เว็บพลังจิต โครงการเรารักศีล ๕

ในห้อง 'ในนามเว็บพลังจิต' ตั้งกระทู้โดย Mr.Kim, 1 มกราคม 2011.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    [​IMG]

    [​IMG]


    หน่วยงานที่รับผิดชอบ เว็บไซต์พลังจิตดอตคอม

    <O:p</O:p
    ๑. หลักการและเหตุผล
    <O:p</O:p
    ช่วงต้นปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยของเราได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติหลายด้าน ทั้งจากน้ำท่วม ดินถล่ม ลมพายุ ภัยแล้ง ภัยหนาว เป็นต้น เราประสบภัยแล้ง เรือกสวนไร่นาแห้งแล้ง พอเข้ากลางปี ฝนตกน้ำเริ่มมี จึงได้เริ่มการปลูกข้าว พอข้าวเริ่มจะโตขึ้นมาหน่อย ใกล้จะได้เวลาเก็บเกี่ยวปรากฏว่าฝนตกกลับตกหนัก น้ำเหนือไหลบ่า น้ำป่าเข้าท่วมที่นาอีกระลอกแรก ส่วนใหญ่จะท่วมในพื้นที่ทางภาคเหนือ ต่อมาไม่นานนัก ก็เกิดน้ำท่วมหนักขึ้นมาอีกเป็นระลอกที่สองทั้งภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคอีสาน จนกระทั่งมาถึงภาคใต้ ดั่งเคราะห์ซ้ำกรรมซัด หากประเมินจากข้อความข้างต้น มีความเป็นไปได้ว่า โลกเราได้เข้าสู่ยุคภัยพิบัติในระดับเบา หรือระยะเริ่มต้นแล้ว
    <O:p</O:p
    แม้กระทั่งภัยพิบัติจากจิตมนุษย์อันมาจากความขัดแย้งด้านความคิดทางการเมืองอย่างรุนแรงของคนไทยด้วยกันเอง ทำให้มีความโกรธ ความเกลียด ความพยาบาท บังเกิดขึ้นในจิตใจของคนไทย จนนำไปสู่การเบียดเบียน ทำร้าย ทำลายล้าง ฆ่ากันตาย ลามไปจนถึงเป็นความแตกแยกในระดับชาติเพียงเพราะอุดมการณ์ทางการเมืองที่ไม่ตรงกัน ช่วงเวลาแห่งความแตกต่างทางความคิดที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศชาติบ้านเมืองและผู้คนในประเทศของเราบอบช้ำทางจิตใจ เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ อย่างมาก การที่ทำให้คนในชาติไทยเราจะกลับมายิ้มได้อย่างมีความสุขดังเดิม คือ ความปรองดองสมัครสมานสามัคคี เริ่มต้นด้วยการให้อภัย โดยให้อภัยด้วยความจริงใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่มีฝ่ายเรา ไม่มีฝ่ายเขา มีแต่พวกเราชาวไทย
    <O:p</O:p
    เราจะทำอย่างไร เพื่อให้เมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่สงบสุขร่มเย็นเหมือนดังเดิม เป็นดินแดนที่คนในชาติมีไมตรีจิตให้แก่กันเสมอในชีวิตประจำวัน ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้มาเยือน แขกบ้าน แขกเมืองที่ประทับใจตรงความดีงามนี้ การที่คนเรา ทุกเพศ ทุกวัย มีศีลเป็นคุณธรรมพื้นฐานประจำใจนั้น จะลดละการเบียดเบียน ความขัดแย้ง และความแตกแยกของสังคมไทย ตลอดจนเป็นการสร้างวินัยแห่งความดีประจำตัวคนทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ หากพวกเขามีศีล ๕ ประจำใจ อย่างน้อย ก็จะไม่สร้างความวุ่นวายเดือดร้อนให้สังคม และจะเป็นกำลังสำคัญต่อไปในการพัฒนาชาติบ้านเมืองในทางโลก และสืบสานพระพุทธศาสนาในทางธรรมต่อๆ ไป สิ่งที่จะเป็นเครื่องมืออันประเสริฐ ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปประเทศที่มีชาวพุทธเป็นคนส่วนใหญ่ ที่ดีที่สุดอย่างยั่งยืน ก็คือ ศีล โดยมีศีล ๕ อันเป็นคุณธรรมพื้นฐานประจำใจของผู้เกิดมาเป็นมนุษย์นั่นเอง นอกจากนี้แล้ว ศีลยังเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาสมาธิ และปัญญาต่อไป เพื่อการปฏิบัติธรรมในระดับสูงขึ้นไปสู่มรรค ผล นิพพาน อันเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง

    <O:p</O:p
    ๒. วัตถุประสงค์
    <O:p</O:p
    ๒.๑ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา

    ๒.๒ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระชนมายุ ครบ ๘๔ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔

    ๒.๓ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

    ๒.๔ เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้สมาชิกเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม และบุคคลทั่วไปได้ตะหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการรักษาศีล ๕ อันเป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ทั้งทางโลก และทางธรรม แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

    ๒.๕ เพื่อเป็นวาระบุญจากการรักษาศีลสามัคคีที่ยิ่งใหญ่ รวบรวมกระแสบุญกุศลของผู้รักษาศีล ให้แผ่ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ประเทศชาติบ้านเมืองของเรา บรรเทาภัยพิบัติต่างๆที่ประสบอยู่ จากหนักให้เป็นเบา ที่เบาแล้ว ให้เป็นปรกติสุขในเร็ววัน รวมทั้งต้านภัยพิบัติต่างๆ ที่จะมาถึงในอนาคต

    ๒.๖ เพื่อเป็นโครงการความดีนำร่อง ไปสู่โครงการอื่นๆ เพื่อสังคมไทย ที่ต่อเนื่อง อันจะมีตามมาในโอกาสต่อไป

    <O:p</O:p
    ๓. กลุ่มเป้าหมาย

    - สมาชิกเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม และบุคคลทั่วไปที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม จำนวน ๕๐๐ คน

    <O:p</O:p
    ๔. คำขวัญการรณรงค์โครงการเรารักศีล
    <O:p</O:p
    “เรารักษาศีล ๕ ศีล ๕ รักษาเรา”

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๕. ระยะเวลาโครงการ
    <O:p</O:p
    - ช่วงเวลารณรงค์โครงการ วันที่ ๕ มีนาคม – ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

    <O:p</O:p

    ๖. วิธีดำเนินงาน
    <O:p</O:p
    ๖.๑ ประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนสมาชิกเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม และบุคคลทั่วไปที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม ลงชื่อเข้าร่วมโครงการผ่านแบนเนอร์ในเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม เชื่อมโยงไปยังหน้ากระทู้โครงการเรารักศีล ๕ และในหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ห้องในนามเว็บพลังจิต ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔

    ๖.๒ แจกสมุดบันทึกกรรม และหนังสือศีล ๕ จำนวน ๕๐๐ เล่ม แก่ ๕๐๐ ท่านที่ลงชื่อเข้าร่วมโครงการ สำหรับใช้บันทึกการกระทำ เพื่อพิจารณาพฤติกรรมของตนเอง ว่าได้สำรวมกาย วาจา ใจอยู่ในศีล ๕ หรือไม่ และศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศีล ๕ ในเบื้องต้นจากหนังสือศีล ๕ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ -เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
    <O:p</O:p
    ๖.๓ เริ่มต้นดำเนินการโครงการเรารักศีล๕ ในวันที่ ๕ มีนาคม -วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔
    <O:p</O:p
    ๖.๔ ประเมินผลโครงการเรารักศีล ๕ จากแบบสอบถามสมาชิกเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม และบุคคลทั่วไปที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม ที่เข้าร่วมโครงการผ่านทางกระทู้โครงการในเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม, พีเอ็ม หรืออีเมล์ เป็นเครื่องมือประเมินความสำเร็จของโครงการเดือนละ ๑ ครั้ง รวมทั้งหมด ๙ ครั้ง ระหว่างเดือนเมษายน -เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
    <O:p</O:p
    ๖.๕ สรุปผลโครงการเรารักศีล ๕ ในช่วงเวลา ๙ เดือนที่ผ่านมา ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ อย่างไร ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔


    . งบประมาณ
    <O:p</O:p
    - งบประมาณเบื้องต้นตั้งไว้ที่ ๒๐,๐๐๐ บาท สำหรับค่าสมุดบันทึกกรรม และหนังสือศีล ๕ จำนวน ๕๐๐ เล่ม สำหรับแจกสมาชิกเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม และบุคคลทั่วไปที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม ที่เข้าร่วมโครงการ โดย Mr.Kim เป็นผู้รับผิดชอบเงินงบประมาณของโครงการ แต่เพียงผู้เดียวทั้งหมด (เนื่องจากโครงการเรารักศีล ๕ นี้เป็นโครงการบุญ อันเกิดจากการรักษาศีล จึงไม่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมใช้กำลังทรัพย์ แต่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมใช้กำลังใจในการทำความดีครั้งนี้)

    <O:p</O:p
    ๘. ผู้รับผิดชอบโครงการ<O:p</O:p

    - นาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>เสรี วงษ์ทองเหลือ (Mr.Kim) และทีมงานเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม
    <O:p</O:p

    ๙. การติดตามและประเมินผล

    - เกณฑ์การประเมินความสำเร็จของโครงการ ดูจากเปอร์เซ็นต์ของสมาชิกเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม และบุคคลทั่วไปที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์พลังจิตดอตคอม ที่เข้าร่วมโครงการเรารักศีล ๕ ว่าสามารถรักษาศีล ๕ ได้ตลอดช่วงเวลาที่รณรงค์หรือไม่ จำนวนวันไม่ต่ำกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของระยะเวลา ๙ เดือน และมีผู้ปฏิบัติได้นั้น เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ผู้เข้าร่วมทั้งหมด
    <O:p</O:p

    ๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    <O:p</O:p
    ๑๐.๑ กุศลผลบุญแก่ผู้รักษาศีล ๕ อันเกิดจากการปฏิบัติบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์<O:p</O:p

    ๑๐.๒ ผู้เข้าร่วมโครงการเรารักศีล ๕ ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<O:p</O:p

    ๑๐.๓ ผู้เข้าร่วมโครงการเรารักศีล ๕ ได้แสดงแดงความกตัญญูกตเวทีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์<O:p</O:p

    ๑๐.๔ ผู้เข้าร่วมโครงการเรารักศีล ๕ มีสติสัมปชัญญะในการดำเนินชีวิตประจำวันให้อยู่ในกรอบศีลธรรม จนเกิดเป็นความเจริญก้าวหน้าแก่ผู้รักษาศีล ทั้งหน้าที่การงานทางโลก และการปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิ เจริญปัญญาต่อไปในทางธรรม
    <O:p</O:p
    ๑๐.๕ อานิสงค์จากการรวมพลังความดีงามของผู้รักษาศีลสามัคคีครั้งนี้ นำมาซึ่งความอยู่รอดปลอดภัยจากภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจจะมาถึงในอนาคต รวมถึงสร้างความสามัคคีปองดองของคนในชาติไทย ให้กลับมาสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขแบบพอเพียงในสังคมไทยอย่างยั่งยืน
    <O:p</O:p
    ๑๐.๖ แม้จะสิ้นสุดโครงการแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการเรารักศีล ๕ ก็ยังรักษาศีล ๕ เป็นพื้นฐานประจำใจตลอดไป

    ……………………………………………………………………..

    ขอขอบพระคุณพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ทุกท่าน ที่ช่วยแนะนำโครงการบุญในครั้งนี้ให้ออกมาเป็นรูปธรรมเป็นอย่างสูงนะครับ<!-- google_ad_section_end --> <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2011
  2. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    [​IMG]


    เมื่อกล่าวถึง ศีล ... ศีล คือ ความเป็นปกติของความเป็นมนุษย์

    ศีล แปลว่า ปกติ ผู้ที่มีศีลจึงหมายถึงผู้ที่เป็นคนปกติ เป็นมนุษย์ที่ปกติ ความปกตินั้นเป็น พื้นฐานของความสงบเรียบร้อยของทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งสิ่งที่มีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต แต่เมื่อใดเกิดความไม่ปกติขึ้น ความยุ่งยาก ความเดือดร้อนหรือเสียหายย่อมเกิดขึ้นตามมา

    ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ถ้ามีความเป็นปกติ การดำเนินชีวิตก็มีแต่ความสงบสุข สังคมก็อยู่อย่างปกติ เรียบร้อย แต่วันใดที่คนปกติกลายเป็นคนไม่ปกติไป เมื่อนั้นความทุกข์ ความเดือดร้อนย่อมเกิดขึ้น ทั้งต่อ ตนเองและบุคคลที่อยู่รอบข้างด้วย อะไรคือความเป็นปกติของมนุษย์ และอะไรคือความผิดปกติของมนุษย์ ศีล ๕ หรือเบญจศีล/เบญจธรรม คือหลักธรรม ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน มุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนได้ประพฤติปฏิบัติตาม ว่าด้วยการรักษากาย วาจา ใจ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงกาม ไม่พูดปด ไม่เสพดื่มของมึนเมา

    ศีล ๕ ประการนี้ ท่านเรียกว่า มนุษยธรรม แปลว่า ธรรมสำหรับมนุษย์ ธรรมทำให้คนเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์,เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะ ผู้ที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษยธรรมนี้มาก่อน การเกิดมาเป็นมนุษย์เป็นเรื่องที่ยากแท้ ดังพระพุทธดำรัสว่า "กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยาก" เมื่อเราได้อัตภาพเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วอย่างนี้ ไม่พยายามรักษาสภาพปกติไว้ ก็จะกลายเป็นผู้ทำลายปกติของตนเอง ผู้ที่ล่วงละเมิดศีล จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำลายมนุษยธรรม ผู้ที่ทำลายมนุษย์ธรรมชื่อว่าเป็นผู้ทำลายปกติของตนเอง โดยสรุปแล้ว ศีล จึงเป็นคุณธรรมพื้นฐาน ที่เกิดขึ้นได้จากสามัญสำนึกของมนุษย์

    ศีล ๕ เป็นคุณธรรมพื้นฐาน หมายถึง เป็นเครื่องช่วยควบคุมกายวาจาของมนุษย์ให้เรียบร้อย เพื่อ ให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขพอสมควร หากมีผู้ใดทำผิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อแล้ว ก็จะแสดงพฤติกรรม หรือการกระทำที่ผิดปกติของมนุษย์ออกมา ซึ่งจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย เกิด ความเดือดร้อนทั้งต่อตนเอง หมู่คณะ และสังคมส่วนรวม

    ศีล ๕ เกิดขึ้นจากสามัญสำนึกของมนุษย์ หมายถึง ที่ปรารถนาจะอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข ปลอดภัย โดยไม่ต้องหวาดระแวงหรือกลัวอันตราย หรือกลัวว่าจะถูกเบียดเบียนทำร้าย ไม่ว่าจากใคร หรือด้วยวิธีใดก็ตาม บุคคลผู้ต้องการความสุขใน ปัจจุบัน พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมสำหรับบุคคลนั้นไว้ ทั้งทาน การประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม ในฐานะฆราวาส เราจึงควรถือศีลห้าเป็นนิจ

    เมื่อสำนึกได้ว่า สิ่งที่ควรจะระลึกไว้เสมอคือความสุขความทุกข์ทั้งหลายที่เราประสพทั้งในอดีต, ปัจจุบันและอนาคต (ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า) ไม่มีใครทำให้เรา, ช่วยเรา, ทำร้ายเรา ฯลฯ หากแต่เป็นผลของการกระทำที่เราทำไว้ทั้งสิ้น ใส่ใจสักนิดเพื่อตัวเราเอง ถึงเวลาแล้วที่จะตระหนักว่าเช่นไรถึงจะเป็น “การทำเพื่อตัวเอง” อย่างแท้จริง ดังคำที่ท่านว่า

    คนเข้าถึงสุคติได้ก็เพราะศีล

    คนเข้าถึงโภคสมบัติได้ก็เพราะศีล

    คนเข้าถึงพระนิพพานได้ก็เพราะศีล
    ...............................................................................................................

    ที่มาจาก : http://www.watthasai.net/sila5_normal.html<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2011
  3. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    ศีล ๕ ข้อ คือ
    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
    ๒. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
    ๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    ๔. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ
    ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย
    อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท


    เพียงรู้จักว่าศีล ๕ ข้อมีอะไรบ้างเท่านั้น ยังไม่พอ ผู้รักษายังต้องรู้เลยไปถึงว่า ท่านวางกฎ
    เกณฑ์ไว้อย่างไรในการวินิจฉัยว่าทำอย่างไรแค่ไหนจึงล่วงศีล คือศีลขาด โดยใช้กฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยที่
    ท่านเรียกว่า องค์ของศีล เป็นเครื่องตัดสิน ถ้าครบองค์ของศีลข้อนั้นๆ ศีลข้อนั้นก็ขาด ถ้าไม่ครบองค์ที่
    วางไว้ ขาดไปหนึ่งหรือสองข้อ ถือว่าศีลไม่ขาด แต่ศีลก็เศร้าหมอง องค์ของศีลที่ท่านวางไว้จึงเป็นเครื่อง
    เตือนใจให้สำรวมระวังไม่ประมาท

    ศีลข้อ ๑ มีองค์ ๕ คือ
    ๑. <SUP>*</SUP>ปาโณ สัตว์มีชีวิต
    ๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
    ๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
    ๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะฆ่า
    ๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
    ------------------------------------------------------
    <SUP>*</SUP> อรรถกถาบางแห่งใช้ว่า ปรปาโณ คือสัตว์อื่นที่มีชีวิต มิได้หมายถึงตัวเอง เพราะฉะนั้น
    การฆ่าตัวเองจึงไม่ล่วงกรรมบถ เพราะไม่ครบองค์ของศีลข้อนี้

    ถ้าครบองค์ ๕ ศีลข้อ ๑ ก็ขาด ถ้าไม่ครบ ๕ ข้อ ศีลไม่ขาด แต่ก็เศร้าหมอง
    โทษของศีลข้อ ๑ นี้ อย่างหนักทำให้ไปเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์
    เดรัจฉาน อย่างเบาทำให้อายุสั้นเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์

    ถึงกระนั้นโทษของการล่วงศีลข้อนี้ก็หนักเบาต่างกันด้วยร่างกายของสัตว์ ๑ ด้วยคุณของสัตว์ ๑
    ด้วยเจตนา ๑ และด้วยความพยายาม ๑

    กล่าวคือ ถ้าฆ่าสัตว์ใหญ่ โทษก็มาก ถ้าฆ่าสัตว์เล็ก โทษก็น้อย
    ถ้าฆ่าสัตว์มีคุณมาก โทษก็หนักมาก ถ้าฆ่าสัตว์มีคุณน้อย โทษก็น้อยลดหลั่นกันลงไป
    ถ้าเจตนา คือความจงใจแรง โทษก็แรง ถ้าเจตนาคือ ความจงใจอ่อน โทษก็น้อย
    ความพยายามมากโทษก็มาก ความพยายามน้อยโทษก็น้อย

    แต่อย่าได้คิดว่าเมื่อท่านฆ่าสัตว์เล็ก ทั้งมีคุณน้อย มีความจงใจอ่อน และมีความพยายามน้อย
    โทษก็น้อย คงจะไม่น่ากลัว อย่าลืมว่า บาปอกุศลนั้นถึงแม้จะเล็กน้อยก็ไม่ควรทำ เพราะเมื่อสำเร็จเป็น
    กรรมแล้ว ย่อมพาไปอบายได้เช่นเดียวกับโทษหนักเหมือนกัน เพียงแต่ว่าอาจไปอยู่ในอบายชั่วระยะเวลา
    อันสั้น ไม่ยาวนานเหมือนโทษหนัก เพราะฉะนั้นจึงควรสังวรระวังไม่ประมาทแม้โทษเพียงเล็กน้อย

    ใน อรรถกถาวัมมิกสูตร มัช.มูล. เล่าถึงพวกโจรที่ฆ่าอุบาสกที่เป็นพระอนาคามีว่าทำให้ตา
    บอดทันที เพราะผู้ถูกฆ่าเป็นสัตว์ใหญ่ มีคุณธรรมสูง เจตนาของโจรก็แรง ผลจึงเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที
    ยังไม่ต้องกล่าวถึงโทษที่จะเกิดในอนาคตว่าจะร้ายแรงแค่ไหน

    ศีลข้อ ๒ มีองค์ ๕ คือ
    ๑. ปรปริคฺคหิตํ ของมีเจ้าของหวงแหน
    ๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน
    ๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลัก ( ทั้งโดยคิดลักเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นลักแทน )
    ๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะลัก
    ๕. เตน หรณํ นำของมาด้วยความเพียรนั้น

    ถ้าครบองค์ ๕ ศีลข้อสองนี้ก็ขาด
    โทษของศีลข้อสองนี้ อย่างหนักทำให้ไปเกิดในอบายเช่นเดียวกับศีลข้อ ๑ อย่างเบาทำให้ทรัพย์
    สมบัติพินาศไปเมื่อเกิดเป็นมนุษย์

    ศีลข้อ ๓ มีองค์ ๔ คือ
    ๑. อคมนียวตฺถุ วัตถุที่ไม่ควรถึง (คือชาย หรือหญิงที่มีเจ้าของ หรือมีผู้คุ้มครองดูแลรักษา)
    ๒. ตสฺมึ เสวนจิตตํ จิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น
    ๓. เสวนปฺปโยโค พยายามที่จะเสพ
    ๔. มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติ อธิวาสนํ ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกัน

    ถ้าครบองค์ ๔ ที่วางไว้ ศีลข้อ ๓ นี้ก็ขาด
    ศีลข้อนี้ขึ้นอยู่กับเจตนา และคุณของผู้ถูกล่วงด้วย กล่าวคือ ถ้าจงใจมากโทษก็หนัก ถ้าจงใจ
    น้อยโทษก็น้อย ถ้าผู้ถูกล่วงเป็นผู้มีศีลโทษก็หนัก เช่นในสมัยพุทธกาล นันทมาณพล่วงเกินนางอุบลวรรณา
    อรหันตเถรี โทษถึงธรณีสูบก่อนแล้วจึงตกนรกอเวจี

    โทษของศีลข้อ ๓ นี้ อย่างหนักทำให้เกิดในอบาย อย่างเบาทำให้มีศัตรู คู่เวร เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
    (ในชาดกแสดงว่าทำให้เกิดเป็นกระเทย หรือเมื่อเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือมนุษย์แล้วต้องถูกตอน)

    ศีลข้อ ๔ มีองค์ ๔ คือ
    ๑. อตถํ วตฺถุ เรื่องไม่จริง
    ๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้ผิด
    ๓. ตชฺโช วายาโม พยายามพูดออกไป
    ๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น

    ถ้าครบองค์ ๔ ที่วางไว้ ศีลข้อ ๔ ก็ขาด
    โทษของศีลข้อ ๔ นี้ อย่างหนักทำให้เกิดในอบาย อย่างเบาทำให้ถูกกล่าวตู่ด้วยคำที่ไม่เป็น
    จริง ในเมื่อเกิดเป็นมนุษย์

    ศีลข้อ ๕ มีองค์ ๔ คือ
    ๑. มทนียํ ของทำให้เมามีสุราเป็นต้น
    ๒. ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตใคร่จะดื่ม
    ๓. ตชฺโช วายาโม พยายามดื่ม
    ๔. ปีตปฺปเวสนํ ดื่มให้ไหลล่วงลำคอเข้าไป

    ถ้าครบองค์ ๔ ที่วางไว้ ศีลข้อที่ ๕ ก็ขาด
    <SUP>*</SUP> โทษของศีลข้อ ๕ นี้ อย่างหนักทำให้เกิดในอบาย อย่างเบาทำให้เป็นบ้า ขาดสติ ในเมื่อ
    เกิดเป็นมนุษย์
    ------------------------------------------------------
    <SUP>*</SUP> โทษของศีลทั้ง ๕ ข้อ จากสัพพลหุสสูตร อํ. อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๓๐

    ในปัจจุบันนี้มีสิ่งเสพติดที่มีโทษมากกว่าสุราและเมรัย เช่นกัญชา และยาเสพติดเป็นต้น แม้จะ
    ไม่จัดไว้แต่เดิม แต่ถ้าเสพแล้วก็สงเคราะห์เข้าว่าขาดศีลข้อ ๕ นี้เช่นกัน โดยอาศัยมหาประเทศ ๔
    ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในวินัยเป็นเครื่องตัดสิน

    ศีลทั้ง ๕ ข้อนี้ เมื่อผู้ใดล่วงเข้า ถือว่าล่วงกรรมบถมีโทษมาก จัดเป็นเวร คือก่อให้
    เกิดผลร้ายทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

    เช่นเมื่อล่วงศีลข้อ ๑ มีผลทำให้เกิดในอบาย หรือทำให้มีอายุสั้นเป็นต้น ทั้งเป็น โลกวัชชะ คือ
    มีโทษที่ชาวโลกควรเว้น กล่าวคือ ศีลทั้ง ๕ ข้อนี้ ถึงใครจะรักษาหรือไม่รักษาก็ตาม เมื่อประพฤติล่วงเข้า
    แล้ว ย่อมเกิดโทษแก่ผู้ล่วงนั้นทั้งสิ้น ทำให้ได้รับโทษเกิดในอบายเป็นต้น

    เพราะฉะนั้นจึงควรเว้นสิ่งที่มีเวรมีโทษเสีย

    อนึ่ง ผู้ที่ไม่ฆ่าสัตว์ แต่ชอบเบียดเบียนสัตว์ให้เป็นทุกข์เดือดร้อน แม้ศีลข้อที่ ๑ ไม่ขาด แต่ก็
    ขาดธรรม คือเมตตากรุณา ด้วยเหตุนี้ผู้ที่จะรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์หมดจดจริงๆ จึงต้องมีธรรมที่คู่กับศีล
    แต่ละข้อกำกับไว้ด้วย คือ

    ๑. เมตตากรุณา คู่กับศีลข้อที่ ๑ เมตตา นั้นได้แก่ ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข ส่วน
    กรุณา นั้นปรารถนาจะให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
    ๒. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ คู่กับศีลข้อที่ ๒ ในที่นี้หมายถึงการประกอบอาชีพที่สุจริต
    ไม่ผิดศีลผิดธรรม เพื่อให้ได้ทรัพย์สินมาใช้สอยเลี้ยงดูตนเองและผู้ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน
    ๓. ความสำรวมในกาม คือยินดีเฉพาะคู่ครองของตน คู่กับศีลข้อที่ ๓
    ๔. ความมีสัจจะ คือพูดจริงทำจริง คู่กับศีลข้อที่ ๔
    ๕. ความมีสติ สำรวมระวังไม่ประมาท คู่กับศีลข้อที่ ๕

    ผู้มีทั้งศีลและธรรมคู่กันไป ย่อมเป็นผู้งามพร้อมไม่มีที่ติ เพราะฉะนั้น ศีล ( ที่ประกอบด้วย
    ธรรม ) จึงเป็นอาภรณ์ หรือเครื่องประดับอันประเสริฐสำหรับมนุษย์

    ผู้ที่ปรารถนา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ตลอดจนการเกิดในสุคติเป็นมนุษย์ และเทวดา หรือ
    ปรารถนาจะไม่เกิด คือบรรลุนิพพาน ก็ต้องอาศัยศีล

    พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ความปรารถนาของผู้มีศีลเท่านั้นที่จะสำเร็จ หรือความสำเร็จ
    ผลสมความปรารถนาจะเกิดแก่ผู้มีศีลเท่านั้น

    ทุกคนปรารถนาของดีทั้งสิ้น ไม่มีใครปรารถนาของไม่ดี เมื่อปรารถนาของดีก็ต้องทำดี ผลที่
    ได้รับจึงจะดีตามการกระทำ แต่ถ้าปรารถนาของดีแล้วทำชั่ว ผลที่ได้รับก็ชั่วตามการกระทำ เมื่อได้รับ
    ผลชั่วมีการเกิดในอบายเป็นต้นแล้ว ความปรารถนาเหล่านั้นจะสำเร็จได้อย่างไร

    ผู้ที่ไม่ทำชั่วจึงต้องมีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกัน

    นอกจากนั้นพระพุทธองค์ยังตรัสว่า ศีล ๕ นี้เป็น มหาทาน<SUP>*</SUP> เป็นทานที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็น
    การให้ความไม่มีเวรไม่มีภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ กล่าวคือ



    <SUP>*</SUP>ปุญญาภิสันทสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๙


    การรักษาศีลข้อ ๑ คือการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ทั้งด้วยตนเองและใช้ให้ผู้อื่นฆ่าแทนตน
    เป็นการให้ชีวิตแก่สัตว์ทั้งปวง
    การรักษาศีลข้อ ๒ คืองดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้ เป็นการให้ความ
    ปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น
    การรักษาศีลข้อ ๓ คือการงดเว้นจากการประพฤติผิดในบุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น เป็นการ
    ให้ความบริสุทธิ์แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น
    การรักษาศีลข้อ ๔ คือการงดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นการให้ความจริงแก่ผู้อื่น
    การรักษาศีลข้อ ๕ คือการงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย และสิ่งเสพติดอันเป็นโทษทุกชนิด
    เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง คือให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์ ให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สิน
    ของผู้อื่น ให้ความบริสุทธิ์แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น ให้ความจริงแก่ผู้อื่น ทั้งนี้เพราะผู้ที่มึนเมาเพราะ
    สุราเป็นต้น ย่อมขาดสติ สามารถทำความชั่วได้ถึงที่สุด คือฆ่าแม่ฆ่าพ่อก็ได้ เพราะฉะนั้นการงดเว้นจาก
    การเสพสิ่งเสพติด มีโทษเหล่านี้จึงเป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง​

    ก็เมื่อเราได้ให้ความไม่มีเวร ไม่มีภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้อย่างนี้แล้ว ย่อมได้รับ
    ความไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่ถูกเบียดเบียน หาประมาณมิได้เช่นกัน เพราะเราทำเหตุอย่างใด ย่อมได้รับ
    ผลเช่นนั้น

    ด้วยเหตุนี้ผู้ไม่มีปัจจัยจะบริจาคทาน จึงไม่ควรเสียใจ เพราะกุศลที่สูงกว่าทานที่ไม่ต้องอาศัย
    ปัจจัยก็สามารถบำเพ็ญได้นั้นมีอยู่ กุศลนั้นคือ ศีลกุศล ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นมหาทาน ล้ำเลิศกว่า
    ทานธรรมดา ที่ต้องเสียสละของออกไปเสียอีก​

    ควรหรือไม่ที่จะรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์

    ดังได้กล่าวแล้วว่า ศีล ๕ เป็นศีลของคฤหัสถ์ ที่คฤหัสถ์ทั้งชายหญิงควรรักษาเป็นปกติ เป็น
    ประจำตลอดชีวิต​
    .....................................................................

    ที่มาจาก
    : http://www.84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
    : ประณีต ก้องสมุทร - ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ <BIG>( สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ )</BIG><!-- google_ad_section_end -->
     
  4. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    อานิสงส์ของการรักษาศีล 5 ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

    คำว่า ศีล ได้แก่สภาพเช่นไร ศีลอย่างแท้จริงเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม คอยบังคับกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษามีสภาพปกติไม่คะนองทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นที่เกลียด นอกจากความปกติงดงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มีศีลว่าเป็นศีล เป็นธรรม


    เราควรรักษาศีล 5
    1. สิ่งที่มีชีวิต เป็นสิ่งที่มีคุณค่า จึงไม่ควรเบียดเบียน ข่มเหง และทำลายคุณค่าแห่งความเป็นอยู่ของเขาให้ตกไป
    2. สิ่งของของใคร ๆ ก็รักและสงวน ไม่ควรทำลาย ฉกลัก ปล้น จี้ เป็นต้นอันเป็นการทำลายสมบัติและทำลายจิตใจกัน
    3. ลูก หลาน สามี ภรรยา ใคร ๆ ก็รักสงวนอย่างยิ่ง ไม่ปรารถนาให้ใครมาอาจเอื้อม ล่วงเกิน เป็นการทำลายจิตใจของผู้อื่นอย่างหนัก และเป็นบาปไม่มีประมาณ
    4. มุสา การโกหกพกลม เป็นสิ่งทำลายความเชื่อถือของผู้อื่นให้ขาดสะบั้นลงอย่างไม่มีดี แม้เดรัจฉานก็ไม่พอใจคำหลอกลวง จึงไม่ควรโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย
    5. สุรา ยาเสพติด เป็นของมึนเมาและให้โทษ ดื่มเข้าไปย่อมทำให้คนดี ๆ กลายเป็นคนบ้าได้ ลดคุณค่าลงโดยลำดับ ผู้ต้องการเป็นคนดีมีสติปกครองตัว อย่างมนุษย์จึงไม่ควรดื่มสุรา เครื่องทำลายสุขภาพทางร่างกายและใจอย่างยิ่ง เป็นการทำลายตัวเอง และผู้อื่นไปด้วยในขณะเดียวกัน

    อานิสงส์ของการรักษาศีล 5
    1. ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
    2. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย
    3. ระหว่างลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำกล้ำกรายต่างครองกันอยู่ด้วยความเป็นสุข
    4. พูดอะไร มีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ ด้วยสัตย์ด้วยศีล
    5. เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้ ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลกให้ มีแต่ความอบอุ่นไม่เป็นระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า

    ศีล นั้นอยู่ที่ไหน มีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนา คือ จิตใจ คนเราถ้าจิตไม่มี ก็ไม่เรียกว่าตน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่าง ๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหาหลงขอคนที่หา คนที่ขอ ต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไรยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยาก ยากเข็ญยิ่งไม่มี

    กายกับจิต เราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้จากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์แล้ว จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เรานี้แล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล

    ผู้มีศีล ย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีล ย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ สมบูรณ์ ไม่อด ไม่อยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลได้สมบูรณ์ จิตดวงเดียว เป็นศีลเป็นสมาธิ เป็นปัญญา

    ผู้มีศีลแท้ เป็นผู้หมดเวรหมดภัย

    ที่มา : คติธรรม คำสอน ของ องค์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร

    http://palungjit.org/threads/%E0%B...B0.212013/<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    รักษาศีล ๕ ข้อ แล้วได้อะไร ?


    คำปรารภ
    <O:p</O:p
    หนังสือรักษาศีล ๕ แล้วได้อะไร...ในหนังสือเล่มนี้ เนื้อความ คำอธิบายมีครบถ้วนอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าได้ตรัสอบรมสั่งสอนไว้นับตั้งแต่ต้นกัป ตั้งแต่พระกกุสันโธ พระโกนาคะมะโน พระกัสสะโป พระโคตะโมสัมมาสัมพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ท่านสั่งสอนมานับสิบล้านปีมาแล้ว ผู้ใดประพฤติตาม ก็จะมีความสุขความเจริญ สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ เมื่อละโลกนี้ไปก็จะไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ถ้าไม่ประพฤติตามก็สู่อบาย(ทุคติภูมิ) เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก<O:p</O:p
    ขอให้ท่านสาธุชน จงประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ได้รวบรวมไว้จากพระไตรปิฎกนี้ ท่านจะมีอานิสงส์ ๑๐๓ ประการ ประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดิน ประเสริฐกว่าการกำเนิดเป็นเทพในสวรรค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระเทียบ ถิรธัมโม<O:p</O:p
    (เทียบ ถิรวัฒน์)<O:p</O:p
    ๗ ตุลาคม ๒๕๔๖<O:p</O:p<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    <O:p</O:p


    <O:p</O:pสมบัติที่หาได้ยาก
    <O:p</O:p

    ๑. คติสมบัติ คือการได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์ เป็นของยาก<O:p</O:p
    ๒. กาลสมบัติ การได้เกิดมาในเวลาที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นของยาก<O:p</O:p
    ๓. ปเทสสมบัติ คือการได้อยู่ในประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นของยาก<O:p</O:p
    ๔. กุลสมบัติ คือได้อยู่ในตระกูลหรือกลุ่มที่เลื่อมใสพระพุทธศาสนา เป็นของยาก<O:p</O:p
    ๕. อุปธิสมบัติ คือการได้อัตภาพบริบูรณ์ไม่พิการ ใบ้, บ้า, บอด, หนวก, เป็นของยาก<O:p</O:p
    ๖. ทิฏฐิสมบัติ คือการที่เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง คือ เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นของยาก<O:p</O:p
    ใครได้มีสมบัติครบ ๖ ประการนี้แล้ว ได้ชื่อว่า เป็นผู้มีบุญมาก มีวาสนาดี มีกองทุนชีวิตที่อุดมสมบูรณ์

    <O:p</O:p

    ความรู้เรื่อง ศีล ๕<O:p</O:p


    รักษาศีล ๕ ข้อ แล้วได้อะไร ?
    <O:p</O:p

    เรื่องของศีลข้อที่ ๑ คือเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการเบียดเบียนชีวิตซึ่งกันและกัน เนื่องจากชีวิตเป็นสิ่งที่ทุกคนรัก ทุกคนหวงแหน แม้สัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน รักชีวิต หวงชีวิต กลัวชีวิตจะต้องตาย ทุก ๆ ชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย ต่างดิ้นรนต่อสู้ทุกวิถีทาง เพื่อให้ชีวิตของตนอยู่รอด แคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ดีมีความสุข พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติศีลข้อที่ ๑ ด้วยเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายรักชีวิตของตนเป็นอันดับ ๑
    <O:p</O:p
    ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี<O:p</O:p
    เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า...ถ้าไม่เว้นย่อมยังสัตว์ให้ไปเกิดในนรก ในสัตว์เดรัจฉาน ในเปรตวิสัย...และเมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีกจะได้รับผล ๙ ประการ คือ<O:p</O:p
    ๑. เป็นคนทุพพลภาพ ๒. เป็นคนรูปไม่งาม<O:p</O:p
    ๓. มีกำลังกายอ่อนแอ ๔. เป็นคนเฉื่อยชา<O:p</O:p
    ๕. เป็นคนขี้ขลาด ๖. เป็นคนถูกผู้อื่นฆ่า, และฆ่าตัวเอง<O:p</O:p
    ๗. โรคภัยเบียดเบียน ๘. ความพินาศของบริวาร<O:p</O:p
    ๙. อายุสั้น และให้ผลติดต่อกันหลายชาติ
    <O:p</O:p
    รักษาศีลข้อที่ ๑ แล้วได้อะไร ?<O:p</O:p
    ๑. ได้รับผลปฏิสนธิกาล คือได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดา เรียกว่า กามสุคติภูมิ <O:p</O:p
    ๒. ได้รับผลในปวัตติกาล คือ หลังจากเกิดแล้ว เช่น หลังจากเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ได้รับผลอีก ๒๓ ประการ
    <O:p</O:p
    อานิสงส์แห่งการรักษาศีลข้อที่ ๑ มี ๒๓ ประการ<O:p</O:p
    ๑. สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ ๒. มีร่างกายสมทรง<O:p</O:p
    ๓. สมบูรณ์ด้วยกำลังกาย ๔. มีเท้างามประดิษฐานลงด้วยดี<O:p</O:p
    ๕. เป็นผู้มีผิวพรรณสดใส ๖. มีรูปโฉมงามสะอาด<O:p</O:p
    ๗. เป็นผู้อ่อนโยน ๘. เป็นผู้มีความสุข<O:p</O:p
    ๙. เป็นผู้แกล้วกล้า ๑๐. เป็นผู้มีกำลังมาก<O:p</O:p
    ๑๑. มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง ๑๒. มีบริษัทรักใคร่ไม่แตกแยกจากตน<O:p</O:p
    ๑๓.เป็นคนไม่สะดุ้งตกใจกลัวต่อภัยเวร๑๔.ข้าศึกศัตรูทำร้ายไม่ได้ <O:p</O:p
    ๑๕. ไม่ตายด้วยความเพียรฆ่าของผู้อื่น ๑๖. มีบริวารหาที่สุดมิได้ <O:p</O:p
    ๑๗. มีรูปร่างสวยงาม๑๘. มีทรวดทรงสมส่วน <O:p</O:p
    ๑๙. มีความเจ็บไข้น้อย ๒๐. ไม่มีเรื่องเสียใจเศร้าโศก <O:p</O:p
    ๒๑. เป็นที่รักของชาวโลก ๒๒. ไม่พลัดพรากจากสิ่งที่รักแลชอบใจ<O:p</O:p
    ๒๓. มีอายุยืน
    <O:p</O:p
    ศีลข้อ ๒ อทินนาทานา เวรมณี...เว้นจากลักทรัพย์ด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นลัก<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า อทินนาทาน อันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้ไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ มีสมบัติก็ต้องพินาศ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีกจะได้รับผล ๖ ประการ<O:p</O:p
    ๑. เป็นคนด้อยทรัพย์ ๒. เป็นคนยากจน<O:p</O:p
    ๓. เป็นคนอดอยาก ๔. ไม่ได้สมบัติที่ตนต้องการ<O:p</O:p
    ๕. ต้องพินาศในการค้า <O:p</O:p
    ๖. ทรัพย์พินาศเพราะภัยต่าง ๆ เช่น อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย ราชภัย <O:p</O:p
    โจรภัย เป็นต้น<O:p</O:p

    รักษาศีลข้อที่ ๒ แล้วได้อะไร ?<O:p</O:p
    ๑. ได้รับผลในปฏิสนธิกาล คือได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา เรียกว่า กามสุคติภูมิ <O:p</O:p
    ๒. ได้รับผลในปวัติติกาล คือหลังจากเกิดเป็นมนุษย์แล้ว จะได้รับผลอีก ๑๑ ประการ
    <O:p</O:p
    อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ ๒ มี ๑๑ ประการ<O:p</O:p
    ๑. จะเป็นผู้มีทรัพย์มาก ๒. มีข้าวของและอาหารมาก<O:p</O:p
    ๓. หาโภคทรัพย์ได้ไม่สิ้นสุด ๔. โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น<O:p</O:p
    ๕. โภคทรัพย์ที่ได้ไว้แล้วก็ยั่งยืนถาวร<O:p</O:p
    ๖. หาสิ่งที่ปรารถนาได้รวดเร็ว ๗. สมบัติไม่กระจายด้วยภัยต่าง ๆ<O:p</O:p
    ๘. หาทรัพย์ได้โดยไม่ถูกแบ่งแยก๙. ได้โลกุตตรทรัพย์คือนิพพาน<O:p</O:p
    ๑๐. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข ๑๑. ไม่รู้ไม่เคยได้ยินคำว่าไม่มี
    <O:p</O:p
    ศีลข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี...เว้นจากการประพฤติผิดในกาม<O:p</O:p
    ถ้าไม่เว้นจะเกิดอะไรขึ้น...พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลเสพแล้ว เจริญให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้ตกนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
    <O:p</O:p
    ทำกาเมสุมิจฉาจาร แล้วได้อะไร ? ทำแล้วหากเกิดเป็นมนุษย์อีก ได้รับผล ๑๑ ประการ คือ<O:p</O:p
    ๑. มีผู้เกลียดชังมาก ๒. มีผู้ปองร้ายมาก<O:p</O:p
    ๓. ขัดสนทรัพย์ ๔. ยากจนอดอยาก<O:p</O:p
    ๕. เป็นหญิง ๖. เป็นกระเทย<O:p</O:p
    ๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ ๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ<O:p</O:p
    ๙. ร่างกายไม่สมประกอบ ๑๐. มากไปด้วยความวิตกกังวล<O:p</O:p
    ๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก<O:p</O:p
    ...ผลทั้ง ๑๑ ประการนี้เป็นเศษของกรรมกาเมสุมิจฉาจารให้ผลหลังจากไปตกนรก ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน หรือหลังจากไปเกิดเป็นเปรตมาแล้ว เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้รับผลของกาเมสุมิจฉาจารในปวัตติกาลดังกล่าวแล้ว
    <O:p</O:p
    รักษาศีลข้อ ๓ แล้วได้อะไร ?<O:p</O:p
    การละเว้นจากการประพฤติผิดในกามเสียได้ จะได้รับผล ๒ ขั้น คือ<O:p</O:p
    ๑. ได้รับผลในปฏิสนธิกาล คือเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา เรียกว่าได้ปฏิสนธิในกามสุคติภูมิ<O:p</O:p
    ๒. ได้รับผลในปวัตติกาล คือหลังจากเกิดแล้ว เช่นถ้าเกิดเป็นมนุษย์ จะได้รับผลอีก ๒๐ ประการ
    <O:p</O:p
    อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ ๓ มี ๒๐ ประการ<O:p</O:p
    ๑. ไม่มีข้าศึกศัตรู ๒. เป็นที่รักของคนทั่วไป<O:p</O:p
    ๓. นอนเป็นสุข ๔. ตื่นก็เป็นสุข<O:p</O:p
    ๕. พ้นภัยในอบายมุข ๖. ไม่อาภัพไม่เกิดเป็นหญิงหรือกระเทย<O:p</O:p
    ๗. ไม่โกรธง่าย ๘. ทำอะไรก็ได้โดยเรียบร้อย<O:p</O:p
    ๙. ทำอะไรเปิดเผยแจ่มแจ้ง ๑๐. มีความสง่า คอไม่ตก<O:p</O:p
    ๑๑. หน้าไม่ก้ม มีอำนาจ ๑๒. มีแต่เพื่อนรักทั้งบุรุษและสตรี<O:p</O:p
    ๑๓. มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์ ๑๔. มีลักษณะบริบูรณ์<O:p</O:p
    ๑๕. ไม่มีใครรังเกียจ ๑๖. ขวยขวายน้อยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยมาก<O:p</O:p
    ๑๗. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข ๑๘. ไม่ต้องกลัวภัยจากใคร ๆ<O:p</O:p
    ๑๙. ไม่ค่อยพลัดพรากจากของที่รัก<O:p</O:p
    ๒๐. หาข้าว, น้ำ, ที่อยู่, เครื่องนุ่งห่มได้ง่าย
    <O:p</O:p
    ศีลข้อที่ ๔ คือให้เว้นจากการพูดเท็จ พูดไม่เป็นความจริง พูดโกหก หรือพูดมุสา<O:p</O:p
    ถ้าไม่เว้นจากมุสาวาทหรือพูดเท็จอะไรจะเกิดขึ้น...พระพุทธเจ้าตรัสว่า มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย<O:p</O:p
    ผลจากการกล่าวมุสาวาทอย่างเบาที่สุดย่อมยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
    <O:p</O:p
    การกล่าวมุสาวาทแล้ว จะได้อะไร ?<O:p</O:p
    การกล่าวมุสาวาทหรือการพูดเท็จปราศจากความจริง เมื่อกล่าวออกไปแล้วจะได้รับผล ๒ ขั้น คือ<O:p</O:p
    ๑. ได้รับผลในปฏิสนธิกาล คือเกิดในนรก ดิรัจฉาน เปรตวิสัย<O:p</O:p
    ๒. ได้รับผลในปวัตติกาล คือหลังจากเกิดแล้ว และผลที่ได้รับในปวัตติกาลนี้ จะครบองค์มุสาวาทหรือไม่ก็ตาม ถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์จะได้รับผลอีก ๘ ประการ คือ<O:p</O:p
    ๑. พูดไม่ชัด ๒. ฟันไม่เป็นระเบียบ<O:p</O:p
    ๓. ปากเหม็นมาก ๔. ไอตัวร้อนจัด<O:p</O:p
    ๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ <O:p</O:p
    ๖. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้นและปลายปาก<O:p</O:p
    ๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย ๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายคนวิกลจริต
    <O:p</O:p
    อานิสงส์แห่งการรักษาศีลข้อ ๔ มี ๑๔ ประการ<O:p</O:p
    ๑. มีอินทรีย์ทั้ง ๕ ผ่องใส ๒. มีวาจาไพเราะอ่อนหวาน<O:p</O:p
    ๓. มีฟันเสมอชิด สะอาด ๔. ไม่อ้วนจนเกินไป<O:p</O:p
    ๕. ไม่ผอมจนเกินไป ๖. ไม่สูงจนเกินไป<O:p</O:p
    ๗. ไม่เตี้ยจนเกินไป ๘. กลิ่นปากหอมเหมือนดอกบัว<O:p</O:p
    ๙. ได้สัมผัสแต่ที่เป็นสุข ๑๐. มีบริวารล้วนขยันขันแข็ง<O:p</O:p
    ๑๑. มีถ้อยคำที่บุคคลเชื่อถือได้ <O:p</O:p
    ๑๒. ลิ้นบางแดง อ่อนเหมือนกลีบดอกบัว<O:p</O:p
    ๑๓. ใจไม่ฟุ้งซ่าน ๑๔. ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้
    <O:p</O:p
    ศีลข้อที่ ๕ คือเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย รวมถึงเครื่องดองของเมา ยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
    <O:p</O:p
    โทษของการดื่มสุรา<O:p</O:p
    ทำให้เกิดความประมาทปราศจากการเคารพบิดามารดา พี่น้อง น้าอา แม้อุปัชฌายอาจารย์และสมณะพราหมณ์ ผู้มีศีลก็ไม่เคารพศีลาจารวัตรในการปฏิบัติกายวาจาใจให้บริสุทธิ์ จะทำแต่การบาปหยาบช้า มีกายหยาบ วาจาหยาบ ใจหยาบ ทำแต่อกุศลเป็นนิตย์ ไม่คิดสงสารสัตว์<O:p</O:p
    นอกจากนี้ โทษของการดื่มสุราเมรัยยังพาให้ตกในอบาย นายนิรยบาลจะกรอกด้วยน้ำทองแดง น้ำถึงปากและคอก็จะทำลายไส้พุงขาดกระจายตาย ตายแล้วก็จะกลับฟื้นขึ้นมา เสวยทุกขเวทนาต่อ ๆ กันไป เมื่อพ้นจากอบายแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นคนใบ้ เสียจริตผิดจากมนุษย์ทั้งหลาย จะเป็นเป็นคนใบ้ บ้า เสียจริต ผิดจากมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นภัยของชีวิตที่น่ากลัว
    <O:p</O:p
    ศีลข้อที่ ๕ สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มสุราเมรัย ของมึนเมา สิ่งเสพติดให้โทษ<O:p</O:p
    ถ้าไม่เว้น อะไรจะเกิดขึ้น ?<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า : การดื่มน้ำเมา คือสุรา และเมรัย อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย<O:p</O:p
    ผลแห่งการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์
    <O:p</O:p
    ถ้าผิดศีลข้อที่ ๕ จะได้อะไร ?<O:p</O:p
    การดื่มสุรา เมรัย หรือสิ่งเสพติดให้โทษจะได้รับผล ๒ ขั้น คือ<O:p</O:p
    ๑. ได้รับผลในปฏิสนธิกาล, เกิดในนรก, ดิรัจฉาน, เปรตวิสัย<O:p</O:p
    ๒. ได้รับผลในปวัตติกาล คือหลังจากเกิดแล้วและผลที่จะได้รับในปวัตติกาลนี้จะครบองค์หรือไม่ก็ตาม ถ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์จะได้รับผลจากการดื่มสุรา ๖ ประการ คือ<O:p</O:p
    ๑. ทรัพย์ถูกทำลาย ๒. เกิดวิวาทบาดหมาง<O:p</O:p
    ๓. เป็นบ่อเกิดแห่งโรค ๔. เสื่อมเกียรติ<O:p</O:p
    ๕. หมดยางอาย ๖. ปัญญาเสื่อมถอยหรือพิการทางปัญญา
    <O:p</O:p
    รักษาศีลข้อ ๕ จะได้อะไร ?<O:p</O:p
    ถ้าเว้นจากการดื่มสุรา เมรัย หรือเว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษจะได้ผลดี ๒ ประการ<O:p</O:p
    ๑. ได้รับผลดีในปฏิสนธิกาล คือจะเกิดในกามสุคติภูมิ มีมนุษย์หรือสวรรค์เป็นที่เกิด<O:p</O:p
    ๒. ได้รับผลในปวัตติกาล คือหลังจากเกิดแล้ว ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์จะได้รับอานิสงส์จากเว้นดื่มน้ำเมา ๓๕ ประการ
    <O:p</O:p
    อานิสงส์แห่งการรักษาศีลข้อที่ ๕ มี ๓๕ ประการ<O:p</O:p
    ๑. รู้กิจการ อดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว<O:p</O:p
    ๒. มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ ๓. มีปัญญาดี มีความรู้มาก<O:p</O:p
    ๔. มีแต่ความสุข ๕. มีแต่คนนับถือยำเกรง<O:p</O:p
    ๖. มีความขวนขวายน้อยหากินง่าย ๗. มีปัญญามาก<O:p</O:p
    ๘. มีปัญญาบันเทิงในธรรม ๙. มีความเห็นถูกต้อง<O:p</O:p
    ๑๐. มีศีลบริสุทธิ์ ๑๑. มีใจละอายแก่บาป<O:p</O:p
    ๑๒. รู้จักกลัวบาป ๑๓. เป็นบัณฑิต<O:p</O:p
    ๑๔. มีความกตัญญู ๑๕. มีกตเวที<O:p</O:p
    ๑๖. พูดแต่ความสัตย์ ๑๗. รู้จักเฉลี่ยเจือจาน<O:p</O:p
    ๑๘. ซื่อตรง ๑๙. ไม่เป็นบ้า<O:p</O:p
    ๒๐. ไม่เป็นใบ้ ๒๑. ไม่มัวเมา<O:p</O:p
    ๒๒. ไม่ประมาท ๒๓. ไม่หลงใหล<O:p</O:p
    ๒๔. ไม่หวาดสะดุ้งกลัว ๒๕. ไม่บ้าน้ำลาย<O:p</O:p
    ๒๖. ไม่งุนงง ไม่เซ่อเซอะ ๒๗. ไม่มีความแข่งดี<O:p</O:p
    ๒๘. ไม่มีใครริษยา ๒๙. ไม่ส่อเสียดใคร<O:p</O:p
    ๓๐. ไม่พูดหยาบ ๓๑.ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้ประโยชน์<O:p</O:p
    ๓๒. ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน ๓๓. ไม่ตระหนี่<O:p</O:p
    ๓๔. ไม่โกรธง่าย ๓๕. ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และในสิ่งที่เป็นโทษ
    <O:p</O:p
    อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีล ๕<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ว่า<O:p</O:p
    ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีลมี ๕ ประการ คือ<O:p</O:p
    ๑. ย่อมประสบซึ่งกองแห่งโภคะใหญ่ คือความไม่ประมาทอันเป็นคุณอย่างยิ่ง<O:p</O:p
    ๒. ย่อมมีชื่อเสียงดีงามฟุ้งขจรไป<O:p</O:p
    ๓. เข้าไปในบริษัทใดก็ตามย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขิน<O:p</O:p
    ๔. ผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีลย่อมเป็นผู้ไม่หลง ไม่หลงตาย<O:p</O:p
    ๕. เบื้องหน้าเมื่อการแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    ต.ป.ฎ. เล่ม ๑๐/๑๐๒<O:p</O:p
    ดูก่อนอานนท์ ศีลทั้งหลายเป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นประโยชน์ มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์
    <O:p</O:p
    อานิสงส์การสมาทานศีล ๕ ข้อ มี ๑๐๓ ประการ<O:p</O:p
    ศีลข้อที่ ๑ มีอานิสงส์ ๒๓ ประการ<O:p</O:p
    ศีลข้อที่ ๒ มีอานิสงส์ ๓๑ ประการ<O:p</O:p
    ศีลข้อที่ ๓ มีอานิสงส์ ๒๐ ประการ<O:p</O:p
    ศีลข้อที่ ๔ มีอานิสงส์ ๑๔ ประการ<O:p</O:p
    ศีลข้อที่ ๕ มีอานิสงส์ ๓๕ ประการ<O:p</O:p
    รวม ๑๐๓ ประการ
    ....................................................................................................................................................................................​

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2011
  6. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    ผู้สมาทานศีล ๕ ละโลกนี้ไปแล้ว มีทางไปสู่สวรรค์ ๖ ภูมิ แต่ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ทำบุญให้ทานบ้างแต่ไม่มีศีล ๕ รองรับ จะตกสู่จตุรบาย, ตกสู่อบายภูมิ (ทุคติภูมิ), กามสุคติภูมิแบ่งออกเป็น ๗ ภูมิ ได้แก่
    <O:p</O:p
    มนุษย์ภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ คือ<O:p</O:p
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t88 filled="f" path="m,qx10800@0l10800@2qy21600@11,10800@3l10800@1qy,21600e" o:spt="88" coordsize="21600,21600" adj="1800,10800"><v:formulas><v:f eqn="val #0"></v:f><v:f eqn="sum 21600 0 #0"></v:f><v:f eqn="sum #1 0 #0"></v:f><v:f eqn="sum #1 #0 0"></v:f><v:f eqn="prod #0 9598 32768"></v:f><v:f eqn="sum 21600 0 @4"></v:f><v:f eqn="sum 21600 0 #1"></v:f><v:f eqn="min #1 @6"></v:f><v:f eqn="prod @7 1 2"></v:f><v:f eqn="prod #0 2 1"></v:f><v:f eqn="sum 21600 0 @9"></v:f><v:f eqn="val #1"></v:f></v:formulas><V:p</v:shapetype><v:shape id=_x0000_s1026 style="MARGIN-TOP: 12pt; Z-INDEX: 1; LEFT: 0px; MARGIN-LEFT: 126pt; WIDTH: 27pt; POSITION: absolute; HEIGHT: 108pt; TEXT-ALIGN: left; mso-position-horizontal: absolute; mso-position-vertical: absolute" type="#_x0000_t88"></v:shape>๑. ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ<O:p</O:p
    ๒. นิมมานนรดีภูมิ<O:p</O:p
    ๓. ดุสิตภูมิ เทวภูมิ<O:p</O:p
    ๔. ยามาภูมิ สุคติภูมิ<O:p</O:p
    ๕. ดาวดึงสาภูมิ<O:p</O:p
    ๖. จาตุมหาราชิกาภูมิ
    ๗. มนุษย์ภูมิ

    อบายภูมิ ๔<O:p</O:p
    <v:shape id=_x0000_s1027 style="MARGIN-TOP: 13.15pt; Z-INDEX: 2; LEFT: 0px; MARGIN-LEFT: 126pt; WIDTH: 27pt; POSITION: absolute; HEIGHT: 63pt; TEXT-ALIGN: left; mso-position-horizontal: absolute; mso-position-vertical: absolute" type="#_x0000_t88"></v:shape>๑. เดียรัจฉาน<O:p</O:p
    ๒. เปรต จตุราบายหรือ<O:p</O:p
    ๓. อสุรกาย ทุคติภูมิ<O:p</O:p
    ๔. สัตว์นรก<O:p</O:p

    ค้าขายร่ำรวย ร้อยล้าน<O:p</O:p
    รับมรดกมีที่ดิน ร้อยล้าน<O:p</O:p
    รับราชการมีทรัพย์สิน ร้อยล้าน<O:p</O:p
    เป็น ร.ม.ต. เป็น ส.ส. มีเงินร้อยล้าน เหล่านี้ไม่มีศีล ๕ รองรับ ไม่สมาทานศีล ๕ ปิดประตูสวรรค์ เปิดประตูนรก ตกสู่อบายภูมิ สัตว์นรก อสุรกาย เปรต สัตว์เดรัจฉาน ประพฤติศีล ๕ ข้อ ทำบุญใส่บาตรผู้มีศีล ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ละโลกนี้ไปแล้วจุติจิตไปปฏิสนธิในโลกสวรรค์ทันที ผู้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ทุกวัน ปิดประตูนรก เปิดประตูสวรรค์ มีโอกาสไปอุบัติในสุคติภูมิหรือเทวภูมิ ๖ ชั้นนั้น จะไปอุบัติในเทวโลกภูมิใดนั้นแล้วแต่กำลังบุญกุศลทำไว้ในโลกมนุษย์...ฯ ผู้ปราศจากกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ คือพระอริยบุคคล<O:p</O:p
    * ทำอะไรด้วยสติปัญญา เป็นบุญเป็นกุศล<O:p</O:p
    * ทำอะไรขาดสติปัญญา เป็นบาปเป็นอกุศลฯ<O:p</O:p
    การลด ละ เลิก จากโลภะ โทสะ โมหะได้ เป็นสิ่งประเสริฐสุด...
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    มหาทาน ๕<O:p</O:p

    ทานที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อย ได้ผลมาก มี ๕ ประการ คือ<O:p</O:p
    ๑. งดเว้นจากปาณาติบาต คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เท่ากับให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์ทั้งหลาย<O:p</O:p
    ๒. งดเว้นจากอทินนาทาน คือ เว้นการลักทรัพย์ เท่ากับให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น<O:p</O:p
    ๓. งดเว้นกาเมสุมิจฉาจาร คือ เว้นประพฤติผิดในกาม เท่ากับให้ความบริสุทธิ์กับภรรยา, ธิดา, ของตนเองและผู้อื่น<O:p</O:p
    ๔. งดเว้นจากมุสาวาท คือ เว้นพูดปด พูดไม่จริง เท่ากับให้ความจริงแก่ผู้อื่น<O:p</O:p
    ๕. งดเว้นจากสุรา-เมรัย ไม่เสพ ไม่ดื่ม เท่ากับให้ความปลอดภัยแก่ตนเองและผู้อื่น<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    พุทธพจน์
    <O:p</O:p

    ในการสมาทานศีล ๕ รักษาศีล ๕ ไว้ได้นั้น ภูมิจิตจะยกขึ้นสู่โสดาปัตติผล พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า<O:p</O:p
    “แม้เพียงโสดาปัตติผลเท่านั้นยังประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดิน ประเสริฐกว่าการกำเนิดเป็นเทพในสวรรค์ ประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง เมื่อเป็นดังนี้ จะกล่าวไปใยถึงอรหัตผลเล่าว่ามีผลเลิศเพียงใด”
    <O:p</O:p
    พระพุทธองค์เทศนาให้พระเจ้าอชาตศัตรูฟัง...ภายหลังพระราชบิดาและพระราชมารดาสิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกในการสังคายนา ร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งแรก ภายหลังพุทธปรินิพพาน
    <O:p</O:p
    เมื่อศีล ๕ ทำให้ผู้ประพฤติประเสริฐกว่าเทพในสวรรค์ ประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง เราควรจะสมาทานศีลห้ารักษาศีลห้าไว้ให้ดี เมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว จะได้ไปอุบัติในโลกสวรรค์ ในเทวภูมิ ๖ ภูมินั้น ด้วยกำลังอำนาจของศีล
    ....................................................................................................................................................................................​

    ที่มาจาก : http://www.wat-buddhabharami.com/ind...=32414&Ntype=5
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2011
  7. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    ขอเชิญชวนสมาชิกเว็บพลังจิตมาเข้าร่วมโครงการเรารักศีล ๕ นะครับ

    " เรารักษาศีล ๕ , ศีล ๕ รักษาเรา "

    สำหรับสมาชิกหลายๆ ท่านที่รักษาศีล ๕ เป็นปรกติอยู่แล้ว ผมก็อยากจะเชิญชวนให้เข้ามาร่วมโครงการเรารักศีล ๕ ด้วยนะครับ
    ศีล ๕ นั้น มีมิติแห่งธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง สามารถเป็นรากฐานยกภูมิจิต ภูมิธรรมส่งขึ้นไปได้ถึงพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ทีเดียวนะครับ

    สำหรับท่านที่อยากจะเข้าร่วม แต่อาจจะยังลังเลไม่มั่นใจว่าจะรักษาศีล ๕ ได้บริสุทธิ์ทุกข้อไหม ก็ไม่เป็นไรครับ การกระทำทุกอย่างนั้นอยู่ที่เจตนา อะไรจะเกิดก็แล้วแต่ ขอให้มีเจตนาดีไว้ก่อน ผมแนะนำว่าอย่าวิตกจนเกินไป เพราะการที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ได้นั้น ขอให้มั่นใจว่าเรามีดีมากพอ เพราะการได้มาซึ่งสถานะการเป็นมนุษย์นั้น เป็นเพราะเรามีคุณธรรม กุศลกรรม และความดีมาก่อน ขอให้ท่านค่อยๆ เริ่มทีละน้อยๆ

    ศีล ๕ ข้อ ข้อใดรักษาได้แล้ว ก็มั่นดูจิตดูใจไม่ให้กลับไปทำผิดซ้ำอีก ส่วนศีลข้อที่ยังทำผิดอยู่ก็ขอให้ค่อยๆ พิจารณาลด ละ เลิก ไปทีละเล็กทีละน้อย ผมมั่นใจว่า สักวันนึง ท่านจะต้องรักษาศีลข้อนั้นได้ และสักวันนึงรากฐานที่แข็งแกร่ง คือ ศีล ๕ จะเป็นก้าวแรก ที่นำพาท่านเข้าสู่พระนิพพาน อันเป็นบรมสุข ผมขอเป็นกำลังใจทุกๆ ท่านครับ

    สุดท้ายนี้ ผมขอกราบอาราธนาคุณแห่งพระศรีรัตนตรัย อันมีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คุณแห่งบิดามารดา คุณแห่งครูบาอาจารย์ จงอำนวยอวยชัย ให้ทุกท่านที่เข้าร่วมได้เข้าถึงมรรค เข้าถึงผล เข้าถึงพระนิพพาน ทุกๆ ท่านเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2011
  8. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    หัวหน้าโครงการเรารักศีล ๕
    Mr.Kim

    ผู้ช่วยประสานงานโครงการเรารักศีล ๕
    ทีมงานพลังจิตดอทคอม , คุณ Mrs.Kim และคุณ บุญญสิกขา

    รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการเรารักศีล ๕
    1. คุณ WebSnow
    2. คุณ MBNY<O:p</O:p
    3. คุณ ผ่อนคลาย<O:p</O:p
    4. คุณ Namsai<O:p</O:p
    5. คุณ ธิดารัตน์<O:p</O:p
    6. คุณ รสมน<O:p</O:p
    7. คุณ อดุลย์ เมธีกุล<O:p</O:p
    8. คุณ อริยบุตร<O:p</O:p
    9. คุณ นิพ_พาน <O:p</O:p
    10. คุณ เฮียปอ ตำมะลัง <O:p</O:p
    11. คุณ Natthakorn <O:p</O:p
    12. คุณ Mantalay <O:p</O:p
    13. คุณ shane9 <O:p</O:p
    14. คุณ Tomahawk4 <O:p</O:p
    15. คุณ หมั่นเพียร <O:p</O:p
    16. คุณ JOY_JIT <O:p</O:p
    17. คุณ duangkamol <O:p</O:p
    18. คุณ ปฐมฌาณ <O:p</O:p
    19. คุณ หวงจื้อเซวียน <O:p</O:p
    20. คุณ sonthya <O:p</O:p
    21. คุณ Pattana <O:p</O:p
    22. คุณ วสันตฤดู <O:p</O:p
    23. คุณ pucca2101 <O:p</O:p
    24. คุณ rit009 <O:p</O:p
    25. คุณ peerakul <O:p</O:p
    26. คุณ บุษบากาญจ์ <O:p</O:p
    27. คุณ AddWassana <O:p</O:p
    28. คุณ ชนะ สิริไพโรจน์ <O:p</O:p
    29. คุณ balatam5 <O:p</O:p
    30. คุณ ninebeer <O:p</O:p
    31. คุณ boyalive <O:p</O:p
    32. คุณ GoiUSA <O:p</O:p
    33. คุณ เพียงพบ <O:p</O:p
    34. คุณ nong_cm <O:p</O:p
    35. คุณ tung696969 <O:p</O:p
    36. คุณ พอชูเดช<O:p</O:p
    37. คุณ เทพภร <O:p</O:p
    38. คุณ bingping <O:p</O:p
    39. คุณ สุปราณี(ปู) <O:p</O:p
    40. คุณ ณัฏฐ์สรวง<O:p</O:p
    41. คุณ ศิษย์ปิยธโร <O:p</O:p
    42. คุณ moopanda_kae <O:p</O:p
    43. คุณ Worship with soul <O:p</O:p
    44. คุณ วสุธรรม <O:p</O:p
    45. คุณ chocolatess <O:p</O:p
    46. คุณ มุนีญา <O:p</O:p
    47. คุณ oat007 <O:p</O:p
    48. คุณ ratrat<O:p</O:p
    49. คุณ love _ song _ music <O:p</O:p
    50. คุณ titapoonyo <O:p</O:p
    51. คุณ อบ. <O:p</O:p
    52. คุณ Pdon60 <O:p</O:p
    53. คุณ sirawasa <O:p</O:p
    54. คุณ moo noi <O:p</O:p
    55. คุณ korn2531<O:p</O:p
    56. คุณ boybandpimp <O:p</O:p
    57. คุณ รับโชค <O:p</O:p
    58. คุณ ภพตะวัน <O:p</O:p
    59. คุณ ay_ice <O:p</O:p
    60. คุณ e20aoa <O:p</O:p
    61. คุณ black_star<O:p</O:p
    62. คุณ pimapinya <O:p</O:p
    63. คุณ ดิดาว <O:p</O:p
    64. คุณ omio <O:p</O:p
    65. คุณ Step&Time <O:p</O:p
    66. คุณ เอก-ชัย <O:p</O:p
    67. คุณ อาทมาฏ <O:p</O:p
    68. คุณ pattarawat <O:p</O:p
    69. คุณ ไม่ยึด <O:p</O:p
    70. คุณ ประทีปแก้ว <O:p</O:p
    71. คุณ ธรรมพล<O:p</O:p
    72. คุณ BB<O:p</O:p
    73. คุณ ทัสชา 567 <O:p</O:p
    74. คุณ ritta<O:p</O:p
    75. คุณ สุคโต <O:p</O:p
    76. คุณ กตเวที <O:p</O:p
    77. คุณ โอมธนกฤต <O:p</O:p
    78. คุณ arnony <O:p</O:p
    79. คุณ ประภัสราวดี <O:p</O:p
    80. คุณ ปานรดา Phimdee<O:p</O:p
    81. คุณ piya0101 <O:p</O:p
    82. คุณ ศึกษาธรรม2551 <O:p</O:p
    83. คุณ greta<O:p</O:p
    84. คุณ Wesnatur <O:p</O:p
    85. คุณ winsite <O:p</O:p
    86. คุณ วิปัสนะ <O:p</O:p
    87. คุณ กระติ๊บ <O:p</O:p
    88. คุณ โยมฝน <O:p</O:p
    89. คุณ vietnam</ST1:p<O:p</O:p
    90. คุณ sneeja <O:p</O:p
    91. คุณ เกสรช์ <O:p</O:p
    92. คุณ noozzz <O:p</O:p
    93. คุณ เด็กมอขอ <O:p</O:p
    94. คุณ giftie <O:p</O:p
    95. คุณ ThePatzy <O:p</O:p
    96. คุณ luksit <O:p</O:p
    97. คุณ tumyuki <O:p</O:p
    98. คุณ sitcy <O:p</O:p
    99. คุณ คุณ จฬา <O:p</O:p
    100. คุณ ปรกติสุข <O:p</O:p
    101. คุณ jsp <O:p</O:p
    102. คุณ Phusaard <O:p</O:p
    103. คุณ bennynaja <O:p</O:p
    104. คุณ น่านนะซิ <O:p</O:p
    105. คุณ buasawan <O:p</O:p
    106. คุณ โคมหลวง <O:p</O:p
    107. คุณ ณัฐธยาน์12 <O:p</O:p
    108. คุณ หยก พัทยา <O:p</O:p
    109. คุณ bsert <O:p</O:p
    110. คุณ kratair <O:p</O:p
    111. คุณ Miss Brown <O:p</O:p
    112. คุณ tanyarath <O:p</O:p
    113. คุณ uthaimai <O:p</O:p
    114. คุณ KhunBeeBee <O:p</O:p
    115. คุณ ปู นครนายก <O:p</O:p
    116. คุณ tharushnu <O:p</O:p
    117. คุณ Potter <O:p</O:p
    118. คุณ ~bigbom~ <O:p</O:p
    119. คุณ klang20 <O:p</O:p
    120. คุณ stylenae <O:p</O:p
    121. คุณ pimpavee<O:p</O:p
    122. คุณ nababhast <O:p</O:p
    123. คุณ wara43 <O:p</O:p
    124. คุณ Marthaporn <O:p</O:p
    125. คุณ bank33 <O:p</O:p
    126. คุณ Learn from life <O:p</O:p
    127. คุณ anukzer <O:p</O:p
    128. คุณ zerozodiac <O:p</O:p
    129. คุณ zerenazodiac <O:p</O:p
    130. คุณ พรรณกานต์ <O:p</O:p
    131. คุณ pingkorn <O:p</O:p
    132. คุณ คิดดีจัง <O:p</O:p
    133. คุณ grasib <O:p</O:p
    134. คุณ MANUELII <O:p</O:p
    135. คุณ DevaIsis <O:p</O:p
    136. คุณ TIGERYELLOW <O:p</O:p
    137. คุณ snookkerball <O:p</O:p
    138. คุณ ekkorn9 <O:p</O:p
    139. คุณ ending <O:p</O:p
    140. คุณ สูญญากาศ <O:p</O:p
    141. คุณ aya_ke. <O:p</O:p
    142. คุณ ๑ไพ <O:p</O:p
    143. คุณ IIvII <O:p</O:p
    144. คุณ siluate <O:p</O:p
    145. คุณ ชั<O:p</O:p
    146. คุณ sk08 <O:p</O:p
    147. คุณ ตรีนิสิงเห <O:p</O:p
    148. คุณ ชายชุดขาว <O:p</O:p
    149. คุณ Neung <O:p</O:p
    150. คุณ aetipp <O:p</O:p
    151. คุณ บัณฑิตตกยาก <O:p</O:p
    152. คุณ king938 <O:p</O:p
    153. คุณ ธรรมประทีป <O:p</O:p
    154. คุณ fordkorat <O:p</O:p
    155. คุณ Jeerachai_BK <O:p</O:p
    156. คุณ ทิพย์ปทุโม <O:p</O:p
    157. คุณ เนตรนที<O:p</O:p
    158. คุณ icecreamvanila <O:p</O:p
    159. คุณ nna <O:p</O:p
    160. คุณ yui_61 <O:p</O:p
    161. คุณ Phatcharee (พัชรี ภู่ภักดี)<O:p</O:p
    162. คุณ ชลธิชา ภู่ภักดี<O:p</O:p
    163. คุณ อรพิชา ภู่ภักดี<O:p</O:p
    164. คุณ oatthidet<O:p</O:p
    165. คุณ Ni Cha<O:p</O:p
    166. คุณ pataster <O:p</O:p
    167. คุณ ณัฏฐ์ภรณ์ <O:p</O:p
    168. คุณ momotaro67 <O:p</O:p
    169. คุณ หริชน <O:p</O:p
    170. คุณ หนูน้อง <O:p</O:p
    171. คุณ wawa99 <O:p</O:p
    172. คุณ sakchai_tha <O:p</O:p
    173. คุณ nokuya <O:p</O:p
    174. คุณ ฤาษีท้ายเรือ <O:p</O:p
    175. คุณ จิดา <O:p</O:p
    176. คุณ Noo <?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:country-region><ST1:pNorway</ST1:p<O:p</O:p
    177. คุณ memy <O:p</O:p
    178. คุณ foresta <O:p</O:p
    179. คุณ jaaee<O:p</O:p
    180. คุณ pismai<O:p</O:p
    181. คุณ thaiout9<O:p</O:p
    182. คุณ jawa<O:p</O:p
    183. คุณ goodgoods<O:p</O:p
    184. คุณ Northearn<O:p</O:p
    185. คุณ jayez36<O:p</O:p
    186. คุณ P251152<O:p</O:p
    187. คุณ kruarmee<O:p</O:p
    188. คุณ ตวงธันยา<O:p</O:p
    189. คุณ magnagiled<O:p</O:p
    190. คุณ tewata<O:p</O:p
    191. คุณ วิชา ละ<O:p</O:p
    192. คุณ La-Leena<O:p</O:p
    193. คุณ kaekai27<O:p</O:p
    194. คุณ wvichakorn<O:p</O:p
    195. คุณ กาลชิน<O:p</O:p
    196. คุณ mild37naruk<O:p</O:p
    197. คุณ pum@ple<O:p</O:p
    198. คุณ Noinea<O:p</O:p
    199. คุณ ผู้หญิงธรรมดา<O:p</O:p
    200. คุณ numtalsod<O:p</O:p
    201. คุณ narin1960<O:p</O:p
    202. คุณ แสงนำทาง<O:p</O:p
    203. คุณ ติงติง<O:p</O:p
    204. คุณ ๖T8๙<O:p</O:p
    205. คุณ coffeefriendly<O:p</O:p
    206. คุณ montrik<O:p</O:p
    207. คุณ fullmoonsun<O:p</O:p
    208. คุณ ปูชิกา<O:p</O:p
    209. คุณ Natchakul<O:p</O:p
    210. คุณ บุญจิตรวดี<O:p</O:p
    211. คุณ กะรัตแก้ว<O:p</O:p
    212. คุณ sawatha<O:p</O:p
    213. คุณ nongjeng<O:p</O:p
    214. คุณ aries2947<O:p</O:p
    215. คุณ Benotto<O:p</O:p
    216. คุณ Bussarin.K<O:p</O:p
    217. คุณ Rujiwan_t<O:p</O:p
    218. คุณ คนมีกรรม54<O:p</O:p
    219. คุณ นายหญิง<O:p</O:p
    220. คุณ ฐิติ จันทร์ตรง<O:p</O:p
    221. คุณ สตินิพพาน<O:p</O:p
    222. คุณ เตอร์<O:p</O:p
    223. คุณ sasuk<O:p</O:p
    224. คุณ เบยองซู<O:p</O:p
    225. คุณ wiangnak<O:p</O:p
    226. คุณ lasomchai<O:p</O:p
    227. คุณ mimmootud<O:p</O:p
    228. คุณ kerd-duub <O:p</O:p
    229. คุณ ปราณสมาธิ์ สุขสวัสดิ์<O:p</O:p
    230. คุณ 678wish<O:p</O:p
    231. แฟนคุณ 678wish<O:p</O:p
    232. คุณ เหมียว วัฒ<O:p</O:p
    233. คุณ phonsiri<O:p</O:p
    234. คุณ ตาลเดี่ยว<O:p</O:p
    235. คุณ basbie2530<O:p</O:p
    236. คุณ hua sai<O:p</O:p
    237. คุณ ทำให้แจ้ง<O:p</O:p
    238. คุณ Preeya54<O:p</O:p
    239. คุณ อ๊อดเอง<O:p</O:p
    240. คุณ mainoii<O:p</O:p
    241. คุณ ratcharoen<O:p</O:p
    242. คุณ aejungg<O:p</O:p
    243. คุณ ญ.ผู้หญิง<O:p</O:p
    244. คุณ nida_cha<O:p</O:p
    245. คุณ paisano
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นักเรียนโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ชั้น ม.2/1,5,6,11<O:p</O:p
    (226 ท่าน ลำดับที่ 246-332 และ 334-472)
    <O:p</O:p

    246. (1) ดช.กมลพรรดิ์ ค่าม่วง<O:p</O:p
    247. (2) ดช.กฤษฎา ชำนิโลก <O:p</O:p
    248. (3) ดญ.กนกพิชญ์ พศพาร <O:p</O:p
    249. (4) ดญ.กัญญ์วรา พันธ์เลิศ
    250. (5) ดญ.กรกนก ศรีพ้นดอน <O:p</O:p
    251. (6) ดญ.กัญชลิตา รักษาศิลป์ <O:p</O:p
    252. (7) ดช.กฤษณะ ศรีสร้างคอม <O:p</O:p
    253. (8) ดช.กาญจน์ภิเษก ชันติโก
    254. (9) ดญ.กฤติยา คำแพงตา <O:p</O:p
    255.(10) ดญ.กัญญ์วรา ไชยสาคร <O:p</O:p
    256. (11) ดช.กษิดิ์เดช ธุระแพง <O:p</O:p
    257. (12) ดญ.กาญจนา โพธิ์ศรี
    258. (13) ดช.กฤษฏ์ ควรดำรงธรรม<O:p</O:p
    259. (14) ดช.กันย์ เดชรอด <O:p</O:p
    260. (15) ดช.กิจเกษม พลบูรณ์ <O:p</O:p
    261. (16) ดญ.กิวะนัน พนมหอม
    262. (17) ดญ.กิ่งกมล ทองทิพย์ <O:p</O:p
    263. (18) ดญ.กิตติวรา รัตนพุทธคุณ <O:p</O:p
    264. (19) ดช.กุลชรัช ชื่อรัตนกุล <O:p</O:p
    265. (20) ดช.เกียรติศักดิ์ สุรินทรัตน์
    266. (21) ดญ.ขวัญชนก สาตรรอด <O:p</O:p
    267. (22) ดญ.เกณิกา พุทธนิมนต์<O:p</O:p
    268. (23) ดช.จีระศักดิ์ ศรีโยธี <O:p</O:p
    269. (24) ดช.โกวิทย์ ฐานพรม
    270. (25) ดญ.จิรนันท์ กิมตั้งสกุล <O:p</O:p
    271. (26) ดช.เจริญชัย แก่นนาคำ <O:p</O:p
    272. (27) ดช.จิระวัฒน์ ถานคร
    273. (28) ดญ.จิราวรรณ ทัศพงษ์ <O:p</O:p
    274. (29) ดญ.จิรัชญา จันทร์ดวง <O:p</O:p
    275. (30) ดช.ฉัตรณรงค์ กุตระแสง <O:p</O:p
    276. (31) ดช.จิรายุ ไทยภักดี
    277. (32) ดญ.จุฬาลักษณ์ โคตรประดา <O:p</O:p
    278. (33) ดญ.ชญานี อามาตย์ทัศน์ <O:p</O:p
    279. (34) ดญ.ชญานิษฐ์ อังสนั่น<O:p</O:p
    280. (35) ดช.จีรวุฒิ เกตุรุน
    281. (36) ดช.เชิดชาย ทองศรี <O:p</O:p
    282. (37) ดช.ชลกร สอนวงศา <O:p</O:p
    283. (38) ดญ.ชฎากาญจน์ กุนอก <O:p</O:p
    284. (39) ดช.เจษฎา เทียนทอง
    285. (40) ดญ.ณัฐธิดา คชสาร <O:p</O:p
    286. (41) ดช.ณัชพล ยุทธรัตน์<O:p</O:p
    287. (42) ดช.ชลธี ชื่นพลี <O:p</O:p
    288. (43) ดช.ชนกชนม์ ศรีบูจันดี
    289. (44) ดญ.ณัฐธิดา คำพิมพ์ <O:p</O:p
    290. (45) ดญ.ณัฐวรา เพ็ชรนาดี <O:p</O:p
    291. (46) ดช.ชาคริท พนาลิกุล <O:p</O:p
    292. (47) ดญ.ชัญญา ไชยมาตร
    293. (48) ดช.ทรัพยากร กำมเลส <O:p</O:p
    294. (49) ดญ.ณิชาภัทร จันทร์เพ็ง <O:p</O:p
    295. (50) ดช.ชาติณรงค์ เศวตวงษ์<O:p</O:p
    296. (51) ดช.ชาญยุทธ สุวรรณปัฏนะ
    297. (52) ดญ.ธนัฐชา อิมชุม <O:p</O:p
    298. (53) ดช.ทักษ์ดนัย วีรชาติยานุกูล <O:p</O:p
    299. (54) ดช.ชานนท์ สมะวรรธนะ<O:p</O:p
    300. (55) ดช.ณัชพล สุขสบาย
    301. (56) ดช.ธรรมชาติ กำมเลศ <O:p</O:p
    302. (57) ดช.ธงเฉลิม สุรพินพงษ์ <O:p</O:p
    303. (58) ดช.ณัฐพงศ์ ศรีคำเวียง <O:p</O:p
    304. (59) ดช.ณัฐกร โพธิ์หล้า
    305. (60) ดญ.นภสร สมมิตร <O:p</O:p
    306. (61) ดช.ธนกร สักขาพรม <O:p</O:p
    307. (62) ดช.ณัฐพงศ์ จันนาวัน <O:p</O:p
    308. (63) ดช.จิตติศักดิ์ สมศรี
    309. (64) ดญ.นภัสกรณ์ เทพยศ <O:p</O:p
    310. (65) ดช.ธนธรณ์ ภาชา <O:p</O:p
    311. (66) ดญ.ตริตาภรณ์ ปัญญาคำ <O:p</O:p
    312. (67) ดช.ณัฐภัทร เพ็ญสงคราม
    313. (68) ดญ.นภ้สสร รัตนเมธาวงศ์ <O:p</O:p
    314. (69) ดช.ธนวัฒน์ ประภาโส <O:p</O:p
    315. (70) ดญ.ตะวันสิริ ชัยประสงค์สุข <O:p</O:p
    316. (71) ดช.ณัฐสิทธิ ไวยฉัยยา
    317. (72) ดญ.นรีนุช อัศวจำรูญ <O:p</O:p
    318. (73) ดช.ธนศักดิ์ ภานุว้ฒน์เจริญ <O:p</O:p
    319. (74) ดช.ทินกร จิตรศิลป์เจริญ <O:p</O:p
    320. (75) ดช.ดิษย์ภัทร วิจิตรจันทร์
    321. (76) ดญ.เนติยา ไมล์โพธิ์ <O:p</O:p
    322. (77) ดญ.ธนาภรณ์ ทองทำมา <O:p</O:p
    323. (78) ดช.เทวฤทธิ์ ศรีสงคราม <O:p</O:p
    324. (79) ดญ.ทิพย์รัตน์ ละเอียด
    325. (80) ดช.ปรมินทร์ สืบสาววงศ์ <O:p</O:p
    326. (81) ดญ.ธนาภา อนุรักษ์มนตรี <O:p</O:p
    327. (82) ดช.ธนชาต ดวงเพชรแสง <O:p</O:p
    328. (83) ดช.ทิวัตถ์ ศิริธรรมขันติ
    329. (84) ดช.ประวีณ จันทะเดช <O:p</O:p
    330. (85) ดช.ธราสุตื คูณหาร <O:p</O:p
    331. (86) ดช.ธนบดี คำแพงเมือง <O:p</O:p
    332. (87) ดช.ธีรเดช ศรีเชษฐา

    333. คุณ VikingsX
    <O:p</O:p
    334. (88) ดช.ปรัชญา เลิศประเสริฐ <O:p</O:p
    335. (89) ดญ.ธัญญา สุภารัตนากูล <O:p</O:p
    336. (90) ดช.ธนิก แสงปัญหา <O:p</O:p
    337. (91) ดญ.นิรุบล ขาวเมืองน้อย
    338. (92) ดช.ปริญ ชินวานิชย์เจริญ <O:p</O:p
    339. (93) ดญ.ธัญรดา วาทบัณฑิตกุล <O:p</O:p
    340. (94) ดช.ธารินทร์ นิรันดร์กูล <O:p</O:p
    341. (95) ดช.ปริญญา ศรี๊บุญเรือง
    342. (96) ดญ.ปวีณา คุรุศาสตรา <O:p</O:p
    343. (97) ดญ.ธัญลักษณ์ ยืนนาน <O:p</O:p
    344. (98) ดช.ธีรณัฏฐ์พล คำโพนงาม <O:p</O:p
    345. (99) ดช.ปวริศ อินธิกาย
    346. (100) ดญ.ปิยลักษณ์ ห้าวหาญ <O:p</O:p
    347. (101) ดญ.ธัญวรัตน์ ม่วงกลาง<O:p
    </O:p348. (102) ดช.ธีรภัทร พรหมวงษ์ <O:p</O:p
    349. (103) ดช.ปัญญวัฒน์ วงศ์จารุวัฒน์
    350. (104) ดญ.เปี่ยมทิพย์ เที่ยงธรรม<O:p</O:p
    351. (105) ดช.ธีรพันธ์ แก้วโพนยอ <O:p</O:p
    352. (106) ดช.ธีรภัทร กิมภา <O:p</O:p
    353. (107) ดช.ปัณณธร จิตรคาม
    354. (108)vดญ.พิชญา บุษราคำ <O:p</O:p
    355. (109) ดญ.ธีริศรา สุวรรณไตร <O:p</O:p
    356. (110) ดญ.นลพรรณ พิมพ์ทิพย์ <O:p</O:p
    357. (111) ดญ.ปาลิตา มุสิกบุญเลิศ
    358. (112) ดช.พีรพัฒน์ ศรีศุภร <O:p</O:p
    359. (113) ดช.ธีศิษฏ์ ดุลบดี <O:p</O:p
    360. (114) ดช.นันทวัฒน์ วงศ์วีรกิจ <O:p</O:p
    361. (115) ดญ.เปมิกา ปินวนิชย์กุล
    362. (116) ดญ.เพียงขวัญ สุนสิน <O:p</O:p
    363. (117) ดญ.นนทพร พฤกษาโคตร <O:p</O:p
    364. (118) ดญ.น้ำฝน ทาม <O:p</O:p
    365. (119) ดญ.พรธิดี ศรีกุลศศิธร
    366. (120) ดญ.แพรวา คนยืน <O:p</O:p
    367. (121) ดญ.นัทรียา สุคม <O:p</O:p
    368. (122) ดช.นิธิพัฒน์ พันธุ์สะอาด <O:p</O:p
    369. (123) ดช.พลวัฒน์ ประจันตะเสน
    370. (124) ดช.ภาณุวิชญ์ สุโพธิ์ <O:p</O:p
    371. (125) ดญ.นิจจารีย์ ศิริมณี <O:p</O:p
    372. (126) ดญ.นิรชา ทุ่งฝนภูมิ <O:p</O:p
    373. (127) ดญ.พิมพ์พชญา เดชดอนบม
    374. (128) ดช.มโนพัศ นาคะวัจนะ <O:p</O:p
    375. (129) ดช.นุกูล เธียรวาริช <O:p</O:p
    376. (130) ดช.ปรีดา บุญหล้า <O:p</O:p
    377. (131) ดช.พีรภัทร พละกุล
    378. (132) ดญ.มัทวัน วงศ์ศิริ <O:p</O:p
    379. (133) ดช.ปานเทพ หิรัญรักษ์ <O:p</O:p
    380. (134) ดญ.ปิยะวรรณ ศรีปัตติวงศ์ <O:p</O:p
    381. (135) ดช.ภราดร เป๊ะชาญ
    382. (136) ดช.รชตะ ศรีโบราณ <O:p</O:p
    383. (137) ดญ.ปิยาพร อินทสิทธิ์ <O:p</O:p
    384. (138) ดช.พงศกร ลิ้มสุวรรณ <O:p</O:p
    385. (139) ดญ.ภัทรพิรุณฬ์ คัทธมารศรี
    386. (140) ดญ.รวินท์พรรณ วสุรัตน์ <O:p</O:p
    387. (141) ดญ.ปุณยาพร ดาก่ำ <O:p</O:p
    388. (142) ดญ.พนิตนันท์ คำถา <O:p</O:p
    389. (143) ดช.ภานุพงษ์ อินทะกนก
    390. (144) ดญ.รินรดา กงช่าง <O:p</O:p
    391. (145) ดช.พงศภัค ลาหมัน <O:p</O:p
    392. (146) ดญ.พรประภา ใจพล <O:p</O:p
    393. (147) ดช.ภาสวัชร์ วุฒิธรรมธร
    394. (148) ดญ.วธูสิริ อาชาอภิสิทธิ์ <O:p</O:p
    395. (149) ดช.พิชเญศ คำเพชร <O:p</O:p
    396. (150) ดญ.พรรณภา พลนามอินทร์ <O:p</O:p
    397. (151) ดญ.ภิเษกกาญจน์ ผลเรือง
    398. (152) ดช.วรปรัชญ์ พารีศรี <O:p</O:p
    399. (153) ดช.พิเชษฐ อาษาไชย <O:p</O:p
    400. (154) ดช.พีรดนย์ แก้วเชียงหวาง <O:p</O:p
    401. (155) ดช.ภูมินทร์ โชคเจริญยิ่ง
    402. (156) ดญ.วรรณฤดี เล่าสุอังกูร <O:p</O:p
    403. (157) ดช.พีรวัฒน์ ทองอุทัยศิริ <O:p</O:p
    404. (158) ดช.ภัทรชัย อุไรจารี <O:p</O:p
    405. (159) ดญ.เมธาวี โพธ์สาราช
    406. (160) ดญ.วราพร มุกดาม่วง <O:p</O:p
    407. (161) ดญ.เพชรรัตน์ แสงใส <O:p</O:p
    408. (162) ดช.มนัสกวิน บุตรด้วง <O:p</O:p
    409. (163) ดญ.ระวิวรรณ บุญจิตร
    410. (164) ดช.วิททสุ โรจน์สินวรางกูร <O:p</O:p
    411. (165) ดญ.แพรวา บุตรกัณหา <O:p</O:p
    412. (166) ดช.รติภัทร หิรัญสถิตย์ <O:p</O:p
    413. (167) ดญ.รัตติยากร จันทะศูนย์
    414. (168) ดญ.ศิรินทิพย์ เสนเทพ <O:p</O:p
    415. (169) ดญ.มีเนียม สว่างสุข <O:p</O:p
    416. (170) ดช.รวิสุต ทาน้อย <O:p</O:p
    417. (171) ดช.วโรตม์ ภักมี
    418. (172) ดญ.ศุภกาญจน์ ไชยบุตร <O:p</O:p
    419. (173) ดญ.รัชดาพร จันทรดา <O:p</O:p
    420. (174) ดญ.รุจิรา คำธานี <O:p</O:p
    421. (175) ดช.วศิน อินลา
    422. (176) ดช.สิทธิณัฐ เตียวศิริทรัพย์ <O:p</O:p
    423. (177) ดช.รัฐยศ นรินทร์ <O:p</O:p
    424. (178) ดช.ศิวกร สมบูรณ์ <O:p</O:p
    425. (179) ดญ.ว้นวิสาข์ พ่อค้าช้าง
    426. (180) ดช.สิรวิชญ์ คงเพ็ชร <O:p</O:p
    427. (181) ดญ.ฤทัยทิพย์ อำนวยเงิน <O:p</O:p
    428. (182) ดช.สหรัฐ ชมวงษา <O:p</O:p
    429. (183) ดช.วิชัย เบ้าทองจันทร์
    430. (184) ดญ.อารยา อิสณพงศ์ <O:p</O:p
    431. (185) ดญ.วนิดา โกมุทธพงษ์ <O:p</O:p
    432. (186) ดช.สิทธิกร ดวงเทียน
    433. (187) ดญ.อาริยา สว่างสุข <O:p</O:p
    434. (188) ดช.วิศวชิต วิเศษศรี <O:p</O:p
    435. (189) ดญ.สิริมา วิเศษทอง <O:p</O:p
    436. (190) ดญ.ศศิธร กัลระโห
    437. (191) ดช.อิทธิกร ศรีกุลวงศ์ <O:p</O:p
    438. (192) ดช.ศราวุธ ชุ่มบัวทอง <O:p</O:p
    439. (193) ดญ.สิริรัตน์ ไฮงาม <O:p</O:p
    440. (194) ดญ.สกุลยา แก้วพลน้อย
    441. (195) ดช.เฉลิมกาญจน์ ศรีจันทราพันธุ์ <O:p</O:p
    442. (196) ดญ.ศิริธร พึ่งพรพรหม <O:p</O:p
    443. (197) ดญ.สุทธิดา สันติวัฒนากุล<O:p</O:p
    444. (198) ดช.สิทธิพงษ์ มนิสสาร
    445. (199) ดช.ศุภกร วรภัทรภวัน <O:p</O:p
    446. (200) ดญ.เสาวลักษณ์ แคว้นคอนฉิม <O:p</O:p
    447. (201) ดช.แสนคม แสนโสภณ
    448. (202) ดญ.ศุภาพิชณ์ โนวฤทธิ์ <O:p</O:p
    449. (203) ดญ.อตินุช ชาวเชียงยืน<O:p</O:p
    450. (204) ดช.แสนยากร จำปาหาร
    451. (205) ดช.สพล ศรีหล่มสัก <O:p</O:p
    452. (206) ดช.อโนเชาว์ ชินค้า
    453. (207) ดญ.สริตา พรหมมา <O:p</O:p
    454. (208) ดญ.อัจฉริยา สัมพันธ์พร<O:p</O:p
    455. (209) ดญ.อัจฉราภรณ์ รอดจุ้ย
    456. (210) ดญ.สุนิษา ชอบกองกลาง <O:p</O:p
    457. (211) ดช.อัยยวัช สินธุรา <O:p</O:p
    458. (212) ดช.บุญญฤทธิ์ สุวพานิชย์
    459. (213) ดญ.หทัยชนก หันชะนา <O:p</O:p
    460. (214) ดช.อัษฎา สายเหลา <O:p</O:p
    461. (215) ดช.พิทวัส อุไร
    462. (216) ดญ.อรำไพร ศรีบุรินทร์ <O:p</O:p
    463. (217) ดญ.อาทิตยา นนพิภักดิ์ <O:p</O:p
    464. (218) ดช.ศุภวิชย์ วิเศษแก้ว
    465. (219) ดญ.อัญธิดา ศรีสุข <O:p</O:p
    466. (220) ดญ.อารยา ศรีหล่มสัก <O:p</O:p
    467. (221) ดญ.สุทธิดา บุตรแก้ว
    468. (222) ดช.อิทธิพล อินทะแสง <O:p</O:p
    469. (223) ดญ.อารยา พิมพ์ทองสุขเลิศ <O:p</O:p
    470. (224) ดช.นฤดล วงศ์พุฒ
    471. (225) ดญ.สกาวเดือน รอดขันเมือง
    472. (226) ดญ.ธัญจิรา สุขเกษม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    473. คุณ bussarinkhonken<O:p</O:p
    474. คุณ บงกชดอกบัว<O:p</O:p
    475. คุณ sorayouth<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รายชื่อนักเรียนโรงเรียนคุณครูติงติง
    (25 ท่าน ลำดับที่ 476-500)
    <O:p</O:p
    <O:p
    </O:p476. (1) คุณ Charun gifted<O:p</O:p
    477. (2) คุณ best Gt112<O:p</O:p
    478. (3) คุณ อัจฉราวดี<O:p</O:p
    479. (4) คุณ mullika giftedgirl<O:p</O:p
    480. (5) คุณ Bow 1012<O:p</O:p
    481. (6) คุณ napat1112<O:p</O:p
    482. (7) คุณ กัลยา09<O:p</O:p
    483. (8) คุณ waiyawut<O:p</O:p
    484. (9) ด.ญ.ปาณิสรา หมื่นสาย<O:p</O:p
    485. (10) คุณ อุ๋มอิ๋ม555<O:p</O:p
    486. (11) คุณ ไปรยานันท์ <O:p</O:p
    487. (12) ด.ช.วีรพัฒน์ วรสันต์<O:p</O:p
    488. (13) ด.ญ.อารยา แก้วซุย<O:p</O:p
    489. (14) ด.ญ.นลินี กลิ่นจันทร์<O:p</O:p
    490. (15) ด.ญ.ชลิดา กาหลิบ<O:p</O:p
    491. (16) ด.ญ.ดวงหทัย ทางาม<O:p</O:p
    492. (17) ด.ญ.เจนจิลา วงศ์ทอง<O:p</O:p
    493. (18) ด.ญ.วราภรณ์ ศรีรบุตร<O:p</O:p
    494. (19) ด.ญ.จุฬารัตน์ โพธิ์พาด<O:p</O:p
    495. (20) ด.ญ.สุพัตรา สุดชาติ<O:p</O:p
    496. (21) ด.ช.พรหมลิขิต ทองบ่อ<O:p</O:p
    497. (22) ด.ช.ธราธิป พรหมโคตร<O:p</O:p
    498. (23) ด.ช.สุนทร บุปผามาลา<O:p</O:p
    499. (24) ด.ช.นำโชค สอนละ<O:p</O:p
    500. (25) ด.ช.นัฐพงษ์ เมาตัน
    ............................................................................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2011
  9. Mrs.Kim

    Mrs.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +2,306
    Mrs.Kimและด.ญ.อารีรัฐ วงษ์ทองเหลือขอสมัครเข้าร่วมโครงการด้วยค่ะ...ขอโมทนาสาธุด้วยค่ะ
     
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    คำอาราธนา และสมาทานศีล ๕

    [​IMG]



    คำอาราธนา และสมาทานศีล ๕




    <TABLE align=center><TBODY><TR><TD>มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ


    ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

    ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ



    ( ต่อไปพระจะให้ศีล เมื่อพระให้ศีล เราก็ว่าตามไปที่ละบท ๆ ดังต่อไปนี้ )




    [​IMG]




    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( กล่าว ๓ หน )


    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ






    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ







    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าวว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ผู้รับศีลพึงรับพร้อม ๆ กันว่า

    "อามะ ภันเต"แล้วตั้งใจสมาทานศีล(รับศีล)ตามที่พระท่านนำกล่าวสมาทานต่อไปว่า.-




    ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

    อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

    กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

    มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


    (ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าว ผู้รับศีลไม่ต้องว่าตาม)



    อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ,


    สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา,


    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย.



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    [​IMG]




    กราบอนุโมทนากุศลส่งบุญ

    ๑) เสียงอาราธนาและสมาทานศีล ๕ จากเวบวัดคอนสวรรค์วนาราม

    ๒) ภาพเขียนไทย วัดเกาะวาลการาม ลำปาง




    สมัครร่วมโครงการ ต่อจากคุณหลานหลิน ด้วยจ้า ;)



    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1300653/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2011
  11. ธิดารัตน์

    ธิดารัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,939
    ค่าพลัง:
    +4,568
    อนุโมทนาสาธุด้วยนะคะ

    ขอเข้าร่วมโครงการดีดีแบบนี้ด้วยคนนะคะ

    ขอบคุณที่ทำโครงการดีดีนี้ออกมา ขอสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้นะคะ

    ธิดารัตน์ สีหะเกรียงไกร ค่ะ
     
  12. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ขอเข้าร่วมโครงการด้วยครับ
     
  13. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

    และขอเข้าร่วมโครงการด้วยครับ
     
  14. วิชา ละ

    วิชา ละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    338
    ค่าพลัง:
    +2,416
    ขออนุโมทนาสาธุครับ
    หลวงพ่อใหญ่ เคยบอกว่าภาคอีสานถ้าถือศีล5กันทุกคน ภาคอีสานไม่แล้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2011
  15. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ศีลบารมีปฏิบัติ

    [​IMG]
    [​IMG]

    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีลและสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปขอให้ท่านทั้งหลายรวบรวมกำลังใจของท่าน ตั้งใสดับการศึกษาใน บารมี 10 เพราะว่า บารมี 10 นี้ มีความสำคัญมาก
    ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเจริญพระกรรมฐานมาสักกี่แสนปีแล้วก็ตาม ถ้าหากว่า บารมี 10 ของท่านยังไม่ครบถ้วน คำว่า พระอริยเจ้า ย่อมไม่มีกับท่าน
    ในที่นี้ก็จะต้องเข้าใจคำว่า บารมี เสียก่อน
    คำว่า บารมี นี่ หมายถึง กำลังใจ หมายความว่าท่านทั้งหลาย ต้องมีกำลังใจทรงความดีทั้ง 10 ประการไว้ในใจครบถ้วนทุกอย่างไม่บกพร่อง
    คำว่า ทรงความดี นี่ไม่ได้หมายความว่าจำได้ ต้องทำได้ให้จิตทรงอารมณ์เป็นปกติ
    ขอทบทวนอีกนิดหนึ่ง บารมี 10 ประการก็คือ
    (1) ทานบารมี ได้แก่ การให้ทาน
    (2) ศีลบารมี คือ การทรงศีลให้บริสุทธิ์
    (3) เนกขัมมบารมี คือ การถือบวช
    (4) ปัญญาบารมี คือ ทรงปัญญารู้เท่าทันตามสภาวะตามความเป็นจริงคือ อริยสัจ 4
    (5) วิริยบารมี คือ มีความเพียรไม่ท้อถอย
    (6) ขันติบารมี คือ มีความอดทน
    (7) สัจจบารมี คือ มีความจริงใจ
    (8) อธิษฐานบารมี คือ มีความตั้งใจ
    (9) เมตตาบารมี คือ มีจิตใจเมตตาปรานี มีความรักในคนและและสัตว์เป็นปกติ
    (10) อุเบกขาบารมี ได้แก่ การวางเฉย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดจบก็คือ อุเบกขาบารมี อุเบกขาบารมี ในที่นี้ได้แก่ สังขารุเปกขาญาณ

    [​IMG]

    สำหรับ ทานบารมี ได้พูดกับบรรดาท่านทั้งหลายมาแล้ว หวังว่าท่านทั้งหลายคงเข้าใจพอ ได้โปรดทราบนะ คำพูดทุกอย่างที่ผม พูดไปทุกคำ ผมถือว่าพวกท่านเข้าใจดีพอ และก็ทำได้ด้วย เพราะว่าถ้าหากว่าเราทำไม่ได้ เราก็จะอยู่ในเขตของพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์อะไร
    เพราะในเขตของพระพุทธศาสนานั้นต้องการคนดี ไม่ต้องการคนเลว คำว่าดีในพระพุทธศาสนาคือ ต้องทรง บารมี 10 ครบถ้วน
    สำหรับวันนี้จะพูดถึง ศีลบารมี
    คำว่า ศีล แปลว่า ปกติ
    ถ้าเราเป็นฆราวาส ถ้าหากว่าเป็นฆราวาสปกติของปุถุชนก็ดี หมายถึงเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ผู้เข้าถึงไตรสรณาคมน์
    กัลยาณชน หมายถึง ผู้ทรงฌาน
    อริยชน 2 ขั้น หมายถึง พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี อย่างนี้ต้องมีศีล 5 เป็นปกติ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีต้องทรงศีล 5 เป็นปกติ จึงจะชื่อว่าพระโสดาบันกับสกิทาคามี
    สำหรับอารมณ์อารมณ์จิตถ้าเข้าถึงพระอนาคามี ตอนที่เข้าถึงพระอนาคามีนี่จะมีศีล 8 เป็นปกติ เพราะว่าพระอนาคามีเป็นผู้ตัด กามฉันทะ กับ ปฏิฆะ อารมณ์แห่งกามารมณ์ย่อมไม่มีในพระอริยเจ้าระยะนี้ คือ ว่าพระอนาคามี
    สำหรับพระอรหันต์ก็ไม่ต้องพูดกัน
    สำหรับพระภิกษุสามเณรก็เหมือนกัน ภิกษุสามเณรมีศีลคงที่ แต่มีจิตดีขึ้นเพราะทรงศีลบริสุทธิ์
    เป็นอันว่า ศีล แปลว่า ปกติ หมายความว่าคนทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ถ้าไม่ต้องการขาดทุน หมายถึงว่าเราเกิดมาเป็นคนแล้ว ถ้าตายจากคนกลับไปเกิดเป็นสัตว์นรกหรือว่าไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย หรือเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือว่าเกิดเป็นคนแต่มีสภาวะเท่าเดิม อย่างนี้ถือว่าเราขาดทุน
    ฉะนั้น ปกติของคนจะต้องปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์ ถ้าจะมาเกิดเป็นคนอีกก็ต้องเกิดเป็นคนดีกว่านี้ คำว่าดีกว่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่า ต้องมีโภคะมากไปกว่านี้
    แต่เนื้อแท้จริง ๆ ถ้าปฏิบัติในศีลบริสุทธิ์จะต้องมีโภคสมบัติดีกว่านี้ มีรูปร่างหน้าตาสวยกว่านี้ และต้องมีทุกสิ่งทุกอย่างดีกว่าทั้งหมดคือ

    [​IMG]
    [​IMG]

    (1) มีอายุยืนยาวตลอดอายุขัย ไม่ป่วยไข้ไม่สบาย และก็ไม่ตายก่อนอายุขัย
    (2) มีทรัพย์สินสมบูรณ์บริบูรณ์ ทรัพย์สินทุกอย่างจะไม่มีอันตรายจากไฟไหม้ จากน้ำท่วม จากลมพัด จากโจรผู้ร้าย
    (3) คนในปกครองจะอยู่อยู่ด้วยดี ไม่มีใครดื้อด้าน อยู่ในโอวาททุกอย่าง
    (4) วาจาศักดิ์สิทธิ์ วาจาหอมหวนเป็นที่ปรารถนาในการรับฟังของคนดีทั่วไป อย่าลืมนะผมพูดว่าสำหรับคนดีทั่วไป สำหรับคนเลวไม่ต้องไปคำนึงถึง คนเลวเราจะพูดดีขนาดไหนมันก็เลวขนาดนั้น อย่าไปสนใจ
    (5) แล้วก็จะต้องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีกว่านี้
    นี่หมายถึงว่าถ้าเรามีศีลบริสุทธิ์
    ทีนี้มาว่ากันถึง ศีลบารมี ความจริงมี ศีลบารมี ข้อเดียวก็จะไปนิพพานได้ ถ้าเราฉลาดเหมือนกับที่ผมพูดมาแล้วใน ทานบารมี ถ้าเรามี ทานบารมี เคร่งครัดเราก็จะไปนิพพานได้ ทีนี้ขึ้นชื่อว่าบารมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเราจะสร้างให้ครบถ้วนจริง ๆ ต้องอาศัยบารมีอีก 9 อย่างเข้ารวมตัวกัน
    แต่ว่าเรื่องนี้ผมพูดไว้แล้วใน บารมี 10 แต่นี่เรามาพูดกันถึงด้านปฏิบัติ ด้านปฏิบัติจำต้องพูดกันละเอียดสักหน่อย เพราะถือว่าการสอนพระกรรมฐานชุดนี้ เป็นกรรมฐานชุดสุดท้าย
    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าการสอน บารมี 10 ก็หมายถึงว่าการสอนให้ท่านเป็น พระอริยเจ้า กันนั้นเอง
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมรู้ตัวผมดีว่า ผมคงไม่มีเวลามานั่งพูดให้ท่านฟังอีกนานนัก เพราะเวลานี้ร่างกายมันกรอบเต็มทนแล้ว ภารกิจก็มาก ขันธ์ 5 ก็เสื่อมโทรมนัก อายุขัยมันก็ใกล้จะหมด
    ฉะนั้น การสอน บารมี 10 ขอท่านทั้งหลายได้ทราบว่า ผมสอนเทกระเป๋า
    ทั้งนี้หมายความว่า ผมจะตายหรือไม่ตายก็ตาม ถือว่าเป็นการทิ้งไพ่ใบสุดท้ายในการปฏิบัติของท่านทั้งหลาย
    ในการปฏิบัติ บารมี 10 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อศีล เราจะต้องเทียบกันเป็น 2 ระยะเหมือนกันว่า บารมีต้น หรือ ปรมัตถบารมี
    ก่อนที่เราจะนึกถึงศีลว่า ทำไมเราจะต้องปฏิบัติในศีลนั้นด้วย
    การเจริญบารมีเขาคิดกันอย่างนี้นะว่า ทำไมเราจึงต้องมีศีล คนอื่นที่เขาบกพร่องในศีล เขาร่ำรวยเยอะถมไป
    บางคนที่บกพร่องในศีล เขาเป็นคนมีอำนาจวาสนาบารมี มียศศักดิ์ใหญ่โตก็เยอะถมไป คนที่บกพร่องในศีลอาจจะมีอำนาจวาสนามาก ปกครองคนทั้งประเทศก็ถมไป
    แต่ว่าเราเป็นคนดีศีลกลับมีอะไรไม่ดีเท่าเขา
    ถ้าคิดอย่างนี้ละก็ขอประทานอภัย โปรดตั้งใจเตรียมตัวไว้ว่าท่านต้องการนรกขุมไหน เตรียมตัวว่าตายคราวนี้เราไปนรกแน่ ๆ
    การปฏิบัติ บารมี 10 เราไม่ได้ปรารภโลกธรรม คือ
    - ไม่ได้ต้องการยศ
    - ไม่ต้องการความร่ำรวย
    - ไม่ต้องการมีอำนาจวาสนาในทางโลกีย์วิสัย
    - เราปฏิบัติในศีลต้องการความบริสุทธิ์ของใจ
    นี่คำว่า ศีล ท่านย่อมรู้กันแล้วก็มานั่งดูทีว่า ทำไมคนเราจึงต้องมีศีล ศีลเป็นคุณหรือเป็นโทษ ต้องใช้ปัญญาพิจารณากันหน่อยหรือว่าต้องใช้ปัญญานำหน้าสัญญา
    คำว่า สัญญา คือ ความจำ
    ปัญญา คือ ความคิด
    ต้องใช้ปัญญานำหน้าสัญญา ปัญญานั้นความจริงมันนำอยู่แล้ว แสดงว่าสัญญาจะทรงความดีไว้ได้จะต้องมีปัญญาเป็นตัวนำ เราก็มานั่งใคร่ครวญเรื่องศีล โดยเฉพาะศีล 5 หรือ ศีล 8 สำหรับศีล 10 หรือ ศีล 227 จะไม่พูดถึง เพราะพระก็ดี เณรก็ดี ถ้าเณรทรงศีล 10 ไม่ครบ พระทรงศีล 227 ไม่ครบ เขาไม่เรียกพระ เขาไม่เรียกเณร เขาเรียก เถน
    ในที่นี้สะกด เถน แปลว่า หัวขโมย คือ ขโมยเอาเพศของพระมาใช้ ขโมยเอาเพศของเณรมาใช้
    เป็นอันว่าทุกท่านที่มีศีลไม่บริสุทธิ์ ท่านผู้นี้เรียกว่า มนุสสเปโต หรือ มนุสสติรัจฉาโน หมายความว่าร่างกายเป็นมนุษย์แต่ใจเป็นเปรต ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นสัตว์เดรัจฉาน ตายจากความเป็นมนุษย์ ก็เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน
    สำหรับพระเณรต้องทรงศีลบริสุทธิ์อยู่แล้วผมจะไม่ปรารภถึง จะวัดศีลสำหรับฆราวาส และพระเณรก็ต้องดูด้วยนะว่าท่านทั้งหลายที่บวชอยู่นี้ มีศีล 5 บริสุทธิ์หรือเปล่า
    ที่ผมพบมา 90 เปอร์เซ็นต์ ในบรรดาพระเณรที่พบ ประกาศตนว่าเป็นคนมีศีล 227 แต่ว่าเนื้อแท้จริง ๆ ศีล 5 ไม่ครบ ถ้าศีล 5 ไม่ครบจะมีศีล 227 ได้อย่างไร ก็ถ้าใครไปไหว้คนประเภทนี้ก็ถือว่าไหว้สัตว์นรก ไหว้เปรต ไหว้อสุรกาย ไหว้สัตว์เดรัจฉานนั่นเอง เพราะท่านผู้นั้นตายจากความเป็นคน ไม่มีโอกาสจะได้เกิดเป็นคน ไปตั้งต้นมาจากนรกใหม่
    ตอนนี้ก็มาพูดกัน ปรึกษาหารือกัน ว่าศีลมีความสำคัญอย่างไร มาพูดกันถึงศีล 5 และศีล 8 เสียก่อน ต้องใช้ปัญญาพิจารณาด้วยไม่ใช่ว่าจะไปนั่งภาวนาว่า สีลัง สีลัง สีลัง อย่างนี้มันเป็นนกแก้วนกขุนทอง เพราะพูดตามที่เขาพูด แต่ไม่ใช่ภาษาเขา เขาไม่รู้เรื่องบอกให้เขาเรียก พ่อจ๋า แม่จ๋า นกแก้วนกขุนทองก็เรียก พ่อจ๋า แม่จ๋า ขอข้าวกินหน่อย แกก็พูดขอข้าวกินทั้งวัน ทั้ง ๆ ที่แกไม่หิว เพราะว่าเขาสอนอย่างนั้น
    นักปฏิบัติและนักบวชในพระพุทธศาสนาก็เหมือนกัน ถ้าไปนั่งจำแต่ชื่อของศีลหรือนั่งภาวนาแต่ชื่อของศีล มันอาจจะมีผลเป็นฌานสมาบัติได้เหมือนกัน
    แต่ทว่าถ้าศีลบกพร่อง ฌานสมาบัติมันก็ไม่มี สมาธิเล็กน้อยมันก็ไม่เกิด
    วิปฏิสาร

    [​IMG]

    นี่ก่อนที่เราจะมาทรงศีลกัน เราจะต้องรู้จักศีลเสียก่อน
    สำหรับภิกษุสามเณร ถ้าหากเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ท่านบอกว่า ทุกคนจะปราศจาก วิปฏิสาร คือ ความเดือดร้อน พระเณรที่มีความยุ่ง ๆ ขาดการเคารพนับถือของบรรดาประชาชนทั้งหลาย ก็เพราะว่าเป็นพระเป็นเณรที่ขาดศีลนั่นเอง เป็นชั้นเลวที่สุด พระเณรที่ไม่มีศีลบริสุทธิ์ เขาถือว่าเป็นพระเป็นเณรที่เลวที่สุด ไม่ใช่เป็นพระเป็นเณรที่ดีที่สุด
    ท่านที่มีศีลบริสุทธิ์จงคิดว่าเรายังเลวมากเกินไป เพราะความดีของเราทรงไว้ได้แค่กามาวจรสวรรค์เท่านั้น ศีล 10 ก็ดี ศีล 227 ก็ดี ศีล 5 ก็ดี ศีล 8 ก็ดี มันก็เหมือนกัน แต่ถ้าหากว่าถ้าดีไปกว่านั้น จิตทรงศีลบริสุทธิ์ไม่ใช่ไปนั่งภาวนาว่า สีลัง ศีลทุกสิกขาบท ทรงอารมณ์จิตบริสุทธิ์ จิตรักษาไว้ได้บริสุทธิ์โดยไม่ละเมิดศีลด้วยเจตนา ในจิตเราคำนึงนึกอยู่เสมอว่า เราจะทรงศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่าชีวิต จิตคิดถึงศีลเป็นปกติอย่างนี้ จัดเป็นฌานใน สีลานุสสติกรรมฐาน อย่างนี้เป็นพรหมได้
    แต่สำหรับ ศีลบารมี ในที่นี้ ไม่ต้องการได้กามาวจรสวรรค์แล้วก็ไม่ได้หมายให้ต้องการพรหมโลก ที่ศึกษา ศีลบารมี เพื่อต้องการเป็น พระอริยเจ้า คือ พระอรหันต์
    ฉะนั้น ก่อนที่เราจะนั่งปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์ ก็ต้องดูผลของศีลว่า ถ้าเราปฏิบัติศีลไม่บริสุทธิ์มันมีความสุขหรือมีความทุกข์ เขาเอาดีกันตรงนี้ ไม่ใช่ไปนั่งเอาดีอวดศีลกัน
    ถ้าบวชมาแล้วก็คุยบอกว่าฉันมีศีล 227 ดีไม่ดีแค่ศีล 5 ก็ยังไม่ครบ ในเมื่อศีล 5 ไม่ครบจะเอาอะไรมาเป็นศีล 227
    ปาณาติปาตาเวรมณี
    ตอนนี้เรามานั่งมองศีล สำหรับพระทุกสิกขาบทอย่าเคลื่อน เรามาดูศีล 5 กันก่อน ศีล 5 ท่านว่า
    ปาณาติปาตาเวรมณี เราจะงดเว้นฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และเบียดเบียนสัตว์ให้ได้รับความลำบาก
    มานั่งนึกดูว่าพระพุทธเจ้าทำไมบอกอย่างนี้ ที่การไม่ให้เบียดเบียนซึ่งกันและกันมันเป็นผลของความสุข มันก็ไม่ยาก คนที่มีศีลข้อนี้ต้องมีเมตตานำหน้า
    เมตตา คือ ความรัก
    กรุณา ความสงสาร
    มุทิตา มีจิตใจอ่อนโยน
    อุเบกขา มีอารมณ์วางเฉย
    นั่น หมายความว่า เราเห็นสัตว์ที่ควรจะฆ่าได้เราก็ไม่ฆ่าเพราะความรัก
    เราจะประทุษร้ายก็ไม่ประทุษร้ายเพราะความสงสาร
    ไอ้เราจะไม่ฆ่าเขา เราจะไม่ทำร้ายเขา ด้วยอารมณ์ของเราไม่มีความอิจฉาริษยาใคร เห็นเขาได้ดีเราก็ไม่อิจฉาเขา เรายินดีกับความดี
    ถ้าเขาทำเป็นที่ไม่ถูกใจเราก็เฉย คิดว่าเขาจะชั่วก็ให้ชั่วแต่ตัวของเขา เราไม่ชั่วด้วย
    อันนี้เป็นอารมณ์ของปัญญา อารมณ์ของปัญญาต้องไปล้วงเอาเมตตาความรัก กรุณาความสงสารเข้ามาควบศีลจึงจะปรากฏ คือ ในศีลข้อที่ 1 คือ ทุกข้อนั่นแหละ ศีลทุกข้อจะต้องมี พรหมวิหาร 4 ครบถ้วน จึงจะมีศีลบริสุทธิ์ นี่เราว่าใน ศีลบารมี เพื่อความเป็นพระอรหันต์
    ทีนี้ก็มาถึงศีลข้อที่ 1 ถ้าเราละเมิดล่ะจะเป็นอย่างไร
    ถ้าเราปราศจากความเมตตาปราณี เป็นคนใจร้ายประทุษร้ายเขา อยากจะฆ่าเขา ถ้าเราทำกับสัตว์ตัวเล็ก ๆ มันก็จะต้องหมายถึงเรารอผลชาติหน้า หรือว่าฆ่าสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ มันก็ต้องรอผลชาติหน้า
    แต่ผลของชาตินี้ที่เรามองไม่เห็นก็คือ ความเลวของจิต มีอารมณ์อำมหิต มีความโหดร้าย เรามองกันไม่ค่อยเห็น เราจะมองเห็นกันได้แต่เฉพาะที่ต้องทำกับสัตว์ที่สนองเราได้ นั่นหมายความว่า เราจะต้องพบกับคู่ต่อสู้ของเรา

    [​IMG]
    [​IMG]

    ทีนี้เราก็ลองมาทำกับคนบ้าง ทีแรกเราก็มีความเมตตา เรามีความรัก เจอะหน้าใครเราก็ยิ้มแย้มแจ่มใสยกมือไหว้ มันของไม่ยากความดี เราอยากจะให้คนไหว้เราไม่ยาก
    เรายกมือไหว้เขา เขาก็ยกมือไหว้เรา
    ยิ้มให้เขา เขาก็ยิ้มให้เรา
    พูดวาจาไพเราะให้เขา เขาก็พูดวาจาไพเราะให้เรา
    เป็นอันว่าถ้าหากว่าเราทำตามนั้น ลองนึกดู สำหรับตัวเรา ถ้าเขามาทำกับเราอย่างนั้น จิตใจของเราจะมีความรู้สึกยังไง เจอหน้าคน คนไหว้ เจอหน้าคน เขายิ้มให้ เจอหน้าคน เขาพูดจาอ่อนหวาน จิตใจของเรามีความสุขหรือจิตใจของเราจะมีความทุกข์ ตอนนี้ต้องใช้ปัญญาพิจารณาดูให้ดี
    มาดูอีกตอนหนึ่ง มาดูลักษณะตรงข้าม ถ้าเราเจอหน้าใคร ใครเขาด่าเรา พบหน้าเขา เขาก็ชกหน้าเรา เป็นอันว่าเราจะมีความรู้สึกอย่างไร ถ้าเขาด่าเรา ถ้าเรากำลังใจไม่ดีพอ ถ้าไม่ถึงอนาคามีเราก็ไม่ชอบใจ
    แต่ถ้าเขามาตีเรา มาชกหน้าเรา มาทำร้ายเรา เราก็ไม่ชอบใจเหมือนกัน อารมณ์ประเภทนั้นมันเป็นอารมณ์ของความสุข หรืออารมณ์ของความทุกข์
    เราก็จะมองเห็นว่าแม้แต่ศีลข้อที่ 1 ถ้าเราละเมิดมันก็จะพบความทุกข์อย่างมหันต์
    แล้วทีนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป เราควรจะเป็นคนมีศีลหรือคนไม่มีศีล
    เจอะหน้ากันยิ้มเข้าหากันดี หรือบึ้งเข้าหากัน
    เจอหน้ากันพูดดีเข้าหากัน หรือว่าด่ากันดี
    เจอหน้ากันต่างคนต่างอ่อนน้อมแสดงความเคารพซึ่งกันและกันดี หรือว่าชกหน้ากันดี
    ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ท่านก็จะต้องตอบว่าพบหน้ากันยิ้มเข้าหากันนั่นแหละดี หรือว่ามีการอ่อนน้อมซึ่งกันและกันนั่นแหละดี พูดจาอ่อนหวานซึ่งกันและกันนั่นแหละดี นี่เราก็มองเห็นชัด ๆ ถ้าเรามีศีลแล้วอารมณ์ใจก็จะเป็นความสุข
    ศีลจะมาจากไหนได้ต้องไปหาเหตุ การสร้างความดีในพุทธศาสนาต้องมีเหตุและมีผล ไม่ใช่ว่ามานั่ง ๆ อยู่จะรู้สึกว่ามีศีล ฉะนั้น ตอนเย็นจะให้เปิดพระวินัยให้ฟังกันอยู่เสมอ สำหรับพระจะได้เข้าใจในเรื่องการปฏิบัติ
    ฉะนั้น ขอท่านผู้ใช้ขยายเสียงตามสาย ตอนเย็นทุกเย็นจะต้องใช้ระเบียบและวินัยทุกวัน อย่าเว้น ที่จะให้ฟังอย่างเดิม ไม่ได้หมายต้องการให้เบื่อ เปิดให้ฟังอยู่เสมอก็ไม่แน่ว่าท่านจะปฏิบัติได้ครบถ้วน
    ถ้ายังอยู่วัดนี้ปฏิบัติวินัยไม่ครบ ก็วงเล็บไว้ได้ว่าตายลงอเวจี
    วันนี้ว่ากันถึงศีลข้อที่ 1 มันก็ไม่จบ เรามาดูเหตุดูผลว่าการปฏิบัติศีลนี่ดี ดีกว่าละเมิดศีล
    แล้วทำไมจึงต้องปฏิบัติในศีล มันก็ต้องมานั่งคิดดูว่าชีวิตเราที่เกิดมานี้ ว่ามันจะทรงตัวอยู่ตลอดกาลตลอดสมัยไหม นั่งมองหาความจริงว่าคนที่เขาเกิดมาก่อนเราจะตายไปบ้างมีหรือเปล่า คนเกิดทีหลังเราตายไปมีบ้างหรือเปล่า ก็ต้องทราบว่ามี

    คำสอนพระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อฤาษี ฯ )



    คำสมาทานศิล ๕
    (แบบคนเดียว)<O:p


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)<O:p</O:p

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ<O:p</O:p

    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ<O:p</O:p

    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ<O:p</O:p

    ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    อทินนาทานา เเวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ


    อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สีเลนะ สุคะติงยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสสะมา สีลังวิโสทะเย<O:p</O:p

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มกราคม 2011
  16. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ศีลบารมี *** ผมขอเข้าร่วมโครงการครับ



    .
     
  17. นิพ_พาน

    นิพ_พาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,984
    ค่าพลัง:
    +7,810
    ว้าวโครงการณ์ดีๆๆแบบนี้ไม่ร่วมไม่ได้แล้ว
    ขอลำดับที่ 9 นะคะเลขสวยงวดนี้นอนมาแน่ๆๆ
    5555
     
  18. Natthakorn

    Natthakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +7,078
    รุ่งขอร่วมโครงการด้วยนะครับ ^^

    จะช่วยประชาสัมพันธ์ด้วยนะครับ
     
  19. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ขอร่วมโครงการด้วยค่ะ เพราะตั้งใจไว้แล้วค่ะตั้งแต่วันขึ้นปีใหม่ว่าจะถือศีล๕ในปีนี้ ให้ได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา ปีที่ผ่านมาตกๆหล่นๆตลอดค่ะ ครบบ้างไม่ครบบ้างค่ะ ขอขานรับโครงการนี้ด้วยความเต็มใจอย่างยิ่งค่ะ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ร่วมโครงการนี้ด้วยค่ะ สาธุ
     
  20. shane9

    shane9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +258
    ขอร่วมด้วยครับ
    เมื่อวานเป็นวันเกิด ถือศีลพอดี
    วันนี้ก็ร่วมด้วยครับผม
    (พอดีเพิ่งอ่านเมล์ครับ)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...