบวชใหม่อีก ท่านอาจารย์ทำตาม ปรากฏว่าโรคหายดี แต่ต่อมาพระผู้เป็นอาจารย์สอนหนังสือ คือ อาจารย์ชม อาจาาย์ชาลี และท่านอื่น ๆ ลาสิกขาไปมีครอบครัวกันหมดสำนักเรียนจึงต้องหยุดชงักลง
    ในที่สุด ท่านจึงเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า บรรดาครูอาจารย์เหล่านั้นสึกออกไปล้วนเพราะอำนาจของกามทั้งสิ้นจึงระลึกนึกถึงคำเตือนของแม่และยาย และเกิดความคิดขึ้นมาว่าการออกปฏิบัติเป็นทางเดียวเท่านั้นที่ จะทำให้บวชอยู่ได้ตลอดชีวิต เหมือนกับครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ ได้ออกไปปฏิบัติอยู่กันตามป่าเขาไม่อาลัยอาวรณ์อยู่กับหมู่คณะจึงได้ตัดสินใจไปหาอาจารย์ที่เมืองสกลนคร
    ท่านได้ตั้งสัจจาธิษฐาน ขออุทิศชีวิตพรหมจรรย์แด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หลังจากตั้งจิตอธิษฐานแล้ว ท่านมีความรู้สึกปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ อยู่มา 2-3 วัน โยมอุปัฏฐาก ได้มาบอกว่า พระอาจารย์จวง วัดธาตุเทิง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ไปกราบ ญาคูมั่น พึ่งกลับมา ท่านจึงได้ไปนมัสการพระอาจารย์จวง เพื่อขอทราบที่อยู่ของ หลวงปู่มั่น ด้วยรู้สึกศรัทธาในกิตติศัพท์ความเก่งกล้าสามารถของหลวงปู่มั่นยิ่งนักจากนั้น ท่านก็ได้ออกธุดงค์มุ่งสู่สำนักของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยผ่านม่วงสามสิบ คำเขื่อนแก้ว ยโสธร เลิงนกทา มุกดาหาร คำชะอี นาแก สกลนคร พรรณานิคม สว่างแดนดิน หนองหาน อุดรธานี บ้านผือ ซึ่งนับเป็นการเดินทางไกลและยาวนานเป็นครั้งแรกจนได้เข้าพบหลวงปู่มั่น ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ


    [​IMG]

    คำแรกที่หลวงปู่มั่นสั่งสอนก็คือ "ต่อไปนี้ให้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมา ให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน" ซึ่งทำให้ท่านรู้สึกยินดีมากเพราะได้บรรลุสิ่งที่ตั้งใจหลังจากอยู่กับหลวงปู่มั่นได้ 4 วัน พี่เขยและน้าเขยก็มาตามให้กลับไปเยี่ยมโยมพ่อที่ไม่ได้พบกันมานาน 10 ปี จึงเข้าไปกราบลาหลวงปู่มั่นและได้รับคำเตือนว่า "ไปแล้วให้รีบกลับมาอย่าอยู่นานประเดี๋ยวจะเสียท่าเขา ถูกเขามัดไว้แล้วจะดิ้นไม่หลุด"
    ท่านได้กลับไปเยี่ยมบ้านในปี พ.ศ.2461 เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชนในแถบบ้านเกิดมาก หลั่งไหลกันมากราบอย่างไม่ขาดสายจนทำให้พักผ่อนไม่พอ และล้มป่วยลงต้องพักรักษาตัวอยู่หนึ่งเดือนเต็ม
    ด้วยจิตที่ระลึกถึงคำสั่งของพระอาจารย์ว่า "อย่าอยู่นานให้รีบกลับมาภาวนา" กับคำสั่งเสียของแม่ว่า "แม่ยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ แล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง" ทำให้ท่านตัดสินใจรีบเดินทางกลับไปอยู่รับการอบรมภาวนาต่อ แล้วจึงได้แยกไปหาที่วิเวกบำเพ็ญสมาธิภาวนาตาม ความเหมาะสมกับจิตของตนเมื่อถึงวันอุโบสถจึงได้ถือโอกาสเข้านมัสการถามปัญหาข้อข้องใจใน การปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นจนเป็นที่เข้าใจแล้ว จึงกลับสู่ที่ปฏิบัติของตนดังเดิม โดยยึดมั่นในคำเตือนของหลวงปู่มั่นว่า "ให้ตั้งใจภาวนา อย่าได้ประมาท ให้มีสติอยู่ทุกเมื่อ จงอย่าเห็นแก่การพักผ่อนหลับนอนให้มาก "

    [​IMG] ในระยะแรกออกปฏิบัตินั้น ท่านไม่ได้ร่วมทำสังฆกรรมฟังการสวดปาติโมกข์ เพราะยังไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุต พระมหานิกายที่ได้รับการอบรมจากท่านหลวงปู่มั่นครั้งนั้นมีหลายรูป เมื่ออยู่ไปนาน ๆ ได้เห็นความไม่สะดวกในการประกอบสังฆกรรมดังกล่าว จึงไปกราบขออนุญาตให้ญัตติเป็นธรรมยุต ซึ่งบางรูปก็ได้รับอนุญาต บางรูปก็ไม่ได้รับอนุญาต โดยหลวงปู่มั่นให้เหตุผลว่า "ถ้าพากันมาญัตติเป็็นพระธรรมยุตเสียหมดแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะไม่มีใครมาแนะนำในการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว ละในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละ คือ ทางดำเนินไปสู่มรรคผลนิพพาน"
    ประมาณ พ .ศ.2464 ท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อพำนักและศึกษาธรรม กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ซึ่งหลวงปู่มั่นยกย่องอยู่เสมอว่าเชี่ยวชาญทั้งทางการเทศน์และการปฏิบัติธรรม หลังจากที่ท่านได้รับฟังธรรมและเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย พม่า และเชียงตุง จากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ แล้ว ก็ได้จาริกไปพม่า อินเดีย โดยผ่านทาง แม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก ข้ามแม่น้ำเมย ขึ้นฝั่งพม่าต่อไปยังขลุกขลิกมะละแหม่ง ข้ามฟากไปถึงเมาะตะมะ ขึ้นไปพักที่ดอยศรีกุตระ กลับมามะละแหม่ง แล้วโดยสารเรือไปเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย แล้วต่อรถไฟไปเมืองพาราณสี เที่ยวนมัสการปูชนียสถานต่าง ๆ แล้วจึงกลับโดยเส้นทางเดิม ถึงฝั่งไทยที่อำเภอแม่สอด เดินเที่ยวอำเภอสามเงา
    ปีต่อมา เดือนตุลาคม ท่านได้จาริกธุดงค์ไปเชียงตุง และ เชียงรุ้ง ในเขตพม่า โดยออกเดินทางไปด่านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผ่านหมู่บ้านชาวเขา พักตามป่าเขา จาริกผ่านเชียงตุง แล้วต่อไปทางเหนือ อันเป็นถิ่นชาวเขา เช่น จีนฮ่อ ซึ่งอยู่ตามเมืองแสนทวี ฝีฝ่า หนองแส บางเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง พอฝนตกชุกจวนเข้าพรรษาก็กลับเข้าเขตไทย นับได้ว่าท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่งในและนอกประเทศส่วนใหญ่จะพำนักอยู่ในเขตจังหวัดอุบลฯ อุดรฯ และตั้งใจจะไปให้ถึงสิบสองปันนา สิบสองจุไท แต่ทหารฝรั่ังเศสห้ามเอาไว้ จึงไปถึง วัดใต้หลวงพระบาง แล้วก็กลับพร้อมกับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ทางภาคเหนือ ท่านได้มุ่งเดินทางไป ค่ำไหนนอนนั่น จากอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลยออกไป อำเภอด่านซ้าย ผ่านอำเภอน้ำปาด อำเภอนครไทย อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ตัดไปอำเภอนาน้อย แพร่ หมู่บ้านชาวเย้า อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย ลำปาง แล้วต่อไปยังเชียงใหม่ เที่ยวดูภูมิประเทศโดยรอบเขาดอยสุเทพ
    ท่านได้รับความเมตตาจาก ท่านเจ้าคุณพระอุปาลีคุณูปมาจารย์ ด้วยดีตลอดมา ประมาณปี พ.ศ.2470 ท่านเจ้าคุณเห็นว่า หลวงปู่แหวน เป็นผู้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติมีวิริยะอุตสาหะปรารภความเพียรสม่ำเสมอไม่ท้อถอย มีข้อวัตรปฏิบัติดี มีอัธยาศัยไมตรีไม่ขึ้นลง คุ้นเคยกันมานาน เห็นสมควรจะได้ญัตติเสีย หลวงปู่แหวนจึงตัดสินใจเป็นพระธรรมยุต ที่พัทธสีมา วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ มี พระนพีสิ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ต่อมา หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ซึ่งเคยเป็นสหธรรมิกร่วมธุดงค์กัน ก็ได้ญัตติเป็นธรรายุตเหมือนกัน
    ในระหว่างที่จาริกแสวงหาวิเวกอยู่ทางภาคเหนือนั้น ท่านได้พบกับหลวงปู่ขาว อนาลโย และได้แยกย้ายกันจำพรรษาตามป่าเขา ท่านเคยได้แยกเดินทางทุ่งบวกข้าว จนถึงป่าเมี่ยงขุนปั๋ง พอออกพรรษา หลวงปู่มั่น พระอาจารย์พร สุมโน ได้มาสมทบที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง ขณะนั้น พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิร ิมาร่วมสมทบอีก
    เมื่อทุกท่านได้รับโอวาทจากหลวงปู่มั่นแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันไป หลวงปู่แหวนพร้อมหลวงปู่ขาว พระอาจารย์พร ไปที่ดอนมะโน หรือ ดอยน้ำมัว ส่วนหลวงปู่มั่นอยู่ที่กุฏิชั่วคราวที่ชาวบ้านสร้างถวายที่ป่าเมี่ยบขุนปั๋งนั่นเอง ภายหลังหลวงปู่มั่น เดินทางกลับอีสานแล้ว หลวงปู่แหวนยังคงจาริกแสวงวิเวกบำเพ็ญธรรมอยู่ป่าเมี่ยงแม่สาย หลวงปู่เล่าว่า อากาศทางภาคเหนือถูกแก่ธาตุขันธ์ดี ฉันอาหารได้มาก ไม่มีอาการอึดอัด ง่วงซึม เวลาภาวนาจิตก็รวมลงสู่ฐานสมาธิได้เร็ว นับว่าเป็นสัปปายะ
    [​IMG] ประมาณปี พ.ศ. 2474 ขณะที่หลวงปู่แหวนปฏิบัติธรรมอยู่ที่เชียงใหม่ ได้ทราบข่าวว่า ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ประสบอุบัติเหตุขณะขึ้นธรรมาสน์เพื่อแสดงธรรมถึงขาหักจึงเดินทางจากเชียงใหม่มากรุงเทพฯ และแวะกราบเรียนให้หลวงปู่มั่นทราบที่อุตรดิตถ์ แล้วเดินทางโดยรถไฟถึงโกรกพระ นครสวรรค์ ลงเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาถึงวัดคุ้งสำเภา พักค้างคืนหนึ่ง แล้วลงเรือล่องมาถึงกรุงเทพฯ เฝ้าพยาบาลท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ นานหนึ่งเดือน จึงกราบลาไปจำพรรษาที่เชียงใหม่
    ปี พ.ศ.2498 ท่านจำพรรษาที่ วัดบ้านปง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เกิดอาพาธแผลที่ขาอักเสบทรมานมาก ท่านจำพรรษาอยู่รูปเดียว ชาวบ้านไม่เอาใจใส่ ได้ท่านพระอาจารย์หนู สุจิตฺโต วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พาหมอมาจี้ มาทำการผ่าตัดโดยไม่ต้องฉีดยาชา ใช้มีดผ่าตัดเพียงเล่มเดียว ท่านมีความอดทนให้กระทำจนสำเร็จและหายได้ในที่สุด
    อีกหลายปีต่อมา พระอาจารย์หนูเห็นว่า หลวงปู่แก่มากแล้ว ไม่มีผู้อุปัฏฐาก จึงได้ชักชวนญาติโยมไปนิมนต์ให้ท่านมาจำพรรษาที่ วัดดอยแม่ปั๋ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ในฐานะพระผู้เฒ่าทำหน้าที่ปฏิบัติธรรมอย่างเดียวไม่ต้องเกี่ยงข้องกับภาระหน้าที่อื่นใด และท่านก็ได้ตั้งสัจจะว่า จะไม่รับนิมนต์ ไม่ขึ้นรถ ไม่ลงเรือ แม้ที่สุดจะเกิดอาพาธหนักเพียงใด ก็จะไม่ยอมเข้านอนโรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ แล้วท่านก็ได้ปฏิบัติตามที่ตั้งใจไว้ได้ นับตั้งแต่ท่านขึ้นไปภาคเหนือแล้ว ท่านก็ไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นอีกเลย ท่านเคยอยู่บนดอยสูงกับชาวเขาเกือบทุกเผ่า อยู่ในป่าเขาภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ส่วนภาคเหนือตอนล่าง เช่น แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ท่านเคยจาริกไปครั้งคราว จึงนับได้ว่า วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นสถานที่ซึ่ง หลวงปู่อยู่จำพรรษามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 จวบจนมรณภาพ
    หลวงปู่แหวน มีโรคประจำตัวคือ เป็นแผลเรื้อรังที่ก้นกบยาวประมาณ 1 ซม. มีอาการคัน ถ้าอักเสบก็จะเจ็บปวดมาก และอีกโรคหนึ่งคือ เป็นต้อกระจกนัยน์ตาด้านซ้าย เป็นต้อหินนัยน์ตาด้านขวา หมอได้เข้าไปรักษาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2518 ซึ่งรักษาแล้วสุขภาพก็ยังแข็งแรงตามวัย แต่ต่อมาปี 2519 ร่างกายเริ่มซูบผอม อ่อนเพลีย ฉันอาหารได้น้อย ขาทั้ง 2 เป็นตะคริวบ่อย ต่อมา 2520 สุขภาพทรุด ค่อนข้างซูบเหนื่อยอ่อน เวียนศีรษะถึงกับเซล้มลง และประสบอุบัติเหตุขณะครองผ้าจีวรในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นวันที่ทางวัดจัดงานผูกพัทธสีมา ส่งผลให้เจ็บบั้นเอวและกระดูดสันหลัง ลุกไม่ได้ ต้องนอนอยู่กับที่ รักษาอยู่เดือนหนึ่ง ก็หายเป็นปกติ แต่เนื่องจากหลวงปู่อายุมากแล้ว จึงมีอาการอาพาธมาโดยตลอด คณะแพทย์ก็คอยให้การรักษาด้วยดีเช่นกัน จนกระทั่งใน วันอังคารที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ. 2528 เวลา 21.53 น. การหายใจครั้งสุดท้ายก็มาถึง หลวงปู่ท่านได้ละร่างอันเป็นขันธวิบากไปด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ 98 ปี
    ธรรมโอวาท
    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้แสดงธรรมโอวาทหลายเรื่อง เช่นเรื่อง ของเก่าปกปิดความจริง ที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า การพิจารณาต้องน้อมเข้ามาสู่ภายใน พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มันก็วางเอง คูบาญาปู่มั่น ท่านว่า "เหตุก็ของเก่านี้แหละ แต่ไม่รู้ว่าของเก่า" ของเก่านี่แหละมันบังของจริงอยู่นี่ มันจึงไม่รู้ ถ้ารู้ว่าเป็นของเก่า มันก็ไม่ต้องไปคุย มีแต่ของเก่าทั้งนั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ของเก่า เวลามาปฏิบัติภาวนา ก็พิจารณาอันนี้แหละ ให้มันรู้แจ้งเห็นจริง ให้มันรู้แจ้งออกมาจากภายใน มันจึงไปนิพพานได้ นิพพานมันหมักอยู่ในของสกปรกนี่ มันจึงไม่เห็น พลิกของสกปรกออกดูให้เห็นแจ้ง นักปราชญ์ท่านไม่ละความเพียร เอาอยู่อย่างนั้นแหละ เอาจนรู้จริงรู้แจ้ง ทีนี้มันไม่มาเล่นกับก้อนสกปรกนี้อีก พิจารณาไป พิจารณาเอาให้นิพพานใสอยู่ในภายในนี่ ให้มันอ้อ นี่เอง ถ้ามันไม่อ้อหนา เอาให้มันถึงอ้อ จึงใช้ได้

    http://www.upchill.com/image.php?id=ba15aeaee73a50d09e7d2d6eeb075180ครั้นถึงอ้อแล้วสติก็ดี ถ้ามันยังไม่ถึงแล้ว เต็มที่สังขารตัวนี้ พิจารณาให้มันรู้แจ้งเห็นจริงในของสกปรกเหล่านี้แหละ ครั้นรู้แจ้งเข้า รู้แจ้งเข้า มันก็เป็นผู้รู้พระนิพพานเท่านั้น จำหลักให้แม่น ๆ มันไม่ไปที่ไหนหละ พระนิพพาน ครั้นเห็นนิพพานได้แล้ว มันจึงเบื่อโลก เวลาทำก็เอาอยู่นี่แหละ ใครจะว่าไปที่ไหนก็ตามเขา ละอันนี่แหละทำความเบื่อหน่ายกับอันนี้แหละ ทั้งก้อนนี่แหละ นักปฏิบัติต้องพิจารณาอยู่นี่แหละ ชี้เข้าไปที่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ให้พิจารณากาย พิจารณาใจ ให้เห็นให้เกิดความเบื่อหน่าย การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทุกทาง หากพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ก็ถอนได้ กามกิเลสนี้แหละ เป็นบ่อเกิดแห่งการฆ่ากันตาย ชิงดีชิงเด่น กิเลสตัวเดียว ทำให้มีการต่อสู้แย่งชิงกัน ทั้งความรักความชัง จะเกิดขึ้นในจิตใจก็เพราะกาม นักปฏิบัติต้องเอาให้หนักกว่าธรรมดา ทำใจของตนให้แน่วแน่ มันจะไปสงสัยที่ไหน ก็ของเก่าปรุงแต่งขึ้นเป็นความพอใจไม่พอใจ มันเกิดมันดับอยู่นี่ ไม่รู้เท่าทันมัน ถ้ารู้เท่า ทันมัน ก็ดับไป ถ้าจี้มันอยู่อย่างนี้ มันก็ค่อยลดกำลังไป ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน


    [​IMG]
     
  11. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    ประวัติ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา

    [​IMG]
    ขอขอบคุณรูปจาก :
    http://www.rakpratat.com

    ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
    ( พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ )

    สงฆ์สาวกพระภาคเจ้า……หมู่ใด
    ปฏิบัติตามพระวินัย……………ชอบแล้ว
    ประพฤติเพื่อพ้นไป………จากทุกข์ทั้งปวง
    อีกหนึ่งสรณะแก้ว …………… นบเกล้านมัสการ

    ชาติภูมิ


    นามเดิม วงศ์หรือชัยวงศ์ นามสกุล ต๊ะแหนม เกิดที่ ตำบลหันก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เกิดเมื่อ วันอังคาร เดือน ๗ ( เหนือ ) แรม ๒ ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๕๖ เวลา ๒๔.๑๕ นาฬิกา มีพี่น้องรวม ๙ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓

    ชิวิตในวัยเด็ก

    ท่านเกิดในตระกูลชาวไร่ชาวนาที่ยากจน พ่อแม่ของท่านมีสมบัติติดตัวมาแค่นา ๓-๔ ไร่ ควาย ๒-๓ ตัว ทำนาได้ข้าวปีละ ๒๐-๓๐ หาบ ไม่พอกินเพราะต้องแบ่งไว้ทำพันธุ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเอาไว้ใส่บาตรทำบุญบูชาพระ ส่วนที่เหลือจึงจะเก็บไว้กินเอง ต้องอาศัยขุยไผ่ขุยหลวกมาตำเอาเม็ดมาหุงแทนข้าว และอาศัยของในป่า รวมทั้งมันและกลอยเพื่อประทั้งชีวิต บางครั้งต้องอดมื้อกินมื้อก็มี แม่ต้องไปขอญาติพี่ๆน้องๆ เขาก็ไม่มีจะกินเหมือนกัน แม่ต้องกลับมามือเปล่า พร้อมน้ำตาบนใบหน้ามาถึงเรือน ลูกๆก็ร้องไห้เพราะหิวข้าว

    แม้ว่าครอบครัวของท่านต้องดิ้นรนต่อสู้กับความอดทนอยากแต่ก็ไม่ได้ละทิ้ง เรื่องการทำบุญให้ทาน ข้าวที่แบ่งไว้ทำบุญ แม่จะแบ่งให้ลูกทุกคนๆละปั้น ไปใส่บาตรบูชาพระพุทธทุกวันพระ

    โยมพ่อเคยสอนว่า " ตอนนี้พ่อแม่อด ลูกทุกคนก็อด แต่ลูกๆทุกคนอย่าท้อแท้ใจ ค่อยทำบุญไปเรื่อยๆ บุญมีภายหน้าก็จะสบาย " และโยมพ่อเคยพูดกับท่านว่า

    " ลูกเอ๋ยเราทุกข์ขนาดนี้เชียวหนอ ข้าวจะกินก็ไม่มี ต้องกินไปอย่างนี้ ค่อยอดค่อยกลั้นไป บุญมีก็ไม่ถึงกับอดตายหรอก ทรมานมานานแล้ว ถึงวันนี้ก็ยังไม่ตาย มันจะตายก็ตาย ไม่ตายก็แล้วไป ให้ลูกอดทนไปนะ ภายหน้าถ้าพ่อยังไม่ตายเสียก่อนก็ดี ตายไปแล้วก็ดี บางทีลูกจะได้นั่งขดถวายหงายองค์ตีน ( บวช ) กินข้าวดีๆอร่อยๆ พ่อนี่จะอยู่ทันเห็นหรือไม่ทันก็ยังไม่รู้ "

    ผู้มีความขยันและอดทน

    ในสมัยที่ท่านยังเล็กๆอายุ ๓-๔ ขวบ ท่านมีโรคประจำตัวคือ โรคลมสันนิบาต ลมเปี่ยวลมกัง ต้องนั่งทุกข์อยู่เป็นวันเป็นคืน เดินไปไกลก็ไม่ได้ วิ่งก็ไม่ได้เพราะลมเปี่ยว ตะคริวกินขากินน่อง เดินเร็วๆก็ไม่ได้ ต้องค่อยไปค่อยยั้ง เวลาอยู่บ้านต้องคอยเลี้ยงน้อง ตักน้ำติดไฟไว้คอยพ่อแม่ที่เข้าไปในป่าหาอาหาร

    ในช่วงที่ท่านมีอายุได้ ๕-๑๐ ขวบ ท่านต้องเป็นหลักในบรรดาพี่น้องทั้งหมดที่ต้องช่วยงานพ่อแม่มากที่สุด เวลาพ่อแม่ไปไร่ไปนาก็ไปด้วย เวลาพ่อแม่ไปหากลอยขุดมัน หาลูกไม้ในป่า ท่านก็ไปช่วยขุดช่วยหาบกลับบ้าน บางครั้งพ่อแม่หลงทางเพราะไปหากลอยตามดอยตามเนินเขา กว่าจะหากลอยได้เต็มหาบก็ดึก ขากลับพ่อแม่จำทางไม่ได้ ท่านก็ช่วยพาพ่อแม่กลับบ้านจนได้

    ครั้นถึงหน้าฝน พ่อแม่ออกไปทำนา ท่านก็ติดตามไปช่วยทุกอย่าง พ่อปั้นคันนาท่านก็ช่วยพ่อ พ่อไถนาท่านก็คอยจูงควายให้พ่อ เวลาแม่ปลูกข้าวก็ช่วยแม่ปลูกจนเสร็จ

    เสร็จจากหน้าทำนา ท่านก็จะเผาไม้ในไร่เอาขี้เถ้า ไปขุดดินในถ้ำมาผสม ทำดินปืนไปขาย ได้เงินซื้อข้าวและเกลือ บางครั้งก็ไปอยู่กับลุงน้อยเดชะรับจ้างเลี้ยงควาย บางปีก็ได้ค่าแรงเป็นข้าว ๒-๓ หาบ บางปีก็เพียงแต่ขอกินข้าวกับลุง พอตุนท้องตุนไส้ไปวันๆ

    พอถึงเวลาข้าวออกรวง นกเขาจะลงกินข้าวในนา ท่านก็จะขอพ่อแม่ไปเฝ้าข้าวในนาตั้งแต่เช้ามืด กว่าจะกลับก็ตะวันลับฟ้าไปแล้ว

    ผู้มีความกตัญญู

    หลวงพ่อมีความกตัญญูมาตั้งแต่เด็ก ท่านช่วยพ่อแม่ทำงานต่างๆ ทุกอย่างเท่าที่ทำได้ ตั้งแต่อายุได้ประมาณ ๕ ขวบ ท่านก็ช่วยพ่อแม่เฝ้านา เลี้ยงน้อง ตลอดจนช่วยงานทุกอย่างของพ่อแม่ เมื่อเวลาที่พ่อแม่หาอาหารไม่ได้ ท่านก็จะไปรับจ้างชาวบ้านแถบบ้านก้อทำความสะอาด หรือช่วยเฝ้าไร่นา เพื่อแลกกับข้าวปลาอาหารมาให้พ่อแม่และน้องๆกิน

    ในบางครั้งอาหารที่ได้มาหรือที่พ่อแม่จัดหาให้ไม่เพียงพอกับคนในครอบครัว ด้วยความที่ท่านมีนิสัยเสียสละ และไม่ต้องการให้พ่อแม่ต้องเจียดอาหารของท่านทั้งสองซึ่งมีน้อยอยู่แล้วออก มาให้ท่านอีก ท่านจึงได้บอกว่า " กินมาแล้ว " เพื่อให้พ่อแม่สบายใจ แต่พอลับตาผู้อื่น หรือเมื่อผู้อื่นในบ้านหลับกันหมดแล้ว ท่านก็จะหลบไปดื่มน้ำ หรือบางครั้งจะหลบไปหาใบไม้ที่พอจะกินได้มาเคี้ยวกิน เพื่อประทังความหิวที่เกิดขึ้น ท่านเติบโตขึ้นมาโดยพ่อแม่เลี้ยงข้าวท่านไม่ถึง ๑๐ ถัง แต่ท่านในสมัยเป็นเด็ก กลับหาเลี้ยงพ่อแม่มากกว่าที่พ่อแม่หาเลี้ยงท่าน

    นิสัยกล้าหาญ

    เมื่อท่านอายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบ ท่านต้องออกไปเฝ้านาข้าว เพื่อคอยไล่นกที่จะมากินข้าวในนา ท่านต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี ๔ ยังไม่สว่าง นกยังไม่ตื่นออกหากิน การที่ท่านต้องออกไปไร่นาแต่เพียงลำพังคนเดียวเป็นประจำ ทำให้ลุงตาลซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของท่านอดสงสัยไม่ได้ จนต้องเข้ามาถามท่าน

    ลุงตาล " มึงนี้เป็นผีเสือหรือไร แจ้งมากูก็เห็นมึงที่นี่ มึงไม่ได้นอนบ้านหรือ ? "

    ด.ช.วงศ์ " เมื่อนกหนูนอนแล้ว ข้าจึงกลับไปบ้าน เช้ามืดไก่ขัน หัวทียังบ่แจ้ง นกยังบ่ลงบ่ตื่น ข้าก็มาคนเดียว "

    ลุงตาล " ไม่กลัวเสือ ไม่กลัวผีป่าหรือ ? "

    ด.ช.วงศ์ " ผีเสือมันก็รู้จักเรา มันไม่ทำอะไรเรา เราเทียวไปเทียวมา มันคงรู้ และเอ็นดูเรา บางวันตอนเช้าเราเห็นคนเดินไปข้างหน้า เราก็เดินตามก็ไม่ทัน จนถึงไร่มันก็หายไป เราก็เข้าใจว่ามันไปส่งเรา เราก็ไม่กลัว บางเช้าก็ได้ยินเสียงเสือร้องไปก่อนหน้า "

    ลุงตาล " ไม่กลัวเสือหรือ ? "

    ด.ช.วงศ์ " เราไม่กลัว มันเป็นสัตว์ เราเป็นคน มันไม่รังแกเรา มันคงสงสารเราที่เป็นทุกข์ยาก มันคงจะมาอยู่เป็นเพื่อน เราจะไปจะมา ก็ขอเทวดาที่รักษาป่าช่วยรักษาเรา เราจึงไม่กลัว "

    ลุงตาล " มึงเก่งมาก กูจักทำตามมึง "

    ด.ช.วงศ์ " เราไม่ได้ทำอะไรมัน มันก็ไม่ทำอะไรเรา มันไม่รังแกเรา เราคิดว่า คนที่ใจบาปไปเสาะหาเนื้อในป่า กินกวางกินเก้งกินปลา เสือก็ยังไม่กัดใครตายในป่าสักคน เวลาเราจะลงเรือน เราก็ขอให้บุญช่วยเรา "

    ลุงตาล " มึงยังเด็ก อายุไม่ถึง ๑๐ ขวบ มืดๆ ดึกๆก็ไม่กลัวป่า ไม่กลัวเถื่อน ไม่กลัวผีป่าผีพง ไม่กลัวช้าง กูยอมมึงแล้ว "

    ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์

    ขณะที่ท่านนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ในป่าคนเดียวตามลำพัง ท่านได้เปรียบเทียบชีวิตท่านกับสัตว์ป่าทั้งหลายว่า " นกทั้งหลายต่างก็หากินไป ไม่มีที่หยุด ต่างก็เลี้ยงตัวเองไปตามประสามัน ก็ยังทนทานไปได้ ตัวเราค่อยอดค่อนทนไปก็ดีเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายก็ทุกข์ยากอย่างเรา สัตว์ในโลกก็ทุกข์เหมือนกันทุกอย่าง เราไม่ควรจะเหนื่อยคร้าน ค่อยอดค่อยทนตามพ่อแม่นำพาไป "

    พรหมวิหารสี่

    หลวงพ่อมีความเมตตากรุณาและพรหมวิหารสี่มาแต่เยาว์วัยอย่างหาที่เปรียบมิ ได้ เพื่อนของหลวงพ่อตั้งแต่สมัยนั้นเล่าว่า เมื่อสมัยที่ท่านเป็นเด็กระหว่างทางไปหาของหรืออาหารป่า ทุกครั้งที่เห็นสัตว์ถูกกับดักของนายพราน ท่านจะปล่อยสัตว์เหล่านั้นให้มีอิสรภาพเสมอ แล้วจะหาสิ่งของมาทดแทนให้กับนายพราน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับชีวิตของมัน

    ครั้งหนึ่งท่านเห็นตัวตุ่นถูกกับดักนายพรานติดอยู่ในโพรงไม้ไผ่ ด้วยความสงสารท่านจึงปล่อยตัวตุ่นนั้นไป แล้วหยิบหัวมันที่หามาได้จากในป่า ซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำไปให้พ่อแม่และน้องๆกิน ใส่เข้าไปในโพรงไม้นั้นแทน เพื่อเป็นการชดใช้แลกเปลี่ยนกับชีวิตของตัวตุ่นนั้น

    ต่อมามีอยู่วันหนึ่ง ท่านไปพบปลาดุกติดเบ็ดของชาวบ้านที่นำมาปักไว้ที่ห้วย ท่านเห็นมันดิ้นทุรนทุรายแล้วเกิดความสงสารเวทนาปลาดุกตัวนั้นมาก จึงปลดมันออกจากเบ็ด แล้วเอาหัวผักกาดที่ท่านทำงานแลกมาซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำไปให้พ่อแม่และน้องๆ กิน มาเกี่ยวไว้แทนเป็นการแลกเปลี่ยนชีวิตปลาดุกนั้น

    หลวงพ่อได้เมตตาบอกถึงเหตุผลที่กระทำเช่นนั้นว่า ในเวลานั้นท่านมีความเวทนาสงสารสัตว์เหล่านั้นจึงได้ช่วยชีวิตของมันไว้ ท่านมักจะสั่งสอนลูกศิษย์อยู่เสมอว่า " ชีวิตของใครๆก็รักทั้งนั้น เราทุกคนควรจะเมตตาตนเอง และเมตตาผู้อื่นอยู่เสมอ โลกนี้จะได้มีความสุข "

    ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่ไม่ชอบการผิดศีลมาตั้งแต่สมัยเด็ก เมื่อท่านเห็นว่าคนอื่นจะผิดศีล ข้อปาณาติบาต ( การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ) ก็รู้สึกสงสารทั้งผู้ทำปาณาตีบาตและผู้ถูกปาณาติบาต ซึ่งท่านไม่อยากเห็นพวกเขามีเวรมีกรรมกันต่อไป แต่ในขณะเดียวกันท่านก็ไม่ต้องการให้ตัวเองต้องผิดศีลโดยไปลักขโมยของผู้ อื่น ซึ่งในเวลานั้นท่านไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ท่านจึงต้องหาสิ่งของมาตอบแทนให้กับเขา แต่ในบางครั้งก็ไม่มีสิ่งของมาแลกกับชีวิตของสัตว์เหล่านั้นเหมือนกัน แต่ท่านก็สามารถจะช่วยมันได้โดยปล่อยมันให้เป็นอิสระ แล้วท่านนั่งรอนายพรานจนกว่าเขาจะมาและก็ขอเอาตัวเองชดใช้แทน ซึ่งท่านได้เล่าว่า บางคนก็ไม่ถือสาเอาความ แต่บางคนก็ให้ไปทำงานหรือทำความสะอาด ทดแทนกับที่ท่านไปปล่อยสัตว์ที่เขาดักไว้ แต่ไม่เคยมีใครทำร้ายทุบตีท่าน อาจจะมีบ้างก็เพียงแต่ว่ากล่าวตักเตือน

    ท่านได้พูดว่า " แม้ว่าบางครั้งจะต้องทำงานหนักเพื่อใช้ชีวิตของสัตว์ที่ท่านได้ปล่อยไป แต่ท่านก็รู้สึกยินดีและปิติใจเป็นอันมากที่ได้ทำในสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ "

    กินอาหารมังสวิรัติ

    เมื่อท่านอายุได้ ๑๒ ปี ท่านได้พบเหตุการณ์สำคัญที่ทำไม่อยากจะกินเนื้อสัตว์นั้นเลยนับแต่นั้นมา กล่าวคือ มีครั้งหนึ่งท่านได้เห็นพญากวางใหญ่ถูกนายพรานยิง แทนที่พญากวางตัวนั้นจะร้องเป็นเสียงสัตว์มันกลับร้องโอยๆๆๆเหมือนเสียงคน ร้อง แล้วสิ้นใจตายในที่สุด และเมื่อท่านไปอยู่กับครูบาชัยลังก๋าซึ่งไม่ฉันเนื้อสัตว์ ท่านจึงงดเว้นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ตั้งแต่นั้นมา

    อีกประการหนึ่งอาจเป็นด้วยบุญบารมีที่ท่านได้สร้างสะมาแต่อดีตชาติ ประกอบกับได้เห็นความทุกข์ยากของสัตว์ต่างๆที่ถูกทำร้าย จึงทำให้ท่านเกิดความสลดใจอยู่เสมอ ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐานถึงคุณพระศรีรัตนตรัยตั้งแต่นั้นมาว่า " จะไม่ขอเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์และจะไม่ขอกินเนื้อ สัตว์อีกต่อไป " ท่านได้เมตตาสอนว่า " สรรพสัตว์ทั้งหลายย่อมรักและหวงแหนชีวิตของมันเอง เราทุกคนไม่ควรจะเบียดเบียนมัน มันจะได้อยู่อย่างเป็นสุข " และท่านยังพูดเสมอว่า " ท่านต้องการให้ศีลของท่านบริสุทธิ์ขึ้นไปเรื่อยๆ "

    สัตว์ทุกตัวมันก็รักชีวิตของมันเหมือนกัน เมื่อเราฆ่ามันตายเพื่อกินเนื้อมัน จิตของมันไปที่สำนักพระยายมก็จะฟ้องร้องว่าคนนั้นฆ่ามันตาย คนนี้กินเนื้อของมัน ถึงแม้จะไม่ได้ฆ่า คนกินก็เป็นจำเลยด้วยก็ย่อมต้องได้รับโทษ แต่จะออกมาในรูปของการเจ็บไข้ได้ป่วย และความไม่สบายต่างๆซึ่งเจ้าตัวไม่รู้สึกเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา

    บรรพชาเป็นสามเณร

    เมื่อท่านอายุย่าง ๑๓ ปี ( พ.ศ. ๒๔๖๘ ) ด้วยผลบุญที่ท่านได้บำเพ็ญมาตั้งแต่ปางก่อนในอดีตชาติ และได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ในชาตินี้จึงดลบันดาลให้ท่าน มีความเบื่อหน่ายต่อชีวิตทางโลก อันเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ท่านจึงได้รบเร้าขอให้พ่อแม่ท่านไปบวช เพื่อท่านจะได้บำเพ็ญธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบิดามารดาได้ฟังก็เกิดความปิติยินดีเป็นยิ่งนัก

    ไม่นานหลังจากนั้นพ่อแม่ก็ได้นำท่านไปฝากกับหลวงอาท่านได้อยู่เป็นเด็กวัด กับหลวงอาได้ไม่นาน หลวงอาจึงนำท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์และบวชเณรกับครูบาชัยลังก๋า ( ซึ่งเป็นธุดงค์กรรมฐานรุ่นพี่ของครูบาศรีชัย ) ครูบาชัยลังก๋าได้ตั้งชื่อให้ท่านใหม่หลังจากเป็นสามเณรแล้วว่า " สามเณรชัยลังก๋า " เช่นเดียวกับชื่อของครูบาชัยลังก๋า

    มีความเคารพเชื่อฟัง

    ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรและเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ตลอดจนผู้ สูงอายุ จึงทำให้ครูบาอาจารย์และผู้เฒ่าผู้แก่รักใคร่เอ็นดูมาก จนเป็นเหตุทำให้เพื่อนเณรบางคนพากันอิจฉาริษยา หาว่าท่านประจบครูบาอาจารย์ เมื่อใดที่ท่านอยู่ห่างจากครูบาอาจารย์เป็นต้องถูกรังแกเสมอ ทำให้การอยู่ปรนนิบัติติดตามครูบาอาจารย์เป็นไปอย่างไม่มีความสุข แต่ด้วยความเคารพกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ และต้องการที่จะปฏิบัติธรรมกรรมฐานเพื่อมรรคผล ท่านจึงได้ใช้ขันติและให้อภัยแก่พระเณรเหล่านั้นที่ไม่รู้สัจจธรรมในเรื่อง กฎแห่งกรรมที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ได้กล่าวไว้ว่า " ทำความดีได้ดี ทำความชั่วผลแห่งความชั่วย่อมตอบสนองผู้นั้น "

    ชายชราลึกลับ

    เพื่อนพระสงฆ์ที่เคยอยู่ร่วมกันกับท่านในสมัยเป็นเณรได้เล่าว่า " หลวงพ่อวงศ์เป็นผู้มีขันติและอภัยทานสูงส่งจริงๆ " ครั้งหนึ่งท่านเคยถูกเณรองค์อื่น เอาน้ำรักทาไว้บนที่นอนของท่านในสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้า และเทียนก็หาได้ยาก ท่านจึงมองไม่เห็น เมื่อท่านนอนลงไป น้ำรักก็ได้กัดผิวหนังของท่านจนแสบจนคัน ท่านจึงได้เกาจนเป็นแผลไปทั้งตัว ไม่นานแผลเหล่านั้นก็ได้เน่าเปื่อยขึ้นมาจนทำให้ท่านได้รับทุกขเวทนามาก แต่ด้วยความที่ท่านเป็นคนดีมีธรรมะเมตตาให้อโหสิกรรมกับผู้อื่น ท่านจึงใช้ขันติข่มความเจ็บปวดเหล่านั้นโดยไม่ปริปากหรือกล่าวโทษผู้ใด

    ทุกครั้งที่ครูบาอาจารย์ถาม ท่านก็ไม่ยอมที่จะกล่าวโทษใครเลย เพียงเรียนไปว่า ขออภัยให้กับพวกคนเหล่านั้นเท่านั้นและขอยึดเอาคำของครูบาอาจารย์มาปฏิบัติ เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมกันต่อไปในอนาคต และเพื่อความหลุดพ้นจากวัฎสงสารแห่งนี้เข้ามรรคผลดังที่ครูบาอาจารย์ได้อบรม สั่งสอนมาด้วยความยากลำบาก เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาเป็นคนดีและเป็นพระสงฆ์เนื้อนาบุญของพุทธบริษัทต่อไป

    ด้วยผลบุญที่ท่านได้สั่งสมมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงดลบันดาลให้มีชายชราชาวขมุนำยามาให้ท่านกิน ให้ท่านทาเป็นเวลา ๓ คืน เมื่อท่านหายดีแล้ว ชายชราผู้นั้นก็ได้กลับมาหาท่าน และได้พูดกับท่านว่า " เป็นผลบุญของเณรน้อยที่ได้สร้างสมมาแต่อดีตถึงปัจจุบันไว้ดีมาก และมีความกตัญญูเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ครูบาอาจารย์ดีมาก จึงทำให้แผลหายเร็ว ขอให้เณรน้อยจงหมั่นทำความดีปฏิบัติธรรม และเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ต่อไปอย่าได้ท้อถอย ไม่ว่าจะมีมารมาขัดขวางอย่างไรก็ดี ขอเณรน้อยใช้ความดีชนะความไม่ดีทั้งหลาย ต่อไปในภายภาคหน้าสามเณรน้อยจะได้เป็นพระสงฆ์เนื้อนาบุญของพุทธบริษัทต่อไป "

    เมื่อชายชราผู้นั้นกล่าวจบแล้ว จึงได้เดินลงจากกุฏิที่ท่านพักอยู่ สามเณรชัยลังก๋านึกได้ยังไม่ได้ถามชื่อแซ่ของชายชราผู้มีพระคุณจึงวิ่งตามลง มา แต่เดินหาเท่าไรก็ไม่พบชายชราผู้นั้น ท่านจึงได้สอบถามผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้น ทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่พบเห็นชายชราเช่นนี้มาก่อนเลย นอกจากเห็นท่านนอนอยู่องค์เดียวในกุฏิ จากคำพูดของคนเหล่านี้ทำให้ท่านประหลาดใจมาก เพราะท่านได้พูดคุยกับชายชราผู้นั้นถึง ๓ คืน เหตุการณ์นี้ทำให้ท่านคิดว่าชายชราผู้นั้นถ้าไม่เป็นเทพแปลงกายมา ก็อาจจะเป็นผู้ทรงศีลที่บำเพ็ญอยู่ในป่าจนได้อภิญญา

    การกลั่นแกล้งจากพระเณรที่อิจฉาริษยายังไม่สิ้นสุดแค่นั้น บางครั้งเวลานอนก็ถูกเอาทรายกรอกปาก ถึงเวลาฉันก็ฉันไม่ได้มาก เพราะถูกพระเณรที่ไม่เชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษรังแก หรือหยิบอาหารของท่านไปกิน แต่ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีความอดทนและยึดมั่นในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจึงอโหสิกรรมพวกเขาและใช้ขันติในการปฏิบัติธรรมรับใช้ปรนนิบัติครูบา อาจารย์ด้วยดีต่อไป

    ครูบาชัยลังก๋ามักลูบหัวของท่านด้วยความรักเอ็นดูและสั่งสอนให้ด้วยความ เมตตาอยู่เสมอว่า " มันเป็นกรรมเก่าของเณรน้อย ตุ๊ลุงขอให้เณรน้อยใช้ขันติและความเพียรต่อไป เพื่อโลกุตตรธรรมอันยิ่งใหญ่ในภายหน้า เมื่อถึงเวลานั้นแล้วทุกคนที่เคยล่วงเกินเณรน้อย เขาจะรู้กรรมที่ได้ล่วงเกินเณรน้อยมา ไปวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

    ในระยะที่อยู่กับครูบาชัยลังก๋าๆได้เมตตาอบรมสั่งสอนวิชาการต่างๆให้แก่ท่าน เช่น ภาษาล้านนา ธรรมะ การปฏิบัติกรรมฐาน รวมทั้งธุดงควัตร ตลอดถึงการดำรงชีวิตในป่าขณะธุดงค์ ครูบา-ชัยลังก๋ามักพาท่านไปแสวงบุญและธุดงค์ไปในที่ต่างๆเสมอ เพื่อให้ท่านมีประสบการณ์ ทั้งยังเคยพาท่านไปนมัสการรอบพระพุทธบาทห้วยต้มหลายครั้ง ( วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ในสมัยก่อนนั้นชื่อว่า วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม ) สมัยนั้นวัดนี้เป็นวัดร้างยังเป็นเขาอยู่

    ครั้งหนึ่งสามเณรชัยลังก๋าเห็นวิหารทรุดโทรมมาก จึงกราบเรียนถามครูบาชัยลังก๋า " ทำไมตุ๊ลุงถึงไม่มาสร้างวัดนี้มันทรุดโทรมมาก " ครูบาชัยลังก๋าตอบด้วยความเมตตาว่า " มันไม่ใช่หน้าที่ของตุ๊ลุงแต่จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้าง " ขณะที่ครูบาชัยลังก๋ากล่าวอยู่นั้น ท่านก็ได้ชี้มือมาที่สามเณรน้อยชัยลังก๋าพร้อมกับกล่าวว่า " อาจจะเป็นเณรน้อยนี้กะบ่ฮู้ที่จะมาบูรณะวัดนี้ " ท่านจึงได้เรียนไปว่า " เฮายังเป็นเณรจะสร้างได้อย่างใด " ครูบาชัยลังก๋าจึงกล่าวตอบไปด้วยความเมตตาว่า " ถึงเวลาจะมาสร้าง ก็จะมาสร้างเอง "

    คำพูดของครูบาชัยลังก๋านี้ไปพ้องกับคำพูดของครูบาศรีวิชัยที่เคยกล่าวกับ หม่องย่นชาวพม่า เมื่อตอนที่ท่านอายุได้ ๕ ขวบ ในครั้งนั้นครูบาศรีวิชัยได้รับนิมนต์จากหม่องย่นให้มารับถวายศาลาที่วัดพระ พุทธบาทห้วยต้ม หม่องย่นให้ขอนิมนต์ครูบาศรีวิชัยมาบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้มให้เจริญรุ่งเรือง แต่ครูบาศรีวิชัยได้ตอบปฏิเสธไปว่า " ไม่ใช่หน้าที่กู จะมีพระน้อยเมืองตื๋นมาสร้างในภายภาคหน้า "

    ท่านอยู่กับครูบาชัยลังก๋าที่วัดพระธาตุแก่งสร้อยเป็นเวลา ๑ ปี หลังจากนั้นครูบาชัยลังก๋าได้ออกจาริกธุดงค์ไปโปรดชาวบ้านที่จังหวัด เชียงราย ครูบาชัยลังก๋าได้ให้ท่านอยู่เฝ้าวัดกับพระเณรองค์อื่น ในช่วงที่ท่านอยู่วัดนี้ ท่านก็ได้พบกันครูบาศรีวิชัยเป็นครั้งแรกซึ่งท่านเคารพนับถือครูบาศรีวิชัยมาก่อนหน้านี้แล้ว

    ในครั้งนั้นครูบาศรีวิชัยได้มาเป็นประธานใน การฉลองพระธาตุที่วัดพระธาตุแก่งสร้อย ในโอกาสนี้ท่านจึงได้อยู่ใกล้ชิดปรนนิบัติรับใช้ครูบาศรีวิชัยเป็นเวลา ๗ วัน การพบกันครั้งแรกนี้ ครูบาศรีวิชัยก็ได้รับท่านไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นมา หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ผ่านพ้นไปแล้ว ท่านก็ยังประจำอยู่ที่วัดพระธาตุแก่งสร้อยได้ไม่นาน เพราะทนต่อการกลั่นแกล้งจากพระเณรอื่นไม่ไหว จึงได้เดินทางกลับมาอยู่กับหลวงน้าของท่านเพื่อช่วยสร้างพระวิหารที่วัดก้อ ท่าซึ่งเป็นวัดร้างประจำหมู่บ้านก้อท่า ตำบลก้อทุ่ง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

    ในระหว่างอายุ ๑๕-๒๐ ปีนั้น ท่านได้ติดตามครูบาอาจารย์หลายองค์ และได้จาริกออกธุดงค์ ปฏิบัติธรรมตามที่ต่างๆ ตลอดจนได้ไปอบรมสั่งสอนชาวบ้านชาวเขาในที่ต่างๆด้วยเช่นกัน ในบางครั้งก็ไปกับครูบาอาจารย์ ในบางครั้งก็ไปองค์เดียวเพียงลำพัง เมื่อมีโอกาสท่านก็จะกลับมารับการฝึกอบรมจากครูบาอาจารย์ทุกองค์ของท่าน เสมอๆ

    อุปสมบทเป็นพระภิกษุ

    เมื่ออายุ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้าเป็นอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า " ชัยยะวงศา " ในระหว่างนั้น ท่านได้อยู่ปฏิบัติและศึกษาธรรมะกับครูบาพรหมจักร ในบางโอกาสท่านก็จะเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในที่ต่างๆทั้งลาวและพม่า ท่านได้อยู่กับครูบาพรหมจักรระยะหนึ่งแล้ว จึงได้กราบลาครูบาพรหมจักรออกจาริกธุดงค์ไปแสวงหาสัจจธรรมความหลุดพ้นจาก วัฏสงสารแห่งนี้เพียงลำพังองค์เดียวต่อ เพื่อเผยแพร่สั่งสอนธรรมะขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับพวกชาวเขา ในที่ต่างๆเช่นเคย

    สอนธรรมะแก่ชาวเขา

    ขณะที่ท่านธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ท่านได้พบและอบรมสั่งสอนธรรมะของพระพุทธองค์ให้กับชาวบ้านและชาวเขาในที่ ต่างๆ ท่านเล่าว่า ตอนที่ท่านพบชาวเขาใหม่ๆนั้น ในสมัยนั้นชาวเขาส่วนใหญ่ยังไม่ได้นับถือพุทธศาสนา ในขณะที่ท่านจาริกธุดงค์ไปตามหมู่บ้านของพวกชาวเขา พวกชาวเขาเหล่านี้ก็จะรีบอุ้มลูกจูงหลานหลบเข้าบ้านเงียบหายกันหมดพร้อมกับ ตะโกนบอกต่อๆกันว่า " ผีตาวอดมาแล้วๆๆ "

    ในบางแห่งพวกผู้ชายบางคนที่ใจกล้าหน่อยก็เข้ามาสอบถามและพูดคุยกับท่าน บางคนเห็นหัวของท่านแล้วอดรนทนไม่ไหวที่เห็นหัวของท่านเหน่งใส จึงเอามือลูบหัวของท่านและทักทายท่านว่า " เสี่ยว " ( แปลว่าเพื่อน ) หลวงพ่อว่าในตอนนั้น ท่านไม่รู้สึกเคืองหรือตำหนิเขาเหล่านั้นเลย นอกจากขบขันในความซื่อของพวกเขา เพราะพวกเขายังไม่รู้จักพุทธศาสนา ในสมัยนั้นพวกชาวเขายังนับถือลัทธิบูชาผี บูชาเจ้า ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ถือธุดงค์ปฏิบัติกรรมฐานในสถานที่แห่งนั้น เพื่อจะหาโอกาสสอนธรรมะของพระพุทธองค์ให้กับพวกชาวเขา การสอนของท่านนั้น ท่านได้เมตตาบอกว่า ท่านต้องทำและสอนให้พวกเขารู้อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้พวกเขามีความรู้สึกแปลกประหลาดและขัดต่อจิตใจความเป็นอยู่ที่เขา มีอยู่

    ท่านได้ใช้ตัวของท่านเองเป็นตัวอย่างให้เขาดู ในการที่จะทำให้พวกเขาหันมาปฏิบัติธรรมะของพระพุทธองค์ เมื่อพวกเขาถามท่านว่า " ทำไมท่านจึงโกนผมจนหัวเหน่ง และนุ่งห่มสีเหลืองทั้งชุดดูแล้วแปลกดี " ท่านก็จะถือเอาเรื่องที่เขาถามมาเป็นเหตุในการเทศน์ เพื่อเผยแพร่ธรรมะให้พวกเขาได้ปฏิบัติและรับรู้กัน

    หลวงพ่อได้เล่าว่า การสอนให้เขารู้ธรรมะนั้น ท่านต้องสอนไปทีละขั้น เพื่อให้เขารู้จักพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์เสียก่อน จากนั้นท่านจึงสอนพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับ พวกเขา โดยเฉพาะการทำงาน การถือศีล และการนั่งภาวนา ให้พวกเขาได้ปฏิบัติยึดถือกัน โดยเฉพาะเรื่องของศีล ๕ ท่านจะสอนเน้นให้พวกเขาไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่ทำร้ายผู้อื่น เพื่อจะได้ไม่เป็นเวรกรรมกันต่อไปในภายภาคหน้า ซึ่งการสอนของท่านทำให้พวกชาวเขาได้รับความสงบสุขภายในหมู่บ้านของเขาอย่าง ที่ไม่เคยมีมาก่อน พวกเขาจึงยิ่งเคารพนับถือและเชื่อฟังในคำสั่งสอนของท่านมากยิ่งขึ้น

    สอนกินมังสวิรัติ

    หลวงพ่อได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า ในสมัยนั้นพวกชาวเขาได้นำอาหารที่มีเนื้อสัตว์มาถวาย แต่ท่านหยิบฉันเฉพาะที่เป็นผักเป็นพืชเท่านั้น ทำให้เขาเกิดความสงสัย ท่านจึงได้ยกเอาเรื่องในพุทธชาดกมาเทศน์ให้พวกเขาฟัง เพื่อเป็นการเน้นให้เห็นถึงกฎแห่งกรรมและผลดีของการรักษาศีล

    ท่านได้อยู่อบรมสั่งสอนให้พวกเขารับรู้ถึงธรรมะและการรักษาศีลอยู่เสมอๆ ทำให้พวกเขาเลื่อมใสและหันกลับมานับถือพระพุทธศาสนาโดยละทิ้งประเพณีเก่าๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา

    ต่อมาพวกชาวเขาเหล่านี้ก็ได้เจริญรอยตามท่าน โดยเลิกกินเนื้อสัตว์หันมากินมังสวิรัติแทน ( ดังที่เราจะเห็นได้จากกะเหรี่ยงที่อพยพมาอยู่ที่หมู่บ้านพระพุทธบาทห้วยต้ม ในปัจจุบันนี้ ) เมื่อท่านได้สอนพวกเขาให้นับถือศาสนาพุทธแล้ว ท่านก็จะจาริกธุดงค์แสวงหาสัจธรรมต่อไป และถ้ามีโอกาสท่านก็จะกลับไปโปรดพวกเขาเหล่านั้นอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ชาวเขาและชาวบ้านในที่ต่างๆที่ท่านเคยไปสั่งสอนมาจึงเคารพนับถือ ท่านมาก

    สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ

    เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านจึงเดินทางกลับมาหาครูบาศรีวิชัยพร้อมกับชาวกะเหรี่ยงที่เป็นศิษย์ของ ท่าน เพื่อช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ในครั้งนี้ครูบาศรีวิชัยได้เมตตาให้ท่านเป็นกำลังสำคัญทำงานร่วมกับครูบาขาว ปีในการควบคุมชาวเขาช่วยสร้างทางอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ยากลำบาก เช่น การสร้างถนนในช่วงหักศอก ก่อนที่จะถึงดอยสุเทพ

    ในระหว่างกำลังสร้างทางช่วงนี้ ได้มีหินก้อนใหญ่มากติดอยู่ใกล้หน้าผา จะใช้กำลังคนหรือช้างลากเช่นไรก็ไม่ทำให้หินนั้นเคลื่อนไหวได้ ชาวกะเหรี่ยงที่ทำงานอยู่นั้นจึงไปกราบเรียนให้ ครูบาศรีวิชัยทราบ ท่านจึงให้คนไปตามหลวงพ่อซึ่งกำลังสร้างทางช่วงอื่นอยู่ เมื่อหลวงพ่อวงศ์มาถึงท่านได้ยืนพิจารณาอยู่ครู่หนึ่ง จึงได้เดินทางไปผลักหินก้อนนั้นลงสู่หน้าผานั้นไป เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์แปลกใจไปตามๆ กันที่เห็นท่านใช้มือผลักหินนั้นโดยไม่อาศัยเครื่องมือใดๆ ครูบาศรีวิชัยได้ยืนยิ้มอยู่ข้างๆท่านด้วยความพอใจ

    ประทับรอยเท้าเป็นอนุสรณ์

    ขณะที่ท่านช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอย สุเทพ ท่านได้ประทับรอยเท้าลึกลงไปในหินประมาณ ๑ ซ.ม. ข้างน้ำตกห้วยแก้ว ( ช่วงตอนกลางๆของทางขึ้นดอยสุเทพ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ท่านได้มาช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทาง )

    อุปสรรค

    ท่านเป็นผู้ที่ครูบาศรีวิชัยไว้ใจมากองค์หนึ่ง เพราะเมื่อครูบาศรีวิชัยมีปัญหาเรื่องขาดกำลังคน ครูบาศรีวิชัยก็จะมอบหน้าที่ให้ท่านไปนำกะเหรี่ยงอยู่บนดอยต่างๆมาช่วยสร้างทาง

    หลวงพ่อเล่าว่า การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ และการสร้างบารมีของครูบาศรีวิชัยนั้น ทุกข์ยากลำบากมาก เพราะถูกกลั่นแกล้งจากบุคคลอื่นที่ไม่เข้าใจและอิจฉาริษยาอยู่เสมอ ทุกครั้งที่ครูบาศรีวิชัยให้ท่านไปนำกะเหรี่ยงมาช่วยสร้างทาง ระหว่างการเดินทางต้องคอยหลบเลี่ยงจากการตรวจจับของพวกตำรวจหลวงและคณะสงฆ์ ที่ไม่เข้าใจ

    ครูบาศรีวิชัยท่านได้เล่าว่า ในเวลากลางวันต้องหลบซ่อนกันในป่าหรือเดินทางให้ห่างไกลจากเส้นทางสัญจร เพื่อหลบให้ห่างจากผู้ขัดขวาง ส่วนในเวลากลางคืนต้องรีบเดินทางกันอย่างฉุกละหุก เพราะเส้นทางต่างๆมืดมากต้องอาศัยโคมไฟตามบ้านเป็นการดูทิศทาง เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

    ด้วยบารมีและความตั้งมั่นในการทำความดีของครูบาศรีวิชัยที่มีต่อพระพุทธศาสนาทำให้พุทธบริษัททั้งชาวบ้านและชาวเขาจากในที่ต่างๆ จำนวนมากมาช่วยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพได้สำเร็จดังความตั้งใจของครูบาศรีวิชัย โดยใช้เวลาสร้างเพียง ๗ เดือนเท่านั้น

    เมื่อครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ สำเร็จแล้ว หลวงพ่อจึงได้ไปกราบลาครูบาศรีวิชัย กลับไปอยู่ที่เมืองตื๋น วัดจอมหมอก ตำบลแม่ตื๋น กิ่งอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

    ห่มขาว

    เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดจอมหมอก เจ้าคณะตำบลได้มาจับท่านสึก ในข้อหาที่ท่านเป็นศิษย์และเป็นกำลังสำคัญที่ปฏิบัติเชื่อฟังครูบาศรีวิชัย อย่างเคร่งครัด ( ซึ่งในขณะนั้นครูบาศรีวิชัยได้ถูกจับมาสอบสวนอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ) แต่ตัวท่านเองไม่ปรารถนาที่จะสึก จะหนีไม่ได้ เมื่อทางคณะสงฆ์จะจับท่านสึก และให้นุ่งห่มดำหรือแต่งแบบฆราวาส ท่านไม่ยอม เพราะท่านไม่ได้ผิดข้อปฏิบัติของสงฆ์ แต่เมื่อคณะสงฆ์ที่ไปจับท่านสึก ไม่ให้ห่มเหลือง ท่านจึงหาผ้าขาวมาห่มแบบสงฆ์ เลียนเยี่ยงอย่างครูบาขาวปี วัดผาหนาม ( ซึ่งเคยถูกจับสึก ไม่ให้ห่มเหลืองในข้อหาเดียวกัน ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยถูกอธิกรณ์ ก่อนที่จะมีการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ) และยึดถือข้อวัตรปฏิบัติเหมือนที่เป็นสงฆ์อย่างเดิม

    ในหมู่พระสงฆ์และฆราวาสที่เป็นศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ก็ยังนับถือหลวงพ่อเป็นพระสงฆ์เช่นเดิม เพราะการสึกในครั้งนั้นไม่สมบูรณ์ ครูบาวงศ์ไม่ได้ทำผิดพระวินัยของสงฆ์ และในขณะที่สึกนั้น จิตใจของท่านก็ไม่ยอมรับที่จะสึก ยังยึดมั่นว่าตัวเองเป็นพระสงฆ์เหมือนเดิม ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านยังปฏิบัติข้อวัตรพระธรรมวินัยของสงฆ์ทุกประการ

    หลวงพ่อได้เล่าว่า ในคราวนั้นลูกศิษย์ลูกหาของครูบาศรีวิชัยระส่ำระสายกันมาก บางองค์ก็ถูกจับสึกเป็นฆราวาส บางองค์ก็หนีไปอยู่ที่อื่นบ้าง ในป่าในเขาบ้างเพื่อไม่ให้ถูกจับสึก

    รวมตัวที่บ้านปาง

    หลังจากที่ครูบาศรีวิชัยพ้นจากอธิกรณ์ ครูบาศรีวิชัยได้ เดินทางกลับไปจังหวัดลำพูนเพื่อไปบูรณะและสร้างวัดบ้างปาง อันเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อและครูบาขาวปี ( ซึ่งขณะนั้นนุ่งขาวห่มขาวทั้งคู่ ) ตลอดจนลูกศิษย์ทั้งที่ถูกจับสึกเป็นฆราวาส และที่หนีไปในที่ต่างๆ ต่างก็ได้เดินทางกลับมาช่วยกันสร้างและบูรณะวัดบ้านปาง เพื่อให้เป็นที่อยู่ที่ถาวรของครูบาศรีวิชัย

    หลวงพ่อได้ช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างวิหารที่ วัดบ้านปางได้ระยะหนึ่ง ท่านจึงลาไปบำเพ็ญภาวนาธุดงค์ แสวงหาสัจธรรมต่อไปในป่าในเขา และเผยแพร่ธรรมะให้กับชาวบ้านและชาวเขาในที่ต่างๆต่อไป

    เดินธุดงค์

    ในสมัยนั้นท่านได้ธุดงค์บำเพ็ญเพียรไปในที่ต่างๆองค์เดียวเสมอ ท่านชอบธุดงค์ไปอยู่ในป่า ในถ้ำที่ห่างไกลผู้คน หลวงพ่อเล่าว่า ในสมัยนั้นการเดินธุดงค์ไม่สะดวกสบายเช่นสมัยนี้ เพราะเครื่องอัฏฐบริขารและกลดก็หาได้ยากมาก ตามป่าตามเขาก็มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายอาศัยกันอย่างมากมาย ในขณะถือธุดงค์ในป่าในเขา ก็ต้องอาศัยถ้ำหรือใต้ต้นไม้เป็นที่พักที่ภาวนา เมื่อเจอพายุฝน ก็ต้องนั่งแช่อยู่ในน้ำที่ไหลท่วมมาอย่างรวดเร็วเช่นนั้น จนกว่าฝนจะหยุดตก การภาวนาในถ้ำในสมัยก่อนนั้น ก็มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย เช่น เสือ ช้าง งู เม่น ฯลฯ เป็นต้น แต่มันไม่เคยมารบกวน หรือสร้างความกังวลใจให้ท่านเลย ต่างคนต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

    ท่านเล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านได้ไปบำเพ็ญภาวนาในถ้ำแห่งหนึ่งที่ตำบลบ้านก้อ สมัยนั้นยังเป็นป่าทึบ ต้นสักแต่ละต้นขนาด ๓ คนโอบไม่รอบ ในถ้ำนั้นมีเม่นและช้างอาศัยอยู่ บางครั้งก็มีเสือเข้ามาหลบฝน บ่อยครั้งที่ท่านกำลังภาวนาทำสมาธิอยู่นั้น พวกมันจะมาจ้องมองท่านด้วยความแปลกใจ ทำให้ท่านรู้สึกถึงความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสาของสัตว์ที่มองดูท่านด้วย ท่าทางฉงนสนเท่ห์ ทำให้ท่านนึกถึงคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า " ความไม่เบียดเบียนกันเป็นความสงบสุขอย่างยิ่ง "

    หลวงพ่อบอกว่าพระธุดงค์ในสมัยก่อน ต้องผจญอุปสรรคและปัญหาต่างๆมากมาย จึงต้องเคี่ยวจิตใจและกำลังใจให้เข้มแข็งและแกร่งอยู่เสมอ ดังนั้นพระธุดงค์รุ่นเก่าจึงเก่งและได้เปรียบกว่าพระสงฆ์ในปัจจุบัน ทั้งในด้านจิตใจและการปฏิบัติบำเพ็ญภาวนา แต่เสียเปรียบกว่าพระสงฆ์ในยุคนี้ ในด้านการใฝ่หาความรู้ทางด้านปริยัติ เพราะในสมัยนี้ ความเจริญทำให้ไปไหนมาไหนได้สะดวกและเร็วขึ้น พระสงฆ์ในรุ่นเก่าที่อยู่ห่างไกลตัวเมืองจึงต้องบังคับจิตใจ บำเพ็ญเพียรปฏิบัติภาวนาให้เกิดปัญญาและธรรมะขึ้นในจิตในใจ เพื่อนำมาพิจารณาและปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.itti-patihan.com
     
  12. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    ธุดงค์น้ำแข็ง

    บ่อยครั้งท่านได้ธุดงค์จาริกผ่านไปที่กิ่งอำเภออมก๋อยในฤดูหนาว บริเวณภูเขาของกิ่งอำเภออมก๋อยจะมีเหมยค้างปกคลุมไปทั่ว ( เหมยค้างนี้ภาษาภาคเหนือ หมายถึง น้ำค้างที่กลายเป็นน้ำแข็ง ) ในบริเวณนี้มีต้นสนขนาดต่างๆขึ้นเต็มไปหมด ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย เวลาย่ำเดินไปบนพื้นน้ำแข็ง ขาจะจมลึกลงไปในน้ำแข็งนั้น ทำให้เกิดความหนาวเย็นเป็นอันมาก เพราะท่านมีแต่ผ้าที่ครองอยู่เพียงชั้นเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะเมื่อมีลมพัดผ่านมา ท่านต้องสั่นสะท้านทุกครั้ง

    ท่านได้เล่าว่า ความแห้งแล้งของอากาศและความหนาวเย็นของน้ำแข็ง ทำให้ผิวหนังของท่านแตกปริเป็นแผลไปทั้งตัว ต้องได้รับทุกขเวทนามาก สมัยนั้นในภาคเหนือ จะหากลดมาสักอันหนึ่งก็ยากมาก การธุดงค์ของท่านก็มีแต่อัฏฐบริขารเท่านั้นที่ติดตัวไปทุกหนทุกแห่ง ช้อนก็ทำจากกะลามะพร้าว ถ้วยน้ำก็ทำจากกระบอกไม้ไผ่ ผ้าจีวรที่ครองอยู่ก็ต้องปะแล้วปะอีก

    ท่านได้เมตตาเล่าว่า แต่การปฏิบัติภาวนาบนภูเขาที่มีน้ำแข็งปกคลุมมากเช่นนี้ ทำให้การปฏิบัติสมถะและวิปัสนากรรมฐานนั้นกลับแจ่มชัดและรวดเร็วดียิ่งกว่า ในเวลาปกติธรรมดา เพราะทำให้ได้เห็นเรื่องของไตรลักษณ์ได้ชัดเจนดี และการพิจารณาขันธ์ ๕ อันเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ก็สามารถเห็นอย่างแจ่มชัด ทำให้ในขณะภาวนาทำสมาธิอยู่นั้นจิตสงบดีมาก ไม่พะวงกับสิ่งภายนอกเลย

    ในบางครั้งขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั้น ไฟที่ก่อไว้ได้ลุกไหม้จีวรของท่านไปตั้งครึ่งค่อนตัว ท่านยังไม่รู้สึกตัวเลย เมื่อจิตออกจากสมาธิแล้ว ท่านต้องรีบดับไฟที่ลุกไหม้อยู่นั้นอย่างรีบด่วน ทำให้ต้องครองผ้าจีวรขาดนั้นไปจนกว่าจะเดินทางไปพบหมู่บ้าน ท่านก็จะนำผ้าที่ชาวบ้านถวายให้มาต่อกับจีวรผืนเก่าที่เหลืออยู่นั้น ในบางครั้งท่านจะนำผ้าบังสุกุลที่พบในระหว่างทาง มาเย็บต่อจีวรที่ขาดอยู่นั้นตามแบบอย่างที่ครูบาอาจารย์ในยุคก่อนๆปฏิบัติ สืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล

    หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์ผู้ถ่อมตน และไม่เคยโออวดเป็นนิสัย เมื่อมีผู้สงสัยว่า ท่านคงเข้าสมาธิจนสูงถึงขึ้นจิตไม่จับกับ กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้ว จึงไม่รู้ว่าไฟไหม้ ตัวท่านมักตอบเลี่ยงไปด้วยใบหน้าเมตตาว่า " คงจะอากาศหนาวมากหลวงพ่อจึงไม่รู้ว่าไฟไหม้จีวร "

    ครูบาศรีวิชัยมรณภาพ

    เมื่อท่านได้ ๒๘ ปี ขณะนั้นท่านได้จาริกธุดงค์สั่งสอนชาวป่าชาวเขาดอยต่างๆ ท่านได้ทราบข่าวการมรณภาพของครูบาศรีวิชัย จึงได้เดินทางลงจากเขาเพื่อไปนมัสการพระศพ และช่วยจัดทำพิธีศพของครูบาศรีวิชัย ร่วมกับครูบาขาวปีและคณะศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ที่วัดบ้านปาง เมื่อเสร็จจากพิธีบรรจุศพครูบาศรีวิชัยแล้ว กรมทางได้นิมนต์ให้ท่านไปช่วยสร้างเส้นทางบ้านห้วยกาน - บ้านห้วยหละ ซึ่งในตอนนั้นท่านก็ยังห่มผ้าสีขาวอยู่ เมื่อการสร้างทางได้สำเร็จลงแล้ว ชาวบ้านห้วยหละจึงได้มานิมนต์ท่านไปจำพรรษา และอบรมสั่งสอนพุทธบริษัทที่สำนักสงฆ์ห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

    ห่มเหลืองอีกครั้ง

    ขณะนั้นหลวงพ่ออายุได้ ๒๘ ปี ได้รับนิมนต์ไปอยู่ช่วยบูรณะวัดป่าพลู และในปีนี้ท่านได้มีโอกาสห่มเหลืองเช่นพระสงฆ์ทั่วไปอีกครั้งหนึ่ง โดยมีครูบาบุญมา วัดบ้านโฮ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาใหม่ว่า " จันทวังโส "

    ในการห่มเหลืองในครั้งนี้ คณะสงฆ์ได้ออกญัตติให้ท่านต้องจำพรรษาที่วัดป่าพลูเป็นเวลา ๕ พรรษา เมื่อออกพรรษาในแต่ละปีท่านจะเดินทางไปธุดงค์และจาริกสั่งสอนธรรมะให้กับชาว ป่าชาวเขาในที่ต่างๆ เสมอเหมือนที่ท่านเคยปฏิบัติมาในอดีต และบ่อยครั้งท่านจะไปช่วยครูบาขาวปีบูรณะวัดพระพุทธบาทตะเมาะ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

    ตรงตามคำทำนาย

    เมื่อท่านอยู่วัดป่าพลูครบ ๕ พรรษาตามบัญญัติของสงฆ์แล้ว ในขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๓๔ ปี นายอำเภอลี้และคณะสงฆ์ในอำเภอลี้ ได้ให้ศรัทธาญาติโยมวัดนาเลี่ยงมานิมนต์ครูบาขาวปีหรือท่านองค์ใดองค์หนึ่ง เพื่อไปอยู่เมตตาบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม แต่ครูบาขาวปีไม่ยอมไป และบอกว่า " ไม่ใช่หนึ่งที่ของกู " ครูบาศรีวิชัยเคยพูดไว้ว่า " วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้มนั้น มันเป็นหน้าที่ของครูบาวงศ์องค์เดียว "

    ด้วยเหตุนี้ ครูบาขาวปีจึงขอให้ท่านไปอยู่โปรดเมตตาสร้าง วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม ซึ่งต่อมาในภายหลังจากที่ท่านได้ไปอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้มแล้ว ท่านได้เปลี่ยนชื่อให้สั้นลงเป็น " วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม "

    ในขณะที่ท่านอยู่ที่เมืองตื๋นนั้น ชาวบ้านและชาวเขาต่างเรียกท่านว่า " น้อย " เมื่อท่านมาอยู่ที่วัดพระบาทห้วยต้ม ชาวบ้านทั้งหลายจึงเชื่อกันว่า ท่านคงเป็น " พระน้อยเมืองตื๋น " ตามคำโบราณที่ได้จารึกไว้ ณ วัดพระพุทธบาทห้วย ( ข้าว ) ต้ม เหตุการณ์นี้ก็ตรงตามคำพูดของครูบาชัยลังก๋าและครูบาศรีวิชัย ดังที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อท่านย้ายมาประจำที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ท่านก็ยังออกจาริกไปสั่งสอนธรรมะแก่ชาวบ้านและชาวเขาในที่ต่างๆอยู่เสมอๆ เหมือนที่ท่านเคยปฏิบัติมา

    ผู้เฒ่าผู้รู้เหตุการณ์

    ในระยะแรกที่หลวงพ่อมาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ผู้เฒ่าคนหนึ่งในหมู่บ้านนาเลี่ยงได้พูดกับชาวบ้านในละแวกนั้นว่า " ต่อไปบริเวณเด่นยางมูล ( คือหมู่บ้านห้วยต้มในปัจจุบัน ) จะมีชาวกะเหรี่ยงอพยพติดตามครูบาวงศ์มาอยู่ที่นี่ จนเป็นหมู่บ้านใหญ่ในอนาคต ในครั้งนี้จะใหญ่กว่าหมู่บ้านกะเหรี่ยง ๔ ยุคที่เคยอพยพมาอยู่ที่นี่ในสมัยก่อนหน้านี้ " คำพูดอันนี้ในสมัยนั้นชาวบ้านนาเลี่ยงฟังแล้วไม่ค่อยเชื่อถือกันนัก แต่ในเวลาต่อมาไม่นาน คำพูดอันนี้ก็เป็นความจริงทุกประการ

    หลวงพ่อได้เล่าให้คณะศิษย์ฟังเพิ่มเติมว่า คนเฒ่าผู้นี้เป็นผู้รู้เหตุการณ์ในอนาคต และมักจะพูดได้ถูกต้องเสมอ มีอยู่ครั้งหนึ่งหลังจากที่ท่านได้สร้างวิหารที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้มเป็น รูปร่างขึ้นแล้ว ผู้เฒ่าคนนี้ในสมัยก่อนเคยเห็นคำทำนายโบราณของวัดพระพุทธบาทห้วยต้มมาก่อน ได้มาพูดกับท่านว่า " ท่านครูบาจะสร้างให้ใหญ่เท่าไหร่ก็สร้างได้ แต่จะสร้างใหญ่จริงอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ต่อไปจะมีคนๆหนึ่งมาช่วย ถ้าคนนี้มาแล้วจะสำเร็จได้ "

    ชาวเขาอพยพตามมา

    เมื่อท่านอยู่ที่วัดห้วยต้มได้ไม่นาน คำพูดของผู้เฒ่าคนนี้ก็เป็นความจริง เพราะชาวเขาจากที่ต่างๆที่ท่านได้อบรมสั่งสอนมา ได้อพยพย้ายถิ่นฐานติดตามมาอยู่กับท่านเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน เพื่อมาขอพึ่งใบบุญและปฏิบัติธรรมะกับท่าน

    ในระยะแรกๆ นั้น ท่านได้ตั้งกฎให้กับพวกกะเหรี่ยงที่มาอยู่กับท่านว่า พวกเขาจะต้องนำมีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาถวายวัด และให้สาบานกับท่านว่า จะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและจะกินมังสวิรัติตลอดไป ท่านได้เมตตาให้เหตุผลว่า ท่านต้องการให้เขาเป็นคนดี ลดการเบียดเบียน มีศีลธรรม หมู่บ้านห้วยต้มจะได้มีแต่ความสงบสุขทั้งทางโลกและทางธรรม และจะได้ไม่เป็นปัญหาของประเทศชาติต่อไป ดังที่เราจะเห็นได้จากการที่ชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านห้วยต้มนี้มีความเป็น อยู่ที่เป็นระเบียบและมีความสงบสุข ตามที่ท่านได้เมตตาอบรมสั่งสอนมา ทั้งที่ในหมู่บ้านนี้มีกะเหรี่ยงอยู่หลายพันคน

    แต่ในสมัยนี้ กฎและระเบียบที่ชาวกะเหรี่ยงที่จะย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านห้วยต้มที่จะต้องนำ มีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาสาบานกับหลวงพ่อนั้นได้ยกเลิกไปโดยปริยาย เพราะหลวงพ่อเห็นว่า ทางราชการได้ส่งหน่วยงานต่างๆเข้ามาจัดการดูแลช่วยเหลือ และให้การศึกษาแก่พวกเขา คงจะช่วยพวกเขาให้มีการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสงบสุขเป็นระเบียบเหมือนที่ท่านเคยอบรมสั่งสอนมา

    สมณศักดิ์

    ๔ เมษายน ๒๕๑๔ เป็นพระครูใบฎีกาชัยยะวงศาพัฒนา

    ๕ เมษายน ๒๕๓๐ เป็นพระครูพัฒนากิจจานุรักษ์

    ๑๐ ธันวาคม ๒๕๓๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

    ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ เป็นพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท

    เกียรติคุณ

    ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๐ ได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการพัฒนาท้องถิ่นในเขตอำเภอลี้ โดยเจ้าคณะจังหวัดลำพูน

    ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ได้รับรางวัล " ครูบาศรีวิชัย " ในฐานะที่ท่านเป็นบุคคลที่มีผลงานการส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนา กิจการสาธารณะ มีความวิริยะ เสียสละเพื่อสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดี มีปฏิปทาเดินตามรอยเยี่ยง ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย

    ๓ เมษายน ๒๕๓๙ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติคุณในฐานะ " คนดีศรีทุ่งหัวช้าง " จาก อ.ทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

    ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติในฐานะเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านศิลปินดีเด่น จังหวัดลำพูน สาขาศิลปะ สถาปัตยกรรม จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

    ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ได้รับรางวัล เสมาธรรมจักร ในฐานะ " บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาส่งเสริมการพัฒนาชุมชน "

    ประวัติการจำพรรษา

    ลำดับการจำพรรษาเมื่อเป็นพระภิกษุ

    พรรษาที่ ๑ พ.ศ.๒๔๗๕ ( อายุ ๒๐ ปี ) วัดห้วยแม่บางแบ่ง เขตพม่า ( อุปสมบทที่วัดป่าน้ำ เมื่อเดือน ๕ เหนือ โดยมีครูบาเจ้าพรหมจักร เป็นพระอุปัชฌาย์ )

    พรรษาที่ ๒-๔ พ.ศ.๒๔๗๖-๗๘ ( อายุ ๒๑-๒๓ ปี ) วัดจอมหมอก ต.ม่อนจอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

    พรรษาที่ ๕ พ.ศ.๒๔๗๙ ( อายุ ๒๔ ปี ) วัดห้วยเปียง อ.แม่ระมาด จ.ตาก

    พรรษาที่ ๖ พ.ศ.๒๔๘๐ ( อายุ ๒๕ ปี ) วัดไม้ตะเคียน อ.แม่ระมาด จ.ตาก

    พรรษาที่ ๗-๘ พ.ศ.๒๔๘๑-๘๒ ( อายุ ๒๖-๒๗ ) วัดห้อยเปียง ( นุ่งขาวห่มขาว )

    พรรษาที่ ๙ พ.ศ.๒๔๘๓ ( อายุ ๒๘ ปี ) วัดห้วยหละ ต.ป่าพลู อ.บ้านโอ่ง จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๑๐-๑๔ พ.ศ. ๒๔๘๔-๘๘ ( อายุ ๒๙-๓๓ ปี ) วัดป่าพลู ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๑๕-๑๘ พ.ศ.๒๔๘๙-๙๒ ( อายุ ๓๔-๓๗ ปี ) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๑๙-๒๔ พ.ศ.๒๔๙๓-๙๘ ( อายุ ๓๘-๔๓ ปี ) วัดแม่ต๋ำ ต.เสริมซ้าย อ.เสริมงาม จ.ลำปาง

    พรรษาที่ ๒๕-๒๗ พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๐๑ ( อายุ ๔๔-๔๖ ปี ) วัดน้ำอุ่น ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๒๘ พ.ศ.๑๕๐๒ ( อายุ ๔๗ ปี ) วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน

    พรรษาที่ ๒๙-๖๔ พ.ศ.๒๕๐๓-ปัจจุบัน ( อายุ ๔๘-๘๔ ปี) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน

    <HR>ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.itti-patihan.com
     
  13. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    <TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center>« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 10, 2009, 04:59:30 pm »
    </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" height=20 vAlign=bottom align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR class=hrcolor SIZE=1 width="100%">[​IMG]
    หลวงตามหาบัว สอนปฏิบัติธรรม

    พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านแนะนำสั่งสอนไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระธรรมและพระวินัยนั้นแลจะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว นี่สำคัญมาก เป็นพระวาจาของพระองค์

    ศีล “เป็นรั้วกั้นสองฟากทางไม่ให้ข้ามออกไปตกเหวตกบ่อเป็นอันตราย” ให้อยู่ในกรอบของศีล เรียกว่า “อยู่ในเขตแห่งความปลอดภัย” จากนั้นก็ก้าวเดินทางธรรมคือจิตภาวนา มีสติเป็นสำคัญมาก ทุกๆ ท่านจำให้ดีคำว่าสตินี้เป็นพื้นฐานแห่งการบำเพ็ญธรรมทุกขั้นทุกภูมิ ตั้งแต่พื้นๆที่ฝึกหัดดัดแปลงล้มลุกคลุกคลานนี้จนกระทั่งถึงวิมุติหลุดพ้น จะนอกเหนือไปจากสตินี้ไปไม่ได้เลย เวลาล้มลุกคลุกคลานก็มีสติควบคุมไว้ตลอด จนได้หลักได้เกณฑ์ จิตเข้าสู่ความสงบร่มเย็นด้วยจิตภาวนา โดยมีสติเป็นเครื่องควบคุมเสมอ แล้วจิตก็จะเย็นเข้าไปๆ

    การเคลื่อนไหวไปมาแม้นที่สุดการเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา เรื่องสติเป็นเรื่องสำคัญเป็นเรื่องใหญ่โต ในการบำเพ็ญจิตภาวนาของพวกเรา ขอให้มีสติดีๆ เถอะ สมมติว่าเราเริ่มฝึกหัดเบื้องต้น จำต้องอาศัยคำบริกรรมจะเป็นคำใดก็ตามตามแต่จริตนิสัยที่ชอบ เช่นพุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นต้นนะ แล้วให้ยึดคำบริกรรมนั้นเอาไว้กับจิต มีสติควบคุมอยู่กับคำบริกรรมนั้นตลอดไปอย่าให้เผลอไผลไปไหน

    อย่าเสียดายความคิดปรุงที่เคยคิดปรุงมาแต่อ้อนแต่ออก ความคิดเหล่านี้ส่วนมากเป็นความคิดของกิเลสตัณหา สร้างขึ้นจากความเผลอสติของเรา ต้องไม่เผลอสติตัดความคิดทั้งหลายนั้นออก เพราะไม่เป็นประโยชน์สาระอันใด นอกจากจะมากวนใจให้หาความสงบร่มเย็นไม่ได้เท่านั้น จึงต้องมีสติให้ดีอย่าเสียดายอารมณ์ใด นอกจากคำบริกรรมของเรา

    สำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังไม่มีหลัก ให้ถือคำบริกรรม (เช่นพุทโธ ฯลฯ) เป็นหลักใจ แล้วมีเครื่องกำกับอยู่กับคำบริกรรมนั้นอย่าให้เผลอ อย่าเสียดายเวล่ำเวลาไปไหนที่กิเลสมันฉุดลากออกไปด้วยความอยากคิดเรื่องนั้น อยากปรุงเรื่องนี้ นี่เป็นจิตที่มีแต่กิเลสฉุดลากออกนอกลู่นอกทางแห่งคำบริกรรมของเรา อย่าให้มันคิดออกไปได้ เราจะตั้งภาวนาเพื่อให้ได้หลักของจิตใจเกี่ยวกับจิตภาวนา

    ตั้งสติกำกับบริกรรมนี้ให้ดี อย่าให้เผลอ หากว่าเราจะมีการเคลื่อนไหวไปมาทางใด เคลื่อนออกจากจากนี้ไป ก็ให้มีสัมปชัญญะติดแนบอยู่ด้วย รู้ตัวด้วยความเคลื่อนไหวของตน เพื่อสมบัติของจิตจะได้ปรากฏเด่นชัดขึ้นมา ตั้งแต่สมาธิสมบัติหรือสมถะสมบัติจากนั้นก้าวออกทางด้านปัญญา เมื่อจิตของเรามีความสงบร่มเย็นแล้วย่อมอิ่มอารมณ์ อารมณ์ที่อยากคิดสิ่งนั้นอยากคิดสิ่งนี้จะจางไป เพราะนั่นเป็นอารมณ์ของกิเลส กิเลสทำงานสร้างแต่ความมัวหมองมืดตื้อเข้ามาสู่ใจ

    ธรรมทำงานคือคำบริกรรม มีสติกำกับรักษานี่เรียกว่างานของธรรมนี้แลจะทำจิตใจของเราให้มีความสงบเป็น ลำดับ เมื่อมีสติรักษาอยู่ตลอดแล้วจะไม่มีภัยใดๆ เกิดขึ้นภายในใจเลย จิตของเราจะมีความสงบแน่วแน่ขึ้น

    สำหรับผู้ที่เริ่มใหม่ๆ ตั้งรากฐานใหม่ๆ เราตั้งฐานความมีสติไม่ปราศจากคำบริกรรม สำหรับผู้ที่มีรากฐานแล้วเช่นจิตเป็นสมาธิ ความรู้ก็ให้ติดอยู่กับสมาธิ ความสงบแน่นหนามั่นคงของใจ ไม่เสียดายอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งต่างๆ เมื่อสมาธิแน่นหนาแล้วความคิดปรุงแต่งจะไม่เข้ามารบกวนจิตใจ มิหนำซ้ำผู้มีสมาธิจิตมั่นคงจริงๆ ความคิดปรุงแต่งเป็นเรื่องรำคาญ

    อยู่เอกจิต เอกธรรม เรียกว่า “เอกคตารมณ์”แน่วอยู่ด้วยสมาธิอย่างนี้เรียกว่าจิตอิ่มตัว เช่นนี้แล้วให้แยกออกจากจิตคือแยกออกจากสมาธิ พิจารณาทางด้านปัญญา ด้านปัญญานี้ “เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ” (ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง) นี้เป็นได้ทั้งอารมณ์สมถะที่เราบริกรรมเพื่อความสงบใจ เป็นได้ทั้งอารมณ์วิปัสสนาคือเราคลี่คลาย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อเหล่านี้จนกระทั่งเห็นกระดูก ตับ ไต ไส้ พุง ไปหมด คลี่คลายออกตามสัดส่วนที่มีอยู่ในร่างกายของเรา

    จงใช้ปัญญาพิจารณาเช่นเกศาเอาแยกเข้าไปหาโลมา นขา ทันตา ตโจ เรียงลำดับหรือไม่เรียงลำดับก็ไม่สำคัญ ขอให้มีสติติดแนบกับอารมณ์ที่เราชอบใจ เช่นหนังหรือเนื้อ เอ้า ! พิจารณาเข้าไปแล้วมันจะเหมือนไฟดับเชื้อ จะค่อยๆ ลุกลามเข้าไปหาเอ็น กระดูก ตับไตไส้พุง อาหารเก่า อาหารใหม่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นส้วมซึ่งเป็นฐานของสัตว์ บุคคล ของเขาของเราแต่ละคน มันยึดส้วม (ร่างกาย) ยึดเป็นฐานเป็นสาระ เมื่อมันไม่รู้มันก็ยึด

    ทีนี้ให้แยกออกดูสภาพแห่งส้วม (ร่างกาย) แห่งฐานนี้ มันมีสาระอะไรบ้างให้พิจารณา จะพิจารณาผมก็ได้ ขน เล็บ ฟัน หนัง ตามแต่จริตนิสัยชอบ แยกเข้าไปแยกเข้าไป จนถึงเนื้อ เอ็นกระดูก ตับไตไส้พุง จากนั้นให้แยกออกกระจัดกระจายให้เป็นสัดส่วน ให้เป็นของปฏิกูล โสโครกเน่าเฟะไปหมดทั้งร่าง เอาประกอบกันเข้ามาตั้งเป็นหญิงเป็นชาย เอาสวยงามตั้งขึ้นเมื่อไหร่ให้ อสุภะอสุภัง ตีมันแหลกลงไป เมื่อตั้งสวยงามเมื่อไหร่ ตีให้แหลกกระจัดกระจายไปเรื่อยๆ นี่เรียกว่า ปัญญาชำนาญ ให้ใช้ปัญญาเมื่อจิตอิ่มอารมณ์ คือ มีสมาธิแล้วอย่าอยู่กับสมาธิ

    [​IMG]
    หลวงตามหาบัว กับหลวงปู่สาม อกิญจโน

    สมาธินั้นไม่ใช่ธรรมแก้กิเลส เป็นเพียงว่าธรรมเพื่อทำกิเลสให้สงบด้วยสมาธิ จิตที่ปรุงต่างๆ จึงไม่ค่อยมีสำหรับผู้มีสมาธิ นั้นแหละจิตอิ่มตัว ให้เอาจิตอิ่มตัวนี้ออกพิจารณาเรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ เข้าไปถึงอาการสามสิบสอง ทุกสัดทุกส่วน เดินกรรมฐานอยู่ในร่างกายของเรานี้ขึ้นๆ ลงๆ หลายครั้งหลายหน จนมีความชำนาญ เมื่อพิจารณาร่างกายนี้จนมีความชำนาญแล้ว มันจะรู้อย่างรวดเร็ว มองดูอะไรนี่ทะลุไปหมด

    สมมุติว่าเราอยู่ในขั้นพิจารณาจิตเราถึงเนื้อนี่ มองไปที่คนอื่นจะเห็นเนื้อเขาแดงโล่ พิจารณาเข้าไปก็ยิ่งเห็นชัดเจน หรือพิจารณากระดูกแล้วเมื่อดูคนอื่นๆ ก็จะเห็นแต่กระดูกเต็มตัว มองไปเห็นเด่นชัดภายในปัญญาของเรา (มีเรื่องเล่าว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งท่านพิจารณาเรื่องกระดูกได้ชัดเจนมาก อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ชายคนหนึ่งเดินมาถามหาคนรักของตนกับพระภิกษุรูปนี้ซึ่ง ยืนอยู่ทางเดินว่า “ท่านเห็นผู้หญิงคนหนึ่งผ่านมาทางนี้หรือไม่” พระภิกษุว่า “ไม่เห็น...เห็นแต่กระดูกเดินผ่านไป”)

    สัตว์ บุคคลที่กิเลสมันรวบรัดเอาไว้ ประดับประดาตกแต่งเอาผิวบางๆมาหลอกลวงว่าเป็นของสวยของงาม นอกจากนั้นก็เอาสิ่งภายนอกมาตกแต่งประดับประดาด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับ ให้ลืมส้วมภายใน ให้ลืมของสกปรกอยู่ในตัวของเราภายใน เพราะสิ่งภายนอกมาอำพราง กิเลสมาพรางตาให้คนตาฝ้าตาฟางอย่างเราหลงเห็นว่าสวยเห็นว่างาม

    ในร่างกายของเขาของเราน่ะต้องทำความสะอาดสะอ้าน เสื้อผ้าใส่แล้วต้องเอาไปซัก เพราะตัวศพดิบ(ร่างกาย)นี้เป็นตัวสกปรกมาแปดเปื้อน ไม่อย่างนั้นเหม็นคุ้งไปหมด กิเลสมาพอกพูนหลอกลวงสัตว์โลกว่าเป็นของสวยของงามคือศพดิบเรานี่แหละ แยกออกให้ดีนี่คือปัญญา

    เมื่อพิจารณาจิตใจของเรา พิจารณาทางด้านปัญญามันมักจะเพลิน เพลิดเพลินไปมันจะพิจารณาไม่หยุด ไม่ถอย ให้ยับยั้งเข้าสู่สมาธิ เวลาจิตใจอ่อนเพลียมันเร่งความเพียรของมันโดยทางปัญญา คือมันจะหมุนของมันไปเรื่อยๆๆๆ พอได้เหตุได้ผลในการถอดถอนกิเลส จากสิ่งเหล่านี้แล้วมันจะเพลินตัวของมัน ถ้ามันเพลินตัวมันจะรู้สึกมีความเหนื่อยภายในร่างกายของเรา เฉพาะอย่างยิ่งในหัวอกจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าภายในท่ามกลางหัวใจเรานั่นแล ให้ย้อนจิตที่มันกำลังเพลินในการพิจารณานั้นเข้าสู่สมาธิเสีย

    “เข้าสู่สมาธินี่คือการพักนะ” งานของเราคืองานพินิจพิจารณา อสุภะ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาอยู่ในร่างกายนี้ เมื่อมันเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วให้ย้อนเข้ามาพักในสมาธิ แต่จิตจะเพลินไม่อยากจะเข้าพักในสมาธิ แต่ก่อนถือสมาธิเป็นสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ให้ความสุข ความสบาย แต่เวลาก้าวออกทางปัญญาแล้วสมาธินี่เหมือนหนึ่งว่าจะหมดคุณค่าไป ความจริงมีคุณค่าอยู่ในนั้นเมื่อเวลาเราพิจารณาเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามากๆ แล้ว จิตจะไม่อยากอยู่ในสมาธิ มันเพลินทางด้านปัญญามันจะพุ่งออกทางด้านปัญญา เวลาเราจะให้พักจะต้องหักจิตเข้ามา ถึงแม้มันจะเพลินในการพิจารณาในด้านปัญญาขนาดไหน เวลานั้นมันเหนื่อยเมื่อยล้า ควรพักให้ย้อนเข้ามาสู่สมาธิ ทำสมาธิให้สงบตามเดิม

    เมื่อจิตมันเพลินทางด้านปัญญาแล้วส่วนมากจิตมันยังไม่อยากเข้าสมาธิ เมื่อมันไม่เข้าสมาธิจริงๆ เอาคำบริกรรมติดเข้าไปคือให้มันอยู่ในอารมณ์เดียว ถ้าออกจากนี้ปั๊บมันจะพุ่งออกด้านปัญญา เพราะฉะนั้นจึงให้ยับยั้งเข้ามาสู่สมาธิด้วยคำบริกรรม เช่นพุทโธ หรือคำบริกรรมใด ที่เราเคยสนิทติดกับจริตนิสัยของเรา ให้สติจ่ออยู่กับคำบริกรรมอย่างเดียว แล้วจิตก็จะค่อยสงบแน่วลงสู่สมาธิ เมื่อเข้าสู่สมาธิแล้วหยุด การพินิจพิจารณาสิ่งใดทั้งหมดให้พักทั้งหมด เรื่องทางปัญญาที่แยกขันธ์ แยกเขาแยกเราแยกทุกส่วนนั้นเป็นเรื่องของปัญญาจะพักหมด จิตเข้าสู่สมาธิเพื่อพักเอากำลัง

    ตอนที่จิตอยู่ในสมาธิและยังไม่ได้ก้าวออกทางด้านปัญญา สมาธินี่แน่นหนา มั่นคงเหมือนหิน แต่พอจิตได้ก้าวออกทางด้านปัญญาแล้ว ปัญญาจะทำให้เพลินในการพิจารณาแก้ไขถอดถอนกิเลส ดีไม่ดีมันจะตำหนิสมาธิว่านอนตายเฉยๆ ไม่ได้แก้กิเลส ปัญญาต่างหากที่แก้กิเลสโดยที่มันจะเพลินทางแก้กิเลสโดยไม่คำนึงถึงการพัก ผ่อนหย่อนตัวในทางสมาธิเลย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องหักเข้ามาสู่สมาธิ พอเข้าสู่สมาธิแล้วจิตจะแน่ว นั่นหละตอนนี้เหมือนถอนเสี้ยนถอนหนาม สบาย “เบาหมดเลย” นี่จึงเรียกว่าพักจิตพักแบบมีสติกำกับ

    กำลังทางด้านปัญญามันรุนแรง พอพักสมาธิได้กำลังวังชาแล้ว ถ้าเราเบามือทางสติกับสมาธิหน่อยนึงมันจะพุ่งเข้าทางปัญญาเลย เวลาพิจารณาทางด้านปัญญาไม่ให้มาสนใจกับสมาธิให้ทำงานทางด้านปัญญาโดยถ่าย เดียว พิาจรณาให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อเหน็ดเหนื่อยทางด้านปัญญาแล้วให้ถอนจิตเข้ามาสู่สมาธิเพื่อพักเครื่อง พักจิต อย่าไปสนใจกับทางปัญญา เวลาเข้าสู่สมาธิให้ทำหน้าที่พักโดยตรง บังคับเอาไว้ให้เข้าพักนี่เรียกว่า อปัณณกปฏิทา

    เวลาจิตทำงาน (ออกสู่ปัญญา) ให้ทำจริงๆ แต่เวลาจิตเมื่อยล้าคือปัญญาพิจารณาเต็มสัดเต็มส่วนแล้ว ให้ย้อนเข้ามาพักผ่อนจะเป็นสมาธิก็ได้ จะพักโดยนอนหลับก็ได้ ในเวลาเมื่อจิตสงบแล้วนอนหลับสบาย แต่เวลาได้เพลินทางปัญญามันไม่หลับนะตลอดรุ่งมันก็ไม่หลับ มันจะติดเพลินทางปัญญาจึงต้องหักจิตมาสู่สมาธิ เมื่อจิตเข้าสู่สมาธิหักลงไปเข้าพักใจนอนหลับก็ได้

    ปัญญานี้เป็นตัวฟาดฟันกามราคะที่มันมีหนาแน่นในใจ ซึ่งไม่มีอะไรไปแตะต้องมันได้ จึงต้องเอาปัญญาฟาดเข้าไปสู่ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้ พุง ให้แตกกระจัดกระจายออกไปเป็นชิ้นนั้นชิ้นนี้ มีแต่ความสกปรกโสมมเต็มเนื้อเต็มตัว ความรักความชอบว่าสวยว่างามมันก็จางไป สุดท้ายความสวยงามไม่มีในกายของคนเรา

    ป่าช้าผีดิบ (ร่างกาย) อยู่ที่นี่หมด นี่ปัญญาก็สอดเข้าไปรู้ ตัณหาราคะจะเบาลง ทีนี้เวลาพิจารณาอสุภะมากเท่าไหร่ราคะตัณหาเบาแทบไม่ปรากฏ บางทีไม่ปรากฏเลย ต้องได้ทดลองดูหลายแบบหลายฉบับ เช่นเราเดินเข้าไปในกลุ่มหญิงสาวๆ สวยๆ นะ ทางด้านสติปัญญาของเรามันจะพิจารณาผ่านอสุภะ หญิงสวยๆ งามๆ จะไม่มีคำว่าสวยว่างาม อสุภะนี่จะตีแตกกระจัดกระจายผ่านเข้าไปในคนๆ นั้น จะไม่มีกำหนัด นี่คือสติปัญญาพิจารณาทางอสุภะซึ่งแก่กล้าสามารถแล้ว อสุภะมันเตะทีเดียวขาดสะบั้นเลย มันเลยหาความสวยความงามจากผู้หญิงสาวสวยไม่ได้ ราคะตัณหาเกิดไม่ได้

    <HR>ขอบคุณข้อมูลจาก : www.budpage.com
     
  14. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่มา ญาณวโร

    วัดสันติวิเวก
    ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    [​IMG]

    ๏ อัตโนประวัติ

    “พระมงคลญาณเถร” หรือ “หลวงปู่มา ญาณวโร” ประธานสงฆ์แห่งวัดสันติวิเวก บ้านโนนคำ ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด พระเกจิอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐานชื่อดังแห่งภาคอีสาน ที่ผู้คนต่างรู้จักดีถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี”

    หลวงปู่มา ญาณวโร มีนามเดิมว่า มา วรรณภักดี เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ณ บ้านโนนคำ ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายคูณ และนางตั้ว วรรณภักดี ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาทำไร่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ มีชื่อตามลำดับดังนี้

    ๑. นางโฮม วรรณภักดี
    ๒. นายสม วรรณภักดี
    ๓. นายทา วรรณภักดี
    ๔. หลวงปู่มา ญาณวโร
    ๕. นางสุดตา อุ่นทรวง


    ๏ การบรรพชา

    สาเหตุที่ทำให้ต้องบวช หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อวัยเยาว์ พอท่านอายุย่างเข้า ๘ ขวบ โยมมารดาของท่านก็มาเสียชีวิต ตามประเพณีแล้วเมื่อบิดามารดา ญาติพี่น้อง หรือผู้มีพระคุณเสียชีวิต จะต้องมีการบวชหน้าศพ โดยลูกหรือหลานๆ ของผู้ที่เสียชีวิต แล้วนำศพไปเผา

    เช่นเดียวกัน ในงานศพของโยมมารดาของท่านนั้น พวกญาติๆ จึงเลือกให้หลวงปู่บวชหน้าศพ หลวงปู่บอกว่า ท่านยังจำคำพูดของโยมมารดาท่านได้ เมื่อโยมมารดากำลังป่วยอยู่ได้พูดกับท่านว่า “เมื่อแม่ตายแล้ว ให้บักน้อยบวชให้แม่เด้อ” ยังจำได้จนบัดนี้ เมื่อโยมมารดาเสียชีวิตแล้ว ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ โดยมีพระอธิการสอน อุตฺตโม เป็นพระอุปัชฌาย์

    พอตอนบ่ายพวกญาติๆ และชาวบ้าน ก็ได้นำศพโยมมารดาไปสู่ป่าช้าดอนหมากเหลื่อม ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือหมู่บ้าน ห่างประมาณกิโลเศษ หลวงปู่ก็ได้เดินนำหน้าศพโยมมารดา ตั้งแต่บ้านถึงป่าช้า เมื่อทำพิธีเผาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็กลับบ้าน ตอนเย็นโยมบิดา พี่ชาย และพี่สาว ก็ออกมาหาที่วัด ถามว่า “จะสึกไหม” ท่านก็บอกว่า “ยังไม่สึก เพราะก่อนตายแม่สั่งไว้ว่าให้น้อยบวชให้แม่ น้อยจะอยู่ไปก่อน” ท่านว่าพอคิดจะสึก ก็ให้นึกถึงคำพูดของโยมมารดา ก็เลยไม่สึกอยู่มาจนทุกวันนี้

    [​IMG]
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)-หลวงปู่มา ญาณวโร


    ๏ วิทยฐานะและการศึกษาพระปริยัติธรรม

    หลังจากบรรพชาเป็นสามเณร ได้ประมาณ ๒๐ กว่าวัน ทางราชการก็ได้มีหมายเกณฑ์ให้หลวงปู่ไปเข้าโรงเรียน เพราะอายุย่างเข้า ๘ ปีแล้ว การเรียนสมัยนั้นยังไม่ได้ใช้กระดาษ แต่ใช้กระดานหินแทนกระดาษ และดินสอหิน หลวงปู่ท่านก็เดินข้ามทุ่งไปเรียนหนังสือร่วมกับเด็กๆ ทั้งชาย หญิง ทั้งที่ท่านก็เป็นสามเณร ที่โรงเรียนวัดบ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด บ้านเกิดของท่าน

    หลวงปู่นั้นท่านเป็นผู้ที่โชคดีกว่าทุกคนที่ไปเรียนด้วยกัน เพราะตอนที่ท่านอายุได้ ๔ ขวบ โยมบิดาได้นำท่านไปฝากไว้กับหลวงลุงดอน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดบ้านโนนคำ ให้เรียนหนังสืออยู่ที่นั่น เนื่องจากว่าหลวงลุงดอนท่านนี้ เป็นผู้ที่รู้หนังสือไทยดีคนหนึ่ง คนในสมัยนั้นน้อยคนที่จะรู้หนังสือไทย เมื่อหลวงปู่อยู่กับหลวงลุงดอน หลวงลุงดอน ก็เอาหนังสือแบบเรียนเร็วมาให้หัดเขียน หัดอ่านตั้งแต่ ก ข ค ฆ ง แล้วผสมสระ พยัญชนะ อ่านเป็นเสียงได้

    หลวงปู่บอกว่า ท่านอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง มีใจความว่า ตาดีมือแป ตาสาอีแป๊ะ หนังสือนิทานอีสปนกกระสาหมาจิ้งจอก เรียนอยู่ไม่นาน ครูประจำชั้นก็ให้ท่านเป็นหัวหน้า นำนักเรียนในกลุ่มเดียวกันอ่านหนังสือ ตลอดจน นับเลข ตั้งแต่หนึ่งถึงร้อย ถึงพัน ท่านก็เรียนอยู่ ๒ ปี ครูเลยให้ขึ้นไปอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จนกระทั่งจบการศึกษาขั้นสูงสุดในสมัยนั้นคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

    พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ลาออกจากโรงเรียนบ้านดอนน้อย ไปเรียนต่อที่วัดคำครตา ต.ดงมะไฟ อ.ยโสธร (ในสมัยนั้น) จ.อุบลราชธานี มีพระสา ซึ่งเป็นญาติๆ กันจะไปจำพรรษาที่นั่น จึงได้ติดตามเป็นลูกศิษย์ไปด้วย ณ วัดคำครตาแห่งนี้ มีพระเถระองค์หนึ่งเคยรับราชการเป็นเจ้านายคนไทย รู้หนังสือไทยดี มาอยู่ที่นี่ได้เรียนสูตรสิบสองตำนาน เรียนสวดไชยน้อย ไชยใหญ่ การเรียนต้องเรียนต่อคำ ไม่ต้องจับหนังสือท่องบ่นเหมือนในสมัยนี้ เรียนเทศน์มหาชาติ อยู่ที่นี้ได้ไม่นานนัก (พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๗)

    พ.ศ. ๒๔๖๘ ก็ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดตาล (วัดศรีทองนพคุณ) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๗๐ พระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินฺทสาโร) เจ้าคณะแขวงเสลภูมิ (ในสมัยนั้น) ได้มีหนังสือเรียกตัวให้เข้ามาอยู่ที่วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๗๑-พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ณ สำนักเรียนวัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) สามารถสอบไล่ได้ ๓ ปีติดต่อกัน

    หลังจากที่สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอกแล้ว ตั้งใจว่าจะไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เพราะอยากเป็นมหากับเขาบ้าง สามเณรรุ่นเดียวกันเขาไปเรียนได้เป็นมหา เป็นเจ้าคุณ เป็นสมภารเจ้าวัด ก็หลายองค์ หลวงปู่ท่านบอกว่า เรามันไม่มีบุญจะได้เป็นมหากับเขา เป็นเพียงพระที่อาศัยอยู่ตามวัดบ้านนอกอย่างที่เห็นอยู่นี่แหละ

    [​IMG]
    หลวงปู่มา ญาณวโร-หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป


    ๏ สามเณรเสียงทอง

    พูดถึงการเทศน์เสียง (แหล่) นั้นแต่ละภาคก็มีสำเนียงภาษาที่ต่างกัน และเป็นที่นิยมของแต่ละภาค หลวงปู่ท่านก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่เทศน์เสียงได้ไพเราะ เป็นที่ติดอกติดใจของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ในสมัยที่ครั้งยังเป็นสามเณร ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยที่ท่านเป็นสามเณรไปอยู่วัดคำครตา ท่านก็มีโอกาสได้ฝึกการเทศน์แหล่อยู่บ้าง

    พอออกพรรษาชาวบ้านก็ทำบุญกันตามประเพณี คือประเพณีอีสานนั้นครูบาอาจารย์ท่านว่า “เดือน อ้าย ทำบุญเข้าปริวาสกรรม เดือนยี่ ทำบุญข้าว เดือนสาม ทำบุญข้าวจี่ เดือนสี่ ทำบุญมหาชาติ เดือนห้า ทำบุญตรุษสงกรานต์ เดือนหก ทำบุญวันวิสาขา เดือนเจ็ด ทำบุญเทวดาอารักษ์หลักเมือง เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษา เดือนเก้า ทำบุญข้าวประดับดิน เดือนสิบ ทำบุญข้าวสาก หรือข้าวสราท เดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา เดือนสิบสอง ทำบุญกฐิน”

    ชาวบ้านคำครตา ก็เช่นเดียวกัน พอถึงเดือนสี่ ก็ทำบุญมหาชาติ มีการนำเอาหนังสือมหาเวสสันดร มาแบ่งเป็นกัณฑ์ๆ เพื่อให้พระเทศน์ ในงานครั้งนั้นสามเณรมา ได้รับหนังสือเทศน์มา ๒ กัณฑ์ เป็นกุมารบั้นปลาย ตอนพระเวสสันดรทานกัณหา ชาลี แก่ชูชก และกัณฑ์มัทรี เมื่อรับมาแล้วก็พากเพียรฝึกอ่านฝึกเทศน์ตามภาษาท้องถิ่น

    พอถึงวันงานได้เวลา ญาติโยมก็นิมนต์ขึ้นมาเทศน์ สามเณรมาตัวเล็กๆ ก็ขึ้นสู่ธรรมาสน์อย่างอาจหาญ เพราะมีความเชื่อมั่นในตนเอง เล่นเอาญาติโยมที่ฟังเทศน์ตะลึง ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ คนทั้งหลายติดอกติดใจในน้ำเสียง และลีลาการเทศน์ของสามเณรมา ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา สามเณรมาก็ถูกคนกล่าวถึง และนิมนต์ไปเทศน์มหาชาติ ทุกวันตลอดฤดูกาล หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนนั้น เวลาไปเทศน์บ้านไหน ต้องเดินไปไม่มีรถขี่เหมือนทุกวันนี้ บางหมู่บ้านก็อยู่ไกล


    ๏ การอุปสมบท

    ต่อมา ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู ณ พัทธสีมาวัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โดยมีพระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินทสาโร) วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์ฉิม ชินวํโส วัดศรีทองนพคุณ (วัดตาล) อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูใบฎีกาสะอาด โฆสโก วัดเหนือเสลภูมิ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระอนุสาวนาจารย์


    ๏ การศึกษาพิเศษ

    เรียนจบอักษรขอม (เขมร) ภาษาธรรม ภาษาไทยน้อย

    [​IMG]
    หลวงปู่มา ญาณวโร


    <HR>ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8922
     
  15. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height="100%" vAlign=top width="85%"> การศึกษาพระเวทย์

    พูดถึงการศึกษาเวทย์มนต์คาถาของครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนนั้น เป็นที่นิยมกันมาก หลวงปู่ท่านก็เช่นกัน ท่านก็อยู่ในวัยหนุ่มที่อยากรู้ อยากเห็น อยากลอง อยากมีไว้กับเขาบ้าง ถ้าได้ข่าวว่าพระอาจารย์องค์ไหนโด่งดังทางเวทย์มนต์คาถา ท่านก็จะพยายามไปหา เพื่อศึกษาข้อวัตรของพระอาจารย์องค์นั้น ดูเห็นว่าดีก็จะฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์

    ท่านบอกว่า เรียนรู้เอาไว้ อันไหนดีก็เก็บไว้ อันไหนไม่ดีก็ทิ้งไปไม่ต้องเสียดาย ขึ้นชื่อว่าลูกผู้ชายมีไว้กับเขาบ้างก็ดี การที่จะได้เรียนวิชาเวทย์มนต์คาถากับครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนนั้น จะต้องเรียนอักษรขอม (เขมร) ภาษาธรรม ภาษาไทยน้อย เรียนกัมมัฏฐาน ฝึกการนั่งสมาธิ เดินจงกรมภาวนา ทำจิตให้แน่วแน่เป็นหนึ่ง มีความเมตตาเป็นที่ตั้ง ออกเดินธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์ไปในที่ต่างๆ มีความอดทน มีข้อวัตรปฏิบัติดี ไม่เป็นที่หนักอกหนักใจของครูบาอาจารย์และเป็นที่ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ จึงจะเรียนได้

    ไม่ว่าจะยากลำบากสักเพียงใด หลวงปู่ท่านก็ไม่เคยหวั่น ถ้าได้ตั้งใจแล้วจะต้องเอาให้ได้ ครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่ท่านได้ไปศึกษาด้วยเท่าที่ทราบจากท่านก็มี ดังนี้

    ๑. หลวงปู่สอน อุตฺตโม วัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๒. พระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินฺทสาโร) หรือหลวงปู่เสือ วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๓. พระราชสิทธาจารย์ (บุญเรือง ปภสฺสโร) วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๔. หลวงปู่มหาดไทย วัดบ้านบัว ต.เหล่า อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด

    ๕. หลวงปู่พรหม ไม่ปรากฏว่าท่านอยู่วัดไหน ท่านเป็นพระที่ธุดงค์มา เป็นผู้มีปฏิปทาข้อวัตรอันดีเป็นที่น่าเลื่อมใส หลวงปู่ท่านจึงเข้าไปศึกษาข้อวัตรด้วย

    ทั้งนี้ หลวงปู่ท่านก็ได้ใช้วิชาการความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาสร้างสาธารณประโยชน์อย่างมากมาย


    ๏ ความชำนาญพิเศษ

    - เป็นช่างไม้ ช่างปูน ทำการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และอาคารต่างๆ อีก

    - นวกรรม เขียนแบบแปลนอุโบสถ แบบแปลนกุฏิสงฆ์ แบบแปลนศาลาการเปรียญ และแบบแปลนอาคารอื่นๆ อีก

    - หัตถกรรม จักสาร ตะกร้า กระจอ กระเบียน กระติบข้าว กระบุง

    - ศิลปกรรม เขียนลายไทยและแกะสลักลายไทย บานประตูหน้าต่าง พระอุโบสถช่างลงลักปิดทอง ติดมุก ติดกระจก ช่อฟ้า ใบระกาในอุโบสถ ช่างปั้นหล่อ เช่น ช่างปั้นช่อฟ้า ใบระกาอุโบสถ และประดับด้วยลายไทย


    ๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

    พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสมานสามัคคีธรรม ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลเมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านนาทม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ

    พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ลาออกจากเจ้าอาวาสวัดบ้านนาทม แล้วไปสร้างสำนักวิเวกอาศรม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวิเวกอาศรม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสันติวิเวก ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ


    ๏ ลำดับสมณศักดิ์

    พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระปลัดมา ญาณวโร ฐานานุกรมของพระครูวิโรจน์ผดุงศาสน์ เจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสารธรรมนิเทศ

    พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้น โท และรองเจ้าคณะอำเภอชั้นโท ในพระราชทินนามเดิม

    พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในพระราชทินนามเดิม

    พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระมงคลญาณเถร


    ๏ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    - เป็นวิทยาการอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดป่าซำทอง วัดป่าหัวคู วัดป่าคูขาด วัดป่าบ้านคำแดง

    - เป็นพระธรรมทูตประจำสายที่ ๕ จ.ร้อยเอ็ด

    - เป็นวิทยากรอบรมศีลธรรมวัฒนธรรมและจริยธรรมแก่กลุ่มเยาวชน

    - เป็นรองประธานคณะกรรมการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล อ.เสลภูมิ

    Image
    กุฏี ๙๑ ปี หลวงปู่มา ญาณวโร ณ วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด


    ๏ งานสาธารณประโยชน์

    หลวงปู่มา เป็นพระเถระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไปและทั่วทั้งภาคอีสาน เกียรติคุณของท่านเป็นที่ทราบโดยทั่วไป หน่วยงานราชการและประชาชนต่างหลั่งไหลเข้ามาขอให้ท่านได้ช่วยเหลือเป็นจำนวน มาก ซึ่งท่านก็ได้บริจาคและให้ความช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด ชื่อหลวงปู่จึงปรากฏอยู่ตามสถานที่ราชการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และหน่วยงานต่างๆ มากมาย

    ทั้งนี้ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ได้รับความเมตตาจากท่านในการสร้าง “หอสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก” เป็นจำนวนเงิน ๗ ล้าน ๕ แสนบาท เพื่อให้ลูกหลานชาวเสลภูมิได้ศึกษาหาความรู้ ซึ่งชาวเสลภูมิพิทยาคมสำนึกในพระคุณของหลวงปู่อย่างที่สุด


    ๏ เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี

    ชีวิตของพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านเจ้าคุณพระมงคลญาณเถร หรือหลวงปู่มา ญาณวโร นั้น เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยการอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุข ประโยชน์เกื้อกูลแก่มวลมนุษย์ชาติ มีความโดดเด่นของเกียรติคุณชื่อเสียงและความพิเศษสุดในการบำเพ็ญทานบารมี

    รวมทั้ง ยังเป็นทั้งผู้รู้ รัตตัญญูเถระ, เป็นที่เคารพนับถือของคณะสงฆ์ไทย ว่าเป็นผู้ที่มีลักษณะงดงาม เป็นเผ่าพันธุ์ชาวอีสาน มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติศักดิ์ในภูมิปัญญาพื้นบ้าน ของชาวอีสานโดยแท้จริง เป็นผู้ที่สามารถสร้างความเคารพและศรัทธาให้เกิดขึ้นในถิ่นแดนอีสาน อีกทั้ง ยังนำความเจริญที่กลมกลืนกับหลักพุทธธรรมหยิบยื่นให้กับชาวอีสาน จนทำให้ประชาชนดำรงชีพยืนหยัดอยู่ได้ด้วยลำแข้ง ประกอบสัมมาอาชีพบนความถูกต้องและชอบธรรม

    ตลอดจน ท่านยังเป็นพระนักทำงาน และทำจริงๆ อะไรที่จะเป็นประโยชน์ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ทั้งต่อมวลประชาและฝ่ายคณะสงฆ์ ท่านจะรีบเร่งทำอย่างรวดเร็วโดยมิรั้งรอ ทุกขณะทุกลมหายใจของท่านเปี่ยมล้นไปด้วยความดีที่จีรัง และไม่มีอะไรมาจำกัดขอบเขตคุณความดีที่แผ่กระจายออกไป ประจักษ์แจ้งในหมู่คณะสงฆ์ คงอยู่ในใจชาวลุ่มน้ำชีมาเกือบศตวรรษ

    “หลวงปู่มา ญาณวโร” หรือ ท่านเจ้าคุณ “พระมงคลญาณเถร” สมณศักดิ์ใหม่ของท่านจึงเป็นมงคล เป็นสายน้ำแห่งพระธรรมที่หล่อเลี้ยงชาวอีสานในเขตลุ่มน้ำชีทุกอณู เป็นสายธรรม สายทอง ของชาวไทยอีสานโดยแท้ ดั่งที่เราท่านทั้งหลายได้เห็นประจักษ์อยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้ เป็นเพราะหลวงปู่ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีวัตรปฏิปทาสม่ำเสมอ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี”


    ๏ การมรณภาพ

    หลวงปู่มา ญาณวโร ประธานสงฆ์แห่งวัดสันติวิเวก บ้านโนนคำ ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด พระสายวิปัสสนากรรมฐานและเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.ร้อยเอ็ด สายธรรมท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตเถระ ซึ่งอาพาธมาหลายเดือน ได้มรณภาพแล้วด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๑๐.๕๙ น. ของวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ วัดสันติวิเวก สิริรวมอายุได้ ๙๗ ปี พรรษา ๗๗

    สำหรับที่มาของฉายา “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี” นั้น พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) เจ้าอาวาสวัดภูพานอุดมธรรม ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม หนึ่งในพระลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด บอกว่า หลวงปู่มา เป็นพระเถระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป และทั่วทั้งภาคอีสาน เกียรติคุณของท่านเป็นที่ทราบโดยทั่วไป หน่วยงานราชการและประชาชนต่างหลั่งไหลเข้ามาขอให้ท่านช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่านก็ได้บริจาคและให้ความช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด

    ในวันอังคารที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จะมีพิธีน้ำหลวงสรงศพองค์หลวงปู่มา
    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR><TR><TD id=modified_1757 class=smalltext vAlign=bottom></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    จะนำเข้าพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรและวัดท่าซุงและครูบาอาจารย์สายกรรมฐานอีกมากมาย
     
  17. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    ส่วนหนึ่งของเกศาธาตุ อัฐิธาตุ ชานหมาก ข้าวก้นบาตร อังคารธาตุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1797.JPG
      IMG_1797.JPG
      ขนาดไฟล์:
      109.8 KB
      เปิดดู:
      294
    • IMG_1798.JPG
      IMG_1798.JPG
      ขนาดไฟล์:
      117.3 KB
      เปิดดู:
      226
    • IMG_1799.JPG
      IMG_1799.JPG
      ขนาดไฟล์:
      120.3 KB
      เปิดดู:
      224
    • IMG_1800.JPG
      IMG_1800.JPG
      ขนาดไฟล์:
      120.7 KB
      เปิดดู:
      234
  18. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    จำนวนการจัดสร้าง 108 องค์
    ล็อกเก็ต องค์หลวงปู่มั่น ฉากทอง ร่วมบุญองค์ละ 2,000 บาท โอนร่วมบุญเป็นงวดๆ นาน เดือน โดยโอนเข้าบัญวัด รับพระออกพรรษา ประมาณ พฤศจิกายน ๕๔
    จองได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จำนวน ๑๐๐ องค์ เท่านั้น ส่วนที่เหลือสมนาคุณผู้มีอุปการคุณ ครับ.........
    พระสมนาคุณมีแน่นอนครับ.............
    หมายเหตุ หากเกิดความผิดพลาดเสียหายเกิดขึ้นทางวัดมิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผมรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2011
  19. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    เชิญสร้างกุศลเป็นเจ้าภาพ
    ซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปในพระอุโบสถ วัดพระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่
    ซุ้มละ ๓๐,๐๐๐ บาท หรือร่วมบุญตามจิตศรัทธาโดยตรงกับวัด


    [​IMG]
    รายละเอียด
    ๑.ขนาดซุ้ม ๘๐*๑๕๐ ซม. จำนวน ๕๒ ซุ้ม
    ๒.ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว หล่อด้วยโพลีเอสเตอร์เรซิ่นโปร่งแสง
    ๓.ลวดลายประดับศิลปะหริภุญไชยประดับกระจก ลายทองเฉพาะงานเป็นภายในปิดโมเสกสี่ด้าน​

    หรือจะร่วมเป็นเจ้าภาพในส่วนอื่นของการตกแต่งอื่น ๆ เช่น ซุ้มประตูหน้าต่าง เพดาน ฯลฯ ก็ติดต่อกับทางวัดได้ ​

    [​IMG]



    ร่วมบุญโดยตรงกับทางวัด


    ธนาคารกสิกรไทย สาขาลี้
    ชื่อบัญชี พระมหาสิงห์ วิสุทฺโธ
    เลขที่บัญชี ๓๔๗-๒-๓๔๐๔๙-๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2011
  20. woottipon

    woottipon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2005
    โพสต์:
    11,767
    ค่าพลัง:
    +83,940
    รูปภาพเพิ่มเติม

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...